ชายคนนี้เคยฝันว่าในวัย 70 ปี จะมีเงิน 1,000 ล้านบาท

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ii'8N
Verified User
โพสต์: 3682
ผู้ติดตาม: 0

ชายคนนี้เคยฝันว่าในวัย 70 ปี จะมีเงิน 1,000 ล้านบาท

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ใครๆ ก็มักรู้แล้ว ว่าวันนี้อาจารย์นิเวศน์ประสบความสำเร็จในการลงทุน
มีบทความในกรุงเทพธุรกิจ post ลงใน pantip และ copy ลง bloggang อีกที บังเอิญไปเจอมา เอามาฝากเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ชาว VI

เผื่อเป็นแรงผลักดันให้นักลงทุนแนว VI ให้เชื่อมั่นว่าทำได้จริง โดยไม่ต้องใช้โชคช่วย
เป็นแรงประคองจิตใจตอนไขว้เขว เผลอออกนอกลู่นอกทาง (ที่มือใหม่อย่างผมเป็นบ่อยๆ  :D )

เหมือน rewind เทป กลับไปนั่งฟังดร. พูดตั้งแต่ปี 2545 ...5 ปีหลังจากลงทุน หลังวิกฤติต้มยำกุ้ง ที่ตอนนั้่น
"ถึงแม้จะมีการจัดอันดับ ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ก็คงไม่ใช่นักลงทุนที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในแง่ของเม็ดเงิน"
และตอนนั้น
จึงไม่ใช่เรื่องเกินเลยถ้าเขาจะฝันว่าในวัย 70 ปี ตัวเองจะมีเงิน 1,000 ล้านบาท ด้วยวิธีการลงทุนแบบทบต้น บนสมมติฐานที่ว่าหุ้นในพอร์ตของเขาต้องทำกำไรทบต้นให้ได้เฉลี่ยไม่น้อยกว่าปีละ 15% ตลอด 20 ปีนับต่อจากนี้

"ถ้าปีหนึ่งๆ พอร์ตของผมโตขึ้น 15% ทุก 7 ปีจะโตขึ้นเท่าตัว และภายใน 21 ปี จะโตขึ้น 8 เท่าตัว"

แต่ตอนนี้
ผลงานจริง: มากกว่า 50 เท่า (30.8M->1,589M) ใน 13 ปี
อายุยังแค่ 57 เอง (2553->2496)

หมายถึง ตอน 70 ไปได้ไกลกว่านี้อีกหลายขุม เพราะอีกครึ่งทาง ไม่ได้หมายความว่าจะเพิ่มอีกเท่าตัว....เพราะเป็นการทบต้น

และตอนนี้
แวลูอินเวสเตอร์ มาถูกทาง และเป็นกลุ่มที่ทรงพลังในตลาดหุ้น
'เสี่ยยักษ์' วิชัย วชิรพงศ์
ชีวิตเกษียณ 'เซียนหุ้น'(พันล้าน) มุ่งสู่ความยั่งยืน
ตลาดหุ้นใน 'มุมมองใหม่' ของ 'เสือเก่า'
http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.php?t=44695
http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.php?t=44683



http://www.thaivi.com/webboard/viewtopi ... sc&start=0
สรุปพอร์ต8ปีของ 2นิ+1น ผู้ยิ่งใหญ่>นิติ&นิเวศน์+นริศ

รูปภาพ



" ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร"

"Value Investor" พันธุ์แท้ของเมืองไทย

ไม่เคยมีการจัดอันดับนักลงทุนที่เล่นหุ้นจนร่ำรวยที่สุดของเมืองไทย และถึงแม้จะมีการจัดอันดับ ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ก็คงไม่ใช่นักลงทุนที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในแง่ของเม็ดเงิน แต่เขาคือบุคคลแรกที่ออกมาประกาศตัวเองว่าเป็น "Value Investor" หรือนักลงทุนแบบ "เน้นคุณค่าของตัวหุ้น" คนแรกในเมืองไทย

นับตั้งแต่วิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 เป็นต้นมา ดร.นิเวศน์ พิสูจน์ให้เห็นว่าการลงทุนแบบเน้นคุณค่าหุ้น โดยไม่เก็งกำไรวูบวาบตามสภาพตลาด สามารถสร้างกำไรให้กับเขาได้ในอัตราเฉลี่ย 40% ต่อปี ชนะดัชนีตลาดหลักทรัพย์อย่างสบายๆ

เขาผู้นี้จบดอกเตอร์ด้านการลงทุน แต่กลับไม่ยอมรับความเป็นนักวิชาการ เพราะหลังจากที่อ่านตำราศึกษากลยุทธ์การลงทุนของนักยุทธศาสตร์การลงทุนชั้นนำของโลกมาหลายร้อยเล่ม ไม่ว่าจะเป็น เบนจามิน เกรแฮม, ฟิลิป ฟิเชอร์, วอร์เรน บัฟเฟตต์ ปีเตอร์ ลินช์ แม้กระทั่งจอร์จ โซรอส เขาก็ตกตะกอนเพียงพอที่จะหล่อหลอมความคิดด้านการลงทุนของเขาเป็นหนึ่งเดียว โดยมี "Value Investor" หรือนักลงทุนหุ้นมูลค่า เป็นคำตอบ

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ตำแหน่งงานปัจจุบันของ ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร คือ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารนครหลวงไทย ฝ่ายสายงานบริหารความเสี่ยงและนโยบาย แต่เป้าหมายชีวิตอันใกล้ของอดีตเอ็มดีบริษัทหลักทรัพย์ซึ่งคร่ำเคร่งกับการเฟ้นหาหุ้นดีของตลาดหุ้นไทยมาหลายปีดีดักก็คือ การก้าวสู่การเป็นนักเลงหุ้นมูลค่า หรือ Value Investor อย่างเต็มตัว

ดร.นิเวศน์ รักอาชีพ "นักลงทุน" เป็นชีวิตจิตใจ และต้องต่อสู้กับความขัดแย้งในตัวเองมาหลายปี "อาชีพนักลงทุนยังไม่เป็นที่ยอมรับของสังคม และถูกมองว่าเป็นอาชีพที่ไม่มั่นคง" ดร.นิเวศน์ บอกถึงต้นเหตุของความสับสนในใจในช่วงก่อนหน้านี้ไว้อย่างนั้น

มาถึงวันนี้ ดร.นิเวศน์ ตั้งใจแน่วแน่ว่าอยากจะมีเงินสัก 1,000 ล้านบาท ซึ่งเขาบอกว่ามันไม่ใช่แค่ความฝันที่เลื่อนลอย ด้วยความมั่นใจว่าเงินหนึ่งพันล้านบาทเป็นไปได้สำหรับทุกคน "ถ้าคุณมีความตั้งใจจริง"

ความฝันใกล้ความจริงมากขึ้นทุกขณะ เมื่อ ดร.นิเวศน์ เริ่มวางแผนการลงทุน เพื่อ "ใช้เงินทำงาน" ภายหลังปลดเกษียณตัวเองออกจากงานประจำ เขาเริ่มวางแผนนี้อย่างจริงจังเมื่อ 3-4 ปีที่ผ่านมานี้เอง

เส้นทางการลงทุนแบบ Value Investor ของ ดร.นิเวศน์ เกิดขึ้นภายหลังวิกฤติเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 เขาค้นพบว่ามีหุ้นราคาถูกจำนวนมากมาย ที่มีคุณภาพดีเยี่ยม แต่ไม่มีใครสนใจ เรียกว่าซื้อไปแล้วมั่นใจ 100% ว่าปลอดภัย บางบริษัทแค่จ่ายปันผลอย่างเดียวก็คุ้มค่า

ประสบการณ์นี้เขาซึมซับมาจากหนังสือการลงทุนที่เขาเก็บสะสมไว้นับร้อยเล่ม "วอร์เรน บัฟเฟตต์" หรือ "ปีเตอร์ ลินช์" ก็ล้วนมีจุดกำเนิดแห่งความสำเร็จมาจากวิกฤติใหญ่แทบทั้งสิ้น

"หลังเกิดวิกฤติใหม่ๆ มีหุ้นให้เลือกเยอะมาก ถูกจนกระทั่งผมบอกกับภรรยาว่าเราจะหาโอกาสอย่างนี้ไม่ได้อีกแล้ว"

ขณะที่นักลงทุนคนอื่นกลัว แต่เขากลับแปร "วิกฤติ" นี้ให้เป็น "โอกาส"

ก่อนหน้านั้น ดร.นิเวศน์ เคยใช้รูปแบบการลงทุนที่หลากหลายซึ่งรวมถึงการเก็งกำไร แต่แล้วก็พบว่ามันไม่ใช่หนทางที่จะนำไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริง "ถ้าคุณมีเงินลงทุนก้อนโตมากขึ้นเรื่อยๆ โอกาสจะไปให้ถึงเป้าหมายก็ยากมากขึ้นทุกที"

เงินลงทุนของ ดร.นิเวศน์ถูกจัดตั้งเหมือนกองทุนส่วนตัว เขาจะใส่เงินลงไป 100% เต็มของเงินที่ถูกแบ่งเอาไว้เพื่อการลงทุนในตลาดหุ้นทั้งหมด และมีเป้าหมายว่าจะไม่ถอนมันออกมาใช้จ่ายเลยตลอดชีวิต เงินกำไร หรือเงินปันผลจะถูกทบต้นเข้าไป

ในทางทฤษฎี นี่คือ วิธีการ "Reinvestment" หรือการนำดอกผลไปลงทุนต่อ สร้างดอกผลทบต้นไปเรื่อยๆ

เพาพิลาส ภรรยาของ ดร.นิเวศน์ มีความคิดเหมือนกับคนไทยทั่วไป คือ อยากให้สามีทำธุรกิจส่วนตัวมากกว่า "เขามักถามผมว่า ทำไมไม่ทำธุรกิจบ้าง ผมตอบว่าผมทำอยู่แล้ว!!!" ธุรกิจส่วนตัวของ ดร.นิเวศน์ หมายถึงการเลือกซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ และพอใจที่จะเป็นหุ้นส่วนของกิจการที่เขารู้สึกว่าประสบความสำเร็จอยู่แล้วย่อมดีกว่า

แม้ภรรยาอยากทำธุรกิจแต่สามีกลับเลือกที่จะซื้อหุ้นไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ หรือหุ้น "มาม่า" หุ้นเพรซิเดนท์ไรซ์โปรดักส์ ผู้ผลิตมาม่าเส้นขาว และขนมปังฟาร์มเฮ้าส์ หุ้นไทยยูเนี่ยนโฟรเซ่นส์ ผู้ผลิตซีเล็คทูน่า และปลาเส้นฟิชโช หุ้นเสริมสุขผู้ผลิตและจำหน่ายเป๊ปซี่

หุ้นไทยวาโก้ ผู้ผลิตชุดชั้นใน หุ้นไทยสแตนเลย์ ผู้ผลิตโคมไฟรถยนต์ นอกจากนี้เขายังซื้อหุ้นปูนซิเมนต์ไทย หุ้นแบตเตอรี่ 3K หุ้นยางกู๊ดเยียร์ หุ้นพิซซ่า และอีกหลายกิจการ

ดร.นิเวศน์ บอกกับเพาพิลาส ภรรยาของเขาว่า "บริษัทของเราก็ดีๆ ทั้งนั้น "

นับจากเริ่มลงทุนเมื่อปี 2540 จนถึงปัจจุบัน เงินลงทุนของ ดร.นิเวศน์มีมูลค่าเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 40% เหนือกว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละไม่ถึง 10% ต่อปี

ดร.นิเวศน์ ซึ่งร่ำเรียนจนจบดอกเตอร์ทางด้านการลงทุนโดยตรงมาจาก มหาวิทยาลัยมิสซิสซิปปี สหรัฐอเมริกา เริ่มไม่เชื่อในทฤษฎีตลาดที่มีประสิทธิภาพ (Efficient Market Theory) ว่าใช้ได้จริงในตลาดหุ้นไทย

"ผมเรียนมาทางด้านการลงทุนโดยตรง แต่นักวิชาการทางด้านการลงทุนโดยตรงเดี๋ยวนี้ผมไม่ยอมรับแล้ว เพราะคนที่เรียนมาจะมีความคิดเรื่องทฤษฎีตลาดที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งผมไม่ค่อยเชื่อ ผมเชื่อว่าเราสามารถชนะตลาดได้"

อย่างหุ้นไทยสแตนเลย์ เขาเริ่มซื้อที่ราคา 12 บาท เมื่อราคาขึ้นมาที่ 40 บาท คนอื่นขายแต่เขากลับซื้อเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว เพราะยังเชื่อว่า "มาร์เก็ตแค็ป" ยังต่ำกว่า "มูลค่าของกิจการ" ปัจจุบันราคาหุ้นตัวนี้ซื้อขายที่หุ้นละ 93 บาท

หุ้นเสริมสุข เป็นอีกตัวหนึ่งที่ทำกำไรให้กับเขาจำนวนมาก เขาเริ่มซื้อหุ้นตัวนี้ที่ราคา 105 บาท และซื้อเพิ่มขึ้นอย่างมากตอนที่ราคาหุ้นตกลงมาเหลือ 70-71 บาท ปัจจุบันราคาหุ้นขึ้นไปสูงถึง 236 บาท เขาก็ยังไม่ได้ขายออกแม้แต่หุ้นเดียว เพราะฉะนั้นในพอร์ตของ ดร.นิเวศน์ทุกวันนี้ จึงไม่มีหุ้นที่ขาดทุนเลยแม้แต่ตัวเดียว

เขาบอกว่า "จะมีหุ้นขาดทุนได้ยังไง! เพราะผมถือคติว่าหุ้นที่ไม่ดีจะไม่ถือเอาไว้ในพอร์ตเด็ดขาด"

จึงไม่ใช่เรื่องเกินเลยถ้าเขาจะฝันว่าในวัย 70 ปี ตัวเองจะมีเงิน 1,000 ล้านบาท ด้วยวิธีการลงทุนแบบทบต้น บนสมมติฐานที่ว่าหุ้นในพอร์ตของเขาต้องทำกำไรทบต้นให้ได้เฉลี่ยไม่น้อยกว่าปีละ 15% ตลอด 20 ปีนับต่อจากนี้

"ถ้าปีหนึ่งๆ พอร์ตของผมโตขึ้น 15% ทุก 7 ปีจะโตขึ้นเท่าตัว และภายใน 21 ปี จะโตขึ้น 8 เท่าตัว"


ดร.นิเวศน์ คิดว่าตัวเองน่าจะมีอายุถึง 80 ปี และแม้จะไม่มีการเปิดเผยถึงเม็ดเงินลงทุนในปัจจุบัน แต่มันก็คงมากโข "ทุกวันนี้ผมไม่จำเป็นต้องทำงานประจำ เฉพาะเงินปันผลก็พอเลี้ยงครอบครัวได้แล้ว"

ทุกปี ดร.นิเวศน์จะพาครอบครัวเดินทางไปพักผ่อนยังต่างประเทศปีละ 1-2 ครั้ง เพื่อเป็นรางวัลให้แก่ชีวิต แต่จะเลือกตีตั๋วชั้นประหยัดทุกครั้ง

"ผมว่านั่งชั้นบิสซิเนส หรืออีโคโนมี ก็ไปถึงเหมือนกัน ปลอดภัยเท่ากัน ผมมองว่าความสุขมันอยู่ที่ใจ ทุกวันนี้ผมไม่ได้ขี้เหนียว แต่ผมชอบความเรียบง่ายมากกว่า"





จากคุณ : ปีเตอร์ ชาง - [21 พ.ค. 45 20:44:26 A:202.133.156.18 X:]






ความคิดเห็นที่ 2

คนที่คิดแบบ Value Investor จะคิดอะไรที่มีเหตุผล คิดถึงผลตอบแทน คิดถึงความคุ้มค่าของการลงทุน ผมคิดว่าถ้าคุณเป็น Value Investor จริงๆคุณจะไม่ซื้อ เบนซ์ S 500 ขับหรอก! เพราะวิธีคิดของนักลงทุน Value โดยจิตวิญญาณ จะใช้ชีวิตแบบธรรมดาๆ

ผลตอบแทน 5 ปีที่ผ่านมา ผมกล้าพูดได้เลยว่าเยอะมาก แต่ก็ไม่ได้ใช้ ผมใช้เงินเดือนประจำ แต่ไม่ได้ประหยัด ยังไปเที่ยวต่างประเทศทุกปี แต่จะไม่ฟุ่มเฟือย ถ้าเราไม่ทำงานเป็นผู้บริหารอย่างมากผมก็ซื้อรถธรรมดา ไม่เคยอยากซื้อรถเบนซ์อย่างที่นั่งอยู่ตอนนี้"

ความตั้งใจของ ดร.นิเวศน์ จะลงทุนไปจนกว่าตัวเขาจะตายจากโลกนี้ไป "ผมคิดว่านักลงทุน Value ส่วนใหญ่คิดอย่างนี้ หลายคนบอกว่าลงทุนแบบอาจารย์ไม่ไหวหรอก! กำไรแล้วไม่ได้ใช้จะเล่นหุ้นไปทำไม! ผมก็บอกว่าผมก็ใช้ชีวิตเหมือนปกติ ความสุขของผมไม่ได้อยู่ที่การเอาเงินไปซื้อ ความสุขของผมเหมือนกับคุณตีกอล์ฟแล้วคุณได้คะแนนดีขึ้นเรื่อยๆ

มันเป็นความสุขจากการได้เห็น Score ของตัวเองเพิ่มขึ้นๆ ถ้าใครก็ตามเริ่มตั้งโจทย์ว่าถ้าลงทุนรวยแล้วจะเอาเงินไปซื้อความสุข นี่เป็น Value Investor ไม่ได้ เพราะแค่เริ่มต้นก็ผิดแล้ว"

หุ้นแต่ละตัวที่ซื้อจะถือลงทุนเฉลี่ยประมาณ 2 ปีขึ้นไป บางตัวถือเอาไว้ตั้งแต่ปี 2540 ถึงวันนี้ก็ยังไม่ได้ขายออกจากพอร์ต

ยิ่งพอร์ตใหญ่มากขึ้น หุ้นที่จะลงทุนก็ต้องเลือกหุ้นที่ดีเยี่ยม และต้องไม่กระจายการลงทุนในหุ้นมากตัวจนเกินไป "ทุกวันนี้ผมลงทุนในหุ้นประมาณ 20 ตัว แต่ลงทุนมากๆ มีแค่ 5-6 ตัว นอกนั้นลงทุนตัวละไม่เกิน 3-5 ล้านบาท การลงทุนที่มากเกินไปโอกาสเติบโตของพอร์ตจะยาก"

กลยุทธ์ของ ดร.นิเวศน์ ก็คือ หุ้นที่ถืออยู่ถ้ามันดี ไม่ต้องหมุนบ่อยมันก็จะโตขึ้นด้วยตัวของมันเอง แต่ถ้าหุ้นตัวไหนเริ่มอืดมองดูแล้วว่าระยะยาวจะโตช้าเขาก็จะค่อยๆ ขายออก และเปลี่ยนตัวไปเรื่อยๆ ดร.นิเวศน์จะให้น้ำหนักในการดูที่ "มาร์เก็ตแค็ป" อย่างมาก เพราะเขาเชื่อว่า มาร์เก็ตแค็ป คือ ภาพสะท้อนของหุ้นทั้งบริษัท

"ถ้าคุณเลือกหุ้นที่มีมาร์เก็ตแค็ปต่ำมากเมื่อเทียบกับยอดขาย มีแนวโน้มว่าหุ้นตัวนั้นราคาจะปรับตัวสูงขึ้น แต่ก็ไม่ใช่กฎที่ตายตัว เพราะสินค้าแต่ละตัวมีมาร์จินไม่เหมือนกัน"

บนความเชื่อที่ว่าการเลือกซื้อหุ้นดีๆ และถือไว้สักระยะหนึ่งตราบเท่าที่ราคาของหุ้นยังต่ำกว่ามูลค่าของกิจการ ทำให้ ดร.นิเวศน์จะไม่ขายหุ้นที่มีกำไรต่ำกว่า 30% ออกจากพอร์ต เขาจะรอคอยด้วยความอดทนจนกว่าโอกาสที่ยิ่งใหญ่จะมาถึง

"ถ้ามั่นใจว่าหุ้นตัวนั้นดีจริง ราคาจะต้องสะท้อนมูลค่าที่แท้จริงของมันออกมาในที่สุด โดยปกติผมจะไม่ได้ตั้งเป้ากำไร แต่การที่ผมมองเป้าหมายระยะยาว ถ้าเราซื้อมา 100 บาท เราต้องมองไปข้างหน้าอย่างต่ำ 180-200 บาท เพราะฉะนั้นถ้าราคาหุ้นขึ้นมาที่ 120 บาท ผมจะไม่มีทางขายเลย เพราะผมรู้ว่ามันยังมีมาร์จินอีก 80 บาท" เขากล่าว

"ถ้าหุ้นตัวนี้เราเคยซื้อที่ พี/อี เรโช 5 เท่า มันขึ้นมา 7 เท่า เราก็บอกว่ามันยังถูก แต่ถ้าขึ้นมา 10 เท่าก็ต้องระวังแล้ว หุ้นที่ผมซื้อจะต้องมีมาร์เก็ตแค็ปต่ำกว่ามูลค่าที่ควรจะเป็นของกิจการมากๆ"

แนวคิดการลงทุนส่วนใหญ่ของ ดร.นิเวศน์จะเอนเอียงไปทางวอร์เรน บัฟเฟตต์มากที่สุด

บัฟเฟตต์ไม่ใช่เพียงต้นแบบของ Value Investor รุ่นใหม่ที่อยู่ในใจของ ดร.นิเวศน์เท่านั้น แต่บัฟเฟตต์ยังเป็นต้นแบบของ Value Investor ที่อยู่ในใจของนักลงทุนทั่วทั้งโลก ในฐานะนักเล่นหุ้นที่ยิ่งใหญ่ และร่ำรวยเป็นอันดับ 2 ของโลก

เฉพาะหนังสือที่เกี่ยวกับวอร์เรน บัฟเฟตต์ คนเดียว ดร.นิเวศน์ มีอยู่ในตู้หนังสือเกือบ 10 เล่ม

"แนวคิดที่ผมนำมาใช้ผมจะยึดของหลายคนมาก แต่ยึดแนวทางของวอร์เรน บัฟเฟตต์มากที่สุด ผมศึกษากลยุทธ์ และวิธีการลงทุน รวมถึงปรัชญาคิดของเขา ต้องยอมรับว่าเขาสุดยอดจริงๆ"

ดร.นิเวศน์ อธิบายถึงบุคลิกของวอร์เรน บัฟเฟตต์ ว่าเป็นอะไรที่แปลกมาก มูลค่าหุ้นของเขาเป็นล้านล้านบาท แต่เขากลับจ่ายเงินเดือนให้กับตัวเองเพียงปีละ 1-2 แสนดอลลาร์เท่านั้นเอง และไม่เคยขายหุ้นของตัวเองเลยตลอดชีวิต ชอบกินแมคโดนัลด์ ดื่มโค้ก ขับรถเก่าไปทำงานเอง ไม่มีเลขาหน้าห้อง บนโต๊ะทำงานไม่เคยมีเครื่องคอมพิวเตอร์ดูราคาหุ้น ชอบใช้ชีวิตแบบเดิมๆ และคิดถึงผู้ถือหุ้นเป็นอันดับแรก

แนวคิดของบัฟเฟตต์แตกแขนงออกมาจากแนวคิดของเบนจามิน เกรแฮม ผู้ซึ่งแต่งตำราที่ถูกกล่าวขวัญมากที่สุดในหมู่ Value Investor ที่ชื่อ "The Intelligent Investor"

ดร.นิเวศน์ เชื่ออย่างที่เบนจามิน เกรแฮม เชื่อในกฎของ Margin of Safety หรือกันชนเพื่อความปลอดภัย การเลือกหุ้นของ ดร.นิเวศน์จึงนิยมเลือกหุ้นที่มีราคา Discount จากมูลค่าของกิจการมากๆ ไม่น้อยกว่า 40% และจะตั้งคำถามเสมอว่าถ้าลงทุนหุ้นตัวนี้ต่อไปอีก 5 ปี จะเป็นอย่างไร? ถ้าได้รับคำตอบว่าถึงหุ้นจะตกลง 30-40% ก็ไม่มีทางเจ๊ง นั่นหมายความว่าหุ้นตัวนั้นมี Margin of Safety แล้ว

เช่นเดียวกับที่เขานำกลยุทธ์การลงทุนบางส่วนมาจากหนังสือ "One Up on Wall Street" ที่เขียนขึ้นโดย "ปีเตอร์ ลินช์" เซียนหุ้นบรรลือโลก ดร.นิเวศน์ บอกว่า ทุกสัปดาห์ผมจะต้องเดินจับจ่ายตามห้างสรรพสินค้า และซูเปอร์มาร์เก็ต นอกจากเป็นเรื่องของการหาซื้อปัจจัยสี่เพื่อความอยู่รอดของชีวิตแล้ว เหตุผลสำคัญอีกอย่างหนึ่ง ก็คือ เป็นช่วงเวลาที่ผมใช้สำรวจสินค้าของบริษัทจดทะเบียนทั้งหลายที่ผมลงทุนอยู่ "แนวคิดนี้ผมได้มาจากปีเตอร์ ลินช์"

ดร.นิเวศน์จะบอกภรรยาและลูกว่า ถ้าจะดื่มน้ำอัดลมให้ดื่ม "เป๊ปซี่" ถ้าจะกินบะหมี่สำเร็จรูปให้เลือกยี่ห้อ "มาม่า" ซื้อขนมปัง "ฟาร์มเฮ้าส์" กินขนม "เอสแอนด์พี" และเดินเที่ยวเล่นที่ห้าง "มาบุญครอง" เพราะมันเป็นกิจการของพ่อ

ความภูมิใจของ ดร.นิเวศน์ในวันนี้ นอกจากการได้เห็น Score ของตัวเองเพิ่มขึ้นแล้ว ความภาคภูมิใจอีกอย่างหนึ่ง ก็คือ ได้เห็น Value Investor เกิดมากขึ้นในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา หลังจากอ่านหนังสือ "ตีแตก" และอ่านบทความ "โลกในมุมมองของ Value Investor ที่เขียนลงใน นสพ.กรุงเทพธุรกิจ

"มีหลายคนอ่านแล้วบอกว่าประทับใจ บางคนบอกว่ามันจุดประกายให้กับเขา ในฐานะที่ผมเป็นส่วนหนึ่งที่บุกเบิก ผมก็ภูมิใจ และอยากเผยแพร่ไอเดียพวกนี้ให้กว้างขึ้น คิดว่าไอเดียพวกนี้เหมาะกับกลุ่มคนที่กินเงินเดือนประจำ ไม่มีทางออกเรื่องการลงทุนอย่างอื่น และไม่มีเวลาดูแลหุ้นทุกวัน การลงทุนแบบนี้จะเพิ่มทางเลือกและทำให้ชีวิตของเขาดีขึ้น"

ความฝันอีกอย่างหนึ่งของ ดร.นิเวศน์ ก็คือ เขาอยากจัดตั้งชมรม Value Investor อย่างเป็นทางการขึ้นในประเทศไทย

แนวคิดนี้เกิดขึ้นมานานแล้วแต่ก็ยังไปไม่ถึงไหน "ส่วนหนึ่งผมไม่ค่อยมีเวลาสานต่ออย่างจริงจัง แต่ผมก็ยังไม่ทิ้ง ทุกวันนี้ผมเป็นกรรมการของสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย ก็คิดว่าอาจใช้ช่องทางนี้ลองทำดู"

ชีวิตของชายผู้นี้อาจจะเป็นสิ่งที่แปลกแยก และแตกต่างจากใครหลายคน

เขาอยากมีเงิน 1,000 ล้านบาท แต่กลับไม่อยากใช้มัน

อยากเห็นเพียง Score ที่เพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ อยากเห็นการแตกตัวออกไปของสังคม Value Investor และภาคภูมิใจเพียงแค่การเป็นส่วนหนึ่งที่สร้างมันขึ้นมา

และนี่คือความสุขที่แท้จริงของชายที่ชื่อ "ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร" Value Investor พันธุ์แท้ของเมืองไทย

จากคุณ : ปีเตอร์ ชาง - [21 พ.ค. 45 20:44:50 A:202.133.156.18 X:]


++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++



ที่มา: http://www.bloggang.com/mainblog.php?id ... =4&gblog=4
END
Verified User
โพสต์: 224
ผู้ติดตาม: 0

ชายคนนี้เคยฝันว่าในวัย 70 ปี จะมีเงิน 1,000 ล้านบาท

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ขอบคุณ ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ที่จุดประกายฝัน
แม้ตอนนี้ทางเดินเราต่างกัน แต่จุดหมายเหมือนกัน

ถ้าผมไม่ได้อ่าน รวยหุ้นอย่างพอเพียง ผมก็คงไม่มีวันนี้
:bow:  :bow:  :bow:  :bow:  :bow:  :bow:
stupidvi
Verified User
โพสต์: 71
ผู้ติดตาม: 0

thanks

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ขอบคุณเจ้าของกระทู้ครับ ได้แรงบันดาลใจมากโขทีเดียว
ผมเองก็ฝันคล้ายๆ อจ.ดร.นิเวศน์เหมือนกัน แต่ขนาดของฝัน น้อยกว่า
เพราะเงินทุนเริ่มแรกน้อยกว่า, ความรู้เรื่องการลงทุนด้อยกว่า,
ผมจะพิสูจน์ว่ามนุษย์เงินเดือนน้อยๆ จนๆโง่ๆและอดทนคนหนึ่ง ก็สามารถเป็นเศรษฐี(30ล้านบาท)จากการลงทุนในหุ้นแบบวีไอได้ สู้ๆๆๆๆๆๆๆๆ :D
ภาพประจำตัวสมาชิก
SEHJU
Verified User
โพสต์: 1238
ผู้ติดตาม: 0

ชายคนนี้เคยฝันว่าในวัย 70 ปี จะมีเงิน 1,000 ล้านบาท

โพสต์ที่ 4

โพสต์

:shock:  :shock:  :shock:  :shock:  :shock:

โอ้พระเจ้า....   เหนือคำบรรยาย

ขอบคุณที่เผื่อแผ่ครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Paul VI
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 10538
ผู้ติดตาม: 0

ชายคนนี้เคยฝันว่าในวัย 70 ปี จะมีเงิน 1,000 ล้านบาท

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ความฝันอีกอย่างหนึ่งของ ดร.นิเวศน์ ก็คือ เขาอยากจัดตั้งชมรม Value Investor อย่างเป็นทางการขึ้นในประเทศไทย
ในที่สุด ความฝัน ของ ดร.นิเวศน์ ก็กำลังจะเป็นจริง

เป็น แบบอย่างของการเดินตามรอย ความสำเร็จจริงๆครับ

ขอบคุณ เจ้าของกระทู้ ที่มาโพสต์ครับ  :D
Todo
Verified User
โพสต์: 279
ผู้ติดตาม: 0

ชายคนนี้เคยฝันว่าในวัย 70 ปี จะมีเงิน 1,000 ล้านบาท

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ขออนุญาต นำไปลง FB ครับ ^^
moonchild
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 953
ผู้ติดตาม: 0

ชายคนนี้เคยฝันว่าในวัย 70 ปี จะมีเงิน 1,000 ล้านบาท

โพสต์ที่ 7

โพสต์

ขอบคุณมากครับ
itnas
Verified User
โพสต์: 227
ผู้ติดตาม: 0

ชายคนนี้เคยฝันว่าในวัย 70 ปี จะมีเงิน 1,000 ล้านบาท

โพสต์ที่ 8

โพสต์

ความสุขอยู่ที่ใจ ไม่ใช้การใช้เงิน
ผมมีความสุขกับการได้ลงทุนหุ้น
มีความสุขกับแนวคิดใหม่ทีทำให้ชีวิตเปลี่ยนไป

แค่คุณเปลี่ยนแนวคิด ชีวิตคุณก็เปลี่ยน

ขอบคุณครับ ดร.นิเวศน์
ภาพประจำตัวสมาชิก
dome@perth
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4740
ผู้ติดตาม: 0

ชายคนนี้เคยฝันว่าในวัย 70 ปี จะมีเงิน 1,000 ล้านบาท

โพสต์ที่ 9

โพสต์

เข้ามาขอบคุณเจ้าของกระทู้

:cool:  :cool:  :cool:

และ เข้ามา เทิดทูนอาจารย์ครับ

:bow:  :bow:  :bow:
"ไม่มีสุตรสำเร็จ ไม่มีทางลัด ไม่ใช่แค่โชค
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง
"
ถุงเงินเก่า
Verified User
โพสต์: 358
ผู้ติดตาม: 0

ชายคนนี้เคยฝันว่าในวัย 70 ปี จะมีเงิน 1,000 ล้านบาท

โพสต์ที่ 10

โพสต์

ยินดีด้วยครับ
nut776
Verified User
โพสต์: 3350
ผู้ติดตาม: 0

ชายคนนี้เคยฝันว่าในวัย 70 ปี จะมีเงิน 1,000 ล้านบาท

โพสต์ที่ 11

โพสต์

งง ดร. แอบถือ เอเชียซอฟท์
แกมองเหนอะไรในเกมออนไลน์ งบดีอะใช่,แต่........
show me money.
ภาพประจำตัวสมาชิก
Sorgios
Verified User
โพสต์: 368
ผู้ติดตาม: 0

ชายคนนี้เคยฝันว่าในวัย 70 ปี จะมีเงิน 1,000 ล้านบาท

โพสต์ที่ 12

โพสต์

เชื่อมั่นในแนวทางของอาจารย์ครับ ลงทุนต้องใช้เวลา :D
CHIN UP, Do not give up !!!
c_man
Verified User
โพสต์: 144
ผู้ติดตาม: 0

ชายคนนี้เคยฝันว่าในวัย 70 ปี จะมีเงิน 1,000 ล้านบาท

โพสต์ที่ 13

โพสต์

รวยอย่างเต่า....บิน....  ครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ii'8N
Verified User
โพสต์: 3682
ผู้ติดตาม: 0

ชายคนนี้เคยฝันว่าในวัย 70 ปี จะมีเงิน 1,000 ล้านบาท

โพสต์ที่ 14

โพสต์

ตอนที่ CPALL เริ่มถูกตี ยังไม่มีแววว่้าจะแตกเลย

ตอนนั้นอยู่ราว 10 บาท ราคานิ่งอย่างนั้นตลอดปี 2551!
http://ichart.yahoo.com/z?s=cpall.BK&a= ... ff&z=m&q=c

ช่วงการซื้อ: CP ALL PUBLIC COMPANY LIMITED 0.50 30/03/10
เข้าซื้อช่วง 6 มิย 07 - 4 เมย 08 ช่วงราคา 9.80 - 10.80 บาท ราคาเฉลี่ย 10.30 บาท  

http://www.thaivi.com/webboard/viewtopi ... E%3Cdiv%3E





'ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร' 'ตีแตก' หุ้นปี 2551 ฉบับ 'หนูอยู่ตึก'

Bizweek 4 ม.ค. 51

ปี ชวด (ปีหนู)..เล่นหุ้นอย่างไรไม่ให้ "ชวด" (ผิดหวัง) แหม!! ตั้งคำถามง่าย แต่จะเอาตัวรอดอย่างไรดีล่ะ การเมืองก็ง่อนแง่น ปตท.ก็โงกเงก เศรษฐกิจก็ง่วงเหงา ภาวะอย่างนี้ "เซียน" ต่างก็ลงรู "หมู" กลับบ้านเก่า ลงกองไฟไปนานแล้วครับ เอ้า! แล้ว "หนู" ปีนี้จะอยู่ยังไง ต้องไปถามเซียน Value..อยากอยู่ตึกจะทำยังไงดี! อาจารย์นิเวศน์ช่วยข้าน้อยด้วย!!!

---------------------------------------------------------
มี โอกาสที่แนวโน้มหุ้นในปี 2551 หุ้นกลุ่มเพื่อการบริโภคจะเริ่มกลับมาโดดเด่นอีกครั้ง และมุมมองส่วนตัวคิดว่า รอบของธุรกิจพลังงานที่ขึ้นมาหลายปี อาจจะเริ่มชะลอตัวลง
----------------------------------------------------------

ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ต้นตำรับการลงทุน "เซียนหุ้นมูลค่า" ของเมืองไทย มองย้อนผลตอบแทนการลงทุนรอบปี 2550 ที่เพิ่งผ่านพ้นไป ว่า..

"สำหรับ ผมถือเป็นปีที่ "เสมอตัว" หรือเรียกได้ว่าเป็นปีที่ "เกียร์ว่าง" ในแง่ผลตอบแทนการลงทุน ทั้งที่ผลตอบแทนตลาดหุ้นโดยรวมนับว่าค่อนข้างดี คือ มีผลตอบแทนประมาณ 20% แต่ส่วนใหญ่เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของหุ้นในกลุ่มพลังงาน โดยเฉพาะ ปตท. หุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ และกลุ่มบริษัทใหญ่ราวๆ สิบตัว ซึ่งผมเองไม่ได้สนใจลงทุนในหุ้นกลุ่มพวกนี้เท่าไหร่"

เป็นที่รู้กัน ว่า หุ้นในพอร์ตของ ดร.นิเวศน์ ส่วนใหญ่จะเทน้ำหนักให้กับ "กลุ่มโมเดิร์นเทรด" หรือกลุ่มค้าปลีกภายในประเทศ ซึ่งดร.ได้วิเคราะห์ว่า ปีที่ผ่านมา เป็นปีที่เศรษฐกิจและการบริโภคในประเทศซบเซามาก เลยทำให้หุ้นที่ถืออยู่เหล่านี้กลายเป็น "เกียร์ว่าง" ไป เพราะผลการดำเนินงานปีที่ผ่านมา ค่อนข้าง "ทรงๆ"

"แต่ก็ไม่ได้เสีย หาย หรือเป็นกลยุทธ์ที่ผิดอะไร เพียงแต่ว่าเราต้องรอเวลาของมัน หมายความว่าปีนี้เกียร์ว่างไปหนึ่งปี แต่ปีต่อไป มันควรจะเร่งสปีด เป็นเกียร์สูงๆ ที่วิ่งเร็วหน่อย ซึ่งอันนี้เกิดได้เสมอ"

ย้อนหลัง ไปเมื่อปี 2550 ดร.นิเวศน์ เคยประเมินไว้ว่า เป็นปีที่มีความผันผวนค่อนข้างสูง และแนวทางการลงทุนควรต้องเน้นความปลอดภัย เลือกหุ้นประเภท Defensive Stock

แต่สำหรับปี 2551 เซียนหุ้นมูลค่ารายนี้ วิเคราะห์ทิศทางการลงทุนน่าจะดีขึ้น หลังจากรัฐบาลใหม่ที่มาจากการเลือกตั้ง จะเข้ามาเร่งอัดฉีดกระตุ้นเศรษฐกิจ น่าจะทำให้การบริโภคภายในประเทศฟื้นตัวดีขึ้น

ดังนั้น มีโอกาสที่แนวโน้มในปี 2551 หุ้นกลุ่มเพื่อการบริโภคจะเริ่มกลับมาโดดเด่นอีกครั้ง รวมทั้งมีมุมมองส่วนตัวว่า รอบของธุรกิจพลังงานที่ขึ้นมาหลายปี อาจจะเริ่มชะลอตัวลง

ถ้าเป็นอย่างนั้นจริง การบริโภคก็จะต้องดีขึ้น โดยเฉพาะดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่จะปรับตัวดีขึ้นทุกครั้งที่ราคาน้ำมันลดลง

สำหรับ หุ้นกลุ่มเพื่อการบริโภคที่ว่า นอกจากจะครอบคลุมหุ้นกลุ่มค้าปลีกและโมเดิร์นเทรดแล้ว ดร.นิเวศน์ อธิบายว่า หุ้นกลุ่มนี้ยังครอบคลุมธุรกิจเยอะมาก เอาเป็นว่า ถ้าคนมีเงินในกระเป๋าเพิ่มขึ้น การจับจ่ายใช้สอยก็จะดีขึ้น โดยเฉพาะสินค้าที่ต้องใช้บริโภคในชีวิตประจำวัน หรือแม้แต่โทรศัพท์มือถือ ก็ถือเป็นสินค้าที่เกี่ยวกับการบริโภค เป็นต้น

โดยมองว่า รอบนี้ สินค้าที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคแบบสิ้นเปลือง หรือใช้แล้วหมดไป จะได้รับอานิสงส์ก่อน และถ้าเมื่อไหร่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคขึ้นถึงจุดๆ หนึ่ง คนก็จะเริ่มขยับไปซื้อของแพง หรือสินค้าคงทน เช่น รถยนต์ ซึ่งที่ผ่านมาก็เงียบเหงามาพักใหญ่

เซียนหุ้นรายนี้บอกว่า ก่อนหน้านี้ หุ้นกลุ่มพลังงาน ปิโตรเคมี และแบงก์ จะเป็นหุ้นกลุ่มที่นำตลาดมาตลอด ในขณะที่ 1-2 ปีที่ผ่านมา หุ้นที่เกี่ยวกับการบริโภคไม่ค่อยดี ดังนั้น ถ้ารู้จักซื้อหุ้นที่ Downside ในภาวะที่กำลังซบเซา ซึ่งถ้าลองไปค้นดูจะพบบริษัทดีๆ หลายบริษัทที่ราคาตกลงมา ซื้อแล้วค่อนข้างปลอดภัย และถ้าปี 2551 ยอดขายและกำไรเริ่มกลับมาดีขึ้น ก็จะเป็นโอกาสในการลงทุน

"จริงๆ ปีที่มีปัญหา มันก็อาจจะเป็นปีแห่งการซื้อ อย่างพวกหุ้นที่เป็นการบริโภคภายในประเทศ ซึ่งได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจ ราคาหุ้นก็ไม่ได้ไปไหน เหมือนเราซื้อในช่วงที่มีเหตุการณ์ด้านลบชั่วคราวที่ทำให้ราคาหุ้นตกลงมา แล้วรอไว้ว่าเหตุการณ์ตรงนั้นมันต้องเปลี่ยนแปลง ต้องแก้ไขได้...หุ้นพวกนี้จะดีอย่าง ก็คือ ถึงแม้จะเลวร้ายยังไง แต่ก็ยังมีกำไรพออยู่ได้ ถึงจะบอกว่าแย่มากๆ นั่นก็คือ โตแค่ 5%"

คำ ถามคือ ราคาหุ้นเพื่อการบริโภคทั้งหลายเหล่านี้ ตอนนี้แพงเกินไปที่จะลงทุนหรือยัง กูรูหุ้นรายนี้ตอบว่า ราคามันยังไม่ได้ขึ้นเลย เพราะสิ่งที่ผมพูดมันกำลังจะเกิดขึ้นหลังการเลือกตั้ง

แต่สำหรับ ดร.นิเวศน์ ได้ชิงปรับกลยุทธ์การลงทุน และปรับพอร์ตขนานใหญ่ไปตั้งแต่ปี 2550 นำร่องไปก่อนแล้ว

ดัง นั้น สำหรับปี 2551 เจ้าตัวบอกว่า คงจะเป็นปีที่อยู่นิ่งๆ หรืออาจจะเฉยๆ ไม่ต้องทำอะไร รอว่าถ้าผลการดำเนินงานและกำไรเริ่มปรับตัวเพิ่มขึ้นจริงอย่างที่คิด เดี๋ยวราคาหุ้นมันก็ต้องขึ้นตาม

"ปกติผมจะปรับพอร์ตไม่ค่อยบ่อย ปรับครั้งหนึ่งก็จะอยู่ไปหลายปี ดังนั้น ปี 2551 เป็นปีที่ต้องรอเวลา พูดง่ายๆ เพิ่งจะหว่านเมล็ดลงไป ถ้าบอกจะรีบเก็บเกี่ยวเลย มันไม่ใช่วิสัยของเรา"

ดร.นิเวศน์ บอกว่า พอร์ตที่ปรับไปในปี 2550 ส่วนใหญ่ยังเน้นน้ำหนักไปที่หุ้นกลุ่มโมเดิร์นเทรด ซึ่งเป็นหุ้นที่ลงทุนแล้วนอนหลับสบาย เพราะเป็นกิจการที่ Predictable หรือสามารถคาดการณ์ได้สูงมาก ผลการดำเนินงานไม่ค่อยหวือหวา รายได้และมาร์จินค่อนข้างสม่ำเสมอ โดยพอร์ตการลงทุนที่ปรับใหม่ มีทั้งเพิ่มตัวหุ้นบ้าง และเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในหุ้นกลุ่มโมเดิร์นเทรดบางตัว

กรุงเทพ ธุรกิจ BizWeek สืบทราบมาว่า หุ้น CPALL เจ้าของร้านสะดวกซื้อเซเว่นอีเลฟเว่น ยังครองตำแหน่งหุ้นในดวงใจที่ "ใช่เลย" ของดร.นิเวศน์ และนี่อาจจะเป็นคำเฉลย สำหรับบรรดาสาวก VI ที่สงสัยกันว่า ดร.นิเวศน์ หายไปไหนจากหุ้น SE-ED

"ไม่ใช่ว่าเพราะ หุ้น SE-ED ไม่ดี จริงๆ ก็ยังดีมาก เพียงแต่อาจจะมีหุ้นตัวเองที่เรามองว่ามีโอกาสได้ผลตอบแทนดีกว่า ด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม เราก็ปรับพอร์ตไป เพราะเงินของผมร้อยเปอร์เซ็นต์ก็ลงทุนในหุ้นอยู่แล้ว เวลาจะซื้อหุ้นตัวใหม่ ก็ต้องขายหุ้นตัวเก่าเอาเงินมาซื้อ แต่วันหนึ่งถ้าเรามีเงิน เราก็อาจจะกลับไปซื้อ SE-ED ใหม่"

ดร.นิเวศน์ บอกว่า พอร์ตใหม่ที่ปรับไปจริงๆ แล้วไม่ได้มองแค่เฉพาะทิศทางปี 2551 แต่มองภาพระยะยาวกว่านั้น โดยเฉพาะเลือกลงทุนในหุ้นที่คิดว่า "ปลอดภัย" ไม่ว่าเกิดภาวะอะไรต่างๆ ยังคงเติบโตยืนหยัดได้ในระยะยาว หรือ Defensive Stock

"จริงๆ มันก็ต้องปลอดภัยไว้ก่อนทุกปี สำหรับผมถ้าหุ้นไม่ปลอดภัย จะไม่เข้าไปยุ่ง เพราะถ้ามันไม่ Defensive เหมือนคุณเล่นฟุตบอลแล้วบอกว่ากองหลังไม่ต้อง คือ ลุยไปข้างหน้าหมด ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้ ไม่ว่าคุณจะทำการสู้รบหรือทำสงครามกับใคร มันก็ต้องมี Defensive ที่ดีทั้งนั้นแหละ

ดังนั้น สำหรับผมแล้ว เล่นหุ้นต้อง Defensive ตลอดเวลา ไม่มีคำว่า "ไม่ Defensive" แต่คนชอบไปคิดกันว่าของบางอย่าง เช่น พลังงาน เป็น Defensive เพราะเป็นสินค้าที่ทุกคนต้องใช้ แต่จริงๆ แล้วคำว่า Defensive ในแง่ของธุรกิจ คือ ต้องสามารถควบคุมยอดขาย และรักษาอัตรากำไรโดยมีความเป็นไปได้ที่สูง"

ควรเข้าลงทุนตลาดหุ้น จังหวะไหนดี ดร.นิเวศน์ บอกว่า การลงทุนของผมจะไม่อิงกับตลาด หรือว่าดัชนีเลยนะ คือ จะเข้าไปลงทุนก็ต่อเมื่อเจอบริษัทที่เข้าข่าย คือ เป็น Defensive Stock และปลอดภัย

"คือ ถ้าเราเลือกหุ้นถูกแล้ว โอกาสที่จะขาดทุนมันจะน้อยลงไปมาก ไม่ควรเกิน 20%"

หุ้น กลุ่มพลังงานในปีหน้า จะยังครองบท "พระเอก" หุ้นค้ำตลาดอยู่หรือไม่ ดร.นิเวศน์ บอกว่า เป็นสิ่งที่ไม่มีใครตอบได้ มันอาจจะขึ้นหรืออาจจะลงก็ได้ เพราะอิงกับตลาดโลก และปัจจัยภายนอกเยอะมาก ยกตัวอย่าง ใครจะคาดคิดว่าน้ำมันจะขึ้นไปถึง 100 ดอลลาร์ ดังนั้น พวกนี้มันก็คือการเก็งกำไร โอกาสขึ้นหรือลง มัน 50:50 ธรรมชาติของหุ้นแบบนี้ คนที่จะลงทุนก็ต้องมีหัวใจที่แข็งแรง

"แต่สำหรับเรา เราก็ไม่อยากไปเล่นกับอะไรที่โอกาสขึ้นลงมัน 50: 50 เพราะผมอยากให้โอกาสของผมมัน 70-80% มากกว่า"

นั่น จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ ดร.นิเวศน์ รักปักใจกับหุ้นกลุ่มโมเดิร์นเทรดเป็นพิเศษ โดยยอมรับว่า เลือกที่จะทุ่มน้ำหนักลงทุน "เกินครึ่ง" ของพอร์ตในหุ้นกลุ่มนี้

ถาม ว่า เทน้ำหนักมากๆ ไว้ในหุ้นกลุ่มเดียวขนาดนี้ ไม่เสี่ยงไปหรือ ดร.นิเวศน์ อธิบายว่า การลงทุนเราต้องเข้าใจตัวธุรกิจ ลักษณะหุ้นที่ผมถือ ผลกระทบที่แรงก็คือภาวะเศรษฐกิจ ที่อาจทำให้ธุรกิจมันชะลอ หรือกำไรโตน้อยลง หรือไม่โต แต่โอกาสมันไม่ได้อยู่ระหว่างกำไรร้อยเปอร์เซ็นต์ กับขาดทุนร้อยเปอร์เซ็นต์

นั่นคือดูแล้วว่าปัจจัยที่จะมีผลกระทบต่อ กำไรและยอดขายของบริษัท มันมี Range หรือตัวแปรที่แคบ ดังนั้น เราถึงไม่กลัวไง ยกตัวอย่าง โอกาสดีกับไม่ดี มันจะระหว่างโตบวก 5% กับบวก 15% อย่างนี้คุณจะไปกลัวอะไร มันไม่ใช่ธุรกิจที่ถ้าดี คือ โตบวก 20% แต่ถ้าแย่ คือ ติดลบ 20%

นอกจากนี้ ดร.นิเวศน์ ยังมองว่า หุ้นกลุ่มโมเดิร์นเทรด น่าจะถือว่าเป็น "เวฟ" หรือคลื่น ที่กำลังเกิดขึ้นในเมืองไทย ซึ่งผู้คนเปลี่ยนพฤติกรรมมาใช้บริการของโมเดิร์นเทรด ซึ่งจะเห็นเส้นทางชัดเจนว่า การเติบโตของธุรกิจกลุ่มนี้ค่อนข้างสม่ำเสมอ และมั่นคงมาก

"ภายใน 5 ปีจากนี้ หรือถึงปี 2555 โอกาสที่ธุรกิจนี้จะเติบโตปีละ 10% มันชัดเจน ไม่มีอะไรมาขวางได้ ยกเว้นกฎหมายพ.ร.บ.ค้าปลีก แต่ถึงแม้จะมีกฎหมายออกมา ก็ไม่ได้หมายความว่าธุรกิจจะขยายไม่ได้ ขณะที่อีกด้านหนึ่งธุรกิจส่วนใหญ่ที่อยู่ได้ มันเลยจุดที่จะมีคู่แข่งใหม่เข้ามาแข่งขันแล้ว การเติบโตอาจไม่ถึงขั้นเร็วมาก แต่ก็เร็วพอประมาณ พอใช้ได้ แต่ความมั่นคงมันสูงมาก ซึ่งมันตรงกับพฤติกรรมหรือสไตล์การลงทุนของผม" ดร.นิเวศน์กล่าวทิ้งท้าย


http://www.bloggang.com/viewdiary.php?i ... 4&gblog=11

โดย: ต่างมุมมอง วันที่: 6 มกราคม 2551 เวลา:11:19:48 น.
J.Livermore
Verified User
โพสต์: 144
ผู้ติดตาม: 0

ชายคนนี้เคยฝันว่าในวัย 70 ปี จะมีเงิน 1,000 ล้านบาท

โพสต์ที่ 15

โพสต์

ดร. สุดยอดครับ ไม่ใช่แค่ในด้านของผลตอบแทนนะ แต่วิธีการคิด การดำเนินชีวิตก็สุดยอดเช่นกัน  :D
Undertaker
Verified User
โพสต์: 942
ผู้ติดตาม: 0

ชายคนนี้เคยฝันว่าในวัย 70 ปี จะมีเงิน 1,000 ล้านบาท

โพสต์ที่ 16

โพสต์

นอกจากนี้ ดร.นิเวศน์ ยังมองว่า หุ้นกลุ่มโมเดิร์นเทรด น่าจะถือว่าเป็น "เวฟ" หรือคลื่น ที่กำลังเกิดขึ้นในเมืองไทย ซึ่งผู้คนเปลี่ยนพฤติกรรมมาใช้บริการของโมเดิร์นเทรด ซึ่งจะเห็นเส้นทางชัดเจนว่า การเติบโตของธุรกิจกลุ่มนี้ค่อนข้างสม่ำเสมอ และมั่นคงมาก

MEGA TREND   :bow:
mildpink
Verified User
โพสต์: 28
ผู้ติดตาม: 0

ชายคนนี้เคยฝันว่าในวัย 70 ปี จะมีเงิน 1,000 ล้านบาท

โพสต์ที่ 17

โพสต์

ชื่นชมความสามารถของ ดร.มากๆค่ะ และขอบคุณสำหรับข้อมูลที่นำมาฝากค่ะ
ภาพประจำตัวสมาชิก
j21
Verified User
โพสต์: 690
ผู้ติดตาม: 0

ชายคนนี้เคยฝันว่าในวัย 70 ปี จะมีเงิน 1,000 ล้านบาท

โพสต์ที่ 18

โพสต์

ขอบคุณสำหรับบทความครับ     :D
ภาพประจำตัวสมาชิก
naris
Verified User
โพสต์: 6726
ผู้ติดตาม: 0

ชายคนนี้เคยฝันว่าในวัย 70 ปี จะมีเงิน 1,000 ล้านบาท

โพสต์ที่ 19

โพสต์

ระดับ ดร.นี้ต้องไม่เรียกอาจารย์ แต่ต้องเรียก กูรู สำรับการลงทุนเลยนะครับ
ขอบคุณสำหรับสิ่งดีๆที่ท่านสั่งสอนครับ
:bow:  :cool:
ราคาระยะสั้นตามข่าว--ราคาระยะยาวตามผลกำไร
Dekfaifah
Verified User
โพสต์: 1220
ผู้ติดตาม: 0

ชายคนนี้เคยฝันว่าในวัย 70 ปี จะมีเงิน 1,000 ล้านบาท

โพสต์ที่ 20

โพสต์

ขอบคุณมากครับที่นำสิ่งๆดีๆ มาให้อ่านกัน  เมื่อวานผมได้อ่านบทความที่ ดร. นิเวศน์ เคยเขียน ชื่อ  ชมรมคนพันล้าน และ ดร. ก็สามารถพิสูจน์ให้เราเห็นได้ว่า สามารถทำได้จริงด้วยหลักการดอกเบี้ยทบต้น
nut776
Verified User
โพสต์: 3350
ผู้ติดตาม: 0

ชายคนนี้เคยฝันว่าในวัย 70 ปี จะมีเงิน 1,000 ล้านบาท

โพสต์ที่ 21

โพสต์

[quote="naris"]ระดับ ดร.นี้ต้องไม่เรียกอาจารย์ แต่ต้องเรียก กูรู สำรับการลงทุนเลยนะครับ
ขอบคุณสำหรับสิ่งดีๆที่ท่านสั่งสอนครับ
:bow:
show me money.
ภาพประจำตัวสมาชิก
SIVA
Verified User
โพสต์: 22
ผู้ติดตาม: 0

ชายคนนี้เคยฝันว่าในวัย 70 ปี จะมีเงิน 1,000 ล้านบาท

โพสต์ที่ 22

โพสต์

ผมว่า สิ่งที่ผมอยากได้ สักครึ่ง ของอาจารย์นิเวศน์ นั้น

ไม่ใช่ ความเก่ง

แต่เป็น มุมมองของท่าน

ยากจะหาคนมองได้แบบท่านจริงๆ
คิดหลายด้าน มองหลายมุม
ภาพประจำตัวสมาชิก
SEHJU
Verified User
โพสต์: 1238
ผู้ติดตาม: 0

ชายคนนี้เคยฝันว่าในวัย 70 ปี จะมีเงิน 1,000 ล้านบาท

โพสต์ที่ 23

โพสต์

[quote="nut776"][quote="naris"]ระดับ ดร.นี้ต้องไม่เรียกอาจารย์ แต่ต้องเรียก กูรู สำรับการลงทุนเลยนะครับ
ขอบคุณสำหรับสิ่งดีๆที่ท่านสั่งสอนครับ
:bow:
phar314
Verified User
โพสต์: 100
ผู้ติดตาม: 0

ชายคนนี้เคยฝันว่าในวัย 70 ปี จะมีเงิน 1,000 ล้านบาท

โพสต์ที่ 24

โพสต์

มี ดร.เป็นโรลโมเดลเหมือนกันครับ
โพสต์โพสต์