PEG
-
- Verified User
- โพสต์: 79
- ผู้ติดตาม: 2
PEG
โพสต์ที่ 3
ค่าPEเป็นตัวบอกให้ทราบว่าบริษัทนี้น่าจะเติบโตในอัตราเท่าใด เช่นPE = 10 หมายถึงว่าคุณยอมจ่ายเงินเพื่อซื้อหุ้นบริษัทนี้ในอัตราสิบเท่าเมื่อเทียบกับผลกำไร ดังนั้นจึงหวังว่ามันน่าจะมีราคาสูงขึ้นตามผลกำไรในวันหน้า เช่นปีนี้ earning = 5 บาท PE = 10 ราคา = 50 บาท หากปีหน้าPEเท่าเดิม แต่earning = 6 บาท ราคาควรเป็น 60บาท ดังนั้นเพื่อหาตัววัดว่าราคาหุ้นนั้นจะเหมาะสมจริงตามที่คาดไว้หรือไม่จึงให้หาGrowthมาหารเพื่อให้ดูว่าตลาดตอบสนองต่อหุ้นนี้เป็นอย่างไร เช่น PEG = 1 ราคาพอดีกับการเติบโต PEG < 1หมายถึงหุ้นบริษัทนี้มีแนวโน้มว่าราคาควรจะขึ้นสูงกว่านี้ได้ หากPEG>1 แสดงว่าOverpriceครับ ส่วนตัวผมมักเลือกหุ้นที่PEGต่ำกว่า 0.5ครับ
-
- ผู้ติดตาม: 0
แล้วเราจะหาค่า growth ได้จากไหนครับ
โพสต์ที่ 4
แล้วเราจะหาค่า growth ได้จากไหนครับ
-
- ผู้ติดตาม: 0
ขอบคุณพี่ Mom money ครับ
โพสต์ที่ 6
ขอบคุณพี่ Mom money ครับ
ปล เรียกผมน้องก็ได้ครับ.....เรียกคุณรู้สิกจักกะจี้ครับพี่
ปล เรียกผมน้องก็ได้ครับ.....เรียกคุณรู้สิกจักกะจี้ครับพี่
- yoyo
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4833
- ผู้ติดตาม: 0
PEG
โพสต์ที่ 7
ผมว่า growth จริงๆแล้วไม่ได้เกิดจากการคำนวณอย่างเดียวนะครับ
ค่าที่เกิดจากการคำนวณมันเป็นกำไรในอดีตย้อนหลัง
มันช่วยได้บ้างในการคาดการอนาคต แต่ไม่ใช่ค่าตายตัวเท่าไหร่
เพราะ growth ที่จะใช้คำนวณมันน่าจะเป็น growth ในอนาคตมากกว่า
เพราะฉะนั้นจะหาค่า growth ได้เนี่ยต้องมองธุรกิจและแนวโน้มกิจการให้ขาด
แล้วประมาณออกมาเองด้วย sense ไม่รู้ผมคิดอย่างนี้ถูกต้องรึเปล่า
ค่าที่เกิดจากการคำนวณมันเป็นกำไรในอดีตย้อนหลัง
มันช่วยได้บ้างในการคาดการอนาคต แต่ไม่ใช่ค่าตายตัวเท่าไหร่
เพราะ growth ที่จะใช้คำนวณมันน่าจะเป็น growth ในอนาคตมากกว่า
เพราะฉะนั้นจะหาค่า growth ได้เนี่ยต้องมองธุรกิจและแนวโน้มกิจการให้ขาด
แล้วประมาณออกมาเองด้วย sense ไม่รู้ผมคิดอย่างนี้ถูกต้องรึเปล่า
- yoyo
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4833
- ผู้ติดตาม: 0
PEG
โพสต์ที่ 8
จริงๆค่า PEG นี่ผมก็เคยสงสัยมานานแล้วเหมือนกัน
ได้แต่เอามาใช้ไม่รู้ที่มา
อย่าง PE เนี่ยถ้าคิดว่าบริษัทไม่มีการเติบโตไม่มีการด้อยลง
ก็ตีความหมายได้ว่า PE คือจำนวนปีที่เราลงทุนไปแล้วคืนทุน
แล้วค่า growth คือค่าการเติบโตต่อปี แล้วจับมาหารกันได้ยังไงไม่เข้าใจที่มา
ทำไม PE 10 growth 20 ดีกว่า PE 5 growth 5 นั่นคือปัญหาแรก
แล้วที่ตามมาก็คือว่า ผมมองว่าบริษัทนี้จะโต 10 ในอีก 5 ปี
แล้ว growth จะเหลือ 5 ในปีต่อๆไป ผมจะมองยังไงหรือจะไปใช้ FCF เลยดี
เคยคิดเอาเองเล่นๆว่าถ้าวันนี้ผมมองว่าปีนี้โต 10 PE 10
แล้วผมคิดว่าจะถือไม่เกินปีก็ถือว่า PEG 1 แบบเซพๆ แต่ปีต่อๆไปจะเป็นไงไม่รู้
เลยเป็นที่มาของความงง
ได้แต่เอามาใช้ไม่รู้ที่มา
อย่าง PE เนี่ยถ้าคิดว่าบริษัทไม่มีการเติบโตไม่มีการด้อยลง
ก็ตีความหมายได้ว่า PE คือจำนวนปีที่เราลงทุนไปแล้วคืนทุน
แล้วค่า growth คือค่าการเติบโตต่อปี แล้วจับมาหารกันได้ยังไงไม่เข้าใจที่มา
ทำไม PE 10 growth 20 ดีกว่า PE 5 growth 5 นั่นคือปัญหาแรก
แล้วที่ตามมาก็คือว่า ผมมองว่าบริษัทนี้จะโต 10 ในอีก 5 ปี
แล้ว growth จะเหลือ 5 ในปีต่อๆไป ผมจะมองยังไงหรือจะไปใช้ FCF เลยดี
เคยคิดเอาเองเล่นๆว่าถ้าวันนี้ผมมองว่าปีนี้โต 10 PE 10
แล้วผมคิดว่าจะถือไม่เกินปีก็ถือว่า PEG 1 แบบเซพๆ แต่ปีต่อๆไปจะเป็นไงไม่รู้
เลยเป็นที่มาของความงง
-
- ผู้ติดตาม: 0
PEG
โพสต์ที่ 9
รบกวนคุณ genie ให้ความรู้เพิ่มนิดนึงครับ คือ ค่า CFC มันคืออะไรครับ
ผมเคยได้ยินแต่
CFO = Cash Flow from Operatings
CFI = Cash Flow from Investing
CFF = Cash Flow from Financing
ผมเคยได้ยินแต่
CFO = Cash Flow from Operatings
CFI = Cash Flow from Investing
CFF = Cash Flow from Financing
-
- ผู้ติดตาม: 0
PEG
โพสต์ที่ 11
อ่านกระทู้นี้แล้วสงสัย.. เดี๋ยวนอนไม่หลับครับ...ขอตั้งข้อปุจฉาดังนี้ครับ
การคำนวนโดยใช้ค่า G นี้ผมรู้สึกว่า น่าจะใช้ได้กับบริษัทบางประเภทหรือเปล่า
เพราะสมมติว่าถ้าบริษัทหนึ่งมีการผลิต product เต็ม capacity แล้ว บริษัทนี้จะยังคงมี G โตขึ้นอีกหรือไม่(ถ้าเป็น เฟรนไชน์จะโตขึ้นเรื่อยๆ Ex. Ayud ก็อยู่ในข่ายนี้)
ผมจึงมองว่าถ้าจะนำค่า G มาคำนวนน่าจะเป็นบริษัทที่ขยายตัวตามจำนวนของลูกค้า โดยที่ต้นทุนที่ใช้แปรผกผันกันคือลูกค้าเพิ่มแต่ต้นทุนต่อหัวถูกลงครับ
เช่นว่าค่าเอกสารกรมธรรม์ยิ่งเยอะยิ่งถูกเป็นต้น แต่เดี๋ยวก่อน.....
ขอเวลาเรียบเรียงคำใหม่ก่อนครับ...เริ่มสับสน..เดี๋ยวหลุดครับยิ่งบ๊องส์ๆอยู่
การคำนวนโดยใช้ค่า G นี้ผมรู้สึกว่า น่าจะใช้ได้กับบริษัทบางประเภทหรือเปล่า
เพราะสมมติว่าถ้าบริษัทหนึ่งมีการผลิต product เต็ม capacity แล้ว บริษัทนี้จะยังคงมี G โตขึ้นอีกหรือไม่(ถ้าเป็น เฟรนไชน์จะโตขึ้นเรื่อยๆ Ex. Ayud ก็อยู่ในข่ายนี้)
ผมจึงมองว่าถ้าจะนำค่า G มาคำนวนน่าจะเป็นบริษัทที่ขยายตัวตามจำนวนของลูกค้า โดยที่ต้นทุนที่ใช้แปรผกผันกันคือลูกค้าเพิ่มแต่ต้นทุนต่อหัวถูกลงครับ
เช่นว่าค่าเอกสารกรมธรรม์ยิ่งเยอะยิ่งถูกเป็นต้น แต่เดี๋ยวก่อน.....
ขอเวลาเรียบเรียงคำใหม่ก่อนครับ...เริ่มสับสน..เดี๋ยวหลุดครับยิ่งบ๊องส์ๆอยู่
- Mon money
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 3134
- ผู้ติดตาม: 0
PEG
โพสต์ที่ 12
ไม่ต้องก็ได้ครับผมพอจะเข้าใจ หากคิดว่าบริษัทใช้กำลังการผลิตเต็มแล้วโตไม่ได้ไม่จริงครับ บริษัทมีทางเลือกมากมายเช่นลงทุนเพิ่ม จ้างผลิตจากภายนอกแล้วติดตราตัวเอง ตัดงานในส่วนที่ตัวเองไม่น่าทำ(ไม่สร้างมูลค่าเมื่อเทียบกับการลงทุน) บริษัทอาจมีGrowthเพิ่มขึ้นอย่างน้อยก็พอๆกับอัตราเงินเฟ้อ ถ้าน้อยกว่าก็เห็นว่ากำลังจะบอกลาพ่อแม่พี่น้องที่เป็นทั้งเจ้าหนี้และผู้ถือหุ้น หากบริษัทมีGrowthสูงๆ ก็มักจะลงทุนมาก สังเกตุจากการใช้เงินลงทุนในFIXED ASSETS และเงินทุนหมุนเวียน นะครับ
- ch_army
- Verified User
- โพสต์: 1352
- ผู้ติดตาม: 0
PEG
โพสต์ที่ 13
น่าสนใจครับว่า การเติบโตนั้นจะหาจากไหน ตอนนี้จอมยุทธ์ในเวปช่วยแสดงวิทยายุทธ์อันลึกล้ำหน่อยครับ เพื่แก้ปัญหาอันค้างคาใจอันนี้
-
- Verified User
- โพสต์: 1477
- ผู้ติดตาม: 0
PEG
โพสต์ที่ 14
เห็นด้วยครับ เห็นทำนายกับล่วงหน้าหลายๆปี ไม่รู้ว่าเคยมองกลับไปไหมว่าถูกหรือมั่วPEGคือข้ออ้างที่นักวิเคราะห์มักนำมาใช้เชียร์ซื้อหุ้นตัวที่มี PE สูงๆครับ
I do not sleep. I dream.
- ch_army
- Verified User
- โพสต์: 1352
- ผู้ติดตาม: 0
PEG
โพสต์ที่ 15
ต้องลองทำสถิติ สำรวจยอ้นกลับไปดูซะแล้ว เอาผลการวิเคราะห์เทียบกับ ความเป็นจริงเลยจะได้รู้ว่าใครคือจุดอ่อน
-
- Verified User
- โพสต์: 272
- ผู้ติดตาม: 0
Re: PEG
โพสต์ที่ 20
ผมคิดว่า ปัญหาของสูตรนี้คือ การหาค่า G
ยกตัวอย่างในรายการ Money Talk ที่ใช้ G แบบทบต้นย้อนหลังไป 5 ปี
ถ้าในปีฐานมีรายการกำไรพิเศษ เช่น จากการขายหน่วยลงทุน ขาย Asset อาจทำให้ Growth ติดลบได้ เช่น
2001 EPS 10
2002 EPS 11
2003 EPS 12
2004 EPS 14
2005 EPS 16
2006 EPS 30
2007 EPS 18
2008 EPS 20
2009 EPS 22
2010 EPS 24
2011 EPS 26
ในกรณีนี้ ถ้านำไปเข้าสูตร โดย คิดย้อนกลับไปในปี 2006 ซึ่งเป็น ปีฐาน
อย่างนี้จะทำให้ Growth ติดลบ
ยกตัวอย่างในรายการ Money Talk ที่ใช้ G แบบทบต้นย้อนหลังไป 5 ปี
ถ้าในปีฐานมีรายการกำไรพิเศษ เช่น จากการขายหน่วยลงทุน ขาย Asset อาจทำให้ Growth ติดลบได้ เช่น
2001 EPS 10
2002 EPS 11
2003 EPS 12
2004 EPS 14
2005 EPS 16
2006 EPS 30
2007 EPS 18
2008 EPS 20
2009 EPS 22
2010 EPS 24
2011 EPS 26
ในกรณีนี้ ถ้านำไปเข้าสูตร โดย คิดย้อนกลับไปในปี 2006 ซึ่งเป็น ปีฐาน
อย่างนี้จะทำให้ Growth ติดลบ
-
- Verified User
- โพสต์: 269
- ผู้ติดตาม: 0
Re: PEG
โพสต์ที่ 22
ผมตัดปัญหาการคำนวน growth โดยคิดแค่ปีต่อปีเลยครับ จริงๆ ก็เหมือนกับหา EPS ของหนึ่งปีข้างหน้า และใส่ PE ที่เหมาะสมเข้าไป
หลังจากตัดสินใจซื้อหุ้นแล้ว ก็จะติดตามข่าวสาร ผลงานของบริษัทที่เกิดขึ้น ประเมิณ growth อีกว่าตรงตามที่คาดการณ์ไว้หรือไม่ พอถึงเวลาหนึ่งจะตัดสินใจ "ขาย" หรือ "ถือต่อไป"
ปกติชอบซื้อหุ้นบริษัทเล็กๆ เติบโตเร็วครับ เลยเลือกใช้เทคนิคแบบนี้
หลังจากตัดสินใจซื้อหุ้นแล้ว ก็จะติดตามข่าวสาร ผลงานของบริษัทที่เกิดขึ้น ประเมิณ growth อีกว่าตรงตามที่คาดการณ์ไว้หรือไม่ พอถึงเวลาหนึ่งจะตัดสินใจ "ขาย" หรือ "ถือต่อไป"
ปกติชอบซื้อหุ้นบริษัทเล็กๆ เติบโตเร็วครับ เลยเลือกใช้เทคนิคแบบนี้
-
- Verified User
- โพสต์: 5011
- ผู้ติดตาม: 0
Re: PEG
โพสต์ที่ 23
ขอบคุณมากๆครับ
-----------------------------
เป้าหมายชีวิต ภารกิจครอบครัว
http://www.thorfun.com/story/view/UP9sI67rWUsDAAj_
-----------------------------
เป้าหมายชีวิต ภารกิจครอบครัว
http://www.thorfun.com/story/view/UP9sI67rWUsDAAj_