กับดักประกันสังคม : ยิ่งออมยิ่งจน
- tansit
- Verified User
- โพสต์: 36
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กับดักประกันสังคม : ยิ่งออมยิ่งจน
โพสต์ที่ 32
ความเห็นส่วนตัวของผมนะครับ
การทำประกันสังคมนั้นสมเหตุผลในหลักการเบื้องต้น คือ
คนทำงานต้องแบ่งเงินส่วนหนึ่งเป็นเงินสำรองไว้รักษาหรือยามเกษียณก็แล้วแต่
ส่วนคนทำ 30 บาท คือ คนที่ไม่มีรายได้....
(แต่คนมีรายได้ใช้ 30 บาทก็...., แถมตอนนี้คนมีงานทำก็อิจฉาคนใช้สิทธิ์ 30 บาทก็......)
แต่ประเด็นถัดไป คือ รัฐจะนำเงินก้อนนี้ไปบริหารให้มันคุ้มค่าได้แค่ไหน
ส่วนหนึ่งต้องมาใช้จ่ายเรื่องค่ารักษาแน่นอน
ส่วนหนึ่งก็ต้องมาลงทุนให้มันงอกเงย ทั้งสองส่วนต้องสมดุลกัน
เช่นเดียวกับชีวิตของผู้ลงทุนเองก็ต้องมีความสมดุลเหมือนกัน
รายได้ต้องแบ่งไปใช้จ่าย(ที่จำเป็น)
เงินออมต้องมี
เหลือจากเงินออมถึงลงทุน
ส่วนที่คุณตั้งสมมติฐานเห็นด้วยบางจุดครับที่ว่าคนรายไ้ด้ต่ำ มีครอบครัวแล้ว ยังไงก็ไม่พอค่าใช้จ่าย
ผมเห็นพี่ๆ ที่ทำงานหลายคนต้องทำงานเสริมตัวเป็นเกลียว
แต่ถามว่าถ้าพี่ๆ เขาเจ็บป่วยมีประกันสังคมก็จะอุ่นใจได้ระดับหนึ่งครับ
ลองคิดถึงตอนเราเจ็บป่วยมั่งนะครับ หากสมมติคุณป่วยกระทันหันเป็นโรคร้ายแรงต้องผ่าตัดด่วน
หากไม่มีสิทธิ์อะไรเลยต้องจ่ายเงินก้อนทีละหลายหมื่นหรืออาจถึงแสน
(เช่น ที่ผมโดนที่พ่อต้องผ่าตัดหัวใจด่วนต้องจ่ายเงินเป็นแสนมาแล้วสองรอบ)
กับการที่คุณเสียเงินเดือน 3%ต่อเดือน
ถ้าผมรู้ว่าพ่อผมจะป่วยโรคหัวใจคงทำให้พ่อแล้ว
แต่นั่นแหละใครจะไปรู้ได้จริงไหมครับว่าตัวเองจะป่วยด้วยโรคอะไรเมื่อไหร่
เราทำได้เพียงแต่ระวังไม่ให้เกิดความเสี่ยงหรือ หาแผนรองรับถ้าเกิดแล้วเราจะทำยังไงใช่ไหมครับ
ขอให้ลองคิดดูนะครับว่าเงินนี้เพื่ออะไร และเราใช้เมื่อไหร่
เราจะเห็นค่ามันก็ต่อเมื่อเราสูญเสียมันแล้วมั้งครับ
การทำประกันสังคมนั้นสมเหตุผลในหลักการเบื้องต้น คือ
คนทำงานต้องแบ่งเงินส่วนหนึ่งเป็นเงินสำรองไว้รักษาหรือยามเกษียณก็แล้วแต่
ส่วนคนทำ 30 บาท คือ คนที่ไม่มีรายได้....
(แต่คนมีรายได้ใช้ 30 บาทก็...., แถมตอนนี้คนมีงานทำก็อิจฉาคนใช้สิทธิ์ 30 บาทก็......)
แต่ประเด็นถัดไป คือ รัฐจะนำเงินก้อนนี้ไปบริหารให้มันคุ้มค่าได้แค่ไหน
ส่วนหนึ่งต้องมาใช้จ่ายเรื่องค่ารักษาแน่นอน
ส่วนหนึ่งก็ต้องมาลงทุนให้มันงอกเงย ทั้งสองส่วนต้องสมดุลกัน
เช่นเดียวกับชีวิตของผู้ลงทุนเองก็ต้องมีความสมดุลเหมือนกัน
รายได้ต้องแบ่งไปใช้จ่าย(ที่จำเป็น)
เงินออมต้องมี
เหลือจากเงินออมถึงลงทุน
ส่วนที่คุณตั้งสมมติฐานเห็นด้วยบางจุดครับที่ว่าคนรายไ้ด้ต่ำ มีครอบครัวแล้ว ยังไงก็ไม่พอค่าใช้จ่าย
ผมเห็นพี่ๆ ที่ทำงานหลายคนต้องทำงานเสริมตัวเป็นเกลียว
แต่ถามว่าถ้าพี่ๆ เขาเจ็บป่วยมีประกันสังคมก็จะอุ่นใจได้ระดับหนึ่งครับ
ลองคิดถึงตอนเราเจ็บป่วยมั่งนะครับ หากสมมติคุณป่วยกระทันหันเป็นโรคร้ายแรงต้องผ่าตัดด่วน
หากไม่มีสิทธิ์อะไรเลยต้องจ่ายเงินก้อนทีละหลายหมื่นหรืออาจถึงแสน
(เช่น ที่ผมโดนที่พ่อต้องผ่าตัดหัวใจด่วนต้องจ่ายเงินเป็นแสนมาแล้วสองรอบ)
กับการที่คุณเสียเงินเดือน 3%ต่อเดือน
ถ้าผมรู้ว่าพ่อผมจะป่วยโรคหัวใจคงทำให้พ่อแล้ว
แต่นั่นแหละใครจะไปรู้ได้จริงไหมครับว่าตัวเองจะป่วยด้วยโรคอะไรเมื่อไหร่
เราทำได้เพียงแต่ระวังไม่ให้เกิดความเสี่ยงหรือ หาแผนรองรับถ้าเกิดแล้วเราจะทำยังไงใช่ไหมครับ
ขอให้ลองคิดดูนะครับว่าเงินนี้เพื่ออะไร และเราใช้เมื่อไหร่
เราจะเห็นค่ามันก็ต่อเมื่อเราสูญเสียมันแล้วมั้งครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 97
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กับดักประกันสังคม : ยิ่งออมยิ่งจน
โพสต์ที่ 33
ด้วยความเคารพ เท่าที่ผมเรียนคณิตศาสตร์มา ผลตอบแทนไม่ใช่ 75% ต่อปีนะครับ คุณเอายอด 63% มาเป็นฐาน ซึ่งไม่เกี่ยวกับเงินลดหย่อนภาษี 37% แล้ว จะเอา 37% มาคิดอีกไม่ได้ เนื่องจากคุณหัก 37% นั้นออกไปตั้งแต่ต้นแล้ว เลยเหลือ 63%อะไรดีละ เขียน: ในทางตรงกันข้าม หากคนระดับเศรษฐีออมเงินผ่าน RMF, LTF นั้น ลงเงินตัวเองแค่ 63% ได้รับเงินจากรัฐบาลจากเงินลดหย่อนภาษี 37% และคาดหวังผลตอบแทนจากตลาดหุ้นราวเฉลี่ยปีละ 10% ดังนั้นรวมแล้วได้ 47% จากเงินต้นแค่ 63% นั่นคือได้รับผลตอบแทนการออม ที่ 75% ต่อปี สูงเหลือเชื่อเลยไหม
ดังนั้นจากฐานเงิน 100% จะได้ผลตอบแทน 37% + 10% = 47% ต่อปีครับ
"ซื้อหุ้นของกิจการที่ดี มีกำไรต่อเนื่อง ผู้บริหารมีคุณธรรมและความสามารถ ในเวลาที่ราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงของกิจการ และถือมันไว้ตราบที่มันยังเป็นธุรกิจที่ดี (ถึงแม้ว่าราคาจะเกินมูลค่าที่แท้จริงไปก็ตาม)"