กลโกงผู้บริหาร..สีเทาดำ
-
- Verified User
- โพสต์: 315
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กลโกงผู้บริหาร..สีเทาดำ
โพสต์ที่ 2
อยากรู้ด้วย ขอมาตามด้วยคนนะครับ
-----------------------------------------
เกิดเหตุอะไร อย่าตื่นใจ ไปตามเขา
ปัญญาเรา มีหน้าที่ พิพากษา
ต้องดูน้ำ ดูลม ระดมมา
พิจารณา เชิงชั้น หมั่นตริตรอง
-----------------------------------------
ท่านพุทธทาสภิกขุ
เกิดเหตุอะไร อย่าตื่นใจ ไปตามเขา
ปัญญาเรา มีหน้าที่ พิพากษา
ต้องดูน้ำ ดูลม ระดมมา
พิจารณา เชิงชั้น หมั่นตริตรอง
-----------------------------------------
ท่านพุทธทาสภิกขุ
-
- Verified User
- โพสต์: 503
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กลโกงผู้บริหาร..สีเทาดำ
โพสต์ที่ 4
เคยโพสครับ เเต่โดนโพสสวนมาเเบบว่า
หาว่าเราไปเชียร์หุ้น บ. ตรงข้ามเเทน
ก็เข้าใจนะว่า มันเป็นเรื่องผลประโยชน์
ความจริงเป็นสิ่งไม่ตาย เเต่คนพูดจริง........
ลองค้นดูในห้องร้อยคนร้อยหุ้นครับ ค่อยๆอ่านไปเดี่ยวก็เจอ
(ไม่อยากโพสใหม่เเล้ว ขี้เกียจอารมณ์เสียอีก )
หาว่าเราไปเชียร์หุ้น บ. ตรงข้ามเเทน
ก็เข้าใจนะว่า มันเป็นเรื่องผลประโยชน์
ความจริงเป็นสิ่งไม่ตาย เเต่คนพูดจริง........
ลองค้นดูในห้องร้อยคนร้อยหุ้นครับ ค่อยๆอ่านไปเดี่ยวก็เจอ
(ไม่อยากโพสใหม่เเล้ว ขี้เกียจอารมณ์เสียอีก )
-
- Verified User
- โพสต์: 20
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กลโกงผู้บริหาร..สีเทาดำ
โพสต์ที่ 6
เข้ามาดู
driving performance
- jo7393
- Verified User
- โพสต์: 2486
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กลโกงผู้บริหาร..สีเทาดำ
โพสต์ที่ 7
อย่าเรียกว่า กลโกงเลยครับ เรียกว่าทำให้ ผถห ไม่สบายใจดีกว่า ลองอ่านย้อนหลังใน SENA และ EASTW ดูนะครับ
“ถ้าราคาหุ้นแยกออกไปจากเส้นกำไร ไม่ช้าก็เร็วมันจะวิ่งกลับไปหาเส้นกำไรเสมอ”
เลือกบริษัทที่ดี ในราคาที่เหมาะสม และถือมันตราบที่มันยังเป็นกิจการที่ดีอยู่
อย่าอายที่จะถาม ไม่มีใครรู้ลึกทุก บ. ถ้าไม่รู้แล้วไม่ถามก็จะยิ่งไม่ฉลาด
เลือกบริษัทที่ดี ในราคาที่เหมาะสม และถือมันตราบที่มันยังเป็นกิจการที่ดีอยู่
อย่าอายที่จะถาม ไม่มีใครรู้ลึกทุก บ. ถ้าไม่รู้แล้วไม่ถามก็จะยิ่งไม่ฉลาด
- Ii'8N
- Verified User
- โพสต์: 3682
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กลโกงผู้บริหาร..สีเทาดำ
โพสต์ที่ 9
มีบริษัทค่ายเพลงใหญ่ เช่าอาคารบริษัทตัวเอง ที่ตั้งโดยใช้ชื่อลูกสาว
มีบริษัทขายเสื้อผ้าในตลาด mai เช่าที่ดินทำอาคาร โดยให้ลูกสาวเป็นคนรับผลประโยชน์เก็บกิน
บริษัทมือถือใหญ่ ก็เช่าอาคารและเช่ารถ กับบริษัทส่วนตัวของเจ้าของเดิม ก่อนเข้าตลาด บริษัทเช่ารถ ใช้ชื่อย่อลูกชายและลูกสา่วมาตั้งเป็นชื่อบริษัท
รวมถึงตั้งบริษัท subcontractor รับจ้างติดตั้งสถานีของตัวเอง
บริษัทที่มีเครือข่ายห้างมากที่สุดในไทย ก็ใช้บริการลอจิสติกส์ของตัวเอง ตั้งบริษัทย่อยขึ้นมาใหม่
ถ้ามองในแง่ดี ก็คือทำกับบริษัทคนรู้จักกัน ดีกว่าไปทำกับคนอื่น ที่ต่อรองราคากันลำบาก แล้วอาจได้ราคาหรือจ่ายค่าจ้างแพงกว่า
ในเมื่องานมันเยอะมาก เลยตั้งบริษัทมาทำงานนี้เลย ถือว่าช่วยลดต้นทุนกิจการ
แต่ก็มีในแง่ร้าย อย่างที่คุณ ksk ว่า .... ถ้าทั้งหมดนั้นตั้งราคาสูงกว่าตลาดจริง หรือแอบคิดเล็กคิดน้อย บวกแฝงเข้าไป
เข้าข่าย "ไซฟ่อน" เ้ล็กหรือใหญ่ ขึ้นกับมูลค่าที่ทำสัญญาจ่ายเงิน
อย่างเช่น ถ้าอาคาร เช่าชาวบ้านทั่วไป อาจแค่เดือนละล้าน ถ้าจะไซฟ่อน แอบผ่องถ่ายเงิน ก็ตั้งค่าเช่าสักห้าล้านเป็นต้น
ผู้ถือหุ้นรายย่อยยิ่งตรวจสอบได้ลำบาก เพราะงบที่รายงาน ไม่ได้บอกลงรายละเอียดขนาดนั้น แกะลงไปยาก ยิ่งถ้าบริษัทมีขนาดใหญ่ ตัวเลขนี้ยิ่งแทบไม่รู้เลย
มีบมจ.หนึ่ง ที่เป็นเจ้าของห้างใหญ่กลางกรุง เข้าซื้อกิจการสนามกอล์ฟ ของภรรยาผู้บริหาร ที่เป็นตัวแทนบริหารของผู้ถือหุ้นใหญ่
แค่นี้เรียกได้ว่าเป็น conflict of interest แล้ว
ยัง...ยังไม่พอ ถ้ากิจการนั้นทำกำไรงาม ก็ยังพอทำให้ผู้ถือหุ้นได้รู้สึกดี และอาจเห็นด้วย หยวนๆ เพราะอาจสร้างมูลค่าให้กิจการ....แต่นี่กิจการนั้น มีขาดทุนสะสมติดกันอีกต่างหาก แล้วจะให้รายย่อยมองว่าไง?
ดังนั้นก็ต้องคอยสังเกตพฤติกรรมกันเอาเอง
บางกรณี อย่างเรื่องมีรายงานต่อตลาด แต่ก็ดูแล้ว ทำให้ผู้ถือหุ้นรายย่อยทั้งหลายรู้สึกถูกเอาเปรียบ ไม่สบายใจอยู่ดี
มีบริษัทขายเสื้อผ้าในตลาด mai เช่าที่ดินทำอาคาร โดยให้ลูกสาวเป็นคนรับผลประโยชน์เก็บกิน
บริษัทมือถือใหญ่ ก็เช่าอาคารและเช่ารถ กับบริษัทส่วนตัวของเจ้าของเดิม ก่อนเข้าตลาด บริษัทเช่ารถ ใช้ชื่อย่อลูกชายและลูกสา่วมาตั้งเป็นชื่อบริษัท
รวมถึงตั้งบริษัท subcontractor รับจ้างติดตั้งสถานีของตัวเอง
บริษัทที่มีเครือข่ายห้างมากที่สุดในไทย ก็ใช้บริการลอจิสติกส์ของตัวเอง ตั้งบริษัทย่อยขึ้นมาใหม่
ถ้ามองในแง่ดี ก็คือทำกับบริษัทคนรู้จักกัน ดีกว่าไปทำกับคนอื่น ที่ต่อรองราคากันลำบาก แล้วอาจได้ราคาหรือจ่ายค่าจ้างแพงกว่า
ในเมื่องานมันเยอะมาก เลยตั้งบริษัทมาทำงานนี้เลย ถือว่าช่วยลดต้นทุนกิจการ
แต่ก็มีในแง่ร้าย อย่างที่คุณ ksk ว่า .... ถ้าทั้งหมดนั้นตั้งราคาสูงกว่าตลาดจริง หรือแอบคิดเล็กคิดน้อย บวกแฝงเข้าไป
เข้าข่าย "ไซฟ่อน" เ้ล็กหรือใหญ่ ขึ้นกับมูลค่าที่ทำสัญญาจ่ายเงิน
อย่างเช่น ถ้าอาคาร เช่าชาวบ้านทั่วไป อาจแค่เดือนละล้าน ถ้าจะไซฟ่อน แอบผ่องถ่ายเงิน ก็ตั้งค่าเช่าสักห้าล้านเป็นต้น
ผู้ถือหุ้นรายย่อยยิ่งตรวจสอบได้ลำบาก เพราะงบที่รายงาน ไม่ได้บอกลงรายละเอียดขนาดนั้น แกะลงไปยาก ยิ่งถ้าบริษัทมีขนาดใหญ่ ตัวเลขนี้ยิ่งแทบไม่รู้เลย
มีบมจ.หนึ่ง ที่เป็นเจ้าของห้างใหญ่กลางกรุง เข้าซื้อกิจการสนามกอล์ฟ ของภรรยาผู้บริหาร ที่เป็นตัวแทนบริหารของผู้ถือหุ้นใหญ่
แค่นี้เรียกได้ว่าเป็น conflict of interest แล้ว
ยัง...ยังไม่พอ ถ้ากิจการนั้นทำกำไรงาม ก็ยังพอทำให้ผู้ถือหุ้นได้รู้สึกดี และอาจเห็นด้วย หยวนๆ เพราะอาจสร้างมูลค่าให้กิจการ....แต่นี่กิจการนั้น มีขาดทุนสะสมติดกันอีกต่างหาก แล้วจะให้รายย่อยมองว่าไง?
ดังนั้นก็ต้องคอยสังเกตพฤติกรรมกันเอาเอง
บางกรณี อย่างเรื่องมีรายงานต่อตลาด แต่ก็ดูแล้ว ทำให้ผู้ถือหุ้นรายย่อยทั้งหลายรู้สึกถูกเอาเปรียบ ไม่สบายใจอยู่ดี
- Financeseed
- Verified User
- โพสต์: 1304
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กลโกงผู้บริหาร..สีเทาดำ
โพสต์ที่ 13
บทความดีๆจากว่าที่อาจารย์ผม เอามาให้ลองอ่านดูครับ ^^ ดร.ภาพร เอกอรรถพร แห่งมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เรื่อง "กลบัญชี การโยกเงินจากนักลงทุนรายย่อยไปสู่นักลงทุนรายใหญ่" ที่น่าสนใจ จึงขอนำมาเล่าสู่กันฟังเพื่อจะได้ไม่ต้องกินน้ำใบบัวบกวันหลัง
"สุ...ทธิพิทักษ์" คือนามสกุลของ ดร.ไสว สุทธิพิทักษ์ หนึ่งในผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ส่วน "ศาสตราภิชาน" คือตำแหน่งอาจารย์รับเชิญ ตำแหน่งนี้ก็คือ Chair-Professor ของมหาวิทยาลัยในต่างประเทศนั่นเอง คือ เชิญมาสอน บรรยาย วิจัย ชั่วระยะเวลาหนึ่ง
ธุรกิจบัณฑิตย์เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งแรกที่มีตำแหน่งเช่นนี้ (ที่จุฬาฯ มี ชิน โสภณพนิช ศาสตราภิชาน) มหาวิทยาลัยยังมีอีกสองตำแหน่ง คือ ปรีดี พนมยงค์ ศาสตราภิชาน (คนปัจจุบันที่เป็น คือ ศ.ดร.อัมมาร สยามวาลา) และเกตุทัตศาสตราภิชาน (คนปัจจุบันที่เป็น คือ ศ. ดร.อิสสระ นิติทัณฑ์ประภาศ อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ)
ดร.ภาพร บอกว่า ในการลงทุนต้องรู้จักกลโกงที่มีอยู่ดาษดื่นในประเทศไทยให้ดี การโยกเงินเกิดขึ้นก่อนกลบัญชี เพราะกลบัญชีคือการแต่งตัวเลขอย่างจงใจให้ดูดี เป็นวิธีการที่จะทำให้การฉ้อฉลดูดเอาเงินออกจากบริษัท (siphon) ดูไม่น่าเกลียด และทำให้นักลงทุนไม่เห็นในสิ่งที่ควรเห็น
สิ่งที่พูดนี้จะเกี่ยวเฉพาะการโยกเงินสดของบริษัทจากนักลงทุนรายย่อยสู่นักลงทุนรายใหญ่ หรือการเสกเงินในกระป๋องที่เป็นสมบัติรวมของนักลงทุนทุกคนมาอยู่ในกระเป๋าของผู้ถือหุ้นรายใหญ่
ขอเริ่มต้นจากการที่ผู้ก่อการทำธุรกิจ (ครอบครัวหรือคนกลุ่มหนึ่ง) ใช้ทุนของตนเองตั้งบริษัทประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จากนั้นมีการขายหุ้นหรือระดมทุนให้ประชาชนคนอื่นๆ มาร่วมลงทุนในกิจการนั้นด้วย ซึ่งกลุ่มผู้ก่อการก็จะเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ เมื่อประชุมผู้ถือหุ้นกันผู้ก่อการก็จะกลายเป็น CEO ไป (สมมติว่าเป็นทุนของกลุ่มใหญ่ 60 ล้านบาท ของนักลงทุนรายย่อย 40 ล้านบาท รวมเป็น 100 ล้านบาท)
ดร.ภาพร บอกว่าให้ระวังการ "รังแก" จากผู้ถือหุ้นรายใหญ่ให้ดี เพราะมีวิธีการผ่องถ่ายหรือดูดเงินของกองกลางมาเข้ากระป๋องตนเองหรือพรรคพวกอยู่ 3 วิธีหลักคือ (1) เอาเงินที่ลงทุนไปคืนมาก่อน (2) หักกำไรเอาไว้ก่อน และ (3) กู้เงินไม่มีดอกเบี้ยหรือไม่จ่ายหนี้
วิธีแรก ของการโกงก็คือ กลุ่มผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทซึ่งขอเรียกว่าบริษัท ก.ไปแอบเปิดบริษัท ข.และคณะกรรมการบริษัท ก. (ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนของกลุ่มลงทุนใหญ่ เพราะผู้มีเสียงข้างมากย่อมแต่งตั้งกรรมการบริษัทข้างมากได้เป็นธรรมดา) มีมติให้ไปลงทุนในบริษัท ข. ซึ่งมักเป็นบริษัทลี้ลับนอกตลาดหลักทรัพยฺ์ สมมติเป็นเงิน 60 ล้านบาท บริษัท ข.ซึ่งไม่ได้น่าลงทุนอะไรเลยก็ได้เงินไป 60 ล้านบาท และบริษัท ก.ก็ได้ใบหุ้นแสดงการร่วมทุนกับบริษัท ข.ไป แต่บริษัท ข.จริงๆ เป็นของกลุ่มผู้ถือหุ้นรายใหญ่
ดังนั้น กลุ่มนี้จึงได้เงินจำนวนนี้สบายแฮไป เรียกว่าได้เงินที่ลงทุนไปแต่แรกกลับคืนแล้ว ต่อไปจะเจ๊งก็ไม่กลัว
ในทางบัญชี บริษัท ก.ก็ยังเข้มแข็งอยู่เพราะเงินสด 60 ล้านบาท นั้นก็แค่แปรรูปเป็นหุ้นแสดงการลงทุนในบริษัท ข. เพียงแต่ว่าในความเป็นจริงผู้ถือหุ้นรายใหญ่เขาเล่นกลสูบเงินออกไปแล้ว แต่แมงเม่าทั้งหลายที่แห่ซื้อหุ้นบริษัท ก.ไว้ หารู้ไม่ว่าบัดนี้ตนเองได้ขยับเข้าใกล้กองไฟไปอีกหนึ่งขั้นแล้ว
วิธีการนี้แพร่หลายในบ้านเรามาก และทำกันมานานอย่างสนุกสนาน ที่รวยๆ กันจนซื้อบ้าน 50-60 ล้านบาท ก็มาจากวิธีนี้ไม่น้อย การสูบเงินแบบนี้ก็ทำกันมากในบริษัทหรือคนที่ร่วมหุ้นกันธรรมดาๆ โดยไม่จำเป็นต้องเป็นบริษัทใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์ แค่หน้าด้านและจิตใจชั่วร้ายเสียอย่างก็ทำได้อย่างสบายใจ
วิธีที่สอง คือ แอบดูดเอากำไรไว้ก่อนอย่างนอกเหนือจากเงินปันผล สมมติว่านาย ฮ.(ตั้งชื่อเพื่อให้ห่างไกลนาย ก. เพราะกลัวเผลออ่านไม่มีวรรค) เป็นผู้ก่อการธุรกิจและเป็น CEO ของบริษัท ก. วิธีที่ทำก็คือ นาย ฮ.มีเงินเดือนสูงมาก บวกรถประจำตำแหน่ง ค่ารับรอง ค่าคอนโด ค่าประกันชีวิต ค่าสันทนาการ ค่าประกันสุขภาพ ค่าเป็นสมาชิก Golf เรียกว่าสารพัดสิ่งที่เรียกว่า perks และสิทธิพิเศษในการซื้อหุ้นที่ต่ำกว่าราคาตลาด ฯลฯ
โดยผู้ถือหุ้นรายย่อยไม่มีทางรู้ได้เลย อย่างดีก็แค่รู้เงินเดือนจากการถามในที่ประชุมผู้ถือหุ้น ซึ่งอาจเป็นเพียง 1 ใน 4 ของรายได้ทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงินที่รับจริงรวมกันก็ได้
แค่นี้ยังพอทน แต่ที่มันหนักหนาก็คือ นาย ฮ.หรือกลุ่มพรรคพวกมักมีบริษัทส่วนตัวจำนวนมากที่มาทำธุรกิจวนเวียนอยู่กับบริษัท ก. และเรียกเก็บค่าบริการไม่ว่าจากการทำงานให้จริงหรือปลอม (คือมีแต่ลม แต่บริษัท ก.ต้องจ่ายเงินให้) หรือในราคาแพงสุดสุด หรือประมูลงานของ ก.ได้ทุกที ในราคาสุดแสบ โดยผู้ถือหุ้นรายย่อยไม่มีทางห้ามปรามได้
นอกจากนี้บริษัท ก.มีลูกบริษัทในเครือมากมาย (พนันได้ว่ากลุ่มนาย ฮ.ลงทุนร่วมทั้งเปิดเผยและแอบแฝง) นาย ฮ.และพรรคพวกบริหารงานหลายบริษัทจนได้เบี้ยประชุมมากมาย และบริษัทแม่คือ ก.จ่ายค่าบริหารจัดการ ค่าเดินทางไปเจรจาต่างประเทศ ค่าบริหารการตลาด ค่ารับรอง ฯลฯ ให้แก่บริษัทลูกเหล่านี้และคนเหล่านี้อย่างหน้าชื่น
ดร.ภาพร บอกว่า ที่มักทำกันก็คือ บริษัทส่วนตัวของ นาย ฮ.และพรรคพวก ซื้อขายสินค้ากับบริษัท ก.อย่างสนุกโดยใช้ราคาเป็นเครื่องมือ "สูบ" ถ้าซื้อทรัพย์สินจาก ก.ก็จะเป็นราคาต่ำมาก แต่ถ้าขายทรัพย์สินให้ ก.ก็จะเป็นราคาสูงมาก ถ้าขายสินค้าให้ ก.ราคาก็จะสูงปรี๊ด แต่ถ้าซื้อจาก ก.มาราคาก็ทิ่มดิน
อย่างนี้ถ้านาย ฮ.และพรรคพวกไม่รวยก็ไม่รู้จะว่าอย่างไรแล้ว แต่คนที่จนลงก็คือแมงเม่าผู้ถือหุ้นรายย่อยทั้งหลาย ควรจะได้รับเงินปันผลมากกว่าเดิม และบริษัทมั่นคงกว่าเดิมแต่ก็ไม่เกิดขึ้น จะแก้ไขข้อเสียเปรียบได้ก็คงต้องแต่งงานร่วมวงศ์อสัญแดหวา (โจร) กับนาย ฮ.กระมัง
วิธีที่สาม ก็คือ นาย ฮ.และผู้บริหารกู้เงินไม่มีดอกเบี้ยจากบริษัท ก. และบ่อยครั้งก็ชักดาบ แต่ก็ไม่มีปัญหาเพราะต่อมายกหนี้ให้โดยถือว่าเป็นโบนัส (ดร.ภาพร บอกว่า ไปดูงบการเงินของบริษัทใหญ่ที่ปรับโครงสร้างหนี้หลังวิกฤตเศรษฐกิจแล้ว จะเห็นชัดเจนว่า ผู้บริหารเหล่านี้เกิดมามีบุญวาสนามากเพราะหนี้ส่วนตัวจำนวนมาก ในที่สุดคนทั้งประเทศจะเป็นผู้รับภาระแทนด้วยเงินภาษีอากร)
บ่อยครั้ง บริษัท ก.กู้เงินจากธนาคาร และนำมาให้นาย ฮ.หรือบริษัทส่วนตัวของนาย ฮ.กู้ยืมเงินต่อด้วยอัตราดอกเบี้ยและมักแทงเป็นหนี้สูญเมื่อผ่านไปสักระยะหนึ่ง
นี่เป็นเพียงตัวอย่างส่วนน้อย ที่พิสดารมีมากกว่านี้อีก เช่น บริษ้ท ก.เช่าอาคารที่เป็นสมบัติส่วนตัวของนาย ฮ.สัญญา 50 ปี และจ่ายค่าเช่าล่วงหน้า 50 ปีให้นาย ฮ.ด้วย !
เงินเดือนของ นาย ฮ.และญาติพี่น้องของนาย ฮ.ในบริษัทนั้นรวมกันแล้วในแต่ละเดือนสูงนับเป็นร้อยเป็นพันเท่าของเงินเดือนของพนักงานในบริษัททุกคนรวมกัน
ถามว่าทางการตรวจสอบไม่ได้หรือด้วยวิธีการบัญชี คำตอบคือ ยากมาก เพราะเขาโยกกันไปก่อนแต่งบัญชี แต่จริงๆ ก็ทำได้ด้วยวิชา Forensic Accounting (ทำแบบหมอพรทิพย์ทำกับศพ แต่นี่คือ การ "แกะรอย" เส้นทางเดินของเงินสด การลงบัญชี ข้อมูลรอบข้าง ฯลฯ) แต่เสียเวลามาก และไม่มีใครอยากทำ
วิธีการเหล่านี้ ดร.ภาพร ซึ่งมีประสบการณ์ทำงานในด้านตรวจสอบบัญชีในภาคเอกชนและทำให้ภาครัฐมานานพอควร ตลอดจนสอนหนังสือในมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาหลายปี บอกว่าปัจจุบันก็ยังคงทำกันอยู่อย่างสนุกสนาน
จำเป็นหรือไม่ว่าวิธีการเหล่านี้จะเกิดเฉพาะในบริษัทใหญ่ในตลาดที่ผู้ก่อการและครอบครัวถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 50 คำตอบคือไม่จำเป็น แค่ถือหุ้นรวมกันร้อยละ 30 ก็สามารถทำให้นาย ฮ.เป็น CEO และแต่งตั้งพรรคพวกเป็นกรรมการเพื่อร่วมกันปู้ยี่ปู้ยำบริษัทในระดับที่พอทำให้บริษัทอยู่ได้ มีกำไร และผู้ถือหุ้นพอใจ
ทั้งนี้ เพราะผู้ถือหุ้นไทยมักไม่ไปประชุมผู้ถือหุ้นกัน และไม่มอบฉันทะให้ใครลงคะแนนแทนด้วย
ดร.ภาพร บอกว่าไม่ใช่ทุกบริษัทในตลาดที่ "สูบ" บริษัทไทยที่มีธรรมาภิบาลก็มีอยู่เหมือนกัน มีคุณธรรมและจริยธรรมพอที่จะไม่ "รังแก" ผู้ถือหุ้นรายย่อยท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่การควบคุม ติดตาม ตรวจจับ กลโกงเหล่านี้เป็นไปได้ยากเย็น และยังไม่เห็นวี่แววว่าจะมีการออกกฎหมายลงโทษหนัก และเอาคนทำผิดติดคุกจริงๆ สักที
กลโกงเหล่านี้ ในบริษัทเล็กๆ ที่ท่านร่วมหุ้นกับเพื่อนก็เกิดขึ้นได้ หากท่านไม่สร้างกติกาป้องกันให้ดี ท่านอาจเสียทั้งเงินและเพื่อนด้วย
"สุ...ทธิพิทักษ์" คือนามสกุลของ ดร.ไสว สุทธิพิทักษ์ หนึ่งในผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ส่วน "ศาสตราภิชาน" คือตำแหน่งอาจารย์รับเชิญ ตำแหน่งนี้ก็คือ Chair-Professor ของมหาวิทยาลัยในต่างประเทศนั่นเอง คือ เชิญมาสอน บรรยาย วิจัย ชั่วระยะเวลาหนึ่ง
ธุรกิจบัณฑิตย์เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งแรกที่มีตำแหน่งเช่นนี้ (ที่จุฬาฯ มี ชิน โสภณพนิช ศาสตราภิชาน) มหาวิทยาลัยยังมีอีกสองตำแหน่ง คือ ปรีดี พนมยงค์ ศาสตราภิชาน (คนปัจจุบันที่เป็น คือ ศ.ดร.อัมมาร สยามวาลา) และเกตุทัตศาสตราภิชาน (คนปัจจุบันที่เป็น คือ ศ. ดร.อิสสระ นิติทัณฑ์ประภาศ อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ)
ดร.ภาพร บอกว่า ในการลงทุนต้องรู้จักกลโกงที่มีอยู่ดาษดื่นในประเทศไทยให้ดี การโยกเงินเกิดขึ้นก่อนกลบัญชี เพราะกลบัญชีคือการแต่งตัวเลขอย่างจงใจให้ดูดี เป็นวิธีการที่จะทำให้การฉ้อฉลดูดเอาเงินออกจากบริษัท (siphon) ดูไม่น่าเกลียด และทำให้นักลงทุนไม่เห็นในสิ่งที่ควรเห็น
สิ่งที่พูดนี้จะเกี่ยวเฉพาะการโยกเงินสดของบริษัทจากนักลงทุนรายย่อยสู่นักลงทุนรายใหญ่ หรือการเสกเงินในกระป๋องที่เป็นสมบัติรวมของนักลงทุนทุกคนมาอยู่ในกระเป๋าของผู้ถือหุ้นรายใหญ่
ขอเริ่มต้นจากการที่ผู้ก่อการทำธุรกิจ (ครอบครัวหรือคนกลุ่มหนึ่ง) ใช้ทุนของตนเองตั้งบริษัทประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จากนั้นมีการขายหุ้นหรือระดมทุนให้ประชาชนคนอื่นๆ มาร่วมลงทุนในกิจการนั้นด้วย ซึ่งกลุ่มผู้ก่อการก็จะเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ เมื่อประชุมผู้ถือหุ้นกันผู้ก่อการก็จะกลายเป็น CEO ไป (สมมติว่าเป็นทุนของกลุ่มใหญ่ 60 ล้านบาท ของนักลงทุนรายย่อย 40 ล้านบาท รวมเป็น 100 ล้านบาท)
ดร.ภาพร บอกว่าให้ระวังการ "รังแก" จากผู้ถือหุ้นรายใหญ่ให้ดี เพราะมีวิธีการผ่องถ่ายหรือดูดเงินของกองกลางมาเข้ากระป๋องตนเองหรือพรรคพวกอยู่ 3 วิธีหลักคือ (1) เอาเงินที่ลงทุนไปคืนมาก่อน (2) หักกำไรเอาไว้ก่อน และ (3) กู้เงินไม่มีดอกเบี้ยหรือไม่จ่ายหนี้
วิธีแรก ของการโกงก็คือ กลุ่มผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทซึ่งขอเรียกว่าบริษัท ก.ไปแอบเปิดบริษัท ข.และคณะกรรมการบริษัท ก. (ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนของกลุ่มลงทุนใหญ่ เพราะผู้มีเสียงข้างมากย่อมแต่งตั้งกรรมการบริษัทข้างมากได้เป็นธรรมดา) มีมติให้ไปลงทุนในบริษัท ข. ซึ่งมักเป็นบริษัทลี้ลับนอกตลาดหลักทรัพยฺ์ สมมติเป็นเงิน 60 ล้านบาท บริษัท ข.ซึ่งไม่ได้น่าลงทุนอะไรเลยก็ได้เงินไป 60 ล้านบาท และบริษัท ก.ก็ได้ใบหุ้นแสดงการร่วมทุนกับบริษัท ข.ไป แต่บริษัท ข.จริงๆ เป็นของกลุ่มผู้ถือหุ้นรายใหญ่
ดังนั้น กลุ่มนี้จึงได้เงินจำนวนนี้สบายแฮไป เรียกว่าได้เงินที่ลงทุนไปแต่แรกกลับคืนแล้ว ต่อไปจะเจ๊งก็ไม่กลัว
ในทางบัญชี บริษัท ก.ก็ยังเข้มแข็งอยู่เพราะเงินสด 60 ล้านบาท นั้นก็แค่แปรรูปเป็นหุ้นแสดงการลงทุนในบริษัท ข. เพียงแต่ว่าในความเป็นจริงผู้ถือหุ้นรายใหญ่เขาเล่นกลสูบเงินออกไปแล้ว แต่แมงเม่าทั้งหลายที่แห่ซื้อหุ้นบริษัท ก.ไว้ หารู้ไม่ว่าบัดนี้ตนเองได้ขยับเข้าใกล้กองไฟไปอีกหนึ่งขั้นแล้ว
วิธีการนี้แพร่หลายในบ้านเรามาก และทำกันมานานอย่างสนุกสนาน ที่รวยๆ กันจนซื้อบ้าน 50-60 ล้านบาท ก็มาจากวิธีนี้ไม่น้อย การสูบเงินแบบนี้ก็ทำกันมากในบริษัทหรือคนที่ร่วมหุ้นกันธรรมดาๆ โดยไม่จำเป็นต้องเป็นบริษัทใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์ แค่หน้าด้านและจิตใจชั่วร้ายเสียอย่างก็ทำได้อย่างสบายใจ
วิธีที่สอง คือ แอบดูดเอากำไรไว้ก่อนอย่างนอกเหนือจากเงินปันผล สมมติว่านาย ฮ.(ตั้งชื่อเพื่อให้ห่างไกลนาย ก. เพราะกลัวเผลออ่านไม่มีวรรค) เป็นผู้ก่อการธุรกิจและเป็น CEO ของบริษัท ก. วิธีที่ทำก็คือ นาย ฮ.มีเงินเดือนสูงมาก บวกรถประจำตำแหน่ง ค่ารับรอง ค่าคอนโด ค่าประกันชีวิต ค่าสันทนาการ ค่าประกันสุขภาพ ค่าเป็นสมาชิก Golf เรียกว่าสารพัดสิ่งที่เรียกว่า perks และสิทธิพิเศษในการซื้อหุ้นที่ต่ำกว่าราคาตลาด ฯลฯ
โดยผู้ถือหุ้นรายย่อยไม่มีทางรู้ได้เลย อย่างดีก็แค่รู้เงินเดือนจากการถามในที่ประชุมผู้ถือหุ้น ซึ่งอาจเป็นเพียง 1 ใน 4 ของรายได้ทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงินที่รับจริงรวมกันก็ได้
แค่นี้ยังพอทน แต่ที่มันหนักหนาก็คือ นาย ฮ.หรือกลุ่มพรรคพวกมักมีบริษัทส่วนตัวจำนวนมากที่มาทำธุรกิจวนเวียนอยู่กับบริษัท ก. และเรียกเก็บค่าบริการไม่ว่าจากการทำงานให้จริงหรือปลอม (คือมีแต่ลม แต่บริษัท ก.ต้องจ่ายเงินให้) หรือในราคาแพงสุดสุด หรือประมูลงานของ ก.ได้ทุกที ในราคาสุดแสบ โดยผู้ถือหุ้นรายย่อยไม่มีทางห้ามปรามได้
นอกจากนี้บริษัท ก.มีลูกบริษัทในเครือมากมาย (พนันได้ว่ากลุ่มนาย ฮ.ลงทุนร่วมทั้งเปิดเผยและแอบแฝง) นาย ฮ.และพรรคพวกบริหารงานหลายบริษัทจนได้เบี้ยประชุมมากมาย และบริษัทแม่คือ ก.จ่ายค่าบริหารจัดการ ค่าเดินทางไปเจรจาต่างประเทศ ค่าบริหารการตลาด ค่ารับรอง ฯลฯ ให้แก่บริษัทลูกเหล่านี้และคนเหล่านี้อย่างหน้าชื่น
ดร.ภาพร บอกว่า ที่มักทำกันก็คือ บริษัทส่วนตัวของ นาย ฮ.และพรรคพวก ซื้อขายสินค้ากับบริษัท ก.อย่างสนุกโดยใช้ราคาเป็นเครื่องมือ "สูบ" ถ้าซื้อทรัพย์สินจาก ก.ก็จะเป็นราคาต่ำมาก แต่ถ้าขายทรัพย์สินให้ ก.ก็จะเป็นราคาสูงมาก ถ้าขายสินค้าให้ ก.ราคาก็จะสูงปรี๊ด แต่ถ้าซื้อจาก ก.มาราคาก็ทิ่มดิน
อย่างนี้ถ้านาย ฮ.และพรรคพวกไม่รวยก็ไม่รู้จะว่าอย่างไรแล้ว แต่คนที่จนลงก็คือแมงเม่าผู้ถือหุ้นรายย่อยทั้งหลาย ควรจะได้รับเงินปันผลมากกว่าเดิม และบริษัทมั่นคงกว่าเดิมแต่ก็ไม่เกิดขึ้น จะแก้ไขข้อเสียเปรียบได้ก็คงต้องแต่งงานร่วมวงศ์อสัญแดหวา (โจร) กับนาย ฮ.กระมัง
วิธีที่สาม ก็คือ นาย ฮ.และผู้บริหารกู้เงินไม่มีดอกเบี้ยจากบริษัท ก. และบ่อยครั้งก็ชักดาบ แต่ก็ไม่มีปัญหาเพราะต่อมายกหนี้ให้โดยถือว่าเป็นโบนัส (ดร.ภาพร บอกว่า ไปดูงบการเงินของบริษัทใหญ่ที่ปรับโครงสร้างหนี้หลังวิกฤตเศรษฐกิจแล้ว จะเห็นชัดเจนว่า ผู้บริหารเหล่านี้เกิดมามีบุญวาสนามากเพราะหนี้ส่วนตัวจำนวนมาก ในที่สุดคนทั้งประเทศจะเป็นผู้รับภาระแทนด้วยเงินภาษีอากร)
บ่อยครั้ง บริษัท ก.กู้เงินจากธนาคาร และนำมาให้นาย ฮ.หรือบริษัทส่วนตัวของนาย ฮ.กู้ยืมเงินต่อด้วยอัตราดอกเบี้ยและมักแทงเป็นหนี้สูญเมื่อผ่านไปสักระยะหนึ่ง
นี่เป็นเพียงตัวอย่างส่วนน้อย ที่พิสดารมีมากกว่านี้อีก เช่น บริษ้ท ก.เช่าอาคารที่เป็นสมบัติส่วนตัวของนาย ฮ.สัญญา 50 ปี และจ่ายค่าเช่าล่วงหน้า 50 ปีให้นาย ฮ.ด้วย !
เงินเดือนของ นาย ฮ.และญาติพี่น้องของนาย ฮ.ในบริษัทนั้นรวมกันแล้วในแต่ละเดือนสูงนับเป็นร้อยเป็นพันเท่าของเงินเดือนของพนักงานในบริษัททุกคนรวมกัน
ถามว่าทางการตรวจสอบไม่ได้หรือด้วยวิธีการบัญชี คำตอบคือ ยากมาก เพราะเขาโยกกันไปก่อนแต่งบัญชี แต่จริงๆ ก็ทำได้ด้วยวิชา Forensic Accounting (ทำแบบหมอพรทิพย์ทำกับศพ แต่นี่คือ การ "แกะรอย" เส้นทางเดินของเงินสด การลงบัญชี ข้อมูลรอบข้าง ฯลฯ) แต่เสียเวลามาก และไม่มีใครอยากทำ
วิธีการเหล่านี้ ดร.ภาพร ซึ่งมีประสบการณ์ทำงานในด้านตรวจสอบบัญชีในภาคเอกชนและทำให้ภาครัฐมานานพอควร ตลอดจนสอนหนังสือในมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาหลายปี บอกว่าปัจจุบันก็ยังคงทำกันอยู่อย่างสนุกสนาน
จำเป็นหรือไม่ว่าวิธีการเหล่านี้จะเกิดเฉพาะในบริษัทใหญ่ในตลาดที่ผู้ก่อการและครอบครัวถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 50 คำตอบคือไม่จำเป็น แค่ถือหุ้นรวมกันร้อยละ 30 ก็สามารถทำให้นาย ฮ.เป็น CEO และแต่งตั้งพรรคพวกเป็นกรรมการเพื่อร่วมกันปู้ยี่ปู้ยำบริษัทในระดับที่พอทำให้บริษัทอยู่ได้ มีกำไร และผู้ถือหุ้นพอใจ
ทั้งนี้ เพราะผู้ถือหุ้นไทยมักไม่ไปประชุมผู้ถือหุ้นกัน และไม่มอบฉันทะให้ใครลงคะแนนแทนด้วย
ดร.ภาพร บอกว่าไม่ใช่ทุกบริษัทในตลาดที่ "สูบ" บริษัทไทยที่มีธรรมาภิบาลก็มีอยู่เหมือนกัน มีคุณธรรมและจริยธรรมพอที่จะไม่ "รังแก" ผู้ถือหุ้นรายย่อยท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่การควบคุม ติดตาม ตรวจจับ กลโกงเหล่านี้เป็นไปได้ยากเย็น และยังไม่เห็นวี่แววว่าจะมีการออกกฎหมายลงโทษหนัก และเอาคนทำผิดติดคุกจริงๆ สักที
กลโกงเหล่านี้ ในบริษัทเล็กๆ ที่ท่านร่วมหุ้นกับเพื่อนก็เกิดขึ้นได้ หากท่านไม่สร้างกติกาป้องกันให้ดี ท่านอาจเสียทั้งเงินและเพื่อนด้วย
- Ii'8N
- Verified User
- โพสต์: 3682
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กลโกงผู้บริหาร..สีเทาดำ
โพสต์ที่ 14
Arpieaw เขียน:CPF มีบริษัทย่อยเยอะมากเลยคับthalucoz เขียน:สาธุ ครับ
ถ้างั้น การลงทุนถ้าจะให้ปลอดภัยก็น่าจะดูบริษัทที่ไม่ค่อยมีบริษัทย่อย และมีรายการระหว่างกันไม่มาก หรือเปล่าครับ
ถ้าเป็นบริษัทย่อย คือบริษัทลูกจริงๆ ก็แล้วแต่สถานการณ์ แม้ผู้ถือหุ้นรายย่อยจะไม่รู้ข้อมูลได้ทั้งหมด แต่เบื้องต้น ก็ยังถือว่าเข้าพกเข้าห่อ เข้ากิจการ holding บริษัทใหญ่
และขึ้นกับความตั้งใจจริง ว่าตั้งมาเพื่อให้เกิดกิจกรรมสนับสนุน หรือเพื่อธุรกรรมแอบแฝงกันแน่
แต่ที่เป็นบริษัทส่วนตัวแล้วให้เข้ามาบริการหารายได้จากบริษัทใหญ่นี่สิครับ บางทีก็ช่วยให้เกิดประโยชน์ แต่มักหนีไม่พ้นมีเลศนัยหาผลประโยชน์เข้าพกเข้าห่อ อย่างที่ดร.ภาพรว่าไว้
แม้ว่าจะเป็นบริษัทของผู้ก่อตั้งก็จริง แต่นั่นก็หนีไม่พ้นกับคำว่า "ส่วนตัว" เพราะบริษัทใหญ่ ถ้าลงว่า IPO ไปแล้ว ตอนนี้ไม่ใช่สมบัติของตัวเอง 100% แล้ว แต่ส่วนหนึ่งเป็นของ "มหาชน"
ถ้าสมมติหุ้นท่านผู้ก่อตั้งเหลือ 60% อีก 40% เป็นของมหาชนจากการระดมทุน ผลกำไรก็ควรได้แค่จากการปันผลจากการแบ่ง 60% นั้น ไม่ควรมีแถม ด้วยการเอาบริษัทส่วนตัวมาดูดเงินพิเศษ หรือแอบจ่าย ESOP ออกไปให้ตัวเองเยอะๆ ถือว่าฉ้อโกงประชาชนที่ถือส่วน 40% อยู่
- Ii'8N
- Verified User
- โพสต์: 3682
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กลโกงผู้บริหาร..สีเทาดำ
โพสต์ที่ 15
พออ่า่นที่คุณ financeseed นึกถึงอีกเรืิ่องคือ "ล้มบนฟูก"
บังเอิญผมความรู้ไม่พอแต่เคยได้ยินมาเลาๆ มีเจ้าของกิจการที่ว่าล้มละลาย กิจการยอบแยบ ผู้ถือหุ้นรายอื่นหรือรายย่อยย่ำแย่ แต่ตัวเ้องจริงๆ ยังร่ำรวยอยู่สุขสบาย แม้จะไม่ได้เป็นเจ้าของ แต่ก็ได้ดูด "คุ้ม" ไปแล้ว
ใครพอรู้ว่าเขาใช้เทคนิคเนียนๆ เพิ่มเติมจากที่เห็นในบทความอย่างไรลองเอามาแชร์ด้วยครับ เพื่อประโยชน์ต่อเพื่อนนักลงทุน ให้ระมัดระวังรอบคอบขึ้น ไม่จำเป็นต้องพาดพิงใครก็ได้ เอาวิธีการให้ได้รู้ก็พอ
บังเอิญผมความรู้ไม่พอแต่เคยได้ยินมาเลาๆ มีเจ้าของกิจการที่ว่าล้มละลาย กิจการยอบแยบ ผู้ถือหุ้นรายอื่นหรือรายย่อยย่ำแย่ แต่ตัวเ้องจริงๆ ยังร่ำรวยอยู่สุขสบาย แม้จะไม่ได้เป็นเจ้าของ แต่ก็ได้ดูด "คุ้ม" ไปแล้ว
ใครพอรู้ว่าเขาใช้เทคนิคเนียนๆ เพิ่มเติมจากที่เห็นในบทความอย่างไรลองเอามาแชร์ด้วยครับ เพื่อประโยชน์ต่อเพื่อนนักลงทุน ให้ระมัดระวังรอบคอบขึ้น ไม่จำเป็นต้องพาดพิงใครก็ได้ เอาวิธีการให้ได้รู้ก็พอ
- ply33
- Verified User
- โพสต์: 592
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กลโกงผู้บริหาร..สีเทาดำ
โพสต์ที่ 18
สีเทานี่กว้้างมากไม่ทราบว่าคำจำกัดความคืออะไร แต่ถ้าเอาที่ผมเข้าใจคือมีสามสี ขาว เทา ดำ
ง่ายๆคือ เทากับดำก็คือไม่ใช่สีขาว และขาวก็คือทำทุกอย่างตามกฎกติกามารยาททั้งหมดทั้งสิ้น
ถ้าเป็นอย่างนี้ผมขอถามพี่น้องอีกด้านนะครับ
มีบริษัทใดบ้างที่เป็นสีขาว (จะง่ายกว่ามั้ยครับ) ??
ง่ายๆคือ เทากับดำก็คือไม่ใช่สีขาว และขาวก็คือทำทุกอย่างตามกฎกติกามารยาททั้งหมดทั้งสิ้น
ถ้าเป็นอย่างนี้ผมขอถามพี่น้องอีกด้านนะครับ
มีบริษัทใดบ้างที่เป็นสีขาว (จะง่ายกว่ามั้ยครับ) ??
0--- ฉลามเสือดาว ล่องลอยไปในทะเลกว้างใหญ่ ---0
- Java The Boy
- Verified User
- โพสต์: 497
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กลโกงผู้บริหาร..สีเทาดำ
โพสต์ที่ 19
ว่าจะอ่านอย่างเดียวขี้เกียจพิมพ์ แต่คิดว่าเรื่องนี้น่าจะมีประโยชน์ แต่ไม่ค่อยมีคนรู้ว่าผบห.ในตลาดโกงกันอย่างไร
"ทอนตังค์" เวลาเราซื้อของแล้วจ่ายเงินไปมากกว่ามูลค่าของ ร้านก็จะทอนตังค์ให้เราใช่ไหม
ในตลาดก็มีการทอนตังค์กันด้วย เช่น...
บริษัทต้องการขยายโรงงาน ต้องซื้อเครื่องจักรจากต่างประเทศ 200 ล้าน ผบห.อนุมัติ บริษัทก็ทำเรื่องจัดซื้อ ต่อรองราคากันไป สมมุติว่าได้ลดมา 20% ก็ตกลงซื้อ ติดตั้ง แต่บิลต้องออกเต็ม
เวลาจ่ายเงินก็จ่ายเต็ม 200 ล้าน ส่วนเงินทอน ผบห.จะบินไปรับเองที่ต่างประเทศ และเก็บไว้ไม่แจ้ง
บริษัทที่ทำแบบนี้ส่วนใหญ่จะมีผู้ถือหุ้นใหญ่นามสกุลเดียวกันรวมกันได้จำนวนมาก
มีเพื่อนตีกอล์ฟด้วยกันเป็นผบห.ในบริษัทจดทะเบียน ใหญ่โตติดอันดับในเอเซียเล่าให้ฟังว่าเขาบินไปรับตังค์ทอน จับยาก ไม่มีหลักฐาน เขาบอกว่าใครๆ ก็ทำอย่างนี้ ผมมาคิดดูก็คิดว่าคงจะจริง
ก็เลยเป็นประสบการณ์ที่เอามาเล่าให้ฟังครับ
"ทอนตังค์" เวลาเราซื้อของแล้วจ่ายเงินไปมากกว่ามูลค่าของ ร้านก็จะทอนตังค์ให้เราใช่ไหม
ในตลาดก็มีการทอนตังค์กันด้วย เช่น...
บริษัทต้องการขยายโรงงาน ต้องซื้อเครื่องจักรจากต่างประเทศ 200 ล้าน ผบห.อนุมัติ บริษัทก็ทำเรื่องจัดซื้อ ต่อรองราคากันไป สมมุติว่าได้ลดมา 20% ก็ตกลงซื้อ ติดตั้ง แต่บิลต้องออกเต็ม
เวลาจ่ายเงินก็จ่ายเต็ม 200 ล้าน ส่วนเงินทอน ผบห.จะบินไปรับเองที่ต่างประเทศ และเก็บไว้ไม่แจ้ง
บริษัทที่ทำแบบนี้ส่วนใหญ่จะมีผู้ถือหุ้นใหญ่นามสกุลเดียวกันรวมกันได้จำนวนมาก
มีเพื่อนตีกอล์ฟด้วยกันเป็นผบห.ในบริษัทจดทะเบียน ใหญ่โตติดอันดับในเอเซียเล่าให้ฟังว่าเขาบินไปรับตังค์ทอน จับยาก ไม่มีหลักฐาน เขาบอกว่าใครๆ ก็ทำอย่างนี้ ผมมาคิดดูก็คิดว่าคงจะจริง
ก็เลยเป็นประสบการณ์ที่เอามาเล่าให้ฟังครับ
ความสุขที่แท้จริงของมนุษย์มีอยู่ 4 ข้อคือ...
ได้อยู่ในที่อากาศปลอดโปร่ง
พ้นจากความทะเยอทะยาน
ทำงานสร้างสรรค์
และรักใครสักคน ...
"อัลแบร์ กามูส์"
ได้อยู่ในที่อากาศปลอดโปร่ง
พ้นจากความทะเยอทะยาน
ทำงานสร้างสรรค์
และรักใครสักคน ...
"อัลแบร์ กามูส์"
- densin
- Verified User
- โพสต์: 1073
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กลโกงผู้บริหาร..สีเทาดำ
โพสต์ที่ 20
พวกเอาบริษัทไปทำมาตรฐาน ISO ก็มีการทอนตังค์ผู้บริหารเหมือนกันJava The Boy เขียน:ว่าจะอ่านอย่างเดียวขี้เกียจพิมพ์ แต่คิดว่าเรื่องนี้น่าจะมีประโยชน์ แต่ไม่ค่อยมีคนรู้ว่าผบห.ในตลาดโกงกันอย่างไร
"ทอนตังค์" เวลาเราซื้อของแล้วจ่ายเงินไปมากกว่ามูลค่าของ ร้านก็จะทอนตังค์ให้เราใช่ไหม
ในตลาดก็มีการทอนตังค์กันด้วย เช่น...
บริษัทต้องการขยายโรงงาน ต้องซื้อเครื่องจักรจากต่างประเทศ 200 ล้าน ผบห.อนุมัติ บริษัทก็ทำเรื่องจัดซื้อ ต่อรองราคากันไป สมมุติว่าได้ลดมา 20% ก็ตกลงซื้อ ติดตั้ง แต่บิลต้องออกเต็ม
เวลาจ่ายเงินก็จ่ายเต็ม 200 ล้าน ส่วนเงินทอน ผบห.จะบินไปรับเองที่ต่างประเทศ และเก็บไว้ไม่แจ้ง
บริษัทที่ทำแบบนี้ส่วนใหญ่จะมีผู้ถือหุ้นใหญ่นามสกุลเดียวกันรวมกันได้จำนวนมาก
มีเพื่อนตีกอล์ฟด้วยกันเป็นผบห.ในบริษัทจดทะเบียน ใหญ่โตติดอันดับในเอเซียเล่าให้ฟังว่าเขาบินไปรับตังค์ทอน จับยาก ไม่มีหลักฐาน เขาบอกว่าใครๆ ก็ทำอย่างนี้ ผมมาคิดดูก็คิดว่าคงจะจริง
ก็เลยเป็นประสบการณ์ที่เอามาเล่าให้ฟังครับ
บริษัทนอกตลาดในตลาด เหมือนกันหมด ถ้าผู้บริหารคือเจ้าของเอง ก้เป็นการช่วนผถห.หนีภาษี
พวกประกันก็มีนะครับ ประกันชีวิตให้ผู้บริหาร เงินบริษัทจ่าย
แล้วหมดประกันจ่ายให้ผู้บริหารไป แถมไม่ต้องเสียภาษีอย่างถูกกฏหมาย
VI สายมืด = VI หน้ามืดซื้อตัวฮอทๆอย่าไม่ลืมหูลืมตา
- extraordinary
- Verified User
- โพสต์: 122
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กลโกงผู้บริหาร..สีเทาดำ
โพสต์ที่ 21
เจ้าสัวนอนไม่หลับ
ขออภัยด้วยครับที่ไม่ได้ลงเครดิตที่มา เซฟไฟล์เก็บไว้นานมากๆแล้วคืนนี้ เจ้าสัวนอนไม่หลับ ความจริง เจ้าสัวนอนไม่หลับมาหลายคืนแล้ว
นับตั้งแต่วันที่ผู้จัดการฝ่ายการเงินบอกว่าบริษัทของท่านกำลังขาดสภาพคล่อง
และภายในสิ้นปีนี้ถ้าท่านไม่สามารถ หาแหล่งเงินกู้ใหม่เข้ามารีไฟแนนซ์หุ้นกู้ 500 ล้านบาท
ที่กำลังจะครบกำหนด บริษัทจะมีปัญหาถึงขั้นถูกเจ้าหนี้ฟ้องล้ม ละลายได้
ยิ่งคิดยิ่งนอนไม่หลับ เจ้าสัวนึกน้อยใจในโชคชะตา ว่า
ทำไมชีวิตตของท่าต้องเป็นเช่นนี้ ท่านยังจำได้ว่าช่วงเศรษฐกิจดีดี หากบริษัทต้องการเงินสัก 500 ล้านบาท
ท่านเพียงแต่โทรศัพท์ไปคุยกับผู้จัดการใหญ่ของธนาคาร ปรารภสองสามคำ ไม่ถึงครึ่งหรือหนึ่งชัว่โมง
ผู้อำนวยการฝ่ายสินเชื่อก็รีบมาพบท่านถึงที่บริษัท เสนอช่องทางต่าง ๆ ที่จะระดมเงินไม่ว่าการ od ธนาคาร
การกู้ระยะยาว หรือแม้แต่การหาแหล่งเงินกู้จากต่างประเทศ
แต่เวลานี้ หลังเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ท่านเจ้าสัวลงแรงไปพบผู้จัดการใหญ่ที่ธนาคาร ผู้จัดการใหญ่ได้แต่ส่ายหน้า
พร้อมพูดว่า ยุคสมัยมันเปลี่ยนไปแล้ว มาระยะหลัง ผู้จัดการใหญ่ไม่ยอมให้พบโดยให้เลขานุการหน้าห้องแจ้งว่าท่านติดประชุม
เจ้าสัวนึกถึงเรื่อง นี้แล้วได้แต่ถอนใจ แต่ท่านไม่เคยยอมแพ้ต่อโชคชะตา
ท่านคิดว่า ทรัพย์สินต่าง ๆ ท่านสร้างมากับมือ ต้องใช้ชั้นเชิง เล่ห์เหลี่ยม และวิธีการสารพัดกว่าจะได้มา
จะปล่อยให้หลุดมือไปต่อหน้าต่อตาได้อย่างไร คิดได้เช่นนั้นแล้ว สมองอันปราดเปรื่องแกมโกงของท่านก็เริ่มทำงาน
แหม ก็ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทกว่า 50 % อีกทั้งยังกุมอำนาจในการบริหารแบบเบ็ดเสร็จในฐานะประธานกรรมการ
มีลูกชายคนโตเป็นกรรมการผู้จัดการ เจ้าสัวจึงเริ่มดำเนินการผ่องถ่ายทรัพย์สิน ด้วยสารพัดวิธี ดังนี้
1. ขายสินทรัพย์ดีของบริษัทออกไปในราคาถูก ๆ อาจจะเป็น อาคาร ที่ดิน หรือหุ้นในบริษัทย่อย
โดยอ้างว่า ธุรกิจนั้นขาดทุนอยู่ ไม่รู้ว่าราคาตลาดอยู่ที่เท่าไร หรือสมคบกับบริษัทประเมินราคาตีค่าทรัพย์สินเหล่านั้นในราคาถูกแล้วขายให้
ตัวแทนของตน หรือบริษัทอีกแห่งที่ตนมีส่วนได้ส่วนเสียเป็นผู้ได้ประโยชน์ไป
2. ซื้อสินทรัพย์เน่าราคาแพงเข้าบริษัท หากบริษัทยังมีรายได้เข้ามาแทนที่จะนำไปชำระหนี้สิน
เจ้าสัวกลับสั่งให้นำเงินนั้นไปซื้อทรัพย์สินที่ไม่มีความจำเป็นกับธุรกิจ เช่น หุ้น ที่ดิน หรือบริษัท เน่า ๆ ที่ตนถือหุ้นอยู่100%เข้าบริษัท
เป็นการระบายขายของเสียให้บริษัท หรืออาจให้บริษัทไปเทคโอเวอร์กิจการที่แพงเกินเหตุ โดยตนเองได้รับค่านายหน้าในการจัดการให้
3. ปล่อยกู้ให้กิจการในเครือ ที่เจ้าสัวถือหุ้นใหญ่อยู่ หรือตั้งบริษัทกระดาษขึ้นบังหน้า เพื่อขอกู้เงิน
โดยไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ทุนจดทะเบียนต่ำไม่มีการประกอบกิจการที่ชัดเจน แล้วภายหลังแจ้งว่า
ลูกหนี้ขาดสภาพคล่องไม่มีความสามารถในการชำระหนี้ บริษัทเลยตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญทั้งที่ความจริง
เจ้าสัวรู้ตั้งแต่วันแรกแล้วว่าไม่ได้เงินคืน เพราะเงินที่ปล่อยกู้ ใช้วิธีจ่ายเช็คเงินสด โอนถ่ายกันหลายมือหลายทอด
ยากต่อการตรวจสอบ แต่คงเดาได้ว่า สุดท้ายเงินตกไปอยู่ในกระเป๋าใคร
4. เบียดบังทรัพย์สินของบริษัทไปใช้ธุรกิจส่วนตัว รวมถึงการนำค่าใช้จ่ายในการทำธุรกิจส่วนตัว เช่น ค่าเครื่องบิน ค่าที่พัก ไปเบิกจากบัญชีบริษัท
5. ตั้งบริษัท ส่วนตัว รับช่วงหาประโยชน์ กินหัวคิว เช่น รับจัดหาวัตถุดิบให้กับบริษัทแม่ ทั้งที่บริษัทแม่เองก็
ดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสียกำไรที่ควรได้ให้ บริษัทนายหน้าไป
6.แต่งบัญชีสร้างราคาหุ้น เพื่อระบายหุ้นออก เร่งบันทึกกำไร ชะลอการบัทึกค่าใช้จ่าย สร้างภาพธุรกิจของบริษัทกำลังฟื้นตัว
อาจแถมท้ายด้วยการแจก warrant ฟรี 4 ต่อ 1 เดิม เพื่อดึงรายย่อยเข้ามาเก็งกำไร ตนเองจะได้ระบาย ลดสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัท
7. ยักยอกทรัพย์แล้วแต่งบัญชีปกปิด บทสุดท้ายของการผ่องถ่ายทรัพย์สิน คือยักยอกทรัพย์สินแล้วแต่งบัญชีว่า
สินค้าในระหว่างการผลิตเสียหาย ค่าใช้จ่ายสูงเก็บหนี้ไม่ได้ หรือบันทึกรายได้ต่ำกว่าความเป็นจริง แล้วโอนเงินนั้นเข้ากระเป๋าตนเอง
สูบเลือดจนบรัษัท ขาดสภาพคล่อง สุดท้ายประกาศปิดโรงงาน ปลดคนงานออก รอให้ธนาคารมายึด หรือเรียกไปปรับโครงสร้างหนี้
คิดได้ถึง ตรงนี้เจ้าสัวก็บังเกิดมีรอยยิ้มที่มุมปาก ความคิดที่หนักตื้ออยู่ในสมองหลายวัน พลันสลายกลายเป็นความโล่งโปร่งสบาย
เจ้า สัว นึกกระหยิ่มในใจกับความชาญฉลาดของตน บอกตนเองว่า ความจริง วิธีการผ่องถ่ายยังมีอีกเยอะ แต่ไม่เหมาะกับสถานการณ์ เป็นต้นว่า
- ทำเรื่องยืมเงินจากบริษัทในอัตราดอกเบี้ยถูก ๆ แล้วนำไปเล่นหุ้นหรือแม้แต่มาปั่นหุ้นของบริษัทตนเอง
- จ่ายเบี้ยประชุม โบนัส หรือ วอร์แร้นท์ ให้กรรมการผูบริหารเยอะ ๆ ทั้งที่บริษัทยังขาดทุน
- ค้ำประกันเงินกู้ให้บริษัทกระดาษของเจ้าสัว สุดท้ายต้องรับชดใช้เงินกู้ให้ เนื่องจากบริษัทกระดาษเจ๊ง
- วางเพลิง เป็นมาตราการเด็ดขาดในการทำลายหลักฐานทางการเงินแถมยังได้เงินประกันกลับมา
สินค้าที่ค้างอยู่เต็มสต็อกจะได้แปรรูปเป็นเงินสดจ่ายคืนมาในรูปของเงินสินไหม
วิธีนี้ดูจะอุกฉกรรจ์ แต่เพื่อนเจ้าสัวที่เป็นเจ้าของห้างดัง ๆ ก็ใช้มาแล้วทั้งสิ้น ไม่มีปัญหา เพียงเปลี่ยนหลอดไปเป็นหลอดสปอตไลท์ที่ให้กำลังสูง ๆ
ความร้อนของแสงสปอตไลท์จะจุดชนวนให้สินค้าพวกเสื้อผ้าติดไฟ แล้วกลายเป็นเชื้อเพลิงอย่างดี โดยไม่ทิ้งร่งรอยไว้เลย
เจ้าสัวบอก ตนเองว่า แค่ 7 วิธีที่เจ้าสัวใช้ก็เพียงพอแล้ว เจ้าสัวได้วางแผนต่อว่า หากทางการเข้ามาตรวจสอบเรื่องที่เกิดขึ้น
เจ้าสัวจะเตรียมแผนไว้รับมืออย่างไร
1.การขายสินทรพย์ในราคาต่ำกว่าความเป็นจริง เจ้าสัวได้เตรียมหาเหตุผลไว้อ้างเรียบร้อยแล้ว โดยถ้าหากเป็นสินทรัพย์ชิ้นใหญ่ ๆ
เช่น ที่ดิน หุ้นในบริษัทย่อย เจ้าสัวได้เตรียมให้บริษัทประเมินราคาของเพื่อนรัก เข้ามาประเมิน ให้ราคาออกมาต่ำสุด เพื่อขายออกไปในราคาถูก
แต่ถ้าเป็นสินทรัพย์ชิ้น เล็กชิ้นน้อย เจ้าสัวจะใช้วิธีอ้างอิงดื้อ ๆ ว่า ธุรกิจกำลังไม่ดี สินทรัพย์เริ่มเสื่อมสภาพ ไม่สามารถหาราคาอ้างอิงได้
จึงต้องขายออกไปในราคาถูก
2. การปล่อยกู้ให้บริษัทกระดาษของเจ้าสัว อาจเจอปัญหารายการเกี่ยวโยง ต้องให้ผู้ถือหุ้นอื่นที่ไม่มีส่วนได้เสียลงมติรับรอง
เจ้าสัวได้เตรียมโอนหุ้นส่วนหนึ่งให้เลขานุการ หรือพนักงานที่ตนไว้ใจเข้าประชุม เพื่อลงมติเห็นชอบให้เจ้าสัวได้
เป็นที่รู้ ๆกันว่าเวลามีการประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัท ผู้ถือหุ้นรายย่อยเข้าร่วมประชุมน้อยมาก ลงมติกี่ครั้ง มักเป็นไปตามโผของผู้ถือหุ้นใหญ่
3. การใช้สิทธิฟ้องร้องของผู้ถือหุ้น โดยอาศัยสิทธิของบริษัทเพื่อประโยชน์ของบริษัทเป็นส่วนรวม จริงอยู่ ในกรณี
กรรมการทำความเสียหายให้บริษัท พ.ร.บ. บริษัทมหาชน กำหนดให้ผู้ถือหุ้นคนหนึ่งหรือหลายคนซึ่งถือหุ้นรวมกันไม่น้อยกว่า 5 %
ของ หุ้นที่จำหน่ายทั้งหมดสามารถใช้สิทธิของบริษัทฟ้องร้องกรรมการคนนนั้น รับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่บริษัทได้ แต่เจ้าสัวมั่นใจว่า ผู้
ถือหุ้น รายย่อยจะไม่มีทางรวมกันได้ถึง 5 % ส่วนนักลงทุนสถาบันก็ได้ขายหุ้นในบริษัทออกไปหมดแล้ว ประเด็นนี้ท่านจึงวางใจได้
อย่างไรก็ตาม หากยังคงมีปัญหาเกิดขึ้น เจ้าสัวก็มั่นใจว่า นักการเมืองพรรคต่าง ๆ ที่เจ้าสัวเคยให้การสนับสนุน
ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินเงินทอง หรือการเลี้ยงรับรองในวาระต่าง ๆ คงจะสามารถช่วยเหลือเจ้าสัว ผ่อนหนักให้เป็น
เบาได้ เจ้าสัวคิด "ในโลกนี้ไม่มีอะไรที่ไม่เสี่ยงอยู่แล้ว "
คืนนั้น เจ้าสัวหลับสบาย ไม่มีเรื่องให้กังวลใจอีก
เล่นหุ้นอย่ามักง่ายเดี๋ยวจะกลายเป็นปลาติดเบ็ด
- Ii'8N
- Verified User
- โพสต์: 3682
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กลโกงผู้บริหาร..สีเทาดำ
โพสต์ที่ 23
เห็นกระทู้คล้ายๆ กัน ขออนุญาต เจ้าของกระทู้ link ไปหากันนะครับ ถือว่าเชื่อมโยงความรู้
http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f ... 94#p875194
http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f ... 94#p875194
- Ii'8N
- Verified User
- โพสต์: 3682
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กลโกงผู้บริหาร..สีเทาดำ
โพสต์ที่ 24
วันนี้เห็นประกาศงบ NIPPON
เลยไปค้นหา เหตุที่ติด SP .... เป็นกรณีน่าศึกษา ไม่ค่อยได้เห็นกลต.จริงจังกับใครแบบนี้ง่ายๆ
http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=4&t=27736
เลยไปค้นหา เหตุที่ติด SP .... เป็นกรณีน่าศึกษา ไม่ค่อยได้เห็นกลต.จริงจังกับใครแบบนี้ง่ายๆ
http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=4&t=27736
- jo7393
- Verified User
- โพสต์: 2486
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กลโกงผู้บริหาร..สีเทาดำ
โพสต์ที่ 27
DSGT กรรมการอิสระท่านนึงเพิ่งลาออก(คุณ ชลิต) จากเหตุผลที่ไม่เห็นด้วย ในการเช่าห้องชุดที่ St.Regis เพื่อใช้ในกิจการของ บ.
http://www.pantip.com/cafe/blueplanet/t ... 61157.html
บ.ผลิตผ้าอ้อม เช่า St.Regis ราคา 83ลบ สงสัยเอาไว้ใช้เป็นโกดังเก็บสินค้ากระมัง
http://www.pantip.com/cafe/blueplanet/t ... 61157.html
บ.ผลิตผ้าอ้อม เช่า St.Regis ราคา 83ลบ สงสัยเอาไว้ใช้เป็นโกดังเก็บสินค้ากระมัง
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
“ถ้าราคาหุ้นแยกออกไปจากเส้นกำไร ไม่ช้าก็เร็วมันจะวิ่งกลับไปหาเส้นกำไรเสมอ”
เลือกบริษัทที่ดี ในราคาที่เหมาะสม และถือมันตราบที่มันยังเป็นกิจการที่ดีอยู่
อย่าอายที่จะถาม ไม่มีใครรู้ลึกทุก บ. ถ้าไม่รู้แล้วไม่ถามก็จะยิ่งไม่ฉลาด
เลือกบริษัทที่ดี ในราคาที่เหมาะสม และถือมันตราบที่มันยังเป็นกิจการที่ดีอยู่
อย่าอายที่จะถาม ไม่มีใครรู้ลึกทุก บ. ถ้าไม่รู้แล้วไม่ถามก็จะยิ่งไม่ฉลาด
- awesomekid
- Verified User
- โพสต์: 94
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กลโกงผู้บริหาร..สีเทาดำ
โพสต์ที่ 28
ยังคงยืนยันว่า เข้ามา web นี้ทีไร ได้อะไรกลับไปทุกที วันนึงผมจะตอบแทน web นี้โดยเป็นผู้ให้บ้างครับ...
====================================
เก็บเล็กผสมน้อยมาลงทุน เพื่ออนาคตอันเป็นอิสระ
====================================
เก็บเล็กผสมน้อยมาลงทุน เพื่ออนาคตอันเป็นอิสระ
====================================