ถามเคล็ดลับตรวจคำตอบการประเมินมูลค่าหุ้น
-
- Verified User
- โพสต์: 57
- ผู้ติดตาม: 0
ถามเคล็ดลับตรวจคำตอบการประเมินมูลค่าหุ้น
โพสต์ที่ 1
จริงๆ ผมเข้ามาเป็นสมาชิกไทยวีไอก็ซักพักแล้วครับ
พยายามอ่าน พยายามศึกษาผ่านเว็บนี บางทีก็เหนื่อย แอบหนีไปเป็นแมงเม่าก็หลายรอบ จนเริ่มทนไม่ไหว ขอกลับมาศึกษาจริงๆจังๆอีกครั้ง
อยากจะถามพี่ๆครับ ว่า ครั้งแรกที่พี่ๆฝึกประเมินมูลค่าหุ้น พี่รู้ได้ไงครับ ว่าตัวเลขที่พี่ประเมินมา มันถูก หรือใกล้เคียงแล้ว ในเมื่อร้อยคน ก็อาจจะประเมินมูลค่าได้ร้อยมูลค่า ทั้งๆที่ใช้สูตรเดียว
พี่ๆใช้อะไรเป็นตัววัดครับ ว่าประเมินได้ถูกต้องแล้ว จนทำให้พี่มั่นใจมากๆ ว่ามูลค่าที่แท้จริงมันต้องเป็นเท่านั้น เป็นเท่านี้ จนกล้าเอาเงินก้อนใหญ่ไปทุ่มขนาดนั้น
เพราะหลายครั้งที่ผมประเมินมาแล้ว เห็นมันถูกกว่ามูลค่าที่ประเมินได้ ก็ซื้อเลย แถมมีmos อีกตังหาก แต่พอเจอมันไหลลงทีไร ในใจก็สั่นๆ กลัวว่าที่ตัวเองประเมินมามันจะผิด เลยอยากหาความมั่นใจมาปะรูในใจซักหน่อย
ขอบคุณครับ
พยายามอ่าน พยายามศึกษาผ่านเว็บนี บางทีก็เหนื่อย แอบหนีไปเป็นแมงเม่าก็หลายรอบ จนเริ่มทนไม่ไหว ขอกลับมาศึกษาจริงๆจังๆอีกครั้ง
อยากจะถามพี่ๆครับ ว่า ครั้งแรกที่พี่ๆฝึกประเมินมูลค่าหุ้น พี่รู้ได้ไงครับ ว่าตัวเลขที่พี่ประเมินมา มันถูก หรือใกล้เคียงแล้ว ในเมื่อร้อยคน ก็อาจจะประเมินมูลค่าได้ร้อยมูลค่า ทั้งๆที่ใช้สูตรเดียว
พี่ๆใช้อะไรเป็นตัววัดครับ ว่าประเมินได้ถูกต้องแล้ว จนทำให้พี่มั่นใจมากๆ ว่ามูลค่าที่แท้จริงมันต้องเป็นเท่านั้น เป็นเท่านี้ จนกล้าเอาเงินก้อนใหญ่ไปทุ่มขนาดนั้น
เพราะหลายครั้งที่ผมประเมินมาแล้ว เห็นมันถูกกว่ามูลค่าที่ประเมินได้ ก็ซื้อเลย แถมมีmos อีกตังหาก แต่พอเจอมันไหลลงทีไร ในใจก็สั่นๆ กลัวว่าที่ตัวเองประเมินมามันจะผิด เลยอยากหาความมั่นใจมาปะรูในใจซักหน่อย
ขอบคุณครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 1601
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ถามเคล็ดลับตรวจคำตอบการประเมินมูลค่าหุ้น
โพสต์ที่ 2
mik0o เขียน:จริงๆ ผมเข้ามาเป็นสมาชิกไทยวีไอก็ซักพักแล้วครับ
พยายามอ่าน พยายามศึกษาผ่านเว็บนี บางทีก็เหนื่อย แอบหนีไปเป็นแมงเม่าก็หลายรอบ จนเริ่มทนไม่ไหว ขอกลับมาศึกษาจริงๆจังๆอีกครั้ง
อยากจะถามพี่ๆครับ ว่า ครั้งแรกที่พี่ๆฝึกประเมินมูลค่าหุ้น พี่รู้ได้ไงครับ ว่าตัวเลขที่พี่ประเมินมา มันถูก หรือใกล้เคียงแล้ว ในเมื่อร้อยคน ก็อาจจะประเมินมูลค่าได้ร้อยมูลค่า ทั้งๆที่ใช้สูตรเดียว
ไม่มีใครรู้ว่าประเมินถูกหรือผิดครับ ผมว่าส่วนใหญ่ดูที่ model ธุรกิจประกอบกับงบการเงินของกิจการ จากนั้นก็มาดูว่ายังมีส่วนเผื่อความพอใจ พอไหม ถ้าพอก็ซื้อครับ หุ้นขึ้นคิดถูก หุ้นลงคิดผิด แล้วก็หาคำตอบว่าทำไมเราคิดผิดแล้วปรับเข้ากับตัวเราครับ
พี่ๆใช้อะไรเป็นตัววัดครับ ว่าประเมินได้ถูกต้องแล้ว จนทำให้พี่มั่นใจมากๆ ว่ามูลค่าที่แท้จริงมันต้องเป็นเท่านั้น เป็นเท่านี้ จนกล้าเอาเงินก้อนใหญ่ไปทุ่มขนาดนั้น
ก็ใช้ผลตอบแทนเทียบกับตลาดครับ ซึ่งบางครั้งมูลค่าที่แท้จริงเป็นเรื่องสมมติขึ้นครับ ไม่ร้อยเปอร์เซนต์ แต่ส่วนใหญ่ผมว่าหลักคือถ้าบริษัทมีกำไร เดี๋ยวราคามันก็ตามมาเองครับ
เพราะหลายครั้งที่ผมประเมินมาแล้ว เห็นมันถูกกว่ามูลค่าที่ประเมินได้ ก็ซื้อเลย แถมมีmos อีกตังหาก แต่พอเจอมันไหลลงทีไร ในใจก็สั่นๆ กลัวว่าที่ตัวเองประเมินมามันจะผิด เลยอยากหาความมั่นใจมาปะรูในใจซักหน่อย
คิดอย่างที่พี่หลายคนในนี้บอกครับยิ่งลงยิ่งซื้อเพราะส่วนเผื่อความพอใจเราเพิ่มขึ้นครับ
ขอบคุณครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 2686
- ผู้ติดตาม: 0
ถามเคล็ดลับตรวจคำตอบการประเมินมูลค่าหุ้น
โพสต์ที่ 6
.เก็บตก กูรู.. ดร. นิเวศน์ วิเคราะห์หุ้นแบบ VI
ที่มา source (บทความมี copyright ตามแหล่งที่มา หรือ ของผู้สร้างผลงานต้นฉบับ) :
linkต้นฉบับ:http://portal.settrade.com/blog/nivate/2009/03/09/502
วิเคราะห์หุ้นแบบ VI
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โลกในมุมมองของ value investor 8 มีนาคม 2552
นักลงทุนส่วนใหญ่โดยเฉพาะคนที่บริหารกองทุนรวมที่ต้องลงทุนซื้อหุ้นจำนวน มากต่างก็อาศัยบทวิเคราะห์หุ้นของ นักวิเคราะห์หุ้นมือ อาชีพ แต่ผมเองแทบไม่ดูบทวิเคราะห์เหล่านั้นเลย เหตุผลก็เพราะวิธีการลงทุนของผมนั้น เป็นการลงทุน “ซื้อธุรกิจ” ซึ่งเป็นการลงทุนระยะยาว อย่างน้อยก็ 3- 5 ปี ขึ้นไป ซึ่งไม่มีบทวิเคราะห์ไหนทำ บทวิเคราะห์ของนักวิเคราะห์นั้นส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมด มองไปที่ผลประกอบการอย่างมากก็ 1-2 ปีข้างหน้า ดังนั้น พวกเขาก็มักจะดูว่าบริษัทจะมีกำไรเท่าไรอิงจากผลประกอบการในปีปัจจุบัน โดยนำเอาภาวะของเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมมาเป็นตัวประกอบ ส่วนผมเองนั้น ผมจะสนใจในด้านของ “โครงสร้าง” ซึ่งเป็นเรื่องที่ถาวรกว่าและไม่ค่อยจะขึ้นกับภาวะแวดล้อมที่จะปรับเปลี่ยน ไปเรื่อย ๆ ซึ่งโดยนัยนี้ ผมจึงไม่ค่อยสนใจภาวะเศรษฐกิจที่มีขึ้นมีลง แต่ผมจะสนใจโครงสร้างของอุตสาหกรรมว่า ในธุรกิจนั้นมีการแข่งขันกันอย่างไร สนใจว่าบริษัทมีจุดเด่นหรือจุดอ่อนอย่างไร ใครคือ “ผู้ชนะ” หรือจะเป็นผู้ชนะในการแข่งขัน
การวิเคราะห์หุ้นแต่ ละตัวนั้น แน่นอน จะต้องดูรายละเอียดของแต่ละบริษัท อย่างไรก็ตาม มี “โครงสร้าง” และข้อมูลของธุรกิจบางอย่างที่เป็นตัวบอกว่าเรากำลังเจอธุรกิจที่ดีหรือไม่ ดีได้ ข้อมูลเหล่านี้เราสามารถนำมาให้คะแนนเพื่อที่จะสรุปว่าบริษัทที่เราดูอยู่ เป็นอย่างไร ลองมาดูรายการที่สำคัญ ๆ
ข้อมูลตัวแรก ก็คือ กำไรต่อส่วนของผู้ถือหุ้นหรือ roe นี่ คือข้อมูลที่ดูง่ายและมีประสิทธิภาพสูง บริษัทที่มี roe สูงคือบริษัทที่ดี ยิ่งสูงก็ยิ่งดี แต่ต้องดูว่าเป็นการสูงอย่างต่อเนื่องยาวนานเป็นปกติ ไม่ใช่สูงแค่ปีสองปีหรือในยามที่อุตสาหกรรมกำลังเป็นขาขึ้น หลักเกณฑ์ง่าย ๆ ในการให้คะแนนก็คือ ถ้าบริษัทมี roe ตั้งแต่ 15% ขึ้นไป เราก็ให้คะแนน บวกหนึ่ง ถ้า roe ตั้งแต่ 10-15 ให้คะแนนเท่ากับศูนย์ ถ้า roe ต่ำกว่า 10% ลงมาให้คะแนนติดลบหนึ่ง คะแนนที่ได้นี้จะเก็บไว้รวมกับคะแนนของข้อมูลตัวต่อไปเพื่อหาคะแนนรวมของ บริษัท
ข้อมูลตัวที่สอง ก็คือ กระแสเงินสดของกิจการ ถ้ากิจการขายสินค้าแล้วได้เป็นเงินสดในขณะที่เวลาซื้อสินค้าจ่ายเป็นเงิน เชื่อ กระแสเงินสดของกิจการก็จะดี ความจำเป็นต้องระดมเงินมาใช้จากภายนอกเช่นการกู้เงินหรือออกหุ้นก็ จะน้อยและจะเป็นผลดีต่อบริษัท เกณฑ์แบบง่าย ๆ ก็คือ ถ้าบริษัทมีเจ้าหนี้การค้ามากกว่าลูกหนี้การค้ามากเช่นในกรณีของผู้ค้าปลีก หรือบริษัทที่ขายให้กับผู้บริโภคโดยตรงซึ่งทำให้กระแสเงินสดของบริษัทดี ให้คะแนน บวกหนึ่ง ถ้าเจ้าหนี้และลูกหนี้พอ ๆ กันเช่นในกรณีของโรงงานผู้ผลิตจำนวนมาก แบบนี้ให้คะแนนศูนย์ ในกรณีของบริษัทที่มีลูกหนี้การค้ามากแต่มีเจ้าหนี้การค้าน้อย นั่นคือคนที่ขายสินค้าเป็นเงินเชื่อแต่ต้องจ่ายค่าสินค้าหรือวัตถุดิบในการ ผลิตเป็นเงินสด เช่น ผู้ค้าส่งที่นำสินค้ามาจากต่างประเทศ แบบนี้ก็ให้คะแนน ลบหนึ่ง
ข้อมูลตัวที่สาม ซึ่งผมคิดว่าค่อนข้างสำคัญก็คือ ความสามารถในการปรับราคาสินค้าตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ถ้าบริษัทสามารถปรับราคาได้ค่อนข้างจะเร็วหรือทันที ความเสี่ยงที่บริษัทอาจจะขาดทุนจากสต็อกสินค้าก็ไม่มีและจะทำให้สามารถรักษา ระดับของกำไรได้ค่อนข้างแน่นอน บริษัทที่มีลักษณะของธุรกิจแบบนี้มักจะมีอำนาจทางการตลาดสูง เราให้คะแนน บวกหนึ่ง บริษัทที่สามารถปรับราคาได้แต่ต้องใช้เวลาพอสมควรเช่นภายใน 3 เดือน แบบนี้ให้คะแนนศูนย์ นี่คือบริษัททั่ว ๆ ไปที่มักไม่สามารถส่งผ่านต้นทุนที่เพิ่มขึ้นให้แก่ผู้ซื้อได้ทันทีเพราะมี การแข่งขันทางธุรกิจสูง บริษัทที่ไม่มีอำนาจทางการตลาดเลยและเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ที่บริษัทไม่สามารถ กำหนดราคาได้เลย เช่น ราคาน้ำมัน ถ่านหิน เหล็ก และผลิตผลทางการเกษตรต่าง ๆ แบบนี้เราให้คะแนน ติดลบหนึ่ง
[4] บริษัทที่เป็น dominant firm คือมีขนาดใหญ่กว่าอันดับสองมาก มักจะมีความได้เปรียบในหลาย ๆ ด้าน เฉพาะอย่างยิ่งทางด้านของต้นทุน ดังนั้น เราให้คะแนน บวกหนึ่ง บริษัทตั้งแต่อันดับหนึ่งแต่ไม่ใช่ dominant firm จนถึงอันดับประมาณ 3 ของอุตสาหกรรม ให้คะแนนศูนย์ บริษัทที่มีอันดับหลังจากนั้นให้คะแนน ติดลบหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ถ้าเราพิสูจน์หรือเชื่อได้ว่าขนาดของกิจการไม่ได้มีผลต่อต้นทุนหรือความได้ เปรียบอย่างอื่นในการแข่งขัน เราก็ให้คะแนนศูนย์กับทุกบริษัท
ข้อมูลตัวที่ห้า คือข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนของบริษัท กิจการบางแห่งเป็นกิจการที่ขยายงานได้โดย “ไม่ต้องลงทุน” นี่คือกิจการที่ใช้หรือต้องลงทุนใน อาคาร อุปกรณ์ เครื่องจักร และเงินทุนหมุนเวียนของตนเองน้อย และภายในเวลาเพียง 2-3 ปี ก็ได้เงินคืนมาหมด เช่น กิจการค้าปลีกที่อาศัยการเช่าสถานที่เปิดร้านค้าเป็นหลัก กิจการแบบนี้เป็นกิจการที่ดีเพราะจะสามารถขยายงานไปได้เรื่อย ๆ โดยไม่ต้องกู้หรือเพิ่มทุน ทำให้สามารถจ่ายปันผลได้สูง แบบนี้ให้คะแนน บวกหนึ่ง
กิจการที่เวลาขยายงานต้องลงทุนสูงพอสมควร อย่างเช่น โรงงานที่ผลิตสินค้า ธรรมดา ๆ ที่ไม่ต้องอาศัยเทคโนโลยีมากนัก เช่นผลิตอาหาร หรือเครื่องดื่ม หรือผลิตไฟฟ้า หรือน้ำประปา แบบนี้ให้คะแนน ศูนย์
กิจการที่เป็นโรงงานที่ซับซ้อนและเทคโนโลยีมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปเร็วทำ ให้ต้องอัพเกรดโดยการลงทุนอุปกรณ์ใหม่ ๆ อยู่เรื่อย ๆ แบบนี้ให้คะแนน ลบหนึ่ง
[6] ข้อมูลตัวสุดท้ายที่ผมจะพูดถึงที่เป็นข้อมูลสำคัญก็คือ การเจริญเติบโต กิจการที่โตเร็ว นั่นคือ ในระยะยาวโตเร็วกว่าการเติบโตของเศรษฐกิจหรือ gdp ตั้งแต่ 3 เท่าขึ้นไป นั่นคือยอดขายโตประมาณปีละ 15% ให้คะแนน บวกหนึ่ง ยอดขายโตตั้งแต่ 5-15% ต่อปีโดยเฉลี่ยให้คะแนน ศูนย์ ยอดขายโตต่ำกว่า 5% ต่อปีในระยะยาวให้คะแนน ลบหนึ่ง การเติบโตของยอดขายที่ว่านี้ต้องเป็นการเติบโตแบบทบต้นและระยะยาวตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป ซึ่งทำได้ไม่ง่ายนัก
รวมคะแนนทั้งหมดของบริษัทที่เราวิเคราะห์ก็จะได้คะแนนที่อาจจะเป็นบวก ลบ หรือเป็น ศูนย์ บริษัทที่ได้คะแนนสูงสุดจะได้ บวก 6 คะแนน ต่ำสุดก็จะได้ ลบ 6 คะแนน ซึ่งคงหาได้ยากพอควร
เอาตัวเลขที่ได้บวกด้วย 10 ก็จะได้ค่า pe สูงสุดที่เราจะซื้อหุ้นตัวนั้น
นั่นแปลว่า
* บริษัทที่ดีที่สุดได้คะแนนสูงสุดเราจะซื้อต่อเมื่อ pe ไม่เกิน16เท่า
* บริษัทธรรมดา ๆ ที่คะแนนไม่บวกหรือลบเราก็จะซื้อต่อเมื่อ pe ไม่เกิน10เท่า
* และบริษัทที่แย่มากที่สุดนั้น เราไม่ควรซื้อที่ pe เกิน 4 เท่า
และทั้งหมดนี้ก็คือวิธีวิเคราะห์และซื้อหุ้นแบบ vi เวอร์ชั่นหนึ่ง ที่หยาบ ๆ และคิดในใจได้
****
.
เพิ่มเติม
ถาม มุมมองของอาจารย์ที่ใช้ประเมินมูลค่าหุ้นในการลงทุนครับ
บันทึกของTH-O-B-1 สรุปงานจิบเบียร์ ที่ดิเอ็ม…4/6/10
http://obiwaninvestmentidea.blogspot.co ... /4610.html
- กล้วยไม้ขาว
- Verified User
- โพสต์: 1074
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ถามเคล็ดลับตรวจคำตอบการประเมินมูลค่าหุ้น
โพสต์ที่ 11
ประเมินมูลค่าได้แล้ว Invest First Investigate Later ครับmik0o เขียน:จริงๆ ผมเข้ามาเป็นสมาชิกไทยวีไอก็ซักพักแล้วครับ
พยายามอ่าน พยายามศึกษาผ่านเว็บนี บางทีก็เหนื่อย แอบหนีไปเป็นแมงเม่าก็หลายรอบ จนเริ่มทนไม่ไหว ขอกลับมาศึกษาจริงๆจังๆอีกครั้ง
อยากจะถามพี่ๆครับ ว่า ครั้งแรกที่พี่ๆฝึกประเมินมูลค่าหุ้น พี่รู้ได้ไงครับ ว่าตัวเลขที่พี่ประเมินมา มันถูก หรือใกล้เคียงแล้ว ในเมื่อร้อยคน ก็อาจจะประเมินมูลค่าได้ร้อยมูลค่า ทั้งๆที่ใช้สูตรเดียว
พี่ๆใช้อะไรเป็นตัววัดครับ ว่าประเมินได้ถูกต้องแล้ว จนทำให้พี่มั่นใจมากๆ ว่ามูลค่าที่แท้จริงมันต้องเป็นเท่านั้น เป็นเท่านี้ จนกล้าเอาเงินก้อนใหญ่ไปทุ่มขนาดนั้น
เพราะหลายครั้งที่ผมประเมินมาแล้ว เห็นมันถูกกว่ามูลค่าที่ประเมินได้ ก็ซื้อเลย แถมมีmos อีกตังหาก แต่พอเจอมันไหลลงทีไร ในใจก็สั่นๆ กลัวว่าที่ตัวเองประเมินมามันจะผิด เลยอยากหาความมั่นใจมาปะรูในใจซักหน่อย
ขอบคุณครับ
ส่วนเรื่องความไม่มั่นใจ เพราะประสบการณ์ยังน้อยครับ เราเลยไม่เชื่อตัวเองว่าเราวิเคราะห์ได้แม่นหรือปล่าว
พอมีประสบการณืเยอะๆ มันจะทำให้วิเคราะห์ได้แม่นยำขึ้นและจะมั่นใจขึ้นเองครับ
แต่อย่ามั่นใจมากไป หรือมั่นใจแบบผิดๆล่ะครับ :lol:
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3653
- ผู้ติดตาม: 0
ถามเคล็ดลับตรวจคำตอบการประเมินมูลค่าหุ้น
โพสต์ที่ 12
ขออภัยครับกับข้อความที่ทำให้เฮียปิ๊กสงสัยpicklife เขียน:ช่วยขยายความหน่อยครับพี่ส.สลึง เขียน:ไม่มีเคล็ดลับ
มีแต่
รู้ แต่ไม่ ทำ
กับ
ทำ เกินที่ รู้
ความเห็นส่วนตัวของผม
คิดว่าการลงทุนไม่ได้มีเคล็ดลับอะไร
การประเมินมูลค่าหุ้นในสถานศึกษาเขาก็สอน
ในตำราเขาก็มี
แถมพี่ๆ ที่นี่ใจดี
มาช่วยแนะนำให้อีก
ผมก็เลยมีความเห็นว่า
"ไม่มีเคล็ดลับ" อะไรอย่างที่พี่ mik0o (จขกท.) ขอ
"รู้" ในความคิดของผม
หมายถึง รู้ เขา รู้ เรา
รู้จักนายตลาด
แล้วก็ต้องรู้จักตัวเอง
รู้ว่าตลาดหุ้นมันก็ขึ้นๆ ลงๆ ของมันทุกวัน
แล้วเราก็ต้องรู้ตัวเองด้วยว่ากำลังกลัว
หรือว่ากำลังโลภ
การกลัว หรือโลภ ไม่ใช่สิ่งไม่ดี
มันเกิดขึ้นเอง เพียงแต่ขอให้เรารู้เนื้อรู้ตัว
ว่าเรากำลังกลัว หรือว่ากำลังโลภ
ถ้าเราทำได้ ภาวะเช่นนี้ เขาเรียกว่า คนมี "สติ"
เมื่อคนมีสติ สตางค์ก็ย่อมมี
เป็นของคู่กัน เฉกเช่นนั่นเอง
แฮ...
นอกประเด็นไปหรือเปล่าครับเนี่ย ?
ผมว่าไม่นะ VI ก็แค่นี้เอง
"ราคา" เป็นสิ่งที่เราจ่าย
แต่ "มูลค่า" เป็นสิ่งที่เราได้รับ
การซื้อหุ้น ในความคิดของผม
ก็คือดีลดีๆ เพื่อขอเป็นหุ้นส่วนในกิจการนี่แหละ
และจะเกิดอะไรขึ้น ถ้าเราทำตรงข้าม ???
ผมว่า VI ต่างกับนักลงทุนแนวทางอื่นๆ
ก็ตรงนี้แหละ
ที่คิดว่า...
"ราคา" คือสิ่งที่ทุกคนได้รับ
- thaloengsak
- Verified User
- โพสต์: 2716
- ผู้ติดตาม: 0
ถามเคล็ดลับตรวจคำตอบการประเมินมูลค่าหุ้น
โพสต์ที่ 13
คมคายมากครับ เอาไปสิบเลยส.สลึง เขียน:ขออภัยครับกับข้อความที่ทำให้เฮียปิ๊กสงสัยpicklife เขียน:ช่วยขยายความหน่อยครับพี่ส.สลึง เขียน:ไม่มีเคล็ดลับ
มีแต่
รู้ แต่ไม่ ทำ
กับ
ทำ เกินที่ รู้
ความเห็นส่วนตัวของผม
คิดว่าการลงทุนไม่ได้มีเคล็ดลับอะไร
การประเมินมูลค่าหุ้นในสถานศึกษาเขาก็สอน
ในตำราเขาก็มี
แถมพี่ๆ ที่นี่ใจดี
มาช่วยแนะนำให้อีก
ผมก็เลยมีความเห็นว่า
"ไม่มีเคล็ดลับ" อะไรอย่างที่พี่ mik0o (จขกท.) ขอ
"รู้" ในความคิดของผม
หมายถึง รู้ เขา รู้ เรา
รู้จักนายตลาด
แล้วก็ต้องรู้จักตัวเอง
รู้ว่าตลาดหุ้นมันก็ขึ้นๆ ลงๆ ของมันทุกวัน
แล้วเราก็ต้องรู้ตัวเองด้วยว่ากำลังกลัว
หรือว่ากำลังโลภ
การกลัว หรือโลภ ไม่ใช่สิ่งไม่ดี
มันเกิดขึ้นเอง เพียงแต่ขอให้เรารู้เนื้อรู้ตัว
ว่าเรากำลังกลัว หรือว่ากำลังโลภ
ถ้าเราทำได้ ภาวะเช่นนี้ เขาเรียกว่า คนมี "สติ"
เมื่อคนมีสติ สตางค์ก็ย่อมมี
เป็นของคู่กัน เฉกเช่นนั่นเอง
แฮ...
นอกประเด็นไปหรือเปล่าครับเนี่ย ?
ผมว่าไม่นะ VI ก็แค่นี้เอง
"ราคา" เป็นสิ่งที่เราจ่าย
แต่ "มูลค่า" เป็นสิ่งที่เราได้รับ
การซื้อหุ้น ในความคิดของผม
ก็คือดีลดีๆ เพื่อขอเป็นหุ้นส่วนในกิจการนี่แหละ
และจะเกิดอะไรขึ้น ถ้าเราทำตรงข้าม ???
ผมว่า VI ต่างกับนักลงทุนแนวทางอื่นๆ
ก็ตรงนี้แหละ
ที่คิดว่า...
"ราคา" คือสิ่งที่ทุกคนได้รับ
ลงทุนเพื่อชีวิต