share หลักการขายหุ้นของพี่ๆใน TVI
-
- Verified User
- โพสต์: 216
- ผู้ติดตาม: 0
share หลักการขายหุ้นของพี่ๆใน TVI
โพสต์ที่ 1
หลักการที่ผมพอจะนึกออกคือ
1. เราคำนวณมูลค่ากิจการแล้ว ถ้ามูลค่ากิจการสูงกว่าราคาตลาด ณ ตอนนั้น และก็มี margin of safety พอสมควร เราก็เข้าไปซื้อ หลังจากซื้อแล้วก็ไม่สนใจตลาดและราคาตลาดว่าจะขึ้นหรือลง สนใจในตัวกิจการอย่างเดียว คอยตรวจสอบหรือประเมินกิจการ ถ้ากิจการยังดีอยู่ ก็ถือต่อ ถ้ากิจการแย่ลงและมีแนวโน้มในอนาคตจะแย่ลงเรื่อยๆ ก็ขายทิ้งโดยไม่สนใจราคาว่า ณ ตอนนั้นราคาเท่าไร สรุปก็คือจะดูราคาเฉพาะครั้งแรกที่ซื้อ หลังจากนั้นจะสนใจเฉพาะตัวกิจการอย่างเดียว
2. . เราคำนวณมูลค่ากิจการแล้ว ถ้ามูลค่ากิจการสูงกว่าราคาตลาด ณ ตอนนั้น และก็มี margin of safety พอสมควร เราก็เข้าไปซื้อ หลังจากนั้นก็คอยดูราคาว่ามันสูงกว่ามูลค่ากิจการที่เราคำนวณได้หรือยัง อาจจะมีบางเหตุการณ์ที่ทำให้ราคาขึ้นไปสูงกว่ามูลค่าที่แท้จริงอย่างรวดเร็ว ถ้าสูงกว่าก็ขายทิ้ง ทั้งที่พื้นฐานของกิจการก็ยังดีอยู่ ถ้าเป็นแบบที่สอง เราต้องคำนวณทุกปีหรือเปล่าครับ เนื่องจากเมื่อเวลาผ่านไป มูลค่ากิจการน่าจะเพิ่มขึ้น ( เนื่องจากค่ากำไรตั้งต้นที่ใช้ในการคำนวณแบบ DCF เพิ่มขึ้น ) ทั้งที่กำไรก็เป็นไปตามที่เราคาดไว้ปีก่อนหน้านี้
อยากถามพี่ๆว่ามีหลักการขายหุ้นแบบไหน และแต่ละแบบมีข้อดี ข้อเสีย ยังไงครับ แล้วแบบไหนน่าจะให้ผลตอบแทนระยะยาวดีกว่ากัน
ส่วนตัวผมกำลังพยายามทำตามข้อหนึ่งอยู่ครับ
ข้อดี
1. ทำให้เราอยู่ห่างไกลจากตลาด เพราะถ้าเราอยู่ใกล้ตลาด ( กลิ่นมันจะเหม็น :lol: ล้อเล่นครับ ) คอยดูราคาขึ้นลงอาจทำให้เราตัดสินใจอะไรบางอย่างตามอารมณ์ของตลาด ทั้งกับหุ้นที่เราถืออยู่ และหุ้นที่เรากำลังศึกษาอยู่
2. อาจจะทำให้เราขายได้ในราคาสูงกว่าที่คำนวณไว้ เนื่องจากเราอาจจะประเมินมูลค่าของกิจการไว้ต่ำเกินไป หรือมีข้อมูลบางอย่างที่เราไม่รู้
และ 3. 4 ... 5 ....
ข้อเสีย
1.อาจทำให้เราเสียโอกาสและเสียเวลา ในกรณีที่อาจจะมีบางเหตุการณ์ที่ทำให้ราคาขึ้นไปสูงกว่ามูลค่าที่แท้จริงอย่างรวดเร็วแล้วตกกลับมาที่ราคาพื้นฐาน แทนที่จะขายแล้ว มองหาหุ้นตัวอื่น
2. อาจจะทำให้เราขายได้ในราคาต่ำกว่าที่ควรจะเป็น เนื่องจากเราอาจจะประเมินมูลค่าของกิจการไว้ต่ำเกินไป หรือมีข้อมูลบางอย่างที่เราไม่รู้
และ 3. 4 ... 5 ....
ขอบคุณครับ
1. เราคำนวณมูลค่ากิจการแล้ว ถ้ามูลค่ากิจการสูงกว่าราคาตลาด ณ ตอนนั้น และก็มี margin of safety พอสมควร เราก็เข้าไปซื้อ หลังจากซื้อแล้วก็ไม่สนใจตลาดและราคาตลาดว่าจะขึ้นหรือลง สนใจในตัวกิจการอย่างเดียว คอยตรวจสอบหรือประเมินกิจการ ถ้ากิจการยังดีอยู่ ก็ถือต่อ ถ้ากิจการแย่ลงและมีแนวโน้มในอนาคตจะแย่ลงเรื่อยๆ ก็ขายทิ้งโดยไม่สนใจราคาว่า ณ ตอนนั้นราคาเท่าไร สรุปก็คือจะดูราคาเฉพาะครั้งแรกที่ซื้อ หลังจากนั้นจะสนใจเฉพาะตัวกิจการอย่างเดียว
2. . เราคำนวณมูลค่ากิจการแล้ว ถ้ามูลค่ากิจการสูงกว่าราคาตลาด ณ ตอนนั้น และก็มี margin of safety พอสมควร เราก็เข้าไปซื้อ หลังจากนั้นก็คอยดูราคาว่ามันสูงกว่ามูลค่ากิจการที่เราคำนวณได้หรือยัง อาจจะมีบางเหตุการณ์ที่ทำให้ราคาขึ้นไปสูงกว่ามูลค่าที่แท้จริงอย่างรวดเร็ว ถ้าสูงกว่าก็ขายทิ้ง ทั้งที่พื้นฐานของกิจการก็ยังดีอยู่ ถ้าเป็นแบบที่สอง เราต้องคำนวณทุกปีหรือเปล่าครับ เนื่องจากเมื่อเวลาผ่านไป มูลค่ากิจการน่าจะเพิ่มขึ้น ( เนื่องจากค่ากำไรตั้งต้นที่ใช้ในการคำนวณแบบ DCF เพิ่มขึ้น ) ทั้งที่กำไรก็เป็นไปตามที่เราคาดไว้ปีก่อนหน้านี้
อยากถามพี่ๆว่ามีหลักการขายหุ้นแบบไหน และแต่ละแบบมีข้อดี ข้อเสีย ยังไงครับ แล้วแบบไหนน่าจะให้ผลตอบแทนระยะยาวดีกว่ากัน
ส่วนตัวผมกำลังพยายามทำตามข้อหนึ่งอยู่ครับ
ข้อดี
1. ทำให้เราอยู่ห่างไกลจากตลาด เพราะถ้าเราอยู่ใกล้ตลาด ( กลิ่นมันจะเหม็น :lol: ล้อเล่นครับ ) คอยดูราคาขึ้นลงอาจทำให้เราตัดสินใจอะไรบางอย่างตามอารมณ์ของตลาด ทั้งกับหุ้นที่เราถืออยู่ และหุ้นที่เรากำลังศึกษาอยู่
2. อาจจะทำให้เราขายได้ในราคาสูงกว่าที่คำนวณไว้ เนื่องจากเราอาจจะประเมินมูลค่าของกิจการไว้ต่ำเกินไป หรือมีข้อมูลบางอย่างที่เราไม่รู้
และ 3. 4 ... 5 ....
ข้อเสีย
1.อาจทำให้เราเสียโอกาสและเสียเวลา ในกรณีที่อาจจะมีบางเหตุการณ์ที่ทำให้ราคาขึ้นไปสูงกว่ามูลค่าที่แท้จริงอย่างรวดเร็วแล้วตกกลับมาที่ราคาพื้นฐาน แทนที่จะขายแล้ว มองหาหุ้นตัวอื่น
2. อาจจะทำให้เราขายได้ในราคาต่ำกว่าที่ควรจะเป็น เนื่องจากเราอาจจะประเมินมูลค่าของกิจการไว้ต่ำเกินไป หรือมีข้อมูลบางอย่างที่เราไม่รู้
และ 3. 4 ... 5 ....
ขอบคุณครับ
- Suysak
- Verified User
- โพสต์: 691
- ผู้ติดตาม: 0
share หลักการขายหุ้นของพี่ๆใน TVI
โพสต์ที่ 2
ขายมันยากกว่าซื้อจริงๆ นะครับ
ของผมนี่ ก็ทำคล้ายๆ จขกท ครับ คือ คิดเป้าหมายในใจเราไว้ แต่ถ้าบางทีขึ้นมาผมก็จะขายไปบ้าง แล้วถ้ามันย่อลงต่ำกว่าที่ซื้อผมก็รับกลับ แต่ก็ไม่ได้ขายทั้งหมด ขายไปทีละจึ๋ง
อันนี้มันก็แล้วแต่สไตล์ละครับ แต่ของผม ผมว่าหุ้นไทยมันก็ขึ้นๆลงๆ ตัดขายไปบ้าง เก็บกำไรใส่กระเป๋าบ้างก็โอเค ครับ
:lol:
ของผมนี่ ก็ทำคล้ายๆ จขกท ครับ คือ คิดเป้าหมายในใจเราไว้ แต่ถ้าบางทีขึ้นมาผมก็จะขายไปบ้าง แล้วถ้ามันย่อลงต่ำกว่าที่ซื้อผมก็รับกลับ แต่ก็ไม่ได้ขายทั้งหมด ขายไปทีละจึ๋ง
อันนี้มันก็แล้วแต่สไตล์ละครับ แต่ของผม ผมว่าหุ้นไทยมันก็ขึ้นๆลงๆ ตัดขายไปบ้าง เก็บกำไรใส่กระเป๋าบ้างก็โอเค ครับ
:lol:
-
- Verified User
- โพสต์: 470
- ผู้ติดตาม: 0
share หลักการขายหุ้นของพี่ๆใน TVI
โพสต์ที่ 3
สำหรับกิจการที่ดี มีการเติบโต
ถือไปเรื่อยๆ สบายใจดี
บางครั้งอาจ overvalued ไปบ้างก็อย่าไปใส่ใจ
ปล....นักลงทุนมักจะประเมินราคาหุ้นผิดเสมอ
ปล....การเปลี่ยนหุ้นบ่อยๆ มักทำให้ผลตอบแทนการลงทุนลดลง
ปล....ซื้อแล้วถือเหมือนเป็นเจ้าของกิจการไปเลยดีกว่า
ดังนั้นสิ่งที่ยากที่สุดน่าจะเป็นการค้นหากิจการที่ดีมากกว่า
ผมชอบคำนี้มาก IN SEARCH OF SUPER STOCKS
ขอร่วมแสดงความคิดเห็นนะครับ อาจไม่ถูกต้องก็เป็นได้
ถือไปเรื่อยๆ สบายใจดี
บางครั้งอาจ overvalued ไปบ้างก็อย่าไปใส่ใจ
ปล....นักลงทุนมักจะประเมินราคาหุ้นผิดเสมอ
ปล....การเปลี่ยนหุ้นบ่อยๆ มักทำให้ผลตอบแทนการลงทุนลดลง
ปล....ซื้อแล้วถือเหมือนเป็นเจ้าของกิจการไปเลยดีกว่า
ดังนั้นสิ่งที่ยากที่สุดน่าจะเป็นการค้นหากิจการที่ดีมากกว่า
ผมชอบคำนี้มาก IN SEARCH OF SUPER STOCKS
ขอร่วมแสดงความคิดเห็นนะครับ อาจไม่ถูกต้องก็เป็นได้
- murder_doll
- Verified User
- โพสต์: 1608
- ผู้ติดตาม: 0
share หลักการขายหุ้นของพี่ๆใน TVI
โพสต์ที่ 4
เห็นด้วยนะครับwisut เขียน: ปล....นักลงทุนมักจะประเมินราคาหุ้นผิดเสมอ
เพราะการประเมินมูลค่าหุ้นมักเป็นการคาดการณ์ล่วงหน้า เช่น DCF เป็นโมเดลที่ดีลัดกุม แต่ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นการคาดคะเนหรือการเดา ซึ่งร้อยละ99.9999 มักจะไม่ถูก :(
เงินทองเป็นของมายา
ข้าวปลาคือของจริง
ข้าวปลาคือของจริง
- sialic
- Verified User
- โพสต์: 144
- ผู้ติดตาม: 0
share หลักการขายหุ้นของพี่ๆใน TVI
โพสต์ที่ 5
ขายหุ้นเมื่อไหร่
นักลงทุนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่า การลงทุนแบบเน้นคุณค่า (Value Investing) คือการ ซื้อหุ้นบริษััทใดบริษัทหนึ่งแล้วถือไว้ไม่ขายเป็นระยะเวลานานๆ ความเข้าใจดังกล่าวถือว่ามีส่วนจริงบ้างแต่ไ่ม่ทั้งหมด บางครั้งนักลงทุนแบบเน้นคุณค่าจำเป็นต้องขายหุ้นที่ถืออยู่ออกไปเช่นเดียว กัน
มีคำถามเข้ามาบ่อยๆ ว่านักลงทุนแบบเน้นคุณค่าควรขายหุ้นเมื่อไหร่ ผู้เขียนขอนำบทความที่เคยเขียนไว้เกี่ยวกับเรื่องนี้มานำเสนออีกครั้งดังนี้ นักลงทุนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดคิดว่า การซื้อหุ้นมาแล้วถือไว้นานๆโดยไม่ขาย คือ การลงทุนแบบ Value Investing หรือ การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ซึ่งนับว่าเป็นความเข้าใจผิดอันดับแรกๆ สาเหตุหนึ่งอาจเป็นไปได้ว่า เรามักได้ยินได้ฟังถึงความสำเร็จของนักลงทุนแบบเน้นคุณค่า มาจากการถือหุ้นบริษัทหนึ่งๆเป็นเวลานานหลายๆปี จนมูลค่าของหุ้นมีราคาสูงกว่าที่ลงทุนซื้อมาเป็นอย่างมาก
แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าหลังจากที่ลง ทุนในหุ้นบริษััทใดบริษัทหนึ่งแล้ว นักลงทุนแบบเน้นคุณค่าจะไม่ดำเนินการขายหุ้นออกไปเลย เหตุผลหลักๆที่ทำให้นักลงทุนแบบเ้น้นคุณค่าขายหุ้นที่ถืออยู่ออกไปมีดังต่อ ไปนี้
หนึ่ง เมื่อพบว่าตัดสินใจลงทุนผิด ไม่ว่าจะใช้เวลานานเพียงใดก็ตาม อาจจะเป็นหนึ่งวัน หนึ่งเดือน หรือ หนึ่งปี ถ้านักลงทุนพบว่า บริษัทที่ได้ซื้อลงทุนไว้นั้นเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาด ต้องทำการขายออกจากพอร์ตทันที ไม่ว่าจะกำไรหรือขาดทุนอยู่เท่าไหร่ก็ตาม
ขณะที่นักลงทุนทั่วไปมักขายหุ้นที่มี ราคาสูงกว่าที่ซื้อมาออกไปเพื่อทำกำไร และมักเก็บหุ้นที่่กำลังขาดทุนเอาไว้เพื่อรอราคาหุ้นดีดกลับมาที่ราคาต้นทุน กลยุทธการลงทุนแบบ กำไรขายออก ขาดทุนเก็บไว้ เช่นนี้ จะไช้ได้ผลดีในภาวะตลาดขาขึ้น เพราะราคาหุ้นมักลดลงเพียงชั่วคราวแล้วกลับมีราคาสูงขึ้นในระยะเวลาอันสั้น ทำให้โอกาสขาดทุนมีน้อย แต่ถ้าเป็นภาวะตลาดขาลง กลยุทธการลงทุนแบบนี้อาจทำให้เกิดภาวะการขาดทุนที่บางครั้งอาจประเมินไม่ได้ เพราะเมื่อถึงคราวหุ้นขาลง ไม่มีใครบอกได้ว่า ราคาหุ้นจะลงไปได้มากน้อยเพียงใด
สำหรับนักลงทุนแบบเน้นคุณค่า ถ้าพบว่าบริษัทที่ซื้อมาเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาด แล้วรีบขายออกไปทันที ถึงแม้จะขาดทุนอยู่ก็ตาม จะช่วยลดภาระการขาดทุนที่อาจมากขึ้นจากการถือหุ้นนั้นเป็นเวลานานๆได้
สอง เมื่อพื้นฐานบริษัทมีการเปลี่ยนแปลงอย่างถาวร พื้นฐานของบริษัทใน ตลาดหุ้นมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เพราะในสภาพความเป็นจริง ธุรกิจไม่อยู่นิ่ง การแข่งขันในธุรกิจมีการดำเนินไปอยู่ตลอดตราบที่ธุรกิจยังคงอยู่ ดังนั้น นักลงทุนแบบเน้นคุณค่า จึงควรที่จะหมั่นตรวจสอบสภาพพื้นฐานของบริษัทที่กำลังลงทุนอยู่เป็นระยะๆ
การเข้าใจถึงสภาพพื้นฐานการดำเนินธุรกิจ ของบริษัทที่ลงทุนเป็นอย่างดี เป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยทำให้นักลงทุนแบบเน้นคุณค่า ไม่หวั่นไหวต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้นในระยะสั้น ถึงแม้ข่าวสารที่ได้รับจะทำให้ตลาดหุ้นตอบรับกับข่าวนั้นอย่างปัจจุบันทัน ด่วนทันที ข่าวร้ายอาจทำให้ราคาหุ้นลดลงอย่างรวดเร็ว ถ้านักลงทุนสามารถวิเคาระห์ได้ว่า ผลกระทบของข่าวร้ายนั้นไม่มีผลกับปัจจัยพื้นฐานของบริษัทที่ลงทุนแต่อย่างใด ก็ไม่มีความจำเป็นต้องขายหุ้นแต่อย่างใด
แต่ถ้านักลงทุนแบบเน้นคุณค่าพบว่า พื้นฐานกิจการของบริษัทที่กำลังลงทุนอยู่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างถาวร ก็ไม่ควรลังเลที่จะขายหุ้นของบริษัทนั้นออกไปทันที
สาม เมื่อมีโอกาสในการลงทุนที่ดีกว่า สำหรับการลงทุนแบบ เน้นคุณค่า โอกาสในการลงทุนนั้นไม่ได้เกิดขึ้นอยู่บ่อยๆ เมื่อโอกาสในการลงทุนมาถึง นักลงทุนอาจจำเป็นต้องขายหุ้นบริษัทหนึ่งเพื่อไปซื้อหุ้นอีกบริษัทหนึ่งที่ ดีกว่าแทน การตัดสินใจเช่นนี้ นักลงทุนต้องมั่นใจในหุ้นบริษัทใหม่ว่ามีพื้นฐานที่ดีกว่า รวมทั้งมีราคาที่เหมาะสมกับการลงทุนมากกว่า
มิฉะนั้นอาจต้องมาเสียดายหุ้นที่ขายไปแล้ว เพราะในภายหลังพบว่าหุ้นเดิมเป็นหุ้นที่ดีกว่าหุ้นที่ซื้อมาใหม่
บางครั้งโอกาสในการลงทุนที่ดีกว่า ไม่ได้หมายถึงการเปลี่ยนไปซื้อหุ้นบริษัทใหม่เพียงอย่างเดียว บางท่านอาจพบว่า การขายหุ้นเพื่อนำไปทำธุุรกิจอย่างอื่น หรือ ลงทุนในพันธบัตรในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยสูงๆ อาจเป็นโอกาสในการลงทุนที่ดีกว่าก็เป็นได้
ทั้งสามข้อ คือ เหตุผลสำคัญในการขายหุ้นของนักลงทุนแบบเน้นคุณค่า จะเห็นว่าการลงทุน แบบเน้นคุณค่า ไม่ใช่การถือหุ้นยาวๆโดยไม่ได้ทำอะไรเลยอย่างที่นักลงทุนส่วนใหญ่เข้าใจกัน
.. บทความจาก http://www.thaivi.com/2010/02/276/
นักลงทุนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่า การลงทุนแบบเน้นคุณค่า (Value Investing) คือการ ซื้อหุ้นบริษััทใดบริษัทหนึ่งแล้วถือไว้ไม่ขายเป็นระยะเวลานานๆ ความเข้าใจดังกล่าวถือว่ามีส่วนจริงบ้างแต่ไ่ม่ทั้งหมด บางครั้งนักลงทุนแบบเน้นคุณค่าจำเป็นต้องขายหุ้นที่ถืออยู่ออกไปเช่นเดียว กัน
มีคำถามเข้ามาบ่อยๆ ว่านักลงทุนแบบเน้นคุณค่าควรขายหุ้นเมื่อไหร่ ผู้เขียนขอนำบทความที่เคยเขียนไว้เกี่ยวกับเรื่องนี้มานำเสนออีกครั้งดังนี้ นักลงทุนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดคิดว่า การซื้อหุ้นมาแล้วถือไว้นานๆโดยไม่ขาย คือ การลงทุนแบบ Value Investing หรือ การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ซึ่งนับว่าเป็นความเข้าใจผิดอันดับแรกๆ สาเหตุหนึ่งอาจเป็นไปได้ว่า เรามักได้ยินได้ฟังถึงความสำเร็จของนักลงทุนแบบเน้นคุณค่า มาจากการถือหุ้นบริษัทหนึ่งๆเป็นเวลานานหลายๆปี จนมูลค่าของหุ้นมีราคาสูงกว่าที่ลงทุนซื้อมาเป็นอย่างมาก
แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าหลังจากที่ลง ทุนในหุ้นบริษััทใดบริษัทหนึ่งแล้ว นักลงทุนแบบเน้นคุณค่าจะไม่ดำเนินการขายหุ้นออกไปเลย เหตุผลหลักๆที่ทำให้นักลงทุนแบบเ้น้นคุณค่าขายหุ้นที่ถืออยู่ออกไปมีดังต่อ ไปนี้
หนึ่ง เมื่อพบว่าตัดสินใจลงทุนผิด ไม่ว่าจะใช้เวลานานเพียงใดก็ตาม อาจจะเป็นหนึ่งวัน หนึ่งเดือน หรือ หนึ่งปี ถ้านักลงทุนพบว่า บริษัทที่ได้ซื้อลงทุนไว้นั้นเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาด ต้องทำการขายออกจากพอร์ตทันที ไม่ว่าจะกำไรหรือขาดทุนอยู่เท่าไหร่ก็ตาม
ขณะที่นักลงทุนทั่วไปมักขายหุ้นที่มี ราคาสูงกว่าที่ซื้อมาออกไปเพื่อทำกำไร และมักเก็บหุ้นที่่กำลังขาดทุนเอาไว้เพื่อรอราคาหุ้นดีดกลับมาที่ราคาต้นทุน กลยุทธการลงทุนแบบ กำไรขายออก ขาดทุนเก็บไว้ เช่นนี้ จะไช้ได้ผลดีในภาวะตลาดขาขึ้น เพราะราคาหุ้นมักลดลงเพียงชั่วคราวแล้วกลับมีราคาสูงขึ้นในระยะเวลาอันสั้น ทำให้โอกาสขาดทุนมีน้อย แต่ถ้าเป็นภาวะตลาดขาลง กลยุทธการลงทุนแบบนี้อาจทำให้เกิดภาวะการขาดทุนที่บางครั้งอาจประเมินไม่ได้ เพราะเมื่อถึงคราวหุ้นขาลง ไม่มีใครบอกได้ว่า ราคาหุ้นจะลงไปได้มากน้อยเพียงใด
สำหรับนักลงทุนแบบเน้นคุณค่า ถ้าพบว่าบริษัทที่ซื้อมาเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาด แล้วรีบขายออกไปทันที ถึงแม้จะขาดทุนอยู่ก็ตาม จะช่วยลดภาระการขาดทุนที่อาจมากขึ้นจากการถือหุ้นนั้นเป็นเวลานานๆได้
สอง เมื่อพื้นฐานบริษัทมีการเปลี่ยนแปลงอย่างถาวร พื้นฐานของบริษัทใน ตลาดหุ้นมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เพราะในสภาพความเป็นจริง ธุรกิจไม่อยู่นิ่ง การแข่งขันในธุรกิจมีการดำเนินไปอยู่ตลอดตราบที่ธุรกิจยังคงอยู่ ดังนั้น นักลงทุนแบบเน้นคุณค่า จึงควรที่จะหมั่นตรวจสอบสภาพพื้นฐานของบริษัทที่กำลังลงทุนอยู่เป็นระยะๆ
การเข้าใจถึงสภาพพื้นฐานการดำเนินธุรกิจ ของบริษัทที่ลงทุนเป็นอย่างดี เป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยทำให้นักลงทุนแบบเน้นคุณค่า ไม่หวั่นไหวต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้นในระยะสั้น ถึงแม้ข่าวสารที่ได้รับจะทำให้ตลาดหุ้นตอบรับกับข่าวนั้นอย่างปัจจุบันทัน ด่วนทันที ข่าวร้ายอาจทำให้ราคาหุ้นลดลงอย่างรวดเร็ว ถ้านักลงทุนสามารถวิเคาระห์ได้ว่า ผลกระทบของข่าวร้ายนั้นไม่มีผลกับปัจจัยพื้นฐานของบริษัทที่ลงทุนแต่อย่างใด ก็ไม่มีความจำเป็นต้องขายหุ้นแต่อย่างใด
แต่ถ้านักลงทุนแบบเน้นคุณค่าพบว่า พื้นฐานกิจการของบริษัทที่กำลังลงทุนอยู่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างถาวร ก็ไม่ควรลังเลที่จะขายหุ้นของบริษัทนั้นออกไปทันที
สาม เมื่อมีโอกาสในการลงทุนที่ดีกว่า สำหรับการลงทุนแบบ เน้นคุณค่า โอกาสในการลงทุนนั้นไม่ได้เกิดขึ้นอยู่บ่อยๆ เมื่อโอกาสในการลงทุนมาถึง นักลงทุนอาจจำเป็นต้องขายหุ้นบริษัทหนึ่งเพื่อไปซื้อหุ้นอีกบริษัทหนึ่งที่ ดีกว่าแทน การตัดสินใจเช่นนี้ นักลงทุนต้องมั่นใจในหุ้นบริษัทใหม่ว่ามีพื้นฐานที่ดีกว่า รวมทั้งมีราคาที่เหมาะสมกับการลงทุนมากกว่า
มิฉะนั้นอาจต้องมาเสียดายหุ้นที่ขายไปแล้ว เพราะในภายหลังพบว่าหุ้นเดิมเป็นหุ้นที่ดีกว่าหุ้นที่ซื้อมาใหม่
บางครั้งโอกาสในการลงทุนที่ดีกว่า ไม่ได้หมายถึงการเปลี่ยนไปซื้อหุ้นบริษัทใหม่เพียงอย่างเดียว บางท่านอาจพบว่า การขายหุ้นเพื่อนำไปทำธุุรกิจอย่างอื่น หรือ ลงทุนในพันธบัตรในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยสูงๆ อาจเป็นโอกาสในการลงทุนที่ดีกว่าก็เป็นได้
ทั้งสามข้อ คือ เหตุผลสำคัญในการขายหุ้นของนักลงทุนแบบเน้นคุณค่า จะเห็นว่าการลงทุน แบบเน้นคุณค่า ไม่ใช่การถือหุ้นยาวๆโดยไม่ได้ทำอะไรเลยอย่างที่นักลงทุนส่วนใหญ่เข้าใจกัน
.. บทความจาก http://www.thaivi.com/2010/02/276/
new user
-
- Verified User
- โพสต์: 547
- ผู้ติดตาม: 0
share หลักการขายหุ้นของพี่ๆใน TVI
โพสต์ที่ 6
ขอบคุณครับ