รุ้งกินน้ำ
- por_jai
- Verified User
- โพสต์: 14338
- ผู้ติดตาม: 0
รุ้งกินน้ำ
โพสต์ที่ 2701
Double Dip ใครคิดว่าไม่สำคัญ
Double Dip เบาเบาเท่านั้น
ทำไมฉันสั่นไปทั้งหัวใจ...ฮ่า...
http://blogs.wsj.com/economics/2010/07/ ... -of-china/
Stephen Roach: The Alan Greenspan of China?
Morgan Stanley’s Asia chairman, Stephen Roach, is returning to the U.S. after three years based in Hong Kong to embark on a career in academia starting this fall at Yale University.
Never one to shy away from controversial views, Mr. Roach sat down for the Wall Street Journal’s “Big Interview” series and shared his thoughts on global growth prospects, the China “bubble” myth, and why he wouldn’t have reconfirmed Federal Reserve Chairman Ben Bernanke. Here’s a brief summary of his remarks:
On the likelihood of a “double-dip” in the U.S.:
Roach: I’d give it a higher probability than most, maybe 40% at some point over the next year. We have a weak recovery, weak labor market, weak consumer purchasing power…and a consumer that’s unable to rely on property and credit bubbles to support consumption anymore. So if you have a disappointing consumer and any kind of unexpected shock you could go down again. […] Double-dips are not as infrequent as you might think…Weak recoveries leave you vulnerable to shocks.
On the austerity/stimulus debate:
Roach: I think [Fed policymakers] have done more than enough at this point. [Interest rates] are at levels that actually would insulate the economy in the event of a double-dip…I think they should actually have rates higher than they are right now.
On former Fed Chairman Alan Greenspan:
Roach: I think that one of the problems we had in the aftermath of the bursting of the equity bubble is that Alan Greenspan kept the policy rate too low for too long, set us up for credit and property bubbles that led to an enormous crisis, [and] I think Ben Bernanke is just rerunning the Greenspan movie of seven or eight years ago.
On Chairman Bernanke:
Roach: I would have voted against him, I think he’s a great public servant, from what I hear a very nice and kind man, but his policy approach has always been since he was an academic to condone asset bubbles, argue that central banks do not need to pay attention to asset prices in setting monetary policy, that they had the firepower to clean up a mess after the bubble had burst. Well, look at the mess we’re in right now. That approach really has been rendered obsolete by the great crisis of ’08-’09 and I think needs to be changed.
On whether the Chinese economy is in a “bubble”:
Roach: Chinese authorities have a completely different approach in dealing with maters of asset bubbles, credit bubbles…they are preemptive, the U.S. is reactive. China wants to build firewalls between the asset markets and the real economy so they certain do have, or they did have, I should say, a high-end property bubble…in April they took extremely tough actions to curtail multiple purchases by speculators and they stopped! And they did that before the housing bubble got bigger and ended up distorting the real economy, so they’ve done a good job. […] I think it’s really wrong to view China as an enormous macro property-bubble story.
Are you making the Greenspan argument now about China? Are you China’s Alan Greenspan?
Roach: Oh God, I hope not.
Double Dip เบาเบาเท่านั้น
ทำไมฉันสั่นไปทั้งหัวใจ...ฮ่า...
http://blogs.wsj.com/economics/2010/07/ ... -of-china/
Stephen Roach: The Alan Greenspan of China?
Morgan Stanley’s Asia chairman, Stephen Roach, is returning to the U.S. after three years based in Hong Kong to embark on a career in academia starting this fall at Yale University.
Never one to shy away from controversial views, Mr. Roach sat down for the Wall Street Journal’s “Big Interview” series and shared his thoughts on global growth prospects, the China “bubble” myth, and why he wouldn’t have reconfirmed Federal Reserve Chairman Ben Bernanke. Here’s a brief summary of his remarks:
On the likelihood of a “double-dip” in the U.S.:
Roach: I’d give it a higher probability than most, maybe 40% at some point over the next year. We have a weak recovery, weak labor market, weak consumer purchasing power…and a consumer that’s unable to rely on property and credit bubbles to support consumption anymore. So if you have a disappointing consumer and any kind of unexpected shock you could go down again. […] Double-dips are not as infrequent as you might think…Weak recoveries leave you vulnerable to shocks.
On the austerity/stimulus debate:
Roach: I think [Fed policymakers] have done more than enough at this point. [Interest rates] are at levels that actually would insulate the economy in the event of a double-dip…I think they should actually have rates higher than they are right now.
On former Fed Chairman Alan Greenspan:
Roach: I think that one of the problems we had in the aftermath of the bursting of the equity bubble is that Alan Greenspan kept the policy rate too low for too long, set us up for credit and property bubbles that led to an enormous crisis, [and] I think Ben Bernanke is just rerunning the Greenspan movie of seven or eight years ago.
On Chairman Bernanke:
Roach: I would have voted against him, I think he’s a great public servant, from what I hear a very nice and kind man, but his policy approach has always been since he was an academic to condone asset bubbles, argue that central banks do not need to pay attention to asset prices in setting monetary policy, that they had the firepower to clean up a mess after the bubble had burst. Well, look at the mess we’re in right now. That approach really has been rendered obsolete by the great crisis of ’08-’09 and I think needs to be changed.
On whether the Chinese economy is in a “bubble”:
Roach: Chinese authorities have a completely different approach in dealing with maters of asset bubbles, credit bubbles…they are preemptive, the U.S. is reactive. China wants to build firewalls between the asset markets and the real economy so they certain do have, or they did have, I should say, a high-end property bubble…in April they took extremely tough actions to curtail multiple purchases by speculators and they stopped! And they did that before the housing bubble got bigger and ended up distorting the real economy, so they’ve done a good job. […] I think it’s really wrong to view China as an enormous macro property-bubble story.
Are you making the Greenspan argument now about China? Are you China’s Alan Greenspan?
Roach: Oh God, I hope not.
กรูเก่ง กิเลสเก่งกว่า
-
- Verified User
- โพสต์: 2938
- ผู้ติดตาม: 0
รุ้งกินน้ำ
โพสต์ที่ 2702
เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ ที่คุณถือตั้งแต่ 6.94 ไม่ทราบว่า มีมุมมองยังไงเกี่ยวกับ หุ้นตัวนี้เหรอครับ
มีคนPm มาถาม ตอบไว้ในนี้รกกระทู้หน่อยแล้วกันนะ
จะว่าไป ผมก็ไม่รู้อะไรมากจริงๆ หรือเรียกว่าไม่รู้จริงก็ได้นะ
ตอนซื้อก็แค่มองว่าเป็นหุ้นกลุ่มอุปแดก เอ้ยอุปโภคบริโภค เห็นกำไรเริ่มดีขึ้นและ
ไม่น่าจะมีผลกระทบกับวิกฤติยุโรป ก็เลยซื้อไว้เพราะคิดว่ายังไงติดหุ้นตัวนี้
คงไม่เป็นไรมาก ไม่ได้คิดว่าจะได้กำไรเร็วขนาดนี้
แต่มันได้ก็ดีแล้วหละ ผมก็ชอบนะไม่ใช่ไม่ชอบ 55
คิดง่ายๆแค่นี้แหละครับ อย่าคิดมาก ปวดหัว เซ็กส์เสื่อม อดได้ตังอีกด้วย ไงหละ :lol:
มีคนPm มาถาม ตอบไว้ในนี้รกกระทู้หน่อยแล้วกันนะ
จะว่าไป ผมก็ไม่รู้อะไรมากจริงๆ หรือเรียกว่าไม่รู้จริงก็ได้นะ
ตอนซื้อก็แค่มองว่าเป็นหุ้นกลุ่มอุปแดก เอ้ยอุปโภคบริโภค เห็นกำไรเริ่มดีขึ้นและ
ไม่น่าจะมีผลกระทบกับวิกฤติยุโรป ก็เลยซื้อไว้เพราะคิดว่ายังไงติดหุ้นตัวนี้
คงไม่เป็นไรมาก ไม่ได้คิดว่าจะได้กำไรเร็วขนาดนี้
แต่มันได้ก็ดีแล้วหละ ผมก็ชอบนะไม่ใช่ไม่ชอบ 55
คิดง่ายๆแค่นี้แหละครับ อย่าคิดมาก ปวดหัว เซ็กส์เสื่อม อดได้ตังอีกด้วย ไงหละ :lol:
เฝ้าดูไป โดยใจที่เป็นกลาง
- por_jai
- Verified User
- โพสต์: 14338
- ผู้ติดตาม: 0
รุ้งกินน้ำ
โพสต์ที่ 2706
อย่างนี้ต้องใช้สูตรnanchan เขียน: จะให้แนะนำซ้ำๆ มันคงไม่ดีมั้งครับ เดี่ยวเข้าข่ายปั่นหุ้น อิอิ
ผมว่าฟิล์มยังดีมาก ถือยาวไปได้อีกเป็นปีๆ หรืออยากซื้อเพิ่ม ก็ไม่น่าเกลียด
นอกนั้นไม่ค่อยได้ดูตัวไหนเป็นพิเศษแล้วครับ ขี้เกียจขึ้น 55
invest first investigate laterแล้ว
ขอบคุณครับ
เจ๊งก็จะไม่ว่าอะไร กลัวโดนด่ากลับ
จากสำนวนจะทราบว่าผมตามอ่านกระทู้ป๋านันจริงๆ
กรูเก่ง กิเลสเก่งกว่า
-
- Verified User
- โพสต์: 347
- ผู้ติดตาม: 0
รุ้งกินน้ำ
โพสต์ที่ 2708
เรื่องฟิล์มหรือหุ้นที่เป็น wave เนี่ยผมยังมองไม่ค่อยจะรู้เรื่อง อยากจะได้กำไรเป็นกอบเป็นกำอย่างเขาบ้าง แต่ก็ไม่กล้าเสี่ยงแบบยิงก่อนถามทีหลัง
ตอนนี้ผมรู้สึกว่าสมาชิกเยอะขึ้นนะครับ จะเข้าห้องสุดยอดสองห้องก็ต้อง log in ก่อนทุกครั้ง ไอ้เรามันประเภทแอบอ่านเลยไม่ค่อยจะชิน :lol: แถมบางห้องโดยจำกัดสิทธิให้อ่านอย่างเดียว ไม่แน่ใจว่าเค้าใช้อะไรเป็นตัววัดครับ หรือว่าวัดจากการ post แบบไร้สาระเหมือนผม ก็ห้าม post ในห้องเกร็ดวิชาผมเลยอดถามบรรดาเซียนเลย :lol:
ตอนนี้ผมรู้สึกว่าสมาชิกเยอะขึ้นนะครับ จะเข้าห้องสุดยอดสองห้องก็ต้อง log in ก่อนทุกครั้ง ไอ้เรามันประเภทแอบอ่านเลยไม่ค่อยจะชิน :lol: แถมบางห้องโดยจำกัดสิทธิให้อ่านอย่างเดียว ไม่แน่ใจว่าเค้าใช้อะไรเป็นตัววัดครับ หรือว่าวัดจากการ post แบบไร้สาระเหมือนผม ก็ห้าม post ในห้องเกร็ดวิชาผมเลยอดถามบรรดาเซียนเลย :lol:
- por_jai
- Verified User
- โพสต์: 14338
- ผู้ติดตาม: 0
รุ้งกินน้ำ
โพสต์ที่ 2711
น่าอ่านมากครับ
สามดอกเตอร์ 'สอนลูก' เรื่อง 'เงิน' ส่งต่อ 'ความรวย' (ดร.นิเวศน์, นพ.บำรุง , ดร.สุวรรณ)
http://www.pantip.com/cafe/sinthorn/top ... 88813.html
สามดอกเตอร์ 'สอนลูก' เรื่อง 'เงิน' ส่งต่อ 'ความรวย' (ดร.นิเวศน์, นพ.บำรุง , ดร.สุวรรณ)
http://www.pantip.com/cafe/sinthorn/top ... 88813.html
กรูเก่ง กิเลสเก่งกว่า
- reiter
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2308
- ผู้ติดตาม: 0
รุ้งกินน้ำ
โพสต์ที่ 2713
ขอบคุณคับพี่ป้อม ไม่งั้นผมพลาดกระทู้ดีๆไปซะแล้วpor_jai เขียน: น่าอ่านมากครับ
สามดอกเตอร์ 'สอนลูก' เรื่อง 'เงิน' ส่งต่อ 'ความรวย' (ดร.นิเวศน์, นพ.บำรุง , ดร.สุวรรณ)
http://www.pantip.com/cafe/sinthorn/top ... 88813.html
-
- Verified User
- โพสต์: 18134
- ผู้ติดตาม: 0
รุ้งกินน้ำ
โพสต์ที่ 2715
เมื่อคืนผล Stress Test ธนาคารของภาคพื้น EU ออกมา
ผลคือ ไม่ผ่าน 7 แห่งจากทั้งหมด 91 แห่ง
เป็นของสเปน 5 เยอรมัน 1 กรีซ 1
มันส่ง signal อะไรหรือเปล่าหนอ
-------------------------------------------------------------------------
http://edition.cnn.com/2010/BUSINESS/07 ... e4RIaqsivP
(FT) -- Only seven of 91 European banks failed a long-awaited stress test, regulators announced last night, a result that risks undermining the credibility of an exercise designed to restore the market's confidence in the region's banking sector.
Five of the seven were cajas, Spanish savings banks, sparking nervousness that the pan-European exercise that Spain had called for might backfire.
The Bank of Spain was last night discussing what kind of contingent liquidity measures could be put in place to reassure caja customers and counter any threat of a run on these banks.
Q&A: EU stress test explained
The Committee of European Banking Supervisors said there was a capital shortfall of 3.5bn at the seven banks that failed to reach the pass mark of a 6 percent tier one capital ratio.
The test involved modelling macroeconomic and sovereign debt stresses over 2010 and 2011, applied to end-2009 capital levels.
Germany's Hypo Real Estate and Greece's ATEbank were the only non-Spanish institutions to fail.
Among the near-fails, which analysts say could come under pressure to raise capital soon, were Italy's Monte dei Paschi, on 6.2 per cent, and Germany's Postbank, on 6.6 per cent.
A handful of some of Europe's most-stretched banks announced a combined 1.3bn of capital raisings on Friday, just hours before regulators divulged the results of the test, although two of them -- National Bank of Greece and Slovenia's NLB -- both passed.
The third, Spain's Cívica, a caja that failed the test, secured 450m of convertible bond finance from JC Flowers, the US buy-out firm that has a record of investing in troubled banks.
That marked the first time a caja had sought outside capital, following a liberalisation of the law governing the public sector institutions.
Among the top-rated banks in the tests was Barclays, the UK bank whose baseline tier one ratio of 13 per cent at the end of last year rises under the stress scenario to 13.7 per cent by end-2011.
The two-month-long test exercise has been closely scrutinised by investors, with growing scepticism in the markets that the parameters of the stress scenarios were insufficiently tough.
Germany also upset the pan-European exercise at the last minute by say its banks would be disclosing the full details of sovereign debt holdings -- an adjunct to the stress tests that all banks had been expected to comply with -- only on a voluntary basis.
At least six German banks -- including Deutsche Bank, Postbank, HRE and DZ Bank -- did not publish sovereign holdings on Friday night.
"Arguably the failure here is not the banks concerned but the test itself," said Richard Cranfield, chairman of the global corporate group at Allen & Overy, the law firm.
"There is little evidence that the tests have been applied consistently and there is a distinct lack of credibility, making this a wasted opportunity.
"One assumes those banks that have failed will be rescued or recapitalised. However, the banks that have scraped through may have more of a challenge on their hands and they may be the ones the market focuses on," he said.
But European regulators hailed the results of the tests -- which they said were three times as tough as last year's US tests -- as proof of the strength of the industry.
"The US did its tests before all its banks had recapitalised," said Christian Noyer, governor of the Banque de France.
"European banks have now been through recapitalisations, restructurings, cleaning out of their portfolios. We're arriving after the battle. A few years ago it would have been different."
ผลคือ ไม่ผ่าน 7 แห่งจากทั้งหมด 91 แห่ง
เป็นของสเปน 5 เยอรมัน 1 กรีซ 1
มันส่ง signal อะไรหรือเปล่าหนอ
-------------------------------------------------------------------------
http://edition.cnn.com/2010/BUSINESS/07 ... e4RIaqsivP
(FT) -- Only seven of 91 European banks failed a long-awaited stress test, regulators announced last night, a result that risks undermining the credibility of an exercise designed to restore the market's confidence in the region's banking sector.
Five of the seven were cajas, Spanish savings banks, sparking nervousness that the pan-European exercise that Spain had called for might backfire.
The Bank of Spain was last night discussing what kind of contingent liquidity measures could be put in place to reassure caja customers and counter any threat of a run on these banks.
Q&A: EU stress test explained
The Committee of European Banking Supervisors said there was a capital shortfall of 3.5bn at the seven banks that failed to reach the pass mark of a 6 percent tier one capital ratio.
The test involved modelling macroeconomic and sovereign debt stresses over 2010 and 2011, applied to end-2009 capital levels.
Germany's Hypo Real Estate and Greece's ATEbank were the only non-Spanish institutions to fail.
Among the near-fails, which analysts say could come under pressure to raise capital soon, were Italy's Monte dei Paschi, on 6.2 per cent, and Germany's Postbank, on 6.6 per cent.
A handful of some of Europe's most-stretched banks announced a combined 1.3bn of capital raisings on Friday, just hours before regulators divulged the results of the test, although two of them -- National Bank of Greece and Slovenia's NLB -- both passed.
The third, Spain's Cívica, a caja that failed the test, secured 450m of convertible bond finance from JC Flowers, the US buy-out firm that has a record of investing in troubled banks.
That marked the first time a caja had sought outside capital, following a liberalisation of the law governing the public sector institutions.
Among the top-rated banks in the tests was Barclays, the UK bank whose baseline tier one ratio of 13 per cent at the end of last year rises under the stress scenario to 13.7 per cent by end-2011.
The two-month-long test exercise has been closely scrutinised by investors, with growing scepticism in the markets that the parameters of the stress scenarios were insufficiently tough.
Germany also upset the pan-European exercise at the last minute by say its banks would be disclosing the full details of sovereign debt holdings -- an adjunct to the stress tests that all banks had been expected to comply with -- only on a voluntary basis.
At least six German banks -- including Deutsche Bank, Postbank, HRE and DZ Bank -- did not publish sovereign holdings on Friday night.
"Arguably the failure here is not the banks concerned but the test itself," said Richard Cranfield, chairman of the global corporate group at Allen & Overy, the law firm.
"There is little evidence that the tests have been applied consistently and there is a distinct lack of credibility, making this a wasted opportunity.
"One assumes those banks that have failed will be rescued or recapitalised. However, the banks that have scraped through may have more of a challenge on their hands and they may be the ones the market focuses on," he said.
But European regulators hailed the results of the tests -- which they said were three times as tough as last year's US tests -- as proof of the strength of the industry.
"The US did its tests before all its banks had recapitalised," said Christian Noyer, governor of the Banque de France.
"European banks have now been through recapitalisations, restructurings, cleaning out of their portfolios. We're arriving after the battle. A few years ago it would have been different."
- por_jai
- Verified User
- โพสต์: 14338
- ผู้ติดตาม: 0
รุ้งกินน้ำ
โพสต์ที่ 2716
http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... B8%A2.html
อิจฉาอินโดนีเซีย-ไพบูลย์ นลินทรางกูร
ผมเฝ้าดูสถานการณ์ ทางการเมืองของบ้านเราแล้ว ทำให้อดคิดถึงประเทศที่อยู่ใกล้กับเราอย่าง อินโดนีเซีย ไม่ได้
ไม่ ใช่เพราะประเทศเขาก็ กำลังมีการชุมนุมประท้วงขับไล่รัฐบาลกันอยู่ หรือมีการแบ่งประชาชนออกเป็นฝ่ายเหลือง ฝ่ายแดง ฝ่ายชมพู อย่างที่เรากำลังประสบอยู่ แต่เป็นเพราะ อินโดนีเซีย ซึ่งก็เคยมีเหตุการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองสารพัดรูปแบบเมื่อหลายปีก่อน และในบางครั้งดูจะรุนแรงไปกว่าที่เรากำลังเผชิญอยู่เสียด้วยซ้ำ
แต่ มาในระยะหลังนี้ สถานการณ์ทางการเมืองของอินโดนีเซียดีขึ้น และมีเสถียรภาพมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และเพราะเหตุนี้เอง ตลาดทุนของอินโดนีเซีย ได้กลายเป็น Investment Destination (จุดหมายของการลงทุน) ที่เป็นที่หมายปองของนักลงทุนทั่วโลกไปแล้ว
ผิด กับของเราที่นับวัน มีแต่นักลงทุนจะคอยตีจากไป เม็ดเงินต่างชาติที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในตลาดหุ้นส่วนมาก จะเป็นเงินลงทุนของ กองทุน Hedge Funds หรือไม่ก็กองทุน ประเภท Index Funds ส่วนอีกกลุ่มก็เป็นพวก Opportunistic Funds ซึ่งจะเข้ามาลงทุนแบบเก็งกำไร เมื่อคิดว่าตลาดหุ้นจะเกิดการ Rebound ในช่วงสั้นๆ พอได้กำไรแล้วก็จะเทขายหุ้นออกทั้งหมด
เม็ดเงินจากนักลง ทุนระยะยาวประเภท Long-Only Funds ในระยะ 3-4 ปีมานี้ ไหลเข้าตลาดหุ้นไทยน้อยมาก เพราะปัญหาความไม่แน่นอนทางการเมืองของเรา Long Funds ที่ยังเข้ามาอยู่ก็จะเป็น พวก Bottom Up (Stock Selection) หรือ พวกที่เน้นของถูกซะเป็นส่วนใหญ่ Long Funds พวกที่ใช้ Top-Down Approach ที่เน้นลงทุนในประเทศ ที่มี Macro Fundamentals ที่แข็งแกร่งนั้น แทบจะไม่เหลืออยู่ในตลาดไทยแล้ว ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายอย่างมาก เพราะนักลงทุนประเภทหลังนี้ เป็นกลุ่มที่มีเม็ดเงินภายใต้การบริหารมากที่สุด
ผมยังจำได้เมื่อ ช่วงวิกฤติเศรษฐกิจเอเชียปี 1997 เศรษฐกิจและตลาดหุ้นของไทยและอินโดนีเซียบอบช้ำไม่แพ้กัน ทั้ง 2 ประเทศต้องเผชิญกับวิกฤติสถาบันการเงินซึ่งลุกลามไปเป็นวิกฤติเศรษฐกิจใน ที่สุด แต่ช่วงนั้นตลาดหุ้นไทยได้รับผลกระทบมากกว่าอินโดนีเซียมาก SET INDEX ลดลงจากจุดสูงสุดเมื่อต้นปี 1994 ที่ 1,789 จุด มาเหลือเพียง 204 จุด เมื่อเดือนกันยายน ปี 1998 ขณะที่ตลาดหุ้นอินโดนีเซีย ปรับลดลงจากจุดสูงสุด (ณ เวลานั้น) ที่ 742 จุดมาอยู่ที่ 255 จุด
ที่ น่าเศร้าใจ ก็คือ มาถึงวันนี้ 12 ปีหลังจากที่ตลาดหุ้นไทย และอินโดนีเซียประสบชะตากรรม เดียวกัน ตลาดหุ้นไทยฟื้นตัวกลับมาอยู่ที่เพียง 726 จุด ซึ่งยังไม่ถึงครึ่งหนึ่งของจุดสูงสุดช่วงก่อนปี 1997 เสียด้วยซ้ำ ขณะที่ ณ วันนี้ ดัชนีตลาดหุ้นอินโดนีเซีย อยู่สูงถึง 2,840 จุด หรือเกือบ 4 เท่าของจุดสูงสุดเดิม
เกิดอะไรขึ้นกับอินโดนีเซีย
ผมเชื่อว่า เหตุผลหลัก คือ สถานการณ์การเมืองที่มีเสถียรภาพมากขึ้นในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา นำไปสู่การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพ และมีความต่อเนื่อง บวกกับความพยายามที่จะ Reform โครงสร้างทางเศรษฐกิจอย่างจริงจัง สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดความเชื่อมั่นในหมู่นักลงทุนต่างประเทศว่า เศรษฐกิจอินโดนีเซียน่าจะสามารถขยายตัว ได้อย่างต่อเนื่องในระดับ 5-6% ต่อปีในอนาคต
มุมมองที่เป็นบวกของนักลงทุนต่างชาติ สะท้อนออกมาให้เห็นชัดเจนในตัวเลขการลงทุนในตลาดหุ้นของอินโดนีเซียช่วง 4 ปีที่ผ่านมา หรือตั้งแต่ปี 2006 ซึ่งเป็นช่วงที่สถานการณ์ทางการเมืองของอินโดนีเซียเริ่มดีขึ้น (ในสายตานักลงทุนต่างชาติ) เม็ดเงินลงทุนสุทธิ (NET BUY) ของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหุ้นอินโดนีเซียระหว่างปี 2006 ถึง 2009 มีจำนวนสูงถึงประมาณ 8,500 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 280,000 ล้านบาท
ขณะ ที่เงินลงทุนของต่างชาติในตลาดหุ้นไทยในช่วงเวลาเดียวกัน มีแค่เพียง 14,348 ล้านบาท หรือน้อยกว่ากันถึงเกือบ 20 เท่า ทั้งที่ตลาดหลักทรัพย์ของทั้ง 2 ประเทศมีขนาดที่ใกล้เคียงกัน แม้กระทั่งในปี 2008 ที่เกิดวิกฤติสถาบันการเงินโลกและนักลงทุนต่างชาติเทขายหุ้น (Net Sell) ไทยออกถึง 162,347 ล้านบาท แต่กลับมีเม็ดเงินต่างชาติไหลเข้าซื้อ (Net Buy) หุ้นในอินโดนีเซียถึงประมาณ 1,720 ล้านดอลลาร์ หรือเกือบ 57,000 ล้านบาท
ทั้งที่จริงๆ แล้ว ผมเชื่อว่าพื้นฐานของเศรษฐกิจไทย มีความแข็งแกร่งกว่าอินโดนีเซียมาก ไม่ว่าจะเป็นภูมิประเทศของเรา โครงสร้างพื้นฐานที่ดีกว่า แรงงานที่มีคุณภาพ ภาคการผลิตและการส่งออกที่มีความสามารถในการแข่งขันสูง ภาคการท่องเที่ยวและบริการที่จัดอยู่ในอันดับต้นๆ ของโลก เงินเฟ้อและดอกเบี้ยที่ต่ำกว่า แต่เพราะการเมืองที่ขาดเสถียรภาพ และมีความไม่แน่นอนสูง ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อความเชื่อมั่นที่นักลงทุนต่างชาติมีต่อประเทศไทย
สัด ส่วนการลงทุนของต่างชาติในตลาดหุ้นไทย ลดลงเหลือเพียง 20% ของมูลค่าการซื้อขายจากประมาณ 35% เมื่อหลายปีก่อน ค่า P/E Ratio ของตลาดหุ้นไทยซึ่งเคยอยู่สูงกว่าอินโดนีเซียมาก เมื่อ 10 ปีที่แล้ว มาวันนี้ ค่า Forward P/E ของเราอยู่ที่ 11 เท่า ขณะที่ตลาดหุ้นอินโดนีเซียมีค่า Forward P/E สูงถึง 15 เท่า หรือแปลอีกความหมายหนึ่ง ก็คือ หุ้นในอินโดนีเซียมีราคาแพงกว่าหุ้นของ ไทยถึงเกือบ 30%
Fact (ความจริง) อีกประการหนึ่งที่หลายคนอาจจะยังไม่ทราบ ก็คือ ตลาดหุ้นไทยเป็นเพียงตลาดหุ้นเดียวในเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) ที่ดัชนีหุ้นยังไม่เคยกลับไปสู่ระดับสูงสุดในช่วงก่อนวิกฤติเศรษฐกิจเอเชีย เมื่อปี 1997
นี่เป็นเพียงบางส่วนของผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับตลาดทุน ของเรา จากเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา จริงๆ แล้ว ยังมีผลทางลบที่เกิดขึ้นอีกมาก ไม่ว่าจะเป็นในด้านของเม็ดเงินที่ระดมผ่านตลาดหุ้นไทย ก็มีจำนวนลดลงมาก จำนวน IPO ที่มีน้อย และปริมาณการซื้อขายในตลาดหุ้นที่แทบจะไม่มีการขยายตัวในช่วงหลายปีที่ผ่าน มา
นอกจากนั้นแล้ว การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment) ก็มีทิศทางที่ลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2007 ที่เม็ดเงินลงทุนโดยตรงลดลง 2% จากปีก่อนหน้า ปี 2008 ลดลง 30% ขณะที่ปี 2009 FDI ลดลงอีก 35% เหลือเพียง 5,324 ล้านดอลลาร์ จาก 10,479 ล้านดอลลาร์ เมื่อปี 2006
ถ้าเหตุการณ์บ้านเมืองยังเป็นอย่างนี้อยู่ ไม่แน่นะครับตลาดหุ้นไทยอาจจะถูกลดชั้นลงจากกลุ่ม Emerging Markets ไปอยู่ในกลุ่ม Frontier Markets ก็เป็นได้ ซึ่งตลาดหุ้นกลุ่มนี้ จะมีประเทศ อาทิเช่น ศรีลังกา ปากีสถาน เวียดนาม และ ในอนาคตอันใกล้นี้ ก็จะมี ลาว และ เขมร ตามมา
อิจฉาอินโดนีเซีย-ไพบูลย์ นลินทรางกูร
ผมเฝ้าดูสถานการณ์ ทางการเมืองของบ้านเราแล้ว ทำให้อดคิดถึงประเทศที่อยู่ใกล้กับเราอย่าง อินโดนีเซีย ไม่ได้
ไม่ ใช่เพราะประเทศเขาก็ กำลังมีการชุมนุมประท้วงขับไล่รัฐบาลกันอยู่ หรือมีการแบ่งประชาชนออกเป็นฝ่ายเหลือง ฝ่ายแดง ฝ่ายชมพู อย่างที่เรากำลังประสบอยู่ แต่เป็นเพราะ อินโดนีเซีย ซึ่งก็เคยมีเหตุการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองสารพัดรูปแบบเมื่อหลายปีก่อน และในบางครั้งดูจะรุนแรงไปกว่าที่เรากำลังเผชิญอยู่เสียด้วยซ้ำ
แต่ มาในระยะหลังนี้ สถานการณ์ทางการเมืองของอินโดนีเซียดีขึ้น และมีเสถียรภาพมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และเพราะเหตุนี้เอง ตลาดทุนของอินโดนีเซีย ได้กลายเป็น Investment Destination (จุดหมายของการลงทุน) ที่เป็นที่หมายปองของนักลงทุนทั่วโลกไปแล้ว
ผิด กับของเราที่นับวัน มีแต่นักลงทุนจะคอยตีจากไป เม็ดเงินต่างชาติที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในตลาดหุ้นส่วนมาก จะเป็นเงินลงทุนของ กองทุน Hedge Funds หรือไม่ก็กองทุน ประเภท Index Funds ส่วนอีกกลุ่มก็เป็นพวก Opportunistic Funds ซึ่งจะเข้ามาลงทุนแบบเก็งกำไร เมื่อคิดว่าตลาดหุ้นจะเกิดการ Rebound ในช่วงสั้นๆ พอได้กำไรแล้วก็จะเทขายหุ้นออกทั้งหมด
เม็ดเงินจากนักลง ทุนระยะยาวประเภท Long-Only Funds ในระยะ 3-4 ปีมานี้ ไหลเข้าตลาดหุ้นไทยน้อยมาก เพราะปัญหาความไม่แน่นอนทางการเมืองของเรา Long Funds ที่ยังเข้ามาอยู่ก็จะเป็น พวก Bottom Up (Stock Selection) หรือ พวกที่เน้นของถูกซะเป็นส่วนใหญ่ Long Funds พวกที่ใช้ Top-Down Approach ที่เน้นลงทุนในประเทศ ที่มี Macro Fundamentals ที่แข็งแกร่งนั้น แทบจะไม่เหลืออยู่ในตลาดไทยแล้ว ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายอย่างมาก เพราะนักลงทุนประเภทหลังนี้ เป็นกลุ่มที่มีเม็ดเงินภายใต้การบริหารมากที่สุด
ผมยังจำได้เมื่อ ช่วงวิกฤติเศรษฐกิจเอเชียปี 1997 เศรษฐกิจและตลาดหุ้นของไทยและอินโดนีเซียบอบช้ำไม่แพ้กัน ทั้ง 2 ประเทศต้องเผชิญกับวิกฤติสถาบันการเงินซึ่งลุกลามไปเป็นวิกฤติเศรษฐกิจใน ที่สุด แต่ช่วงนั้นตลาดหุ้นไทยได้รับผลกระทบมากกว่าอินโดนีเซียมาก SET INDEX ลดลงจากจุดสูงสุดเมื่อต้นปี 1994 ที่ 1,789 จุด มาเหลือเพียง 204 จุด เมื่อเดือนกันยายน ปี 1998 ขณะที่ตลาดหุ้นอินโดนีเซีย ปรับลดลงจากจุดสูงสุด (ณ เวลานั้น) ที่ 742 จุดมาอยู่ที่ 255 จุด
ที่ น่าเศร้าใจ ก็คือ มาถึงวันนี้ 12 ปีหลังจากที่ตลาดหุ้นไทย และอินโดนีเซียประสบชะตากรรม เดียวกัน ตลาดหุ้นไทยฟื้นตัวกลับมาอยู่ที่เพียง 726 จุด ซึ่งยังไม่ถึงครึ่งหนึ่งของจุดสูงสุดช่วงก่อนปี 1997 เสียด้วยซ้ำ ขณะที่ ณ วันนี้ ดัชนีตลาดหุ้นอินโดนีเซีย อยู่สูงถึง 2,840 จุด หรือเกือบ 4 เท่าของจุดสูงสุดเดิม
เกิดอะไรขึ้นกับอินโดนีเซีย
ผมเชื่อว่า เหตุผลหลัก คือ สถานการณ์การเมืองที่มีเสถียรภาพมากขึ้นในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา นำไปสู่การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพ และมีความต่อเนื่อง บวกกับความพยายามที่จะ Reform โครงสร้างทางเศรษฐกิจอย่างจริงจัง สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดความเชื่อมั่นในหมู่นักลงทุนต่างประเทศว่า เศรษฐกิจอินโดนีเซียน่าจะสามารถขยายตัว ได้อย่างต่อเนื่องในระดับ 5-6% ต่อปีในอนาคต
มุมมองที่เป็นบวกของนักลงทุนต่างชาติ สะท้อนออกมาให้เห็นชัดเจนในตัวเลขการลงทุนในตลาดหุ้นของอินโดนีเซียช่วง 4 ปีที่ผ่านมา หรือตั้งแต่ปี 2006 ซึ่งเป็นช่วงที่สถานการณ์ทางการเมืองของอินโดนีเซียเริ่มดีขึ้น (ในสายตานักลงทุนต่างชาติ) เม็ดเงินลงทุนสุทธิ (NET BUY) ของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหุ้นอินโดนีเซียระหว่างปี 2006 ถึง 2009 มีจำนวนสูงถึงประมาณ 8,500 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 280,000 ล้านบาท
ขณะ ที่เงินลงทุนของต่างชาติในตลาดหุ้นไทยในช่วงเวลาเดียวกัน มีแค่เพียง 14,348 ล้านบาท หรือน้อยกว่ากันถึงเกือบ 20 เท่า ทั้งที่ตลาดหลักทรัพย์ของทั้ง 2 ประเทศมีขนาดที่ใกล้เคียงกัน แม้กระทั่งในปี 2008 ที่เกิดวิกฤติสถาบันการเงินโลกและนักลงทุนต่างชาติเทขายหุ้น (Net Sell) ไทยออกถึง 162,347 ล้านบาท แต่กลับมีเม็ดเงินต่างชาติไหลเข้าซื้อ (Net Buy) หุ้นในอินโดนีเซียถึงประมาณ 1,720 ล้านดอลลาร์ หรือเกือบ 57,000 ล้านบาท
ทั้งที่จริงๆ แล้ว ผมเชื่อว่าพื้นฐานของเศรษฐกิจไทย มีความแข็งแกร่งกว่าอินโดนีเซียมาก ไม่ว่าจะเป็นภูมิประเทศของเรา โครงสร้างพื้นฐานที่ดีกว่า แรงงานที่มีคุณภาพ ภาคการผลิตและการส่งออกที่มีความสามารถในการแข่งขันสูง ภาคการท่องเที่ยวและบริการที่จัดอยู่ในอันดับต้นๆ ของโลก เงินเฟ้อและดอกเบี้ยที่ต่ำกว่า แต่เพราะการเมืองที่ขาดเสถียรภาพ และมีความไม่แน่นอนสูง ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อความเชื่อมั่นที่นักลงทุนต่างชาติมีต่อประเทศไทย
สัด ส่วนการลงทุนของต่างชาติในตลาดหุ้นไทย ลดลงเหลือเพียง 20% ของมูลค่าการซื้อขายจากประมาณ 35% เมื่อหลายปีก่อน ค่า P/E Ratio ของตลาดหุ้นไทยซึ่งเคยอยู่สูงกว่าอินโดนีเซียมาก เมื่อ 10 ปีที่แล้ว มาวันนี้ ค่า Forward P/E ของเราอยู่ที่ 11 เท่า ขณะที่ตลาดหุ้นอินโดนีเซียมีค่า Forward P/E สูงถึง 15 เท่า หรือแปลอีกความหมายหนึ่ง ก็คือ หุ้นในอินโดนีเซียมีราคาแพงกว่าหุ้นของ ไทยถึงเกือบ 30%
Fact (ความจริง) อีกประการหนึ่งที่หลายคนอาจจะยังไม่ทราบ ก็คือ ตลาดหุ้นไทยเป็นเพียงตลาดหุ้นเดียวในเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) ที่ดัชนีหุ้นยังไม่เคยกลับไปสู่ระดับสูงสุดในช่วงก่อนวิกฤติเศรษฐกิจเอเชีย เมื่อปี 1997
นี่เป็นเพียงบางส่วนของผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับตลาดทุน ของเรา จากเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา จริงๆ แล้ว ยังมีผลทางลบที่เกิดขึ้นอีกมาก ไม่ว่าจะเป็นในด้านของเม็ดเงินที่ระดมผ่านตลาดหุ้นไทย ก็มีจำนวนลดลงมาก จำนวน IPO ที่มีน้อย และปริมาณการซื้อขายในตลาดหุ้นที่แทบจะไม่มีการขยายตัวในช่วงหลายปีที่ผ่าน มา
นอกจากนั้นแล้ว การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment) ก็มีทิศทางที่ลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2007 ที่เม็ดเงินลงทุนโดยตรงลดลง 2% จากปีก่อนหน้า ปี 2008 ลดลง 30% ขณะที่ปี 2009 FDI ลดลงอีก 35% เหลือเพียง 5,324 ล้านดอลลาร์ จาก 10,479 ล้านดอลลาร์ เมื่อปี 2006
ถ้าเหตุการณ์บ้านเมืองยังเป็นอย่างนี้อยู่ ไม่แน่นะครับตลาดหุ้นไทยอาจจะถูกลดชั้นลงจากกลุ่ม Emerging Markets ไปอยู่ในกลุ่ม Frontier Markets ก็เป็นได้ ซึ่งตลาดหุ้นกลุ่มนี้ จะมีประเทศ อาทิเช่น ศรีลังกา ปากีสถาน เวียดนาม และ ในอนาคตอันใกล้นี้ ก็จะมี ลาว และ เขมร ตามมา
กรูเก่ง กิเลสเก่งกว่า
- reiter
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2308
- ผู้ติดตาม: 0
รุ้งกินน้ำ
โพสต์ที่ 2717
อ่านแล้วเศร้าใจจริงๆคับพี่ป้อมpor_jai เขียน:
อิจฉาอินโดนีเซีย-ไพบูลย์ นลินทรางกูร
- กล้วยไม้ขาว
- Verified User
- โพสต์: 1074
- ผู้ติดตาม: 0
รุ้งกินน้ำ
โพสต์ที่ 2721
คิดอีกแง่นะครับ แสดงว่าตลาดหุ้นไทยยังมีโอกาสโตได้อีกเยอะถ้าการเมืองสงบ
ตอนนี้ก็เป็นโอกาสที่จะได้หาหุ้นดีๆ แล้วกอดไว้แน่นๆ ครับ
ตอนนี้ก็เป็นโอกาสที่จะได้หาหุ้นดีๆ แล้วกอดไว้แน่นๆ ครับ
- por_jai
- Verified User
- โพสต์: 14338
- ผู้ติดตาม: 0
รุ้งกินน้ำ
โพสต์ที่ 2727
มีคนลืมวางไอโฟนไว้แล้วก็ไปทำธุรกรรม ธุรกิจต่อ
มีคนตาคมเห็น เข้ามาซิวไปซะ
แต่คนที่ลืมไว้ วันนึงอาจเป็นพวกเราก็ได้นะ
สติมีประโยชน์ทั้งทางธรรมและทางโลกครับ
http://www.youtube.com/watch?v=bKBw_EXK ... re=related
มีคนตาคมเห็น เข้ามาซิวไปซะ
แต่คนที่ลืมไว้ วันนึงอาจเป็นพวกเราก็ได้นะ
สติมีประโยชน์ทั้งทางธรรมและทางโลกครับ
http://www.youtube.com/watch?v=bKBw_EXK ... re=related
กรูเก่ง กิเลสเก่งกว่า
- por_jai
- Verified User
- โพสต์: 14338
- ผู้ติดตาม: 0
รุ้งกินน้ำ
โพสต์ที่ 2730
บริษัทชื่อแปลก I Rak Pra Chai
ฮ่า...เขียนตรงๆเดี๋ยวโดนฟ้อง...ฮ่า....
ย้อนรอยตำนานทีพีไอ-ไออาร์พีซี
ความจริง-ผลประโยชน์ชาติ-การเมือง
มติของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ที่ชี้มูลความผิดต่ออดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และ ร.อ.สุชาติ เชาว์วิศิษฐ อดีต รมว.คลัง โทษฐานที่เห็นชอบให้กระทรวงการคลังเข้าไปเป็นผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการ บริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) หรือ TPI พร้อมส่งตัวแทนของกระทรวงการคลังเข้าไปเป็นคณะผู้บริหารแผนเมื่อเดือน ก.ค.2546
เนื่องเพราะเป็นการกระทำนอกเหนือจากอำนาจหน้าที่ของกระทรวงการคลังในการเข้า ไปบริหารกิจการของเอกชนตาม พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2545 นั้น
แม้จะเป็นเรื่องที่เจาะจงจะเอาความผิดเฉพาะตัว พ.ต.ท.ทักษิณ เสมือนการขุดรากถอนโคนกันทางการเมือง ขณะที่ ร.อ.สุชาติ ถูกจำหน่ายคดีออกจากสารบบไปเพราะถึงแก่กรรมก็ตาม
แต่ข้อวินิจฉัยที่ไม่ได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความจริง และความจำเป็นในขณะนั้นของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ก่อให้เกิดผลเสียหายต่อแผนการดำเนินงานของกิจการที่ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อ มาเป็นบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน)
นอกจากนี้ ยังอาจเปิดช่องให้กลุ่มผู้ถือหุ้นเดิมกลับมาเรียกร้องขอให้รัฐบาลชดเชยเยียว ยากรณีที่พวกเขาต้องสูญเสียการเป็นผู้บริหารกิจการ และการถือหุ้นรายใหญ่ โดยขอซื้อหุ้นคืนในราคาทุนจากกลุ่มพันธมิตรที่เข้ามาใส่เงินซื้อหุ้นเพิ่ม ทุนให้ทีพีไอในยามที่ตกอยู่ในภาวะวิกฤติ หากการพิจารณาประเด็นใดๆต่อจากนี้ มิได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งความเป็นจริง และสุจริต
ปูมหลัง และมหากาพย์แห่งหนี้
ย้อนหลังกลับไปดูภาพความเป็นมาของ บมจ.ทีพีไอ ในวันที่โชติช่วงชัชวาล จนถึงวันที่เกือบจะล่มสลาย และต้องเข้าสู่ภาวะฟื้นฟูกิจการเพราะมีหนี้สินจำนวนมหาศาลที่ไม่สามารถชำระ คืนได้ ก่อนจะเปลี่ยนชื่อมาเป็นบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) หรือ IRPC (Intergrate Refinery Petrochemical Complex) อย่างที่เห็นในปัจจุบัน
เพื่อให้เข้าใจถึงการแก้ไขปัญหาหนี้ที่ดุเดือดเข้มข้น จนหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสื่อมวลชน ต่างขนานนามกรณีนี้ว่า "มหากาพย์แห่งหนี้ทีพีไอ" นั้น ทีมเศรษฐกิจ ขอนำผู้อ่านไปดูปูมหลังของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน ในช่วงก่อนการล่มสลายของเศรษฐกิจไทย เป็นการปูพื้นสักเล็กน้อย
ทีพีไอก่อตั้งขึ้นโดยคนในครอบครัว "เลี่ยวไพรัตน์" ที่มีนายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงใหญ่ ตั้งแต่ปี 2521 ด้วยเงินทุนเริ่มต้นเพียง 300 ล้านบาท พร้อมการสนับสนุนเงินกู้จากพันธมิตรสถาบันการเงินในตระกูล "โสภณพนิช" ที่เปรียบเสมือนญาติสนิทจากโพ้นทะเลด้วยกัน มีเป้าหมายก่อร่างสร้างอุตสาหกรรมปิโตรเคมีครบวงจรขึ้นในประเทศ
ตลอดระยะเวลาเกือบ 20 ปี ธุรกิจและอุตสาหกรรมของทีพีไอจึงได้รับการขยาย และต่อยอด การลงทุนเพื่อแผ่ขยายกิ่งก้านสาขาออกไปอย่างกว้างขวาง กระทั่งกลายเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมผลิตปิโตรเคมีครบวงจรที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ และมีสายการผลิตมากที่สุดในประเทศไทย ตั้งแต่อุตสาหกรรมต้นน้ำ จนกระทั่งถึงอุตสาหกรรมปลายน้ำ ครอบคลุมถึงกลุ่มโรง
กลั่นน้ำมัน ปิโตรเคมี โรงไฟฟ้า ปูนซีเมนต์ และท่าเทียบเรือน้ำลึกในจังหวัดระยอง
การเติบใหญ่ของอุตสาหกรรมที่ขยายการลงทุนต่อไปอย่างไม่เคยหยุดยั้ง จากการเป็นบริษัทของครอบครัวเลี่ยวไพรัตน์ ทีพีไอได้กลายมาเป็นบริษัทมหาชนที่เข้าจดทะเบียนในตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในปี 2537 เนื่องจากยังมีความจำเป็นจะต้องระดมเงินทุนจากประชาชนมาลงทุนต่อเนื่องต่อไป นอกเหนือจากการระดมกู้เงินจากสถาบันการเงิน
นั่นทำให้กิจการของ บมจ.ทีพีไอในขณะนั้น มีสินทรัพย์รวมกันเป็นมูลค่ามากกว่า 130,000 ล้านบาท และมีการจ้างแรงงานมากถึง 8,000 คน
ความยิ่งใหญ่ของอาณาจักรทีพีไอ มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจประเทศ ทั้งจากการลงทุนจำนวนมหาศาล และการส่งออกผลิตภัณฑ์ที่สามารถสร้างรายได้เป็นเงินตราต่างประเทศเข้ามาใน ราชอาณาจักรปีละมากกว่าแสนล้านบาท โดยเฉพาะการกลั่นน้ำมันที่มีกำลังการผลิตต่อวันสูงถึง 65,000-125,000 บาร์เรล
ถือเป็นคู่แข่งสำคัญของบริษัทมหาชนใหญ่ อย่างปูนซิเมนต์ไทย และอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในเครือ ปตท.
ขณะเดียวกัน ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ทีพีไอได้เข้าสู่ยุคแห่งความโชติช่วงชัชวาลอย่างเต็มที่
สูงสุด...คืนสู่สามัญ
ในขณะที่ผู้คนส่วนใหญ่ของประเทศ และทีพีไอกำลังเฉลิมฉลองการเป็นประเทศที่มีอุต�สาหกรรมปิโตรเคมีครบวงจร อย่างเต็มรูปแบบ และใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น ไม่มีใครล่วงรู้ว่า วิกฤติเศรษฐกิจ "ต้มยำกุ้ง" ที่มีต้นเหตุจากความผิดพลาดในการดำเนินนโยบายทางการเงินการคลังของรัฐบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผสมโรงกับการใช้จ่าย และการลงทุนเกินตัวของภาคธุรกิจอุตสาหกรรม จะทำให้ประกายไฟที่ส่องสว่างอยู่ในธุรกิจการเงิน และอุตสาหกรรมขนาดใหญ่หลายแห่งของประเทศต้องดับมืดลงโดยฉับพลัน
ผลพวงของการเปิดเสรีทางการเงิน การสนับสนุนให้ภาคธุรกิจเอกชนสามารถกู้เงินจากต่าง�ประเทศที่มีต้นทุน ดอกเบี้ยต่ำกว่า เข้ามาใช้เพื่อขยายการลงทุน กระทั่งถึงการตัดสินใจลอยตัวค่าเงินบาทในวันที่ 2 ก.ค.2540 และคำสั่งปิดธนาคาร ตลอดจนถึงสถาบันการเงิน 56 แห่ง
ส่งผลให้ธุรกิจอุตสาหกรรมขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรง ในขณะที่อัตราแลกเปลี่ยนที่อ่อนตัวลงถึง 100% จาก 26 บาท เป็น 54 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้ภาคธุรกิจอุตสาหกรรมจำนวนมากต้องประสบปัญหาล้มละลาย และมีหนี้สินล้นพ้นตัว
เช่นเดียวกับทีพีไอที่ใช้บริการเงินกู้จำนวนมหาศาลจากต่างประเทศ ซึ่งต้องประสบกับปัญหาการขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนทันทีสูงถึง 69,261 ล้านบาท และมีภาระหนี้สินเพิ่มขึ้นในจำนวนมหาศาลถึง 133,643.82 ล้านบาท หรือราว 3,500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เงินต้น 2,700 ล้านเหรียญฯ รวมดอกเบี้ยที่พอกพูนขึ้นหลังการหยุดพักชำระหนี้ และคิดจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ 48 บาทต่อดอลลาร์)
มีเจ้าหนี้สถาบันการเงินทั้งไทยและเทศรวมกันกว่า 150 ราย แบ่งเป็นเจ้าหนี้ในประเทศ 1,200 ล้านเหรียญฯ โดยรายใหญ่ที่สุด และทำหน้าที่เป็นผู้ค้ำประกันให้ก็คือ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และมีหนี้กับเจ้าหนี้ต่างประเทศ 1,500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมีบรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศ (ไอเอฟซี) ธนาคารส่งออกและนำเข้าสหรัฐฯ แบงก์ออฟอเมริกา และซิตี้แบงก์ เป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 56% ของหนี้ทั้งหมด
อาณาจักรที่กำลังสุกสกาวของทีพีไอ พลิกผันกลายเป็นลูกหนี้รายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และดำดิ่งสู่วิกฤตการณ์ครั้งร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์เศรษฐกิจของประเทศ ไทย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
แม้จะมีความพยายามเจรจาเพื่อไกล่เกลี่ยหนี้ภายใต้การนำของธนาคารกรุงเทพใน ฐานะผู้ค้ำประกันหนี้ต่างประเทศ กับนายประชัย หัวหมู่ทะลวงฟันของ "เลี่ยวไพรัตน์" แต่ก็ไม่สามารถจะหาข้อยุติได้
ขณะที่มีความพยายามเรียกร้องให้รัฐบาล "ชวน 2" เข้ามาให้ความช่วยเหลืออย่างจริงจังเพื่อปกป้องอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่มีผล ต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศจากการถูกยึดครองของต่างชาติ แต่จนแล้วจนรอด ความพยายามไกล่เกลี่ยหนี้ของทีพีไอก็ไม่สามารถจะคืบหน้าไปในทิศทางที่ดีขึ้น ได้ ไม่ว่ารัฐบาลในขณะนั้นจะใช้ช่องทางใด เพราะแม้แต่จะผ่านทางธนาคารแห่งประเทศไทยแล้วก็ตาม แต่ก็ไม่สำเร็จ
สุดท้ายในเดือน ส.ค.2540 ทีพีไอจึงประกาศหยุด "พักชำระหนี้" และตัดสินใจนำบริษัทเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟู กิจการตามกฎหมายล้มละลาย!
จุดเริ่มต้นก่อนถึงทางตัน
ด้วยจำนวนเจ้าหนี้และมูลหนี้มหาศาล ทำให้การเจรจาจัดทำแผนปรับโครงสร้างหนี้ และฟื้นฟูกิจการเป็นไปด้วยความยากลำบาก ท่ามกลางผลประโยชน์และสินทรัพย์จำนวนมหาศาลของ ทีพีไอ ในขณะที่เงื่อนไขการปรับโครงสร้างหนี้ที่มีส่วนสำคัญในการขอลดหนี้ และดอกเบี้ย (Hair Cut) ของนายประชัย ไม่ได้รับการตอบสนองจากเจ้าหนี้ เช่นเดียวกับที่ข้อเสนอของเจ้าหนี้ ก็ไม่ได้รับการยอมรับจากนายประชัย ซึ่งมองว่าเจ้าหนี้มีเป้าหมายจะครอบงำ หรือฮุบกิจการทีพีไอ
โดยเฉพาะการพยายามแปลงหนี้จากดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นระหว่างการขอพักชำระหนี้มา เป็นทุน (หุ้น) เพื่อให้เจ้าหนี้กลายมาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของทีพีไอ โดยไม่ยอมลดหนี้เงินต้นให้เช่นที่กิจการของเอกชนรายอื่นได้รับในช่วงที่เกิด วิกฤติ ทำให้การต่อสู้ของนายประชัยเพื่อทวงคืนทีพีไอเข้มข้น และทะลุถึงจุดเดือด
เนื่องเพราะเจ้าหนี้ต่างก็เล็งเห็นว่า รายได้และยอดขายของทีพีไอมีศักยภาพพอจะชำระหนี้ในอนาคตได้ จึงไม่จำต้องลดหนี้ลง ขณะเดียวกันก็เห็นว่าบรรดาสินทรัพย์ต่างๆสามารถจะนำมาชำแหละ และตัดขายได้เพื่อให้ได้เงินมาชำระคืนหนี้แก่เจ้าหนี้ แต่ด้วยบุคลิกที่แข็งกร้าว และการปฏิเสธการเจรจาเพื่อชำระคืนหนี้ที่นำมาใช้ทั้งบนดินและใต้ดินเพื่อให้ ได้สมบัติของตระกูลกลับคืน
ยิ่งทำให้ความขัดแย้งระหว่างเจ้าหนี้-ลูกหนี้ทวีความรุนแรง และบานปลายขึ้นเป็นลำดับ ทั้งสองฝ่ายต่างก็ตั้งป้อมห้ำหั่นกันเอง โดยมีคดีความฟ้องร้องกันในศาลจำนวนมากพันตูกันจนยากจะแกะได้ถึงวันนี้
เจ้าหนี้ไทยรายใหญ่อย่างธนาคารกรุงเทพ ซึ่งเคยเป็นพันธมิตรที่สนับสนุนธุรกิจของตระกูลกับตระกูลมาตั้งแต่รุ่นพ่อ นับสิบๆปีต้องแตกหัก และหันมาเป็นศัตรูคู่อาฆาตกันแทน ในขณะที่หนทางที่เดินไปข้างหน้าค่อยๆตีบตัน เมื่อบริษัท เอ็ฟเฟ็คทีฟ แพลนเนอร์ (อีพีแอล) ผู้บริหารแผนของเจ้าหนี้ ถูกศาลล้มละลายกลางสั่งให้พ้นจากการเป็นผู้บริหารแผน โดยเห็นว่าการดำเนินการ
ของอีพีแอลมีแนวโน้มชัดเจนว่า จะไม่บรรลุผลสำเร็จตามแผนฟื้นฟูกิจการ ภายใต้ความขัดแย้งกันอย่างรุนแรงระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ จนอาจจะทำให้บริษัทไม่สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้
จึงมีความพยายามจากเจ้าหนี้ ลูกหนี้ และพนักงานทีพีไอเรียกร้องให้รัฐบาล และกระทรวงการคลังหามาตรการช่วยเหลือ พร้อมๆกับเป็นตัวกลางไกล่เกลี่ยคดีประวัติศาสตร์ครั้งนี้ให้
รัฐบาลซึ่งเข้าสู่ยุคของ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้แสดงเจตนารมณ์ชัดเจนที่จะช่วยไกล่เกลี่ย และร่วมมือกับศาลยุติธรรมในการแก้ปัญหาลูกหนี้รายนี้อย่างบูรณาการเบ็ดเสร็จ เนื่องจากเห็นว่าทีพีไอเป็นองค์กรขนาดใหญ่ หากไม่สามารถชำระหนี้ได้ ย่อมต้องล้มละลาย และส่งผลกระทบต่อประเทศชาติ และคนไทยจำนวนไม่น้อย โดยเฉพาะผู้ถือหุ้นรายย่อย พนักงาน และครอบครัว ทั้งยังอาจส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ ทำให้นักลงทุนต่างชาติไม่มีความเชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจ และการแก้ปัญหาของรัฐบาล และกระบวนการยุติธรรมของไทยด้วย
ที่สำคัญ ในช่วงเวลานั้น หากรัฐบาลไม่ยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือเพื่อให้การแก้ไขปัญหาหนี้สินจำนวน มหาศาลในระบบธนาคารไทยลดลง และผลักดันให้ลูกหนี้ภาคอุตสาหกรรมสามารถขับเคลื่อนไปได้ อาจมีธนาคารขนาดใหญ่ต้องล้มตามไปด้วย
สู่อ้อมอกกระทรวงการคลัง
มหากาพย์แห่งความขัดแย้งรุนแรงระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ข้างต้น ยุติลงเมื่อศาลล้มละลายกลาง มีคำสั่ง ณ วันที่ 11 ก.ค.2546 ให้กระทรวงการคลังทำหน้าที่เป็นผู้บริหารแผนคนใหม่ และเสนอชื่อผู้แทน 5 คน ได้แก่ พลเอกมงคล อัมพรพิสิฏฐ์, นายพละ สุขเวช, นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา, นายทนง พิทยะ และ นายอารีย์ วงศ์อารยะ (ต่อมาได้แต่งตั้ง นายวีรพงษ์ รามางกูร ทำหน้าที่แทนนายทนง) เข้าไปเป็นคณะผู้บริหารแผน ตามมติเห็นชอบของเจ้าหนี้ รวมถึงฝ่ายของนายประชัย โดย ร.อ.สุชาติ เชาว์วิศิษฐ รมว.คลัง ขณะนั้น ทำหนังสือแจ้งต่อศาลว่า ยินยอมเข้าเป็นผู้บริหารแผน
กระทรวงการคลังและศาลล้มละลายกลางยังกำหนดเป้าหมายชัดเจนให้คณะผู้บริหารแผน ต้องดำเนินการภายใต้สาระสำคัญดังนี้ คือ 1. ทีพีไอต้องดำเนินกิจการต่อไปได้อย่างมั่นคง 2. พนักงานทั้ง 8,000 คน ต้องไม่ตกงาน 3. เจ้าหนี้ต้องได้รับเงินคืน และ 4. ลูกหนี้ต้องได้รับความเป็นธรรม ให้เป็นผลสำเร็จด้วย
เมื่อได้มีการแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการตามความเห็นชอบของศาลล้มละลายกลาง และการยินยอมของเจ้าหนี้แล้ว หนี้ที่เจ้าหนี้ไม่เคยยอมลดให้เลยแม้แต่เหรียญเดียว ก็กลับยอมให้ตัดลดดอกเบี้ยลง 250 ล้านเหรียญฯ ส่วนหนี้เงินต้น 2,700 ล้านเหรียญฯ แบ่งเป็น 2 ก้อน ก้อนแรก 1,800 ล้านเหรียญฯ ยืดการชำระให้ 12 ปี อีก 900 ล้านเหรียญฯ ชำระด้วยหุ้นของ บมจ.ทีพีไอโพลีน กิจการในเครือที่ทีพีไอถืออยู่ และเงินที่ได้จากการขายหุ้นเพิ่มทุน
ทีพีไอยังต้องลดทุนเพื่อล้างผลการขาดทุนสะสม และเพิ่มทุนเพื่อใส่เม็ดเงินใหม่เข้าไป ซึ่งนำมาสู่การดึง 4 พันธมิตรเข้ามาซื้อหุ้นเพิ่มทุนในราคาหุ้นละ 3.30 บาท พันธมิตรที่ว่านี้ได้แก่ บมจ.ปตท. ซึ่งถูกร้องขอให้ถือหุ้นในสัดส่วน 30% ธนาคารออมสินถือ 10% กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) 10% และกองทุนรวมวายุภักษ์ 10% รวมเป็นเงินเพิ่มทุน 39,000 ล้านบาท ภายใต้แผนนี้ยังให้ขายหุ้นแก่พนักงานเพื่อสร้างขวัญกำลังใจ และการมีส่วนร่วมในความเป็นเจ้าของบริษัทด้วย โดยได้เงินจากการเพิ่มครั้งนั้น 58,000 ล้านบาท หรือ 1,450 ล้านเหรียญฯ ทั้งหมดถูกนำไปชำระคืนเจ้าหนี้เรียบร้อย
แม้การฟื้นฟูทีพีไอซึ่งเดินหน้าไปตามแผน และคำสั่งศาลล้มละลายกลางทุกประการจะถูกต่อต้านขัดขวางทุกวิถีทาง และแทบจะทุกขั้นตอนด้วยความรู้สึกของผู้ที่กำลังสูญเสีย และคิดว่าตนไม่ได้รับความเป็นธรรม กระทั่งเป็นผลให้คณะผู้บริหารแผนต้องขึ้นโรงขึ้นศาลคู่ขนานไปตลอดเส้นทางของ การเข้าบริหารทีพีไอ และแม้เรื่องราวจะผ่านมาแล้ว 13 ปี แต่จนถึงวันนี้ก็ยังมีคดีที่รอการตัดสินอีกมากถึง 19 คดี
อย่างไรก็ตาม ระยะเวลาเพียง 2 ปี นับแต่ผู้บริหารแผนเข้าไปจนถึงสิ้นปี 2548 สถานะทางการเงินของทีพีไอ จากที่ใกล้จะล้มละลาย ได้กลับมามีความแข็งแกร่งขึ้นอีกครั้ง โดยสินทรัพย์รวมเพิ่มขึ้นจาก 130,825 ล้านบาท เป็น 152,676 ล้านบาท หนี้สินเดิม 128,787 ล้านบาท ลดลงเหลือ 51,966 ล้านบาท และการขาดทุนสะสมที่มีอยู่ 89,347 ล้านบาท ถูกเปลี่ยนเป็นกำไรสะสม 29,538 ล้านบาท
นอกจากการเป็นบริษัทในเครือ ปตท.จะเรียกภาพพจน์และความเชื่อมั่นกลับคืนมาได้แล้ว ยังได้รับโอกาสการทำธุรกิจร่วมกันเพื่อเพิ่มศักยภาพ และลดต้นทุนได้มากขึ้น เหตุผลนี้ยังทำให้ ทีพีไอสามารถปรับโครงสร้างหนี้ที่เหลืออยู่ได้เร็วขึ้นด้วย ทันทีที่ได้รับความเชื่อถือจากสถาบันการเงิน
ทีพีไอกลับมาเป็นบริษัทที่มีฐานะแข็งแกร่ง พนักงานมีความมั่นคง เจ้าหนี้ได้รับเงินคืน และผู้ถือหุ้นมีความเชื่อมั่นอีกครั้ง จนกระทั่งวันที่ 26 เม.ย.2549 ศาลล้มละลายกลางจึงมีคำสั่งให้ทีพีไอออกจากการฟื้นฟูกิจการ
ปิดตำนานเก่าสู่ฉากใหม่ ไออาร์พีซี
หลังจากที่ชื่อของทีพีไอถูกรูดม่านปิดฉาก และลบออกจากสารบบด้วยการเปลี่ยนมาเป็นชื่อ บมจ.ไออาร์พีซี แล้ว สถานะของบริษัทก็ดีขึ้นเป็นลำดับ โดยผลประกอบการในปี 2552 ซึ่งเป็นปีที่ไออาร์พีซีได้รับการจัดอันดับให้เป็นหุ้นปันผลยอดเยี่ยม โดยจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้นได้ในอัตรา 4.08% จากการที่บริษัทมีรายได้ทั้งสิ้น 167,107 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 5,415 ล้านบาท ขณะที่มีหนี้สินเหลือเพียง 42,239 ล้านบาท
ในปี 2553 ซึ่งกำลังเป็นปีทองของ ไออาร์พีซี จากการประเมินความต้องการใช้พลังงาน และปิโตรเคมีของจีนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่อินเดียกำลังมีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมาก ทำให้มีความต้องการใช้พลาสติกสูง โดยมีเป้าหมายว่า ใน 5 ปีนี้ ไออาร์พีซีจะเป็นผู้นำปิโตรเคมีครบวงจรในเอเชีย
ขณะที่ผู้บริหารไออาร์พีซีฉายภาพการดำเนินงานในปี 2553 ว่า กำไรของบริษัทมีแนวโน้มเติบโตสูงกว่าปีก่อนมาก หากระดับราคาน้ำมันอยู่ที่ 80 เหรียญฯต่อบาร์เรล โดยอัตรากำไรของธุรกิจปิโตรเคมีและค่าการกลั่นยังคงอยู่ในระดับสูง นอกจากนี้ บริษัทยังมีแผนลงทุนใหม่อีก 19 โครงการ มูลค่า 1,300 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งได้รับอนุมัติจากบอร์ดแล้ว 7 โครงการ
เช่น โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพปิโตรเคมี, โครงการผลิตเอทิลีนเกรดพิเศษ, โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพการกลั่น และโครงการผลิตภัณฑ์น้ำมันหล่อลื่นเกรดพิเศษ ฯลฯ ส่วนที่เหลืออีก 12 โครงการ คาดว่าจะอนุมัติการลงทุนได้ครบทั้งหมดภายในปีนี้ และเริ่มทยอยเสร็จตั้งแต่ปีนี้ไปจนถึงปี 2557 ซึ่งเมื่อแล้วเสร็จ จะส่งผลให้ไออาร์พีซีมีกำไรจากการดำเนินงานเพิ่มขึ้นอีกปีละ 350-380 ล้านเหรียญฯ หรือ 11,375-12,350 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม เป็นที่หวั่นเกรงกันมากว่า หลังคณะกรรมการ ป.ป.ช.มีมติชี้มูลความผิดข้างต้นออกมาเช่นนี้แล้ว แผนการลงทุนต่างๆอาจต้องเลื่อนออกไป เนื่องจากแผนควบรวมกิจการระหว่างไออาร์พีซี กับ บมจ.ปตท. อะโรเมติก และการกลั่น (PTTAR) และ บมจ. ปตท.เคมีคอล (PTTCH) จำเป็นต้องเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด หากกระทรวงการคลังและกลุ่มผู้ถือหุ้นใหม่ต้องเข้าไปเยียวยาให้กลุ่มผู้ถือ หุ้นเดิมของทีพีไอ.
ทีมข่าวเศรษฐกิจ
ฮ่า...เขียนตรงๆเดี๋ยวโดนฟ้อง...ฮ่า....
ย้อนรอยตำนานทีพีไอ-ไออาร์พีซี
ความจริง-ผลประโยชน์ชาติ-การเมือง
มติของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ที่ชี้มูลความผิดต่ออดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และ ร.อ.สุชาติ เชาว์วิศิษฐ อดีต รมว.คลัง โทษฐานที่เห็นชอบให้กระทรวงการคลังเข้าไปเป็นผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการ บริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) หรือ TPI พร้อมส่งตัวแทนของกระทรวงการคลังเข้าไปเป็นคณะผู้บริหารแผนเมื่อเดือน ก.ค.2546
เนื่องเพราะเป็นการกระทำนอกเหนือจากอำนาจหน้าที่ของกระทรวงการคลังในการเข้า ไปบริหารกิจการของเอกชนตาม พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2545 นั้น
แม้จะเป็นเรื่องที่เจาะจงจะเอาความผิดเฉพาะตัว พ.ต.ท.ทักษิณ เสมือนการขุดรากถอนโคนกันทางการเมือง ขณะที่ ร.อ.สุชาติ ถูกจำหน่ายคดีออกจากสารบบไปเพราะถึงแก่กรรมก็ตาม
แต่ข้อวินิจฉัยที่ไม่ได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความจริง และความจำเป็นในขณะนั้นของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ก่อให้เกิดผลเสียหายต่อแผนการดำเนินงานของกิจการที่ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อ มาเป็นบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน)
นอกจากนี้ ยังอาจเปิดช่องให้กลุ่มผู้ถือหุ้นเดิมกลับมาเรียกร้องขอให้รัฐบาลชดเชยเยียว ยากรณีที่พวกเขาต้องสูญเสียการเป็นผู้บริหารกิจการ และการถือหุ้นรายใหญ่ โดยขอซื้อหุ้นคืนในราคาทุนจากกลุ่มพันธมิตรที่เข้ามาใส่เงินซื้อหุ้นเพิ่ม ทุนให้ทีพีไอในยามที่ตกอยู่ในภาวะวิกฤติ หากการพิจารณาประเด็นใดๆต่อจากนี้ มิได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งความเป็นจริง และสุจริต
ปูมหลัง และมหากาพย์แห่งหนี้
ย้อนหลังกลับไปดูภาพความเป็นมาของ บมจ.ทีพีไอ ในวันที่โชติช่วงชัชวาล จนถึงวันที่เกือบจะล่มสลาย และต้องเข้าสู่ภาวะฟื้นฟูกิจการเพราะมีหนี้สินจำนวนมหาศาลที่ไม่สามารถชำระ คืนได้ ก่อนจะเปลี่ยนชื่อมาเป็นบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) หรือ IRPC (Intergrate Refinery Petrochemical Complex) อย่างที่เห็นในปัจจุบัน
เพื่อให้เข้าใจถึงการแก้ไขปัญหาหนี้ที่ดุเดือดเข้มข้น จนหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสื่อมวลชน ต่างขนานนามกรณีนี้ว่า "มหากาพย์แห่งหนี้ทีพีไอ" นั้น ทีมเศรษฐกิจ ขอนำผู้อ่านไปดูปูมหลังของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน ในช่วงก่อนการล่มสลายของเศรษฐกิจไทย เป็นการปูพื้นสักเล็กน้อย
ทีพีไอก่อตั้งขึ้นโดยคนในครอบครัว "เลี่ยวไพรัตน์" ที่มีนายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงใหญ่ ตั้งแต่ปี 2521 ด้วยเงินทุนเริ่มต้นเพียง 300 ล้านบาท พร้อมการสนับสนุนเงินกู้จากพันธมิตรสถาบันการเงินในตระกูล "โสภณพนิช" ที่เปรียบเสมือนญาติสนิทจากโพ้นทะเลด้วยกัน มีเป้าหมายก่อร่างสร้างอุตสาหกรรมปิโตรเคมีครบวงจรขึ้นในประเทศ
ตลอดระยะเวลาเกือบ 20 ปี ธุรกิจและอุตสาหกรรมของทีพีไอจึงได้รับการขยาย และต่อยอด การลงทุนเพื่อแผ่ขยายกิ่งก้านสาขาออกไปอย่างกว้างขวาง กระทั่งกลายเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมผลิตปิโตรเคมีครบวงจรที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ และมีสายการผลิตมากที่สุดในประเทศไทย ตั้งแต่อุตสาหกรรมต้นน้ำ จนกระทั่งถึงอุตสาหกรรมปลายน้ำ ครอบคลุมถึงกลุ่มโรง
กลั่นน้ำมัน ปิโตรเคมี โรงไฟฟ้า ปูนซีเมนต์ และท่าเทียบเรือน้ำลึกในจังหวัดระยอง
การเติบใหญ่ของอุตสาหกรรมที่ขยายการลงทุนต่อไปอย่างไม่เคยหยุดยั้ง จากการเป็นบริษัทของครอบครัวเลี่ยวไพรัตน์ ทีพีไอได้กลายมาเป็นบริษัทมหาชนที่เข้าจดทะเบียนในตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในปี 2537 เนื่องจากยังมีความจำเป็นจะต้องระดมเงินทุนจากประชาชนมาลงทุนต่อเนื่องต่อไป นอกเหนือจากการระดมกู้เงินจากสถาบันการเงิน
นั่นทำให้กิจการของ บมจ.ทีพีไอในขณะนั้น มีสินทรัพย์รวมกันเป็นมูลค่ามากกว่า 130,000 ล้านบาท และมีการจ้างแรงงานมากถึง 8,000 คน
ความยิ่งใหญ่ของอาณาจักรทีพีไอ มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจประเทศ ทั้งจากการลงทุนจำนวนมหาศาล และการส่งออกผลิตภัณฑ์ที่สามารถสร้างรายได้เป็นเงินตราต่างประเทศเข้ามาใน ราชอาณาจักรปีละมากกว่าแสนล้านบาท โดยเฉพาะการกลั่นน้ำมันที่มีกำลังการผลิตต่อวันสูงถึง 65,000-125,000 บาร์เรล
ถือเป็นคู่แข่งสำคัญของบริษัทมหาชนใหญ่ อย่างปูนซิเมนต์ไทย และอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในเครือ ปตท.
ขณะเดียวกัน ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ทีพีไอได้เข้าสู่ยุคแห่งความโชติช่วงชัชวาลอย่างเต็มที่
สูงสุด...คืนสู่สามัญ
ในขณะที่ผู้คนส่วนใหญ่ของประเทศ และทีพีไอกำลังเฉลิมฉลองการเป็นประเทศที่มีอุต�สาหกรรมปิโตรเคมีครบวงจร อย่างเต็มรูปแบบ และใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น ไม่มีใครล่วงรู้ว่า วิกฤติเศรษฐกิจ "ต้มยำกุ้ง" ที่มีต้นเหตุจากความผิดพลาดในการดำเนินนโยบายทางการเงินการคลังของรัฐบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผสมโรงกับการใช้จ่าย และการลงทุนเกินตัวของภาคธุรกิจอุตสาหกรรม จะทำให้ประกายไฟที่ส่องสว่างอยู่ในธุรกิจการเงิน และอุตสาหกรรมขนาดใหญ่หลายแห่งของประเทศต้องดับมืดลงโดยฉับพลัน
ผลพวงของการเปิดเสรีทางการเงิน การสนับสนุนให้ภาคธุรกิจเอกชนสามารถกู้เงินจากต่าง�ประเทศที่มีต้นทุน ดอกเบี้ยต่ำกว่า เข้ามาใช้เพื่อขยายการลงทุน กระทั่งถึงการตัดสินใจลอยตัวค่าเงินบาทในวันที่ 2 ก.ค.2540 และคำสั่งปิดธนาคาร ตลอดจนถึงสถาบันการเงิน 56 แห่ง
ส่งผลให้ธุรกิจอุตสาหกรรมขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรง ในขณะที่อัตราแลกเปลี่ยนที่อ่อนตัวลงถึง 100% จาก 26 บาท เป็น 54 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้ภาคธุรกิจอุตสาหกรรมจำนวนมากต้องประสบปัญหาล้มละลาย และมีหนี้สินล้นพ้นตัว
เช่นเดียวกับทีพีไอที่ใช้บริการเงินกู้จำนวนมหาศาลจากต่างประเทศ ซึ่งต้องประสบกับปัญหาการขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนทันทีสูงถึง 69,261 ล้านบาท และมีภาระหนี้สินเพิ่มขึ้นในจำนวนมหาศาลถึง 133,643.82 ล้านบาท หรือราว 3,500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เงินต้น 2,700 ล้านเหรียญฯ รวมดอกเบี้ยที่พอกพูนขึ้นหลังการหยุดพักชำระหนี้ และคิดจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ 48 บาทต่อดอลลาร์)
มีเจ้าหนี้สถาบันการเงินทั้งไทยและเทศรวมกันกว่า 150 ราย แบ่งเป็นเจ้าหนี้ในประเทศ 1,200 ล้านเหรียญฯ โดยรายใหญ่ที่สุด และทำหน้าที่เป็นผู้ค้ำประกันให้ก็คือ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และมีหนี้กับเจ้าหนี้ต่างประเทศ 1,500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมีบรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศ (ไอเอฟซี) ธนาคารส่งออกและนำเข้าสหรัฐฯ แบงก์ออฟอเมริกา และซิตี้แบงก์ เป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 56% ของหนี้ทั้งหมด
อาณาจักรที่กำลังสุกสกาวของทีพีไอ พลิกผันกลายเป็นลูกหนี้รายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และดำดิ่งสู่วิกฤตการณ์ครั้งร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์เศรษฐกิจของประเทศ ไทย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
แม้จะมีความพยายามเจรจาเพื่อไกล่เกลี่ยหนี้ภายใต้การนำของธนาคารกรุงเทพใน ฐานะผู้ค้ำประกันหนี้ต่างประเทศ กับนายประชัย หัวหมู่ทะลวงฟันของ "เลี่ยวไพรัตน์" แต่ก็ไม่สามารถจะหาข้อยุติได้
ขณะที่มีความพยายามเรียกร้องให้รัฐบาล "ชวน 2" เข้ามาให้ความช่วยเหลืออย่างจริงจังเพื่อปกป้องอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่มีผล ต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศจากการถูกยึดครองของต่างชาติ แต่จนแล้วจนรอด ความพยายามไกล่เกลี่ยหนี้ของทีพีไอก็ไม่สามารถจะคืบหน้าไปในทิศทางที่ดีขึ้น ได้ ไม่ว่ารัฐบาลในขณะนั้นจะใช้ช่องทางใด เพราะแม้แต่จะผ่านทางธนาคารแห่งประเทศไทยแล้วก็ตาม แต่ก็ไม่สำเร็จ
สุดท้ายในเดือน ส.ค.2540 ทีพีไอจึงประกาศหยุด "พักชำระหนี้" และตัดสินใจนำบริษัทเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟู กิจการตามกฎหมายล้มละลาย!
จุดเริ่มต้นก่อนถึงทางตัน
ด้วยจำนวนเจ้าหนี้และมูลหนี้มหาศาล ทำให้การเจรจาจัดทำแผนปรับโครงสร้างหนี้ และฟื้นฟูกิจการเป็นไปด้วยความยากลำบาก ท่ามกลางผลประโยชน์และสินทรัพย์จำนวนมหาศาลของ ทีพีไอ ในขณะที่เงื่อนไขการปรับโครงสร้างหนี้ที่มีส่วนสำคัญในการขอลดหนี้ และดอกเบี้ย (Hair Cut) ของนายประชัย ไม่ได้รับการตอบสนองจากเจ้าหนี้ เช่นเดียวกับที่ข้อเสนอของเจ้าหนี้ ก็ไม่ได้รับการยอมรับจากนายประชัย ซึ่งมองว่าเจ้าหนี้มีเป้าหมายจะครอบงำ หรือฮุบกิจการทีพีไอ
โดยเฉพาะการพยายามแปลงหนี้จากดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นระหว่างการขอพักชำระหนี้มา เป็นทุน (หุ้น) เพื่อให้เจ้าหนี้กลายมาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของทีพีไอ โดยไม่ยอมลดหนี้เงินต้นให้เช่นที่กิจการของเอกชนรายอื่นได้รับในช่วงที่เกิด วิกฤติ ทำให้การต่อสู้ของนายประชัยเพื่อทวงคืนทีพีไอเข้มข้น และทะลุถึงจุดเดือด
เนื่องเพราะเจ้าหนี้ต่างก็เล็งเห็นว่า รายได้และยอดขายของทีพีไอมีศักยภาพพอจะชำระหนี้ในอนาคตได้ จึงไม่จำต้องลดหนี้ลง ขณะเดียวกันก็เห็นว่าบรรดาสินทรัพย์ต่างๆสามารถจะนำมาชำแหละ และตัดขายได้เพื่อให้ได้เงินมาชำระคืนหนี้แก่เจ้าหนี้ แต่ด้วยบุคลิกที่แข็งกร้าว และการปฏิเสธการเจรจาเพื่อชำระคืนหนี้ที่นำมาใช้ทั้งบนดินและใต้ดินเพื่อให้ ได้สมบัติของตระกูลกลับคืน
ยิ่งทำให้ความขัดแย้งระหว่างเจ้าหนี้-ลูกหนี้ทวีความรุนแรง และบานปลายขึ้นเป็นลำดับ ทั้งสองฝ่ายต่างก็ตั้งป้อมห้ำหั่นกันเอง โดยมีคดีความฟ้องร้องกันในศาลจำนวนมากพันตูกันจนยากจะแกะได้ถึงวันนี้
เจ้าหนี้ไทยรายใหญ่อย่างธนาคารกรุงเทพ ซึ่งเคยเป็นพันธมิตรที่สนับสนุนธุรกิจของตระกูลกับตระกูลมาตั้งแต่รุ่นพ่อ นับสิบๆปีต้องแตกหัก และหันมาเป็นศัตรูคู่อาฆาตกันแทน ในขณะที่หนทางที่เดินไปข้างหน้าค่อยๆตีบตัน เมื่อบริษัท เอ็ฟเฟ็คทีฟ แพลนเนอร์ (อีพีแอล) ผู้บริหารแผนของเจ้าหนี้ ถูกศาลล้มละลายกลางสั่งให้พ้นจากการเป็นผู้บริหารแผน โดยเห็นว่าการดำเนินการ
ของอีพีแอลมีแนวโน้มชัดเจนว่า จะไม่บรรลุผลสำเร็จตามแผนฟื้นฟูกิจการ ภายใต้ความขัดแย้งกันอย่างรุนแรงระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ จนอาจจะทำให้บริษัทไม่สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้
จึงมีความพยายามจากเจ้าหนี้ ลูกหนี้ และพนักงานทีพีไอเรียกร้องให้รัฐบาล และกระทรวงการคลังหามาตรการช่วยเหลือ พร้อมๆกับเป็นตัวกลางไกล่เกลี่ยคดีประวัติศาสตร์ครั้งนี้ให้
รัฐบาลซึ่งเข้าสู่ยุคของ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้แสดงเจตนารมณ์ชัดเจนที่จะช่วยไกล่เกลี่ย และร่วมมือกับศาลยุติธรรมในการแก้ปัญหาลูกหนี้รายนี้อย่างบูรณาการเบ็ดเสร็จ เนื่องจากเห็นว่าทีพีไอเป็นองค์กรขนาดใหญ่ หากไม่สามารถชำระหนี้ได้ ย่อมต้องล้มละลาย และส่งผลกระทบต่อประเทศชาติ และคนไทยจำนวนไม่น้อย โดยเฉพาะผู้ถือหุ้นรายย่อย พนักงาน และครอบครัว ทั้งยังอาจส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ ทำให้นักลงทุนต่างชาติไม่มีความเชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจ และการแก้ปัญหาของรัฐบาล และกระบวนการยุติธรรมของไทยด้วย
ที่สำคัญ ในช่วงเวลานั้น หากรัฐบาลไม่ยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือเพื่อให้การแก้ไขปัญหาหนี้สินจำนวน มหาศาลในระบบธนาคารไทยลดลง และผลักดันให้ลูกหนี้ภาคอุตสาหกรรมสามารถขับเคลื่อนไปได้ อาจมีธนาคารขนาดใหญ่ต้องล้มตามไปด้วย
สู่อ้อมอกกระทรวงการคลัง
มหากาพย์แห่งความขัดแย้งรุนแรงระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ข้างต้น ยุติลงเมื่อศาลล้มละลายกลาง มีคำสั่ง ณ วันที่ 11 ก.ค.2546 ให้กระทรวงการคลังทำหน้าที่เป็นผู้บริหารแผนคนใหม่ และเสนอชื่อผู้แทน 5 คน ได้แก่ พลเอกมงคล อัมพรพิสิฏฐ์, นายพละ สุขเวช, นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา, นายทนง พิทยะ และ นายอารีย์ วงศ์อารยะ (ต่อมาได้แต่งตั้ง นายวีรพงษ์ รามางกูร ทำหน้าที่แทนนายทนง) เข้าไปเป็นคณะผู้บริหารแผน ตามมติเห็นชอบของเจ้าหนี้ รวมถึงฝ่ายของนายประชัย โดย ร.อ.สุชาติ เชาว์วิศิษฐ รมว.คลัง ขณะนั้น ทำหนังสือแจ้งต่อศาลว่า ยินยอมเข้าเป็นผู้บริหารแผน
กระทรวงการคลังและศาลล้มละลายกลางยังกำหนดเป้าหมายชัดเจนให้คณะผู้บริหารแผน ต้องดำเนินการภายใต้สาระสำคัญดังนี้ คือ 1. ทีพีไอต้องดำเนินกิจการต่อไปได้อย่างมั่นคง 2. พนักงานทั้ง 8,000 คน ต้องไม่ตกงาน 3. เจ้าหนี้ต้องได้รับเงินคืน และ 4. ลูกหนี้ต้องได้รับความเป็นธรรม ให้เป็นผลสำเร็จด้วย
เมื่อได้มีการแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการตามความเห็นชอบของศาลล้มละลายกลาง และการยินยอมของเจ้าหนี้แล้ว หนี้ที่เจ้าหนี้ไม่เคยยอมลดให้เลยแม้แต่เหรียญเดียว ก็กลับยอมให้ตัดลดดอกเบี้ยลง 250 ล้านเหรียญฯ ส่วนหนี้เงินต้น 2,700 ล้านเหรียญฯ แบ่งเป็น 2 ก้อน ก้อนแรก 1,800 ล้านเหรียญฯ ยืดการชำระให้ 12 ปี อีก 900 ล้านเหรียญฯ ชำระด้วยหุ้นของ บมจ.ทีพีไอโพลีน กิจการในเครือที่ทีพีไอถืออยู่ และเงินที่ได้จากการขายหุ้นเพิ่มทุน
ทีพีไอยังต้องลดทุนเพื่อล้างผลการขาดทุนสะสม และเพิ่มทุนเพื่อใส่เม็ดเงินใหม่เข้าไป ซึ่งนำมาสู่การดึง 4 พันธมิตรเข้ามาซื้อหุ้นเพิ่มทุนในราคาหุ้นละ 3.30 บาท พันธมิตรที่ว่านี้ได้แก่ บมจ.ปตท. ซึ่งถูกร้องขอให้ถือหุ้นในสัดส่วน 30% ธนาคารออมสินถือ 10% กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) 10% และกองทุนรวมวายุภักษ์ 10% รวมเป็นเงินเพิ่มทุน 39,000 ล้านบาท ภายใต้แผนนี้ยังให้ขายหุ้นแก่พนักงานเพื่อสร้างขวัญกำลังใจ และการมีส่วนร่วมในความเป็นเจ้าของบริษัทด้วย โดยได้เงินจากการเพิ่มครั้งนั้น 58,000 ล้านบาท หรือ 1,450 ล้านเหรียญฯ ทั้งหมดถูกนำไปชำระคืนเจ้าหนี้เรียบร้อย
แม้การฟื้นฟูทีพีไอซึ่งเดินหน้าไปตามแผน และคำสั่งศาลล้มละลายกลางทุกประการจะถูกต่อต้านขัดขวางทุกวิถีทาง และแทบจะทุกขั้นตอนด้วยความรู้สึกของผู้ที่กำลังสูญเสีย และคิดว่าตนไม่ได้รับความเป็นธรรม กระทั่งเป็นผลให้คณะผู้บริหารแผนต้องขึ้นโรงขึ้นศาลคู่ขนานไปตลอดเส้นทางของ การเข้าบริหารทีพีไอ และแม้เรื่องราวจะผ่านมาแล้ว 13 ปี แต่จนถึงวันนี้ก็ยังมีคดีที่รอการตัดสินอีกมากถึง 19 คดี
อย่างไรก็ตาม ระยะเวลาเพียง 2 ปี นับแต่ผู้บริหารแผนเข้าไปจนถึงสิ้นปี 2548 สถานะทางการเงินของทีพีไอ จากที่ใกล้จะล้มละลาย ได้กลับมามีความแข็งแกร่งขึ้นอีกครั้ง โดยสินทรัพย์รวมเพิ่มขึ้นจาก 130,825 ล้านบาท เป็น 152,676 ล้านบาท หนี้สินเดิม 128,787 ล้านบาท ลดลงเหลือ 51,966 ล้านบาท และการขาดทุนสะสมที่มีอยู่ 89,347 ล้านบาท ถูกเปลี่ยนเป็นกำไรสะสม 29,538 ล้านบาท
นอกจากการเป็นบริษัทในเครือ ปตท.จะเรียกภาพพจน์และความเชื่อมั่นกลับคืนมาได้แล้ว ยังได้รับโอกาสการทำธุรกิจร่วมกันเพื่อเพิ่มศักยภาพ และลดต้นทุนได้มากขึ้น เหตุผลนี้ยังทำให้ ทีพีไอสามารถปรับโครงสร้างหนี้ที่เหลืออยู่ได้เร็วขึ้นด้วย ทันทีที่ได้รับความเชื่อถือจากสถาบันการเงิน
ทีพีไอกลับมาเป็นบริษัทที่มีฐานะแข็งแกร่ง พนักงานมีความมั่นคง เจ้าหนี้ได้รับเงินคืน และผู้ถือหุ้นมีความเชื่อมั่นอีกครั้ง จนกระทั่งวันที่ 26 เม.ย.2549 ศาลล้มละลายกลางจึงมีคำสั่งให้ทีพีไอออกจากการฟื้นฟูกิจการ
ปิดตำนานเก่าสู่ฉากใหม่ ไออาร์พีซี
หลังจากที่ชื่อของทีพีไอถูกรูดม่านปิดฉาก และลบออกจากสารบบด้วยการเปลี่ยนมาเป็นชื่อ บมจ.ไออาร์พีซี แล้ว สถานะของบริษัทก็ดีขึ้นเป็นลำดับ โดยผลประกอบการในปี 2552 ซึ่งเป็นปีที่ไออาร์พีซีได้รับการจัดอันดับให้เป็นหุ้นปันผลยอดเยี่ยม โดยจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้นได้ในอัตรา 4.08% จากการที่บริษัทมีรายได้ทั้งสิ้น 167,107 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 5,415 ล้านบาท ขณะที่มีหนี้สินเหลือเพียง 42,239 ล้านบาท
ในปี 2553 ซึ่งกำลังเป็นปีทองของ ไออาร์พีซี จากการประเมินความต้องการใช้พลังงาน และปิโตรเคมีของจีนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่อินเดียกำลังมีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมาก ทำให้มีความต้องการใช้พลาสติกสูง โดยมีเป้าหมายว่า ใน 5 ปีนี้ ไออาร์พีซีจะเป็นผู้นำปิโตรเคมีครบวงจรในเอเชีย
ขณะที่ผู้บริหารไออาร์พีซีฉายภาพการดำเนินงานในปี 2553 ว่า กำไรของบริษัทมีแนวโน้มเติบโตสูงกว่าปีก่อนมาก หากระดับราคาน้ำมันอยู่ที่ 80 เหรียญฯต่อบาร์เรล โดยอัตรากำไรของธุรกิจปิโตรเคมีและค่าการกลั่นยังคงอยู่ในระดับสูง นอกจากนี้ บริษัทยังมีแผนลงทุนใหม่อีก 19 โครงการ มูลค่า 1,300 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งได้รับอนุมัติจากบอร์ดแล้ว 7 โครงการ
เช่น โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพปิโตรเคมี, โครงการผลิตเอทิลีนเกรดพิเศษ, โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพการกลั่น และโครงการผลิตภัณฑ์น้ำมันหล่อลื่นเกรดพิเศษ ฯลฯ ส่วนที่เหลืออีก 12 โครงการ คาดว่าจะอนุมัติการลงทุนได้ครบทั้งหมดภายในปีนี้ และเริ่มทยอยเสร็จตั้งแต่ปีนี้ไปจนถึงปี 2557 ซึ่งเมื่อแล้วเสร็จ จะส่งผลให้ไออาร์พีซีมีกำไรจากการดำเนินงานเพิ่มขึ้นอีกปีละ 350-380 ล้านเหรียญฯ หรือ 11,375-12,350 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม เป็นที่หวั่นเกรงกันมากว่า หลังคณะกรรมการ ป.ป.ช.มีมติชี้มูลความผิดข้างต้นออกมาเช่นนี้แล้ว แผนการลงทุนต่างๆอาจต้องเลื่อนออกไป เนื่องจากแผนควบรวมกิจการระหว่างไออาร์พีซี กับ บมจ.ปตท. อะโรเมติก และการกลั่น (PTTAR) และ บมจ. ปตท.เคมีคอล (PTTCH) จำเป็นต้องเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด หากกระทรวงการคลังและกลุ่มผู้ถือหุ้นใหม่ต้องเข้าไปเยียวยาให้กลุ่มผู้ถือ หุ้นเดิมของทีพีไอ.
ทีมข่าวเศรษฐกิจ
กรูเก่ง กิเลสเก่งกว่า