ตลาดหุ้นทั่วโลกร่วงหนัก หลังโปรตุเกสเตรียมรับเงินช่วยจาก IMF
-
- Verified User
- โพสต์: 37
- ผู้ติดตาม: 0
ตลาดหุ้นทั่วโลกร่วงหนัก หลังโปรตุเกสเตรียมรับเงินช่วยจาก IMF
โพสต์ที่ 1
ตลาดหุ้นทั่วโลกร่วงหนัก หลังโปรตุเกสเตรียมรับเงินช่วยจาก IMF
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund - IMF) และสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ Moody's เตือนรัฐบาลโปรตุเกสว่า จะประสบวิกฤตเศรษฐกิจอย่างเช่นกรีซ สเปนและไอร์แลน์ หากไม่เร่งแก้ไขปัญหาการขาดดุลงบประมาณที่สูงลิ่ว
สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ Moody’s ได้เตือนโปรตุเกส และกรีซ ว่าเสี่ยงต่อภาวะเศรษฐกิจ “slow death” เนื่องจาก (1) มีขีดความสามารถในการแข่งขันที่ต่ำ และ (2) มีตัวเลขงบประมาณขาดดุลที่สูง หากไม่มีการแก้ไข อาจถูกปรับลดอัตราความน่าเชื่อถือลงอีกครั้ง โดยสถานการณ์ของกรีซน่าเป็นห่วงมากกว่าโปรตุเกส ทั้งนี้ Moody’s ได้ปรับลดอัตราความน่าเชื่อถือของภาวะหนี้ของโปรตุเกสจาก “stable” เป็น “negative”
สมาชิกของสหภาพยุโรป 17 ประเทศที่ใช้เงินยูโรเป็นสกุลเงินหลัก บอกว่า เยอรมนี ฝรั่งเศส และประเทศอื่นๆ ในยูโรโซน ได้เพิ่มแรงกดดัน ให้โปรตุเกสขอความช่วยเหลือทางการเงิน จากสหภาพยุโรป(EU) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เพื่อสกัด วิกฤติหนี้ไม่ให้ขยายวงกว้างออกไป โดยการหารือเบื้องต้น มีความเป็นไปได้ที่ โปรตุเกสจะขอความช่วยเหลือดังกล่าว หากต้นทุนการขอสินเชื่อในตลาด สูงเกินไป
วิกฤติยุโรปยังไม่หมดเชื้อ ฟิตช์ได้ลดอันดับตราสารหนี้โปรตุเกส อ้างแนวโน้มเศรษฐกิจในระยะใกล้ถดถอยลงและน่าจะเข้าสู่ภาวะถดถอยในปีหน้า ขณะที่ไอร์แลนด์เร่งสะสางวิกฤติธนาคาร เข้าถือหุ้นใหญ่ในอัลลายด์ ไอริช แบงก์ และยังได้ให้อำนาจแก่รัฐบาลจัดการอุตสาหกรรมธนาคารไอร์แลนด์เกือบทั้งหมด
ฟิตช์ เรตติ้ง ลดอันดับตราสารหนี้ระยะยาวของโปรตุเกสทั้งที่อยู่ในรูปสกุลเงินท้องถิ่นและสกุลเงินต่างชาติลงไปอยู่ที่ A+ จาก AA- และยังมองแนวโน้มในด้านลบ ส่วนตราสารหนี้ระยะสั้น ลดลงเหลือ F1 จาก F1+
ฟิตช์ อ้างว่า การกู้เงินของโปรตุเกสทำได้ลำบากมากขึ้นนับตั้งแต่ฟิตช์ได้ประเมินเป็นครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 24 มีนาคม และแนวโน้มเศรษฐกิจในระยะใกล้ถดถอยลง อีกทั้งยังคาดว่า โปรตุเกสจะขาดดุลงบประมาณ 7.3% ของจีดีพีตามเป้าที่ได้วางไว้สำหรับปีนี้
อย่างไรก็ดี ฟิตช์ทำนายว่า โปรตุเกสน่าจะเข้าสู่ภาวะถดถอยในปีหน้า เมื่อรัฐบาลต้องการที่จะลดการขาดดุลงบประมาณให้เหลือ 4.6% ของจีดีพี
แถลงการณ์ของฟิตช์ระบุว่า มาตรการด้านการคลัง โดยเฉพาะการลดเงินเดือนในภาครัฐเฉลี่ย 5% และการปฏิรูปเพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับการควบคุมค่าใช้จ่ายและกรอบการทำงานด้านการคลัง ชี้ให้เห็นว่า มีความมุ่งมั่นทางการเมืองอย่างแข็งแกร่งที่จะทำให้เป้าหมายเป็นจริงได้ และในขณะนี้ฟิตช์ประเมินว่า โปรตุเกสจะเข้าสู่การฟื้นตัวอย่างยั่งยืนในปี 2555 ซึ่งควรจะช่วยให้โปรตุเกสจัดการกับแรงกดดันจากหนี้ต่างชาติทั้งหมดได้
รัฐมนตรีคลังโปรตุเกสแสดงความประหลาดใจต่อการเคลื่อนไหวของฟิตช์ เนื่องจากรัฐบาลกำลังรัดเข็มขัดได้ครึ่งทางแล้ว ต้นทุนในการกู้ยืมของโปรตุเกสได้สูงขึ้นในการซื้อขายเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา และโปรตุเกสยังมีแนวโน้มที่จะต้องขอความช่วยเหลือจากนานาประเทศ เหมือนที่กรีซและไอร์แลนด์ได้ทำในปีนี้
ฟิตช์ กล่าวว่า อันดับในขณะนี้ของโปรตุเกสตั้งอยู่บนสมมติฐานที่ว่า โปรตุเกสจะยังสามารถเข้าถึงตลาดสินเชื่อได้ และจะไม่หาทางรับความช่วยเหลือจากสหภาพยุโรปและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ
เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิสเซส เตือนว่า อาจลดอันดับของโปรตุเกสซึ่งอยู่ที่ A1 ลง เนื่องจากมีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการเติบโตและแนวโน้มในการกู้ยืม แต่คาดว่ารัฐบาลลิสบอนจะชำระหนี้ได้
นายกรัฐมนตรีโฮเซ่ โซเครติส ของโปรตุเกส กล่าวเมื่อต้นเดือนนี้ว่า รัฐบาลของเขายังสามารถระดมทุนจากตลาดได้ เพราะนักลงทุนเข้าใจการปฏิรูปของรัฐบาล
โปรตุเกสต้องชำระหนี้ที่จะครบกำหนดภายในกลางปีหน้า เป็นเงิน 20,000 ล้านยูโร (26,000 ล้านดอลลาร์) นายกรัฐมนตรีโซเครติส กล่าวว่า รัฐบาลลิสบอนไม่มีปัญหาในการระดมทุน อีกทั้งไม่มีวิกฤติธนาคาร หรือฟองสบู่ที่ดิน แต่ปัญหาเดียวของโปรตุเกสคือ ขาดดุลงบประมาณเพราะวิกฤติทั่วโลกมากเกินไป และรัฐบาลกำลังแก้ไขอยู่
ในวันเดียวกัน ไอร์แลนด์เร่งสะสางวิกฤติในภาคธนาคารโดยเข้าไปถือหุ้นใหญ่ในอัลลายด์ ไอริช แบงก์ ซึ่งเคยเป็นธนาคารใหญ่สุดของประเทศ และยังได้ให้อำนาจแก่รัฐบาลอย่างแข็งแกร่งในการจัดการกับอุตสาหกรรมธนาคารไอร์แลนด์เกือบทั้งหมด
ไบรอัน เลนิฮาน รัฐมนตรีคลังของไอร์แลนด์ กล่าวว่า จะใช้อาณัติใหม่ที่ให้อำนาจรัฐบาลในการควบคุมธนาคารอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน โดยจะโอนเงิน 3,700 ล้านยูโร หรือ 4,850 ล้านดอลลาร์ จากกองทุนบำนาญของประเทศไปให้กับอัลลายด์ ไอริช เพื่อเอาไว้ป้องกันการขาดทุน และปลดธนาคารออกจากตลาดหลักทรัพย์
การเคลื่อนไหวนี้ มีขึ้นในขณะที่รัฐบาลดับลิน พยายามที่จะชักจูงนักลงทุนว่ารัฐบาลไอร์แลนด์สามารถจัดการกับวิกฤติที่เริ่มต้นมาจากกรีซได้
โอลิเวอร์ กาลวาร์รี่ หัวหน้าฝ่ายวิจัยบริษัท ดอลเมน ซีเคียวริตีส์ ในดับลิน กล่าวว่า การจัดการกับอัลลายด์ แบงก์ เป็นเรื่องที่ดี แต่แรงกดดันต่อโปรตุเกสและสเปนจะส่งผลกระทบใหม่ในเดือนมกราคม ดังนั้น นักลงทุนจะตัดสินใจได้ลำบากว่าปัญหาการคลังและธนาคารของไอร์แลนด์ควบคุมได้แล้วหรือไม่
ในช่วงปีแห่งความรุ่งเรืองก่อนปี 2551 อัลลายด์ เป็นหนึ่งในธนาคารหลายแห่งของไอร์แลนด์ที่กู้ยืมเงินได้ถูกและนำปล่อยเงินกู้ให้กับโครงการที่อยู่อาศัยและโครงการก่อสร้าง ดังนั้น จึงทำให้เกิดฟองสบู่ที่อยู่อาศัยแบบอเมริกาจนได้แตกลง ทำให้งบดุลเสียหายและฐานะการเงินของประเทศร่อยหรอเมื่อรัฐบาลเข้าไปช่วยรับภาระขาดทุน
การอัดฉีดเงินทุนล่าสุด หมายความว่า ผู้เสียภาษีได้เข้าถือหุ้นเกือบ 93% ส่งผลให้หุ้นอัลลายด์อ่อนตัวลงถึง 20% เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา โดยเหลือเพียง 32 เซ็นต์ ซึ่งต่ำกว่าช่วงเวลาที่รุ่งโรจน์ในปี 2550 มาก
ขณะนี้อัลลายด์เป็นสถาบันการเงินแห่งที่สี่ที่รัฐบาลไอร์แลนด์ได้เข้าครองโดยสมบูรณ์ ก่อนหน้านี้ รัฐบาลไอร์แลนด์ได้เข้ายึดแองโกล ไอริช แบงก์, อีบีเอส และไอริช เนชันไวด์ การช่วยเหลือธนาคารทั้งหมดนี้ใช้เงินภาษี รวมเป็นเงินประมาณ 85,000 ล้านยูโร
ความวิตกที่สำคัญสุดในขณะนี้คือ เงินช่วยเหลือธนาคารจะเพิ่มขึ้นต่อไปหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากโครงการรัดเข็มขัดของรัฐบาล ส่งผลกระทบต่อความสามารถของเจ้าของบ้านที่จะชำระหนี้จำนอง ซึ่งเป็นสาเหตุให้ธนาคารขาดทุนใหม่อีกอย่างไม่คาดคิด
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund - IMF) และสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ Moody's เตือนรัฐบาลโปรตุเกสว่า จะประสบวิกฤตเศรษฐกิจอย่างเช่นกรีซ สเปนและไอร์แลน์ หากไม่เร่งแก้ไขปัญหาการขาดดุลงบประมาณที่สูงลิ่ว
สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ Moody’s ได้เตือนโปรตุเกส และกรีซ ว่าเสี่ยงต่อภาวะเศรษฐกิจ “slow death” เนื่องจาก (1) มีขีดความสามารถในการแข่งขันที่ต่ำ และ (2) มีตัวเลขงบประมาณขาดดุลที่สูง หากไม่มีการแก้ไข อาจถูกปรับลดอัตราความน่าเชื่อถือลงอีกครั้ง โดยสถานการณ์ของกรีซน่าเป็นห่วงมากกว่าโปรตุเกส ทั้งนี้ Moody’s ได้ปรับลดอัตราความน่าเชื่อถือของภาวะหนี้ของโปรตุเกสจาก “stable” เป็น “negative”
สมาชิกของสหภาพยุโรป 17 ประเทศที่ใช้เงินยูโรเป็นสกุลเงินหลัก บอกว่า เยอรมนี ฝรั่งเศส และประเทศอื่นๆ ในยูโรโซน ได้เพิ่มแรงกดดัน ให้โปรตุเกสขอความช่วยเหลือทางการเงิน จากสหภาพยุโรป(EU) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เพื่อสกัด วิกฤติหนี้ไม่ให้ขยายวงกว้างออกไป โดยการหารือเบื้องต้น มีความเป็นไปได้ที่ โปรตุเกสจะขอความช่วยเหลือดังกล่าว หากต้นทุนการขอสินเชื่อในตลาด สูงเกินไป
วิกฤติยุโรปยังไม่หมดเชื้อ ฟิตช์ได้ลดอันดับตราสารหนี้โปรตุเกส อ้างแนวโน้มเศรษฐกิจในระยะใกล้ถดถอยลงและน่าจะเข้าสู่ภาวะถดถอยในปีหน้า ขณะที่ไอร์แลนด์เร่งสะสางวิกฤติธนาคาร เข้าถือหุ้นใหญ่ในอัลลายด์ ไอริช แบงก์ และยังได้ให้อำนาจแก่รัฐบาลจัดการอุตสาหกรรมธนาคารไอร์แลนด์เกือบทั้งหมด
ฟิตช์ เรตติ้ง ลดอันดับตราสารหนี้ระยะยาวของโปรตุเกสทั้งที่อยู่ในรูปสกุลเงินท้องถิ่นและสกุลเงินต่างชาติลงไปอยู่ที่ A+ จาก AA- และยังมองแนวโน้มในด้านลบ ส่วนตราสารหนี้ระยะสั้น ลดลงเหลือ F1 จาก F1+
ฟิตช์ อ้างว่า การกู้เงินของโปรตุเกสทำได้ลำบากมากขึ้นนับตั้งแต่ฟิตช์ได้ประเมินเป็นครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 24 มีนาคม และแนวโน้มเศรษฐกิจในระยะใกล้ถดถอยลง อีกทั้งยังคาดว่า โปรตุเกสจะขาดดุลงบประมาณ 7.3% ของจีดีพีตามเป้าที่ได้วางไว้สำหรับปีนี้
อย่างไรก็ดี ฟิตช์ทำนายว่า โปรตุเกสน่าจะเข้าสู่ภาวะถดถอยในปีหน้า เมื่อรัฐบาลต้องการที่จะลดการขาดดุลงบประมาณให้เหลือ 4.6% ของจีดีพี
แถลงการณ์ของฟิตช์ระบุว่า มาตรการด้านการคลัง โดยเฉพาะการลดเงินเดือนในภาครัฐเฉลี่ย 5% และการปฏิรูปเพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับการควบคุมค่าใช้จ่ายและกรอบการทำงานด้านการคลัง ชี้ให้เห็นว่า มีความมุ่งมั่นทางการเมืองอย่างแข็งแกร่งที่จะทำให้เป้าหมายเป็นจริงได้ และในขณะนี้ฟิตช์ประเมินว่า โปรตุเกสจะเข้าสู่การฟื้นตัวอย่างยั่งยืนในปี 2555 ซึ่งควรจะช่วยให้โปรตุเกสจัดการกับแรงกดดันจากหนี้ต่างชาติทั้งหมดได้
รัฐมนตรีคลังโปรตุเกสแสดงความประหลาดใจต่อการเคลื่อนไหวของฟิตช์ เนื่องจากรัฐบาลกำลังรัดเข็มขัดได้ครึ่งทางแล้ว ต้นทุนในการกู้ยืมของโปรตุเกสได้สูงขึ้นในการซื้อขายเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา และโปรตุเกสยังมีแนวโน้มที่จะต้องขอความช่วยเหลือจากนานาประเทศ เหมือนที่กรีซและไอร์แลนด์ได้ทำในปีนี้
ฟิตช์ กล่าวว่า อันดับในขณะนี้ของโปรตุเกสตั้งอยู่บนสมมติฐานที่ว่า โปรตุเกสจะยังสามารถเข้าถึงตลาดสินเชื่อได้ และจะไม่หาทางรับความช่วยเหลือจากสหภาพยุโรปและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ
เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิสเซส เตือนว่า อาจลดอันดับของโปรตุเกสซึ่งอยู่ที่ A1 ลง เนื่องจากมีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการเติบโตและแนวโน้มในการกู้ยืม แต่คาดว่ารัฐบาลลิสบอนจะชำระหนี้ได้
นายกรัฐมนตรีโฮเซ่ โซเครติส ของโปรตุเกส กล่าวเมื่อต้นเดือนนี้ว่า รัฐบาลของเขายังสามารถระดมทุนจากตลาดได้ เพราะนักลงทุนเข้าใจการปฏิรูปของรัฐบาล
โปรตุเกสต้องชำระหนี้ที่จะครบกำหนดภายในกลางปีหน้า เป็นเงิน 20,000 ล้านยูโร (26,000 ล้านดอลลาร์) นายกรัฐมนตรีโซเครติส กล่าวว่า รัฐบาลลิสบอนไม่มีปัญหาในการระดมทุน อีกทั้งไม่มีวิกฤติธนาคาร หรือฟองสบู่ที่ดิน แต่ปัญหาเดียวของโปรตุเกสคือ ขาดดุลงบประมาณเพราะวิกฤติทั่วโลกมากเกินไป และรัฐบาลกำลังแก้ไขอยู่
ในวันเดียวกัน ไอร์แลนด์เร่งสะสางวิกฤติในภาคธนาคารโดยเข้าไปถือหุ้นใหญ่ในอัลลายด์ ไอริช แบงก์ ซึ่งเคยเป็นธนาคารใหญ่สุดของประเทศ และยังได้ให้อำนาจแก่รัฐบาลอย่างแข็งแกร่งในการจัดการกับอุตสาหกรรมธนาคารไอร์แลนด์เกือบทั้งหมด
ไบรอัน เลนิฮาน รัฐมนตรีคลังของไอร์แลนด์ กล่าวว่า จะใช้อาณัติใหม่ที่ให้อำนาจรัฐบาลในการควบคุมธนาคารอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน โดยจะโอนเงิน 3,700 ล้านยูโร หรือ 4,850 ล้านดอลลาร์ จากกองทุนบำนาญของประเทศไปให้กับอัลลายด์ ไอริช เพื่อเอาไว้ป้องกันการขาดทุน และปลดธนาคารออกจากตลาดหลักทรัพย์
การเคลื่อนไหวนี้ มีขึ้นในขณะที่รัฐบาลดับลิน พยายามที่จะชักจูงนักลงทุนว่ารัฐบาลไอร์แลนด์สามารถจัดการกับวิกฤติที่เริ่มต้นมาจากกรีซได้
โอลิเวอร์ กาลวาร์รี่ หัวหน้าฝ่ายวิจัยบริษัท ดอลเมน ซีเคียวริตีส์ ในดับลิน กล่าวว่า การจัดการกับอัลลายด์ แบงก์ เป็นเรื่องที่ดี แต่แรงกดดันต่อโปรตุเกสและสเปนจะส่งผลกระทบใหม่ในเดือนมกราคม ดังนั้น นักลงทุนจะตัดสินใจได้ลำบากว่าปัญหาการคลังและธนาคารของไอร์แลนด์ควบคุมได้แล้วหรือไม่
ในช่วงปีแห่งความรุ่งเรืองก่อนปี 2551 อัลลายด์ เป็นหนึ่งในธนาคารหลายแห่งของไอร์แลนด์ที่กู้ยืมเงินได้ถูกและนำปล่อยเงินกู้ให้กับโครงการที่อยู่อาศัยและโครงการก่อสร้าง ดังนั้น จึงทำให้เกิดฟองสบู่ที่อยู่อาศัยแบบอเมริกาจนได้แตกลง ทำให้งบดุลเสียหายและฐานะการเงินของประเทศร่อยหรอเมื่อรัฐบาลเข้าไปช่วยรับภาระขาดทุน
การอัดฉีดเงินทุนล่าสุด หมายความว่า ผู้เสียภาษีได้เข้าถือหุ้นเกือบ 93% ส่งผลให้หุ้นอัลลายด์อ่อนตัวลงถึง 20% เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา โดยเหลือเพียง 32 เซ็นต์ ซึ่งต่ำกว่าช่วงเวลาที่รุ่งโรจน์ในปี 2550 มาก
ขณะนี้อัลลายด์เป็นสถาบันการเงินแห่งที่สี่ที่รัฐบาลไอร์แลนด์ได้เข้าครองโดยสมบูรณ์ ก่อนหน้านี้ รัฐบาลไอร์แลนด์ได้เข้ายึดแองโกล ไอริช แบงก์, อีบีเอส และไอริช เนชันไวด์ การช่วยเหลือธนาคารทั้งหมดนี้ใช้เงินภาษี รวมเป็นเงินประมาณ 85,000 ล้านยูโร
ความวิตกที่สำคัญสุดในขณะนี้คือ เงินช่วยเหลือธนาคารจะเพิ่มขึ้นต่อไปหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากโครงการรัดเข็มขัดของรัฐบาล ส่งผลกระทบต่อความสามารถของเจ้าของบ้านที่จะชำระหนี้จำนอง ซึ่งเป็นสาเหตุให้ธนาคารขาดทุนใหม่อีกอย่างไม่คาดคิด
-
- Verified User
- โพสต์: 18134
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ตลาดหุ้นทั่วโลกร่วงหนัก หลังโปรตุเกสเตรียมรับเงินช่วยจาก
โพสต์ที่ 6
ดูจาก THAIBMA แล้ว พบว่าเงินออกจากตลาดตราสารหนี้ด้วย
(จุดที่แปลกใจคือ Yield Curve ที่เป็น Zero ในช่วง 5Yrs ก่อนหน้านี้เป็นแบบ Flat ในช่วงเวลา 4-6 Year )
ตอนนี้เป็น upward แบบชัดเจนเลย
แสดงว่า ผลตอบแทนของพันธบัตรสูงขึ้น นั้นคือราคาพันธบัตรลดลงไปอย่างชัดเจน
อีกตลาดคือตลาดสารตราทุนคือ SET INDEX+MAI INDEX ก็ปรับตัวลดลง
ประกอบกับค่าเงินบาทต่อดอลล่าร์อ่อนคือลดลงด้วย
ถ้าใครยังจำช่วงตั้งแต่เดือนตค 2553 เป็นต้นมา ภาคส่งออกบ่นกันมากมายว่ากำลังตาย
ตอนนี้ค่าเงินบาทเริ่มอ่อนค่าลดลงดังที่ต้องการแล้ว มีใครออกมาบ่นหรือไม่
เรื่องต่อมา ที่เพิ่มดอกเบี้ยเพื่อต้องการให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลง ตอนนี้ก็สมใจแล้ว
ปรับดอกเบี้ยดีหรือเปล่าหนอ ลองติดตามกันดู (IRP มีผลในการตัดสินใจหรือเปล่าหนอ)
อีกเรื่อง ในคำว่า PIGS ยังเหลืออีกประเทศคือ สเปน
ประเทศที่เป็นรายต่อไปหลังจาก I และ G คือ P คือโปรตุเกศ
งานนี้ต้องรอดูระเบิดเวลาลูกถัดไปว่าระเบิดเมื่อไร สำหรับ สเปน (แชมป์ฟุตบอลโลกปี 2010)
ส่งท้ายคือ จับตาที่ US ว่ามีประสบการณ์เรื่อง Oil Shock เป็นอย่างดี
แล้วเป็นประเทศที่ออกตราสารทางการเงินที่แปลกพิสดารมาด้วย
ตอนนี้ป้องกันมิให้ น้ำมันขึ้นจนเกิดน 100 เหรียญอย่างไง
เพราะ เมื่อน้ำมัีนเกิน 100 เหรียญทำให้ เศรษฐกิจของ US ฟื้นตัวช้าลง
และอาจจะเกิดปัญหาเรื่องเงินเฟ้อตามมาอย่างรุนแรงอีกด้วย
เหมือนที่เกิดในปี 2007-2008ละ

(จุดที่แปลกใจคือ Yield Curve ที่เป็น Zero ในช่วง 5Yrs ก่อนหน้านี้เป็นแบบ Flat ในช่วงเวลา 4-6 Year )
ตอนนี้เป็น upward แบบชัดเจนเลย
แสดงว่า ผลตอบแทนของพันธบัตรสูงขึ้น นั้นคือราคาพันธบัตรลดลงไปอย่างชัดเจน
อีกตลาดคือตลาดสารตราทุนคือ SET INDEX+MAI INDEX ก็ปรับตัวลดลง
ประกอบกับค่าเงินบาทต่อดอลล่าร์อ่อนคือลดลงด้วย
ถ้าใครยังจำช่วงตั้งแต่เดือนตค 2553 เป็นต้นมา ภาคส่งออกบ่นกันมากมายว่ากำลังตาย
ตอนนี้ค่าเงินบาทเริ่มอ่อนค่าลดลงดังที่ต้องการแล้ว มีใครออกมาบ่นหรือไม่
เรื่องต่อมา ที่เพิ่มดอกเบี้ยเพื่อต้องการให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลง ตอนนี้ก็สมใจแล้ว
ปรับดอกเบี้ยดีหรือเปล่าหนอ ลองติดตามกันดู (IRP มีผลในการตัดสินใจหรือเปล่าหนอ)
อีกเรื่อง ในคำว่า PIGS ยังเหลืออีกประเทศคือ สเปน
ประเทศที่เป็นรายต่อไปหลังจาก I และ G คือ P คือโปรตุเกศ
งานนี้ต้องรอดูระเบิดเวลาลูกถัดไปว่าระเบิดเมื่อไร สำหรับ สเปน (แชมป์ฟุตบอลโลกปี 2010)
ส่งท้ายคือ จับตาที่ US ว่ามีประสบการณ์เรื่อง Oil Shock เป็นอย่างดี
แล้วเป็นประเทศที่ออกตราสารทางการเงินที่แปลกพิสดารมาด้วย
ตอนนี้ป้องกันมิให้ น้ำมันขึ้นจนเกิดน 100 เหรียญอย่างไง
เพราะ เมื่อน้ำมัีนเกิน 100 เหรียญทำให้ เศรษฐกิจของ US ฟื้นตัวช้าลง
และอาจจะเกิดปัญหาเรื่องเงินเฟ้อตามมาอย่างรุนแรงอีกด้วย
เหมือนที่เกิดในปี 2007-2008ละ


-
- Verified User
- โพสต์: 1155
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ตลาดหุ้นทั่วโลกร่วงหนัก หลังโปรตุเกสเตรียมรับเงินช่วยจาก
โพสต์ที่ 7
แย้งนิดนึง
"เรื่องต่อมา ที่เพิ่มดอกเบี้ยเพื่อต้องการให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลง ตอนนี้ก็สมใจแล้ว"
การเพิ่มดอกเบี้ย มีแต่ทำให้เงินแข็งขึ้น ไม่ใช่อ่อน
ดอกเบี้ย คือ ราคาของเงิน ถ้าสูงก็คือราคาของเงินสูง
ที่ กนง ขึ้น ดอกเบี้ย เพื่อสกัดเงินเฟ้อครับ
และทำให้ ดอกเบี้ยที่แท้จริงไม่ติดลบมาก(ตอนนี้น่าจะยังติดลบ)
ถ้า กนง กล้าหาญและรักความยุติธรรมจริง
สิ่งที่ต้องทำคือ ลดช่องว่างระหว่งดอกเบี้ยเงินกู้กับดอกเบี้ยเงินฝากลง (ไม่เกิน3%)
ประเทศจะเจริญอีกเยอะ แต่ด้วยความเห็นแก่ตัวของธนาคาร
มันคงไม่ยอม นักการเมืองมันก็คงไม่ทำ ผู้ว่าBOTมันก็คงไม่ทำ
"เรื่องต่อมา ที่เพิ่มดอกเบี้ยเพื่อต้องการให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลง ตอนนี้ก็สมใจแล้ว"
การเพิ่มดอกเบี้ย มีแต่ทำให้เงินแข็งขึ้น ไม่ใช่อ่อน
ดอกเบี้ย คือ ราคาของเงิน ถ้าสูงก็คือราคาของเงินสูง
ที่ กนง ขึ้น ดอกเบี้ย เพื่อสกัดเงินเฟ้อครับ
และทำให้ ดอกเบี้ยที่แท้จริงไม่ติดลบมาก(ตอนนี้น่าจะยังติดลบ)
ถ้า กนง กล้าหาญและรักความยุติธรรมจริง
สิ่งที่ต้องทำคือ ลดช่องว่างระหว่งดอกเบี้ยเงินกู้กับดอกเบี้ยเงินฝากลง (ไม่เกิน3%)
ประเทศจะเจริญอีกเยอะ แต่ด้วยความเห็นแก่ตัวของธนาคาร
มันคงไม่ยอม นักการเมืองมันก็คงไม่ทำ ผู้ว่าBOTมันก็คงไม่ทำ
Blueplanet