การคำนวนค่า PEG
-
- Verified User
- โพสต์: 107
- ผู้ติดตาม: 0
การคำนวนค่า PEG
โพสต์ที่ 1
สืบเนื่องจาก http://www.thaivalueinvestor.com/webboa ... .php?t=759
คุณ FE ผมขอทำโจทย์ดูนะครับ ช่วยตรวจด้วยว่าถูกต้องหรือไม่ครับ
4. DDM (Dividend Discount Model) : ใช้กรณีที่เราคาดการณ์ว่ากิจการจะจ่ายปันผลในจำนวนคงที่ต่อไปในอนาคต เช่น จ่ายปีละ 1 บาททุกปีไปเรื่อยๆ สูตรคือ P = D/K ; D คือ เงินปันผลที่คาดว่าจะจ่าย K คือ ผลตอบแทนที่ผู้ถือหุ้นคาดหวัง หรือในกรณีที่คาดว่ากิจการจะจ่ายปันผลเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในอัตราเติบโตอัตราหนึ่ง สูตรคือ P = D/(K-G) ซึ่งก็คือ PEG ที่กล่าวมานั่นเอง ; G คือ อัตราเติบโต
จากสูตร PEG
P = D/(K-G) หรือ P = dE/(K-G)
หรือเขียนอีกอย่างเป็น P/E = d/(K-G)
สามารถสะท้อนให้เห็นได้ว่าในการประเมิน มูลค่าหุ้นต่อผลกำไรที่คาดว่าจะทำได้ ขึ้นอยู่กับ
1. นโยบายการจ่ายปันผลของกิจการ ; ยิ่งมากยิ่งเพิ่มมูลค่า
2. ผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนคาดหวัง ; หากคาดหวังสูง ย่อมไม่ยอมจ่ายเงินซื้อหุ้นราคาแพง (ในสายตาของผู้ลงทุนท่านนั้นๆ)
3. อัตราเติบโตของเงินปันผลที่กิจการจะจ่ายในอนาคต ; หากมีแนวโน้มจ่ายปันผลมากขึ้นเรื่อยๆ ผู้ลงทุนก็ย่อมยอมจ่ายเงินซื้อหุ้นนั้นในราคาสูง
จากสูตร PEG
P = D/(K-G) หรือ P = dE/(K-G)
(----------------- ต่อไปนี้เป็นการตีความของผมเอง ไม่รู้ว่าถูกต้องแค่ไหน ------------------)
P = ราคาที่ซื้อก็ไม่ควรเกิน
d = %ปันผลจาก EPS
E = earning per share
K = Expect Return
G = company growth rate
ตัวอย่าง 1
ให้บริษัทมี EPS = 10, ที่ผ่านมี growth rate เป็น 0% ต่อปี มีนโบายปันผลที่ 50% ของ EPS
แทนค่าในสูตรได้ P = .5 x 10 / ( K - 0) = 1 / K
ถ้าเราคาดหวังว่าควรจะได้ผลตอบแทนจากบริษัท 10% ต่อปี ราคาที่ซื้อก็ไม่ควรเกิน
P = .5 x 10 / (.1) = 50 บาท
ถ้าเราคาดหวังว่าควรจะได้ผลตอบแทนจากบริษัท 20% ต่อปี ราคาที่ซื้อก็ไม่ควรเกิน
P = .1 x 10 / (.2) = 25 บาท
ตัวอย่าง 2
ให้บริษัทมี EPS = 10, ที่ผ่านมี growth rate เป็น 10% ต่อปี (แล้วหวังว่าจะมี growth เท่าๆเดิม) และ มีนโบายปันผลที่ 50% ของ EPS
แทนค่าในสูตรได้ P = .5 x 10 / ( K - .1)
ถ้าเราคาดหวังว่าควรจะได้ผลตอบแทนจากบริษัท 20% ต่อปี ราคาที่ซื้อก็ไม่ควรเกิน
P = .5 x 10 / (.2 - .1) = 50 บาท
ถ้าเราคาดหวังว่าควรจะได้ผลตอบแทนจากบริษัท 30% ต่อปี ราคาที่ซื้อก็ไม่ควรเกิน
P = .5 x 10 / (.3 - .1) = 25 บาท
คุณ FE ผมขอทำโจทย์ดูนะครับ ช่วยตรวจด้วยว่าถูกต้องหรือไม่ครับ
4. DDM (Dividend Discount Model) : ใช้กรณีที่เราคาดการณ์ว่ากิจการจะจ่ายปันผลในจำนวนคงที่ต่อไปในอนาคต เช่น จ่ายปีละ 1 บาททุกปีไปเรื่อยๆ สูตรคือ P = D/K ; D คือ เงินปันผลที่คาดว่าจะจ่าย K คือ ผลตอบแทนที่ผู้ถือหุ้นคาดหวัง หรือในกรณีที่คาดว่ากิจการจะจ่ายปันผลเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในอัตราเติบโตอัตราหนึ่ง สูตรคือ P = D/(K-G) ซึ่งก็คือ PEG ที่กล่าวมานั่นเอง ; G คือ อัตราเติบโต
จากสูตร PEG
P = D/(K-G) หรือ P = dE/(K-G)
หรือเขียนอีกอย่างเป็น P/E = d/(K-G)
สามารถสะท้อนให้เห็นได้ว่าในการประเมิน มูลค่าหุ้นต่อผลกำไรที่คาดว่าจะทำได้ ขึ้นอยู่กับ
1. นโยบายการจ่ายปันผลของกิจการ ; ยิ่งมากยิ่งเพิ่มมูลค่า
2. ผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนคาดหวัง ; หากคาดหวังสูง ย่อมไม่ยอมจ่ายเงินซื้อหุ้นราคาแพง (ในสายตาของผู้ลงทุนท่านนั้นๆ)
3. อัตราเติบโตของเงินปันผลที่กิจการจะจ่ายในอนาคต ; หากมีแนวโน้มจ่ายปันผลมากขึ้นเรื่อยๆ ผู้ลงทุนก็ย่อมยอมจ่ายเงินซื้อหุ้นนั้นในราคาสูง
จากสูตร PEG
P = D/(K-G) หรือ P = dE/(K-G)
(----------------- ต่อไปนี้เป็นการตีความของผมเอง ไม่รู้ว่าถูกต้องแค่ไหน ------------------)
P = ราคาที่ซื้อก็ไม่ควรเกิน
d = %ปันผลจาก EPS
E = earning per share
K = Expect Return
G = company growth rate
ตัวอย่าง 1
ให้บริษัทมี EPS = 10, ที่ผ่านมี growth rate เป็น 0% ต่อปี มีนโบายปันผลที่ 50% ของ EPS
แทนค่าในสูตรได้ P = .5 x 10 / ( K - 0) = 1 / K
ถ้าเราคาดหวังว่าควรจะได้ผลตอบแทนจากบริษัท 10% ต่อปี ราคาที่ซื้อก็ไม่ควรเกิน
P = .5 x 10 / (.1) = 50 บาท
ถ้าเราคาดหวังว่าควรจะได้ผลตอบแทนจากบริษัท 20% ต่อปี ราคาที่ซื้อก็ไม่ควรเกิน
P = .1 x 10 / (.2) = 25 บาท
ตัวอย่าง 2
ให้บริษัทมี EPS = 10, ที่ผ่านมี growth rate เป็น 10% ต่อปี (แล้วหวังว่าจะมี growth เท่าๆเดิม) และ มีนโบายปันผลที่ 50% ของ EPS
แทนค่าในสูตรได้ P = .5 x 10 / ( K - .1)
ถ้าเราคาดหวังว่าควรจะได้ผลตอบแทนจากบริษัท 20% ต่อปี ราคาที่ซื้อก็ไม่ควรเกิน
P = .5 x 10 / (.2 - .1) = 50 บาท
ถ้าเราคาดหวังว่าควรจะได้ผลตอบแทนจากบริษัท 30% ต่อปี ราคาที่ซื้อก็ไม่ควรเกิน
P = .5 x 10 / (.3 - .1) = 25 บาท
แก้ไขล่าสุดโดย THiNK เมื่อ จันทร์ ส.ค. 04, 2003 4:57 am, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
-
- Verified User
- โพสต์: 2509
- ผู้ติดตาม: 0
การคำนวนค่า PEG
โพสต์ที่ 4
ที่คุณ THiNK ลองทำมาคิดว่าถูกต้องแล้วครับ หากใครตรวจเจอที่ผิดช่วยผมแก้ด้วยแล้วกัน
ที่คุณ chatchai ถาม หาก K < G จะคำนวณไม่ได้ครับ เป็นจุดอ่อนของสูตรนี้ครับ
ส่วนที่มีผู้ถามไว้ในอีกกระทู้ถึงเรื่อง PEG ควรต่ำกว่า 1 เดี๋ยวผมจะพยายามเช็คหาคำตอบมาให้นะครับ (ไม่รับปาก)
ที่คุณ chatchai ถาม หาก K < G จะคำนวณไม่ได้ครับ เป็นจุดอ่อนของสูตรนี้ครับ
ส่วนที่มีผู้ถามไว้ในอีกกระทู้ถึงเรื่อง PEG ควรต่ำกว่า 1 เดี๋ยวผมจะพยายามเช็คหาคำตอบมาให้นะครับ (ไม่รับปาก)
- Mon money
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 3134
- ผู้ติดตาม: 0
การคำนวนค่า PEG
โพสต์ที่ 6
มันเป็นไปไม่ได้ หากคิดจะลงทุนหาผลตอบแทนกันแล้วใครจะหวังผลตอบแทนที่ต่ำกว่าอัตราการเจริญเติบโต แค่หวังเท่าๆกันก็เท่าทุนแล้ว(ยิ่งโต ยิ่งเสี่ยง ยิ่งต้องหวังผลตอบแทนมาก) นอกจากไม่รู้จริงๆchatchai เขียน:แล้วถ้าเราหวังผลตอบแทนต่ำกว่าอัตราการเติบโตละครับ จะคำนวณยังไง K < G
สูตรนี้ได้สท้อนภาพที่เป็นจริงเอาไว้เรียบร้อยแล้วครับ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11443
- ผู้ติดตาม: 0
การคำนวนค่า PEG
โพสต์ที่ 7
คุณ Mon ครับ สูตรนี้ไว้ใช้คำนวณหาราคาที่เหมาะสมในการลงทุนใช่ไหมครับ
ที่นี้ถ้าผมต้องการผลตอบแทนจากการลงทุนปีละ 20% แต่ผมเสาะหาหุ้นที่สามารถเติบโตได้ถึงปีละ 30% ละครับ ผมก็อยากจะทราบว่าผมควรจะซื้อหุ้นตัวนี้ได้ถึงราคาที่เท่าไร เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่ 20% นะครับ (ราคายิ่งสูง ผลตอบแทนก็ควรจะลดลงถูกไหมครับ) สูตรนี้ก็คงจะไม่สามารถบอกผมได้จริงไหมครับ หรือว่าซื้อได้ทุกราคา ซึ่งผมว่ามันพิลึกๆนะครับ ใครรู้ช่วยแจ้งหน่อยครับ
ที่นี้ถ้าผมต้องการผลตอบแทนจากการลงทุนปีละ 20% แต่ผมเสาะหาหุ้นที่สามารถเติบโตได้ถึงปีละ 30% ละครับ ผมก็อยากจะทราบว่าผมควรจะซื้อหุ้นตัวนี้ได้ถึงราคาที่เท่าไร เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่ 20% นะครับ (ราคายิ่งสูง ผลตอบแทนก็ควรจะลดลงถูกไหมครับ) สูตรนี้ก็คงจะไม่สามารถบอกผมได้จริงไหมครับ หรือว่าซื้อได้ทุกราคา ซึ่งผมว่ามันพิลึกๆนะครับ ใครรู้ช่วยแจ้งหน่อยครับ
-
- ผู้ติดตาม: 0
การคำนวนค่า PEG
โพสต์ที่ 8
จากนิยามข้างล่าง ผมคิดว่าการคำนวนที่ผมทำออกจะแปลกๆอยู่
น่าจะต้องทำความเข้าใจใหม่ครับ
http://stocks.onvista.co.uk/lexicon.htm ... NITION=792
Price Earning to Growth Ratio
Price Earning to Growth-Ratio (PEG) - a fundamental share key figure The key figure Price-Earning to Growth-Ratio relates a business year's KGV to the coming business year's expected yield growth. PEG is normally used to evaluate emerging instruments. It is based on the fact that growth implicates a positive influence on the company value and that the KGVs will change in relation to the growth. It is particularly used in the case of companies with a value enhancing growth potential. A PEG-Ratio below 1 indicates an undervaluation of the company, the KGV being lower than the company's implied growth rate. A PEG Ratio above 1 indicates an overevaluation, a PEG of 1 a fair evaluation. To make sense, a company's PEG has to be compared to the sector's average. For example, if a share's PEG is at 1.1 but the entire sector's is 1.4, the company cannot be classified either as underevaluated or overevaluated from an isolated point of view.
น่าจะต้องทำความเข้าใจใหม่ครับ
http://stocks.onvista.co.uk/lexicon.htm ... NITION=792
Price Earning to Growth Ratio
Price Earning to Growth-Ratio (PEG) - a fundamental share key figure The key figure Price-Earning to Growth-Ratio relates a business year's KGV to the coming business year's expected yield growth. PEG is normally used to evaluate emerging instruments. It is based on the fact that growth implicates a positive influence on the company value and that the KGVs will change in relation to the growth. It is particularly used in the case of companies with a value enhancing growth potential. A PEG-Ratio below 1 indicates an undervaluation of the company, the KGV being lower than the company's implied growth rate. A PEG Ratio above 1 indicates an overevaluation, a PEG of 1 a fair evaluation. To make sense, a company's PEG has to be compared to the sector's average. For example, if a share's PEG is at 1.1 but the entire sector's is 1.4, the company cannot be classified either as underevaluated or overevaluated from an isolated point of view.
- Mon money
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 3134
- ผู้ติดตาม: 0
การคำนวนค่า PEG
โพสต์ที่ 9
คุณ Chatchai และทุกท่านครับchatchai เขียน:คุณ Mon ครับ สูตรนี้ไว้ใช้คำนวณหาราคาที่เหมาะสมในการลงทุนใช่ไหมครับ
ที่นี้ถ้าผมต้องการผลตอบแทนจากการลงทุนปีละ 20% แต่ผมเสาะหาหุ้นที่สามารถเติบโตได้ถึงปีละ 30% ละครับ ผมก็อยากจะทราบว่าผมควรจะซื้อหุ้นตัวนี้ได้ถึงราคาที่เท่าไร เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่ 20% นะครับ (ราคายิ่งสูง ผลตอบแทนก็ควรจะลดลงถูกไหมครับ) สูตรนี้ก็คงจะไม่สามารถบอกผมได้จริงไหมครับ หรือว่าซื้อได้ทุกราคา ซึ่งผมว่ามันพิลึกๆนะครับ ใครรู้ช่วยแจ้งหน่อยครับ
จากคำถามก็ได้ตอบคำถามแล้วนี่ครับ จากเหตุการสมมุติที่ Growth 30% แต่มักน้อยขอแค่ 20% หากหุ้นบริษัทนี้Growth ต่อเนื่องตามนี้ตลอดไม่สะดุดเลย คุณยังหวังแค่20%จริงหรือ? เพราะคุณรู้แน่ๆว่ามันโต30%
หากกลับมาที่สถานการณ์จริง ไม่มีความแน่นอนในการประมาณการGrowthในอนาคตว่าจะโตแบบไม่สดุดเลย นั่นคือความเสี่ยงคุณจะยังคงใช้ Expected return ที่20%จริงหรือ? หากความไม่แน่นอนในการเติบโตสูง แน่นอนว่าExpected return ของคุณยิ่งต้องสูงเพื่อชดเชยความไม่แน่นอน
(สมมุติ) หากคุณรู้แน่ๆว่ามันโต30%คุณประมาณราคาออกมาได้ปรากฎว่า มูลค่ามันสูงกว่าราคาที่คุณจะซื้อมากๆ คุณจะซื้อทุกราคาไหม?
(จริงๆ) หากไม่แน่ใจว่ามันจะโต30% คุณจะใช้Growthที่ 30%ไหม? หากคุณใช้ คุณจะDiscountมันที่20%จริงๆหรือ?
สูตรมันสะท้อนความจริงของมันออกมาแล้วครับ แต่เราต้องเลือกใช้อย่างเข้าใจ
- Mon money
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 3134
- ผู้ติดตาม: 0
การคำนวนค่า PEG
โพสต์ที่ 11
ที่ผมใช้อยู่เป็นประจำจะมีสองแบบครับ คือแบบปีต่อปี ก็ง่ายเอาปีปัจจุบันลบปีที่แล้วแล้วหารปีที่แล้ว เราจะได้ Growth ของปีต่อปี
แบบที่สองหาแบบ compound คือหาจากปีเริ่มต้นและปีสุดท้าย โดยไม่สนใจระหว่างปี ใช้สูตร PV = FV/ (1+r)^n นั่นแหละครับ หาค่า r มันก็คือGrowth คุณสามารถใช้ Rvenue หรือ Net income ก็ได้ ถ้าใช้ EPSต้องระวังเรื่องเพิ่มทุน Spit par และอีกมากมาย ส่วนผมจะใช้ FCFหาครับ
ทีนี้หา Growthได้แล้วแต่มันเป้นเรื่องของอดีต อนาคตไม่ได้หมายความว่ามันจะต้องเป็นตามนั้น สิ่งที่ต้องทำคือ ใช้Discount Rate ที่สมเหตุสมผลที่สุด ให้เหมาะกับ ความไม่แน่นอนนั้นๆครับ
แบบที่สองหาแบบ compound คือหาจากปีเริ่มต้นและปีสุดท้าย โดยไม่สนใจระหว่างปี ใช้สูตร PV = FV/ (1+r)^n นั่นแหละครับ หาค่า r มันก็คือGrowth คุณสามารถใช้ Rvenue หรือ Net income ก็ได้ ถ้าใช้ EPSต้องระวังเรื่องเพิ่มทุน Spit par และอีกมากมาย ส่วนผมจะใช้ FCFหาครับ
ทีนี้หา Growthได้แล้วแต่มันเป้นเรื่องของอดีต อนาคตไม่ได้หมายความว่ามันจะต้องเป็นตามนั้น สิ่งที่ต้องทำคือ ใช้Discount Rate ที่สมเหตุสมผลที่สุด ให้เหมาะกับ ความไม่แน่นอนนั้นๆครับ
- Mon money
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 3134
- ผู้ติดตาม: 0
การคำนวนค่า PEG
โพสต์ที่ 16
จริงๆแล้วยิ่งนานยิ่งดีครับ แต่ข้อมูลบ้านเราหายากจริงๆ แต่พี่เจ๋งบอกว่า หากเป็นสมาชิก Kim eng ที่นั่นมีข้อมุลย้อนหลังให้เป็นสิบปีเลยครับchatchai เขียน:แล้วเราควรใช้เวลากี่ปีในการคำนวณครับ เห็นต่างประเทศใช้กัน 10 ปี แต่บ้านเราหางบ 10 ปีย้อนหลังได้จากไหนครับ