ซิกซ์ ซิกม่า ได้มาจริงๆหรือว่า ..
-
- Verified User
- โพสต์: 43
- ผู้ติดตาม: 0
ซิกซ์ ซิกม่า ได้มาจริงๆหรือว่า ..
โพสต์ที่ 1
ฮอนด้าเป็นบริษัทผู้ผลิตยักษ์ใหญ่ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานสินค้า การผลิตและบริการจากซิกซ์ ซิกม่าซึ่งเป็นคณะกรรมการควบคุมคุณภาพ โดยบริษัทที่ได้ซิกซ์ ซิกม่า นั้นจะต้องมีสินค้าหรือบริการที่บกพร่องน้อยกว่า 3.4 สินค้า/บริการต่อ 1 ล้านสินค้า/บริการ
-
- Verified User
- โพสต์: 43
- ผู้ติดตาม: 0
ซิกซ์ ซิกม่า ได้มาจริงๆหรือว่า ..
โพสต์ที่ 2
เผยตัวเลขปัญหาฮอนด้าทั่วโลก
ผู้สื่อข่าวรายงานถึงการแก้ปัญหาเรื่องรถยนต์ใหม่มีปัญหาของบริษัท ฮอนด้าฯ โดย หนังสือพิมพ์เฮรัลด์ทรีบูนของสหรัฐ รายงานว่า เมื่อวันที่ 30 เม.ย.ปีที่แล้ว บริษัท ฮอนด้าฯ เรียกให้เจ้าของรถฮอนด้ารวม 1.1 ล้านคัน นำรถยนต์ไปตรวจเพราะอาจมีส่วนบกพร่องของทรานสมิชชั่น หรือสายพาน ซึ่งรถยนต์ที่ต้องนำมาตรวจเป็นรุ่นแอคคอร์ดปี 2003 และ 2004 และยังมีรุ่นอะคูร่าปี 2000 ถึง 2004
ผู้สื่อข่าวรายงานถึงการแก้ปัญหาเรื่องรถยนต์ใหม่มีปัญหาของบริษัท ฮอนด้าฯ โดย หนังสือพิมพ์เฮรัลด์ทรีบูนของสหรัฐ รายงานว่า เมื่อวันที่ 30 เม.ย.ปีที่แล้ว บริษัท ฮอนด้าฯ เรียกให้เจ้าของรถฮอนด้ารวม 1.1 ล้านคัน นำรถยนต์ไปตรวจเพราะอาจมีส่วนบกพร่องของทรานสมิชชั่น หรือสายพาน ซึ่งรถยนต์ที่ต้องนำมาตรวจเป็นรุ่นแอคคอร์ดปี 2003 และ 2004 และยังมีรุ่นอะคูร่าปี 2000 ถึง 2004
-
- Verified User
- โพสต์: 43
- ผู้ติดตาม: 0
ซิกซ์ ซิกม่า ได้มาจริงๆหรือว่า ..
โพสต์ที่ 3
ด้านรอยเตอร์รายงานเมื่อวันที่ 30 พ.ย.46 ว่า ฮอนด้าเรียกเจ้าของรถยนต์รุ่นสตรีม ซีอาร์วี และซีวิค ในญี่ปุ่น ซึ่งผลิตระหว่างเดือนตุลาคม 2543-เดือนมิถุนายน 2545 จำนวน 213,209 คัน มาตรวจสอบเนื่องจากพบข้อบกพร่องที่เพาเวอร์สเตียริ่งบ็อกซ์ ทำให้บังคับพวงมาลัยไม่ได้ หลังจากมีผู้ใช้ร้องเรียนเข้ามา 6 ราย
-ทั้งซีอาร์วีปี02-แอคคอร์ดปี99
ที่สหรัฐ ฮอนด้าเรียกรถยนต์ 652,000 คัน คือรุ่นอะคูร่าปี 97-99
แอคคอร์ดปี 99 โอเดสซี ปี 99 และซีอาร์วีปี 02 มาตรวจสอบ ระบบการจุดติดเครื่องยนต์ หลังจากมีผู้ร้องเรียนเข้ามา 169 ราย รถยนต์เกิดอุบัติเหตุจากปัญหาดังกล่าว 28 ราย และมีผู้ได้รับบาดเจ็บจากปัญหาของรถยนต์ 3 ราย ซึ่งอาการของรถยนต์นั้นคือจะไม่หยุดหลังจากผู้ขับจอดรถและดึงกุญแจรถออกแล้ว
-ทั้งซีอาร์วีปี02-แอคคอร์ดปี99
ที่สหรัฐ ฮอนด้าเรียกรถยนต์ 652,000 คัน คือรุ่นอะคูร่าปี 97-99
แอคคอร์ดปี 99 โอเดสซี ปี 99 และซีอาร์วีปี 02 มาตรวจสอบ ระบบการจุดติดเครื่องยนต์ หลังจากมีผู้ร้องเรียนเข้ามา 169 ราย รถยนต์เกิดอุบัติเหตุจากปัญหาดังกล่าว 28 ราย และมีผู้ได้รับบาดเจ็บจากปัญหาของรถยนต์ 3 ราย ซึ่งอาการของรถยนต์นั้นคือจะไม่หยุดหลังจากผู้ขับจอดรถและดึงกุญแจรถออกแล้ว
- ch_army
- Verified User
- โพสต์: 1352
- ผู้ติดตาม: 0
ซิกซ์ ซิกม่า ได้มาจริงๆหรือว่า ..
โพสต์ที่ 4
ผมว่าเป็นปัญหาการออกแบบ หรือเปล่าครับ คือผลิตได้ตามที่ออกแบบไว้ ได้มาตรฐานตามที่ คนออกแบบคิดไว้ ไม่เสียหายเกิน 3.4 ppm แต่ออกแบบไม่ดี สมรรถนะ การทำงานเลยไม่ดี
คงไม่ใช่ปัญหาคุณภาพในแง่มีของเสียหรอกมั้งครับ เป็นปัญหาเกี่ยวกับการทำงานของชิ้นสวนทีมาจากการออกแบบมากกว่า (ซึ่งแย่กว่าอีก)
คงไม่ใช่ปัญหาคุณภาพในแง่มีของเสียหรอกมั้งครับ เป็นปัญหาเกี่ยวกับการทำงานของชิ้นสวนทีมาจากการออกแบบมากกว่า (ซึ่งแย่กว่าอีก)
-
- ผู้ติดตาม: 0
ซิกซ์ ซิกม่า ได้มาจริงๆหรือว่า ..
โพสต์ที่ 6
ผมเคยได้ยินเรื่องมือถือของโมโตโรล่าอันเป็นต้นตำรับซิกซ์ ซิกม่า
เรื่องมีอยู่ว่า แฟนพันธุ์แท้โมโต 2 คนมาบ่นปรับทุกข์กัน
แฟนคนที่ 1: มือถือโมโตรุ่นนี้ ซื้อมาไม่ทันไรก็เสียแล้ว
แฟนคนที่ 2: เป็นไปได้ไง ของชั้นก็เสีย ไหนว่าได้ซิกซ์ ซิกม่าไง
แฟนคนที่ 1: เค้าได้ซิกซ์ ซิกม่าจริงๆนะ ... สงสัยเราสองคนจะโชคดีอะ ได้เครื่อง 2 ใน 3.4 เครื่องที่เสียมาน่ะ
เรื่องมีอยู่ว่า แฟนพันธุ์แท้โมโต 2 คนมาบ่นปรับทุกข์กัน
แฟนคนที่ 1: มือถือโมโตรุ่นนี้ ซื้อมาไม่ทันไรก็เสียแล้ว
แฟนคนที่ 2: เป็นไปได้ไง ของชั้นก็เสีย ไหนว่าได้ซิกซ์ ซิกม่าไง
แฟนคนที่ 1: เค้าได้ซิกซ์ ซิกม่าจริงๆนะ ... สงสัยเราสองคนจะโชคดีอะ ได้เครื่อง 2 ใน 3.4 เครื่องที่เสียมาน่ะ
- ch_army
- Verified User
- โพสต์: 1352
- ผู้ติดตาม: 0
ซิกซ์ ซิกม่า ได้มาจริงๆหรือว่า ..
โพสต์ที่ 7
ผมว่าไอ้ 3.4 ppm ที่ว่าเนี่ยเค้าวัดด้วยวิธีทางสถิตินะครับ
เรื่องรถยนต์ผมไม่รู้ว่่าทดสอบอะไรบ้าง
แต่สมมุติไม้บรรทัดละกันครับ ว่าต้องยาว 30.5 เซ็นต์ บวกลบ 0.2 เซ็นต์ และกว้าง 3 เซ็นต์ บวกลบ 0.1เซ็นต์
การที่จะได้ 3.4 ppm คือดูจากข้อมูลทางสถิติว่าผลิตออกมาได้ ยาว กว้างเท่าไรเอามา พล็อตกราฟ ได้การกระจายสมมุติเป็นแบบปกติ(นอร์มอล) ก็คำนวนหา ความแปรปรวน เพื่อทดสอบว่า ส่วนที่เกิน ค่ากำหนดไว้เป็นกี่ % ของทั้งหมดที่ผลิตอย่างนั้นมากกว่ามั้งครับ 3.4 ppm ก็คือ0.000034 % ครับ(ไม่รู้ว่าใส่ 0 ถูกไหมนะครับ)
แต่ในความเป็นจริงผมว่าเค้าคงเอาค่าสถิติจากสินค้าที่ส่งมอบให้ลูกค้ามากกว่าที่ผลิตได้จากสายงานผลิตจริงๆ(คือคัดของเสียที่เจอออกแล้ว) จำนวนของเสียที่ส่งถึงลูกค้าจึงน้อย แต่จริงๆแล้วผลิตของ ออกมาแล้วเสีย ครึ่งนึง เลยหรือเปล่าก็ไม่รู้ครับ ต้องไปดูที่โรงงานเอง
อย่างโรงงานที่เรา เคยไปดูกันมาก็มีลักษณะแบบเดียวกันครับ ผลิตของออกมาเสียมากพอสมควรแต่ คัดออกก่อน ส่งแต่ของดี เลยทำให้ของเสียที่ส่งไปให้ลูกค้าน้อยครับ( ต้องให้ความดีความชอบแผนก QC ครับงานนี้)
เรื่องรถยนต์ผมไม่รู้ว่่าทดสอบอะไรบ้าง
แต่สมมุติไม้บรรทัดละกันครับ ว่าต้องยาว 30.5 เซ็นต์ บวกลบ 0.2 เซ็นต์ และกว้าง 3 เซ็นต์ บวกลบ 0.1เซ็นต์
การที่จะได้ 3.4 ppm คือดูจากข้อมูลทางสถิติว่าผลิตออกมาได้ ยาว กว้างเท่าไรเอามา พล็อตกราฟ ได้การกระจายสมมุติเป็นแบบปกติ(นอร์มอล) ก็คำนวนหา ความแปรปรวน เพื่อทดสอบว่า ส่วนที่เกิน ค่ากำหนดไว้เป็นกี่ % ของทั้งหมดที่ผลิตอย่างนั้นมากกว่ามั้งครับ 3.4 ppm ก็คือ0.000034 % ครับ(ไม่รู้ว่าใส่ 0 ถูกไหมนะครับ)
แต่ในความเป็นจริงผมว่าเค้าคงเอาค่าสถิติจากสินค้าที่ส่งมอบให้ลูกค้ามากกว่าที่ผลิตได้จากสายงานผลิตจริงๆ(คือคัดของเสียที่เจอออกแล้ว) จำนวนของเสียที่ส่งถึงลูกค้าจึงน้อย แต่จริงๆแล้วผลิตของ ออกมาแล้วเสีย ครึ่งนึง เลยหรือเปล่าก็ไม่รู้ครับ ต้องไปดูที่โรงงานเอง
อย่างโรงงานที่เรา เคยไปดูกันมาก็มีลักษณะแบบเดียวกันครับ ผลิตของออกมาเสียมากพอสมควรแต่ คัดออกก่อน ส่งแต่ของดี เลยทำให้ของเสียที่ส่งไปให้ลูกค้าน้อยครับ( ต้องให้ความดีความชอบแผนก QC ครับงานนี้)
-
- ผู้ติดตาม: 0
ซิกซ์ ซิกม่า ได้มาจริงๆหรือว่า ..
โพสต์ที่ 8
ไม่ใช่ครับ คุณอาร์ม
3.4 DPPM ของ Six Sigma หมายถึงของเสียที่เกิดในกระบวนการผลิต/บริการครับ
3.4 DPPM ของ Six Sigma หมายถึงของเสียที่เกิดในกระบวนการผลิต/บริการครับ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 9795
- ผู้ติดตาม: 0
ซิกซ์ ซิกม่า ได้มาจริงๆหรือว่า ..
โพสต์ที่ 9
หมายถึง defective PARTS per million หรือเปล่าครับ
ในรถยนต์หนึ่งคัน มี PARTS ประมาณ 3,000 PARTS
(เช่นท่อไอเสีย เกียร์ ฯลฯ
โอกาสไม่เสียทางสถิติของรถหนึ่งคัน (ที่ต้องเข้าศูนย์)
คือ (1 - 3.4/1000000) ^ 3000 = 98.99%
โปรดสังเกตว่า DPPM ไม่ใช่ Defective Product per million นะครับ
แสดงว่า Honda ได้ Six Sigma ก็โอเคครับ
ในรถยนต์หนึ่งคัน มี PARTS ประมาณ 3,000 PARTS
(เช่นท่อไอเสีย เกียร์ ฯลฯ
โอกาสไม่เสียทางสถิติของรถหนึ่งคัน (ที่ต้องเข้าศูนย์)
คือ (1 - 3.4/1000000) ^ 3000 = 98.99%
โปรดสังเกตว่า DPPM ไม่ใช่ Defective Product per million นะครับ
แสดงว่า Honda ได้ Six Sigma ก็โอเคครับ
-
- ผู้ติดตาม: 0
ซิกซ์ ซิกม่า ได้มาจริงๆหรือว่า ..
โพสต์ที่ 10
ใช่ครับท่านประธาน defective parts per million แต่จริงๆ เค้าไม่ได้เอาจำนวนชิ้นส่วนมาคำนวณนะครับ เค้าใช้ part เป็น product เลยครับ .. มิฉะนั้นแล้ว ผมไม่กล้านั่งเครื่องบิน เพราะ part เยอะมาก
เรื่องการบินเป็นตัวอย่างที่ดีครับ defective "service" ในสายการบิน ท่านประธานน่าจะทราบละเอียดกว่าผม ว่าตอนนี้ อัตราตกต่อเที่ยวบินเป็นเท่าไหร่ ผมเดาว่าประมาณ 1 ในล้านแล้วมั้งครับ
เรื่องการบินเป็นตัวอย่างที่ดีครับ defective "service" ในสายการบิน ท่านประธานน่าจะทราบละเอียดกว่าผม ว่าตอนนี้ อัตราตกต่อเที่ยวบินเป็นเท่าไหร่ ผมเดาว่าประมาณ 1 ในล้านแล้วมั้งครับ
-
- ผู้ติดตาม: 0
ซิกซ์ ซิกม่า ได้มาจริงๆหรือว่า ..
โพสต์ที่ 12
ถ้าในระดับ product เป็น defect ครับ แต่ถ้าในระดับ service ไม่เป็นครับ
6 Sigma จริงๆ เป้าหมายสุดท้ายคือ ลด Cost นะครับ แต่แนวทางจะไปด้วยการลด Cost of Poor Quality ... พวกการคืนสินค้า การขอคืนเงิน การยกเลิกการใช้บริการ การเสียชื่อเสียง(ทำให้คนมาใช้บริการน้อยลง) ดังนั้น วิธีแยกง่ายๆ ให้ดูว่าลูกค้าของ product / service นั้นๆยอมรับหรือเปล่า
ถ้ายังจำได้ Intel เคยมีปัญหาเรื่อง floating point แม้ลูกค้าจะมีโอกาสใช้ตรงนั้นน้อยมาก แต่ก็ถือว่าเป็น defect เพราะเค้าไม่ยอมรับสินค้า
6 Sigma จริงๆ เป้าหมายสุดท้ายคือ ลด Cost นะครับ แต่แนวทางจะไปด้วยการลด Cost of Poor Quality ... พวกการคืนสินค้า การขอคืนเงิน การยกเลิกการใช้บริการ การเสียชื่อเสียง(ทำให้คนมาใช้บริการน้อยลง) ดังนั้น วิธีแยกง่ายๆ ให้ดูว่าลูกค้าของ product / service นั้นๆยอมรับหรือเปล่า
ถ้ายังจำได้ Intel เคยมีปัญหาเรื่อง floating point แม้ลูกค้าจะมีโอกาสใช้ตรงนั้นน้อยมาก แต่ก็ถือว่าเป็น defect เพราะเค้าไม่ยอมรับสินค้า
- ch_army
- Verified User
- โพสต์: 1352
- ผู้ติดตาม: 0
ซิกซ์ ซิกม่า ได้มาจริงๆหรือว่า ..
โพสต์ที่ 13
พี่ เจย์โชว์
งั้น six sigma ที่ใช้กันก็เป็นการนับของเสีย ซึ่งตัวสถิติที่ใช้ คนละตัวกันกับ ข้อมูลการวัดแบบที่ผมว่าไว้ ซึ่งคงต้องไปดูว่ามีโอกาสเกิด 3.4 ppm เนี่ยเป็นเท่าไรด้วยนะครับเพราะ กราฟนอร์มอลน่าจะไว้ดูความแน่นอน แต่ ปัวซองหรือเรขาคณิตที่ใช้ดูอัตราส่วนของเสียนั้น คงดูได้แต่ว่าของที่ผลิตมา ดี/เสียเท่าไร ไม่บอกสมรรถนะของการผลิตเท่าไร ซึ่ง ผมเองก็ยอมรับว่าไม่ได้ศึกษา six sigma เท่าไร แต่ถอดความจากชื่อของมันทางสถิติมากกว่าครับ
งั้น six sigma ที่ใช้กันก็เป็นการนับของเสีย ซึ่งตัวสถิติที่ใช้ คนละตัวกันกับ ข้อมูลการวัดแบบที่ผมว่าไว้ ซึ่งคงต้องไปดูว่ามีโอกาสเกิด 3.4 ppm เนี่ยเป็นเท่าไรด้วยนะครับเพราะ กราฟนอร์มอลน่าจะไว้ดูความแน่นอน แต่ ปัวซองหรือเรขาคณิตที่ใช้ดูอัตราส่วนของเสียนั้น คงดูได้แต่ว่าของที่ผลิตมา ดี/เสียเท่าไร ไม่บอกสมรรถนะของการผลิตเท่าไร ซึ่ง ผมเองก็ยอมรับว่าไม่ได้ศึกษา six sigma เท่าไร แต่ถอดความจากชื่อของมันทางสถิติมากกว่าครับ
-
- ผู้ติดตาม: 0
ซิกซ์ ซิกม่า ได้มาจริงๆหรือว่า ..
โพสต์ที่ 14
อธิบายคงจะยาว เอาเป็นว่าน้องอาร์มเข้าใจผิดครับ
อยากเข้าใจลองอ่านหนังสือที่เป็น six sigma ดีกว่า
อยากเข้าใจลองอ่านหนังสือที่เป็น six sigma ดีกว่า
- ch_army
- Verified User
- โพสต์: 1352
- ผู้ติดตาม: 0
ซิกซ์ ซิกม่า ได้มาจริงๆหรือว่า ..
โพสต์ที่ 16
http://industrial.se-ed.com/itr104/itr104_128.asp
ลองตามไปดูครับ มีสาระย่อๆของ ซิก ซิกม่าไว้ ผมอ่านเพื่อให้หายข้องใจครับ
ลองตามไปดูครับ มีสาระย่อๆของ ซิก ซิกม่าไว้ ผมอ่านเพื่อให้หายข้องใจครับ