ทำไม stock ที่มี earning growth 10% ถึงควรมี pe 10 เท่าครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 5
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไม stock ที่มี earning growth 10% ถึงควรมี pe 10 เท่าครับ
โพสต์ที่ 1
เป็น rule of thumb หรือว่ามีเหตุผลรองรับไหมครับ
ผมรู้ว่า บริษัทีที่มี earning growth ดีในอนาคต ธรรมาดาควรที่จะมี pe สูง กว่าบริษัทที่โตช้ากว่า แต่ทำไมโต 10% ต้อง pe 10 เท่าผมสงสัยนะครับ
มีท่านไหนพอทราบไหมครับ
ผมรู้ว่า บริษัทีที่มี earning growth ดีในอนาคต ธรรมาดาควรที่จะมี pe สูง กว่าบริษัทที่โตช้ากว่า แต่ทำไมโต 10% ต้อง pe 10 เท่าผมสงสัยนะครับ
มีท่านไหนพอทราบไหมครับ
- densin
- Verified User
- โพสต์: 1073
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไม stock ที่มี earning growth 10% ถึงควรมี pe 10 เท่าครับ
โพสต์ที่ 2
เข้าใจว่ากฏตั้งมาให้จำตัวเลขง่ายๆ= 10
ที่มาอาจจะใช้ DCF คิดลดว่าถ้าโต10% ก็จะได้มูลค่าจะประมาณๆนี้
แต่ให้ดูอย่างอื่นประกอบด้วยนะครับ
- ความสามารถการแข่งขัน
- ความซื้อสัตย์และความสามารถผู้บริหาร
- ROA ROE ROIC
- อัตราปันผล
ที่มาอาจจะใช้ DCF คิดลดว่าถ้าโต10% ก็จะได้มูลค่าจะประมาณๆนี้
แต่ให้ดูอย่างอื่นประกอบด้วยนะครับ
- ความสามารถการแข่งขัน
- ความซื้อสัตย์และความสามารถผู้บริหาร
- ROA ROE ROIC
- อัตราปันผล
VI สายมืด = VI หน้ามืดซื้อตัวฮอทๆอย่าไม่ลืมหูลืมตา
-
- Verified User
- โพสต์: 5
- ผู้ติดตาม: 0
ขอบคุณครับ
โพสต์ที่ 4
ขอบคุณครับ
อืมม น่าจะเป็นอย่างที่คุณ DENSIN บอกนะครับ
พอดีผมอ่านบทวิเคราะห์หุ้น แล้วมักจะเห็นนักวิเคราะห์ใช้วิธีประเมินมูลค่าเหมาะสมของหุ้นด้วยวิธีนี้บ่อยๆ และมักจะเจอวิธีประเมินมูลค่านี้ในหนังสือที่เขียนโดย Investment Guru เลยคิดว่าเป็นเทคนิคอันนึงที่สำคัญ
จึงทำให้ผมอยากจะทราบถึงที่มาที่ไปของ valuation technique อันนี้แบบจริงๆที่มีการพิสูจน์นะครับ
อย่าง rule of 72 ยังพอจะพิสูจน์ได้ด้วยตัวเองนะครับ
ถ้าเป็น DCF จริงๆ มีใครทราบ logic ของมันไหมครับ เพราะ DCF มันต้องมี Risk Premium ด้วย stock แต่ละตัวเลยอาจจะต่างกันนะครับ
อืมม น่าจะเป็นอย่างที่คุณ DENSIN บอกนะครับ
พอดีผมอ่านบทวิเคราะห์หุ้น แล้วมักจะเห็นนักวิเคราะห์ใช้วิธีประเมินมูลค่าเหมาะสมของหุ้นด้วยวิธีนี้บ่อยๆ และมักจะเจอวิธีประเมินมูลค่านี้ในหนังสือที่เขียนโดย Investment Guru เลยคิดว่าเป็นเทคนิคอันนึงที่สำคัญ
จึงทำให้ผมอยากจะทราบถึงที่มาที่ไปของ valuation technique อันนี้แบบจริงๆที่มีการพิสูจน์นะครับ
อย่าง rule of 72 ยังพอจะพิสูจน์ได้ด้วยตัวเองนะครับ
ถ้าเป็น DCF จริงๆ มีใครทราบ logic ของมันไหมครับ เพราะ DCF มันต้องมี Risk Premium ด้วย stock แต่ละตัวเลยอาจจะต่างกันนะครับ
- densin
- Verified User
- โพสต์: 1073
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ขอบคุณครับ
โพสต์ที่ 7
DCF เป็นการคิดว่าอนาคตจะได้รับผลตอบแทนแต่ละปีประมาณเท่าไหร่thiticom เขียน:ขอบคุณครับ
ถ้าเป็น DCF จริงๆ มีใครทราบ logic ของมันไหมครับ เพราะ DCF มันต้องมี Risk Premium ด้วย stock แต่ละตัวเลยอาจจะต่างกันนะครับ
ไม่ว่าคิดจาก กำไร,ปันผลหรือเงินสดอิสระ
แล้วมาคิดลดเป็นเงินปัจจุบัน ด้วย ต้นทุนการลงทุน(wacc)ของเงินกู้และส่วนผู้ถือหุ้น
(ซึ่งคำนวนยาก ควรใช้excelช่วย ขอข้ามรายละเอียดนะครับ)
ปัญหาของวิธีนี้คือมีparameterมากไป ต้องคาดการธุรกิจไกลๆ ไม่ว่าการคาดการ การเจริญเติบโต, จะเติบโตได้กี่ปี , ความแน่นอนธุรกิจ, แผนการลงทุนที่อาจจะปรับเปลี่ยนไป
ซึ่งความไม่แน่นอนตรงนี้แหละเลยต้องมี risk premiumต่างกัน สำหรับบริษัทที่พื้นฐานต่างกัน
คนเลยนิยมใช้PEมากกว่า เพราะคำนวนง่าย แต่จริงๆแล้วPEนี่เป็นการคำนวนหยาบมาก ละเลยปัจจัยต่างๆออกหมด เหลือแค่ราคาหุ้นกับกำไร ซึ่งจะเหมาะกับการเก็งกำไรรายปี/รายไตรมาส มากกว่าDCF
VI สายมืด = VI หน้ามืดซื้อตัวฮอทๆอย่าไม่ลืมหูลืมตา
-
- Verified User
- โพสต์: 5
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ขอบคุณครับ
โพสต์ที่ 9
ขอบคุณครับมากครับคุณ DENSIN คุณDENSIN เป็นคนที่มีความรู้กว้างดีนะครับdensin เขียน: DCF เป็นการคิดว่าอนาคตจะได้รับผลตอบแทนแต่ละปีประมาณเท่าไหร่
ไม่ว่าคิดจาก กำไร,ปันผลหรือเงินสดอิสระ
แล้วมาคิดลดเป็นเงินปัจจุบัน ด้วย ต้นทุนการลงทุน(wacc)ของเงินกู้และส่วนผู้ถือหุ้น
(ซึ่งคำนวนยาก ควรใช้excelช่วย ขอข้ามรายละเอียดนะครับ)
ปัญหาของวิธีนี้คือมีparameterมากไป ต้องคาดการธุรกิจไกลๆ ไม่ว่าการคาดการ การเจริญเติบโต, จะเติบโตได้กี่ปี , ความแน่นอนธุรกิจ, แผนการลงทุนที่อาจจะปรับเปลี่ยนไป
ซึ่งความไม่แน่นอนตรงนี้แหละเลยต้องมี risk premiumต่างกัน สำหรับบริษัทที่พื้นฐานต่างกัน
คนเลยนิยมใช้PEมากกว่า เพราะคำนวนง่าย แต่จริงๆแล้วPEนี่เป็นการคำนวนหยาบมาก ละเลยปัจจัยต่างๆออกหมด เหลือแค่ราคาหุ้นกับกำไร ซึ่งจะเหมาะกับการเก็งกำไรรายปี/รายไตรมาส มากกว่าDCF
คือเรื่อง DCF ผมพอจะทราบบ้างครับ
แต่อยากจะทราบเพิ่มเติมเกี่ยว กับที่มาที่ไปของ logic ของ DCF ที่เป็นที่มาที่ไปของ PE and Growth valuation technique นะครับ ที่คุณ DENSIN กล่างถึงในตอนแรกครับ
- densin
- Verified User
- โพสต์: 1073
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ขอบคุณครับ
โพสต์ที่ 11
ความรู้ผมก็ลอกมาจากคนอื่นแหละครับ บางทีก็อ่านหนังสือมาthiticom เขียน:
แต่อยากจะทราบเพิ่มเติมเกี่ยว กับที่มาที่ไปของ logic ของ DCF ที่เป็นที่มาที่ไปของ PE and Growth valuation technique นะครับ ที่คุณ DENSIN กล่างถึงในตอนแรกครับ
มีหนังสือเล่มนึง (จำไม่ได้ว่าเล่มไหน เชื่อได้เปล่าไม่รู้)
อ้างว่าDCFมาจากการคำนวนผลตอบแทนของ project งาน
แล้วมีคนเอามาประยุกต์กับการหามูลค่าหุ้นภายหลัง
เช่น มีprojectรับงาน 100ล้าน ต้นทุน70ล้าน แต่การจ่ายเงินรับเงินไม่เหมือนกัน สมมติให้กู้เงินมาลงทุนอย่างเดียว อาจจะมีรูปแบบเช่น
- โครงการะยะเวลา 2ปี รับเงินก่อน 20% แล้วรับเงินที่หลัง 80% รายจ่ายจ่ายก่อนเฉลี่ยๆไปรายเดือน
- โครงการะยะเวลา 1ปี รับเงินที่ตอนจบอย่างเดียว รายจ่ายจ่ายทุกๆ3เดือน
หรือ รูปแบบสมมติอื่นๆ
ถ้ามองในมุมมองของระยะเวลาและpayment term
ทั้งๆที่ marginเท่ากัน มูลค่าโครงการเท่ากัน
แต่ละรูปแบบจะให้ผลตอบแทนไม่เท่ากัน มูลค่าโครงการที่แท้จริงต่างกั้น
เพราะถ้าท่านจ่ายเงินไปก่อน ก็เสียดอกเบี้ย ถ้ารับเงินก่อนก็ไปฝากได้ดอกเบี้ย
VI สายมืด = VI หน้ามืดซื้อตัวฮอทๆอย่าไม่ลืมหูลืมตา
-
- Verified User
- โพสต์: 807
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไม stock ที่มี earning growth 10% ถึงควรมี pe 10 เท่าครับ
โพสต์ที่ 12
ผมลองคำนวณใน excel เล่นๆ โดยกำหนดให้ซื้อหุ้นที่มี P/E = growth
กรณีที่ ไม่คิดลดต้นทุนทางการเงิน ได้ผลมาดังนี้ครับ
กรณีที่ ไม่คิดลดต้นทุนทางการเงิน ได้ผลมาดังนี้ครับ
แต่ หากคิดลดโดยตั้งสมมติฐานว่าเราซื้อมาที่ P/E เหมาะสม (ไม่มีส่วนลด) จะได้อัตราคิดลด = E/P (อ้างอิงจาก Value Investing หลักสูตรมหาลัยโคลัมเบีย) กลับได้ผลลัพธ์ดังนี้ครับPE = g คืนทุนจากกำไรสะสมปีที่
5 5
6-7 6
8-10 7
11-18 8
19-20 9
แสดงว่า PE ยิ่งต่ำดูเหมือนว่าจะยิ่งคืนทุนเร็ว
หากเราถือหุ้นนั้นไว้ 20 ปี เราจะมี อัตรากำไรสะสม / เงินต้นดังนี้ครับ
PE = g กำไรสะสม / เงินต้น
1 22.2
5 6.9
6,11 6.5
7,10 6.3
8-9 6.2
15 7.9
20 11.2
แสดงว่าผลตอบแทนระยะยาวจะขึ้นอยู่กับ 2 สิ่งคือ
1. ซื้อหุ้น P/E ต่ำมาก
2. ซื้อหุ้น Growth สูงมาก
ลองคำนวณเล่นๆ กันดูนะครับ ผิดพลาดประการใด ขออภัย :roll:PE = g คืนทุนจากกำไรสะสมปีที่
1 6
5 10
10 10
15 10
20 10
กรณีนี้กลับแสดงให้เห็นว่าการซื้อหุ้นที่ P/E เหมาะสมและมี P/E = Growth จะมีระยะเวลาคืนทุนเฉลี่ยที่ 10 ปีเท่ากันเกือบทั้งหมด (ซึ่งตรงนี้คงเป็นคำตอบให้คุณ thiticom ได้ว่าทำไมบริษัทที่มี Growth 10% จึงควรมี P/E = 10)
หากเราถือหุ้นนั้นไว้ 20 ปี เราจะมี อัตรากำไรสะสม / เงินต้นดังนี้ครับ
PE = g กำไรสะสม / เงินต้น
1 1.02
5 1.30
10 2
15 3.22
20 5.38
แสดงให้เห็นว่าการลงทุนในโลกแห่งความเป็นจริง ซึ่งมีต้นทุนทางการเงินนั้นการซื้อหุ้นที่มี Growth สูงที่ P/E เหมาะสม จะได้ผลตอบแทบที่มากกว่าการซื้อหุ้น P/E ต่ำที่ไม่มีการเติบโตอย่างมากครับ
แต่สุดท้ายแล้วการที่ growth จะคงอยู่ได้นาน 10 - 20 ปีเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากครับ ฉะนั้นการซื้อหุ้นที่มีส่วนลดหรือ MOS มากๆ ยังคงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับ VI แน่นอนครับ
อย่ายอมแพ้
- ayethebing
- Verified User
- โพสต์: 2125
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไม stock ที่มี earning growth 10% ถึงควรมี pe 10 เท่าครับ
โพสต์ที่ 13
ตัวเลขที่เทียบกันกับ PE กับ growth เป็น ปีเตอร์ ลินช์ ครับ ที่เสนอให้ใช้ เค้าใช้ตัวเลข PEG Ratio ก็คือ PE/อัตราการเติบโตที่คาดไว้ ถ้าน้อยแสดงว่าถูก ถ้ามากก็แพง ไม่มีข้อพิสูจน์ได้ทางคณิตศาสตร์หรือทฤษฎีทางการเงิน แต่เป็น "กฎหัวแม่โป้ง" (rule of thumb) ที่ตั้งขึ้นมาครับ
ข้อดีคือมันเป็นอัตราส่วนที่เข้าใจได้ง่ายๆ ซึ่งพยายามอธิบายว่าทำไมหุ้นถึงซื้อขายกันด้วย PE ที่สูงหรือต่ำ
ข้อเสียคือ ไม่สามารถใช้วัดกับบริษัทที่มีการเติบโตน้อย แต่ให้ปันผลเยอะได้ เช่น บริษัทพวกเสือนอนกินทั้งหลาย อีกอย่างคือ อัตราการเติบโตที่คาดไว้ มันเป็นการคาดเดาซึ่งไม่แน่ไม่นอน อย่างที่เพื่อนๆ ท่านอื่นบอก
ข้อดีคือมันเป็นอัตราส่วนที่เข้าใจได้ง่ายๆ ซึ่งพยายามอธิบายว่าทำไมหุ้นถึงซื้อขายกันด้วย PE ที่สูงหรือต่ำ
ข้อเสียคือ ไม่สามารถใช้วัดกับบริษัทที่มีการเติบโตน้อย แต่ให้ปันผลเยอะได้ เช่น บริษัทพวกเสือนอนกินทั้งหลาย อีกอย่างคือ อัตราการเติบโตที่คาดไว้ มันเป็นการคาดเดาซึ่งไม่แน่ไม่นอน อย่างที่เพื่อนๆ ท่านอื่นบอก
ขอนไม้อันนิ่งสงบ
- unnop.t
- Verified User
- โพสต์: 924
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไม stock ที่มี earning growth 10% ถึงควรมี pe 10 เท่าครับ
โพสต์ที่ 15
logic ของ dcf model จริง ๆแล้วมันเป็นการมองว่าสินทรัพย์ตัวที่เราลงทุน จะสร้างกระแสเงินสดออกมาเท่าไหร่ตลอดระยะเวลาที่เราถือครอง ดังนั้นเราจึงใช้ค่า FCF ในการคำนวน (เพราะว่าเป็นเงินที่เหลือจากใช้จ่ายในกิจการ สามารถตัดสินใจเอาไปปันผล หรือจ่ายหนี้) มันมาจากการประเมินโครงการการลงทุน NPV ถ้า NPV ( present value - investment) เป็นบวกมาก ๆ (undervalue) โครงการ หรือสินทรัพย์ตัวนั้นก็น่าสนใจ
แต่ในชีวิตจริง factor ที่กระทบกับการคำนวนมันจะ sensitive มาก เพียงแค่เปลี่ยน factor นิดหน่อย เช่น gorwth rate, future revenue เป็นต้น ค่า valuation จึงแตกต่างกันมาก ดังนั้นส่วนใหญ่เราเลยใช้ค่า pe เป็นหลัก
จริงๆ แล้ว ค่า pe ที่เหมาะสมมันเป็นศิลปะมากกว่าศาสตร์นะครับผมว่า PEG ก็เป็นการมองแบบง่าย ๆอย่างหนึ่ง ว่ากันจริง ๆแล้ว pe ที่เหมาะสมสามารถประยุกต์เอา factor ใน dcf มาใช้ได้ เช่น บริษัทที่มี growth, ลงทุนน้อย (capex), รับสดจ่ายเชื่อ (working cap), พวกนี้เป็นแต้มบวกสำหรับกระแสเงินสด บริษัทเหล่านี้ควรจะมีค่า pe สูงกว่า
ลองเข้าไปดูในกระทู้ห้องคุณค่าเรื่อง PE ดูสิครับ
แต่ในชีวิตจริง factor ที่กระทบกับการคำนวนมันจะ sensitive มาก เพียงแค่เปลี่ยน factor นิดหน่อย เช่น gorwth rate, future revenue เป็นต้น ค่า valuation จึงแตกต่างกันมาก ดังนั้นส่วนใหญ่เราเลยใช้ค่า pe เป็นหลัก
จริงๆ แล้ว ค่า pe ที่เหมาะสมมันเป็นศิลปะมากกว่าศาสตร์นะครับผมว่า PEG ก็เป็นการมองแบบง่าย ๆอย่างหนึ่ง ว่ากันจริง ๆแล้ว pe ที่เหมาะสมสามารถประยุกต์เอา factor ใน dcf มาใช้ได้ เช่น บริษัทที่มี growth, ลงทุนน้อย (capex), รับสดจ่ายเชื่อ (working cap), พวกนี้เป็นแต้มบวกสำหรับกระแสเงินสด บริษัทเหล่านี้ควรจะมีค่า pe สูงกว่า
ลองเข้าไปดูในกระทู้ห้องคุณค่าเรื่อง PE ดูสิครับ
ตลาดหุ้นมักจะหลอกเราด้วย ความโลภ และความกลัว.....
-
- Verified User
- โพสต์: 1070
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไม stock ที่มี earning growth 10% ถึงควรมี pe 10 เท่าครับ
โพสต์ที่ 17
อิอิ งงมากมาย PE กับ Growth มันเกี่ยวกันขนาดนั้นเลยหรอ
ถ้าไม่ Growth เลย PE ควรเป็นเท่าไหร่ดีละ
PE น่าจะขึ้นกับ RISK และ Expected return มากว่า ครับ
ขอฉีกแนว
ยกตัวอย่าง BOND Growth = 0 เพราะ จ่าย Cupon คงที่
ถ้าไม่ Growth เลย PE ควรเป็นเท่าไหร่ดีละ
PE น่าจะขึ้นกับ RISK และ Expected return มากว่า ครับ
ขอฉีกแนว
ยกตัวอย่าง BOND Growth = 0 เพราะ จ่าย Cupon คงที่
-
- Verified User
- โพสต์: 368
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไม stock ที่มี earning growth 10% ถึงควรมี pe 10 เท่าครับ
โพสต์ที่ 18
ผลตอบแทนที่คาดหวังของหุ้นคือ 10% ต่อปี
ถ้าธุรกิจไม่โตเลย แล้วมีค่า p/e 10 เท่า ธุรกิจนั้นจะต้องปันผลออกมา 100% ของกำไร นักลงทุนถึงได้ผลตอบแทน10% ซึ่งหุ้นแบบนี้หาได้ยาก
เพราะงั้นหุ้นที่มี p/e 10เท่า จะต้องมี growth สัก 10% เผื่อที่ถ้าไปปันผลออกมาเลย นักลงทุนก็ยังหวังผลตอบแทนจาก capital gain ได้
ถ้าธุรกิจไม่โตเลย แล้วมีค่า p/e 10 เท่า ธุรกิจนั้นจะต้องปันผลออกมา 100% ของกำไร นักลงทุนถึงได้ผลตอบแทน10% ซึ่งหุ้นแบบนี้หาได้ยาก
เพราะงั้นหุ้นที่มี p/e 10เท่า จะต้องมี growth สัก 10% เผื่อที่ถ้าไปปันผลออกมาเลย นักลงทุนก็ยังหวังผลตอบแทนจาก capital gain ได้
-
- Verified User
- โพสต์: 1070
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไม stock ที่มี earning growth 10% ถึงควรมี pe 10 เท่าครับ
โพสต์ที่ 19
ทำไมเราคาดหวังแค่ 10% คาดหวังมากกว่านี้หรือน้อยกว่านี้ไม่ได้หรอ ค่าคาดหวังอยู่ที่ความเสี่ยง High risk high expected return
อย่าง พันธบัตรรัฐบาล ความเสี่ยงต่ำ เรา expected return แค่ 5% เอง PE เท่ากับ 20 growth = 0% ด้วย
อย่าง พันธบัตรรัฐบาล ความเสี่ยงต่ำ เรา expected return แค่ 5% เอง PE เท่ากับ 20 growth = 0% ด้วย