วิธีการคำนวนผลตอบแทน Portfolio ตามตำรา Fund Manager
-
- Verified User
- โพสต์: 1120
- ผู้ติดตาม: 0
วิธีการคำนวนผลตอบแทน Portfolio ตามตำรา Fund Manager
โพสต์ที่ 1
ปี 2553 ผ่านไปแล้วนะครับ ปีที่ผ่านมาเป็นปีที่ตลาดหุ้นดีมากๆอีกปีหนึ่งโดยเฉพาะกับหุ้นตัวเล็ก เท่าที่เห็นจะมีเพื่อนๆพี่ๆนักลงทุนหน้าใหม่เข้าตลาดมาเยอะพอสมควร ซึ่งถือเป็นจังหวะการลงทุนที่ไม่เลวครับ
เรื่องหนึ่งที่สมัยผมเริ่มลงทุนใหม่ๆเมื่อ 3 ปีก่อนก็คือการคำนวนผลตอบแทนครับ ยิ่งโดยเฉพาะพอร์ตที่มีการชักเงินเข้าๆออกๆบ่อยแล้วด้วย วันนี้ผมมีวิธีการคำนวนผลตอบแทนพอร์ตการลงทุนตามตำราของ Fund Manager มาเสนอครับ (ย้ำว่าตามตำรานะครับ อิอิ) จะพยายามอธิบายให้เข้าใจง่ายที่สุดครับ ถ้ามีคำถามหรือติชมอย่างไร ยินดีเลยครับ
Ref: - Bodie Z., Kane, A., & Marcus, A. J. (2009). Investments (8th ed.). New York: McGraw-Hill.
- Maginn, J. L., Tuttle, D. L., Pinto, J. E., & McLeavey, D. W. (2007). Managing investment portfolios: A dynamic process (3rd ed.). New Jersey: Wiley.
การคำนวนผลตอบแทนแบบฉบับของผู้จัดการกองทุนแล้วหลักๆมี 3 วิธีครับ
1. Holding Period Return
2. Dollar-Weighted Return
3. Time-Weighted Return
โดยการคำนวนแบบ XIRR ของคุณ VI Wannabe และของคุณ Ii'8N ก็คือหลักการเดียวกับ Dollar-Weighted Return นั่นเองครับ แต่วิธีที่ผมใช้เป็นหลักนั้นคือ Time-Weighted Return ครับ ทีนี้เรามาดูว่าในแต่ละวิธีนั้นต่างกันอย่างไร มีข้อดีข้อเสียต่างกันอย่างไร และในสถานการณ์ไหนวิธีไหนเหมาะสมกว่า :lol:
ก่อนที่ผมจะเริ่มขอทำความตกลงเกี่ยวกับassumptionการคำนวนซักเล็กน้อยนะครับ เพื่ิความเข้าใจตรงกัน
1. มูลค่าของ portfolio คือการรวมมูลค่าของสินทรัพย์ทุกชนิด รวมถึงเงินสด ด้วยนะครับ... เช่นในพอร์ตมีหุ้น 50,000 บาท เงินสด 150,000 บาท ในกรณีนี้ มูลค่าพอร์ตคือ 50,000+150,000 = 200,000 นะครับ
2. การซื้อและขายหุ้นในพอร์ต ไม่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงเงินลงทุน หรือ เปลี่ยนแปลงมูลค่าพอร์ตครับ
3. ผลตอบแทนจากการลงทุนคือรวมผลตอบแทนทั้งจาก (1) Capital gain (การเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้น) และ (2) Income (เช่น เงินปันผล, ดอกเบี้ย) ครับ
เรื่องหนึ่งที่สมัยผมเริ่มลงทุนใหม่ๆเมื่อ 3 ปีก่อนก็คือการคำนวนผลตอบแทนครับ ยิ่งโดยเฉพาะพอร์ตที่มีการชักเงินเข้าๆออกๆบ่อยแล้วด้วย วันนี้ผมมีวิธีการคำนวนผลตอบแทนพอร์ตการลงทุนตามตำราของ Fund Manager มาเสนอครับ (ย้ำว่าตามตำรานะครับ อิอิ) จะพยายามอธิบายให้เข้าใจง่ายที่สุดครับ ถ้ามีคำถามหรือติชมอย่างไร ยินดีเลยครับ
Ref: - Bodie Z., Kane, A., & Marcus, A. J. (2009). Investments (8th ed.). New York: McGraw-Hill.
- Maginn, J. L., Tuttle, D. L., Pinto, J. E., & McLeavey, D. W. (2007). Managing investment portfolios: A dynamic process (3rd ed.). New Jersey: Wiley.
การคำนวนผลตอบแทนแบบฉบับของผู้จัดการกองทุนแล้วหลักๆมี 3 วิธีครับ
1. Holding Period Return
2. Dollar-Weighted Return
3. Time-Weighted Return
โดยการคำนวนแบบ XIRR ของคุณ VI Wannabe และของคุณ Ii'8N ก็คือหลักการเดียวกับ Dollar-Weighted Return นั่นเองครับ แต่วิธีที่ผมใช้เป็นหลักนั้นคือ Time-Weighted Return ครับ ทีนี้เรามาดูว่าในแต่ละวิธีนั้นต่างกันอย่างไร มีข้อดีข้อเสียต่างกันอย่างไร และในสถานการณ์ไหนวิธีไหนเหมาะสมกว่า :lol:
ก่อนที่ผมจะเริ่มขอทำความตกลงเกี่ยวกับassumptionการคำนวนซักเล็กน้อยนะครับ เพื่ิความเข้าใจตรงกัน
1. มูลค่าของ portfolio คือการรวมมูลค่าของสินทรัพย์ทุกชนิด รวมถึงเงินสด ด้วยนะครับ... เช่นในพอร์ตมีหุ้น 50,000 บาท เงินสด 150,000 บาท ในกรณีนี้ มูลค่าพอร์ตคือ 50,000+150,000 = 200,000 นะครับ
2. การซื้อและขายหุ้นในพอร์ต ไม่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงเงินลงทุน หรือ เปลี่ยนแปลงมูลค่าพอร์ตครับ
3. ผลตอบแทนจากการลงทุนคือรวมผลตอบแทนทั้งจาก (1) Capital gain (การเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้น) และ (2) Income (เช่น เงินปันผล, ดอกเบี้ย) ครับ
Financial Discipline + Value Investment + Time = Financial Independence
-
- Verified User
- โพสต์: 1120
- ผู้ติดตาม: 0
Re: วิธีการคำนวนผลตอบแทน Portfolio ตามตำรา Fund Manager
โพสต์ที่ 2
1. Holding Period Return
HPR = (V1/V0)-1 หรือ (V1-V0)/V0
โดย V คือมูลค่าของพอร์ตการลงทุน (V1= ปลายปี V0 = ต้นปี) ซึ่งรวมถึงผลตอบแทนทั้งจาก นะครับ
HPR คือการคำนวนผลตอบแทนที่ง่ายแต่หยายที่สุดครับ สิ่งที่ HPR บอกเราก็คือผลตอบแทนจากการลงทุนในช่วงระยะเวลาหนึ่งจากการหา Percentage Change ของมูลค่าพอร์ตนั่นเองครับ
ข้อจำกัดของ HPR ก็คือ...
มันสามารถใช้ได้แม่นยำกับพอร์ตที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงของต้นทุนเท่านั้นครับ ถ้าพอร์ตนั้นมีการเปลี่ยนแปลงของต้นทุนเช่น มีการฝากเงินเพิ่มเข้าไปในพอร์ตและมีการถอนเงินออกมาในระหว่างปี ถ้าเงินที่ใส่เข้าและออกคิดเป็นสัดส่วนที่น้อยมากเทียบกับมูลค่าพอร์ต (เช่น มูลค่าพอร์ต 1 ล้าน แต่ใส่และถอนเฉลี่ยแล้วหลักพันแบบนี้ ok ครับ) อยากจะใช้ HPR ก็พอได้ครับ โดยการใช้ (V1/ต้นทุนเฉลี่ยทั้งปี)-1 ได้ครับ แต่จะทำให้ผลตอบแทนที่ได้ bias upward ครับ (คำนวนได้มากกว่าผลตอบแทนที่ได้จริง)
รูป1: ถ้าพอร์ตที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงต้นทุน การคำนวนทั้ง 3 วิธีจะออกมาเหมือนกันครับ
รูป2: ถ้ามีการใส่เงินเพิ่มหรือถอนออกในอัตราส่วนที่ไม่มากถ้าเทียบกับมูลค่าพอร์ต การคำนวนด้วย HPR โดยใช้สูตร (V1/ต้นทุนเฉลี่ยทั้งปี)-1 ก็จะให้ผลตอบแทนที่ใกล้เคียงกับผลตอบแทนที่ได้จริงครับ (ในแบบที่ bias upward)
HPR = (V1/V0)-1 หรือ (V1-V0)/V0
โดย V คือมูลค่าของพอร์ตการลงทุน (V1= ปลายปี V0 = ต้นปี) ซึ่งรวมถึงผลตอบแทนทั้งจาก นะครับ
HPR คือการคำนวนผลตอบแทนที่ง่ายแต่หยายที่สุดครับ สิ่งที่ HPR บอกเราก็คือผลตอบแทนจากการลงทุนในช่วงระยะเวลาหนึ่งจากการหา Percentage Change ของมูลค่าพอร์ตนั่นเองครับ
ข้อจำกัดของ HPR ก็คือ...
มันสามารถใช้ได้แม่นยำกับพอร์ตที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงของต้นทุนเท่านั้นครับ ถ้าพอร์ตนั้นมีการเปลี่ยนแปลงของต้นทุนเช่น มีการฝากเงินเพิ่มเข้าไปในพอร์ตและมีการถอนเงินออกมาในระหว่างปี ถ้าเงินที่ใส่เข้าและออกคิดเป็นสัดส่วนที่น้อยมากเทียบกับมูลค่าพอร์ต (เช่น มูลค่าพอร์ต 1 ล้าน แต่ใส่และถอนเฉลี่ยแล้วหลักพันแบบนี้ ok ครับ) อยากจะใช้ HPR ก็พอได้ครับ โดยการใช้ (V1/ต้นทุนเฉลี่ยทั้งปี)-1 ได้ครับ แต่จะทำให้ผลตอบแทนที่ได้ bias upward ครับ (คำนวนได้มากกว่าผลตอบแทนที่ได้จริง)
รูป1: ถ้าพอร์ตที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงต้นทุน การคำนวนทั้ง 3 วิธีจะออกมาเหมือนกันครับ
รูป2: ถ้ามีการใส่เงินเพิ่มหรือถอนออกในอัตราส่วนที่ไม่มากถ้าเทียบกับมูลค่าพอร์ต การคำนวนด้วย HPR โดยใช้สูตร (V1/ต้นทุนเฉลี่ยทั้งปี)-1 ก็จะให้ผลตอบแทนที่ใกล้เคียงกับผลตอบแทนที่ได้จริงครับ (ในแบบที่ bias upward)
Financial Discipline + Value Investment + Time = Financial Independence
-
- Verified User
- โพสต์: 1120
- ผู้ติดตาม: 0
Re: วิธีการคำนวนผลตอบแทน Portfolio ตามตำรา Fund Manager
โพสต์ที่ 3
2. Dollar-Weighted Return
หลักการและวิธีคำนวนของ DWR นั้นใช้หลักการของ IRR อย่างที่พี่ๆได้ว่าไปนั่นแหละครับ โดยวิธีการคำนวนก็ใช้สูตร XIRR ใน Excel ครับ
ข้อดีของ DWR เหนือ HPR คือ DWR จะคำนวนผลตอบแทนโดย take หลัก Time Value of Money into account ครับ พูดง่ายๆคือนำหลักการทบต้น (compound) เข้ามาคิดด้วยนั่นเอง ซึ่งแบบนี้จะให้ตัวเลขผลตอบแทนที่ตรงกับความเป็นจริงกว่า HPR ครับ
ข้อดีอีกอย่างของ DWR ก็คือ ผลตอบแทนที่คำนวนได้จะสะท้อนความสามารถในการจัดสรรเงินลงทุนตามจังหวะของตลาดด้วยครับ แฮ่ๆอ่านดูแบบนี้อาจจะงงนะครับ ทีนี้ลองฟังตัวอย่างนี้ดูครับ...
ถ้าสมมุติว่า ณ วันนี้คือวันที่ 31/6/2010 เราคิดว่า6เดือนหลังจากนี้ ตลาดจะเป็นขาขึ้น (ขาลง) อย่างชัดเจน เราก็เลยตัดสินใจเพิ่มเงินลงทุนเข้าไปในพอร์ต (ถอนเงินลงทุนออกจากพอร์ต) เดือนละ 200 บาท... ถ้าตลาดเป็นขาขึ้น (ขาลง)จริงๆตามที่เราคาด การคำนวนแบบ DWR จะสะท้อน performance ตรงนี้ออกมาด้วยครับโดยผลตอบแทนที่ได้จะสูงขึ้นกว่าปกติ ในทางกลับกันถ้าตลาดเป็นตรงกันข้ามกับที่คาด ผลตอบแทนที่คำนวนได้จะลดต่ำลงครับ
ปล. ด้วยจากข้อสมมุติฐานที่ (3) ที่ว่าผลตอบแทนของพอร์ตคือรวมทั้ง capital gain และ income ดังนั้นการนำเงินปันผลมา reinvest ผมไม่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงของเงินสดนะครับ แต่ถือเป็นผลตอบแทนซึ่งจะรวมเข้าไปเป็นส่วนนึงของมูลค่าพอร์ตเลยนะครับ อันนี้ต้องบอกก่อนครับว่าจะแหกกฏของการคำนวนผลตอบแทนแบบที่ Fund Manager ใช้กันครับ เพราะตามหลักการจริงๆแล้ว FM จะนำเงินปันผลที่ได้ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงของเงินสดแบบที่พี่ VI Wannabe คำนวนครับ เหตุผลก็คือด้วยหลักการจัดการกองทุนนั้น เงินปันผลที่ได้ถือเป็นเงินได้ที่ "อยู่ภายใต้การตัดสินใจ" ครับ นั่นหมายความว่า เงินปันผลที่ได้ในตอนแรกแล้วนั้นควรเป็นเงินที่จะต้องส่งต่อไปให้ผู้ถือหน่อยลงทุนครับ (ด้วยเหตุผลทางภาษี ซึ่งไม่มีในบ้านเรา) ดังนั้นถ้าจะนำเงินปันผลนั้นใส่กลับเข้ามาในพอร์ต (reinvest) ก็จะถือว่าเงินก้อนนี้คือเงินทุนที่เพิ่มเข้าไปครับ แต่ในการบริหารพอร์ต VI แบบเราๆแล้ว เงินปันผลที่ได้ผมถือว่านำมา reinvested โดยอัตโนมัติครับ ดังนั้นมันจึงไม่ใช่ เงินที่"อยู่ภายใต้การตัดสินใจ"ครับ ดังนั้นผมจึงไม่นำมาเป็นการเคลื่อนไหวของเงินสดให้มัน capture ในการคำนวน DWR ครับ (เข้าใจกันมั้ยอ่า ถ้าพางงก็ขออภัยนะครับ )
รูป3: จะเห็นว่า DWR จะสูงกว่า TWR ครับเพราะผลตอบแทนที่คำนวนได้จาก DWR จะ reward จากการที่เราเพิ่มเงินเข้าไปในขณะที่ผลตอบแทนเป็นขาขึ้น
รูป4: ในขณะเดียวกันถ้า เราใส่เงินเพิ่มเข้าไปในขณะที่ตลาดเป็นขาลง การคำนวนที่ได้จาก DWR จะสะท้อนความผิดพลาดตรงนี้ออกมาด้วยครับ โดยผลตอบแทนที่คำนวนได้จะต่ำกว่า TWR
ข้อสังเกตุในรูป 3,4 ก็คือตัวเลขที่ได้จาก HPR นั้นเพี๊ยนได้ใจเลยครับ เพราะสาเหตุจากเงินที่เราฝากเพิ่มไปนั้นมีสัดส่วนที่สูงมากเมื่อเทียบกับมูลค่ารวมของพอร์ตนั่นเอง
หลักการและวิธีคำนวนของ DWR นั้นใช้หลักการของ IRR อย่างที่พี่ๆได้ว่าไปนั่นแหละครับ โดยวิธีการคำนวนก็ใช้สูตร XIRR ใน Excel ครับ
ข้อดีของ DWR เหนือ HPR คือ DWR จะคำนวนผลตอบแทนโดย take หลัก Time Value of Money into account ครับ พูดง่ายๆคือนำหลักการทบต้น (compound) เข้ามาคิดด้วยนั่นเอง ซึ่งแบบนี้จะให้ตัวเลขผลตอบแทนที่ตรงกับความเป็นจริงกว่า HPR ครับ
ข้อดีอีกอย่างของ DWR ก็คือ ผลตอบแทนที่คำนวนได้จะสะท้อนความสามารถในการจัดสรรเงินลงทุนตามจังหวะของตลาดด้วยครับ แฮ่ๆอ่านดูแบบนี้อาจจะงงนะครับ ทีนี้ลองฟังตัวอย่างนี้ดูครับ...
ถ้าสมมุติว่า ณ วันนี้คือวันที่ 31/6/2010 เราคิดว่า6เดือนหลังจากนี้ ตลาดจะเป็นขาขึ้น (ขาลง) อย่างชัดเจน เราก็เลยตัดสินใจเพิ่มเงินลงทุนเข้าไปในพอร์ต (ถอนเงินลงทุนออกจากพอร์ต) เดือนละ 200 บาท... ถ้าตลาดเป็นขาขึ้น (ขาลง)จริงๆตามที่เราคาด การคำนวนแบบ DWR จะสะท้อน performance ตรงนี้ออกมาด้วยครับโดยผลตอบแทนที่ได้จะสูงขึ้นกว่าปกติ ในทางกลับกันถ้าตลาดเป็นตรงกันข้ามกับที่คาด ผลตอบแทนที่คำนวนได้จะลดต่ำลงครับ
ปล. ด้วยจากข้อสมมุติฐานที่ (3) ที่ว่าผลตอบแทนของพอร์ตคือรวมทั้ง capital gain และ income ดังนั้นการนำเงินปันผลมา reinvest ผมไม่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงของเงินสดนะครับ แต่ถือเป็นผลตอบแทนซึ่งจะรวมเข้าไปเป็นส่วนนึงของมูลค่าพอร์ตเลยนะครับ อันนี้ต้องบอกก่อนครับว่าจะแหกกฏของการคำนวนผลตอบแทนแบบที่ Fund Manager ใช้กันครับ เพราะตามหลักการจริงๆแล้ว FM จะนำเงินปันผลที่ได้ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงของเงินสดแบบที่พี่ VI Wannabe คำนวนครับ เหตุผลก็คือด้วยหลักการจัดการกองทุนนั้น เงินปันผลที่ได้ถือเป็นเงินได้ที่ "อยู่ภายใต้การตัดสินใจ" ครับ นั่นหมายความว่า เงินปันผลที่ได้ในตอนแรกแล้วนั้นควรเป็นเงินที่จะต้องส่งต่อไปให้ผู้ถือหน่อยลงทุนครับ (ด้วยเหตุผลทางภาษี ซึ่งไม่มีในบ้านเรา) ดังนั้นถ้าจะนำเงินปันผลนั้นใส่กลับเข้ามาในพอร์ต (reinvest) ก็จะถือว่าเงินก้อนนี้คือเงินทุนที่เพิ่มเข้าไปครับ แต่ในการบริหารพอร์ต VI แบบเราๆแล้ว เงินปันผลที่ได้ผมถือว่านำมา reinvested โดยอัตโนมัติครับ ดังนั้นมันจึงไม่ใช่ เงินที่"อยู่ภายใต้การตัดสินใจ"ครับ ดังนั้นผมจึงไม่นำมาเป็นการเคลื่อนไหวของเงินสดให้มัน capture ในการคำนวน DWR ครับ (เข้าใจกันมั้ยอ่า ถ้าพางงก็ขออภัยนะครับ )
รูป3: จะเห็นว่า DWR จะสูงกว่า TWR ครับเพราะผลตอบแทนที่คำนวนได้จาก DWR จะ reward จากการที่เราเพิ่มเงินเข้าไปในขณะที่ผลตอบแทนเป็นขาขึ้น
รูป4: ในขณะเดียวกันถ้า เราใส่เงินเพิ่มเข้าไปในขณะที่ตลาดเป็นขาลง การคำนวนที่ได้จาก DWR จะสะท้อนความผิดพลาดตรงนี้ออกมาด้วยครับ โดยผลตอบแทนที่คำนวนได้จะต่ำกว่า TWR
ข้อสังเกตุในรูป 3,4 ก็คือตัวเลขที่ได้จาก HPR นั้นเพี๊ยนได้ใจเลยครับ เพราะสาเหตุจากเงินที่เราฝากเพิ่มไปนั้นมีสัดส่วนที่สูงมากเมื่อเทียบกับมูลค่ารวมของพอร์ตนั่นเอง
Financial Discipline + Value Investment + Time = Financial Independence
-
- Verified User
- โพสต์: 1120
- ผู้ติดตาม: 0
Re: วิธีการคำนวนผลตอบแทน Portfolio ตามตำรา Fund Manager
โพสต์ที่ 4
3. Time-Weighted Return
TWR นั้นคือการคำนวนผลตอบแทนโดยเอา HPR ของแต่ละ period ย่อยๆมาหาค่าเฉลี่ย geometric mean นั่นเองครับ ซึ่งผลตอบแทนที่ได้จากการคำนวนด้วย geometric mean นั้น ทำให้ตัวเลขที่ได้เป็น compounded return ครับ
วิธีการคำนวน TWR นั้นเราจะต้องหา HPR ของในแต่ละ period ย่อยๆออกมาก่อนครับ โดยความพิเศษเหนือ HPR ปกติก็คือ เราจะหัก/เพิ่มเงินที่เราฝาก/ถอน ระหว่าง period ย่อยๆนั้นออกจากมูลค่าของพอร์ตก่อนครับ หลังจากนั้นให้หา geometric average ของ HPR ในแต่ละ period ครับ (เพิ่มความไม่งง ผมขอเรียกว่า HPRx นะครับ)
โดยสูตรที่ใช้คือ TWR =(GEOMEAN(HPRx0:HPRx1))-1 ;ในขณะที่ HPRxi = (V1-เงินฝากเพิ่ม+เงินถอนออก)/V0
ในกรณีที่ไม่มีการเพิ่มหรือถอนเงินออกจากพอร์ตลงทุน หรือมีการเพิ่ม/ถอนเงินลงทุนในขณะที่ทิศทางตลาดไม่มีความเคลื่อนไหวที่ correlate กับการเคลื่อนไหวของเงินต้น ผลที่ได้จากการคำนวน DWR และ TWR ควรจะเท่ากันครับ (ดูจากรูป 1 และ 2 ได้ครับ) โดยถ้ามีการเปลี่ยนแปลงเงินลงทุนระหว่างวด ผลต่างทีได้ระหว่าง DWR และ TWR ก็จะเป็นไปตามที่ผมอธิบายไปแล้วในส่วนของ DWR ด้านบน (รูป3, 4)ครับ
ด้วยสาเหตุนี้ทำให้ข้อดีของ TWR ก็คือ ผลตอบแทนที่คำนวนได้จะไม่นำความสามารถในการ allocate เงินทุนเมือเทียบกับ performance ของตลาดนั่นเองครับ ... บางคนอาจะสงสัยว่าแล้วทำไมเราถึงไม่อยากเอาตรงนี้มาคิดล่ะ ในเมื่อถ้าตลาดดีเราใส่เงินเพิ่ม หรือตลาดแย่เราถอนเงินออกเราก็น่าจะได้รางวัลตรงนั้นด้วยนี่นา คำตอบก็คือ ถ้าผมเป็นมนุษย์เงินเดือนแล้วผมจะแบ่งเงินเดือน 50% เข้าพอร์ตทุกเดือนๆ ไม่ว่าตลาดจะเป็นอย่างไร ดังนั้นผลตอบแทนที่คำนวนออกมาก็ไม่ควรจะนำทิศทางของตลาดที่มีต่อทิศทางการเพิ่ม/ลดของเงินลงทุนจริงมาคิดมั้ยครับ นี่แหละครับผมถึงนิยมใช้ TWR ในการวัดผลตอบแทนมากกว่าการใช้ DWR ซึ่งอาจจะทำให้ผลตอบแทนที่คำนวนได้ผันไปตามทิศทางของตลาดเมื่อเทียบกับการเพิ่มหรือถอนเงินลงทุนของเรา ซึ่งในความเป็นจริงแล้วการที่เราใส่เงินเพิ่มหรือถอนออก ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับการคาดเดาหรือวิเคราะห์ตลาดแม้แต่นิดเดียว
พักโฆษณากันก่อนครับ แล้วกลับมาอ่านกันต่อในช่วงสุดท้ายครับ
TWR นั้นคือการคำนวนผลตอบแทนโดยเอา HPR ของแต่ละ period ย่อยๆมาหาค่าเฉลี่ย geometric mean นั่นเองครับ ซึ่งผลตอบแทนที่ได้จากการคำนวนด้วย geometric mean นั้น ทำให้ตัวเลขที่ได้เป็น compounded return ครับ
วิธีการคำนวน TWR นั้นเราจะต้องหา HPR ของในแต่ละ period ย่อยๆออกมาก่อนครับ โดยความพิเศษเหนือ HPR ปกติก็คือ เราจะหัก/เพิ่มเงินที่เราฝาก/ถอน ระหว่าง period ย่อยๆนั้นออกจากมูลค่าของพอร์ตก่อนครับ หลังจากนั้นให้หา geometric average ของ HPR ในแต่ละ period ครับ (เพิ่มความไม่งง ผมขอเรียกว่า HPRx นะครับ)
โดยสูตรที่ใช้คือ TWR =(GEOMEAN(HPRx0:HPRx1))-1 ;ในขณะที่ HPRxi = (V1-เงินฝากเพิ่ม+เงินถอนออก)/V0
ในกรณีที่ไม่มีการเพิ่มหรือถอนเงินออกจากพอร์ตลงทุน หรือมีการเพิ่ม/ถอนเงินลงทุนในขณะที่ทิศทางตลาดไม่มีความเคลื่อนไหวที่ correlate กับการเคลื่อนไหวของเงินต้น ผลที่ได้จากการคำนวน DWR และ TWR ควรจะเท่ากันครับ (ดูจากรูป 1 และ 2 ได้ครับ) โดยถ้ามีการเปลี่ยนแปลงเงินลงทุนระหว่างวด ผลต่างทีได้ระหว่าง DWR และ TWR ก็จะเป็นไปตามที่ผมอธิบายไปแล้วในส่วนของ DWR ด้านบน (รูป3, 4)ครับ
ด้วยสาเหตุนี้ทำให้ข้อดีของ TWR ก็คือ ผลตอบแทนที่คำนวนได้จะไม่นำความสามารถในการ allocate เงินทุนเมือเทียบกับ performance ของตลาดนั่นเองครับ ... บางคนอาจะสงสัยว่าแล้วทำไมเราถึงไม่อยากเอาตรงนี้มาคิดล่ะ ในเมื่อถ้าตลาดดีเราใส่เงินเพิ่ม หรือตลาดแย่เราถอนเงินออกเราก็น่าจะได้รางวัลตรงนั้นด้วยนี่นา คำตอบก็คือ ถ้าผมเป็นมนุษย์เงินเดือนแล้วผมจะแบ่งเงินเดือน 50% เข้าพอร์ตทุกเดือนๆ ไม่ว่าตลาดจะเป็นอย่างไร ดังนั้นผลตอบแทนที่คำนวนออกมาก็ไม่ควรจะนำทิศทางของตลาดที่มีต่อทิศทางการเพิ่ม/ลดของเงินลงทุนจริงมาคิดมั้ยครับ นี่แหละครับผมถึงนิยมใช้ TWR ในการวัดผลตอบแทนมากกว่าการใช้ DWR ซึ่งอาจจะทำให้ผลตอบแทนที่คำนวนได้ผันไปตามทิศทางของตลาดเมื่อเทียบกับการเพิ่มหรือถอนเงินลงทุนของเรา ซึ่งในความเป็นจริงแล้วการที่เราใส่เงินเพิ่มหรือถอนออก ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับการคาดเดาหรือวิเคราะห์ตลาดแม้แต่นิดเดียว
พักโฆษณากันก่อนครับ แล้วกลับมาอ่านกันต่อในช่วงสุดท้ายครับ
Financial Discipline + Value Investment + Time = Financial Independence
-
- Verified User
- โพสต์: 1120
- ผู้ติดตาม: 0
Re: วิธีการคำนวนผลตอบแทน Portfolio ตามตำรา Fund Manager
โพสต์ที่ 5
แฮ่ๆๆ จบแล้วครับ (หลอกให้ไปดูโฆษณา 5 นาทีแล้วกลับ ดูพิธีกรกล่าวสวัสดีแล้วจบรายการ :lovl:) หวังว่าที่นำมาแชร์ตรงนี้จะทำให้เพื่อนๆพี่ๆที่ยังงงๆกับวิธีการคำนวนผลตอบแทนได้เข้าใจกับวิธีการ รวมถึงข้อจำกัดและเบื้องหลังฉากของการคำนวนผลตอบแทนด้วยวิธีต่างๆกันไม่มากก็น้อยนะครับ :lol:
หวังว่าผมคงจะไม่พิมพ์อะไรผิดนะครับ เพราะใน ThaiVI มัน Edit ข้อความกลบเกลื่อนความผิดไม่ได้ซะด้วยสิ เอาเป็นว่าถ้าอ่านตรงไหนไม่เข้าใจแล้วมีคำถาม หรือมีข้อแย้งติชมใดๆ ก็โพสลงไปได้เลยครับ ยังไงผมก็ขอขอบคุณและขออภัยกับ feedback ที่มีให้จากเพื่อนๆพี่ๆเสมอครับ
หวังว่าผมคงจะไม่พิมพ์อะไรผิดนะครับ เพราะใน ThaiVI มัน Edit ข้อความกลบเกลื่อนความผิดไม่ได้ซะด้วยสิ เอาเป็นว่าถ้าอ่านตรงไหนไม่เข้าใจแล้วมีคำถาม หรือมีข้อแย้งติชมใดๆ ก็โพสลงไปได้เลยครับ ยังไงผมก็ขอขอบคุณและขออภัยกับ feedback ที่มีให้จากเพื่อนๆพี่ๆเสมอครับ
Financial Discipline + Value Investment + Time = Financial Independence
-
- Verified User
- โพสต์: 1120
- ผู้ติดตาม: 0
Re: วิธีการคำนวนผลตอบแทน Portfolio ตามตำรา Fund Manager
โพสต์ที่ 6
แฮ่ๆ ตอนจะเขียนเนื้อหาครั้งแรกตั้งใจจะ reply ไปในกระทู้นี้ครับ http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=1&t=45776 แต่เขียนไปมาเห็นยาวมากเลยมาตั้งกระทู้ใหม่ แต่ดันลืมไปว่าในเนื้อหาได้อ้างอิงถึงพี่ๆที่โพสอยู่ในกระทู้นั้นไปด้วย แหละๆถ้าอ่านแล้วงงๆ ก็ขออภัยด้วยครับ Edit แก้ไม่ได้ด้วยจริงๆสิ :lol:
Financial Discipline + Value Investment + Time = Financial Independence
-
- Verified User
- โพสต์: 1120
- ผู้ติดตาม: 0
Re: วิธีการคำนวนผลตอบแทน Portfolio ตามตำรา Fund Manager
โพสต์ที่ 7
แถมครับ ไฟล์ Excel ที่ใช้แสดงในกระทู้นี้ พี่ๆเพื่อนๆสามารถนำเอาไป adapt ใช้กับพอร์ตลงทุนของตัวเองได้เลยครับ โดยอาจจะเพิ่ม asset class หรือ จะเอาไปทำเป็น weekly ก็ได้ครับ
http://www.mediafire.com/?sppzpl6bc1hn9wx
ปล.ขอแก้สูตร TWR ด้วยนะครับ
จาก
TWR =(GEOMEAN(HPRx0:HPRx1))-1 ;ในขณะที่ HPRxi = (V1-เงินฝากเพิ่ม+เงินถอนออก)/V0
เป็น
TWR =(GEOMEAN(HPRx0:HPRx1)^12)-1 ;ในขณะที่ HPRxi = (V1-เงินฝากเพิ่ม+เงินถอนออก)/V0
note: ถ้าตารางเป็น monthly ก็ ยกกำลัง 12 หรือ ถ้าเป็น weekly ก็ยกกำลัง 52 ครับ
http://www.mediafire.com/?sppzpl6bc1hn9wx
ปล.ขอแก้สูตร TWR ด้วยนะครับ
จาก
TWR =(GEOMEAN(HPRx0:HPRx1))-1 ;ในขณะที่ HPRxi = (V1-เงินฝากเพิ่ม+เงินถอนออก)/V0
เป็น
TWR =(GEOMEAN(HPRx0:HPRx1)^12)-1 ;ในขณะที่ HPRxi = (V1-เงินฝากเพิ่ม+เงินถอนออก)/V0
note: ถ้าตารางเป็น monthly ก็ ยกกำลัง 12 หรือ ถ้าเป็น weekly ก็ยกกำลัง 52 ครับ
Financial Discipline + Value Investment + Time = Financial Independence
- กล้วยไม้ขาว
- Verified User
- โพสต์: 1074
- ผู้ติดตาม: 0
Re: วิธีการคำนวนผลตอบแทน Portfolio ตามตำรา Fund Manager
โพสต์ที่ 9
โอ้ขอบคุณครับ
แสดงว่าผมใช้วิธีแบบ TWR อยู่นี่เอง
แต่สูตรยังต่างกันนิดหน่อยตรงที่ผมจะคิดเงินต้นใหม่ทุกเดือน
ผมเลยเอา Performance ที่ได้แต่ละเดือนมาบวกกันเลย
และถ้าเดือนใหนเพิ่มเงินเข้าไปไม่ว่าจะวันที่เท่าไหร่ของเดือน
ผมจะถือว่าเพิ่มวันที่ 1 ให้หมด Performance จะได้ไม่สูงกว่าจริง
ของลองเอาสูตรไปลองใช้ดูนะครับ อยากรู้ว่าจะเป็นเช่นไร
แสดงว่าผมใช้วิธีแบบ TWR อยู่นี่เอง
แต่สูตรยังต่างกันนิดหน่อยตรงที่ผมจะคิดเงินต้นใหม่ทุกเดือน
ผมเลยเอา Performance ที่ได้แต่ละเดือนมาบวกกันเลย
และถ้าเดือนใหนเพิ่มเงินเข้าไปไม่ว่าจะวันที่เท่าไหร่ของเดือน
ผมจะถือว่าเพิ่มวันที่ 1 ให้หมด Performance จะได้ไม่สูงกว่าจริง
ของลองเอาสูตรไปลองใช้ดูนะครับ อยากรู้ว่าจะเป็นเช่นไร
- กล้วยไม้ขาว
- Verified User
- โพสต์: 1074
- ผู้ติดตาม: 0
Re: วิธีการคำนวนผลตอบแทน Portfolio ตามตำรา Fund Manager
โพสต์ที่ 10
ผมลองใช้ตามแล้วเลขมันแปลกๆ อยู่นะครับGeneraX เขียน:แถมครับ ไฟล์ Excel ที่ใช้แสดงในกระทู้นี้ พี่ๆเพื่อนๆสามารถนำเอาไป adapt ใช้กับพอร์ตลงทุนของตัวเองได้เลยครับ โดยอาจจะเพิ่ม asset class หรือ จะเอาไปทำเป็น weekly ก็ได้ครับ
http://www.mediafire.com/?sppzpl6bc1hn9wx
ปล.ขอแก้สูตร TWR ด้วยนะครับ
จาก
TWR =(GEOMEAN(HPRx0:HPRx1))-1 ;ในขณะที่ HPRxi = (V1-เงินฝากเพิ่ม+เงินถอนออก)/V0
เป็น
TWR =(GEOMEAN(HPRx0:HPRx1)^12)-1 ;ในขณะที่ HPRxi = (V1-เงินฝากเพิ่ม+เงินถอนออก)/V0
note: ถ้าตารางเป็น monthly ก็ ยกกำลัง 12 หรือ ถ้าเป็น weekly ก็ยกกำลัง 52 ครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 41
- ผู้ติดตาม: 0
Re: วิธีการคำนวนผลตอบแทน Portfolio ตามตำรา Fund Manager
โพสต์ที่ 12
ถามหน่อยครับ
ผมเป็นมือใหม่ครับ เริ่มลงทุนเดือนเมษาปีที่แล้วเอง
ทีนี้คือผมไม่มีข้อมูลว่าแต่ละเดือนมูลค่าพอร์ตผม เป็นเท่าไรอ่ะครับ
มีแต่
1) ข้อมูลว่าแต่ละเดือนโอนเงินเข้าไปเท่าไร(มีแต่โอนเข้านะครับ ไม่มีถอนเงินออก)
2) มูลค่าพอร์ตตอนสิ้นปี คือวันที่ 31/12/2552
อยากทราบว่าข้อมูลแค่นี้ผมจะคำนวณผลตอบแทนได้มั๊ยครับ และถ้าได้ ค่าที่ได้จะแม่นยำมากแค่ไหนครับ
ขอบคุณมากครับ
ผมเป็นมือใหม่ครับ เริ่มลงทุนเดือนเมษาปีที่แล้วเอง
ทีนี้คือผมไม่มีข้อมูลว่าแต่ละเดือนมูลค่าพอร์ตผม เป็นเท่าไรอ่ะครับ
มีแต่
1) ข้อมูลว่าแต่ละเดือนโอนเงินเข้าไปเท่าไร(มีแต่โอนเข้านะครับ ไม่มีถอนเงินออก)
2) มูลค่าพอร์ตตอนสิ้นปี คือวันที่ 31/12/2552
อยากทราบว่าข้อมูลแค่นี้ผมจะคำนวณผลตอบแทนได้มั๊ยครับ และถ้าได้ ค่าที่ได้จะแม่นยำมากแค่ไหนครับ
ขอบคุณมากครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 1120
- ผู้ติดตาม: 0
Re: วิธีการคำนวนผลตอบแทน Portfolio ตามตำรา Fund Manager
โพสต์ที่ 13
ไม่ทราบว่าพี่กล้วยไม้ขาวลองอธิบายเพิ่มเติมได้มั้ยครับว่า มันแปลกๆ ตรงไหนกล้วยไม้ขาว เขียน:ผมลองใช้ตามแล้วเลขมันแปลกๆ อยู่นะครับGeneraX เขียน:แถมครับ ไฟล์ Excel ที่ใช้แสดงในกระทู้นี้ พี่ๆเพื่อนๆสามารถนำเอาไป adapt ใช้กับพอร์ตลงทุนของตัวเองได้เลยครับ โดยอาจจะเพิ่ม asset class หรือ จะเอาไปทำเป็น weekly ก็ได้ครับ
http://www.mediafire.com/?sppzpl6bc1hn9wx
ปล.ขอแก้สูตร TWR ด้วยนะครับ
จาก
TWR =(GEOMEAN(HPRx0:HPRx1))-1 ;ในขณะที่ HPRxi = (V1-เงินฝากเพิ่ม+เงินถอนออก)/V0
เป็น
TWR =(GEOMEAN(HPRx0:HPRx1)^12)-1 ;ในขณะที่ HPRxi = (V1-เงินฝากเพิ่ม+เงินถอนออก)/V0
note: ถ้าตารางเป็น monthly ก็ ยกกำลัง 12 หรือ ถ้าเป็น weekly ก็ยกกำลัง 52 ครับ
ไม่แน่นะครับผมอาจจะใส่สูตรตรงไหนผิดก็ได้ ยิ่งโง่เลขอยู่ด้วย ฮ่าๆ :lol:
Financial Discipline + Value Investment + Time = Financial Independence
-
- Verified User
- โพสต์: 1120
- ผู้ติดตาม: 0
Re: วิธีการคำนวนผลตอบแทน Portfolio ตามตำรา Fund Manager
โพสต์ที่ 14
แบบนี้ใช้ DWR โลดเลยครับ ข้อดีของ DWRอีกอย่าง (ที่ผมไม่ได้เขียนลงไป) คือมันไม่สนใจผลตอบแทนระหว่างวดแบบ TWR ครับduterian เขียน:ถามหน่อยครับ
ผมเป็นมือใหม่ครับ เริ่มลงทุนเดือนเมษาปีที่แล้วเอง
ทีนี้คือผมไม่มีข้อมูลว่าแต่ละเดือนมูลค่าพอร์ตผม เป็นเท่าไรอ่ะครับ
มีแต่
1) ข้อมูลว่าแต่ละเดือนโอนเงินเข้าไปเท่าไร(มีแต่โอนเข้านะครับ ไม่มีถอนเงินออก)
2) มูลค่าพอร์ตตอนสิ้นปี คือวันที่ 31/12/2552
อยากทราบว่าข้อมูลแค่นี้ผมจะคำนวณผลตอบแทนได้มั๊ยครับ และถ้าได้ ค่าที่ได้จะแม่นยำมากแค่ไหนครับ
ขอบคุณมากครับ
ถ้าเปิด Excel มาจะเห็นว่า Cell J17 ที่ใช้คำนวน DWR จะใช้แค่เงินต้น เงินทุนเปลี่ยนแปลงระหว่างวด และ มูลค่า ยort สิ้นงวดเท่านั้นเองครับ
อ่อ... ถ้าลงทุนตอนเมษา แล้วใช้สูตร XIRR มันจะทำให้เป็นรายปีให้เลยนะครับ (มันจะนำผลตอบแทนที่ได้จริง 9 เดือนมาทำให้เป็น 12 เดือน)นั่นหมายความว่าตัวเลขที่ได้มันจะ extream กว่าปกติ (ถ้ากำไรมันจะคำนวนเป็นบวกมากขึ้น ถ้าขาดทุนมันจะคำนวนติดลบมากขึ้น) ดังนั้นถ้าต้องการจะให้ผลตอบแทนออกมาเป็น 9 เดือน จะต้องนำตัวเลขในcell J17 มา ((DWRy+1)^(9/12))-1 ก่อนนะครับ
Financial Discipline + Value Investment + Time = Financial Independence
-
- Verified User
- โพสต์: 1120
- ผู้ติดตาม: 0
Re: วิธีการคำนวนผลตอบแทน Portfolio ตามตำรา Fund Manager
โพสต์ที่ 16
อย่างที่บอกไว้ rep บนครับ ถ้าไม่มีการบันทึกมูลค่าพอร์ตไว้ระหว่างงวด ก็ต้องบันทึกการเคลื่อนไหวของเงินต้นทุน แล้วใช้หลักการของ DWR ในการหาผลตอนแทนครับZolo เขียน:แบบนี้ เราต้องคอย บันทึกความเคลื่ยนไหวของพอร์ต ทุกเดือน ๆ หรือครับ พอดีผมไม่ได้ บันทึกไว้เลย
Financial Discipline + Value Investment + Time = Financial Independence
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 66
- ผู้ติดตาม: 0
Re: วิธีการคำนวนผลตอบแทน Portfolio ตามตำรา Fund Manager
โพสต์ที่ 20
วิธี DWR ตรงช่องมูลค่าพอร์ต เราก็ต้องใส่อยู่ดีนี่ครับ งงๆGeneraX เขียน:อย่างที่บอกไว้ rep บนครับ ถ้าไม่มีการบันทึกมูลค่าพอร์ตไว้ระหว่างงวด ก็ต้องบันทึกการเคลื่อนไหวของเงินต้นทุน แล้วใช้หลักการของ DWR ในการหาผลตอนแทนครับZolo เขียน:แบบนี้ เราต้องคอย บันทึกความเคลื่ยนไหวของพอร์ต ทุกเดือน ๆ หรือครับ พอดีผมไม่ได้ บันทึกไว้เลย
- กล้วยไม้ขาว
- Verified User
- โพสต์: 1074
- ผู้ติดตาม: 0
Re: วิธีการคำนวนผลตอบแทน Portfolio ตามตำรา Fund Manager
โพสต์ที่ 21
อ่อมันผิดเพราะผมเก็บข้อมูลไม่ครับปีที่เอง
ผมเก็บได้แค่ 6 เดือนเลยต้อง ^6 แทน
คิดตามสูตรแล้วได้ % เยอะขึ้นนิดนึง
เข้าใจว่ามาจากอัตราทบต้นที่ตอนแรกผมใช้การบวกมันจะไม่แสดงส่วนนี้ออกมา
ผมเก็บได้แค่ 6 เดือนเลยต้อง ^6 แทน
คิดตามสูตรแล้วได้ % เยอะขึ้นนิดนึง
เข้าใจว่ามาจากอัตราทบต้นที่ตอนแรกผมใช้การบวกมันจะไม่แสดงส่วนนี้ออกมา
-
- Verified User
- โพสต์: 385
- ผู้ติดตาม: 0
Re: วิธีการคำนวนผลตอบแทน Portfolio ตามตำรา Fund Manager
โพสต์ที่ 22
แล้วถ้าคำนวณจาก
มูลค่าพอร์ต / ต้นทุนรวม ณ สิ้นปี
... เรียกว่าวิธีอะไรครับ ? เพราะตอนนี้ผมลูกทุ่งแบบนี้เลย
ถ้าลองคิดแบบนี้กับ excel ของคุณ GeneraX ปรากฎว่าได้ % น้อยกว่า 3 วิธีข้างต้นเลยครับ
มูลค่าพอร์ต / ต้นทุนรวม ณ สิ้นปี
... เรียกว่าวิธีอะไรครับ ? เพราะตอนนี้ผมลูกทุ่งแบบนี้เลย
ถ้าลองคิดแบบนี้กับ excel ของคุณ GeneraX ปรากฎว่าได้ % น้อยกว่า 3 วิธีข้างต้นเลยครับ
- กล้วยไม้ขาว
- Verified User
- โพสต์: 1074
- ผู้ติดตาม: 0
Re: วิธีการคำนวนผลตอบแทน Portfolio ตามตำรา Fund Manager
โพสต์ที่ 23
เป็นแบบ HPR นั่นแหละครับ แต่คิดแบบคอนเซอร์เวทีพสุดๆ
นั่นคือไม่ว่าจะใส่เงินตอนไหนก็ให้ถือว่าใส่เมื่อ 1 มค หมด
ค่าที่ได้ก็จะน้อยกว่าความเป็นจริง ตามปริมาณเงินที่เพิ่มในแต่ละปีครับ
ผมก็ใช้วิธีนี้เอาไว้วัดอัตราการเติบโตของพอร์ททั้งหมด เทียบกับเงินต้น
เอาไว้คำนวนอัตราทบต้นเฉลี่ยระยะยาวในอนาคต
นั่นคือไม่ว่าจะใส่เงินตอนไหนก็ให้ถือว่าใส่เมื่อ 1 มค หมด
ค่าที่ได้ก็จะน้อยกว่าความเป็นจริง ตามปริมาณเงินที่เพิ่มในแต่ละปีครับ
ผมก็ใช้วิธีนี้เอาไว้วัดอัตราการเติบโตของพอร์ททั้งหมด เทียบกับเงินต้น
เอาไว้คำนวนอัตราทบต้นเฉลี่ยระยะยาวในอนาคต
- dome@perth
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4740
- ผู้ติดตาม: 0
Re: วิธีการคำนวนผลตอบแทน Portfolio ตามตำรา Fund Manager
โพสต์ที่ 24
ผมคิดแบบง่ายๆครับ
เงินต้นปี + เิงินเพิ่มระหว่างปี/2
ตอนนี้ให้ความสำคัญต่อมูลค่าพอร์ต
มากกว่าอัตราผลตอบแทน
เอาไว้พอร์ตโตถึงเป้าหมาย ค่อยให้ความสำคัญ
ต่ออัตราผลตอบแทนมากกว่า...อิอิ
:lol: :lol: :lol:
เงินต้นปี + เิงินเพิ่มระหว่างปี/2
ตอนนี้ให้ความสำคัญต่อมูลค่าพอร์ต
มากกว่าอัตราผลตอบแทน
เอาไว้พอร์ตโตถึงเป้าหมาย ค่อยให้ความสำคัญ
ต่ออัตราผลตอบแทนมากกว่า...อิอิ
:lol: :lol: :lol:
"ไม่มีสุตรสำเร็จ ไม่มีทางลัด ไม่ใช่แค่โชค
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง"
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง"
-
- Verified User
- โพสต์: 1120
- ผู้ติดตาม: 0
Re: วิธีการคำนวนผลตอบแทน Portfolio ตามตำรา Fund Manager
โพสต์ที่ 25
อ้างอิงจากไฟล์ excel ที่ให้ไปนะครับZolo เขียน:วิธี DWR ตรงช่องมูลค่าพอร์ต เราก็ต้องใส่อยู่ดีนี่ครับ งงๆGeneraX เขียน:อย่างที่บอกไว้ rep บนครับ ถ้าไม่มีการบันทึกมูลค่าพอร์ตไว้ระหว่างงวด ก็ต้องบันทึกการเคลื่อนไหวของเงินต้นทุน แล้วใช้หลักการของ DWR ในการหาผลตอนแทนครับZolo เขียน:แบบนี้ เราต้องคอย บันทึกความเคลื่ยนไหวของพอร์ต ทุกเดือน ๆ หรือครับ พอดีผมไม่ได้ บันทึกไว้เลย
ถ้าสังเกตุดีๆจะเห็นว่า excel ตัวนี้ออกแบบมาเพื่อที่จะคำนวนผลตอบแทนทั้งจาก 3 วิธี เพื่อใช้ในการเปรียบเทียบ ลองดู cel J17 จะเห็นว่าการคำนวนหา DWR (หรือ IRR) จะใช้แค่ตัวเลขแค่ 3 ชุดครับ (1) มูลค่าพอร์ตตอนต้นปีหรือเงินทุนแรกเริ่ม (2) ความเคลื่อนไหวของเงินทุน ที่ฝากและถอนจากพอร์ต ในะรหว่างงวด (3) มูลค่าพอร์ต ณ สิ้นงวด ส่วน ข้อมูลระหว่างวดใน column G H I จะใช้เฉฑาะในการคำนวน TWR ครับ
ดังนั้นถ้าคุณ zolo ไม่ได้บันทึกมูลค่าของพอร์ตในระหว่างวดไว้ (ไม่ว่าจะทำเป็นรายเดือน หรือรายสัปดาห์) แต่บันทึกความเคลื่อนไหวของเงินในพอร์ตที่ใส่เข้าและถอนออกระหว่างวด (column F, J) ก็สามารถใช้ DWR หรือ IRR ในการคำนวนผลตอบแทนได้ครับ
Financial Discipline + Value Investment + Time = Financial Independence
-
- Verified User
- โพสต์: 1120
- ผู้ติดตาม: 0
Re: วิธีการคำนวนผลตอบแทน Portfolio ตามตำรา Fund Manager
โพสต์ที่ 26
วิธีของพี่โดมก็คือ HPR แบบคิดจากค่าเฉลี่ยต้นทุนนั่นเองครับ ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงเงินต้นไม่มาก วิธีนี้ก็ให้ตัวเลขที่ออกมาใกล้เคียงมากครับ ผมคุ้นๆว่าดร.นิเวศน์เองก็เคยแนะนำให้นลท.ใช้วิธีนี้อยู่เหมือนกันครับ (ไม่แน่ใจนะครับ แต่เคยฟังแกบอกว่า ให้คำนวนผลตอบแทนจากต้นทุนเฉลี่ย) แต่อีกบทความนึงแกก็บอกว่าแก update มูลค่าพอร์ตทุกสัปดาห์ ซึ่งถ้าทำแบบนั้นแล้วตัวแกเองน่าจะใช้วิธี TWR มากกว่าครับdome@perth เขียน:ผมคิดแบบง่ายๆครับ
เงินต้นปี + เิงินเพิ่มระหว่างปี/2
ตอนนี้ให้ความสำคัญต่อมูลค่าพอร์ต
มากกว่าอัตราผลตอบแทน
เอาไว้พอร์ตโตถึงเป้าหมาย ค่อยให้ความสำคัญ
ต่ออัตราผลตอบแทนมากกว่า...อิอิ
:lol: :lol: :lol:
Financial Discipline + Value Investment + Time = Financial Independence
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 66
- ผู้ติดตาม: 0
Re: วิธีการคำนวนผลตอบแทน Portfolio ตามตำรา Fund Manager
โพสต์ที่ 27
อย่างที่บอกไว้ rep บนครับ ถ้าไม่มีการบันทึกมูลค่าพอร์ตไว้ระหว่างงวด ก็ต้องบันทึกการเคลื่อนไหวของเงินต้นทุน แล้วใช้หลักการของ DWR ในการหาผลตอนแทนครับ[/quote]
วิธี DWR ตรงช่องมูลค่าพอร์ต เราก็ต้องใส่อยู่ดีนี่ครับ งงๆ[/quote]
อ้างอิงจากไฟล์ excel ที่ให้ไปนะครับ
ถ้าสังเกตุดีๆจะเห็นว่า excel ตัวนี้ออกแบบมาเพื่อที่จะคำนวนผลตอบแทนทั้งจาก 3 วิธี เพื่อใช้ในการเปรียบเทียบ ลองดู cel J17 จะเห็นว่าการคำนวนหา DWR (หรือ IRR) จะใช้แค่ตัวเลขแค่ 3 ชุดครับ (1) มูลค่าพอร์ตตอนต้นปีหรือเงินทุนแรกเริ่ม (2) ความเคลื่อนไหวของเงินทุน ที่ฝากและถอนจากพอร์ต ในะรหว่างงวด (3) มูลค่าพอร์ต ณ สิ้นงวด ส่วน ข้อมูลระหว่างวดใน column G H I จะใช้เฉฑาะในการคำนวน TWR ครับ
ดังนั้นถ้าคุณ zolo ไม่ได้บันทึกมูลค่าของพอร์ตในระหว่างวดไว้ (ไม่ว่าจะทำเป็นรายเดือน หรือรายสัปดาห์) แต่บันทึกความเคลื่อนไหวของเงินในพอร์ตที่ใส่เข้าและถอนออกระหว่างวด (column F, J) ก็สามารถใช้ DWR หรือ IRR ในการคำนวนผลตอบแทนได้ครับ [/quote]
ขอบคุณมากๆ ครับ
วิธี DWR ตรงช่องมูลค่าพอร์ต เราก็ต้องใส่อยู่ดีนี่ครับ งงๆ[/quote]
อ้างอิงจากไฟล์ excel ที่ให้ไปนะครับ
ถ้าสังเกตุดีๆจะเห็นว่า excel ตัวนี้ออกแบบมาเพื่อที่จะคำนวนผลตอบแทนทั้งจาก 3 วิธี เพื่อใช้ในการเปรียบเทียบ ลองดู cel J17 จะเห็นว่าการคำนวนหา DWR (หรือ IRR) จะใช้แค่ตัวเลขแค่ 3 ชุดครับ (1) มูลค่าพอร์ตตอนต้นปีหรือเงินทุนแรกเริ่ม (2) ความเคลื่อนไหวของเงินทุน ที่ฝากและถอนจากพอร์ต ในะรหว่างงวด (3) มูลค่าพอร์ต ณ สิ้นงวด ส่วน ข้อมูลระหว่างวดใน column G H I จะใช้เฉฑาะในการคำนวน TWR ครับ
ดังนั้นถ้าคุณ zolo ไม่ได้บันทึกมูลค่าของพอร์ตในระหว่างวดไว้ (ไม่ว่าจะทำเป็นรายเดือน หรือรายสัปดาห์) แต่บันทึกความเคลื่อนไหวของเงินในพอร์ตที่ใส่เข้าและถอนออกระหว่างวด (column F, J) ก็สามารถใช้ DWR หรือ IRR ในการคำนวนผลตอบแทนได้ครับ [/quote]
ขอบคุณมากๆ ครับ
- Ii'8N
- Verified User
- โพสต์: 3682
- ผู้ติดตาม: 0
Re: วิธีการคำนวนผลตอบแทน Portfolio ตามตำรา Fund Manager
โพสต์ที่ 28
มูลค่า port ระหว่างงวด หาค่าไม่ยากนะ
เพราะทุกคน มักจะบันทึกอยู่แล้ว ว่าช่วงไหนเราซื้อเพิ่ม หรือช่วงไหนเราขายออก จำนวนกี่หุ้นที่ซื้อหรือขาย
ดังนั้น เราจะรู้ว่าหุ้นที่เราอยู่ขณะนั้น มีกี่หุ้น
พอรู้เสร็จ ก็ไปดูราคาย้อนหลังของวันที่นั้นๆ (31/3/10, 30/4/10, 31/5/10, ...etc.) ว่าวันนั้น ราคาต่อหุ้นเป็นเท่าไหร่ คูณกับหุ้น on hand ก็รู้มูลค่า port ได้แล้ว
เพราะทุกคน มักจะบันทึกอยู่แล้ว ว่าช่วงไหนเราซื้อเพิ่ม หรือช่วงไหนเราขายออก จำนวนกี่หุ้นที่ซื้อหรือขาย
ดังนั้น เราจะรู้ว่าหุ้นที่เราอยู่ขณะนั้น มีกี่หุ้น
พอรู้เสร็จ ก็ไปดูราคาย้อนหลังของวันที่นั้นๆ (31/3/10, 30/4/10, 31/5/10, ...etc.) ว่าวันนั้น ราคาต่อหุ้นเป็นเท่าไหร่ คูณกับหุ้น on hand ก็รู้มูลค่า port ได้แล้ว