AEC+โอกาส+เติบโต+บริษัทในตลาดหลักทรัพย์
-
- Verified User
- โพสต์: 13
- ผู้ติดตาม: 0
AEC+โอกาส+เติบโต+บริษัทในตลาดหลักทรัพย์
โพสต์ที่ 1
ปัจจัยพื้นฐาน
ปี2015 AECกำลังจะเกิดขึ้น ส่วนตัวคาดว่าการขนส่งสินค้าภายในภูมิภาค น่าจะขยายตัวและไปด้วยดี
การลงทุนในภูมิภาคเอเชียด้วยกันเองน่าจะเกิดขึ้นอย่างขยายตัว เราไปบุกเค้า เค้ามาบุกเรา
พี่ๆนักลงทุนพอจะเล็งเห็น บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ไหนที่พอมีศักยภาพหรือได้ประโยชน์จากAECในระยะสั้นถึงปานกลางบ้างคะ
กลุ่มบริษัทที่ชำนาญเรื่องLogistic น่าจะขยายตัวหรือเปล่า (แต่ส่วนตัวไม่แน่ใจว่าบริษัทไหนที่ชำนาญเรื่องขนส่งภายในภูมิภาคนี้)
บริษัทที่คิดจะลงทุนFDI outward ของไทยถ้าทำการบ้านดีดีก็น่าลุ้นอยู่ค่ะ สู้ๆ
ปี2015 AECกำลังจะเกิดขึ้น ส่วนตัวคาดว่าการขนส่งสินค้าภายในภูมิภาค น่าจะขยายตัวและไปด้วยดี
การลงทุนในภูมิภาคเอเชียด้วยกันเองน่าจะเกิดขึ้นอย่างขยายตัว เราไปบุกเค้า เค้ามาบุกเรา
พี่ๆนักลงทุนพอจะเล็งเห็น บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ไหนที่พอมีศักยภาพหรือได้ประโยชน์จากAECในระยะสั้นถึงปานกลางบ้างคะ
กลุ่มบริษัทที่ชำนาญเรื่องLogistic น่าจะขยายตัวหรือเปล่า (แต่ส่วนตัวไม่แน่ใจว่าบริษัทไหนที่ชำนาญเรื่องขนส่งภายในภูมิภาคนี้)
บริษัทที่คิดจะลงทุนFDI outward ของไทยถ้าทำการบ้านดีดีก็น่าลุ้นอยู่ค่ะ สู้ๆ
- aiitee
- Verified User
- โพสต์: 71
- ผู้ติดตาม: 0
Re: AEC+โอกาส+เติบโต+บริษัทในตลาดหลักทรัพย์
โพสต์ที่ 2
http://www.thailandwisdom.com/images/co ... 75/AEC.pdf
กำลังศึกษาเรื่องนี้อยู่เหมือนกันครับ มารอฟังทัศนะของท่านอื่นๆ
กำลังศึกษาเรื่องนี้อยู่เหมือนกันครับ มารอฟังทัศนะของท่านอื่นๆ
-
- Verified User
- โพสต์: 2595
- ผู้ติดตาม: 0
Re: AEC+โอกาส+เติบโต+บริษัทในตลาดหลักทรัพย์
โพสต์ที่ 3
เอาบทความ "การวิเคราะห์ตำแหน่งการตลาดและศักยภาพการแข่งขันของสินค้าอุตสาหกรรมไทยในอาเซียน" มาฝากครับ
http://rss2.thaichamber.org/upload/P58-67.pdf
http://rss2.thaichamber.org/upload/P58-67.pdf
คนเราจะมีความสุข มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่ามีเท่าไร เเต่ขึ้นกับว่า เราพอเมื่อไร
~หลวงพ่อชา สุภัทโท~
o
~หลวงพ่อชา สุภัทโท~
o
-
- Verified User
- โพสต์: 176
- ผู้ติดตาม: 0
Re: AEC+โอกาส+เติบโต+บริษัทในตลาดหลักทรัพย์
โพสต์ที่ 4
บริษัท ขนส่งสินค้า ในตลาด มี Kiat ครับ.
แต่ Kiat ขนส่งสินค้าเป็นพวกสารเคมีและวัตถุอันตราย และ ก๊าซ ngv.เป็นหลัก และมีการขนส่งไปต่างประเทศบ้างแต่ก็ยังไม่มากเท่าไหร่ มีขนส่งไปลาวเป็นหลัก แต่ที่ผ่านมาก็ไม่ทราบว่าทาง ผบห มีความคิดหรือเตรียมตัวรับมืออย่างไรกับการเปิดเสรีอาเซียน และ ผบห ก็เน้นขนส่งสินค้าพวกสารเคมีและวัตถุอันตรายเพราะมี กำไรมากกว่าการขนส่งสินค้าประเภทอื่น. เห็นในการประชุม ผถห ครั้งที่แล้วก็เห็นว่าจะมีการขยายไปขนส่งสินค้าประเภทอื่นอยู่เหมือนกันในปีที่ผ่านมา แต่ก็ยังไม่เห็นว่ามีการขยายไปในสินค้าประเภทอื่นนะครับ. อาจจะต้องศึกษาและดูวิชั่นของ ผบห ต่อเรื่องนี้อีกที่ ส่วนที่ผมคิดว่า Kiat จะทำอะไรหรือขยายช่องทางอื่นๆเพื่อรองรับการแข่งขันในอนาคตนั้นผมว่า ผบห เนื่องจากก็มีอายุพอสมควร และการบริหารงานก็ยังคงพึ่ง ความสามารถของ ผบห มากอยู่ จึงเดาไม่ออกว่า ผบห จะยังมีไฟมั้ย
แต่ผมมองว่าการขนส่งสินค้าในภูมิภาคน่าจะต้องขยายตัวมากอยู่แล้วและไทยยังไงก็คงจะเป็นศูนย์กลางด้านการขนส่ง เพราะมีชัยภูมิที่เหมาะสม แต่บริษัทขนส่งสินค้าของไทยก็ยังไม่เห็นว่าจะมี บริษัท ไหนทั้งในและนอกตลาด ที่พอจะมีศักยภาพที่จะเป็น ผู้นำในตลาด อาเซียนนี้ เพราะบริษัทขนส่งไทยมีเยอะแต่เป็นบริษัทที่ยังไม่ใหญ่มาก และไม่มีครบทุกช่องทาง ส่วนตัวผมว่าบริษัทขนส่งของไทยถ้าคิดจะสร้างความแข็งแกร่ง คงน่าจะเลือกวิธีควบรวมกันเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งไม่ว่าจะกับบริษัทไทยด้วยกันเองหรือกับต่างชาติก็แล้วแต่
ปล. ตอนนี้ผมยังเป็น ผถห Kiat อยู่นะครับ ฟังหูไว้หูครับ
แต่ Kiat ขนส่งสินค้าเป็นพวกสารเคมีและวัตถุอันตราย และ ก๊าซ ngv.เป็นหลัก และมีการขนส่งไปต่างประเทศบ้างแต่ก็ยังไม่มากเท่าไหร่ มีขนส่งไปลาวเป็นหลัก แต่ที่ผ่านมาก็ไม่ทราบว่าทาง ผบห มีความคิดหรือเตรียมตัวรับมืออย่างไรกับการเปิดเสรีอาเซียน และ ผบห ก็เน้นขนส่งสินค้าพวกสารเคมีและวัตถุอันตรายเพราะมี กำไรมากกว่าการขนส่งสินค้าประเภทอื่น. เห็นในการประชุม ผถห ครั้งที่แล้วก็เห็นว่าจะมีการขยายไปขนส่งสินค้าประเภทอื่นอยู่เหมือนกันในปีที่ผ่านมา แต่ก็ยังไม่เห็นว่ามีการขยายไปในสินค้าประเภทอื่นนะครับ. อาจจะต้องศึกษาและดูวิชั่นของ ผบห ต่อเรื่องนี้อีกที่ ส่วนที่ผมคิดว่า Kiat จะทำอะไรหรือขยายช่องทางอื่นๆเพื่อรองรับการแข่งขันในอนาคตนั้นผมว่า ผบห เนื่องจากก็มีอายุพอสมควร และการบริหารงานก็ยังคงพึ่ง ความสามารถของ ผบห มากอยู่ จึงเดาไม่ออกว่า ผบห จะยังมีไฟมั้ย
แต่ผมมองว่าการขนส่งสินค้าในภูมิภาคน่าจะต้องขยายตัวมากอยู่แล้วและไทยยังไงก็คงจะเป็นศูนย์กลางด้านการขนส่ง เพราะมีชัยภูมิที่เหมาะสม แต่บริษัทขนส่งสินค้าของไทยก็ยังไม่เห็นว่าจะมี บริษัท ไหนทั้งในและนอกตลาด ที่พอจะมีศักยภาพที่จะเป็น ผู้นำในตลาด อาเซียนนี้ เพราะบริษัทขนส่งไทยมีเยอะแต่เป็นบริษัทที่ยังไม่ใหญ่มาก และไม่มีครบทุกช่องทาง ส่วนตัวผมว่าบริษัทขนส่งของไทยถ้าคิดจะสร้างความแข็งแกร่ง คงน่าจะเลือกวิธีควบรวมกันเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งไม่ว่าจะกับบริษัทไทยด้วยกันเองหรือกับต่างชาติก็แล้วแต่
ปล. ตอนนี้ผมยังเป็น ผถห Kiat อยู่นะครับ ฟังหูไว้หูครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: AEC+โอกาส+เติบโต+บริษัทในตลาดหลักทรัพย์
โพสต์ที่ 5
ส่ง 3 ธุรกิจบริการชิงเออีซีพณ.ติวเข้มยกระดับสากล [ มติชน, 15 มี.ค. 55 ]
นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ รัฐมนตรี ช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ข้อตกลง
ของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ เออีซี จะทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายการค้า สินค้าและบริการ
การลงทุน รวมทั้งทรัพยากรต่างๆ อย่างเสรี จะมีตลาดการค้าที่ใหญ่ขึ้น แต่ขณะเดียวกันการแข่ง
ขันจะยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นด้วย โดยธุรกิจบริการต่างๆ ในประเทศถือว่าเป็นธุรกิจมีศักยภาพ
และมีโอกาสขยายตัวสูง และกำลังเป็นที่สนใจของนักลงทุนจากประเทศเพื่อนบ้าน จึงนับเป็น
ภารกิจสำคัญและเร่งด่วนที่กระทรวงพาณิชย์ให้ความสำคัญในการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพ
ให้สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล จึงมอบหมายให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้าดำเนินการพัฒนา 3
ธุรกิจบริการที่กำลังเป็นที่สนใจของนักลงทุนชาวต่างชาติ ได้แก่ ธุรกิจบริการผู้สูงอายุ ธุรกิจสปา
และธุรกิจร้านอาหาร ให้สามารถเข้าสู่เกณฑ์มาตรฐานคุณภาพระดับสากลภายในปีนี้ ทั้งนี้ ได้
กำหนดจัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการทั้ง 3 ธุรกิจดังกล่าว ระหว่างเดือนมีนาคม-กรกฎาคม
นี้
นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ รัฐมนตรี ช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ข้อตกลง
ของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ เออีซี จะทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายการค้า สินค้าและบริการ
การลงทุน รวมทั้งทรัพยากรต่างๆ อย่างเสรี จะมีตลาดการค้าที่ใหญ่ขึ้น แต่ขณะเดียวกันการแข่ง
ขันจะยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นด้วย โดยธุรกิจบริการต่างๆ ในประเทศถือว่าเป็นธุรกิจมีศักยภาพ
และมีโอกาสขยายตัวสูง และกำลังเป็นที่สนใจของนักลงทุนจากประเทศเพื่อนบ้าน จึงนับเป็น
ภารกิจสำคัญและเร่งด่วนที่กระทรวงพาณิชย์ให้ความสำคัญในการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพ
ให้สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล จึงมอบหมายให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้าดำเนินการพัฒนา 3
ธุรกิจบริการที่กำลังเป็นที่สนใจของนักลงทุนชาวต่างชาติ ได้แก่ ธุรกิจบริการผู้สูงอายุ ธุรกิจสปา
และธุรกิจร้านอาหาร ให้สามารถเข้าสู่เกณฑ์มาตรฐานคุณภาพระดับสากลภายในปีนี้ ทั้งนี้ ได้
กำหนดจัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการทั้ง 3 ธุรกิจดังกล่าว ระหว่างเดือนมีนาคม-กรกฎาคม
นี้
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: AEC+โอกาส+เติบโต+บริษัทในตลาดหลักทรัพย์
โพสต์ที่ 6
คอลัมน์: รายงาน: เปิดAEC'รักษาจุดแข็งลดจุดอ่อน'
Source - โลกวันนี้ (Th), Monday, January 21, 2013
อัฉรา นาคสุขสน
[email protected]
งานสัมมนา "AEC Forum 2013 : พลังเศรษฐกิจเออีซี สู่การเป็นเมืองหลวงแห่งอาเซียน" มีนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง เป็นประธาน และผู้ร่วมสัมมนาระดับ CEO จากหลากหลายธุรกิจร่วมแสดงความคิดเห็นและเสนอแนะ มีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้ ยุทธศาสตร์ไทยใน AEC นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวปาฐกถาหัวข้อ "ยุทธศาสตร์ไทยใน AEC" ว่ายินดีสำหรับแนวคิดนี้ ซึ่งเมื่อ 5 ปีที่ผ่านมา จากเกษตรกรรมเข้าสู่อุตสาหกรรม มีการจ้างแรงงานที่หลากหลาย ภาคการพาณิชย์ ภาคการบริการ ธุรกิจอุตสาหกรรม ขยายเติบโตมาก การบริการนักท่องเที่ยว โดยภาครัฐทำหน้าที่ชี้แนะ มีการลงทุน มีการจ้างงาน ขณะนี้ประเทศไทยอยู่ในเชิงยุทธศาสตร์ในการตัดสินใจหลายด้านเพื่อเตรียมอนาคต แล้วเดินไปข้างหน้าที่รอยต่อสำคัญในอาเซียน โดยเริ่มจากทัศนคติที่ดีต่อสมาชิก แล้วใช้ศักยภาพต่อประเทศอื่นๆเชิงภูมิศาสตร์ของประเทศที่เหมือนกับเป็นเพื่อนคู่ค้าตามยุทธศาสตร์ทั้ง 8 ของรัฐบาล และเตรียมบุคลากร ที่เหมาะสม เตรียมประเทศให้ พร้อมกับการเติบโต และนักลงทุนไทยต้องกล้าตัดสินใจไปลงทุนในต่างประเทศ
รักษาจุดแข็ง ลดจุดอ่อน
นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางใน 5 ประเทศที่มีการเคลื่อนย้ายสินค้า เพื่อเป็นเมืองหลวงของอาเซียนไปสู่ 10 ประเทศ ต้องรักษาจุดแข็ง
ลดจุดอ่อน ผนึกกำลังจากหลายประเทศ ด้วยฐานของประชากร 200 กว่าล้านคน ซึ่งผู้ที่ยังไม่คิดที่จะเข้าไปในอาเซียนต้องมีความพร้อมแล้วของธุรกิจที่จะเดินหน้า จากแผนธุรกิจ เหลือเพียง 35 เดือนเศษ ต้องรักษาตลาดใน 4 ประเทศ เป็น 5 ประเทศ นายกานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี กล่าวว่า ต้องมีความร่วมมือกัน ด้วยความภาคภูมิใจ เช่น การลดจุดอ่อน เน้นความเชื่อมั่นภาคการเงิน เป็นการจุดประกายอาเซียนที่มีการแข่งขัน ที่ผ่านมามีโอกาสมาก เช่น พนักงาน 200 คน ต้องมีระบบจัดการ มีการสอนหนังสือเพิ่มเติม 2-3 ชม. ซึ่งต้องกล้าลงทุน
กระจายสินค้าไทยออกนอก
นายสุภัค ศิวะรักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย กล่าวว่า บริษัทแม่อยู่ที่มาเลเซียจะคอยหนุนเพื่อรองรับ AEC การสนับสนุนของอาเซียน พม่า ลาว กัมพูชา โลจิสติกส์ การลงทุน บริษัทข้ามชาติ ระบบเศรษฐกิจไทยต้องออกไปกระจายข้างนอก ที่มีความพร้อมของวัตถุดิบ ของระบบที่มีเสรีภาพ เข้าสู่อาเซียนมากขึ้น ซึ่งซีไอเอ็มบีไทยมีความพร้อมสูงกว่าธนาคารพาณิชย์ไทย นายฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ต้องเข้าถึงเยาวชนและรับฟังการเตรียมตัว เรียนรู้ เตรียมความพร้อมในภาพกว้าง ซึ่งไทยมีโอกาสมาก ด้านภูมิศาสตร์ไม่แพ้อินโดนีเซีย ซึ่งไทยมีความคล่องตัว เช่น โรงเกลือ แม่สาย มีการรองรับแน่นอน นโยบายอัตราแลกเปลี่ยน มีการยอมรับ และมีฐานการเงินที่มั่นคง
--จบ--
Source - โลกวันนี้ (Th), Monday, January 21, 2013
อัฉรา นาคสุขสน
[email protected]
งานสัมมนา "AEC Forum 2013 : พลังเศรษฐกิจเออีซี สู่การเป็นเมืองหลวงแห่งอาเซียน" มีนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง เป็นประธาน และผู้ร่วมสัมมนาระดับ CEO จากหลากหลายธุรกิจร่วมแสดงความคิดเห็นและเสนอแนะ มีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้ ยุทธศาสตร์ไทยใน AEC นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวปาฐกถาหัวข้อ "ยุทธศาสตร์ไทยใน AEC" ว่ายินดีสำหรับแนวคิดนี้ ซึ่งเมื่อ 5 ปีที่ผ่านมา จากเกษตรกรรมเข้าสู่อุตสาหกรรม มีการจ้างแรงงานที่หลากหลาย ภาคการพาณิชย์ ภาคการบริการ ธุรกิจอุตสาหกรรม ขยายเติบโตมาก การบริการนักท่องเที่ยว โดยภาครัฐทำหน้าที่ชี้แนะ มีการลงทุน มีการจ้างงาน ขณะนี้ประเทศไทยอยู่ในเชิงยุทธศาสตร์ในการตัดสินใจหลายด้านเพื่อเตรียมอนาคต แล้วเดินไปข้างหน้าที่รอยต่อสำคัญในอาเซียน โดยเริ่มจากทัศนคติที่ดีต่อสมาชิก แล้วใช้ศักยภาพต่อประเทศอื่นๆเชิงภูมิศาสตร์ของประเทศที่เหมือนกับเป็นเพื่อนคู่ค้าตามยุทธศาสตร์ทั้ง 8 ของรัฐบาล และเตรียมบุคลากร ที่เหมาะสม เตรียมประเทศให้ พร้อมกับการเติบโต และนักลงทุนไทยต้องกล้าตัดสินใจไปลงทุนในต่างประเทศ
รักษาจุดแข็ง ลดจุดอ่อน
นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางใน 5 ประเทศที่มีการเคลื่อนย้ายสินค้า เพื่อเป็นเมืองหลวงของอาเซียนไปสู่ 10 ประเทศ ต้องรักษาจุดแข็ง
ลดจุดอ่อน ผนึกกำลังจากหลายประเทศ ด้วยฐานของประชากร 200 กว่าล้านคน ซึ่งผู้ที่ยังไม่คิดที่จะเข้าไปในอาเซียนต้องมีความพร้อมแล้วของธุรกิจที่จะเดินหน้า จากแผนธุรกิจ เหลือเพียง 35 เดือนเศษ ต้องรักษาตลาดใน 4 ประเทศ เป็น 5 ประเทศ นายกานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี กล่าวว่า ต้องมีความร่วมมือกัน ด้วยความภาคภูมิใจ เช่น การลดจุดอ่อน เน้นความเชื่อมั่นภาคการเงิน เป็นการจุดประกายอาเซียนที่มีการแข่งขัน ที่ผ่านมามีโอกาสมาก เช่น พนักงาน 200 คน ต้องมีระบบจัดการ มีการสอนหนังสือเพิ่มเติม 2-3 ชม. ซึ่งต้องกล้าลงทุน
กระจายสินค้าไทยออกนอก
นายสุภัค ศิวะรักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย กล่าวว่า บริษัทแม่อยู่ที่มาเลเซียจะคอยหนุนเพื่อรองรับ AEC การสนับสนุนของอาเซียน พม่า ลาว กัมพูชา โลจิสติกส์ การลงทุน บริษัทข้ามชาติ ระบบเศรษฐกิจไทยต้องออกไปกระจายข้างนอก ที่มีความพร้อมของวัตถุดิบ ของระบบที่มีเสรีภาพ เข้าสู่อาเซียนมากขึ้น ซึ่งซีไอเอ็มบีไทยมีความพร้อมสูงกว่าธนาคารพาณิชย์ไทย นายฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ต้องเข้าถึงเยาวชนและรับฟังการเตรียมตัว เรียนรู้ เตรียมความพร้อมในภาพกว้าง ซึ่งไทยมีโอกาสมาก ด้านภูมิศาสตร์ไม่แพ้อินโดนีเซีย ซึ่งไทยมีความคล่องตัว เช่น โรงเกลือ แม่สาย มีการรองรับแน่นอน นโยบายอัตราแลกเปลี่ยน มีการยอมรับ และมีฐานการเงินที่มั่นคง
--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."