มาตราฐานบัญชีฉบับที่ 40 กับขุมทรัพย์ที่รอการเปิดเผย
-
- Verified User
- โพสต์: 758
- ผู้ติดตาม: 0
มาตราฐานบัญชีฉบับที่ 40 กับขุมทรัพย์ที่รอการเปิดเผย
โพสต์ที่ 1
ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมีหุ้นอยู่หลายตัวที่ทำธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ขึ้นมาแล้วให้เช่า เช่น CPN , SF , TICON เป็นต้น ซึ่งตามมาตรฐานบัญชีฉบับเก่าที่บังคับใช้ก่อนปี 2554 มีหลายส่วนที่ทำให้การประเมินมูลค่าของบริษัททำได้ลำบาก เนื่องจากการดูกำไรสุทธิจากงบกำไรขาดทุนอาจทำให้ประเมินเทียบกับบริษัทอื่นได้ยาก
ยกตัวอย่างเช่น บริษัท ก. ทำธุรกิจผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิค ส่วนที่บริษัทลงทุนเป็นทรัพย์สินถาวร คือ โรงงาน และเครื่องจักร ส่วนราคาวัตถุดิบเป็นต้นทุนในการผลิต เพื่อผลิตสินค้าออกขาย เพื่อนำรายได้เข้าบริษัท ดังนั้นกำไรสุทธิ คือ ราคาขายผลิตภัณฑ์ – ราคาวัตถุดิบ – ค่าเสื่อมราคา/ดอกเบี้ย/ภาษี โดยสินทรัพย์ถาวรของบริษัทจะหักค่าเสื่อมราคา (การด้อยค่าของสินทรัพย์)จนเหลือมูลค่าเป็น 0 ในที่สุด เช่น เครื่องจักร มีอายุการใช้งาน เช่น พอใช้ถึง 10 ปีซึ่งถือว่าล้าสมัย ผลิตได้ไม่เต็มที่ มูลค่าทางบัญชีจึงควรเหลือแค่ราคาซาก ดังนั้นทางบัญชีจึงตัดค่าเสื่อมราคาเฉลี่ยเท่าๆกันทุกปีเป็นระยะเวลา 10 ปี
แต่ในกลุ่มบริษัทที่พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ให้เช่านั้น เช่น บริษัทสร้างหอพักขึ้นมา ในมาตรฐานบัญชีเดิม ถือว่าหอพักเป็นทรัพย์สินถาวร ซึ่งต้องตัดค่าเสื่อมราคาไปเรื่อยๆ โดยทั่วไปใช้ที่ 20 ปี แต่ในความเป็นจริงแล้ว ที่ปีที่ 20 หอพักก็ยังสามารถสร้างรายได้ให้กับบริษัทได้อยู่ และอาจจะได้มากกว่าปีแรก เนื่องจากค่าเช่าที่ปรับขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อและค่าครองชีพ สวนทางกับมูลค่าทางบัญชีที่ลดลงเรื่อยๆ และนอกจากนี้ ในธุรกิจประเภทนี้ ต้นทุนหลักในธุรกิจก็คือต้นทุนค่าก่อสร้างหอพักนั่นเองทำให้เวลาคิดกำไรสุทธิออกมานั้น ต้องถูกหักด้วยค่าเสื่อมราคา (ทางบัญชี) เป็นตัวเลขที่สูง เมื่อเทียบกับรายได้ค่าเช่า และค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงหอพักให้ดูทันสมัยก็ถูกบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานอีก ทำให้บริษัทรายงานตัวเลขกำไรสุทธิออกมาในงบกำไรขาดทุนต่ำกว่ากระแสเงินสดที่บริษัททำได้มาก จากการหักค่าเสื่อมราคา เผื่อการด้อยค่าทางบัญชี ซึ่งทางบัฟเฟตได้แนะนำการพิจารณาหุ้นกลุ่มนี้ควรดูถึงรายได้ มากกว่าค่า P/E
ด้วยระบบมาตรฐานบัญชีฉบับที่ 40 ที่เริ่มใช้ต้นปีนี้ จะทำให้การประเมินมูลค่าของบริษัททำได้ง่ายขึ้น โดยให้ทางเลือกไว้ 2 แบบ คือ
แบบมูลค่ายุติธรรม (Fair Value) : โดยวิธีนี้ บริษัทจะบันทึกการเปลี่ยนแปลงของราคายุติธรรมของอสังหาริมทรัพย์นั้นเข้าไว้ในงบกำไรขาดทุน และ ไม่ต้องคิดค่าเสื่อมราคาอีกต่อไป โดยวิธีนี้จะทำให้บริษัทมีกำไรมากขึ้นจากการรับรู้การเปลี่ยนแปลงมูลค่ายุติธรรมของอสังหาเข้าไปด้วย เช่น เมื่อมีการขึ้นราคาค่าเช่า หรือ มีผู้เช่ามากขึ้น หรือ มูลค่าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมากขึ้น ก็จะทำให้มูลค่ายุติธรรมของอสังหานั้นมากขึ้น และบริษัทก็จะรับรู้ส่วนต่างการเปลี่ยนแปลงของมูลค่ายุติธรรมในงบกำไรขาดทุนไปเลย
ผลกระทบจากแบบมูลค่ายุติธรรมคือ ทำให้กำไร (Earning) มากขึ้น , P/E จึงต่ำลง , มูลค่าทางบัญชีเพิ่มขึ้น , P/BV ต่ำลง แต่อย่างไรก็ตาม กำไรที่มากขึ้นนั้นเป็นเพียงกำไรทางบัญชีไม่ได้มีเงินเข้ามาจริงๆ ดังนั้นจึงไม่สามารถปันผลได้จากกำไรที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของมูลค่ายุติธรรม
ข้อดีของการใช้วิธีนี้คือ ทำให้เทียบกับบริษัทอื่นในธุรกิจที่แตกต่างกันได้ง่ายขึ้นโดยใช้วิธี P/E ,ตัวเลขต่างๆดูดีขึ้น โดยเฉพาะกำไร ซึ่งนักลงทุนทั่วไปมักมองเพียงแค่ตัวเลขกำไรสุทธิของบริษัท แต่ต้องอย่าลืมว่ากระแสเงินสดที่บริษัททำได้ยังคงไม่เปลี่ยนแปลง โดยทาง SF ได้เลือกใช้วิธีนี้ไปเมื่อปี 53 ทำให้ราคาหุ้นเพิ่มขึ้น เพื่อสะท้อนมูลค่ากิจการที่แท้จริง
ข้อเสียของการใช้วิธีนี้คือ กำไรจะก้าวกระโดดอย่างมากในปีที่เปลี่ยนมาตรฐานทางบัญชี , กำไรที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่ายุติธรรม ไม่สามารถปันผลได้ , ถ้ามูลค่ายุติธรรมลดลง เช่นผู้เช่าลดลง ค่าเช่าลดลง ก็จะกระทบกับงบกำไรขาดทุนด้วยเช่นกัน , บริษัทใดที่เปลี่ยนมาใช้วิธีนี้แล้ว ไม่สามารถเปลี่ยนกลับไปใช้แบบเดิมได้
แบบวิธีราคาทุน (Cost Method) การบันทึกโดยวิธีนี้ พื้นฐานแล้วจะเหมือนกับแบบเดิม แต่บริษัทจะต้องเปิดเผยมูลค่ายุติธรรมทั้งหมดของบริษัทไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินด้วย ซึ่งบริษัท CPN และ TICON จะเลือกใช้วิธีนี้โดยเริ่มใน Q1/54 จากการบันทึกแบบนี้เราสามารถประเมินมูลค่ากิจการได้จากการเอามูลค่ายุติธรรมไปแทนในงบดุล แล้วคำนวณส่วนของผู้ถือหุ้นออกมาใหม่ แล้วหารด้วยจำนวนหุ้นทั้งหมดของบริษัท ก็จะได้มูลค่ายุติธรรมต่อหุ้น (มูลค่าทรัพย์สินทั้งหมดของบริษัท ณ ราคาปัจจุบัน – หนี้สินที่บริษัทมีอยู่) ซึ่งการคิดแบบนี้อาศัยหลักการเดียวกับการคิด NAV ของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ดังนั้น มูลค่ายุติธรรมต่อหุ้นจึงเทียบได้กับ NAV ของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์นั่นเอง ดังนั้นการลงทุนในหุ้นที่เลือกใช้วิธีบัญชีแบบนี้จะเป็นแนว Asset play คือ ซื้อเมื่อราคายุติธรรมต่อหุ้น หรือขายเมื่อราคาหุ้นนั้นมากกว่ามูลค่ายุติธรรมต่อหุ้น และธุรกิจที่มีแนวโน้มของธุรกิจเติบโตได้ในอนาคตควรจะเทรดที่ราคามากกว่ามูลค่ายุติธรรม หรือกลับกัน เป็นต้น
ข้อดีของการบันทึกแบบนี้คือ สามารถเทียบเคียงงบการเงิน , P/E , P/BV ฯลฯ ย้อนหลังกับปีก่อนๆได้ง่าย , มีทางเลือกในการเปลี่ยนไปใช้บัญชีแบบมูลค่ายุติธรรมได้ในอนาคต, ไม่มีการก้าวกระโดดของกำไรในปีแรกที่ใช้ ซึ่งอาจทำให้นักลงทุนที่ไม่เข้าใจสับสนได้
ข้อเสีย คือ กำไรสุทธิที่แสดงออกมายังคงน้อยกว่ากระแสเงินสดที่บริษัททำได้อยู่ดี ทำให้ในสายตานักลงทุนทั่วไปที่ไม่ได้เข้าใจทางบัญชี หุ้นตัวนี้จึงเป็นหุ้นที่ดูแล้วแพง หรือเกินมูลค่าไปมากแล้ว
เราลองมาดูถึงหุ้นที่จะได้รับผลกระทบจากการใช้มาตรฐานบัญชีใหม่ซึ่งข้อมูลที่ผมมีอยู่ มี 2 บริษัท คือ CPN และ TICON
ขอเริ่มที่ TICON ก่อนเนื่องจากมีความซับซ้อนน้อยกว่า CPN , โดย TICON ราคาปัจจุบันที่ 13.6 บาท กำไรต่อหุ้นปี 53 ที่ 1.22 บาท คิดเป็น P/E = 11.15 เท่า , P/B = 1.47 เท่า
TICON ทำธุรกิจพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม และ คลังสินค้าให้เช่า รายได้มาจากค่าเช่า และการขายพื้นที่เช่าเข้ากองทุน TFUND และ TLOGIS โดยจะขายให้กองทุนที่ราคายุติธรรมนั่นเอง ซึ่ง TICON ขายพื้นที่เช่าเข้ากองทุนทุกปีติดต่อกันเป็นระยะเวลา 5 ปี และมีแผนที่จะขายเข้ากองทุนไปเรื่อยๆ โดยตามไปถือหุ้นในกองทุนด้วย
TICON ได้ชื่อว่าเป็นหุ้นปันผล เพราะอะไร? …. เพราะปันผลในสัดส่วนที่มากเมื่อเทียบกับกำไรต่อหุ้น โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 80% ของกำไรสุทธิ และในปีล่าสุดอยู่ที่ 93.6% ทำไมบริษัทถึงปันผลได้มากขนาดนี้ ในขณะที่ยังคงรักษาการเติบโตของพื้นที่ให้เช่าได้ คำตอบอยู่ที่ค่าเสื่อมราคานั่นเองครับ เพราะจริงๆแล้วกระแสเงินสดของบริษัทที่ทำได้นั้นมากกว่ากำไรสุทธิที่โดนหักไปด้วยค่าเสื่อมราคามาก ซึ่งปีล่าสุดค่าเสื่อมราคาทำให้กำไรสุทธิที่รายงานมาลดลง 0.35 บาทต่อหุ้น
จาก P/E ที่ยังต่ำ และจาก E ที่ต่ำกว่ากระแสเงินสดจริงที่บริษัททำได้มาก จึงเป็นหุ้นที่มี Margin of Safety สูงตัวหนึ่ง ณ ราคานี้ และจากการที่ TICON ขายพื้นที่เข้ากองทุนทุกปีที่ราคายุติธรรม ทำให้เราสามารถเทียบราคาหุ้น กับราคายุติธรรมต่อหุ้นได้ เช่น ถ้าราคาหุ้นในตลาดต่ำกว่าราคายุติธรรมต่อหุ้นที่คำนวณได้หลังจากประกาศงบการเงินออกมา เทียบได้กับการซื้อพื้นที่ให้เช่าในราคาต่ำกว่าราคาตลาดที่ซื้อขายกัน แต่ถ้าราคาหุ้นแพงกว่าก็เป็นไปในทางกลับกัน
CPN รับรองว่าชื่อของเซ็นทรัลพัฒนาในตลาดหุ้นน้อยคนนักจะไม่รู้จัก ราคาหุ้นล่าสุดอยู่ที่ 29.5 บาท กำไรต่อหุ้น 0.52 บาท P/E = 56.7 เท่า P/B = 3.47 เท่า แต่เนื่องจากปีที่แล้วมีการบันทึกการด้อยค่าของ Central world ที่โดนเผา ซึ่งจริงๆ กำไรต่อหุ้นจากการดำเนินงาน(ไม่นับการด้อยค่าของ Central world) จะอยู่ที่ 0.9 บาท หรือ 32.8 เท่า
CPN ทำธุรกิจหลักคือสร้างห้างสรรพสินค้า แล้วมีรายได้จากการให้เช่าพื้นที่ภายในห้าง ส่วนการขายพื้นที่ให้เช่าเข้ากองทุนนั้นเกิดขึ้นเป็นบางปี และเป็นการขายสิทธิการเช่าระยะเวลา 20-30 ปี ทำให้การใช้มูลค่ายุติธรรมต่อหุ้นมาประเมินอาจจะลำบากกว่า TICON แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อดูส่วนของสินทรัพย์ในงบดุลอยู่ที่ 53,832 ล้านบาท แต่จากขายสิทธิการเช่า 30 ปีของเซ็นทรัลพระรามสองและพระรามสามเข้ากองทุนนั้น สามารถขายได้ประมาณ 10,000 ล้านบาท จึงเป็นไปได้ว่า Fair Value จะสูงกว่ามูลค่าของ Booked Value อยู่พอสมควร
สรุป เราคงต้องรองบ Q1/54 ที่จะประกาศออกมาในเร็วๆนี้ เพื่อที่ประเมินมูลค่าของกิจการว่าสมควรจะอยู่ที่เท่าไหร่ และในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ให้เช่า กำไรต่อหุ้นไม่ใช่สิ่งที่สะท้อนมูลค่าของกิจการได้ดีนัก จึงได้มีการออกบทบัญชีมาใช้โดยเฉพาะกับธุรกิจนี้
ยกตัวอย่างเช่น บริษัท ก. ทำธุรกิจผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิค ส่วนที่บริษัทลงทุนเป็นทรัพย์สินถาวร คือ โรงงาน และเครื่องจักร ส่วนราคาวัตถุดิบเป็นต้นทุนในการผลิต เพื่อผลิตสินค้าออกขาย เพื่อนำรายได้เข้าบริษัท ดังนั้นกำไรสุทธิ คือ ราคาขายผลิตภัณฑ์ – ราคาวัตถุดิบ – ค่าเสื่อมราคา/ดอกเบี้ย/ภาษี โดยสินทรัพย์ถาวรของบริษัทจะหักค่าเสื่อมราคา (การด้อยค่าของสินทรัพย์)จนเหลือมูลค่าเป็น 0 ในที่สุด เช่น เครื่องจักร มีอายุการใช้งาน เช่น พอใช้ถึง 10 ปีซึ่งถือว่าล้าสมัย ผลิตได้ไม่เต็มที่ มูลค่าทางบัญชีจึงควรเหลือแค่ราคาซาก ดังนั้นทางบัญชีจึงตัดค่าเสื่อมราคาเฉลี่ยเท่าๆกันทุกปีเป็นระยะเวลา 10 ปี
แต่ในกลุ่มบริษัทที่พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ให้เช่านั้น เช่น บริษัทสร้างหอพักขึ้นมา ในมาตรฐานบัญชีเดิม ถือว่าหอพักเป็นทรัพย์สินถาวร ซึ่งต้องตัดค่าเสื่อมราคาไปเรื่อยๆ โดยทั่วไปใช้ที่ 20 ปี แต่ในความเป็นจริงแล้ว ที่ปีที่ 20 หอพักก็ยังสามารถสร้างรายได้ให้กับบริษัทได้อยู่ และอาจจะได้มากกว่าปีแรก เนื่องจากค่าเช่าที่ปรับขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อและค่าครองชีพ สวนทางกับมูลค่าทางบัญชีที่ลดลงเรื่อยๆ และนอกจากนี้ ในธุรกิจประเภทนี้ ต้นทุนหลักในธุรกิจก็คือต้นทุนค่าก่อสร้างหอพักนั่นเองทำให้เวลาคิดกำไรสุทธิออกมานั้น ต้องถูกหักด้วยค่าเสื่อมราคา (ทางบัญชี) เป็นตัวเลขที่สูง เมื่อเทียบกับรายได้ค่าเช่า และค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงหอพักให้ดูทันสมัยก็ถูกบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานอีก ทำให้บริษัทรายงานตัวเลขกำไรสุทธิออกมาในงบกำไรขาดทุนต่ำกว่ากระแสเงินสดที่บริษัททำได้มาก จากการหักค่าเสื่อมราคา เผื่อการด้อยค่าทางบัญชี ซึ่งทางบัฟเฟตได้แนะนำการพิจารณาหุ้นกลุ่มนี้ควรดูถึงรายได้ มากกว่าค่า P/E
ด้วยระบบมาตรฐานบัญชีฉบับที่ 40 ที่เริ่มใช้ต้นปีนี้ จะทำให้การประเมินมูลค่าของบริษัททำได้ง่ายขึ้น โดยให้ทางเลือกไว้ 2 แบบ คือ
แบบมูลค่ายุติธรรม (Fair Value) : โดยวิธีนี้ บริษัทจะบันทึกการเปลี่ยนแปลงของราคายุติธรรมของอสังหาริมทรัพย์นั้นเข้าไว้ในงบกำไรขาดทุน และ ไม่ต้องคิดค่าเสื่อมราคาอีกต่อไป โดยวิธีนี้จะทำให้บริษัทมีกำไรมากขึ้นจากการรับรู้การเปลี่ยนแปลงมูลค่ายุติธรรมของอสังหาเข้าไปด้วย เช่น เมื่อมีการขึ้นราคาค่าเช่า หรือ มีผู้เช่ามากขึ้น หรือ มูลค่าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมากขึ้น ก็จะทำให้มูลค่ายุติธรรมของอสังหานั้นมากขึ้น และบริษัทก็จะรับรู้ส่วนต่างการเปลี่ยนแปลงของมูลค่ายุติธรรมในงบกำไรขาดทุนไปเลย
ผลกระทบจากแบบมูลค่ายุติธรรมคือ ทำให้กำไร (Earning) มากขึ้น , P/E จึงต่ำลง , มูลค่าทางบัญชีเพิ่มขึ้น , P/BV ต่ำลง แต่อย่างไรก็ตาม กำไรที่มากขึ้นนั้นเป็นเพียงกำไรทางบัญชีไม่ได้มีเงินเข้ามาจริงๆ ดังนั้นจึงไม่สามารถปันผลได้จากกำไรที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของมูลค่ายุติธรรม
ข้อดีของการใช้วิธีนี้คือ ทำให้เทียบกับบริษัทอื่นในธุรกิจที่แตกต่างกันได้ง่ายขึ้นโดยใช้วิธี P/E ,ตัวเลขต่างๆดูดีขึ้น โดยเฉพาะกำไร ซึ่งนักลงทุนทั่วไปมักมองเพียงแค่ตัวเลขกำไรสุทธิของบริษัท แต่ต้องอย่าลืมว่ากระแสเงินสดที่บริษัททำได้ยังคงไม่เปลี่ยนแปลง โดยทาง SF ได้เลือกใช้วิธีนี้ไปเมื่อปี 53 ทำให้ราคาหุ้นเพิ่มขึ้น เพื่อสะท้อนมูลค่ากิจการที่แท้จริง
ข้อเสียของการใช้วิธีนี้คือ กำไรจะก้าวกระโดดอย่างมากในปีที่เปลี่ยนมาตรฐานทางบัญชี , กำไรที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่ายุติธรรม ไม่สามารถปันผลได้ , ถ้ามูลค่ายุติธรรมลดลง เช่นผู้เช่าลดลง ค่าเช่าลดลง ก็จะกระทบกับงบกำไรขาดทุนด้วยเช่นกัน , บริษัทใดที่เปลี่ยนมาใช้วิธีนี้แล้ว ไม่สามารถเปลี่ยนกลับไปใช้แบบเดิมได้
แบบวิธีราคาทุน (Cost Method) การบันทึกโดยวิธีนี้ พื้นฐานแล้วจะเหมือนกับแบบเดิม แต่บริษัทจะต้องเปิดเผยมูลค่ายุติธรรมทั้งหมดของบริษัทไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินด้วย ซึ่งบริษัท CPN และ TICON จะเลือกใช้วิธีนี้โดยเริ่มใน Q1/54 จากการบันทึกแบบนี้เราสามารถประเมินมูลค่ากิจการได้จากการเอามูลค่ายุติธรรมไปแทนในงบดุล แล้วคำนวณส่วนของผู้ถือหุ้นออกมาใหม่ แล้วหารด้วยจำนวนหุ้นทั้งหมดของบริษัท ก็จะได้มูลค่ายุติธรรมต่อหุ้น (มูลค่าทรัพย์สินทั้งหมดของบริษัท ณ ราคาปัจจุบัน – หนี้สินที่บริษัทมีอยู่) ซึ่งการคิดแบบนี้อาศัยหลักการเดียวกับการคิด NAV ของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ดังนั้น มูลค่ายุติธรรมต่อหุ้นจึงเทียบได้กับ NAV ของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์นั่นเอง ดังนั้นการลงทุนในหุ้นที่เลือกใช้วิธีบัญชีแบบนี้จะเป็นแนว Asset play คือ ซื้อเมื่อราคายุติธรรมต่อหุ้น หรือขายเมื่อราคาหุ้นนั้นมากกว่ามูลค่ายุติธรรมต่อหุ้น และธุรกิจที่มีแนวโน้มของธุรกิจเติบโตได้ในอนาคตควรจะเทรดที่ราคามากกว่ามูลค่ายุติธรรม หรือกลับกัน เป็นต้น
ข้อดีของการบันทึกแบบนี้คือ สามารถเทียบเคียงงบการเงิน , P/E , P/BV ฯลฯ ย้อนหลังกับปีก่อนๆได้ง่าย , มีทางเลือกในการเปลี่ยนไปใช้บัญชีแบบมูลค่ายุติธรรมได้ในอนาคต, ไม่มีการก้าวกระโดดของกำไรในปีแรกที่ใช้ ซึ่งอาจทำให้นักลงทุนที่ไม่เข้าใจสับสนได้
ข้อเสีย คือ กำไรสุทธิที่แสดงออกมายังคงน้อยกว่ากระแสเงินสดที่บริษัททำได้อยู่ดี ทำให้ในสายตานักลงทุนทั่วไปที่ไม่ได้เข้าใจทางบัญชี หุ้นตัวนี้จึงเป็นหุ้นที่ดูแล้วแพง หรือเกินมูลค่าไปมากแล้ว
เราลองมาดูถึงหุ้นที่จะได้รับผลกระทบจากการใช้มาตรฐานบัญชีใหม่ซึ่งข้อมูลที่ผมมีอยู่ มี 2 บริษัท คือ CPN และ TICON
ขอเริ่มที่ TICON ก่อนเนื่องจากมีความซับซ้อนน้อยกว่า CPN , โดย TICON ราคาปัจจุบันที่ 13.6 บาท กำไรต่อหุ้นปี 53 ที่ 1.22 บาท คิดเป็น P/E = 11.15 เท่า , P/B = 1.47 เท่า
TICON ทำธุรกิจพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม และ คลังสินค้าให้เช่า รายได้มาจากค่าเช่า และการขายพื้นที่เช่าเข้ากองทุน TFUND และ TLOGIS โดยจะขายให้กองทุนที่ราคายุติธรรมนั่นเอง ซึ่ง TICON ขายพื้นที่เช่าเข้ากองทุนทุกปีติดต่อกันเป็นระยะเวลา 5 ปี และมีแผนที่จะขายเข้ากองทุนไปเรื่อยๆ โดยตามไปถือหุ้นในกองทุนด้วย
TICON ได้ชื่อว่าเป็นหุ้นปันผล เพราะอะไร? …. เพราะปันผลในสัดส่วนที่มากเมื่อเทียบกับกำไรต่อหุ้น โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 80% ของกำไรสุทธิ และในปีล่าสุดอยู่ที่ 93.6% ทำไมบริษัทถึงปันผลได้มากขนาดนี้ ในขณะที่ยังคงรักษาการเติบโตของพื้นที่ให้เช่าได้ คำตอบอยู่ที่ค่าเสื่อมราคานั่นเองครับ เพราะจริงๆแล้วกระแสเงินสดของบริษัทที่ทำได้นั้นมากกว่ากำไรสุทธิที่โดนหักไปด้วยค่าเสื่อมราคามาก ซึ่งปีล่าสุดค่าเสื่อมราคาทำให้กำไรสุทธิที่รายงานมาลดลง 0.35 บาทต่อหุ้น
จาก P/E ที่ยังต่ำ และจาก E ที่ต่ำกว่ากระแสเงินสดจริงที่บริษัททำได้มาก จึงเป็นหุ้นที่มี Margin of Safety สูงตัวหนึ่ง ณ ราคานี้ และจากการที่ TICON ขายพื้นที่เข้ากองทุนทุกปีที่ราคายุติธรรม ทำให้เราสามารถเทียบราคาหุ้น กับราคายุติธรรมต่อหุ้นได้ เช่น ถ้าราคาหุ้นในตลาดต่ำกว่าราคายุติธรรมต่อหุ้นที่คำนวณได้หลังจากประกาศงบการเงินออกมา เทียบได้กับการซื้อพื้นที่ให้เช่าในราคาต่ำกว่าราคาตลาดที่ซื้อขายกัน แต่ถ้าราคาหุ้นแพงกว่าก็เป็นไปในทางกลับกัน
CPN รับรองว่าชื่อของเซ็นทรัลพัฒนาในตลาดหุ้นน้อยคนนักจะไม่รู้จัก ราคาหุ้นล่าสุดอยู่ที่ 29.5 บาท กำไรต่อหุ้น 0.52 บาท P/E = 56.7 เท่า P/B = 3.47 เท่า แต่เนื่องจากปีที่แล้วมีการบันทึกการด้อยค่าของ Central world ที่โดนเผา ซึ่งจริงๆ กำไรต่อหุ้นจากการดำเนินงาน(ไม่นับการด้อยค่าของ Central world) จะอยู่ที่ 0.9 บาท หรือ 32.8 เท่า
CPN ทำธุรกิจหลักคือสร้างห้างสรรพสินค้า แล้วมีรายได้จากการให้เช่าพื้นที่ภายในห้าง ส่วนการขายพื้นที่ให้เช่าเข้ากองทุนนั้นเกิดขึ้นเป็นบางปี และเป็นการขายสิทธิการเช่าระยะเวลา 20-30 ปี ทำให้การใช้มูลค่ายุติธรรมต่อหุ้นมาประเมินอาจจะลำบากกว่า TICON แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อดูส่วนของสินทรัพย์ในงบดุลอยู่ที่ 53,832 ล้านบาท แต่จากขายสิทธิการเช่า 30 ปีของเซ็นทรัลพระรามสองและพระรามสามเข้ากองทุนนั้น สามารถขายได้ประมาณ 10,000 ล้านบาท จึงเป็นไปได้ว่า Fair Value จะสูงกว่ามูลค่าของ Booked Value อยู่พอสมควร
สรุป เราคงต้องรองบ Q1/54 ที่จะประกาศออกมาในเร็วๆนี้ เพื่อที่ประเมินมูลค่าของกิจการว่าสมควรจะอยู่ที่เท่าไหร่ และในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ให้เช่า กำไรต่อหุ้นไม่ใช่สิ่งที่สะท้อนมูลค่าของกิจการได้ดีนัก จึงได้มีการออกบทบัญชีมาใช้โดยเฉพาะกับธุรกิจนี้
- ปลาตัวเล็ก
- Verified User
- โพสต์: 767
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มาตราฐานบัญชีฉบับที่ 40 กับขุมทรัพย์ที่รอการเปิดเผย
โพสต์ที่ 2
ขอบคุณมากครับ มีประโยชน์มากๆ
- nACrophiles_117
- Verified User
- โพสต์: 1362
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มาตราฐานบัญชีฉบับที่ 40 กับขุมทรัพย์ที่รอการเปิดเผย
โพสต์ที่ 3
ขอบคุณพี่หมอกิ๊กก๊อกมากครับ
labor omnia vincit
- nACrophiles_117
- Verified User
- โพสต์: 1362
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มาตราฐานบัญชีฉบับที่ 40 กับขุมทรัพย์ที่รอการเปิดเผย
โพสต์ที่ 7
ถ้างบไม่ออกมาแย่ หรือตลาดร่วงหนักๆ จะได้ซื้อเพิ่มไหมนี่
labor omnia vincit
- wpong
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1336
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มาตราฐานบัญชีฉบับที่ 40 กับขุมทรัพย์ที่รอการเปิดเผย
โพสต์ที่ 8
ขอบคุณสำหรับความรู้ แต่ขอที่มาของคำพูดบัฟเฟตด้านบนด้วยครับgiggog เขียน: ซึ่งทางบัฟเฟตได้แนะนำการพิจารณาหุ้นกลุ่มนี้ควรดูถึงรายได้ มากกว่าค่า P/E
โดยส่วนตัวผมไม่เชื่อว่าบัฟเฟตจะกล่าวทำนองนี้ครับ
ผมเชื่อว่าบัฟเฟตน่าจะพูดถึง Owner Earning มากกว่าครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 758
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มาตราฐานบัญชีฉบับที่ 40 กับขุมทรัพย์ที่รอการเปิดเผย
โพสต์ที่ 11
ผมเข้าใจว่ามันคืออันเดียวกัน ถ้าผิดพลาดขออภัยด้วยครับwpong เขียน:ขอบคุณสำหรับความรู้ แต่ขอที่มาของคำพูดบัฟเฟตด้านบนด้วยครับgiggog เขียน: ซึ่งทางบัฟเฟตได้แนะนำการพิจารณาหุ้นกลุ่มนี้ควรดูถึงรายได้ มากกว่าค่า P/E
โดยส่วนตัวผมไม่เชื่อว่าบัฟเฟตจะกล่าวทำนองนี้ครับ
ผมเชื่อว่าบัฟเฟตน่าจะพูดถึง Owner Earning มากกว่าครับ
- kornjackrit
- Verified User
- โพสต์: 1524
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มาตราฐานบัญชีฉบับที่ 40 กับขุมทรัพย์ที่รอการเปิดเผย
โพสต์ที่ 14
ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ
When you become famous, the first thing you should have to remember is not your success story but those who help you along the way.
-
- Verified User
- โพสต์: 35
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มาตราฐานบัญชีฉบับที่ 40 กับขุมทรัพย์ที่รอการเปิดเผย
โพสต์ที่ 18
ขอบคุณครับ ที่ช่วยเฉลยลายแทงขุมทรัพย์
งานที่ทำแบบลวกๆ
เป็นหลักฐานที่ดี
ที่จะบอกว่า
คนที่ทำเป็นคนแบบไหน
เป็นหลักฐานที่ดี
ที่จะบอกว่า
คนที่ทำเป็นคนแบบไหน
-
- Verified User
- โพสต์: 758
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มาตราฐานบัญชีฉบับที่ 40 กับขุมทรัพย์ที่รอการเปิดเผย
โพสต์ที่ 19
CPN งบออกแล้วครับ กำไรลดลงตามคาด
แต่ที่น่าสนใจคือเรื่องอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน
มูลค่าทางบัญชี 31,802 ล้านบาท
มูลค่ายุติธรรม 58,759 ล้านบาท
เพิ่มขึ้น 26,957 ล้านบาท
ส่วนผู้ถือหุ้น 19,088 ล้านบาท หรือ 8.76 บาทต่อหุ้น
คิดเป็นมูลค่าสินทรัพย์ 46,045 ล้านบาท หรือ 21.13 บาทต่อหุ้น
อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนประกอบด้วยทรัพย์สินทางการค้าที่ให้เช่าแก่บุคคลที่สาม โดยส่วนใหญ่ได้ถูกโอนมาจากที่ดิน อาคารและอุปกรณ์และสิทธิการเช่า ซึ่งประกอบด้วยศูนย์การค้าดังต่อไปนี้
- เซ็นทรัลพลาซา เชียงใหม่ แอร์พอร์ต - เซ็นทรัลพลาซา รามอินทรา
- เซ็นทรัลพลาซา บางนา - เซ็นทรัลพลาซา ปิ่นเกล้า
- เซ็นทรัล เซ็นเตอร์ พัทยา - เซ็นทรัลพลาซา รัชดา - พระราม 3
- เซ็นทรัลพลาซา รัตนาธิเบศร์ - เซ็นทรัลพลาซา แจ้งวัฒนะ
- เซ็นทรัลเฟสติวัล พัทยา บีช - เซ็นทรัลพลาซา อุดรธานี
- เซ็นทรัลพลาซา ชลบุรี - เซ็นทรัลพลาซา ขอนแก่น
- เซ็นทรัลพลาซา เชียงราย - อาคารสำนักงาน แจ้งวัฒนะ
- เซ็นทรัล ซิตี้ เรสสิเดนซ์ - อาคารสำนักงาน บางนา
- หลังสวนโคโลเนต - โครงการที่อยู่ระหว่างการพัฒนา
ราคา FV ไม่รวม โครงการ ลาดพร้าว และ CTW ซึ่ง generate รายได้ประมาณ 40%
แต่ที่น่าสนใจคือเรื่องอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน
มูลค่าทางบัญชี 31,802 ล้านบาท
มูลค่ายุติธรรม 58,759 ล้านบาท
เพิ่มขึ้น 26,957 ล้านบาท
ส่วนผู้ถือหุ้น 19,088 ล้านบาท หรือ 8.76 บาทต่อหุ้น
คิดเป็นมูลค่าสินทรัพย์ 46,045 ล้านบาท หรือ 21.13 บาทต่อหุ้น
อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนประกอบด้วยทรัพย์สินทางการค้าที่ให้เช่าแก่บุคคลที่สาม โดยส่วนใหญ่ได้ถูกโอนมาจากที่ดิน อาคารและอุปกรณ์และสิทธิการเช่า ซึ่งประกอบด้วยศูนย์การค้าดังต่อไปนี้
- เซ็นทรัลพลาซา เชียงใหม่ แอร์พอร์ต - เซ็นทรัลพลาซา รามอินทรา
- เซ็นทรัลพลาซา บางนา - เซ็นทรัลพลาซา ปิ่นเกล้า
- เซ็นทรัล เซ็นเตอร์ พัทยา - เซ็นทรัลพลาซา รัชดา - พระราม 3
- เซ็นทรัลพลาซา รัตนาธิเบศร์ - เซ็นทรัลพลาซา แจ้งวัฒนะ
- เซ็นทรัลเฟสติวัล พัทยา บีช - เซ็นทรัลพลาซา อุดรธานี
- เซ็นทรัลพลาซา ชลบุรี - เซ็นทรัลพลาซา ขอนแก่น
- เซ็นทรัลพลาซา เชียงราย - อาคารสำนักงาน แจ้งวัฒนะ
- เซ็นทรัล ซิตี้ เรสสิเดนซ์ - อาคารสำนักงาน บางนา
- หลังสวนโคโลเนต - โครงการที่อยู่ระหว่างการพัฒนา
ราคา FV ไม่รวม โครงการ ลาดพร้าว และ CTW ซึ่ง generate รายได้ประมาณ 40%
-
- Verified User
- โพสต์: 758
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มาตราฐานบัญชีฉบับที่ 40 กับขุมทรัพย์ที่รอการเปิดเผย
โพสต์ที่ 21
TICON งบยังไงออก ... ข้อดีของ TICON อีกอย่างคือการที่มีการขายพื้นที่เช่าเข้ากองทุนเป็นระยะๆ เป็นการ Unlock hidden asset ออกมา ทำให้เราสามารถใช้ราคายุติธรรมต่อหุ้น มาช่วยเป็นแนวทางการซื้อขายได้เหมือนพวกกองทุนอสังหา
- ซุนเซ็ก
- Verified User
- โพสต์: 1104
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มาตราฐานบัญชีฉบับที่ 40 กับขุมทรัพย์ที่รอการเปิดเผย
โพสต์ที่ 22
ถ้าเลือกใช้วิธี fair value มูลค่าของบริษัทจะแสดงออกมาได้ชัดเจน กำไรบรรทัดสุดท้ายเพิ่มเห็นๆ
ทำให้ pe ต่ำลง bv เพิ่มขึ้น ใช้เป็นตัวปลดล็อคได้อย่างดี เช่นกรณี sf
แต่วิธีราคาทุน cost method ที่แสดง fair value เป็นเพียงหมายเหตุ
ไม่ส่งผลกับใดๆกับ financial ratio ผมมองไม่ออกว่าทำไมตลาดควรยอมรับ
ในเมื่อ pe bv มันก็ same same เหมือนที่เคยเป็นมา
Hidden asset ก็ดูเหมือนจะ hidden ต่อไป ยังมองไม่เห็นตัวปลดล็อคราคา
พี่ๆคิดยังไงครับเรื่องนี้บ้างครับ?
ทำให้ pe ต่ำลง bv เพิ่มขึ้น ใช้เป็นตัวปลดล็อคได้อย่างดี เช่นกรณี sf
แต่วิธีราคาทุน cost method ที่แสดง fair value เป็นเพียงหมายเหตุ
ไม่ส่งผลกับใดๆกับ financial ratio ผมมองไม่ออกว่าทำไมตลาดควรยอมรับ
ในเมื่อ pe bv มันก็ same same เหมือนที่เคยเป็นมา
Hidden asset ก็ดูเหมือนจะ hidden ต่อไป ยังมองไม่เห็นตัวปลดล็อคราคา
พี่ๆคิดยังไงครับเรื่องนี้บ้างครับ?
ผมไม่ได้อยู่ในเว็บนี้แล้ว, มีอะไรติดต่อได้ทาง FB - 27/9/2555
"วิธีการที่ถูกต้อง มีได้มากกว่าหนึ่งวิธี"
สมุดบันทึกของผม http://suntse.wordpress.com
Facebook https://www.facebook.com/giggswalk
"วิธีการที่ถูกต้อง มีได้มากกว่าหนึ่งวิธี"
สมุดบันทึกของผม http://suntse.wordpress.com
Facebook https://www.facebook.com/giggswalk
-
- Verified User
- โพสต์: 758
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มาตราฐานบัญชีฉบับที่ 40 กับขุมทรัพย์ที่รอการเปิดเผย
โพสต์ที่ 23
ในกรณีของ SF เป็นการ convert hidden asset ออกมาเป็นกำไรต่อหุ้นซุนเซ็ก เขียน:ถ้าเลือกใช้วิธี fair value มูลค่าของบริษัทจะแสดงออกมาได้ชัดเจน กำไรบรรทัดสุดท้ายเพิ่มเห็นๆ
ทำให้ pe ต่ำลง bv เพิ่มขึ้น ใช้เป็นตัวปลดล็อคได้อย่างดี เช่นกรณี sf
แต่วิธีราคาทุน cost method ที่แสดง fair value เป็นเพียงหมายเหตุ
ไม่ส่งผลกับใดๆกับ financial ratio ผมมองไม่ออกว่าทำไมตลาดควรยอมรับ
ในเมื่อ pe bv มันก็ same same เหมือนที่เคยเป็นมา
Hidden asset ก็ดูเหมือนจะ hidden ต่อไป ยังมองไม่เห็นตัวปลดล็อคราคา
พี่ๆคิดยังไงครับเรื่องนี้บ้างครับ?
ส่วนในกรณีของ CPN/TICON เป็นการ convert hidden asset ออกมาเป็น Fair Value ต่อหุ้นซึ่งจะต้องไปคำนวนเองอีกที โดยค่าที่ได้เที่ยบได้กับ NAV ของกองทุนอสังหา หรือ REIT ซึ่งข้อแตกต่างของ TICON กับ CPN คือ TICON มีการขายพื้นที่เช่าเข้ากองทุนทุกปี นั่นคือการแปลงราคายุติธรรมของหุ้น ออกมาเป็นกำไรต่อหุ้นอีกที เช่น ถ้า TICON มีมูลค่ายุติธรรมมาก แสดงว่ามีทรัพย์สินที่พร้อมขายเข้ากองทุนได้อีกมาก และถ้าราคาหุ้นในตลาดถูกกว่าราคายุติธรรมต่อหุ้น ก็แสดงว่าซื้อ asset ของ TICON ได้ถูกกว่าที่ TFUND/TLOGIS ซื้อ
อีกประเด็นนึง P/E , BV เหมือนเดิม แต่มันทำให้เรารู้ว่ามันมีขุมทรัพย์อยู่ใน BV อันน้อยนิด ลองดูของ CPN เป็นตัวอย่างครับ BV 8.76 บาทต่อหุ้ิน แต่มูลค่าทรัพย์สินที่บริษัทมีจริงๆ (ไม่รวม CTW , ลาดพร้าว) อยู่ที่ 21.13 บาทต่อหุ้น เป็นต้น
-
- Verified User
- โพสต์: 168
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มาตราฐานบัญชีฉบับที่ 40 กับขุมทรัพย์ที่รอการเปิดเผย
โพสต์ที่ 25
หากเราสามารถประมาณได้ว่า สาขา ลาดพร้าว และ ctw สามารถ generate รายได้ให้ cpn ประมาณ 40 % ดังนั้น fv ของ cpn รวมทั้งลาดพร้าวและ ctw จะอยู่ที่ 35 บาท ถูกหรือผิดอย่างไร ช่วยชี้แนะด้วยครับ
- Financeseed
- Verified User
- โพสต์: 1304
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มาตราฐานบัญชีฉบับที่ 40 กับขุมทรัพย์ที่รอการเปิดเผย
โพสต์ที่ 26
ขอบคุณครับ
- KGYF
- Verified User
- โพสต์: 399
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มาตราฐานบัญชีฉบับที่ 40 กับขุมทรัพย์ที่รอการเปิดเผย
โพสต์ที่ 27
ขอบคุณมากครับ
" สัพพะทานัง ธัมมะทานัง ชินาติ = การให้ธรรมะเป็นทาน ย่อมชนะการให้ทั้งปวง "
" ทุกข์มี เพราะยึด ทุกข์ยืด เพราะอยาก ทุกข์มาก เพราะพลอย ทุกข์น้อย เพราะหยุด ทุกข์หลุด เพราะปล่อย"
" ทุกข์มี เพราะยึด ทุกข์ยืด เพราะอยาก ทุกข์มาก เพราะพลอย ทุกข์น้อย เพราะหยุด ทุกข์หลุด เพราะปล่อย"
- chukieat30
- Verified User
- โพสต์: 3531
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มาตราฐานบัญชีฉบับที่ 40 กับขุมทรัพย์ที่รอการเปิดเผย
โพสต์ที่ 30
giggog เขียน:ลองคำนวน asset ของ TICON ตาม TAS40 ได้มูลค่า 19.61 บาทต่อหุ้น ณ Q1/54
upside 50% จากราคาปัจจุบัน
ขอบคุณครับ
ถ้าคุณตีลูกตามไทเกอร์ คุณก้ไม่มีทางจะเหนือกว่า ไทเกอร์ จงนำวงสวิงของไทเกอร์มาปรับใช้ให้เหมาะกับคุณ
หวิ่งชุนหวอซาน หวิ่งชุนยิปมันจีทคุดโด้ พื้นฐานก้มาจากหวิ่งชุน แม้ชื่อจะต่าง
แต่หวิ่งชุนก้คือ หวิ่งชุน
ทำวันนี้ให้ดี ทำพรุ่งนี้ให้ดีกว่า และทำวันข้างหน้าให้ดีที่สุด
หวิ่งชุนหวอซาน หวิ่งชุนยิปมันจีทคุดโด้ พื้นฐานก้มาจากหวิ่งชุน แม้ชื่อจะต่าง
แต่หวิ่งชุนก้คือ หวิ่งชุน
ทำวันนี้ให้ดี ทำพรุ่งนี้ให้ดีกว่า และทำวันข้างหน้าให้ดีที่สุด