"เสี่ยเต็นท์รถ" โวยโบรกเกอร์ปลอมเอกสารขายหุ้น

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
dr_norr
Verified User
โพสต์: 315
ผู้ติดตาม: 0

"เสี่ยเต็นท์รถ" โวยโบรกเกอร์ปลอมเอกสารขายหุ้น

โพสต์ที่ 1

โพสต์

3 กค. 2552 17:06 น.

www.trick-by-acl.com

เมื่อเวลา 11.00 น.นายนิรุธ ปิณฑะรุจิ อายุ 39 ปี เจ้าของศูนย์รวมรถยนต์ออโต้เวิร์ด เต้นท์รถมือสองย่านสี่แยกแคราย และกรรมการผู้จัดการบริษัทพี.อาร์.มาเก็ตติ้ง แอนด์ แอซโซซิเอท จำกัด เดินทางเข้าพบ ร.ต.อ.ไกรทอง โพธิ์ตาด พนักงานสอบสวน (สบ1) กก.1 บก.ป. เพื่อร้องทุกข์กรณีถูกเจ้าหน้าที่บริษัทหลักทรัพย์ชื่อดังแห่งหนึ่งทุจริต โดยเชื่อว่ามีการปลอมลายมือชื่อเพื่อนำบัญชีมาร์จิ้น (Margin) หรือบัญชีเครดิตบาลาซ (Credit Balance) มูลค่า 3-4 ล้านบาทไปซื้อขายหุ้นบริษัทต่าง ๆ รวม 61 รายการ มูลค่าซื้อขายกว่า 14 ล้านบาท เหตุเกิดเมื่อเดือน ธ.ค.2551-ก.พ.2552 แต่เมื่อพนักงานสอบสวนพิจารณาในรายละเอียดรวมทั้งข้อกฎหมายแล้วได้แนะนำให้นายนิรุธเข้าร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน บก.ปศท.ซึ่งรับผิดชอบคดีทางเศรษฐกิจโดยตรง

นายนิรุธเปิดเผยว่า ทำธุรกิจเต้นท์รถอยู่แถวสี่แยกแครายและรับซื้อขายที่ดิน ต่อมา เมื่อเดือน พ.ค.2551 ได้นำเงินประมาณ 3-4 ล้านบาทมาลงทุนในตลาดหุ้นเพราะได้ผลตอบแทนดีกว่าเงินฝาก และรัฐบาลให้การสนับสนุนว่ามีความโปร่งใส โดยซื้อหุ้นประเภทธนาคาร อสังหาริมทรัพย์ และพลังงาน ระหว่างนั้นได้มีเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาดหรือโบรกเกอร์ บริษัทหลักทรัพย์ชื่อดังแห่งหนึ่งชักชวนให้นำหุ้นที่มีอยู่มาจำนำเพื่อเปิดบัญชี credit balance หรือที่เรียกว่าบัญชี Margin ซึ่งเหมือนกับตนมีเครดิตวงเงิน 3-4 ล้านบาทไว้ซื้อขายหุ้น

นายนิรุธกล่าวต่อว่า หลังจากเปิดบัญชีกับบริษัทหลักทรัพย์ดังกล่าวเรียบร้อยแล้วตนก็นำไปซื้อขายหุ้นตามปกติ โดยโทร.สั่งซื้อผ่านเจ้าหน้าที่บริษัทแห่งนี้ และนาน ๆ ครั้งจะดูผลการซื้อขายผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ ช่วงแรกตนสังเกตุพบความผิดปกติ เช่น ซื้อหุ้นตัวหนึ่ง 5,000 หุ้น แต่ตัวเลขที่แสดงหน้าจอกลับเป็น 10,000 หุ้นจึงโทร.ไปถามเจ้าหน้าที่ก็ได้รับแจ้งว่า เป็นความผิดพลาดและมีการแก้ไขข้อมูลให้จึงไม่เอะใจอะไร แต่ 3 เดือนให้หลังคือประมาณเดือน ก.พ.ที่ผ่านมาจับได้ว่า มีการทุจริตโดยนำวงเงินของตนไปซื้อขายหุ้นจำนวน 61 รายการ มูลค่าซื้อขายกว่า 14 ล้านบาท โดยที่ตนไม่ทราบเรื่องมาก่อน นอกจากนี้ยังมีการปลอมลายมือชื่อตนในเอกสารการซื้อขายหุ้นบางส่วนด้วย

นายนิรุธกล่าวว่า เมื่อทราบเรื่องก็ทวงถามความรับผิดชอบจากบริษัทเพราะเห็นว่าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องที่นำเงินของลูกค้าไปซื้อขายหุ้นเพราะทุกครั้งที่มีการซื้อขายคนที่เสียประโยชน์คือตนเพราะต้องเสียค่าคอมมิชชั่นในการซื้อขายหุ้นแต่ละครั้งให้กับบริษัท แต่เมื่อตามเรื่องไปก็ไม่มีความคืบหน้า หนำซ้ำยังมีผู้บริหารระดับรองกรรมการผู้จัดการเข้ามาเจรจากับตน อ้างว่าเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องปกติที่บริษัทหลักทรัพย์อื่น ๆ ก็ทำกัน พร้อมกับนำเอกสารยอมความให้ตนลงลายมือชื่อ นอกจากนี้ยังมีการเสนอจะชดใช้เงินให้ 30,000-40,000 บาทด้วยแต่ตนไม่ยอมรับ หลังจากนั้นก็มีรองซีอีโอของบริษัทคนหนึ่งเรียกให้เข้าไปพบแต่บริษัทก็ยังไม่รับผิดชอบ พร้อมกับท้าให้ไปฟ้องร้องเพราะทางบริษัทเตรียมตั้งรับไว้แล้ว

ลูกค้าบริษัทหลักทรัพย์แห่งนี้ยังกล่าวอีกว่า เมื่อถูกปฏิเสธความรับผิดชอบจากบริษัท ตนจึงนำเรื่องไปร้องเรียนบริษัทดังกล่าวต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) เมื่อวันที่ 30 มี.ค.ที่ผ่านมา และทำหนังสือทวงถามความคืบหน้าอีกครั้งเมื่อวันที่ 11 พ.ค.ที่ผ่านมา แต่ทาง กลต.แจ้งกลับมาว่าอยู่ระหว่างการตรวจสอบเพราะมีเรื่องร้องเรียนลักษณะนี้เป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ระหว่างที่ กลต.ตรวจสอบเรื่องดังกล่าวก็มีการนัดตนกับตัวแทนบริษัทมาเจรจาแต่ทุกครั้งที่พบกันก็เป็นเพียงแค่การมารับคำร้องเท่านั้น

ที่ต้องออกมาเดินทางร้องเรียนเพราะต้องการรักษาสิทธิของตัวเองและอยากให้เป็นการเตือนประชาชนที่ซื้อขายหุ้นให้ระวังพฤติกรรมของบริษัทหลักทรัพย์เหล่านี้เพื่อจะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อการทุจริตทำยอดเข้าบริษัททำให้เห็นว่าบริษัทนี้มีลูกค้าซื้อขายหุ้นเป็นจำนวนมาก แต่จริง ๆ แล้วเป็นการสร้างความเสียหายให้กับเศรษฐกิจของประเทศไม่ต่างจากการปั่นหุ้นทำให้ไม่รู้ว่า ตัวเลขการซื้อขายที่แท้จริงเป็นอย่างไร และที่สำคัญบริษัทแห่งนี้มีกระทรวงการคลัง และธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งถือหุ้นใหญ่แต่ผู้บริหารบริษัทกลับพูดว่าใคร ๆ ก็ทำแบบนี้ ทำให้เกิดคำถามว่า ตลาดหุ้นบ้านเราไม่โปร่งใส มีการทุจริตมากมายขนาดนี้เลยหรือ นายนิรุธ กล่าว

นายนิรุธ กล่าวด้วยว่า นอกจากร้องเรียนต่อ กลต.แล้วยังเข้าแจ้งความที่ สน.ปทุมวัน กรณีที่มีการปลอมลายมือชื่อตนในเอกสาร แต่หลังจากที่ร้องเรียนหน่วยงานต่าง ๆ ไปจนถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีความคืบหน้าแต่อย่างใด โดยเฉพาะกับบริษัทคู่กรณีนั้นได้แต่นิ่งเฉยไม่ยอมดำเนินการใดๆแม้แต่จะขอสำเนาเอกสารหรือขอเทปบันทึกเสียงการสนทนาเวลาสั่งซื้อขายหุ้นก็ถูกบ่ายเบี่ยงไม่ยอมให้ ตนเกรงว่าจะเป็นปัญหาต่อไปในอนาคตเพราะเทปบันทึกเสียงนั้นมีเงื่อนไขเก็บรักษาแค่ 3 เดือนหลังจากนั้นจะถูกลบทิ้งซึ่งตรงนี้จะเป็นหลักฐานสำคัญที่ชี้ให้เห้นว่าตนได้สั่งซื้อหุ้นตัวใดไปบ้างและตัวใดที่ไม่ได้ซื้อแต่บริษัทแอบเอาไปทำเอง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีที่เกิดขึ้นนายนิรุธได้ลงทุนเปิดเว็บไซต์ชื่อ www.trick-by-acl.com เพื่อใช้เป็นสื่อเผยแพร่เรื่องราวที่เกิดขึ้นระหว่างนายนิรุธกับบริษัทหลักทรัพย์แห่งนี้ นอกจากนี้ยังลงทุนซื้อรถตู้มือสองมาติดตั้งเครื่องขยายเสียง และป้ายพลาสติกระบุข้อความถึงนักลงทุนทุกคนให้ติดตามความขี้โกง ไร้จรรยาบรรณของบริษัทหลักทรัพย์ ธนาคาร และผู้บริหารระดับสูง ได้ที่เว็บไซต์ดังกล่าว โดยนายนิรุธเตรียมจะนำรถตู้คันนี้ไปจอดหน้าบริษัทคู่กรณีเพื่อป่าวประกาศเรื่องราวที่เกิดขึ้นให้สาธารณชนทราบต่อไป
แมงเม่าวันนี้ จะตัวใหญ่ขึ้นในวันหน้า
ภาพประจำตัวสมาชิก
baby-investor
Verified User
โพสต์: 312
ผู้ติดตาม: 0

"เสี่ยเต็นท์รถ" โวยโบรกเกอร์ปลอมเอกสารขายหุ้น

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ภัยใกล้ตัวเลยนะครับ สงสัย กลต คงต้องคุมเข้มและควรมีบทลงโทษที่หนักเพื่อไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่าง
vision
Verified User
โพสต์: 305
ผู้ติดตาม: 0

"เสี่ยเต็นท์รถ" โวยโบรกเกอร์ปลอมเอกสารขายหุ้น

โพสต์ที่ 3

โพสต์

มันก็ตรวจสอบไม่ยากนี่ ทำไมนิ่งเฉยกันจัง
没有
กาละมัง
Verified User
โพสต์: 1230
ผู้ติดตาม: 0

"เสี่ยเต็นท์รถ" โวยโบรกเกอร์ปลอมเอกสารขายหุ้น

โพสต์ที่ 4

โพสต์

vision เขียน:มันก็ตรวจสอบไม่ยากนี่ ทำไมนิ่งเฉยกันจัง
ลำพังเรื่องตรวจสอบไม่ยากหรอกครับ

แต่เหมือนเงินในธนาคาร  เวลาพนักงานทุจริต
แอบถอนเงินของเราไป  
อย่างน้อยก็ต้องตกใจ  
วุ่นวายกับกระบวนการร้องทุกข์ขอคืน
แม้รู้ว่าในที่สุดธนาคารย่อมต้องรับผิดชอบ

ส่วน broker น่าเป็นห่วงมากกว่าธนาคาร  
เพราะว่า broker อาจมีผู้ถือหุ้นใหญ่ไม่กี่รายเป็นเจ้าของได
้  ถ้าลำพังว่าเกิดจากพนักงาน marketing  ผมไม่กลัว
 แต่เมื่อไรที่เจ้าของตั้งใจทำซะเอง  
อันนี้น่ากลัวครับ เหมือน secc  picni เป็นต้น
 เพราะว่าเราได้มอบอำนาจให้เขาถือครองใบหุ้นของเรา

หน้าที่เราจึงต้องเลือก broker  ที่น่าเชื่อถือด้วยครับ
pornch
Verified User
โพสต์: 5
ผู้ติดตาม: 0

"เสี่ยเต็นท์รถ" โวยโบรกเกอร์ปลอมเอกสารขายหุ้น

โพสต์ที่ 5

โพสต์

เสียงครวญนักลงทุน

วันเสาร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
“นิรุธ ปิณฑะรุจิ” ออกมาเตือนเพื่อนๆ นักลงทุนให้หมั่นตรวจสอบรายการการซื้อขายหุ้นในพอร์ตอย่างสม่ำเสมอ
เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์เหมือนตัวเองที่ถูกเจ้าหน้าที่การตลาดของบล.สิน เอเซีย แอบปลอมลายเซ็นและใช้พอร์ต ไปซื้อขายหุ้นทั้งหมด 61 รายการ รวมมูลค่าทั้งสิ้น 14 ล้านบาท เมื่อเดือน ธ.ค  2551 ที่ผ่านมา “ผมตรวจเจอเอง และเหตุการณ์นี้ถือว่านักลงทุนมีความเสี่ยงมาก เพราะบล.สินเอเซีย เป็นสถาบันการเงิน แต่ระบบการตรวจสอบภายในหละหลวมและ ล้มเหลวมาก เพราะไม่สามารถตรวจพบรายการที่ผิดปกติขนาดนี้ได้”

และน่าตกใจมากที่เรื่องนี้เกิดจากฝีมือของมาร์เก็ตติงชื่อพรทิพย์ อายุเพียง 25 ปี และเพิ่งเข้ามาทำงานที่นี่เป็นแห่งแรกเพียง 2 ปีเท่านั้น ซึ่งผู้บริหารยังยอมรับฝีมือเลยว่าคนที่ทำได้ขนาดนี้จะต้องเขี้ยวลากดิน

“นิรุธ” เล่าให้ฟังถึงเหตุที่ตรวจพบว่า ได้เข้าไปดูหุ้นในพอร์ตผ่านระบบคอมพิวเตอร์แล้วเห็นว่ามีหุ้นบริษัท แอปโซลูท อิมแพค (AIM) โผล่ขึ้นมา ทั้งๆ ที่ผมไม่เคยรู้จักหุ้นตัวนี้เลย และเมื่อแจ้งให้มาร์เก็ตติงทราบ ก็ได้รับคำตอบว่า คีย์ข้อมูลผิด เป็นหุ้นของลูกค้าอีกคนหนึ่ง ซึ่งเมื่อดูหน้าจอเพียงแพล็บเดียวหุ้น ตัวนี้ก็ถูกเอาออกจากพอร์ตผมไปเรียบร้อยแล้ว

หลังจากนั้นผมก็เอะใจและเริ่มไล่ตรวจสอบเอกสารต่างๆ ซึ่งก็พบว่าถูกปลอมลายเซ็น สั่งซื้อขายหุ้นหลายรายการในรูปแบบที่ซื้อหรือขายหุ้นตัวเดียวในจำนวน เท่ากับผม เช่น ผมซื้อหุ้นธนาคารไทยพาณิชย์ 5,000 หุ้น เธอก็ซื้อหุ้นไทยพาณิชย์ 5,000 หุ้น และขายออกพร้อมกับผม

“ผมเทรดหุ้นบ่อยจึงไม่ได้เช็กข้อมูลและรายงานการซื้อขายหุ้นใน แต่ละ วันที่บริษัทส่งให้ลูกค้าที่บ้าน ก็ไม่เคยส่งถึงมือผมเลย เพราะเธอได้เซ็นแทนและบอกกับเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบว่าผมรับทราบข้อมูลแล้ว จึงน่าสงสัยว่าเธอไม่ทำเพียงคนเดียว”

เรื่องนี้ ทั้งบล.สินเอเซีย และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) จะต้องรีบแก้ไขให้เร็วที่สุด มิเช่นนั้นนักลงทุนจะ ขาดความเชื่อมั่นในระบบการซื้อขายหลักทรัพย์!!!

ที่มา: http://www.posttoday.com/stockmarket.php?id=57566
โพสต์โพสต์