TAA : Thai AirAsia พร้อมเข้าตลาดหรือยังครับ?
- OutOfMyMind
- Verified User
- โพสต์: 1232
- ผู้ติดตาม: 0
TAA : Thai AirAsia พร้อมเข้าตลาดหรือยังครับ?
โพสต์ที่ 1
เคยอ่านข่าวในปี 2550 ว่า กลุ่มผู้บริหารระดับสูงได้รวมกันซื้อห้น 51% ของ TAA จากชินคอร์ป เพื่อสลัดภาพการเมืองให้กับ TAA และได้กู้เงินจากธนาคารเครดิตสวิส มาลงทุนโดยมีสัญญาว่าต้องเข้าตลาดใน 3 ปี ซึ่งน่าจะหมายถึงปีนี้ หรือ ปีหน้า ไม่ทราบใครมีความคืบหน้าเกียวกับ TAA บ้างครับ
แชทบอทสำหรับนักลงทุนเน้นคุณค่า
https://www.chathoon.com/
https://www.chathoon.com/
- OutOfMyMind
- Verified User
- โพสต์: 1232
- ผู้ติดตาม: 0
TAA : Thai AirAsia พร้อมเข้าตลาดหรือยังครับ?
โพสต์ที่ 2
'ทัศพล'พลิกไทยแอร์เอเชีย พ้นคราบนอมินี'ชินคอร์ป'
"ทัศพล"เปิดโครงสร้างใหม่ไทยแอร์เอเชีย เคลียร์เส้นทางเงิน สลัดภาพนอมินี "ทักษิณ"
ผนึก5 ผู้บริหารกู้เงิน 980 ล้านบาทจากแบงก์เครดิต สวิส กว้านซื้อหุ้น100% ในส่วนของชินคอร์ปและ"สิทธิชัย"ในเอเซีย เอวิเอชั่น พร้อมเงื่อนไขนำเข้าตลาดหลักทรัพย์ใน 3 ปี เพื่อระดมทุนใช้หนี้ มั่นใจปิดดิลได้แน่ ทั้งเดินหน้าขยายจุดบินรวม 35 จุดภายใน 5 ปี โดย ใช้สุวรรณภูมิเป็นฮับ
นายทัศพล แบเลเว็ลด์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายการบินไทย แอร์เอเชีย เปิดเผยกับ
"ฐานเศรษฐกิจ"ว่าการปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นใหม่ของบริษัทไทยแอร์เอเชีย จำกัด พร้อมจะให้ทุกฝ่ายเข้ามาตรวจสอบ โดยเฉพาะเส้นทางของเงินที่นำซื้อหุ้น เพราะทุกอย่างดำเนินการถูกต้อง ไม่มีใครอยู่เบื้องหลัง หรือมีใครเป็นนอมินีให้ชินคอร์ปมาซื้อหุ้นคืนที่หลัง อย่างแน่นอน เนื่องจากการปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นใหม่ เพื่อสร้างความโปรงใสว่าไม่มีปัญหาเรื่องนอมินีและสลัดภาพของชินคอร์ปหรือเทมาเส็กออกไปจากสายการบิน ไม่ให้ถูกเป็นเป้าโจมตีและถูกโยงไปเกี่ยวข้องกับเรื่องการเมืองอย่างที่ผ่านมา
ดังนั้นเมื่อเป็นโอกาสอันดีที่ชินคอร์ปส่งสัญญาณชัดเจนว่าต้องการขายธุรกิจในส่วนที่ไม่ใช่ธุรกิจหลักออกไป และในฐานะผู้ถือหุ้นเดิมและได้บริหารสายการบินมาตั้งแต่ต้น จึงเข้าไปหารือกับชินคอร์ปและแสดงความสนใจที่จะเข้าไปซื้อหุ้น เพื่อให้สายการบินมีทิศทางการดำเนินธุรกิจให้เป็นไปตามแผน และไม่แน่ใจว่าหากชินคอร์ปขายหุ้นให้คนอื่นๆ ผู้ถือหุ้นใหม่ที่เข้ามา จะมาเปลี่ยนแปลงการทำงานที่ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจของสายการบินที่ปัจจุบันถือว่ามีการขยายตัวที่ดี และหากยังล้างภาพการเมืองออกไปไม่ได้ ก็จะส่งผลกระทบต่อพนักงานที่ทำงานกับสายการบินรวมกว่า 1,200 คนซึ่งเขาก็ไม่มั่นใจกับอนาคตที่เกิดขึ้น
นายทัศพล กล่าวยอมรับว่าตนเองและผู้บริหารของสายการบินอีก 5 คน ได้แก่ นายพรอนันต์ เกิดประเสริฐ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการเงิน นาวาอากาศเอกธนภัทร งามปลั่ง ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการบิน นายปรีชญา รัศมีธานินทร์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิศวกรรม หม่อมหลวงบวรนวเทพ เทวกุล ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ และ นายสันติสุข คล่องใช้ยา ผู้อำนวยการฝ่ายการพาณิชย์ ตัดสินใจที่จะเข้าไปซื้อหุ้นทั้ง 100%ในบริษัทเอเซีย เอวิเอชั่น จำกัด (AA) ซึ่งเป็นโฮลดิ้ง คอมพานี ที่ถืออยู่ 50 %ในบริษัทไทยแอร์เอเชีย จำกัด (TAA)
"การหารือเพื่อขอซื้อหุ้นของบริษัทเอเชีย เอวิเอชั่น จำกัด ต้องเข้าไปเจรจาขอซื้อหุ้น
กับทางชินคอร์ปที่ถืออยู่ 49% และหุ้นของนายสิทธิชัย วีระธรรมนูญ ที่ถืออยู่ 51% ซึ่งได้หารือกันมานานกว่า 4-5 เดือนแล้ว ไม่ใช่เพิ่งจะมาเร่งจะซื้อขายในช่วงที่มีการอายัดทรัพย์พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร แต่ที่ปิดดิลล่าช้า เพราะต้องวิ่งเจรจาขอกู้เงินจากสถาบันการเงินในประเทศก่อน ซึ่งธนาคารก็กลัวเรื่องการเมือง ไม่ปล่อยกู้ให้ ยอมรับว่ารู้สึกเสียใจ จนต้องมองหาแหล่งเงินกู้จากต่างประเทศ มาตกลงกันได้กับธนาคารเครดิต สวิส สาขาสิงคโปร์ ซึ่งเป็นธนาคารที่สายการบินทำเรื่องเฮดจิ้งน้ำมันอยู่ และที่ต้องไปกู้ที่สิงคโปร์ เพราะสาขาของธนาคารเครดิต สวิส ในไทย จะทำเฉพาะเรื่องซื้อขายหลักทรัพย์เท่านั้น ไม่มีเรื่องของการปล่อยสินเชื่อ"นายทัศพล กล่าวและว่า
ทั้งนี้ธนาคารได้อนุมัติสินเชื่อกว่า 980 ล้านบาท สัญญาเงินกู้ 5 ปี ใช้หุ้นของสายการบินเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน พร้อมเงื่อนไขต้องนำบริษัทไทยแอร์เอเชีย เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ภายใน 3 ปี เพื่อระดมทุนนำเงินมาใช้หนี้ ซึ่งธนาคารดูแผนธุรกิจ 5 ปีของสายการบินแล้วมั่นใจว่าไปได้ดี จึงอนุมัติให้ซื้อหุ้นจำนวน 20.09 ล้านหุ้นที่ชินคอร์ปถืออยู่ มูลค่า472.11 ล้านบาท ในราคาหุ้นละ 23.50 บาท (อัตราส่วนราคาต่อกำไรต่อหุ้นพี/อี เรโช 15 เท่าและกำไรจากการดำเนินงานในปีนี้ประมาณ 150-200 ล้านบาท) ส่วนเงินที่เหลือ จะใช้ซื้อหุ้นอีก 51% ที่นายสิทธิชัย วีระธรรมนูญถืออยู่ รวมถึงการจ้างทนายความ เพื่อตรวจรายละเอียดของสัญญา
อย่างไรก็ดีการซื้อขายหุ้นทั้งหมดจะปิดดิลและทำสัญญากันได้ภายในสิ้นเดือนมิถุนายนนี้ และจากนั้นจะส่งรายละเอียดอย่างเป็นทางการในการปรับโครงสร้างใหม่แจ้งไปยังกรมการขนส่งทางอากาศหรือขอ.ตามขั้นตอน ซึ่งมั่นใจว่าได้ดำเนินการทุกอย่างถูกต้องตามพรบ.เดินอากาศไทย 2597 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม2542 ที่ระบุว่าสายการบินสัญชาติไทย ต้องเป็นนิติบุคคลไทยและมีบุคคลธรรมดาถือหุ้นอยู่ไม่น้อยกว่า 51%
หลังการปรับเปลี่ยนโครงสร้างผู้ถือหุ้นใหม่บริษัทแอร์เอเซีย เอวิเอชั่น จำกัด แล้ว จะมีผู้ถือหุ้นที่เป็นบุคคลธรรมดารวม 51% และมีแอร์เอเชีย มาเลเซีย ในฐานะผู้ถือหุ้นเดิมก็ยังคงถืออยู่ 49% (ตารางประกอบ) ซึ่งการปรับโครงสร้างครั้งนี้น่าจะจบลงโดยไม่มีใครติดใจโดยไม่นำเรื่องการเมืองเข้ามาโยงอีก และพนักงานก็จะได้ทำงานเต็มที่มีความรู้สึกมั่นคงต่ออนาคตเสียที เพื่อให้บริษัทนี้เดินหน้าต่อไปด้วยดี
นายทัศพล กล่าวต่ออีกว่า สำหรับใบสำคัญการจดทะเบียนอากาศยาน(ทะเบียนอากาศยานสัญชาติไทย)ที่ขาดสิทธิไปในช่วงระหว่างวันที่ 23 มกราคม-14กุมภาพันธ์2549 อันเป็นผลจากที่ชินคอร์ปขายหุ้นให้เทมาเสกนั้น บริษัทต้องเสียค่าปรับเป็นจำนวน 4,000 บาทต่อเที่ยวบิน ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล ซึ่งก็พร้อมจะจ่ายเพื่อยุติปัญหาทั้งหมด เพื่อจะได้ขยายธุรกิจตามแผน 5 ปีที่ได้วางไว้ โดยจะใช้สนามบินสุวรรณภูมิเป็นศูนย์กลางในการบิน และขยายเครือข่ายเส้นทางบินสู่ภูมิภาคอินโดจีน อินเดีย และจีนต่อไป
ภายใน 5 ปีนี้ สายการบินจะมีจุดบินรวมทั้งหมดกว่า 35 จุดบิน และมีฝูงบินใหม่แอร์บัส320 ขนาด 180 ที่นั่ง ที่เช่ามาจากสายการบินแอร์เอเชีย รวมกว่า 40 ลำ แทนเครื่องโบอิ้ง 737 โดยจะทยอยรับมอบตั้งแต่เดือนตุลาคมนี้เป็นต้นไป เพื่อนำมาให้บริการขยายเส้นทางบินครอบคลุมทุกจุดบินทั่วภูมิภาคนี้ภายในรัศมีการบินไม่เกิน 3 ชั่วโมง และเพิ่มจำนวนพนักงานเป็น 4,000 คน คาดว่าผู้โดยสารและเที่ยวบินจะขยายตัวอยู่ที่ 20-30% เพราะตั้งแต่เปิดให้บริการไทยแอร์เอเชียก็ขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปี โดยปีแรกขาดทุน 200 ล้านบาทมีผู้โดยสาร 1.2 ล้านคน ปีที่สอง กำไร 150 ล้านบาท ผู้โดยสาร 1.8 ล้านคน ปีที่สาม กำไร 50 ล้านบาทผู้โดยสาร 3 ล้านคน ปีนี้น่าจะกำไรอยู่ที่ 200 ล้านบาท จากผู้โดยสารจำนวน 4.2 ล้านคน
ด้านนายชัยศักดิ์ อังค์สุวรรณ อธิบดีกรมการขนส่งทางอากาศหรือขอ. เปิดเผยว่า ขณะนี้ขอ.กำลังรอหนังสือรับรองจากกระทรวงพาณิชย์ถึงการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นใหม่ของไทยแอร์เอเชีย
เพื่อตรวจสอบว่ามีบริษัทต่างด้าวถือหุ้นเกิน 50% หรือไม่ หากเกินก็จะพิจารณายกเลิกใบอนุญาต แต่ถ้าไม่เกินสายการบินก็สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2227 17 มิ.ย. - 20 มิ.ย. 2550
"ทัศพล"เปิดโครงสร้างใหม่ไทยแอร์เอเชีย เคลียร์เส้นทางเงิน สลัดภาพนอมินี "ทักษิณ"
ผนึก5 ผู้บริหารกู้เงิน 980 ล้านบาทจากแบงก์เครดิต สวิส กว้านซื้อหุ้น100% ในส่วนของชินคอร์ปและ"สิทธิชัย"ในเอเซีย เอวิเอชั่น พร้อมเงื่อนไขนำเข้าตลาดหลักทรัพย์ใน 3 ปี เพื่อระดมทุนใช้หนี้ มั่นใจปิดดิลได้แน่ ทั้งเดินหน้าขยายจุดบินรวม 35 จุดภายใน 5 ปี โดย ใช้สุวรรณภูมิเป็นฮับ
นายทัศพล แบเลเว็ลด์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายการบินไทย แอร์เอเชีย เปิดเผยกับ
"ฐานเศรษฐกิจ"ว่าการปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นใหม่ของบริษัทไทยแอร์เอเชีย จำกัด พร้อมจะให้ทุกฝ่ายเข้ามาตรวจสอบ โดยเฉพาะเส้นทางของเงินที่นำซื้อหุ้น เพราะทุกอย่างดำเนินการถูกต้อง ไม่มีใครอยู่เบื้องหลัง หรือมีใครเป็นนอมินีให้ชินคอร์ปมาซื้อหุ้นคืนที่หลัง อย่างแน่นอน เนื่องจากการปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นใหม่ เพื่อสร้างความโปรงใสว่าไม่มีปัญหาเรื่องนอมินีและสลัดภาพของชินคอร์ปหรือเทมาเส็กออกไปจากสายการบิน ไม่ให้ถูกเป็นเป้าโจมตีและถูกโยงไปเกี่ยวข้องกับเรื่องการเมืองอย่างที่ผ่านมา
ดังนั้นเมื่อเป็นโอกาสอันดีที่ชินคอร์ปส่งสัญญาณชัดเจนว่าต้องการขายธุรกิจในส่วนที่ไม่ใช่ธุรกิจหลักออกไป และในฐานะผู้ถือหุ้นเดิมและได้บริหารสายการบินมาตั้งแต่ต้น จึงเข้าไปหารือกับชินคอร์ปและแสดงความสนใจที่จะเข้าไปซื้อหุ้น เพื่อให้สายการบินมีทิศทางการดำเนินธุรกิจให้เป็นไปตามแผน และไม่แน่ใจว่าหากชินคอร์ปขายหุ้นให้คนอื่นๆ ผู้ถือหุ้นใหม่ที่เข้ามา จะมาเปลี่ยนแปลงการทำงานที่ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจของสายการบินที่ปัจจุบันถือว่ามีการขยายตัวที่ดี และหากยังล้างภาพการเมืองออกไปไม่ได้ ก็จะส่งผลกระทบต่อพนักงานที่ทำงานกับสายการบินรวมกว่า 1,200 คนซึ่งเขาก็ไม่มั่นใจกับอนาคตที่เกิดขึ้น
นายทัศพล กล่าวยอมรับว่าตนเองและผู้บริหารของสายการบินอีก 5 คน ได้แก่ นายพรอนันต์ เกิดประเสริฐ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการเงิน นาวาอากาศเอกธนภัทร งามปลั่ง ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการบิน นายปรีชญา รัศมีธานินทร์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิศวกรรม หม่อมหลวงบวรนวเทพ เทวกุล ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ และ นายสันติสุข คล่องใช้ยา ผู้อำนวยการฝ่ายการพาณิชย์ ตัดสินใจที่จะเข้าไปซื้อหุ้นทั้ง 100%ในบริษัทเอเซีย เอวิเอชั่น จำกัด (AA) ซึ่งเป็นโฮลดิ้ง คอมพานี ที่ถืออยู่ 50 %ในบริษัทไทยแอร์เอเชีย จำกัด (TAA)
"การหารือเพื่อขอซื้อหุ้นของบริษัทเอเชีย เอวิเอชั่น จำกัด ต้องเข้าไปเจรจาขอซื้อหุ้น
กับทางชินคอร์ปที่ถืออยู่ 49% และหุ้นของนายสิทธิชัย วีระธรรมนูญ ที่ถืออยู่ 51% ซึ่งได้หารือกันมานานกว่า 4-5 เดือนแล้ว ไม่ใช่เพิ่งจะมาเร่งจะซื้อขายในช่วงที่มีการอายัดทรัพย์พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร แต่ที่ปิดดิลล่าช้า เพราะต้องวิ่งเจรจาขอกู้เงินจากสถาบันการเงินในประเทศก่อน ซึ่งธนาคารก็กลัวเรื่องการเมือง ไม่ปล่อยกู้ให้ ยอมรับว่ารู้สึกเสียใจ จนต้องมองหาแหล่งเงินกู้จากต่างประเทศ มาตกลงกันได้กับธนาคารเครดิต สวิส สาขาสิงคโปร์ ซึ่งเป็นธนาคารที่สายการบินทำเรื่องเฮดจิ้งน้ำมันอยู่ และที่ต้องไปกู้ที่สิงคโปร์ เพราะสาขาของธนาคารเครดิต สวิส ในไทย จะทำเฉพาะเรื่องซื้อขายหลักทรัพย์เท่านั้น ไม่มีเรื่องของการปล่อยสินเชื่อ"นายทัศพล กล่าวและว่า
ทั้งนี้ธนาคารได้อนุมัติสินเชื่อกว่า 980 ล้านบาท สัญญาเงินกู้ 5 ปี ใช้หุ้นของสายการบินเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน พร้อมเงื่อนไขต้องนำบริษัทไทยแอร์เอเชีย เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ภายใน 3 ปี เพื่อระดมทุนนำเงินมาใช้หนี้ ซึ่งธนาคารดูแผนธุรกิจ 5 ปีของสายการบินแล้วมั่นใจว่าไปได้ดี จึงอนุมัติให้ซื้อหุ้นจำนวน 20.09 ล้านหุ้นที่ชินคอร์ปถืออยู่ มูลค่า472.11 ล้านบาท ในราคาหุ้นละ 23.50 บาท (อัตราส่วนราคาต่อกำไรต่อหุ้นพี/อี เรโช 15 เท่าและกำไรจากการดำเนินงานในปีนี้ประมาณ 150-200 ล้านบาท) ส่วนเงินที่เหลือ จะใช้ซื้อหุ้นอีก 51% ที่นายสิทธิชัย วีระธรรมนูญถืออยู่ รวมถึงการจ้างทนายความ เพื่อตรวจรายละเอียดของสัญญา
อย่างไรก็ดีการซื้อขายหุ้นทั้งหมดจะปิดดิลและทำสัญญากันได้ภายในสิ้นเดือนมิถุนายนนี้ และจากนั้นจะส่งรายละเอียดอย่างเป็นทางการในการปรับโครงสร้างใหม่แจ้งไปยังกรมการขนส่งทางอากาศหรือขอ.ตามขั้นตอน ซึ่งมั่นใจว่าได้ดำเนินการทุกอย่างถูกต้องตามพรบ.เดินอากาศไทย 2597 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม2542 ที่ระบุว่าสายการบินสัญชาติไทย ต้องเป็นนิติบุคคลไทยและมีบุคคลธรรมดาถือหุ้นอยู่ไม่น้อยกว่า 51%
หลังการปรับเปลี่ยนโครงสร้างผู้ถือหุ้นใหม่บริษัทแอร์เอเซีย เอวิเอชั่น จำกัด แล้ว จะมีผู้ถือหุ้นที่เป็นบุคคลธรรมดารวม 51% และมีแอร์เอเชีย มาเลเซีย ในฐานะผู้ถือหุ้นเดิมก็ยังคงถืออยู่ 49% (ตารางประกอบ) ซึ่งการปรับโครงสร้างครั้งนี้น่าจะจบลงโดยไม่มีใครติดใจโดยไม่นำเรื่องการเมืองเข้ามาโยงอีก และพนักงานก็จะได้ทำงานเต็มที่มีความรู้สึกมั่นคงต่ออนาคตเสียที เพื่อให้บริษัทนี้เดินหน้าต่อไปด้วยดี
นายทัศพล กล่าวต่ออีกว่า สำหรับใบสำคัญการจดทะเบียนอากาศยาน(ทะเบียนอากาศยานสัญชาติไทย)ที่ขาดสิทธิไปในช่วงระหว่างวันที่ 23 มกราคม-14กุมภาพันธ์2549 อันเป็นผลจากที่ชินคอร์ปขายหุ้นให้เทมาเสกนั้น บริษัทต้องเสียค่าปรับเป็นจำนวน 4,000 บาทต่อเที่ยวบิน ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล ซึ่งก็พร้อมจะจ่ายเพื่อยุติปัญหาทั้งหมด เพื่อจะได้ขยายธุรกิจตามแผน 5 ปีที่ได้วางไว้ โดยจะใช้สนามบินสุวรรณภูมิเป็นศูนย์กลางในการบิน และขยายเครือข่ายเส้นทางบินสู่ภูมิภาคอินโดจีน อินเดีย และจีนต่อไป
ภายใน 5 ปีนี้ สายการบินจะมีจุดบินรวมทั้งหมดกว่า 35 จุดบิน และมีฝูงบินใหม่แอร์บัส320 ขนาด 180 ที่นั่ง ที่เช่ามาจากสายการบินแอร์เอเชีย รวมกว่า 40 ลำ แทนเครื่องโบอิ้ง 737 โดยจะทยอยรับมอบตั้งแต่เดือนตุลาคมนี้เป็นต้นไป เพื่อนำมาให้บริการขยายเส้นทางบินครอบคลุมทุกจุดบินทั่วภูมิภาคนี้ภายในรัศมีการบินไม่เกิน 3 ชั่วโมง และเพิ่มจำนวนพนักงานเป็น 4,000 คน คาดว่าผู้โดยสารและเที่ยวบินจะขยายตัวอยู่ที่ 20-30% เพราะตั้งแต่เปิดให้บริการไทยแอร์เอเชียก็ขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปี โดยปีแรกขาดทุน 200 ล้านบาทมีผู้โดยสาร 1.2 ล้านคน ปีที่สอง กำไร 150 ล้านบาท ผู้โดยสาร 1.8 ล้านคน ปีที่สาม กำไร 50 ล้านบาทผู้โดยสาร 3 ล้านคน ปีนี้น่าจะกำไรอยู่ที่ 200 ล้านบาท จากผู้โดยสารจำนวน 4.2 ล้านคน
ด้านนายชัยศักดิ์ อังค์สุวรรณ อธิบดีกรมการขนส่งทางอากาศหรือขอ. เปิดเผยว่า ขณะนี้ขอ.กำลังรอหนังสือรับรองจากกระทรวงพาณิชย์ถึงการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นใหม่ของไทยแอร์เอเชีย
เพื่อตรวจสอบว่ามีบริษัทต่างด้าวถือหุ้นเกิน 50% หรือไม่ หากเกินก็จะพิจารณายกเลิกใบอนุญาต แต่ถ้าไม่เกินสายการบินก็สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2227 17 มิ.ย. - 20 มิ.ย. 2550
แชทบอทสำหรับนักลงทุนเน้นคุณค่า
https://www.chathoon.com/
https://www.chathoon.com/
- OutOfMyMind
- Verified User
- โพสต์: 1232
- ผู้ติดตาม: 0
TAA : Thai AirAsia พร้อมเข้าตลาดหรือยังครับ?
โพสต์ที่ 3
เจอข่าวนี้เข้า (9JUL10 จากคอหุ้น) ปีหน้าสินะ ต้องติดตามความเคลื่อนไหวเสียแล้ว
แอร์เอเชียแต่งตัวเข้าตลท.ภายในปี 2554 แน่นอน
นายทัศพล แบเลเว็ลด์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายการบินไทยแอร์เอเชีย เปิดเผยถึงการที่บริษัทได้ลงทุนกว่า 100 ล้านบาท เพื่อพัฒนาระบบสำรองที่นั่งโดยสาร ซึ่งเป็นระบบใหม่ทั้งหมดจากระบบเดิมใช้ระบบ Op en Sk ies เป็น New Skies นั้น เพื่อช่วยเพิ่มปริมาณการเข้าใช้เว็บไซต์ของไทยแอร์เอเชียจากปัจจุบันวันละ 20,000 คน เป็น 1 ล้านคน และที่สำคัญจะช่วยเพิ่มความสะดวกสบายต่อการจองตั๋วโดยสารมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 9-11 ก.ค.นี้ เว็บไซต์ไทยแอร์เอเชียจะเป็นจอดำ และสามารถใช้บริการอีกครั้งในวันที่ 11 ก.ค.53 เวลา 17.00 น. โดยระบบดังกล่าวมีประสิทธิภาพการให้บริการสูงขึ้น
อย่างไรก็ตาม นอกจากการเปลี่ยนระบบดังกล่าวจะช่วยเพิ่มยอดการขายมากขึ้นนั้น โดยต้นทุนการดำเนินงานเท่าเดิมแล้ว คาดว่าอัตราการจองบัตรโดยสารผ่านระบบอินเตอร์เน็ตจากปัจจุบันอยู่ที่ 75-78% ต่อเดือน เป็น 85-88% ต่อเดือน ภายในสิ้นปี 2553 ทั้งนี้ มีความเป็นไปได้ว่าไทยแอร์เอเชียจะปรับลดค่าโดยสารลงอีก 10-15% โดยปี 2553 ไทยแอร์เอเชียตั้งเป้าว่าจะมีผู้โดยสารที่ 6.2 ล้านคน รายได้ 12,000 ล้านบาท ซึ่งครึ่งปีแรกปริมาณผู้โดยสารอยู่ที่ 2.3 ล้านคนแล้ว และถือว่าเป็นไปตามเป้าที่ตั้งไว้ จึงมั่นใจว่าจะสามารถดำเนินงานได้ตามเป้าหมายแน่นอน ทั้งนี้ ไทยแอร์เอเชียได้เตรียมเปิดเส้นทางบินเพิ่มเติมอีก 3 เส้นทางช่วงกลางเดือน ก.ย.นี้ คือ กรุงเทพฯ-นิวเดลี, กรุงเทพฯ-กัลกัตตา (ประเทศอินเดีย) และเส้นทางภูเก็ต-อุบลราชธานี เพื่อรองรับผู้โดยสารภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
นายทัศพล กล่าวว่า มีแผนว่าจะนำไทยแอร์เอเชียเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ภายในปี 2554 แน่นอน โดยเดือน ต.ค.53 จะมีความชัดเจนเกี่ยวกับรายละเอียดการจดทะเบียน ซึ่งการเข้าจดทะเบียนใน ตลท.ดังกล่าว มีจุดประสงค์เพื่อระดมทุนเพื่อขยายกิจการ และชำระหนี้ อย่างไรก็ตาม ไทยแอร์เอเชียต้องพิจารณาปัจจัยหลายประการว่าช่วงที่จะจดทะเบียนมีปัญหาการเมือง หรือปัจจัยลบอื่นๆ จากภายนอกหรือไม่
ยื้อ 30 วันต่อภาษี'บจ.'แอร์เอเชียจ่อซบตลท.
ไทยโพสต์ - "กรณ์" ยื้อ 1 เดือนเคาะมาตรการภาษี "บจ." หวั่นลักลั่น บิดเบือนกลไก "แอร์เอเชีย" ลั่นปี 2554 เข้าตลาดหุ้นแน่ เป้าลูกค้าปีนี้ 6.2 ล้านคน
นายกรณ์ จาติกว ณิช รมว.คลัง เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรม การพัฒนาตลาดทุน เมื่อวันที่ 8 ก.ค. ได้หารือเรื่องการต่ออายุมาตรการลดภา ษีนิติบุคคลให้กับบริษัทจด ทะเบียน (บจ.) ที่เข้าตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ที่สิ้นสุดมาตรการเดิมไปเมื่อสิ้นปี 2552 ตามที่ บจ.ทำหนังสือเสนอมาให้พิจารณา ซึ่งได้มอบหมาย ให้คณะกรรมการฯ ไปพิจาร ณาร่วมกับกรมสรรพากร และเสนอกลับมาให้พิจาร ณาภายใน 1 เดือน
"เรื่องนี้มีการแสดงความคิดเห็นกันค่อนข้างหลากหลาย และไม่ใช่ว่าทุกคนจะเห็นว่าจะเป็นมาตร การที่สนับสนุนการพัฒนาตลาดทุน แต่เป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวัง เพื่อไม่ให้เกิด การไปบิดเบือนกลไกภาษี สร้าง การลักลั่นระหว่างบริษัทจด ทะเบียนในตลาดฯ กับบริษัท ที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาด หลักทรัพย์" นายกรณ์กล่าว
นายทัศพล แบเล เว็ลด์ ประธานเจ้าหน้าที่บริ หารสายการบินไทยแอร์เอเชีย กล่าวว่า จะนำไทยแอร์เอ เชียเข้าจดทะเบียนใน ตลท.ภายในปี 2554 แน่นอน โดยเดือน ต.ค.นี้ จะมีความชัดเจนเกี่ยวกับรายละเอียด โดยจะระดมทุนเพื่อนำไปขยายกิจการ และชำระหนี้บางส่วน
ทั้งนี้ สิ้นปี 2553 ตั้งเป้าจำนวนผู้โดยสาร 6.2 ล้านคน รายได้ 12,000 ล้านบาท จากครึ่งปีแรกมีผู้โดยสาร 2.3 ล้านคน และจากนี้ไป 4 ปี ตั้งเป้าไว้ที่ 12 ล้านคน
แอร์เอเชียแต่งตัวเข้าตลท.ภายในปี 2554 แน่นอน
นายทัศพล แบเลเว็ลด์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายการบินไทยแอร์เอเชีย เปิดเผยถึงการที่บริษัทได้ลงทุนกว่า 100 ล้านบาท เพื่อพัฒนาระบบสำรองที่นั่งโดยสาร ซึ่งเป็นระบบใหม่ทั้งหมดจากระบบเดิมใช้ระบบ Op en Sk ies เป็น New Skies นั้น เพื่อช่วยเพิ่มปริมาณการเข้าใช้เว็บไซต์ของไทยแอร์เอเชียจากปัจจุบันวันละ 20,000 คน เป็น 1 ล้านคน และที่สำคัญจะช่วยเพิ่มความสะดวกสบายต่อการจองตั๋วโดยสารมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 9-11 ก.ค.นี้ เว็บไซต์ไทยแอร์เอเชียจะเป็นจอดำ และสามารถใช้บริการอีกครั้งในวันที่ 11 ก.ค.53 เวลา 17.00 น. โดยระบบดังกล่าวมีประสิทธิภาพการให้บริการสูงขึ้น
อย่างไรก็ตาม นอกจากการเปลี่ยนระบบดังกล่าวจะช่วยเพิ่มยอดการขายมากขึ้นนั้น โดยต้นทุนการดำเนินงานเท่าเดิมแล้ว คาดว่าอัตราการจองบัตรโดยสารผ่านระบบอินเตอร์เน็ตจากปัจจุบันอยู่ที่ 75-78% ต่อเดือน เป็น 85-88% ต่อเดือน ภายในสิ้นปี 2553 ทั้งนี้ มีความเป็นไปได้ว่าไทยแอร์เอเชียจะปรับลดค่าโดยสารลงอีก 10-15% โดยปี 2553 ไทยแอร์เอเชียตั้งเป้าว่าจะมีผู้โดยสารที่ 6.2 ล้านคน รายได้ 12,000 ล้านบาท ซึ่งครึ่งปีแรกปริมาณผู้โดยสารอยู่ที่ 2.3 ล้านคนแล้ว และถือว่าเป็นไปตามเป้าที่ตั้งไว้ จึงมั่นใจว่าจะสามารถดำเนินงานได้ตามเป้าหมายแน่นอน ทั้งนี้ ไทยแอร์เอเชียได้เตรียมเปิดเส้นทางบินเพิ่มเติมอีก 3 เส้นทางช่วงกลางเดือน ก.ย.นี้ คือ กรุงเทพฯ-นิวเดลี, กรุงเทพฯ-กัลกัตตา (ประเทศอินเดีย) และเส้นทางภูเก็ต-อุบลราชธานี เพื่อรองรับผู้โดยสารภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
นายทัศพล กล่าวว่า มีแผนว่าจะนำไทยแอร์เอเชียเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ภายในปี 2554 แน่นอน โดยเดือน ต.ค.53 จะมีความชัดเจนเกี่ยวกับรายละเอียดการจดทะเบียน ซึ่งการเข้าจดทะเบียนใน ตลท.ดังกล่าว มีจุดประสงค์เพื่อระดมทุนเพื่อขยายกิจการ และชำระหนี้ อย่างไรก็ตาม ไทยแอร์เอเชียต้องพิจารณาปัจจัยหลายประการว่าช่วงที่จะจดทะเบียนมีปัญหาการเมือง หรือปัจจัยลบอื่นๆ จากภายนอกหรือไม่
ยื้อ 30 วันต่อภาษี'บจ.'แอร์เอเชียจ่อซบตลท.
ไทยโพสต์ - "กรณ์" ยื้อ 1 เดือนเคาะมาตรการภาษี "บจ." หวั่นลักลั่น บิดเบือนกลไก "แอร์เอเชีย" ลั่นปี 2554 เข้าตลาดหุ้นแน่ เป้าลูกค้าปีนี้ 6.2 ล้านคน
นายกรณ์ จาติกว ณิช รมว.คลัง เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรม การพัฒนาตลาดทุน เมื่อวันที่ 8 ก.ค. ได้หารือเรื่องการต่ออายุมาตรการลดภา ษีนิติบุคคลให้กับบริษัทจด ทะเบียน (บจ.) ที่เข้าตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ที่สิ้นสุดมาตรการเดิมไปเมื่อสิ้นปี 2552 ตามที่ บจ.ทำหนังสือเสนอมาให้พิจารณา ซึ่งได้มอบหมาย ให้คณะกรรมการฯ ไปพิจาร ณาร่วมกับกรมสรรพากร และเสนอกลับมาให้พิจาร ณาภายใน 1 เดือน
"เรื่องนี้มีการแสดงความคิดเห็นกันค่อนข้างหลากหลาย และไม่ใช่ว่าทุกคนจะเห็นว่าจะเป็นมาตร การที่สนับสนุนการพัฒนาตลาดทุน แต่เป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวัง เพื่อไม่ให้เกิด การไปบิดเบือนกลไกภาษี สร้าง การลักลั่นระหว่างบริษัทจด ทะเบียนในตลาดฯ กับบริษัท ที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาด หลักทรัพย์" นายกรณ์กล่าว
นายทัศพล แบเล เว็ลด์ ประธานเจ้าหน้าที่บริ หารสายการบินไทยแอร์เอเชีย กล่าวว่า จะนำไทยแอร์เอ เชียเข้าจดทะเบียนใน ตลท.ภายในปี 2554 แน่นอน โดยเดือน ต.ค.นี้ จะมีความชัดเจนเกี่ยวกับรายละเอียด โดยจะระดมทุนเพื่อนำไปขยายกิจการ และชำระหนี้บางส่วน
ทั้งนี้ สิ้นปี 2553 ตั้งเป้าจำนวนผู้โดยสาร 6.2 ล้านคน รายได้ 12,000 ล้านบาท จากครึ่งปีแรกมีผู้โดยสาร 2.3 ล้านคน และจากนี้ไป 4 ปี ตั้งเป้าไว้ที่ 12 ล้านคน
แชทบอทสำหรับนักลงทุนเน้นคุณค่า
https://www.chathoon.com/
https://www.chathoon.com/
-
- Verified User
- โพสต์: 24
- ผู้ติดตาม: 0
TAA : Thai AirAsia พร้อมเข้าตลาดหรือยังครับ?
โพสต์ที่ 4
I have seen their financial statements and they are losing money big way. I don't know whether they turn around now!! But it does not look promising to me.
- OutOfMyMind
- Verified User
- โพสต์: 1232
- ผู้ติดตาม: 0
TAA : Thai AirAsia พร้อมเข้าตลาดหรือยังครับ?
โพสต์ที่ 5
งบปี 2551
รายได้ 8984 ล้านบาท
ขาดทุน 3384 ล้านบาท
สินทรัพย์ 1692 ล้านบาท
หนี้สิน 6036 ล้านบาท
ส่วนของผู้ถือหุ้นติดลบ
อย่างนี้ถ้าจะเข้าตลาดจริง ๆ คงต้องผู้ร่วมทุนรายใหญ่สักรายเข้ามาในปีนี้ แล้วแต่งตัวใหม่ ถึงจะน่าเข้าหน่อย
รายได้ 8984 ล้านบาท
ขาดทุน 3384 ล้านบาท
สินทรัพย์ 1692 ล้านบาท
หนี้สิน 6036 ล้านบาท
ส่วนของผู้ถือหุ้นติดลบ
อย่างนี้ถ้าจะเข้าตลาดจริง ๆ คงต้องผู้ร่วมทุนรายใหญ่สักรายเข้ามาในปีนี้ แล้วแต่งตัวใหม่ ถึงจะน่าเข้าหน่อย
แชทบอทสำหรับนักลงทุนเน้นคุณค่า
https://www.chathoon.com/
https://www.chathoon.com/
- กล้วยไม้ขาว
- Verified User
- โพสต์: 1074
- ผู้ติดตาม: 0
TAA : Thai AirAsia พร้อมเข้าตลาดหรือยังครับ?
โพสต์ที่ 6
ปีนี้ตั้งเป้ารายได้ไว้ 12000 ล้าน ถ้าทำได้จะเท่าทุน
ถ้าอยากมีกำไรต้องบริหารต้นทุนให้ลดลงด้วย
ไม่แน่ใจว่าปัจจุบันลดต้นทุนไปได้กี่มากน้อย
ถ้าอยากมีกำไรต้องบริหารต้นทุนให้ลดลงด้วย
ไม่แน่ใจว่าปัจจุบันลดต้นทุนไปได้กี่มากน้อย
-
- Verified User
- โพสต์: 1475
- ผู้ติดตาม: 0
TAA : Thai AirAsia พร้อมเข้าตลาดหรือยังครับ?
โพสต์ที่ 7
ไทยแอร์เอเซียอ้อนรัฐ ผุดโลว์คอสต์เทอมินัล-ฝันปีหน้าเข้าตลาดหุ้น
ไทยแอร์เอเชีย ประกาศ เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ไม่เกินไตรมาส 3 ปีหน้าแน่นอน ยื่นข้อเสนอภาครัฐขอสร้างโลว์คอสต์เทอมินัล ประเดิมกรุงเทพฯเป็นแห่งแรก และข้อเสนอสร้างสนามบินเอาอย่างบางกอกแอร์ฯ คุยรายได้ปีนี้โตฟันกำไร 1,200 ล้านบาท...
http://manager.co.th/Business/ViewNews. ... 0000144538
ไทยแอร์เอเชีย ประกาศ เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ไม่เกินไตรมาส 3 ปีหน้าแน่นอน ยื่นข้อเสนอภาครัฐขอสร้างโลว์คอสต์เทอมินัล ประเดิมกรุงเทพฯเป็นแห่งแรก และข้อเสนอสร้างสนามบินเอาอย่างบางกอกแอร์ฯ คุยรายได้ปีนี้โตฟันกำไร 1,200 ล้านบาท...
http://manager.co.th/Business/ViewNews. ... 0000144538
-
- Verified User
- โพสต์: 2166
- ผู้ติดตาม: 0
TAA : Thai AirAsia พร้อมเข้าตลาดหรือยังครับ?
โพสต์ที่ 8
A brief operating performance of TAA can be found in the AirAsia financial report and presentation. TAA is back to profit during the first 6 months of this year albeit the demonstration and riot incident which have impaired Thailand tourism image considerably. Given that you have a chance to invest in oversea market now, clearly AirAsia is a better option. This is not to say that TAA is not a good investment but AirAsia has higher growth potential.
Of recent, the Malaysian Government has just extended the investment allowance to AirAsia for another 5 years which will expire in 2014. This investment allowance helps AirAsia reducing it's tax burden significantly. CAPEX employed for purchasing new aircrafts will be refunded as a tax deferment (if I am not wrong, about 60% of CAPEX - detail can be referred to the q2 presentation).
If THAI and Tiger Airways really want to penetrate into this market, they really have a big mountain to climb. Competition will be fierce and only the low cost operator with sufficient funding and back up from government will gain market share and survive.
Of recent, the Malaysian Government has just extended the investment allowance to AirAsia for another 5 years which will expire in 2014. This investment allowance helps AirAsia reducing it's tax burden significantly. CAPEX employed for purchasing new aircrafts will be refunded as a tax deferment (if I am not wrong, about 60% of CAPEX - detail can be referred to the q2 presentation).
If THAI and Tiger Airways really want to penetrate into this market, they really have a big mountain to climb. Competition will be fierce and only the low cost operator with sufficient funding and back up from government will gain market share and survive.
Minimize risk through an in-depth knowledge. Buy at bargain price. Wait patiently.
http://valueinvestors.wordpress.com/
http://valueinvestors.wordpress.com/
- Ii'8N
- Verified User
- โพสต์: 3682
- ผู้ติดตาม: 0
Re: TAA : Thai AirAsia พร้อมเข้าตลาดหรือยังครับ?
โพสต์ที่ 9
http://www.prachachat.net/view_news.php ... 2011-01-27
วันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2554 ปีที่ 34 ฉบับที่ 4283 ประชาชาติธุรกิจ
ทัศพล แบเลเว็ลด์ ซีอีโอไทย แอร์เอเชีย "โลว์คอสต์เบอร์ 1 เอเชีย...ชาวนาก็บินได้"
ธุรกิจ การบินสายพันธุ์ใหม่ "โลว์คอสต์แอร์ไลน์" เกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศไทยและเอเชียเมื่อปี 2546 สร้างความฮือฮาและคำถามมากมายว่าเพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง หรือเพราะถึงเวลาที่ประเทศไทยควรจะต้องเป็นผู้นำตลาดการบินอาเซียนด้วยวิธี การใหม่ให้ทันกระแสโลก
เนื่องจากสถานการณ์ในขณะนั้นการบินทั่วโลก ต่างปรับแผนการลงทุนแบบ 360 องศา เมื่อมีแรงกดดันรุนแรงจากต้นทุนเชื้อเพลิง "ราคาน้ำมัน" ปรับเพดานทะลุ 140 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล พร้อมกับ "พฤติกรรมผู้โดยสาร" เปลี่ยนหันมาเดินทางแบบประหยัดมากขึ้น
วันนี้ "ทัศพล แบเลเว็ลด์" ประธานเจ้าหน้าที่บริหารไทย แอร์เอเชีย เจ้าของธุรกิจพันธุ์ใหม่วัย 44 ปี ให้สัมภาษณ์ "ประชาชาติธุรกิจ" ถึงเรื่องราวทั้งหมดหลังจากพิสูจน์ผลงานจนก้าวขึ้นมายืนเป็นโลว์คอสต์แอร์ ไลน์เบอร์ 1 ของเอเชียได้สำเร็จ
มีทั้งคนไทยและต่างประเทศมาใช้ บริการถึงปีละ 6-7 ล้านคน เปิดโอกาสให้ผู้โดยสารรากหญ้ามีทางเลือกโดยยกระดับจากการนั่งรถทัวร์ รถไฟ เปลี่ยนมานั่งเครื่องบินเพิ่มขึ้น 40-50% และปีนี้แม้แต่ชาวนาไทยและชาวนาฝรั่ง...ใคร ๆ ก็บินแอร์เอเชียได้
- ไทย แอร์เอเชียตั้งขึ้นเพื่อล้มการบินไทยหรือมีเหตุผลอื่นที่ดีกว่า
ไทย แอร์เอเชียเราแค่ทำหน้าที่นำโอกาสไปให้ผู้โดยสาร สร้างความ แตกต่างของการบินสมัยก่อนเป็นเรื่องหรูหรา ใครสักคนได้ขึ้นเครื่องต้องใส่สูทขนญาติมายืนคล้องพวงมาลัยร่ำลากันเต็มสนาม บินดอนเมือง ต่างจากยุคนี้เราพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า "ใคร ๆ ก็บินได้" เงิน 100 บาทก็ซื้อตั๋วเครื่องบินได้
เพราะเราไม่ได้บอกให้พวกเขามาบินแต่ ให้มาเดินทางแทน จะเดินทางท่องเที่ยว ค้าขาย หรือเยี่ยมญาติก็ได้ บริการทุกระดับ อย่างกลุ่มลูกค้านักศึกษา คณาจารย์ ข้าราชการ จากเดิมต้องเก็บเงินทุกบาทไว้จ่ายค่าที่พักรายวัน แต่ตอนนี้จ่ายแค่ 5 วัน นำเงินที่เหลืออีก 2 วันมาซื้อตั๋วเครื่องบินราคาประหยัดกลับไปหาพ่อแม่และครอบครัวได้โดยไม่ เดือดร้อน
แม้ แต่สถาบันการศึกษาสมัยก่อนต้องจัดงบฯแต่ละปี 300-400 ล้านบาทเตรียมไว้ให้ข้าราชการซื้อตั๋วบินไปประชุม สัมมนา ตอนนี้ไม่ต้องทำแบบนั้นอีกแล้ว เพราะหลายแห่งหันมาบริหารจัดการเดินทางให้เหมาะสมบินกับโลว์คอสต์
ตรง จุดนี้เราถือว่าไทย แอร์เอเชียเป็นเฟืองอีกกลไกที่เชื่อมสังคมเข้าหากันได้ และไม่เคยคิดจะล้มล้างสายการบินไหน ไม่ว่าจะเป็นการบินไทยหรือใครก็ตาม น่าจะถือว่าเป็นทางเลือกใหม่ในการขยายตลาดใหม่ ๆ เพราะต่างฝ่ายต่างก็มีแฟนคลับต่างกลุ่มกัน
- ยุทธจักรการบินจะโตได้ด้วยวิธีไหน
วัน ที่ 3 กุมภาพันธ์ 2554 ไทย แอร์เอเชียครบรอบ 7 ปีแรก ช่วงเวลาที่ผ่านมาเราเน้นการสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่งมาตลอด ไม่ว่าจะเป็นผู้โดยสารชาติไหน คนไทย แขก ฝรั่ง เชื้อชาติใดก็แล้วแต่เมื่อมาถึงเอเชียต้องใช้ http://www.airasia. com ซึ่งมีเครือข่ายครอบคลุมทุกจุด มีความถี่มากจะเลือกบินเวลาไหนก็สะดวก
แบ รนด์ถือเป็นจุดแข็งของสินค้าทุกชนิด ถ้าสร้างสำเร็จเร็วการขยายธุรกิจจะยิ่งง่าย ไม่ว่าฝนตก แดดออก ปฏิวัติ หรือโรคซาร์สระบาด ถ้าแบรนด์แข็งแรงเราก็อยู่ได้
อนาคตอีก 7 ปีข้างหน้าเรายังเน้นการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ ตอนนี้กระแส IPAD มาแรง เราก็นำมาใช้เช็กอินทั้งหมด ทำให้ผู้โดยสารสะดวก
- แล้วมีเครื่องมืออื่นที่สำคัญอีกหรือไม่
แน่ นอนฝูงบินใหม่ก็สำคัญ 7 ปีแรกเรามีเครื่องป้ายแดงแอร์บัส A320 จำนวน 20 ลำ ต่อจากนี้ไปอีก 7 ปีเราตั้งเป้าจะซื้อฝูงบินป้ายแดงเพิ่มอีก 20 ลำ ถึงจะลงทุนสูงแต่ถ้าสามารถจัดการได้ด้วยแบรนด์แกร่ง ทีมงานแข็งแรง บวกเทคโนโลยีสมัยใหม่ ฝูงบินสมรรถนะเยี่ยม ปริมาณที่นั่งเพิ่มจำนวนผู้โดยสารย่อมเพิ่มตามด้วย เราเน้น ปริมาณ โดยเอากำไรน้อยหน่อย
เพื่อจะได้มีโอกาสทำ "ราคาตั๋วเครื่องบิน" ให้ถูกลงอีก 20% เป็นกุญแจวัดความสำเร็จของเรา เพราะปกติการขายตั๋วราคาแพงสายการบินไหนก็ทำได้ ไม่เหมือนการขายตั๋วถูกท้าทายกว่ามาก
- อนาคตตั๋วจะถูกลงกว่านี้ได้อีกหรือ
เป็น ไปได้แน่เพราะเราได้ลงมือทำมาแล้วด้วยวิธีต่างกันในแต่ละสถานการณ์ ตั้งแต่จุดเริ่มเราเป็นสายการบินที่ตกเป็นเป้าทางการเมือง ยุคนั้นยอมรับเลยว่าได้ความช่วยเหลือจากเพื่อนเก่าผมจากหลายธุรกิจช่วยสนับ สนุน มีทั้งทีวีช่อง 3 ช่อง 7 ค่ายเพลงแกรมมี่ ช่วยโปรโมตโดยคิดค่าใช้จ่ายน้อยมาก เงิน 100 บาทเราลงทุนน้อยกว่าสายการบินอื่น 40%
จากนั้นเราเริ่มต้องยืนอยู่ บนลำแข้งตัวเองด้วยการไปทำแบรนด์พ่วงโฆษณากับสินค้าดังในตลาดระดับประเทศและ โลก เดินเข้าหาทีมแมนฯ ยูไนเต็ด โฆษณาในพรีเมียร์ลีก ช่วง 3 ปีแรกทำโฆษณาในประเทศ 3 ปีต่อมาขยับไปต่างประเทศ ตอนนี้เราไปถึงอเมริกาแล้ว
- ตอบให้ตรงคำถามได้ไหมว่า สำเร็จเพราะโชคหรือฝีมือ
คง ทั้ง 2 อย่าง เพราะผมเปิดหนังสือแล้วลอกแบบธุรกิจจากโลว์คอสต์ในซีกโลกตะวันตก จากไรอัน แอร์ กับเซาท์เวสต์แอร์ไลน์ส แล้วผมก็บังเอิญเปิดถูกทุกหน้าเท่ากับถูกแจ็กพอตทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการสร้างแบรนด์ซึ่งเป็นหัวใจหลัก การวางระบบปฏิบัติการด้วยวิธีเทรนนิ่งพนักงานทุกฝ่าย ในช่วงทำธุรกิจปีที่ 2 ได้ตั้งสถาบันฝึกอบรมขึ้น เริ่มจากหลักสูตรผลิตนักบินรุ่นแรก 40 คน ตอนนี้ขยายเป็น 100 คน พอปีที่ 3 เปิดสถาบันฝึกอบรมฝ่ายซ่อมบำรุงเครื่องบิน เพราะรู้ตัวว่าถ้าเราโตขนาดนี้ต้องเตรียมทุกอย่างไว้รองรับให้ได้
สิ่ง สำคัญคือการวางแผนธุรกิจในอนาคต ต้องทำเตรียมไว้หมดทุกอย่าง ทั้งเรื่องการสร้างบุคลากรให้แข็งแกร่ง วางเครือข่ายเที่ยวบินควบคู่กับการเลือกใช้สิทธิการบิน (traffic light) ต้องเข้าใจวิธีเลือกช่วงเวลาบินให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้
- จะใช้วิธีใดครองตลาดรากหญ้า
ง่าย มากตอนนำเครื่องลำแรกเข้ามาบินปี 2546 เราเพนต์ "เขาควายคาราบาว" บนลำตัวเครื่อง คนพากันงงว่าเอาศิลปินวงเก่ามาทำไม แต่เราคิดต่างตรงที่ว่าลูกค้าเป้าหมายของเราคือคนต่างจังหวัดซึ่งคุ้นเคยกับ ตลาดลูกทุ่ง 70% และชื่นชอบเพลงเพื่อชีวิต 30% ทั้ง 2 สไตล์นี้ไม่เคยปิดกั้นลูกค้า วัดผลง่าย ๆ พอมีผับล้อมรั้วสังกะสีทุกจังหวัด เมื่อมีคาราบาวไปแสดงคอนเสิร์ตที่ไหนจะมีคนแห่แหนกันไปดู
เราจะ เสียเวลาไปสร้างตลาดเองทำไม ก็กระโดดซ้อนท้ายไปกับคาราบาว คนบิดมอเตอร์ไซค์มาดูคอนเสิร์ตในงานวัดแล้วอยู่ ๆ ก็ได้รางวัลตั๋วบินฟรี ชาวบ้านหรือชาวนาใครบ้างจะไม่ตื่นเต้น ตรงนี้เป็นจุดเริ่มที่เราเข้าถึงรากหญ้า ผ่านมา 7 ปีเรากวาดตลาดสามเหลี่ยม A, B, C มาเกือบหมด มีส่วนแบ่งตลาดรากหญ้า 40-50%
ปี 2554 จะลองขยายตลาดลงไปหา กลุ่ม D เป็นกลุ่มชาวไร่ ชาวนา ชาวสวน ลองให้พวกเขาลองมาบินดูบ้างอาจจะเป็นแจกรางวัลเพื่อแนะนำตัวก่อนจากนั้นจึง เริ่มสร้างความคุ้นเคยที่จะนั่งเครื่อง เพราะตอนผมไปสิงคโปร์ ฮ่องกง คุยกับคนขับแท็กซี่ 60% เคยขึ้นเครื่องมาเที่ยวเมืองไทย หรือฝรั่งตะวันตก คนกวาดถนน เก็บขยะ มาเที่ยวเมืองไทยตั้งมากมาย
จากการพยากรณ์ของ สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) ระบุชัดเจนว่า การทำโลว์คอสต์ตลาดรากหญ้าเป็นลูกค้าสำคัญที่สุด เราตั้งเป้าจะทำอัตราการบรรทุกผู้โดยสารเฉลี่ยให้ได้ 80-90% เมื่อปี 2553 ทำได้ 80% ยังไม่สะใจ ปี 2554 จะต้องถึง 85%
- จะประสบความสำเร็จโดยเก่งอยู่คนเดียวหรือใช้วิธีอื่นด้วย
ผม เพิ่งประชุมกับหัวหน้าทุกแผนกว่า ถ้ามีอะไรคาใจหรือแรงกดดันไม่ว่าจะเรื่องงาน เรื่องส่วนตัว หรือเรื่องไหนก็ได้ เปิดประตูเข้ามาคุยกับซีอีโอได้ทุกเรื่อง ผมตั้งเป้าจะทำให้พนักงานในบริษัทนี้ทุกคนแฮปปี้ก่อนด้วยการเปิดห้องคุยช่วย แก้ไขไปด้วยกัน
ดีเดย์ตั้งแต่ 1 พฤษภาคมนี้ เราจะต้องเป็นบริษัทแรกในประเทศไทยที่พนักงานแฮปปี้ที่สุด ตื่นเช้าขึ้นทุกคนอยากมาทำงาน
ผมได้ปอกเปลือกชีวิตและเรื่องราวไทย แอร์เอเชียจนหมดแล้ว ต่อไปก็เลิกมองผมเป็นนักธุรกิจนอมินีเสียทีนะครับ
หน้า 26
วันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2554 ปีที่ 34 ฉบับที่ 4283 ประชาชาติธุรกิจ
ทัศพล แบเลเว็ลด์ ซีอีโอไทย แอร์เอเชีย "โลว์คอสต์เบอร์ 1 เอเชีย...ชาวนาก็บินได้"
ธุรกิจ การบินสายพันธุ์ใหม่ "โลว์คอสต์แอร์ไลน์" เกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศไทยและเอเชียเมื่อปี 2546 สร้างความฮือฮาและคำถามมากมายว่าเพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง หรือเพราะถึงเวลาที่ประเทศไทยควรจะต้องเป็นผู้นำตลาดการบินอาเซียนด้วยวิธี การใหม่ให้ทันกระแสโลก
เนื่องจากสถานการณ์ในขณะนั้นการบินทั่วโลก ต่างปรับแผนการลงทุนแบบ 360 องศา เมื่อมีแรงกดดันรุนแรงจากต้นทุนเชื้อเพลิง "ราคาน้ำมัน" ปรับเพดานทะลุ 140 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล พร้อมกับ "พฤติกรรมผู้โดยสาร" เปลี่ยนหันมาเดินทางแบบประหยัดมากขึ้น
วันนี้ "ทัศพล แบเลเว็ลด์" ประธานเจ้าหน้าที่บริหารไทย แอร์เอเชีย เจ้าของธุรกิจพันธุ์ใหม่วัย 44 ปี ให้สัมภาษณ์ "ประชาชาติธุรกิจ" ถึงเรื่องราวทั้งหมดหลังจากพิสูจน์ผลงานจนก้าวขึ้นมายืนเป็นโลว์คอสต์แอร์ ไลน์เบอร์ 1 ของเอเชียได้สำเร็จ
มีทั้งคนไทยและต่างประเทศมาใช้ บริการถึงปีละ 6-7 ล้านคน เปิดโอกาสให้ผู้โดยสารรากหญ้ามีทางเลือกโดยยกระดับจากการนั่งรถทัวร์ รถไฟ เปลี่ยนมานั่งเครื่องบินเพิ่มขึ้น 40-50% และปีนี้แม้แต่ชาวนาไทยและชาวนาฝรั่ง...ใคร ๆ ก็บินแอร์เอเชียได้
- ไทย แอร์เอเชียตั้งขึ้นเพื่อล้มการบินไทยหรือมีเหตุผลอื่นที่ดีกว่า
ไทย แอร์เอเชียเราแค่ทำหน้าที่นำโอกาสไปให้ผู้โดยสาร สร้างความ แตกต่างของการบินสมัยก่อนเป็นเรื่องหรูหรา ใครสักคนได้ขึ้นเครื่องต้องใส่สูทขนญาติมายืนคล้องพวงมาลัยร่ำลากันเต็มสนาม บินดอนเมือง ต่างจากยุคนี้เราพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า "ใคร ๆ ก็บินได้" เงิน 100 บาทก็ซื้อตั๋วเครื่องบินได้
เพราะเราไม่ได้บอกให้พวกเขามาบินแต่ ให้มาเดินทางแทน จะเดินทางท่องเที่ยว ค้าขาย หรือเยี่ยมญาติก็ได้ บริการทุกระดับ อย่างกลุ่มลูกค้านักศึกษา คณาจารย์ ข้าราชการ จากเดิมต้องเก็บเงินทุกบาทไว้จ่ายค่าที่พักรายวัน แต่ตอนนี้จ่ายแค่ 5 วัน นำเงินที่เหลืออีก 2 วันมาซื้อตั๋วเครื่องบินราคาประหยัดกลับไปหาพ่อแม่และครอบครัวได้โดยไม่ เดือดร้อน
แม้ แต่สถาบันการศึกษาสมัยก่อนต้องจัดงบฯแต่ละปี 300-400 ล้านบาทเตรียมไว้ให้ข้าราชการซื้อตั๋วบินไปประชุม สัมมนา ตอนนี้ไม่ต้องทำแบบนั้นอีกแล้ว เพราะหลายแห่งหันมาบริหารจัดการเดินทางให้เหมาะสมบินกับโลว์คอสต์
ตรง จุดนี้เราถือว่าไทย แอร์เอเชียเป็นเฟืองอีกกลไกที่เชื่อมสังคมเข้าหากันได้ และไม่เคยคิดจะล้มล้างสายการบินไหน ไม่ว่าจะเป็นการบินไทยหรือใครก็ตาม น่าจะถือว่าเป็นทางเลือกใหม่ในการขยายตลาดใหม่ ๆ เพราะต่างฝ่ายต่างก็มีแฟนคลับต่างกลุ่มกัน
- ยุทธจักรการบินจะโตได้ด้วยวิธีไหน
วัน ที่ 3 กุมภาพันธ์ 2554 ไทย แอร์เอเชียครบรอบ 7 ปีแรก ช่วงเวลาที่ผ่านมาเราเน้นการสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่งมาตลอด ไม่ว่าจะเป็นผู้โดยสารชาติไหน คนไทย แขก ฝรั่ง เชื้อชาติใดก็แล้วแต่เมื่อมาถึงเอเชียต้องใช้ http://www.airasia. com ซึ่งมีเครือข่ายครอบคลุมทุกจุด มีความถี่มากจะเลือกบินเวลาไหนก็สะดวก
แบ รนด์ถือเป็นจุดแข็งของสินค้าทุกชนิด ถ้าสร้างสำเร็จเร็วการขยายธุรกิจจะยิ่งง่าย ไม่ว่าฝนตก แดดออก ปฏิวัติ หรือโรคซาร์สระบาด ถ้าแบรนด์แข็งแรงเราก็อยู่ได้
อนาคตอีก 7 ปีข้างหน้าเรายังเน้นการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ ตอนนี้กระแส IPAD มาแรง เราก็นำมาใช้เช็กอินทั้งหมด ทำให้ผู้โดยสารสะดวก
- แล้วมีเครื่องมืออื่นที่สำคัญอีกหรือไม่
แน่ นอนฝูงบินใหม่ก็สำคัญ 7 ปีแรกเรามีเครื่องป้ายแดงแอร์บัส A320 จำนวน 20 ลำ ต่อจากนี้ไปอีก 7 ปีเราตั้งเป้าจะซื้อฝูงบินป้ายแดงเพิ่มอีก 20 ลำ ถึงจะลงทุนสูงแต่ถ้าสามารถจัดการได้ด้วยแบรนด์แกร่ง ทีมงานแข็งแรง บวกเทคโนโลยีสมัยใหม่ ฝูงบินสมรรถนะเยี่ยม ปริมาณที่นั่งเพิ่มจำนวนผู้โดยสารย่อมเพิ่มตามด้วย เราเน้น ปริมาณ โดยเอากำไรน้อยหน่อย
เพื่อจะได้มีโอกาสทำ "ราคาตั๋วเครื่องบิน" ให้ถูกลงอีก 20% เป็นกุญแจวัดความสำเร็จของเรา เพราะปกติการขายตั๋วราคาแพงสายการบินไหนก็ทำได้ ไม่เหมือนการขายตั๋วถูกท้าทายกว่ามาก
- อนาคตตั๋วจะถูกลงกว่านี้ได้อีกหรือ
เป็น ไปได้แน่เพราะเราได้ลงมือทำมาแล้วด้วยวิธีต่างกันในแต่ละสถานการณ์ ตั้งแต่จุดเริ่มเราเป็นสายการบินที่ตกเป็นเป้าทางการเมือง ยุคนั้นยอมรับเลยว่าได้ความช่วยเหลือจากเพื่อนเก่าผมจากหลายธุรกิจช่วยสนับ สนุน มีทั้งทีวีช่อง 3 ช่อง 7 ค่ายเพลงแกรมมี่ ช่วยโปรโมตโดยคิดค่าใช้จ่ายน้อยมาก เงิน 100 บาทเราลงทุนน้อยกว่าสายการบินอื่น 40%
จากนั้นเราเริ่มต้องยืนอยู่ บนลำแข้งตัวเองด้วยการไปทำแบรนด์พ่วงโฆษณากับสินค้าดังในตลาดระดับประเทศและ โลก เดินเข้าหาทีมแมนฯ ยูไนเต็ด โฆษณาในพรีเมียร์ลีก ช่วง 3 ปีแรกทำโฆษณาในประเทศ 3 ปีต่อมาขยับไปต่างประเทศ ตอนนี้เราไปถึงอเมริกาแล้ว
- ตอบให้ตรงคำถามได้ไหมว่า สำเร็จเพราะโชคหรือฝีมือ
คง ทั้ง 2 อย่าง เพราะผมเปิดหนังสือแล้วลอกแบบธุรกิจจากโลว์คอสต์ในซีกโลกตะวันตก จากไรอัน แอร์ กับเซาท์เวสต์แอร์ไลน์ส แล้วผมก็บังเอิญเปิดถูกทุกหน้าเท่ากับถูกแจ็กพอตทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการสร้างแบรนด์ซึ่งเป็นหัวใจหลัก การวางระบบปฏิบัติการด้วยวิธีเทรนนิ่งพนักงานทุกฝ่าย ในช่วงทำธุรกิจปีที่ 2 ได้ตั้งสถาบันฝึกอบรมขึ้น เริ่มจากหลักสูตรผลิตนักบินรุ่นแรก 40 คน ตอนนี้ขยายเป็น 100 คน พอปีที่ 3 เปิดสถาบันฝึกอบรมฝ่ายซ่อมบำรุงเครื่องบิน เพราะรู้ตัวว่าถ้าเราโตขนาดนี้ต้องเตรียมทุกอย่างไว้รองรับให้ได้
สิ่ง สำคัญคือการวางแผนธุรกิจในอนาคต ต้องทำเตรียมไว้หมดทุกอย่าง ทั้งเรื่องการสร้างบุคลากรให้แข็งแกร่ง วางเครือข่ายเที่ยวบินควบคู่กับการเลือกใช้สิทธิการบิน (traffic light) ต้องเข้าใจวิธีเลือกช่วงเวลาบินให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้
- จะใช้วิธีใดครองตลาดรากหญ้า
ง่าย มากตอนนำเครื่องลำแรกเข้ามาบินปี 2546 เราเพนต์ "เขาควายคาราบาว" บนลำตัวเครื่อง คนพากันงงว่าเอาศิลปินวงเก่ามาทำไม แต่เราคิดต่างตรงที่ว่าลูกค้าเป้าหมายของเราคือคนต่างจังหวัดซึ่งคุ้นเคยกับ ตลาดลูกทุ่ง 70% และชื่นชอบเพลงเพื่อชีวิต 30% ทั้ง 2 สไตล์นี้ไม่เคยปิดกั้นลูกค้า วัดผลง่าย ๆ พอมีผับล้อมรั้วสังกะสีทุกจังหวัด เมื่อมีคาราบาวไปแสดงคอนเสิร์ตที่ไหนจะมีคนแห่แหนกันไปดู
เราจะ เสียเวลาไปสร้างตลาดเองทำไม ก็กระโดดซ้อนท้ายไปกับคาราบาว คนบิดมอเตอร์ไซค์มาดูคอนเสิร์ตในงานวัดแล้วอยู่ ๆ ก็ได้รางวัลตั๋วบินฟรี ชาวบ้านหรือชาวนาใครบ้างจะไม่ตื่นเต้น ตรงนี้เป็นจุดเริ่มที่เราเข้าถึงรากหญ้า ผ่านมา 7 ปีเรากวาดตลาดสามเหลี่ยม A, B, C มาเกือบหมด มีส่วนแบ่งตลาดรากหญ้า 40-50%
ปี 2554 จะลองขยายตลาดลงไปหา กลุ่ม D เป็นกลุ่มชาวไร่ ชาวนา ชาวสวน ลองให้พวกเขาลองมาบินดูบ้างอาจจะเป็นแจกรางวัลเพื่อแนะนำตัวก่อนจากนั้นจึง เริ่มสร้างความคุ้นเคยที่จะนั่งเครื่อง เพราะตอนผมไปสิงคโปร์ ฮ่องกง คุยกับคนขับแท็กซี่ 60% เคยขึ้นเครื่องมาเที่ยวเมืองไทย หรือฝรั่งตะวันตก คนกวาดถนน เก็บขยะ มาเที่ยวเมืองไทยตั้งมากมาย
จากการพยากรณ์ของ สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) ระบุชัดเจนว่า การทำโลว์คอสต์ตลาดรากหญ้าเป็นลูกค้าสำคัญที่สุด เราตั้งเป้าจะทำอัตราการบรรทุกผู้โดยสารเฉลี่ยให้ได้ 80-90% เมื่อปี 2553 ทำได้ 80% ยังไม่สะใจ ปี 2554 จะต้องถึง 85%
- จะประสบความสำเร็จโดยเก่งอยู่คนเดียวหรือใช้วิธีอื่นด้วย
ผม เพิ่งประชุมกับหัวหน้าทุกแผนกว่า ถ้ามีอะไรคาใจหรือแรงกดดันไม่ว่าจะเรื่องงาน เรื่องส่วนตัว หรือเรื่องไหนก็ได้ เปิดประตูเข้ามาคุยกับซีอีโอได้ทุกเรื่อง ผมตั้งเป้าจะทำให้พนักงานในบริษัทนี้ทุกคนแฮปปี้ก่อนด้วยการเปิดห้องคุยช่วย แก้ไขไปด้วยกัน
ดีเดย์ตั้งแต่ 1 พฤษภาคมนี้ เราจะต้องเป็นบริษัทแรกในประเทศไทยที่พนักงานแฮปปี้ที่สุด ตื่นเช้าขึ้นทุกคนอยากมาทำงาน
ผมได้ปอกเปลือกชีวิตและเรื่องราวไทย แอร์เอเชียจนหมดแล้ว ต่อไปก็เลิกมองผมเป็นนักธุรกิจนอมินีเสียทีนะครับ
หน้า 26
- Ii'8N
- Verified User
- โพสต์: 3682
- ผู้ติดตาม: 0
Re: TAA : Thai AirAsia พร้อมเข้าตลาดหรือยังครับ?
โพสต์ที่ 10
http://www.prachachat.net/view_news.php ... 2011-01-27
วันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2554 ปีที่ 34 ฉบับที่ 4283 ประชาชาติธุรกิจ
ย้อนเส้นทางโตซีอีโอวัย 44 เล็กแค่อายุ ใหญ่อย่างรับผิดชอบ
ทัศ พล แบเวเว็ลด์ หรือ "โจ" นักธุรกิจวัย 44 ปีที่สังคมพากันตั้งคำถามมาตลอดว่า ด้วยวัยเพียงเท่านี้ประสบความสำเร็จเร็วขนาดนี้ได้อย่างไรในฐานะนักบริหาร การบินธุรกิจซึ่งขึ้นชื่อว่าหินสุด ๆ
เขาอธิบายโดยใช้ศาสตร์พื้นฐาน ว่า ถึงจะอายุน้อยกว่าเจ้านายหรือลูกน้อง แต่อายุของซีอีโอก็เป็นแค่ตัวเลข หลักการบริหารสำคัญที่สุด คือ "คำพูดต้องเป็นนายเหมือนลายเซ็น" เมื่อพูดอะไรออกไปต้องรับผิดชอบคำพูดเหล่านั้น เหมือนกับการเซ็นชื่อย่อมมีผลบังคับใช้ในทางกฎหมายเอาผิดได้
เขาเล่า ด้วยใบหน้าเปื้อนยิ้มบ่งบอกถึงความภาคภูมิใจที่ซ่อนลึกอยู่ในจิตวิญญาณว่า ประสบการณ์สุดท้ายในค�ายเพลงวอร์นเนอร์ มิวสิค คือการ "บริหาร ศิลปิน" และหัวใจสำคัญที่สุดในการทำธุรกิจก็คือ การ "บริหารคน" ถ้าผ่านการบริหารศิลปินที่โชกโชนต่อโลกมาได้ก็สามารถทำอะไรได้ทั้งหมด
ความ ทรงจำอันเลวร้ายของทัศพลที่หนักหนาสาหัส คือ 3 ปีแรกช่วงเข้าสู่วงการบินธุรกิจขาดทุนแทบกระอักเลือด เขาถูกบีบกึ่งบังคับทั้งจากต้นทุนน้ำมันและการเมืองจนถึงขั้นแพ้ภัยตนเองขาด ทุนย่อยยับ
เมื่อปี 2550 ขาดทุนถึง 5,000 ล้านบาท แต่ก็หาทางออกได้เร็วจนกระทั่ง วันนี้เหลือหนี้แค่ 1,000 ล้านบาท
เขา บอกว่าตอนนั้นต้องเอาโฉนดบ้านไปจำนอง นำเงินมาจ่ายพนักงานตามสัญญาต้องได้เงินทุกวันที่ 27 ของทุกเดือน ความช้ำใจมากสุดคือตอนเดินไปคุยกับแบงก์เพื่อขอทำ OD นำเงินล่วงหน้าออกมาหมุนเวียน ปรากฏว่าไม่มีแบงก์ไหนในไทยเห็นใจสักเจ้า
ต่าง จากวันนี้พอแบงก์ไทยรู้ว่ามีเงินสดหมุนเวียน 3,000 ล้านบาท พนักงานแบงก์เดินมาหากันให้ควัก อ้อนวอนให้นำเงินไปฝากแบงก์เหล่านั้น ผมสวนออกไปทันทีว่า...ส.ต.เถอะ ตอนเป็นหนี้ขอความช่วยเหลือไม่เคยชายตามองพอมีเงินมารุมตอมกันใหญ่
เป็นหัวอกและประสบการณ์ของ ซีอีโอวัย 44 ปี ไทย แอร์เอเชียที่วันนี้ผงาดขึ้นมาโลว์คอสต์เบอร์ 1 เอเชีย
หน้า 26
วันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2554 ปีที่ 34 ฉบับที่ 4283 ประชาชาติธุรกิจ
ย้อนเส้นทางโตซีอีโอวัย 44 เล็กแค่อายุ ใหญ่อย่างรับผิดชอบ
ทัศ พล แบเวเว็ลด์ หรือ "โจ" นักธุรกิจวัย 44 ปีที่สังคมพากันตั้งคำถามมาตลอดว่า ด้วยวัยเพียงเท่านี้ประสบความสำเร็จเร็วขนาดนี้ได้อย่างไรในฐานะนักบริหาร การบินธุรกิจซึ่งขึ้นชื่อว่าหินสุด ๆ
เขาอธิบายโดยใช้ศาสตร์พื้นฐาน ว่า ถึงจะอายุน้อยกว่าเจ้านายหรือลูกน้อง แต่อายุของซีอีโอก็เป็นแค่ตัวเลข หลักการบริหารสำคัญที่สุด คือ "คำพูดต้องเป็นนายเหมือนลายเซ็น" เมื่อพูดอะไรออกไปต้องรับผิดชอบคำพูดเหล่านั้น เหมือนกับการเซ็นชื่อย่อมมีผลบังคับใช้ในทางกฎหมายเอาผิดได้
เขาเล่า ด้วยใบหน้าเปื้อนยิ้มบ่งบอกถึงความภาคภูมิใจที่ซ่อนลึกอยู่ในจิตวิญญาณว่า ประสบการณ์สุดท้ายในค�ายเพลงวอร์นเนอร์ มิวสิค คือการ "บริหาร ศิลปิน" และหัวใจสำคัญที่สุดในการทำธุรกิจก็คือ การ "บริหารคน" ถ้าผ่านการบริหารศิลปินที่โชกโชนต่อโลกมาได้ก็สามารถทำอะไรได้ทั้งหมด
ความ ทรงจำอันเลวร้ายของทัศพลที่หนักหนาสาหัส คือ 3 ปีแรกช่วงเข้าสู่วงการบินธุรกิจขาดทุนแทบกระอักเลือด เขาถูกบีบกึ่งบังคับทั้งจากต้นทุนน้ำมันและการเมืองจนถึงขั้นแพ้ภัยตนเองขาด ทุนย่อยยับ
เมื่อปี 2550 ขาดทุนถึง 5,000 ล้านบาท แต่ก็หาทางออกได้เร็วจนกระทั่ง วันนี้เหลือหนี้แค่ 1,000 ล้านบาท
เขา บอกว่าตอนนั้นต้องเอาโฉนดบ้านไปจำนอง นำเงินมาจ่ายพนักงานตามสัญญาต้องได้เงินทุกวันที่ 27 ของทุกเดือน ความช้ำใจมากสุดคือตอนเดินไปคุยกับแบงก์เพื่อขอทำ OD นำเงินล่วงหน้าออกมาหมุนเวียน ปรากฏว่าไม่มีแบงก์ไหนในไทยเห็นใจสักเจ้า
ต่าง จากวันนี้พอแบงก์ไทยรู้ว่ามีเงินสดหมุนเวียน 3,000 ล้านบาท พนักงานแบงก์เดินมาหากันให้ควัก อ้อนวอนให้นำเงินไปฝากแบงก์เหล่านั้น ผมสวนออกไปทันทีว่า...ส.ต.เถอะ ตอนเป็นหนี้ขอความช่วยเหลือไม่เคยชายตามองพอมีเงินมารุมตอมกันใหญ่
เป็นหัวอกและประสบการณ์ของ ซีอีโอวัย 44 ปี ไทย แอร์เอเชียที่วันนี้ผงาดขึ้นมาโลว์คอสต์เบอร์ 1 เอเชีย
หน้า 26
- dome@perth
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4740
- ผู้ติดตาม: 0
Re: TAA : Thai AirAsia พร้อมเข้าตลาดหรือยังครับ?
โพสต์ที่ 11
จับตามองแบบ ไม่กระพริบ ครับ
เข้าตลาดแล้วเจอกันตะครุบ
เข้าตลาดแล้วเจอกันตะครุบ
"ไม่มีสุตรสำเร็จ ไม่มีทางลัด ไม่ใช่แค่โชค
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง"
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง"
-
- Verified User
- โพสต์: 24
- ผู้ติดตาม: 0
Re: TAA : Thai AirAsia พร้อมเข้าตลาดหรือยังครับ?
โพสต์ที่ 12
Does anyone know how many low cost airlines made money? One of the reasons that TTA has cash surplus is because it is acting the operating hub for Air Asia. I will doubt that it will generate that much of cash flow out of its own operation!!
- Ii'8N
- Verified User
- โพสต์: 3682
- ผู้ติดตาม: 0
Re: TAA : Thai AirAsia พร้อมเข้าตลาดหรือยังครับ?
โพสต์ที่ 13
ไม่มีข้อมูลของ Thai Air Asia มากนัก ดูบริษัทแม่ที่มาเลย์ไปพลางๆ กันก่อนละกัน
http://www5.airasia.com/site/en/pageWit ... 0-db891066
http://www5.airasia.com/site/en/pageWit ... 0-db891066
http://www5.airasia.com/site/en/pageWit ... 0-db891066
http://www5.airasia.com/site/en/pageWit ... 0-db891066
- Ii'8N
- Verified User
- โพสต์: 3682
- ผู้ติดตาม: 0
Re: TAA : Thai AirAsia พร้อมเข้าตลาดหรือยังครับ?
โพสต์ที่ 14
http://www5.airasia.com/storage/bo/aapo ... L%2007.pdf
หน้า 6
ไทยเป็น Base ที่มี Route มากและจำนวนเครื่องอันดับ 2 รองจากแม่ที่กัวลาลัมเปอร
2007: เครื่อง 14, Route 20
ปัจจุบัน: เครื่อง 20, Routes 26
หน้า 19-20
เกี่ยวกับ Cost ของ Low Cost Airline ต่างๆ
Cost per ASK: Cost per available seat kilometer
The Low cost Airline, Case Study—AirAsia
http://www.elc.polyu.edu.hk/subjects/EL ... Report.doc
หน้า 6
ไทยเป็น Base ที่มี Route มากและจำนวนเครื่องอันดับ 2 รองจากแม่ที่กัวลาลัมเปอร
2007: เครื่อง 14, Route 20
ปัจจุบัน: เครื่อง 20, Routes 26
หน้า 19-20
เกี่ยวกับ Cost ของ Low Cost Airline ต่างๆ
Cost per ASK: Cost per available seat kilometer
The Low cost Airline, Case Study—AirAsia
http://www.elc.polyu.edu.hk/subjects/EL ... Report.doc
- OutOfMyMind
- Verified User
- โพสต์: 1232
- ผู้ติดตาม: 0
Re: TAA : Thai AirAsia พร้อมเข้าตลาดหรือยังครับ?
โพสต์ที่ 15
จริง ๆ AirAsia มีเที่ยวบินไปราคาประหยัดไปลงหลายประเทศมาก โดยเฉพาะหากอยากเที่ยวเกาหลี ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย มีถูก ๆ เป็นแพคเกจพร้อมที่พักก็มี เสียแต่ต้องไปเริ่มที่ KL
หาก TAA เข้าตลาดจริง ก็หวังจะได้ดึงเที่ยวบินราคาประหยัดแบบนี้เข้ามาไทยบ้างนะครับ
หาก TAA เข้าตลาดจริง ก็หวังจะได้ดึงเที่ยวบินราคาประหยัดแบบนี้เข้ามาไทยบ้างนะครับ
แชทบอทสำหรับนักลงทุนเน้นคุณค่า
https://www.chathoon.com/
https://www.chathoon.com/
-
- Verified User
- โพสต์: 2166
- ผู้ติดตาม: 0
Re: TAA : Thai AirAsia พร้อมเข้าตลาดหรือยังครับ?
โพสต์ที่ 16
ในช่วงปีหรือสองปีที่ผ่านมา ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงมาค่อนข้างมากหลังจากขึ้นไปสูงสุดที่ $147 ต่อบาร์เรล ด้วยเหตุนี้ผลประกอบการจึงออกมาเป็นที่น่าพอใจ ช่วงที่ราคาน้ำมันดิบลดลงมามากๆ AirAsia ถึงกับยอม dehedge (เสียเงินไปเยอะพอสมควร) แต่ตอนนี้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวขึ้นมาอีกครั้ง คงต้องดูว่าผลประกอบการจะเป็นไปในทิศทางใด
อีกประการคือ รัฐบาลมาเลเซียให้การสนับสนุน AirAsia ในแง่ของภาษีค่อนข้างเยอะ กล่าวคือ รายจ่ายลงทุนที่ใช้ในการซื้อเครื่องบินสามารถนำไปใช้ในการลดภาษีที่จ่ายได้ รายละเอียดต้องเข้าไปอ่านในรายงานประจำปีครับ
ในแง่ลงทุน ผมคิดว่าบริษัทแม่ที่ KL น่าสนใจกว่าเยอะครับ
อีกประการคือ รัฐบาลมาเลเซียให้การสนับสนุน AirAsia ในแง่ของภาษีค่อนข้างเยอะ กล่าวคือ รายจ่ายลงทุนที่ใช้ในการซื้อเครื่องบินสามารถนำไปใช้ในการลดภาษีที่จ่ายได้ รายละเอียดต้องเข้าไปอ่านในรายงานประจำปีครับ
ในแง่ลงทุน ผมคิดว่าบริษัทแม่ที่ KL น่าสนใจกว่าเยอะครับ
Minimize risk through an in-depth knowledge. Buy at bargain price. Wait patiently.
http://valueinvestors.wordpress.com/
http://valueinvestors.wordpress.com/
-
- Verified User
- โพสต์: 2166
- ผู้ติดตาม: 0
Re: TAA : Thai AirAsia พร้อมเข้าตลาดหรือยังครับ?
โพสต์ที่ 17
สำหรับคนสนใจ TAA ผมคัดบางส่วนจากงบของ AirAsia ที่เพิ่งจะประกาศมาให้อ่านกันครับ โดยรวม TAA โตทั้งรายได้และกำไรสุทธิครับ รายละเอียดสถิติต่างๆ สามารถดาวน์โหลดได้จากเว็ปของบริษัท
AirAsia Thailand is a joint venture company owned 49% by AirAsia Berhad. As such it is accounted for using the equity method, as permitted by the Malaysian Accounting Standards Board FRS131, Interests in Joint Ventures. As the Group’s interest in AirAsia Thailand has been reduced to zero no additional losses are provided for, and the Group will only resume recognizing its share of profits only after its share of profits equals the share of losses not recognized.
AirAsia Thailand recorded revenue of THB3,744 million in 4Q10, 29% higher compared to the THB2,907 million achieved in 4Q09. The positive growth in revenue is attributed to higher passenger volume, a higher contribution from ancillary income and improving yields. AirAsia Thailand has achieved passenger growth of 13% as compared to 4Q09 while the seat load factor was lower by 1 percentage point at 80%. Average base fare was higher by 6% at THB1,889 as compared to THB1,789 achieved in 4Q09. AirAsia Thailand’s achieved a net profit of THB1,644 million in 4Q10, compared to a loss of THB623 million in 4Q09.
For the full year AirAsia Thailand recorded revenue of THB12,391 million, 33% higher compared to the THB9,326 million achieved in FY2009. Passengers carried rose 14% year on year, outstripping capacity growth by 2%, and ancillary income increased by 85% from THB957 million to THB1,771 million. Average base fares rose by 9% in the year and the seat load factor rose by 2 percentage points despite the introduction of higher capacity aircraft.
AirAsia Thailand’s achieved a net profit of THB2,845 million in 2010, compared to a loss of THB808 million in 2009, representing a net profit margin of 23% as compared to a negative margin of 8.7% in 2009.
Minimize risk through an in-depth knowledge. Buy at bargain price. Wait patiently.
http://valueinvestors.wordpress.com/
http://valueinvestors.wordpress.com/
- OutOfMyMind
- Verified User
- โพสต์: 1232
- ผู้ติดตาม: 0
Re: TAA : Thai AirAsia พร้อมเข้าตลาดหรือยังครับ?
โพสต์ที่ 18
กลุ่มสายการบินแอร์เอเชียประกาศผลประกอบการกำไรรวมตลอดปีทะลุ 1 พันล้านริงกิต
User Rating: / 0
แย่ดีที่สุด
ข่าวรายวัน - ข่าวในประเทศ
เขียนโดย ณัฐญา เนตรหิน
วันเสาร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2011 เวลา 09:13 น.
กลุ่มสายการบินแอร์เอเชียประกาศผลประกอบการตลอดปี 2553 กําไรสุทธิหลังหักภาษี (Profit After Tax) 1.07 พันล้านริงกิต (เพิ่มขึ้น 111% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกับของปีที่แล้ว) ,กำไรจากผลการดำเนินงาน (Core Operating Profit) 828 ล้านริงกิต (เพิ่มขึ้น 83% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกับของปีที่แล้ว) ,บัญชีเงินฝาก (Cash Balance) 1.5 พันล้านริงกิต,รายได้ส่วน Ancillary ต่อคน (Ancillary Income per pax) 41 ริงกิต (เพิ่มขึ้น 39% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกับของปีที่แล้ว) และ อัตราหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยสุทธิต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (Net Gearing Ratio) 1.75 (ลดลงจากปีที่แล้วที่อยู่ที่ 2.57)
ผลประกอบการไตรมาสที่ 4 ปี 2553 กำไรสุทธิหลังหักภาษี (Profit After Tax) ของแอร์เอเชีย มาเลเซีย (MAA) 317 ล้านริงกิต (เติบโตขึ้น 835% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกับของปีที่แล้ว) อัตราจำนวนผู้โดยสารเฉลี่ย (Load Factor) 82% (เพิ่มขึ้น 3 ppt เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว) กำไรสุทธิหลังหักภาษี (Profit After Tax) ของไทยแอร์เอเชีย (TAA) 1,644 ล้านบาท (เติบโตขึ้น 364% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกับของปีที่แล้ว) กำไรสุทธิหลังหักภาษี (Profit After Tax) ของแอร์เอเชีย อินโดนีเซีย (IAA) 166,934 ล้านรูเปีย (เติบโตขึ้น 214% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกับของปีที่แล้ว)
ซีอีโอแอร์เอเชีย เบอร์ฮัด (แอร์เอเชีย) ประกาศ “ปรากฏการณ์แห่งความสำเร็จ” ด้วยการสร้างสถิติผลกำไรสุทธิของบริษัทตลอดปี 2553 ทะลุ 1 พันล้านริงกิต
โทนี่ เฟอร์นานเดส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทแอร์เอเชีย กล่าวว่า ปีที่ผ่านมา แอร์เอเชียไม่เพียงประสบความสำเร็จในการสร้างสถิติผลกำไรใหม่ แต่ยังทำกำไรได้ทะลุ 1 พันล้านริงกิต (1.07 พันล้านริงกิต) ทั้งยังมีเงินในบัญชีเงินฝากถึง 1.50 พันล้านริงกิต อัตราหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยสุทธิต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (Net Gearing Ratio) ลดลงเหลือ 1.75 เท่า จากปีที่แล้วที่มีอยู่ 2.57 เท่า บริษัทอยู่ในสถานะทางการเงินที่ดีที่สุดเท่าที่เคยมีมา ทำให้มีพื้นฐานที่แข็งแกร่งเพื่อการขยายและเติบโตต่อไปในปี 2554 นี้
เฟอร์นานเดส กล่าวต่อไปว่า ผลงานตลอดทั้งปีของแอร์เอเชียโดดเด่นในทุกไตรมาส ทำสถิติใหม่หลายรายการ ได้แก่ มีรายได้รวม 1.19 พันล้านริงกิต มีกำไรสุทธิหลังหักภาษี 316.55 ล้านริงกิต และอัตราการบรรทุกผู้โดยสารเฉลี่ย (Load Factor) อยู่ที่ 82% (เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วที่มีอยู่ 79%) ทั้งนี้รายได้ในส่วนของแอร์เอเชียมาเลเซีย เพิ่มขึ้น 21% (จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว) รายได้ของไทยแอร์เอเชียเพิ่มขึ้น 12% และรายได้ของแอร์เอเชียอินโดนีเซียเพิ่มขึ้น 22% ขณะที่ค่าโดยสารเฉลี่ยของแอร์เอเชียมาเลเซียเพิ่มขึ้น 7% ของไทยแอร์เอเชียพิ่มขึ้น 6% และของแอร์เอเชียเพิ่มขึ้น 16% แม้ว่าต้นทุนเชื้อเพลิงจะเพิ่มขึ้น แต่ EBITDAR margin ของแอร์เอเชียเพิ่มเป็น 49.3% หรือเพิ่มเพียง 6 ppt เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว
เฟอร์นานเดส เน้นย้ำว่า รายได้ที่เพิ่มขึ้นของแอร์เอเชียได้มาจากในส่วนของรายได้ส่วน ancillary มากที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับจำนวนผู้โดยสารที่เพิ่มมากขึ้น รายได้ในส่วนของ ancillary ถือเป็นรายได้จำนวนมากที่สุดของแอร์เอเชีย โดยรายได้ส่วนนี้เพิ่มขึ้นในทั้งฐานการบินทั้ง 3 ประเทศ แอร์เอเชีย มาเลเซียอยู่ที่ 49 ริงกิตต่อคน (เพิ่มขึ้น 99% จากปีที่แล้วอยู่ที่ 25 ริงกิต) ไทยแอร์เอเชียอยู่ที่ 369 บาทต่อคน (เพิ่มขึ้น 109% จากปีที่แล้วอยู่ที่ 176 บาท) แอร์เอเชีย อินโดนีเซียอยู่ที่ 155,089 รูเปียต่อคน (เพิ่มขึ้น 108% จากปีที่แล้วอยู่ที่ 74,495 รูเปีย)
ซีอีโอแอร์เอเชีย ยังกล่าวด้วยว่า รายได้ในส่วน ancillary ที่เติบโตขึ้นกับการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้โดยสาร เป็นสิ่งที่ยืนยันได้อย่างดีถึงความสำเร็จในกลยุทธ์ของบริษัทที่มองไปนอกเหนือจากเรื่องค่าโดยสาร ไปเพิ่มรายได้ในส่วนอื่น ทั้งนี้ในส่วนธุรกิจ ancillary ยังมีศักยภาพอยู่มาก และแอร์เอเชียยังเดินหน้าต่อเนื่องเพื่อเพิ่มรายได้ในส่วนนี้
ซีอีโอแอร์เอเชีย กล่าวถึงผลการดำเนินงานในไตรมาสที่ 4 ด้วยว่า ในส่วนของไทยแอร์เอเชียมีรายได้อยู่ที่ 3,744 ล้านบาท เติบโตขึ้น 29% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว กำไรสุทธิหลังจากหักภาษีเพิ่มขึ้น 364% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว รายได้ในส่วน ancillary ต่อผู้โดยสาร 1 คนที่ใช้ในประเทศไทยเพิ่มขึ้น 109% ทั้งนี้เมื่อสิ้นสุดปี 2553 ไทยแอร์เอเชียมีฝูงบินแอร์บัส เอ320 ทั้งหมด 19 ลำ(รับเครื่องบินแอร์บัส เอ320 ลำที่ 20 เดือน ม.ค.2554 ที่ผ่านมา) และจะเพิ่มอีก 4 ลำในปี 2554
ด้านแอร์เอเชียอินโดนีเซีย มีรายได้รวมอยู่ที่ 795,750 ล้านรูเปีย เพิ่มขึ้น 38% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ขณะที่รายได้ในส่วน ancillary เติบโตอย่างเป็นประวัติการณ์ เพิ่มขึ้น 108% อัตราการบรรทุกผู้โดยสารเฉลี่ยเพิ่มเป็น 78% (จากปีที่แล้วที่มีอยู่ 74%) ทั้งนี้กำไรสุทธิหลังหักภาษีอยู่ที่ 166,634 ล้านรูเปีย เพิ่มขึ้น 214% แม้ว่าในไตรมาสสุดท้ายจะค่อนข้างเงียบเหงา เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่สองและไตรมาสที่สาม แต่แอร์เอเชียอินโดนีเซียยังสามารถเพิ่มค่าโดยสารเฉลี่ยต่อหัวได้ ทั้งนี้ฝูงบินเมื่อสิ้นปี 2553 มีอยู่ที่ 18 ลำ
“ผลงานของทั้งไทยแอร์เอเชียและแอร์เอเชีย อินโดนีเซียบอกได้อย่างดีถึงศักยภาพของเราที่จะเข้าสู่ตลาดหุ้นในกรุงเทพฯ และจาร์กาตา ในปี 2011 นี้ ทีมผู้บริหารของเราในทั้ง 2 ประเทศยืนยันว่ากลยุทธ์ของเราเดินมาถูกทางแล้ว” เฟอร์นานเดสกล่าว
เฟอร์นานเดส ได้กล่าวถึงเป้าหมายในปี 2011 ว่า “ความสำเร็จเกินคาดในปี 2010 ที่ผ่านมา ถือเป็นการสร้างความท้าทายครั้งใหม่ ผมมั่นใจว่าเราสามารถทำได้อีกครั้ง ด้วยแผนการที่จะขยายเส้นทางการบินและฐานการบิน ในปีนี้เราจะมีเครื่องบินแอร์บัส เอ320 ลำใหม่มาร่วมฝูงบินอีก 8 ลำ และเราจะเปิดฮับใหม่อีก 3 แห่งที่คูชิง เชียงใหม่ และเมดาน ในปีนี้เราจะเน้นให้ความสำคัญกับการเพิ่มอัตราการบรรทุกผู้โดยสารเฉลี่ยและการเพิ่มรายได้”
“เราได้ประกาศจำนวนฝูงบินที่จะเพิ่มขึ้นจนถึงปี 2555 ซึ่งจะมาเพิ่มอีก 14 ลำ จากเดิมที่เราคาดการณ์ไว้ 24 ลำ แต่เราก็ได้ปรับแผนการไว้รองรับแล้ว เรามีวิสัยทัศน์อยู่แล้วว่าเราต้องการทำอะไร แต่เราสามารถเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วเมื่อเกิดเหตุจำเป็น สิ่งนี้ทำให้มั่นใจว่าเราจะเผชิญกับทุกความท้าทายได้เป็นอย่างดี” ซีอีโอแอร์เอเชียกล่าวเพิ่มเติม
เฟอร์นานเดส ยังกล่าวอีกว่า พนักงานที่เต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์และความกระตือรือร้นกว่า 8,000 คนของแอร์เอเชียมีส่วนสนับสนุนอย่างมากที่ทำให้เราประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย พวกเขายังคงทำงานอย่างหนักเพื่อให้แน่ใจว่าเราจะยังคงประสบความสำเร็จมากขึ้นไปอีก
“ในส่วนของไทยแอร์เอเชียและแอร์เอเชีย อินโดนีเซีย กำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ของกรุงเทพฯและจาร์กาตาตามลำดับ ซึ่งเป็นเป้าหมายที่น่าตื่นเต้น ทั้งนี้ด้วยผลงานในปี 2553 เชื่อว่าจะสามารถกระตุ้นความต้องการของนักลงทุนได้อย่างแน่นอน” ซีอีโอแอร์เอเชียกล่าว
เฟอร์นานเดส ยังได้กล่าวถึง การเปิดตัวแอร์เอเชีย ฟิลิปปินส์ ในปี 2554 นี้ด้วยว่า จะเปิดเที่ยวบินปฐมฤกษ์ในช่วงครึ่งปีหลัง เขาเชื่อว่าฟิลิปปินส์เป็นตลาดที่มีศักยภาพอย่างยิ่ง โดยเฉพาะจะเป็นการเชื่อมโยงอาเซียนเข้าด้วยกัน ด้วยค่าโดยสารราคาประหยัดในแบบของแอร์เอเชีย
เฟอร์นานเดส แสดงความเห็นเพิ่มเติมว่า ปัจจัยภายนอกที่นอกเหนือการความคุมอาจมีผลกับแผนของบริษัทในปี 2554 นี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เขาได้กล่าวถึงพัฒนาการด้านภูมิศาสตร์การเมืองในแถบตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ และความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจระดับโลกว่าอาจจะมีผลต่อราคาน้ำมัน ซึ่งเราคอยตรวจสอบสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เราได้หาทางลดความเสี่ยงในระยะสั้นสำหรับช่วงไตรมาสที่ 2 ของปีนี้แล้ว และจะมีการเพิ่มแผนสำรองอื่น หากสถานการณ์เปลี่ยนแปลง ทั้งนี้เรายังคงตัดสินใจจะรักษาราคาโดยสารแบบประหยัดไว้ เรายังไม่ต้องเรียกเก็บค่าธรรมเนียมน้ำมันหรือขึ้นราคา ต้องขอบคุณรายได้ในส่วน ancillary ที่ทำให้เราอยู่ในตำแหน่งที่ดีกว่าคู่แข่งหากถึงจุดที่เราต้องตัดสินใจ
โมเดลธุรกิจของ TAA พิสูจน์ความสำเร็จได้ เพราะทำจริงจัง ไม่ได้ทำแค่สร้างภาพ แม้ในไทยที่ไม่มีตัวช่วย ก็ยังพลิกมากำไร เอ ผมเชียร์มากไปหรือเปล่าหนอ แต่รู้สึกตื่นเต้นว่าจะมีสายการบินใหม่ให้เลือกลงทุนเสียที
User Rating: / 0
แย่ดีที่สุด
ข่าวรายวัน - ข่าวในประเทศ
เขียนโดย ณัฐญา เนตรหิน
วันเสาร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2011 เวลา 09:13 น.
กลุ่มสายการบินแอร์เอเชียประกาศผลประกอบการตลอดปี 2553 กําไรสุทธิหลังหักภาษี (Profit After Tax) 1.07 พันล้านริงกิต (เพิ่มขึ้น 111% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกับของปีที่แล้ว) ,กำไรจากผลการดำเนินงาน (Core Operating Profit) 828 ล้านริงกิต (เพิ่มขึ้น 83% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกับของปีที่แล้ว) ,บัญชีเงินฝาก (Cash Balance) 1.5 พันล้านริงกิต,รายได้ส่วน Ancillary ต่อคน (Ancillary Income per pax) 41 ริงกิต (เพิ่มขึ้น 39% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกับของปีที่แล้ว) และ อัตราหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยสุทธิต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (Net Gearing Ratio) 1.75 (ลดลงจากปีที่แล้วที่อยู่ที่ 2.57)
ผลประกอบการไตรมาสที่ 4 ปี 2553 กำไรสุทธิหลังหักภาษี (Profit After Tax) ของแอร์เอเชีย มาเลเซีย (MAA) 317 ล้านริงกิต (เติบโตขึ้น 835% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกับของปีที่แล้ว) อัตราจำนวนผู้โดยสารเฉลี่ย (Load Factor) 82% (เพิ่มขึ้น 3 ppt เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว) กำไรสุทธิหลังหักภาษี (Profit After Tax) ของไทยแอร์เอเชีย (TAA) 1,644 ล้านบาท (เติบโตขึ้น 364% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกับของปีที่แล้ว) กำไรสุทธิหลังหักภาษี (Profit After Tax) ของแอร์เอเชีย อินโดนีเซีย (IAA) 166,934 ล้านรูเปีย (เติบโตขึ้น 214% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกับของปีที่แล้ว)
ซีอีโอแอร์เอเชีย เบอร์ฮัด (แอร์เอเชีย) ประกาศ “ปรากฏการณ์แห่งความสำเร็จ” ด้วยการสร้างสถิติผลกำไรสุทธิของบริษัทตลอดปี 2553 ทะลุ 1 พันล้านริงกิต
โทนี่ เฟอร์นานเดส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทแอร์เอเชีย กล่าวว่า ปีที่ผ่านมา แอร์เอเชียไม่เพียงประสบความสำเร็จในการสร้างสถิติผลกำไรใหม่ แต่ยังทำกำไรได้ทะลุ 1 พันล้านริงกิต (1.07 พันล้านริงกิต) ทั้งยังมีเงินในบัญชีเงินฝากถึง 1.50 พันล้านริงกิต อัตราหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยสุทธิต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (Net Gearing Ratio) ลดลงเหลือ 1.75 เท่า จากปีที่แล้วที่มีอยู่ 2.57 เท่า บริษัทอยู่ในสถานะทางการเงินที่ดีที่สุดเท่าที่เคยมีมา ทำให้มีพื้นฐานที่แข็งแกร่งเพื่อการขยายและเติบโตต่อไปในปี 2554 นี้
เฟอร์นานเดส กล่าวต่อไปว่า ผลงานตลอดทั้งปีของแอร์เอเชียโดดเด่นในทุกไตรมาส ทำสถิติใหม่หลายรายการ ได้แก่ มีรายได้รวม 1.19 พันล้านริงกิต มีกำไรสุทธิหลังหักภาษี 316.55 ล้านริงกิต และอัตราการบรรทุกผู้โดยสารเฉลี่ย (Load Factor) อยู่ที่ 82% (เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วที่มีอยู่ 79%) ทั้งนี้รายได้ในส่วนของแอร์เอเชียมาเลเซีย เพิ่มขึ้น 21% (จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว) รายได้ของไทยแอร์เอเชียเพิ่มขึ้น 12% และรายได้ของแอร์เอเชียอินโดนีเซียเพิ่มขึ้น 22% ขณะที่ค่าโดยสารเฉลี่ยของแอร์เอเชียมาเลเซียเพิ่มขึ้น 7% ของไทยแอร์เอเชียพิ่มขึ้น 6% และของแอร์เอเชียเพิ่มขึ้น 16% แม้ว่าต้นทุนเชื้อเพลิงจะเพิ่มขึ้น แต่ EBITDAR margin ของแอร์เอเชียเพิ่มเป็น 49.3% หรือเพิ่มเพียง 6 ppt เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว
เฟอร์นานเดส เน้นย้ำว่า รายได้ที่เพิ่มขึ้นของแอร์เอเชียได้มาจากในส่วนของรายได้ส่วน ancillary มากที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับจำนวนผู้โดยสารที่เพิ่มมากขึ้น รายได้ในส่วนของ ancillary ถือเป็นรายได้จำนวนมากที่สุดของแอร์เอเชีย โดยรายได้ส่วนนี้เพิ่มขึ้นในทั้งฐานการบินทั้ง 3 ประเทศ แอร์เอเชีย มาเลเซียอยู่ที่ 49 ริงกิตต่อคน (เพิ่มขึ้น 99% จากปีที่แล้วอยู่ที่ 25 ริงกิต) ไทยแอร์เอเชียอยู่ที่ 369 บาทต่อคน (เพิ่มขึ้น 109% จากปีที่แล้วอยู่ที่ 176 บาท) แอร์เอเชีย อินโดนีเซียอยู่ที่ 155,089 รูเปียต่อคน (เพิ่มขึ้น 108% จากปีที่แล้วอยู่ที่ 74,495 รูเปีย)
ซีอีโอแอร์เอเชีย ยังกล่าวด้วยว่า รายได้ในส่วน ancillary ที่เติบโตขึ้นกับการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้โดยสาร เป็นสิ่งที่ยืนยันได้อย่างดีถึงความสำเร็จในกลยุทธ์ของบริษัทที่มองไปนอกเหนือจากเรื่องค่าโดยสาร ไปเพิ่มรายได้ในส่วนอื่น ทั้งนี้ในส่วนธุรกิจ ancillary ยังมีศักยภาพอยู่มาก และแอร์เอเชียยังเดินหน้าต่อเนื่องเพื่อเพิ่มรายได้ในส่วนนี้
ซีอีโอแอร์เอเชีย กล่าวถึงผลการดำเนินงานในไตรมาสที่ 4 ด้วยว่า ในส่วนของไทยแอร์เอเชียมีรายได้อยู่ที่ 3,744 ล้านบาท เติบโตขึ้น 29% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว กำไรสุทธิหลังจากหักภาษีเพิ่มขึ้น 364% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว รายได้ในส่วน ancillary ต่อผู้โดยสาร 1 คนที่ใช้ในประเทศไทยเพิ่มขึ้น 109% ทั้งนี้เมื่อสิ้นสุดปี 2553 ไทยแอร์เอเชียมีฝูงบินแอร์บัส เอ320 ทั้งหมด 19 ลำ(รับเครื่องบินแอร์บัส เอ320 ลำที่ 20 เดือน ม.ค.2554 ที่ผ่านมา) และจะเพิ่มอีก 4 ลำในปี 2554
ด้านแอร์เอเชียอินโดนีเซีย มีรายได้รวมอยู่ที่ 795,750 ล้านรูเปีย เพิ่มขึ้น 38% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ขณะที่รายได้ในส่วน ancillary เติบโตอย่างเป็นประวัติการณ์ เพิ่มขึ้น 108% อัตราการบรรทุกผู้โดยสารเฉลี่ยเพิ่มเป็น 78% (จากปีที่แล้วที่มีอยู่ 74%) ทั้งนี้กำไรสุทธิหลังหักภาษีอยู่ที่ 166,634 ล้านรูเปีย เพิ่มขึ้น 214% แม้ว่าในไตรมาสสุดท้ายจะค่อนข้างเงียบเหงา เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่สองและไตรมาสที่สาม แต่แอร์เอเชียอินโดนีเซียยังสามารถเพิ่มค่าโดยสารเฉลี่ยต่อหัวได้ ทั้งนี้ฝูงบินเมื่อสิ้นปี 2553 มีอยู่ที่ 18 ลำ
“ผลงานของทั้งไทยแอร์เอเชียและแอร์เอเชีย อินโดนีเซียบอกได้อย่างดีถึงศักยภาพของเราที่จะเข้าสู่ตลาดหุ้นในกรุงเทพฯ และจาร์กาตา ในปี 2011 นี้ ทีมผู้บริหารของเราในทั้ง 2 ประเทศยืนยันว่ากลยุทธ์ของเราเดินมาถูกทางแล้ว” เฟอร์นานเดสกล่าว
เฟอร์นานเดส ได้กล่าวถึงเป้าหมายในปี 2011 ว่า “ความสำเร็จเกินคาดในปี 2010 ที่ผ่านมา ถือเป็นการสร้างความท้าทายครั้งใหม่ ผมมั่นใจว่าเราสามารถทำได้อีกครั้ง ด้วยแผนการที่จะขยายเส้นทางการบินและฐานการบิน ในปีนี้เราจะมีเครื่องบินแอร์บัส เอ320 ลำใหม่มาร่วมฝูงบินอีก 8 ลำ และเราจะเปิดฮับใหม่อีก 3 แห่งที่คูชิง เชียงใหม่ และเมดาน ในปีนี้เราจะเน้นให้ความสำคัญกับการเพิ่มอัตราการบรรทุกผู้โดยสารเฉลี่ยและการเพิ่มรายได้”
“เราได้ประกาศจำนวนฝูงบินที่จะเพิ่มขึ้นจนถึงปี 2555 ซึ่งจะมาเพิ่มอีก 14 ลำ จากเดิมที่เราคาดการณ์ไว้ 24 ลำ แต่เราก็ได้ปรับแผนการไว้รองรับแล้ว เรามีวิสัยทัศน์อยู่แล้วว่าเราต้องการทำอะไร แต่เราสามารถเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วเมื่อเกิดเหตุจำเป็น สิ่งนี้ทำให้มั่นใจว่าเราจะเผชิญกับทุกความท้าทายได้เป็นอย่างดี” ซีอีโอแอร์เอเชียกล่าวเพิ่มเติม
เฟอร์นานเดส ยังกล่าวอีกว่า พนักงานที่เต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์และความกระตือรือร้นกว่า 8,000 คนของแอร์เอเชียมีส่วนสนับสนุนอย่างมากที่ทำให้เราประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย พวกเขายังคงทำงานอย่างหนักเพื่อให้แน่ใจว่าเราจะยังคงประสบความสำเร็จมากขึ้นไปอีก
“ในส่วนของไทยแอร์เอเชียและแอร์เอเชีย อินโดนีเซีย กำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ของกรุงเทพฯและจาร์กาตาตามลำดับ ซึ่งเป็นเป้าหมายที่น่าตื่นเต้น ทั้งนี้ด้วยผลงานในปี 2553 เชื่อว่าจะสามารถกระตุ้นความต้องการของนักลงทุนได้อย่างแน่นอน” ซีอีโอแอร์เอเชียกล่าว
เฟอร์นานเดส ยังได้กล่าวถึง การเปิดตัวแอร์เอเชีย ฟิลิปปินส์ ในปี 2554 นี้ด้วยว่า จะเปิดเที่ยวบินปฐมฤกษ์ในช่วงครึ่งปีหลัง เขาเชื่อว่าฟิลิปปินส์เป็นตลาดที่มีศักยภาพอย่างยิ่ง โดยเฉพาะจะเป็นการเชื่อมโยงอาเซียนเข้าด้วยกัน ด้วยค่าโดยสารราคาประหยัดในแบบของแอร์เอเชีย
เฟอร์นานเดส แสดงความเห็นเพิ่มเติมว่า ปัจจัยภายนอกที่นอกเหนือการความคุมอาจมีผลกับแผนของบริษัทในปี 2554 นี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เขาได้กล่าวถึงพัฒนาการด้านภูมิศาสตร์การเมืองในแถบตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ และความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจระดับโลกว่าอาจจะมีผลต่อราคาน้ำมัน ซึ่งเราคอยตรวจสอบสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เราได้หาทางลดความเสี่ยงในระยะสั้นสำหรับช่วงไตรมาสที่ 2 ของปีนี้แล้ว และจะมีการเพิ่มแผนสำรองอื่น หากสถานการณ์เปลี่ยนแปลง ทั้งนี้เรายังคงตัดสินใจจะรักษาราคาโดยสารแบบประหยัดไว้ เรายังไม่ต้องเรียกเก็บค่าธรรมเนียมน้ำมันหรือขึ้นราคา ต้องขอบคุณรายได้ในส่วน ancillary ที่ทำให้เราอยู่ในตำแหน่งที่ดีกว่าคู่แข่งหากถึงจุดที่เราต้องตัดสินใจ
โมเดลธุรกิจของ TAA พิสูจน์ความสำเร็จได้ เพราะทำจริงจัง ไม่ได้ทำแค่สร้างภาพ แม้ในไทยที่ไม่มีตัวช่วย ก็ยังพลิกมากำไร เอ ผมเชียร์มากไปหรือเปล่าหนอ แต่รู้สึกตื่นเต้นว่าจะมีสายการบินใหม่ให้เลือกลงทุนเสียที
แชทบอทสำหรับนักลงทุนเน้นคุณค่า
https://www.chathoon.com/
https://www.chathoon.com/
- OutOfMyMind
- Verified User
- โพสต์: 1232
- ผู้ติดตาม: 0
Re: TAA : Thai AirAsia พร้อมเข้าตลาดหรือยังครับ?
โพสต์ที่ 19
อยากเรียนถามทาง TVI ว่า เราสามารถเอากระทู้นี้เข้าร้อยคนร้อยหุ้น เตรียมไว้ล่วงหน้าเลยหรือไม่ เพื่อรวบรวมข้อมูลของ TAA ไว้ไม่ให้กระจัดกระจายไปหลาย ๆ กระทู้ครับ
ขอบพระคุณครับ
ขอบพระคุณครับ
แชทบอทสำหรับนักลงทุนเน้นคุณค่า
https://www.chathoon.com/
https://www.chathoon.com/
- Ii'8N
- Verified User
- โพสต์: 3682
- ผู้ติดตาม: 0
Re: TAA : Thai AirAsia พร้อมเข้าตลาดหรือยังครับ?
โพสต์ที่ 20
ผม key คำว่า air asia ในช่องร้อยคนร้อยหุ้นขวามือบน มันก็วิ่งไปที่ air asia อยู่แล้วครับ แต่เป็น ผมว่า เพราะยังไม่รู้จะใส่ชื่อย่อหุ้นอะไรดีมากกว่า
แต่ที่วิ่งไป เป็นห้องการลงทุนต่างประเทศ ลองดูนะครับ
แต่ที่วิ่งไป เป็นห้องการลงทุนต่างประเทศ ลองดูนะครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 297
- ผู้ติดตาม: 0
Re: TAA : Thai AirAsia พร้อมเข้าตลาดหรือยังครับ?
โพสต์ที่ 21
รออย่างใจจดจ่อครับ บริษัทนี้ดีจริงๆ ขอให้ IPO ไม่แพงมากนะครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 68
- ผู้ติดตาม: 0
Re: TAA : Thai AirAsia พร้อมเข้าตลาดหรือยังครับ?
โพสต์ที่ 22
จากประเด็นต่าง ๆ ที่กล่าวข้างต้น สำหรับผมแล้ว หุ้น IPO นั้น มักเป็นหุ้นที่ผมจะหลีกเลี่ยงโดยเฉพาะถ้าจะถือเพื่อเป็นการลงทุนระยะยาว ราคาขายหุ้นจองนั้น ถ้าไม่ใช่หุ้นรัฐวิสาหกิจผมเชื่อว่าน้อยครั้งที่จะถูกกว่าพื้นฐานตามที่ที่ปรึกษาและผู้รับประกันการจำหน่ายหุ้นอ้าง ผมเชื่อตามคำพูดส่อเสียดที่ว่า IPO แปลว่า It Probably Overpriced หรือ “มันน่าจะมีราคาสูงเกินไป” อย่างไรก็ตาม สำหรับหุ้น IPO บางตัวก็อาจจะไม่เป็นอย่างนั้น การที่จะดูว่า IPO ตัวไหนอาจจะเป็นข้อยกเว้นนั้น คงต้องดูในแต่ละประเด็นที่ผมพูดถึง ถ้าดูแล้ว มี “อาการ” หลาย ๆ อย่างที่เข้าข่ายน่าสงสัยว่าจะเป็น “มะนาว” นั่นคือ เป็นหุ้นที่ซื้อแล้วมีโอกาสขาดทุนเพราะเป็นหุ้นที่มีการแต่งตัวมาขายอย่างน่าเกลียดเราก็ควรจะหลีกเลี่ยง ที่ยิ่งต้องระวังมากกว่านั้นก็คือ อย่าเข้าไปเล่นหลังจากที่ราคาหุ้นสูงขึ้นไปมากจากราคา IPO หลังจากที่หุ้นเข้าซื้อขายในตลาดแล้
according to ในช่วงที่ตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นต่อเนื่องเป็.... http://www.thaivi.com/2010/11/586/
according to ในช่วงที่ตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นต่อเนื่องเป็.... http://www.thaivi.com/2010/11/586/
If a business does well, the stock eventually follows.
- Ii'8N
- Verified User
- โพสต์: 3682
- ผู้ติดตาม: 0
Re: TAA : Thai AirAsia พร้อมเข้าตลาดหรือยังครับ?
โพสต์ที่ 23
http://www.bangkokpost.com/business/avi ... ai-airasia
AVIATION
Mystery woman bids for Thai AirAsia
Published: 22/02/2011 at 12:00 AM
Newspaper section: Business
A mysterious Thai businesswoman said to be involved in international real estate is making a bid to acquire Thai AirAsia (TAA), an offer the budget airline's management has called "amusing".
Suyawanee Duangpraow, who says she is the president of Nice Life International Co, told the Bangkok Post yesterday her intention to buy the Thai unit of AirAsia Bhd, Southeast Asia's largest low-cost carrier group based in Malaysia.
Speaking with a southern Thai accent, the 48-year-old businesswoman said she is prepared to pay "any price" to gain sole ownership of TAA due to a "fondness for the aviation business".
The TAA acquisition would complement a broader business portfolio including hotel and real estate ventures in Bangkok and Phuket she plans to create, Mrs Suyawanee said on the telephone.
She has not directly contacted TAA management about her offer, but rather wants to send out feelers through the media to see how the airline reacts.
She appointed Kraetphaisal Munsida, the marketing manager in the Malaysian Embassy's commercial and investment office, to broker the deal.
"I wish to see a deal closed this year."
She said financing for the acquisition is available to her from London and Hong Kong as well as private sources.
Separately, Mr Kraetphaisal noted TAA's recent announcement it will float its shares on the Stock Exchange of Thailand (SET) in the third quarter spurred Mrs Suyawanee's interest.
TAA management treated her offer and the background of Nice Life International Co with scepticism.
Business Development Department records show Nice Life International has registered capital of 25 billion baht, an unusually large amount for a real estate firm that seems to be unknown within the industry.
"Is this a joke or something ?" laughed Tassapon Bijleveld, TAA's chief executive. "Do you think we should take this sort of hot air seriously?"
He confirmed he had neither heard about the proposal nor been contacted by Mrs Suyawanee by any means and questioned her motives in making the proposition indirectly instead of through normal business channels.
"Whatever proposition she may make, let me make it crystal clear - TAA is not for sale to any individual ahead of the planned IPO," said Mr Tassapon.
He emphasised that the only way TAA ownership would change hands is via a SET transaction.
With a net asset value of at least 25-30 billion baht, any individual who really wanted to buy TAA single-handedly must be extremely well-heeled, or at least known in society, Mr Tassapon added.
About the author
Writer: Boonsong Kositchotethana
Position: Deputy Editor Business
AVIATION
Mystery woman bids for Thai AirAsia
Published: 22/02/2011 at 12:00 AM
Newspaper section: Business
A mysterious Thai businesswoman said to be involved in international real estate is making a bid to acquire Thai AirAsia (TAA), an offer the budget airline's management has called "amusing".
Suyawanee Duangpraow, who says she is the president of Nice Life International Co, told the Bangkok Post yesterday her intention to buy the Thai unit of AirAsia Bhd, Southeast Asia's largest low-cost carrier group based in Malaysia.
Speaking with a southern Thai accent, the 48-year-old businesswoman said she is prepared to pay "any price" to gain sole ownership of TAA due to a "fondness for the aviation business".
The TAA acquisition would complement a broader business portfolio including hotel and real estate ventures in Bangkok and Phuket she plans to create, Mrs Suyawanee said on the telephone.
She has not directly contacted TAA management about her offer, but rather wants to send out feelers through the media to see how the airline reacts.
She appointed Kraetphaisal Munsida, the marketing manager in the Malaysian Embassy's commercial and investment office, to broker the deal.
"I wish to see a deal closed this year."
She said financing for the acquisition is available to her from London and Hong Kong as well as private sources.
Separately, Mr Kraetphaisal noted TAA's recent announcement it will float its shares on the Stock Exchange of Thailand (SET) in the third quarter spurred Mrs Suyawanee's interest.
TAA management treated her offer and the background of Nice Life International Co with scepticism.
Business Development Department records show Nice Life International has registered capital of 25 billion baht, an unusually large amount for a real estate firm that seems to be unknown within the industry.
"Is this a joke or something ?" laughed Tassapon Bijleveld, TAA's chief executive. "Do you think we should take this sort of hot air seriously?"
He confirmed he had neither heard about the proposal nor been contacted by Mrs Suyawanee by any means and questioned her motives in making the proposition indirectly instead of through normal business channels.
"Whatever proposition she may make, let me make it crystal clear - TAA is not for sale to any individual ahead of the planned IPO," said Mr Tassapon.
He emphasised that the only way TAA ownership would change hands is via a SET transaction.
With a net asset value of at least 25-30 billion baht, any individual who really wanted to buy TAA single-handedly must be extremely well-heeled, or at least known in society, Mr Tassapon added.
About the author
Writer: Boonsong Kositchotethana
Position: Deputy Editor Business
- Ii'8N
- Verified User
- โพสต์: 3682
- ผู้ติดตาม: 0
Re: TAA : Thai AirAsia พร้อมเข้าตลาดหรือยังครับ?
โพสต์ที่ 24
http://www.manager.co.th/StockMarket/Vi ... 0000028440
"ไทยแอร์เอเชีย" จ่อกระโดดเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ-มีแผนกระจายหุ้น 25%
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 4 มีนาคม 2554 15:48 น.
ภาพประกอบอินเทอร์เน็ต
"ไทยแอร์เอเชีย" ประเิดิมขายหุ้น IPO พร้อมเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ในไตรมาสสุุดท้ายของปีนี้ โดยผู้บริหารเผยมีแผนกระจายหุ้นกว่า 25% ระดมทุนไปใช้หมุนเวียนรายจ่าย รวมทั้งใช้หนี้เอาเงินซื้อหุ้นชินฯ
วันนี้ (4 มี.ค.) มีรายงานข่าวจาก บริษัทไทยแอร์เอเชีย จำกัด ระบุว่า เตรียมเสนอขายหุ้นแก่ประชาชนทั่วไปครั้งแรก(IPO) และนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(SET) ในไตรมาส 4/54 ซึ่งบริษัทจะแถลงข่าวเรื่องดังกล่าวอีกครั้ง ในวันที่ 7 มี.ค.นี้
โดยเมื่อเดือนที่ผ่านมา นายทัศพล แบเลเว็ลด์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทไทยแอร์เอเชีย จำกัด กล่าวว่า ได้เลือกบริษัทที่ปรึกษาทางการเงินแล้ว โดยมี แผนกระจายหุ้นในตลาดไม่น้อยกว่า 25% โดยเงินที่ได้จากการระดมทุน จะนำไปเป็นเงินทุนหมุนเวียนของบริษัท และส่วนหนึ่ง จะนำไปใช้หนี้ผู้ถือหุ้นที่ไปซื้อหุ้นมาจากบมจ.ชินคอร์ปอเรชั่น (SHIN)
"ไทยแอร์เอเชีย" จ่อกระโดดเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ-มีแผนกระจายหุ้น 25%
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 4 มีนาคม 2554 15:48 น.
ภาพประกอบอินเทอร์เน็ต
"ไทยแอร์เอเชีย" ประเิดิมขายหุ้น IPO พร้อมเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ในไตรมาสสุุดท้ายของปีนี้ โดยผู้บริหารเผยมีแผนกระจายหุ้นกว่า 25% ระดมทุนไปใช้หมุนเวียนรายจ่าย รวมทั้งใช้หนี้เอาเงินซื้อหุ้นชินฯ
วันนี้ (4 มี.ค.) มีรายงานข่าวจาก บริษัทไทยแอร์เอเชีย จำกัด ระบุว่า เตรียมเสนอขายหุ้นแก่ประชาชนทั่วไปครั้งแรก(IPO) และนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(SET) ในไตรมาส 4/54 ซึ่งบริษัทจะแถลงข่าวเรื่องดังกล่าวอีกครั้ง ในวันที่ 7 มี.ค.นี้
โดยเมื่อเดือนที่ผ่านมา นายทัศพล แบเลเว็ลด์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทไทยแอร์เอเชีย จำกัด กล่าวว่า ได้เลือกบริษัทที่ปรึกษาทางการเงินแล้ว โดยมี แผนกระจายหุ้นในตลาดไม่น้อยกว่า 25% โดยเงินที่ได้จากการระดมทุน จะนำไปเป็นเงินทุนหมุนเวียนของบริษัท และส่วนหนึ่ง จะนำไปใช้หนี้ผู้ถือหุ้นที่ไปซื้อหุ้นมาจากบมจ.ชินคอร์ปอเรชั่น (SHIN)
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
Re: TAA : Thai AirAsia พร้อมเข้าตลาดหรือยังครับ?
โพสต์ที่ 25
ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- จันทร์ที่ 7 มีนาคม 2554 10:26:25 น.
นายทัศพล แบเลเว็ลด์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายการบินไทยแอร์เอเชีย เปิดเผยว่า บริษัทจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในไตรมาส 4/54 โดยจะระดมทุนผ่านการเสนอขายหุ้น IPO อย่างน้อย 150 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีที่ปรึกษา ได้แก่ บล.เครดิตสวิส (ประเทศไทย ) บล.ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) และ บล.ธนชาต
ทั้งนี้ เงินที่ระดมทุนได้จะนำมาใช้การลงทุนในอนาคต และรับมอบเครื่องบินใหม่ 20 ลำ เป็นเครื่องแอร์บัส A320
ในปี 54 บริษัทตั้งเป้ามีจำนวนผู้โดยสารทั้งในและต่างประเทศเพิ่มเป็น 7 ล้านคน เนื่องจากตลาดการบินปีนี้ยังขยายตัวตามความต้องการเดินทางในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคที่อยู่ในระดับสูง
สำหรับในปี 53 บริษัทมีรายได้รวม 1.24 หมื่นล้านบาท กำไรสุทธิ 2.84 พันล้านบาท อัตราขนส่งผู้โดยสารเฉลี่ย 78% และมีผู้โดยสารที่เดินทางกับสายการบินไทยแอร์เอเชีย 5.8 ล้านคน และในปี 53 ไทยแอร์เอเชียเปิดเส้นทางการบินใหมี่ที่อินเดียในเมืองเดลี และเมืองโกลกาตา
--อินโฟเควสท์ โดย สารภี สายะเวส/เสาวลักษณ์/ศศิธร โทร.02-2535000 ต่อ 345 อีเมล์: [email protected]--
นายทัศพล แบเลเว็ลด์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายการบินไทยแอร์เอเชีย เปิดเผยว่า บริษัทจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในไตรมาส 4/54 โดยจะระดมทุนผ่านการเสนอขายหุ้น IPO อย่างน้อย 150 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีที่ปรึกษา ได้แก่ บล.เครดิตสวิส (ประเทศไทย ) บล.ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) และ บล.ธนชาต
ทั้งนี้ เงินที่ระดมทุนได้จะนำมาใช้การลงทุนในอนาคต และรับมอบเครื่องบินใหม่ 20 ลำ เป็นเครื่องแอร์บัส A320
ในปี 54 บริษัทตั้งเป้ามีจำนวนผู้โดยสารทั้งในและต่างประเทศเพิ่มเป็น 7 ล้านคน เนื่องจากตลาดการบินปีนี้ยังขยายตัวตามความต้องการเดินทางในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคที่อยู่ในระดับสูง
สำหรับในปี 53 บริษัทมีรายได้รวม 1.24 หมื่นล้านบาท กำไรสุทธิ 2.84 พันล้านบาท อัตราขนส่งผู้โดยสารเฉลี่ย 78% และมีผู้โดยสารที่เดินทางกับสายการบินไทยแอร์เอเชีย 5.8 ล้านคน และในปี 53 ไทยแอร์เอเชียเปิดเส้นทางการบินใหมี่ที่อินเดียในเมืองเดลี และเมืองโกลกาตา
--อินโฟเควสท์ โดย สารภี สายะเวส/เสาวลักษณ์/ศศิธร โทร.02-2535000 ต่อ 345 อีเมล์: [email protected]--
- Ii'8N
- Verified User
- โพสต์: 3682
- ผู้ติดตาม: 0
Re: TAA : Thai AirAsia พร้อมเข้าตลาดหรือยังครับ?
โพสต์ที่ 26
กรุงเทพธุรกิจ Video
วันจันทร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2554 RSS
วันที่ 7 มีนาคม 2554 15:21
ไทยแอร์เอเซียเข้าตลาดหุ้นไตรมาส4
ทัศพล แบเลเว็ลด์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายการบินไทยแอร์เอเซีย เผยเตรียมดันไทยแอร์เอเซียเข้าตลาดหุ้นไตรมาส 4 ปีนี้ ภาพ/ข่าว ศนิชา ละครพล
http://www.bangkokbiznews.com/home/vide ... §ion=3
วันจันทร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2554 RSS
วันที่ 7 มีนาคม 2554 15:21
ไทยแอร์เอเซียเข้าตลาดหุ้นไตรมาส4
ทัศพล แบเลเว็ลด์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายการบินไทยแอร์เอเซีย เผยเตรียมดันไทยแอร์เอเซียเข้าตลาดหุ้นไตรมาส 4 ปีนี้ ภาพ/ข่าว ศนิชา ละครพล
http://www.bangkokbiznews.com/home/vide ... §ion=3
- OutOfMyMind
- Verified User
- โพสต์: 1232
- ผู้ติดตาม: 0
Re: TAA : Thai AirAsia พร้อมเข้าตลาดหรือยังครับ?
โพสต์ที่ 27
ไทยแอร์เอเชียแต่งตั้ง 3 อันเดอร์ไรท์เตอร์ พร้อมเดินหน้าเข้าตลาดหลักทรัพย์ไตรมาส 4 ปีนี้
ข่าวท่องเที่ยว ThaiPR.net -- อังคารที่ 8 มีนาคม 2554 12:23:13 น.
ดูรูปทั้งหมด
กรุงเทพฯ--8 มี.ค.--สายการบินไทยแอร์เอเชีย
สายการบินไทยแอร์เอเชีย หนึ่งในกลุ่มสายการบินแอร์เอเชีย ซึ่งเป็นสายการบินราคาประหยัดที่ดีที่สุดในโลก จากการจัดอันดับของสกายแทรกซ์ 2 ปีซ้อน แสดงความพร้อมประกาศแต่งตั้ง 3 บริษัทที่ปรึกษาทางการเงินและแกนนำในการจัดจำหน่าย (Underwriter) ในการขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้กับประชาชนทั่วไปครั้งแรก(IPO) วันนี้ พุ่งเป้าเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ภายในไตรมาส 4 ปีนี้
นายทัศพล แบเลเว็ลด์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายการบินไทยแอร์เอเชีย กล่าวว่า ไทยแอร์เอเชียตกลงให้ 3 บริษัทหลักทรัพย์ ที่เป็นมืออาชีพและมีความน่าเชื่อถืออย่าง บริษัทหลักทรัพย์ เครดิต สวิส (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทหลักทรัพย์ ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัทหลักทรัพย์ ธนชาต จำกัด (มหาชน) เป็นแกนนำในการจัดจำหน่าย (Lead Underwriter) หุ้นไอพีโอครั้งนี้ โดยจะระดมทุนเพื่อนำมาใช้สนับสนุนการลงทุนในอนาคต รวมถึงการรับมอบเครื่องบินใหม่อีก 20 ลำเพื่อประจำการฝูงบินด้วย โดยไทยแอร์เอเชียคาดหวังที่จะระดมทุนให้ได้อย่างน้อย 150 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ทั้งนี้คาดว่าหุ้นไทยแอร์เอเชียจะเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (The Stock Exchange of Thailand: SET) ได้ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2554
ด้านผลประกอบการของสายการบินไทยแอร์เอเชีย ในปี 2553 ที่ผ่านมา พบว่ามีรายได้รวม 12,400 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 33% เมื่อเทียบกับปี 2552 ส่งผลให้มีกําไรสุทธิหลังหักภาษีอยู่ที่ 2,846 ล้านบาท ด้านอัตราการขนส่งผู้โดยสารเฉลี่ย (Load Factor) อยู่ที่ 78% การเติบโตของจำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้น 16% เมื่อเทียบกับปี 2552 โดยตลอดทั้งปี 2553 มีผู้โดยสารเดินทางกับสายการบินทั้งหมด 5.8 ล้านคน ทำให้บริษัทก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำตลาดสายการบินราคาประหยัดในประเทศไทย
ทั้งนี้สายการบินมีรายได้ในส่วนของบริการเสริมพิเศษ (Ancillary) รายได้เพิ่มขึ้นอย่างมาก ซึ่งเป็นส่วนสำคัญต่อผลกำไรของบริษัทในปีที่ผ่านมา โดยยอดใช้จ่าย Ancillary ต่อผู้โดยสาร 1 คน เท่ากับ 310 บาท ซึ่งเพิ่มขึ้น 62% เมื่อเทียบกับปี 2552
สิ่งที่สำคัญที่สุดในปี 2553 คือไทยแอร์เอเชียเริ่มลงทุนในตลาดอินเดีย เริ่มบินตรงจากกรุงเทพฯสู่เดลีและโกลกาตา ซึ่งเป็นตลาดที่มีความต้องการเดินทางสูงและสามารถเติบโตได้อย่างมีศักยภาพ ทั้งนี้เรายังมีแผนในการเพิ่มเส้นทางบินใหม่สู่เมืองอื่นๆ ในอินเดียและจีน เมื่อทยอยรับเครื่องบินใหม่เข้าประจำการ
“ด้วยผลการดำเนินงานที่เข้มแข็งในปี 2553 เรามั่นใจว่าขณะนี้เป็นเวลาที่เหมาะสมที่จะเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับบริษัทด้วยการระดมทุน” นายทัศพลระบุในปีนี้เราจะรับมอบเครื่องบินแอร์บัส เอ320 เพิ่มเติมจากฝูงบิน 20 ลำที่เรามีอยู่ โดยเราตั้งเป้าหมายระยะกลางว่าจะรับมอบเครื่องบินให้ได้อย่างน้อย 40 ลำ ทั้งนี้เราเชื่อว่าการระดุมทุนจากการทำไอพีโอจะช่วยกระตุ้นการเติบโตได้มากขึ้นกว่าที่ผ่านมา ซีอีโอไทยแอร์เอเชียกล่าวพร้อมเพิ่มเติมว่า
“สายการบินไทยแอร์เอเชียกำลังเข้าสู่ปีที่ 8 ของการดำเนินธุรกิจ โดยในปีนี้เราตั้งเป้าจะเพิ่มผู้โดยสารทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศเป็น 7 ล้านคน ภาพรวมโดยทั่วไปของเศรษฐกิจไทยในปีนี้ยังคงเป็นบวก ตลาดการบินยังคงขยายตัวและความต้องการการเดินทางในแถบภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ยังคงสูงอยู่”
ทั้งนี้ นายทัศพล กล่าวสรุปว่า ไทยแอร์เอเชียยังเดินหน้าเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับจุดเชื่อมต่อของเราในทุกจุดหมายที่เราให้บริการการบิน โดยจะเพิ่มความถี่ของเที่ยวบินและความหลากหลายของจุดหมาย เป้าหมายของไทยแอร์เอเชียคือการเพิ่มความเข้มแข็งทั้งการเดินทางภายในและ ระหว่างประเทศด้วยฐานการบินในประเทศไทยทั้ง 3 แห่ง คือ กรุงเทพฯ ภูเก็ต และเชียงใหม่ เรายังเดินหน้าภารกิจนี้ต่อไปและเชื่อว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ดี เพราะพวกเรามั่นใจในสภาพการเงิน รวมทั้งวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ว่าจะสามารถดึงดูดนักลงทุนได้อย่างแน่นอน”
สอบถามเพิ่มเติมที่: ฝ่ายสื่อสารองค์กร สายการบินแอร์เอเชีย
ณัฐวุฒิ จิตต์อาจหาญ [email protected]
กฤติยาวดี พงษ์พาณิชย์ [email protected]
ปิยสุดา อาชาสันติสุข [email protected]
ข่าวท่องเที่ยว ThaiPR.net -- อังคารที่ 8 มีนาคม 2554 12:23:13 น.
ดูรูปทั้งหมด
กรุงเทพฯ--8 มี.ค.--สายการบินไทยแอร์เอเชีย
สายการบินไทยแอร์เอเชีย หนึ่งในกลุ่มสายการบินแอร์เอเชีย ซึ่งเป็นสายการบินราคาประหยัดที่ดีที่สุดในโลก จากการจัดอันดับของสกายแทรกซ์ 2 ปีซ้อน แสดงความพร้อมประกาศแต่งตั้ง 3 บริษัทที่ปรึกษาทางการเงินและแกนนำในการจัดจำหน่าย (Underwriter) ในการขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้กับประชาชนทั่วไปครั้งแรก(IPO) วันนี้ พุ่งเป้าเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ภายในไตรมาส 4 ปีนี้
นายทัศพล แบเลเว็ลด์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายการบินไทยแอร์เอเชีย กล่าวว่า ไทยแอร์เอเชียตกลงให้ 3 บริษัทหลักทรัพย์ ที่เป็นมืออาชีพและมีความน่าเชื่อถืออย่าง บริษัทหลักทรัพย์ เครดิต สวิส (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทหลักทรัพย์ ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัทหลักทรัพย์ ธนชาต จำกัด (มหาชน) เป็นแกนนำในการจัดจำหน่าย (Lead Underwriter) หุ้นไอพีโอครั้งนี้ โดยจะระดมทุนเพื่อนำมาใช้สนับสนุนการลงทุนในอนาคต รวมถึงการรับมอบเครื่องบินใหม่อีก 20 ลำเพื่อประจำการฝูงบินด้วย โดยไทยแอร์เอเชียคาดหวังที่จะระดมทุนให้ได้อย่างน้อย 150 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ทั้งนี้คาดว่าหุ้นไทยแอร์เอเชียจะเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (The Stock Exchange of Thailand: SET) ได้ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2554
ด้านผลประกอบการของสายการบินไทยแอร์เอเชีย ในปี 2553 ที่ผ่านมา พบว่ามีรายได้รวม 12,400 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 33% เมื่อเทียบกับปี 2552 ส่งผลให้มีกําไรสุทธิหลังหักภาษีอยู่ที่ 2,846 ล้านบาท ด้านอัตราการขนส่งผู้โดยสารเฉลี่ย (Load Factor) อยู่ที่ 78% การเติบโตของจำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้น 16% เมื่อเทียบกับปี 2552 โดยตลอดทั้งปี 2553 มีผู้โดยสารเดินทางกับสายการบินทั้งหมด 5.8 ล้านคน ทำให้บริษัทก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำตลาดสายการบินราคาประหยัดในประเทศไทย
ทั้งนี้สายการบินมีรายได้ในส่วนของบริการเสริมพิเศษ (Ancillary) รายได้เพิ่มขึ้นอย่างมาก ซึ่งเป็นส่วนสำคัญต่อผลกำไรของบริษัทในปีที่ผ่านมา โดยยอดใช้จ่าย Ancillary ต่อผู้โดยสาร 1 คน เท่ากับ 310 บาท ซึ่งเพิ่มขึ้น 62% เมื่อเทียบกับปี 2552
สิ่งที่สำคัญที่สุดในปี 2553 คือไทยแอร์เอเชียเริ่มลงทุนในตลาดอินเดีย เริ่มบินตรงจากกรุงเทพฯสู่เดลีและโกลกาตา ซึ่งเป็นตลาดที่มีความต้องการเดินทางสูงและสามารถเติบโตได้อย่างมีศักยภาพ ทั้งนี้เรายังมีแผนในการเพิ่มเส้นทางบินใหม่สู่เมืองอื่นๆ ในอินเดียและจีน เมื่อทยอยรับเครื่องบินใหม่เข้าประจำการ
“ด้วยผลการดำเนินงานที่เข้มแข็งในปี 2553 เรามั่นใจว่าขณะนี้เป็นเวลาที่เหมาะสมที่จะเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับบริษัทด้วยการระดมทุน” นายทัศพลระบุในปีนี้เราจะรับมอบเครื่องบินแอร์บัส เอ320 เพิ่มเติมจากฝูงบิน 20 ลำที่เรามีอยู่ โดยเราตั้งเป้าหมายระยะกลางว่าจะรับมอบเครื่องบินให้ได้อย่างน้อย 40 ลำ ทั้งนี้เราเชื่อว่าการระดุมทุนจากการทำไอพีโอจะช่วยกระตุ้นการเติบโตได้มากขึ้นกว่าที่ผ่านมา ซีอีโอไทยแอร์เอเชียกล่าวพร้อมเพิ่มเติมว่า
“สายการบินไทยแอร์เอเชียกำลังเข้าสู่ปีที่ 8 ของการดำเนินธุรกิจ โดยในปีนี้เราตั้งเป้าจะเพิ่มผู้โดยสารทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศเป็น 7 ล้านคน ภาพรวมโดยทั่วไปของเศรษฐกิจไทยในปีนี้ยังคงเป็นบวก ตลาดการบินยังคงขยายตัวและความต้องการการเดินทางในแถบภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ยังคงสูงอยู่”
ทั้งนี้ นายทัศพล กล่าวสรุปว่า ไทยแอร์เอเชียยังเดินหน้าเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับจุดเชื่อมต่อของเราในทุกจุดหมายที่เราให้บริการการบิน โดยจะเพิ่มความถี่ของเที่ยวบินและความหลากหลายของจุดหมาย เป้าหมายของไทยแอร์เอเชียคือการเพิ่มความเข้มแข็งทั้งการเดินทางภายในและ ระหว่างประเทศด้วยฐานการบินในประเทศไทยทั้ง 3 แห่ง คือ กรุงเทพฯ ภูเก็ต และเชียงใหม่ เรายังเดินหน้าภารกิจนี้ต่อไปและเชื่อว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ดี เพราะพวกเรามั่นใจในสภาพการเงิน รวมทั้งวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ว่าจะสามารถดึงดูดนักลงทุนได้อย่างแน่นอน”
สอบถามเพิ่มเติมที่: ฝ่ายสื่อสารองค์กร สายการบินแอร์เอเชีย
ณัฐวุฒิ จิตต์อาจหาญ [email protected]
กฤติยาวดี พงษ์พาณิชย์ [email protected]
ปิยสุดา อาชาสันติสุข [email protected]
แชทบอทสำหรับนักลงทุนเน้นคุณค่า
https://www.chathoon.com/
https://www.chathoon.com/
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: TAA : Thai AirAsia พร้อมเข้าตลาดหรือยังครับ?
โพสต์ที่ 28
ไทยแอร์เอเชียปรับโครงสร้างเลื่อนเทรดไตรมาสแรกปีหน้า [ กรุงเทพธุรกิจ, 20 ก.ย. 54 ]
ไทยแอร์เอเชีย เลื่อนเข้าตลาดหุ้นเป็นไตรมาส 1 ปีหน้า ที่ปรึกษาการเงินระบุเหตุอยู่ระหว่าง
ดำเนินการปรับโครงสร้างภายในบริษัท บล.ซีไอเอ็มบีเชื่อหุ้นไอพีโอยังคึกแม้ภาวะหุ้นผันผวนขณะที่แอดไว
เซอรี่ พลัส มั่นใจแรงกดดันจากเศรษฐกิจไม่กระทบแผนระดมทุนผ่านไอพีโอ
'ไอพีโอ' ต้องมีของแถมดึงดูด ขายหุ้นในภาวะตลาดไม่เป็นใจ แอร์เอเชียยืดเข้าตลท.ต้นปี'55 [ โพสต์ทูเดย์, 20 ก.ย. 54 ]
ไอพีโอเหนื่อย ขายหุ้นต้องมีส่วนลด-เงินปันผลต่อนักลงทุนในภาวะตลาดผันผวน
นายประเสริฐ ภัทรดิลก กรรมการผู้อำนวยการ บิรษัท แอดไวเซอรี่ พลัส กล่าวว่า ตลาดหุ้นที่
ผันผวนตามปัญหาหนี้สินยุโรปและเศรษฐกิจสหรัฐ ทำให้บริษัทที่ปรึกษาการเงินและผู้รับประกันการจำหน่าย
ต้องหากลยุทธ์การเสนอขายหุ้นให้ประชาชนครั้งแรก (ไอพีโอ) ให้ตรงกับสถานการณ์นั้นๆ เพื่อเป็นแรงจูง
ใจให้นักลงทุนสถาบัน และให้รายย่อยมีโอกาสทำกำไรบ้าง
ไทยแอร์เอเชีย เลื่อนเข้าตลาดหุ้นเป็นไตรมาส 1 ปีหน้า ที่ปรึกษาการเงินระบุเหตุอยู่ระหว่าง
ดำเนินการปรับโครงสร้างภายในบริษัท บล.ซีไอเอ็มบีเชื่อหุ้นไอพีโอยังคึกแม้ภาวะหุ้นผันผวนขณะที่แอดไว
เซอรี่ พลัส มั่นใจแรงกดดันจากเศรษฐกิจไม่กระทบแผนระดมทุนผ่านไอพีโอ
'ไอพีโอ' ต้องมีของแถมดึงดูด ขายหุ้นในภาวะตลาดไม่เป็นใจ แอร์เอเชียยืดเข้าตลท.ต้นปี'55 [ โพสต์ทูเดย์, 20 ก.ย. 54 ]
ไอพีโอเหนื่อย ขายหุ้นต้องมีส่วนลด-เงินปันผลต่อนักลงทุนในภาวะตลาดผันผวน
นายประเสริฐ ภัทรดิลก กรรมการผู้อำนวยการ บิรษัท แอดไวเซอรี่ พลัส กล่าวว่า ตลาดหุ้นที่
ผันผวนตามปัญหาหนี้สินยุโรปและเศรษฐกิจสหรัฐ ทำให้บริษัทที่ปรึกษาการเงินและผู้รับประกันการจำหน่าย
ต้องหากลยุทธ์การเสนอขายหุ้นให้ประชาชนครั้งแรก (ไอพีโอ) ให้ตรงกับสถานการณ์นั้นๆ เพื่อเป็นแรงจูง
ใจให้นักลงทุนสถาบัน และให้รายย่อยมีโอกาสทำกำไรบ้าง
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
- awesomekid
- Verified User
- โพสต์: 94
- ผู้ติดตาม: 0
Re: TAA : Thai AirAsia พร้อมเข้าตลาดหรือยังครับ?
โพสต์ที่ 29
เป็นตัวนึงที่น่าสนใจครับ ทั้ง ๆ ที่มี การบินไทยอยู่แล้ว แต่ก็ยังทำตลาดมาจนได้รับความนิยมในฐานะ low cost airways ได้ พอลองถามเพื่อน ๆ หรือคนรู้จักก็มีแต่คนใช้บริการ air asia มากขึ้นเรื่อย ๆ ดู trend แล้วน่าสนใจทีเดียว ขอบคุณที่เเอาข้อมูลมาแชร์กันครับบ
====================================
เก็บเล็กผสมน้อยมาลงทุน เพื่ออนาคตอันเป็นอิสระ
====================================
เก็บเล็กผสมน้อยมาลงทุน เพื่ออนาคตอันเป็นอิสระ
====================================
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
Re: TAA : Thai AirAsia พร้อมเข้าตลาดหรือยังครับ?
โพสต์ที่ 30
"แอร์เอเชีย"ยันเข้าตลาดหุ้นไทยไตรมาส4 ปีนี้
Source - เว็บไซต์ประชาชาติธุรกิจ (Th)
Tuesday, September 20, 2011 18:18
49999 XTHAI XECON BRKN V%NETNEWS P%WPTK
นายสิทธิไชย มหาคุณ หัวหน้าสายงานวาณิชธนกิจ (Corporate Finance and Equity CapitalMarket) บริษัทหลักทรัพย์ซีไอเอ็มบี ซิเคียวริตี้ส์ (ประเทศไทย) จำกัด ในฐานะหนึ่งในที่ปรึกษาทางการเงิน บริษัท ไทยแอร์เอเชีย จำกัด ชี้แจงว่า บริษัทไทยแอร์เอเชีย จะดำเนินการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยทำการขายหุ้นให้แก่ประชาชนทั่วไป (IPO) ภายในไตรมาส 4ของปี 2554 นี้ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างเร่งดำเนินการในขั้นตอนต่าง ๆ เพื่อให้สามารถเข้าจดทะเบียนได้ตามแผนที่กำหนดภายในปลายปีนี้
“ขอยืนยันว่าขณะนี้ทางที่ปรึกษาทางการเงินร่วมกับไทยแอร์เอเชีย กำลังดำเนินการทำดีล ดิลิเจนท์หลังจากนั้นจะได้ยื่นไฟล์ลิ่ง ตามแผนงานที่จะนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ภายในไตรมาส4 ของปี 2554 นี้ต่อไป” นายสิทธิไชยกล่าว
วานนี้ (19 กันยายน) นายสิทธิชัยกล่าวว่า ไทยแอร์เอเชีย อาจจะต้องเลื่อนเข้าตลาดเป็นไตรมาส1 ปี2555 เนื่องจากอยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างภายใน--จบ--
--ประชาชาติธุรกิจฉบับวันที่ 19 - 21 ก.ย. 2554--
ที่มา: http://www.matichon.co.th/prachachart
Source - เว็บไซต์ประชาชาติธุรกิจ (Th)
Tuesday, September 20, 2011 18:18
49999 XTHAI XECON BRKN V%NETNEWS P%WPTK
นายสิทธิไชย มหาคุณ หัวหน้าสายงานวาณิชธนกิจ (Corporate Finance and Equity CapitalMarket) บริษัทหลักทรัพย์ซีไอเอ็มบี ซิเคียวริตี้ส์ (ประเทศไทย) จำกัด ในฐานะหนึ่งในที่ปรึกษาทางการเงิน บริษัท ไทยแอร์เอเชีย จำกัด ชี้แจงว่า บริษัทไทยแอร์เอเชีย จะดำเนินการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยทำการขายหุ้นให้แก่ประชาชนทั่วไป (IPO) ภายในไตรมาส 4ของปี 2554 นี้ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างเร่งดำเนินการในขั้นตอนต่าง ๆ เพื่อให้สามารถเข้าจดทะเบียนได้ตามแผนที่กำหนดภายในปลายปีนี้
“ขอยืนยันว่าขณะนี้ทางที่ปรึกษาทางการเงินร่วมกับไทยแอร์เอเชีย กำลังดำเนินการทำดีล ดิลิเจนท์หลังจากนั้นจะได้ยื่นไฟล์ลิ่ง ตามแผนงานที่จะนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ภายในไตรมาส4 ของปี 2554 นี้ต่อไป” นายสิทธิไชยกล่าว
วานนี้ (19 กันยายน) นายสิทธิชัยกล่าวว่า ไทยแอร์เอเชีย อาจจะต้องเลื่อนเข้าตลาดเป็นไตรมาส1 ปี2555 เนื่องจากอยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างภายใน--จบ--
--ประชาชาติธุรกิจฉบับวันที่ 19 - 21 ก.ย. 2554--
ที่มา: http://www.matichon.co.th/prachachart