หุ้นพื้นฐาน ในความคิดเห็นของ VI

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
Warantact
Verified User
โพสต์: 1160
ผู้ติดตาม: 0

หุ้นพื้นฐาน ในความคิดเห็นของ VI

โพสต์ที่ 31

โพสต์

อันนี้ตรง 5555
Boring Stock Lover
Verified User
โพสต์: 1301
ผู้ติดตาม: 0

หุ้นพื้นฐาน ในความคิดเห็นของ VI

โพสต์ที่ 32

โพสต์

ปกติเวลาได้ยินคำแนะนำให้ซื้อ เขาก็ว่า ซื้อหุ้นพื้นฐานดีในราคาที่ถูกหรือเหมาะสม หรือ ซื้อหุ้นโกรทในราคาที่สมเหตุสมผล Buy growth at reasonable price

ถ้าเอาสองอย่างมาปนกัน หุ้น iec live คงเป็นหุ้นพื้นฐานดีกว่า cpall hmpro เพราะ pb แค่เท่ากว่าๆ แต่สองตัวหลัง อืมม์ หรือไม่งั้นสองตัวหลังก็เป็นหุ้นไม่มีพื้นฐาน ซึ่งก็ออกจะประหลาดไปหน่อย น่าจะเป็นหุ้นมีพื้นฐาน(ที่ดีด้วยซ้ำ)แต่ราคาอาจจะสูง (ไม่ได้ชื้นำราคานะครับ อนาคตถึงจะรู้ว่าราคาตอนนี้ถูกหรือแพง)

แต่ก็แล้วแต่แต่ละคน เพราะการเล่นหุ้นมันเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ เล่นให้ได้ตัง ไม่ใช่การสอบ ที่ต้องตอบคำถามทุกข้อถูกหมด ผมก็อาจจะเข้าใจผิดก็ได้
ภาพประจำตัวสมาชิก
Visute
Verified User
โพสต์: 55
ผู้ติดตาม: 0

หุ้นพื้นฐาน ในความคิดเห็นของ VI

โพสต์ที่ 33

โพสต์

ในความเห็นผม หุ้นทุกตัวมีพื้นฐานของมัน คำว่าพื้นฐานของหุ้น น่าจะหมายถึงมีความสามารถในการทำกำไร อัตราเติบโตของกำไร ความสามารถในการสร้างและรักษาระดับยอดขาย (DCA) และ ความมั่นคงของบริษัท มีหนี้มากหรือน้อย ดังนั้นผมคิดว่า หุ้นมีพื้นฐานของมัน แต่คำว่าหุ้นพื้นฐานที่ใช้กัน ก็คือหุ้นที่มีพื้นฐานดี นั่นก็คือสามารถทำสิ่งที่ได้กล่าวไว้ด้านบนได้ดีนั่นเอง
ภาพประจำตัวสมาชิก
Fon^^
Verified User
โพสต์: 604
ผู้ติดตาม: 0

หุ้นพื้นฐาน ในความคิดเห็นของ VI

โพสต์ที่ 34

โพสต์

ในความเห็นส่วนตัวฝนนะคะ บริษัททุกๆบริษัทก็มีพื้นฐานต่างๆกัน

ถ้าแบ่งเป็น 2 อย่างน่าจะมองง่ายขึ้น
1 พื้นฐานบริษัท  
เชิงคุณภาพ เช่น  DCA ความสามารถในการขยายงาน ความสามารถในการแข่งขัน บลาๆๆๆๆ
เชิงปริมาณ อันนี้แล้วแต่สำนัก สำนักปู่บัฟเฟต roe สูง  sustain growth
                                 สำนักลุง Lynch ก็ต้อง PEG < 1 และต้อง growth
                                 สำนักท่านอ. Graham ต้อง net - net  และสำนักอื่นๆ

2 หุ้นว่าด้วยเรื่องราคา  ความเชื่อชอง vi เชื่อว่า ราคามักจะตามผลประกอบการเสมอ

ถ้า ราคา ต่ำกว่า มูลค่า ณ.เวลานั้น หุ้นก็ดี  
ถ้า ราคา สูงกว่า มูลค่า ณ.เวลานั้น หุ้นก็ไม่ดี
ต่างกรรมต่างวาระค่ะ ^^
ผิดหนึ่งพึงจดไว้.....ในสมอง
เร่งระวังผิดสอง.....ภายหน้า
สามผิดเร่งคิดตรอง จงหนัก.....เพื่อนเอย
ถึงสี่อีกทีห้า.....หกซ้ำ อภัยไฉน
ภาพประจำตัวสมาชิก
unnop.t
Verified User
โพสต์: 924
ผู้ติดตาม: 0

หุ้นพื้นฐาน ในความคิดเห็นของ VI

โพสต์ที่ 35

โพสต์

[quote="sai"]หุ้นพื้นฐาน ผมเข้าใจว่าหมายถึง หุ้นพื้นฐานดี หุ้นพื้นฐานดีในความคิดเห็นของผมคือ
1.หุ้นที่ มี รายได้ - ค่าใช้จ่าย = กำไร
โดยมีแนวโน้มว่ารายได้นั้นนั้นเป็นรายได้ที่มั่นคงและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นได้อย่างสม่ำเสมอ(อันนี้ก็ต้องมองเทรนด์อนาคตของธรุกิจนั้นนั้นได้ชัดเจนประมาณหนึ่งนะครับ ไม่ใช่คิดเอาเอง ) และ สามารถควบคุมรายจ่ายให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม(ถ้าสามารถลดลงได้เรื่อยเรื่อยเมื่อเทียบกับการเติบโตของยอดขายยิ่งดีครับ
ตลาดหุ้นมักจะหลอกเราด้วย ความโลภ และความกลัว.....
ภาพประจำตัวสมาชิก
Tibular
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 522
ผู้ติดตาม: 0

หุ้นพื้นฐาน ในความคิดเห็นของ VI

โพสต์ที่ 36

โพสต์

จากพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน

หุ้น
ความหมาย

น. ส่วนที่ลงทุนเท่ากันในการค้าขายเป็นต้น. (เทียบภาษาจีนแต้จิ๋ว หุ่ง ว่า หุ้น, ส่วน); (กฎ) หน่วยลงทุนแต่ละหน่วยที่มีมูลค่าเท่า ๆ กัน ซึ่งรวมกันเป็นทุนเรือนหุ้นของบริษัทจํากัด. (อ. share).


พื้นฐาน
ความหมาย

น. รากฐาน เช่น เขามีพื้นฐานวิชาภาษาอังกฤษดี, หลักความรู้เบื้องต้น เช่น วิชาพื้นฐาน.


หุ้นพื้นฐาน เอามายำรวมๆกันได้ว่า หุ้นที่มีรากฐานรองรับ


หุ้นที่มีพื้นฐานดี
ต้องมี 1. พื้นดี เจ้าของหรือผู้บริหาร มีจุดมุ่งหมายในการค้าขายโดยสุจริตและเป็นธรรม
ต้องมี 2. ฐานดี มีสินค้าบริการเป็นที่ต้องการ ฐานะและผลการดำเนินงานดี มีกำไรเหมาะสม

ที่สำคัญต้องดีต่อเนื่องยาวนาน
เพราะพื้นฐานนั้นเปลี่ยนแปลงยาก

นอกเหนือจากนั้นเป็นหุ้นพื้นฐานไม่ดี


หุ้นพื้นฐานดีหรือไม่ดี ดูได้จาก Business Model ครับ
หมูไม่กลัวน้ำร้อน
Verified User
โพสต์: 1
ผู้ติดตาม: 0

Re: หุ้นพื้นฐาน ในความคิดเห็นของ VI

โพสต์ที่ 37

โพสต์

boom เขียน:อยากรู้ว่าแตละท่านมีมุมมองอย่างไร
ส่วนตัวผมเอง เข้าใจว่า
น่าจะ
กำไรตอเนื่อง
หนี้น้อย
ปันผลต่อเนือง
ผู้บริหาร ไวใจได้
สมาชิกใหม่ครับ ขอแสดงความเห็นครับ สำหรับผม
1. P/E (เฉลี่ย4ปีย้อนหลัง) ต่ำกว่า 10
2. P/BV ต่ำกว่า 1 และน้อยกว่า P/BV (เฉลี่ย4ปีย้อนหลัง)
4. มีปันผลทุกปี (เฉลี่ย4ปีย้อนหลัง) และมากกว่า 3%
5. BV เพิ่มมูลค่าขึ้นต่อเนื่อง
   ขึ้นมา สูงกว่า P/BV (เฉลี่ย4ปีย้อนหลัง) มากกว่า 15% ขายทำกำไร หาและหาหุ้นตัวอื่นที่อยู่ใน เกณฑ์ ข้างต้นลงทุนใหม่
Arpieaw
Verified User
โพสต์: 170
ผู้ติดตาม: 0

หุ้นพื้นฐาน ในความคิดเห็นของ VI

โพสต์ที่ 38

โพสต์

ผมเป็นมือใหม่นะครับ

หุ้นพื้นฐาน = หุ้นพื้นฐานดี

ซึ่งควรจะมีคุณสมบัติดังนี้

1. มี DCA ต้องมีความได้เปรียบคู่แข่ง เพื่อที่จะกินส่วนแบ่งตลาดเพิ่ม

2. ส่วนแบ่งตลาดยังไม่อิ่มตัว กำไรยังโตได้อีก
Anti-Aircraft
Verified User
โพสต์: 807
ผู้ติดตาม: 0

หุ้นพื้นฐาน ในความคิดเห็นของ VI

โพสต์ที่ 39

โพสต์

เอามั่งๆ

หุ้นพื้นฐาน
ไม่รู้จะอธิบายไง เท่าที่อ่านมาในกระทู้นี้แทบไม่ตรงกันเลย ขอเชื่อตามคุณสุมาอี้ว่า หุ้นพื้นฐานนั้นไม่มีหรอก แค่ีคำพูดสวยหรูของโบรกเกอร์

กิจการที่ผมชอบ
1. ส่วนแบ่งตลาดอันดับ 1
2. ขายของได้แพงกว่าชาวบ้าน แต่ก็ยังขายดิบขายดีเป็นเททิ้ง
3. ขึ้นราคาสินค้าได้โดยไม่เสียส่วนแบ่งตลาด
4. กระแสเงินสดดีและมีความสม่ำเสมอ (+1 ให้พี่ฉัตรชัย)
5. พอคาดเดาอนาคตได้

หุ้นที่ผมชอบ
1. หุ้นทุกประเภทที่ราคาต่ำกว่ามูลค่า ซึ่งอาจไม่ใช่กิจการที่ผมชอบ
2. หากหุ้นในข้อ 1. เป็นหุ้นของกิจการที่ผมชอบ ผมก็จะช๊อบบบ ชอบ หุ้นนั้นมากเป็นพิเศษ อาจถึงขั้นตีแตกได้
อย่ายอมแพ้
ภาพประจำตัวสมาชิก
thaloengsak
Verified User
โพสต์: 2716
ผู้ติดตาม: 0

หุ้นพื้นฐาน ในความคิดเห็นของ VI

โพสต์ที่ 40

โพสต์

[quote="sai"]หุ้นพื้นฐาน ผมเข้าใจว่าหมายถึง หุ้นพื้นฐานดี หุ้นพื้นฐานดีในความคิดเห็นของผมคือ
1.หุ้นที่ มี รายได้ - ค่าใช้จ่าย = กำไร
โดยมีแนวโน้มว่ารายได้นั้นนั้นเป็นรายได้ที่มั่นคงและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นได้อย่างสม่ำเสมอ(อันนี้ก็ต้องมองเทรนด์อนาคตของธรุกิจนั้นนั้นได้ชัดเจนประมาณหนึ่งนะครับ ไม่ใช่คิดเอาเอง ) และ สามารถควบคุมรายจ่ายให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม(ถ้าสามารถลดลงได้เรื่อยเรื่อยเมื่อเทียบกับการเติบโตของยอดขายยิ่งดีครับ
ลงทุนเพื่อชีวิต
ภาพประจำตัวสมาชิก
thaloengsak
Verified User
โพสต์: 2716
ผู้ติดตาม: 0

Re: หุ้นพื้นฐาน ในความคิดเห็นของ VI

โพสต์ที่ 41

โพสต์

หมูไม่กลัวน้ำร้อน เขียน:
boom เขียน:อยากรู้ว่าแตละท่านมีมุมมองอย่างไร
ส่วนตัวผมเอง เข้าใจว่า
น่าจะ
กำไรตอเนื่อง
หนี้น้อย
ปันผลต่อเนือง
ผู้บริหาร ไวใจได้
สมาชิกใหม่ครับ ขอแสดงความเห็นครับ สำหรับผม
1. P/E (เฉลี่ย4ปีย้อนหลัง) ต่ำกว่า 10
แล้วถ้ามันไม่มีแนวโน้มว่ากำไรจะเติบโตล่ะครับ หรือเป็นช่วงเข้าสู่ยุคถดถอย สนใจไหม?
2. P/BV ต่ำกว่า 1 และน้อยกว่า P/BV (เฉลี่ย4ปีย้อนหลัง)
บางทีข้อนี้ผมว่าไม่จำเป็นครับ การที่PBVต่ำอาจได้หุ้นเลหลัง โตช้าน่ะครับ
4. มีปันผลทุกปี (เฉลี่ย4ปีย้อนหลัง) และมากกว่า 3%
5. BV เพิ่มมูลค่าขึ้นต่อเนื่อง
ลงทุนเพื่อชีวิต
Warantact
Verified User
โพสต์: 1160
ผู้ติดตาม: 0

หุ้นพื้นฐาน ในความคิดเห็นของ VI

โพสต์ที่ 42

โพสต์

ไปเปิดอ่านอินทะเลเจ้นอินเวสเตอ อ่านยังไงก็ไม่เจอคำว่าหุ้นพื้นฐานดี

พอดีมีเรื่องเล่ามาเล่าสู่กันฟัง เป็นบทสนทนาระหว่าง เสี่ยเกร็ง กับ หนุ่มขี้สงสัย

เนื่องจากเสี่ยงเกร็ง ลงทุน+เกร็งกำไรในหุ้นมานาน หนุ่มขี้สงสัยจึงมาถามขอความรู้

หนุ่มขี้สงสัย : เสี่ย หุ้นพื้นฐานดีคืออะไร
เสี่ยเกร็ง : ก็หุ้นที่มีกำไรดี ธุรกิจ ดียิ่งใหญ่มั่นคงงายว้า ลื้อถามไรไม่เข้าท่า ใครๆก็รู้กัน ซื้อไว้นะ มีแต่กำราย กำราย

หนุ่มขี้สงสัย : ไม่ค่อยเห็นภาพ ยกตัวอย่างหน่อยเสี่ย
เสี่ยเกร็ง : ก็อย่างเซเว่นไง ลื้อไม่เห็นเหรอ มีอยู่ทุกหัวมุม บริษัทก็ใหญ่ ผู้บริหารก็ดูดี กำไรในอนาคตก็ลูลี โบรคก็เชียร์ คนก็นิยมชมชอบ อันนี้เสี่ยพึ่งสอยมาเมื่อวาน

หนุ่มขี้สงสัย : มันไม่แพงไปเหรอเสี่ย pe ตั้ง26 pb ตั้ง 9
เสี่ยเกร็ง : ม่ายแพง พื้นฐานมันลี ราคาก็วิ่งเอา วิ่งเอา บริษัทก็หย่าย พีอียี่สิกเก้า ม่ายแพง

หนุ่มขี้สงสัย : ผมก็ยังไม่ชัวร์ไอพื้นฐานน่ะเสี่ย ขอถามไรหน่อย เสี่ยรู้จักบัฟเฟตไหม
เสี่ยเกร็ง : รู้จักซี่ อีเป็งมหาเศรษฐฐีอันดับสอง และเปงนักลงทุงที่เก่งที่สุก อีบอกให้ซื้อหุ้งลีๆเกบยาวๆ ราคายุติธรรม

หนุ่มขี้สงสัย : แล้วบริษัทเขาพื้นฐานดีไหมครับเสี่ย
เสี่ยเกร็ง : ลีซี่ ลื้อถามไรแปลกๆ ทั้งแป๊กซี่ โคล่า มีกโกน ประกัน อีมีหมด พื้นฐานลีจาตาย เสี่ยก็เคยไปลูข้อมูงข้ออี ในเวป

หนุ่มขี้สงสัย : พื้นฐานมันดีกว่าเซเว่นไหมเสี่ย
เสี่ยเกร็ง : ก็ลีกว่าซีวะ! คายๆก็รู้ ธุรกิจอีก็ใหญ่โต กำรายก็ลี

หนุ่มขี้สงสัย : แล้วมันขายอยู่ pe 14 เท่าแล้วพื้นฐานดีกว่าทำไมเสี่ยไม่เอา มาเอาไอ้ pe29เท่านี่หละเสี่ย
เสี่ยเกร็ง : ......... (นิ่งอึ้ง เหมือนตอบไม่ถูก)

เสี่ยเกร็ง : ก็หุ้นอีมันไม่วิ่ง

ผ่างงงงง จบข่าว 5555 :rofl:
ภาพประจำตัวสมาชิก
simplelife
Verified User
โพสต์: 756
ผู้ติดตาม: 0

หุ้นพื้นฐาน ในความคิดเห็นของ VI

โพสต์ที่ 43

โพสต์

Warantact เขียน:ไปเปิดอ่านอินทะเลเจ้นอินเวสเตอ อ่านยังไงก็ไม่เจอคำว่าหุ้นพื้นฐานดี
อย่างที่บอกข้างบน หุ้นก็คือหุ้น ถ้าบริษัทไหน มี DCA ที่ดี (ในไทย ไม่เห็นจะเจอซักบริษัท) ก็บอกมาว่าบริษัทดีมี DCA ธรรมาภิบาลดี บลาๆ ไม่ใช่มาตีขลุม "หุ้นพื้นฐาน" คนเขียนก็ยังไม่รู้เลยว่าแปลว่าอะไร
Warantact เขียน: หนุ่มขี้สงสัย : ไม่ค่อยเห็นภาพ ยกตัวอย่างหน่อยเสี่ย
เสี่ยเกร็ง : ก็อย่างเซเว่นไง ลื้อไม่เห็นเหรอ มีอยู่ทุกหัวมุม บริษัทก็ใหญ่ ผู้บริหารก็ดูดี กำไรในอนาคตก็ลูลี โบรคก็เชียร์ คนก็นิยมชมชอบ อันนี้เสี่ยพึ่งสอยมาเมื่อวาน

หนุ่มขี้สงสัย : มันไม่แพงไปเหรอเสี่ย pe ตั้ง26 pb ตั้ง 9
เสี่ยเกร็ง : ม่ายแพง พื้นฐานมันลี ราคาก็วิ่งเอา วิ่งเอา บริษัทก็หย่าย พีอียี่สิกเก้า ม่ายแพง
Forward Earning อาจจะสูงกว่านั้นก็ได้ครับ :) คิดๆดูแล้วก็แปลก แบบ cpall ทำไมมัน P/E สูงขนาดนั้น ขนาดให้ 20% growth ต่อปี forward P/E ของปีหน้ามันยัง > 22 อีก บริษัทแบบ Walmart, Target ยังมี trailing P/E ต่ำกว่า 15 เลยครับ งงครับ
"I believe what I said yesterday. I don't know what I said, but I know what I think... and I assume it's what I said." -- Donald Rumsfeld
อินทรีย์ทองแดง
Verified User
โพสต์: 513
ผู้ติดตาม: 0

หุ้นพื้นฐาน ในความคิดเห็นของ VI

โพสต์ที่ 44

โพสต์

Warantact เขียน:

ฐาน คืออะไรที่ต้องจับได้ คลำได้
นั่นคือ Book Value นั่นเอง โดยส่วนตัว หากซื้อหุ้นของบริษัทที่มีหนี้น้อยหรือไม่มีหนี้ได้ ในราคาต่ำกว่า book value ผมจะถือว่า มีฐานมารองรับ 1 ชั้น
อืมมม....ลูบได้คลำได้เหรอค้าบ   หุหุหุ  เจี๋ยวววว้อย

นึกอะไรขึ้นได้อย่างนึง
สมมตินะครับสมมติ   สมมติว่าถ้าตอนหนุ่มๆ  อาจารย์เฉลิมชัย(คนที่ชอบทำมือชี้โบ๊ชี้เบ๊)  แกตั้งบริษัทผลิตผลงานและขายเอง  
เอาว่าตอนนั้นยังไม่ดังเน่อ  พอเริ่มเป็นที่รู้จักก็เอาบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์  ระดมทุนซื้อพู่กันยี่ห้อลุงหง่า
ทุกปีพอขายรูปมีกำรี้กำไร   แกก็ปันผลให้กะตัวแกและผู้ถือหุ้นเกือบหมด  เหลือไว้เฉพาะเงินซื้อสี กระดาษ และก็กระดาษทิชชู่
ไว้เช็ดน้ำลายเวลาแกคุยขโมงโฉงเฉง   ส่วนพู่กันของลุงหง่า  ใช้ทนฮะ สิบปีเปลี่ยนที
ยิ่งแก่ก็ยิ่งคุย  ยิ่งคุยก็ยิ่งดัง  ยิ่งดังรูปก็ยิ่งแพง   ยิ่งแพงก็ยิ่งรวย   รวยทั้งสารวัตรเหลิม   เอ๊ยยย....อาจารย์เหลิม  ทั้งผู้ถือหุ้น  (เหะๆ หาเรื่องซะแล้น เมิง)
นักวิเคาะ(ขวา) ก็จัดมีททิ่มกิจการ  ไปถึงนักวิเคาะ อ้าปากหวอ  ธุรกิจไรฟระ ไม่เห็นมีไรเลย  มีแต่โกดังเขียนรูป(เช่าที่วัดราคาถูก)  
กองรูปเขียนรอส่งคนสั่ง(บริษัทไม่มีนโยบายสต็อกเฟ้ย  ขายของหยิ่ง)
และที่สำคัญ  พู่กันลุงหง่า  พู่กันคู่ชีพ สารวัตร เอ๊ยยย..จารย์เหลิม(อีกแล้วนะเมิง)
นักวิเคาะยืนบื้อเลยคับ นึกในใจ นี่ถ้าตรูให้pe บริษัทนี้ซักสิบ  pbvมันไม่ล่อไปร่วมร้อยเลยเหรอ    
เอ...แต่ถ้าให้pbvซักเท่าๆกับcpall 9เท่า   อ้าว เฮ้ย   ราคาบริษัทต่ำกว่า กำไรในหนึ่งปีอีก   ตรูจะทำไงดีเนี่ย

ท่านที่รักอ่านแล้ว ปวดหัวมั้ยครับ   อย่าว่าแต่ท่านจะปวดหัวเลย  
ผมพิมพ์เองก็ยังงงเองเลย  ฮ่าฮ่า
ผมรู้แต่ปมปัญหาของเรื่องนี้ครับ  
ทุกสิ่งล้วนมีที่มา   เรื่องนี้ก็เช่นกัน
เพราะไรรู้มั้ยคับ


เพราะ  



เพราะ





เพราะพู่กันลุงหง่า    ทั้งทน  ทั้งถูก   อ่ะดิ๊

เอิ๊กๆๆๆ  :lol:  :lol:  :lol:  :lol:  :lol:  :lol:  :lol:  :lol:

ลาละค้าบ
ได้เวลาเหล่าอินทรีย์ ผงาดบนฟากฟ้า
Warantact
Verified User
โพสต์: 1160
ผู้ติดตาม: 0

หุ้นพื้นฐาน ในความคิดเห็นของ VI

โพสต์ที่ 45

โพสต์

DCA ที่ดีคืออะไรครับ?

มันดอลล่าคอสเอเวอเรจไม่ใช่เหรอ งง งง งง


ไอ้ตัวดูบุ๊คนั่นมันฐานชั้นแรกครับ
แต่ถ้ามันขายรูปบุ๊คน้อยแบบนั้นผมก็ไม่เอานะ 5555
ภาพประจำตัวสมาชิก
Skyforever
Verified User
โพสต์: 1203
ผู้ติดตาม: 0

หุ้นพื้นฐาน ในความคิดเห็นของ VI

โพสต์ที่ 46

โพสต์

Durable Competitive Advantage
ภาพประจำตัวสมาชิก
sialic
Verified User
โพสต์: 144
ผู้ติดตาม: 0

หุ้นพื้นฐาน ในความคิดเห็นของ VI

โพสต์ที่ 47

โพสต์

.. ขอเข้ามาจดค่ะ   :lol:  :lol:

และขอถามเพิ่มเติมดังนี้

 คำว่า หุ้นพื้นฐาน(ดี)  กับ คำว่า หุ้นคุณค่า ล่ะคะพี่ๆคิดเห็นกันว่าอย่างไรบ้าง  
ช่วยแชร์ด้วยนะคะ  ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ
new user
ภาพประจำตัวสมาชิก
jo7393
Verified User
โพสต์: 2486
ผู้ติดตาม: 0

หุ้นพื้นฐาน ในความคิดเห็นของ VI

โพสต์ที่ 48

โพสต์

mprandy เขียน:การกำหนดฐานนั้นต้องระวังให้ดี เพราะถ้าจับเอาอะไรเปนสิ่งยึดเหนี่ยวที่ผิดแล้ว ใช่ว่ามีฐานแล้วจะปลอดภัย

BV ดูดี เข้าใจง่าย จับต้องง่าย แต่มีที่ใช้น้อยมาก เพราะการคำนวณมูลค่าอาจประเมินได้ต่างกัน มูลค่าแท้จริงอาจสูงหรือต่ำกว่าที่ปรากฎจนน่าตกใจได้เหมือนกัน นอกจากนั้นการบอกว่ากิจการใดมีทรัพย์มาก หนี้น้อย ไม่ได้บอกว่ามันจะทำรายได้และกำไรได้ดีเลย ยิ่งถ้ากิจการขาดทุนสุดท้ายตัว BV นี่แหละที่จะลดลงเรื่อย ๆ

ความเห็นของผม ผมมองว่า BV จับต้องได้น้อยกว่า E อีกนะครับ

ปล อย่าถือเปนการแย้งนะครับ เห็นต่างกันยังไงช่วยสอนผมด้วยก็จะเปนพระคุณอย่างสูง เพราะผมมีความรู้ไม่มากนัก
เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ
หากมองราคาถูกอย่างเดียวไม่มอง อัตราการเติบโตเลย ก็มีตัวอย่างเช่น charan ผมเคยลองซื้อไว้แต่ก็ขายออกในวันรุ่งขึ้น ยอมขาดทุนนิดหน่อย เพราะถือแล้วไม่สบายใจ อาจเป็นเพราะไม่เข้ากับความคิดของตัวเองกระมัง
เรื่องความสบายใจในการถือหุ้นผมว่าสำคัญมากนะครับ หากถือแล้วไม่สบายใจเวลาหุ้นลง จะทำให้อยากขายไม่มั่นใจ แต่หากถือแล้วสบายใจในพื้นฐานที่เราคิด เรากล้าที่จะซื้อเพิ่มเวลามันลง และกล้าที่จะถือยาว เพราะเราเข้าใจพื้นฐานมัน
“ถ้าราคาหุ้นแยกออกไปจากเส้นกำไร  ไม่ช้าก็เร็วมันจะวิ่งกลับไปหาเส้นกำไรเสมอ”
เลือกบริษัทที่ดี ในราคาที่เหมาะสม  และถือมันตราบที่มันยังเป็นกิจการที่ดีอยู่

อย่าอายที่จะถาม ไม่มีใครรู้ลึกทุก บ. ถ้าไม่รู้แล้วไม่ถามก็จะยิ่งไม่ฉลาด
somjainuek
Verified User
โพสต์: 40
ผู้ติดตาม: 0

หุ้นพื้นฐาน ในความคิดเห็นของ VI

โพสต์ที่ 49

โพสต์

เห็นด้วยกับคุณ Chatchai อย่างมาก เงินสดเป็นอะไรที่จับต้องได้ในยามวิกฤติ
ภาพประจำตัวสมาชิก
jo7393
Verified User
โพสต์: 2486
ผู้ติดตาม: 0

หุ้นพื้นฐาน ในความคิดเห็นของ VI

โพสต์ที่ 50

โพสต์

[quote="chatchai"]ในความเห็นของผม
“ถ้าราคาหุ้นแยกออกไปจากเส้นกำไร  ไม่ช้าก็เร็วมันจะวิ่งกลับไปหาเส้นกำไรเสมอ”
เลือกบริษัทที่ดี ในราคาที่เหมาะสม  และถือมันตราบที่มันยังเป็นกิจการที่ดีอยู่

อย่าอายที่จะถาม ไม่มีใครรู้ลึกทุก บ. ถ้าไม่รู้แล้วไม่ถามก็จะยิ่งไม่ฉลาด
ภาพประจำตัวสมาชิก
leaderinshadow
Verified User
โพสต์: 1765
ผู้ติดตาม: 0

หุ้นพื้นฐาน ในความคิดเห็นของ VI

โพสต์ที่ 51

โพสต์

ความสามารถทำกำไรและเงินสด + คุณภาพของกำไรและเงินสด (ความเสถียร)
support
Verified User
โพสต์: 193
ผู้ติดตาม: 0

หุ้นพื้นฐาน ในความคิดเห็นของ VI

โพสต์ที่ 52

โพสต์

ขอแสดงความคิดเห็นมั้งนะครับ ผมคิดว่า
หุ้นพื้นฐานดี จะต้องเปรียบเทียบกับ ความเสี่ยงของตราสารหนี้
โดยผมให้หุ้นมีความเสี่ยงมากกว่าตราสารหนี้ 3 เท่า
สมมุติปัจจะบัน ตราสารหนี้ให้โดยราคาตลาดให้  4 % ต่อปี
ดังนั้นหุ้นที่ให้ผลตอบแทน เกิน 12 % ต่อปีไม่ว่าจะเป็นตัวไหนก็ตามผมจัดว่า
เป็นหุ้นพื้นฐานดี  หมายรวมถึง ปันผลและแคปปิทอล เกน ด้วยนะครับ
ส่วนวิธีว่าเราจะหาว่าหุ้นตัวไหนให้มากว่า 12 % ต้องใช่หลาย ๆ วิธีประกอบ
เหมือนวิธีที่ เวป แห่งนี้ใช่ ๆ กันอยู่นั้นแหละครับ
support
Verified User
โพสต์: 193
ผู้ติดตาม: 0

หุ้นพื้นฐาน ในความคิดเห็นของ VI

โพสต์ที่ 53

โพสต์

แต่เท่าที่ดูมาหลายความเห็น คำจำกัดความของ หุ้นพื้นฐานดี มันมากมายเหลือเกิน
ดังนั้นคนที่ชอบพูด เท่ ๆ ยอดฮิต  " ถือหุ้นพื้นฐานดี" บางทีทั้งคนสื่อและคนรับสาร ไม่มีทางเข้าใจตรงกันแน่  เพียงแต่พูดตาม ๆ กันมาว่าพื้นฐานดี ๆ

แล้วมันดียังไงละ ? บางทีคนพูดเองยังไม่รู้ด้วยซ้ำ   :D  :D
ภาพประจำตัวสมาชิก
wpong
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1336
ผู้ติดตาม: 0

หุ้นพื้นฐาน ในความคิดเห็นของ VI

โพสต์ที่ 54

โพสต์

ผมชอบความคิดของคุณสุมาอี้ด้านล่างนี้ครับ
Evaluating a Business โดย คุณสุมาอี้
เวลาพูดว่า บริษัทหนึ่งมี "ปัจจัยพื้นฐาน" ดีหรือไม่ดีนั้น เราดูจากอะไร?

ก่อนอื่นต้องขอเน้นว่า คนที่คิดจะลงทุนโดยวิธีดูปัจจัยพื้นฐานนั้น จะต้องเป็นคนที่มีระยะหวังผลตอบแทนที่ยาวๆ (เป็นปีๆ) เท่านั้น เหตุเพราะ ปัจจัยพื้นฐานของบริษัทมักเป็นคุณสมบัติที่ติดตัวบริษัทอยู่เป็นเวลานาน ไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงง่าย ดังนั้น มันจึงแทบไม่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นในระยะสั้นเลย (หรือแม้แต่ผลกำไรในระยะสั้นก็ตาม) ถ้าเราวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานของหุ้นตัวหนึ่งว่าดีแล้วเข้าซื้อจากนั้นราคาหุ้นก็ปรับตัวขึ้นได้เลย ส่วนใหญ่แล้วมาจากความบังเอิญแท้ๆ เพราะปัจจัยพื้นฐานที่ดีมักเป็นเรื่องที่เป็นมาก่อนหน้าที่เราจะพิจารณาแล้ว บริษัทไม่รู้หรอกว่า เราเข้ามาซื้อตอนไหน มันจึงไม่จำเป็นต้องขึ้น หลังจากที่เราซื้อเลย

ถ้าใครมีระยะหวังผลสั้น (เช่น <1ปี) ควรใช้วิธีการอย่างอื่น เช่น การเก็งข่าวบริษัท หรือการวิเคราะห์ทางเทคนิค จะได้ผลมากกว่า การลงทุนที่มีระยะหวังผลแบบยาวนั้น เราไม่ได้มองหาหุ้นที่ "ซื้อแล้วขึ้นเลย" แต่เรามองหาหุ้นที่ ถ้าสมมติว่า เราซื้อแล้ว"ซวย" มันดันเป็นขาลงพอดี มันจะต้องที่มีโอกาสสูงที่ ถ้าหากเราถือต่อไปอีก มันจะกลับมาสูงกว่าเดิมได้อีก หุ้นลักษณะนี้ต่างหากที่น่าสนใจลงทุนในระยะยาว เมื่อคิดได้อย่างนี้แล้ว เราย่อมคิดได้โดยอัตโนมัติด้วยว่า หุ้นที่เหมาะกับการลงทุนระยะยาวต้องเป็นหุ้นของกิจการที่มีโอกาสเจ๊งต่ำๆ และในเวลาเดียวกัน ก็ต้องมีโอกาสที่กิจการจะเติบโตใหญ่ไปเรื่อยๆ ในระยะยาวๆ ด้วย เพราะกิจการลักษณะนี้ย่อมกลับมาทำกำไรสูงสุดได้อยู่เรื่อยๆ ซึ่งเป็นการเพิ่มโอกาสที่ราคาหุ้นจะกลับมาสูงขึ้นอีกได้ใหม่อยู่เรื่อยๆ คุณสมบัติเช่นนี้ช่วยทำให้ผลตอบแทนของเราไม่จำเป็นต้องพึ่งพาภาวะตลาดในระยะสั้นพวกมันจึงเป็นหุ้นที่ทำให้เราตอบคำถามตัวเองได้ว่าทำไมเราจะต้องยอมถือพวกมันไว้นานๆ แทนที่จะเอาเม็ดเงินไปทำอย่างอื่นด้วย และปัจจัยที่จะใช้บอกว่าหุ้นมีปัจจัยพื้นฐานดีหรือไม่ ก็ควรเป็นปัจจัยที่ช่วยบ่งชี้ถึงคุณสมบัติที่กล่าวมานี้นั่นเอง ผมลองนั่งนึกดูว่า ที่ผ่านมา เวลาผมตัดสินปัจจัยพื้นฐานของหุ้น ผมมักจะดูจาก 8 ประเด็นนี้เป็นปัจจัยหลัก 1.บริษัทขายสินค้าที่ต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงบ่อยหรือไม่? แต่ละอุตสาหกรรมมีวงชีวิตของมันอยู่ อุตสาหกรรมเหล็กมีอายุนับหลายร้อยปี และนานครั้งกว่าที่จะมีความเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญเกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมนี้ เหล็กก็คือเหล็ก มนุษย์ชาติยังต้องบริโภคเหล็กหน้าตาแบบเดิมๆ ไปอีกนาน การเปลี่ยนแปลงมักเป็นแบบทีละนิดเล็ก บริษัทปรับตัวตามได้ง่าย ไม่ใช่แบบหน้ามือเป็นหลังมือ ล้างไพ่ใหม่หมด ในขณะที่ ธุรกิจบันเทิงต้องเผชิญการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เพราะรสนิยมและสื่อสมัยนิยมเปลี่ยนไปตลอดเวลา ในแง่นี้ ธุรกิจเหล็กย่อมเหมาะกับการลงทุนระยะยาวมากกว่าธุรกิจบันเทิง เพราะธุรกิจของบริษัทมีโอกาสที่จะล้มหายตายจากไปได้ยากกว่า ส่วนธุรกิจบันเทิงนั้น ถ้าเราลงทุนในบริษัทที่เป็นเจ้าของรายการโทรทัศน์หรือเกมยอมฮิตในเวลานั้น ย่อมมีโอกาสน้อยที่บริษัทเดิมจะกลับมาประสบความสำเร็จซ้ำอีกครั้งกับรายการใหม่หรือเกมตัวใหม่ บริษัทที่ผลิตรายการฮิตซ้ำแล้วซ้ำอีกอย่างต่อเนื่องไม่ค่อยจะมี จึงมีเหตุผลน้อยที่เราจะถือมันไว้ในระยะยาวๆ เป็นต้น 2.ลักษณะธุรกิจของบริษัทเป็นแบบ Project-based หรือไม่? ธุรกิจ Project-based เช่น รับเหมาทำระบบ ประมูลงานเป็นจ๊อบๆ เป็นธุรกิจที่มีความแน่นอนของรายได้ค่อนข้างต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าโปรเจ็คมีอายุงานสั้น การได้โปรเจ็คในแต่ละปี ไม่ได้การันตีว่า ปีหน้าจะได้เหมือนเดิม จึงหวังได้น้อยถ้าหากจะถือไว้ในระยะยาวเพื่อให้รายได้เพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ ต่างกับธุรกิจแบบน้ำซึมบ่อทราย เช่น ขายยาสีฟัน เมื่อใดที่ลูกค้าชอบยี่ห้อของบริษัทแล้ว มีโอกาสสูงที่ลูกค้าจะกลับมาซื้ออีกเป็นประจำ ทำให้รายได้ของบริษัทมีความมั่นคง อย่างไรก็ตาม ถ้าหากรายได้ของลูกค้าแต่ละรายคิดเป็นสัดส่วนน้อยมากเมื่อเทียบกับรายได้รวม ธุรกิจ Project-based ก็ไม่ถือว่าน่ากลัว เพราะกฏของความมากช่วยทำให้รายได้รวมของบริษัทมีความแน่นอนได้ ตัวอย่างเช่น ธุรกิจพัฒนาโครงการบ้าน แต่ละโครงการอาจมีลักษณะเป็น Project แต่ถ้าหากแต่ละปีบริษัททำ 40-50 โครงการทุกปี รายได้ของบริษัทก็มีความแน่นอนในระดับหนึ่ง พึ่งระวังพวกธุรกิจ OEM ที่มีรายได้จากลูกค้ารายใหญ่ที่สุด 10 อันดับแรกคิดเป็นสัดส่วนเกินร้อยละ 50 ของรายได้รวม 3. สินค้าของบริษัทน่าจะมีความต้องการของตลาดสูงขึ้นในอนาคตเร็วกว่าการเติบโตของเศรษฐกิจโดยรวมหรือไม่? ประเด็นนี้มักพิจารณาได้จากเทรนด์หรือไลฟ์สไตล์ของสังคมที่เปลี่ยนไป อาหารแช่แข็งน่าจะเติบโตได้ดีถ้าสังคมมีลักษณะเป็นครอบครัวเดี่ยวและต้องใช้ชีวิตแบบเร่งรีบมากขึ้น ผู้คนในอนาคตน่าจะฟังวิทยุน้อยลง ในขณะที่ใช้อินเตอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือกันมากขึ้น ซื้อหนังสือพิมพ์เป็นเล่มๆ น้อยลง ซื้อรถยนต์คันเล็กลง ใช้ไฟฟ้าในสัดส่วนที่มากขึ้นเมื่อเทียบกับน้ำมัน ฯลฯ 4. บริษัทกำลังทำให้รายได้เติบโตได้ด้วยวิธีการใด และอะไรคือเพดานการเติบโตของบริษัท? การเพิ่มรายได้นั้นมีหลายวิธี เช่น เพิ่มปริมาณการบริโภคของลูกค้าต่อราย เพิ่มจำนวนราย เพิ่มรายการสินค้า เพิ่มเขตการค้า เพิ่มสายธุรกิจ ซื้อกิจการ ฯลฯ วิธีแรกๆ นั้นจะมีความเสี่ยงต่ำแต่สร้างการเติบโตได้จำกัด ในขณะที่วิธีหลังๆ จะเติบโตได้เป็นกอบเป็นกำมากกว่า แต่ความเสี่ยงก็สูงกว่าด้วย ลองพิจารณาดูว่า บริษัทกำลังเติบโตด้วยวิธีใด และยังมีวิธีอื่นที่บริษัทยังไม่ได้เริ่มใช้หรือไม่ ถ้ายังมีอีกเยอะ บริษัทก็ยังมี Upside ทางธุรกิจอีกมาก เหมาะกับการลงทุนกับบริษัทในระยะยาว ทุกธุรกิจจะมีบางสิ่งบางอย่างทำให้เกิด "เพดาน" การเติบโตของรายได้เสมอ ทั้งในระยะสั้นและในระยะยาว การมองให้ออกว่าเพดานรายได้ของธุรกิจนั้นคืออะไรจะช่วยทำให้เราประเมินขนาดของ Upside ของธุรกิจนั้นได้ดีขึ้น ตัวอย่างเช่น เพดานของธุรกิจโรงแรมในระยะสั้นคือจำนวนห้องพักทั้งหมด ธุรกิจโรงแรมไม่สามารถโตไปได้อีกเมื่อไรก็ตามที่ห้องพักเต็มแล้ว อย่างมากก็คือการขึ้นค่าห้องพักซึ่งทำได้ค่อนข้างจำกัด ธุรกิจโรงแรมจึงเป็นธุรกิจที่มีเพดานการเติบโตในระยะสั้นที่จำกัดมาก ในระยะยาว ถ้าทำเลของโรงแรมดีขึ้นมาก โรงแรมอาจก่อสร้างตึกเพิ่มเติม ทำให้โตต่อไปได้อีก แต่ก็จะไปติดเพดานที่จำนวนห้องอีกเหมือนเดิมอีก ที่ดินโรงแรมมักจำกัด ขยายได้แค่ระดับหนึ่งเท่านั้น ถ้าจะทำให้โรงแรมโตได้เรื่อยๆ ในระยะยาว บริษัทจะต้องมีนโยบายเปิดสาขาเท่านั้น Upside ของโรงแรมที่มีการเปิดสาขา กับไม่มี จึงไม่เท่ากัน ธุรกิจการผลิตส่วนมากมี กำลังการผลิต เป็นเพดานรายได้ในระยะสั้น ถ้าเราลงทุนในบริษัทที่ใช้กำลังการผลิตเต็มอยู่ Upside ในระยะสั้นก็แทบจะไม่มีเหลือแล้ว การขยายกำลังการผลิตจะต้องลงทุนเพิ่ม ทำให้ต้องนำประเด็นเรื่องการเพิ่มทุนมาพิจารณาร่วมด้วยเสมอ 5.ธุรกิจของบริษัทมีอะไรบ้างที่แตกต่างและเป็นข้อได้เปรียบ? การที่บริษัทจะได้กำไรมากกว่าคู่แข่งในอุตสาหกรรมเดียวกันนั้น บริษัทจะต้องเป็นเจ้าของบางสิ่งบางอย่างที่แตกต่างและสิ่งนั้นสามารถใช้เป็นข้อได้เปรียบในธุรกิจนั้นๆ ได้ด้วย ถ้าเรานึกไม่ออกเลย ก็เป็นลางบอกเหตุว่า บริษัทนั้นมีคุณค่าต่ำ ยังไม่ต้องเปิดงบการเงินดูเลยก็ได้ ของแตกต่างที่ว่านี้จะเป็นสินทรัพย์ที่มีตัวตนหรือไม่มีตัวตนก็ได้ ลองนึกออกมาให้หมด ยิ่งมีมากเท่าไรยิ่งเป็นสัญญาณดี ตัวอย่างเช่น บริษัทเป็นเจ้าของเทคโนโลยีหรือ know-how ที่คู่แข่งไม่มี บริษัทมีตราสินค้าที่เหนือกว่า บริษัทมีฐานลูกค้ามากกว่าอย่างมีนัยสำคัญทำให้มีข้อได้เปรียบเรื่อง Scale การผลิต สำหรับบ้านเรา การที่บริษัทมีเส้นสายหรือคอนเนกชั่นที่ดี ก็เป็นข้อแตกต่างที่สำคัญมากอย่างหนึ่งด้วย พึ่งระวังพวกธุรกิจที่มีแค่เครื่องจักรเอามาตั้งแล้วเดินเครื่องเฉยๆโดยที่เป็นเครื่องจักรที่ใครมีเงินก็ซื้อมาตั้งได้ทั้งนั้น ธุรกิจอย่างนี้ยากมากที่จะทำกำไรได้จริง ลองเช็คดูข้อได้เปรียบแต่ละอย่างว่า ถ้าคู่แข่งจะเลียนแบบบ้าง มันจะยากแค่ไหน ถ้าทำได้ง่ายมาก แสดงว่าข้อได้เปรียบนั้นไม่ดีจริง แต่ถ้าต้องเข็นครกขึ้นภูเขา แสดงว่าข้อได้เปรียบนั้นแข็งแกร่ง ดูด้วยว่า Key Success Factor หรือ Key Value Driver ของธุรกิจนั้นคืออะไร แล้วข้อได้เปรียบที่บริษัทมีอยู่นั้นเกี่ยวข้องกับ Key เหล่านี้มากน้อยแค่ไหน 6.อุตสาหกรรมของบริษัทเป็นอุตสาหกรรมที่รายใหม่กระโดดเข้าไปได้ง่ายแค่ไหน พูดง่ายๆ ก็คือ มี Barrier to Entry ขนาดไหน ธุรกิจควบคุม ธุรกิจสัมปทาน ที่ขอใบอนุญาตใหม่ได้ยาก ย่อมดีกว่าธุรกิจเสรีทั่วไป ลองดูจำนวนบริษัทที่อยู่ในตลาดปัจจุบันว่ามีมากน้อยแค่ไหน ถ้ามีมากเป็นกองทัพมดเลย ก็น่าเป็นห่วง ถ้ามีแค่ 2-3 เจ้า ทั้งปีทั้งชาติก็มีอยู่แค่นี้แสดงว่าต้องมีอะไรบางอย่างกันไม่ให้เจ้าใหม่เข้ามาได้ง่ายๆ แบบนี้ดี หรือลองสังเกตว่าคู่แข่งทุกรายกำไรหมด แสดงว่าอุตสาหกรรมนี้ดี เข้ามาได้ก็กำไรแล้ว แต่ถ้าบางรายกำไร บางรายขาดทุน แสดงว่าอุตสาหกรรมนี้ไม่ค่อยดี คนที่จะได้กำไรต้องมีข้อได้เปรียบคู่แข่งเท่านั้น ลองสังเกตด้วยว่า ลูกค้าของธุรกิจนั้นเป็นอย่างไร ถ้าลูกค้าเป็นรายเล็กๆ จำนวนมากๆ บริษัทย่อมมีอำนาจต่อรองกับลูกค้าสูง เป็นสัญญาณดีอีกเช่นกัน 7.ฐานะทางการเงินของบริษัทเป็นอย่างไร? อันนี้พิจารณาได้จากงบดุลเป็นหลัก ดูว่า ROA เฉลี่ยในรอบหลายๆ ปีสูงหรือต่ำ สัดส่วนหนี้สินต่อทุนสูงหรือไม่เมื่อเทียบกับคู่แข่งที่ทำธุรกิจเดียวกัน การมีหนี้ไม่ใช่เรื่องเสียหาย เพราะช่วยประหยัดภาษีได้ ต้องมีหนี้มากผิดปกติเท่านั้นที่เป็นสัญญาณอันตราย ที่จริงแล้ว เราอยากลงทุนกับบริษัทที่โตพอสมควรโดยไม่ต้องอาศัยหนี้มากๆ เพราะจะเติบโตได้อย่างยั่งยืนมากกว่าพวกที่โตได้เยอะๆ ในระยะสั้น แต่แบกหนี้สูงไว้ตลอดเวลา พร้อมจะประสบปัญหาสภาพคล่องถ้าเศรษฐกิจสะดุด นักธุรกิจที่ทำธุรกิจแบบรอบคอบนั้นจะเหลือ Lending Capacity เอาไว้ส่วนหนึ่งเสมอ เพื่อเวลาโอกาสในการลงทุนใหม่มาถึง บริษัทจะสามารถขยับตัวขอกู้เงินมาลงทุนเพิ่มได้ทันที บริษัทที่ขอกู้จนสุดขีดตลอดเวลา บ่งบอกถึงอุปนิสัยของผู้บริหาร และมีความเสี่ยงสูงที่จะประกาศเพิ่มทุนในอนาคตอันใกล้ 8.บุคลิกขององค์กรเป็นอย่างไร ทุกองค์กรจะมีบุคลิกประจำตัว ถ้าหากเราสัมผัสกับองค์กรนานพอ เราจะรู้ ถ้าเป็นองค์กรเล็ก บุคลิกจะขึ้นอยู่กับผู้บริหารค่อนข้างมาก ส่วนถ้าเป็นองค์กรใหญ่ บุคลิกจะขึ้นอยู่กับ Corporate Culture ลองพิจารณาดูว่าบริษัทมีบุคลิกแบบ entrepreneurial หรือ bureaucrat มากกว่ากัน บริษัทที่จะเติบโตได้ดีควรมีวัฒนธรรมเป็นแบบแรกมากกว่า บริษัทยังแสวงหาการเติบโตอยู่เรื่อยๆ หรือว่าอยู่ในโหมดประคองตัว จ่ายเงินเดือน จ่ายปันผล ไปเรื่อยๆ ก็พอ แต่ละปีบริษัทมีอะไรใหม่ออกมาให้เห็นบ้าง หรือว่าไม่มีเลย โปรเจ็คเพิ่มรายได้ของปีนี้คืออะไร บริษัทตั้งเป้าหมายไว้ว่าอะไร ที่สำคัญลอง track อดีตว่า บริษัทเคยตั้งเป้าหมายไว้แล้วสามารถทำได้ใกล้เคียงบ่อยแค่ไหน การตรวจสอบผลงานในอดีตเป็นวิธีที่ดีกว่าการใช้ความรู้สึกตัดสินผู้บริหาร หรือฟังข่าวลือต่างๆ ที่สำคัญ ขนาดของหุ้นไม่ได้บ่งบอกวัฒนธรรมหรือโอกาสในการเติบโต 8 ประเด็นนี้ แม้จะไม่ได้ลงลึกมากนัก ก็ถือว่าเพียงพอแล้ว สำหรับการลงทุนแบบที่มีการกระจายความเสี่ยงร่วมด้วย ไม่จำเป็นที่จะต้องหาหุ้นที่ได้ A+ ในประเด็นเหล่านี้ทุกประเด็น เพราะเป็นไปไม่ได้ ถ้าเราลงทุนในบริษัทที่ได้ B+ ในประเด็นเหล่านี้สัก 4-6 บริษัท กลับจะดีกว่า bet กับบริษัท A+ แค่เพียงแค่ 1-2 บริษัท เพราะยังไงเราก็ต้องเผื่อความผิดพลาดในการมองของตัวเราเองด้วยเสมอ จึงควรอาศัยภาพรวมของพอร์ตมากกว่าการพึ่งพาหุ้นเด็ดตัวใดตัวหนึ่งแค่ตัวเดียว ที่สำคัญ ไม่ใช่วิเคราะห์แล้วซื้อทันที แต่ควรคัดหุ้นที่เข้าตาเก็บไว้ใน Watch List ของเราไว้ แล้วรอซื้อเมื่อมันมีราคาที่ไม่แพงจนเกินไป ถ้าทำได้อย่างนี้ เราก็จะสามารถสร้างพอร์ตลงทุนระยะยาวที่มีคุณภาพให้กับตัวเองได้แล้วล่ะครับ from http://portal.settrade.com/blog/1001ii/2010/03/26/816
ภาพประจำตัวสมาชิก
Yaileela
Verified User
โพสต์: 373
ผู้ติดตาม: 0

หุ้นพื้นฐาน ในความคิดเห็นของ VI

โพสต์ที่ 55

โพสต์

Friday, 26 March 2010
0136: Evaluating a Business
&laquo; 0135: Dickson G. Watts | Main | 0137: Notes on Valuations &raquo;
เวลาพูดว่า บริษัทหนึ่งมี "ปัจจัยพื้นฐาน" ดีหรือไม่ดีนั้น เราดูจากอะไร?

ก่อนอื่นต้องขอเน้นว่า คนที่คิดจะลงทุนโดยวิธีดูปัจจัยพื้นฐานนั้น จะต้องเป็นคนที่มีระยะหวังผลตอบแทนที่ยาวๆ (เป็นปีๆ) เท่านั้น เหตุเพราะ ปัจจัยพื้นฐานของบริษัทมักเป็นคุณสมบัติที่ติดตัวบริษัทอยู่เป็นเวลานาน ไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงง่าย ดังนั้น มันจึงแทบไม่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นในระยะสั้นเลย (หรือแม้แต่ผลกำไรในระยะสั้นก็ตาม) ถ้าเราวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานของหุ้นตัวหนึ่งว่าดีแล้วเข้าซื้อจากนั้นราคาหุ้นก็ปรับตัวขึ้นได้เลย ส่วนใหญ่แล้วมาจากความบังเอิญแท้ๆ เพราะปัจจัยพื้นฐานที่ดีมักเป็นเรื่องที่เป็นมาก่อนหน้าที่เราจะพิจารณาแล้ว บริษัทไม่รู้หรอกว่า เราเข้ามาซื้อตอนไหน มันจึงไม่จำเป็นต้องขึ้น หลังจากที่เราซื้อเลย

ถ้าใครมีระยะหวังผลสั้น (เช่น <1ปี) ควรใช้วิธีการอย่างอื่น เช่น การเก็งข่าวบริษัท หรือการวิเคราะห์ทางเทคนิค จะได้ผลมากกว่า

การลงทุนที่มีระยะหวังผลแบบยาวนั้น เราไม่ได้มองหาหุ้นที่ "ซื้อแล้วขึ้นเลย" แต่เรามองหาหุ้นที่ ถ้าสมมติว่า เราซื้อแล้ว"ซวย" มันดันเป็นขาลงพอดี มันจะต้องที่มีโอกาสสูงที่ ถ้าหากเราถือต่อไปอีก มันจะกลับมาสูงกว่าเดิมได้อีก หุ้นลักษณะนี้ต่างหากที่น่าสนใจลงทุนในระยะยาว  

เมื่อคิดได้อย่างนี้แล้ว เราย่อมคิดได้โดยอัตโนมัติด้วยว่า หุ้นที่เหมาะกับการลงทุนระยะยาวต้องเป็นหุ้นของกิจการที่มีโอกาสเจ๊งต่ำๆ และในเวลาเดียวกัน ก็ต้องมีโอกาสที่กิจการจะเติบโตใหญ่ไปเรื่อยๆ ในระยะยาวๆ ด้วย เพราะกิจการลักษณะนี้ย่อมกลับมาทำกำไรสูงสุดได้อยู่เรื่อยๆ ซึ่งเป็นการเพิ่มโอกาสที่ราคาหุ้นจะกลับมาสูงขึ้นอีกได้ใหม่อยู่เรื่อยๆ คุณสมบัติเช่นนี้ช่วยทำให้ผลตอบแทนของเราไม่จำเป็นต้องพึ่งพาภาวะตลาดในระยะสั้นพวกมันจึงเป็นหุ้นที่ทำให้เราตอบคำถามตัวเองได้ว่าทำไมเราจะต้องยอมถือพวกมันไว้นานๆ แทนที่จะเอาเม็ดเงินไปทำอย่างอื่นด้วย

และปัจจัยที่จะใช้บอกว่าหุ้นมีปัจจัยพื้นฐานดีหรือไม่ ก็ควรเป็นปัจจัยที่ช่วยบ่งชี้ถึงคุณสมบัติที่กล่าวมานี้นั่นเอง ผมลองนั่งนึกดูว่า ที่ผ่านมา เวลาผมตัดสินปัจจัยพื้นฐานของหุ้น ผมมักจะดูจาก 8 ประเด็นนี้เป็นปัจจัยหลัก

1.บริษัทขายสินค้าที่ต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงบ่อยหรือไม่?

แต่ละอุตสาหกรรมมีวงชีวิตของมันอยู่ อุตสาหกรรมเหล็กมีอายุนับหลายร้อยปี และนานครั้งกว่าที่จะมีความเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญเกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมนี้ เหล็กก็คือเหล็ก มนุษย์ชาติยังต้องบริโภคเหล็กหน้าตาแบบเดิมๆ ไปอีกนาน การเปลี่ยนแปลงมักเป็นแบบทีละนิดเล็ก บริษัทปรับตัวตามได้ง่าย ไม่ใช่แบบหน้ามือเป็นหลังมือ ล้างไพ่ใหม่หมด

ในขณะที่ ธุรกิจบันเทิงต้องเผชิญการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เพราะรสนิยมและสื่อสมัยนิยมเปลี่ยนไปตลอดเวลา ในแง่นี้ ธุรกิจเหล็กย่อมเหมาะกับการลงทุนระยะยาวมากกว่าธุรกิจบันเทิง เพราะธุรกิจของบริษัทมีโอกาสที่จะล้มหายตายจากไปได้ยากกว่า ส่วนธุรกิจบันเทิงนั้น ถ้าเราลงทุนในบริษัทที่เป็นเจ้าของรายการโทรทัศน์หรือเกมยอมฮิตในเวลานั้น ย่อมมีโอกาสน้อยที่บริษัทเดิมจะกลับมาประสบความสำเร็จซ้ำอีกครั้งกับรายการใหม่หรือเกมตัวใหม่ บริษัทที่ผลิตรายการฮิตซ้ำแล้วซ้ำอีกอย่างต่อเนื่องไม่ค่อยจะมี จึงมีเหตุผลน้อยที่เราจะถือมันไว้ในระยะยาวๆ เป็นต้น  

2.ลักษณะธุรกิจของบริษัทเป็นแบบ Project-based หรือไม่?

ธุรกิจ Project-based เช่น รับเหมาทำระบบ ประมูลงานเป็นจ๊อบๆ เป็นธุรกิจที่มีความแน่นอนของรายได้ค่อนข้างต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าโปรเจ็คมีอายุงานสั้น การได้โปรเจ็คในแต่ละปี ไม่ได้การันตีว่า ปีหน้าจะได้เหมือนเดิม จึงหวังได้น้อยถ้าหากจะถือไว้ในระยะยาวเพื่อให้รายได้เพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ ต่างกับธุรกิจแบบน้ำซึมบ่อทราย เช่น ขายยาสีฟัน เมื่อใดที่ลูกค้าชอบยี่ห้อของบริษัทแล้ว มีโอกาสสูงที่ลูกค้าจะกลับมาซื้ออีกเป็นประจำ ทำให้รายได้ของบริษัทมีความมั่นคง

อย่างไรก็ตาม ถ้าหากรายได้ของลูกค้าแต่ละรายคิดเป็นสัดส่วนน้อยมากเมื่อเทียบกับรายได้รวม ธุรกิจ Project-based ก็ไม่ถือว่าน่ากลัว เพราะกฏของความมากช่วยทำให้รายได้รวมของบริษัทมีความแน่นอนได้ ตัวอย่างเช่น ธุรกิจพัฒนาโครงการบ้าน แต่ละโครงการอาจมีลักษณะเป็น Project แต่ถ้าหากแต่ละปีบริษัททำ 40-50 โครงการทุกปี รายได้ของบริษัทก็มีความแน่นอนในระดับหนึ่ง พึ่งระวังพวกธุรกิจ OEM ที่มีรายได้จากลูกค้ารายใหญ่ที่สุด 10 อันดับแรกคิดเป็นสัดส่วนเกินร้อยละ 50 ของรายได้รวม

3. สินค้าของบริษัทน่าจะมีความต้องการของตลาดสูงขึ้นในอนาคตเร็วกว่าการเติบโตของเศรษฐกิจโดยรวมหรือไม่?

ประเด็นนี้มักพิจารณาได้จากเทรนด์หรือไลฟ์สไตล์ของสังคมที่เปลี่ยนไป อาหารแช่แข็งน่าจะเติบโตได้ดีถ้าสังคมมีลักษณะเป็นครอบครัวเดี่ยวและต้องใช้ชีวิตแบบเร่งรีบมากขึ้น ผู้คนในอนาคตน่าจะฟังวิทยุน้อยลง ในขณะที่ใช้อินเตอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือกันมากขึ้น ซื้อหนังสือพิมพ์เป็นเล่มๆ น้อยลง ซื้อรถยนต์คันเล็กลง ใช้ไฟฟ้าในสัดส่วนที่มากขึ้นเมื่อเทียบกับน้ำมัน ฯลฯ

4. บริษัทกำลังทำให้รายได้เติบโตได้ด้วยวิธีการใด และอะไรคือเพดานการเติบโตของบริษัท?

การเพิ่มรายได้นั้นมีหลายวิธี เช่น เพิ่มปริมาณการบริโภคของลูกค้าต่อราย เพิ่มจำนวนราย เพิ่มรายการสินค้า เพิ่มเขตการค้า เพิ่มสายธุรกิจ ซื้อกิจการ ฯลฯ วิธีแรกๆ นั้นจะมีความเสี่ยงต่ำแต่สร้างการเติบโตได้จำกัด ในขณะที่วิธีหลังๆ จะเติบโตได้เป็นกอบเป็นกำมากกว่า แต่ความเสี่ยงก็สูงกว่าด้วย ลองพิจารณาดูว่า บริษัทกำลังเติบโตด้วยวิธีใด และยังมีวิธีอื่นที่บริษัทยังไม่ได้เริ่มใช้หรือไม่ ถ้ายังมีอีกเยอะ บริษัทก็ยังมี Upside ทางธุรกิจอีกมาก เหมาะกับการลงทุนกับบริษัทในระยะยาว

ทุกธุรกิจจะมีบางสิ่งบางอย่างทำให้เกิด "เพดาน" การเติบโตของรายได้เสมอ ทั้งในระยะสั้นและในระยะยาว การมองให้ออกว่าเพดานรายได้ของธุรกิจนั้นคืออะไรจะช่วยทำให้เราประเมินขนาดของ Upside ของธุรกิจนั้นได้ดีขึ้น

ตัวอย่างเช่น เพดานของธุรกิจโรงแรมในระยะสั้นคือจำนวนห้องพักทั้งหมด ธุรกิจโรงแรมไม่สามารถโตไปได้อีกเมื่อไรก็ตามที่ห้องพักเต็มแล้ว อย่างมากก็คือการขึ้นค่าห้องพักซึ่งทำได้ค่อนข้างจำกัด ธุรกิจโรงแรมจึงเป็นธุรกิจที่มีเพดานการเติบโตในระยะสั้นที่จำกัดมาก ในระยะยาว ถ้าทำเลของโรงแรมดีขึ้นมาก โรงแรมอาจก่อสร้างตึกเพิ่มเติม ทำให้โตต่อไปได้อีก แต่ก็จะไปติดเพดานที่จำนวนห้องอีกเหมือนเดิมอีก ที่ดินโรงแรมมักจำกัด ขยายได้แค่ระดับหนึ่งเท่านั้น ถ้าจะทำให้โรงแรมโตได้เรื่อยๆ ในระยะยาว บริษัทจะต้องมีนโยบายเปิดสาขาเท่านั้น Upside ของโรงแรมที่มีการเปิดสาขา กับไม่มี จึงไม่เท่ากัน

ธุรกิจการผลิตส่วนมากมี กำลังการผลิต เป็นเพดานรายได้ในระยะสั้น ถ้าเราลงทุนในบริษัทที่ใช้กำลังการผลิตเต็มอยู่ Upside ในระยะสั้นก็แทบจะไม่มีเหลือแล้ว การขยายกำลังการผลิตจะต้องลงทุนเพิ่ม ทำให้ต้องนำประเด็นเรื่องการเพิ่มทุนมาพิจารณาร่วมด้วยเสมอ

5.ธุรกิจของบริษัทมีอะไรบ้างที่แตกต่างและเป็นข้อได้เปรียบ?

การที่บริษัทจะได้กำไรมากกว่าคู่แข่งในอุตสาหกรรมเดียวกันนั้น บริษัทจะต้องเป็นเจ้าของบางสิ่งบางอย่างที่แตกต่างและสิ่งนั้นสามารถใช้เป็นข้อได้เปรียบในธุรกิจนั้นๆ ได้ด้วย ถ้าเรานึกไม่ออกเลย ก็เป็นลางบอกเหตุว่า บริษัทนั้นมีคุณค่าต่ำ ยังไม่ต้องเปิดงบการเงินดูเลยก็ได้ ของแตกต่างที่ว่านี้จะเป็นสินทรัพย์ที่มีตัวตนหรือไม่มีตัวตนก็ได้ ลองนึกออกมาให้หมด ยิ่งมีมากเท่าไรยิ่งเป็นสัญญาณดี

ตัวอย่างเช่น บริษัทเป็นเจ้าของเทคโนโลยีหรือ know-how ที่คู่แข่งไม่มี บริษัทมีตราสินค้าที่เหนือกว่า บริษัทมีฐานลูกค้ามากกว่าอย่างมีนัยสำคัญทำให้มีข้อได้เปรียบเรื่อง Scale การผลิต สำหรับบ้านเรา การที่บริษัทมีเส้นสายหรือคอนเนกชั่นที่ดี ก็เป็นข้อแตกต่างที่สำคัญมากอย่างหนึ่งด้วย พึ่งระวังพวกธุรกิจที่มีแค่เครื่องจักรเอามาตั้งแล้วเดินเครื่องเฉยๆโดยที่เป็นเครื่องจักรที่ใครมีเงินก็ซื้อมาตั้งได้ทั้งนั้น ธุรกิจอย่างนี้ยากมากที่จะทำกำไรได้จริง

ลองเช็คดูข้อได้เปรียบแต่ละอย่างว่า ถ้าคู่แข่งจะเลียนแบบบ้าง มันจะยากแค่ไหน ถ้าทำได้ง่ายมาก แสดงว่าข้อได้เปรียบนั้นไม่ดีจริง แต่ถ้าต้องเข็นครกขึ้นภูเขา แสดงว่าข้อได้เปรียบนั้นแข็งแกร่ง ดูด้วยว่า Key Success Factor หรือ Key Value Driver ของธุรกิจนั้นคืออะไร แล้วข้อได้เปรียบที่บริษัทมีอยู่นั้นเกี่ยวข้องกับ Key เหล่านี้มากน้อยแค่ไหน

6.อุตสาหกรรมของบริษัทเป็นอุตสาหกรรมที่รายใหม่กระโดดเข้าไปได้ง่ายแค่ไหน

พูดง่ายๆ ก็คือ มี Barrier to Entry ขนาดไหน ธุรกิจควบคุม ธุรกิจสัมปทาน ที่ขอใบอนุญาตใหม่ได้ยาก ย่อมดีกว่าธุรกิจเสรีทั่วไป ลองดูจำนวนบริษัทที่อยู่ในตลาดปัจจุบันว่ามีมากน้อยแค่ไหน ถ้ามีมากเป็นกองทัพมดเลย ก็น่าเป็นห่วง ถ้ามีแค่ 2-3 เจ้า ทั้งปีทั้งชาติก็มีอยู่แค่นี้แสดงว่าต้องมีอะไรบางอย่างกันไม่ให้เจ้าใหม่เข้ามาได้ง่ายๆ แบบนี้ดี หรือลองสังเกตว่าคู่แข่งทุกรายกำไรหมด แสดงว่าอุตสาหกรรมนี้ดี เข้ามาได้ก็กำไรแล้ว แต่ถ้าบางรายกำไร บางรายขาดทุน แสดงว่าอุตสาหกรรมนี้ไม่ค่อยดี คนที่จะได้กำไรต้องมีข้อได้เปรียบคู่แข่งเท่านั้น ลองสังเกตด้วยว่า ลูกค้าของธุรกิจนั้นเป็นอย่างไร ถ้าลูกค้าเป็นรายเล็กๆ จำนวนมากๆ บริษัทย่อมมีอำนาจต่อรองกับลูกค้าสูง เป็นสัญญาณดีอีกเช่นกัน

7.ฐานะทางการเงินของบริษัทเป็นอย่างไร?

อันนี้พิจารณาได้จากงบดุลเป็นหลัก ดูว่า ROA เฉลี่ยในรอบหลายๆ ปีสูงหรือต่ำ สัดส่วนหนี้สินต่อทุนสูงหรือไม่เมื่อเทียบกับคู่แข่งที่ทำธุรกิจเดียวกัน การมีหนี้ไม่ใช่เรื่องเสียหาย เพราะช่วยประหยัดภาษีได้ ต้องมีหนี้มากผิดปกติเท่านั้นที่เป็นสัญญาณอันตราย ที่จริงแล้ว เราอยากลงทุนกับบริษัทที่โตพอสมควรโดยไม่ต้องอาศัยหนี้มากๆ เพราะจะเติบโตได้อย่างยั่งยืนมากกว่าพวกที่โตได้เยอะๆ ในระยะสั้น แต่แบกหนี้สูงไว้ตลอดเวลา พร้อมจะประสบปัญหาสภาพคล่องถ้าเศรษฐกิจสะดุด  

นักธุรกิจที่ทำธุรกิจแบบรอบคอบนั้นจะเหลือ Lending Capacity เอาไว้ส่วนหนึ่งเสมอ เพื่อเวลาโอกาสในการลงทุนใหม่มาถึง บริษัทจะสามารถขยับตัวขอกู้เงินมาลงทุนเพิ่มได้ทันที บริษัทที่ขอกู้จนสุดขีดตลอดเวลา บ่งบอกถึงอุปนิสัยของผู้บริหาร และมีความเสี่ยงสูงที่จะประกาศเพิ่มทุนในอนาคตอันใกล้

8.บุคลิกขององค์กรเป็นอย่างไร

ทุกองค์กรจะมีบุคลิกประจำตัว ถ้าหากเราสัมผัสกับองค์กรนานพอ เราจะรู้ ถ้าเป็นองค์กรเล็ก บุคลิกจะขึ้นอยู่กับผู้บริหารค่อนข้างมาก ส่วนถ้าเป็นองค์กรใหญ่ บุคลิกจะขึ้นอยู่กับ Corporate Culture

ลองพิจารณาดูว่าบริษัทมีบุคลิกแบบ entrepreneurial หรือ bureaucrat มากกว่ากัน บริษัทที่จะเติบโตได้ดีควรมีวัฒนธรรมเป็นแบบแรกมากกว่า บริษัทยังแสวงหาการเติบโตอยู่เรื่อยๆ หรือว่าอยู่ในโหมดประคองตัว จ่ายเงินเดือน จ่ายปันผล ไปเรื่อยๆ ก็พอ แต่ละปีบริษัทมีอะไรใหม่ออกมาให้เห็นบ้าง หรือว่าไม่มีเลย โปรเจ็คเพิ่มรายได้ของปีนี้คืออะไร บริษัทตั้งเป้าหมายไว้ว่าอะไร ที่สำคัญลอง track อดีตว่า บริษัทเคยตั้งเป้าหมายไว้แล้วสามารถทำได้ใกล้เคียงบ่อยแค่ไหน การตรวจสอบผลงานในอดีตเป็นวิธีที่ดีกว่าการใช้ความรู้สึกตัดสินผู้บริหาร หรือฟังข่าวลือต่างๆ ที่สำคัญ ขนาดของหุ้นไม่ได้บ่งบอกวัฒนธรรมหรือโอกาสในการเติบโต



8 ประเด็นนี้ แม้จะไม่ได้ลงลึกมากนัก ก็ถือว่าเพียงพอแล้ว สำหรับการลงทุนแบบที่มีการกระจายความเสี่ยงร่วมด้วย ไม่จำเป็นที่จะต้องหาหุ้นที่ได้ A+ ในประเด็นเหล่านี้ทุกประเด็น เพราะเป็นไปไม่ได้ ถ้าเราลงทุนในบริษัทที่ได้ B+ ในประเด็นเหล่านี้สัก 4-6 บริษัท กลับจะดีกว่า bet กับบริษัท A+ แค่เพียงแค่ 1-2 บริษัท เพราะยังไงเราก็ต้องเผื่อความผิดพลาดในการมองของตัวเราเองด้วยเสมอ จึงควรอาศัยภาพรวมของพอร์ตมากกว่าการพึ่งพาหุ้นเด็ดตัวใดตัวหนึ่งแค่ตัวเดียว

ที่สำคัญ ไม่ใช่วิเคราะห์แล้วซื้อทันที แต่ควรคัดหุ้นที่เข้าตาเก็บไว้ใน Watch List ของเราไว้ แล้วรอซื้อเมื่อมันมีราคาที่ไม่แพงจนเกินไป ถ้าทำได้อย่างนี้ เราก็จะสามารถสร้างพอร์ตลงทุนระยะยาวที่มีคุณภาพให้กับตัวเองได้แล้วล่ะครับ
songpol
Verified User
โพสต์: 97
ผู้ติดตาม: 0

หุ้นพื้นฐาน ในความคิดเห็นของ VI

โพสต์ที่ 56

โพสต์

ความคิดเห็นสุดยอดทั้งนั้นเลยครับ ขอบคุณครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
champ_st
Verified User
โพสต์: 533
ผู้ติดตาม: 0

หุ้นพื้นฐาน ในความคิดเห็นของ VI

โพสต์ที่ 57

โพสต์

[quote="chatchai"]ลักษณะของบริษัทที่ผมชอบลงทุน

1. มีคูเมืองที่แข็งแกร่ง
"สิ่งที่ถูกต้องก็คือถูกต้อง แม้ไม่มีใครทำสิ่งนั้น สิ่งที่ผิดก็คือผิด แม้ทุกคนจะทำสิ่งนั้น" ศาสตราจารย์สังเวียน อินทรวิชัย
ภาพประจำตัวสมาชิก
manza125
Verified User
โพสต์: 92
ผู้ติดตาม: 0

หุ้นพื้นฐาน ในความคิดเห็นของ VI

โพสต์ที่ 58

โพสต์

กระทู้แห่งประวัติศาสตร์ อีก 5 ปีจะมีค่ายิ่ง  :D

โดยรวมก็คือ

ธุรกิจ
งบการเงิน
และ ผู้บริหาร

ทุกอย่างเติมคำว่า "ดี" เข้าไปคำเดียวมันก็คือพื้นฐานที่ทุกคนเข้าใจได้ง่ายๆ

แต่ต้องมองเข้าไปลึกๆ ว่าคำว่า ดี แท้จริงแล้วมันคืออะไร มีอะไรบ้าง :wink:
------------------------------
การพูด คือ อาหารของนักการเมือง
การวิเคราห์ คือ อาหารของวีไอ