หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
chaitorn
Verified User
โพสต์: 2545
ผู้ติดตาม: 0

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์ที่ 1

โพสต์

http://www.thaivi.com/webboard/viewtopi ... 4%C3%D1%BA

มีผู้โพสมาหาผมถามว่า หุ้นประเภทไหนในขณะนี้ที่น่าสนใจ

เอาเป็นว่า ผมยังสนใจในหลาย ๆ กลุ่มอยู่

แต่จังหวะในการสนใจ ก็ทะยอยเรียนรู้ไปหลาย ๆ กลุ่ม เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับตนเองให้มากที่สุด

ขอยกบางกลุ่มที่น่าติดตามก็แล้วกันนะครับ

ดังนั้น ผมขอตั้งคำถามกลับด้านก็แล้วกันนะครับว่า

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้หรือ

ขอเอากระทู้ดี ๆ เกือบ 5 ปีที่แล้ว ที่มีการถกให้เห็นถึงแนวคิดเรื่องนี้มาต่อยอดแทนนะครับ เผื่อจะเป็นประโยชน์กับหลาย ๆ คนด้วยนะครับ

มีผู้ถามว่า กฏเกณฑ์เรื่องแนวปฏิบัติของประกันภัยจะไปดูที่ตรงไหน เพราะมีผู้อยากทราบว่า กติกาจะเปลี่ยนแปลงในเรื่องอะไร จะติดตามได้ตรงไหนได้บ้าง

วิธีการหนึ่งที่ดูง่าย ๆ ก็คือ เข้าไปดูในหมายเหตุประกอบงบการเงินของแต่ละที่ จะมีคำตอบให้กับผู้ที่สนใจ พยายามเข้าไปดูในหลาย ๆ บริษัทจะยิ่งดีครับ ได้หลายมุมมองอีกด้วย

สำหรับในอนาคตนั้นอยากติดตามความคืบหน้า ก็สามารถดูจากเวปของ คปภ. ซึ่งจะมีรายละเอียดจำนวนมาก

http://www.oic.or.th/th/home/index.php

ลองเข้าไปค้นหาความรู้ได้ตามนี้ด้วยครับ

ขออนุญาตรวบตอบคำถาม โดยไม่โพสกลับนะครับ จะได้เป็นประโยชน์สำหรับคนอื่น ๆ ด้วยครับ

ลองมาแสดงความเห็นกันหน่อยต่อยอดจากของเดิมนะครับ
Circle of competence
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
chaitorn
Verified User
โพสต์: 2545
ผู้ติดตาม: 0

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ขอนำประเด็นที่เขาถกกันมาช่วยกันหาข้อมูลและถกกันเพิ่มเติมนะครับ

1. หุ้นประกันภัย หลายตัว p/e เริ่มค่อนข้างสูงในกลุ่มนี้ ในขณะที่ p/bv ต่ำ มองแล้วการเติบโตไม่มาก ตอนนี้ยังเป็นแบบนี้อยู่หรือไม่

2.  การเปิดเสรีประกันภัย และกฏเกณฑ์ใหม่ ๆ ที่จะเพิ่มเข้ามา  จะกระทบกับบริษัทประกันภัยในระบบอย่างใด ประเด็นนี้ก็น่าสนใจครับ

3.  จริงหรือไม่ว่า หุ้นประกันภัย เป็นหุ้นที่เหมาะกับการลงทุนโดยพิจารณาจากปัจจัยพื้นฐานมากครับ โดยเฉพาะหุ้นที่มี แบงค์เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ซึ่งทำให้เกิดช่องทางการตลาดใหม่ คือ แบ็งแอสชัวรันซ์ ซึ่งนอกจากจะทำให้ไม่ต้องขยายสาขาเพิ่มเติมเองจำนวนมาก โดยผ่านทางธนาคารแล้ว กฏ แคชบีฟอร์คอเวอร์ ยังช่วยในเรื่อง การรับเงินก่อนการคุ้มครอง ทำให้ไม่ต้องสำรองค่าเบี้ยประกันภัยค้างจ่าย ตามกฏที่กำหนดไว้ว่า ค้างจ่ายเกิน 60 วันต้องสำรองค่าเบี้ยตรงนี้ด้วย เป็นกฏกติกาใหม่ ทำให้ประกันภัยที่มีแบ็งก์เอี่ยวด้วย จะได้เปรียบการแข่งขันขึ้น จริงหรือไม่

4.  ธุรกิจหุ้นประกันภัยลงทุน แล้วไม่คุ้มกับการลงทุนเมื่อเทียบกับธุรกิจอื่น ๆ ท่านลงทุนหุ้นกลุ่มประกันภัย กี่ปี แล้วได้ผลตอบแทนมาเท่าไหร่ จริงหรือไม่ครับ

5.  ประเด็นนี้ก็น่าถกครับ การระดมทุนของประกันภัย ดีตรงที่ไม่ต้องคืนเงินนะสิครับ ต้องมีเคลมเกิดขึ้นเท่านั้นถึงจะเอาเงินคืนได้ อันนี้ดีกว่าธุรกิจประกันชีวิตเสียอีกนะ (หนี้สินในเรื่องเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ถือเป็นรายได้ เข้าใจง่าย ๆ คือ แบ็กล้อครายได้ล่วงหน้าที่ยังไม่รับรู้ใน 1 ปี และรายได้ค่าเบี้ยประกันภัยรับล่วงหน้า ตรงนี้ยิ่งมากยิ่งดี) ประเด็นนี้ก็ต้องถกกันระหว่างประกันภัย กับประกันชีวิตครับ

6.บริษัทที่มีการได้เปรียบเชิงการแข่งขันอย่างยั่งยืน สามารถหาได้ในกลุ่มประกันนี้หรือเปล่าครับ

7. ปีที่แล้วกลุ่มประกันภัยไม่น่าลงทุนนะ สาเหตุเพราะกำไรจะถอยลงเทียบกับปีก่อน เพราะปีก่อนหน้ามีกำไรจากการลงทุนในหุ้นเยอะ ปีที่แล้วขาดทุนหุ้นมากเพราะหุ้นตก แล้วปีนี้หละเป็นอย่างไรกันบ้างครับ ยังขาดทุนในพอร์ตเหมือนเดิมหรือไม่ กลุ่มประกันภัยตัวใดบ้างที่มีพอร์ตลงทุนในหุ้นและตราสารหนี้สัดส่วนเป้นอย่างไร ใครได้ประโยชน์และเสียประโยชน์ เป็นต้น ประเด็นนี้ก็น่าสนใจครับ

8.เนื่องจากหุ้นกลุ่มประกันภัยมี พอร์ตการลงทุนในตราสารต่างๆ เป็นสินทรัพย์ส่วนใหญ่ ดังนั้นอาจจะมีกำไร/ขาดทุนที่ยังไม่รับรู้เป็นจำนวนมาก วิธีรับรู้รายได้ของหุ้นประกันแต่ละตัว และการจัดแบ่งชนิดหลักทรัพย์ต่างๆ อาจจะทำให้ การเปลี่ยนแปลง Book value ของประกันแต่ละแห่งเทียบกันไม่ได้ตรงๆครับ

ลองดูหุ้นประกันที่คุณถือ ว่าเล่นกับบัญชีไว้อย่างไรบ้างครับ

อ้าวประกันภัยมีการเล่นตัวเลขกำไรกันด้วยหรือครับ ประเด็นนี้ก็น่าสนใจครับ ว่าเล่นตัวเลขทางบัญชีกันอย่างไร (จริง ๆ ไม่ใช่เล่นตัวเลขแบบ เอ็นรอน นะครับ แต่เป้นวิธีการลงบัญชี ที่เวลาเราวิเคราะห์หุ้นประกันภัย ต้องเข้าใจวิธีการลงบัญชีให้ดี เพราะการดูผลประกอบการรายงวด อาจเข้าใจผิดได้ง่าย ๆ โดยเฉพาะกำไรที่ซ่อนอยู่ในหลักทรัพย์ที่ลงทุนไว้ แต่ยังไม่รับรู้ตามกฏบัญชีเป็นต้น)

9.ข้อมูลจากกรมการประกันภัยแล้วเห็นว่ามีบางบริษัทมีส่วนครองตลาดในบางกลุ่ม มีกรมธรรม์ในมือมากสุดเลย เป็นความได้เปรียบการแข่งขันหรือไม่ ก็น่าถกกันครับ

เห็นไหมว่า ประกันภัยมันไม่น่าสนใจตรงไหนครับ  :lol:

ผมเปิดประเด็นไว้ก่อน คงต้องให้ผู้รู้หลาย ๆ คนมาช่วยเติมคำตอบด้วยนะครับ ขอบคุณอีกครั้งครับ
Circle of competence
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
นักดูดาว
Verified User
โพสต์: 2513
ผู้ติดตาม: 0

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ห้าปีแล้วหรือนี่... ผ่านไปเร็วนะครับ

สถานการณ์ในปี 2004 มีหุ้นประกันภัยที่ผลประกอบการณ์ดี และราคาต่ำกว่าที่ควรจะเป็นอยู่มาก แต่มาถึงปัจจุบัน หุ้นกลุ่มที่ว่านั้นก็ปรับตัวขึ้นมามากแล้วครับ

ตอนนี้ ยังไม่มีหุ้นอะไรเข้าตาครับ มีแต่คำแนะนำให้ระมัดระวังตัวในการซื้อประกันภัยรถยนต์ ให้ตรวจสอบดูข่าวทั้งกรองและไม่กรองให้มั่นใจครับ อย่าเห็นแก่เบี้ยถูกแต่เพียงอย่างเดียว ผมพูดคุยเรื่องนี้เมื่อหลายปี่ก่อนกับพี่ปรัชญาในฐานะลงทุนในกลุ่มประกันภัยเหมือนกัน ก็มีความเห็นตรงกันในบริษัทแห่งหนึ่ง ซึ่งตอนนี้ก็จากไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วครับ ตอนนี้ผมก็ระวังอยู่สองสามแห่ง
woody
Verified User
โพสต์: 3763
ผู้ติดตาม: 0

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ขอเพิ่มหนึ่งคำถามแล้วกันครับว่าทำไมส่วนใหญ่ บริษัทประกันที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดฯ ส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทประกันภัย ไม่ใช่บริษัทประกันชีวิต  :?:
Impossible is Nothing
นักดูดาว
Verified User
โพสต์: 2513
ผู้ติดตาม: 0

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์ที่ 5

โพสต์

เพราะฝ่ายการตลาดของตลาดหรือเปล่าครับ เดาเอา  :D
chaitorn
Verified User
โพสต์: 2545
ผู้ติดตาม: 0

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์ที่ 6

โพสต์

คุณนักดูดาว
ห้าปีแล้วหรือนี่... ผ่านไปเร็วนะครับ

สถานการณ์ในปี 2004 มีหุ้นประกันภัยที่ผลประกอบการณ์ดี และราคาต่ำกว่าที่ควรจะเป็นอยู่มาก แต่มาถึงปัจจุบัน หุ้นกลุ่มที่ว่านั้นก็ปรับตัวขึ้นมามากแล้วครับ

ตอนนี้ ยังไม่มีหุ้นอะไรเข้าตาครับ มีแต่คำแนะนำให้ระมัดระวังตัวในการซื้อประกันภัยรถยนต์ ให้ตรวจสอบดูข่าวทั้งกรองและไม่กรองให้มั่นใจครับ อย่าเห็นแก่เบี้ยถูกแต่เพียงอย่างเดียว ผมพูดคุยเรื่องนี้เมื่อหลายปี่ก่อนกับพี่ปรัชญาในฐานะลงทุนในกลุ่มประกันภัย เหมือนกัน ก็มีความเห็นตรงกันในบริษัทแห่งหนึ่ง ซึ่งตอนนี้ก็จากไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วครับ ตอนนี้ผมก็ระวังอยู่สองสามแห่ง
ผมเคยศึกษาหุ้นประกันภัย พบว่า เป็นหุ้นวัฏจักรเหมือนกันครับ

ผสมโรงกับ หุ้นประกันภัยนั้น มีพอร์ตลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน โดยเฉพาะตราสารทุนนั้น มันค่อนข้างผันผวน

ทำให้ปีที่แล้วหลาย ๆ บริษัทเลยขาดทุนหรือมูลค่าลดลงมากเลยครับ

หุ้นประกันภัย จึงต้องดูผลประกอบการ 2 ด้าน คือ ด้านธุรกิจประกันภัย ไประดมทุนมาให้ได้ต้นทุนที่ต่ำสุด

แล้วไปบริหารด้านที่เกี่ยวกับการลงทุน ให้ได้ผลตอบแทนที่สูงสุด

ปีที่แล้ว จึงเป็นปัญหาด้านที่ 2 ค่อนข้างมาก

แต่เท่าที่ผมตรวจสอบพอร์ตลงทุนของบริษัทประกันภัย หลายบริษัทก็ยังยืนหยัดถือตราสารทุนทั้งที่ลงทุนเอง และถือผ่านกองทุนรวม แม้จะยังขาดทุนต่อเนื่องมา2 ไตรมาสของปีที่ผ่านมา แต่ไตรมาส 1 และ ไตรมาส 2 บางแห่งก็เริ่มฟื้นตัวขึ้นบ้างแล้ว ก็คงลุ้นไตรมาส 3 ต่อว่าจะเป็นอย่างไร เพราะไตรมาสนี้ หุ้นกลุ่มบลูชิพ เพิ่มขึ้นมากทีเดียว เพราะต่างชาติเข้า

แต่กำไรพวกตราสารทุนของบางบริษัท มันไปซ่อนอยู่ กำไรส่วนเกินของหลักทรัพย์ที่ไปอยู่ในส่วนของผู้ถือหุ้น ไม่ได้แสดงในงบกำไรขาดทุน เพราะไม่ได้ขายหุ้นทำกำไรออกไป ทำให้แม้กำไรมีส่วนต่าง แต่ไปเพิ่มส่วนของผู้ถือหุ้น ไม่ผ่านงบกำไรขาดทุน เป็นการซ่อนรูปกำไรวิธีหนึ่งเหมือนกันครับ (บางบริษัท กำไรจากการลงทุนลดลง แต่แหมไปดูกำไรส่วนต่างของเงินลงทุนโดยเฉพาะตราสารทุน มันเพิ่มขึ้นมากเลยครับ ไม่แกะงบจะไม่รู้ครับ

ถือหุ้นประกันภัย จึงเหมือนถือหุ้นกองทุนบาลานซ์ฟันด์เหมือนกัน เพราะเงินทุนที่ระดมจากค่าเบี้ยประกันภัย นำไปลงตราสารหนี้และตราสารทุน ในสัดส่วนที่แตกต่างกัน ขึ้นกับนโยบายของแต่ละบริษัทครับ

ดูไตรมาส 3 คงเห็นข้อมูลการลงทุนตรงนี้ชัดเจนย่งขึ้นครับ ถือว่าประกันภัยเป็นกลุ่มที่ตามหลังตลาดเหมือนกันครับ  :lol:  :lol:  :lol:
Circle of competence
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
ภาพประจำตัวสมาชิก
Linzhi
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1464
ผู้ติดตาม: 1

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์ที่ 7

โพสต์

[quote="woody"]ขอเพิ่มหนึ่งคำถามแล้วกันครับว่าทำไมส่วนใหญ่ บริษัทประกันที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดฯ ส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทประกันภัย ไม่ใช่บริษัทประกันชีวิต
ก้าวช้า ๆ และเชื่อในปาฎิหารย์ของหุ้นเปลี่ยนชีวิต
There is no secret ingredient. It's just you.
chaitorn
Verified User
โพสต์: 2545
ผู้ติดตาม: 0

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์ที่ 8

โพสต์

ผมมีคำถามถึงเจ้าพ่อประกัน คุณนักดูดาวนิดหน่อยนะครับ  :lol:

ผมไปอ่านเจอผลประกอบการของบางบริษัท พบว่า ในไตรมาส 2 เขามีค่าเบี้ยประกันเพิ่มขึ้นมาก แต่พอลงในงบกำไรขาดทุน ปรากฏว่า กำไรจากประกันภัยกับลดลงมาก เพราะต้องไปสำรองไว้ที่เบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ถือเป็นรายได้จำนวนมาก

ดังนั้น บริษัทประกันภัย ยิ่งขยายเพิ่มรายได้มาก ๆ จะทำให้ผลประกอบการในงบกำไรขาดทุนรายไตรมาสมันลดลงหรือครับ

แต่ที่แปลกก็คือ ไปดูงบกระแสเงินสด ปรากฏว่า มีกระแสเงินสดดีขึ้นมากกว่าปีที่แล้วจำนวนมาก และทำไปลงทุนได้เพิ่มขึ้นมากอีกด้วย

อ่านงบแบบนี้แล้ว ก็แปลกใจว่า ทำไม ยิ่งขายได้มาก รายได้เข้ามาเป็นเงินสดก็มากขึ้น แต่กลับกัน ผลประกอบการแทนที่จะดีขึ้นสะท้อนรายได้ที่เพิ่มขึ้น แต่กลับแย่ลง จะเป็นแบบนี้ทุกบริษัทหรือไม่ แล้วทางแก้ไขเรื่องนี้จะเป็นอย่างไรครับ
Circle of competence
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
chaitorn
Verified User
โพสต์: 2545
ผู้ติดตาม: 0

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์ที่ 9

โพสต์

ขอยกตัวอย่างคำอธิบายของบริษัทที่ผมพูดถึงนะครับ

และที่สำคัญ บอกว่าายได้จากการลงทุนสุทธิ ลดลงร้อยละ 12.14 แต่หากไปดูหมายเหตุประกอบงบการเงิน กลับพบว่า มีส่วนเกินจากเงินลงทุนในหลักทรัพย์สูงขึ้นค่อนข้างมาก

งบการเงินที่ออกมาในลักษณะแบบนี้ มันสวนความรู้สึกจริง ๆ ครับ

ทางแก้ไม่รู้จะทำอย่างไรให้สะท้อนตามผลการดำเนินงานที่แท้จริง ไม่ใช่ ซ่อน ๆ แล้วให้เราไปแกะและแปลความกันเอาเองครับ แล้วก็เข้าใจอะไรที่ผิดกับความเป็นจริง

คุณนักดูดาวมีความเห็นอย่างไรครับ ขอบคุณครับ
Circle of competence
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
chaitorn
Verified User
โพสต์: 2545
ผู้ติดตาม: 0

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์ที่ 10

โพสต์

เงินลงทุนระยะยาว
หลักทรัพย์เผื่อขาย



     หลักทรัพย์จดทะเบียน
145,021,318

172,543,473
     หน่วยลงทุน
3,500,000

1,686,307
กำไรที่ยังไม่เกิดขึ้นจากการ    
        เปลี่ยนแปลงมูลค่าเงินลงทุน

25,708,462


-
ตัวอย่างที่ 2 ของบริษัทแห่งนี้ครับ ที่บอกว่า กำไรจากการลงทุนลดลง แต่ไปดูในหมายเหตุประกอบงบการเงิน มันมีกำไรที่ยังไม่เกิดขึ้นจาการเปลี่ยนแปลงมูลค่าเงินลงทุนสูงถึง 25.7 ล้านบาท เทียบกับสิ้นปีอยู่ที่ประมาณ 10 ล้านบาท กำไรมันเพิ่มขึ้นถึง 15.7 ล้านบาท แต่ไม่ได้บันทึกในงบกำไรขาดทุน

ไปบันทึกเฉพาะที่มีการซื้อขายเกิดขึ้นจริง แล้วบอกว่า กำไรจากการลงทุนมันลดลงครับ

เป็นตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริงในไตรมาส 2 ที่ผ่านมาครับ

รบกวนคุณนักดูดาวให้ความเห็นหน่อยนะครับ
Circle of competence
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
ภาพประจำตัวสมาชิก
il genio
Verified User
โพสต์: 118
ผู้ติดตาม: 0

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์ที่ 11

โพสต์

แสดงความเห็นครับ

เห็นด้วยครับ prospect ของอุตสาหกรรมประกันภัยคงสู้ประกันชีวิตไม่ได้ เบี้ยประกันขีวิตน่าจะมี potential ที่จะเติบโตได้  2 digits ในช่วง 5 ปีข้างหน้า ส่วนประกันภัย ผมยังไม่เห็นปัจจัยอะไรที่ทำให้เชื่อได้ว่าเบี้ยประกันภัยโดยรวมจะโตมากกว่าในอดีตที่ผ่านมา
น่าจะสูงกว่า GDP นิดหน่อย คือประมาณร้อยละ 5-7 ต่อปี

อย่างไรก็ตาม prospect ของอุตสาหกรรมเป็นเรื่องหนึ่ง ส่วนการเลือกลงทุนในหุ้น เป็นอีกเรื่องหนึ่งครับ

ผมมองว่า ผู้ที่ลงทุนในหุ้นประกันภัย อาจไม่ได้มอง growth prospect ของอุตสาหกรรมเป็นหลัก แต่เชื่อว่าหุ้นประกันภัยมีคุณสมบัติของการเป็น great companies (or just so-so companies) in a lousy industry  เพราะการที่สภาพอุตสาหกรรมแข่งขันสูง และมีอัตราการเติบโตต่ำ ทำให้คนส่วนใหญ่ไม่ได้สนใจหรือให้มูลค่ากับหุ้นกลุ่มนี้สูงเท่า หุ้นกลุ่มที่คนส่วนใหญ่เชื่อว่าจะมีอัตราการเติบโตสูง จึงเป็นโอกาสให้เราได้ลงทุนในหุ้นพื้นฐานดีราคาไม่แพง

ในภาวะอุตสาหกรรมแบบนี้ ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์การกำกับดูแลครั้งใหญ่ ผู้เล่น 76 บริษัทคงอยู่รอดได้ไม่หมด ผู้เล่นที่มีความแข็งแกร่งจะได้ประโยชน์จากการหายไปของผู้เล่นที่อ่อนแอ ส่วนผู้เล่นคนไหนจะได้ประโยชน์มากหรือน้อยก็แล้วแต่จะวิเคราะห์

หากเรามองดีๆ เราน่าจะมีโอกาสทำกำไรได้จากการลงทุนในอุตสาหกรรมดาวรุ่ง และอุตสาหกรรมดาวกระจายครับ

ปล. อุปสรรคอย่างหนึ่งที่ทำให้ผู้ลงทุนละเลยหุ้นประกันภัย น่าจะเป็นเพราะงบการเงินเข้าใจยาก และวิเคราะห์ยากกว่างบการเงินบริษัทอื่นๆ แต่ถ้าทำความเข้าใจดีๆ จะพบว่าไม่ยากอย่างที่คิดครับ

ขอให้โชคดีในการลงทุนครับ
Things don't just happen. They happen just.
chaitorn
Verified User
โพสต์: 2545
ผู้ติดตาม: 0

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์ที่ 12

โพสต์

ความแตกต่างของประกันวินาศภัย กับ ประกันชีวิตในหลักที่สำคัญอยู่ที่

ประกันวินาศภัย เล่นกับ ภัยที่ไม่แน่นอน จึงใช้คำว่า insurance และคุ้มครองทรัพย์สินเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมีมูลค่าที่แน่นอน จ่ายเกินกว่ามูลค่าที่แน่นอนไม่ได้ จึงต้องมีการประเมินมูลค่าของทรัพย์สินที่ทำประกันภัย

แต่ ประกันชีวิต เล่นกับ ภัยที่แน่นอน จึงใช้คำว่า assurance จึงเห็นบางบริษัทใช้คำนี้ เพราะเล่นเสี่ยงกับภัยที่แน่นอนว่าจะเกิดขึ้นเมื่อใด ถ้าเกิดช้าก็ได้กำไร แต่เกิดเร็วก็ขาดทุน และมูลค่าไม่แน่นอน เพราะภัยที่คุ้มครองคือชีวิตของผู้ทำประกันภัย ซึ่งไม่สามารถตีค่ามูลค่าที่แน่นอนได้ เพราะศักยภาพในการหารายได้ของคนมีศักยภาพไม่แน่นอน จึงสามารถเลือกทำประกันภัยชีวิตได้ไม่จำกัดตามศักยภาพ

คณิตศาสตร์ประกันภัยความน่าจะเป็นของโมเดลธุรกิจ 2 แบบจึงต้องต่างกัน

วินาศภัย คำนวณความน่าจะเป็นของการเปิดภัยในรอบหลายๆ ปี แล้วคำนวณเป็นความเสี่ยง กับ ค่าเบี้ยประกันภัยที่จะคุ้มครองได้ บวกกำไรเข้าไปในระดับเหมาะสม จึงต้องมีการสำรองค่าเบี้ยไว้ส่วนหนึ่ง เพราะเราไม่รู้ว่าภัยจะเกิดขึ้นเมื่อใด เราเรียกว่าเงินกองทุนประกันภัย ที่ คปภ. จะมีการคำนวณไว้ทุก ๆ ปี

สำหรับ ประกันชีวิต คำนวณความน่าจะเป็นของความแน่นอนของชีวิตคน ผ่าน อัตราการตายโดยเฉลี่ยของชีวิตคนในแต่ละช่วงอายุ แล้วคำนวณค่าเบี้ยประกันภัย บวก กำไรเข้าไปในระดับที่เหมาะสม และยังมีการคำนวณค่าเบี้ยรประกันภัยในช่วงปีแรก ๆ ไว้ให้ผู้คุ้มครองจ่ายสูงกว่าปกติ เพื่อไปชดเชยในช่วงที่อายุมากขึ้น จะได้ไม่ต้องจ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิตสูงขึ้น เพราะเราใช้ระบบการจ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิตเป็นแบบคงที่ไปตลอดชีวิต เพราะฉะนั้น ความเสี่ยงการเสียชีวิตของผู้มีอายุสูง ๆ จะสูงขึ้น ก็จะต้องมีการคำนวณเงินกองทุนประกันชีวิตที่ คปภ. จะมีการให้คำนวณไว้ทุก ๆ ปีเหมือนกันครับ

เอาแตกต่างเรื่องใหญ่ ๆ ก่อนครับ เรื่อง ย่อย ๆ ยังมีเรื่องกรมธรรม์ที่คุ้มครองบวกผลตอบแทนการลงทุนด้วย ซึ่งประกันชีวิต จึงมีความซ้ำซ้อนกว่าประกันภัย ที่คุ้มครองภัยในแต่ละปี ทราบกำไรขาดทุนชัดเจนกว่าครับ
Circle of competence
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
SoLid_frOg
Verified User
โพสต์: 355
ผู้ติดตาม: 0

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์ที่ 13

โพสต์

มาอ่านแล้วจ้า

ขอบคุณพี่ chaitorn ที่เปิดประเด็นครับ  :D
ภาพประจำตัวสมาชิก
green-orange
Verified User
โพสต์: 896
ผู้ติดตาม: 0

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์ที่ 14

โพสต์

chaitorn เขียน:ความแตกต่างของประกันวินาศภัย กับ ประกันชีวิตในหลักที่สำคัญอยู่ที่

ประกันวินาศภัย เล่นกับ ภัยที่ไม่แน่นอน จึงใช้คำว่า insurance และคุ้มครองทรัพย์สินเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมีมูลค่าที่แน่นอน จ่ายเกินกว่ามูลค่าที่แน่นอนไม่ได้ จึงต้องมีการประเมินมูลค่าของทรัพย์สินที่ทำประกันภัย

แต่ ประกันชีวิต เล่นกับ ภัยที่แน่นอน จึงใช้คำว่า assurance จึงเห็นบางบริษัทใช้คำนี้ เพราะเล่นเสี่ยงกับภัยที่แน่นอนว่าจะเกิดขึ้นเมื่อใด ถ้าเกิดช้าก็ได้กำไร แต่เกิดเร็วก็ขาดทุน และมูลค่าไม่แน่นอน เพราะภัยที่คุ้มครองคือชีวิตของผู้ทำประกันภัย ซึ่งไม่สามารถตีค่ามูลค่าที่แน่นอนได้ เพราะศักยภาพในการหารายได้ของคนมีศักยภาพไม่แน่นอน จึงสามารถเลือกทำประกันภัยชีวิตได้ไม่จำกัดตามศักยภาพ

คณิตศาสตร์ประกันภัยความน่าจะเป็นของโมเดลธุรกิจ 2 แบบจึงต้องต่างกัน

วินาศภัย คำนวณความน่าจะเป็นของการเปิดภัยในรอบหลายๆ ปี แล้วคำนวณเป็นความเสี่ยง กับ ค่าเบี้ยประกันภัยที่จะคุ้มครองได้ บวกกำไรเข้าไปในระดับเหมาะสม จึงต้องมีการสำรองค่าเบี้ยไว้ส่วนหนึ่ง เพราะเราไม่รู้ว่าภัยจะเกิดขึ้นเมื่อใด เราเรียกว่าเงินกองทุนประกันภัย ที่ คปภ. จะมีการคำนวณไว้ทุก ๆ ปี

สำหรับ ประกันชีวิต คำนวณความน่าจะเป็นของความแน่นอนของชีวิตคน ผ่าน อัตราการตายโดยเฉลี่ยของชีวิตคนในแต่ละช่วงอายุ แล้วคำนวณค่าเบี้ยประกันภัย บวก กำไรเข้าไปในระดับที่เหมาะสม และยังมีการคำนวณค่าเบี้ยรประกันภัยในช่วงปีแรก ๆ ไว้ให้ผู้คุ้มครองจ่ายสูงกว่าปกติ เพื่อไปชดเชยในช่วงที่อายุมากขึ้น จะได้ไม่ต้องจ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิตสูงขึ้น เพราะเราใช้ระบบการจ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิตเป็นแบบคงที่ไปตลอดชีวิต เพราะฉะนั้น ความเสี่ยงการเสียชีวิตของผู้มีอายุสูง ๆ จะสูงขึ้น ก็จะต้องมีการคำนวณเงินกองทุนประกันชีวิตที่ คปภ. จะมีการให้คำนวณไว้ทุก ๆ ปีเหมือนกันครับ

เอาแตกต่างเรื่องใหญ่ ๆ ก่อนครับ เรื่อง ย่อย ๆ ยังมีเรื่องกรมธรรม์ที่คุ้มครองบวกผลตอบแทนการลงทุนด้วย ซึ่งประกันชีวิต จึงมีความซ้ำซ้อนกว่าประกันภัย ที่คุ้มครองภัยในแต่ละปี ทราบกำไรขาดทุนชัดเจนกว่าครับ
คุณ chaitorn ครับ ผมจะหาความรู้เรื่องการคำนวณเรื่องเบี้ยประกันภัยแบบละเอียดเหมือนด้านบนนี้ได้จากที่ไหนครับ
woody
Verified User
โพสต์: 3763
ผู้ติดตาม: 0

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์ที่ 15

โพสต์

[quote="นักดูดาว"]เพราะฝ่ายการตลาดของตลาดหรือเปล่าครับ เดาเอา
Impossible is Nothing
นักดูดาว
Verified User
โพสต์: 2513
ผู้ติดตาม: 0

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์ที่ 16

โพสต์

ผมมีคำถามถึงเจ้าพ่อประกัน คุณนักดูดาวนิดหน่อยนะครับ  
ผมไม่ใช่เจ้าพ่อครับ :) คงตอบไม่ได้
นักดูดาว
Verified User
โพสต์: 2513
ผู้ติดตาม: 0

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์ที่ 17

โพสต์

ขอโทษทีครับ พลั้งมือกดส่งข้อความไป

กำลังจะบอกว่าไม่ได้เป็นเจ้าพ่อครับ คงตอบไม่ได้เพราะไม่มีรายละเอียดของบริษัทนั้นๆ ว่าเกิดอะไรขึ้น ถามให้ถูกคนคงจะเป็นฝ่ายการเงินหรือนักลงทุนสัมพันธ์ หรือผู้บริหารบริษัทนั้นๆครับ

การประกันชีวิตหรือประกันวินาศภัยเป็นซับซ้อนครับ ผมเป็นเพียงฝ่ายขายตัวเล็กๆ อาจจะตอบผิดตอบถูก หากสงสัยจริงๆจะเก็บคำถามไว้ถามฝ่ายอื่นๆที่เกียวข้องจะถูกต้องกว่าครับ
นักดูดาว
Verified User
โพสต์: 2513
ผู้ติดตาม: 0

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์ที่ 18

โพสต์

เรื่องการคำนวณเบี้ยประกันชีวิต ผมมี e-book อยู่บทหนึ่ง ถ้าท่านใดสนใจขอ email ของท่าน ผมจะส่งไฟล์ไปให้อ่านครับ
chaitorn
Verified User
โพสต์: 2545
ผู้ติดตาม: 0

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์ที่ 19

โพสต์

คุณนักดูดาว
ขอโทษทีครับ พลั้งมือกดส่งข้อความไป

กำลังจะบอกว่าไม่ได้เป็นเจ้าพ่อครับ คงตอบไม่ได้เพราะไม่มีรายละเอียดของบริษัทนั้นๆ ว่าเกิดอะไรขึ้น ถามให้ถูกคนคงจะเป็นฝ่ายการเงินหรือนักลงทุนสัมพันธ์ หรือผู้บริหารบริษัทนั้นๆครับ

การประกันชีวิตหรือประกันวินาศภัยเป็นซับซ้อนครับ ผมเป็นเพียงฝ่ายขายตัวเล็กๆ อาจจะตอบผิดตอบถูก หากสงสัยจริงๆจะเก็บคำถามไว้ถามฝ่ายอื่นๆที่เกียวข้องจะถูกต้องกว่าครับ
ขอบคุณครับ
Circle of competence
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
chaitorn
Verified User
โพสต์: 2545
ผู้ติดตาม: 0

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์ที่ 20

โพสต์

green-orange  
คุณ chaitorn ครับ ผมจะหาความรู้เรื่องการคำนวณเรื่องเบี้ยประกันภัยแบบละเอียดเหมือนด้านบนนี้ได้จากที่ไหนครับ
เรื่องการคำนวณเบี้ยประกันภัย คงต้องปล่อยให้นักคณิตศาสตร์ประกันภัยเป็นผู้คำนวณนะครับ แต่เราเพียงรู้แนวคิดก็น่าจะพอนะครับ เดี๋ยวไปแย่งอาชีพเขา ซึ่งปัจจุบัน เป็นอาชีพที่ได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้นมากครับ

ผมไปค้นมาให้แล้วนะครับ ลองอ่านดูแนวคิดการคำนวณดูนะครับ

ข้อมูลนี้เป็นแนวคิดในการคำนวณค่าเบี้ยประกันภัยของประกันวินาศภัยครับ

http://www.thaiactuary.org/news_view.php?nid=174

การคำนวณอัตราเบี้ยประกันภัย โดย ชญณา พูลทรัพย์

การ กำหนดอัตราเบี้ยของการประกันภัยเป็นงานพื้นฐานของนักคณิตศาสตร์ประกันภัย ซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วนงานที่แตกต่างกัน แต่หากมีความเกี่ยวเนื่องกัน คือ การคำนวณต้นทุนความเสียหายที่คาดว่าจะเป็น (expected loss cost) และ การคำนวณราคาที่เหมาะสม (optimal price)

การคำนวณต้นทุนความเสียหายที่คาดว่าจะเป็น เป็นส่วนงานที่นักคณิตศาสตร์ประกันภัยสามารถคำนวณได้ โดยอาศัยองค์ความรู้ และความชำนาญทางสถิติ นอกจากนี้ ในการที่นักคณิตศาสตร์ประกันภัยจะใช้ข้อมูลในอดีตเพื่อคาดคะเนอนาคต ก็จำต้องอาศัยความรู้ทางเศรษฐศาสตร์เพื่อให้ได้ปัจจัยแนวโน้ม (trend factor) ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของการคำนวณต้นทุนความเสียหายที่คาดว่าจะเป็น ส่วนการคำนวณราคาที่เหมาะสมเพื่อใช้ในภาคธุรกิจนั้น มีปัจจัยที่สำคัญหลายปัจจัยเข้ามามีบทบาทในการตั้งราคา อาทิ ภาวะการแข่งขันทางการตลาด ความต้องการของลูกค้าที่อาจพอใจกับอัตราเบี้ยประกันฯ ที่แบ่งกลุ่มความเสี่ยงไม่ซับซ้อนเกินไป นักคณิตศาสตร์ประกันภัยจึงจำต้องใช้ศาสตร์และศิลป์เพื่อให้ได้มาซึ่งอัตรา เบี้ยประกันภัยที่จะนำพาบริษัทไปสู่ความสำเร็จ
ดังนั้น การพัฒนานักคณิตศาสตร์ประกันภัยรุ่นใหม่จึงมีแนวโน้มที่จะพัฒนาทักษะทาง ธุรกิจ/เศรษฐศาสตร์ ไปพร้อมๆ กับเทคนิคทางสถิติและคณิตศาสตร์ที่ยังคงเป็นหัวใจหลัก

ในครั้งนี้จะเป็นการนำเสนอวิธีการคำนวณ เบี้ยประกันภัยของการประกันวินาศภัยในภาพรวม โดยไม่จำเพาะเจาะจงประเภทความความคุ้มครองใดๆ  และจะชี้ให้เห็นถึงวัตถุประสงค์ รวมทั้งองค์ประกอบสำคัญที่ควรพิจารณาเพื่อการคำนวณอัตราเบี้ยประกันภัย

วัตถุประสงค์การคำนวณอัตราเบี้ยประกันภัย

วัตถุประสงค์ของการคำนวณอัตราเบี้ยประกันภัย สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่
(1) วัตถุประสงค์ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง
(2) วัตถุประสงค์ที่ต้องคำนึงถึง

1. วัตถุประสงค์ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง ได้แก่

? อัตราเบี้ยประกันภัยต้องครอบคลุมความสูญเสีย (loss) และค่าใช้จ่ายต่างๆ ตามการคาดคะเน
เป็น ที่ทราบดีอยู่แล้วว่าธุรกิจจะดำรงอยู่ได้ บริษัทจะต้องมีรายได้ไม่น้อยกว่ารายจ่าย ซึ่งแหล่งรายได้ที่สำคัญมาจากเบี้ยประกันภัยและผลตอบแทนจากการลงทุน ส่วนรายจ่ายเกิดจากค่าสินไหมทดแทนซึ่งจ่ายให้แก่ผู้เอาประกันภัย, ค่าใช้จ่ายในการขาย, ภาษี และค่าใช้จ่ายในการดำเนินการต่างๆ ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้จะถูกนำมาคำนวณอัตราเบี้ยประกันภัย เพื่อให้สอดคล้องตามกลุ่มความเสี่ยงภัยต่างๆ

? อัตราเบี้ยประกันภัยต้องเพียงพอต่อความคุ้มครองสำหรับสถานการณ์ฉุกเฉิน
ใน การคำนวณอัตราเบี้ยประกันภัยนั้น นักคณิตศาสตร์ต้องคำนึงถึงเหตุการณ์ที่ไม่คาดว่าจะเกิดด้วย เช่น เหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ซึ่ง 100 ปีเกิดครั้ง โดยบริษัทต้องคำนึงถึงคู่แข่ง และความพึงพอใจของลูกค้าด้วย หากเบี้ยประกันภัยสูงเกินไป บริษัทก็จะสูญเสียฐานลูกค้าไป แต่ถ้าเบี้ยประกันภัยต่ำเกินไป บริษัทก็จะขาดทุน หรืออาจมีกำไรไม่มากพอที่จะนำไปขยายธุรกิจในอนาคตได้ รวมถึงผลกระทบต่อการจ่ายผลตอบแทนให้แก่ผู้ถือหุ้นด้วย

? อัตราเบี้ยประกันภัยต้องจูงใจ หรือกระตุ้นให้ผู้ถือกรมธรรม์ช่วยควบคุมความเสียหาย
การ จัดแบ่งกลุ่มความเสี่ยงที่ดีจะช่วยจูงใจให้มีการลดค่าสินไหมทดแทนได้ เช่น ผู้ขับขี่ประวัติดี, บ้านหรืออาคารที่ติดอุปกรณ์ดับเพลิงหรือสัญญาณกันขโมย จะได้ส่วนลดเบี้ยประกันภัย เป็นต้น ข้อดีของการกระตุ้นให้ลดความสูญเสีย นอกจากผู้เอาประกันจะซื้อความคุ้มครองด้วยเบี้ยประกันภัยที่ถูกลงแล้ว สังคมยังได้ประโยชน์ในแง่ของการลดอุบัติเหตุ, การบาดเจ็บ และความเสียหายของทรัพย์สินด้วย

? อัตราเบี้ยประกันภัยต้องเป็นที่ยอมรับได้ของกรมการประกันภัย (หน่วยงานควบคุมดูแลธุรกิจประกันภัย)
การ ตรวจสอบของกรมการประกันภัยจะมุ่งเน้นที่เบี้ยประกันภัยต้องเพียงพอต่อการ ดำเนินธุรกิจ แต่เบี้ยประกันภัยก็ต้องไม่สูงเกินไป และต้องยุติธรรมสำหรับแต่ละกลุ่มเสี่ยง โดยกรมการประกันภัยมักจะขอเอกสารประกอบการคำนวณเบี้ยประกันภัยจากบริษัท เพื่อนำมาตรวจสอบ พร้อมกับรับฟังการวิจารณ์จากนักกฎหมายและจากประชาชนด้วย และกรมการประกันภัยเองยังสามารถที่จะวิพากษ์วิจารณ์ หรือแม้กระทั่งปฏิเสธอัตราเบี้ยประกันภัยที่บริษัทเสนอไปได้ ดังนั้น นักคณิตศาสตร์จึงต้องเตรียมตอบข้อโต้แย้งทุกแง่มุมเพื่อให้มีเหตุผลเพียงพอ สำหรับการยอมรับในวิธีปฏิบัติ

2. วัตถุประสงค์ที่ต้องคำนึงถึง ได้แก่

? อัตราเบี้ยประกันภัยควรมีเสถียรภาพ
การ ปรับอัตราเบี้ยประกันภัยขึ้นลงตามความเหมาะสมของบริษัทอยู่ตลอดเวลานั้น ในบางครั้งอาจทำให้ลูกค้ารู้สึกถึงความไม่แน่นอนจนเกิดความรู้สึกไม่พึงพอใจ ได้ ดังนั้น ถึงแม้ว่าภัยบางอย่างเกิดนานๆ ครั้ง บริษัทก็ต้องคิดถึงความสูญเสียเผื่อไว้เพื่อเกลี่ยเป็นระยะยาว ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เกิดความผันผวนของเบี้ยประกันภัย

? ควรมีการปรับอัตราเบี้ยประกันภัยตามความเหมาะสม
ใน บางครั้งอาจมีความจำเป็นต้องปรับอัตราเบี้ยประกันภัยอย่างทันท่วงที เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน เช่น มีการเปลี่ยนแปลงของกฎหมายบางประการที่กระทบต่อการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน เป็นต้น

? อัตราเบี้ยประกันภัยควรง่ายต่อการทำความเข้าใจ
เพื่อ ผลประโยชน์ทางการตลาด ตารางอัตราเบี้ยประกันภัยที่ได้ต้องไม่ซับซ้อนจนเกินไปจนยากต่อการทำความ เข้าใจของลูกค้าหรือตัวแทนขาย อีกทั้งยังต้องง่ายต่อการอธิบายให้ผู้บริหารและกรมการประกันภัยเข้าใจเพื่อ การขออนุมัติอัตราดังกล่าว การใช้อัตราเบี้ยประกันภัยที่ง่าย ไม่ซับซ้อน ยังช่วยให้ไม่จำเป็นต้องใช้วิธีการหรือเทคโนโลยีที่ซับซ้อนมากในการคิดคำนวณ ซึ่งจะทำให้มีต้นทุนที่สูงขึ้นโดยไม่จำเป็นตามมาอีกด้วย

หน่วยเสี่ยงภัย (exposure unit)
คือ หน่วยซึ่งต้นทุนค่าความเสียหายแปรผันเป็นสัดส่วนโดยตรงกับจำนวนหน่วยนั้น เช่น ถ้า 1 หน่วยเสี่ยงภัย มีต้นทุนค่าความเสียหาย 100 บาท ดังนั้น 2 หน่วยเสี่ยงภัย ก็จะมีต้นทุนค่าความเสียหาย 200 บาท หน่วยเสี่ยงภัยที่ดีนั้นควรสามารถวัดค่าความเสียหายได้ถูกต้อง ง่ายต่อผู้รับประกันภัยในการกำหนด และยากต่อผู้เอาประกันภัย และผู้พิจารณารับประกันภัยในการบิดเบือน

การเลือกหน่วยเสี่ยงภัย และปัจจัยเสี่ยงภัย
มูลค่า ความเสียหายมากหรือน้อยนั้นขึ้นกับหลายๆ ปัจจัย นักคณิตศาสตร์ประกันภัยจะทำการวิเคราะห์หาปัจจัยที่มีผลต่อมูลค่าความ เสียหายอย่างเป็นระบบโดยใช้วิธีการทางสถิติ หรือคณิตศาสตร์ประกันภัย (statistic/actuarial criteria) ประกอบกับความเป็นไปได้ในการประยุกต์ใช้ (operational criteria) ความยอมรับของสังคม (social criteria) และเงื่อนไขของกฎหมาย (legal criteria) ทั้งนี้ปัจจัยที่มูลค่าความเสียหายมีผลกระทบเป็นสัดส่วนโดยตรงมากที่สุดจะ เป็นตัวเลือกสำหรับการถูกใช้เป็นหน่วยเสี่ยงภัย ซึ่งหน่วยเสี่ยงภัยนี้อาจไม่ใช่หน่วยเสี่ยงภัยแท้จริง (true exposure) ก็ได้ แต่เป็นเพียงตัวแทน (proxy) ของหน่วยเสี่ยงภัยแท้จริง เนื่องจากหน่วยเสี่ยงภัยแท้จริงนั้นมีความซับซ้อน และเปลี่ยนแปลงได้เสมอ

ตัวอย่างเช่น ในการวัดความเสี่ยงของประกันภัยรถยนต์ที่แท้จริงนั้นอาจเป็น ?ระยะทางของการใช้รถยนต์? คือ ถ้าใช้รถยนต์ไปเป็นระยะทางที่มากก็จะมีความเสี่ยงมาก หรือ ?เวลาที่ใช้รถยนต์? เช่น ถ้าใช้รถยนต์ในเวลากลางคืนหรือเวลาเร่งด่วน ก็มีความเสี่ยงกว่าใช้รถยนต์ในเวลากลางวันหรือช่วงบ่าย แต่ระยะทางหรือระยะเวลาของการใช้รถยนต์นั้นไม่เหมาะสมที่จะนำมาเป็นหน่วย เสี่ยงภัย ถึงแม้ว่า ?ระยะทางของการใช้รถยนต์? หรือ ?เวลาที่ใช้รถยนต์? จะสามารถวัดค่าความเสียหายได้ถูกต้อง แต่โดยปกติแล้วไม่มีผู้ใดบอกระยะทาง หรือ ระยะเวลาใช้รถยนต์ได้แน่นอนล่วงหน้า (ตอนทำประกันภัย) จึงทำให้ไม่สามารถคำนวณอัตราเบี้ยประกันภัยได้ นอกจากนี้ ผู้เอาประกันภัยยังสามารถที่จะบิดเบือนข้อมูลนี้ได้เพื่อให้ได้เบี้ย ประกันภัยต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ดังนั้น จะเห็นได้ว่าการใช้ ?ระยะทางของการใช้รถยนต์? หรือ ?เวลาที่ใช้รถยนต์? นั้นบริหารจัดการได้ยาก จึงไม่ผ่าน operational criteria ในทางปฏิบัติจึงใช้ เดือนรถยนต์ (car-month) หรือ ปีรถยนต์ (car-year) เป็นหน่วยเสี่ยงภัยที่ถัวเฉลี่ยระยะทางและระยะเวลาของการใช้รถยนต์ในแต่ละ หน่วยแทน และได้ใช้หน่วยเสี่ยงภัยนี้เรื่อยมาและแทบไม่มีการถกเถียงเพื่อการ เปลี่ยนแปลงเลย

ปัจจัยอื่นที่มีผลต่อมูลค่าค่าความเสียหาย นั้นอาจจะเป็นปัจจัยเสี่ยงภัย (risk factor), ตัวแปรกำหนดอัตราเบี้ยประกันภัย (rating variable) ทั้งนี้ส่วนใหญ่ในการวิเคราะห์จะพบปัจจัยอื่นๆ นอกจากปัจจัยที่ใช้เป็นหน่วยเสี่ยงภัย หรือปัจจัยเสี่ยงที่มีผลกระทบกับค่าความเสียหาย แต่ไม่ได้ถูกนำเข้ามารวมในการคำนวณอัตราเบี้ยประกันภัย เนื่องจากไม่ผ่าน operational criteria, social criteria หรือ legal criteria ทว่าข้อมูลเหล่านี้ก็ยังเป็นข้อมูลอันเป็นประโยชน์สำหรับผู้บริหารที่จะใช้ เป็นแนวทางกำหนดนโยบายการบริหารความเสี่ยง หรือนโยบายการตลาด เช่นเลือกเจาะตลาดส่วนที่เป็นหัวกะทิ (cream of the cup) เป็นต้น ดังนั้น ถึงแม้ว่าตลาดการประกันภัยในประเทศไทยยังเป็นแบบ tariff market ที่มีการกำหนดพิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยเอาไว้แล้วก็ตาม แต่การวิเคราะห์ข้อมูลทางคณิตศาสตร์ประกันภัยอย่างมีระบบและต่อเนื่องนั้น ก็สามารถช่วยในการวางแผนการตลาด อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือช่วยในการบริหารความเสี่ยงได้เป็นอย่างดี

ใน ครั้งที่แล้วเราได้ทราบถึงวัตถุประสงค์ในการคำนวณอัตราเบี้ยประกันภัย การเลือกหน่วยเสี่ยงภัย และปัจจัยเสี่ยงภัยกันไปแล้ว ในครั้งนี้เราจะมาพูดถึงส่วนประกอบอื่นๆ ในการคำนวณอัตราเบี้ยประกันภัยกันต่อ...

หน่วยเสี่ยงภัย/หน่วยรับประกัน/หน่วยคุ้มครอง (Exposure Unit)
อัตรา เบี้ยประกันภัยจะแสดงอยู่ในรูปต่อหน่วยเสี่ยงภัย เช่น ประกันภัยรถยนต์ นับหน่วยเป็น ปีรถยนต์ (car year) ยกตัวอย่างเช่น ในกรมธรรม์ชนิด 6 เดือน ให้ความคุ้มครองรถยนต์ 3 คัน จะมีหน่วยเสี่ยงภัย 1.5  ปีรถยนต์ ซึ่งเบี้ยประกันภัยที่คิดจะเท่ากับผลคูณของอัตราเบี้ยประกันภัยกับจำนวน หน่วยเสี่ยงภัย นอกจากนี้ ยังมีหน่วยเสี่ยงภัยระบุเมื่อรับประกัน (written exposure), หน่วยเสี่ยงภัยรับ (earned exposure), หน่วยเสี่ยงภัยค้างรับ (unearned exposure) และ หน่วยเสี่ยงภัยรับ ณ ขณะนั้น (in-force exposure) แสดงตามตัวอย่างดังต่อไปนี้

Effective Date  Written Exposure  Earned Exposure  In-Force Exposure
                     2003   2004         2003   2004         1/1/2004
1/1/2003           1        0              1         0                  0
5/1/2003           1        0              0.667   0.333            1
9/1/2003           1        0              0.333   0.667            1
12/1/2004         1        0              0.083   0.917            1
Total                 4        0             2.083   1.917             3

สำหรับหน่วยความคุ้มครองที่ดีนั้น ควรมีหลักเกณฑ์ดังนี้
- สามารถนับในเชิงปริมาณความเสียหายได้
- ง่ายต่อการประเมินเพื่อคำนวณเบี้ยประกันภัย
- ยากต่อการบิดเบือนข้อมูลจากผู้เอาประกันภัย
- ง่ายต่อการจัดเก็บและบริหารข้อมูล
- เป็นที่เข้าใจง่ายของลูกค้าและฝ่ายขาย

ความเบี่ยงเบนของอัตราเบี้ยประกันวินาศภัย
การ ประกันวินาศภัยนั้น ความเบี่ยงเบนของอัตราเบี้ยประกันภัยเกิดได้จากความถี่และขนาดของความ สูญเสียเป็นหลัก ส่วนอัตราดอกเบี้ยนั้นจะมีผลกระทบเฉพาะการประกันที่ใช้ระยะเวลาในการพิจารณา จ่ายค่าสินไหมทดแทนหลายปี เช่น การประกันความรับผิดที่ใช้เวลาในการตัดสินนาน...
Circle of competence
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
chaitorn
Verified User
โพสต์: 2545
ผู้ติดตาม: 0

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์ที่ 21

โพสต์

ส่วนแนวคิดในการคำนวณค่าเบี้ยประกันชีวิต และการตั้งสำรองเบี้ยประกันชีวิต ซึ่งมีความสำคัญค่อนข้างมาก เพราะบริษัทประกันชีวิตมีความจำเป็นต้องสำรองเงินไว้สูงกว่าประกันวินาศภัย เพราะเป็นภัยเรื่องชีวิตของผู้ประกันภัยระยะยาว

ลองอ่านแนวคิดการคำนวณดูครับ

www.thailife.com/elearning/pdf_file/19.doc

เงินสำรองประกันภัย

ที่มาของเงินสำรองประกันภัย
อัตราเบี้ยประกันภัยและจำนวนเงินเอาประกันภัยคำนวณโดยใช้ตารางมรณะ คือ ผู้เอาประกันจะต้องจ่ายเบี้ยประกันภัยแตกต่างกันตามอายุ เพราะเมื่อคนเรามีอายุมากขึ้น โอกาสที่จะตายย่อมมีมากขึ้นด้วย ตามธรรมชาติของคนแล้วเมื่ออายุมากขึ้นความสามารถในการประกอบอาชีพย่อมลดน้อยถอยลง ทำให้ไม่สามารถที่จะจ่ายเบี้ยประกันที่เพิ่มขึ้นทุกปีได้ ดังนั้นนักคณิตศาสตร์ประกันภัยจึงคิดวิธีการแก้ปัญหา โดยให้อัตราเบี้ยประกันเท่ากันทุกปีแทนอัตราเบี้ยประกันที่เพิ่มขึ้นทุกปีตามอายุของผู้เอาประกันดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น ซึ่งเบี้ยประกันที่ผู้เอาประกันจะต้องจ่ายเท่ากันทุกปีนี้เรียกว่า "เบี้ยประกันคงที่" (Level Premium) ผลของระบบการเก็บเบี้ยประกันคงที่นี้เอง ทำให้เกิดระบบเงินสำรองประกันภัยขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากบุคคลที่อยู่ในวัยฉกรรจ์เป็นวัยที่มีความสามารถในการทำงานสูง มีระดับรายได้ดี และมีโอกาสที่จะมรณะต่ำ ดังนั้นนักคณิตศาสตร์ประกันภัยจึงคำนวณเบี้ยประกันที่บุคคลในวัยนี้ต้องชำระให้มากเกินกว่าที่จะต้องชำระตามระดับอายุของตน เพื่อนำเงินส่วนเกินนี้ไปชดเชยในระยะหลัง ๆ ที่ผู้เอาประกันมีอายุมากขึ้น แต่จะเสียเบี้ยประกันต่ำกว่าระดับอายุของตน
ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของบริษัทประกันชีวิตที่จะต้องรับผิดชอบในการสะสมเงินส่วนเกินไว้เป็นเงินสำรอง และนำเงินสำรองนี้ไปลงทุนเพื่อหาดอกผลด้วยการซื้อพันธบัตร ซื้อจำนอง ซื้อหุ้น หรืออื่น ๆ ตามขอบเขตที่กฎหมายอนุญาต จึงทำให้จำนวนเงินสำรองประกันภัยเพิ่มพูนขึ้นจนเพียงพอที่จะชำระหนี้ให้กับ ผู้เอาประกันในปีหลัง ๆ ได้

ปัจจัยที่กำหนดจำนวนเงินสำรองประกันภัย
ปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดจำนวนเงินสำรองประกันภัยของแบบประกันชีวิตแต่ละแบบว่าจะมีจำนวนมากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับ
- จำนวนเงินเอาประกัน กรมธรรม์ที่มีจำนวนเงินเอาประกันสูงจะมีจำนวนเงินสำรองประกันภัยสูงกว่ากรมธรรม์ที่มีจำนวนเงินเอาประกันต่ำ
- อายุของผู้เอาประกันเมื่อเริ่มทำสัญญา ในแบบประกันชีวิตแบบเดียวกัน ผู้เอาประกันที่มีอายุมากจะเสียเบี้ยประกันสูงกว่าผู้ที่มีอายุน้อย เนื่องจากผู้ที่มีอายุมากจะมีอัตรามรณะสูง บริษัทจึงต้องสำรองเงินไว้มากกว่า
- ระยะเวลาที่สัญญามีผลบังคับ ในแบบประกันชีวิตแบบเดียวกัน หากผู้เอาประกันมีอายุเท่ากัน ผู้ที่เอาประกันก่อนหรือระยะเวลาของสัญญาที่มีผลบังคับนานกว่าจะมีเงินสำรองประกันภัยมากกว่าผู้ที่เพิ่งเริ่มเอาประกันชีวิต
- แบบของกรมธรรม์ กรมธรรม์แบบที่ให้ผลประโยชน์ด้านการออมทรัพย์สูงจะมีเบี้ยประกันสูงกว่าแบบที่ให้ผลประโยชน์ด้านการออมทรัพย์น้อย ดังนั้นแบบที่ให้ผลประโยชน์สูงจึงมีเงินสำรองประกันภัยมากกว่าแบบที่ให้ผลประโยชน์ต่ำ
- อัตราดอกเบี้ย ในการคำนวณเงินสำรองประกันภัย หากใช้อัตราดอกเบี้ยสูงจะทำให้เงินสำรองประกันภัยต่ำ ในทางกลับกันหากใช้อัตราดอกเบี้ยต่ำจะทำให้เงินสำรองประกันภัยสูง
- ระยะเวลาการชำระเบี้ย ในกรมธรรม์ที่ให้ผลประโยชน์เท่ากัน กรมธรรม์ที่มีระยะเวลาการชำระเบี้ยประกันยาวจะมีเงินสำรองประกันภัยน้อยกว่ากรมธรรม์ที่มีระยะเวลาการชำระเบี้ยประกันภัยสั้น เนื่องจากชำระเบี้ยประกันภัยน้อยกว่า
- ตารางมรณะ หากบริษัทประกันภัยใช้ตารางมรณะที่มีอัตราการตายสูง จำนวนเงินสำรองประกันภัยจะสูงกว่าการใช้ตารางมรณะที่มีอัตราการตายต่ำ
Circle of competence
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
chaitorn
Verified User
โพสต์: 2545
ผู้ติดตาม: 0

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์ที่ 22

โพสต์

ในเวปไซต์นี้ มีรายละเอียด อ้างอิงต้นทุนความเสียหายของการประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สินปี 2551

อยากทราบต้องลองดาวน์โหลดดูนะครับ

http://www.iprbthai.org/new/default.aspx
Circle of competence
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
chaitorn
Verified User
โพสต์: 2545
ผู้ติดตาม: 0

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์ที่ 23

โพสต์

วิธีการคำนวณอัตราเบี้ยประกันชีวิต
www.thailife.com/elearning/pdf_file/18.doc
เบี้ยประกันชีวิต คือ เงินที่ผู้เอาประกันจ่ายให้แก่บริษัทรับประกันเพื่อความคุ้มครองและผลประโยชน์อื่น ๆ ตามกรมธรรม์ที่จะได้รับจากการประกันชีวิต
เนื่องจากการประกันชีวิตเป็นสัญญาที่มีอายุยาวนาน และการจ่ายเงินเอาประกันขึ้นอยู่กับความไม่แน่นอนของอนาคต (ความทรงชีพหรือมรณะของบุคคล) ดังนั้นจึงต้องพิจารณาในรายละเอียดต่าง ๆ อย่างลึกซึ้ง ปัจจัยที่ใช้ในการกำหนดอัตราเบี้ยประกันมี 3 ประการ คือ
1.อัตรามรณะ (Rate of Mortality)
อัตรามรณะ หมายถึง อัตราการตายของผู้เอาประกันที่ประมาณได้ อัตรามรณะที่อายุหนึ่ง ๆ ใช้แทนอัตราการตายของกลุ่มคนที่อายุนั้น ๆ
การประกันชีวิต คือ การรับเสี่ยงภัยของผู้เอาประกัน ความเสี่ยงภัยก็คือความมรณะของผู้เอาประกัน ซึ่งบริษัทไม่ทราบว่าผู้เอาประกันจะมรณะเมื่อใด จึงไม่สามารถคำนวณจำนวนเบี้ยที่จะเรียกเก็บจากผู้เอาประกัน แต่ละคนได้ การใช้ "ตารางมรณะ" ซึ่งแสดงสถิติข้อมูลการตายของคนในแต่ละอายุว่ามีอัตราการตายเป็นจำนวนเท่าใด ทำให้บริษัทสามารถคำนวณเบี้ยประกันที่จะเรียกเก็บจากผู้เอาประกันได้ ปัจจุบัน บริษัทประกันชีวิตใช้ตารางมรณะไทย 2540
2.อัตราดอกเบี้ย (Interest)
อัตราดอกเบี้ยเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งในการคำนวณอัตราเบี้ยประกันชีวิต การชำระเบี้ยประกันซึ่งผู้ซื้อประกันชำระครั้งเดียว (Single Premium) หรือชำระรายงวดคงที่สม่ำเสมอ (ชำระเท่ากันทุกงวด) ตลอดระยะเวลาที่ต้องชำระเบี้ยประกันชีวิตนั้น จะเป็นผลให้เงินจำนวนนี้สะสมอยู่กับบริษัทเป็นเวลานานก่อนที่บริษัทจะจ่ายเป็นค่าสินไหมทดแทนเมื่อมีการมรณะหรือครบกำหนดสัญญา บริษัทจึงมีโอกาส นำเบี้ยประกันชีวิตไปลงทุนหาดอกผลได้ ดอกผลหรือรายได้จากการลงทุนนี้จะช่วยให้บริษัทคำนวณอัตราเบี้ยประกันให้ลดลงได้โดยหวังผลจากดอกผลของเบี้ยประกันเหล่านี้ในอนาคต
3.ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ (Expenses)
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ ได้แก่ เงินเดือนพนักงาน ค่าบำเหน็จตัวแทน (นายหน้า) นอกจากนี้บริษัทยังต้องคำนวณเผื่อถึงความสูญเสีย (สินไหม) ที่ไม่ได้คาดไว้ (Unexpected Losses) ตลอดจนค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ ดังนั้นบริษัทจึงต้องเก็บเบี้ยประกันภัยเพิ่มเข้าไปในเบี้ยประกันภัยสุทธิจำนวนหนึ่งเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายดังกล่าวและเพื่อเป็นผลกำไรของบริษัท ซึ่งจำนวนที่เพิ่มเข้าไปนี้เรียกว่าส่วนบวกเพิ่ม (Loading) เบี้ยประกันภัยสุทธิที่รวมส่วนบวกเพิ่มนี้เรียกว่า เบี้ยประกันภัยรวม (Gross Premium) คำว่า "เบี้ยประกันภัย" ที่เรามักจะได้ยินเสมอ ๆ หมายถึง เบี้ยประกันภัยรวมนั่นเอง
นอกจากปัจจัยดังกล่าวแล้วยังอาศัยข้อมูลอื่นเพิ่มเติมอีก ได้แก่
1. อายุของผู้เอาประกัน
2. เพศของผู้เอาประกัน (ในบางประเทศคำนวณเบี้ยประกันโดยใช้อัตรามรณะเดียวกันทั้งเพศชาย
     และเพศหญิง)
3. จำนวนเงินเอาประกัน
4. แบบของสัญญา ระยะเวลาของสัญญา และระยะเวลาชำระเบี้ยประกัน


วิธีการชำระเบี้ยประกัน
ผู้เอาประกันเลือกชำระเบี้ยประกันได้ 3 วิธี คือ ชำระครั้งเดียว ชำระเป็นงวดรายปี และชำระล่วงหน้า
เบี้ยประกันจ่ายครั้งเดียว (Single Premium) หมายถึง ผู้เอาประกันจ่ายเบี้ยประกันครั้งเดียวเมื่อเริ่มประกันโดยผู้เอาประกันจะไม่มีภาระในการจ่ายเบี้ยประกันต่อไปอีก จำนวนเบี้ยประกันที่เรียกเก็บจะเป็นเงินก้อนหนึ่งซึ่งเมื่อรวมกับดอกเบี้ยที่จะได้รับในอนาคตแล้วจะมีจำนวนเพียงพอสำหรับจ่ายตามข้อกำหนดของสัญญา
เบี้ยประกันจ่ายเป็นรายงวด (Annual Premium) คือ การจ่ายเป็นรายงวด อาจจะจ่ายเป็นรายปี ราย 6 เดือน ราย 3 เดือน หรือรายเดือน จำนวนรวมของเบี้ยประกันจะมากกว่ารายปี เพราะถ้าจ่ายเป็นรายปีบริษัท ก็สามารถนำไปลงทุนหาดอกผลได้ก่อน ในการคำนวณเบี้ยประกันถือหลักคำนวณเป็นรายปี ดังนั้นถ้าผู้เอาประกันเสียชีวิตระหว่างปี จำนวนเบี้ยประกันที่ยังชำระไม่ครบจะถูกนำไปหักออกจากจำนวนเงินเอาประกันที่บริษัทจะต้องจ่ายออกไป
Circle of competence
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
chaitorn
Verified User
โพสต์: 2545
ผู้ติดตาม: 0

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์ที่ 24

โพสต์

ถ้าอยากทำความเข้าใจง่าย ๆ ก็ลองดาวน์โหลดข้อมูลนำเสนอนี้ดูครับ น่าสนใจทีเดียว เพราะมีการคำนวณให้เห็น รวมถึง การบอกถึงวิธีคิด และพื้นฐานในการคำนวณเบี้ยประกันชีวิตให้เห็นเป็นตัวอย่างอย่างชัดเจนครับ

ก็ลองอ่านดูนะครับ น่าสนใจอีกเหมือนกันครับ
http://203.131.222.141/tu130_50/doc_dow ... 0_no14.pdf

อ่านแล้วจะเข้าใจวิธีการคำนวณเลยครับ
Circle of competence
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
chaitorn
Verified User
โพสต์: 2545
ผู้ติดตาม: 0

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์ที่ 25

โพสต์

แถมข้อมูลภาวะอุตสาหกรรมประกันภัยและประกันชีวิตล่าสุด เพื่อไว้ติดตามกันต่อไปครับ

5 เดือนประกันโต 9% เบี้ย 1.37 แสนล้าน


สินค้าใหม่อุ้ม!วินาศภัยพลิกโตบวก 0.2% หลัง Q1 ติดลบ

ประกันแรงไม่ตกโตทิ้งห่างศก. คปภ.โชว์ผลงาน 5 เดือนแรกขยายตัว 8.66% เบี้ย 1.37 แสนล้านบาท ประกันชีวิตแรงไม่มีตกเกาะ 2 หลักเหนียวแน่นโต 12.62% หลังบริษัทแห่ขาย กรมธรรม์ใหม่แบบลงทุน ส่วนวินาศภัยพลิก กลับมาโตสำเร็จเบี้ยพุ่งอีก 0.2% หลัง 3 เดือนติดลบ 0.75% คาดครึ่งหลังขยายตัวต่อเนื่องเหตุอัตราทำประกันยังต่ำมากแค่ 20% มั่นใจเบี้ยจีดีพีทะลุเป้า 3.5% ประกันชีวิตคึกคักไม่หยุดสินค้าใหม่ “บำนาญ” ขายแน่ปีหน้า

นางจันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการ คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย      เปิดเผยว่า ธุรกิจประกันภัยยังคงเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง โดยในงวด 5 เดือนปีนี้ (มกราคม-พฤษภาคม) ทั้งอุตสาหกรรมมีเบี้ยรับโดยตรงทั้งสิ้น 137,991.220 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้น 8.66% เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีที่ผ่านมา คิดเป็นสัดส่วนเบี้ยประกันภัยต่อจีดีพีที่ 3.3%

ทั้งนี้ ธุรกิจประกันชีวิตยัง คงมีอัตราเติบโตเพิ่มขึ้นเป็นตัวเลข 2 หลักอยู่โดยมีเบี้ยประกันภัยรับโดยตรง 94,052.709 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้น 12.62% เนื่องจากมีกรมธรรม์ใหม่ๆ ออกมามาก อาทิ แบบประกันชีวิต พ่วงการลงทุนต่างๆ อาทิ กรมธรรม์ยูนิเวอร์แซลไลฟ์ (ยูแอล) กรมธรรม์ยูนิต-ลิงค์ เป็นต้น เป็นแนวทางการออมอีกทางเลือกหนึ่งให้กับประชาชน

สำหรับธุรกิจประกัน วินาศภัยมีเบี้ยประกันภัยรับโดยตรง 43,938.510 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้น 0.20% ดีกว่างวด 3 เดือนแรกที่อัตราเติบโตลดลง 0.75% เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีที่ผ่านมา

นางจันทรา กล่าวว่า ธุรกิจประกันภัยจะขยายตัวได้ต่อไปโดยคาดว่าสิ้นปีสัดส่วนเบี้ยประกันภัยต่อ           จีดีพีจะเพิ่มเป็น 3.5% เพราะประชากรที่ทำประกันภัยยังคงมีสัดส่วนน้อยอยู่มาก ประมาณ 20% ของประชากรทั้งหมดกว่า 60 คนเท่านั้น โดยทางคปภ.ยังคงทำงานใกล้ชิดกับภาคธุรกิจเพื่อร่วมมือกันขยายการทำประกันภัย ไปสู่ภูมิภาคให้ได้มากที่สุดผ่านโครงการต่างๆ ที่จัดทำขึ้นทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค

“เรามีการประเมินผล การทำงาน วัด KPI ของสำนักงานคปภ.จังหวัดและภาคต่างๆ โดย 6 เดือนที่ผ่านมา KPI มีอัตราขยายตัวสูงมากเกินเป้าหมายที่ตั้งไว้ ถ้าจะให้คะแนนคงอยู่ที่ 90 คะแนน”

นางจันทรา กล่าวว่า คปภ.และภาคธุรกิจยังพยายามผลักดันแบบกรมธรรม์ใหม่ๆ เพื่อส่งเสริมการขยายตัวของธุรกิจประกันภัย ซึ่งในส่วนของประกันชีวิตกำลังจะมีกรมธรรม์ประกัน

ชีวิตแบบบำนาญ เป็นครั้งแรกของวงการประกันชีวิตประเทศไทย โดยขณะนี้ทางคปภ.และสมาคมประกันชีวิตกำลังจัดทำตารางบำนาญ (Annuity Table) หรือตารางมรณะเพื่อใช้ในการคำนวณเบี้ยประกันภัย

การจ่ายผลประโยชน์แบบ บำนาญมี 2 ช่วง คือ 1.ผลประโยชน์กรณีผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตแบ่งเป็น 2 ช่วงคือ ช่วงชำระเบี้ยประกันภัยจ่ายผลประโยชน์ไม่สูงมากนัก เช่น คืนเบี้ยประกันภัยที่ชำระมาแล้วทั้งหมด เป็นต้น ช่วงรับเงินบำนาญ จ่ายผลต่างของจำนวนเงินเบี้ยประกันภัยสะสมกับเงินบำนาญรายงวดที่บริษัทประกันชีวิตได้จ่ายไปแล้ว และ 2.ผลประโยชน์กรณีผู้เอาประกันภัยอยู่รับเงินบำนาญ ได้แก่ผู้เอาประกันภัยครบอายุ 55 ปีขึ้นไป,จ่ายเงินบำนาญรายงวดจนกระทั่งผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตหรือผู้เอาประกันภัย มีอายุครบ 85 ปี, จ่ายผลประโยชน์เป็นรายปีหรือน้อยกว่ารายปี เช่น รายเดือน ราย 3 เดือน เป็นต้น โดยผู้เอาประกันภัยสามารถชำระเบี้ยประกันภัยเป็นรายเดือน ราย 3 เดือน รายปีหรือชำระเบี้ยประกันภัยแบบครั้งเดียว (ซิงเกิล พรีเมี่ยม) ก็ได้

“เนื่องจากสังคมไทยเริ่มมีประชากรคนชราเพิ่มขึ้นการจัดทำกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบบำนาญขึ้นเพื่อรองรับคนกลุ่มนี้ เปิดโอกาสให้คนหนุ่มซื้อกรมธรรม์ตัวนี้ไว้พอสูงอายุครบ 55 ปีขึ้นไป มา รับผลประโยชน์จากกรมธรรม์ได้เป็น การออมลักษณะหนึ่งอีกเช่นกัน เป็นประโยชน์ระยะยาวคาดว่าตารางมรณะน่าจะเสร็จปลายปีนี้”

อนึ่ง คปภ.เคยคาดการณ์ธุรกิจประกันภัยในปี 2552 จะยังคงเติบโตแม้จะได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจโลก โดยธุรกิจประกันภัยภาพรวมจะมีอัตราเติบโต 6.90% มีเบี้ยประกันภัยรับโดยตรง 352,354 ล้านบาท เทียบกับปี 2551 ที่มีเบี้ยรับโดยตรง 329,608 ล้านบาท แบ่งเป็นเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงของธุรกิจประกันชีวิต 240,200 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้น 7.54 เทียบ กับปี 2551 ที่มีเบี้ยรับโดยตรง 223,354 ล้านบาท เบี้ยประกันภัยรับโดยตรงของธุรกิจ ประกันวินาศภัย 112,154 ล้านบาท เติบโต เพิ่มขึ้น 5.55% เทียบกับปี 2551 ที่มีเบี้ยรับโดยตรง 106,254 ล้านบาท

www.siamturakij.com
Circle of competence
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
ภาพประจำตัวสมาชิก
green-orange
Verified User
โพสต์: 896
ผู้ติดตาม: 0

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์ที่ 26

โพสต์

ขอบคุณครับ คุณ chaitorn เยียมมากเลยครับเดี๋ยวจะเริ่มอ่านแล้วครับ

ผมคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์อย่างมากนะครับสำหรับคนที่ไม่มีความรู้เรื่องประกันชีวิตและประกันภัยสำหรับแนวคิดวิธีการคำนวณเบี้ยประกันครับ ผมไม่ค่อยมีความรู้มากนักเพราะเพิ่งเริ่มลงทุนครับ

งั้นผมขอเป็นคนช่วยตั้งคำถามก็แล้วกันนะครับ เผื่อว่าข้อมูลเหล่านี้ที่แต่ละคนช่วยกันหาช่วยกันคิดจะเป็นประโยชน์กับส่วนรวม

ผมขอเริ่มจากเริ่องเบสิคก่อนหลังจากที่ทราบแนวคิดการคำนวณเบี้ยประกันด้านบนก็แล้วกันนะครับ ผมคิดว่าวิธีนี้น่าจะเป็นประโยชน์โดยที่เราเรียนรู้เป็นลำดับขั้นครับ

คำถามก็คือว่า
1. ถ้าเราสนใจที่จะลงทุนในบริษัทประกันชีวิตและบริษัทประกันภัยเราควรจะดูหรือพิจารณาอะไรบ้างครับ
2. จากที่ผมอ่านข้อมูลด้านบนพบว่าบริษัทประกันชีวิตและประกันภัยนั้นมีวิธีการลงบัญชีแตกต่างกัน ดังนั้นผมจึงคิดว่าเราก็ควรจะรู้เกี่ยวกับวิธีการลงบัญชีต่าง ดังนั้นคำถามก็คือ บริษัทประกันมีวิธีการลงบัญชีอะไรบ้าง และมีข้อแตกต่างสำหรับแต่ละวิธีอย่างไร

ไม่ทราบว่าท่านอื่นๆเห็นอย่างไรบ้างครับ ช่วยกันเสนอความคิดครับ
chaitorn
Verified User
โพสต์: 2545
ผู้ติดตาม: 0

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์ที่ 27

โพสต์

green-orange
Post
1. ถ้าเราสนใจที่จะลงทุนในบริษัทประกันชีวิตและบริษัทประกันภัยเราควรจะดูหรือพิจารณาอะไรบ้างครับ
ในหลักการก็คือ เราต้องดู business model ก่อนว่า ธุรกิจทำกำไรจากธุรกรรมอะไร และธุรกิจมีแนวโน้มการทำกำไรแบบปกติ หรือเป็นวัฏจักร

ผมไปเจอคำอธิบาย business model เป็นภาษาอังกฤษ แต่น่าจะอ่านเข้าใจได้ง่าย เลยเอามาให้อ่านดูครับ

Insurers' business model
[edit] Underwriting and investing

The business model can be reduced to a simple equation: Profit = earned premium + investment income - incurred loss - underwriting expenses.

Insurers make money in two ways:

  1. Through underwriting, the process by which insurers select the risks to insure and decide how much in premiums to charge for accepting those risks;
  2. By investing the premiums they collect from insured parties.

The most complicated aspect of the insurance business is the underwriting of policies. Using a wide assortment of data, insurers predict the likelihood that a claim will be made against their policies and price products accordingly. To this end, insurers use actuarial science to quantify the risks they are willing to assume and the premium they will charge to assume them. Data is analyzed to fairly accurately project the rate of future claims based on a given risk. Actuarial science uses statistics and probability to analyze the risks associated with the range of perils covered, and these scientific principles are used to determine an insurer's overall exposure. Upon termination of a given policy, the amount of premium collected and the investment gains thereon minus the amount paid out in claims is the insurer's underwriting profit on that policy. Of course, from the insurer's perspective, some policies are "winners" (i.e., the insurer pays out less in claims and expenses than it receives in premiums and investment income) and some are "losers" (i.e., the insurer pays out more in claims and expenses than it receives in premiums and investment income); insurance companies essentially use actuarial science to attempt to underwrite enough "winning" policies to pay out on the "losers" while still maintaining profitability.

An insurer's underwriting performance is measured in its combined ratio. The loss ratio (incurred losses and loss-adjustment expenses divided by net earned premium) is added to the expense ratio (underwriting expenses divided by net premium written) to determine the company's combined ratio. The combined ratio is a reflection of the company's overall underwriting profitability. A combined ratio of less than 100 percent indicates underwriting profitability, while anything over 100 indicates an underwriting loss.

Insurance companies also earn investment profits on “float”. “Float” or available reserve is the amount of money, at hand at any given moment, that an insurer has collected in insurance premiums but has not been paid out in claims. Insurers start investing insurance premiums as soon as they are collected and continue to earn interest on them until claims are paid out. The Association of British Insurers (gathering 400 insurance companies and 94% of UK insurance services) has almost 20% of the investments in the London Stock Exchange.[6]

In the United States, the underwriting loss of property and casualty insurance companies was $142.3 billion in the five years ending 2003. But overall profit for the same period was $68.4 billion, as the result of float. Some insurance industry insiders, most notably Hank Greenberg, do not believe that it is forever possible to sustain a profit from float without an underwriting profit as well, but this opinion is not universally held. Naturally, the “float” method is difficult to carry out in an economically depressed period. Bear markets do cause insurers to shift away from investments and to toughen up their underwriting standards. So a poor economy generally means high insurance premiums. This tendency to swing between profitable and unprofitable periods over time is commonly known as the "underwriting" or insurance cycle. [7]

Property and casualty insurers currently make the most money from their auto insurance line of business. Generally better statistics are available on auto losses and underwriting on this line of business has benefited greatly from advances in computing. Additionally, property losses in the United States, due to unpredictable natural catastrophes, have exacerbated this trend

และหากอยากทราบรายละเอียดมากกว่านี้ ก็ตามนี้ครับ

http://en.wikipedia.org/wiki/Insurance# ... ness_model

หวังว่าคงมีความสุขกับการศึกษาธุรกิจของประกันภัยนะครับ  :lol:
Circle of competence
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
chaitorn
Verified User
โพสต์: 2545
ผู้ติดตาม: 0

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์ที่ 28

โพสต์

2. จากที่ผมอ่านข้อมูลด้านบนพบว่าบริษัทประกันชีวิตและประกันภัยนั้นมีวิธีการ ลงบัญชีแตกต่างกัน ดังนั้นผมจึงคิดว่าเราก็ควรจะรู้เกี่ยวกับวิธีการลงบัญชีต่าง ดังนั้นคำถามก็คือ บริษัทประกันมีวิธีการลงบัญชีอะไรบ้าง และมีข้อแตกต่างสำหรับแต่ละวิธีอย่างไร
เอาการรายงานทางบัญชีของบริษัทประกันภัยมาให้อ่านครับ แต่ละรายการมีคำอธิบายจนตาลายเลยครับ  ต้องให้นักบัญชีมาช่วยตอบในรายการสำคัญ ๆ ที่เราไม่เข้าใจดีกว่าครับ ไม่งั้นเหนื่อยแน่เลยครับ แถมยังต้องวิเคราะห์เปรียบเทียบอีก ไม่ง่ายเลยครับ:lol:

http://www.oic.or.th/downloads/comsys/n ... 130252.doc
Circle of competence
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
อะไรดีละ
Verified User
โพสต์: 680
ผู้ติดตาม: 0

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์ที่ 29

โพสต์

ผมอ่านมาจนจบ...ยังงงๆ อยู่เลยว่ามันน่าลงทุนกับกลุ่มนี้ไหม ??
:)
อะไรดีละ
Verified User
โพสต์: 680
ผู้ติดตาม: 0

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์ที่ 30

โพสต์

ปัญหาก็คือ ผู้บริหารการลงทุนของบ.ประกันภัยครับ
ปีที่แล้ว เฉพาะบริษัทที่ผมตามอยู่คือ SCSMG และ SMK ก็พบว่า  
ผู้บริหารได้เปลียนการลงทุน  จากการลงทุนในหุ้นราว 30%
เหลือแค่ 2% สำหรับตัวแรก  และ เหลือแค่ 10% สำหรับตัวหลัง
ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นหลังจากตลาดฯ ลงมาอย่างหนัก  ก็ถอดใจแล้วคิดว่า  การลงทุนในหุ้นนั้นเสี่ยงเกินไปสำหรับบ.ประกันฯ  

ไม่น่าเลย...แต่ผมคิดว่าพวกเขาตัดสินใจผิดนะครับ  
:)