สุกี้ฮอทพอท (HOTPOT) เตรียมเข้าตลาดหุ้นตุลาคมนี่้
-
- Verified User
- โพสต์: 803
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สุกี้ฮอทพอท (HOTPOT) เตรียมเข้าตลาดหุ้นตุลาคมนี่้
โพสต์ที่ 33
ผมว่า เทียบกับ MK แล้วยังอีกไกลครับ
เสีย รังวัดไปเยอะ ตอนทำ plam เลียนแบบ MK แล้ว
ไม่ตอบโจทย์ของตัวเอง ส่วนตัวมองว่าไม่ต่างจาก ไดโดมอน
เสีย รังวัดไปเยอะ ตอนทำ plam เลียนแบบ MK แล้ว
ไม่ตอบโจทย์ของตัวเอง ส่วนตัวมองว่าไม่ต่างจาก ไดโดมอน
-
- Verified User
- โพสต์: 32
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สุกี้ฮอทพอท (HOTPOT) เตรียมเข้าตลาดหุ้นตุลาคมนี่้
โพสต์ที่ 35
เอ ดูไปดูมา คนเอาไปเทียบกับ MK ซะงั้นล่ะครับ ถึงมันจะหม้อร้อนๆ เหมือนกัน แต่ยังไงมันก็ buffet นะครับ คนกิน บุฟเฟต์กับเสียตังค์กินเป็นชิ้น นี่คนละเรื่องเลยน่ะครับ ผมว่าถ้าจะเปรียบเทียบก็ควรจะเทียบที่มัน buffet เหมือนกันนะครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 35
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สุกี้ฮอทพอท (HOTPOT) เตรียมเข้าตลาดหุ้นตุลาคมนี่้
โพสต์ที่ 36
เทียบระหว่าง HOT POT กับ MK แล้ว
ผมคิดว่า คงเทียบกันไม่ได้ เพราะมันจุดมุ่งหมายของการกินที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง
HOT POT กินเอาคุ้ม นั่งให้นาน กินเพลินๆ ร้านอ่านหนังสือ สถานที่นัดพบ "เพื่อนทุกสถานะกระเป๋าตังค์"
ส่วน MK เป็นการให้รางวัลของการทำงานเหนื่อยตลอดทั้ง สัปดาห์/เดือน การมีอาหารมื้อเยี่ยมๆ และพิถีพิถันสักมื้อให้ตัวเอง
ปล. ส่วนตัวผม 3 ปี มานี้ ผมเข้า HOT POT มากกว่า MK หลายเท่าตัว และถ้าเอาแบรนด์อื่นมาเปรียบเทียบร่วมด้วย เพื่อให้การจัดลำดับความนิยมส่วนตัวมีมุมมองที่ดีขึ้น ผมคงเรียงลำดับความนิยม โดยดึงเอา ซิสเลอร์ มาร่วมด้วยดังนี้
HOT POT > ซิสเลอร์ > MK
ผมคิดว่า คงเทียบกันไม่ได้ เพราะมันจุดมุ่งหมายของการกินที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง
HOT POT กินเอาคุ้ม นั่งให้นาน กินเพลินๆ ร้านอ่านหนังสือ สถานที่นัดพบ "เพื่อนทุกสถานะกระเป๋าตังค์"
ส่วน MK เป็นการให้รางวัลของการทำงานเหนื่อยตลอดทั้ง สัปดาห์/เดือน การมีอาหารมื้อเยี่ยมๆ และพิถีพิถันสักมื้อให้ตัวเอง
ปล. ส่วนตัวผม 3 ปี มานี้ ผมเข้า HOT POT มากกว่า MK หลายเท่าตัว และถ้าเอาแบรนด์อื่นมาเปรียบเทียบร่วมด้วย เพื่อให้การจัดลำดับความนิยมส่วนตัวมีมุมมองที่ดีขึ้น ผมคงเรียงลำดับความนิยม โดยดึงเอา ซิสเลอร์ มาร่วมด้วยดังนี้
HOT POT > ซิสเลอร์ > MK
งานที่ทำแบบลวกๆ
เป็นหลักฐานที่ดี
ที่จะบอกว่า
คนที่ทำเป็นคนแบบไหน
เป็นหลักฐานที่ดี
ที่จะบอกว่า
คนที่ทำเป็นคนแบบไหน
-
- Verified User
- โพสต์: 803
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สุกี้ฮอทพอท (HOTPOT) เตรียมเข้าตลาดหุ้นตุลาคมนี่้
โพสต์ที่ 37
ต้องขอโทษด้วยที่ไม่ได้บอกว่า
ผมเทียบ Operation ของเค้าที่เรียนแบบ MK
ทั้งที่ตัวเองยังไม่มีความจำเป็นต้องใช้ plam แบบ MK ในตอนนั้น
เนื่องจาก MK ต้องการเพิ่มจำนวนรอบต่อโต๊ะ เพราะมีคนมารอคิวกิน ทำให้ mk คืนทุนที่ลงใน plam เพียงไม่กี่ปี
แต่ HOT POT ไม่ได้เป็นลักษณะแบบนั้น เลยเป็นการลงทุนที่ไม่ค่อยคุ้มนัก
หากดู กลุ่มลูกค้า target group ก็คงเป็นแบบทุกคนบอก
คือ พวกที่กะมานั่งกิน แบบเอาคุ้ม ดังนั้น turn over เค้าคงไม่สูง เลยต้องตั้งราคาที่คิดเผื่อเอาไว้ด้วย
ส่วนตัวผมชอบลูกชิ้นกุ้งเค้ามาก เพียงแต่เค้าเสียเวลาหาตัวตนนาน
เรียกว่าใครทำอะไรดีก็ copy มาหมด แต่ใครที่อยากกินอะไรที่หลากหลายก็คงเลือก HOT POT
ผมเทียบ Operation ของเค้าที่เรียนแบบ MK
ทั้งที่ตัวเองยังไม่มีความจำเป็นต้องใช้ plam แบบ MK ในตอนนั้น
เนื่องจาก MK ต้องการเพิ่มจำนวนรอบต่อโต๊ะ เพราะมีคนมารอคิวกิน ทำให้ mk คืนทุนที่ลงใน plam เพียงไม่กี่ปี
แต่ HOT POT ไม่ได้เป็นลักษณะแบบนั้น เลยเป็นการลงทุนที่ไม่ค่อยคุ้มนัก
หากดู กลุ่มลูกค้า target group ก็คงเป็นแบบทุกคนบอก
คือ พวกที่กะมานั่งกิน แบบเอาคุ้ม ดังนั้น turn over เค้าคงไม่สูง เลยต้องตั้งราคาที่คิดเผื่อเอาไว้ด้วย
ส่วนตัวผมชอบลูกชิ้นกุ้งเค้ามาก เพียงแต่เค้าเสียเวลาหาตัวตนนาน
เรียกว่าใครทำอะไรดีก็ copy มาหมด แต่ใครที่อยากกินอะไรที่หลากหลายก็คงเลือก HOT POT
- densin
- Verified User
- โพสต์: 1073
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สุกี้ฮอทพอท (HOTPOT) เตรียมเข้าตลาดหุ้นตุลาคมนี่้
โพสต์ที่ 38
ผมว่าเราได้แง่มุมที่หลายหลายจริงๆ บางท่านคงมองpositionของสินค้าออกแล้ว
บางท่านที่เดิมยังติดกินหรูๆอาจจะยังไม่ออก แต่คงพอจะเห็นภาพคร่าวๆว่ามันมีตลาดของมัน
( เหมือนบ้านหรูLH กับบ้านราคาถูกของPS กว่าคนจะเห็นก็ใช้เวลา )
นอกจากposition เราต้องมองว่าแล้วอนาคตจะเป็นอย่างไร
แนวโน้มคนจะชอบแบบHotpotจริงหรือ
ทางเลือกหลายหลายกินคุ้มๆ มันก็ขัดแย้งกับTrendรักษาสุขภาพ
เศรฐกิจที่เริ่มดีกลับมา คนจะมีกำลังซื้อเพิ่มอาจจะชอบกินอร่อยๆ เพราะมีปัญญาจ่ายก็ได้
Hotpotอนาคตจะอยู่ตรงไหนของตลาด??
อันนี้มุมมองแต่ละคนว่ายังไงครับ
ปล.ตอนHotPotเข้าตลาด เราจะได้กระทู้นี้แหละเป็นข้อมูลดิบแบบข้อเท็จจริง
เพราะตอนนี้คงยังไม่มีใครถือหุ้นHotpotใช่ปะ
บางท่านที่เดิมยังติดกินหรูๆอาจจะยังไม่ออก แต่คงพอจะเห็นภาพคร่าวๆว่ามันมีตลาดของมัน
( เหมือนบ้านหรูLH กับบ้านราคาถูกของPS กว่าคนจะเห็นก็ใช้เวลา )
นอกจากposition เราต้องมองว่าแล้วอนาคตจะเป็นอย่างไร
แนวโน้มคนจะชอบแบบHotpotจริงหรือ
ทางเลือกหลายหลายกินคุ้มๆ มันก็ขัดแย้งกับTrendรักษาสุขภาพ
เศรฐกิจที่เริ่มดีกลับมา คนจะมีกำลังซื้อเพิ่มอาจจะชอบกินอร่อยๆ เพราะมีปัญญาจ่ายก็ได้
Hotpotอนาคตจะอยู่ตรงไหนของตลาด??
อันนี้มุมมองแต่ละคนว่ายังไงครับ
ปล.ตอนHotPotเข้าตลาด เราจะได้กระทู้นี้แหละเป็นข้อมูลดิบแบบข้อเท็จจริง
เพราะตอนนี้คงยังไม่มีใครถือหุ้นHotpotใช่ปะ
VI สายมืด = VI หน้ามืดซื้อตัวฮอทๆอย่าไม่ลืมหูลืมตา
- chansaiw
- Verified User
- โพสต์: 703
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สุกี้ฮอทพอท (HOTPOT) เตรียมเข้าตลาดหุ้นตุลาคมนี่้
โพสต์ที่ 39
ถ้าเทียบระหว่งอาหารเยนซักมื้อ กินสนุก ไม่แพง หลากหลาย รสชาติถูกใจ ผมเลือก hotpot วันพุธ ไปสามคน (ลูก3 ขวบ 1คน) จ่าย 434
mk ไม่ตอบสนองผมตรงที่มันแพงขึ้นเรื่อยๆ กินกันทั้งครอบครัว สามคน เลือกอาหารเพลนๆถูกๆเน้นประหยัดและอิ่ม ผมต้องจ่ายไม่ต่ำกว่า
400
shabushi แพงขึ้นมาหน่อย แต่ยังชอบมากกว่า mk
อันนี้เป็น spec ผมนะ(ไม่ได้ให้ นน การต้อง service ตัวเองครับ คิดว่าใครไม่ชอบเดิน ,hotpot น่าจะไม่ถูกใจ)
mk ไม่ตอบสนองผมตรงที่มันแพงขึ้นเรื่อยๆ กินกันทั้งครอบครัว สามคน เลือกอาหารเพลนๆถูกๆเน้นประหยัดและอิ่ม ผมต้องจ่ายไม่ต่ำกว่า
400
shabushi แพงขึ้นมาหน่อย แต่ยังชอบมากกว่า mk
อันนี้เป็น spec ผมนะ(ไม่ได้ให้ นน การต้อง service ตัวเองครับ คิดว่าใครไม่ชอบเดิน ,hotpot น่าจะไม่ถูกใจ)
"Failure is the only way to start again intelligently"
-
- Verified User
- โพสต์: 803
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สุกี้ฮอทพอท (HOTPOT) เตรียมเข้าตลาดหุ้นตุลาคมนี่้
โพสต์ที่ 40
ถ้าดูจากการเติบโตของ Hot Pot ถือว่าดีเลยครับ
เพียงแต่ HOT POT ไม่ได้แสดงความโดดเด่น เช่นเดียวกับ MK (หลายคนไม่ให้เอาไปเทียบ), Oihi buffet, sizzler
ซึ่งเป็นหน้าที่ ที่ดีของผู้ถือหุ้นครับ
คนไทยมีนิสัยเห่อของ ในช่วงที่เข้าตลาดใหม่ๆ
คงจะมีกระแส มากกว่าเดิม
ที่ผมพยายามเทียบ MK เพราะ MK เค้ามอง Positioning ตัวเองออก
ผมเคยทำ FIVE FORCE MODEL และ SPELT ของ MK ไว้ แบบคร่าวๆๆ
ถ้าเอา HOT POT มาเทียบดูแล้วน่าจะทำให้มุมมองมากขึ้น
ผิดถูกขอ อภัย พอดีผมเคยไปสัมภาษณ์ MK ตอนเรียนวิชา Operation Management
FIVE FORCE
ความยากง่ายของผู้ที่จะเข้ามาเป็นคู่แข่งรายใหม่
ธุรกิจขายอาหาร คู่แข่งรายใหม่สามารถเข้ามาได้ง่าย เนื่องจากอาหารมีให้เลือกขายได้หลายชนิด แต่ส่วนใหญ่ก็จะหลีกเลี่ยงการขายอาหารที่มีลักษณะเดียวกันในที่เดียวกัน เช่น ชาบูชิ กับ MK หรือใกล้เคียงกัน เช่น hot potแต่หากพิจารณาแล้ว MK มีการตั้งสาขาตาม modern trade เช่น Lotus, BigC และ Cafaur เป็นต้น ซึ่งกระจายไปทั่วประเทศเพื่อตอบสนองความต้องการได้ทั่วถึง ทำให้การเข้ามาแข่งขัน ใน scale เดียวกับ MK จึงเป็นไปได้ยาก อีกการต้นทุนในการขยายสาขาก็ไม่สูงมาก เนื่องจาก MK มีทีมงานที่มีความถนัดและมีการ training พนักงานที่ดี ดังนั้นเท่่าที่ทำได้จึงแข่งขันกันในบางพื้นที่ ที่มีคนจำนวนมากเท่านั้น แต่ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการเข้ามาแข่งขันปัจจัยหนึ่ง คือ พฤติกรรมผู้บริโภค โดย MK มีภาพลักษณะของร้านขายสุกี้ ที่มีบรรยากาศครอบครัว เสมือนกินสุกี่ที่ทำเองภายในบ้าน แต่ไมจำเป็นต้องล้างและเตรียมวัตถุดิบเอง (MK มีวัตถุดิบให้เลือกมากกว่า 180 ชนิด) MK ทำให้หมดทุกอย่าง นอกจากนั้น สุกี้เองก็เป็นอาหารที่เป็นที่นิยมของคนไทยทุกอายุ ทุกวัย แต่อาหารบางชนิด เช่น อาหารญี่ปุ่น ก็มีคนจำนวนหนึ่งที่ไม่ชอบรับประทาน นอกจากนั้นเอง MK ยังมีการพัฒนาตัวธุรกิจเอง เช่น delivery เพื่อตอบสนองดีมานของผู้บริโภค และการทำ kaisen (การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง) เช่นการใช้ถ้วยน้ำมะนาว แทนการใช้มะนาวฝานทีเก็บไม่ได้นาน การใช้ PDA ในการสั่งอาหาร เพื่อความรวดเร็วในการสั่งอาหารและเก็บเงิน ทำให้ turn over ต่อโต๊ะของร้านสูงขึ้น การใช้ถาดใส่อาหารที่เป็นสี่เหลี่ยม และสามารถวางเป็นคอนโดได้ เพื่อประหยัดพื้นที่บนโต๊ะ ที่เหลือมีในไฟล์แนบ ดังนั้น ถึงแม้คู่แข่งรายใหม่เข้ามาได้ง่าย แต่ด้วยจำนวนสาขา และเข้ากับพฤติกรรมผู้บริโภค MK จึงมีความได้เปรียบอยู่
สินค้าทดแทน (Substitute Product)
เรื่องสินค้าทดแทนนั้นเป็นปัญหาสำคัญของ MK เนื่องจากหากไม่มีร้านสุกี้ ผู้บริโภคก็สามารถรับประทานอย่างอื่นได้ หรือสามารถทำรับประทานได้เอง ถึงแม้จะไม่มีวัตถุดิบหลากหลายเท่า MK แถมค่าใช้จ่ายยังถูกกว่ารับประทานที่ MK
อำนาจต่อรองของผู้ซื้อ (Power of Buyer)
เนื่องจากลักษณะธุรกิจของ MK เป็นธุรกิจขายอาหาร ดังนั้น ผู้ซื้อ หรือผู้บริโภคจึงมีความสำคัญ การปรับขึ้นราคาของอาหารจึงมีส่วนในการตัดสินใจของผู้บริโภค แต่หากปรับขึ้นจริง MK จะต้องแสดง value ให้แก่ลูกค้ารับรู้และคุ้มค่าในการจ่าย โดยที่โต๊ะจะมีกระดาษ และในโฆษณา ของ MK เองก็พยายามสื่อออกมาให้ทราบตลอด ว่าวัตถุดิบที่ MK ให้แก่ผู้บริโภคนั้นมีคุณภาพ โดยคนส่วนใหญ่อาจไม่ทราบว่า จริงๆ แล้ว MK มีศูนย์กระจายสินค้า และตรวจสอบสินค้า (Distribution Center, DC) เพียง 2 แห่งในประเทศ ตั้งอยู่ที่ กรุ่งเทพทั้ง 2 แห่ง ทำให้คุณภาพอาหารของ MK ทั่วประเทศไทยมีมาตรฐานเดียวกัน ไม่ว่ารับประทานที่ใดก็จะมีคุณภาพ และรสชาติเดียวกัน
อำนาจการต่อรองของผู้ขาย (Power of Supplier)
เนื่องจากวัตถุดิบของ MK เป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้น MK จึงเข้มงวดกับ Supplier ของวัตถุดิบแต่ละอย่างละเอียด โดย Supplier ที่ทุกรายจะต้องได้รับการตรวจสอบขบวนการผลิตจากเจ้าหน้าที่ของ MK เป็นประจำ นอกจากนั้น MK ยังพิจารณาถึงความสม่ำเสมอในการผลิตด้วย โดยผู้ที่เป็น Supplier จะต้องมีประวัติการผลิตและสามารถที่จะ supply วัตถุดิบได้อย่างสม่ำเสมอ โดย MK นอกจากนั้นเมื่อมีการนำวัตถุมาส่งนั้นจะถูกสุ่มตรวจสอบ ทุกครั้ง เพื่อให้สินค้าทุก lot มีคุณภาพ สรุปได้ว่า MK มีอำนาจต่อรองกับ supplier มาก โดย MK เองก็คาดว่าหวังจะซื้อวัตถุดิบในระยะยาวเช่นกัน และยังมีการยืดหยุ่นในการปรับราคาให้กับ Supplier เนื่องจากราคาต้นทุนที่สูงขึ้น
คู่แข่งในอุตสาหกรรม (Competitor)
มีการแข่งขันในอุตสาหกรรมที่สูง เนื่องจาก ทุกรายก็มีกลยุทธิ์ในการตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่แตกต่างกันไป ดังนั้นต้องหากลยุทธ์ที่มีความได้เปรียบอย่างยั่งยืน ที่ผ่านมา MK จะประหยัดพื้นที่ในการ stock สินค้า ด้วยการเพิ่มจำนวนรอบในการส่งวัตถุดิบ เป็นวันละ 2 รอบ รอบเช้า เพื่อขายถึงบ่าย และรอบบ่ายขายในช่วงเย็น โดยปริมาณสินค้าที่ส่งแต่ละสาขานั้น ไม่ผันผวนมากนักเนื่องจาก MK สามารถ predict demand ได้ค่อยข้างแม่นยำ เนื่องจากยอดขายค่อนข้างสม่ำเสมอ นอกจากจะมีเทศกาลพิเศษ จึงจะมีการสั่งสินค้าเพิ่ม การสั่งสินค้านั้นผู้จัดการร้านจะเป็นผู้ส่งข้อมูลไปยัง Distribution Center (DC) โดย DC จะทำการตรวจสอบข้อมูลอีกครั้งเพื่อความถูกต้อง MK เองนอกจากทำธุรกิจสุกี้แล้ว ยังกระจายทำ ยาโยอิ ซึ่งเป็นอาหารญี่ปุ่นด้วย เพื่อตอบสนองผู้บริโภค ที่ไม่ต้องการบริโภคสุกี้ ซึ่งในปัจจุบันมีการขยาย ยาโยอิควบคู่กับ MK สุกี้ไปด้วย นอกจากนั้นจะได้ประโยชน์จากการสั่งสินค้าปริมาณมาก เรียกได้ว่าเป็นความประหยัดต่อขนาด Economic of scale
MK เองมีโครงการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา ด้วยการให้พนักงานที่เสนอ idea ที่ทำให้ บ. ลด cost หรือ เพิ่อยอดขายได้ ซึ่งไม่ได้เป็นหน้าที่ของผู้บริหารเพียงอย่างเดียว ด้วยการแบ่ง ส่วนแบ่งเปอร์เซ็นต์ที่สามารถลดได้ตลอดทั้งปี ให้พนักงาน เพื่อเป็นแรงจูงใจในการคิด ตัวอย่างโครงการ คือ การใช้มะนาวขวดแทนมะนาวฝาน การพัฒนาในองค์กร ทำให้สามารถแข่งขันในอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืนได้
SPELT
Social : ปัจจัยด้านสังคม ประชากร และสิ่งแวดล้อม
เนื่องจาก สภาพแวดล้อมของประเทศไทยเป็นลักษณะภูมิประเทศร้อนชื้น ดังนั้น วัตถุของ MK จึงเป็นวัตถุที่สามารถหาได้ง่าย และ สามารถผลิตหรือปลูกได้ตลอดทั้งปี ตลอดจนเป็นวัตถุที่ไม่ได้มีความแตกต่างกันมาก MK จึงสามารถเลือกวัตถุจาก Supplier หลายรายได้ เพื่อกระจายความเสี่ยงในกรณีใช้ Supplier รายเดียวไม่สามารถส่งของได้ หรือไม่เพียงพอต่อความต้องการ ส่วนอาหารนั้น สุกี้เอง คนไทยส่วนใหญ่สามารถรับประทานได้ นอกจากนั้น ด้วยภาพลักษณะที่ MK พยายามแสดงให้คนทั่วไปรับทราบ คือ รับประทานสุกี้ที่ MK ต้องมาเป็นครอบครัว หรือกลุ่มเพื่อน ดังนั้น จึงตอบสนองความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ที่เป็นสัตว์สังคม ดังนั้น จึงนิยมรับประทานสุกี้เมื่อมากันเป็นครอบครัว หรือกลุ่มเพื่อน
Political : ปัจจัยด้านการเมือง
MK ไม่มีความเสี่ยงเรื่องปัจจัยเรื่องการเมืองนัก เนื่องจากลักษณะธุรกิจที่ขึ้นกับผู้บริโภคเป็นหลักมากกว่า ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง จึงไม่ส่งผลกระทบ แต่ด้วยการประท้วงทางการเมืองที่ผ่านมา แต่ก็มีผลเพียง MK ไม่กี่สาขาใน กทม แต่ด้วยจำนวนสาขาถึง 314 สาขา ในประเทศ และ 18 สาขาที่ญี่ปุ่น จึงไม่กระทบมาก
Economic : ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ
ลักษณะธุรกิจขายอาหาร ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจ ในเรื่องต้นทุนและจำนวนผู้บริโภค แต่ MK ขายอาหารด้วยการสั่งสินค้าแยกเป็นรายชิ้น ดังนั้นผู้บริโภคสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้เอง นอกจากนั้นเอง MK ยังมี Promotion อาหารชุดพิเศษ เช่น ชุดผัก เป็นต้น และเป็นวัตถุดิบ ที่สามารถหาได้ในประเทศ ต้นทุนค่าขนส่งจึงไม่สูง ดังนั้น จึงได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจเพียงเล็กน้อย จากส่วนที่ MK สามารถควบคุมได้
Legal : ปัจจัยด้านกฎหมายและระเบียบต่างๆ
เนื่องจากประเทศไทยไม่มีกฏหมายควบคุมราคาขาย ดังนั้น จึงปล่อยให้ธุรกิจเป็นไปตามกลไกของตลาดเอง เพียงแต่จะมีการควบคุมราคาวัตถุดิบไม่ให้สูงไป โดยปกติ MK ซื้อวัตถุดิบด้วยราคาที่สูงกว่าราคาตลาดอยู่แล้ว หากมีคุณภาพและขั้นตอนตาม requirement ที่ MK ต้องการ
Technology: ปัจจัยด้านเทคโนโลยี
ด้วยลักษณะธุรกิจขายอาหาร การพัฒนาของเทคโนโลยี ไม่มีผลกระทบต่อธุรกิจ โดย MK ได้นำประโยชน์ของ Technology มาใช้ เช่น PDA ช่วยลดระยะเวลาในการสั่งอาหารและคิดเงิน ทำให้จำนวนรอบของลูกค้าเพิ่มขึ้น การควบคุมปริมาณ วัตถุดิบในคลิงสินค้า โดยสามารถตรวจสอบจาก Distribution Center ดังนั้น จึงไม่มีสินค้าคงเหลือ
รับคำแนะนำเพิ่มเติมนะครับ
เพียงแต่ HOT POT ไม่ได้แสดงความโดดเด่น เช่นเดียวกับ MK (หลายคนไม่ให้เอาไปเทียบ), Oihi buffet, sizzler
ซึ่งเป็นหน้าที่ ที่ดีของผู้ถือหุ้นครับ
คนไทยมีนิสัยเห่อของ ในช่วงที่เข้าตลาดใหม่ๆ
คงจะมีกระแส มากกว่าเดิม
ที่ผมพยายามเทียบ MK เพราะ MK เค้ามอง Positioning ตัวเองออก
ผมเคยทำ FIVE FORCE MODEL และ SPELT ของ MK ไว้ แบบคร่าวๆๆ
ถ้าเอา HOT POT มาเทียบดูแล้วน่าจะทำให้มุมมองมากขึ้น
ผิดถูกขอ อภัย พอดีผมเคยไปสัมภาษณ์ MK ตอนเรียนวิชา Operation Management
FIVE FORCE
ความยากง่ายของผู้ที่จะเข้ามาเป็นคู่แข่งรายใหม่
ธุรกิจขายอาหาร คู่แข่งรายใหม่สามารถเข้ามาได้ง่าย เนื่องจากอาหารมีให้เลือกขายได้หลายชนิด แต่ส่วนใหญ่ก็จะหลีกเลี่ยงการขายอาหารที่มีลักษณะเดียวกันในที่เดียวกัน เช่น ชาบูชิ กับ MK หรือใกล้เคียงกัน เช่น hot potแต่หากพิจารณาแล้ว MK มีการตั้งสาขาตาม modern trade เช่น Lotus, BigC และ Cafaur เป็นต้น ซึ่งกระจายไปทั่วประเทศเพื่อตอบสนองความต้องการได้ทั่วถึง ทำให้การเข้ามาแข่งขัน ใน scale เดียวกับ MK จึงเป็นไปได้ยาก อีกการต้นทุนในการขยายสาขาก็ไม่สูงมาก เนื่องจาก MK มีทีมงานที่มีความถนัดและมีการ training พนักงานที่ดี ดังนั้นเท่่าที่ทำได้จึงแข่งขันกันในบางพื้นที่ ที่มีคนจำนวนมากเท่านั้น แต่ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการเข้ามาแข่งขันปัจจัยหนึ่ง คือ พฤติกรรมผู้บริโภค โดย MK มีภาพลักษณะของร้านขายสุกี้ ที่มีบรรยากาศครอบครัว เสมือนกินสุกี่ที่ทำเองภายในบ้าน แต่ไมจำเป็นต้องล้างและเตรียมวัตถุดิบเอง (MK มีวัตถุดิบให้เลือกมากกว่า 180 ชนิด) MK ทำให้หมดทุกอย่าง นอกจากนั้น สุกี้เองก็เป็นอาหารที่เป็นที่นิยมของคนไทยทุกอายุ ทุกวัย แต่อาหารบางชนิด เช่น อาหารญี่ปุ่น ก็มีคนจำนวนหนึ่งที่ไม่ชอบรับประทาน นอกจากนั้นเอง MK ยังมีการพัฒนาตัวธุรกิจเอง เช่น delivery เพื่อตอบสนองดีมานของผู้บริโภค และการทำ kaisen (การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง) เช่นการใช้ถ้วยน้ำมะนาว แทนการใช้มะนาวฝานทีเก็บไม่ได้นาน การใช้ PDA ในการสั่งอาหาร เพื่อความรวดเร็วในการสั่งอาหารและเก็บเงิน ทำให้ turn over ต่อโต๊ะของร้านสูงขึ้น การใช้ถาดใส่อาหารที่เป็นสี่เหลี่ยม และสามารถวางเป็นคอนโดได้ เพื่อประหยัดพื้นที่บนโต๊ะ ที่เหลือมีในไฟล์แนบ ดังนั้น ถึงแม้คู่แข่งรายใหม่เข้ามาได้ง่าย แต่ด้วยจำนวนสาขา และเข้ากับพฤติกรรมผู้บริโภค MK จึงมีความได้เปรียบอยู่
สินค้าทดแทน (Substitute Product)
เรื่องสินค้าทดแทนนั้นเป็นปัญหาสำคัญของ MK เนื่องจากหากไม่มีร้านสุกี้ ผู้บริโภคก็สามารถรับประทานอย่างอื่นได้ หรือสามารถทำรับประทานได้เอง ถึงแม้จะไม่มีวัตถุดิบหลากหลายเท่า MK แถมค่าใช้จ่ายยังถูกกว่ารับประทานที่ MK
อำนาจต่อรองของผู้ซื้อ (Power of Buyer)
เนื่องจากลักษณะธุรกิจของ MK เป็นธุรกิจขายอาหาร ดังนั้น ผู้ซื้อ หรือผู้บริโภคจึงมีความสำคัญ การปรับขึ้นราคาของอาหารจึงมีส่วนในการตัดสินใจของผู้บริโภค แต่หากปรับขึ้นจริง MK จะต้องแสดง value ให้แก่ลูกค้ารับรู้และคุ้มค่าในการจ่าย โดยที่โต๊ะจะมีกระดาษ และในโฆษณา ของ MK เองก็พยายามสื่อออกมาให้ทราบตลอด ว่าวัตถุดิบที่ MK ให้แก่ผู้บริโภคนั้นมีคุณภาพ โดยคนส่วนใหญ่อาจไม่ทราบว่า จริงๆ แล้ว MK มีศูนย์กระจายสินค้า และตรวจสอบสินค้า (Distribution Center, DC) เพียง 2 แห่งในประเทศ ตั้งอยู่ที่ กรุ่งเทพทั้ง 2 แห่ง ทำให้คุณภาพอาหารของ MK ทั่วประเทศไทยมีมาตรฐานเดียวกัน ไม่ว่ารับประทานที่ใดก็จะมีคุณภาพ และรสชาติเดียวกัน
อำนาจการต่อรองของผู้ขาย (Power of Supplier)
เนื่องจากวัตถุดิบของ MK เป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้น MK จึงเข้มงวดกับ Supplier ของวัตถุดิบแต่ละอย่างละเอียด โดย Supplier ที่ทุกรายจะต้องได้รับการตรวจสอบขบวนการผลิตจากเจ้าหน้าที่ของ MK เป็นประจำ นอกจากนั้น MK ยังพิจารณาถึงความสม่ำเสมอในการผลิตด้วย โดยผู้ที่เป็น Supplier จะต้องมีประวัติการผลิตและสามารถที่จะ supply วัตถุดิบได้อย่างสม่ำเสมอ โดย MK นอกจากนั้นเมื่อมีการนำวัตถุมาส่งนั้นจะถูกสุ่มตรวจสอบ ทุกครั้ง เพื่อให้สินค้าทุก lot มีคุณภาพ สรุปได้ว่า MK มีอำนาจต่อรองกับ supplier มาก โดย MK เองก็คาดว่าหวังจะซื้อวัตถุดิบในระยะยาวเช่นกัน และยังมีการยืดหยุ่นในการปรับราคาให้กับ Supplier เนื่องจากราคาต้นทุนที่สูงขึ้น
คู่แข่งในอุตสาหกรรม (Competitor)
มีการแข่งขันในอุตสาหกรรมที่สูง เนื่องจาก ทุกรายก็มีกลยุทธิ์ในการตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่แตกต่างกันไป ดังนั้นต้องหากลยุทธ์ที่มีความได้เปรียบอย่างยั่งยืน ที่ผ่านมา MK จะประหยัดพื้นที่ในการ stock สินค้า ด้วยการเพิ่มจำนวนรอบในการส่งวัตถุดิบ เป็นวันละ 2 รอบ รอบเช้า เพื่อขายถึงบ่าย และรอบบ่ายขายในช่วงเย็น โดยปริมาณสินค้าที่ส่งแต่ละสาขานั้น ไม่ผันผวนมากนักเนื่องจาก MK สามารถ predict demand ได้ค่อยข้างแม่นยำ เนื่องจากยอดขายค่อนข้างสม่ำเสมอ นอกจากจะมีเทศกาลพิเศษ จึงจะมีการสั่งสินค้าเพิ่ม การสั่งสินค้านั้นผู้จัดการร้านจะเป็นผู้ส่งข้อมูลไปยัง Distribution Center (DC) โดย DC จะทำการตรวจสอบข้อมูลอีกครั้งเพื่อความถูกต้อง MK เองนอกจากทำธุรกิจสุกี้แล้ว ยังกระจายทำ ยาโยอิ ซึ่งเป็นอาหารญี่ปุ่นด้วย เพื่อตอบสนองผู้บริโภค ที่ไม่ต้องการบริโภคสุกี้ ซึ่งในปัจจุบันมีการขยาย ยาโยอิควบคู่กับ MK สุกี้ไปด้วย นอกจากนั้นจะได้ประโยชน์จากการสั่งสินค้าปริมาณมาก เรียกได้ว่าเป็นความประหยัดต่อขนาด Economic of scale
MK เองมีโครงการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา ด้วยการให้พนักงานที่เสนอ idea ที่ทำให้ บ. ลด cost หรือ เพิ่อยอดขายได้ ซึ่งไม่ได้เป็นหน้าที่ของผู้บริหารเพียงอย่างเดียว ด้วยการแบ่ง ส่วนแบ่งเปอร์เซ็นต์ที่สามารถลดได้ตลอดทั้งปี ให้พนักงาน เพื่อเป็นแรงจูงใจในการคิด ตัวอย่างโครงการ คือ การใช้มะนาวขวดแทนมะนาวฝาน การพัฒนาในองค์กร ทำให้สามารถแข่งขันในอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืนได้
SPELT
Social : ปัจจัยด้านสังคม ประชากร และสิ่งแวดล้อม
เนื่องจาก สภาพแวดล้อมของประเทศไทยเป็นลักษณะภูมิประเทศร้อนชื้น ดังนั้น วัตถุของ MK จึงเป็นวัตถุที่สามารถหาได้ง่าย และ สามารถผลิตหรือปลูกได้ตลอดทั้งปี ตลอดจนเป็นวัตถุที่ไม่ได้มีความแตกต่างกันมาก MK จึงสามารถเลือกวัตถุจาก Supplier หลายรายได้ เพื่อกระจายความเสี่ยงในกรณีใช้ Supplier รายเดียวไม่สามารถส่งของได้ หรือไม่เพียงพอต่อความต้องการ ส่วนอาหารนั้น สุกี้เอง คนไทยส่วนใหญ่สามารถรับประทานได้ นอกจากนั้น ด้วยภาพลักษณะที่ MK พยายามแสดงให้คนทั่วไปรับทราบ คือ รับประทานสุกี้ที่ MK ต้องมาเป็นครอบครัว หรือกลุ่มเพื่อน ดังนั้น จึงตอบสนองความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ที่เป็นสัตว์สังคม ดังนั้น จึงนิยมรับประทานสุกี้เมื่อมากันเป็นครอบครัว หรือกลุ่มเพื่อน
Political : ปัจจัยด้านการเมือง
MK ไม่มีความเสี่ยงเรื่องปัจจัยเรื่องการเมืองนัก เนื่องจากลักษณะธุรกิจที่ขึ้นกับผู้บริโภคเป็นหลักมากกว่า ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง จึงไม่ส่งผลกระทบ แต่ด้วยการประท้วงทางการเมืองที่ผ่านมา แต่ก็มีผลเพียง MK ไม่กี่สาขาใน กทม แต่ด้วยจำนวนสาขาถึง 314 สาขา ในประเทศ และ 18 สาขาที่ญี่ปุ่น จึงไม่กระทบมาก
Economic : ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ
ลักษณะธุรกิจขายอาหาร ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจ ในเรื่องต้นทุนและจำนวนผู้บริโภค แต่ MK ขายอาหารด้วยการสั่งสินค้าแยกเป็นรายชิ้น ดังนั้นผู้บริโภคสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้เอง นอกจากนั้นเอง MK ยังมี Promotion อาหารชุดพิเศษ เช่น ชุดผัก เป็นต้น และเป็นวัตถุดิบ ที่สามารถหาได้ในประเทศ ต้นทุนค่าขนส่งจึงไม่สูง ดังนั้น จึงได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจเพียงเล็กน้อย จากส่วนที่ MK สามารถควบคุมได้
Legal : ปัจจัยด้านกฎหมายและระเบียบต่างๆ
เนื่องจากประเทศไทยไม่มีกฏหมายควบคุมราคาขาย ดังนั้น จึงปล่อยให้ธุรกิจเป็นไปตามกลไกของตลาดเอง เพียงแต่จะมีการควบคุมราคาวัตถุดิบไม่ให้สูงไป โดยปกติ MK ซื้อวัตถุดิบด้วยราคาที่สูงกว่าราคาตลาดอยู่แล้ว หากมีคุณภาพและขั้นตอนตาม requirement ที่ MK ต้องการ
Technology: ปัจจัยด้านเทคโนโลยี
ด้วยลักษณะธุรกิจขายอาหาร การพัฒนาของเทคโนโลยี ไม่มีผลกระทบต่อธุรกิจ โดย MK ได้นำประโยชน์ของ Technology มาใช้ เช่น PDA ช่วยลดระยะเวลาในการสั่งอาหารและคิดเงิน ทำให้จำนวนรอบของลูกค้าเพิ่มขึ้น การควบคุมปริมาณ วัตถุดิบในคลิงสินค้า โดยสามารถตรวจสอบจาก Distribution Center ดังนั้น จึงไม่มีสินค้าคงเหลือ
รับคำแนะนำเพิ่มเติมนะครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 803
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สุกี้ฮอทพอท (HOTPOT) เตรียมเข้าตลาดหุ้นตุลาคมนี่้
โพสต์ที่ 41
ถ้ามองในแง่กลยุทธ์ HOT POT ควรแสดงความโดดเด่น
ในแนวทางใดทางหนึ่ง เช่น Cost leader ship
จะน่าสนใจมาก buffet ระดับกลาง ในราคาระดับล่าง
ส่วน MK, Sizzler, Oishi เหมือนจะพยายามทำ focus differentiate
มากกว่า 4P (Product, Price, Place, Promotion)
การนำเงินจากตลาดหลักทรัพย์ไปเพื่อขยายสาขา
เพิ่ม Place ของ HOT POT
ส่วน product เองยังไม่โดดเด่นมาก ว่าจะเป็นอะไรดี
ส่วน Price และ Promotion น่าจะเป็นจุดเด่นของ HOT POT ได้ ทำให้ Margin อาจต่ำ แต่ในระยะสั้นสามารถสร้างฐานลูกค้าได้
เป็น idea อ่อนๆ ที่คิดได้คร่าวๆ มีอคตินิดๆ ต่อ HOT POT
แต่ชอบลูกชิ้นกุ้ง และ ปลาหมึกห่อหมูสับ ของ HOT POT ครับ
ถ้าวาง Positioning ว่าเป็นครัวของครอบครัวได้จะดีมาก ด้วยความหลากหลายของอาหาร
น่าจะดี แต่มองในแง่ Operation การมี SKU ที่หลากหลาย ทำให้เกิดความยุ่งยก ต้องมีระบบ supply chain ที่ดี
เพราะธุรกิจอาหาร stock ของไม่ได้นานครับ
นี่เป็นเหตุที่ผม ชื่นชม MK, Oishi, sizzler
เพราะ ทั้งหมดมี economic of scale และ scope ที่ชัดเจน
ช่วงนี้ผมเหง Diadomon ก็ปรับเปลี่ยนไปนิดๆๆ
ในแนวทางใดทางหนึ่ง เช่น Cost leader ship
จะน่าสนใจมาก buffet ระดับกลาง ในราคาระดับล่าง
ส่วน MK, Sizzler, Oishi เหมือนจะพยายามทำ focus differentiate
มากกว่า 4P (Product, Price, Place, Promotion)
การนำเงินจากตลาดหลักทรัพย์ไปเพื่อขยายสาขา
เพิ่ม Place ของ HOT POT
ส่วน product เองยังไม่โดดเด่นมาก ว่าจะเป็นอะไรดี
ส่วน Price และ Promotion น่าจะเป็นจุดเด่นของ HOT POT ได้ ทำให้ Margin อาจต่ำ แต่ในระยะสั้นสามารถสร้างฐานลูกค้าได้
เป็น idea อ่อนๆ ที่คิดได้คร่าวๆ มีอคตินิดๆ ต่อ HOT POT
แต่ชอบลูกชิ้นกุ้ง และ ปลาหมึกห่อหมูสับ ของ HOT POT ครับ
ถ้าวาง Positioning ว่าเป็นครัวของครอบครัวได้จะดีมาก ด้วยความหลากหลายของอาหาร
น่าจะดี แต่มองในแง่ Operation การมี SKU ที่หลากหลาย ทำให้เกิดความยุ่งยก ต้องมีระบบ supply chain ที่ดี
เพราะธุรกิจอาหาร stock ของไม่ได้นานครับ
นี่เป็นเหตุที่ผม ชื่นชม MK, Oishi, sizzler
เพราะ ทั้งหมดมี economic of scale และ scope ที่ชัดเจน
ช่วงนี้ผมเหง Diadomon ก็ปรับเปลี่ยนไปนิดๆๆ
- maxbyte187
- Verified User
- โพสต์: 42
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สุกี้ฮอทพอท (HOTPOT) เตรียมเข้าตลาดหุ้นตุลาคมนี่้
โพสต์ที่ 42
ชอบการดำเนินกลยุทธ์ของร้านครับ ตั้งแต่เข้าตลาด ใช้กลยุทธ์ป่าล้อมเมือง ไม่เข้าตีคู่แข่งที่มีขนาดโตกว่าตรงๆ พยายามสร้างจุดเด่นให้กับแบร์นตนเองจน บริษัทห้างร้านต่างๆให้ความสนใจ จนมาดึงไปอยู่ด้วย บุกเมื่อถึงเวลา อันนี้เดินมาถึงอีกขั้นหนี่งที่จะเอาเข้าตลาดตามที่ได้ตกลงกับพวกผู้ถือหุ้นต่างชาติ เพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับบริษัท ส่วนตัวกลางๆ กับตัว Product ครับเพราะ ไม่ใช่อาหารหรือสินค้าที่ต้องใช้ฝีมืออะไรมากมาย ถ้าเค้าคิดว่ามาผิดทางก็แค่ปรับกลยุทธ์บางอย่าง ผมว่าธุรกิจนี้อยู่ได้เพราะรถชาติของอาหารไม่ได้ขึ้นอยู่กับฝีมือ -จากศิษย์สำนักเดียวกัน
"มองหาโอกาส ในวิกฤต"
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
Re: สุกี้ฮอทพอท (HOTPOT) เตรียมเข้าตลาดหุ้นตุลาคมนี่้
โพสต์ที่ 43
ขนาด HOTPOT ยังไม่เข้าตลาดหลักทรัพย์ ยังวิเคราะห์กันแบบ SME ตีแตกเลย ตอนนี้ position HOTPOT น่าจะพอรู้แล้ว แต่เม่ือจะเข้าตลาด ข้อมูลต่างๆ และราคาชIPO คงต้องมาวิเคราะห์กันอีกที
-
- Verified User
- โพสต์: 803
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สุกี้ฮอทพอท (HOTPOT) เตรียมเข้าตลาดหุ้นตุลาคมนี่้
โพสต์ที่ 44
MK ถ้าจำไม่ผิด turn over 6-7 ครั้งต่อวัน
ส่วน HOT POT หากไม่จำกัดเวลา แล้วราคาไม่แพง ผมว่า turn over น่าจะได้ราวๆ นี้
ส่วนตัวอาหาร หากหลากหลาย คงต้องใช้สุดยอกวิชาของ Operation คือ outsource ไปซะ
จะได้ไม่ต้อง stock ของหรือ order ของมาก และมุ่งเน้นขาย core business เช่น พวกอาหารที่ปรุงสำเร็จ
เช่น cake เปนต้น จะได้เพิ่มความหลากหลายของกินมากขึ้น
ส่วน HOT POT หากไม่จำกัดเวลา แล้วราคาไม่แพง ผมว่า turn over น่าจะได้ราวๆ นี้
ส่วนตัวอาหาร หากหลากหลาย คงต้องใช้สุดยอกวิชาของ Operation คือ outsource ไปซะ
จะได้ไม่ต้อง stock ของหรือ order ของมาก และมุ่งเน้นขาย core business เช่น พวกอาหารที่ปรุงสำเร็จ
เช่น cake เปนต้น จะได้เพิ่มความหลากหลายของกินมากขึ้น
-
- Verified User
- โพสต์: 220
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สุกี้ฮอทพอท (HOTPOT) เตรียมเข้าตลาดหุ้นตุลาคมนี่้
โพสต์ที่ 45
ถ้้าแนวสุกี้ บุฟเฟ่ + อาหารญี่ปุ่นอีกนิดหน่อย
ผมว่า Sukishi บุฟเฟ่ อร่อยที่สุดแล้ว ราคาแพงกว่า โออิชิ บุฟเฟ่ นิดหน่อย แต่ของดีกว่าเยอะ
ส่วน hot pot เมื่อก่อนกินเพราะว่าถูกมากๆ แต่เดียวนี้ก็ราคาเกือบเท่าโออิชิแล้ว แต่รสชาติแย่กว่ามาก ไม่ได้กิน hot pot แล้วครับเดียวนี้
ผมว่า Sukishi บุฟเฟ่ อร่อยที่สุดแล้ว ราคาแพงกว่า โออิชิ บุฟเฟ่ นิดหน่อย แต่ของดีกว่าเยอะ
ส่วน hot pot เมื่อก่อนกินเพราะว่าถูกมากๆ แต่เดียวนี้ก็ราคาเกือบเท่าโออิชิแล้ว แต่รสชาติแย่กว่ามาก ไม่ได้กิน hot pot แล้วครับเดียวนี้
- densin
- Verified User
- โพสต์: 1073
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สุกี้ฮอทพอท (HOTPOT) เตรียมเข้าตลาดหุ้นตุลาคมนี่้
โพสต์ที่ 46
เดี๋ยวรออ่านหนังสือชี้ชวน ว่าจะIPOไปทำไมpakapong_u เขียน:ขนาด HOTPOT ยังไม่เข้าตลาดหลักทรัพย์ ยังวิเคราะห์กันแบบ SME ตีแตกเลย ตอนนี้ position HOTPOT น่าจะพอรู้แล้ว แต่เม่ือจะเข้าตลาด ข้อมูลต่างๆ และราคาชIPO คงต้องมาวิเคราะห์กันอีกที
สาขาก็เยอะแล้ว ทำไมไม่มีเงินเติบโตได้เอง หรือว่าหนี้เยอะ
จะก้าวกระโดดขยายไปต่างประเทศหรือ จะสำเร็จได้เหมือนMKที่ไปดังที่ญี่ปุ่นได้หรือ
สุดท้ายคือธรรมภิบาลที่คงหาข้อมูลยาก เพราเพิ่งเข้าตลาด
VI สายมืด = VI หน้ามืดซื้อตัวฮอทๆอย่าไม่ลืมหูลืมตา
- br_pannee
- Verified User
- โพสต์: 125
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สุกี้ฮอทพอท (HOTPOT) เตรียมเข้าตลาดหุ้นตุลาคมนี่้
โพสต์ที่ 48
ฮอทพอทสุดอั้นขยับราคาบุฟเฟต์10บาท
นางสาวสกุณา บ่ายเจริญ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ฮอท
พอท จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทได้ปรับราคาฮอทพอท อินเตอร์ บุฟเฟต์ ขึ้น จาก 199 บาท เป็น 219 บาท เมื่อต้นปีที่ผ่านมา เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ซึ่งบริษัทได้พยายามบริหารจัดการเพื่อลดค่าใช้จ่าย เช่น การหาแหล่งวัตถุดิบที่หลากหลายและราคาถูกลง
สำหรับแผนงานในปีนี้ ตั้งเป้าเติบโต 30% เพิ่มรายได้จาก 1,100 ล้านบาทในปีที่ผ่านมาเป็น 1,500-1,600 ล้านบาทในปีนี้ จากการขยายสาขาใหม่เพิ่มอีก 20 สาขา โดยปัจจุบันฮอทพอทมีสาขาทั้งสิ้น 84 สาขา และจะเพิ่มเป็น 100 สาขาในสิ้นปีนี้ โดยในไตรมาสแรกที่ผ่านมามีรายได้แล้ว 330 ล้านบาท ทั้งนี้บริษัทมีแผนขยายสาขาในต่างประเทศ ทั้งรูปแบบการร่วมลงทุนและการขายแฟรนไชส์ โดยขณะนี้เริ่มพิจารณาทำเลที่ประเทศเวียดนาม และอินโดนีเซีย
นอกจากนี้ บริษัทจะยื่นข้อมูล (ไฟลิ่ง) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ตลท.) ภายในเดือน ก.ค.54 เพื่อเสนอขายหุ้นให้กับประชาชนทั่วไปครั้งแรก (IPO) จำนวน 102 ล้านหุ้น และคาดว่าจะนำหุ้นเข้าซื้อขายตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (mai) ราวเดือน ต.ค.นี้.
นางสาวสกุณา บ่ายเจริญ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ฮอท
พอท จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทได้ปรับราคาฮอทพอท อินเตอร์ บุฟเฟต์ ขึ้น จาก 199 บาท เป็น 219 บาท เมื่อต้นปีที่ผ่านมา เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ซึ่งบริษัทได้พยายามบริหารจัดการเพื่อลดค่าใช้จ่าย เช่น การหาแหล่งวัตถุดิบที่หลากหลายและราคาถูกลง
สำหรับแผนงานในปีนี้ ตั้งเป้าเติบโต 30% เพิ่มรายได้จาก 1,100 ล้านบาทในปีที่ผ่านมาเป็น 1,500-1,600 ล้านบาทในปีนี้ จากการขยายสาขาใหม่เพิ่มอีก 20 สาขา โดยปัจจุบันฮอทพอทมีสาขาทั้งสิ้น 84 สาขา และจะเพิ่มเป็น 100 สาขาในสิ้นปีนี้ โดยในไตรมาสแรกที่ผ่านมามีรายได้แล้ว 330 ล้านบาท ทั้งนี้บริษัทมีแผนขยายสาขาในต่างประเทศ ทั้งรูปแบบการร่วมลงทุนและการขายแฟรนไชส์ โดยขณะนี้เริ่มพิจารณาทำเลที่ประเทศเวียดนาม และอินโดนีเซีย
นอกจากนี้ บริษัทจะยื่นข้อมูล (ไฟลิ่ง) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ตลท.) ภายในเดือน ก.ค.54 เพื่อเสนอขายหุ้นให้กับประชาชนทั่วไปครั้งแรก (IPO) จำนวน 102 ล้านหุ้น และคาดว่าจะนำหุ้นเข้าซื้อขายตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (mai) ราวเดือน ต.ค.นี้.
- br_pannee
- Verified User
- โพสต์: 125
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สุกี้ฮอทพอท (HOTPOT) เตรียมเข้าตลาดหุ้นตุลาคมนี่้
โพสต์ที่ 49
ไม่รู้ว่าเป็นการขึ้นเพื่อแต่งตัวเข้าตลาดรึป่าวครับ เพราะให้ข่าวจะIPO แค่สองวัน ขึ้นราคาซะแระbr_pannee เขียน:ฮอทพอทสุดอั้นขยับราคาบุฟเฟต์10บาท
นางสาวสกุณา บ่ายเจริญ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ฮอท
พอท จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทได้ปรับราคาฮอทพอท อินเตอร์ บุฟเฟต์ ขึ้น จาก 199 บาท เป็น 219 บาท เมื่อต้นปีที่ผ่านมา เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ซึ่งบริษัทได้พยายามบริหารจัดการเพื่อลดค่าใช้จ่าย เช่น การหาแหล่งวัตถุดิบที่หลากหลายและราคาถูกลง
สำหรับแผนงานในปีนี้ ตั้งเป้าเติบโต 30% เพิ่มรายได้จาก 1,100 ล้านบาทในปีที่ผ่านมาเป็น 1,500-1,600 ล้านบาทในปีนี้ จากการขยายสาขาใหม่เพิ่มอีก 20 สาขา โดยปัจจุบันฮอทพอทมีสาขาทั้งสิ้น 84 สาขา และจะเพิ่มเป็น 100 สาขาในสิ้นปีนี้ โดยในไตรมาสแรกที่ผ่านมามีรายได้แล้ว 330 ล้านบาท ทั้งนี้บริษัทมีแผนขยายสาขาในต่างประเทศ ทั้งรูปแบบการร่วมลงทุนและการขายแฟรนไชส์ โดยขณะนี้เริ่มพิจารณาทำเลที่ประเทศเวียดนาม และอินโดนีเซีย
นอกจากนี้ บริษัทจะยื่นข้อมูล (ไฟลิ่ง) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ตลท.) ภายในเดือน ก.ค.54 เพื่อเสนอขายหุ้นให้กับประชาชนทั่วไปครั้งแรก (IPO) จำนวน 102 ล้านหุ้น และคาดว่าจะนำหุ้นเข้าซื้อขายตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (mai) ราวเดือน ต.ค.นี้.
- br_pannee
- Verified User
- โพสต์: 125
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สุกี้ฮอทพอท (HOTPOT) เตรียมเข้าตลาดหุ้นตุลาคมนี่้
โพสต์ที่ 50
DAIDOปรับโครงสร้างหนี้“ฮอทพอท-ภัทร”สนใจร่วมถือหุ้นใหญ่
ผู้จัดการรายวัน 3 กรกฎาคม 2549
เปิดแผนปรับโครงสร้างหนี้ไดโดมอน กรุ๊ป เตรียมหาพันธมิตรเข้ามาถือหุ้นใหญ่ หลังจากเจ้าหนี้ให้ความเห็นชอบในแผนฟื้นฟูกิจการแล้ว วงการลือมี 3 รายที่สนใจ 1 ในนั้น"ฮอทพอทจับมือบล.ภัทร" สนใจเข้าร่วมถือหุ้นใหญ่ในบริษัทไดโดมอน กรุ๊ป เหตุหวังสาขาไดโดมอนที่อยู่ในทำเลที่ดีในกรุงเทพ
แหล่งข่าวจากโบรกเกอร์ เปิดเผยว่า จากการประชุมเจ้าหนี้ของบริษัทไดโดมอน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ Daido เมื่อวันที่ 29 มิถุนายนนี้ ซึ่งเจ้าหนี้ก็ได้มีมติให้ความเห็นชอบในแผนฟื้นฟูกิจการ ซึ่งศาลล้มละลายกลางนัดพิจารณาแผนฟื้นฟูกิจการที่ได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมเจ้าหนี้ดังกล่าวในวันที่ 4 กันยายน 2549 นั้น ซึ่งในแผนฟื้นฟูกิจการนั้นส่วนหนึ่งจะมีการดึงพันธมิตรทางธุรกิจเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท
ทั้งนี้ ได้มีกระแสข่าวลือในช่วงที่ผ่านมาได้มีผู้ที่สนใจที่จะเข้ามาถือหุ้นใหญ่ในบริษัทได้โดมอน กรุ๊ป ซึ่งได้มีการเจรจา 3ราย ซึ่งหนึ่งในนั้นได้แก่บริษัทฮอทพอท จำกัด (HOTPOT) ซึ่งเป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจให้บริการทางด้านร้านอาหารทั้งในรูปแบบร้านสุกี้ยากี้ และร้านอินเตอร์บุฟเฟ่ต์ ซึ่งผู้ถือหุ้นของบริษัทฮอทพอทมองว่าธุรกิจของบริษัทไดโดมอนกรุ๊ปสามารถเกื้อหนุนในธุรกิจร่วมกันได้ โดยเฉพาะจุดเด่นของบริษัทไดโดมอน กรุ๊ปที่มีสาขาที่อยู่ทำเลที่ดีมากในกรุงเทพ
อย่างไรก็ตาม บริษัทฮอทพอท ไม่ได้เข้าไปถือหุ้นเพียงรายเดียว เพราะจะมีบริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด (มหาชน) สถาบันการเงินด้านหลักทรัพย์ขนาดใหญ่เข้าร่วมถือหุ้นด้วย เพราะปัจจุบันนี้บล.ภัทรเป็นบริษัทที่มีสภาพคล่องเป็นจำนวนมากหลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้มีการเสนอขายหุ้นแก่ประชาชนทั่วไป (IPO) เพื่อที่จะนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
ดังนั้นบล.ภัทรจะเข้าไปช่วยสนับสนุนในแง่ของเงินทุนให้กับบริษัทไดโดมอน กรุ๊ป เพื่อที่จะได้ขยายธุรกิจเพิ่มขึ้นได้ หลังจากที่ได้มีการปรับโครงสร้างหนี้แล้ว เพราะบล.ภัทรเองก็มีพอร์ตเพื่อการลงทุนทั้งบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์และบริษัทที่อยู่นอกตลาดหลักทรัพย์บริษัทฮอทพอท จำกัดคือบริษัทที่ประกอบธุรกิจในกลุ่มร้านอาหาร ประเภทสุกี้และชาบู ซึ่งให้บริการทางด้านอาหารและเครื่องดื่ม ภายใต้แบรนด์ฮอท พอท สุกี้ ชาบู เรสโตรองต์ ซึ่งเริ่มเปิดให้บริการในปี 2538 โดยมีสาขามากกว่า 50 สาขาซึ่งสาขาแรกเปิดที่ตะวันออกคอมเพล็กซ์
แหล่งข่าวกล่าวว่า นอกจากรายของบริษัทฮอทพอทที่ร่วมกับบล.ภัทรแล้ว ยังมีอีก 2 รายที่สนใจจะเข้าร่วมเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทไดโดมอน กรุ๊ป ซึ่งเป็นนักลงทุนในประเทศ ดังนั้นขณะนี้ผู้บริหารแผนยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะเลือกผู้ร่วมทุนรายใด เพราะจะต้องรอผลการเจรจาว่าถ้าร่วมกับรายใดที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อบริษัทไดโดมอน กรุ๊ป,ผู้ถือหุ้นของบริษัทและเจ้าหนี้ของบริษัทอีกด้วย ซึ่งผู้ถือหุ้นรายใหม่ที่จะเข้ามาถือหุ้นนั้น จะเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ซึ่งจะเข้ามาร่วมในการบริหารงานด้วย
ก่อนหน้านี้ บริษัทไดโดมอน กรุ๊ป แจ้งผลประกอบการไตรมาส 2 สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2549 ปรากฏว่า บริษัทขาดทุนสุทธิ 23.12 ล้านบาทขาดทุนสุทธิต่อหุ้น 0.44 บาท ขาดทุนลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ขาดทุนสุทธิ151.25 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิต่อหุ้น 2.91 บาทส่วนในงวด 6 เดือนของปี 2549 ขาดทุนสุทธิ 151.25 ล้านบาทขาดทุนสุทธิต่อหุ้น 2.91 บาทขาดทุนลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อนที่ขาดทุนสุทธิ 430.33 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิต่อหุ้น 8.38 บาทปัจจุบันบริษัท ไดโดมอน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) อยู่ระหว่างการฟื้นฟูกิจการตามคำสั่งศาลล้มละลายกลางและศาลดังกล่าวมีคำสั่งตั้งบริษัทฯ เป็นผู้ทำแผนฟื้นฟูกิจการ เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2548 ดังนั้นบริษัทฯ ในฐานะผู้ทำแผนได้
รายงานผลการดำเนินงานสำหรับงวด 6 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2548 มีผลประกอบการที่ดีขึ้น ผลประกอบกิจการมีผลขาดทุนสุทธิ 151.25 ล้านบาท ขาดทุนจากผลการดำเนินงาน 36.68 บาท เนื่องจากในงวด 6 เดือน ปี 2548 ยอดขายเมื่อเปรียบเทียบกับงวด 6 เดือนปี 2547 ลดลง 75.08 ล้านบาท คิดเป็นอัตรา 33.45% โดยที่ต้นทุนสินค้าเพื่อขายลดลง 112.75 ล้านบาท คิดเป็นอัตรา 45.10% ค่าใช้จ่ายลดลง 40.54 ล้านบาทคิดเป็นอัตรา 40.41%
นอกจากนี้ บริษัทฯ บันทึกผลขาดทุนจากรายการพิเศษที่บริษัทฯ ได้ตั้งค่าเผื่อการลดมูลค่าสินทรัพย์ถาวรไว้เป็นมูลค่า 72.23ล้านบาท มีรายละเอียดดังนี้ผลขาดทุนจากค่าเผื่อและสิทธิการเช่า 69.85 ล้านบาท,ผลขาดทุนจากสำรองภาษีมูลค่าเพิ่มรอขอคืน 2.38 ล้านบาท
--------------------------------------------------
สังเกตุวันที่ของข่าวครับ
ผู้จัดการรายวัน 3 กรกฎาคม 2549
เปิดแผนปรับโครงสร้างหนี้ไดโดมอน กรุ๊ป เตรียมหาพันธมิตรเข้ามาถือหุ้นใหญ่ หลังจากเจ้าหนี้ให้ความเห็นชอบในแผนฟื้นฟูกิจการแล้ว วงการลือมี 3 รายที่สนใจ 1 ในนั้น"ฮอทพอทจับมือบล.ภัทร" สนใจเข้าร่วมถือหุ้นใหญ่ในบริษัทไดโดมอน กรุ๊ป เหตุหวังสาขาไดโดมอนที่อยู่ในทำเลที่ดีในกรุงเทพ
แหล่งข่าวจากโบรกเกอร์ เปิดเผยว่า จากการประชุมเจ้าหนี้ของบริษัทไดโดมอน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ Daido เมื่อวันที่ 29 มิถุนายนนี้ ซึ่งเจ้าหนี้ก็ได้มีมติให้ความเห็นชอบในแผนฟื้นฟูกิจการ ซึ่งศาลล้มละลายกลางนัดพิจารณาแผนฟื้นฟูกิจการที่ได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมเจ้าหนี้ดังกล่าวในวันที่ 4 กันยายน 2549 นั้น ซึ่งในแผนฟื้นฟูกิจการนั้นส่วนหนึ่งจะมีการดึงพันธมิตรทางธุรกิจเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท
ทั้งนี้ ได้มีกระแสข่าวลือในช่วงที่ผ่านมาได้มีผู้ที่สนใจที่จะเข้ามาถือหุ้นใหญ่ในบริษัทได้โดมอน กรุ๊ป ซึ่งได้มีการเจรจา 3ราย ซึ่งหนึ่งในนั้นได้แก่บริษัทฮอทพอท จำกัด (HOTPOT) ซึ่งเป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจให้บริการทางด้านร้านอาหารทั้งในรูปแบบร้านสุกี้ยากี้ และร้านอินเตอร์บุฟเฟ่ต์ ซึ่งผู้ถือหุ้นของบริษัทฮอทพอทมองว่าธุรกิจของบริษัทไดโดมอนกรุ๊ปสามารถเกื้อหนุนในธุรกิจร่วมกันได้ โดยเฉพาะจุดเด่นของบริษัทไดโดมอน กรุ๊ปที่มีสาขาที่อยู่ทำเลที่ดีมากในกรุงเทพ
อย่างไรก็ตาม บริษัทฮอทพอท ไม่ได้เข้าไปถือหุ้นเพียงรายเดียว เพราะจะมีบริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด (มหาชน) สถาบันการเงินด้านหลักทรัพย์ขนาดใหญ่เข้าร่วมถือหุ้นด้วย เพราะปัจจุบันนี้บล.ภัทรเป็นบริษัทที่มีสภาพคล่องเป็นจำนวนมากหลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้มีการเสนอขายหุ้นแก่ประชาชนทั่วไป (IPO) เพื่อที่จะนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
ดังนั้นบล.ภัทรจะเข้าไปช่วยสนับสนุนในแง่ของเงินทุนให้กับบริษัทไดโดมอน กรุ๊ป เพื่อที่จะได้ขยายธุรกิจเพิ่มขึ้นได้ หลังจากที่ได้มีการปรับโครงสร้างหนี้แล้ว เพราะบล.ภัทรเองก็มีพอร์ตเพื่อการลงทุนทั้งบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์และบริษัทที่อยู่นอกตลาดหลักทรัพย์บริษัทฮอทพอท จำกัดคือบริษัทที่ประกอบธุรกิจในกลุ่มร้านอาหาร ประเภทสุกี้และชาบู ซึ่งให้บริการทางด้านอาหารและเครื่องดื่ม ภายใต้แบรนด์ฮอท พอท สุกี้ ชาบู เรสโตรองต์ ซึ่งเริ่มเปิดให้บริการในปี 2538 โดยมีสาขามากกว่า 50 สาขาซึ่งสาขาแรกเปิดที่ตะวันออกคอมเพล็กซ์
แหล่งข่าวกล่าวว่า นอกจากรายของบริษัทฮอทพอทที่ร่วมกับบล.ภัทรแล้ว ยังมีอีก 2 รายที่สนใจจะเข้าร่วมเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทไดโดมอน กรุ๊ป ซึ่งเป็นนักลงทุนในประเทศ ดังนั้นขณะนี้ผู้บริหารแผนยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะเลือกผู้ร่วมทุนรายใด เพราะจะต้องรอผลการเจรจาว่าถ้าร่วมกับรายใดที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อบริษัทไดโดมอน กรุ๊ป,ผู้ถือหุ้นของบริษัทและเจ้าหนี้ของบริษัทอีกด้วย ซึ่งผู้ถือหุ้นรายใหม่ที่จะเข้ามาถือหุ้นนั้น จะเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ซึ่งจะเข้ามาร่วมในการบริหารงานด้วย
ก่อนหน้านี้ บริษัทไดโดมอน กรุ๊ป แจ้งผลประกอบการไตรมาส 2 สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2549 ปรากฏว่า บริษัทขาดทุนสุทธิ 23.12 ล้านบาทขาดทุนสุทธิต่อหุ้น 0.44 บาท ขาดทุนลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ขาดทุนสุทธิ151.25 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิต่อหุ้น 2.91 บาทส่วนในงวด 6 เดือนของปี 2549 ขาดทุนสุทธิ 151.25 ล้านบาทขาดทุนสุทธิต่อหุ้น 2.91 บาทขาดทุนลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อนที่ขาดทุนสุทธิ 430.33 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิต่อหุ้น 8.38 บาทปัจจุบันบริษัท ไดโดมอน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) อยู่ระหว่างการฟื้นฟูกิจการตามคำสั่งศาลล้มละลายกลางและศาลดังกล่าวมีคำสั่งตั้งบริษัทฯ เป็นผู้ทำแผนฟื้นฟูกิจการ เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2548 ดังนั้นบริษัทฯ ในฐานะผู้ทำแผนได้
รายงานผลการดำเนินงานสำหรับงวด 6 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2548 มีผลประกอบการที่ดีขึ้น ผลประกอบกิจการมีผลขาดทุนสุทธิ 151.25 ล้านบาท ขาดทุนจากผลการดำเนินงาน 36.68 บาท เนื่องจากในงวด 6 เดือน ปี 2548 ยอดขายเมื่อเปรียบเทียบกับงวด 6 เดือนปี 2547 ลดลง 75.08 ล้านบาท คิดเป็นอัตรา 33.45% โดยที่ต้นทุนสินค้าเพื่อขายลดลง 112.75 ล้านบาท คิดเป็นอัตรา 45.10% ค่าใช้จ่ายลดลง 40.54 ล้านบาทคิดเป็นอัตรา 40.41%
นอกจากนี้ บริษัทฯ บันทึกผลขาดทุนจากรายการพิเศษที่บริษัทฯ ได้ตั้งค่าเผื่อการลดมูลค่าสินทรัพย์ถาวรไว้เป็นมูลค่า 72.23ล้านบาท มีรายละเอียดดังนี้ผลขาดทุนจากค่าเผื่อและสิทธิการเช่า 69.85 ล้านบาท,ผลขาดทุนจากสำรองภาษีมูลค่าเพิ่มรอขอคืน 2.38 ล้านบาท
--------------------------------------------------
สังเกตุวันที่ของข่าวครับ
- br_pannee
- Verified User
- โพสต์: 125
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สุกี้ฮอทพอท (HOTPOT) เตรียมเข้าตลาดหุ้นตุลาคมนี่้
โพสต์ที่ 51
หาก hotpot ถือหุ้นของ daido จริง กลัวว่าบริษัทขายหุ้นเพราะต้องการเอาเงินไปอุด สินทรัพย์ด้อยค่าของ daido มากกว่าครับ
คล้ายๆ CPALL เมื่อหลายปีก่อนมีกำไร แต่พอรวมงบ กลับขาดทุนจากโลตัสในจีน เพิ่งกำไรฟื้นตอนขายโลตัสที่จีนออกไปนี่เองครับ
คล้ายๆ CPALL เมื่อหลายปีก่อนมีกำไร แต่พอรวมงบ กลับขาดทุนจากโลตัสในจีน เพิ่งกำไรฟื้นตอนขายโลตัสที่จีนออกไปนี่เองครับ
- br_pannee
- Verified User
- โพสต์: 125
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สุกี้ฮอทพอท (HOTPOT) เตรียมเข้าตลาดหุ้นตุลาคมนี่้
โพสต์ที่ 52
br_pannee เขียน:DAIDOปรับโครงสร้างหนี้“ฮอทพอท-ภัทร”สนใจร่วมถือหุ้นใหญ่
ผู้จัดการรายวัน 3 กรกฎาคม 2549
เปิดแผนปรับโครงสร้างหนี้ไดโดมอน กรุ๊ป เตรียมหาพันธมิตรเข้ามาถือหุ้นใหญ่ หลังจากเจ้าหนี้ให้ความเห็นชอบในแผนฟื้นฟูกิจการแล้ว วงการลือมี 3 รายที่สนใจ 1 ในนั้น"ฮอทพอทจับมือบล.ภัทร" สนใจเข้าร่วมถือหุ้นใหญ่ในบริษัทไดโดมอน กรุ๊ป เหตุหวังสาขาไดโดมอนที่อยู่ในทำเลที่ดีในกรุงเทพ
แหล่งข่าวจากโบรกเกอร์ เปิดเผยว่า จากการประชุมเจ้าหนี้ของบริษัทไดโดมอน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ Daido เมื่อวันที่ 29 มิถุนายนนี้ ซึ่งเจ้าหนี้ก็ได้มีมติให้ความเห็นชอบในแผนฟื้นฟูกิจการ ซึ่งศาลล้มละลายกลางนัดพิจารณาแผนฟื้นฟูกิจการที่ได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมเจ้าหนี้ดังกล่าวในวันที่ 4 กันยายน 2549 นั้น ซึ่งในแผนฟื้นฟูกิจการนั้นส่วนหนึ่งจะมีการดึงพันธมิตรทางธุรกิจเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท
ทั้งนี้ ได้มีกระแสข่าวลือในช่วงที่ผ่านมาได้มีผู้ที่สนใจที่จะเข้ามาถือหุ้นใหญ่ในบริษัทได้โดมอน กรุ๊ป ซึ่งได้มีการเจรจา 3ราย ซึ่งหนึ่งในนั้นได้แก่บริษัทฮอทพอท จำกัด (HOTPOT) ซึ่งเป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจให้บริการทางด้านร้านอาหารทั้งในรูปแบบร้านสุกี้ยากี้ และร้านอินเตอร์บุฟเฟ่ต์ ซึ่งผู้ถือหุ้นของบริษัทฮอทพอทมองว่าธุรกิจของบริษัทไดโดมอนกรุ๊ปสามารถเกื้อหนุนในธุรกิจร่วมกันได้ โดยเฉพาะจุดเด่นของบริษัทไดโดมอน กรุ๊ปที่มีสาขาที่อยู่ทำเลที่ดีมากในกรุงเทพ
อย่างไรก็ตาม บริษัทฮอทพอท ไม่ได้เข้าไปถือหุ้นเพียงรายเดียว เพราะจะมีบริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด (มหาชน) สถาบันการเงินด้านหลักทรัพย์ขนาดใหญ่เข้าร่วมถือหุ้นด้วย เพราะปัจจุบันนี้บล.ภัทรเป็นบริษัทที่มีสภาพคล่องเป็นจำนวนมากหลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้มีการเสนอขายหุ้นแก่ประชาชนทั่วไป (IPO) เพื่อที่จะนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
ดังนั้นบล.ภัทรจะเข้าไปช่วยสนับสนุนในแง่ของเงินทุนให้กับบริษัทไดโดมอน กรุ๊ป เพื่อที่จะได้ขยายธุรกิจเพิ่มขึ้นได้ หลังจากที่ได้มีการปรับโครงสร้างหนี้แล้ว เพราะบล.ภัทรเองก็มีพอร์ตเพื่อการลงทุนทั้งบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์และบริษัทที่อยู่นอกตลาดหลักทรัพย์บริษัทฮอทพอท จำกัดคือบริษัทที่ประกอบธุรกิจในกลุ่มร้านอาหาร ประเภทสุกี้และชาบู ซึ่งให้บริการทางด้านอาหารและเครื่องดื่ม ภายใต้แบรนด์ฮอท พอท สุกี้ ชาบู เรสโตรองต์ ซึ่งเริ่มเปิดให้บริการในปี 2538 โดยมีสาขามากกว่า 50 สาขาซึ่งสาขาแรกเปิดที่ตะวันออกคอมเพล็กซ์
แหล่งข่าวกล่าวว่า นอกจากรายของบริษัทฮอทพอทที่ร่วมกับบล.ภัทรแล้ว ยังมีอีก 2 รายที่สนใจจะเข้าร่วมเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทไดโดมอน กรุ๊ป ซึ่งเป็นนักลงทุนในประเทศ ดังนั้นขณะนี้ผู้บริหารแผนยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะเลือกผู้ร่วมทุนรายใด เพราะจะต้องรอผลการเจรจาว่าถ้าร่วมกับรายใดที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อบริษัทไดโดมอน กรุ๊ป,ผู้ถือหุ้นของบริษัทและเจ้าหนี้ของบริษัทอีกด้วย ซึ่งผู้ถือหุ้นรายใหม่ที่จะเข้ามาถือหุ้นนั้น จะเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ซึ่งจะเข้ามาร่วมในการบริหารงานด้วย
ก่อนหน้านี้ บริษัทไดโดมอน กรุ๊ป แจ้งผลประกอบการไตรมาส 2 สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2549 ปรากฏว่า บริษัทขาดทุนสุทธิ 23.12 ล้านบาทขาดทุนสุทธิต่อหุ้น 0.44 บาท ขาดทุนลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ขาดทุนสุทธิ151.25 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิต่อหุ้น 2.91 บาทส่วนในงวด 6 เดือนของปี 2549 ขาดทุนสุทธิ 151.25 ล้านบาทขาดทุนสุทธิต่อหุ้น 2.91 บาทขาดทุนลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อนที่ขาดทุนสุทธิ 430.33 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิต่อหุ้น 8.38 บาทปัจจุบันบริษัท ไดโดมอน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) อยู่ระหว่างการฟื้นฟูกิจการตามคำสั่งศาลล้มละลายกลางและศาลดังกล่าวมีคำสั่งตั้งบริษัทฯ เป็นผู้ทำแผนฟื้นฟูกิจการ เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2548 ดังนั้นบริษัทฯ ในฐานะผู้ทำแผนได้
รายงานผลการดำเนินงานสำหรับงวด 6 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2548 มีผลประกอบการที่ดีขึ้น ผลประกอบกิจการมีผลขาดทุนสุทธิ 151.25 ล้านบาท ขาดทุนจากผลการดำเนินงาน 36.68 บาท เนื่องจากในงวด 6 เดือน ปี 2548 ยอดขายเมื่อเปรียบเทียบกับงวด 6 เดือนปี 2547 ลดลง 75.08 ล้านบาท คิดเป็นอัตรา 33.45% โดยที่ต้นทุนสินค้าเพื่อขายลดลง 112.75 ล้านบาท คิดเป็นอัตรา 45.10% ค่าใช้จ่ายลดลง 40.54 ล้านบาทคิดเป็นอัตรา 40.41%
นอกจากนี้ บริษัทฯ บันทึกผลขาดทุนจากรายการพิเศษที่บริษัทฯ ได้ตั้งค่าเผื่อการลดมูลค่าสินทรัพย์ถาวรไว้เป็นมูลค่า 72.23ล้านบาท มีรายละเอียดดังนี้ผลขาดทุนจากค่าเผื่อและสิทธิการเช่า 69.85 ล้านบาท,ผลขาดทุนจากสำรองภาษีมูลค่าเพิ่มรอขอคืน 2.38 ล้านบาท
--------------------------------------------------
สังเกตุวันที่ของข่าวครับ
ที่มาครับ http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=49749
- picklife
- Verified User
- โพสต์: 2565
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สุกี้ฮอทพอท (HOTPOT) เตรียมเข้าตลาดหุ้นตุลาคมนี่้
โพสต์ที่ 53
คนสุพรรณหรอครับ^^Hisoka เขียน:ในชีวิตนี้เคยเข้าไม่เกิน 4 ครั้ง เคยไปที่สุพรรณบุรีครั้งหนึ่ง ที่ห้างนาซ่ามอล คนน้อยมาก แต่ร้านพิซซ่าใกล้ๆคนหนากว่าเยอะ
ห่างออกไปอีกคนละห้างคือโลตัส ที่นั่นมีเทกซัสสุกี้ ร้านนี้คนก็ดูหนาแน่นกว่า ส่วนใหญ่ถ้าผ่านไปผมก็จะไปเข้าร้านนี้
ผมก็คิดว่าจริงอย่างหลายคนว่า hotpot มักเป็นตัวเลือกท้ายๆ เวลาหาร้านไม่ได้
เม่าน้อยคลำทางหาแสงไฟ
- densin
- Verified User
- โพสต์: 1073
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สุกี้ฮอทพอท (HOTPOT) เตรียมเข้าตลาดหุ้นตุลาคมนี่้
โพสต์ที่ 54
ที่จะไปช่วยไดโดมอนตอนนั้น คือจะแอบbackdoorหรือเปล่า
ถ้าใช่ จะเป็นcaseแรกเลย ซึ่งปรกติเข้าตลาดเองไม่ได้ จึงbackdoor
แต่นี่จะเป็นbackdoorไม่ได้แล้วจะเข้าตลาดเอง
ที่เป็นอย่างนี้เพราะว่าการผ่อนคลายกฏการเข้าตลาด?
ถ้าbackdoor ไดโดมอน เราคงเหนื่อย ต้องvisitกินบุฟเฟ่2ร้านเลย
ถ้าใช่ จะเป็นcaseแรกเลย ซึ่งปรกติเข้าตลาดเองไม่ได้ จึงbackdoor
แต่นี่จะเป็นbackdoorไม่ได้แล้วจะเข้าตลาดเอง
ที่เป็นอย่างนี้เพราะว่าการผ่อนคลายกฏการเข้าตลาด?
ถ้าbackdoor ไดโดมอน เราคงเหนื่อย ต้องvisitกินบุฟเฟ่2ร้านเลย
VI สายมืด = VI หน้ามืดซื้อตัวฮอทๆอย่าไม่ลืมหูลืมตา
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
Re: สุกี้ฮอทพอท (HOTPOT) เตรียมเข้าตลาดหุ้นตุลาคมนี่้
โพสต์ที่ 56
"ฮอทพอท" เดือดได้ที่สยายปีกโตนอกหม้อสุกี้
Source - ผู้จัดการ 360 องศา รายสัปดาห์ (Th)
Friday, June 24, 2011 12:08
28137 XTHAI XECON XCORP XSALES DAS V%PAPERL P%ASMW
หลังจาก"ฮอทพอท" (Hot Pot) รุกสร้างแบรนด์อาหารใหม่ จากร้านอาหารสุกี้ สู่แบรนด์ร้านสุกี้ในแบบบุฟเฟต์ญี่ปุ่น เพื่อสร้างความแปลกใหม่ในการรับประทานสุกี้ สิ่งสำคัญกว่านั้นคือ การฉีกหนีจากเจ้าตลาดอาหารสุกี้ที่มีความแข็งแกร่งอย่าง MK จนยากจะโค่นบัลลังก์ได้ง่ายๆ ถึงวันนี้ ดูเหมือนว่า ก้าวย่างใหม่ของ ฮอทพอท บนหม้อสุกี้กำลังเดือดได้ที่ และพร้อมสยายปีกการเติบโตนอกหม้อสุกี้ในต่างประเทศแบบยั้งไม่อยู่
ก่อนหน้านี้ชื่อของ "ฮอท พอท" ดูจะเทียบฟอร์ม MK สุกี้ ไม่ได้ ทั้งในเชิงยอดขายและส่วนแบ่งตลาดอาหารประเภทสุกี้ แต่การขยับตัวเองไปสู่ตลาดใหม่ นั่นคือ สุกี้ในแบบบุฟเฟต์ ในปีที่ผ่านมา พร้อมอัดงบการตลาดโปรโมตโพซิชันนิ่งใหม่อย่างหนักในช่วงต้นปีที่ผ่านมา ทำให้แบรนด์ ฮอท พอท ดูจะแข็งแกร่งและเป็นที่รับรู้ของผู้บริโภคในตลาดสุกี้มากขึ้น
"ตั้งแต่เราออกโฆษณาสร้างแบรนด์ ทำให้ครึ่งปีแรกเราทำรายได้เติบโตขึ้น 30% คิดเป็นตัวเลขยอดขาย 330 ล้านบาท ในขณะเดียวกัน การรับรู้แบรนด์ฮอท พอทของผู้บริโภคก็ชัดเจนมากขึ้น"
เป็นคำกล่าวของ สกุณา บ่ายเจริญ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ฮอท พอท จำกัด ผู้บริหารร้านอาหารแบรนด์ ฮอท พอท ถึงการรับรู้แบรนด์ฮอท พอทของผู้บริโภค และบอกว่า นอกเหนือจากภาพลักษณ์แบรนด์ที่ชัดเจนแล้ว การให้ความสำคัญกับคุณภาพ ความคุ้มค่าของอาหาร รวมไปถึงการบริการที่เข้าถึงลูกค้ามากที่สุด ก็เป็นหัวใจที่ทำให้ฮอท พอท มีอัตราการเติบโตที่ดีด้วย
สำหรับก้าวต่อไปของฮอท พอท คือ การตั้งเป้าเป็น 1 ในผู้นำอาหารด้านบุฟเฟต์ โดยมีเป้าหมายเป็น 1 ใน 3 แบรนด์ด้านอาหารบุฟเฟต์ที่ผู้บริโภคนึกถึง จากปัจจุบัน ฮอท พอท เป็นแบรนด์ที่อยู่ในท็อป 5 โดยมีซูกิชิ เป็นแบรนด์อาหารบุฟเฟต์ยอดนิยม ตามด้วย ชาบูชิ
การจะทำให้ฮอท พอท เป็น 1 ใน 3 แบรนด์ผู้นำด้านอาหารบุฟเฟต์ ต้องทำหลากหลายอย่าง ทั้งการมีสินค้าหลากหลายตอบโจทย์ความต้องการลูกค้า ช่องทางสาขาที่ครอบคลุม และจุดสำคัญคือ การสื่อสารการตลาดกับผู้บริโภค โดยในส่วนของสินค้า ฮอท พอทยังคงให้ความสำคัญกับรูปแบบร้านและเมนูอาหารหลากหลายที่มีให้เลือกมากกว่า 200 รายการ เพื่อให้เข้าถึงทุกกลุ่มเป้าหมาย
ขณะที่การขยายสาขา ปีนี้ยังเน้นการลงทุนเองเป็นหลัก โดยมีแผนจะขยายเพิ่มเป็น 25 สาขา แบ่งเป็นร้านฮอท พอท บุฟเฟ่ต์ แวลู 21 สาขา และร้านฮอท พอท อินเตอร์ บุฟเฟต์ 4 สาขา ส่งผลให้สิ้นปีนี้ ฮอท พอท จะมีสาขาจาก 84 สาขา เป็น 105 สาขา ทันที
ในส่วนของกลยุทธ์การตลาด เรียกได้ว่าเป็นปีที่น่าจะเข้มข้นสุดสุดของฮอท พอท เพราะผลตอบรับจากการสื่อสารผ่านโฆษณาเมื่อต้นปีจนประสบความสำเร็จล้นหลาม ทำให้ปลายปีนี้ ฮอท พอท มีแผนสื่อสารสร้างแบรนด์ผ่านหนังโฆษณาชุดใหม่ต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับการจัดกิจกรรมกับลูกค้า โดย
ล่าสุดผนึกโค้กจัดแคมเปญ ลุ้นชมฟุตบอล คู่ เชลซีกับแมนฯ ยูฯ ที่อังกฤษ เพื่อจะขยายฐานลูกค้าในกลุ่มคอบอลเพิ่ม
นอกจากนี้ ยังมีการปรับปรุงบัตรสมาชิกใหม่ จากเดิมที่ลูกค้าสามารถใช้บัตรได้เฉพาะ "ฮอท พอท บุฟเฟต์ แวลู" และ "ฮอท พอท ราเมน บุฟเฟต์" มาเป็นใช้ได้ทุกสาขา ซึ่งจะส่งผลให้สมาชิกฮอท พอทสิ้นปีนี้มีถึง 100,000 ราย จากต้นปีมี 30,000 ราย
ไม่เพียงแค่นั้น ฮอท พอท ยังมีแผนที่จะนำบริษัทฯ เข้าจดทะเบียนในตลาด MAI คาดว่าจะยื่นไฟลิ่งได้เดือนหน้า และน่าจะเข้าซื้อขายในตลาดได้ประมาณตุลาคมนี้ พร้อมกันนี้ยังมีแผนรุกตลาดต่างประเทศ ซึ่งนอกจากจะทำให้ภาพลักษณ์แบรนด์สุกี้บุฟเฟต์ ชัดเจนยิ่งขึ้นแล้ว ยังทำให้ฮอท พอท ดูอินเตอร์ขึ้นด้วย โดยในเบื้องต้น เวียดนาม และอินโดนีเซีย คือพื้นที่แรกที่ฮอท พอทเลือกจะเข้าไปปักธง ผ่านทั้งรูปแบบการร่วมทุนกับการขายแฟรนไชส์ แต่กำลังอยู่ระหว่างการศึกษา คาดสิ้นปีนี้น่าจะสามารถสรุปบิสซิเนส โมเดล ได้--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ 360 องศา รายสัปดาห์ ฉบับวันที่ 27 มิ.ย. - 3 ก.ค. 2554--
Source - ผู้จัดการ 360 องศา รายสัปดาห์ (Th)
Friday, June 24, 2011 12:08
28137 XTHAI XECON XCORP XSALES DAS V%PAPERL P%ASMW
หลังจาก"ฮอทพอท" (Hot Pot) รุกสร้างแบรนด์อาหารใหม่ จากร้านอาหารสุกี้ สู่แบรนด์ร้านสุกี้ในแบบบุฟเฟต์ญี่ปุ่น เพื่อสร้างความแปลกใหม่ในการรับประทานสุกี้ สิ่งสำคัญกว่านั้นคือ การฉีกหนีจากเจ้าตลาดอาหารสุกี้ที่มีความแข็งแกร่งอย่าง MK จนยากจะโค่นบัลลังก์ได้ง่ายๆ ถึงวันนี้ ดูเหมือนว่า ก้าวย่างใหม่ของ ฮอทพอท บนหม้อสุกี้กำลังเดือดได้ที่ และพร้อมสยายปีกการเติบโตนอกหม้อสุกี้ในต่างประเทศแบบยั้งไม่อยู่
ก่อนหน้านี้ชื่อของ "ฮอท พอท" ดูจะเทียบฟอร์ม MK สุกี้ ไม่ได้ ทั้งในเชิงยอดขายและส่วนแบ่งตลาดอาหารประเภทสุกี้ แต่การขยับตัวเองไปสู่ตลาดใหม่ นั่นคือ สุกี้ในแบบบุฟเฟต์ ในปีที่ผ่านมา พร้อมอัดงบการตลาดโปรโมตโพซิชันนิ่งใหม่อย่างหนักในช่วงต้นปีที่ผ่านมา ทำให้แบรนด์ ฮอท พอท ดูจะแข็งแกร่งและเป็นที่รับรู้ของผู้บริโภคในตลาดสุกี้มากขึ้น
"ตั้งแต่เราออกโฆษณาสร้างแบรนด์ ทำให้ครึ่งปีแรกเราทำรายได้เติบโตขึ้น 30% คิดเป็นตัวเลขยอดขาย 330 ล้านบาท ในขณะเดียวกัน การรับรู้แบรนด์ฮอท พอทของผู้บริโภคก็ชัดเจนมากขึ้น"
เป็นคำกล่าวของ สกุณา บ่ายเจริญ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ฮอท พอท จำกัด ผู้บริหารร้านอาหารแบรนด์ ฮอท พอท ถึงการรับรู้แบรนด์ฮอท พอทของผู้บริโภค และบอกว่า นอกเหนือจากภาพลักษณ์แบรนด์ที่ชัดเจนแล้ว การให้ความสำคัญกับคุณภาพ ความคุ้มค่าของอาหาร รวมไปถึงการบริการที่เข้าถึงลูกค้ามากที่สุด ก็เป็นหัวใจที่ทำให้ฮอท พอท มีอัตราการเติบโตที่ดีด้วย
สำหรับก้าวต่อไปของฮอท พอท คือ การตั้งเป้าเป็น 1 ในผู้นำอาหารด้านบุฟเฟต์ โดยมีเป้าหมายเป็น 1 ใน 3 แบรนด์ด้านอาหารบุฟเฟต์ที่ผู้บริโภคนึกถึง จากปัจจุบัน ฮอท พอท เป็นแบรนด์ที่อยู่ในท็อป 5 โดยมีซูกิชิ เป็นแบรนด์อาหารบุฟเฟต์ยอดนิยม ตามด้วย ชาบูชิ
การจะทำให้ฮอท พอท เป็น 1 ใน 3 แบรนด์ผู้นำด้านอาหารบุฟเฟต์ ต้องทำหลากหลายอย่าง ทั้งการมีสินค้าหลากหลายตอบโจทย์ความต้องการลูกค้า ช่องทางสาขาที่ครอบคลุม และจุดสำคัญคือ การสื่อสารการตลาดกับผู้บริโภค โดยในส่วนของสินค้า ฮอท พอทยังคงให้ความสำคัญกับรูปแบบร้านและเมนูอาหารหลากหลายที่มีให้เลือกมากกว่า 200 รายการ เพื่อให้เข้าถึงทุกกลุ่มเป้าหมาย
ขณะที่การขยายสาขา ปีนี้ยังเน้นการลงทุนเองเป็นหลัก โดยมีแผนจะขยายเพิ่มเป็น 25 สาขา แบ่งเป็นร้านฮอท พอท บุฟเฟ่ต์ แวลู 21 สาขา และร้านฮอท พอท อินเตอร์ บุฟเฟต์ 4 สาขา ส่งผลให้สิ้นปีนี้ ฮอท พอท จะมีสาขาจาก 84 สาขา เป็น 105 สาขา ทันที
ในส่วนของกลยุทธ์การตลาด เรียกได้ว่าเป็นปีที่น่าจะเข้มข้นสุดสุดของฮอท พอท เพราะผลตอบรับจากการสื่อสารผ่านโฆษณาเมื่อต้นปีจนประสบความสำเร็จล้นหลาม ทำให้ปลายปีนี้ ฮอท พอท มีแผนสื่อสารสร้างแบรนด์ผ่านหนังโฆษณาชุดใหม่ต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับการจัดกิจกรรมกับลูกค้า โดย
ล่าสุดผนึกโค้กจัดแคมเปญ ลุ้นชมฟุตบอล คู่ เชลซีกับแมนฯ ยูฯ ที่อังกฤษ เพื่อจะขยายฐานลูกค้าในกลุ่มคอบอลเพิ่ม
นอกจากนี้ ยังมีการปรับปรุงบัตรสมาชิกใหม่ จากเดิมที่ลูกค้าสามารถใช้บัตรได้เฉพาะ "ฮอท พอท บุฟเฟต์ แวลู" และ "ฮอท พอท ราเมน บุฟเฟต์" มาเป็นใช้ได้ทุกสาขา ซึ่งจะส่งผลให้สมาชิกฮอท พอทสิ้นปีนี้มีถึง 100,000 ราย จากต้นปีมี 30,000 ราย
ไม่เพียงแค่นั้น ฮอท พอท ยังมีแผนที่จะนำบริษัทฯ เข้าจดทะเบียนในตลาด MAI คาดว่าจะยื่นไฟลิ่งได้เดือนหน้า และน่าจะเข้าซื้อขายในตลาดได้ประมาณตุลาคมนี้ พร้อมกันนี้ยังมีแผนรุกตลาดต่างประเทศ ซึ่งนอกจากจะทำให้ภาพลักษณ์แบรนด์สุกี้บุฟเฟต์ ชัดเจนยิ่งขึ้นแล้ว ยังทำให้ฮอท พอท ดูอินเตอร์ขึ้นด้วย โดยในเบื้องต้น เวียดนาม และอินโดนีเซีย คือพื้นที่แรกที่ฮอท พอทเลือกจะเข้าไปปักธง ผ่านทั้งรูปแบบการร่วมทุนกับการขายแฟรนไชส์ แต่กำลังอยู่ระหว่างการศึกษา คาดสิ้นปีนี้น่าจะสามารถสรุปบิสซิเนส โมเดล ได้--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ 360 องศา รายสัปดาห์ ฉบับวันที่ 27 มิ.ย. - 3 ก.ค. 2554--
- densin
- Verified User
- โพสต์: 1073
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สุกี้ฮอทพอท (HOTPOT) เตรียมเข้าตลาดหุ้นตุลาคมนี่้
โพสต์ที่ 57
VI สายมืด = VI หน้ามืดซื้อตัวฮอทๆอย่าไม่ลืมหูลืมตา
-
- Verified User
- โพสต์: 304
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สุกี้ฮอทพอท (HOTPOT) เตรียมเข้าตลาดหุ้นตุลาคมนี่้
โพสต์ที่ 58
ผมว่า Hotpot เขามีลูกค้าของตัวเอง เพราะมันคือ MK ในเวอร์ชั่นกินได้เรื่อยๆ ผมคิดว่าสุกี้กับอาหารญี่ปุ่นมันก็ไม่ได้เหมือนกันซะทีเดียว
ประเด็นก็คือหากเขามีลูกค้าของเขา (ซึ่งอาจไม่ใช่เรา) แล้วคนเข้าร้านเยอะๆ แบบนี้ผมว่าก็น่าลุ้น
เห็นด้วยกับพี่ densin ว่าเขาขายความหลากหลาย + ย่อมเยา ผมเคยกิน Hotpot ไมได้กะว่าอร่อยมาก แค่คิดว่าได้กินไอ้นู่นนิด ไอ้นี่หน่อย ในราคาที่คุมได้
ข้อดีของธุรกิจนี้คือ company visit ง่ายครับ 55 ลองไปดูวันธรรมดา แล้วก็วันหยุด เทียบกับโออิชิ หรือ MK ในห้างเดียวกันก็คงพอจะเห็นภาพ ถ้ามันพอฟัดพอเหวี่ยงผมว่าน่าสน เพราะเงินที่เข้ามาขยายร้าน + ครัวกลางจะทำให้เกิด economy of scale ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ สำหรับธุรกิจบุฟเฟต์
แล้วถ้ามีร้านเยอะๆ มีฐานลูกค้าแน่นๆ ต่อไปจะทำอะไรขายก็ไม่ต้องลงทุนร้านเพิ่ม ลงทุนออกสินค้าใหม่ๆ และใช้ร้านที่มีอยู่เป็นจุดขาย ผมว่าโอเคเลยนะครับ
ประเด็นก็คือหากเขามีลูกค้าของเขา (ซึ่งอาจไม่ใช่เรา) แล้วคนเข้าร้านเยอะๆ แบบนี้ผมว่าก็น่าลุ้น
เห็นด้วยกับพี่ densin ว่าเขาขายความหลากหลาย + ย่อมเยา ผมเคยกิน Hotpot ไมได้กะว่าอร่อยมาก แค่คิดว่าได้กินไอ้นู่นนิด ไอ้นี่หน่อย ในราคาที่คุมได้
ข้อดีของธุรกิจนี้คือ company visit ง่ายครับ 55 ลองไปดูวันธรรมดา แล้วก็วันหยุด เทียบกับโออิชิ หรือ MK ในห้างเดียวกันก็คงพอจะเห็นภาพ ถ้ามันพอฟัดพอเหวี่ยงผมว่าน่าสน เพราะเงินที่เข้ามาขยายร้าน + ครัวกลางจะทำให้เกิด economy of scale ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ สำหรับธุรกิจบุฟเฟต์
แล้วถ้ามีร้านเยอะๆ มีฐานลูกค้าแน่นๆ ต่อไปจะทำอะไรขายก็ไม่ต้องลงทุนร้านเพิ่ม ลงทุนออกสินค้าใหม่ๆ และใช้ร้านที่มีอยู่เป็นจุดขาย ผมว่าโอเคเลยนะครับ
- densin
- Verified User
- โพสต์: 1073
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สุกี้ฮอทพอท (HOTPOT) เตรียมเข้าตลาดหุ้นตุลาคมนี่้
โพสต์ที่ 60
ไหนๆก็ไหนๆ ให้modเปิดห้อง IPO & ReHapcoไปเลยดีไหมครับPaul VI เขียน:ไหนๆก็คุยเรื่องนี้กันแล้ว แล้วไดโดมอนล่ะ เป็นไงบ้างครับ
สำหรับตำแหน่งทางการตลาดของเค้าตอนนี้
ขอความรู้บ้างครับ
เห็นหุ้นtradeวันแรก มันร้อนแรงจี๊ดจ๊าดทุกตัว
การได้คุยหาข้อมูลไว้ก่อน อาจจะป้องกันการเป็นแมงเม่าหุ้นร้อนวันแรก
VI สายมืด = VI หน้ามืดซื้อตัวฮอทๆอย่าไม่ลืมหูลืมตา