ตลาดทุนจะเป็นอย่างไรถ้า.............มีการลดภาษีขั้นต่ำ
- todsapon
- Verified User
- โพสต์: 1137
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ตลาดทุนจะเป็นอย่างไรถ้า.............มีการลดภาษีขั้นต่ำ
โพสต์ที่ 2
แน่นอนครับกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น เครดิตภาษีได้น้อยลง
ผลตอบแทน 15% ต่อปีก็พอ
กำไรเมื่อซื้อ มิใช่กำไรเมื่อขาย
การได้ทำอะไรที่ตนเองชอบและมีปัจจัยสี่พร้อมเพียงคือสุดยอดแห่งความสุข
ขอยืมเงินหน่อยครับ
กำไรเมื่อซื้อ มิใช่กำไรเมื่อขาย
การได้ทำอะไรที่ตนเองชอบและมีปัจจัยสี่พร้อมเพียงคือสุดยอดแห่งความสุข
ขอยืมเงินหน่อยครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 5011
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ตลาดทุนจะเป็นอย่างไรถ้า.............มีการลดภาษีขั้นต่ำ
โพสต์ที่ 7
ลดภาษีนิติบุคคลธรรมดา คงไม่มีประโยชน์สำหรับบริษัทที่ขาดทุนอยู่แล้ว
ไม่มีประโยชน์สำหรับบริษัทที่ได้รับการยกเว้นภาษีอยู่แล้ว
จะมีประโยชน์ต่อบริษัทที่มีกำไรและเคยเสียภาษีในอัตรา30%
ส่วนเรื่องค่าแรงที่สูงขึ้นก็ขึ้นจะกระทบเชิงลบต่อบริษัทที่มีค่าแรงเป็นต้นทุนหลักของบริษัท
ในขณะเดียวกันค่าแรงที่สูงขึ้นก็จะทำให้กำลังซื้อมากขึ้นไปด้วย
----------------------------------------------------------------------------------------
แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแนวทางเกี่ยวกับการสร้างความมั่งคั่งและการลงทุน วิธีการสอนลูกให้มั่งคั่ง
เชิญได้ที่... http://wealththailand.blogspot.com/
ไม่มีประโยชน์สำหรับบริษัทที่ได้รับการยกเว้นภาษีอยู่แล้ว
จะมีประโยชน์ต่อบริษัทที่มีกำไรและเคยเสียภาษีในอัตรา30%
ส่วนเรื่องค่าแรงที่สูงขึ้นก็ขึ้นจะกระทบเชิงลบต่อบริษัทที่มีค่าแรงเป็นต้นทุนหลักของบริษัท
ในขณะเดียวกันค่าแรงที่สูงขึ้นก็จะทำให้กำลังซื้อมากขึ้นไปด้วย
----------------------------------------------------------------------------------------
แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแนวทางเกี่ยวกับการสร้างความมั่งคั่งและการลงทุน วิธีการสอนลูกให้มั่งคั่ง
เชิญได้ที่... http://wealththailand.blogspot.com/
-
- Verified User
- โพสต์: 48
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ตลาดทุนจะเป็นอย่างไรถ้า.............มีการลดภาษีขั้นต่ำ
โพสต์ที่ 8
ลดภาษีไปเพิ่มค่าแรง ทำให้ต้นทุนผู้ประกอบการสูงขื้น ส่งผลให้กำไรลดลง รัฐบาลเก็บภาษีน้อยลงสองเด้ง(จากกำไรที่ลดลงจากค่าแรงและอัตราภาษีที่ลดลง) แต่จะส่งผลให้กำลังซื้อผู้บริโภคสูงขึ้นมากพอควร
ชักงงพี่ chatchai ช่วยด้วยงะ
ชักงงพี่ chatchai ช่วยด้วยงะ
-
- Verified User
- โพสต์: 5011
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ตลาดทุนจะเป็นอย่างไรถ้า.............มีการลดภาษีขั้นต่ำ
โพสต์ที่ 10
การเพิ่มค่าแรงให้แรงงานซึ่งมีรายได้ต่ำ จะได้มีรายได้มากขึ้น ซึ่งแรงงานเหล่านี้ส่วนใหญ่ได้เงินมาไม่ออมหรอกครับ เพราะปกติรายได้ก็ไม่พออยู่แล้ว เมื่อได้เงินมาก็ใช้จ่ายหมด ไปซื้อของรัฐก็เก็บภาษีจาก vat ได้ และเจ้า vat นี่แหระเป็นรายได้เพิ่มของรัฐ แต่จะเก็บได้เพิ่มมากแค่ไหน ต้องคอยติดตามกันไป
-------------------------------------------------
แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแนวทางเกี่ยวกับการสร้างความมั่งคั่งและการลงทุน วิธีการสอนลูกให้มั่งคั่ง
เชิญได้ที่... http://wealththailand.blogspot.com/
-------------------------------------------------
แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแนวทางเกี่ยวกับการสร้างความมั่งคั่งและการลงทุน วิธีการสอนลูกให้มั่งคั่ง
เชิญได้ที่... http://wealththailand.blogspot.com/
-
- Verified User
- โพสต์: 430
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ตลาดทุนจะเป็นอย่างไรถ้า.............มีการลดภาษีขั้นต่ำ
โพสต์ที่ 11
รัฐบาลลดภาษีให้ 7% แต่ต้องการให้เอกชน คือนายจ้าง จ่ายค่าจ้างเพิ่มขึ้น
ที่อยู่ในเป้าหมายมี 2 กลุ่ม
1.แรงงานที่มีความรู้ต่ำกว่าปริญาตรี ค่าแรงปัจจุบัน 215 ต้องการให้ปรับเป็น 300
เท่ากับ ขึ้นรวดเดียว 40% แต่ถ้ารวมถึงสวัสดิการ เช่นประกันสังคม จะมากกว่า 40%
2.แรงงานที่ความรู้ปริญาตรี ค่าแรงปัจจุบันของคนจบใหม่ 8000-10000
ต้องการให้ปรับเป็น 15000 ขึ้นรวดเดียว 88-50% ถ้ารวมสวัดิการอย่างอื่น มากกว่านี้อีก
แต่ยังไงก็จุดประกายให้ผู้ใช้แรงงาน ลูกจ้าง ทั้งหลาย ดี๊ด้า กันหมดแล้ว
จะคอยดุ ว่าจะเป็นยังไงต่อ
ที่อยู่ในเป้าหมายมี 2 กลุ่ม
1.แรงงานที่มีความรู้ต่ำกว่าปริญาตรี ค่าแรงปัจจุบัน 215 ต้องการให้ปรับเป็น 300
เท่ากับ ขึ้นรวดเดียว 40% แต่ถ้ารวมถึงสวัสดิการ เช่นประกันสังคม จะมากกว่า 40%
2.แรงงานที่ความรู้ปริญาตรี ค่าแรงปัจจุบันของคนจบใหม่ 8000-10000
ต้องการให้ปรับเป็น 15000 ขึ้นรวดเดียว 88-50% ถ้ารวมสวัดิการอย่างอื่น มากกว่านี้อีก
แต่ยังไงก็จุดประกายให้ผู้ใช้แรงงาน ลูกจ้าง ทั้งหลาย ดี๊ด้า กันหมดแล้ว
จะคอยดุ ว่าจะเป็นยังไงต่อ
คำว่า listen นั้นใช้ตัวอักษรชุดเดียวกับคำว่า silent
-
- Verified User
- โพสต์: 306
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ตลาดทุนจะเป็นอย่างไรถ้า.............มีการลดภาษีขั้นต่ำ
โพสต์ที่ 12
จินตนาการเองว่า
1) รายได้จากภาษีบริษัท 30% เหลือ 23%
2) รายได้ 15000/เดือน นี่เริ่มเสียภาษีเงินได้หรือยังครับ ? ถ้าเสียก็จะได้ภาษีเงินได้เข้ามาทดแทน
3) ถ้าถือโอกาสจัดทุกอย่างให้อยู่ในระบบ เอาใต้ดินขึ้นมาบนดินทั้งบริษัท ห้างหุ้นส่วน แรงงาน โดยให้ลงทะเบียนลดภาษีนิติบุคคลของบริษัท ผมว่ารัฐน่าจะได้รายได้มากขึ้น
4) น่าจะดีกว่าเอาเงินโปรยลงไปเยอะครับ เพราะเข้าถึง ตกหล่นรายทางมีน้อย ส่วนนึงกระตุ้น demand จากการเพิ่ม money supply
5) ต้องดูแลเงินเฟ้อดีๆ
เอาใจช่วยครับ
1) รายได้จากภาษีบริษัท 30% เหลือ 23%
2) รายได้ 15000/เดือน นี่เริ่มเสียภาษีเงินได้หรือยังครับ ? ถ้าเสียก็จะได้ภาษีเงินได้เข้ามาทดแทน
3) ถ้าถือโอกาสจัดทุกอย่างให้อยู่ในระบบ เอาใต้ดินขึ้นมาบนดินทั้งบริษัท ห้างหุ้นส่วน แรงงาน โดยให้ลงทะเบียนลดภาษีนิติบุคคลของบริษัท ผมว่ารัฐน่าจะได้รายได้มากขึ้น
4) น่าจะดีกว่าเอาเงินโปรยลงไปเยอะครับ เพราะเข้าถึง ตกหล่นรายทางมีน้อย ส่วนนึงกระตุ้น demand จากการเพิ่ม money supply
5) ต้องดูแลเงินเฟ้อดีๆ
เอาใจช่วยครับ
การจะได้สิ่งใดมานั้น...จำเป็นต้องแลกเปลี่ยนด้วยสิ่งที่มีค่าเท่าเทียมกัน
- Sumotin
- Verified User
- โพสต์: 1131
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ตลาดทุนจะเป็นอย่างไรถ้า.............มีการลดภาษีขั้นต่ำ
โพสต์ที่ 14
การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำไม่ได้แปลว่าจะกระทบหมดนะครับ หลายๆบริษัทก็ค่าแรงเกินไปอยู่แล้ว พวกที่ต่ำกว่านี้ก็ต้องดูว่าอยู่ในธุรกิจที่ ใช้แรงงานเยอะหรือไม่ ถ้าอยู่ในกลุ่มใช้แรงงานเยอะก็ต้องดูว่า cost ตรงนี้กี่ % ของรายจ่าย เพราะขึ้นรายได้ขั้นต่ำคงไม่ได้กระทบมากอะไรค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ก็เงินเดือนผู้บริหารอยู่แล้วที่มันเยอะ
การลดภาษีนี่ผมว่าช่วยในการแข่งขันนะครับ หลายๆประเทศ corp. tax เค้าต่ำกว่าเราทั้งนั้น ถึงรัฐจะได้ตรงนี้น้อยลงก็มีโอกาสได้ส่วนอื่นเพิ่มขึ้่นได้ครับ อีกอย่างพวกบริษัทนอกตลาดทั่วไปไม่แน่ใจว่าจะกลับใจมาช่วยชาติจ่ายภาษีกันหรือเปล่า? เพราะได้โกงภาษีกันโดยทำ 2-3 บัญชีกันมานานแล้ว ไม่ว่าจะอ้างว่าจ่ายภาษีเยอะทำให้แข่งกันต่างชาติไม่ได้หรืออะไรก็ตาม ผมว่าถ้าการลดภาษี corporate มีส่วนช่วยให้คนมาจ่ายภาษีถูกต้องมากขึ้นจะเป็นการดีมากครับ
อีกประเด็นหนึ่งอาจจะเป็นจุดเปลี่ยนของธุรกิจไทยที่พึ่งแต่แรงงาน ไม่มี skill ปรับมาเป็นธุรกิจที่ต้องใช้ Technology มากขึ้นไม่งั้นคงอยู่ไม่รอดกัน และน่าจะเป็นการพัฒนาขีดความสามารถในระยะยาว อย่างไรก็ตามนโยบายอื่นๆทั้งเรื่องการศึกษา infrastructure ต่างๆต้องสนับสนุนด้วยครับ
ส่วนเรื่อง ภาษี corp. tax กับ VAT VAT น่าจะมีผลมากกว่าแน่นอนที่เป็นรายได้ให้กับรัฐบาลครับ ตัวนี้คงไม่ควรลดลง
การลดภาษีนี่ผมว่าช่วยในการแข่งขันนะครับ หลายๆประเทศ corp. tax เค้าต่ำกว่าเราทั้งนั้น ถึงรัฐจะได้ตรงนี้น้อยลงก็มีโอกาสได้ส่วนอื่นเพิ่มขึ้่นได้ครับ อีกอย่างพวกบริษัทนอกตลาดทั่วไปไม่แน่ใจว่าจะกลับใจมาช่วยชาติจ่ายภาษีกันหรือเปล่า? เพราะได้โกงภาษีกันโดยทำ 2-3 บัญชีกันมานานแล้ว ไม่ว่าจะอ้างว่าจ่ายภาษีเยอะทำให้แข่งกันต่างชาติไม่ได้หรืออะไรก็ตาม ผมว่าถ้าการลดภาษี corporate มีส่วนช่วยให้คนมาจ่ายภาษีถูกต้องมากขึ้นจะเป็นการดีมากครับ
อีกประเด็นหนึ่งอาจจะเป็นจุดเปลี่ยนของธุรกิจไทยที่พึ่งแต่แรงงาน ไม่มี skill ปรับมาเป็นธุรกิจที่ต้องใช้ Technology มากขึ้นไม่งั้นคงอยู่ไม่รอดกัน และน่าจะเป็นการพัฒนาขีดความสามารถในระยะยาว อย่างไรก็ตามนโยบายอื่นๆทั้งเรื่องการศึกษา infrastructure ต่างๆต้องสนับสนุนด้วยครับ
ส่วนเรื่อง ภาษี corp. tax กับ VAT VAT น่าจะมีผลมากกว่าแน่นอนที่เป็นรายได้ให้กับรัฐบาลครับ ตัวนี้คงไม่ควรลดลง
Timing is everything, no matter what you do.
CAGR of 34% in the past 15 years of investment
CAGR of 34% in the past 15 years of investment
- leaderinshadow
- Verified User
- โพสต์: 1765
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ตลาดทุนจะเป็นอย่างไรถ้า.............มีการลดภาษีขั้นต่ำ
โพสต์ที่ 15
บริษัทที่แต่งงบให้กำไรน้อยๆ เพื่อเลี่ยงภาษี ก็ได้ประโยชน์น้อย
แต่บริษัทไหน มีกำไรเยอะ พยายามโชว์กำไรเยอะๆ เพราะมีแรงจูงใจ ให้หุ้นขึ้น อย่างบริษัทจดทะเบียน
ก็ได้ประโยชน์เยอะ
แต่บริษัทไหน มีกำไรเยอะ พยายามโชว์กำไรเยอะๆ เพราะมีแรงจูงใจ ให้หุ้นขึ้น อย่างบริษัทจดทะเบียน
ก็ได้ประโยชน์เยอะ
- MO101
- Verified User
- โพสต์: 3226
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ตลาดทุนจะเป็นอย่างไรถ้า.............มีการลดภาษีขั้นต่ำ
โพสต์ที่ 18
คนถือหุ้นไม่ได้ประโยชน์มั้ง
เพราะ
1.กำไรไม่ปันผล เงินอยู่ใน บ. ผู้ถือหุ้นไม่ได้ไม่เสีย
2.กำไร ปัน ได้เงินมากขึ้น เครดิตภาษีลดลง ไม่ได้ไม่เสีย
เพราะ
1.กำไรไม่ปันผล เงินอยู่ใน บ. ผู้ถือหุ้นไม่ได้ไม่เสีย
2.กำไร ปัน ได้เงินมากขึ้น เครดิตภาษีลดลง ไม่ได้ไม่เสีย
-
- Verified User
- โพสต์: 56
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ตลาดทุนจะเป็นอย่างไรถ้า.............มีการลดภาษีขั้นต่ำ
โพสต์ที่ 20
ขอมองต่างมุมแลกเปลี่ยนกัน
ค่าแรงเพิ่มขั้นต่ำเพิ่ม เงินเดือนข้าราชการเพิ่ม สินค้าเตรียมปรับราคารออยู่แล้ว เงินในกระเป๋ารากหญ้าจะเหลือเพิ่มขึ้นหรือไม่ ในเมื่อรายได้เพิ่ม แต่รายจ่ายก็เพิ่ม
รายได้เพิ่ม ต้นทุนสูงขึ้น ผู้ประกอบการกำไรไม่เพิ่มแน่ๆ โดยเฉพาะบริษัทที่มีต้นทุนแรงงานสูงๆ ความสามารถในการแข่งขันน้อยลง ธุรกิจส่งออกกระทบเต็มๆ ประเทศไทยพิ่งพารายได้จากการส่งออกมานานและโครงสร้างประเทศเป็นแบบนั้น
เงินเฟ้อ สินค้าราคาแพงขึ้น ข้าวแกงคงราคา 50 บาทไม่เกินสิ้นปีหน้า ต่างชาติคงมาเที่ยวประเทศไทยน้อยลงเพราะต่างชาติมาเมืองไทยมากิน มาเที่ยว มาจับจ่ายเพราะว่าค่าใช้จ่ายถูก แต่จะไม่เป็นเช่นนั้นอีกแล้วในอนาคตอันใกล้นี้
การเข้ามาลงทุนในไทยต่างชาติคงต้องคิดแล้วคิดอีก ค่าแรงแพง ถ้าเลือกได้คงไปที่เวียดนาม หรือตัวเลือกรองๆอย่าง ลาว กัมพูชา พม่า ....
ค่าแรงเพิ่มขั้นต่ำเพิ่ม เงินเดือนข้าราชการเพิ่ม สินค้าเตรียมปรับราคารออยู่แล้ว เงินในกระเป๋ารากหญ้าจะเหลือเพิ่มขึ้นหรือไม่ ในเมื่อรายได้เพิ่ม แต่รายจ่ายก็เพิ่ม
รายได้เพิ่ม ต้นทุนสูงขึ้น ผู้ประกอบการกำไรไม่เพิ่มแน่ๆ โดยเฉพาะบริษัทที่มีต้นทุนแรงงานสูงๆ ความสามารถในการแข่งขันน้อยลง ธุรกิจส่งออกกระทบเต็มๆ ประเทศไทยพิ่งพารายได้จากการส่งออกมานานและโครงสร้างประเทศเป็นแบบนั้น
เงินเฟ้อ สินค้าราคาแพงขึ้น ข้าวแกงคงราคา 50 บาทไม่เกินสิ้นปีหน้า ต่างชาติคงมาเที่ยวประเทศไทยน้อยลงเพราะต่างชาติมาเมืองไทยมากิน มาเที่ยว มาจับจ่ายเพราะว่าค่าใช้จ่ายถูก แต่จะไม่เป็นเช่นนั้นอีกแล้วในอนาคตอันใกล้นี้
การเข้ามาลงทุนในไทยต่างชาติคงต้องคิดแล้วคิดอีก ค่าแรงแพง ถ้าเลือกได้คงไปที่เวียดนาม หรือตัวเลือกรองๆอย่าง ลาว กัมพูชา พม่า ....
การลงทุนที่ให้ผลตอบแทนดีที่สุดคือ การลงทุนในความรู้
- Sumotin
- Verified User
- โพสต์: 1131
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ตลาดทุนจะเป็นอย่างไรถ้า.............มีการลดภาษีขั้นต่ำ
โพสต์ที่ 21
ผมขอเห็นต่างอีกรอบครับ คุณ ppon สินค้ารอปรับแต่ถ้าปรับแบบไม่มีเหตุผล กระทรวงพาณิชย์จะต้องควบคุมราคาแน่ครับไม่งั้นจะกระทบกับคนหมู่มาก ส่วนเรื่องค่ากินค่าใช้ น่าจะขึ้นบ้าง แต่ไม่น่าจะมากมายอะไรครับ ถ้าสัดส่วนรายได้ยังมากกว่ารายจ่ายอยู่ ถ้าขึ้น as % ที่เท่ากันนะครับ ก็ยังเหลือเงินมากขึ้นอยู่ดี
ส่วนเรื่องท่องเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยวที่มีเงินจับจ่ายใช้สอยขึ้นแค่นี้เค้าคงไม่มีปัญหาอยู่แล้วครับ เพราะจริงๆ พ่อค้าแม่ค้าขายคนต่างชาติแพงกว่าปรกติอยู่แล้ว แหะๆ
การเข้ามาลงทุนของต่างชาติ ถ้าเข้ามาเพราะแรงงา่นต่ำอาจจะสร้างงานให้คนไทยจริง แต่จะเป็นงานที่ไม่ได้พึ่ง skill อะไรมากมาย technology อะไีรต่างๆก็จะไม่ได้ช่วยไทยอะไรมากนัก หลังจากนี้คงต้องหันมาเพิ่ม ฝีมือแรงงานดึงดูการลงทุนที่ใช้ skill มากขึ้นจะได้ไม่ต้องกังวลเรื่องค่าแรงขั้นต่ำมากนักครับ
แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันนะครับ
ส่วนเรื่องท่องเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยวที่มีเงินจับจ่ายใช้สอยขึ้นแค่นี้เค้าคงไม่มีปัญหาอยู่แล้วครับ เพราะจริงๆ พ่อค้าแม่ค้าขายคนต่างชาติแพงกว่าปรกติอยู่แล้ว แหะๆ
การเข้ามาลงทุนของต่างชาติ ถ้าเข้ามาเพราะแรงงา่นต่ำอาจจะสร้างงานให้คนไทยจริง แต่จะเป็นงานที่ไม่ได้พึ่ง skill อะไรมากมาย technology อะไีรต่างๆก็จะไม่ได้ช่วยไทยอะไรมากนัก หลังจากนี้คงต้องหันมาเพิ่ม ฝีมือแรงงานดึงดูการลงทุนที่ใช้ skill มากขึ้นจะได้ไม่ต้องกังวลเรื่องค่าแรงขั้นต่ำมากนักครับ
แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันนะครับ
Timing is everything, no matter what you do.
CAGR of 34% in the past 15 years of investment
CAGR of 34% in the past 15 years of investment
-
- Verified User
- โพสต์: 56
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ตลาดทุนจะเป็นอย่างไรถ้า.............มีการลดภาษีขั้นต่ำ
โพสต์ที่ 22
เอามา share ครับ
http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... B8%A2.html
หลักทรัพย์ของประเทศไทยถึง +48 จุด ในวันจันทร์ที่ผ่านมานั้น คงสร้างความประหลาดใจให้แก่ทุกท่านไม่มากก็น้อย ต้องยอมรับว่าแม้สาเหตุสำคัญที่ทำให้ตลาดหุ้นบ้านเราปรับตัวอยู่ใน “แดนลบ” เป็นแรมเดือนจะมาจากปัญหาหนี้ในยุโรป แต่สาเหตุสำคัญของการ rebound เมื่อวันจันทร์นั้นกลับมาจากปัจจัยในประเทศหลังจากการเลือกตั้งเสร็จสิ้นลงนั่นเอง และไม่ว่าจะเป็นพรรคใดได้รับเสียงข้างมาก ผมเชื่อว่าตลาดหุ้นก็ปรับตัวขึ้นครับ .....แต่การปรับขึ้นถึงเกือบ 50 จุดนั้น ผมคิดว่ามาจาก “Populism” หรือ “นโยบายประชานิยม” ของพรรคเพื่อไทยที่มีผลทางจิตวิทยา (ในระยะสั้น) นั่นเอง
ไม่น่าแปลกใจเลยที่พรรคเพื่อไทยจะได้รับคะแนนโหวตจากประชากรนอกเขต กทม.อย่างท่วมท้นเพราะนโยบายประชานิยมที่มุ่งเน้นในการเพิ่มรายได้ขั้นต่ำและราคาผลิตผลการเกษตรนั้นตอบโจทย์ประชากรกลุ่ม “รากหญ้า” อย่างชัดเจน .....แต่ท่านทราบหรือไม่ครับว่า การตอบรับในตลาดดอกเบี้ยนั้นกลับมีทิศทางตรงข้ามกับในตลาดหุ้น กล่าวคืออัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาล (Bond yield) โดยเฉพาะช่วงอายุยาวกว่า 5 ปี ได้ปรับขึ้นค่อนข้างรุนแรง 25-40bps ตั้งแต่วันที่ 4 ก.ค.
นโยบายที่มุ่งเน้นการสร้างรายได้ (แบบฉับพลันผ่านการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ) และการกระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศ (รายได้เพิ่ม + ภาษีที่ลดลง = disposable หรือ discretionary income ที่เพิ่มขึ้น) ย่อมก่อให้เกิดความกังวลต่อเศรษฐกร เทรดเดอร์ และผู้จัดการกองทุนใน 2 ประเด็นสำคัญ คือ การเร่งตัวของเงินเฟ้อ และการขาดดุลงบประมาณที่สูงขึ้น ในรูปแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ค่าแรงขั้นต่ำมีความสัมพันธ์สูงมากต่อ (positive correlation) ต่ออัตราเงินเฟ้อในบ้านเรา (เนื่องจากมี velocity of money หลายเท่า) ผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงคือ ผู้ประกอบการเนื่องจากต้นทุนที่สูงขึ้นทำให้ margin ลดลง หากปัญหาดังกล่าวทวีความรุนแรงมากขึ้น ผู้ประกอบการจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องปรับเพิ่มราคาขายของสินค้าตนและอาจนำไปสู่ปัญหาที่เรียกว่า “Second-round effect” (ผลกระทบที่ตามมา) ได้
ยังจำกันได้หรือไม่ครับว่า 3 ปีที่แล้ว ทั่วโลกเผชิญกับปัญหาเงินเฟ้ออันเนื่องมาจากราคา Commodities โดยเฉพาะราคาน้ำมันที่พุ่งขึ้นไปแตะ $142/barrel ในปี 2008 และอัตราเงินเฟ้อทั่วไป (Headline Inflation) ของประเทศไทย ได้ปรับสูงขึ้นจากระดับ 1.1% ในเดือนสิงหาคม 2007 ไปเป็น 8.9% ในเดือนมิถุนายน 2008 ปัญหาเงินเฟ้อย่อมสร้างความกังวลให้แก่ธนาคารกลางอย่างแน่นอน อัตราเงินเฟ้อเป็นตัวเลขเศรษฐกิจที่มีความสำคัญที่สุดค่าหนึ่งต่อการกำหนดนโยบายทางการเงินที่กระทำโดยธนาคารกลางของทุกๆ ประเทศ การที่ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายในบ้าน เรียกว่า “First-round effect on inflation” คือเป็นการกระทบโดยตรงสู่ผู้บริโภค ส่วนสาเหตุที่ธนาคารกลางของทุกๆ ประเทศให้ความสำคัญอย่างยิ่งยวดในการควบคุมอัตราเงินเฟ้อเพราะไม่ต้องการให้เกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “Second-round effect” และ “Price/Wage Spiral” ซึ่งจะนำไปสู่ปัญหาระยะยาวที่ยากต่อการแก้ไข ดังรายละเอียดต่อไปนี้
ท Second-round effect คือ ผลจากการที่อัตราเงินเฟ้อที่ปรับสูงขึ้นทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้า (ที่ไม่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์น้ำมัน) สูงขึ้น ทำให้ผู้ผลิตต้องขึ้นราคาสินค้า (Pass-through)
ท Price/Wage Spiral คือผลจากการที่ราคาสินค้าได้ปรับขึ้นอย่างมากจนส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อราคาสินค้าทุกประเภท และหากผู้บริโภคมีการคาดการณ์ว่า การปรับตัวขึ้นของราคาสินค้าดังกล่าว มิได้เป็นภาวะชั่วคราว (Long-term inflation expectation) ผู้บริโภคกลุ่มนั้น ในฐานะลูกจ้างบริษัท จะเริ่มทำการต่อรองกับนายจ้าง เพื่อขอขึ้นเงินเดือน/ค่าจ้าง และที่สำคัญ อัตราค่าจ้างที่เรียกร้องนั้นเป็นอัตราที่สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อ ณ เวลานั้นๆ เพื่อให้ครอบคลุมถึงภาระภาษีที่เกิดขึ้นด้วย ....... ยังไม่จบครับ ........ เมื่อผู้ผลิตมีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นจากการเงินเดือน/ค่าจ้างที่สูงขึ้น ผู้ผลิตจึงต้องปรับราคาสินค้าขึ้นด้วย เพื่อให้สามารถดำรง Gross margin ได้ในระดับเดิม ...... กล่าวคือ “เงินเดือนไล่ตามราคา (ที่สูงขึ้นจาก First-round effect)” และ “ราคาไล่ตามเงินเดือน (ที่เพิ่งได้รับการปรับให้สูงขึ้น)” ....... วนเป็น loop (Spiral) เช่นนี้ไปเรื่อยๆ
ปรากฏการณ์ทั้งสองนี้ ล้วนส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อระบบเศรษฐกิจ ไม่เพียงแต่จะทำให้ปัญหาเงินเฟ้อกลายเป็นปัญหาระยะยาวแล้ว ยังทำให้ธนาคารกลางไม่ได้รับความน่าเชื่อถือ (Credibility) ในความพยายามแก้ปัญหาอัตราเงินเฟ้อ หลายครั้งที่ประเด็นเงินเฟ้อเป็นปรากฏการณ์ชั่วคราวดังเหตุการณ์เมื่อ 3 ปีที่แล้ว (กรณี Supply shock จากราคาน้ำมันและ commodities) ครั้งนั้นดอกเบี้ยระยะยาว (10 ปี) ปรับขึ้นแรงตามเงินเฟ้อและปรับลดลงอย่างเร็วเมื่อเงินเฟ้อปรับตัวลง .....แต่สำหรับกรณีที่เงินเฟ้อเกิดจากนโยบายประชานิยมนั้น รัฐจำต้องดำเนินนโยบายขาดดุลงบประมาณมากขึ้นอีกถึง 2-3 แสนล้านบาทใน 2-3 ปีข้างหน้า (ในปีงบประมาณ 2555 ประมาณการการขาดดุลอยู่ที่ -350,000 ล้านบาท) นั้น ทำให้รัฐต้องออกพันธบัตรในจำนวนมาก และย่อมส่งผลต่ออัตราดอกเบี้ยระยะยาว (ช่วงอายุ 5-15 ปี) เป็นเวลานานอย่างแน่นอน หากอัตราผลตอบแทน (Yield) ของพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวสูงขึ้นอย่างรุนแรง หรืออยู่ในระดับที่สูงเป็นเวลานาน จะทำให้ความจูงใจในตลาดหุ้นต่ำลงอย่างแน่นอน เราคงต้องจับตาดูกันต่อไปครับว่า นโยบายต่างๆ จะออกมาในรูปใดและส่งผลต่อการขาดดุลของรัฐ (และปริมาณพันธบัตรที่ต้องระดมเพิ่ม) มากเพียงใด
http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... B8%A2.html
หลักทรัพย์ของประเทศไทยถึง +48 จุด ในวันจันทร์ที่ผ่านมานั้น คงสร้างความประหลาดใจให้แก่ทุกท่านไม่มากก็น้อย ต้องยอมรับว่าแม้สาเหตุสำคัญที่ทำให้ตลาดหุ้นบ้านเราปรับตัวอยู่ใน “แดนลบ” เป็นแรมเดือนจะมาจากปัญหาหนี้ในยุโรป แต่สาเหตุสำคัญของการ rebound เมื่อวันจันทร์นั้นกลับมาจากปัจจัยในประเทศหลังจากการเลือกตั้งเสร็จสิ้นลงนั่นเอง และไม่ว่าจะเป็นพรรคใดได้รับเสียงข้างมาก ผมเชื่อว่าตลาดหุ้นก็ปรับตัวขึ้นครับ .....แต่การปรับขึ้นถึงเกือบ 50 จุดนั้น ผมคิดว่ามาจาก “Populism” หรือ “นโยบายประชานิยม” ของพรรคเพื่อไทยที่มีผลทางจิตวิทยา (ในระยะสั้น) นั่นเอง
ไม่น่าแปลกใจเลยที่พรรคเพื่อไทยจะได้รับคะแนนโหวตจากประชากรนอกเขต กทม.อย่างท่วมท้นเพราะนโยบายประชานิยมที่มุ่งเน้นในการเพิ่มรายได้ขั้นต่ำและราคาผลิตผลการเกษตรนั้นตอบโจทย์ประชากรกลุ่ม “รากหญ้า” อย่างชัดเจน .....แต่ท่านทราบหรือไม่ครับว่า การตอบรับในตลาดดอกเบี้ยนั้นกลับมีทิศทางตรงข้ามกับในตลาดหุ้น กล่าวคืออัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาล (Bond yield) โดยเฉพาะช่วงอายุยาวกว่า 5 ปี ได้ปรับขึ้นค่อนข้างรุนแรง 25-40bps ตั้งแต่วันที่ 4 ก.ค.
นโยบายที่มุ่งเน้นการสร้างรายได้ (แบบฉับพลันผ่านการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ) และการกระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศ (รายได้เพิ่ม + ภาษีที่ลดลง = disposable หรือ discretionary income ที่เพิ่มขึ้น) ย่อมก่อให้เกิดความกังวลต่อเศรษฐกร เทรดเดอร์ และผู้จัดการกองทุนใน 2 ประเด็นสำคัญ คือ การเร่งตัวของเงินเฟ้อ และการขาดดุลงบประมาณที่สูงขึ้น ในรูปแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ค่าแรงขั้นต่ำมีความสัมพันธ์สูงมากต่อ (positive correlation) ต่ออัตราเงินเฟ้อในบ้านเรา (เนื่องจากมี velocity of money หลายเท่า) ผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงคือ ผู้ประกอบการเนื่องจากต้นทุนที่สูงขึ้นทำให้ margin ลดลง หากปัญหาดังกล่าวทวีความรุนแรงมากขึ้น ผู้ประกอบการจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องปรับเพิ่มราคาขายของสินค้าตนและอาจนำไปสู่ปัญหาที่เรียกว่า “Second-round effect” (ผลกระทบที่ตามมา) ได้
ยังจำกันได้หรือไม่ครับว่า 3 ปีที่แล้ว ทั่วโลกเผชิญกับปัญหาเงินเฟ้ออันเนื่องมาจากราคา Commodities โดยเฉพาะราคาน้ำมันที่พุ่งขึ้นไปแตะ $142/barrel ในปี 2008 และอัตราเงินเฟ้อทั่วไป (Headline Inflation) ของประเทศไทย ได้ปรับสูงขึ้นจากระดับ 1.1% ในเดือนสิงหาคม 2007 ไปเป็น 8.9% ในเดือนมิถุนายน 2008 ปัญหาเงินเฟ้อย่อมสร้างความกังวลให้แก่ธนาคารกลางอย่างแน่นอน อัตราเงินเฟ้อเป็นตัวเลขเศรษฐกิจที่มีความสำคัญที่สุดค่าหนึ่งต่อการกำหนดนโยบายทางการเงินที่กระทำโดยธนาคารกลางของทุกๆ ประเทศ การที่ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายในบ้าน เรียกว่า “First-round effect on inflation” คือเป็นการกระทบโดยตรงสู่ผู้บริโภค ส่วนสาเหตุที่ธนาคารกลางของทุกๆ ประเทศให้ความสำคัญอย่างยิ่งยวดในการควบคุมอัตราเงินเฟ้อเพราะไม่ต้องการให้เกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “Second-round effect” และ “Price/Wage Spiral” ซึ่งจะนำไปสู่ปัญหาระยะยาวที่ยากต่อการแก้ไข ดังรายละเอียดต่อไปนี้
ท Second-round effect คือ ผลจากการที่อัตราเงินเฟ้อที่ปรับสูงขึ้นทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้า (ที่ไม่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์น้ำมัน) สูงขึ้น ทำให้ผู้ผลิตต้องขึ้นราคาสินค้า (Pass-through)
ท Price/Wage Spiral คือผลจากการที่ราคาสินค้าได้ปรับขึ้นอย่างมากจนส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อราคาสินค้าทุกประเภท และหากผู้บริโภคมีการคาดการณ์ว่า การปรับตัวขึ้นของราคาสินค้าดังกล่าว มิได้เป็นภาวะชั่วคราว (Long-term inflation expectation) ผู้บริโภคกลุ่มนั้น ในฐานะลูกจ้างบริษัท จะเริ่มทำการต่อรองกับนายจ้าง เพื่อขอขึ้นเงินเดือน/ค่าจ้าง และที่สำคัญ อัตราค่าจ้างที่เรียกร้องนั้นเป็นอัตราที่สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อ ณ เวลานั้นๆ เพื่อให้ครอบคลุมถึงภาระภาษีที่เกิดขึ้นด้วย ....... ยังไม่จบครับ ........ เมื่อผู้ผลิตมีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นจากการเงินเดือน/ค่าจ้างที่สูงขึ้น ผู้ผลิตจึงต้องปรับราคาสินค้าขึ้นด้วย เพื่อให้สามารถดำรง Gross margin ได้ในระดับเดิม ...... กล่าวคือ “เงินเดือนไล่ตามราคา (ที่สูงขึ้นจาก First-round effect)” และ “ราคาไล่ตามเงินเดือน (ที่เพิ่งได้รับการปรับให้สูงขึ้น)” ....... วนเป็น loop (Spiral) เช่นนี้ไปเรื่อยๆ
ปรากฏการณ์ทั้งสองนี้ ล้วนส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อระบบเศรษฐกิจ ไม่เพียงแต่จะทำให้ปัญหาเงินเฟ้อกลายเป็นปัญหาระยะยาวแล้ว ยังทำให้ธนาคารกลางไม่ได้รับความน่าเชื่อถือ (Credibility) ในความพยายามแก้ปัญหาอัตราเงินเฟ้อ หลายครั้งที่ประเด็นเงินเฟ้อเป็นปรากฏการณ์ชั่วคราวดังเหตุการณ์เมื่อ 3 ปีที่แล้ว (กรณี Supply shock จากราคาน้ำมันและ commodities) ครั้งนั้นดอกเบี้ยระยะยาว (10 ปี) ปรับขึ้นแรงตามเงินเฟ้อและปรับลดลงอย่างเร็วเมื่อเงินเฟ้อปรับตัวลง .....แต่สำหรับกรณีที่เงินเฟ้อเกิดจากนโยบายประชานิยมนั้น รัฐจำต้องดำเนินนโยบายขาดดุลงบประมาณมากขึ้นอีกถึง 2-3 แสนล้านบาทใน 2-3 ปีข้างหน้า (ในปีงบประมาณ 2555 ประมาณการการขาดดุลอยู่ที่ -350,000 ล้านบาท) นั้น ทำให้รัฐต้องออกพันธบัตรในจำนวนมาก และย่อมส่งผลต่ออัตราดอกเบี้ยระยะยาว (ช่วงอายุ 5-15 ปี) เป็นเวลานานอย่างแน่นอน หากอัตราผลตอบแทน (Yield) ของพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวสูงขึ้นอย่างรุนแรง หรืออยู่ในระดับที่สูงเป็นเวลานาน จะทำให้ความจูงใจในตลาดหุ้นต่ำลงอย่างแน่นอน เราคงต้องจับตาดูกันต่อไปครับว่า นโยบายต่างๆ จะออกมาในรูปใดและส่งผลต่อการขาดดุลของรัฐ (และปริมาณพันธบัตรที่ต้องระดมเพิ่ม) มากเพียงใด
การลงทุนที่ให้ผลตอบแทนดีที่สุดคือ การลงทุนในความรู้
- jo7393
- Verified User
- โพสต์: 2486
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ตลาดทุนจะเป็นอย่างไรถ้า.............มีการลดภาษีขั้นต่ำ
โพสต์ที่ 23
แต่ตอนนี้เป็นว่า ดอกเบี้ยระยะสั้นสูงกว่า ดอกเบี้ยระยะยาวนี่ครับ
(มาฟังด้วยคนครับ )
(มาฟังด้วยคนครับ )
“ถ้าราคาหุ้นแยกออกไปจากเส้นกำไร ไม่ช้าก็เร็วมันจะวิ่งกลับไปหาเส้นกำไรเสมอ”
เลือกบริษัทที่ดี ในราคาที่เหมาะสม และถือมันตราบที่มันยังเป็นกิจการที่ดีอยู่
อย่าอายที่จะถาม ไม่มีใครรู้ลึกทุก บ. ถ้าไม่รู้แล้วไม่ถามก็จะยิ่งไม่ฉลาด
เลือกบริษัทที่ดี ในราคาที่เหมาะสม และถือมันตราบที่มันยังเป็นกิจการที่ดีอยู่
อย่าอายที่จะถาม ไม่มีใครรู้ลึกทุก บ. ถ้าไม่รู้แล้วไม่ถามก็จะยิ่งไม่ฉลาด
-
- Verified User
- โพสต์: 220
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ตลาดทุนจะเป็นอย่างไรถ้า.............มีการลดภาษีขั้นต่ำ
โพสต์ที่ 24
ผมว่า SME กระทบหนักเลยครับ เพราะ SME ส่วนใหญ่มาจิ้นบางมากๆอยู่แล้วเพราะมักอยู่ในธุรกิจที่แข่งขันสูง และมักใช้ unskill labor การลดภาษีไม่ช่วยอะไรเพราะก่อนหน้านี้ก็ไม่จ่ายเท่าไรอยู่แล้ว
ส่วนบริษัทใหญ่โดยเฉพาะที่อยู่ในตลาดหุ้น ส่วนใหญ่คงแฮปปี้ครับ ได้มากกว่าเสียโดยเฉพาะบริษัทที่เป็น capital intensive เทียบกับการได้ลดภาษีตั้ง 7% กำไรเห็นๆ (ผู้ถือหุ้นที่รวยมากๆต้องเสียภาษี 30%+ ก็คงยิ่งโครตแฮปปี้เลย)
ส่วนเงินเฟ้อจากเรื่องลดภาษี กับ+ค่าแรงเป็น 300 คงจะไม่ทำให้เงินเฟ้อเพิ่มรุนแรงนักอย่างที่คิด เพราะอย่าลืมว่าจะต้องมีคนตกงานเพิ่มขึ้นอีกเยอะจากการที่ขึ้นค่าแรงเป็น 300 (เนื่องด้วยผู้ประกอบการเลิกกิจการ หรือไล่พนักงานที่ใช้งานไม่คุ้มค่ากับค่าแรง 300ออกเพื่อให้อยู่ได้)
ถ้ามองในแง่ดีนโยบาย300 สปาตั้น ฮู้ๆ นี้ อาจจะเป็นการส่งเสริมให้ประเทศไทยพัฒนาฝีมือแรงงานและความสามารถในการแข่งขันของSMEขึ้น(ลูกจ้างคนไหนไม่พัฒนาก็โดนไล่ออกเพราะไม่คุ้มเงิน300 , SMEก็ต้องพยายามปรับตัวที่จะใช้เครื่องจักรมากยิ่งขึ้นดั่งที่ประเทศพัฒนาแล้วเค้าทำกันไม่ใช่ ก็อปปี้แล้วเอาแรงงานถูกเข้าว่าแบบสมัยก่อนอีกต่อไป) ประเทศไทยซึ่งกำลังตกที่นั้นลำบากเพราะอยู่กึ่งกลางระหว่างประเทศกำลังพัฒนาและพัฒนาแล้ว(ไม่รู้ว่าจะเรียกว่าอะไรดี)จะได้มุ่งสู่ความเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วได้
ส่วนถ้ามองในแง่ร้ายนั้นก็ ........................SME ตายยั้งเขียด ผู้ส่งออกหมดความสามารถในการแข่งขัน เงินจะเฟ้อของจะแพง อะไรต่อมิอะไรอีก บร้าๆๆ
ส่วนบริษัทใหญ่โดยเฉพาะที่อยู่ในตลาดหุ้น ส่วนใหญ่คงแฮปปี้ครับ ได้มากกว่าเสียโดยเฉพาะบริษัทที่เป็น capital intensive เทียบกับการได้ลดภาษีตั้ง 7% กำไรเห็นๆ (ผู้ถือหุ้นที่รวยมากๆต้องเสียภาษี 30%+ ก็คงยิ่งโครตแฮปปี้เลย)
ส่วนเงินเฟ้อจากเรื่องลดภาษี กับ+ค่าแรงเป็น 300 คงจะไม่ทำให้เงินเฟ้อเพิ่มรุนแรงนักอย่างที่คิด เพราะอย่าลืมว่าจะต้องมีคนตกงานเพิ่มขึ้นอีกเยอะจากการที่ขึ้นค่าแรงเป็น 300 (เนื่องด้วยผู้ประกอบการเลิกกิจการ หรือไล่พนักงานที่ใช้งานไม่คุ้มค่ากับค่าแรง 300ออกเพื่อให้อยู่ได้)
ถ้ามองในแง่ดีนโยบาย300 สปาตั้น ฮู้ๆ นี้ อาจจะเป็นการส่งเสริมให้ประเทศไทยพัฒนาฝีมือแรงงานและความสามารถในการแข่งขันของSMEขึ้น(ลูกจ้างคนไหนไม่พัฒนาก็โดนไล่ออกเพราะไม่คุ้มเงิน300 , SMEก็ต้องพยายามปรับตัวที่จะใช้เครื่องจักรมากยิ่งขึ้นดั่งที่ประเทศพัฒนาแล้วเค้าทำกันไม่ใช่ ก็อปปี้แล้วเอาแรงงานถูกเข้าว่าแบบสมัยก่อนอีกต่อไป) ประเทศไทยซึ่งกำลังตกที่นั้นลำบากเพราะอยู่กึ่งกลางระหว่างประเทศกำลังพัฒนาและพัฒนาแล้ว(ไม่รู้ว่าจะเรียกว่าอะไรดี)จะได้มุ่งสู่ความเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วได้
ส่วนถ้ามองในแง่ร้ายนั้นก็ ........................SME ตายยั้งเขียด ผู้ส่งออกหมดความสามารถในการแข่งขัน เงินจะเฟ้อของจะแพง อะไรต่อมิอะไรอีก บร้าๆๆ
-
- Verified User
- โพสต์: 32
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ตลาดทุนจะเป็นอย่างไรถ้า.............มีการลดภาษีขั้นต่ำ
โพสต์ที่ 25
ผลของการลดภาษีจะขึ้นอยู่กับบริษัทว่ามี Franchise อ่อนหรือแข็งอย่างไร และขึ้นอยู่ด้วยว่า อัตราการทำกำไรของบริษัทที่ถือ Franchise เหล่านั้นถูกควบคุมโดย Regulators หรือไม่
แบ่งเป็นกรณีครับ
กรณี 1) บริษัทมี Franchise ที่แข็ง แต่อัตราการทำกำไรถูก Regulate อยู่ เช่นพวกไฟฟ้า และพวกยูทิลิตี้อื่นๆ การลดถาษีจะทำให้ราคาสินค้า(เช่น ค่าไฟฟ้า ค่าไฟ ค่าสาธนูปโภคอื่น) ลดลงครับ ส่วนอัตราการกำไรจะเท่าเดิม เพราะโดน Regulate อยู่
กรณี 2) บริษัทมี Week Franchise และอยู่ในอุตสาหกกรมที่มีการแข่งขันสูง การลดภาษี ก็มีผลอย่างเดียวกับยูทิลิตี้พวกไฟฟ้า คือโดยที่สุด สภาพการแข่งขันจะส่งผลให้ราคาของสินค้านั้นๆในตลาดลดลง แต่จะไม่ลดลงเร็วเท่า กรณี 1 ซึ่งถูกบังคับโดย Regulators
กรณี 3) บริษัทมี Franchise ที่แข็ง และไม่ได้อยู่ในอุตสาหกรรมที่โดน Regulate การลดภาษี จะส่งผลให้บริษัท "กระเป๋าตุง" มากขึ้นครับ
ลองดูครับในความเป็นจริง อย่างพวกแพทย์ผ่าตัดสมองฝีมือดี (เปรียบได้กับ local franchise holder) เราก็ต้องจ่าค่าธรรมเนียมการผ่าตัดให้แพทย์ที่มีฝีมือเหล่านี้เท่าเดิม ถึงแม้ว่ารัฐฯลดภาษีส่วนบุคคลครึ่งนึงก็ตาม
**อ้างอิงจาก Annual Report ของ Berkshire Hathaway โดย Warren Buffett
แบ่งเป็นกรณีครับ
กรณี 1) บริษัทมี Franchise ที่แข็ง แต่อัตราการทำกำไรถูก Regulate อยู่ เช่นพวกไฟฟ้า และพวกยูทิลิตี้อื่นๆ การลดถาษีจะทำให้ราคาสินค้า(เช่น ค่าไฟฟ้า ค่าไฟ ค่าสาธนูปโภคอื่น) ลดลงครับ ส่วนอัตราการกำไรจะเท่าเดิม เพราะโดน Regulate อยู่
กรณี 2) บริษัทมี Week Franchise และอยู่ในอุตสาหกกรมที่มีการแข่งขันสูง การลดภาษี ก็มีผลอย่างเดียวกับยูทิลิตี้พวกไฟฟ้า คือโดยที่สุด สภาพการแข่งขันจะส่งผลให้ราคาของสินค้านั้นๆในตลาดลดลง แต่จะไม่ลดลงเร็วเท่า กรณี 1 ซึ่งถูกบังคับโดย Regulators
กรณี 3) บริษัทมี Franchise ที่แข็ง และไม่ได้อยู่ในอุตสาหกรรมที่โดน Regulate การลดภาษี จะส่งผลให้บริษัท "กระเป๋าตุง" มากขึ้นครับ
ลองดูครับในความเป็นจริง อย่างพวกแพทย์ผ่าตัดสมองฝีมือดี (เปรียบได้กับ local franchise holder) เราก็ต้องจ่าค่าธรรมเนียมการผ่าตัดให้แพทย์ที่มีฝีมือเหล่านี้เท่าเดิม ถึงแม้ว่ารัฐฯลดภาษีส่วนบุคคลครึ่งนึงก็ตาม
**อ้างอิงจาก Annual Report ของ Berkshire Hathaway โดย Warren Buffett
An investor who has all the answers doesn’t even understand the questions.
- picklife
- Verified User
- โพสต์: 2565
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ตลาดทุนจะเป็นอย่างไรถ้า.............มีการลดภาษีขั้นต่ำ
โพสต์ที่ 26
แต่ผมว่ามันจะเป็นไปได้จริงหรอครับ แต่ก็น่าจับตาดูมากๆๆนะครับ แล้วยังมีเรื่องป้องกันเงินเฟ้อด้วยการทำให้เงินบาทแข็งอีกMO101 เขียน:คนถือหุ้นไม่ได้ประโยชน์มั้ง
เพราะ
1.กำไรไม่ปันผล เงินอยู่ใน บ. ผู้ถือหุ้นไม่ได้ไม่เสีย
ผมว่าได้นะครับพี่ คิดว่าได้เยอะด้วยอะ ถ้าบ.กำไรเยอะขึ้น ราคาหุ้นก็ต้องตอบสนองอย่างแน่นอนจะมากหรือน้อยก็ต้องตอบสนองปะครับ ไม่ว่าจะมองด้วยPEหรือDCFหรืออะไรก็ตาม
2.กำไร ปัน ได้เงินมากขึ้น เครดิตภาษีลดลง ไม่ได้ไม่เสีย
ผมว่าสองกลุ่มนะครับ กลุ่มที่ปันผลเป็นก้อนเงินไม่มากปันผลได้มา เครดิตภาษีก็ได้เพิ่ม
แต่บางกลุ่มไม่ได้เครดิตภาษีอยู๋แล้วหรือแม้นเครดิตก็ได้เป็น%ที่น้อยเมื่อเทียบกับปันผล
และผมก็คิดว่ากลุ่มหลังเยอะกว่ามากไม่ว่าจะเป้นคนพอร์ทใหญ่ กองทุน สถาบัน และต่างชาติ
บวกลบแล้วยังไงก็น่าจะดีกว่า พอความต้องการมากๆ ราคาหุ้นก็สนองเข้าหามูลค่าที่เหมาะสมได้ไวขึ้น
(แถมเป็นมูลค่าใหม่เพราะกำไรเพิ่มขึ้น)
ผมว่าตลาดหุ้นกระทบมากๆๆ บาวตัว+-แล้วอาจจะออกมาแย่ และบางตัว+-แล้วอาจจะดีมากๆๆๆ
เม่าน้อยคลำทางหาแสงไฟ
- jo7393
- Verified User
- โพสต์: 2486
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ตลาดทุนจะเป็นอย่างไรถ้า.............มีการลดภาษีขั้นต่ำ
โพสต์ที่ 27
ผมลองคำนวณคร่าวๆหากค่าแรงขึ้นเป็น 300 อย่างที่ว่า เอาที่ใกล้ตัวก่อนเลยก็ ค่าเช่าตามอพาร์ทเม้น ต้องปรับขึ้นอย่างน้อยห้องละ 500 บาท
อย่างค่าเช่า 3,800 ต้องเป็นอย่างน้อย 4,300 โดยที่ไม่ได้กำไรเพิ่มเลยด้วยนะครับ
อย่าลืมอีกอย่างนึงคือหาก ค่าแรงขั้นต่ำขึ้น ประกันสังคม ส่วนของนายจ้างต้องจ่ายเพิ่มขึ้นอีกนะครับ
รัฐก็จะมีรายได้ส่วนนี้เพิ่มขึ้น
อย่างค่าเช่า 3,800 ต้องเป็นอย่างน้อย 4,300 โดยที่ไม่ได้กำไรเพิ่มเลยด้วยนะครับ
อย่าลืมอีกอย่างนึงคือหาก ค่าแรงขั้นต่ำขึ้น ประกันสังคม ส่วนของนายจ้างต้องจ่ายเพิ่มขึ้นอีกนะครับ
รัฐก็จะมีรายได้ส่วนนี้เพิ่มขึ้น
“ถ้าราคาหุ้นแยกออกไปจากเส้นกำไร ไม่ช้าก็เร็วมันจะวิ่งกลับไปหาเส้นกำไรเสมอ”
เลือกบริษัทที่ดี ในราคาที่เหมาะสม และถือมันตราบที่มันยังเป็นกิจการที่ดีอยู่
อย่าอายที่จะถาม ไม่มีใครรู้ลึกทุก บ. ถ้าไม่รู้แล้วไม่ถามก็จะยิ่งไม่ฉลาด
เลือกบริษัทที่ดี ในราคาที่เหมาะสม และถือมันตราบที่มันยังเป็นกิจการที่ดีอยู่
อย่าอายที่จะถาม ไม่มีใครรู้ลึกทุก บ. ถ้าไม่รู้แล้วไม่ถามก็จะยิ่งไม่ฉลาด
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ตลาดทุนจะเป็นอย่างไรถ้า.............มีการลดภาษีขั้นต่ำ
โพสต์ที่ 28
ทีมไพร้ซวอเตอร์เฮาส์ คูเปอร์ส แนะโครงสร้างภาษีไทยต้องรุกตามยุทธศาสตร์ประเทศและก้าวทันการแข่งขันโลก
5 สิงหาคม 2012
ที่มา : http://thaipublica.org/2012/08/pwc-restructuring-tax/
เนื่องจากรัฐบาลมีแนวคิดที่จะรื้อโครงสร้างระบบภาษีใหม่โดยเฉพาะโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมและโครงสร้างภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั้งนี้เป็นผลจากตัวบทกฎหมายที่ล้าสมัยจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันโลก สำนักข่าว“ไทยพับลิก้า” ได้สัมภาษณ์คณะผู้บริหารระดับสูงของบริษัท ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส ประเทศไทย (PwC) นำทีมโดยนายถาวร รุจิวนารมย์ หัวหน้าหุ้นส่วนกรรมการอาวุโส และกรรมการบริหาร, นายพีรพัฒน์ โปษยานนท์ หุ้นส่วนบริษัทที่ปรึกษากฎหมายและภาษีอากร และ นายพอล ซัมเนอร์ หุ้นส่วนบริษัทที่ปรึกษากฎหมายและภาษีอากรของ PwC ในฐานะที่ผู้เชี่ยวชาญด้านที่ปรึกษากฎหมายภาษีและงานตรวจสอบบัญชี ให้ความเห็นต่อระบบโครงสร้างภาษีไทยในมุมต่างๆ ดังนี้
ไทยพับลิก้า : โครงสร้างอัตราภาษีไทยมีจุดอ่อน จุดแข็งอะไรบ้าง ที่ต้องปรับปรุงแก้ไข
ถาวร : โครงสร้างภาษีของไทยและตัวบทกฎหมาย โดยภาพรวมถือว่าใช้ได้ แต่ถ้าเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน อัตราภาษีของประเทศไทยจะสูงกว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคนี้ หากจะส่งเสริมให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนมากขึ้น รัฐบาลต้องหามาตรการอะไรมาจูงใจ มาตรการภาษีถือว่ามีบทบาทสำคัญมาก เมื่อรัฐบาลออกมาตรการมาแล้วต้องพยายามให้นักลงทุนเหล่านี้เก็บกำไรไว้ในเมืองไทยเยอะๆ แต่ถ้าเราเก็บภาษีแพง บริษัทต่างชาติเหล่านี้ก็จะใช้เทคนิคต่างๆ นำกำไรออกไปลงบัญชีที่ประเทศอื่นที่เสียภาษีถูกกว่า
ตอนนี้ถือว่าโชคดี รัฐบาลปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลลงจาก 30% ของกำไรสุทธิ ลดเหลือ 23% ในปี 2555 ลดลงเหลือ 20% ในปี 2556 แต่การปรับลดภาษีลงมาแล้วก็ยังไม่พอ ควรมีการปรับปรุง หรือแก้ไขระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าการลงทุนตามมาด้วย อย่างกรณีนักลงทุนส่งสินค้าออกไปเก็บไว้ที่สาขาต่างประเทศ ก่อนจะส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้า ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70 ตรี กรมสรรพากร ถือว่ามีการขายสินค้าแล้ว แต่ข้อเท็จจริงยังไม่ได้ขาย
พีรพัฒน์ : การทำธุรกิจตอนนี้มันเปลี่ยนแปลงไปมากแล้ว ควรจะปรับปรุงกฎหมายให้มีความทันสมัย เพื่อส่งเสริมการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ และรองรับการเข้าสู่ “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” หรือAEC นอกจากจะไปชักชวนให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศไทยแล้ว ควรจะต้องสนับสนุนให้คนไทยออกไปลงทุนในต่างประเทศด้วย อย่าง มาตรา 70 ตรี ตอนที่เขียนกฎหมาย เจ้าหน้าที่คงมองว่า กรณีส่งสินค้าออกไปต่างประเทศ กรมสรรพากรไม่ทราบว่าจะขายกันเมื่อไหร่ จึงต้องขอเก็บภาษีเอาไว้ก่อนที่จะส่งออก ซึ่งตอนนั้นอาจจะเป็นเหตุผลที่ถูกต้อง แต่ตอนนี้สถานการณ์เปลี่ยนแปลงไปมาก ควรต้องมาพิจารณาว่ามันเหมาะสมหรือไม่
ไทยพับลิก้า : ทราบได้อย่างไรว่าสินค้าที่ถูกส่งไปเก็บไว้ในต่างประเทศไม่ถูกนำออกมาขาย
ถาวร : รู้ได้แน่นอน เพราะปกติบริษัทจะต้องทำรายงานฐานะการเงิน โดยการนำยอดขายและรายได้ของสาขาเข้ามารวมอยู่ในรายงานฐานะการเงินดังกล่าวเพื่อนำมาเสียภาษีอยู่แล้ว จริงๆ ทำให้การทำบัญชีง่ายขึ้นด้วยซ้ำ เพราะรับรู้รายได้จริงๆ เมื่อขาย แต่ปัญหาวันนี้คือเราไม่ได้รับรู้รายได้ที่แท้จริง ต้องบันทึกกำไรทั้งๆ ที่ยังไม่ได้ขายเลย แถมยังต้องประมาณการราคาขาย พอถึงเวลาขายจริงๆ ราคามันแตกต่างกว่าที่คาดไว้จะทำอย่างไร สมมุติ บริษัทคาดว่าจะขายได้ชิ้นละ 10 บาท แต่ขายจริงได้ชิ้นละ 90 บาท เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาความยุ่งยากตามมาในอนาคต ก็คือต้องเสียภาษีที่ชิ้นละ 90 บาทไปเลย จบ
พีรพัฒน์ : ในทางตรงกันข้าม บางครั้งส่งสินค้าไปให้สาขาต่างประเทศ บางครั้งราคาลดลงกว่าวันที่ผู้ประกอบการส่งสินค้าออกไปต่างประเทศ กรมสรรพากรช่วยแก้ไขอะไรให้ไม่ได้เลย
ถาวร : ประเด็นนี้ผมมองว่าเป็นอุปสรรคต่อนโยบายที่จะสนับสนุนให้ไทยเป็นศูนย์กลางการค้าและการลงทุนในภูมิภาคนี้ หรือ “ฮับ” ก่อนหน้านี้คุณพีรพัฒน์เคยไปช่วยทำเรื่องศูนย์บริการเปลี่ยนยางเครื่องบินในภูมิภาคนี้ เพื่อให้เครื่องบินจากต่างประเทศบินมาเปลี่ยนยางในเมืองไทย ปรากฏว่ายางเครื่องบินที่นำเข้ามาในศูนย์ ข้อเท็จจริงคือ การเช่าเป็นรายชั่วโมง ไม่ได้ซื้อ-ขาย แต่พอเปลี่ยนยางให้สายการบิน กรมสรรพากรถือว่าขายยางแล้ว ทั้งๆ ที่เป็นการเช่ารายชั่วโมง
“เราอย่าไปคิดว่าผู้เสียภาษีจะโกง โดยปกติบริษัทจะรับรู้รายได้ตามหลักการบัญชีอยู่แล้ว แต่ปัญหาคือเราไปเก็บภาษีก่อน พอเก็บไปแล้ว บางกรณีไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ กฎหมายก็ไม่ได้เขียนไว้ชัดเจน ส่วนนักลงทุนเองก็ไม่อยากจะเอาเงินมาจ่ายภาษีให้กับกรมสรรพากรก่อน เพราะมีต้นทุนดอกเบี้ย”
พีรพัฒน์ : อีกตัวอย่างคือเรื่องราคาโอน (Transfer pricing) ประมวลรัษฎากร กำหนดแค่ว่าให้ขายตามราคาตลาดเท่านั้น แต่ไม่ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า “ราคาตลาด” จึงเกิดความคลุมเครือ มีความเสี่ยง อาจจะถูกกรมสรรพากรตรวจสอบและประเมินภาษีในภายหลังได้ ดังนั้นกรมสรรพากรควรจะยกร่างกฎหมายขึ้นมารองรับเรื่องราคาโอน ซึ่งบริษัทใหญ่ๆ อยากจะทำอะไรให้ถูกต้องตามกฎหมาย
ไทยพับลิก้า : การกำหนดให้ใช้ “ราคาตลาด”จะมีผลกระทบอย่างไร
พีรพัฒน์ : กฎหมายเขียนเอาไว้ว่า”เวลาขาย อย่าขายต่ำกว่าราคาตลาด เวลาซื้อ ก็อย่าซื้อสูงกว่าราคาตลาด” แค่นั้นเอง มันค่อนข้างจะกว้างมาก แต่เวลานำไปปฏิบัติ เจ้าหน้าที่มีความเห็นแตกต่างเรื่องการกำหนดราคาโอน ส่วนใหญ่จะเป็นธุรกรรมซื้อ-ขายที่เกิดขึ้นระหว่างบริษัทในเครือ
ถาวร : ปัญหาคือ ประมวลรัษฎากรไม่ได้กำหนดนิยามของคำว่า ”ราคาตลาด” แต่วันนี้โลกเปลี่ยนแปลงไปมาก ในทางปฏิบัติคนซื้อพยายามต่อรองราคาให้ได้สินค้าถูกที่สุด ฝั่งของคนขาย ก็อยากขายได้ราคาสูงๆ ดังนั้น การซื้อ-ขายสินค้าในแต่ละกรณีจึงมีราคาไม่เท่ากัน โดยเฉพาะการซื้อ-ขายกันระหว่างกลุ่มบริษัทในเครือ กรมสรรพากรมองว่าอาจจะมีการตั้งราคาโอนไม่เหมาะสม แต่ “ราคาตลาด” ก็ไม่มี “นิยาม” ยกตัวอย่าง สินค้าบางอย่างมีผลิตที่แห่งเดียวในโลกจะไปเปรียบเทียบกับราคาตลาดจากไหน หรือสินค้าที่คล้ายๆ กัน เช่น แอปเปิ้ลมีหลายสายพันธุ์ ขนาดแตกต่างกัน ราคายอมแตกต่างกันตามไปด้วย ผมคิดราคาคุณ 10 บาท แต่คิดคนอื่น 20 บาท อะไรคือราคาตลาด
ไทยพับลิก้า : เคยสอบบัญชีพบบริษัทที่แจ้งราคาขายต่ำกว่าความเป็นจริงไหม
ถาวร : ในอดีตเคยพบบริษัทในเครือบางแห่งตั้งราคาขายต่ำๆ เพื่อโอนกำไรไปลงบัญชีบริษัทในเครือที่ตั้งอยู่ในประเทศที่เสียภาษีต่ำๆ นักลงทุนที่มาตั้งฐานผลิตในไทย บางรายไม่ใช่ผู้ผลิตหลัก แต่เป็นซัพพลายเชน หรือรับจ้างผลิตส่งออกไปขายอีกประเทศหนึ่ง ผู้ผลิตในเมืองไทยจะได้กำไรน้อยมาก เพราะคิดราคาแค่ต้นทุนบวกกำไร 3-5% ถือว่าเป็นการทำธุรกิจที่ไม่มีความเสี่ยงอะไร กำไรน้อย เอาแค่พออยู่รอดเท่านั้น
พีรพัฒน์ : ทำแบบนี้ไม่ได้หมายความว่าผิดนะ เพียงแต่ว่าอุตสาหกรรมในเมืองไทยส่วนใหญ่รับจ้างต่างชาติผลิตสินค้า เมื่อภาพรวมเป็นเช่นนี้ ทำไมกรมสรรพากรไม่แก้ไขประมวลรัษฎากร เพื่อดึงสำนักงานตัวแทนสาขาของต่างชาติเข้ามาเปิดกิจการในประเทศไทย อย่างประเทศสิงคโปร์จะใช้คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจ เป็นกลไกออกไปเชิญชวนบริษัทต่างชาติที่มีเทคโนโลยีที่ดีที่สุดเข้ามาลงทุน
ถาวร : คนสิงคโปร์เดี๋ยวนี้เก่งมาก เพราะในอดีตเขาดึงคนเก่งๆ ให้เข้ามาอยู่ในประเทศเยอะมาก ทำให้คนสิงคโปร์รู้จักคิด รู้จักทำอะไรใหม่ๆ ขณะที่คนเก่งเหล่านี้ไม่มาเมืองไทย ซึ่งความจริงเราควรจะไปดึงคนเก่งๆ เหล่านี้ให้เข้ามาอยู่ในประเทศไทย โดยให้สิทธิประโยชน์ที่เหมาะสม เพื่อให้พวกนี้เข้ามาสร้างงานใหม่ๆ สร้างธุรกิจใหม่ๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์มากกว่าจะไปมุ่งเก็บภาษีเพียงอย่างเดียว
พีรพัฒน์ : เมื่อ 20 ปีที่ผ่านมา สิงคโปร์ยอมสูญเสียรายได้จากภาษี เพื่อไปเชิญชวนฝรั่งเข้ามาลงทุน เมื่อเวลาผ่านไป คนสิงคโปร์ได้เรียนรู้วิธีการบริหารจัดการธุรกิจแบบฝรั่ง จะเห็นได้ว่าคนสิงคโปร์เก่งขึ้นเรื่อยๆ นอกจากจะได้คนเก่งเข้ามาถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ทันสมัยให้แล้ว คนสิงคโปร์ยังมีรายได้ค่าเช่าบ้านจากต่างชาติที่เข้ามาทำงาน เกิดการจับจ่ายใช้สอย และมีรายได้เข้าประเทศมากกว่าภาษีที่สูญเสียไป
นายพีรพัฒน์ โปษยานนท์ หุ้นส่วนบริษัทที่ปรึกษากฎหมายและภาษีอากร
ไทยพับลิก้า : ที่ผ่านมารัฐบาลไปเน้นเก็บภาษีมากเกินไปใช่ไหม เราจึงเป็นแค่รับจ้างผลิตสินค้า
ถาวร : ใช่ เรามุ่งไปที่การเก็บภาษีเพียงอย่างเดียว โดยภาพรวมนโยบายเรามี แต่ว่าคนออกนโยบายไม่ได้เป็นคนออกกฎหมาย คนออกกฎหมายกลายเป็นคนจัดเก็บภาษี ดังนั้นมันจึงไม่ได้ในสิ่งที่ต้องการ
พีรพัฒน์ : ประเด็นที่ผมอยากตั้งเป็นข้อสังเกต คือ เวลาจะเปลี่ยนแปลงกฎหมายภาษีอะไรก็ตาม รัฐบาลมักจะมอบหมายให้กรมสรรพากร ซึ่งปกติจะทำหน้าที่จัดเก็บภาษี เป็นคนออกมาตรการส่งเสริม หรือจูงใจนักลงทุนต่างชาติ ให้เข้ามาตั้งฐานผลิตในเมืองไทย
โดยหลักการแล้ว กรมสรรพากรย่อมเป็นห่วงเรื่องของรายได้ โครงสร้างแบบนี้ผมคิดว่ามันไม่น่าจะถูกต้อง อย่างสิงคโปร์ คนที่จะคิดมาตรการภาษีมาสนับสนุน คือ “คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจ” (Economic Development Board) สำหรับประเทศไทย ผมมองว่าน่าจะเป็นหน้าที่ของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) โครงสร้างเรามีอยู่แล้ว แต่บทบาทอาจจะเอียงไปทางสรรพากรมากกว่า
แต่อย่างไรก็ตาม กรมสรรพากรก็ควรจะมีบทบาทในฐานะผู้ปฏิบัติ ควรจะทราบปัญหาทุกเรื่อง แต่ควรจะเป็นคนป้อนข้อมูลให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เพื่อนำไปออกแบบนโยบาย ส่วนคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ก็จะเป็นอีกองค์กรหนึ่งที่มีบทบาทในการไปชักชวนนักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศไทย แต่วันนี้ก็ควรจะส่งเสริมให้นักลงทุนไทยออกไปลงทุนในต่างประเทศด้วย
ถาวร : อีกประเด็นที่ผมจะขอกล่าวเสริม นโยบายส่งเสริมการลงทุนที่มันไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เพราะไม่มีเจ้าภาพ ซึ่งเจ้าภาพก็คงจะไม่ใช่กรมสรรพากรแน่นอน เพราะเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่จัดเก็บภาษีและกำกับดูแลให้เป็นไปตามกฎหมาย อย่างเช่น มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนให้มีการจัดตั้งสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค (Regional Operating Headquarters: ROH) รัฐบาลมอบหมายให้กรมสรรพากรเป็นเจ้าภาพ ในฐานะที่เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่จัดเก็บภาษี ก็เพิ่มเงื่อนไขต่างๆ เข้าไป และก็มาแก้ไขในภายหลัง
ขณะเดียวกัน กรมสรรพากรไม่เคยมีการวัดประสิทธิภาพ หรือประสิทธิผล (KPI) มาตรการที่ออกไปว่าประสบความสำเร็จหรือไม่มีจุดบกพร่องตรงประเด็นไหน ไม่มีการตั้งเป้าหมาย เช่น ปีนี้ตั้งเป้าหมายว่าจะอนุญาตให้มีการจัดตั้ง ROH 10 ราย ปีหน้า 20 ราย เป็นต้น ปล่อยไปตามยถากรรม เพราะกรมสรรพากรไม่ได้มีหน้าที่ส่งเสริมการลงทุน หน้าที่ของสรรพากรคือจัดเก็บภาษี ดังนั้นอะไรก็ตามที่ไม่ตรงตามเงื่อนไขที่กำหนด กรมสรรพากรก็จะจับเสียภาษี ตรงนี้จึงถือเป็นความเสี่ยงของนักลงทุน หากเข้ามาตั้ง ROH แล้วทำผิดเงื่อนไขจะโดนจัดเก็บภาษี นักลงทุนต่างชาติจึงไม่อยากที่จะเข้ามาขอจัดตั้ง ROH ในเมืองไทย
ไทยพับลิก้า : นี่คือปัญหาและอุปสรรคในการจัดตั้ง ROH
พีรพัฒน์ : ROH คือธุรกิจให้บริการระหว่างประเทศ เป็นพวก Back Office ธุรกิจประเภทนี้กำไรน้อยมาก คือจะใช้ฐานต้นทุนบวกกำไรเข้าไปอีก 5-10% ดังนั้น เมื่อสรรพากรไปลดภาษีเงินได้นิติบุคคลเพื่อจูงใจให้เขาเข้ามาจาก 30% เหลือ 10% ซึ่งคิดบนฐานกำไรสุทธิที่ 5-10% คิดเป็นเม็ดเงินแล้ว ถือว่าน้อยมาก
แต่ถ้าต้องการจะดึงพวก Top management เข้ามาแบบที่สิงคโปร์เคยทำในอดีต ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่ง ธุรกิจประเภทนี้จะเป็นตัวที่คิดโมเดลในการทำธุรกิจ ทั้งซัพพลายเชน หรือ วางสายการผลิตว่าจะผลิตอะไร ผลิตแบบไหน จะขายราคาเท่าไหร่ หากดึงเขามาอยู่ในเมืองไทย รัฐบาลก็ควรที่จะลดภาษีให้ อย่างสิงคโปร์ตอนนี้เก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ 17.5% สำหรับธุรกิจทั่วไป แต่ถ้าเป็นกลุ่มธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง จะเสียภาษีประมาณ 5%
หากจะให้เห็นภาพชัดๆ ขึ้นมาอีกหน่อย คือ กลุ่มนี้เป็นคนคิดและวางแผนธุรกิจทั้งซัพพลายเชน พอคิดเสร็จแล้ว ก็จะไปจ้างพม่าหรือไทยผลิต ผลิตเสร็จแล้วส่งออกไปขายที่ฟิลิปปินส์ กำไรที่เหลือทั้งหมดไปลงบัญชีที่สิงคโปร์ แต่ถ้าอยากจะให้กำไรมาลงบัญชีในเมืองไทย ต้องลดภาษี คนส่วนใหญ่ชอบคิดว่าธุรกิจประเภทนี้คือธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ ซื้อมา-ขายไปธรรมดา แต่ข้อเท็จจริงแล้วเป็นกลุ่มธุรกิจที่มีมูลค่าเพิ่มสูงมาก (Value Added )
ไทยพับลิก้า : ธุรกิจที่ใช้วิทยาการชั้นสูงที่ว่านี้มีโมเดลเป็นอย่างไร
ถาวร : ส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจหลักทำหน้าที่เป็น Back office สำนักงานตั้งอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์วางแผนการผลิตเสร็จ ก็ไปจ้างประเทศอื่นผลิต ได้กำไรประมาณ 3-5% ผลิตเสร็จก็จะส่งไปขายประเทศต่างๆ ทั่วโลก ประเทศผู้ผลิตก็จะได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสม ประเทศผู้ขายก็จะได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสมเช่นเดียวกัน แต่กำไรส่วนใหญ่อยู่ที่ประเทศสิงคโปร์
พีรพัฒน์ : คนสิงคโปร์เขารู้ว่ามันมีแต่ได้กับได้ ส่วนกรณีของไทย เราไปเชิญชวนนักลงทุนต่างชาติเข้ามาแล้วเขาต้องมาพิสูจน์ว่าตรงตามเงื่อนไขที่กำหนดหรือไม่ ขณะที่สิงคโปร์ไม่ทำแบบนี้ กล่าวคือสิงคโปร์จะมีทำการศึกษาก่อนว่า หากเชิญนักลงทุนรายนี้ที่มีเทคโนโลยีขั้นสูงเข้ามา แล้วคนสิงคโปร์จะได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีแน่ จากนั้นก็จะบินออกไปเชิญชวนให้เข้ามาลงทุน ต่างชาติมีหน้าที่เซ็นชื่ออย่างเดียว เพราะทุกอย่างกรอกไว้ให้หมด
ถาวร : PwC เคยเข้าไปช่วย BOI ทำการศึกษาทบทวนบทบาทของ BOI อนาคตจะเดินไปข้างหน้าอย่างไร ที่ผ่านมารัฐบาลต้องการจะให้ธุรกิจประเภทใดเข้ามาลงทุนในเมืองไทย ก็ใช้มาตรการภาษีเป็นแรงจูงใจ เช่น ต้องการให้เข้ามาผลิตรถยนต์ เราก็ได้รถยนต์ โดยไม่ได้ดูความเหมาะสม ตอนนี้ BOI ก็เริ่มเปลี่ยนแปลงการให้แรงจูงใจต่างชาติแล้ว โดยคำนึงถึงประโยชน์ที่ประเทศจะได้อะไร และก็มีการเลือกประเภทของธุรกิจที่จะได้รับการส่งเสริมด้วย
BOI ของสิงคโปร์ไม่ใช่แค่ติดป้ายเชิญชวนให้ต่างชาติเข้ามาลงทุน แต่เขาจะเดินทางไปหาคุณ ผมสนใจที่จะชวนคุณมาลงทุนในประเทศผม ผมศึกษาแล้วว่าถ้าชวนคุณเข้ามาลงทุน ผมจะได้อะไร สิงคโปร์จึงไม่ได้ตั้งเงื่อนไขมาก เพราะเขารู้ว่าเขาอยากได้อะไรแล้ว
ไทยพับลิก้า : มาตรการภาษีที่สิงคโปร์ใช้จูงใจเป็นอย่างไร
ถาวร : หน้าฉากคือเก็บภาษีในอัตรา 17.5% ของกำไรสุทธิ นี่คืออัตราทั่วไป และยังมีการให้สิทธิพิเศษอื่นๆ อีกมากมาย เช่นเดียวกับประเทศมาเลเซีย ลาว พม่า ก็มีการให้สิทธิพิเศษทางภาษี สำหรับกิจการที่รัฐบาลต้องการส่งเสริมเช่นเดียวกัน
พีรพัฒน์ : สำหรับประเทศไทยมีอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลทั่วไปคือ 23% หรือ 20% แต่เราไม่มีระหว่างกลาง แต่ได้ส่งเสริมการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศโดยภาคธุรกิจส่งออกเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ที่ 0% ทั้งนี้เพื่อให้สินค้าและบริการของไทยแข่งขันกับผู้ผลิตหรือผู้ให้บริการในต่างประเทศได้เป็นหลักการที่สำคัญ
แต่ในบางครั้ง เราก็ลืมคิดไปว่า VAT 0% มีไว้เพื่ออะไร ดังนั้น เมื่อนำไปสู่ภาคปฏิบัติ มักจะตีความว่าจะให้เสียภาษีที่ 0% หรือ 7% ก็ได้ เพราะการทำธุรกิจบางกรณีมีความคลุมเครือ อย่างกรณีของธุรกิจบริการระหว่างประเทศ หรือ “ส่งออกบริการ” มีหลายกรณีออกจะเทาๆ สรรพากรก็มักจะตีความให้เสียภาษี 7% ในสมัยก่อนประมวลรัษฎากรเขียนเอาไว้ว่าส่งออกบริการต้องใช้บริการในไทยทั้งหมด ถึงจะเสียภาษี 0% แต่ตอนนี้พัฒนาขึ้น โดยแก้ไขกฎหมายให้เก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% เฉพาะส่วนที่ใช้บริการในไทย แต่ถ้าเป็นบริการที่ไปใช้ในต่างประเทศเสียภาษี 0% นี่คือตัวอย่างที่ดี อยากจะเห็นอะไรแบบนี้
ถาวร : แต่มันก็มีสีเทาๆ อยู่ ในประเด็นที่ว่ามีการส่งออกบริการจริงหรือไม่ ยกตัวอย่าง กรณีของการตรวจสอบคุณภาพของสินค้า วันนี้กรมสรรพากรมองว่าเป็นการใช้บริการในประเทศ ต้องเสีย VAT 7% เช่น บริษัทต่างประเทศสั่งซื้อสินค้าจากประเทศไทย ไปว่าจ้างตัวแทนจากต่างประเทศมาตรวจสภาพสินค้าก่อนที่จะส่งไปให้เขา ว่ามันเป็นไปตามคุณภาพที่ตกลงไว้หรือไม่ สรรพากรตีความว่าบริษัทที่ทำหน้าที่ตรวจสอบสินค้าเป็นการให้บริการในประเทศ ไม่ได้ส่งออกบริการ ต้องเสียภาษี 7% เท่ากับไปเพิ่มต้นทุนให้กับผู้ซื้อที่อยู่ในต่างประเทศ เพราะเขาขอคืนภาษีจากประเทศไทยไม่ได้
นายถาวร รุจิวนารมย์
ไทยพับลิก้า : จากนี้ไป ก่อนเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ไทยต้องปรับปรุงอะไรบ้าง
พีรพัฒน์ : ต้องปรับปรุงกฎหมายให้มีความทันสมัย เพื่อส่งเสริมการทำธุรกิจ แทนที่จะไปโฟกัสที่การจัดเก็บภาษีเพียงอย่างเดียว ก่อนที่จะเข้าสู่ AEC ต้องการส่งเสริมให้คนไทยออกไปลงทุนในต่างประเทศ หากเราจะไปลงทุนในต่างประเทศเราก็ต้องไปหาที่ปรึกษาการลงทุน ประเทศที่พัฒนาแล้วจะส่งเสริมให้บริษัทของเขาออกไปทำธุรกิจในต่างประเทศแล้วนำกำไรกลับเข้าประเทศ โดยให้สิทธิประโยชน์บางอย่าง เช่น ให้นำเงินที่ไปลงทุนในต่างประเทศมาหักค่าใช้จ่ายได้มากกว่า 1 เท่าของที่จ่ายไปจริง ส่วนเงินปันผลที่ได้รับจากการลงทุนในต่างประเทศส่งกลับประเทศจะได้รับการยกเว้นภาษี
ถาวร : สมมติผมไปลงทุนในต่างประเทศ ผมขายกิจการ กำไรจากการขายกิจการ เอากลับประเทศต้องเสียภาษีหรือไม่ หรือได้รับการลดหย่อนพิเศษ ปัจจุบันบริษัทไทยขนาดใหญ่ไม่ค่อยเอากำไรกลับประเทศ เพราะถ้าเอากลับมาจะต้องเสียภาษี ต้องมีหน่วยงานที่เข้ามาดูว่าจะทำอย่างไรให้คนไทยออกไปลงทุนในต่างประเทศ มีกำไรแล้วก็ส่งกลับประเทศ ไม่ใช่มีกำไรแล้วเก็บไว้ที่ต่างประเทศ
ไทยพับลิก้า : สรรพากรเซ็นอนุสัญญาภาษีซ้อน นักธุรกิจไทยส่งกำไรจากต่างประเทศกลับมาต้องเสียภาษีอีกหรือ
ถาวร : มันเป็นเรื่องขอเครดิตภาษีคืนมากกว่า สมมติ ผมขายกิจการในสิงคโปร์ มีส่วนต่างของกำไร เสียภาษีที่สิงคโปร์มาแล้ว ก็จะต้องมาเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในไทยอีก แต่สามารถนำภาษีที่สิงคโปร์เก็บมาเครดิตภาษีในประเทศไทยได้ กรณีที่มีอนุสัญญาภาษีซ้อนอยู่
แต่ในบางประเทศสนับสนุนให้นักลงทุนส่งกำไรกลับประเทศ ไม่ต้องเสียภาษี เพราะเขารู้ว่าหากเก็บภาษีก็จะเก็บได้น้อยมาก เพราะนักลงทุนไม่อยากจะเอาเงินกลับประเทศเพื่อมาเสียภาษี แต่ถ้าเราจูงใจให้เขาเอาเงินเข้ามา ฐานะการเงินภาคธุรกิจก็จะดีขึ้นแน่นอน คงจะไม่มีนักธุรกิจไหนเอาเงินไปผ่านประเทศที่เสียภาษีสูงๆ และถ้าเมืองไทยเป็นแบบนี้ พวกกองทุนต่างๆ ก็จะเข้ามาตั้งสำนักงานสาขาในเมืองไทยกันมากขึ้น เพราะไม่ต้องเสียภาษี
พีรพัฒน์ : สมมุติ สิงคโปร์เก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ 17.5% ได้กำไรสุทธิ 100 บาทเสียภาษี 17.5 บาท ส่วนภาษีเงินได้นิติบุคคลของไทยเก็บอยู่ที่ 23% เราต้องเอา 100 บาทมาคำนวณ 23% แล้วหักด้วย 17.5% ส่วนต่างที่เกิดขึ้น นักธุรกิจต้องนำไปจ่ายภาษีให้กรมสรรพากรอีก สรุปคือส่งกำไรกลับประเทศต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล 23% นั่นเอง
ไทยพับลิก้า : เหตุผลที่รัฐบาลมุ่งเน้นไปที่การจัดเก็บรายได้ เพราะต้องการเงินไปพัฒนาประเทศ
พีรพัฒน์ : รัฐบาลต้องทำการบ้านให้มากกว่านี้ ต้องมองด้วยว่ารายได้ที่สูญเสียไปมันคุ้มกับประโยชน์ที่ได้รับหรือไม่ การคงอัตราภาษีไว้สูงๆ ไม่ต้องการส่งเสริมอะไรเลย สุดท้ายอาจจะไม่ได้อะไร แต่ถ้ายอมสูญเสียรายได้บ้าง ก็อาจจะได้เทคโนโลยีใหม่ๆ ก็ต้องมาวิเคราะห์ดูว่าจะส่งเสริมได้แค่ไหน แต่อย่าลืมว่าเราจะมาดูเฉพาะค่าใช้จ่ายของประเทศอย่างเดียวไม่ได้ ต้องดูประเทศคู่แข่งด้วย ซึ่งนำหลายๆ อย่างมาพิจารณาประกอบกัน
ถาวร : ต้องมองในแง่เศรษฐศาสตร์ด้วย สมมติว่ามีเงินไหลเข้ามา 1 หมื่นล้านบาท เงินมันจะหมุนกี่รอบ เงินจำนวนนี้นำไปลงทุนต่อเนื่องประเทศจะได้อะไร ต้องมองภาพให้กว้างขึ้น
พีรพัฒน์ : หากเราลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาลงมาให้มาอยู่ในระดับใกล้เคียงกับภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ลดลง จะทำให้เกิดการใช้จ่ายเงินเพิ่มมากขึ้น ยกตัวอย่าง บริษัทที่สั่งสินค้าเข้ามาผลิต กรมสรรพากรจะเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มมากขึ้น ต่างชาติส่งผู้เชี่ยวชาญเข้ามาทำงานเราก็ได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้ สิ่งเหล่านี้มันมากกว่าภาษีที่สูญเสียไป
“แต่ถ้าเราไม่ลดภาษี ต่างชาติก็ไม่เข้ามาลงทุน เม็ดเงินภาษีที่คาดว่าจะสูญเสียไปมันก็ไม่สูญเสีย เพราะความจริงมันไม่ได้อยู่แล้ว บางครั้งเราไปนึกกว่ามันสูญเสียรายได้ แต่ความเป็นจริงมันไม่สูญเสีย เราสูญเสียในสิ่งที่เราไม่เคยได้อยู่แล้ว”
ถาวร : วันนี้ประเทศไทยไม่ได้มีแค่ 60 ล้านคน แต่มันกำลังจะเป็น 600 ล้านคน สมมติว่าวันนี้เรามีร้านก๋วยเตี๋ยวจังหวัดละ 1 ร้าน มีทั้งหมดเกือบ 80 จังหวัด แต่อนาคตจะไม่ใช่แล้ว เราอาจจะมีร้านก๋วยเตี๋ยวในอินโดนีเซีย ถ้าเราไม่ทำ ประเทศอื่นเขาก็ทำ ทำอย่างไรถึงจะส่งนักธุรกิจของเราไปฉกฉวยโอกาสตรงนี้ให้ได้
ตอนนี้ผมยังไม่รู้ว่ามีหน่วยงานไหนทำหน้าที่ส่งนักลงทุนไทยไปต่างประเทศ โดยตรง เพราะวันนี้มีหน่วยงานเยอะมากที่ส่งคนไทยไปลงทุนในต่างประเทศ ทั้งอุตสาหกรรมอะไรต่างๆ แต่ถ้าถามว่าพรุ่งนี้อยากไปเปิดร้านก๋วยเตี๋ยวที่สิงคโปร์ควรจะคุยกับใคร ผมจะได้สิทธิอะไรบ้าง ผมจะไปคุยกับใคร ไปคุย 10 กระทรวง 10 หน่วยงาน เจอแบบนี้ความอยากของผม มันถดถอย เราไม่มีเจ้าภาพที่ชัดเจน นโยบายของรัฐบาลไม่ชัดเจน วันนี้ไม่มีเจ้าภาพ
อีกประเด็นหนึ่งเป็นเรื่องของการทำวิจัยและพัฒนา (Research & Development: R&D) ทุกประเทศพยายามผลักดันให้เกิดกับธุรกิจในประเทศของตน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน สำหรับประเทศไทยก็มีมาตรการภาษี เพื่อสนับสนุนให้บริษัททำ R&D โดยให้นำค่าใช้จ่ายมาหักภาษีได้ 2 เท่าของที่จ่ายไปจริง แต่ปรากฏว่ามีเงื่อนไขมากมาย หลายบริษัทก็ไม่เอา เพราะทำตามสรรพากรไม่ไหว
บางประเทศวางจุดยืนว่าประเทศของเขาควรจะเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ เพราะถ้าเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์แล้วจะมีรายได้กลับเข้าประเทศอย่างต่อเนื่อง หากต้องการให้ความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เกิดขึ้นในประเทศไทย ก็ต้องมานั่งคิดกันว่าจะทำอย่างไร
คำตอบของผม สรรพากรไม่ชอบแน่ เพราะต้องลดภาษีอีกแล้ว แต่วันนี้สรรพากรก็เก็บภาษีไม่ได้อยู่แล้ว เพราะต่างชาติไปจดลิขสิทธิ์ที่สิงคโปร์ ซึ่งความจริงประเทศไม่อยากจะได้เงินภาษีหรอก แต่อยากได้เงินเข้ามาหมุนเวียนภายในประเทศ ถ้าอยากจะให้เจ้าของลิขสิทธิ์จากต่างประเทศมาจดทะเบียนในเมืองไทย ต้องไม่เก็บภาษี
ไทยพับลิก้า : เห็นด้วยกับการปรับลดภาษีนิติบุคคลเหลือ 20% หรือไม่
พีรพัฒน์ : จริงๆ เห็นด้วย เพราะมันจะมีผลเมื่อไทยเปิดประเทศเข้าสู่ AEC เมืองไทยจะน่าลงทุนมากขึ้น การลดภาษีไม่ได้ทำให้รัฐจัดเก็บภาษีได้น้อยลง หากไปดูแนวโน้มการจัดเก็บภาษีของของโลก ภาษีเงินได้ทุกประเภทมีแนวโน้มลดลงหมด ส่วนภาษีทางอ้อม อาทิ VAT มีแนวโน้มว่าจะต้องปรับอัตราให้สูงขึ้น
อย่างสิงคโปร์เคยเก็บ VAT 3% ตอนนี้ปรับอัตราขึ้นเป็น 7% เพราะเมื่อประชาชนมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ก็ใช้จ่ายมากขึ้นเหมือนกัน คือแทนที่จะไปเก็บภาษีจากรายได้ ก็หันมาเก็บภาษีจากการบริโภคมากกว่า ดูกราฟทิศทางการดำเนินนโยบายภาษีของทุกประเทศโลกในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าภาษีทางอ้อมจะมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนภาษีเงินได้จะคงที่ หรือลดลง
ไทยพับลิก้า : โครงสร้างภาษีของไทยสอดคล้องกับทิศทางของโลกหรือไม่
ถาวร : ในต่างประเทศ ภาษีทางตรง พวกภาษีเงินได้ อัตราจะลดลง ส่วนภาษีทางอ้อมหรือภาษี VATมีแนวโน้มว่าจะปรับอัตราสูงขึ้น ประเทศไทยปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคล และก็มีนโยบายที่จะปรับอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มขึ้นไป เพียงแต่ว่าคนในระดับล่างที่มีรายได้น้อยอาจจะไม่ชอบ เพราะเดิมจ่ายเงินซื้อของที่โลตัส 107 บาท ถ้าปรับ VAT ขึ้นไป ต้องจ่าย 110 บาท คนจะรู้สึกทันที
ไทยพับลิก้า : PwC มองการปรับโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอย่างไร โจทย์คือต้องลดภาษีให้คนมีฐานะดี เพื่อแข่งขันกับต่างประเทศและก็ต้องลดภาษีให้รากหญ้า
ถาวร : คือโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ถ้าวันนี้ยังไม่เปลี่ยน อนาคตประเทศไทยจะมีบริษัทเกิดใหม่ขึ้นมามากมายแน่นอน ผมจะลงทุนในรูปของบุคคลธรรมดาทำไม ถ้าโมเดลธุรกิจผมดี ผมเปิดบริษัทดีกว่า เพราะถ้าเป็นบุคคลธรรมดาเสียภาษี 37% แต่นิติบุคคลเสียภาษี 20%ต่างกันมาก
พีรพัฒน์ : สมมติถ้าเสียภาษีในอัตรา 20% ของกำไรสุทธิ เรากำไร 100 บาท เสียภาษี 20 บาท เหลือ 80 บาท ปันผลให้บุคคลธรรมดา อัตราภาษีที่แท้จริง (effective rate) แต่ถ้าไม่จดทะเบียนเป็นบริษัท ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ 37%
ขณะที่ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มีบุตรหักภาษีได้ 15,000 บาท มันเพียงพอหรือไม่ การหักค่าใช้จ่ายในปัจจุบันมีความเหมาะสมหรือไม่ คนจนก็ไม่สามารถหักค่าใช้จ่ายหรือค่าลดหย่อน อย่างคนจนไม่รู้จะมีเงินมาซื้อประกันชีวิตได้หรือเปล่า คนรวยก็จะซื้อเยอะๆ
ถาวร : คนที่ไม่ได้เสียภาษีเยอะก็จะต่อต้านว่าให้สิทธิแต่คนรวย เพราะคนรวยตัดค่าใช้จ่ายได้เยอะ คนจนก็ไม่มีตัด คนจนซื้อประกันได้หรือเปล่าก็ไม่รู้ อะไรที่จะส่งเสริมให้ธุรกิจไปต่างประเทศ เหมือนกับวันนี้เราจะเปิดบ้านเราให้คนอื่นกินข้าวเย็นที่บ้าน ทีนี้เราต้องเสริมให้เราไปกินข้าวเย็นบ้านคนอื่นบ้าง เอากำไรกลับประเทศบ้าง คราวนี้เราก็ต้องดูว่าอะไรที่เป็นอุปสรรค
ไทยพับลิก้า : คณะบุคคลจะสูญพันธุ์หรือไม่
ถาวร : คณะบุคคลอาจจะไม่หาย ยังใช้สิทธิได้เหมือนเดิม อีกตัวหนึ่งที่สรรพากรกำลังศึกษาอยู่คือเรื่องค่าลดหย่อนภาษีที่มีอยู่หลายตัว ทางอธิบดีกรมสรรพากรให้ข่าวว่าอาจจะให้เป็นการเหมาไป เพราะว่าเขามีแนวโน้มที่จะลดประเภทหักค่าลดหย่อน แต่จำนวนเงินไม่ลด กำหนดเพดานเอาไว้เหมือนเดิม
พีรพัฒน์ : แต่ก็ควรจะไปสำรวจก่อนนะครับว่าตอนนี้ค่าเล่าเรียนเขาคิดกันเท่าไหร่ ให้ทันสมัยและเป็นปัจจุบันมากขึ้น ผมเคยเห็นผมการศึกษาของกระทรวงการคลัง คือจะไปดูเงินเฟ้อ ปรับตามนั้น รัฐบาลเท่าไหร่
ถาวร : เรื่องค่าลดหย่อนภาษีผู้ที่มีรายได้สูงๆ จะได้ประโยชน์จากค่าลดหย่อน แต่ถ้าพูดจริงๆ แล้วผู้ที่มีรายได้สูง เสียภาษีเยอะอยู่แล้ว เมื่อให้ลดหย่อนสูงๆ มันก็จะมีคำถาม ซึ่งมันเลี่ยงไม่ได้ คนรวยได้รับประโยชน์จากค่าลดหย่อนมากกว่าคนจน แต่ถ้าดูลึกลงไป คนจนไม่ได้จ่ายภาษี ที่คนรวยเขาได้ประโยชน์คือเขามีเงินจ่ายภาษี แต่คนจนไม่ได้ประโยชน์เพราะไม่มีเงินจ่ายภาษี ทุกครั้งที่มีการให้ค่าลดหย่อนเพิ่มเติมจะถูกต่อต้านตลอด แต่คนจนก็ใช้ประโยชน์ได้ ถ้าวันหนึ่งคุณรวยขึ้นมา นั่นคือปัญหา ถ้าอย่างนี้มันไม่จบหรอก
สมมติ คุณมีรายได้เดือนละ 50,000 บาท คุณเสียภาษีอยู่ 20% ประมาณนี้ แล้วคุณบอกว่าคุณไม่ได้รับประโยชน์จากตรงนี้ ส่วนผมเสีย 37% ผมได้รับประโยชน์เต็มๆ คุณก็โวยว่าให้คนรวยอย่างเดียว อีกมุมมองหนึ่งเขาเสียเยอะอยู่แล้ว เขาก็ควรที่จะได้สิทธินั้น คือถ้าจะให้เสมอภาคก็ไม่ต้องให้มันเลย ผมไปลดภาษีตรงบันไดขั้นแรกก็ได้
พีรพัฒน์ : สมัยก่อนเราก็ยกเว้นตรง 5% อาจจะพิจารณายกเว้นภาษีขั้นแรก 10% ก็ได้ เหมือนกับตอนที่ยกเว้นภาษี 5%
ไทยพับลิก้า : ในส่วนของรัฐบาลก็มีการถกเถียงกันอยู่ ถ้าปรับลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดารขั้นสูงสุดลงมาจะทำให้คนรวยได้ประโยชน์
พีรพัฒน์ : อย่างไรก็ได้อยู่ดี เพราะคนรวยก็หนีไปตั้งบริษัทเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ 20% ส่วนกลุ่มคนระดับฐานรากได้รับการยกเว้นภาษี สำหรับคนที่มีเงินได้ไม่เกิน 150,000 บาท ไม่ต้องเสียภาษี ก็อาจจะขยับขึ้นมาเป็น 200,000 บาท ได้รับการยกเว้นภาษีก็ได้
ถาวร : ค่าลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มันถูกใช้ไปกับการสนับสนุนหรือส่งเสริมอื่นๆ เช่น ผมอยากจะสนับสนุนเรื่องประกันชีวิต ก็ให้ลดหย่อนภาษีมากขึ้น คนจนไม่ซื้ออยู่แล้ว ผมอยากส่งเสริมตลาดทุน 5 แสนบาทแรก ยกเว้นภาษีให้
พีรพัฒน์ : แต่มันก็มีวัตถุประสงค์ อย่างประกันชีวิต รัฐต้องการสนับสนุนการออม ชนชั้นกลางเวลาเกษียณอายุไปแล้วจะได้ไม่เป็นภาระกับคนอื่น คนที่มีรายได้เยอะก็จะได้ประโยชน์ ไม่ใช่คนชั้นกลางสามารถซื้อประกันชีวิตได้ไม่เป็นภาระของรัฐ
ถาวร : แต่พวกที่ต่อต้านคือพวกชาวไร่ชาวนาชาวสวนที่ไม่ได้รับสิทธิ คนขับแท็กซี่จ่ายภาษีหรือไม่ แต่พอนั่งแท็กซี่ก็จะได้ยินเรื่องนี้มากมาย รัฐช่วยแต่คนรวย แต่ผมเห็นด้วยที่ให้แยกสามีภรรยาจ่ายภาษี มีภรรยาแล้วจะมีต้นทุนเยอะขึ้น
ไทยพับลิก้า : การปรับโครงสร้างภาษีจำเป็นต้องมองในเรื่องของการกระจายรายได้ด้วยหรือเปล่า
ถาวร : จริงๆ เรื่องการกระจายรายได้ เราใช้ภาษีไม่ค่อยเวิร์กหรอก เพราะว่าคุณจะกระจายรายได้คุณไปเอาเงินคนรวยมากระจายให้คนจน ถามว่าเป็นธรรมหรือเปล่า และสิ่งที่จะตามมาคือการหลบเลี่ยงภาษีการโยกย้ายฐานรายได้ มันจะมีแน่นอน และคนรวยเขาจะกระจายรายได้จริงๆ แต่ไม่ได้กระจายรายได้ไปอยู่กับคนจน แต่กระจายไปไหนก็ไม่รู้ สุดท้ายแล้วเขาก็จะหลบเลี่ยง
พีรพัฒน์ : ที่ผ่านมาโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มันจะสัมพันธ์กับโครงสร้างอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลตลอดมา หลักการภาษีคือต้องพยายามที่จะทำให้มันเป็นกลางที่สุด นี่คือหลักการภาษี ทำไมถึงไปคิดว่าจะกระจายรายได้จากคนรวย แต่ทำไมไม่คิดว่าจะกระจายรายได้จากบริษัทรวย นิติบุคคลก็ไม่ต้องลด แต่ผลกระทบบริษัทอาจจะไม่กำไรให้กรมสรรพากรเก็บภาษี
ไทยพับลิก้า : การปรับโครงสร้างอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะทำให้ฐานภาษีของกรมสรรพากรหดตัวลงไปหรือไม่
ถาวร : ค่าลดหย่อนที่รัฐควรจะให้คือให้ไปหักที่อัตราต่ำกว่าแล้วไล่ขึ้นไป ไม่ใช่หักจากทั้งหมด สมมติว่า ค่าลดหย่อนจะไปหักจากส่วนที่เสียภาษี 5-10% ไม่ใช่ตัว 37% วันนี้ผมเสียภาษีที่ 37% ผมไปหักค่าลดหย่อนที่ 37% แต่ถ้าจะให้เสมอภาค คนจน คนรวย ก็ควรเอาค่าลดหย่อนไปหักที่ 5% เหมือนกันได้ทั้งคนจนและคนรวย ผมคิดว่าคนรวยไม่กระทบหรอก เอาไปลงทุนอย่างอื่น คนรวยจริงๆ เขาไม่ได้คิดจะเซฟภาษีมากนักหรอก เช่น ค่าเล่าเรียนบุตร แต่การหักลดหย่อนจาการลงทุนใน LTF อาจจะได้เป็นกอบเป็นกำ
ไทยพับลิก้า : นอกจากเรื่องโครงสร้างภาษีสรรพากรแล้วมีตัวอื่นอีกไหม
พอล : ในส่วนของกรมศุลกากรมีอยู่ 2 ประเด็นที่ควรปรับปรุงแก้ไข คือเรื่องค่าปรับและเงินสินบนรางวัลของเจ้าหน้าที่เวลาจับของกลางได้ ขั้นตอนของเบี้ยปรับปัจจุบันมี 2 กรณี คือกรณีที่ผู้ประกอบการขอระงับคดีในชั้นของศุลกากร กับ ในชั้นของศาล ซึ่งในขั้นตอนของศุลกากรจะเสียเบี้ยปรับน้อยกว่าจะต่อสู้ในชั้นของศาล ถ้าแพ้ในชั้นศาลจะต้องจ่ายค่าปรับ 4 เท่าตัวของราคาสินค้าบวกอากรส่วนที่ขาด ซึ่งค่อนข้างสูง ปัจจุบันผู้นำเข้าจึงยอมระงับคดีในชั้นของศุลกากรมากกว่า
ไทยพับลิก้า : ความคืบหน้าในการแก้ไขกฎหมายศุลกากร
พอล : กรมศุลกากรพยายามแก้ไขกฎหมายมา 8 ปีแล้ว ปัจจุบันก็มีการเสนอขอแก้ไขกฎหมายในส่วนของเบี้ยปรับในชั้นศาล จาก 4 เท่า ปรับลดเหลือ 0.5 เท่า ขึ้นไปจนถึง 4 เท่า ตอนนี้เรื่องก็เงียบหายไป เข้าใจว่าอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของกระทรวงการคลัง เดิมทีเรื่องแก้ไขกฎหมายศุลกากรได้ผ่านความเห็นชอบจาก ครม. ชุดที่แล้ว แต่พอเปลี่ยนรัฐบาล เรื่องก็จะถูกตัดกลับมาที่กระทรวงการคลังเหมือนเดิม และกระทรวงการคลังจะต้องทำเรื่องเสนอ ครม.ชุดใหม่อีกครั้ง เพื่อพิจารณา เท่าที่ทราบยังไม่มีการเสนอกลับไปใหม่
นายพอล ซัมเนอร์ หุ้นส่วนบริษัท ที่ปรึกษากฎหมายและภาษีอากร
ถาวร : เท่าที่ทราบ ตอนนี้มีความพยายามจะแก้ไขกฎหมายที่จะกำหนดเพดานสูงสุดในการจ่ายเงินรางวัลให้กับเจ้าหน้าที่สูงสุดไม่เกิน 5 ล้านบาท และสายผู้ให้เบาะแส 10 ล้านบาท แต่ไม่ใช่ไม่มีการกำหนดเพดานเหมือนเมื่อก่อน
ไทยพับลิก้า : ระหว่างที่กฎหมายกำลังแก้ไข เจ้าหน้าที่ยังไล่บี้ผู้ประกอบการอยู่หรือเปล่า
พอล : ตอนนี้เรื่องการปรับลดเบี้ยปรับเข้า ครม. มาก่อน เรื่องอื่นยังค้างอยู่ โดยภาพรวมเบี้ยปรับของกรมศุลกากรสูงมากเกินไป เจอผู้นำเข้าต้องจ่ายค่าปรับ 550 ล้านบาท ซึ่งก็อยากจะต่อสู้ในชั้นศาล แต่พอเห็นเบี้ยปรับมันสูงมากถึง 3,500 ล้านบาท ก็เลยต้องยอมจ่ายค่าปรับในชั้นของศุลกากร
สำหรับประเทศไทย ถ้าขึ้นศาลแล้วแพ้ ต้องจ่ายค่าปรับ 400% ของมูลค่าสินค้าบวกอากรส่วนที่ขาด ถ้ามูลค่าสินค้านำเข้า 10,000 ล้านบาท ก็ตาย หากยอมจ่ายค่าปรับของระงับคดีที่ศุลกากรจ่ายแค่ 2 เท่าของภาษี แต่ของเวียดนามเสียค่าปรับ 20% ของภาษีนำเข้า
ไทยพับลิก้า : กฎหมายที่ล้าสมัยแบบนี้จะมีผลกับ AEC หรือไม่
พอล : ยังมีความเข้าใจผิดกันอยู่ กรณีสินค้าที่จะเข้ามาในประเทศอาเซียนแล้วไม่ต้องเสียอากรขาเข้า จริงๆ ยังต้องเสียอากรขาเข้าอยู่ ถ้าเข้ารวม AEC สินค้าที่อยู่ในกลุ่มของอาเซียน หากจะได้รับการยกเว้นอากรต้องมีถิ่นกำเนิดในอาเซียน ตามระเบียบของเขตการค้าเสรี ปัจจุบันผู้ส่งออกต้องมีหนังสือรับรองถิ่นกำเนิด (Form-D) ว่ามีถิ่นกำเนิดในอาเซียนถึงจะได้รับการลดหย่อนอากร ปัจจุบันก็มีการออกหนังสือรับรองกันเอง ผู้ส่งออกสามารถทำได้เองแต่ต้องได้รับการรับรองจากกรมการค้าระหว่างประเทศก่อน ถึงจะมาออก Form-D ได้
ปัจจุบันการนำเข้าสินค้าจะต้องผ่านการอนุมัตินำเข้าจาก 44 หน่วยงานของรัฐบาล ถ้า AEC เกิดขึ้นการนำเข้าทั่วอาเซียน ยังต้องใช้หนังสือรับรอจาก 44 หน่วยงานอีกหรือเปล่า
ถาวร : หลักการของ AEC จะต้องไม่มีมาตรการกีดกันทางการค้า เรื่องโควต้าควรจะยกเลิก เรื่องใบอนุญาตควรจะยกเลิกไป คราวนี้มันมี 44 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับใบอนุญาต สินค้าบางตัวอันตราย เช่น เคมีคัลบางอย่าง ควรยกเลิกหรือเปล่า จะยอมให้เข้าไหม อุปกรณ์สื่อสารบางตัวต้องขอใบอนุญาต 44 หน่วยงาน ถ้าจะแก้ไขก็ต้องแก้ไขระเบียบ 44 หน่วยงาน ต้องแก้ไขกฎระเบียบอีกมากมาย คือเป็นไปได้หรือไม่
การนำเข้าเราพูดถึงเฉพาะในกลุ่มอาเซียน เป็นไปได้หรือไม่ว่าถิ่นกำเนิดอาจจะอยู่ที่อังกฤษ แต่เอามาประกอบที่อาเซียน แล้วก็ส่งมาเมืองไทยหรือประเทศในกลุ่มอาเซียน พวกนี้ไม่ได้รับการยกเว้นภาษี ยังเสียภาษีอยู่ ASEAN Single Window ไม่ต้องมีเอกสารอะไร เป็นไปได้หรือไม่
พอล : ตอนนี้กรมศุลกากรก็เริ่ม National Single Window (NSW) เริ่มทำในปี 2008 คาดหวังว่าจะเสร็จปี 2010 จนถึงปัจจุบันบางส่วนทำเรียบร้อยแล้ว บางส่วนก็ยังทำอยู่ ประเทศมาเลเซียเริ่มทำปี 2009-2011 สิงคโปร์เริ่มใช้เกือบทั้งหมดแล้ว ส่วนใบอนุญาตนำเข้าวัตถุอันตรายพวกสารเคมี ต้องไปดูรายละเอียดของสารประกอบนั้นๆ และมีสารเคมีหลายตัวคงจะยากถ้าจะเอามาเข้าในระบบ NSW ต้องดูสารประกอบแต่ละตัวว่าจะเป็นต้องใช้ใบอนุญาตหรือเปล่า เขาพยายามเชื่อมโยงใบอนุญาตกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่ต้นทุนที่เกี่ยวข้องมันเพิ่มขึ้นใครรับผิดชอบ มันไม่เกี่ยวกับฉัน
การเริ่มต้นของ AEC คงจะไม่มีผลกระทบทีเดียว แต่จะทยอยเพิ่มขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป เรื่องใบอนุญาตก็ต้องค่อยๆ แก้ไข แต่ความพร้อมของประเทศไทยอาจจะช้ากว่ามาเลเซีย ระบบภาษีของสิงคโปร์ก็ง่ายกว่า ใครพร้อมกว่าก็จะได้เปรียบในเรื่องของการทำธุรกิจ
ไทยพับลิก้า : โครงสร้างภาษีสรรพสามิต
พอล : สรรพสามิตจะกำลังศึกษาในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงฐานภาษีที่คำนวณมาจากฐานราคานำเข้า กับราคาหน้าโรงงาน ที่อยู่ในข่ายนำร่องคือสินค้าพวกบุหรี่ เหล้า รถยนต์ มีการหารือกับเรื่องฐานภาษี เช่น บุหรี่ รถยนต์เดิมเก็บจากขนาดของเครื่องยนต์ตามปริมาตรความจุ หรือจะเก็บตามราคาขายปลีก หรือประเภทของบุหรี่จะเก็บตามราคาขายปลีกมันจะมีความได้เปรียบเสียเปรียบกับอยู่ ถ้าเก็บตามราคาขาย บุหรี่ราคาถูกที่ขายคนระดับล่างก็จะเสียภาษีถูก แต่ถ้ากำหนดอัตราคงที่ บุหรี่ระดับล่างก็จะเสียภาษีเท่ากับบุหรี่ราคาแพง
ประเทศต่างๆ ในอาเซียนเปลี่ยนมาใช้อัตราคงที่คือเก็บตามราคา ทำให้ความได้เปรียบเสียเปรียบ แต่ตอนนี้ยังไม่รู้ว่าจะใช้อัตรา FIX RATE หรือ MIX RATE พอเปลี่ยนอธิบดีสรรพสามิต นโยบายก็เปลี่ยน คุยกันมานานแล้ว
ไทยพับลิก้า : โครงสร้างภาษีรถยนต์ ที่จะไปเก็บภาษีจากปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกมา มองอย่างไร
พอล : มันเป็นเรื่องนโยบายที่ยังไม่นิ่ง มันขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาลด้วย ถ้าเป็นรถยนต์ที่ใช้เบนซินแก๊สโซฮอล์ อี 20 เสียภาษีอย่างไร อี 85 จะเสียอย่างไร ยังไม่นิ่งเลย ขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาล สิ่งเหล่านี้มันต้องหารือกับผู้ผลิตด้วย เพราะจะมีผลกระทบต่อการวางแผนการผลิต ตอนนี้ยังไม่รู้จะจบอย่างไร ต้องไปถามนายกรัฐมนตรี มันกระทบเยอะ เพราะอนาคตจะมีรถไฟฟ้าที่ใช้แบตเตอรี่ ใช้ก๊าซเอ็นจีวี อี 10-20-85 แต่นโยบายยังไม่นิ่ง
ไทยพับลิก้า : ทิศทางของภาษีสรรพสามิตมันควรจะเป็นอย่างไร ก่อนที่จะก้าวเข้าไปสู่ AEC
ถาวร : ภาษีสรรพสามิตเก็บโดยมีวัตถุประสงค์เป็นช่วงๆ ขึ้นอยู่กับว่านโยบายวันนั้นต้องการอะไร สรรพสามิตเก็บเพื่อควบคุมการบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือย ทำไมเก็บแอร์ไม่เก็บพัดลม เขาต้องการควบคุมมากกว่า ถ้าเขาต้องการลดหย่อนก็ลดภาษีลงมา อาบอบนวดก็ต้องเสียภาษีสรรพสามิต นวดไทยไม่เสีย ถามว่าภาษีสรรพสามิตไม่มีความเป็นกลางหรอกครับ การปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตคงไม่ได้ไปอิงกับการปรับโครงสร้างภาษีสรรพากร คือ ถ้ารัฐบาลไม่อยากจะให้คนสูบบุหรี่มาก ก็ปรับขึ้นภาษีสรรพสามิต การปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐ ณ ขณะนั้นต้องการอะไร มันไม่เกี่ยวกับการกระจายรายได้ ความเหลื่อมล้ำ ยกตัวอย่าง รถยนต์ที่ใช้น้ำมันปกติเก็บภาษี 400 เท่า ใช้ก๊าซโซฮอล์ 20% เก็บภาษี 300 เท่า หรือในอนาคต NGV ไม่เก็บภาษีเลย ขึ้นอยู่กับนโยบายรัฐบาล อย่างสิงคโปร์เก็บภาษีรถยนต์จากการใช้เก็บจากการต่อป้ายทะเบียนประจำปี ไม่ได้เก็บจากรถยนต์ เวลาวิ่งเข้าเมืองเขาจะเก็บเงินเลย เก็บภาษีจากการใช้รถยนต์ เพราะมลพิษเกิดจากการใช้รถยนต์
ไทยพับลิก้า : กรมสรรพสามิตมีนโยบายที่จะไปยกเลิกเขตส่งเสริมการส่งออก (Free Zone )
ถาวร : ฟรีโซนของศุลกากร การนำเข้าวัตถุดิบเข้ามาผลิตจะไม่เสียอากรขาเช้า และภาษีสรรพสามิต แต่ปัจจุบันมีการนำรถยนต์ที่ผลิตในเขตส่งเสริมการส่งออกเข้ามาขายในประเทศ ก็จะเสียภาษีสรรพสามิตที่ราคาหน้าโรงงาน ซึ่งไม่รวมอากรขาเข้า ภาษีก็จะลดลง การแก้ไขกฎหมายภาษีสรรพสามิตกรณีที่นำเข้าสินค้าเข้ามาผลิตในโรงงานที่อยู่ในเขตฟรีโซน EPZ ค่อนข้างยาก เพราะจะไปขัดกับระเบียบขององค์การค้าโลก สรรพสามิตจะเข้าไปเก็บภาษีในเขตฟรีโซนไม่ได้ ประเทศไทยอาจจะถูกปรับเหมือนกรณีของบุหรี่
ไทยพับลิก้า : ที่กรมสรรพสามิตสงสัยคือ สินค้าที่ออกจากเขตฟรีโซนแจ้งราคาต่ำกว่าความเป็นจริง
ถาวร : ฟรีโซน สินค้าที่เข้ามาที่ฟรีโซนจะได้รับยกเว้นภาษีนำเข้า เวลาออกจากฟรีโซนเข้ามาขายในประเทศ ฐานราคาต้นทุนมันจึงต่ำ กรมสรรพสามิตก็ไม่ชอบ แต่ตามข้อตกลงขององค์การค้าโลก การคิดภาษีย้อนกลับไปยังภาษีที่ไม่ต้องเสียทำไม่ได้ สรรพสามิตมองว่าราคาไม่น่าถูกต้อง เพราะกรมสรรพสามิตจับไปเปรียบเทียบกับราคาสินค้าที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ ราคามันต่ำกว่า อย่างนั้นจะยกเลิกฟรีโซนได้หรือไม่ ตามกฎหมายไม่ได้ใหญ่ขนาดนั้น ต้องให้คนอื่นทำ ฟรีโซนตั้งขึ้นมาเพื่อไม่ให้เกิดภาระภาษี จึงเอาสินค้ามาผลิตในฟรีโซนแล้วขายในประเทศ ทำให้ฐานภาษีต่ำลง
พอล : ถ้าเราไม่อนุญาตให้ทำแบบนี้ นำเข้ามาจากฟรีโซนแล้วนำเข้ามาขายในประเทศ ฐานการผลิตบางส่วน พวกอะไหล่รถยนต์ อาจจะไปตั้งฐานผลิตที่ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย เพราะมีจะได้รับ Form- D เอาเข้ามาในประเทศไทย ไม่ต้องเสียภาษีนำเข้าเหมือนกัน ถ้ากรมสรรพสามิตไปเก็บภาษีตรงนี้เขาก็จะหนี ทำไม่ได้หรอก ซื้อจากฟิลิปปินส์ถูกกว่า
5 สิงหาคม 2012
ที่มา : http://thaipublica.org/2012/08/pwc-restructuring-tax/
เนื่องจากรัฐบาลมีแนวคิดที่จะรื้อโครงสร้างระบบภาษีใหม่โดยเฉพาะโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมและโครงสร้างภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั้งนี้เป็นผลจากตัวบทกฎหมายที่ล้าสมัยจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันโลก สำนักข่าว“ไทยพับลิก้า” ได้สัมภาษณ์คณะผู้บริหารระดับสูงของบริษัท ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส ประเทศไทย (PwC) นำทีมโดยนายถาวร รุจิวนารมย์ หัวหน้าหุ้นส่วนกรรมการอาวุโส และกรรมการบริหาร, นายพีรพัฒน์ โปษยานนท์ หุ้นส่วนบริษัทที่ปรึกษากฎหมายและภาษีอากร และ นายพอล ซัมเนอร์ หุ้นส่วนบริษัทที่ปรึกษากฎหมายและภาษีอากรของ PwC ในฐานะที่ผู้เชี่ยวชาญด้านที่ปรึกษากฎหมายภาษีและงานตรวจสอบบัญชี ให้ความเห็นต่อระบบโครงสร้างภาษีไทยในมุมต่างๆ ดังนี้
ไทยพับลิก้า : โครงสร้างอัตราภาษีไทยมีจุดอ่อน จุดแข็งอะไรบ้าง ที่ต้องปรับปรุงแก้ไข
ถาวร : โครงสร้างภาษีของไทยและตัวบทกฎหมาย โดยภาพรวมถือว่าใช้ได้ แต่ถ้าเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน อัตราภาษีของประเทศไทยจะสูงกว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคนี้ หากจะส่งเสริมให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนมากขึ้น รัฐบาลต้องหามาตรการอะไรมาจูงใจ มาตรการภาษีถือว่ามีบทบาทสำคัญมาก เมื่อรัฐบาลออกมาตรการมาแล้วต้องพยายามให้นักลงทุนเหล่านี้เก็บกำไรไว้ในเมืองไทยเยอะๆ แต่ถ้าเราเก็บภาษีแพง บริษัทต่างชาติเหล่านี้ก็จะใช้เทคนิคต่างๆ นำกำไรออกไปลงบัญชีที่ประเทศอื่นที่เสียภาษีถูกกว่า
ตอนนี้ถือว่าโชคดี รัฐบาลปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลลงจาก 30% ของกำไรสุทธิ ลดเหลือ 23% ในปี 2555 ลดลงเหลือ 20% ในปี 2556 แต่การปรับลดภาษีลงมาแล้วก็ยังไม่พอ ควรมีการปรับปรุง หรือแก้ไขระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าการลงทุนตามมาด้วย อย่างกรณีนักลงทุนส่งสินค้าออกไปเก็บไว้ที่สาขาต่างประเทศ ก่อนจะส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้า ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70 ตรี กรมสรรพากร ถือว่ามีการขายสินค้าแล้ว แต่ข้อเท็จจริงยังไม่ได้ขาย
พีรพัฒน์ : การทำธุรกิจตอนนี้มันเปลี่ยนแปลงไปมากแล้ว ควรจะปรับปรุงกฎหมายให้มีความทันสมัย เพื่อส่งเสริมการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ และรองรับการเข้าสู่ “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” หรือAEC นอกจากจะไปชักชวนให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศไทยแล้ว ควรจะต้องสนับสนุนให้คนไทยออกไปลงทุนในต่างประเทศด้วย อย่าง มาตรา 70 ตรี ตอนที่เขียนกฎหมาย เจ้าหน้าที่คงมองว่า กรณีส่งสินค้าออกไปต่างประเทศ กรมสรรพากรไม่ทราบว่าจะขายกันเมื่อไหร่ จึงต้องขอเก็บภาษีเอาไว้ก่อนที่จะส่งออก ซึ่งตอนนั้นอาจจะเป็นเหตุผลที่ถูกต้อง แต่ตอนนี้สถานการณ์เปลี่ยนแปลงไปมาก ควรต้องมาพิจารณาว่ามันเหมาะสมหรือไม่
ไทยพับลิก้า : ทราบได้อย่างไรว่าสินค้าที่ถูกส่งไปเก็บไว้ในต่างประเทศไม่ถูกนำออกมาขาย
ถาวร : รู้ได้แน่นอน เพราะปกติบริษัทจะต้องทำรายงานฐานะการเงิน โดยการนำยอดขายและรายได้ของสาขาเข้ามารวมอยู่ในรายงานฐานะการเงินดังกล่าวเพื่อนำมาเสียภาษีอยู่แล้ว จริงๆ ทำให้การทำบัญชีง่ายขึ้นด้วยซ้ำ เพราะรับรู้รายได้จริงๆ เมื่อขาย แต่ปัญหาวันนี้คือเราไม่ได้รับรู้รายได้ที่แท้จริง ต้องบันทึกกำไรทั้งๆ ที่ยังไม่ได้ขายเลย แถมยังต้องประมาณการราคาขาย พอถึงเวลาขายจริงๆ ราคามันแตกต่างกว่าที่คาดไว้จะทำอย่างไร สมมุติ บริษัทคาดว่าจะขายได้ชิ้นละ 10 บาท แต่ขายจริงได้ชิ้นละ 90 บาท เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาความยุ่งยากตามมาในอนาคต ก็คือต้องเสียภาษีที่ชิ้นละ 90 บาทไปเลย จบ
พีรพัฒน์ : ในทางตรงกันข้าม บางครั้งส่งสินค้าไปให้สาขาต่างประเทศ บางครั้งราคาลดลงกว่าวันที่ผู้ประกอบการส่งสินค้าออกไปต่างประเทศ กรมสรรพากรช่วยแก้ไขอะไรให้ไม่ได้เลย
ถาวร : ประเด็นนี้ผมมองว่าเป็นอุปสรรคต่อนโยบายที่จะสนับสนุนให้ไทยเป็นศูนย์กลางการค้าและการลงทุนในภูมิภาคนี้ หรือ “ฮับ” ก่อนหน้านี้คุณพีรพัฒน์เคยไปช่วยทำเรื่องศูนย์บริการเปลี่ยนยางเครื่องบินในภูมิภาคนี้ เพื่อให้เครื่องบินจากต่างประเทศบินมาเปลี่ยนยางในเมืองไทย ปรากฏว่ายางเครื่องบินที่นำเข้ามาในศูนย์ ข้อเท็จจริงคือ การเช่าเป็นรายชั่วโมง ไม่ได้ซื้อ-ขาย แต่พอเปลี่ยนยางให้สายการบิน กรมสรรพากรถือว่าขายยางแล้ว ทั้งๆ ที่เป็นการเช่ารายชั่วโมง
“เราอย่าไปคิดว่าผู้เสียภาษีจะโกง โดยปกติบริษัทจะรับรู้รายได้ตามหลักการบัญชีอยู่แล้ว แต่ปัญหาคือเราไปเก็บภาษีก่อน พอเก็บไปแล้ว บางกรณีไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ กฎหมายก็ไม่ได้เขียนไว้ชัดเจน ส่วนนักลงทุนเองก็ไม่อยากจะเอาเงินมาจ่ายภาษีให้กับกรมสรรพากรก่อน เพราะมีต้นทุนดอกเบี้ย”
พีรพัฒน์ : อีกตัวอย่างคือเรื่องราคาโอน (Transfer pricing) ประมวลรัษฎากร กำหนดแค่ว่าให้ขายตามราคาตลาดเท่านั้น แต่ไม่ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า “ราคาตลาด” จึงเกิดความคลุมเครือ มีความเสี่ยง อาจจะถูกกรมสรรพากรตรวจสอบและประเมินภาษีในภายหลังได้ ดังนั้นกรมสรรพากรควรจะยกร่างกฎหมายขึ้นมารองรับเรื่องราคาโอน ซึ่งบริษัทใหญ่ๆ อยากจะทำอะไรให้ถูกต้องตามกฎหมาย
ไทยพับลิก้า : การกำหนดให้ใช้ “ราคาตลาด”จะมีผลกระทบอย่างไร
พีรพัฒน์ : กฎหมายเขียนเอาไว้ว่า”เวลาขาย อย่าขายต่ำกว่าราคาตลาด เวลาซื้อ ก็อย่าซื้อสูงกว่าราคาตลาด” แค่นั้นเอง มันค่อนข้างจะกว้างมาก แต่เวลานำไปปฏิบัติ เจ้าหน้าที่มีความเห็นแตกต่างเรื่องการกำหนดราคาโอน ส่วนใหญ่จะเป็นธุรกรรมซื้อ-ขายที่เกิดขึ้นระหว่างบริษัทในเครือ
ถาวร : ปัญหาคือ ประมวลรัษฎากรไม่ได้กำหนดนิยามของคำว่า ”ราคาตลาด” แต่วันนี้โลกเปลี่ยนแปลงไปมาก ในทางปฏิบัติคนซื้อพยายามต่อรองราคาให้ได้สินค้าถูกที่สุด ฝั่งของคนขาย ก็อยากขายได้ราคาสูงๆ ดังนั้น การซื้อ-ขายสินค้าในแต่ละกรณีจึงมีราคาไม่เท่ากัน โดยเฉพาะการซื้อ-ขายกันระหว่างกลุ่มบริษัทในเครือ กรมสรรพากรมองว่าอาจจะมีการตั้งราคาโอนไม่เหมาะสม แต่ “ราคาตลาด” ก็ไม่มี “นิยาม” ยกตัวอย่าง สินค้าบางอย่างมีผลิตที่แห่งเดียวในโลกจะไปเปรียบเทียบกับราคาตลาดจากไหน หรือสินค้าที่คล้ายๆ กัน เช่น แอปเปิ้ลมีหลายสายพันธุ์ ขนาดแตกต่างกัน ราคายอมแตกต่างกันตามไปด้วย ผมคิดราคาคุณ 10 บาท แต่คิดคนอื่น 20 บาท อะไรคือราคาตลาด
ไทยพับลิก้า : เคยสอบบัญชีพบบริษัทที่แจ้งราคาขายต่ำกว่าความเป็นจริงไหม
ถาวร : ในอดีตเคยพบบริษัทในเครือบางแห่งตั้งราคาขายต่ำๆ เพื่อโอนกำไรไปลงบัญชีบริษัทในเครือที่ตั้งอยู่ในประเทศที่เสียภาษีต่ำๆ นักลงทุนที่มาตั้งฐานผลิตในไทย บางรายไม่ใช่ผู้ผลิตหลัก แต่เป็นซัพพลายเชน หรือรับจ้างผลิตส่งออกไปขายอีกประเทศหนึ่ง ผู้ผลิตในเมืองไทยจะได้กำไรน้อยมาก เพราะคิดราคาแค่ต้นทุนบวกกำไร 3-5% ถือว่าเป็นการทำธุรกิจที่ไม่มีความเสี่ยงอะไร กำไรน้อย เอาแค่พออยู่รอดเท่านั้น
พีรพัฒน์ : ทำแบบนี้ไม่ได้หมายความว่าผิดนะ เพียงแต่ว่าอุตสาหกรรมในเมืองไทยส่วนใหญ่รับจ้างต่างชาติผลิตสินค้า เมื่อภาพรวมเป็นเช่นนี้ ทำไมกรมสรรพากรไม่แก้ไขประมวลรัษฎากร เพื่อดึงสำนักงานตัวแทนสาขาของต่างชาติเข้ามาเปิดกิจการในประเทศไทย อย่างประเทศสิงคโปร์จะใช้คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจ เป็นกลไกออกไปเชิญชวนบริษัทต่างชาติที่มีเทคโนโลยีที่ดีที่สุดเข้ามาลงทุน
ถาวร : คนสิงคโปร์เดี๋ยวนี้เก่งมาก เพราะในอดีตเขาดึงคนเก่งๆ ให้เข้ามาอยู่ในประเทศเยอะมาก ทำให้คนสิงคโปร์รู้จักคิด รู้จักทำอะไรใหม่ๆ ขณะที่คนเก่งเหล่านี้ไม่มาเมืองไทย ซึ่งความจริงเราควรจะไปดึงคนเก่งๆ เหล่านี้ให้เข้ามาอยู่ในประเทศไทย โดยให้สิทธิประโยชน์ที่เหมาะสม เพื่อให้พวกนี้เข้ามาสร้างงานใหม่ๆ สร้างธุรกิจใหม่ๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์มากกว่าจะไปมุ่งเก็บภาษีเพียงอย่างเดียว
พีรพัฒน์ : เมื่อ 20 ปีที่ผ่านมา สิงคโปร์ยอมสูญเสียรายได้จากภาษี เพื่อไปเชิญชวนฝรั่งเข้ามาลงทุน เมื่อเวลาผ่านไป คนสิงคโปร์ได้เรียนรู้วิธีการบริหารจัดการธุรกิจแบบฝรั่ง จะเห็นได้ว่าคนสิงคโปร์เก่งขึ้นเรื่อยๆ นอกจากจะได้คนเก่งเข้ามาถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ทันสมัยให้แล้ว คนสิงคโปร์ยังมีรายได้ค่าเช่าบ้านจากต่างชาติที่เข้ามาทำงาน เกิดการจับจ่ายใช้สอย และมีรายได้เข้าประเทศมากกว่าภาษีที่สูญเสียไป
นายพีรพัฒน์ โปษยานนท์ หุ้นส่วนบริษัทที่ปรึกษากฎหมายและภาษีอากร
ไทยพับลิก้า : ที่ผ่านมารัฐบาลไปเน้นเก็บภาษีมากเกินไปใช่ไหม เราจึงเป็นแค่รับจ้างผลิตสินค้า
ถาวร : ใช่ เรามุ่งไปที่การเก็บภาษีเพียงอย่างเดียว โดยภาพรวมนโยบายเรามี แต่ว่าคนออกนโยบายไม่ได้เป็นคนออกกฎหมาย คนออกกฎหมายกลายเป็นคนจัดเก็บภาษี ดังนั้นมันจึงไม่ได้ในสิ่งที่ต้องการ
พีรพัฒน์ : ประเด็นที่ผมอยากตั้งเป็นข้อสังเกต คือ เวลาจะเปลี่ยนแปลงกฎหมายภาษีอะไรก็ตาม รัฐบาลมักจะมอบหมายให้กรมสรรพากร ซึ่งปกติจะทำหน้าที่จัดเก็บภาษี เป็นคนออกมาตรการส่งเสริม หรือจูงใจนักลงทุนต่างชาติ ให้เข้ามาตั้งฐานผลิตในเมืองไทย
โดยหลักการแล้ว กรมสรรพากรย่อมเป็นห่วงเรื่องของรายได้ โครงสร้างแบบนี้ผมคิดว่ามันไม่น่าจะถูกต้อง อย่างสิงคโปร์ คนที่จะคิดมาตรการภาษีมาสนับสนุน คือ “คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจ” (Economic Development Board) สำหรับประเทศไทย ผมมองว่าน่าจะเป็นหน้าที่ของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) โครงสร้างเรามีอยู่แล้ว แต่บทบาทอาจจะเอียงไปทางสรรพากรมากกว่า
แต่อย่างไรก็ตาม กรมสรรพากรก็ควรจะมีบทบาทในฐานะผู้ปฏิบัติ ควรจะทราบปัญหาทุกเรื่อง แต่ควรจะเป็นคนป้อนข้อมูลให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เพื่อนำไปออกแบบนโยบาย ส่วนคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ก็จะเป็นอีกองค์กรหนึ่งที่มีบทบาทในการไปชักชวนนักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศไทย แต่วันนี้ก็ควรจะส่งเสริมให้นักลงทุนไทยออกไปลงทุนในต่างประเทศด้วย
ถาวร : อีกประเด็นที่ผมจะขอกล่าวเสริม นโยบายส่งเสริมการลงทุนที่มันไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เพราะไม่มีเจ้าภาพ ซึ่งเจ้าภาพก็คงจะไม่ใช่กรมสรรพากรแน่นอน เพราะเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่จัดเก็บภาษีและกำกับดูแลให้เป็นไปตามกฎหมาย อย่างเช่น มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนให้มีการจัดตั้งสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค (Regional Operating Headquarters: ROH) รัฐบาลมอบหมายให้กรมสรรพากรเป็นเจ้าภาพ ในฐานะที่เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่จัดเก็บภาษี ก็เพิ่มเงื่อนไขต่างๆ เข้าไป และก็มาแก้ไขในภายหลัง
ขณะเดียวกัน กรมสรรพากรไม่เคยมีการวัดประสิทธิภาพ หรือประสิทธิผล (KPI) มาตรการที่ออกไปว่าประสบความสำเร็จหรือไม่มีจุดบกพร่องตรงประเด็นไหน ไม่มีการตั้งเป้าหมาย เช่น ปีนี้ตั้งเป้าหมายว่าจะอนุญาตให้มีการจัดตั้ง ROH 10 ราย ปีหน้า 20 ราย เป็นต้น ปล่อยไปตามยถากรรม เพราะกรมสรรพากรไม่ได้มีหน้าที่ส่งเสริมการลงทุน หน้าที่ของสรรพากรคือจัดเก็บภาษี ดังนั้นอะไรก็ตามที่ไม่ตรงตามเงื่อนไขที่กำหนด กรมสรรพากรก็จะจับเสียภาษี ตรงนี้จึงถือเป็นความเสี่ยงของนักลงทุน หากเข้ามาตั้ง ROH แล้วทำผิดเงื่อนไขจะโดนจัดเก็บภาษี นักลงทุนต่างชาติจึงไม่อยากที่จะเข้ามาขอจัดตั้ง ROH ในเมืองไทย
ไทยพับลิก้า : นี่คือปัญหาและอุปสรรคในการจัดตั้ง ROH
พีรพัฒน์ : ROH คือธุรกิจให้บริการระหว่างประเทศ เป็นพวก Back Office ธุรกิจประเภทนี้กำไรน้อยมาก คือจะใช้ฐานต้นทุนบวกกำไรเข้าไปอีก 5-10% ดังนั้น เมื่อสรรพากรไปลดภาษีเงินได้นิติบุคคลเพื่อจูงใจให้เขาเข้ามาจาก 30% เหลือ 10% ซึ่งคิดบนฐานกำไรสุทธิที่ 5-10% คิดเป็นเม็ดเงินแล้ว ถือว่าน้อยมาก
แต่ถ้าต้องการจะดึงพวก Top management เข้ามาแบบที่สิงคโปร์เคยทำในอดีต ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่ง ธุรกิจประเภทนี้จะเป็นตัวที่คิดโมเดลในการทำธุรกิจ ทั้งซัพพลายเชน หรือ วางสายการผลิตว่าจะผลิตอะไร ผลิตแบบไหน จะขายราคาเท่าไหร่ หากดึงเขามาอยู่ในเมืองไทย รัฐบาลก็ควรที่จะลดภาษีให้ อย่างสิงคโปร์ตอนนี้เก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ 17.5% สำหรับธุรกิจทั่วไป แต่ถ้าเป็นกลุ่มธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง จะเสียภาษีประมาณ 5%
หากจะให้เห็นภาพชัดๆ ขึ้นมาอีกหน่อย คือ กลุ่มนี้เป็นคนคิดและวางแผนธุรกิจทั้งซัพพลายเชน พอคิดเสร็จแล้ว ก็จะไปจ้างพม่าหรือไทยผลิต ผลิตเสร็จแล้วส่งออกไปขายที่ฟิลิปปินส์ กำไรที่เหลือทั้งหมดไปลงบัญชีที่สิงคโปร์ แต่ถ้าอยากจะให้กำไรมาลงบัญชีในเมืองไทย ต้องลดภาษี คนส่วนใหญ่ชอบคิดว่าธุรกิจประเภทนี้คือธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ ซื้อมา-ขายไปธรรมดา แต่ข้อเท็จจริงแล้วเป็นกลุ่มธุรกิจที่มีมูลค่าเพิ่มสูงมาก (Value Added )
ไทยพับลิก้า : ธุรกิจที่ใช้วิทยาการชั้นสูงที่ว่านี้มีโมเดลเป็นอย่างไร
ถาวร : ส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจหลักทำหน้าที่เป็น Back office สำนักงานตั้งอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์วางแผนการผลิตเสร็จ ก็ไปจ้างประเทศอื่นผลิต ได้กำไรประมาณ 3-5% ผลิตเสร็จก็จะส่งไปขายประเทศต่างๆ ทั่วโลก ประเทศผู้ผลิตก็จะได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสม ประเทศผู้ขายก็จะได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสมเช่นเดียวกัน แต่กำไรส่วนใหญ่อยู่ที่ประเทศสิงคโปร์
พีรพัฒน์ : คนสิงคโปร์เขารู้ว่ามันมีแต่ได้กับได้ ส่วนกรณีของไทย เราไปเชิญชวนนักลงทุนต่างชาติเข้ามาแล้วเขาต้องมาพิสูจน์ว่าตรงตามเงื่อนไขที่กำหนดหรือไม่ ขณะที่สิงคโปร์ไม่ทำแบบนี้ กล่าวคือสิงคโปร์จะมีทำการศึกษาก่อนว่า หากเชิญนักลงทุนรายนี้ที่มีเทคโนโลยีขั้นสูงเข้ามา แล้วคนสิงคโปร์จะได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีแน่ จากนั้นก็จะบินออกไปเชิญชวนให้เข้ามาลงทุน ต่างชาติมีหน้าที่เซ็นชื่ออย่างเดียว เพราะทุกอย่างกรอกไว้ให้หมด
ถาวร : PwC เคยเข้าไปช่วย BOI ทำการศึกษาทบทวนบทบาทของ BOI อนาคตจะเดินไปข้างหน้าอย่างไร ที่ผ่านมารัฐบาลต้องการจะให้ธุรกิจประเภทใดเข้ามาลงทุนในเมืองไทย ก็ใช้มาตรการภาษีเป็นแรงจูงใจ เช่น ต้องการให้เข้ามาผลิตรถยนต์ เราก็ได้รถยนต์ โดยไม่ได้ดูความเหมาะสม ตอนนี้ BOI ก็เริ่มเปลี่ยนแปลงการให้แรงจูงใจต่างชาติแล้ว โดยคำนึงถึงประโยชน์ที่ประเทศจะได้อะไร และก็มีการเลือกประเภทของธุรกิจที่จะได้รับการส่งเสริมด้วย
BOI ของสิงคโปร์ไม่ใช่แค่ติดป้ายเชิญชวนให้ต่างชาติเข้ามาลงทุน แต่เขาจะเดินทางไปหาคุณ ผมสนใจที่จะชวนคุณมาลงทุนในประเทศผม ผมศึกษาแล้วว่าถ้าชวนคุณเข้ามาลงทุน ผมจะได้อะไร สิงคโปร์จึงไม่ได้ตั้งเงื่อนไขมาก เพราะเขารู้ว่าเขาอยากได้อะไรแล้ว
ไทยพับลิก้า : มาตรการภาษีที่สิงคโปร์ใช้จูงใจเป็นอย่างไร
ถาวร : หน้าฉากคือเก็บภาษีในอัตรา 17.5% ของกำไรสุทธิ นี่คืออัตราทั่วไป และยังมีการให้สิทธิพิเศษอื่นๆ อีกมากมาย เช่นเดียวกับประเทศมาเลเซีย ลาว พม่า ก็มีการให้สิทธิพิเศษทางภาษี สำหรับกิจการที่รัฐบาลต้องการส่งเสริมเช่นเดียวกัน
พีรพัฒน์ : สำหรับประเทศไทยมีอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลทั่วไปคือ 23% หรือ 20% แต่เราไม่มีระหว่างกลาง แต่ได้ส่งเสริมการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศโดยภาคธุรกิจส่งออกเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ที่ 0% ทั้งนี้เพื่อให้สินค้าและบริการของไทยแข่งขันกับผู้ผลิตหรือผู้ให้บริการในต่างประเทศได้เป็นหลักการที่สำคัญ
แต่ในบางครั้ง เราก็ลืมคิดไปว่า VAT 0% มีไว้เพื่ออะไร ดังนั้น เมื่อนำไปสู่ภาคปฏิบัติ มักจะตีความว่าจะให้เสียภาษีที่ 0% หรือ 7% ก็ได้ เพราะการทำธุรกิจบางกรณีมีความคลุมเครือ อย่างกรณีของธุรกิจบริการระหว่างประเทศ หรือ “ส่งออกบริการ” มีหลายกรณีออกจะเทาๆ สรรพากรก็มักจะตีความให้เสียภาษี 7% ในสมัยก่อนประมวลรัษฎากรเขียนเอาไว้ว่าส่งออกบริการต้องใช้บริการในไทยทั้งหมด ถึงจะเสียภาษี 0% แต่ตอนนี้พัฒนาขึ้น โดยแก้ไขกฎหมายให้เก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% เฉพาะส่วนที่ใช้บริการในไทย แต่ถ้าเป็นบริการที่ไปใช้ในต่างประเทศเสียภาษี 0% นี่คือตัวอย่างที่ดี อยากจะเห็นอะไรแบบนี้
ถาวร : แต่มันก็มีสีเทาๆ อยู่ ในประเด็นที่ว่ามีการส่งออกบริการจริงหรือไม่ ยกตัวอย่าง กรณีของการตรวจสอบคุณภาพของสินค้า วันนี้กรมสรรพากรมองว่าเป็นการใช้บริการในประเทศ ต้องเสีย VAT 7% เช่น บริษัทต่างประเทศสั่งซื้อสินค้าจากประเทศไทย ไปว่าจ้างตัวแทนจากต่างประเทศมาตรวจสภาพสินค้าก่อนที่จะส่งไปให้เขา ว่ามันเป็นไปตามคุณภาพที่ตกลงไว้หรือไม่ สรรพากรตีความว่าบริษัทที่ทำหน้าที่ตรวจสอบสินค้าเป็นการให้บริการในประเทศ ไม่ได้ส่งออกบริการ ต้องเสียภาษี 7% เท่ากับไปเพิ่มต้นทุนให้กับผู้ซื้อที่อยู่ในต่างประเทศ เพราะเขาขอคืนภาษีจากประเทศไทยไม่ได้
นายถาวร รุจิวนารมย์
ไทยพับลิก้า : จากนี้ไป ก่อนเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ไทยต้องปรับปรุงอะไรบ้าง
พีรพัฒน์ : ต้องปรับปรุงกฎหมายให้มีความทันสมัย เพื่อส่งเสริมการทำธุรกิจ แทนที่จะไปโฟกัสที่การจัดเก็บภาษีเพียงอย่างเดียว ก่อนที่จะเข้าสู่ AEC ต้องการส่งเสริมให้คนไทยออกไปลงทุนในต่างประเทศ หากเราจะไปลงทุนในต่างประเทศเราก็ต้องไปหาที่ปรึกษาการลงทุน ประเทศที่พัฒนาแล้วจะส่งเสริมให้บริษัทของเขาออกไปทำธุรกิจในต่างประเทศแล้วนำกำไรกลับเข้าประเทศ โดยให้สิทธิประโยชน์บางอย่าง เช่น ให้นำเงินที่ไปลงทุนในต่างประเทศมาหักค่าใช้จ่ายได้มากกว่า 1 เท่าของที่จ่ายไปจริง ส่วนเงินปันผลที่ได้รับจากการลงทุนในต่างประเทศส่งกลับประเทศจะได้รับการยกเว้นภาษี
ถาวร : สมมติผมไปลงทุนในต่างประเทศ ผมขายกิจการ กำไรจากการขายกิจการ เอากลับประเทศต้องเสียภาษีหรือไม่ หรือได้รับการลดหย่อนพิเศษ ปัจจุบันบริษัทไทยขนาดใหญ่ไม่ค่อยเอากำไรกลับประเทศ เพราะถ้าเอากลับมาจะต้องเสียภาษี ต้องมีหน่วยงานที่เข้ามาดูว่าจะทำอย่างไรให้คนไทยออกไปลงทุนในต่างประเทศ มีกำไรแล้วก็ส่งกลับประเทศ ไม่ใช่มีกำไรแล้วเก็บไว้ที่ต่างประเทศ
ไทยพับลิก้า : สรรพากรเซ็นอนุสัญญาภาษีซ้อน นักธุรกิจไทยส่งกำไรจากต่างประเทศกลับมาต้องเสียภาษีอีกหรือ
ถาวร : มันเป็นเรื่องขอเครดิตภาษีคืนมากกว่า สมมติ ผมขายกิจการในสิงคโปร์ มีส่วนต่างของกำไร เสียภาษีที่สิงคโปร์มาแล้ว ก็จะต้องมาเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในไทยอีก แต่สามารถนำภาษีที่สิงคโปร์เก็บมาเครดิตภาษีในประเทศไทยได้ กรณีที่มีอนุสัญญาภาษีซ้อนอยู่
แต่ในบางประเทศสนับสนุนให้นักลงทุนส่งกำไรกลับประเทศ ไม่ต้องเสียภาษี เพราะเขารู้ว่าหากเก็บภาษีก็จะเก็บได้น้อยมาก เพราะนักลงทุนไม่อยากจะเอาเงินกลับประเทศเพื่อมาเสียภาษี แต่ถ้าเราจูงใจให้เขาเอาเงินเข้ามา ฐานะการเงินภาคธุรกิจก็จะดีขึ้นแน่นอน คงจะไม่มีนักธุรกิจไหนเอาเงินไปผ่านประเทศที่เสียภาษีสูงๆ และถ้าเมืองไทยเป็นแบบนี้ พวกกองทุนต่างๆ ก็จะเข้ามาตั้งสำนักงานสาขาในเมืองไทยกันมากขึ้น เพราะไม่ต้องเสียภาษี
พีรพัฒน์ : สมมุติ สิงคโปร์เก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ 17.5% ได้กำไรสุทธิ 100 บาทเสียภาษี 17.5 บาท ส่วนภาษีเงินได้นิติบุคคลของไทยเก็บอยู่ที่ 23% เราต้องเอา 100 บาทมาคำนวณ 23% แล้วหักด้วย 17.5% ส่วนต่างที่เกิดขึ้น นักธุรกิจต้องนำไปจ่ายภาษีให้กรมสรรพากรอีก สรุปคือส่งกำไรกลับประเทศต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล 23% นั่นเอง
ไทยพับลิก้า : เหตุผลที่รัฐบาลมุ่งเน้นไปที่การจัดเก็บรายได้ เพราะต้องการเงินไปพัฒนาประเทศ
พีรพัฒน์ : รัฐบาลต้องทำการบ้านให้มากกว่านี้ ต้องมองด้วยว่ารายได้ที่สูญเสียไปมันคุ้มกับประโยชน์ที่ได้รับหรือไม่ การคงอัตราภาษีไว้สูงๆ ไม่ต้องการส่งเสริมอะไรเลย สุดท้ายอาจจะไม่ได้อะไร แต่ถ้ายอมสูญเสียรายได้บ้าง ก็อาจจะได้เทคโนโลยีใหม่ๆ ก็ต้องมาวิเคราะห์ดูว่าจะส่งเสริมได้แค่ไหน แต่อย่าลืมว่าเราจะมาดูเฉพาะค่าใช้จ่ายของประเทศอย่างเดียวไม่ได้ ต้องดูประเทศคู่แข่งด้วย ซึ่งนำหลายๆ อย่างมาพิจารณาประกอบกัน
ถาวร : ต้องมองในแง่เศรษฐศาสตร์ด้วย สมมติว่ามีเงินไหลเข้ามา 1 หมื่นล้านบาท เงินมันจะหมุนกี่รอบ เงินจำนวนนี้นำไปลงทุนต่อเนื่องประเทศจะได้อะไร ต้องมองภาพให้กว้างขึ้น
พีรพัฒน์ : หากเราลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาลงมาให้มาอยู่ในระดับใกล้เคียงกับภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ลดลง จะทำให้เกิดการใช้จ่ายเงินเพิ่มมากขึ้น ยกตัวอย่าง บริษัทที่สั่งสินค้าเข้ามาผลิต กรมสรรพากรจะเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มมากขึ้น ต่างชาติส่งผู้เชี่ยวชาญเข้ามาทำงานเราก็ได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้ สิ่งเหล่านี้มันมากกว่าภาษีที่สูญเสียไป
“แต่ถ้าเราไม่ลดภาษี ต่างชาติก็ไม่เข้ามาลงทุน เม็ดเงินภาษีที่คาดว่าจะสูญเสียไปมันก็ไม่สูญเสีย เพราะความจริงมันไม่ได้อยู่แล้ว บางครั้งเราไปนึกกว่ามันสูญเสียรายได้ แต่ความเป็นจริงมันไม่สูญเสีย เราสูญเสียในสิ่งที่เราไม่เคยได้อยู่แล้ว”
ถาวร : วันนี้ประเทศไทยไม่ได้มีแค่ 60 ล้านคน แต่มันกำลังจะเป็น 600 ล้านคน สมมติว่าวันนี้เรามีร้านก๋วยเตี๋ยวจังหวัดละ 1 ร้าน มีทั้งหมดเกือบ 80 จังหวัด แต่อนาคตจะไม่ใช่แล้ว เราอาจจะมีร้านก๋วยเตี๋ยวในอินโดนีเซีย ถ้าเราไม่ทำ ประเทศอื่นเขาก็ทำ ทำอย่างไรถึงจะส่งนักธุรกิจของเราไปฉกฉวยโอกาสตรงนี้ให้ได้
ตอนนี้ผมยังไม่รู้ว่ามีหน่วยงานไหนทำหน้าที่ส่งนักลงทุนไทยไปต่างประเทศ โดยตรง เพราะวันนี้มีหน่วยงานเยอะมากที่ส่งคนไทยไปลงทุนในต่างประเทศ ทั้งอุตสาหกรรมอะไรต่างๆ แต่ถ้าถามว่าพรุ่งนี้อยากไปเปิดร้านก๋วยเตี๋ยวที่สิงคโปร์ควรจะคุยกับใคร ผมจะได้สิทธิอะไรบ้าง ผมจะไปคุยกับใคร ไปคุย 10 กระทรวง 10 หน่วยงาน เจอแบบนี้ความอยากของผม มันถดถอย เราไม่มีเจ้าภาพที่ชัดเจน นโยบายของรัฐบาลไม่ชัดเจน วันนี้ไม่มีเจ้าภาพ
อีกประเด็นหนึ่งเป็นเรื่องของการทำวิจัยและพัฒนา (Research & Development: R&D) ทุกประเทศพยายามผลักดันให้เกิดกับธุรกิจในประเทศของตน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน สำหรับประเทศไทยก็มีมาตรการภาษี เพื่อสนับสนุนให้บริษัททำ R&D โดยให้นำค่าใช้จ่ายมาหักภาษีได้ 2 เท่าของที่จ่ายไปจริง แต่ปรากฏว่ามีเงื่อนไขมากมาย หลายบริษัทก็ไม่เอา เพราะทำตามสรรพากรไม่ไหว
บางประเทศวางจุดยืนว่าประเทศของเขาควรจะเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ เพราะถ้าเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์แล้วจะมีรายได้กลับเข้าประเทศอย่างต่อเนื่อง หากต้องการให้ความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เกิดขึ้นในประเทศไทย ก็ต้องมานั่งคิดกันว่าจะทำอย่างไร
คำตอบของผม สรรพากรไม่ชอบแน่ เพราะต้องลดภาษีอีกแล้ว แต่วันนี้สรรพากรก็เก็บภาษีไม่ได้อยู่แล้ว เพราะต่างชาติไปจดลิขสิทธิ์ที่สิงคโปร์ ซึ่งความจริงประเทศไม่อยากจะได้เงินภาษีหรอก แต่อยากได้เงินเข้ามาหมุนเวียนภายในประเทศ ถ้าอยากจะให้เจ้าของลิขสิทธิ์จากต่างประเทศมาจดทะเบียนในเมืองไทย ต้องไม่เก็บภาษี
ไทยพับลิก้า : เห็นด้วยกับการปรับลดภาษีนิติบุคคลเหลือ 20% หรือไม่
พีรพัฒน์ : จริงๆ เห็นด้วย เพราะมันจะมีผลเมื่อไทยเปิดประเทศเข้าสู่ AEC เมืองไทยจะน่าลงทุนมากขึ้น การลดภาษีไม่ได้ทำให้รัฐจัดเก็บภาษีได้น้อยลง หากไปดูแนวโน้มการจัดเก็บภาษีของของโลก ภาษีเงินได้ทุกประเภทมีแนวโน้มลดลงหมด ส่วนภาษีทางอ้อม อาทิ VAT มีแนวโน้มว่าจะต้องปรับอัตราให้สูงขึ้น
อย่างสิงคโปร์เคยเก็บ VAT 3% ตอนนี้ปรับอัตราขึ้นเป็น 7% เพราะเมื่อประชาชนมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ก็ใช้จ่ายมากขึ้นเหมือนกัน คือแทนที่จะไปเก็บภาษีจากรายได้ ก็หันมาเก็บภาษีจากการบริโภคมากกว่า ดูกราฟทิศทางการดำเนินนโยบายภาษีของทุกประเทศโลกในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าภาษีทางอ้อมจะมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนภาษีเงินได้จะคงที่ หรือลดลง
ไทยพับลิก้า : โครงสร้างภาษีของไทยสอดคล้องกับทิศทางของโลกหรือไม่
ถาวร : ในต่างประเทศ ภาษีทางตรง พวกภาษีเงินได้ อัตราจะลดลง ส่วนภาษีทางอ้อมหรือภาษี VATมีแนวโน้มว่าจะปรับอัตราสูงขึ้น ประเทศไทยปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคล และก็มีนโยบายที่จะปรับอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มขึ้นไป เพียงแต่ว่าคนในระดับล่างที่มีรายได้น้อยอาจจะไม่ชอบ เพราะเดิมจ่ายเงินซื้อของที่โลตัส 107 บาท ถ้าปรับ VAT ขึ้นไป ต้องจ่าย 110 บาท คนจะรู้สึกทันที
ไทยพับลิก้า : PwC มองการปรับโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอย่างไร โจทย์คือต้องลดภาษีให้คนมีฐานะดี เพื่อแข่งขันกับต่างประเทศและก็ต้องลดภาษีให้รากหญ้า
ถาวร : คือโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ถ้าวันนี้ยังไม่เปลี่ยน อนาคตประเทศไทยจะมีบริษัทเกิดใหม่ขึ้นมามากมายแน่นอน ผมจะลงทุนในรูปของบุคคลธรรมดาทำไม ถ้าโมเดลธุรกิจผมดี ผมเปิดบริษัทดีกว่า เพราะถ้าเป็นบุคคลธรรมดาเสียภาษี 37% แต่นิติบุคคลเสียภาษี 20%ต่างกันมาก
พีรพัฒน์ : สมมติถ้าเสียภาษีในอัตรา 20% ของกำไรสุทธิ เรากำไร 100 บาท เสียภาษี 20 บาท เหลือ 80 บาท ปันผลให้บุคคลธรรมดา อัตราภาษีที่แท้จริง (effective rate) แต่ถ้าไม่จดทะเบียนเป็นบริษัท ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ 37%
ขณะที่ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มีบุตรหักภาษีได้ 15,000 บาท มันเพียงพอหรือไม่ การหักค่าใช้จ่ายในปัจจุบันมีความเหมาะสมหรือไม่ คนจนก็ไม่สามารถหักค่าใช้จ่ายหรือค่าลดหย่อน อย่างคนจนไม่รู้จะมีเงินมาซื้อประกันชีวิตได้หรือเปล่า คนรวยก็จะซื้อเยอะๆ
ถาวร : คนที่ไม่ได้เสียภาษีเยอะก็จะต่อต้านว่าให้สิทธิแต่คนรวย เพราะคนรวยตัดค่าใช้จ่ายได้เยอะ คนจนก็ไม่มีตัด คนจนซื้อประกันได้หรือเปล่าก็ไม่รู้ อะไรที่จะส่งเสริมให้ธุรกิจไปต่างประเทศ เหมือนกับวันนี้เราจะเปิดบ้านเราให้คนอื่นกินข้าวเย็นที่บ้าน ทีนี้เราต้องเสริมให้เราไปกินข้าวเย็นบ้านคนอื่นบ้าง เอากำไรกลับประเทศบ้าง คราวนี้เราก็ต้องดูว่าอะไรที่เป็นอุปสรรค
ไทยพับลิก้า : คณะบุคคลจะสูญพันธุ์หรือไม่
ถาวร : คณะบุคคลอาจจะไม่หาย ยังใช้สิทธิได้เหมือนเดิม อีกตัวหนึ่งที่สรรพากรกำลังศึกษาอยู่คือเรื่องค่าลดหย่อนภาษีที่มีอยู่หลายตัว ทางอธิบดีกรมสรรพากรให้ข่าวว่าอาจจะให้เป็นการเหมาไป เพราะว่าเขามีแนวโน้มที่จะลดประเภทหักค่าลดหย่อน แต่จำนวนเงินไม่ลด กำหนดเพดานเอาไว้เหมือนเดิม
พีรพัฒน์ : แต่ก็ควรจะไปสำรวจก่อนนะครับว่าตอนนี้ค่าเล่าเรียนเขาคิดกันเท่าไหร่ ให้ทันสมัยและเป็นปัจจุบันมากขึ้น ผมเคยเห็นผมการศึกษาของกระทรวงการคลัง คือจะไปดูเงินเฟ้อ ปรับตามนั้น รัฐบาลเท่าไหร่
ถาวร : เรื่องค่าลดหย่อนภาษีผู้ที่มีรายได้สูงๆ จะได้ประโยชน์จากค่าลดหย่อน แต่ถ้าพูดจริงๆ แล้วผู้ที่มีรายได้สูง เสียภาษีเยอะอยู่แล้ว เมื่อให้ลดหย่อนสูงๆ มันก็จะมีคำถาม ซึ่งมันเลี่ยงไม่ได้ คนรวยได้รับประโยชน์จากค่าลดหย่อนมากกว่าคนจน แต่ถ้าดูลึกลงไป คนจนไม่ได้จ่ายภาษี ที่คนรวยเขาได้ประโยชน์คือเขามีเงินจ่ายภาษี แต่คนจนไม่ได้ประโยชน์เพราะไม่มีเงินจ่ายภาษี ทุกครั้งที่มีการให้ค่าลดหย่อนเพิ่มเติมจะถูกต่อต้านตลอด แต่คนจนก็ใช้ประโยชน์ได้ ถ้าวันหนึ่งคุณรวยขึ้นมา นั่นคือปัญหา ถ้าอย่างนี้มันไม่จบหรอก
สมมติ คุณมีรายได้เดือนละ 50,000 บาท คุณเสียภาษีอยู่ 20% ประมาณนี้ แล้วคุณบอกว่าคุณไม่ได้รับประโยชน์จากตรงนี้ ส่วนผมเสีย 37% ผมได้รับประโยชน์เต็มๆ คุณก็โวยว่าให้คนรวยอย่างเดียว อีกมุมมองหนึ่งเขาเสียเยอะอยู่แล้ว เขาก็ควรที่จะได้สิทธินั้น คือถ้าจะให้เสมอภาคก็ไม่ต้องให้มันเลย ผมไปลดภาษีตรงบันไดขั้นแรกก็ได้
พีรพัฒน์ : สมัยก่อนเราก็ยกเว้นตรง 5% อาจจะพิจารณายกเว้นภาษีขั้นแรก 10% ก็ได้ เหมือนกับตอนที่ยกเว้นภาษี 5%
ไทยพับลิก้า : ในส่วนของรัฐบาลก็มีการถกเถียงกันอยู่ ถ้าปรับลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดารขั้นสูงสุดลงมาจะทำให้คนรวยได้ประโยชน์
พีรพัฒน์ : อย่างไรก็ได้อยู่ดี เพราะคนรวยก็หนีไปตั้งบริษัทเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ 20% ส่วนกลุ่มคนระดับฐานรากได้รับการยกเว้นภาษี สำหรับคนที่มีเงินได้ไม่เกิน 150,000 บาท ไม่ต้องเสียภาษี ก็อาจจะขยับขึ้นมาเป็น 200,000 บาท ได้รับการยกเว้นภาษีก็ได้
ถาวร : ค่าลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มันถูกใช้ไปกับการสนับสนุนหรือส่งเสริมอื่นๆ เช่น ผมอยากจะสนับสนุนเรื่องประกันชีวิต ก็ให้ลดหย่อนภาษีมากขึ้น คนจนไม่ซื้ออยู่แล้ว ผมอยากส่งเสริมตลาดทุน 5 แสนบาทแรก ยกเว้นภาษีให้
พีรพัฒน์ : แต่มันก็มีวัตถุประสงค์ อย่างประกันชีวิต รัฐต้องการสนับสนุนการออม ชนชั้นกลางเวลาเกษียณอายุไปแล้วจะได้ไม่เป็นภาระกับคนอื่น คนที่มีรายได้เยอะก็จะได้ประโยชน์ ไม่ใช่คนชั้นกลางสามารถซื้อประกันชีวิตได้ไม่เป็นภาระของรัฐ
ถาวร : แต่พวกที่ต่อต้านคือพวกชาวไร่ชาวนาชาวสวนที่ไม่ได้รับสิทธิ คนขับแท็กซี่จ่ายภาษีหรือไม่ แต่พอนั่งแท็กซี่ก็จะได้ยินเรื่องนี้มากมาย รัฐช่วยแต่คนรวย แต่ผมเห็นด้วยที่ให้แยกสามีภรรยาจ่ายภาษี มีภรรยาแล้วจะมีต้นทุนเยอะขึ้น
ไทยพับลิก้า : การปรับโครงสร้างภาษีจำเป็นต้องมองในเรื่องของการกระจายรายได้ด้วยหรือเปล่า
ถาวร : จริงๆ เรื่องการกระจายรายได้ เราใช้ภาษีไม่ค่อยเวิร์กหรอก เพราะว่าคุณจะกระจายรายได้คุณไปเอาเงินคนรวยมากระจายให้คนจน ถามว่าเป็นธรรมหรือเปล่า และสิ่งที่จะตามมาคือการหลบเลี่ยงภาษีการโยกย้ายฐานรายได้ มันจะมีแน่นอน และคนรวยเขาจะกระจายรายได้จริงๆ แต่ไม่ได้กระจายรายได้ไปอยู่กับคนจน แต่กระจายไปไหนก็ไม่รู้ สุดท้ายแล้วเขาก็จะหลบเลี่ยง
พีรพัฒน์ : ที่ผ่านมาโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มันจะสัมพันธ์กับโครงสร้างอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลตลอดมา หลักการภาษีคือต้องพยายามที่จะทำให้มันเป็นกลางที่สุด นี่คือหลักการภาษี ทำไมถึงไปคิดว่าจะกระจายรายได้จากคนรวย แต่ทำไมไม่คิดว่าจะกระจายรายได้จากบริษัทรวย นิติบุคคลก็ไม่ต้องลด แต่ผลกระทบบริษัทอาจจะไม่กำไรให้กรมสรรพากรเก็บภาษี
ไทยพับลิก้า : การปรับโครงสร้างอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะทำให้ฐานภาษีของกรมสรรพากรหดตัวลงไปหรือไม่
ถาวร : ค่าลดหย่อนที่รัฐควรจะให้คือให้ไปหักที่อัตราต่ำกว่าแล้วไล่ขึ้นไป ไม่ใช่หักจากทั้งหมด สมมติว่า ค่าลดหย่อนจะไปหักจากส่วนที่เสียภาษี 5-10% ไม่ใช่ตัว 37% วันนี้ผมเสียภาษีที่ 37% ผมไปหักค่าลดหย่อนที่ 37% แต่ถ้าจะให้เสมอภาค คนจน คนรวย ก็ควรเอาค่าลดหย่อนไปหักที่ 5% เหมือนกันได้ทั้งคนจนและคนรวย ผมคิดว่าคนรวยไม่กระทบหรอก เอาไปลงทุนอย่างอื่น คนรวยจริงๆ เขาไม่ได้คิดจะเซฟภาษีมากนักหรอก เช่น ค่าเล่าเรียนบุตร แต่การหักลดหย่อนจาการลงทุนใน LTF อาจจะได้เป็นกอบเป็นกำ
ไทยพับลิก้า : นอกจากเรื่องโครงสร้างภาษีสรรพากรแล้วมีตัวอื่นอีกไหม
พอล : ในส่วนของกรมศุลกากรมีอยู่ 2 ประเด็นที่ควรปรับปรุงแก้ไข คือเรื่องค่าปรับและเงินสินบนรางวัลของเจ้าหน้าที่เวลาจับของกลางได้ ขั้นตอนของเบี้ยปรับปัจจุบันมี 2 กรณี คือกรณีที่ผู้ประกอบการขอระงับคดีในชั้นของศุลกากร กับ ในชั้นของศาล ซึ่งในขั้นตอนของศุลกากรจะเสียเบี้ยปรับน้อยกว่าจะต่อสู้ในชั้นของศาล ถ้าแพ้ในชั้นศาลจะต้องจ่ายค่าปรับ 4 เท่าตัวของราคาสินค้าบวกอากรส่วนที่ขาด ซึ่งค่อนข้างสูง ปัจจุบันผู้นำเข้าจึงยอมระงับคดีในชั้นของศุลกากรมากกว่า
ไทยพับลิก้า : ความคืบหน้าในการแก้ไขกฎหมายศุลกากร
พอล : กรมศุลกากรพยายามแก้ไขกฎหมายมา 8 ปีแล้ว ปัจจุบันก็มีการเสนอขอแก้ไขกฎหมายในส่วนของเบี้ยปรับในชั้นศาล จาก 4 เท่า ปรับลดเหลือ 0.5 เท่า ขึ้นไปจนถึง 4 เท่า ตอนนี้เรื่องก็เงียบหายไป เข้าใจว่าอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของกระทรวงการคลัง เดิมทีเรื่องแก้ไขกฎหมายศุลกากรได้ผ่านความเห็นชอบจาก ครม. ชุดที่แล้ว แต่พอเปลี่ยนรัฐบาล เรื่องก็จะถูกตัดกลับมาที่กระทรวงการคลังเหมือนเดิม และกระทรวงการคลังจะต้องทำเรื่องเสนอ ครม.ชุดใหม่อีกครั้ง เพื่อพิจารณา เท่าที่ทราบยังไม่มีการเสนอกลับไปใหม่
นายพอล ซัมเนอร์ หุ้นส่วนบริษัท ที่ปรึกษากฎหมายและภาษีอากร
ถาวร : เท่าที่ทราบ ตอนนี้มีความพยายามจะแก้ไขกฎหมายที่จะกำหนดเพดานสูงสุดในการจ่ายเงินรางวัลให้กับเจ้าหน้าที่สูงสุดไม่เกิน 5 ล้านบาท และสายผู้ให้เบาะแส 10 ล้านบาท แต่ไม่ใช่ไม่มีการกำหนดเพดานเหมือนเมื่อก่อน
ไทยพับลิก้า : ระหว่างที่กฎหมายกำลังแก้ไข เจ้าหน้าที่ยังไล่บี้ผู้ประกอบการอยู่หรือเปล่า
พอล : ตอนนี้เรื่องการปรับลดเบี้ยปรับเข้า ครม. มาก่อน เรื่องอื่นยังค้างอยู่ โดยภาพรวมเบี้ยปรับของกรมศุลกากรสูงมากเกินไป เจอผู้นำเข้าต้องจ่ายค่าปรับ 550 ล้านบาท ซึ่งก็อยากจะต่อสู้ในชั้นศาล แต่พอเห็นเบี้ยปรับมันสูงมากถึง 3,500 ล้านบาท ก็เลยต้องยอมจ่ายค่าปรับในชั้นของศุลกากร
สำหรับประเทศไทย ถ้าขึ้นศาลแล้วแพ้ ต้องจ่ายค่าปรับ 400% ของมูลค่าสินค้าบวกอากรส่วนที่ขาด ถ้ามูลค่าสินค้านำเข้า 10,000 ล้านบาท ก็ตาย หากยอมจ่ายค่าปรับของระงับคดีที่ศุลกากรจ่ายแค่ 2 เท่าของภาษี แต่ของเวียดนามเสียค่าปรับ 20% ของภาษีนำเข้า
ไทยพับลิก้า : กฎหมายที่ล้าสมัยแบบนี้จะมีผลกับ AEC หรือไม่
พอล : ยังมีความเข้าใจผิดกันอยู่ กรณีสินค้าที่จะเข้ามาในประเทศอาเซียนแล้วไม่ต้องเสียอากรขาเข้า จริงๆ ยังต้องเสียอากรขาเข้าอยู่ ถ้าเข้ารวม AEC สินค้าที่อยู่ในกลุ่มของอาเซียน หากจะได้รับการยกเว้นอากรต้องมีถิ่นกำเนิดในอาเซียน ตามระเบียบของเขตการค้าเสรี ปัจจุบันผู้ส่งออกต้องมีหนังสือรับรองถิ่นกำเนิด (Form-D) ว่ามีถิ่นกำเนิดในอาเซียนถึงจะได้รับการลดหย่อนอากร ปัจจุบันก็มีการออกหนังสือรับรองกันเอง ผู้ส่งออกสามารถทำได้เองแต่ต้องได้รับการรับรองจากกรมการค้าระหว่างประเทศก่อน ถึงจะมาออก Form-D ได้
ปัจจุบันการนำเข้าสินค้าจะต้องผ่านการอนุมัตินำเข้าจาก 44 หน่วยงานของรัฐบาล ถ้า AEC เกิดขึ้นการนำเข้าทั่วอาเซียน ยังต้องใช้หนังสือรับรอจาก 44 หน่วยงานอีกหรือเปล่า
ถาวร : หลักการของ AEC จะต้องไม่มีมาตรการกีดกันทางการค้า เรื่องโควต้าควรจะยกเลิก เรื่องใบอนุญาตควรจะยกเลิกไป คราวนี้มันมี 44 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับใบอนุญาต สินค้าบางตัวอันตราย เช่น เคมีคัลบางอย่าง ควรยกเลิกหรือเปล่า จะยอมให้เข้าไหม อุปกรณ์สื่อสารบางตัวต้องขอใบอนุญาต 44 หน่วยงาน ถ้าจะแก้ไขก็ต้องแก้ไขระเบียบ 44 หน่วยงาน ต้องแก้ไขกฎระเบียบอีกมากมาย คือเป็นไปได้หรือไม่
การนำเข้าเราพูดถึงเฉพาะในกลุ่มอาเซียน เป็นไปได้หรือไม่ว่าถิ่นกำเนิดอาจจะอยู่ที่อังกฤษ แต่เอามาประกอบที่อาเซียน แล้วก็ส่งมาเมืองไทยหรือประเทศในกลุ่มอาเซียน พวกนี้ไม่ได้รับการยกเว้นภาษี ยังเสียภาษีอยู่ ASEAN Single Window ไม่ต้องมีเอกสารอะไร เป็นไปได้หรือไม่
พอล : ตอนนี้กรมศุลกากรก็เริ่ม National Single Window (NSW) เริ่มทำในปี 2008 คาดหวังว่าจะเสร็จปี 2010 จนถึงปัจจุบันบางส่วนทำเรียบร้อยแล้ว บางส่วนก็ยังทำอยู่ ประเทศมาเลเซียเริ่มทำปี 2009-2011 สิงคโปร์เริ่มใช้เกือบทั้งหมดแล้ว ส่วนใบอนุญาตนำเข้าวัตถุอันตรายพวกสารเคมี ต้องไปดูรายละเอียดของสารประกอบนั้นๆ และมีสารเคมีหลายตัวคงจะยากถ้าจะเอามาเข้าในระบบ NSW ต้องดูสารประกอบแต่ละตัวว่าจะเป็นต้องใช้ใบอนุญาตหรือเปล่า เขาพยายามเชื่อมโยงใบอนุญาตกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่ต้นทุนที่เกี่ยวข้องมันเพิ่มขึ้นใครรับผิดชอบ มันไม่เกี่ยวกับฉัน
การเริ่มต้นของ AEC คงจะไม่มีผลกระทบทีเดียว แต่จะทยอยเพิ่มขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป เรื่องใบอนุญาตก็ต้องค่อยๆ แก้ไข แต่ความพร้อมของประเทศไทยอาจจะช้ากว่ามาเลเซีย ระบบภาษีของสิงคโปร์ก็ง่ายกว่า ใครพร้อมกว่าก็จะได้เปรียบในเรื่องของการทำธุรกิจ
ไทยพับลิก้า : โครงสร้างภาษีสรรพสามิต
พอล : สรรพสามิตจะกำลังศึกษาในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงฐานภาษีที่คำนวณมาจากฐานราคานำเข้า กับราคาหน้าโรงงาน ที่อยู่ในข่ายนำร่องคือสินค้าพวกบุหรี่ เหล้า รถยนต์ มีการหารือกับเรื่องฐานภาษี เช่น บุหรี่ รถยนต์เดิมเก็บจากขนาดของเครื่องยนต์ตามปริมาตรความจุ หรือจะเก็บตามราคาขายปลีก หรือประเภทของบุหรี่จะเก็บตามราคาขายปลีกมันจะมีความได้เปรียบเสียเปรียบกับอยู่ ถ้าเก็บตามราคาขาย บุหรี่ราคาถูกที่ขายคนระดับล่างก็จะเสียภาษีถูก แต่ถ้ากำหนดอัตราคงที่ บุหรี่ระดับล่างก็จะเสียภาษีเท่ากับบุหรี่ราคาแพง
ประเทศต่างๆ ในอาเซียนเปลี่ยนมาใช้อัตราคงที่คือเก็บตามราคา ทำให้ความได้เปรียบเสียเปรียบ แต่ตอนนี้ยังไม่รู้ว่าจะใช้อัตรา FIX RATE หรือ MIX RATE พอเปลี่ยนอธิบดีสรรพสามิต นโยบายก็เปลี่ยน คุยกันมานานแล้ว
ไทยพับลิก้า : โครงสร้างภาษีรถยนต์ ที่จะไปเก็บภาษีจากปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกมา มองอย่างไร
พอล : มันเป็นเรื่องนโยบายที่ยังไม่นิ่ง มันขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาลด้วย ถ้าเป็นรถยนต์ที่ใช้เบนซินแก๊สโซฮอล์ อี 20 เสียภาษีอย่างไร อี 85 จะเสียอย่างไร ยังไม่นิ่งเลย ขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาล สิ่งเหล่านี้มันต้องหารือกับผู้ผลิตด้วย เพราะจะมีผลกระทบต่อการวางแผนการผลิต ตอนนี้ยังไม่รู้จะจบอย่างไร ต้องไปถามนายกรัฐมนตรี มันกระทบเยอะ เพราะอนาคตจะมีรถไฟฟ้าที่ใช้แบตเตอรี่ ใช้ก๊าซเอ็นจีวี อี 10-20-85 แต่นโยบายยังไม่นิ่ง
ไทยพับลิก้า : ทิศทางของภาษีสรรพสามิตมันควรจะเป็นอย่างไร ก่อนที่จะก้าวเข้าไปสู่ AEC
ถาวร : ภาษีสรรพสามิตเก็บโดยมีวัตถุประสงค์เป็นช่วงๆ ขึ้นอยู่กับว่านโยบายวันนั้นต้องการอะไร สรรพสามิตเก็บเพื่อควบคุมการบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือย ทำไมเก็บแอร์ไม่เก็บพัดลม เขาต้องการควบคุมมากกว่า ถ้าเขาต้องการลดหย่อนก็ลดภาษีลงมา อาบอบนวดก็ต้องเสียภาษีสรรพสามิต นวดไทยไม่เสีย ถามว่าภาษีสรรพสามิตไม่มีความเป็นกลางหรอกครับ การปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตคงไม่ได้ไปอิงกับการปรับโครงสร้างภาษีสรรพากร คือ ถ้ารัฐบาลไม่อยากจะให้คนสูบบุหรี่มาก ก็ปรับขึ้นภาษีสรรพสามิต การปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐ ณ ขณะนั้นต้องการอะไร มันไม่เกี่ยวกับการกระจายรายได้ ความเหลื่อมล้ำ ยกตัวอย่าง รถยนต์ที่ใช้น้ำมันปกติเก็บภาษี 400 เท่า ใช้ก๊าซโซฮอล์ 20% เก็บภาษี 300 เท่า หรือในอนาคต NGV ไม่เก็บภาษีเลย ขึ้นอยู่กับนโยบายรัฐบาล อย่างสิงคโปร์เก็บภาษีรถยนต์จากการใช้เก็บจากการต่อป้ายทะเบียนประจำปี ไม่ได้เก็บจากรถยนต์ เวลาวิ่งเข้าเมืองเขาจะเก็บเงินเลย เก็บภาษีจากการใช้รถยนต์ เพราะมลพิษเกิดจากการใช้รถยนต์
ไทยพับลิก้า : กรมสรรพสามิตมีนโยบายที่จะไปยกเลิกเขตส่งเสริมการส่งออก (Free Zone )
ถาวร : ฟรีโซนของศุลกากร การนำเข้าวัตถุดิบเข้ามาผลิตจะไม่เสียอากรขาเช้า และภาษีสรรพสามิต แต่ปัจจุบันมีการนำรถยนต์ที่ผลิตในเขตส่งเสริมการส่งออกเข้ามาขายในประเทศ ก็จะเสียภาษีสรรพสามิตที่ราคาหน้าโรงงาน ซึ่งไม่รวมอากรขาเข้า ภาษีก็จะลดลง การแก้ไขกฎหมายภาษีสรรพสามิตกรณีที่นำเข้าสินค้าเข้ามาผลิตในโรงงานที่อยู่ในเขตฟรีโซน EPZ ค่อนข้างยาก เพราะจะไปขัดกับระเบียบขององค์การค้าโลก สรรพสามิตจะเข้าไปเก็บภาษีในเขตฟรีโซนไม่ได้ ประเทศไทยอาจจะถูกปรับเหมือนกรณีของบุหรี่
ไทยพับลิก้า : ที่กรมสรรพสามิตสงสัยคือ สินค้าที่ออกจากเขตฟรีโซนแจ้งราคาต่ำกว่าความเป็นจริง
ถาวร : ฟรีโซน สินค้าที่เข้ามาที่ฟรีโซนจะได้รับยกเว้นภาษีนำเข้า เวลาออกจากฟรีโซนเข้ามาขายในประเทศ ฐานราคาต้นทุนมันจึงต่ำ กรมสรรพสามิตก็ไม่ชอบ แต่ตามข้อตกลงขององค์การค้าโลก การคิดภาษีย้อนกลับไปยังภาษีที่ไม่ต้องเสียทำไม่ได้ สรรพสามิตมองว่าราคาไม่น่าถูกต้อง เพราะกรมสรรพสามิตจับไปเปรียบเทียบกับราคาสินค้าที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ ราคามันต่ำกว่า อย่างนั้นจะยกเลิกฟรีโซนได้หรือไม่ ตามกฎหมายไม่ได้ใหญ่ขนาดนั้น ต้องให้คนอื่นทำ ฟรีโซนตั้งขึ้นมาเพื่อไม่ให้เกิดภาระภาษี จึงเอาสินค้ามาผลิตในฟรีโซนแล้วขายในประเทศ ทำให้ฐานภาษีต่ำลง
พอล : ถ้าเราไม่อนุญาตให้ทำแบบนี้ นำเข้ามาจากฟรีโซนแล้วนำเข้ามาขายในประเทศ ฐานการผลิตบางส่วน พวกอะไหล่รถยนต์ อาจจะไปตั้งฐานผลิตที่ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย เพราะมีจะได้รับ Form- D เอาเข้ามาในประเทศไทย ไม่ต้องเสียภาษีนำเข้าเหมือนกัน ถ้ากรมสรรพสามิตไปเก็บภาษีตรงนี้เขาก็จะหนี ทำไม่ได้หรอก ซื้อจากฟิลิปปินส์ถูกกว่า
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."