ศึกชิง คาร์ฟูร์ งวดนี้ คุณเชียร์ใครครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 1667
- ผู้ติดตาม: 0
ศึกชิง คาร์ฟูร์ งวดนี้ คุณเชียร์ใครครับ
โพสต์ที่ 66
การประมูลผลออกแล้ว ประจักษ์ใจ
BigCสิรับเจ้าไป อยู่ด้วย
BigCสิรับเจ้าไป อยู่ด้วย
คงไม่มีใคร หาเงินมากมาย ไว้ยัดใส่โลงศพตัวเอง
.........
เชิญรับแจก เมล็ดพันธุ์พืชนานาชนิดได้ที่
http://www.kasetporpeang.com/forums/ind ... board=22.0
เชิญฟังธรรมฟรี ที่ http://www.fungdham.com
.........
เชิญรับแจก เมล็ดพันธุ์พืชนานาชนิดได้ที่
http://www.kasetporpeang.com/forums/ind ... board=22.0
เชิญฟังธรรมฟรี ที่ http://www.fungdham.com
- naris
- Verified User
- โพสต์: 6726
- ผู้ติดตาม: 0
ศึกชิง คาร์ฟูร์ งวดนี้ คุณเชียร์ใครครับ
โพสต์ที่ 67
สรุปว่าเขาสู้จริงๆ และน่าจะเห็นทรัพย์สินแฝงอะไรบางอย่าง จึงประมูลไป35000ล้าน จากที่คาร์ฟูกำไรในปีที่แล้วเพียง500ล้านเอง....naris เขียน:
แต่ถ้าถามความเป็นไปได้ของกำลังทรัพย์ ความเชี่ยวชาญ และ แรงจูงใจ น่าจะเป็นBIG-Cทีได้เปรียบและมองเห็นช่องทางและประเมินตลาดได้ดีกว่าผู้อื่น เหลือช๊อยเดียวแค่นั้นว่า เขาตั้งใจจะสู้หรือเปล่า
ราคาระยะสั้นตามข่าว--ราคาระยะยาวตามผลกำไร
- MO101
- Verified User
- โพสต์: 3226
- ผู้ติดตาม: 0
ศึกชิง คาร์ฟูร์ งวดนี้ คุณเชียร์ใครครับ
โพสต์ที่ 68
PE 70 เท่า และยังมีเรื่องทับซ้อนของสาขา
ค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยน brand ราคานี้แพงไม่ใช่เล่น
ค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยน brand ราคานี้แพงไม่ใช่เล่น
-
- Verified User
- โพสต์: 2606
- ผู้ติดตาม: 0
ศึกชิง คาร์ฟูร์ งวดนี้ คุณเชียร์ใครครับ
โพสต์ที่ 69
เอาเงิน 35000 ล้านมาขยายสาขาเองมันจะดีกว่ามั้ยเนี้ย
- Ii'8N
- Verified User
- โพสต์: 3682
- ผู้ติดตาม: 0
ศึกชิง คาร์ฟูร์ งวดนี้ คุณเชียร์ใครครับ
โพสต์ที่ 71
Windy เขียน:ุุถ้า big c ขยายสาขาได้ง่ายๆ (โดยเฉพาะใน กทม) ก็คงไม่ต้องไปซื้่อคาร์ฟูร์
เปิดเองดีกว่าถูกกว่าตั้งเยอะ แต่จริงๆแล้วเดี๋ยวนี้กว่าจะเปิดที่ใหม่ได้ ค่อนข้างยากมากๆ
ใช่เลยครับ
หลังจากกระแสต่อต้า่นค้าปลีก-ค้าส่งขนาดใหญ่ ซึ่งมีผู้ค้า 4 ราย ที่ใครๆ ก็รู้จัก และสังคมมองว่า เป็นการทำลายโชว์ห่วยสายพัยธุ์ไทย กระทบต่อวิถีชีวิตชุมชน ได้แก่ Tesco-Lotus, BigC, Carrefour, Makro แล้วยังมีโชว์ห่วยติดแอร์ ซึ่งมาแรงก็ 7-eleven ยังมีรายเล็ก เช่น AM-PM, Family mart มาอีก
จึงมีมาตรการทั้งหลายแหล่ออกมา ทำให้เกิดค้าปลีกติดแอร์ยากขึ้น แต่ดูเหมือนกระทบเฉพาะห้างขนาดใหญ่
มาตรการที่สำคัญ คือผังเมือง เพราะกำหนดขนาดเป็นตารางเมตรที่อนุญาตได้
แต่ผมไม่เชี่ยวชาญกฎหมายว่ากำหนดพื้นที่เป็นเท่าไหร่ ถ้าหาข้อมูลได้ จะเอามาแชร์กันอีกที
คนตั้งข้อสังเกตว่า Lotus Express นอกจากเป็นทางออกให้ Tesco Lotus ขยายสาขาได้เร็ว นอกจากเพราะพื้นที่ใหญ่ๆ หาซื้อ/เช่ายากแล้ว อีกอย่างหนึ่ง เพราะหนีกฎหมายควบคุมพื้นที่ด้วย เช่น ถ้าเจอพื้นที่ควบคุม ไม่เกิน 1000 ตารางเมตร ก็อาจสร้าง 900 ถึง 999 ตารางเมตรเป็นต้น (ออกแบบให้การใช้พื้นที่ได้ประโยชน์สูงสุด)
สถาปนิกที่ออกแบบอาคารจะมีข้อมูลพื้นที่ผังเมืองพวกนี้อยู่ก่อนออกแบบให้ ผมไปหาความรู้กับวงการอสังหาฯ มา 2-3 ครั้ง จึงทราบ concept ตัวนี้มา
-
- Verified User
- โพสต์: 2606
- ผู้ติดตาม: 0
ศึกชิง คาร์ฟูร์ งวดนี้ คุณเชียร์ใครครับ
โพสต์ที่ 72
อืม Good point ครับWindy เขียน:ุุถ้า big c ขยายสาขาได้ง่ายๆ (โดยเฉพาะใน กทม) ก็คงไม่ต้องไปซื้่อคาร์ฟูร์
เปิดเองดีกว่าถูกกว่าตั้งเยอะ แต่จริงๆแล้วเดี๋ยวนี้กว่าจะเปิดที่ใหม่ได้ ค่อนข้างยากมากๆ
- Ii'8N
- Verified User
- โพสต์: 3682
- ผู้ติดตาม: 0
ศึกชิง คาร์ฟูร์ งวดนี้ คุณเชียร์ใครครับ
โพสต์ที่ 73
พอจะหาได้บ้าง แต่ยังไม่เห็นตัวกฎหมาย
http://www.teamgroup.co.th/th/articles/article5.php
ธุรกิจการค้าปลีกในประเทศไทยมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว นับตั้งแต่ช่วงหลังจากวิกฤติเศรษฐกิจ ในปี 2540 เป็นต้นมา การเปิดเสรีทางการค้าของประเทศ ส่งผลให้รูปแบบการค้าปลีกในประเทศไทยเปลี่ยนแปลงไป โดยผู้ประกอบการชาวไทยต้องพึ่งการลงทุนจากต่างประเทศ และมีการปรับเปลี่ยนเข้าสู่ธุรกิจการค้าแบบใหม่ (Modern Trade) โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจการค้าปลีกขนาดใหญ่ในรูปของ Discount Store หรือ Hypermarket ที่เน้นด้านราคาถูก เช่น Tesco Lotus, Carrefour, BigC หรือ Makro ซึ่งลักษณะการดำเนินธุรกิจของห้าง/ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่นี้ จะมีทุนในการดำเนินการสูง มีการบริหารในระบบบริษัท มีโครงสร้างของอาคารโดยทั่วไปเป็นอาคารขนาดใหญ่ชั้นเดียว มีที่จอดรถกว้างขวาง ขณะที่สินค้ามีความหลากหลาย รวมถึงจำหน่ายในราคาต่ำกว่าท้องตลาดทั่วไป และมักจะมีการจัดรายการลดราคาเป็นประจำ
ห้าง/ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่มาจากการลงทุนของต่างชาติ ซึ่งเมื่อพิจารณาจากสถิติของกระทรวงพาณิชย์ พบว่า ในปัจจุบันเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและจังหวัดขนาดใหญ่ เช่น เชียงใหม่ ขอนแก่น สงขลา มีจำนวนห้างค้าปลีกขนาดใหญ่รวมกันกว่า 90 แห่ง มีผู้ใช้บริการประมาณ 1.6-2 ล้านคนต่อวัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 500,000 ล้านบาท หรือร้อยละ 35 ของภาคการค้าปลีกและค้าส่ง
จากสภาพการขยายตัวอย่างรวดเร็วเช่นนี้ทำให้ธุรกิจค้าปลีกของไทย โดยเฉพาะผู้ค้าปลีกรายย่อยแบบดั้งเดิม (Conventional Store) หรือที่เรียกว่า โชห่วย ได้รับผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของห้างหรือร้านค้าปลีกขนาดใหญ่เหล่านี้ เนื่องจากการขาดเงินทุนและความชำนาญในการบริหารจัดการ ทำให้ผู้ประกอบการหลายรายประสบปัญหา ไม่สามารถดำเนินธุรกิจของตนเองต่อไปได้ นับเป็นการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจที่ขาดการคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น และเป็นการเพิ่มปัญหาให้มีมากยิ่งขึ้นทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม
ด้วยสภาพปัญหาดังกล่าว จึงก่อให้เกิดข้อเรียกร้องต่อทางภาครัฐให้มีการดำเนินการควบคุมเพื่อจำกัดการขยายตัวของธุรกิจต่างชาติประเภทนี้ขึ้น และได้มีการเสนอแนะแนวทางและมาตรการในการควบคุมห้างหรือร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ในหลายๆ ด้าน โดยกฎหมายผังเมือง ถือเป็นมาตรการหนึ่งจากหลายๆ มาตรการที่ถูกเสนอขึ้น เพื่อนำมาใช้ในการควบคุมการขยายตัวหรือการก่อสร้างห้างหรือร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ ทั้งนี้เนื่องจากกฎหมายผังเมือง มีสภาพในการบังคับและควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของแต่ละบริเวณที่กำหนดขึ้น ซึ่งในการนำมาตรการกฎหมายผังเมืองมาใช้ในการควบคุมห้างหรือร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ สามารถทำได้ดังนี้
1) พื้นที่ในเขตผังเมืองรวมเมือง/ชุมชน สำหรับในบริเวณที่มีกฎกระทรวงผังเมืองรวมบังคับใช้อยู่แล้วนั้น สามารถทำได้โดยกำหนดพื้นที่ให้ใช้หรือห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภท ซึ่งในกรณีพื้นที่การค้าปลีกหรือค้าส่งจะถูกกำหนดไว้ในเขตพื้นที่พาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก (เขตสีแดง) หรือในกรณีเร่งด่วน สามารถออกเป็นกฎกระทรวงในการกำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางประเภท ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 โดยไม่ให้มีการก่อสร้างอาคารพาณิชยกรรมประเภทค้าปลีกค้าส่งในพื้นที่นั้นๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะหมายถึง อาคารค้าปลีกค้าส่งที่มีพื้นที่ใช้สอยอาคารเกิน 1,000 ตารางเมตร หรือหลายหลังที่มีพื้นที่ใช้สอยอาคารรวมกันตั้งแต่ 600 ถึง 1,000 ตารางเมตร โดยการควบคุมส่วนใหญ่จะห้ามไม่ให้มีการก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเปลี่ยนการใช้อาคารในบริเวณที่กำหนด เว้นแต่อาคารนั้นตั้งอยู่ในเงื่อนไข เช่น ตั้งอยู่ติดถนนสาธารณะที่มีขนาด 4 ช่องจราจร หรือเขตทางไม่น้อยกว่า 20 เมตร มีที่ว่างไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของแปลงที่ดิน มีอัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมของอาคารทุกหลังต่อแปลงที่ดิน เท่ากับ 1.5 มีอัตราส่วนพื้นที่ว่างเป็นสวนสาธารณะ ปลูกต้นไม้ ต่อแปลงที่ดิน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 มีระยะร่นจากเขตทางไม่น้อยกว่า 50 เมตร และเว้นที่ว่างห่างจากเขตที่ดินของผู้อื่นหรือถนนสาธารณะไม่น้อยกว่า 15 เมตร มีที่จอดรถไม่น้อยกว่า 1 คันต่อพื้นที่อาคาร 40 ตารางเมตร และสำหรับอาคารที่มีความสูง 10 เมตร ต้องตั้งห่างจากศูนย์ราชการ วัด โบราณสถาน หรือสถานศึกษา ไม่น้อยกว่า 500 เมตร
เพื่อให้ภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ขอยกตัวอย่างตามข้อยกเว้นข้างต้น ในกรณีที่จะการก่อสร้างห้างหรือร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ ซึ่งส่วนใหญ่โดยทั่วไปจะมีความต้องการขนาดแปลงที่ดินประมาณ 8,000 ตารางเมตร หรือ 5 ไร่ ให้เพียงพอสำหรับเป็นที่ว่าง 5,600 ตารางเมตร และที่จอดรถประมาณ 300 คน มีพื้นที่อาคารรวมสูงสุดได้ประมาณ 12,000 ตารางเมตร ความสูง ประมาณ 2 ชั้น และจะต้องในบริเวณถนนสายประธาน ได้แก่ ทางหลวงแผ่นดินสายเข้าและออกเมืองสายต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่มีขนาด 4 ช่องจราจรขึ้นไปและมีขนาดของเขตทางมากกว่า 30 เมตร ด้วยสภาพเช่นนี้จะเป็นการบังคับให้ห้างหรือร้านค้าปลีกขนาดใหญ่เหล่านี้ต้องไปตั้งอยู่นอกเขตชุมชนในที่สุด เนื่องจากราคาที่ดินที่มีราคาแพงบริเวณเขตเมือง และการสร้างอาคารขนาดเล็กจะไม่เกิดความคุ้มทุนในการดำเนินการ
2) พื้นที่นอกเหนือจากข้อ 1) สามารถควบคุมได้โดยใช้ผังเมืองรวมจังหวัด ซึ่งจัดทำขึ้นตามพระราชกฤษฎีการเพื่อการวางผังเมืองรวมจังหวัด รวมพื้นที่ 72 จังหวัด ยกเว้นกรุงเทพมหานคร นนทบุรี สมุทรปราการ และภูเก็ต แต่เนื่องจากในปัจจุบัน ผังเมืองรวมจังหวัดยังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของกฤษฎีกาและยังไม่มีผลในการบังคับใช้ ผู้ว่าราชการจังหวัดจึงสามารถกำหนดหลักเกณฑ์ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการผังเมือง ออกเป็นประกาศกรมโยธาธิการและผังเมือง ในการกำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางประเภทเพื่อการควบคุมห้างหรือร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ได้ และเมื่อมีการบังคับใช้ผังเมืองรวมจังหวัดแล้ว จึงจะได้ยกเลิกประกาศดังกล่าว
เมื่อพิจารณาถึงมาตรการทางด้านผังเมืองข้างต้น จะเห็นได้ว่า แนวโน้มการเกิดห้างหรือร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ในอนาคต จะทำได้เฉพาะในพื้นที่นอกเขตชุมชนเมืองเท่านั้น เนื่องจากสภาพของชุมชนเมืองส่วนใหญ่เกือบทุกเมืองในปัจจุบัน มีการพัฒนาเป็นพื้นที่อยู่อาศัยและย่านการค้าที่ค่อนข้างหนาแน่น ประกอบกับกฎกระทรวงที่มีการห้ามก่อสร้างหรือเปลี่ยนแปลงอาคารที่มีผลบังคับในพื้นที่ชุมชนเมืองส่วนใหญ่ เกิดเป็นแรงกดดันที่จะชะลอหรือยับยั้งการขยายสาขาใหม่ในพื้นที่เมือง โดยการให้ห้างหรือร้านค้าปลีกขนาดใหญ่เหล่านั้นออกไปตั้งอยู่นอกเขตชุมชนเมืองภายใต้ข้อกำหนดข้างต้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อธุรกิจการค้าปลีกค้าส่งของประเทศไทยในอนาคต ทั้งตัวของกลุ่มค้าปลีกค้าส่งสมัยใหม่ที่จะมีความชัดเจนในเรื่องของการเลือกที่ตั้งสำหรับการขยายสาขาใหม่ๆ ภายใต้เงื่อนไขที่จะไม่กระทบกับร้านค้าปลีกรายย่อย ขณะที่กลุ่มของผู้ค้าปลีกรายย่อยหรือ โชห่วย ก็จะได้รับประโยชน์จากจากการตั้งห้างหรือร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ไกลจากชุมชน ทำให้เกิดการแบ่งกลุ่มของลูกค้าที่ชัดเจนขึ้น เป็นการผ่อนคลายความขัดแย้งและสามารถเพิ่มโอกาสทางการค้าให้กับธุรกิจของตนเองให้สามารถดำเนินต่อไปได้
การควบคุมการขยายตัวของห้างหรือร้านค้าปลีกขนาดใหญ่โดยใช้มาตรการทางด้านผังเมือง ไม่ได้เป็นการห้ามไม่ให้เกิด แต่จะเป็นการช่วยจัดการใช้ประโยชน์ที่ดินของพื้นที่เมืองให้มีความเหมาะสม และลดปัญหาการจราจรในบริเวณพื้นที่ศูนย์กลางเมืองเดิมที่แออัดและคับคั่งอยู่แล้ว ซึ่งการตั้งอยู่ในพื้นที่บริเวณชานเมืองหรือนอกเขตเมืองที่มีระบบโครงข่ายคมนาคมที่ดีจึงจะเป็นบริเวณที่มีความเหมาะสมมากกว่า เนื่องจากเราไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า ห้างหรือร้านค้าปลีกและค้าส่งขนาดใหญ่นั้น เป็นแหล่งจับจ่ายใช้สอยที่มีความสะดวกสบาย ทำให้ประชาชนจำนวนมากนิยมเข้าไปใช้บริการซื้อสินค้าอุปโภคและบริโภค ดังนั้น เพื่อเป็นการลดผลกระทบจากการดำเนินการธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่ที่จะมีต่อผู้ค้าปลีกรายย่อย จึงควรมีการศึกษาเพื่อกำหนดรูปแบบและที่ตั้งห้างหรือร้านค้าปลีกและค้าส่งขนาดใหญ่ที่เหมาะสม โดยการนำกระบวนการของการมีส่วนร่วมของประชาชนมาใช้ในการปรับปรุงข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินในแต่ละท้องที่ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของประชาชนที่แตกต่างกันไปให้ได้มากที่สุด
http://www.teamgroup.co.th/th/articles/article5.php
ธุรกิจการค้าปลีกในประเทศไทยมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว นับตั้งแต่ช่วงหลังจากวิกฤติเศรษฐกิจ ในปี 2540 เป็นต้นมา การเปิดเสรีทางการค้าของประเทศ ส่งผลให้รูปแบบการค้าปลีกในประเทศไทยเปลี่ยนแปลงไป โดยผู้ประกอบการชาวไทยต้องพึ่งการลงทุนจากต่างประเทศ และมีการปรับเปลี่ยนเข้าสู่ธุรกิจการค้าแบบใหม่ (Modern Trade) โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจการค้าปลีกขนาดใหญ่ในรูปของ Discount Store หรือ Hypermarket ที่เน้นด้านราคาถูก เช่น Tesco Lotus, Carrefour, BigC หรือ Makro ซึ่งลักษณะการดำเนินธุรกิจของห้าง/ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่นี้ จะมีทุนในการดำเนินการสูง มีการบริหารในระบบบริษัท มีโครงสร้างของอาคารโดยทั่วไปเป็นอาคารขนาดใหญ่ชั้นเดียว มีที่จอดรถกว้างขวาง ขณะที่สินค้ามีความหลากหลาย รวมถึงจำหน่ายในราคาต่ำกว่าท้องตลาดทั่วไป และมักจะมีการจัดรายการลดราคาเป็นประจำ
ห้าง/ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่มาจากการลงทุนของต่างชาติ ซึ่งเมื่อพิจารณาจากสถิติของกระทรวงพาณิชย์ พบว่า ในปัจจุบันเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและจังหวัดขนาดใหญ่ เช่น เชียงใหม่ ขอนแก่น สงขลา มีจำนวนห้างค้าปลีกขนาดใหญ่รวมกันกว่า 90 แห่ง มีผู้ใช้บริการประมาณ 1.6-2 ล้านคนต่อวัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 500,000 ล้านบาท หรือร้อยละ 35 ของภาคการค้าปลีกและค้าส่ง
จากสภาพการขยายตัวอย่างรวดเร็วเช่นนี้ทำให้ธุรกิจค้าปลีกของไทย โดยเฉพาะผู้ค้าปลีกรายย่อยแบบดั้งเดิม (Conventional Store) หรือที่เรียกว่า โชห่วย ได้รับผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของห้างหรือร้านค้าปลีกขนาดใหญ่เหล่านี้ เนื่องจากการขาดเงินทุนและความชำนาญในการบริหารจัดการ ทำให้ผู้ประกอบการหลายรายประสบปัญหา ไม่สามารถดำเนินธุรกิจของตนเองต่อไปได้ นับเป็นการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจที่ขาดการคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น และเป็นการเพิ่มปัญหาให้มีมากยิ่งขึ้นทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม
ด้วยสภาพปัญหาดังกล่าว จึงก่อให้เกิดข้อเรียกร้องต่อทางภาครัฐให้มีการดำเนินการควบคุมเพื่อจำกัดการขยายตัวของธุรกิจต่างชาติประเภทนี้ขึ้น และได้มีการเสนอแนะแนวทางและมาตรการในการควบคุมห้างหรือร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ในหลายๆ ด้าน โดยกฎหมายผังเมือง ถือเป็นมาตรการหนึ่งจากหลายๆ มาตรการที่ถูกเสนอขึ้น เพื่อนำมาใช้ในการควบคุมการขยายตัวหรือการก่อสร้างห้างหรือร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ ทั้งนี้เนื่องจากกฎหมายผังเมือง มีสภาพในการบังคับและควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของแต่ละบริเวณที่กำหนดขึ้น ซึ่งในการนำมาตรการกฎหมายผังเมืองมาใช้ในการควบคุมห้างหรือร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ สามารถทำได้ดังนี้
1) พื้นที่ในเขตผังเมืองรวมเมือง/ชุมชน สำหรับในบริเวณที่มีกฎกระทรวงผังเมืองรวมบังคับใช้อยู่แล้วนั้น สามารถทำได้โดยกำหนดพื้นที่ให้ใช้หรือห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภท ซึ่งในกรณีพื้นที่การค้าปลีกหรือค้าส่งจะถูกกำหนดไว้ในเขตพื้นที่พาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก (เขตสีแดง) หรือในกรณีเร่งด่วน สามารถออกเป็นกฎกระทรวงในการกำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางประเภท ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 โดยไม่ให้มีการก่อสร้างอาคารพาณิชยกรรมประเภทค้าปลีกค้าส่งในพื้นที่นั้นๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะหมายถึง อาคารค้าปลีกค้าส่งที่มีพื้นที่ใช้สอยอาคารเกิน 1,000 ตารางเมตร หรือหลายหลังที่มีพื้นที่ใช้สอยอาคารรวมกันตั้งแต่ 600 ถึง 1,000 ตารางเมตร โดยการควบคุมส่วนใหญ่จะห้ามไม่ให้มีการก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเปลี่ยนการใช้อาคารในบริเวณที่กำหนด เว้นแต่อาคารนั้นตั้งอยู่ในเงื่อนไข เช่น ตั้งอยู่ติดถนนสาธารณะที่มีขนาด 4 ช่องจราจร หรือเขตทางไม่น้อยกว่า 20 เมตร มีที่ว่างไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของแปลงที่ดิน มีอัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมของอาคารทุกหลังต่อแปลงที่ดิน เท่ากับ 1.5 มีอัตราส่วนพื้นที่ว่างเป็นสวนสาธารณะ ปลูกต้นไม้ ต่อแปลงที่ดิน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 มีระยะร่นจากเขตทางไม่น้อยกว่า 50 เมตร และเว้นที่ว่างห่างจากเขตที่ดินของผู้อื่นหรือถนนสาธารณะไม่น้อยกว่า 15 เมตร มีที่จอดรถไม่น้อยกว่า 1 คันต่อพื้นที่อาคาร 40 ตารางเมตร และสำหรับอาคารที่มีความสูง 10 เมตร ต้องตั้งห่างจากศูนย์ราชการ วัด โบราณสถาน หรือสถานศึกษา ไม่น้อยกว่า 500 เมตร
เพื่อให้ภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ขอยกตัวอย่างตามข้อยกเว้นข้างต้น ในกรณีที่จะการก่อสร้างห้างหรือร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ ซึ่งส่วนใหญ่โดยทั่วไปจะมีความต้องการขนาดแปลงที่ดินประมาณ 8,000 ตารางเมตร หรือ 5 ไร่ ให้เพียงพอสำหรับเป็นที่ว่าง 5,600 ตารางเมตร และที่จอดรถประมาณ 300 คน มีพื้นที่อาคารรวมสูงสุดได้ประมาณ 12,000 ตารางเมตร ความสูง ประมาณ 2 ชั้น และจะต้องในบริเวณถนนสายประธาน ได้แก่ ทางหลวงแผ่นดินสายเข้าและออกเมืองสายต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่มีขนาด 4 ช่องจราจรขึ้นไปและมีขนาดของเขตทางมากกว่า 30 เมตร ด้วยสภาพเช่นนี้จะเป็นการบังคับให้ห้างหรือร้านค้าปลีกขนาดใหญ่เหล่านี้ต้องไปตั้งอยู่นอกเขตชุมชนในที่สุด เนื่องจากราคาที่ดินที่มีราคาแพงบริเวณเขตเมือง และการสร้างอาคารขนาดเล็กจะไม่เกิดความคุ้มทุนในการดำเนินการ
2) พื้นที่นอกเหนือจากข้อ 1) สามารถควบคุมได้โดยใช้ผังเมืองรวมจังหวัด ซึ่งจัดทำขึ้นตามพระราชกฤษฎีการเพื่อการวางผังเมืองรวมจังหวัด รวมพื้นที่ 72 จังหวัด ยกเว้นกรุงเทพมหานคร นนทบุรี สมุทรปราการ และภูเก็ต แต่เนื่องจากในปัจจุบัน ผังเมืองรวมจังหวัดยังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของกฤษฎีกาและยังไม่มีผลในการบังคับใช้ ผู้ว่าราชการจังหวัดจึงสามารถกำหนดหลักเกณฑ์ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการผังเมือง ออกเป็นประกาศกรมโยธาธิการและผังเมือง ในการกำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางประเภทเพื่อการควบคุมห้างหรือร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ได้ และเมื่อมีการบังคับใช้ผังเมืองรวมจังหวัดแล้ว จึงจะได้ยกเลิกประกาศดังกล่าว
เมื่อพิจารณาถึงมาตรการทางด้านผังเมืองข้างต้น จะเห็นได้ว่า แนวโน้มการเกิดห้างหรือร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ในอนาคต จะทำได้เฉพาะในพื้นที่นอกเขตชุมชนเมืองเท่านั้น เนื่องจากสภาพของชุมชนเมืองส่วนใหญ่เกือบทุกเมืองในปัจจุบัน มีการพัฒนาเป็นพื้นที่อยู่อาศัยและย่านการค้าที่ค่อนข้างหนาแน่น ประกอบกับกฎกระทรวงที่มีการห้ามก่อสร้างหรือเปลี่ยนแปลงอาคารที่มีผลบังคับในพื้นที่ชุมชนเมืองส่วนใหญ่ เกิดเป็นแรงกดดันที่จะชะลอหรือยับยั้งการขยายสาขาใหม่ในพื้นที่เมือง โดยการให้ห้างหรือร้านค้าปลีกขนาดใหญ่เหล่านั้นออกไปตั้งอยู่นอกเขตชุมชนเมืองภายใต้ข้อกำหนดข้างต้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อธุรกิจการค้าปลีกค้าส่งของประเทศไทยในอนาคต ทั้งตัวของกลุ่มค้าปลีกค้าส่งสมัยใหม่ที่จะมีความชัดเจนในเรื่องของการเลือกที่ตั้งสำหรับการขยายสาขาใหม่ๆ ภายใต้เงื่อนไขที่จะไม่กระทบกับร้านค้าปลีกรายย่อย ขณะที่กลุ่มของผู้ค้าปลีกรายย่อยหรือ โชห่วย ก็จะได้รับประโยชน์จากจากการตั้งห้างหรือร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ไกลจากชุมชน ทำให้เกิดการแบ่งกลุ่มของลูกค้าที่ชัดเจนขึ้น เป็นการผ่อนคลายความขัดแย้งและสามารถเพิ่มโอกาสทางการค้าให้กับธุรกิจของตนเองให้สามารถดำเนินต่อไปได้
การควบคุมการขยายตัวของห้างหรือร้านค้าปลีกขนาดใหญ่โดยใช้มาตรการทางด้านผังเมือง ไม่ได้เป็นการห้ามไม่ให้เกิด แต่จะเป็นการช่วยจัดการใช้ประโยชน์ที่ดินของพื้นที่เมืองให้มีความเหมาะสม และลดปัญหาการจราจรในบริเวณพื้นที่ศูนย์กลางเมืองเดิมที่แออัดและคับคั่งอยู่แล้ว ซึ่งการตั้งอยู่ในพื้นที่บริเวณชานเมืองหรือนอกเขตเมืองที่มีระบบโครงข่ายคมนาคมที่ดีจึงจะเป็นบริเวณที่มีความเหมาะสมมากกว่า เนื่องจากเราไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า ห้างหรือร้านค้าปลีกและค้าส่งขนาดใหญ่นั้น เป็นแหล่งจับจ่ายใช้สอยที่มีความสะดวกสบาย ทำให้ประชาชนจำนวนมากนิยมเข้าไปใช้บริการซื้อสินค้าอุปโภคและบริโภค ดังนั้น เพื่อเป็นการลดผลกระทบจากการดำเนินการธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่ที่จะมีต่อผู้ค้าปลีกรายย่อย จึงควรมีการศึกษาเพื่อกำหนดรูปแบบและที่ตั้งห้างหรือร้านค้าปลีกและค้าส่งขนาดใหญ่ที่เหมาะสม โดยการนำกระบวนการของการมีส่วนร่วมของประชาชนมาใช้ในการปรับปรุงข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินในแต่ละท้องที่ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของประชาชนที่แตกต่างกันไปให้ได้มากที่สุด
- Ii'8N
- Verified User
- โพสต์: 3682
- ผู้ติดตาม: 0
ศึกชิง คาร์ฟูร์ งวดนี้ คุณเชียร์ใครครับ
โพสต์ที่ 74
กระทู้นี้และความเห็นคุณ Windy ทำให้ผมสนใจกฎหมายนี้อีกครั้ง หลังจากไปสัมมนามามื่อหลายปีมาแล้ว
ไป search มา ใช้อากู๋ช่วย
เห็นข่าวต่างจังหวัดต่อต้านกันระยาว
โลตัส เอกซ์เพรส ซอยวัดวังหิน ชลบุรีโดนเล่นงานเรื่องนี้ด้วย...เื่รื่องการคิดพื้นที่อาคารที่ก่อสร้าง
http://www.thanarroj.com/index.php?opti ... &Itemid=53
โลตัส เอกซ์เพรส ซอยวัดวังหินถูกปิดแล้ว
ตามที่ ส.ส.ฐนโรจน์ โรจนกุลเสฏฐ์ ได้รับเรื่องราวร้องทุกข์จากประชาชนร้านค้าปลีกดั้งเดิมในซอยชุมชนวัดวังหิน จึงได้นำเรื่องดังกล่าวเข้าพิจารณา แก้ปัญหาในคณะกรรมาธิการ การกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน ถึง 3 ครั้ง จึงได้ข้อสรุป
ผลการพิจารณาสรุปว่า การก่อสร้างโลตัส เอกซ์เพรส ในพื้นที่ดังกล่าวขัดต่อกฎกระทรวง ฉบับที่ 5 พ.ศ. 2527 ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 7 เพราะฉะนั้นจึงไม่สามารถเปิดโลตัส เอกซ์เพรสในที่ดังกล่าวได้
ที่ สภาผู้แทนราษฎร
ถนนอู่ทองใน เขตดุสิต
กทม. ๑๐๓๐๐
พฤศจิกายน ๒๕๕๑
เรื่อง ความเห็นและข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน
เรียน ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี
ตามที่ คณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร ได้พิจารณาศึกษาผลกระทบเกี่ยวกับนโยบายการอนุญาตให้ประกอบธุรกรรมทางการค้า ธุรกิจค้าปลีกค้าส่งสมัยใหม่ กรณีของชาวชุมชนซอยวัดวังหินและซอยวัดเขาแตงอ่อนในเขตเทศบาลเจ้าพระยาสุรศักดิ์ ตำบลสุรศักดิ์ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ในการพิจารณาของคณะกรรมาธิการเบื้องต้นพบว่าการก่อสร้างร้านค้าปลีก Tesco Lotus Express บริเวณกลางซอยวัดวังหิน ตรงข้ามตลาดนัด ตำบลสุรศักดิ์ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขในกฎกระทรวง กำหนดบริเวณห้ามก่อสร้างอาคาร ดัดแปลง หรือเปลี่ยนแปลงการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภท ในพื้นที่บางส่วนในท้องที่ตำบลศรีราชา ตำบลสุรศักดิ์ ตำบลหนองขาม ตำบลทุ่งสุขลา และตำบลบึง อำเภอศรีราชา และตำบลบางละมุง ตำบลตะเคียนเตี้ย และตำบลหนองปลาไหล อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี พ.ศ. ๒๕๔๗ ข้อ ๒ (๒)(ข) แต่เนื่องจากจังหวัดชลบุรีและกรมโยธาธิการและผังเมืองได้มีความเห็นเกี่ยวกับการคิดพื้นที่อาคารที่ก่อสร้างของพื้นที่ต่างกัน ทำให้เกิดปัญหาว่าอาคารหลังดังกล่าวต้องอยู่ภายใต้บังคับที่ต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงดังกล่าวหรือไม่ จึงได้มีหนังสือจังหวัดชลบุรีถึงนายอำเภอศรีราชา มีคำสั่งขอให้ระงับการดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับการก่อสร้างร้านค้าปลีก Tesco Lotus Express บริเวณกลางซอยวัดวังหิน ตรงข้ามตลาดนัด ตำบลสุรศักดิ์ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ไว้ก่อนจนกว่าจะได้ข้อสรุปจากคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน นั้น
ในการนี้ คณะกรรมาธิการได้มีการประชุมพิจารณาศึกษาเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว เมื่อวันพุธที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ โดยได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นและชี้แจงในประเด็นที่เกี่ยวข้องและหาข้อสรุป ซึ่งจากการที่ได้รับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงาน ประกอบกับได้พิจารณาถึงกฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้องแล้ว คณะกรรมาธิการจึงได้มีความเห็นและข้อเสนอแนะต่อกรณีของเรื่องร้องเรียนดังกล่าว ดังนี้
๑. การคิดพื้นที่อาคารที่ขออนุญาตก่อสร้าง ต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๕ (พ.ศ. ๒๕๒๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๗ ความว่า ในการคิดคำนวณพื้นที่ ให้นำพื้นที่ที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการและอยู่ภายในอาคารนั้นมารวมคำนวณด้วย เนื่องจากกฎกระทรวงดังกล่าวยังคงมีผลใช้บังคับ แม้ปัจจุบันจะมีกฎกระทรวง กำหนดบริเวณห้ามก่อสร้างอาคาร ดัดแปลง หรือเปลี่ยนแปลงการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภท ในพื้นที่บางส่วนในท้องที่ตำบลศรีราชา ตำบลสุรศักดิ์
- ๒ -
ตำบลหนองขาม ตำบลทุ่งสุขลา และตำบลบึง อำเภอศรีราชา และตำบลบางละมุง ตำบลตะเคียนเตี้ย และตำบลหนองปลาไหล อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งเป็นกฎกระทรวงที่ออกมาบังคับใช้ เพื่อควบคุมการก่อสร้างอาคารพาณิชยกรรมประเภทค้าปลีกค้าส่งโดยเฉพาะก็ตาม แต่กฎกระทรวงดังกล่าว ก็ไม่ได้ระบุถึงวิธีการคิดพื้นที่อาคารที่ขออนุญาตก่อสร้างว่าต้องคิดอย่างไร ดังนั้น เมื่อกฎกระทรวง ฉบับที่ ๕ (พ.ศ. ๒๕๒๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ ยังมีผลใช้บังคับ และไม่มีกฎกระทรวงอื่นออกมายกเลิก ประกอบกับกฎกระทรวง กำหนดบริเวณห้ามก่อสร้างอาคาร ดัดแปลง หรือเปลี่ยนแปลงการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภท ฯ พ.ศ. ๒๕๔๗ ก็ไม่มีบทบัญญัติใดที่กำหนดเรื่องการคิดพื้นที่อาคารไว้ การคิดพื้นที่อาคารจึงต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๕ (พ.ศ. ๒๕๒๗) ออกตามความ
ในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๗ ซึ่งสอดคล้องกับความเห็นของจังหวัดชลบุรี ตามหนังสือจังหวัดชลบุรี ด่วนที่สุด ที่ ชบ ๐๐๑๖.๓/๒๑๘๘๐
๒. กรณีการตอบข้อหารือของกรมโยธาธิการและผังเมือง ตามหนังสือกรมโยธาธิการและ ผังเมือง ที่ มท ๐๗๐๖/๖๔๖๙ ลงวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๔๙ ที่ตอบข้อหารือการคิดพื้นที่อาคารพาณิชย์ประเภทค้าปลีกค้าส่ง โดยกรมโยธาธิการและผังเมือง แจ้งว่า การคิดพื้นที่อาคารพาณิชยกรรมประเภทค้าปลีกค้าส่ง ตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงกำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดบางประเภท ในพื้นที่บางส่วนในท้องที่ตำบลสองคอน ตำบลบ้านป่า ตำบลเตาปูน ตำบลตาลเดี่ยว และตำบลแก่งคอย อำเภอแก่งคอย และตำบลตลิ่งชัน อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี พ.ศ. ๒๕๔๗ จะคิดเฉพาะพื้นที่ที่ใช้ในการจำหน่ายหรือขายสินค้า (Sale Area) เท่านั้น ทั้งนี้ ไม่ว่าพื้นที่ที่ไม่ใช้ในการจำหน่ายสินค้าจะอยู่ในอาคารเดียวกันหรือคนละอาคารหรือไม่ก็ตาม จะไม่นำมาคิดรวมพื้นที่ ซึ่งการตอบข้อหารือดังกล่าว เป็นเพียงความเห็นของคณะกรรมการควบคุมอาคารเท่านั้น ซึ่งมีสถานะและลำดับศักดิ์ต่ำกว่ากฎหมาย ประกอบกับการตอบข้อหารือดังกล่าวก็ไม่มีการกล่าวอ้างกฎหมาย หรือกฎกระทรวงที่กำหนดให้การคิดพื้นที่อาคารให้เฉพาะพื้นที่ที่ใช้ในการจำหน่ายหรือขายสินค้า (Sale Area) เท่านั้น ดังนั้น การตอบข้อหารือของกรมโยธาธิการและผังเมืองเกี่ยวกับการคิดพื้นที่อาคารที่คิดเฉพาะ Sale Area ตามกฎกระทรวงฯดังกล่าว จึงไม่สามารนำมากล่าวอ้างและถือปฏิบัติได้
๓. การปฏิบัติหน้าที่ของเทศบาลตำบลเจ้าพระยาสุรศักดิ์ควรต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่บัญญัติให้อำนาจและหน้าที่ไว้ การนำหนังสือการตอบข้อหารือมาถือเป็นแนวปฏิบัตินั้นไม่น่าจะเป็นสิ่งที่ถูกต้อง ในเมื่อเรื่องดังกล่าวมีกฎหมายระบุไว้อย่างชัดเจน การปฏิบัติหน้าที่หรือการดำเนินการใด ๆ ก็ควรต้องปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าวนั้น
- ๓ -
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ
แสดงความนับถือ
(นายประชา ประสพดี)
ประธานคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน
สำนักกรรมาธิการ ๒
โทร.๐ ๒๒๔๔ ๒๖๐๖-๗
ไป search มา ใช้อากู๋ช่วย
เห็นข่าวต่างจังหวัดต่อต้านกันระยาว
โลตัส เอกซ์เพรส ซอยวัดวังหิน ชลบุรีโดนเล่นงานเรื่องนี้ด้วย...เื่รื่องการคิดพื้นที่อาคารที่ก่อสร้าง
http://www.thanarroj.com/index.php?opti ... &Itemid=53
โลตัส เอกซ์เพรส ซอยวัดวังหินถูกปิดแล้ว
ตามที่ ส.ส.ฐนโรจน์ โรจนกุลเสฏฐ์ ได้รับเรื่องราวร้องทุกข์จากประชาชนร้านค้าปลีกดั้งเดิมในซอยชุมชนวัดวังหิน จึงได้นำเรื่องดังกล่าวเข้าพิจารณา แก้ปัญหาในคณะกรรมาธิการ การกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน ถึง 3 ครั้ง จึงได้ข้อสรุป
ผลการพิจารณาสรุปว่า การก่อสร้างโลตัส เอกซ์เพรส ในพื้นที่ดังกล่าวขัดต่อกฎกระทรวง ฉบับที่ 5 พ.ศ. 2527 ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 7 เพราะฉะนั้นจึงไม่สามารถเปิดโลตัส เอกซ์เพรสในที่ดังกล่าวได้
ที่ สภาผู้แทนราษฎร
ถนนอู่ทองใน เขตดุสิต
กทม. ๑๐๓๐๐
พฤศจิกายน ๒๕๕๑
เรื่อง ความเห็นและข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน
เรียน ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี
ตามที่ คณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร ได้พิจารณาศึกษาผลกระทบเกี่ยวกับนโยบายการอนุญาตให้ประกอบธุรกรรมทางการค้า ธุรกิจค้าปลีกค้าส่งสมัยใหม่ กรณีของชาวชุมชนซอยวัดวังหินและซอยวัดเขาแตงอ่อนในเขตเทศบาลเจ้าพระยาสุรศักดิ์ ตำบลสุรศักดิ์ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ในการพิจารณาของคณะกรรมาธิการเบื้องต้นพบว่าการก่อสร้างร้านค้าปลีก Tesco Lotus Express บริเวณกลางซอยวัดวังหิน ตรงข้ามตลาดนัด ตำบลสุรศักดิ์ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขในกฎกระทรวง กำหนดบริเวณห้ามก่อสร้างอาคาร ดัดแปลง หรือเปลี่ยนแปลงการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภท ในพื้นที่บางส่วนในท้องที่ตำบลศรีราชา ตำบลสุรศักดิ์ ตำบลหนองขาม ตำบลทุ่งสุขลา และตำบลบึง อำเภอศรีราชา และตำบลบางละมุง ตำบลตะเคียนเตี้ย และตำบลหนองปลาไหล อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี พ.ศ. ๒๕๔๗ ข้อ ๒ (๒)(ข) แต่เนื่องจากจังหวัดชลบุรีและกรมโยธาธิการและผังเมืองได้มีความเห็นเกี่ยวกับการคิดพื้นที่อาคารที่ก่อสร้างของพื้นที่ต่างกัน ทำให้เกิดปัญหาว่าอาคารหลังดังกล่าวต้องอยู่ภายใต้บังคับที่ต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงดังกล่าวหรือไม่ จึงได้มีหนังสือจังหวัดชลบุรีถึงนายอำเภอศรีราชา มีคำสั่งขอให้ระงับการดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับการก่อสร้างร้านค้าปลีก Tesco Lotus Express บริเวณกลางซอยวัดวังหิน ตรงข้ามตลาดนัด ตำบลสุรศักดิ์ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ไว้ก่อนจนกว่าจะได้ข้อสรุปจากคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน นั้น
ในการนี้ คณะกรรมาธิการได้มีการประชุมพิจารณาศึกษาเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว เมื่อวันพุธที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ โดยได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นและชี้แจงในประเด็นที่เกี่ยวข้องและหาข้อสรุป ซึ่งจากการที่ได้รับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงาน ประกอบกับได้พิจารณาถึงกฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้องแล้ว คณะกรรมาธิการจึงได้มีความเห็นและข้อเสนอแนะต่อกรณีของเรื่องร้องเรียนดังกล่าว ดังนี้
๑. การคิดพื้นที่อาคารที่ขออนุญาตก่อสร้าง ต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๕ (พ.ศ. ๒๕๒๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๗ ความว่า ในการคิดคำนวณพื้นที่ ให้นำพื้นที่ที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการและอยู่ภายในอาคารนั้นมารวมคำนวณด้วย เนื่องจากกฎกระทรวงดังกล่าวยังคงมีผลใช้บังคับ แม้ปัจจุบันจะมีกฎกระทรวง กำหนดบริเวณห้ามก่อสร้างอาคาร ดัดแปลง หรือเปลี่ยนแปลงการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภท ในพื้นที่บางส่วนในท้องที่ตำบลศรีราชา ตำบลสุรศักดิ์
- ๒ -
ตำบลหนองขาม ตำบลทุ่งสุขลา และตำบลบึง อำเภอศรีราชา และตำบลบางละมุง ตำบลตะเคียนเตี้ย และตำบลหนองปลาไหล อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งเป็นกฎกระทรวงที่ออกมาบังคับใช้ เพื่อควบคุมการก่อสร้างอาคารพาณิชยกรรมประเภทค้าปลีกค้าส่งโดยเฉพาะก็ตาม แต่กฎกระทรวงดังกล่าว ก็ไม่ได้ระบุถึงวิธีการคิดพื้นที่อาคารที่ขออนุญาตก่อสร้างว่าต้องคิดอย่างไร ดังนั้น เมื่อกฎกระทรวง ฉบับที่ ๕ (พ.ศ. ๒๕๒๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ ยังมีผลใช้บังคับ และไม่มีกฎกระทรวงอื่นออกมายกเลิก ประกอบกับกฎกระทรวง กำหนดบริเวณห้ามก่อสร้างอาคาร ดัดแปลง หรือเปลี่ยนแปลงการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภท ฯ พ.ศ. ๒๕๔๗ ก็ไม่มีบทบัญญัติใดที่กำหนดเรื่องการคิดพื้นที่อาคารไว้ การคิดพื้นที่อาคารจึงต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๕ (พ.ศ. ๒๕๒๗) ออกตามความ
ในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๗ ซึ่งสอดคล้องกับความเห็นของจังหวัดชลบุรี ตามหนังสือจังหวัดชลบุรี ด่วนที่สุด ที่ ชบ ๐๐๑๖.๓/๒๑๘๘๐
๒. กรณีการตอบข้อหารือของกรมโยธาธิการและผังเมือง ตามหนังสือกรมโยธาธิการและ ผังเมือง ที่ มท ๐๗๐๖/๖๔๖๙ ลงวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๔๙ ที่ตอบข้อหารือการคิดพื้นที่อาคารพาณิชย์ประเภทค้าปลีกค้าส่ง โดยกรมโยธาธิการและผังเมือง แจ้งว่า การคิดพื้นที่อาคารพาณิชยกรรมประเภทค้าปลีกค้าส่ง ตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงกำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดบางประเภท ในพื้นที่บางส่วนในท้องที่ตำบลสองคอน ตำบลบ้านป่า ตำบลเตาปูน ตำบลตาลเดี่ยว และตำบลแก่งคอย อำเภอแก่งคอย และตำบลตลิ่งชัน อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี พ.ศ. ๒๕๔๗ จะคิดเฉพาะพื้นที่ที่ใช้ในการจำหน่ายหรือขายสินค้า (Sale Area) เท่านั้น ทั้งนี้ ไม่ว่าพื้นที่ที่ไม่ใช้ในการจำหน่ายสินค้าจะอยู่ในอาคารเดียวกันหรือคนละอาคารหรือไม่ก็ตาม จะไม่นำมาคิดรวมพื้นที่ ซึ่งการตอบข้อหารือดังกล่าว เป็นเพียงความเห็นของคณะกรรมการควบคุมอาคารเท่านั้น ซึ่งมีสถานะและลำดับศักดิ์ต่ำกว่ากฎหมาย ประกอบกับการตอบข้อหารือดังกล่าวก็ไม่มีการกล่าวอ้างกฎหมาย หรือกฎกระทรวงที่กำหนดให้การคิดพื้นที่อาคารให้เฉพาะพื้นที่ที่ใช้ในการจำหน่ายหรือขายสินค้า (Sale Area) เท่านั้น ดังนั้น การตอบข้อหารือของกรมโยธาธิการและผังเมืองเกี่ยวกับการคิดพื้นที่อาคารที่คิดเฉพาะ Sale Area ตามกฎกระทรวงฯดังกล่าว จึงไม่สามารนำมากล่าวอ้างและถือปฏิบัติได้
๓. การปฏิบัติหน้าที่ของเทศบาลตำบลเจ้าพระยาสุรศักดิ์ควรต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่บัญญัติให้อำนาจและหน้าที่ไว้ การนำหนังสือการตอบข้อหารือมาถือเป็นแนวปฏิบัตินั้นไม่น่าจะเป็นสิ่งที่ถูกต้อง ในเมื่อเรื่องดังกล่าวมีกฎหมายระบุไว้อย่างชัดเจน การปฏิบัติหน้าที่หรือการดำเนินการใด ๆ ก็ควรต้องปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าวนั้น
- ๓ -
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ
แสดงความนับถือ
(นายประชา ประสพดี)
ประธานคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน
สำนักกรรมาธิการ ๒
โทร.๐ ๒๒๔๔ ๒๖๐๖-๗
-
- Verified User
- โพสต์: 1667
- ผู้ติดตาม: 0
ศึกชิง คาร์ฟูร์ งวดนี้ คุณเชียร์ใครครับ
โพสต์ที่ 75
จ่ายแพงนี้เพื่อซื้อ ทำเล
3หมื่นห้าพันล้านOK จ่ายให้
ทำเองไม่ได้เฮ เพราะติด กฎหมายนา
ซื้อทุ่มเพื่อทำเลไซร้ เพื่อได้ ครอบครอง
บางใหญ่มีเพียบพร้อม BIGC
carefourทำเลนี้ ชิดใกล้
จักเอาเยี่ยงไรดี ใกล้ชิด ประจันหน้า
เปลี่ยนเป็น2BIGCไซร้ ฝั่งฟาก หรือเปล่านา
3หมื่นห้าพันล้านOK จ่ายให้
ทำเองไม่ได้เฮ เพราะติด กฎหมายนา
ซื้อทุ่มเพื่อทำเลไซร้ เพื่อได้ ครอบครอง
บางใหญ่มีเพียบพร้อม BIGC
carefourทำเลนี้ ชิดใกล้
จักเอาเยี่ยงไรดี ใกล้ชิด ประจันหน้า
เปลี่ยนเป็น2BIGCไซร้ ฝั่งฟาก หรือเปล่านา
คงไม่มีใคร หาเงินมากมาย ไว้ยัดใส่โลงศพตัวเอง
.........
เชิญรับแจก เมล็ดพันธุ์พืชนานาชนิดได้ที่
http://www.kasetporpeang.com/forums/ind ... board=22.0
เชิญฟังธรรมฟรี ที่ http://www.fungdham.com
.........
เชิญรับแจก เมล็ดพันธุ์พืชนานาชนิดได้ที่
http://www.kasetporpeang.com/forums/ind ... board=22.0
เชิญฟังธรรมฟรี ที่ http://www.fungdham.com