บทสรุปของ TPI??
-
- Verified User
- โพสต์: 41
- ผู้ติดตาม: 0
บทสรุปของ TPI??
โพสต์ที่ 1
อ่านจากหนังสือพิมพ์ เห็นว่าผู้บริหารแผนจะทำการลดทุน โดยลดราคา พาร์ เพื่อล้างขาดทุนสะสม แล้วเพิ่มทุนใหม่ผมงงว่า จะล้างขาดทุนสะสมได้ยังไงครับ
- มือเก่าหัดขับ
- Verified User
- โพสต์: 1112
- ผู้ติดตาม: 0
บทสรุปของ TPI??
โพสต์ที่ 3
เอาแบบชาวบ้านนะครับ ผมไม่ใช่นักบัญชี
ผิดถูก รอนักบัญชีตัวจริงเสียงจริง มาช่วยบอกอีกรอบครับ
จากงบดุล
สินทรัพย์ = ส่วนของผู้ถือหุ้น (ทุน) + หนี้สิน (ในการดำเนินงาน)
เมื่อบริษัทดำเนินงานไปเรื่อยๆ มี กำไร/ขาดทุน ก็จะไปบวก/ลบ ในส่วนของผู้
ถือหุ้น (ถ้ากำไร ก็เอาไปบวก ถ้าขาดทุน ก็เอาไปลบออก) ส่วนของผู้ถือหุ้น ก็จะมาก
ขึ้น น้อยลง ไปตามกำไร/ขาดทุนที่บริษัททำไว้ สะสมกันไปเรื่อยๆ ในแต่ละปี
เช่นงบดุลเดิมเป็น (หน่วย : ล้านบาท)
100 = 75 + 25
ทำๆ ไป ขาดทุนเรื่อยๆ จนเป็นขาดทุนสะสม 70 ล้านบาท
งบดุลเลยกลายเป็น
30 = (75-70) + 25
โดยมีส่วนขาดทุนสะสม ฝังอยู่ในส่วนของทุนอยู่อีก 70 ล้านบาท
เมื่อบริษัทเริ่มทำกำไร จะจ่ายปันผลก็ไม่ได้ (บ. ส่วนใหญ่ จะไม่จ่ายปันผล หากยังมี
ผลการดำเนินงานเป็นขาดทุนสะสมอยู่) เพราะต้องมาล้างขาดทุนสะสมนี้ก่อน
จนหมด 70 ล้านบาท แล้วค่อยจ่ายปันผลได้ (รอกันอาน)
จะเพิ่มทุน ขายหุ้นใหม่ ก็คงไม่มีใครเอา เพราะว่าเงินที่เอาไปลงทุนใหม่ เท่ากับไป
ช่วยทำให้สถานะของบริษัทดีขึ้น สามารถเริ่มทำกำไรได้ แต่ก็ต้องเอากำไรนี้ไปล้าง
ขาดทุนสะสมให้กับผู้ถือหุ้นเก่าๆ ทำเอาไว้อีก ใครจะมายอมลงทุน
ถ้าลดทุน เหลือแค่ 5 ล้านบาท ทีนี้ดุลใหม่จะเป็น
30 = 5 + 25
ทีนี้จะเพิ่มทุนก็ทำได้ เพราะพอบริษัทเริ่มทำกำไร ก็จะจ่ายปันผลให้กับผู้ถือหุ้นใหม่ได้
เนื่องจากขาดทุนสะสมมันหายไปแล้ว (70 ล้านบาทนั่น) แต่ผู้ถือหุ้นเดิม ก็อ่วมหน่อย
ผิดถูก รอนักบัญชีตัวจริงเสียงจริง มาช่วยบอกอีกรอบครับ
จากงบดุล
สินทรัพย์ = ส่วนของผู้ถือหุ้น (ทุน) + หนี้สิน (ในการดำเนินงาน)
เมื่อบริษัทดำเนินงานไปเรื่อยๆ มี กำไร/ขาดทุน ก็จะไปบวก/ลบ ในส่วนของผู้
ถือหุ้น (ถ้ากำไร ก็เอาไปบวก ถ้าขาดทุน ก็เอาไปลบออก) ส่วนของผู้ถือหุ้น ก็จะมาก
ขึ้น น้อยลง ไปตามกำไร/ขาดทุนที่บริษัททำไว้ สะสมกันไปเรื่อยๆ ในแต่ละปี
เช่นงบดุลเดิมเป็น (หน่วย : ล้านบาท)
100 = 75 + 25
ทำๆ ไป ขาดทุนเรื่อยๆ จนเป็นขาดทุนสะสม 70 ล้านบาท
งบดุลเลยกลายเป็น
30 = (75-70) + 25
โดยมีส่วนขาดทุนสะสม ฝังอยู่ในส่วนของทุนอยู่อีก 70 ล้านบาท
เมื่อบริษัทเริ่มทำกำไร จะจ่ายปันผลก็ไม่ได้ (บ. ส่วนใหญ่ จะไม่จ่ายปันผล หากยังมี
ผลการดำเนินงานเป็นขาดทุนสะสมอยู่) เพราะต้องมาล้างขาดทุนสะสมนี้ก่อน
จนหมด 70 ล้านบาท แล้วค่อยจ่ายปันผลได้ (รอกันอาน)
จะเพิ่มทุน ขายหุ้นใหม่ ก็คงไม่มีใครเอา เพราะว่าเงินที่เอาไปลงทุนใหม่ เท่ากับไป
ช่วยทำให้สถานะของบริษัทดีขึ้น สามารถเริ่มทำกำไรได้ แต่ก็ต้องเอากำไรนี้ไปล้าง
ขาดทุนสะสมให้กับผู้ถือหุ้นเก่าๆ ทำเอาไว้อีก ใครจะมายอมลงทุน
ถ้าลดทุน เหลือแค่ 5 ล้านบาท ทีนี้ดุลใหม่จะเป็น
30 = 5 + 25
ทีนี้จะเพิ่มทุนก็ทำได้ เพราะพอบริษัทเริ่มทำกำไร ก็จะจ่ายปันผลให้กับผู้ถือหุ้นใหม่ได้
เนื่องจากขาดทุนสะสมมันหายไปแล้ว (70 ล้านบาทนั่น) แต่ผู้ถือหุ้นเดิม ก็อ่วมหน่อย
คนอื่นเขาสะสมอย่างอื่น เราขอสะสมความดี, ความรู้, ประสบการณ์, เงินทอง, กับหุ้นก็แล้วกัน
http://www.muegao.blogspot.com หุ้น การเงิน การลงทุน ธุรกิจ
http://www.muegao.blogspot.com หุ้น การเงิน การลงทุน ธุรกิจ
- snizzer
- Verified User
- โพสต์: 29
- ผู้ติดตาม: 0
บทสรุปของ TPI??
โพสต์ที่ 4
ผมเพิ่งเริ่มศึกษาการลงทุนเมื่อไม่นานมานี้เองน่ะครับ ขอรบกวนถามหน่อยนะครับ
คือผมไม่เข้าจะทำไมต้องเอา ขาดทุนสะสม ไปลบออกจาก ส่วนของผู้ถือหุ้น น่ะครับ
คือผมไม่เข้าจะทำไมต้องเอา ขาดทุนสะสม ไปลบออกจาก ส่วนของผู้ถือหุ้น น่ะครับ
ฉันเยาว์ ฉันเขลา ฉันทึ่ง
ฉันจึง มาหา ความหมาย
ฉันหวังเก็บ อะไร ไปมากมาย
แต่สุดท้าย....... ให้กระดาษฉันใบเดียว
ฉันจึง มาหา ความหมาย
ฉันหวังเก็บ อะไร ไปมากมาย
แต่สุดท้าย....... ให้กระดาษฉันใบเดียว
-
- Verified User
- โพสต์: 232
- ผู้ติดตาม: 0
บทสรุปของ TPI??
โพสต์ที่ 5
ทำไมต้องเอา ขาดทุนสะสม ไปลบออกจาก ส่วนของผู้ถือหุ้น น่ะครับ
ถามง่ายแต่ตอบยากจัง
ตามที่ผมเคยเห็นมานะครับ การเอาขาดทุนสะสมไปลบออกจากส่วนของผู้ถือหุ้นเพื่อให้ขาดทุนสะสมหมดไป จะเห็นทำเพื่อวัตถุประสงค์ 2 อย่าง
1. กรณีบริษัทที่ไม่มีหนี้หรืิอมีอยู่ไม่มากนัีก ไม่เกินกำลังชำระหนี้ของบริษัท ก็จะทำเพื่อล้างการขาดทุนสะสมให้หมดสิ้นไป เพื่อจะได้จ่ายปันผลได้ บริษัทเช่นนี้มักมีกำไร แต่หากรอให้กำไรแต่ละปีค่อยๆล้างขาดทุนสะสมไปทีละน้อย อาจจะนานอีกหลายปีกว่าจะปันผลได้ ผู้ถือหุ้นก็รอเหงือกแห้ง ก็เลยใช้วิธีนี้ เพราะบริษัทส่วนใหญ่จะไม่จ่ายปันผลหากยังมีขาดทุนสะสมอยู่ (ไม่ทราบเป็นกฏหรือแค่ธรรมเนียมปฏิัติเฉยๆ รอผู้รู้มาตอบนะครับ)
2. กรณีที่บริษัทมีหนี้อยู่มาก (เช่นกรณีของ TPI) การดำเนินธุรกิจปกติของบริษัทไม่เพียงพอแก่การชำระหนี้ จำต้องขยายกิจการเพื่อให้มีรายได้มากขึ้น หรือแปลงหนี้เป็นทุนเพื่อชำระหนี้ ทั้งสองกรณีนี้จะเป็นต้องมีการเพิ่มทุนเพื่อให้มีเงินหมุนเวียนเข้ามาใช้จ่ายได้ และมักเป็นการเพิ่มทุนโดยหาคนนอกที่ไม่ได้เป็นผู้ถือหุ้นเดิมเข้ามาลงทุนเพิ่ม (อาจเพราะผู้ถือหุ้นเดิมไม่มีเงินพอจะเพิ่มทุนเองแล้ว หรือไม่อยากลงเงินเพิ่มเองก็ตาม) คนนอกที่เข้ามาย่อมไม่อยากเอาเงินเข้ามาเพื่อล้างการขาดทุนของผู้ถือหุ้นเดิมที่ทำไว้ เพราะตัวเองไม่ได้มีส่วนด้วยในช่วงที่ผู้ถือหุ้นเดิมทำขาดทุนไว้ จึงต้องเอาขาดทุนสะสมลบออกจากส่วนของผู้ถือหุ้นเดิม ให้ส่วนของผู้ถือหุ้นเดิมน้อยลง เสมือนว่าผู้ถือหุ้นเดิมลงทุนไปเพียงเล็กน้อยเท่านั้น (เช่นในตัวอย่างของคุณมือเก่าหัดขับ แทนที่จะถือว่าผู้ถือหุ้นเดิมลงทุนไป 75 ล้านบาทแล้ว ก็จะถือว่าผู้ถือหุ้นเดิมลงทุนไปเพียง 5 ล้านบาทเท่านั้น) เงินลงทุนใหม่ที่เข้ามาก็จะมีสัดส่วนเปอร์เซนต์การถือหุ้นมากขึ้นกว่าการที่ไม่ได้ล้างขาดทุนสะสม
ตัวอย่างเช่น ผู้ลงทุนใหม่ให้เงินเข้ามาอีก 75 ล้านบาท
สัดส่วนการถือหุ้นหากไม่ได้ล้างขาดทุนสะสม จะเป็นเพียงแค่ 50% เท่านั้น (75/150)
สัดส่วนการถือหุ้นหลังล้างขาดทุนสะสมก่อนเพิ่มทุน จะเพิ่มเป็น 93.75% (75/80)
จากประการนี้ จึงจูงใจให้ผู้ร่วมทุนเข้ามาลงทุนมากขึ้นหากล้างขาดทุนสะสมก่อนเพิ่มทุนครับ
ผิดถูกประการใด รบกวนนักบัญชีช่วยชี้แนะด้วยครับ
"Much success can be attributed to inactivity. Most investors cannot resist the temptation to constantly buy and sell."
- snizzer
- Verified User
- โพสต์: 29
- ผู้ติดตาม: 0
บทสรุปของ TPI??
โพสต์ที่ 6
โห....ไม่นึกว่าข้อสงสัยผมมันจะยากขนาดนี้.... ขอบคุณ คุณ Knott มากเลยครับที่ช่วยให้ผมได้ความรู้เพิ่มมากขึ้น
ขอบคุณครับ
ขอบคุณครับ
ฉันเยาว์ ฉันเขลา ฉันทึ่ง
ฉันจึง มาหา ความหมาย
ฉันหวังเก็บ อะไร ไปมากมาย
แต่สุดท้าย....... ให้กระดาษฉันใบเดียว
ฉันจึง มาหา ความหมาย
ฉันหวังเก็บ อะไร ไปมากมาย
แต่สุดท้าย....... ให้กระดาษฉันใบเดียว
- มือเก่าหัดขับ
- Verified User
- โพสต์: 1112
- ผู้ติดตาม: 0
บทสรุปของ TPI??
โพสต์ที่ 7
ถูกต้องครับ
การล้างขาดทุนสะสมโดยการลดทุน ก็เพื่อที่ว่า "เม็ดเงินใหม่" จากนักลงทุน "ใหม่ๆ"
ที่เข้าไปลงทุนในบริษัทนั้น จะได้ "ทำงาน" เต็มที่ ไม่ใช่ว่า "ไปใช้หนี้แทน" นักลงทุน
หรือเจ้าของ "เก่าๆ" ที่ทำ "เจ๊งๆ" เอาไว้ครับ
แหะๆ (ตรงไปไหมเนี่ย)
การล้างขาดทุนสะสมโดยการลดทุน ก็เพื่อที่ว่า "เม็ดเงินใหม่" จากนักลงทุน "ใหม่ๆ"
ที่เข้าไปลงทุนในบริษัทนั้น จะได้ "ทำงาน" เต็มที่ ไม่ใช่ว่า "ไปใช้หนี้แทน" นักลงทุน
หรือเจ้าของ "เก่าๆ" ที่ทำ "เจ๊งๆ" เอาไว้ครับ
แหะๆ (ตรงไปไหมเนี่ย)
คนอื่นเขาสะสมอย่างอื่น เราขอสะสมความดี, ความรู้, ประสบการณ์, เงินทอง, กับหุ้นก็แล้วกัน
http://www.muegao.blogspot.com หุ้น การเงิน การลงทุน ธุรกิจ
http://www.muegao.blogspot.com หุ้น การเงิน การลงทุน ธุรกิจ
-
- Verified User
- โพสต์: 18134
- ผู้ติดตาม: 0
บทสรุปของ TPI??
โพสต์ที่ 8
ขอเสริมพี่มือเก่าหัดขับนิดหน่อย
ที่บอกว่า
จากงบดุล
สินทรัพย์ = ส่วนของผู้ถือหุ้น (ทุน) + หนี้สิน (ในการดำเนินงาน)
นั้นในกรณีของTPI นั้นเอาราคาPAR (ทุนที่ตราไว้หน้าหุ้น) มาล้างหนี้สะสมก่อน
(เหมือนกรณีKTB ที่คุณวิโรจน์ นวลแขทำไว้)
จากนั้นก็คุยขายหุ้นเพิ่ม คืออัดฉีดเม็ดเงินเข้าในระบบใหม่ (อัดฉีดลงไปในไหนหรือ ก็อัดฉีดเข้าที่ตัวทุน ทำให้ทรัพย์สินหมุนเวียนมากขึ้น)
ทำให้ผู้ถือหุ้นที่อัดฉีดลงไป จะได้ใช้ประโยชน์กับเงินที่อัดฉีดไปเต็มเม็ดเต็มหน่วย
ใครที่ไหนจะยอมซื้อหุ้นของบริษัทที่มีหนี้มหาศาลแบบTPIโดนที่ไม่ยอมล้างหนี้บ้างล่ะ เจ้าหนี้เองก็อยากจะได้เงินที่ปล่อยกู้คืนด้วย เลยผลต้องออกมาแบบนี้ เป็นทางออกที่ดีที่สุดแล้ว
สุดท้าย จากบริษัทที่มีหนี้มากจ่ายปันผลไม่ได้ เมื่อล้างพวกหนี้ออกหมด และขาดทุนสะสมที่เป็นตัวแดงทางบัญชีออกหมด มันก็จ่ายเงินปันผลได้
แต่โดยทั่วไปจะไม่ยอมทำกันหรอก ถ้ามันไม่สุดวิสัยจริงๆๆๆ
ปล ขอบคุณพี่มือเก่าหัดขับที่ให้ความรู้
ที่บอกว่า
จากงบดุล
สินทรัพย์ = ส่วนของผู้ถือหุ้น (ทุน) + หนี้สิน (ในการดำเนินงาน)
นั้นในกรณีของTPI นั้นเอาราคาPAR (ทุนที่ตราไว้หน้าหุ้น) มาล้างหนี้สะสมก่อน
(เหมือนกรณีKTB ที่คุณวิโรจน์ นวลแขทำไว้)
จากนั้นก็คุยขายหุ้นเพิ่ม คืออัดฉีดเม็ดเงินเข้าในระบบใหม่ (อัดฉีดลงไปในไหนหรือ ก็อัดฉีดเข้าที่ตัวทุน ทำให้ทรัพย์สินหมุนเวียนมากขึ้น)
ทำให้ผู้ถือหุ้นที่อัดฉีดลงไป จะได้ใช้ประโยชน์กับเงินที่อัดฉีดไปเต็มเม็ดเต็มหน่วย
ใครที่ไหนจะยอมซื้อหุ้นของบริษัทที่มีหนี้มหาศาลแบบTPIโดนที่ไม่ยอมล้างหนี้บ้างล่ะ เจ้าหนี้เองก็อยากจะได้เงินที่ปล่อยกู้คืนด้วย เลยผลต้องออกมาแบบนี้ เป็นทางออกที่ดีที่สุดแล้ว
สุดท้าย จากบริษัทที่มีหนี้มากจ่ายปันผลไม่ได้ เมื่อล้างพวกหนี้ออกหมด และขาดทุนสะสมที่เป็นตัวแดงทางบัญชีออกหมด มันก็จ่ายเงินปันผลได้
แต่โดยทั่วไปจะไม่ยอมทำกันหรอก ถ้ามันไม่สุดวิสัยจริงๆๆๆ
ปล ขอบคุณพี่มือเก่าหัดขับที่ให้ความรู้