คุณคิดอย่างไรบ้างกับการรวมแบงค์ของสเปนทั้ง 4 แห่ง
- nata
- Verified User
- โพสต์: 141
- ผู้ติดตาม: 0
คุณคิดอย่างไรบ้างกับการรวมแบงค์ของสเปนทั้ง 4 แห่ง
โพสต์ที่ 1
ที่มาจากกระแสหุ้นครับ
4 แบงก์สเปนควบกิจการหวังเพิ่มความแข็งแกร่ง
Tuesday, 25 May 2010 16:22
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักข่าวเอพี ระบุว่า ธนาคารขนาดกลางของสเปน 4 แห่ง ซึ่งได้แก่ Cajastur, Caja de Ahorros del Mediterraneo, Caja Extremadura และ Caja Cantabria ได้ทำข้อตกลงเพื่อควบรวมกิจการเป็นกลุ่มสถาบันการเงิน ซึ่งจะทำให้ธนาคารในกลุ่มมีความสามารถในการชำระหนี้และมีฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง
โดยธนาคารทั้ง 4 แห่งได้ทำข้อตกลง หลังธนาคารกลางสเปนให้เงินช่วยเหลือธนาคาร Cajastur เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา และหลังจากที่การเจรจาของธนาคารทั้ง 4 แห่งกับธนาคาร Unicaja ไม่ประสบผลสำเร็จ
ทั้งนี้ ธนาคาร Cajastur เป็นธนาคารแห่งที่ 2 ที่ได้รับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาล หลังจากธนาคารกลางฯได้เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของธนาคาร Caja Castilla-La Mancha ในเดือนมีนาคมปี 2009
4 แบงก์สเปนควบกิจการหวังเพิ่มความแข็งแกร่ง
Tuesday, 25 May 2010 16:22
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักข่าวเอพี ระบุว่า ธนาคารขนาดกลางของสเปน 4 แห่ง ซึ่งได้แก่ Cajastur, Caja de Ahorros del Mediterraneo, Caja Extremadura และ Caja Cantabria ได้ทำข้อตกลงเพื่อควบรวมกิจการเป็นกลุ่มสถาบันการเงิน ซึ่งจะทำให้ธนาคารในกลุ่มมีความสามารถในการชำระหนี้และมีฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง
โดยธนาคารทั้ง 4 แห่งได้ทำข้อตกลง หลังธนาคารกลางสเปนให้เงินช่วยเหลือธนาคาร Cajastur เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา และหลังจากที่การเจรจาของธนาคารทั้ง 4 แห่งกับธนาคาร Unicaja ไม่ประสบผลสำเร็จ
ทั้งนี้ ธนาคาร Cajastur เป็นธนาคารแห่งที่ 2 ที่ได้รับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาล หลังจากธนาคารกลางฯได้เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของธนาคาร Caja Castilla-La Mancha ในเดือนมีนาคมปี 2009
สักวันหนึ่ง ผมจะเป็น next generation value
- nata
- Verified User
- โพสต์: 141
- ผู้ติดตาม: 0
คุณคิดอย่างไรบ้างกับการรวมแบงค์ของสเปนทั้ง 4 แห่ง
โพสต์ที่ 2
จากเหตุการณ์ดังกล่าวน่าจะเป็นผลมาจากหนี้สินหรือเปล่าครับ หรือว่าวิกฤติกรีซ จะขยายตัวไปยังประเทศที่ระบบการเงินยังไม่แข็งแกร่งอย่างอิตาลี หรือว่าสเปนครับ มีความคิดเห็นอย่างไรเล่าสู่กันฟังบ้างนะครับ
สักวันหนึ่ง ผมจะเป็น next generation value
- nata
- Verified User
- โพสต์: 141
- ผู้ติดตาม: 0
คุณคิดอย่างไรบ้างกับการรวมแบงค์ของสเปนทั้ง 4 แห่ง
โพสต์ที่ 3
ข่าวจากต่างประเทศบ้าง แต่รายละเอียดยังไม่ทราบมากกว่านี้ครับ
By Greg Morcroft NEW YORK (MarketWatch) -- Four Spanish banks on Monday submitted a plan to combine their businesses in a move that would create the country's fifth largest lender, according to a report from Bloomberg Businessweek. According to the report, citing one of the banks, Caja Mediterraneo, it, Grupo Cajastur, Caja Extremadura and Caja Cantabria want to form a bank with $135 billion euros in assets. Weekend news that the Bank of Spain took over troubled savings bank CajaSur pressured Spanish stocks on Monday, as the news triggered fresh fear for financials even as the immediate impact was seen as marginal. (Updates to correct a typo in headline.)
By Greg Morcroft NEW YORK (MarketWatch) -- Four Spanish banks on Monday submitted a plan to combine their businesses in a move that would create the country's fifth largest lender, according to a report from Bloomberg Businessweek. According to the report, citing one of the banks, Caja Mediterraneo, it, Grupo Cajastur, Caja Extremadura and Caja Cantabria want to form a bank with $135 billion euros in assets. Weekend news that the Bank of Spain took over troubled savings bank CajaSur pressured Spanish stocks on Monday, as the news triggered fresh fear for financials even as the immediate impact was seen as marginal. (Updates to correct a typo in headline.)
สักวันหนึ่ง ผมจะเป็น next generation value
-
- Verified User
- โพสต์: 1992
- ผู้ติดตาม: 0
คุณคิดอย่างไรบ้างกับการรวมแบงค์ของสเปนทั้ง 4 แห่ง
โพสต์ที่ 4
บอกสั้น ๆ ว่า not good ...
อันนี้เฉพาะเรื่องควบรวมแบงค์นะครับ ไม่ได้หมายถึงเรื่องยูโร หรืออื่น ๆ
อันนี้เฉพาะเรื่องควบรวมแบงค์นะครับ ไม่ได้หมายถึงเรื่องยูโร หรืออื่น ๆ
ไม่สน return rate เยอะ, ขอแค่ financial freedom ภายใน 14 ปีก็พอ..
------------------------
------------------------
- Jazzman
- Verified User
- โพสต์: 388
- ผู้ติดตาม: 0
คุณคิดอย่างไรบ้างกับการรวมแบงค์ของสเปนทั้ง 4 แห่ง
โพสต์ที่ 5
ผมว่าน่าจะเป็นสัญญาณอย่างหนึ่งเลยนะคับ เพราะการควบรวมเพื่อให้ง่ายต่อ การควบคุมและแก้ปัญหา แสดงว่า เริ่มออกมีผลกระทบแล้วคับ ถ้ามีข่าวลักษณะนี้มาอีก ก็คงกระทบชิ่งที 2
ลงทุนในสิ่งที่เพิ่ม " ค่า " ไปเรื่อยๆ
- nata
- Verified User
- โพสต์: 141
- ผู้ติดตาม: 0
คุณคิดอย่างไรบ้างกับการรวมแบงค์ของสเปนทั้ง 4 แห่ง
โพสต์ที่ 12
อันนี้ก็ไม่แน่ใจนะครับ แต่รู้สึกว่าที่สเปนจะไม่มี ที่สโมสรฟุตบอลซื้อขายกันในตลาดหลักทรัพย์ แต่ว่าสโมสรส่วนใหญ่จะมีผู้ถือหุ้นอยู่ ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าซื้อขายกันทางไหน แต่หวังว่าหุ้นสโมสรฟุตบอลที่สเปนจะไม่ทำให้เกิดวิกฤติ Matador นะครับarica เขียน:รบกวนสอบถามครับ
พอจะทราบบ้างไหมครับว่า
ที่ สเปน และ อิตาลี มีสโมสรฟุตบอลใดบ้างที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และจะซื้อผ่านทางไหนได้บ้างครับ
สักวันหนึ่ง ผมจะเป็น next generation value
- tatandchin
- Verified User
- โพสต์: 775
- ผู้ติดตาม: 0
คุณคิดอย่างไรบ้างกับการรวมแบงค์ของสเปนทั้ง 4 แห่ง
โพสต์ที่ 13
รบกวนถามคุณหมอครับว่าคุณหมอมีความเห็นอย่างไรกับ vix index กับ ted spread ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงนี้
และข่าวที่ว่า อิตาลี สเปน โปรตุเกส เริ่มตัดค่าใช้จ่ายงบประมาณลง จะมีผลต่อสภาพคล่องในระบบการเงิน มากน้อยแค่ไหนครับ
นอกจากนั้นภาพของยุโรปที่ขัดแย้งกับภาพทางฝั่งอเมริกา คุณหมอมองอย่างไรครับ
ขอบคุณครับ
และข่าวที่ว่า อิตาลี สเปน โปรตุเกส เริ่มตัดค่าใช้จ่ายงบประมาณลง จะมีผลต่อสภาพคล่องในระบบการเงิน มากน้อยแค่ไหนครับ
นอกจากนั้นภาพของยุโรปที่ขัดแย้งกับภาพทางฝั่งอเมริกา คุณหมอมองอย่างไรครับ
ขอบคุณครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 483
- ผู้ติดตาม: 0
คุณคิดอย่างไรบ้างกับการรวมแบงค์ของสเปนทั้ง 4 แห่ง
โพสต์ที่ 15
วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ที่เกิดในสหรัฐอเมริกายังไม่ฟื้นดี...วิกฤติเศรษฐกิจรอบใหม่ในยุโรปเกิดขึ้นมาอีกจุด
เกิดขึ้นในขณะที่วิกฤติชิงอำนาจทางการเมืองของบ้านเรายังยากจบได้ง่าย...อนาคตของประเทศจะฝ่าวิกฤติเศรษฐกิจระลอกใหม่ได้หรือ
เพราะวิกฤติหนนี้ ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ นักเศรษฐศาสตร์มหภาค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชี้ว่า...ไม่ธรรมดา
วิกฤติซ้ำวิกฤติ...จะกระชากลากถูให้วิกฤติหนักหนาสาหัส และถ้าประเทศ ไทยยังวุ่นไม่เลิก เศรษฐกิจของไทยที่เพิ่งโงหัวขึ้นมาจะดำดิ่งภายในเร็ววัน
"ไม่น่าเกิน 1 ปี วิกฤติหมู 4 ตัวที่เกิดขึ้นจะส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจไปทั่วทั้งโลก ไตรมาสที่ 3-4 ของปีนี้ก็น่าจะเห็นอาการแล้ว"
วิกฤติหมู 4 ตัว ในความหมายของ ดร.สมภพ ก็คือ...PIGS
P= โปรตุเกส (Portugal)
I= อิตาลี (Italy)
G= กรีซ (Greece)
S= สเปน (Spain)
หมู 4 ตัว...4 ประเทศนี้กำลังอยู่ในภาวะมีหนี้สินล้นพ้นตัวด้วยกันทั้งสิ้น
ตามข้อกำหนดของสหภาพยุโรป เพื่อสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของประเทศสมาชิก ได้ตั้งกติกาไว้ว่า หนี้สาธารณะที่รัฐบาลแต่ละประเทศก่อขึ้น ไม่ควรจะเกิน 60% ของจีดีพี หรือรายได้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
แต่สเปนมีหนี้สาธารณะ 90% ของจีดีพี
โปรตุเกส 91% ของจีดีพี
กรีซ 123% ของจีดีพี
อิตาลี มีหนี้สาธารณะมากถึง 127% ของจีดีพี
กรีซมีหนี้สาธารณะมากเป็นอันดับ 4 ของโลก...อิตาลีมีหนี้สาธารณะมากเป็นอันดับ 3 ของโลก
"แม้จะไม่มีหนี้สาธารณะสูงเป็นอันดับ 1 เหมือนญี่ปุ่น ที่มีหนี้สาธารณะสูงถึง 200% ของจีดีพีก็ตาม แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นไม่เหมือนกัน
ญี่ปุ่นมีหนี้สาธารณะมากก็จริง แต่เป็นหนี้ที่เกิดจากการกู้ยืมแบบอัฐยายซื้อขนมยาย รัฐบาลญี่ปุ่นไม่มีเงิน แต่ประชาชนคนญี่ปุ่นมีเงิน รัฐบาลญี่ปุ่นเลยก่อหนี้สาธารณะ ด้วยการออกพันธบัตรกู้ยืมเงินจากคนญี่ปุ่นด้วยกัน ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากเศรษฐกิจก็เลยไม่มาก"
ไม่เหมือนกับกลุ่มประเทศหมู 4 ตัว หนี้สาธารณะที่รัฐบาลก่อขึ้น จากการกู้ยืมคนอื่น...กู้ยืมต่างประเทศ ปัญหาจะต่างกัน
มีหนี้ขนาดนี้ ปัญหาจะมากขนาดไหน ดร.สมภพ ยกตัวอย่างเปรียบเทียบให้เห็นภาพชัดยิ่งขึ้น...ตอนเกิดวิกฤติต้มยำกุ้ง เมื่อปี 2540 ประเทศไทยมีหนี้สาธารณะอยู่ประมาณ 62-63% ของจีดีพี
ตอนนั้นปัญหาบ้านเราหนักขนาดไหน...กลุ่มประเทศหมู 4 ตัว มีหนี้มากกว่าเรา ปัญหาจะหนักแค่ไหน
หรือจะให้เห็นตัวอย่างใหม่หมาดๆ สัดส่วนตัวเลขหนี้พอๆกัน วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ที่ยังแก้กันไม่เสร็จ...สหรัฐอเมริกามีหนี้สาธารณะ 92.4% ของจีดีพี
หนี้สาธารณะ คือหนี้ที่รัฐบาลก่อขึ้น เพื่อนำมาใช้จ่ายในการบริหารและพัฒนาประเทศ ในยามที่รัฐบาลเก็บภาษี หารายได้ไม่พอกับความต้องการใช้จ่าย
รัฐบาลไหนมีวินัยการเงินการคลังดี จะกู้หนี้มาใช้จ่ายเท่าที่จำเป็น... รัฐบาลไหนไร้วินัยการเงินการคลัง ทำตัวเป็นเพลย์บอย จะกู้หนี้มาใช้จ่ายอย่างสุรุ่ยสุร่าย ไม่ระมัดระวัง
"กลุ่มประเทศ PIGS มีหนี้สาธารณะล้นพ้นตัว สาเหตุสำคัญมาจากความไม่พอเพียง ใช้จ่ายเกินตัว เกินฐานะรายได้ของตัวเอง ตัวอย่างที่เห็นชัดสุดก็คือ กรีซ กู้เงินมาลงทุนเกินตัวในเรื่องเป็นเจ้าภาพจัดแข่งขันกีฬาโอลิมปิก หมดเงินไปมากมายมหาศาล ผ่านไปแล้ว 6 ปี วันนี้ยังใช้หนี้ไม่หมดเลย"
นโยบายประชานิยม ขึ้นเงินเดือน แจกโบนัสข้าราชการ เพิ่มเงินบำเหน็จบำนาญให้กับคนชรา ฯลฯ เป็นอีกเหตุผลที่รัฐบาลประเทศเหล่านี้มีปัญหาต้องก่อหนี้มากขึ้น เพราะประชานิยมทำให้รัฐมีภาระค่าใช้จ่ายมากขึ้น ทั้งที่รายได้ไม่เพิ่มขึ้น จนต้องไปกู้เงินมาพยุงฐานะ
แทนที่จะกู้เงินมาใช้จ่ายในการพัฒนาประเทศ ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของกระแสโลก เพราะนับแต่ สหภาพโซเวียตล่มสลาย มีประเทศเกิดใหม่ในยุโรปตะวันออกเกิดขึ้นมากมาย
เกิดมาเป็นคู่แข่งในทุกๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการผลิตสินค้าเกษตร อุตสาหกรรม แม้กระทั่งการท่องเที่ยว
คู่แข่งเกิดมามากมาย แต่รัฐบาลไม่ได้คิดวางแผนปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ เพื่อรับการแข่งขัน...ในที่สุดค้าขายแข่งกับประเทศเกิดใหม่ที่มีต้นทุนต่ำกว่าไม่ได้
และเงินที่กู้มาคิดว่าจะหาเงินมาใช้หนี้ได้...ไม่มีเงินพอไปใช้หนี้
ที่ผ่านมารัฐบาลประชานิยมใช้วิธีแก้ผ้าเอาหน้ารอด กู้หนี้มาใช้หนี้...หนี้ก็เลยสะสมกลายเป็นดินพอกหางหมู
นี่คือปัญหาใหญ่ของวิกฤติเศรษฐกิจระลอกใหม่
"ประเทศที่มีปัญหาหนี้สินล้นพ้น เพราะใช้จ่ายเกินตัว แนวทางที่แก้ปัญหาให้ได้ผลในเร็ววัน ก็คือ ต้องรัดเข็มขัด ประหยัด ใช้จ่ายให้น้อยลง ตามโปรแกรมของ IMF ที่เคยใช้กับเราเมื่อตอนเกิดวิกฤติต้มยำกุ้ง
กรณีของกลุ่มประเทศ PIGS นี่ก็เหมือนกัน IMF ตั้งใจจะให้กรีซเป็นประเทศต้นแบบให้ประเทศอื่นเอาอย่าง แต่ปรากฏว่าทำไม่ได้ ด้วยประชาชนนิสัยเสียไปกับนโยบายประชานิยม รับไม่ได้กับการถูกตัดโบนัส ลดเงินเดือน ชุมนุมประท้วงทั่วประเทศ"
สหภาพยุโรปที่หนุนหลังเลยต้องแก้ปัญหาแบบเดิมๆ อัดฉีดเม็ดเงินเข้าไปช่วยเหลือกรีซ ให้กรีซกู้หนี้ไปใช้หนี้ เป็นดินพอกหางหมู
ที่สำคัญ ประเทศที่เข้าไปช่วยเหลืออุ้มชู ปล่อยกู้ให้กรีซกู้ ไม่ว่าจะเป็นเยอรมนี ฝรั่งเศส ที่ภายนอกดูเหมือนเป็นชาติยักษ์ใหญ่ ฐานะร่ำรวย ที่ไหนได้มีหนี้ล้นพ้นตัวไม่แพ้กัน
เยอรมนี มีหนี้สาธารณะ 82% ของจีดีพี...ฝรั่งเศส 92.5%
แค่นั้นไม่พอยังมีการไปขอให้ธนาคารกลางสหรัฐฯที่บักโกรกอยู่ช่วยปั๊มเงินมาให้กู้อีกต่างหาก
การแก้ปัญหาแนวทางนี้ ดร.สมภพ มองว่า ไม่ต่างอะไรกับเตี้ยอุ้มค่อม... ต่างเอาตัวกันไม่รอด จะกอดคอพากันล่มจม
"นี่จะเป็นปรากฏการณ์ครั้งแรกของประวัติศาสตร์โลก ที่ประเทศ เจริญแล้วจะมีหนี้สินล้นพ้นตัว กลายเป็นประเทศคนเคยรวย เพราะในอดีตมีแต่ประเทศด้อยพัฒนาเท่านั้นที่มีปัญหาแบบนี้"
เมื่อประเทศลูกหนี้เจ้าหนี้เหล่านี้กอดคอกันถดถอย สิ่งที่ตามมาจะฉุดกระชากลากให้เศรษฐกิจประเทศอื่นๆ ในยุโรปพลอยล้มตามเป็นโดมิโน...ผลกระทบจะมาถึงบ้านเราอย่างยากจะหลีกหนี
เพราะเศรษฐกิจไทยพึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก...ก่อนหน้านี้สหรัฐฯบ่จี๊ซื้อของจากเราน้อยลง อนาคตอันใกล้ยุโรปแย่ เราจะขายของได้น้อยลงไปอีก
อะไรจะเกิดขึ้นตามมา...อย่าฝันหรูว่าไทยยังมีตลาดหลักให้ขายของได้อยู่ อาเซียน, ญี่ปุ่น, จีน
เพราะตลาดเหล่านี้มีสถานะไม่ต่างกับเรา สหรัฐฯไม่ฟื้น ยุโรปจนลง เขาก็ขายของได้น้อยลง...เงินมีน้อยลง ก็ต้องซื้อของจากเราน้อยลง
ดร.สมภพ ชี้ว่า ในอนาคตข้างหน้า ตลาดเดียวที่จะช่วยต่อลมหายใจเศรษฐกิจของไทยได้ ก็คือ...ตลาดภายในประเทศ
ทำยังไงให้คนไทยมีเงินมากขึ้น ซื้อของในประเทศมากขึ้น
ต้นฉบับ
http://www.thairath.co.th/column/pol/page1scoop/85193
เกิดขึ้นในขณะที่วิกฤติชิงอำนาจทางการเมืองของบ้านเรายังยากจบได้ง่าย...อนาคตของประเทศจะฝ่าวิกฤติเศรษฐกิจระลอกใหม่ได้หรือ
เพราะวิกฤติหนนี้ ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ นักเศรษฐศาสตร์มหภาค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชี้ว่า...ไม่ธรรมดา
วิกฤติซ้ำวิกฤติ...จะกระชากลากถูให้วิกฤติหนักหนาสาหัส และถ้าประเทศ ไทยยังวุ่นไม่เลิก เศรษฐกิจของไทยที่เพิ่งโงหัวขึ้นมาจะดำดิ่งภายในเร็ววัน
"ไม่น่าเกิน 1 ปี วิกฤติหมู 4 ตัวที่เกิดขึ้นจะส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจไปทั่วทั้งโลก ไตรมาสที่ 3-4 ของปีนี้ก็น่าจะเห็นอาการแล้ว"
วิกฤติหมู 4 ตัว ในความหมายของ ดร.สมภพ ก็คือ...PIGS
P= โปรตุเกส (Portugal)
I= อิตาลี (Italy)
G= กรีซ (Greece)
S= สเปน (Spain)
หมู 4 ตัว...4 ประเทศนี้กำลังอยู่ในภาวะมีหนี้สินล้นพ้นตัวด้วยกันทั้งสิ้น
ตามข้อกำหนดของสหภาพยุโรป เพื่อสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของประเทศสมาชิก ได้ตั้งกติกาไว้ว่า หนี้สาธารณะที่รัฐบาลแต่ละประเทศก่อขึ้น ไม่ควรจะเกิน 60% ของจีดีพี หรือรายได้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
แต่สเปนมีหนี้สาธารณะ 90% ของจีดีพี
โปรตุเกส 91% ของจีดีพี
กรีซ 123% ของจีดีพี
อิตาลี มีหนี้สาธารณะมากถึง 127% ของจีดีพี
กรีซมีหนี้สาธารณะมากเป็นอันดับ 4 ของโลก...อิตาลีมีหนี้สาธารณะมากเป็นอันดับ 3 ของโลก
"แม้จะไม่มีหนี้สาธารณะสูงเป็นอันดับ 1 เหมือนญี่ปุ่น ที่มีหนี้สาธารณะสูงถึง 200% ของจีดีพีก็ตาม แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นไม่เหมือนกัน
ญี่ปุ่นมีหนี้สาธารณะมากก็จริง แต่เป็นหนี้ที่เกิดจากการกู้ยืมแบบอัฐยายซื้อขนมยาย รัฐบาลญี่ปุ่นไม่มีเงิน แต่ประชาชนคนญี่ปุ่นมีเงิน รัฐบาลญี่ปุ่นเลยก่อหนี้สาธารณะ ด้วยการออกพันธบัตรกู้ยืมเงินจากคนญี่ปุ่นด้วยกัน ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากเศรษฐกิจก็เลยไม่มาก"
ไม่เหมือนกับกลุ่มประเทศหมู 4 ตัว หนี้สาธารณะที่รัฐบาลก่อขึ้น จากการกู้ยืมคนอื่น...กู้ยืมต่างประเทศ ปัญหาจะต่างกัน
มีหนี้ขนาดนี้ ปัญหาจะมากขนาดไหน ดร.สมภพ ยกตัวอย่างเปรียบเทียบให้เห็นภาพชัดยิ่งขึ้น...ตอนเกิดวิกฤติต้มยำกุ้ง เมื่อปี 2540 ประเทศไทยมีหนี้สาธารณะอยู่ประมาณ 62-63% ของจีดีพี
ตอนนั้นปัญหาบ้านเราหนักขนาดไหน...กลุ่มประเทศหมู 4 ตัว มีหนี้มากกว่าเรา ปัญหาจะหนักแค่ไหน
หรือจะให้เห็นตัวอย่างใหม่หมาดๆ สัดส่วนตัวเลขหนี้พอๆกัน วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ที่ยังแก้กันไม่เสร็จ...สหรัฐอเมริกามีหนี้สาธารณะ 92.4% ของจีดีพี
หนี้สาธารณะ คือหนี้ที่รัฐบาลก่อขึ้น เพื่อนำมาใช้จ่ายในการบริหารและพัฒนาประเทศ ในยามที่รัฐบาลเก็บภาษี หารายได้ไม่พอกับความต้องการใช้จ่าย
รัฐบาลไหนมีวินัยการเงินการคลังดี จะกู้หนี้มาใช้จ่ายเท่าที่จำเป็น... รัฐบาลไหนไร้วินัยการเงินการคลัง ทำตัวเป็นเพลย์บอย จะกู้หนี้มาใช้จ่ายอย่างสุรุ่ยสุร่าย ไม่ระมัดระวัง
"กลุ่มประเทศ PIGS มีหนี้สาธารณะล้นพ้นตัว สาเหตุสำคัญมาจากความไม่พอเพียง ใช้จ่ายเกินตัว เกินฐานะรายได้ของตัวเอง ตัวอย่างที่เห็นชัดสุดก็คือ กรีซ กู้เงินมาลงทุนเกินตัวในเรื่องเป็นเจ้าภาพจัดแข่งขันกีฬาโอลิมปิก หมดเงินไปมากมายมหาศาล ผ่านไปแล้ว 6 ปี วันนี้ยังใช้หนี้ไม่หมดเลย"
นโยบายประชานิยม ขึ้นเงินเดือน แจกโบนัสข้าราชการ เพิ่มเงินบำเหน็จบำนาญให้กับคนชรา ฯลฯ เป็นอีกเหตุผลที่รัฐบาลประเทศเหล่านี้มีปัญหาต้องก่อหนี้มากขึ้น เพราะประชานิยมทำให้รัฐมีภาระค่าใช้จ่ายมากขึ้น ทั้งที่รายได้ไม่เพิ่มขึ้น จนต้องไปกู้เงินมาพยุงฐานะ
แทนที่จะกู้เงินมาใช้จ่ายในการพัฒนาประเทศ ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของกระแสโลก เพราะนับแต่ สหภาพโซเวียตล่มสลาย มีประเทศเกิดใหม่ในยุโรปตะวันออกเกิดขึ้นมากมาย
เกิดมาเป็นคู่แข่งในทุกๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการผลิตสินค้าเกษตร อุตสาหกรรม แม้กระทั่งการท่องเที่ยว
คู่แข่งเกิดมามากมาย แต่รัฐบาลไม่ได้คิดวางแผนปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ เพื่อรับการแข่งขัน...ในที่สุดค้าขายแข่งกับประเทศเกิดใหม่ที่มีต้นทุนต่ำกว่าไม่ได้
และเงินที่กู้มาคิดว่าจะหาเงินมาใช้หนี้ได้...ไม่มีเงินพอไปใช้หนี้
ที่ผ่านมารัฐบาลประชานิยมใช้วิธีแก้ผ้าเอาหน้ารอด กู้หนี้มาใช้หนี้...หนี้ก็เลยสะสมกลายเป็นดินพอกหางหมู
นี่คือปัญหาใหญ่ของวิกฤติเศรษฐกิจระลอกใหม่
"ประเทศที่มีปัญหาหนี้สินล้นพ้น เพราะใช้จ่ายเกินตัว แนวทางที่แก้ปัญหาให้ได้ผลในเร็ววัน ก็คือ ต้องรัดเข็มขัด ประหยัด ใช้จ่ายให้น้อยลง ตามโปรแกรมของ IMF ที่เคยใช้กับเราเมื่อตอนเกิดวิกฤติต้มยำกุ้ง
กรณีของกลุ่มประเทศ PIGS นี่ก็เหมือนกัน IMF ตั้งใจจะให้กรีซเป็นประเทศต้นแบบให้ประเทศอื่นเอาอย่าง แต่ปรากฏว่าทำไม่ได้ ด้วยประชาชนนิสัยเสียไปกับนโยบายประชานิยม รับไม่ได้กับการถูกตัดโบนัส ลดเงินเดือน ชุมนุมประท้วงทั่วประเทศ"
สหภาพยุโรปที่หนุนหลังเลยต้องแก้ปัญหาแบบเดิมๆ อัดฉีดเม็ดเงินเข้าไปช่วยเหลือกรีซ ให้กรีซกู้หนี้ไปใช้หนี้ เป็นดินพอกหางหมู
ที่สำคัญ ประเทศที่เข้าไปช่วยเหลืออุ้มชู ปล่อยกู้ให้กรีซกู้ ไม่ว่าจะเป็นเยอรมนี ฝรั่งเศส ที่ภายนอกดูเหมือนเป็นชาติยักษ์ใหญ่ ฐานะร่ำรวย ที่ไหนได้มีหนี้ล้นพ้นตัวไม่แพ้กัน
เยอรมนี มีหนี้สาธารณะ 82% ของจีดีพี...ฝรั่งเศส 92.5%
แค่นั้นไม่พอยังมีการไปขอให้ธนาคารกลางสหรัฐฯที่บักโกรกอยู่ช่วยปั๊มเงินมาให้กู้อีกต่างหาก
การแก้ปัญหาแนวทางนี้ ดร.สมภพ มองว่า ไม่ต่างอะไรกับเตี้ยอุ้มค่อม... ต่างเอาตัวกันไม่รอด จะกอดคอพากันล่มจม
"นี่จะเป็นปรากฏการณ์ครั้งแรกของประวัติศาสตร์โลก ที่ประเทศ เจริญแล้วจะมีหนี้สินล้นพ้นตัว กลายเป็นประเทศคนเคยรวย เพราะในอดีตมีแต่ประเทศด้อยพัฒนาเท่านั้นที่มีปัญหาแบบนี้"
เมื่อประเทศลูกหนี้เจ้าหนี้เหล่านี้กอดคอกันถดถอย สิ่งที่ตามมาจะฉุดกระชากลากให้เศรษฐกิจประเทศอื่นๆ ในยุโรปพลอยล้มตามเป็นโดมิโน...ผลกระทบจะมาถึงบ้านเราอย่างยากจะหลีกหนี
เพราะเศรษฐกิจไทยพึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก...ก่อนหน้านี้สหรัฐฯบ่จี๊ซื้อของจากเราน้อยลง อนาคตอันใกล้ยุโรปแย่ เราจะขายของได้น้อยลงไปอีก
อะไรจะเกิดขึ้นตามมา...อย่าฝันหรูว่าไทยยังมีตลาดหลักให้ขายของได้อยู่ อาเซียน, ญี่ปุ่น, จีน
เพราะตลาดเหล่านี้มีสถานะไม่ต่างกับเรา สหรัฐฯไม่ฟื้น ยุโรปจนลง เขาก็ขายของได้น้อยลง...เงินมีน้อยลง ก็ต้องซื้อของจากเราน้อยลง
ดร.สมภพ ชี้ว่า ในอนาคตข้างหน้า ตลาดเดียวที่จะช่วยต่อลมหายใจเศรษฐกิจของไทยได้ ก็คือ...ตลาดภายในประเทศ
ทำยังไงให้คนไทยมีเงินมากขึ้น ซื้อของในประเทศมากขึ้น
ต้นฉบับ
http://www.thairath.co.th/column/pol/page1scoop/85193