เคยสงสัยไหมครับว่าทำไมต้อง "ออม 1 ส่วน ใช้ 3 ส่วน"
-
- Verified User
- โพสต์: 1400
- ผู้ติดตาม: 0
เคยสงสัยไหมครับว่าทำไมต้อง "ออม 1 ส่วน ใช้ 3 ส่วน"
โพสต์ที่ 1
ครั้งแรกที่ผมได้ยิน ในขณะที่ยังฟังโฆษณาไม่จบ เลยไม่รู้ว่าเป็นใคร ผมถึง
กับตั้งคำถามว่า คนๆนี้ยิ่งใหญ่มาจากไหน...มีดีอะไร ?? ถึงมีคนเอามาตรฐาน
การใช้ชีวิตของเขา สร้างเป็นสโลแกนขึ้นจอทีวี.... คนที่ทำได้ดีกว่านี้ มีมาก
มาย ทำไมไม่ยกพวกเขาขึ้นเป็นตัวอย่างบ้าง ?? อย่างน้อยก็ผมคนนึงตอน
นั้นในวัยเรียน จวบจนวันนี้ ผมก็ยังทำได้เหนือกว่าสัดส่วนนี้เท่าตัวโดยเฉลี่ย
แม้ว่าจะเจตนาให้ตัวเองมีค่าใช้จ่ายครอบครัวมากขึ้น โดยให้พ่อแม่ทุกเดือน
รวมถึงค่าซ่อมบำรุงใหญ่ ที่นานๆทีจะมาอย่างเช่น รถยนต์ เพื่อให้การออมนี้
ได้มาจากการใช้ชีวิตที่ใกล้เคียงชีวิตที่ยืนด้วยลำแข้งตัวเอง มีความสมจริง
มากที่สุด
พอรู้แล้วว่า สโลแกนนี้ออกจากปากใคร...ผมก็ร้องอ๋อ....เออ คำพูดคนดังว่า
มายังไง ก็ถูกต้องหมด ใครๆก็อยากฟัง... กอปรกับ ผมทำได้เหนือกว่านั้นเท่า
ตัวอยู่แล้วจึงเลิกสนใจที่มาของ สโลแกน นั้นๆ หลังจากนั้นไม่นานก็มีคนเอา
สโลแกนนี้ไปเขียนหนังสือ/คู่มือการเก็บเงิน หลายเล่มกันจนเกร่อ.....แค่เห็น
ก็เบื่อแล้ว
มาช่วงประมาณปลายปีที่แล้วจนถึงเดือนนี้ ผมมีโอกาสได้พูดคุยกับคน
ประเภทที่รู้จักตัวเองดีพอ ได้รุ้ว่าปีนึง....บางเดือนเขาจะมีค่าใช้จ่ายพิเศษไป
กับบางเรื่อง ในจำนวนที่ค่อนข้างแน่นอน ปีต่อมา...ก็จะมีแบบนี้อีกจนคาด
การณ์ปีต่อไปได้เลย ในขณะที่ค่าใช้จ่ายประจำของพวกเขานั้นกลับไม่เยอะ
และก็ไม่มีรายการกระจุ๊กกระจิ๊ก เรื่อยเปื่อย ที่ทำให้หลายๆคนบ่นกันว่าเก็บเงิน
ไม่ได้ จุดเหมือนในสิ่งที่คนเหล่านี้มีคือ เขาไม่ซื้ออะไรที่อยู่นอกเหนือความ
สนใจของเขาแต่แรก เพราะอะไรที่เขาไม่ได้สนใจแต่แรก เขาจะไม่ใช้มันเลย
ต่างหาก จุดนี้เองเป็นการเริ่มต้นที่เกิดขึ้นจากความเข้าใจตนเองอย่างถ่อง
แท้ และเป็นธรรมชาติที่สุด ซึ่งผมได้ถามต่ออีกว่า แล้วเดือนนึงเก็บได้เท่า
ไหร่ จากรายได้เท่าไหร่ ทำให้รู้ว่า สัดส่วนการเก็บออมของคุณกลุ่มนี้ มี
ตั้งแต่ 30-40 % ขึ้นไป ซึ่งใกล้เคียงกับ สโลแกนยอดฮิต "ออม 1 ส่วน ใช้ 3
ส่วน" แต่นั่นก็ยังไม่ได้ทำให้ผมปักใจกับ สัดส่วนที่มีความเป็นธรรมชาตินี้
เท่าไรนัก จนมาวันนึงผมได้ทำการออกแบบโครงสร้างเงินออมของคนหาเช้า
กินค่ำ ที่มีเงินเดือน 1 หมื่นบาทในต่างจังหวัด โดยกำหนด กรณีต่างๆ ที่ค่อน
ข้างบีบรัด เขาคนนี้ไม่มีโอกาสใช้ชีวิตเฮฮา อย่างเราๆในที่นี้ค่าใช้จ่ายของ
เขา จะมีแต่รายจ่ายที่จำเป็น ที่ผมอิงจากค่าครองชีพตามจริงที่ผมเคยทำ
งานอยู่ในต่างจังหวัด บริษัทไม่มีที่พักให้ ต้องเช่าหออยู่เอง ซึ่งผลการ
คำนวณเงินออม มันออกมาที่ 34 % ซึ่งก็ประมาณได้กับ "ออม 1 ส่วน
ใช้ 2 ส่วน" ตามตัวอย่างนี้
http://www.k-weplan.com/ArticleFree.aspx?articleid=1366
ใกล้เคียงกับสโลแกนยอดฮิตที่พูดติดปากกันมาโดยไม่ได้เอะใจอะไร...
สรุปคือ จากการพูดคุยกับหลายคน และ จากการออกแบบโครงสร้างเงินออม
ภายใต้สิ่งแวดล้อมที่บีบรัด สนับสนุนตัวเลขสโลแกนยอดฮิตนี้ อย่างไม่มีข้อ
กังขาและนั่นก็เป็นคำตอบที่เพียงพอที่ทำให้ผมรู้ว่า สัดส่วนการออมที่
25 หรือ 30 % ขึ้นไปนี้ มีความเป็นธรรมชาติอยู่ในตัวของมันแล้ว ดังนั้น
คนปกติ จะทำได้ตามสัดส่วนนี้โดยที่ไม่รู้สึกฝืนตัวเองแต่อย่างใด โดยที่ไม่
ต้องใช้ เทคนิคอะไรมากมายอย่างที่เห็นในหนังสือวางขายกัน
วันนี้สำรวจสุขภาพการเงินของตัวท่านเองหรือยังว่า อยู่ในเกณฑ์คนปกติ หรือ
เปล่า
ปล. ยิ่งเราเป็นนักลงทุนเน้นคุณค่าแล้ว การออมเงินเพื่อลงทุนก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่า
ความสามารถในการสร้างผลตอบแทน และระยะเวลาในการลงทุนเลยครับ
กับตั้งคำถามว่า คนๆนี้ยิ่งใหญ่มาจากไหน...มีดีอะไร ?? ถึงมีคนเอามาตรฐาน
การใช้ชีวิตของเขา สร้างเป็นสโลแกนขึ้นจอทีวี.... คนที่ทำได้ดีกว่านี้ มีมาก
มาย ทำไมไม่ยกพวกเขาขึ้นเป็นตัวอย่างบ้าง ?? อย่างน้อยก็ผมคนนึงตอน
นั้นในวัยเรียน จวบจนวันนี้ ผมก็ยังทำได้เหนือกว่าสัดส่วนนี้เท่าตัวโดยเฉลี่ย
แม้ว่าจะเจตนาให้ตัวเองมีค่าใช้จ่ายครอบครัวมากขึ้น โดยให้พ่อแม่ทุกเดือน
รวมถึงค่าซ่อมบำรุงใหญ่ ที่นานๆทีจะมาอย่างเช่น รถยนต์ เพื่อให้การออมนี้
ได้มาจากการใช้ชีวิตที่ใกล้เคียงชีวิตที่ยืนด้วยลำแข้งตัวเอง มีความสมจริง
มากที่สุด
พอรู้แล้วว่า สโลแกนนี้ออกจากปากใคร...ผมก็ร้องอ๋อ....เออ คำพูดคนดังว่า
มายังไง ก็ถูกต้องหมด ใครๆก็อยากฟัง... กอปรกับ ผมทำได้เหนือกว่านั้นเท่า
ตัวอยู่แล้วจึงเลิกสนใจที่มาของ สโลแกน นั้นๆ หลังจากนั้นไม่นานก็มีคนเอา
สโลแกนนี้ไปเขียนหนังสือ/คู่มือการเก็บเงิน หลายเล่มกันจนเกร่อ.....แค่เห็น
ก็เบื่อแล้ว
มาช่วงประมาณปลายปีที่แล้วจนถึงเดือนนี้ ผมมีโอกาสได้พูดคุยกับคน
ประเภทที่รู้จักตัวเองดีพอ ได้รุ้ว่าปีนึง....บางเดือนเขาจะมีค่าใช้จ่ายพิเศษไป
กับบางเรื่อง ในจำนวนที่ค่อนข้างแน่นอน ปีต่อมา...ก็จะมีแบบนี้อีกจนคาด
การณ์ปีต่อไปได้เลย ในขณะที่ค่าใช้จ่ายประจำของพวกเขานั้นกลับไม่เยอะ
และก็ไม่มีรายการกระจุ๊กกระจิ๊ก เรื่อยเปื่อย ที่ทำให้หลายๆคนบ่นกันว่าเก็บเงิน
ไม่ได้ จุดเหมือนในสิ่งที่คนเหล่านี้มีคือ เขาไม่ซื้ออะไรที่อยู่นอกเหนือความ
สนใจของเขาแต่แรก เพราะอะไรที่เขาไม่ได้สนใจแต่แรก เขาจะไม่ใช้มันเลย
ต่างหาก จุดนี้เองเป็นการเริ่มต้นที่เกิดขึ้นจากความเข้าใจตนเองอย่างถ่อง
แท้ และเป็นธรรมชาติที่สุด ซึ่งผมได้ถามต่ออีกว่า แล้วเดือนนึงเก็บได้เท่า
ไหร่ จากรายได้เท่าไหร่ ทำให้รู้ว่า สัดส่วนการเก็บออมของคุณกลุ่มนี้ มี
ตั้งแต่ 30-40 % ขึ้นไป ซึ่งใกล้เคียงกับ สโลแกนยอดฮิต "ออม 1 ส่วน ใช้ 3
ส่วน" แต่นั่นก็ยังไม่ได้ทำให้ผมปักใจกับ สัดส่วนที่มีความเป็นธรรมชาตินี้
เท่าไรนัก จนมาวันนึงผมได้ทำการออกแบบโครงสร้างเงินออมของคนหาเช้า
กินค่ำ ที่มีเงินเดือน 1 หมื่นบาทในต่างจังหวัด โดยกำหนด กรณีต่างๆ ที่ค่อน
ข้างบีบรัด เขาคนนี้ไม่มีโอกาสใช้ชีวิตเฮฮา อย่างเราๆในที่นี้ค่าใช้จ่ายของ
เขา จะมีแต่รายจ่ายที่จำเป็น ที่ผมอิงจากค่าครองชีพตามจริงที่ผมเคยทำ
งานอยู่ในต่างจังหวัด บริษัทไม่มีที่พักให้ ต้องเช่าหออยู่เอง ซึ่งผลการ
คำนวณเงินออม มันออกมาที่ 34 % ซึ่งก็ประมาณได้กับ "ออม 1 ส่วน
ใช้ 2 ส่วน" ตามตัวอย่างนี้
http://www.k-weplan.com/ArticleFree.aspx?articleid=1366
ใกล้เคียงกับสโลแกนยอดฮิตที่พูดติดปากกันมาโดยไม่ได้เอะใจอะไร...
สรุปคือ จากการพูดคุยกับหลายคน และ จากการออกแบบโครงสร้างเงินออม
ภายใต้สิ่งแวดล้อมที่บีบรัด สนับสนุนตัวเลขสโลแกนยอดฮิตนี้ อย่างไม่มีข้อ
กังขาและนั่นก็เป็นคำตอบที่เพียงพอที่ทำให้ผมรู้ว่า สัดส่วนการออมที่
25 หรือ 30 % ขึ้นไปนี้ มีความเป็นธรรมชาติอยู่ในตัวของมันแล้ว ดังนั้น
คนปกติ จะทำได้ตามสัดส่วนนี้โดยที่ไม่รู้สึกฝืนตัวเองแต่อย่างใด โดยที่ไม่
ต้องใช้ เทคนิคอะไรมากมายอย่างที่เห็นในหนังสือวางขายกัน
วันนี้สำรวจสุขภาพการเงินของตัวท่านเองหรือยังว่า อยู่ในเกณฑ์คนปกติ หรือ
เปล่า
ปล. ยิ่งเราเป็นนักลงทุนเน้นคุณค่าแล้ว การออมเงินเพื่อลงทุนก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่า
ความสามารถในการสร้างผลตอบแทน และระยะเวลาในการลงทุนเลยครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 447
- ผู้ติดตาม: 0
เคยสงสัยไหมครับว่าทำไมต้อง "ออม 1 ส่วน ใช้ 3 ส่วน"
โพสต์ที่ 2
ผมว่าอัตราส่วนการออมของแต่ละคนไม่เท่ากันครับ
ขึ้นอยู่กับภาระที่ต้องแบกรับ รูปแบบการใช้ชีวิต
และเป้าหมายในการเกษียณ
ผมเคยทำงานกับผู้จัดการคนหนึ่งซึ่งเป็นคนที่ประหยัด
มากๆ แม้รายได้จะสูงแต่เขาก็ยังใช้ผ้าเช็ดตัวขาดเป็น
รูตรงกลาง ทำให้ผมอึ้งมากๆ ไปกินข้าวก็หารยาวทุกบาท
ทุกสตางค์ บาทสองบาทไม่เคยหยวนๆ แต่ก็ไม่เคยเอา
เปรียบใครเช่นกัน
และในทางตรงข้ามผมก็เคยเห็นน้องในเว็ปคนนึงมาปรึกษา
ว่าจะซื้อกล้องถ่ายรูป DSLR โดยมีเงินเก็บ 50,000 ที่เหลือ
อีก 50,000 ใช้บัตรเครดิต????
ถ้าเรามีเป้าหมายชัดเจน มีรูปแบบการใช้ชีวิตพอเพียงกับรายได้
ผมว่าเราจะพบอัตราส่วนเงินออมได้เองโดยอัตโนมัติครับ
ขึ้นอยู่กับภาระที่ต้องแบกรับ รูปแบบการใช้ชีวิต
และเป้าหมายในการเกษียณ
ผมเคยทำงานกับผู้จัดการคนหนึ่งซึ่งเป็นคนที่ประหยัด
มากๆ แม้รายได้จะสูงแต่เขาก็ยังใช้ผ้าเช็ดตัวขาดเป็น
รูตรงกลาง ทำให้ผมอึ้งมากๆ ไปกินข้าวก็หารยาวทุกบาท
ทุกสตางค์ บาทสองบาทไม่เคยหยวนๆ แต่ก็ไม่เคยเอา
เปรียบใครเช่นกัน
และในทางตรงข้ามผมก็เคยเห็นน้องในเว็ปคนนึงมาปรึกษา
ว่าจะซื้อกล้องถ่ายรูป DSLR โดยมีเงินเก็บ 50,000 ที่เหลือ
อีก 50,000 ใช้บัตรเครดิต????
ถ้าเรามีเป้าหมายชัดเจน มีรูปแบบการใช้ชีวิตพอเพียงกับรายได้
ผมว่าเราจะพบอัตราส่วนเงินออมได้เองโดยอัตโนมัติครับ
จิตที่ฝึกดีแล้ว ย่อมนำสุขมาให้
-
- Verified User
- โพสต์: 1296
- ผู้ติดตาม: 1
เคยสงสัยไหมครับว่าทำไมต้อง "ออม 1 ส่วน ใช้ 3 ส่วน"
โพสต์ที่ 3
อัตราส่วนการออมขึ้นอยู่กับรายได้ครับ ถ้ารายได้ยิ่งสูง
% การออมยิ่งสูง คนธรรมดาทั่วไปจะมีรายจ่ายถึงระดับ
หนึ่งเท่านั้น เช่นบางคนใช้เดือนละ 2 แสน ถ้าใช้มากกว่า
2 แสนก็เป็นการฝืนธรรมชาติของคนๆนั้น ดังนั้นรายได้ที่
มากกว่า 2 แสนจะเป็นเงินออมหมด ยิ่งรายได้สูงอัตรา%
การออมยิ่งสูง
% การออมยิ่งสูง คนธรรมดาทั่วไปจะมีรายจ่ายถึงระดับ
หนึ่งเท่านั้น เช่นบางคนใช้เดือนละ 2 แสน ถ้าใช้มากกว่า
2 แสนก็เป็นการฝืนธรรมชาติของคนๆนั้น ดังนั้นรายได้ที่
มากกว่า 2 แสนจะเป็นเงินออมหมด ยิ่งรายได้สูงอัตรา%
การออมยิ่งสูง
-
- Verified User
- โพสต์: 883
- ผู้ติดตาม: 0
เคยสงสัยไหมครับว่าทำไมต้อง "ออม 1 ส่วน ใช้ 3 ส่วน"
โพสต์ที่ 4
เป็นหลักการที่ดีครับ
แต่สำหรับผมคงไม่เหมาะ เพราะปกติผมไม่ค่อยชอบตั้งกฏให้กับตัวเองสะเท่าไร - - ปกติก็ใช้เท่าที่ทำให้ชีวิตผมไม่ทุกข์ ละครับ ที่เหลือก็ออมๆไว้ จะได้มีความสุขตลอดทางครับ ฮ่าๆๆ คิดแบบคนฟุ่มเฟือยรึป่าวเนี่ย
แต่สำหรับผมคงไม่เหมาะ เพราะปกติผมไม่ค่อยชอบตั้งกฏให้กับตัวเองสะเท่าไร - - ปกติก็ใช้เท่าที่ทำให้ชีวิตผมไม่ทุกข์ ละครับ ที่เหลือก็ออมๆไว้ จะได้มีความสุขตลอดทางครับ ฮ่าๆๆ คิดแบบคนฟุ่มเฟือยรึป่าวเนี่ย
-
- Verified User
- โพสต์: 1400
- ผู้ติดตาม: 0
เคยสงสัยไหมครับว่าทำไมต้อง "ออม 1 ส่วน ใช้ 3 ส่วน"
โพสต์ที่ 5
ความเห็นแต่ละคนน่าสนใจทั้งนั้นเลย
คิดถูกแล้ว ที่เอามาไว้ในห้องนั่งเล่น พักผ่อนจากการนั่งอ่านร้อยคนร้อยหุ้นเป็นเวลานานๆ
"เงินเดือนเยอะขึ้น แต่สัดส่วนการออมเยอะขึ้นมั๊ย ?"
ผมว่า น่าจะเป็นจำนวนเงินที่ออมได้/ครั้ง มากขึ้นเมื่อเทียบกับสมัยก่อน
ที่เงินเดือนยังน้อยๆอยู่ แต่เรื่องของสัดส่วนการออม ที่คิดเทียบกับ
รายได้นี่ จะมี % สูงขึ้นได้ ถ้าคนๆนั้นกินอยู่เท่าเดิม ยังไม่ได้เลื่อนฐานะ
ความเป็นอยู่ขึ้นตามไป แต่โดยธรรมชาติ คนเรานั้นมีแนวโน้มที่จะเลื่อน
ฐานะความเป็นอยู่ให้ดีขึ้นตาม บางท่านก็อยากให้ดูอู้ฟู่ สมกับระดับรายได้
หากเป็นอย่างนี้แล้ว สัดส่วนการออมก็อาจจะเปลี่ยนแปลงน้อยมาก หรือ ลด
ลงจากเมื่อก่อนด้วยซ้ำไป (เพราะถึงยังไง เขาก็นับเงินที่เก็บได้เยอะกว่าเมื่อ
ก่อนอยู่ดี จะเก็บได้กี่ % ก็ช่าง...:lol:)
"ลักษณะการใช้ชีวิต ภาระผูกพันที่มี เป้าหมายเกษียณ กำหนด สัดส่วนการออม"
เกือบทุกคนใน ThaiVI มี 3 เงื่อนไขคร่าวๆนี้ในใจ แต่ลำดับความสำคัญของแต่ละอย่างไม่เท่ากันแน่นอน
จะลำดับให้อะไรมาก่อนหลังนั้น ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อเงื่อนไขเหล่านี้มากที่สุด ผมมองว่าอยู่ที่ว่า แต่ละคนเริ่มหันมาให้ความสนใจเรื่องเงินทอง ช่วงเวลาไหนของชีวิต (Life Timing Period)
คิดถูกแล้ว ที่เอามาไว้ในห้องนั่งเล่น พักผ่อนจากการนั่งอ่านร้อยคนร้อยหุ้นเป็นเวลานานๆ
"เงินเดือนเยอะขึ้น แต่สัดส่วนการออมเยอะขึ้นมั๊ย ?"
ผมว่า น่าจะเป็นจำนวนเงินที่ออมได้/ครั้ง มากขึ้นเมื่อเทียบกับสมัยก่อน
ที่เงินเดือนยังน้อยๆอยู่ แต่เรื่องของสัดส่วนการออม ที่คิดเทียบกับ
รายได้นี่ จะมี % สูงขึ้นได้ ถ้าคนๆนั้นกินอยู่เท่าเดิม ยังไม่ได้เลื่อนฐานะ
ความเป็นอยู่ขึ้นตามไป แต่โดยธรรมชาติ คนเรานั้นมีแนวโน้มที่จะเลื่อน
ฐานะความเป็นอยู่ให้ดีขึ้นตาม บางท่านก็อยากให้ดูอู้ฟู่ สมกับระดับรายได้
หากเป็นอย่างนี้แล้ว สัดส่วนการออมก็อาจจะเปลี่ยนแปลงน้อยมาก หรือ ลด
ลงจากเมื่อก่อนด้วยซ้ำไป (เพราะถึงยังไง เขาก็นับเงินที่เก็บได้เยอะกว่าเมื่อ
ก่อนอยู่ดี จะเก็บได้กี่ % ก็ช่าง...:lol:)
"ลักษณะการใช้ชีวิต ภาระผูกพันที่มี เป้าหมายเกษียณ กำหนด สัดส่วนการออม"
เกือบทุกคนใน ThaiVI มี 3 เงื่อนไขคร่าวๆนี้ในใจ แต่ลำดับความสำคัญของแต่ละอย่างไม่เท่ากันแน่นอน
จะลำดับให้อะไรมาก่อนหลังนั้น ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อเงื่อนไขเหล่านี้มากที่สุด ผมมองว่าอยู่ที่ว่า แต่ละคนเริ่มหันมาให้ความสนใจเรื่องเงินทอง ช่วงเวลาไหนของชีวิต (Life Timing Period)
- gradius173
- Verified User
- โพสต์: 198
- ผู้ติดตาม: 0
เคยสงสัยไหมครับว่าทำไมต้อง "ออม 1 ส่วน ใช้ 3 ส่วน"
โพสต์ที่ 6
การออมขึ้นกับหลายปัจจัยมาก
บางคนไม่ต้องส่งเสียบิดามารดา บุตรธิดาภรรยา
ไม่ต้องผ่อนบ้าน
การที่จะรู้สึกว่าการออม1ส่วน ใช้3ส่วนเป็นเรื่องที่ง่ายมาก
คนแต่ละคนมีภาระที่ไม่เท่าเทียมกัน
ผมเห็นด้วยกับคนที่เริ่มออมไม่ว่าจะ1ส่วนใน10ส่วน
หรือ1ส่วนใน2ส่วน ก็เป็นเรื่องที่น่ายินดี
เพราะอย่างน้อยเขาก็มีสำนึกในการออม
สังคมไทยในชนบทเป็นสังคมที่ไม่เหมือนสังคมเมือง
พ่อแม่หากมีลูก1คน และลูกมีครอบครัวมีบุตรอีก1คน
จะเป็นลักษณะคนทำงาน2คนเลี้ยงดูคน7คน
ภาระขนาดนี้คงไม่สามารถออมได้มากแน่ๆ
บุพการีมักต้องพึ่งพิงบุตรหลาน เพราะตัวบุพการีก็ไม่มีเงินออมพอที่จะพึ่งพิงตัวเองได้
เนื่องจากตัวเองก็ต้องรับผิดชอบบุพการีรุ่นก่อนๆเป็นลำดับขึ้นไป
แต่สังคมเมืองยุคหลังbabyboomพ่อแม่ได้สร้างเนื้อตัวจนบุตรแทบไม่ต้องรับผิดชอบบุพการีแล้ว
ดังนั้นหากกลุ่มgen 'x' หรือ gen 'y'แต่งงาน
จะเป็นลักษณะทำงาน2คนเลี้ยงคน3คน
การออมเงินเป็นเรื่องชิลล์ๆไปทันที
บางคนไม่ต้องส่งเสียบิดามารดา บุตรธิดาภรรยา
ไม่ต้องผ่อนบ้าน
การที่จะรู้สึกว่าการออม1ส่วน ใช้3ส่วนเป็นเรื่องที่ง่ายมาก
คนแต่ละคนมีภาระที่ไม่เท่าเทียมกัน
ผมเห็นด้วยกับคนที่เริ่มออมไม่ว่าจะ1ส่วนใน10ส่วน
หรือ1ส่วนใน2ส่วน ก็เป็นเรื่องที่น่ายินดี
เพราะอย่างน้อยเขาก็มีสำนึกในการออม
สังคมไทยในชนบทเป็นสังคมที่ไม่เหมือนสังคมเมือง
พ่อแม่หากมีลูก1คน และลูกมีครอบครัวมีบุตรอีก1คน
จะเป็นลักษณะคนทำงาน2คนเลี้ยงดูคน7คน
ภาระขนาดนี้คงไม่สามารถออมได้มากแน่ๆ
บุพการีมักต้องพึ่งพิงบุตรหลาน เพราะตัวบุพการีก็ไม่มีเงินออมพอที่จะพึ่งพิงตัวเองได้
เนื่องจากตัวเองก็ต้องรับผิดชอบบุพการีรุ่นก่อนๆเป็นลำดับขึ้นไป
แต่สังคมเมืองยุคหลังbabyboomพ่อแม่ได้สร้างเนื้อตัวจนบุตรแทบไม่ต้องรับผิดชอบบุพการีแล้ว
ดังนั้นหากกลุ่มgen 'x' หรือ gen 'y'แต่งงาน
จะเป็นลักษณะทำงาน2คนเลี้ยงคน3คน
การออมเงินเป็นเรื่องชิลล์ๆไปทันที
-
- Verified User
- โพสต์: 1455
- ผู้ติดตาม: 0
เคยสงสัยไหมครับว่าทำไมต้อง "ออม 1 ส่วน ใช้ 3 ส่วน"
โพสต์ที่ 7
ไม่เคยรู้เรื่องเลยอ่ะ ว่าต้องออมเท่าไหร่แบบไหนถึงจะดีกว่ากัน
ส่วนตัวผมลองคิดค่าใช้จ่ายประจำเดือนว่าต้องใช้เท่าไหร่
แล้วมีเงินเหลือเท่าไหร่ มาคิดตรงเงินที่เหลือนี้และจะเอาไปทำอะไรหว่า :D
สุดท้ายก็เลยเอาไปซื้อหุ้นบ้าง ซื้อกองทุนบ้าง ซื้อประกันบ้าง
แล้วแต่โอกาส ทำแบบนี้มา 5 ปี แล้ว เงินค่าใช้จ่ายแต่ล่ะเดือน
ก็ไม่ได้เพิ่มมากขึ้นเท่าไหร่เพราะ คนเรามันก้อไม่ได้กินได้ใช้สักเท่าไหร่หรอก แต่ที่เพิ่มขึ้นทันตาเห็นคือเงินที่เหลือเพิ่มขึ้นแต่ล่ะเดือนเพราะเงินเดือนเรา
มันขึ้นทุกปี :D
ส่วนตัวผมลองคิดค่าใช้จ่ายประจำเดือนว่าต้องใช้เท่าไหร่
แล้วมีเงินเหลือเท่าไหร่ มาคิดตรงเงินที่เหลือนี้และจะเอาไปทำอะไรหว่า :D
สุดท้ายก็เลยเอาไปซื้อหุ้นบ้าง ซื้อกองทุนบ้าง ซื้อประกันบ้าง
แล้วแต่โอกาส ทำแบบนี้มา 5 ปี แล้ว เงินค่าใช้จ่ายแต่ล่ะเดือน
ก็ไม่ได้เพิ่มมากขึ้นเท่าไหร่เพราะ คนเรามันก้อไม่ได้กินได้ใช้สักเท่าไหร่หรอก แต่ที่เพิ่มขึ้นทันตาเห็นคือเงินที่เหลือเพิ่มขึ้นแต่ล่ะเดือนเพราะเงินเดือนเรา
มันขึ้นทุกปี :D
อย่าทำตัวเป็นนักแสดง เป็นเพียงผู้ดูก็พอ..