เพราะ เมื่อน้ำมันถึง 100 เหรียญ ทำให้
เชื้่อเพลิงที่ทำมาจากพืชได้รับความนิยมอีกครั้งหนึ่ง
เหมือนปี 2007-2008 ที่ราคาำน้ำมันทำ new high ที่ระดับ 147 เหรียญ
แต่ตอนนั้นก็มีบทเรียนตามมาคือ วิกฤติการณ์แฮมเบอร์เกอร์ ที่พวกเราหลายท่านใน VI
ประสบพบเจอเป็นวิกฤติรอบแรก ในชีวิตก็มีครับ
ตัวน้ำมันเป็นแรงกดดันทำให้ Inflation เพิ่มขึ้น
แต่ Core inflation ขึ้นตามหรือเปล่าเป็นที่น่าเป็นห่วง เพราะ ธปท และธนาคารกลางหลายประเทศนั้น
ตั้งเป้าหมายนโยบายเป็น target inflation ไว้ครับ
ตอนนี้ก็ใกล้ๆเข้าสู่จุดที่เป็น target inflation ของธปท ตั้งไว้แล้วที่ ด้านล่างคือ 3%
สิ่งนี้เป็นแรงกดดันต่อเครื่องมือของธปท ที่สามารถใช้เครื่องมือได้ดังนี้
1. PR1(ดอกเบี้ยนโยบายขึ้น)
2. ปริมาณเงินในระบบ (อันนี้ US เคยใช้เมื่อตอนปี 1980)
3. เงินสำรองของธนาคาร (อันนี้จีนใช้)
สิ่งที่ตามมาคืออะไร คือดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น ส่งผลทำให้ เงินเฟ้อลดลง แต่ อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้น
ซึ่งอัตราการว่างงานของไทยไม่สะท้อนความจริงตามนิยามที่ตั้งไว้ เพราะ ถือว่า คนที่มีงานทำ 1 ชั่วโมงต่ออาทิตย์ถือว่าไม่ว่างงานแล้ว
ส่วนเรื่องที่ตามมาจริงๆ คือ การลงทุน ลดลงหรือเปล่า เพราะ ดอกเบี้ยที่คิดในตัวโครงการเพิ่มขึ้น อาจจะเห็นบ้างโครงการมีปัญหาสภาพคล่องได้
ต่อมาไม่เพียงแค่นั้น เมื่อดอกเบี้ยเราสูงกว่าดอกเบี้ยต่างประเทศก็ การโยกย้ายเงินเข้าออก
งานนี้ส่งผลต่อค่าเงินบาทของเรา ตามด้วยยอดการส่งออกและนำเข้าของประเทศพ่วงเข้าไปด้วย
งานนี้ภาพใหญ่สนุกดีครับ
ส่วนภาพย่อยๆ
อุตสาหกรรมที่ยิ้มได้ตอนนี้คือ อุตสาหกรรมน้ำมัน
ส่วนตัวที่รับบทหนักคือพวกพวก อุตสาหกรรมกลางและปลายน้ำของปิโตรเคมีที่ราคาปรับตามต้นทุนที่ขึ้นไม่ได้
ตามมาด้วย ยอดบริโภคของประชาชนที่ลดลง จากน้ำมันแพง
ภาคอุตสาหกรรมรถยนต์อาจจะได้เห็น ECO car แบบเล็กแล้วแจ๋มกว่าปัจจุบันก็ได้ยิ่งกว่า นิสสัน March ณ ตอนนี้
ส่วนเครื่องบินและเรือก็โดนไปเต็มๆ เรื่องน้ำมัน
ภาคต่อมาที่กระทบต่อประชาชนคือ ขนส่ง โดยเฉพาะขสมก งานนี้ไม่ยอมให้ขึ้นน้ำมันดีเซล ทำให้สบายใจไปได้
แต่นโยบายวันนี้ เป็นนโยบายที่ทำร้ายเราในอนาคตหรือเปล่า เป็นเรื่องที่ติดตามดู ตาม Time consistency
แค่นี้ก่อนล่ะ
