กิจการกู้ยืมเงินจากกรรมการบริษัท
- Highway_Star
- Verified User
- โพสต์: 440
- ผู้ติดตาม: 0
กิจการกู้ยืมเงินจากกรรมการบริษัท
โพสต์ที่ 1
สงสัยครับ
ว่าถ้ากิจการกู้ยืมเงินจากคนซึ่งเป็นกรรมการบริษัท
มันบอกอะไรกับเราบ้างครับ
เช่น กิจการขอกู้เงิน 50 ล้าน จากนาย A ซึ่งเป็นกรรมการบริหาร โดยจะจ่ายดอกเบี้ยร้อยละ 6.5% ต่อปีให้นาย A
เป็นเรื่องน่าสงสัย หรือว่ามีอะไรต้องระวังมั้ยครับ หรือว่าก็เป็นปกติ ?
ว่าถ้ากิจการกู้ยืมเงินจากคนซึ่งเป็นกรรมการบริษัท
มันบอกอะไรกับเราบ้างครับ
เช่น กิจการขอกู้เงิน 50 ล้าน จากนาย A ซึ่งเป็นกรรมการบริหาร โดยจะจ่ายดอกเบี้ยร้อยละ 6.5% ต่อปีให้นาย A
เป็นเรื่องน่าสงสัย หรือว่ามีอะไรต้องระวังมั้ยครับ หรือว่าก็เป็นปกติ ?
-
- Verified User
- โพสต์: 1601
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กิจการกู้ยืมเงินจากกรรมการบริษัท
โพสต์ที่ 3
ผมคิดว่านะครับ การกู้ยืม ถ้าคิดดอกเบี้ยในราคาตลาด หรือต่ำกว่าตลาด ก็ไม่น่ามีปัญหาอะไรนะครับ เพราะการที่จะหาเงิน 50 ล้าน ไปธนาคาร (สมมติว่าไม่เปิด OD นะครับ) ต้องทำเรื่องใช้เวลา การกู้ยืมกรรมการน่าจะเป็นเรื่องที่สะดวกกว่า (แต่ต้องดูยอดเงินและเจตนานะครับ)Highway_Star เขียน:สงสัยครับ
ว่าถ้ากิจการกู้ยืมเงินจากคนซึ่งเป็นกรรมการบริษัท
มันบอกอะไรกับเราบ้างครับ
เช่น กิจการขอกู้เงิน 50 ล้าน จากนาย A ซึ่งเป็นกรรมการบริหาร โดยจะจ่ายดอกเบี้ยร้อยละ 6.5% ต่อปีให้นาย A
เป็นเรื่องน่าสงสัย หรือว่ามีอะไรต้องระวังมั้ยครับ หรือว่าก็เป็นปกติ ?
แต่ถ้าในกรณีที่มีการกู้ยืมกรรมการ แล้วจ่ายดอกเบี้ยที่มากกว่าดอกเบี้ยธนาคารหรือมากกว่าดอกเบี้ยที่ตลาดให้ แล้วผมคิดว่าเป็นการผ่องถ่ายทรัพย์สินให้กับกรรมการ ไม่ชอบธรรมครับ ผิดจริยธรรม (แต่ผมคิดว่าคงไม่เกิดง่าย ๆ เพราะสรรพากรต้องตรวจสอบ ผู้สอบบัญชีต้องตรวจสอบครับ)
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นผมว่าอาจต้องดูที่เจตนาด้วยครับ และเมื่อมีโอกาส ถ้าเราพบความไม่ชอบมาพากลเราควรถามที่บริษัท และบริษัทควรให้เหตุผลอันสมควรครับ
- cherokee
- Verified User
- โพสต์: 63
- ผู้ติดตาม: 0
กิจการกู้ยืมเงินจากกรรมการบริษัท
โพสต์ที่ 6
มีอยู่บริษัทแห่งหนึ่งครับ พอดีมีคนรู้จักทำงานที่นั่น เป็นบริษัทจำกัด ทุนจดทะเบียน 50 ล้านบาท ไม่เคยกู้เงินธนาคาร ต้องกู้กรรมการ หรือผู้ถือหุ้นเท่านั้นElessar เขียน:บริษัทกู้กรรมการ อันตรายน้อยกว่า กรรมการกู้บริษัท
ปัจจุบัน มียอดขาย 1,000 กว่าล้านบาท ผู้ถือหุ้น ได้ดอกเบี้ยเงินกู้ 6-7 เปอร์เซน แล้วได้เงินปันผลต่างหาก รวยอย่างเดียวเลยครับ
ชนเผ่าผู้ติดดอย...และอดทน
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
กิจการกู้ยืมเงินจากกรรมการบริษัท
โพสต์ที่ 7
ถ้าคิด "ดอกเบี้ยถูกๆ" ผมมองว่า "กรรมการใจดีนะ"
เพราะผู้ให้กู้ย่อมต้องเป็นผู้แบกรับความเสี่ยงอยู๋แล้ว
แต่ถ้าให้กู้ "ดอกเท่าแบงค์" ผมว่าก็โอเคนะ
เพราะบริษัทฯไม่ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกันใดๆ ประมาณว่า "กู้ลอย"
แต่ถ้าคิด "ดอกแพงกว่าแบงค์"
ผมว่า หน้าเลือดไปนิดนึงจ้า
(^_^)
เพราะผู้ให้กู้ย่อมต้องเป็นผู้แบกรับความเสี่ยงอยู๋แล้ว
แต่ถ้าให้กู้ "ดอกเท่าแบงค์" ผมว่าก็โอเคนะ
เพราะบริษัทฯไม่ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกันใดๆ ประมาณว่า "กู้ลอย"
แต่ถ้าคิด "ดอกแพงกว่าแบงค์"
ผมว่า หน้าเลือดไปนิดนึงจ้า
(^_^)
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
- kotaro
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1495
- ผู้ติดตาม: 0
กิจการกู้ยืมเงินจากกรรมการบริษัท
โพสต์ที่ 8
เห็นด้วยครับบริษัทกู้กรรมการ อันตรายน้อยกว่า กรรมการกู้บริษัท
ถ้าบริษัทกู้กรรมการ อาจมีหลายสาเหตุก็ได้ ถ้าดอกร้อยละ 6.5% ก็ไม่ได้น่าเกลียดอะไรมากนัก
แต่ถ้ากรรมการกู้บริษัท นั่น ควรระวังแล้วครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 77
- ผู้ติดตาม: 0
กิจการกู้ยืมเงินจากกรรมการบริษัท
โพสต์ที่ 9
กรรมการ บจ.กู้เงินจาก บริษัทไม่ได้ครับ ผิดกม.
สำหรับในบางบริษัท ที่ไม่มีสภาพคล่องจำเป็นต้องกู้เงินกรรมการจริงๆ
ส่วนใหญ่แล้วกรรมการเหล่านั้น มักจะเป็นกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ครับ
ก็มักจะไม่ทิ้งกันอยู่แล้ว แต่ดอกเบี้ยต่างหากต้องมาดูว่าสมเหตุสมผลหรือไม่
สำหรับในบางบริษัท ที่ไม่มีสภาพคล่องจำเป็นต้องกู้เงินกรรมการจริงๆ
ส่วนใหญ่แล้วกรรมการเหล่านั้น มักจะเป็นกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ครับ
ก็มักจะไม่ทิ้งกันอยู่แล้ว แต่ดอกเบี้ยต่างหากต้องมาดูว่าสมเหตุสมผลหรือไม่
- Loby
- Verified User
- โพสต์: 1646
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กิจการกู้ยืมเงินจากกรรมการบริษัท
โพสต์ที่ 10
ถ้าเป็นบริษัทนี้ล่ะครับ
รายการได้มาและจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์
เลขที่ กก.1/53/125
วันที่ 12 พฤศจิกายน 2553
เรื่อง แจ้งสารสนเทศรายการระหว่างกันและรายการจำหน่ายทรัพย์สิน
เรียน กรรมการและผู้จัดการ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
บริษัท ผลิตภัณฑ์คอนกรีตชลบุรี จำกัด (มหาชน) ("บริษัทฯ") ขอแจ้งผลการประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่
7/2553 ซึ่งประชุมเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2553 โดยมีมติสำคัญที่ต้องรายงานดังนี้
1. อนุมัติให้บริษัทฯ และ/หรือบริษัทย่อย (บจก.ชลบุรีกันยง)
ทำรายการระหว่างกันกับบุคคลเกี่ยวโยงสำหรับการรับความช่วยเหลือเงินกู้จำนวนไม่เกิน 80 ล้านบาทซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
-วัน เดือน ปี ที่เกิดรายการ : ภายในเดือนพฤศจิกายน 2553
-คู่กรณีที่เกี่ยวข้อง และความสัมพันธ์กับบริษัทจดทะเบียน
ผู้รับการสนับสนุน : บริษัท ผลิตภัณฑ์คอนกรีตชลบุรี จำกัด (มหาชน) และ/หรือบริษัท ชลบุรีกันยง จำกัด (บริษัทย่อย)
ผู้ให้การสนับสนุน : นายประทีป ทีปกรสุขเกษม (ประธานกรรมการบริษัทฯ) -ลักษณะทั่วไปของรายการ : รายการเกี่ยวโยงกัน ประเภทรายการรับความช่วยเหลือทางการเงิน เพื่อนำเงินไปสมบทเพื่อชำระหนี้แก่เจ้าหนี้สถาบันการเงินแห่งหนึ่ง ในรูปแบบวงเงินกู้จำนวนไม่เกิน 80
ล้านบาท มีกำหนด 12 เดือน คิดอัตราดอกเบี้ย 8.50% ต่อปี
-เงื่อนไขการชำระเงิน : ชำระคืนเงินต้นเมื่อครบกำหนด และชำระ
ดอกเบี้ยทุกสิ้นเดือน
-เกณฑ์ที่ใช้กำหนดมูลค่าของรายการ :
มูลค่าสิ่งตอบแทนคำนวณจากจำนวนเงินดอกเบี้ยที่จะต้องชำระให้แก่บุคคลเกี่ยวโยง
รวมรายการประเภทเดียวกันในรอบ 6 เดือนเฉพาะที่ยังไม่ได้รับอนุมัติโดยที่ประชุมผู้ถือหุ้น(ถ้ามี)
การคำนวณมูลค่าของรายการ
*มูลค่าของรายการ = 80,000,000บาท x 8.50%= 6,800,000บาท x (12/12)เดือน = 6,800,000บาท
รวมรายการประเภทเดียวกันในรอบ 6 เดือน (ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2553 - พฤศจิกายน 2553) เฉพาะที่ยังไม่ได้รับอนุมัติโดยที่ประชุมผู้ถือหุ้น
*มูลค่าของรายการย้อนหลัง 6 เดือน = 5,737,500บาท
**รวมมูลค่าของรายการ = 6,800,000บาท + 7,690,625 บาท = 14,490, 625 บาท
-ความเห็นคณะกรรมการ :
ได้พิจารณาแล้วมีมติอนุมัติการรับความช่วยเหลือด้านการเงินจากบุคคลเกี่ยวโยง วงเงินกู้จำนวนไม่เกิน 80ล้านบาท มีกำหนดระยะเวลา 12 เดือน คิดอัตราดอกเบี้ย 8.50% ต่อปีและอนุมัติโดยกรรมการที่มีส่วนได้เสียไม่ได้ออกเสียง
-ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ
และความเห็นของกรรมการที่แตกต่างจากความเห็นของกรรมการบริษัท :
คณะกรรมการตรวจสอบมีความเห็นเดียวกันกับคณะกรรมการบริษัทและไม่มีกรรมการท่านใดมีความเห็นแตกต่างจากความเห็นของคณะกรรมการบริษัท
รายการได้มาและจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์
เลขที่ กก.1/53/125
วันที่ 12 พฤศจิกายน 2553
เรื่อง แจ้งสารสนเทศรายการระหว่างกันและรายการจำหน่ายทรัพย์สิน
เรียน กรรมการและผู้จัดการ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
บริษัท ผลิตภัณฑ์คอนกรีตชลบุรี จำกัด (มหาชน) ("บริษัทฯ") ขอแจ้งผลการประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่
7/2553 ซึ่งประชุมเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2553 โดยมีมติสำคัญที่ต้องรายงานดังนี้
1. อนุมัติให้บริษัทฯ และ/หรือบริษัทย่อย (บจก.ชลบุรีกันยง)
ทำรายการระหว่างกันกับบุคคลเกี่ยวโยงสำหรับการรับความช่วยเหลือเงินกู้จำนวนไม่เกิน 80 ล้านบาทซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
-วัน เดือน ปี ที่เกิดรายการ : ภายในเดือนพฤศจิกายน 2553
-คู่กรณีที่เกี่ยวข้อง และความสัมพันธ์กับบริษัทจดทะเบียน
ผู้รับการสนับสนุน : บริษัท ผลิตภัณฑ์คอนกรีตชลบุรี จำกัด (มหาชน) และ/หรือบริษัท ชลบุรีกันยง จำกัด (บริษัทย่อย)
ผู้ให้การสนับสนุน : นายประทีป ทีปกรสุขเกษม (ประธานกรรมการบริษัทฯ) -ลักษณะทั่วไปของรายการ : รายการเกี่ยวโยงกัน ประเภทรายการรับความช่วยเหลือทางการเงิน เพื่อนำเงินไปสมบทเพื่อชำระหนี้แก่เจ้าหนี้สถาบันการเงินแห่งหนึ่ง ในรูปแบบวงเงินกู้จำนวนไม่เกิน 80
ล้านบาท มีกำหนด 12 เดือน คิดอัตราดอกเบี้ย 8.50% ต่อปี
-เงื่อนไขการชำระเงิน : ชำระคืนเงินต้นเมื่อครบกำหนด และชำระ
ดอกเบี้ยทุกสิ้นเดือน
-เกณฑ์ที่ใช้กำหนดมูลค่าของรายการ :
มูลค่าสิ่งตอบแทนคำนวณจากจำนวนเงินดอกเบี้ยที่จะต้องชำระให้แก่บุคคลเกี่ยวโยง
รวมรายการประเภทเดียวกันในรอบ 6 เดือนเฉพาะที่ยังไม่ได้รับอนุมัติโดยที่ประชุมผู้ถือหุ้น(ถ้ามี)
การคำนวณมูลค่าของรายการ
*มูลค่าของรายการ = 80,000,000บาท x 8.50%= 6,800,000บาท x (12/12)เดือน = 6,800,000บาท
รวมรายการประเภทเดียวกันในรอบ 6 เดือน (ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2553 - พฤศจิกายน 2553) เฉพาะที่ยังไม่ได้รับอนุมัติโดยที่ประชุมผู้ถือหุ้น
*มูลค่าของรายการย้อนหลัง 6 เดือน = 5,737,500บาท
**รวมมูลค่าของรายการ = 6,800,000บาท + 7,690,625 บาท = 14,490, 625 บาท
-ความเห็นคณะกรรมการ :
ได้พิจารณาแล้วมีมติอนุมัติการรับความช่วยเหลือด้านการเงินจากบุคคลเกี่ยวโยง วงเงินกู้จำนวนไม่เกิน 80ล้านบาท มีกำหนดระยะเวลา 12 เดือน คิดอัตราดอกเบี้ย 8.50% ต่อปีและอนุมัติโดยกรรมการที่มีส่วนได้เสียไม่ได้ออกเสียง
-ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ
และความเห็นของกรรมการที่แตกต่างจากความเห็นของกรรมการบริษัท :
คณะกรรมการตรวจสอบมีความเห็นเดียวกันกับคณะกรรมการบริษัทและไม่มีกรรมการท่านใดมีความเห็นแตกต่างจากความเห็นของคณะกรรมการบริษัท
- unnop.t
- Verified User
- โพสต์: 924
- ผู้ติดตาม: 0
Re:
โพสต์ที่ 11
ใช่หรือครับ ผมเข้าใจว่าได้นะครับ แต่กรณีบริษัทกู้จากกรรมการไม่แปลกเท่าไหร่OMAC เขียน:กรรมการ บจ.กู้เงินจาก บริษัทไม่ได้ครับ ผิดกม.
สำหรับในบางบริษัท ที่ไม่มีสภาพคล่องจำเป็นต้องกู้เงินกรรมการจริงๆ
ส่วนใหญ่แล้วกรรมการเหล่านั้น มักจะเป็นกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ครับ
ก็มักจะไม่ทิ้งกันอยู่แล้ว แต่ดอกเบี้ยต่างหากต้องมาดูว่าสมเหตุสมผลหรือไม่
ตลาดหุ้นมักจะหลอกเราด้วย ความโลภ และความกลัว.....
- unnop.t
- Verified User
- โพสต์: 924
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กิจการกู้ยืมเงินจากกรรมการบริษัท
โพสต์ที่ 12
ผม copy กฎหมายเกี่ยวกับเงินกู้กรรมการมาให้ดู
ข้อ 1. การเพิ่มทุนที่ไม่มีตัวเงินใส่เข้ามาในบริษัทจริงๆ จะมีการบันทึกบัญชีเป็นรายการลูกหนี้เงินกู้กรรมการ (เงินบริษัทที่กรรมการกู้ยืมมาใช้เป็นการส่วนตัว) เพื่อทำให้รายการในงบดุลสมดุล โดยจะบันทึกบัญชี ดังนี้
Dr.ลูกหนี้เงินกู้กรรมการ xx
Cr.เงินสด/เงินฝากธนาคาร xx
ข้อ 2. เมื่อบริษัทปล่อยเงินกู้ให้กรรมการ (ผู้ถือหุ้น พนักงาน หรือบริษัทในเครือ) บริษัทจะต้องดำเนินการ ดังต่อไปนี้
2.1 ทำสัญญากู้ยืมเงินเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ (ป.พ.พ. มาตรา 653) สัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวจะต้องติดอากรแสตมป์ให้ครบถ้วน (ทุกจำนวนเงิน 2,000 บาท หรือเศษของ 2,000 บาท
แห่งยอดเงินที่กู้ยืม ติดอากรแสตมป์ 1 บาท) พร้อมทั้งขีดฆ่าอากรแสตมป์ด้วย
2.2 บริษัทต้องคิดดอกเบี้ยเงินกู้ยืมไม่ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยในท้องตลาด
2.3 เมื่อบริษัทมีรายได้จากดอกเบี้ย ต้องนำดอกเบี้ยไปเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ และสิ้นปีต้องนำดอกเบี้ยไปถือเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
ข้อ 3. การเพิ่มทุนที่ไม่มีตัวเงินใส่เข้ามาในบริษัทจริงๆ ก็ต้องปฏิบัติตามข้อ 2. เช่นกัน
มิฉะนั้น ผู้สอบบัญชีจะไม่ยอมลงนามในงบดุล ณ สิ้นงวดวันที่ 31 ธันวาคมให้แก่บริษัทท่าน
ข้อ 4. การทำสัญญากู้ยืมเงิน มีผลทำให้กรรมการหรือผู้กู้เป็นลูกหนี้บริษัท และต้องรับผิดชำระหนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ยต่อบริษัทจริง ส่วนผู้ถือหุ้น (หรือผู้ที่มิได้ทำสัญญากู้) นั้น มีความรับผิดจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถืออยู่เท่านั้น (ป.พ.พ. มาตรา 1096) และเมื่อในรายการจดทะเบียนเพิ่มทุนระบุว่าเรียกชำระค่าหุ้นเต็ม โดยกรรมการแจ้งยืนยันการได้รับชำระค่าหุ้นเต็มจำนวนต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าแล้ว ผู้ถือหุ้นทุกคนจึงมิได้เป็นหนี้ค่าหุ้นบริษัทอีก
ข้อ 1. การเพิ่มทุนที่ไม่มีตัวเงินใส่เข้ามาในบริษัทจริงๆ จะมีการบันทึกบัญชีเป็นรายการลูกหนี้เงินกู้กรรมการ (เงินบริษัทที่กรรมการกู้ยืมมาใช้เป็นการส่วนตัว) เพื่อทำให้รายการในงบดุลสมดุล โดยจะบันทึกบัญชี ดังนี้
Dr.ลูกหนี้เงินกู้กรรมการ xx
Cr.เงินสด/เงินฝากธนาคาร xx
ข้อ 2. เมื่อบริษัทปล่อยเงินกู้ให้กรรมการ (ผู้ถือหุ้น พนักงาน หรือบริษัทในเครือ) บริษัทจะต้องดำเนินการ ดังต่อไปนี้
2.1 ทำสัญญากู้ยืมเงินเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ (ป.พ.พ. มาตรา 653) สัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวจะต้องติดอากรแสตมป์ให้ครบถ้วน (ทุกจำนวนเงิน 2,000 บาท หรือเศษของ 2,000 บาท
แห่งยอดเงินที่กู้ยืม ติดอากรแสตมป์ 1 บาท) พร้อมทั้งขีดฆ่าอากรแสตมป์ด้วย
2.2 บริษัทต้องคิดดอกเบี้ยเงินกู้ยืมไม่ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยในท้องตลาด
2.3 เมื่อบริษัทมีรายได้จากดอกเบี้ย ต้องนำดอกเบี้ยไปเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ และสิ้นปีต้องนำดอกเบี้ยไปถือเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
ข้อ 3. การเพิ่มทุนที่ไม่มีตัวเงินใส่เข้ามาในบริษัทจริงๆ ก็ต้องปฏิบัติตามข้อ 2. เช่นกัน
มิฉะนั้น ผู้สอบบัญชีจะไม่ยอมลงนามในงบดุล ณ สิ้นงวดวันที่ 31 ธันวาคมให้แก่บริษัทท่าน
ข้อ 4. การทำสัญญากู้ยืมเงิน มีผลทำให้กรรมการหรือผู้กู้เป็นลูกหนี้บริษัท และต้องรับผิดชำระหนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ยต่อบริษัทจริง ส่วนผู้ถือหุ้น (หรือผู้ที่มิได้ทำสัญญากู้) นั้น มีความรับผิดจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถืออยู่เท่านั้น (ป.พ.พ. มาตรา 1096) และเมื่อในรายการจดทะเบียนเพิ่มทุนระบุว่าเรียกชำระค่าหุ้นเต็ม โดยกรรมการแจ้งยืนยันการได้รับชำระค่าหุ้นเต็มจำนวนต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าแล้ว ผู้ถือหุ้นทุกคนจึงมิได้เป็นหนี้ค่าหุ้นบริษัทอีก
ตลาดหุ้นมักจะหลอกเราด้วย ความโลภ และความกลัว.....