หุ้นพื้นฐาน โดยพี่สุมาอี้
-
- Verified User
- โพสต์: 185
- ผู้ติดตาม: 0
หุ้นพื้นฐาน โดยพี่สุมาอี้
โพสต์ที่ 1
หุ้นพื้นฐาน? โดยพี่สุมาอี้ครับ
ที่จริงผมไม่ค่อยอยากแตะเรื่องนี้เท่าไร แต่ไม่ทราบว่าทำไมช่วงนี้ถึงได้มีนักลงทุนมาบ่นกับผมเรื่องขาดทุนหุ้นเป็นจำนวนมากจนผิดปกติ เลยอยากฝากมุมมองบางอย่างไว้ เผื่อว่าบางมุมอาจจะเป็นประโยชน์กับท่านนักลงทุนบ้างนะครับ
แต่ไหนแต่ไรมาเป็นที่รู้กันดีว่าตลาดหุ้นไทยมีขาใหญ่ที่เป็นขบวนการปั่นหุ้นสิงสถิตย์อยู่ คนกลุ่มนี้มีข้อได้เปรียบนักลงทุนทุกรูปแบบ ตั้งแต่สามารถบอกให้สื่อช่วยเขียนข่าวตามใจได้ มีช่องทางประจำสำหรับการปล่อยข่าวลือในห้องค้า และที่เด็ดสุดคือมีการจับมือกับผู้บริหารของหุ้นที่จะปั่นด้วย คือต่อให้เทรดหุ้นผิดพลาดเองก็ยังบอกให้บริษัทช่วยออกข่าว ออกวอแรนต์ เพิ่มทุน หรือตัดขาดทุนรายการพิเศษ เพื่อให้ตัวเองพลิกกลับมากำไรได้อีก นักลงทุนกลุ่มนี้จึงเล่มเกมที่ตัวเองมีข้อได้เปรียบนักลงทุนคนอื่นอย่างมากมาย
แต่ที่จริงผมกลับไม่ค่อยเป็นห่วงเรื่องนี้เท่าไร เพราะสมัยนี้ หุ้นที่ขบวนการพวกนี้ปั่นอยู่มักเป็นที่รู้และพูดถึงกันทั่วไปในตลาดหุ้น ถ้านักลงทุนอยากรู้ว่ามีตัวไหนบ้างก็มักหาคำตอบได้โดยง่าย รายย่อยที่เกรงกลัวภัยพวกนี้มักจะไม่เข้าไปยุ่งกับหุ้นพวกนี้กันอยู่แล้ว ส่วนรายย่อยอีกจำพวกหนึ่ง ที่หากได้ยินว่าขาใหญ่จะปั่นตัวไหนก็จะรีบเข้าไปเล่นด้วยทันที (ยิ่งมีเจ้า ข้ายิ่งชอบ) กลุ่มนี้ผมก็ไม่ห่วงเช่นกัน เพราะพวกนี้มักจะเข้าไปโดยรู้อยู่แล้วว่ามีอันตราย จึงมีการระวังตัวแจ พวกนี้ถ้าเจ็บตัวมา ผมไม่ค่อยรู้สึกว่าน่าสงสารมากเท่าไร เหมือนเวลาดูมวย เราไม่ได้สงสารนักมวยบนเวทีเวลาที่เขาโดนต่อยเพราะเรารู้ว่าเขาเลือกอาชีพของเขาเองและเขารู้ดีก่อนเลือกว่าการเป็นนักมวยจะต้องเจ็บตัว
แต่ยุคหลังๆ นี้ คนที่ขาดทุนมากๆ กลับไม่ใช่แบบที่ว่ามา แต่กลับเป็นคนที่ขาดทุนจากหุ้นที่เขาซื้อเพราะคิดว่าเป็นหุ้นพื้นฐาน คนขาดทุนหุ้นในลักษณะนี้เริ่มมีมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเป็นแบบที่ผมรู้สึกสลดใจมากกว่าแบบดั่งเดิมมาก เพราะเป็นการขาดทุนที่มาจากความเข้าใจผิด ความหลงผิด หรือความไม่รู้ เป็นการขาดทุนที่มีต้นเหตุมาจากความศรัทธามากกว่าความโลภ คนที่มาปรับทุกข์กับผมคนหนึ่งบอกว่า เขาเพิ่งจะสิ้นเนื้อประดาตัวไปกับหุ้นตัวเดียวที่คิดว่าซื้อได้เต็มที่เพราะว่าเป็นหุ้นพื้นฐาน
ปกติแล้ว คนที่ซื้อหุ้นที่คิดว่าเป็นหุ้นปั่น มักจะซื้อแบบยั้งๆ เพราะตระหนักดีว่า มีอันตรายอะไรอยู่ แต่คนที่ซื้อหุ้นเพราะคิดว่าเป็นหุ้นพื้นฐานนั้น น่ากลัวกว่ามาก พวกเขาจะกล้าซื้อแบบทุ่มสุดตัว เพราะคิดว่ามีพื้นฐานรองรับอยู่ ถ้าซื้อแล้วลง ก็กล้าซื้อหนักขึ้นอีก เพราะเชื่อว่าหุ้นพื้นฐานดี ยิ่งตก ต้องยิ่งซื้อ ขนาดความเสียหายของคนที่ขาดทุนหุ้นพื้นฐานนั้นมักจะรุนแรงมากเป็นพิเศษ
อยากเตือนเพื่อนนักลงทุนทุกคนว่า ไม่มีหุ้นส่วนหนึ่งในตลาดหุ้นที่เรียกว่า “หุ้นพื้นฐาน” ซึ่งจะปลอดภัยจากภาวะฟองสบู่ หรือการสร้างราคาใดๆ หรอกครับ (จะมีก็แต่แนวการลงทุนแบบวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานเท่านั้น) หุ้นทุกตัวในตลาดสามารถกลายเป็น “หุ้นปั่น” หรือเกิดภาวะฟองสบู่ได้ทั้งสิ้นถ้าหากมีคนสนใจหุ้นตัวนั้นมากๆ
เวลาหุ้นที่ไม่ได้มี “ภาพลักษณ์” ว่าเป็นหุ้นพื้นฐานปรับตัวขึ้นอย่างรุนแรงในระยะเวลาอันสั้น เรามักอธิบายกันว่าเป็นเพราะมีคน “ปั่น” อยู่ แต่ถ้าหากเป็นหุ้นที่คนดังในเว็บหุ้นแนว “พื้นฐาน” เชียร์ ปรับตัวขึ้นแบบเดียวกันบ้าง เรามักอธิบายกันว่า เป็นการขึ้นเพราะ “พื้นฐาน” ที่ดี แต่ที่จริงแล้วผมอยากจะโต้แย้งว่าหุ้นที่ขึ้นได้มากๆ หลังจากที่มีการเชียร์กันตามเว็บหุ้นพื้นฐานนั้น ไม่ได้ขึ้นได้เพราะพื้นฐานแต่ขึ้นได้เพราะเกิดภาวะ “แห่ตามกัน” ของนักลงทุน แบบเดียวกับเวลาที่หุ้นเก็งกำไรปรับตัวขึ้นได้แรงเลยครับ
เหตุผลหนึ่งที่ชอบอ้างกันก็คือว่าขึ้นได้เพราะเป็นหุ้นที่ยังมีพีอีเรโชที่ต่ำมาก แต่ผมอยากจะแย้งว่า หุ้นที่มีพีอีที่ต่ำมากนั้น มีอยู่อย่างดาษดื่นตลอดเวลาในตลาดหุ้นไทย และกี่ปีกี่ปี พวกมันก็ยังมีพีอีต่ำมากอยู่อย่างนั้น ไม่เห็นว่าจะขึ้น การที่หุ้นมีพีอีต่ำมากจึงไม่ใช่เหตุผลที่หุ้นจะต้องขึ้น บ่อยครั้งที่หุ้นบางตัวมีพีอีที่ต่ำมากเป็นเพราะพวกมันมีอะไรบางอย่างที่ไม่ดีอยู่ เช่น เป็นธุรกิจที่กำไรค่อนข้างเปราะบาง อุตสาหกรรมที่เป็นวัฏจักรผันผวนสูง หรืออาจเกิดจากสถานะทางการเงินที่อ่อนแอ ต่างหาก การที่พวกมันมีพีอีต่ำมาก จึงเป็นพีอีต่ำที่มีเหตุผลของมันอยู่ แต่การที่หุ้นพีอีต่ำมากขึ้นได้หลังจากที่เซียนเชียร์นั้นเป็นเพราะว่าเกิดภาวะที่นักลงทุนแห่ซื้อตามเซียนต่างหาก หุ้นพวกนี้พอมีข่าวร้ายเกิดขึ้นเมื่อไร บารมีของเซียนเอาไม่อยู่ พีอีก็จะตกกลับลงมาต่ำเหมือนเดิมใหม่ แต่ราคาหุ้นจะต่ำยิ่งกว่าเดิม เพราะว่าข่าวร้ายทำให้ E ลดลงด้วย นักลงทุนที่แห่ซื้อตามเซียนไป ก็มักจะขาดทุนเสียหายกันเป็นจำนวนมาก เพราะต้นทุนสูงกว่าเซียนมาก
ฟองสบู่ในหุ้นพื้นฐานบางทีก็ไม่ได้เกิดจากเหตุผลเรื่องพื้นฐานของหุ้นตัวนั้นเอง แต่เกิดจากการศรัทธาในตัวบุคคลของผู้ที่เชียร์หุ้นตัวนั้นมากกว่า ชื่อของเซียนบางคนเป็นแบรนด์ที่ทรงพลัง แค่ข่าวรั่วออกไปว่าเข้าไปถือหุ้นตัวไหน คนจำนวนมหาศาลก็พร้อมที่จะซื้อหุ้นตัวนั้นตามทันทีโดยไม่ต้องถามเหตุผล เพราะเลื่อมใสในเซียนผู้นั้นมาก แบบว่าถ้าเซียนคนนี้คิดว่าดี ยังไงก็ต้องดีแน่ๆ ไม่มีทางพลาด เก่งออกขนาดนั้น ชื่อนี้การันตี ตกลงว่าพื้นฐานดีจริงหรือเปล่ายังไม่มีใครรู้ แต่ที่แน่ๆ ราคาหุ้นพุ่งขึ้นไปก่อนแล้วแน่นอนเพราะเกิดจากแรงซื้อของสาวกนั่นแหละ
ถ้าใครชอบไปตามดูของเก่าจะพบว่า หุ้นหลายตัวที่ราคาเคยทะยานได้อย่างมากมายช่วงหนึ่งในอดีต เพราะมีเซียนคนนั้นคนนี้ออกมาบอกว่า จะได้โปรเจ็คใหญ่ ทำให้กำไรก้าวกระโดดเท่านั้นเท่านี้ แต่สุดท้ายแล้ว ผลประกอบการกลับไม่ได้เพิ่มขึ้นเลยนั้น มีอยู่เยอะมาก ที่กลับตาลปัตร กลายเป็นขาดทุนแถมยังเจอเพิ่มทุนอีกมหาศาลก็มีไม่ใช่น้อยๆ เลย ถ้าลองทำตัวเป็นนักสืบย้อนรอยตามไปเก็บผลงานเก่าๆ ดูจะตกกะใจว่า ที่จริงแล้ว ความถี่ที่เซียนคิดถูกนั้นน้อยพอๆ กับคนธรรมดาเลยทีเดียว แต่ก่อนที่ผลสอบจะออกมา ราคาหุ้นก็มักปรับตัวขึ้นไปได้อย่างมากมายแล้ว นั่นก็เพราะแรงศรัทธาในตัวเซียนล้วนๆ
ผมไม่ได้เป็นห่วงทุกคนที่ซื้อหุ้นตามเซียนหุ้นพื้นฐานหรือหุ้นที่กำลังเชียร์ๆ กันในเว็บหุ้นพื้นฐานหรอกครับ ที่จริงแล้วมีนักเก็งกำไรจำนวนมากที่ได้กำไรไปอย่างมากมายจากการฉกฉวยโอกาสกับหุ้นเหล่านี้ เพราะคนที่เข้าใจว่า หุ้นพื้นฐานเหล่านี้ขึ้นมาแรงเพราะเกิดสภาวะแห่ตามกันเท่านั้นเอง ส่วนของจริงจะดีอย่างที่เชียร์กันหรือไม่ยังไม่มีใครรู้ ไม่น่าห่วงหรอกครับ หรือคนที่เห็นด้วยกับเหตุผลด้านพื้นฐาน แต่ก็เข้าใจด้วยว่า ราคาที่ปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็วนี้เกิดจากการแห่ตามกันของนักลงทุนไปก่อนเท่านั้น ก็ไม่น่าเป็นห่วงเช่นกัน แต่คนที่หลงผิดคิดว่าหุ้นปรับตัวขึ้นมาแรงได้เป็นเพราะว่าพื้นฐานมันดีจริงแล้วนั้น เป็นพวกที่ผมห่วงที่สุด เพราะผมพบว่า คนที่เจ็บตัวจากหุ้นพื้นฐานแล้วมาปรับทุกข์ให้ผมฟังนั้นล้วนเป็นคนที่คิดแบบนี้กันทั้งนั้น
Read more: http://dekisugi.net/archives/7638#ixzz1PAkhNnt1
ที่จริงผมไม่ค่อยอยากแตะเรื่องนี้เท่าไร แต่ไม่ทราบว่าทำไมช่วงนี้ถึงได้มีนักลงทุนมาบ่นกับผมเรื่องขาดทุนหุ้นเป็นจำนวนมากจนผิดปกติ เลยอยากฝากมุมมองบางอย่างไว้ เผื่อว่าบางมุมอาจจะเป็นประโยชน์กับท่านนักลงทุนบ้างนะครับ
แต่ไหนแต่ไรมาเป็นที่รู้กันดีว่าตลาดหุ้นไทยมีขาใหญ่ที่เป็นขบวนการปั่นหุ้นสิงสถิตย์อยู่ คนกลุ่มนี้มีข้อได้เปรียบนักลงทุนทุกรูปแบบ ตั้งแต่สามารถบอกให้สื่อช่วยเขียนข่าวตามใจได้ มีช่องทางประจำสำหรับการปล่อยข่าวลือในห้องค้า และที่เด็ดสุดคือมีการจับมือกับผู้บริหารของหุ้นที่จะปั่นด้วย คือต่อให้เทรดหุ้นผิดพลาดเองก็ยังบอกให้บริษัทช่วยออกข่าว ออกวอแรนต์ เพิ่มทุน หรือตัดขาดทุนรายการพิเศษ เพื่อให้ตัวเองพลิกกลับมากำไรได้อีก นักลงทุนกลุ่มนี้จึงเล่มเกมที่ตัวเองมีข้อได้เปรียบนักลงทุนคนอื่นอย่างมากมาย
แต่ที่จริงผมกลับไม่ค่อยเป็นห่วงเรื่องนี้เท่าไร เพราะสมัยนี้ หุ้นที่ขบวนการพวกนี้ปั่นอยู่มักเป็นที่รู้และพูดถึงกันทั่วไปในตลาดหุ้น ถ้านักลงทุนอยากรู้ว่ามีตัวไหนบ้างก็มักหาคำตอบได้โดยง่าย รายย่อยที่เกรงกลัวภัยพวกนี้มักจะไม่เข้าไปยุ่งกับหุ้นพวกนี้กันอยู่แล้ว ส่วนรายย่อยอีกจำพวกหนึ่ง ที่หากได้ยินว่าขาใหญ่จะปั่นตัวไหนก็จะรีบเข้าไปเล่นด้วยทันที (ยิ่งมีเจ้า ข้ายิ่งชอบ) กลุ่มนี้ผมก็ไม่ห่วงเช่นกัน เพราะพวกนี้มักจะเข้าไปโดยรู้อยู่แล้วว่ามีอันตราย จึงมีการระวังตัวแจ พวกนี้ถ้าเจ็บตัวมา ผมไม่ค่อยรู้สึกว่าน่าสงสารมากเท่าไร เหมือนเวลาดูมวย เราไม่ได้สงสารนักมวยบนเวทีเวลาที่เขาโดนต่อยเพราะเรารู้ว่าเขาเลือกอาชีพของเขาเองและเขารู้ดีก่อนเลือกว่าการเป็นนักมวยจะต้องเจ็บตัว
แต่ยุคหลังๆ นี้ คนที่ขาดทุนมากๆ กลับไม่ใช่แบบที่ว่ามา แต่กลับเป็นคนที่ขาดทุนจากหุ้นที่เขาซื้อเพราะคิดว่าเป็นหุ้นพื้นฐาน คนขาดทุนหุ้นในลักษณะนี้เริ่มมีมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเป็นแบบที่ผมรู้สึกสลดใจมากกว่าแบบดั่งเดิมมาก เพราะเป็นการขาดทุนที่มาจากความเข้าใจผิด ความหลงผิด หรือความไม่รู้ เป็นการขาดทุนที่มีต้นเหตุมาจากความศรัทธามากกว่าความโลภ คนที่มาปรับทุกข์กับผมคนหนึ่งบอกว่า เขาเพิ่งจะสิ้นเนื้อประดาตัวไปกับหุ้นตัวเดียวที่คิดว่าซื้อได้เต็มที่เพราะว่าเป็นหุ้นพื้นฐาน
ปกติแล้ว คนที่ซื้อหุ้นที่คิดว่าเป็นหุ้นปั่น มักจะซื้อแบบยั้งๆ เพราะตระหนักดีว่า มีอันตรายอะไรอยู่ แต่คนที่ซื้อหุ้นเพราะคิดว่าเป็นหุ้นพื้นฐานนั้น น่ากลัวกว่ามาก พวกเขาจะกล้าซื้อแบบทุ่มสุดตัว เพราะคิดว่ามีพื้นฐานรองรับอยู่ ถ้าซื้อแล้วลง ก็กล้าซื้อหนักขึ้นอีก เพราะเชื่อว่าหุ้นพื้นฐานดี ยิ่งตก ต้องยิ่งซื้อ ขนาดความเสียหายของคนที่ขาดทุนหุ้นพื้นฐานนั้นมักจะรุนแรงมากเป็นพิเศษ
อยากเตือนเพื่อนนักลงทุนทุกคนว่า ไม่มีหุ้นส่วนหนึ่งในตลาดหุ้นที่เรียกว่า “หุ้นพื้นฐาน” ซึ่งจะปลอดภัยจากภาวะฟองสบู่ หรือการสร้างราคาใดๆ หรอกครับ (จะมีก็แต่แนวการลงทุนแบบวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานเท่านั้น) หุ้นทุกตัวในตลาดสามารถกลายเป็น “หุ้นปั่น” หรือเกิดภาวะฟองสบู่ได้ทั้งสิ้นถ้าหากมีคนสนใจหุ้นตัวนั้นมากๆ
เวลาหุ้นที่ไม่ได้มี “ภาพลักษณ์” ว่าเป็นหุ้นพื้นฐานปรับตัวขึ้นอย่างรุนแรงในระยะเวลาอันสั้น เรามักอธิบายกันว่าเป็นเพราะมีคน “ปั่น” อยู่ แต่ถ้าหากเป็นหุ้นที่คนดังในเว็บหุ้นแนว “พื้นฐาน” เชียร์ ปรับตัวขึ้นแบบเดียวกันบ้าง เรามักอธิบายกันว่า เป็นการขึ้นเพราะ “พื้นฐาน” ที่ดี แต่ที่จริงแล้วผมอยากจะโต้แย้งว่าหุ้นที่ขึ้นได้มากๆ หลังจากที่มีการเชียร์กันตามเว็บหุ้นพื้นฐานนั้น ไม่ได้ขึ้นได้เพราะพื้นฐานแต่ขึ้นได้เพราะเกิดภาวะ “แห่ตามกัน” ของนักลงทุน แบบเดียวกับเวลาที่หุ้นเก็งกำไรปรับตัวขึ้นได้แรงเลยครับ
เหตุผลหนึ่งที่ชอบอ้างกันก็คือว่าขึ้นได้เพราะเป็นหุ้นที่ยังมีพีอีเรโชที่ต่ำมาก แต่ผมอยากจะแย้งว่า หุ้นที่มีพีอีที่ต่ำมากนั้น มีอยู่อย่างดาษดื่นตลอดเวลาในตลาดหุ้นไทย และกี่ปีกี่ปี พวกมันก็ยังมีพีอีต่ำมากอยู่อย่างนั้น ไม่เห็นว่าจะขึ้น การที่หุ้นมีพีอีต่ำมากจึงไม่ใช่เหตุผลที่หุ้นจะต้องขึ้น บ่อยครั้งที่หุ้นบางตัวมีพีอีที่ต่ำมากเป็นเพราะพวกมันมีอะไรบางอย่างที่ไม่ดีอยู่ เช่น เป็นธุรกิจที่กำไรค่อนข้างเปราะบาง อุตสาหกรรมที่เป็นวัฏจักรผันผวนสูง หรืออาจเกิดจากสถานะทางการเงินที่อ่อนแอ ต่างหาก การที่พวกมันมีพีอีต่ำมาก จึงเป็นพีอีต่ำที่มีเหตุผลของมันอยู่ แต่การที่หุ้นพีอีต่ำมากขึ้นได้หลังจากที่เซียนเชียร์นั้นเป็นเพราะว่าเกิดภาวะที่นักลงทุนแห่ซื้อตามเซียนต่างหาก หุ้นพวกนี้พอมีข่าวร้ายเกิดขึ้นเมื่อไร บารมีของเซียนเอาไม่อยู่ พีอีก็จะตกกลับลงมาต่ำเหมือนเดิมใหม่ แต่ราคาหุ้นจะต่ำยิ่งกว่าเดิม เพราะว่าข่าวร้ายทำให้ E ลดลงด้วย นักลงทุนที่แห่ซื้อตามเซียนไป ก็มักจะขาดทุนเสียหายกันเป็นจำนวนมาก เพราะต้นทุนสูงกว่าเซียนมาก
ฟองสบู่ในหุ้นพื้นฐานบางทีก็ไม่ได้เกิดจากเหตุผลเรื่องพื้นฐานของหุ้นตัวนั้นเอง แต่เกิดจากการศรัทธาในตัวบุคคลของผู้ที่เชียร์หุ้นตัวนั้นมากกว่า ชื่อของเซียนบางคนเป็นแบรนด์ที่ทรงพลัง แค่ข่าวรั่วออกไปว่าเข้าไปถือหุ้นตัวไหน คนจำนวนมหาศาลก็พร้อมที่จะซื้อหุ้นตัวนั้นตามทันทีโดยไม่ต้องถามเหตุผล เพราะเลื่อมใสในเซียนผู้นั้นมาก แบบว่าถ้าเซียนคนนี้คิดว่าดี ยังไงก็ต้องดีแน่ๆ ไม่มีทางพลาด เก่งออกขนาดนั้น ชื่อนี้การันตี ตกลงว่าพื้นฐานดีจริงหรือเปล่ายังไม่มีใครรู้ แต่ที่แน่ๆ ราคาหุ้นพุ่งขึ้นไปก่อนแล้วแน่นอนเพราะเกิดจากแรงซื้อของสาวกนั่นแหละ
ถ้าใครชอบไปตามดูของเก่าจะพบว่า หุ้นหลายตัวที่ราคาเคยทะยานได้อย่างมากมายช่วงหนึ่งในอดีต เพราะมีเซียนคนนั้นคนนี้ออกมาบอกว่า จะได้โปรเจ็คใหญ่ ทำให้กำไรก้าวกระโดดเท่านั้นเท่านี้ แต่สุดท้ายแล้ว ผลประกอบการกลับไม่ได้เพิ่มขึ้นเลยนั้น มีอยู่เยอะมาก ที่กลับตาลปัตร กลายเป็นขาดทุนแถมยังเจอเพิ่มทุนอีกมหาศาลก็มีไม่ใช่น้อยๆ เลย ถ้าลองทำตัวเป็นนักสืบย้อนรอยตามไปเก็บผลงานเก่าๆ ดูจะตกกะใจว่า ที่จริงแล้ว ความถี่ที่เซียนคิดถูกนั้นน้อยพอๆ กับคนธรรมดาเลยทีเดียว แต่ก่อนที่ผลสอบจะออกมา ราคาหุ้นก็มักปรับตัวขึ้นไปได้อย่างมากมายแล้ว นั่นก็เพราะแรงศรัทธาในตัวเซียนล้วนๆ
ผมไม่ได้เป็นห่วงทุกคนที่ซื้อหุ้นตามเซียนหุ้นพื้นฐานหรือหุ้นที่กำลังเชียร์ๆ กันในเว็บหุ้นพื้นฐานหรอกครับ ที่จริงแล้วมีนักเก็งกำไรจำนวนมากที่ได้กำไรไปอย่างมากมายจากการฉกฉวยโอกาสกับหุ้นเหล่านี้ เพราะคนที่เข้าใจว่า หุ้นพื้นฐานเหล่านี้ขึ้นมาแรงเพราะเกิดสภาวะแห่ตามกันเท่านั้นเอง ส่วนของจริงจะดีอย่างที่เชียร์กันหรือไม่ยังไม่มีใครรู้ ไม่น่าห่วงหรอกครับ หรือคนที่เห็นด้วยกับเหตุผลด้านพื้นฐาน แต่ก็เข้าใจด้วยว่า ราคาที่ปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็วนี้เกิดจากการแห่ตามกันของนักลงทุนไปก่อนเท่านั้น ก็ไม่น่าเป็นห่วงเช่นกัน แต่คนที่หลงผิดคิดว่าหุ้นปรับตัวขึ้นมาแรงได้เป็นเพราะว่าพื้นฐานมันดีจริงแล้วนั้น เป็นพวกที่ผมห่วงที่สุด เพราะผมพบว่า คนที่เจ็บตัวจากหุ้นพื้นฐานแล้วมาปรับทุกข์ให้ผมฟังนั้นล้วนเป็นคนที่คิดแบบนี้กันทั้งนั้น
Read more: http://dekisugi.net/archives/7638#ixzz1PAkhNnt1
ลงทุนในความรู้ นำไปสู่อิสระภาพทางการเงิน
ลงทุนในบุญกุศล นำไปสู่อิสระภาพทางใจ
ลงทุนในบุญกุศล นำไปสู่อิสระภาพทางใจ
- generalman
- Verified User
- โพสต์: 81
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หุ้นพื้นฐาน โดยพี่สุมาอี้
โพสต์ที่ 3
ได้ข้อคิดสุดยอดมากเลยครับ
"Investing is not a game where the guy with 160 IQ beats the guy with 130 IQ. What is needed is a sound intellectual framework for making decisions and the ability to keep emotions from corroding the framework."
Warren Buffett
Warren Buffett
-
- Verified User
- โพสต์: 2606
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หุ้นพื้นฐาน โดยพี่สุมาอี้
โพสต์ที่ 6
ถูกต้องนะครับบ เดี๋ยวนี้ทำอะไรก็ต้องระวัง CI Effect !!!
- กล้วยไม้ขาว
- Verified User
- โพสต์: 1074
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หุ้นพื้นฐาน โดยพี่สุมาอี้
โพสต์ที่ 7
ท่านแม่ทัพก็ยังมองได้ทะลุอยู่เสมอ
-
- Verified User
- โพสต์: 1601
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หุ้นพื้นฐาน โดยพี่สุมาอี้
โพสต์ที่ 8
ขอบคุณครับ เตือน CI แบบผมได้ดีทีเดียว ตอนนี้รู้สึกขาดทุนเป็นเรื่องง่ายกว่าได้กำไรมากมาย
- dino
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1281
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หุ้นพื้นฐาน โดยพี่สุมาอี้
โพสต์ที่ 13
1 ซื้อหุ้นของกิจการที่ดี
2 มีกำไรต่อเนื่องไปในอนาคต
3 ซื้อในราคาที่ต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงของกิจการ
4 ผู้บริหารมีคุณธรรมและความสามารถ
5 และถือมันไว้ ตราบที่มันยังเป็นธุรกิจที่ดีอยู่
วอเรนซ์ บัฟเฟตต์
2 มีกำไรต่อเนื่องไปในอนาคต
3 ซื้อในราคาที่ต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงของกิจการ
4 ผู้บริหารมีคุณธรรมและความสามารถ
5 และถือมันไว้ ตราบที่มันยังเป็นธุรกิจที่ดีอยู่
วอเรนซ์ บัฟเฟตต์
- murder_doll
- Verified User
- โพสต์: 1608
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หุ้นพื้นฐาน โดยพี่สุมาอี้
โพสต์ที่ 16
เป็นบทความที่ตรงและดีมากๆครับ ตามเซียน 555+
เงินทองเป็นของมายา
ข้าวปลาคือของจริง
ข้าวปลาคือของจริง
- todto
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 201
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หุ้นพื้นฐาน โดยพี่สุมาอี้
โพสต์ที่ 17
ที่จริงก็เป็นกันทั่วโลกเนอะ
--------------------------------------------------------------------------------
Link: http://dekisugi.net/archives/11852
ในปี 2008 วอเรน บัฟเฟต ได้ตัดสินใจเข้าลงทุนใน BYD บริษัทสัญชาติจีนผู้ผลิตรถยนต์ แบตเตอรีมือถือ และแผงโซล่าร์เซลล์ โดยเข้าถือหุ้นในบริษัทคิดเป็นสัดส่วนทั้งสิ้น 10%
ก่อนหน้านั้น BYD เริ่มต้นประสบความสำเร็จจากธุรกิจแบตเตอรีมือถือเป็นอันดับแรก เมื่อธุรกิจแบตเตอรีของบริษัทเริ่มอิ่มตัว BYD ก็ก้าวเข้าสู่ธุรกิจรถยนต์ โดยผลิตรถยนต์ขนาดเล็กที่มีราคาถูกมาก แต่มีฟังก์ชั่นอย่างครบครัน ทำให้บริษัทประสบความสำเร็จอย่างงดงามได้อีกครั้ง
ชาร์ลี มังเจอร์ คู่หูของบัฟเฟตนั้น ประทับใจในตัว Mr.Wang ประธาน BYD เป็นอย่างมากถึงกับบอกว่า เขาผู้นี้คือส่วนผสมระหว่าง โธมัส เอดิสันในด้านวิศวกรรม และแจ็ค เวลช์ ในด้านการจัดการธุรกิจ หลังจากบัฟเฟตเข้าลงทุน แผนการต่อไปของ BYD (ชื่อบริษัทนั้นย่อมาจากคำว่า Build Your Dreams) คือ การผลิตรถยนต์ไฮบริดจ์รุ่นแรกที่สามารถสับเปลี่ยนการใช้พลังงานจากน้ำมันเป็นไฟฟ้าได้อย่างง่ายดายเพียงแค่คนขับกดสวิทซ์ไปมาเท่านั้น
ผลปรากฏว่า หลังจากที่ข่าวบัฟเฟตเข้าลงทุนใน BYD ถูกเปิดเผยออกมา ราคาหุ้น BYD ก็ปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็วจาก HK$8.xx ไปถึง HK$85.5 หรือกว่าเก้าเท่าตัว ภายในช่วงเวลาไม่ถึงหนึ่งปี ทำให้เบิร์กไชส์ ฮาร์ดาเวย์ บริษัทการลงทุนของบัฟเฟตบันทึกกำไรอย่างงดงาม ตลาดให้ความมั่นใจกับการตัดสินใจของบัฟเฟตหนนี้มาก เพราะแม้ดีลนี้จะถูกมองว่าบัฟเฟตเลือกลงทุนนอกความถนัดของเขา แถมยังเป็นการลงทุนนอกสหรัฐฯ อีกต่างหาก แต่ก่อนหน้านี้ บัฟเฟตก็เคยตัดสินใจลงทุนในบริษัทน้ำมันของจีน เปโตรไชน่า และได้กำไรอย่างมหาศาลในเวลาที่รวดเร็วมาแล้ว
อย่างไรก็ตาม หลังจากการเข้าลงทุนของบัฟเฟต BYD ได้ไม่นานนัก BYD ก็เริ่มประสบปัญหาอย่างต่อเนื่อง บริษัทยังคงไม่สามารถเข็นรถไฮบริดจ์รุ่นที่ฝันไว้ออกมาได้จนถึงปัจจุบัน ในขณะที่ รถไฮบริดจ์ที่วางแผนจะออกจำหน่ายในสหรัฐฯ ก็มีกำหนดต้องเลื่อนออกไปรุ่นแล้วรุ่นเล่า รถยนต์รุ่นเก่าๆ ของ BYD ในจีนที่เคยประสบความสำเร็จก็เริ่มสูญเสียส่วนแบ่งตลาดอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากมีบริษัทคู่แข่งที่ออกรถแบบเดียวกันในราคาที่ต่ำกว่าหรือมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยกว่าออกมาอย่างต่อเนื่อง จนทำให้รถของ BYD สูญเสียความน่าดึงดูดในตลาดจีนไป
ในแง่รายได้ แม้ว่า BYD จะมียอดขายเติบโตถึง 18% ในปี 2010 แต่ก็ต่ำกว่าเป้าหมายที่บริษัทได้ตั้งเอาไว้เป็นอย่างมาก และเมื่อ เทียบกับตลาดจีนโดยรวมที่เติบโตกว่า 33% แล้วต้องถือได้ว่าคือความล้มเหลว อีกทั้งเมื่อเร็วนี้ๆ บริษัทก็ยังคาดว่า ยอดขายในปี 2011 อาจลดลงมากถึง 20% yoy เนื่องมาจากภาวะตลาดรถยนต์ในจีนปีนี้ดูไม่สดใสนัก
นอกจากนี้ บริษัทก็ยังเผชิญกับวิบากกรรมจากการถูกทางการปรับเงินในคดีซื้อที่ดินที่ใช้สร้างโรงงานมาอย่างไม่ถูกกฏหมาย และงบการเงินของบริษัทก็ยังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับยอดขายบางส่วนของบริษัท ซึ่งอาจเกิดจากการผลักดันสินค้าไปยังงบของดีลเลอร์มากเกินกว่ายอดขายแท้จริงที่ขายสู่ผู้บริโภค เพื่อดันตัวเลขรายได้ให้ดูสูงขึ้นกว่าความเป็นจริงอีกด้วย
ข่าวร้ายที่ทยอยออกมาอย่างต่อเนื่องเหล่านี้ได้ลดความมั่นใจของตลาดเกี่ยวกับธุรกิจของ BYD ลงอย่างต่อเนื่อง จนทำให้ราคาหุ้นในปัจจุบันลดต่ำลงมาเหลือเพียงแค่ไม่ถึงหนึ่งในสามของราคาสูงสุดที่ขึ้นไปในปี 2009 แล้ว และยังไม่มีทีท่าว่าจะดีขึ้นด้วย
ว่าไปแล้ว กรณี BYD ช่วยเตือนนักลงทุนได้หลายอย่างเกี่ยวกับความเป็นจริงในตลาดหุ้น
ประการแรก ธุรกิจเป็นเรื่องของความไม่แน่นอน ไม่มีใครในตลาดหุ้นที่สามารถคิดได้ถูกต้องตลอดเวลา ต่อให้เก่งขนาดไหนก็ตาม ความสำเร็จของบัฟเฟตในระยะยาวนั้นน่าจะมีอะไรมากกว่าแค่การเลือกหุ้นให้ถูกตัว
ประการต่อมา ราคาหุ้นที่ปรับตัวขึ้นไปในระยะสั้นบ่อยครั้งเกิดจากการเชื่อตามๆ กันของคนในตลาดหุ้นเท่านั้น ไม่ต้องเกี่ยวกับผลประกอบการแต่อย่างใด การเข้าลงทุนโดยบุคคลที่มีชื่อเสียงเป็น focal point ที่ยอดเยี่ยมที่ทำให้ทุกคนพร้อมใจกันเข้ามาลงทุนในหุ้นตัวเดียวกันได้ และบ่อยครั้ง การแห่ตามกันก็สามารถทำให้หุ้นปรับตัวขึ้นมากอย่างไม่น่าเชื่อ และดูจะมากกว่าผลประกอบการด้วยซ้ำ เพราะธุรกิจโดยทั่วไปนั้น การทำกำไรให้เพิ่มขึ้นได้ 20-25% ต่อปีนั้นก็ถือว่าหืดขึ้นคอแล้ว แต่ภาวะที่คนเชื่อตามๆ กัน สามารถทำให้ราคาหุ้นเพิ่มขึ้น 100-900% ในเวลาไม่ถึงปี
ปกติถ้ามีใครมาเขียนบทความบอกว่าการลงทุนด้วยวิธีแบบนี้น่าสนใจ คงจะโดนด่าแน่ๆ โดยเฉพาะจากคนที่มองการลงทุนว่าเป็นเรื่องของฝ่ายความดีต่อสู้กับความชั่ว แต่ถ้าจะว่ากันไปตามเนื้อผ้า ก็ต้องยอมรับว่า วิธีซื้อหุ้นตามคนดังอาจเป็นกลยุทธ์ที่ไม่เลวนัก เมื่อพิจารณาจาก downside vs. upside เพราะแม้ downside จะมาก แต่ upside ก็มากกว่าหลายเท่าด้วย
ประการถัดไป สุดท้ายแล้ว ผลประกอบการก็ยังคงเป็นสิ่งที่ส่งผลต่อราคาหุ้นอยู่เสมอ แต่เป็นในระยะยาวๆ เพราะต่อให้เทพมีชื่อเสียงขนาดไหน ถ้าผลประกอบยังคงไปคนละทางกับราคาหุ้นอย่างต่อเนื่อง สุดท้ายแล้วแม้แต่เทพก็ไม่อาจยันราคาไว้ให้ได้ เพราะฉะนั้น หากคิดจะเล่นหุ้นแนวนี้ ต้องรู้จัก “ตาสว่าง” เร็ว เพราะราคาตอนที่เราเข้าซื้อ มักไม่ใช่ราคาที่มืพื้นฐานใดๆ รองรับ แต่เป็นราคาพรีเมี่ยมแล้ว เนื่องจากเป็นราคาที่มีเทพการันตีแล้ว ดังนั้นหากปรากฏออกมาเมื่อใดว่า ผลประกอบการข้างหน้าอาจไม่ดีอย่างที่เทพคิด ต้องรู้จัก “ตื่น” ให้ไว เพราะ price correction จะรุนแรงมาก ในขณะที่ต้นทุนของเราไม่มีพื้นฐาน พูดง่ายๆ ก็คือ อย่ามัวแต่ “เคลิ้ม”
สุดท้ายแล้ว การซื้อตามเซียนก็ยังต้องดูเองเป็นอยู่ดี เพราะต้องพึ่งตนเองตอน “ขาย” เนื่องจากเวลาขาย เซียนมักไม่มาช่วยบอกเราก่อน และอย่าลืมว่า ตอนหุ้นตก เซียนไม่เสี่ยงอะไรกับเราเลย เพราะต้นทุนของเขาอยู่ต่ำกว่าตอนที่หุ้นเริ่มวิ่ง ฉะนั้น ถ้าราคาหุ้นตกกลับลงมาที่เดิม เขาก็เพียงแค่เท่าทุนเท่านั้น มีแต่เราเท่านั้นที่กระเป๋าฉีก
Read more: http://dekisugi.net/archives/11852#ixzz1PEE2VrjC
Under Creative Commons License: Attribution Non-Commercial No Derivatives
--------------------------------------------------------------------------------
Link: http://dekisugi.net/archives/11852
ในปี 2008 วอเรน บัฟเฟต ได้ตัดสินใจเข้าลงทุนใน BYD บริษัทสัญชาติจีนผู้ผลิตรถยนต์ แบตเตอรีมือถือ และแผงโซล่าร์เซลล์ โดยเข้าถือหุ้นในบริษัทคิดเป็นสัดส่วนทั้งสิ้น 10%
ก่อนหน้านั้น BYD เริ่มต้นประสบความสำเร็จจากธุรกิจแบตเตอรีมือถือเป็นอันดับแรก เมื่อธุรกิจแบตเตอรีของบริษัทเริ่มอิ่มตัว BYD ก็ก้าวเข้าสู่ธุรกิจรถยนต์ โดยผลิตรถยนต์ขนาดเล็กที่มีราคาถูกมาก แต่มีฟังก์ชั่นอย่างครบครัน ทำให้บริษัทประสบความสำเร็จอย่างงดงามได้อีกครั้ง
ชาร์ลี มังเจอร์ คู่หูของบัฟเฟตนั้น ประทับใจในตัว Mr.Wang ประธาน BYD เป็นอย่างมากถึงกับบอกว่า เขาผู้นี้คือส่วนผสมระหว่าง โธมัส เอดิสันในด้านวิศวกรรม และแจ็ค เวลช์ ในด้านการจัดการธุรกิจ หลังจากบัฟเฟตเข้าลงทุน แผนการต่อไปของ BYD (ชื่อบริษัทนั้นย่อมาจากคำว่า Build Your Dreams) คือ การผลิตรถยนต์ไฮบริดจ์รุ่นแรกที่สามารถสับเปลี่ยนการใช้พลังงานจากน้ำมันเป็นไฟฟ้าได้อย่างง่ายดายเพียงแค่คนขับกดสวิทซ์ไปมาเท่านั้น
ผลปรากฏว่า หลังจากที่ข่าวบัฟเฟตเข้าลงทุนใน BYD ถูกเปิดเผยออกมา ราคาหุ้น BYD ก็ปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็วจาก HK$8.xx ไปถึง HK$85.5 หรือกว่าเก้าเท่าตัว ภายในช่วงเวลาไม่ถึงหนึ่งปี ทำให้เบิร์กไชส์ ฮาร์ดาเวย์ บริษัทการลงทุนของบัฟเฟตบันทึกกำไรอย่างงดงาม ตลาดให้ความมั่นใจกับการตัดสินใจของบัฟเฟตหนนี้มาก เพราะแม้ดีลนี้จะถูกมองว่าบัฟเฟตเลือกลงทุนนอกความถนัดของเขา แถมยังเป็นการลงทุนนอกสหรัฐฯ อีกต่างหาก แต่ก่อนหน้านี้ บัฟเฟตก็เคยตัดสินใจลงทุนในบริษัทน้ำมันของจีน เปโตรไชน่า และได้กำไรอย่างมหาศาลในเวลาที่รวดเร็วมาแล้ว
อย่างไรก็ตาม หลังจากการเข้าลงทุนของบัฟเฟต BYD ได้ไม่นานนัก BYD ก็เริ่มประสบปัญหาอย่างต่อเนื่อง บริษัทยังคงไม่สามารถเข็นรถไฮบริดจ์รุ่นที่ฝันไว้ออกมาได้จนถึงปัจจุบัน ในขณะที่ รถไฮบริดจ์ที่วางแผนจะออกจำหน่ายในสหรัฐฯ ก็มีกำหนดต้องเลื่อนออกไปรุ่นแล้วรุ่นเล่า รถยนต์รุ่นเก่าๆ ของ BYD ในจีนที่เคยประสบความสำเร็จก็เริ่มสูญเสียส่วนแบ่งตลาดอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากมีบริษัทคู่แข่งที่ออกรถแบบเดียวกันในราคาที่ต่ำกว่าหรือมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยกว่าออกมาอย่างต่อเนื่อง จนทำให้รถของ BYD สูญเสียความน่าดึงดูดในตลาดจีนไป
ในแง่รายได้ แม้ว่า BYD จะมียอดขายเติบโตถึง 18% ในปี 2010 แต่ก็ต่ำกว่าเป้าหมายที่บริษัทได้ตั้งเอาไว้เป็นอย่างมาก และเมื่อ เทียบกับตลาดจีนโดยรวมที่เติบโตกว่า 33% แล้วต้องถือได้ว่าคือความล้มเหลว อีกทั้งเมื่อเร็วนี้ๆ บริษัทก็ยังคาดว่า ยอดขายในปี 2011 อาจลดลงมากถึง 20% yoy เนื่องมาจากภาวะตลาดรถยนต์ในจีนปีนี้ดูไม่สดใสนัก
นอกจากนี้ บริษัทก็ยังเผชิญกับวิบากกรรมจากการถูกทางการปรับเงินในคดีซื้อที่ดินที่ใช้สร้างโรงงานมาอย่างไม่ถูกกฏหมาย และงบการเงินของบริษัทก็ยังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับยอดขายบางส่วนของบริษัท ซึ่งอาจเกิดจากการผลักดันสินค้าไปยังงบของดีลเลอร์มากเกินกว่ายอดขายแท้จริงที่ขายสู่ผู้บริโภค เพื่อดันตัวเลขรายได้ให้ดูสูงขึ้นกว่าความเป็นจริงอีกด้วย
ข่าวร้ายที่ทยอยออกมาอย่างต่อเนื่องเหล่านี้ได้ลดความมั่นใจของตลาดเกี่ยวกับธุรกิจของ BYD ลงอย่างต่อเนื่อง จนทำให้ราคาหุ้นในปัจจุบันลดต่ำลงมาเหลือเพียงแค่ไม่ถึงหนึ่งในสามของราคาสูงสุดที่ขึ้นไปในปี 2009 แล้ว และยังไม่มีทีท่าว่าจะดีขึ้นด้วย
ว่าไปแล้ว กรณี BYD ช่วยเตือนนักลงทุนได้หลายอย่างเกี่ยวกับความเป็นจริงในตลาดหุ้น
ประการแรก ธุรกิจเป็นเรื่องของความไม่แน่นอน ไม่มีใครในตลาดหุ้นที่สามารถคิดได้ถูกต้องตลอดเวลา ต่อให้เก่งขนาดไหนก็ตาม ความสำเร็จของบัฟเฟตในระยะยาวนั้นน่าจะมีอะไรมากกว่าแค่การเลือกหุ้นให้ถูกตัว
ประการต่อมา ราคาหุ้นที่ปรับตัวขึ้นไปในระยะสั้นบ่อยครั้งเกิดจากการเชื่อตามๆ กันของคนในตลาดหุ้นเท่านั้น ไม่ต้องเกี่ยวกับผลประกอบการแต่อย่างใด การเข้าลงทุนโดยบุคคลที่มีชื่อเสียงเป็น focal point ที่ยอดเยี่ยมที่ทำให้ทุกคนพร้อมใจกันเข้ามาลงทุนในหุ้นตัวเดียวกันได้ และบ่อยครั้ง การแห่ตามกันก็สามารถทำให้หุ้นปรับตัวขึ้นมากอย่างไม่น่าเชื่อ และดูจะมากกว่าผลประกอบการด้วยซ้ำ เพราะธุรกิจโดยทั่วไปนั้น การทำกำไรให้เพิ่มขึ้นได้ 20-25% ต่อปีนั้นก็ถือว่าหืดขึ้นคอแล้ว แต่ภาวะที่คนเชื่อตามๆ กัน สามารถทำให้ราคาหุ้นเพิ่มขึ้น 100-900% ในเวลาไม่ถึงปี
ปกติถ้ามีใครมาเขียนบทความบอกว่าการลงทุนด้วยวิธีแบบนี้น่าสนใจ คงจะโดนด่าแน่ๆ โดยเฉพาะจากคนที่มองการลงทุนว่าเป็นเรื่องของฝ่ายความดีต่อสู้กับความชั่ว แต่ถ้าจะว่ากันไปตามเนื้อผ้า ก็ต้องยอมรับว่า วิธีซื้อหุ้นตามคนดังอาจเป็นกลยุทธ์ที่ไม่เลวนัก เมื่อพิจารณาจาก downside vs. upside เพราะแม้ downside จะมาก แต่ upside ก็มากกว่าหลายเท่าด้วย
ประการถัดไป สุดท้ายแล้ว ผลประกอบการก็ยังคงเป็นสิ่งที่ส่งผลต่อราคาหุ้นอยู่เสมอ แต่เป็นในระยะยาวๆ เพราะต่อให้เทพมีชื่อเสียงขนาดไหน ถ้าผลประกอบยังคงไปคนละทางกับราคาหุ้นอย่างต่อเนื่อง สุดท้ายแล้วแม้แต่เทพก็ไม่อาจยันราคาไว้ให้ได้ เพราะฉะนั้น หากคิดจะเล่นหุ้นแนวนี้ ต้องรู้จัก “ตาสว่าง” เร็ว เพราะราคาตอนที่เราเข้าซื้อ มักไม่ใช่ราคาที่มืพื้นฐานใดๆ รองรับ แต่เป็นราคาพรีเมี่ยมแล้ว เนื่องจากเป็นราคาที่มีเทพการันตีแล้ว ดังนั้นหากปรากฏออกมาเมื่อใดว่า ผลประกอบการข้างหน้าอาจไม่ดีอย่างที่เทพคิด ต้องรู้จัก “ตื่น” ให้ไว เพราะ price correction จะรุนแรงมาก ในขณะที่ต้นทุนของเราไม่มีพื้นฐาน พูดง่ายๆ ก็คือ อย่ามัวแต่ “เคลิ้ม”
สุดท้ายแล้ว การซื้อตามเซียนก็ยังต้องดูเองเป็นอยู่ดี เพราะต้องพึ่งตนเองตอน “ขาย” เนื่องจากเวลาขาย เซียนมักไม่มาช่วยบอกเราก่อน และอย่าลืมว่า ตอนหุ้นตก เซียนไม่เสี่ยงอะไรกับเราเลย เพราะต้นทุนของเขาอยู่ต่ำกว่าตอนที่หุ้นเริ่มวิ่ง ฉะนั้น ถ้าราคาหุ้นตกกลับลงมาที่เดิม เขาก็เพียงแค่เท่าทุนเท่านั้น มีแต่เราเท่านั้นที่กระเป๋าฉีก
Read more: http://dekisugi.net/archives/11852#ixzz1PEE2VrjC
Under Creative Commons License: Attribution Non-Commercial No Derivatives
-
- Verified User
- โพสต์: 1255
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หุ้นพื้นฐาน โดยพี่สุมาอี้
โพสต์ที่ 20
ผมว่าส่วนหนึ่งและส่วนใหญ่ เซียนรวยเร็วไม่ใช่ธุรกิจมันดีแบบที่เซียนเอาฝันมาให้ แต่เป็นเพราะการแห่ซื้อของคนอื่น แต่ก็มีหุ้นหลายตัวที่ทำกำไรได้ดีตามที่ฝันไว้woodooshy เขียน:หุ้นพื้นฐาน? โดยพี่สุมาอี้ครับ
ถ้าใครชอบไปตามดูของเก่าจะพบว่า หุ้นหลายตัวที่ราคาเคยทะยานได้อย่างมากมายช่วงหนึ่งในอดีต เพราะมีเซียนคนนั้นคนนี้ออกมาบอกว่า จะได้โปรเจ็คใหญ่ ทำให้กำไรก้าวกระโดดเท่านั้นเท่านี้ แต่สุดท้ายแล้ว ผลประกอบการกลับไม่ได้เพิ่มขึ้นเลยนั้น มีอยู่เยอะมาก ที่กลับตาลปัตร กลายเป็นขาดทุนแถมยังเจอเพิ่มทุนอีกมหาศาลก็มีไม่ใช่น้อยๆ เลย ถ้าลองทำตัวเป็นนักสืบย้อนรอยตามไปเก็บผลงานเก่าๆ ดูจะตกกะใจว่า ที่จริงแล้ว ความถี่ที่เซียนคิดถูกนั้นน้อยพอๆ กับคนธรรมดาเลยทีเดียว แต่ก่อนที่ผลสอบจะออกมา ราคาหุ้นก็มักปรับตัวขึ้นไปได้อย่างมากมายแล้ว นั่นก็เพราะแรงศรัทธาในตัวเซียนล้วนๆ
บางครั้ง ผมแยกไม่ออกระหว่างปั่นหุ้นแบบไม่ตั้งใจ กับ แนะนำให้จับปลา อันนี้ไม่ใช่ทุกคนทุกกรณีนะครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 54
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หุ้นพื้นฐาน โดยพี่สุมาอี้
โพสต์ที่ 22
จะว่าไป idea ของการซื้อหุ้นตามเซียนก็พัฒนามาจากการซื้อหุ้นตามผู้บริหารนะครับ หนังสือหลายเล่มบอกว่า ยิ่งผู้บริหารซื้อกันหลายคน แสดงว่ามันต้องมีอะไรดี ในทางกลับกับ ยิ่งเซียนซื้อกันหลายคน หลายๆคนก็อาจจะคิดว่ามันต้องมีอะไรดีเช่นกัน
-
- Verified User
- โพสต์: 340
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หุ้นพื้นฐาน โดยพี่สุมาอี้
โพสต์ที่ 24
ขอบคุณมากครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 144
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หุ้นพื้นฐาน โดยพี่สุมาอี้
โพสต์ที่ 26
ผู้หลักผู้ใหญ่หลายคนก็ออกมาเตือน เราก็ต้องฟังไว้ เห็นด้วยกับประโยคที่ว่า เซียนหุ้นก็คนธรรมดาคนหนึ่ง จะหยั่งรู้อนาคตได้อย่างไร มีหุ้นหลายตัวที่ขึ้นไป เพราะ ภาวะแห่ตามกัน สุดท้าย เวลาผ่านไป ผลประกอบการไม่ได้สวยหรูตามคาด คนที่มาซื้อไม้หลังๆ ก็ต้องติดดอยไป
หุ้นส่วนใหญ่ ที่บัฟเฟตซื้อ คือ หุ้นที่เติบโตอย่าง Stable แต่ราคาลงไปต่ำกว่าพื้นฐานต่างหาก ไม่ใช่หุ้นที่คาดการณ์ว่าจะเติบโตก้าวกระโดด แต่ตลาดไทย มักเป็นอย่างหลัง
หุ้นส่วนใหญ่ ที่บัฟเฟตซื้อ คือ หุ้นที่เติบโตอย่าง Stable แต่ราคาลงไปต่ำกว่าพื้นฐานต่างหาก ไม่ใช่หุ้นที่คาดการณ์ว่าจะเติบโตก้าวกระโดด แต่ตลาดไทย มักเป็นอย่างหลัง
-
- Verified User
- โพสต์: 2606
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หุ้นพื้นฐาน โดยพี่สุมาอี้
โพสต์ที่ 27
ประโยคนี้แหลมคมมากครับJ.Livermore เขียน:หุ้นส่วนใหญ่ ที่บัฟเฟตซื้อ คือ หุ้นที่เติบโตอย่าง Stable แต่ราคาลงไปต่ำกว่าพื้นฐานต่างหาก ไม่ใช่หุ้นที่คาดการณ์ว่าจะเติบโตก้าวกระโดด แต่ตลาดไทย มักเป็นอย่างหลัง
-
- Verified User
- โพสต์: 144
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หุ้นพื้นฐาน โดยพี่สุมาอี้
โพสต์ที่ 28
เคยอ่านเจอเหมือนกันครับ ในหนังสือ The Business of Value Investing ของ Sham M. Gad แต่ข้อแตกต่าง คือ Fund Manager ต่างประเทศ ซื้อหุ้นก็ต้องรายงาน แต่เซียนหุ้นในไทย เราไม่รู้เค้าซื้อตอนไหน นอกจากนี้ นักลงทุน VI ที่มีชื่อเสียงระดับโลก มักจะถือหุ้นนานหลายปี แต่ในไทย เราก็ไม่รู้อีกว่า เซียนมี time frame ในการลงทุนหุ้นแต่ละตัวนานแค่ไหนshinjiro เขียน:จะว่าไป idea ของการซื้อหุ้นตามเซียนก็พัฒนามาจากการซื้อหุ้นตามผู้บริหารนะครับ หนังสือหลายเล่มบอกว่า ยิ่งผู้บริหารซื้อกันหลายคน แสดงว่ามันต้องมีอะไรดี ในทางกลับกับ ยิ่งเซียนซื้อกันหลายคน หลายๆคนก็อาจจะคิดว่ามันต้องมีอะไรดีเช่นกัน
จริงๆแล้ว ลงทุนตามเซียนน่ะได้ ข้อดี คือ สามารถเกาะกระแสไปกับตลาดได้ ได้กำไรเร็ว ในระยะเวลาไม่นาน แต่เราก็ต้องดูแลตัวเองเป็นพิเศษ เพราะ ถ้าลงทุนตามคนอื่น ก็คือหุ้นตามกระแส ไม่ใช่หุ้นพื้นฐาน ถ้าพลาดต้องโทษตัวเองสถานเดียว