หุ้นที่แตกพาร์/แจกวอแรนท เป็นหุ้นที่ไม่น่าลงทุนหรือเปล่าครับ
- Magneto
- Verified User
- โพสต์: 276
- ผู้ติดตาม: 0
หุ้นที่แตกพาร์/แจกวอแรนท เป็นหุ้นที่ไม่น่าลงทุนหรือเปล่าครับ
โพสต์ที่ 2
คร่าวๆ ผมว่าหุ้นที่แตกพาร์อาจจะทำให้สภาพคล่องในการซื้อขายในตลาดมีมากขึ้นก็ได้นะครับ เพราะรายเล็กๆ อาจจะยังไม่มีเงินซื้อหุ้นแพงๆ (สมมุติหุ้นละ 500 ต้องซื้อคราวละ 100 หุ้น ก็ตก 50,000 แล้ว) พอแตกพาร์แล้วหุ้นก็อาจจะมีความเคลื่อนไหวมากขึ้น ซื้อง่ายขายคล่องขึ้นน่ะครับ ไม่น่าจะมีส่วนโดยตรงที่จะทำให้ไม่น่าลงทุน
ส่วนหุ้นที่ออกวอแรนท์ ผมคิดว่าอาจจะมีทั้งที่ออกแล้วเป็นผลบวกและที่ออกแล้วเป็นผลลบต่อหุ้น ต้องดูหลายอย่าง ทั้งจุดประสงค์ที่ออก ว่าเอาเงินไปใช้เหมาะสมหรือเปล่า ทั้งสภาพการณ์ในอนาคต ว่าหลังแปลงสภาพแล้วหุ้นของเราจะเป็นยังไง (อันนี้ทำให้บางคนที่ไม่อยากคิดให้ปวดหัว หรือคนที่มองว่าอนาคตไม่แน่ไม่นอน มองผลกระทบลำบาก ก็อาจจะไม่ชอบหรือหลีกเลี่ยงหุ้นตัวนี้) ก็เลยคิดว่ามีทั้งบวกและลบน่ะครับ
เป็นความคิดส่วนตัวนะครับ ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญอะไร :8)
ส่วนหุ้นที่ออกวอแรนท์ ผมคิดว่าอาจจะมีทั้งที่ออกแล้วเป็นผลบวกและที่ออกแล้วเป็นผลลบต่อหุ้น ต้องดูหลายอย่าง ทั้งจุดประสงค์ที่ออก ว่าเอาเงินไปใช้เหมาะสมหรือเปล่า ทั้งสภาพการณ์ในอนาคต ว่าหลังแปลงสภาพแล้วหุ้นของเราจะเป็นยังไง (อันนี้ทำให้บางคนที่ไม่อยากคิดให้ปวดหัว หรือคนที่มองว่าอนาคตไม่แน่ไม่นอน มองผลกระทบลำบาก ก็อาจจะไม่ชอบหรือหลีกเลี่ยงหุ้นตัวนี้) ก็เลยคิดว่ามีทั้งบวกและลบน่ะครับ
เป็นความคิดส่วนตัวนะครับ ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญอะไร :8)
Charls is a friend. My greatest regret is that he had to die for our dream to live. ถึงแม้จะเดินคนละทาง แต่ผมกับชาร์ลก็มีเป้าหมายเดียวกัน..คือ มีที่ให้พวกเรายืนบนโลกใบนี้ยังไงล่ะ
-
- Verified User
- โพสต์: 33
- ผู้ติดตาม: 0
หุ้นที่แตกพาร์/แจกวอแรนท เป็นหุ้นที่ไม่น่าลงทุนหรือเปล่าครับ
โพสต์ที่ 3
ขอบคุณคุณ Magneto ครับ ขอถามเพิ่มเติมนะครับ
เนื่องจากหุ้นที่ผมสนใจมีราคาไม่ถึงร้อยบาทมีการแตกพาร์ขึ้น และผมได้เข้าไปใน ร้อยคนร้อยหุ้น เผอิญอ่านเจอความเห็นนึง(ขออนุญาตนำมาลง) ความว่า
"น่าจะแจกวอแรนท์ ด้วยนะ จะได้ครบสูตร
ผมเดาว่า ใกล้ อวสาน หุ้นตัวนี้แล้วครับ คงจะปั่นมันๆเหมือน ***
ผมถือว่า หุ้นที่ไม่ถึงร้อยแล้ว แตกพาร์ แจก วอ เป็นหุ้นห่วย มากๆ"
ก้อเลยทำให้เกิดความอยากรู้เรื่องการแตกพาร์ว่ามีจุดประสงค์อะไรอื่นหรือเปล่าครับ นอกจากทำให้คล่องตัวในการซื้อขาย
*********
มือใหม่ครับ ที่ผ่านมาก้อได้แต่ซื้อตามๆเค้าน่ะ
เนื่องจากหุ้นที่ผมสนใจมีราคาไม่ถึงร้อยบาทมีการแตกพาร์ขึ้น และผมได้เข้าไปใน ร้อยคนร้อยหุ้น เผอิญอ่านเจอความเห็นนึง(ขออนุญาตนำมาลง) ความว่า
"น่าจะแจกวอแรนท์ ด้วยนะ จะได้ครบสูตร
ผมเดาว่า ใกล้ อวสาน หุ้นตัวนี้แล้วครับ คงจะปั่นมันๆเหมือน ***
ผมถือว่า หุ้นที่ไม่ถึงร้อยแล้ว แตกพาร์ แจก วอ เป็นหุ้นห่วย มากๆ"
ก้อเลยทำให้เกิดความอยากรู้เรื่องการแตกพาร์ว่ามีจุดประสงค์อะไรอื่นหรือเปล่าครับ นอกจากทำให้คล่องตัวในการซื้อขาย
*********
มือใหม่ครับ ที่ผ่านมาก้อได้แต่ซื้อตามๆเค้าน่ะ
- Magneto
- Verified User
- โพสต์: 276
- ผู้ติดตาม: 0
หุ้นที่แตกพาร์/แจกวอแรนท เป็นหุ้นที่ไม่น่าลงทุนหรือเปล่าครับ
โพสต์ที่ 4
อูยย...งานเข้าเลย ความรู้อันน้อยนิดของผมจะทำอะไรได้บ้างเนี่ย...
สมมุติว่าผมเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทแห่งหนึ่ง ที่บริหารงานไม่เก่ง หุ้นของบริษัทจึงไม่ค่อยมีคนสนใจ สภาพคล่องไม่ค่อยมี ปีนี้บริษัทไม่มีเงินสดมาจ่ายปันผล อุตส่าห์ทำตัวเลขในงบกำไรขาดทุนจนดูดีมีกำไรแล้วเชียวนะ แต่กระแสเงินสดมันไม่เป็นใจเอาซะเลย จะเอาเงินสดที่ไหนมาจ่ายปันผลดีน๊า ขืนไม่จ่ายมีหวังนักลงทุนกระเจิงหมด ต่อไปเราหากินกับตลาดหุ้นมันก็ยากน่ะสิ อยากจะให้กิจการไปกู้เงินมาจ่ายปันผลจริงๆ เพราะ Cost of Debt มันน่าจะต่ำกว่า Cost of Equity เนื่องจากเจ้าหนี้มีสิทธิเมื่อล้มละลายในลำดับก่อนผู้ถือหุ้น ถ้าเลือกได้จะกู้ซะ แต่ด้วยความที่บริหารไม่เก่ง ไม่มีใครให้กู้แล้ว ทำไงดีล่ะ ผมก็เลยมองมาที่ส่วนของผู้ถือหุ้น จ่ายปันผลเป็นวอแรนท์ดีกว่า ต้นทุนสูงกว่าในทางทฤษฎี เพราะผู้ถือหุ้นย่อมคาดหวังผลตอบแทนสูงกว่าเจ้าหนี้ แลกกับความเสี่ยงที่มากกว่าเพราะอยู่ลำดับหลัง แต่ก็เป็นแค่การให้ความหวังนี่นา ไม่ได้เป็นการผูกมัดซะหน่อยว่าผมจะปันผลให้ในอนาคตด้วย Yield เท่าเดิม อืมม์..ไม่เลว ออกวอแรนท์ดีกว่า แต่เอ..พอออกปุ๊บ ผู้ถือหุ้นที่รู้ทันก็จะคำนวณได้ว่าถ้ามีการแปลงสภาพวอแรนท์เป็นหุ้นเมื่อไหร่ ส่วนได้เสียของแต่ละหุ้นเดิมมันจะลดลง อย่างนี้ราคาหุ้นที่ซื้อขายกันในตลาดก็จะตอบสนองด้วยการลดลงได้น่ะสิ เท่ากับผู้ถือหุ้นได้วอแรนท์ไปก็รู้สึกเหมือนไม่ได้อะไรตอบแทนจากที่อุตส่าห์ลงทุนถือหุ้นมา เหมือนเอาเหรียญ 10 บาท 2 ใบไปแทน โดยแลกกับแบงก์ 20 บาท 1 ใบที่เค้ามีอยู่เดิม แล้วอย่างนี้จะทำยังไงให้ราคาหุ้นมันขึ้นดีล่ะ เพราะส่วนที่ขึ้นมันเกิดจากการซื้อ เป็นเงินของนักลงทุนในตลาดหุ้นที่ซื้อไล่ขึ้นไป ไม่ใช่เงินบริษัท อืมม...แตกพาร์ดีกว่า ดูคึกคักๆ ขึ้นตั้งเยอะ จะได้มีคนมาร่วมแจมมากขึ้น ราคาขยับขึ้นไปได้ง่ายๆ หน่อย ไม่ขึ้นเดี๋ยวเราทำให้ขึ้นเอง :shock: คิดว่ารอดแล้วเรา...เอาฟะ :8)
ถูกผิดยังไง มีอะไรร้ายๆ แฝงอยู่อย่างที่คุณ gapperer สงสัยอีก รบกวนพี่ๆ ผู้มากประสบการณ์มาแก้ มาเพิ่ม มาตอบให้หน่อยนะครับ จนใจ ผมคิดได้แค่นี้ :oops:
สมมุติว่าผมเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทแห่งหนึ่ง ที่บริหารงานไม่เก่ง หุ้นของบริษัทจึงไม่ค่อยมีคนสนใจ สภาพคล่องไม่ค่อยมี ปีนี้บริษัทไม่มีเงินสดมาจ่ายปันผล อุตส่าห์ทำตัวเลขในงบกำไรขาดทุนจนดูดีมีกำไรแล้วเชียวนะ แต่กระแสเงินสดมันไม่เป็นใจเอาซะเลย จะเอาเงินสดที่ไหนมาจ่ายปันผลดีน๊า ขืนไม่จ่ายมีหวังนักลงทุนกระเจิงหมด ต่อไปเราหากินกับตลาดหุ้นมันก็ยากน่ะสิ อยากจะให้กิจการไปกู้เงินมาจ่ายปันผลจริงๆ เพราะ Cost of Debt มันน่าจะต่ำกว่า Cost of Equity เนื่องจากเจ้าหนี้มีสิทธิเมื่อล้มละลายในลำดับก่อนผู้ถือหุ้น ถ้าเลือกได้จะกู้ซะ แต่ด้วยความที่บริหารไม่เก่ง ไม่มีใครให้กู้แล้ว ทำไงดีล่ะ ผมก็เลยมองมาที่ส่วนของผู้ถือหุ้น จ่ายปันผลเป็นวอแรนท์ดีกว่า ต้นทุนสูงกว่าในทางทฤษฎี เพราะผู้ถือหุ้นย่อมคาดหวังผลตอบแทนสูงกว่าเจ้าหนี้ แลกกับความเสี่ยงที่มากกว่าเพราะอยู่ลำดับหลัง แต่ก็เป็นแค่การให้ความหวังนี่นา ไม่ได้เป็นการผูกมัดซะหน่อยว่าผมจะปันผลให้ในอนาคตด้วย Yield เท่าเดิม อืมม์..ไม่เลว ออกวอแรนท์ดีกว่า แต่เอ..พอออกปุ๊บ ผู้ถือหุ้นที่รู้ทันก็จะคำนวณได้ว่าถ้ามีการแปลงสภาพวอแรนท์เป็นหุ้นเมื่อไหร่ ส่วนได้เสียของแต่ละหุ้นเดิมมันจะลดลง อย่างนี้ราคาหุ้นที่ซื้อขายกันในตลาดก็จะตอบสนองด้วยการลดลงได้น่ะสิ เท่ากับผู้ถือหุ้นได้วอแรนท์ไปก็รู้สึกเหมือนไม่ได้อะไรตอบแทนจากที่อุตส่าห์ลงทุนถือหุ้นมา เหมือนเอาเหรียญ 10 บาท 2 ใบไปแทน โดยแลกกับแบงก์ 20 บาท 1 ใบที่เค้ามีอยู่เดิม แล้วอย่างนี้จะทำยังไงให้ราคาหุ้นมันขึ้นดีล่ะ เพราะส่วนที่ขึ้นมันเกิดจากการซื้อ เป็นเงินของนักลงทุนในตลาดหุ้นที่ซื้อไล่ขึ้นไป ไม่ใช่เงินบริษัท อืมม...แตกพาร์ดีกว่า ดูคึกคักๆ ขึ้นตั้งเยอะ จะได้มีคนมาร่วมแจมมากขึ้น ราคาขยับขึ้นไปได้ง่ายๆ หน่อย ไม่ขึ้นเดี๋ยวเราทำให้ขึ้นเอง :shock: คิดว่ารอดแล้วเรา...เอาฟะ :8)
ถูกผิดยังไง มีอะไรร้ายๆ แฝงอยู่อย่างที่คุณ gapperer สงสัยอีก รบกวนพี่ๆ ผู้มากประสบการณ์มาแก้ มาเพิ่ม มาตอบให้หน่อยนะครับ จนใจ ผมคิดได้แค่นี้ :oops:
Charls is a friend. My greatest regret is that he had to die for our dream to live. ถึงแม้จะเดินคนละทาง แต่ผมกับชาร์ลก็มีเป้าหมายเดียวกัน..คือ มีที่ให้พวกเรายืนบนโลกใบนี้ยังไงล่ะ
- Magneto
- Verified User
- โพสต์: 276
- ผู้ติดตาม: 0
หุ้นที่แตกพาร์/แจกวอแรนท เป็นหุ้นที่ไม่น่าลงทุนหรือเปล่าครับ
โพสต์ที่ 6
ตัวอย่างที่ว่าไปน่ะตอบแนวทางร้ายๆ ที่คุณ gapperer อยากจะระวังหรอกนะครับ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็นเหมือนอย่างนี้เสมอไป เช่น
ไม่ได้หมายความว่าที่หุ้นยังไม่ค่อยมีคนสนใจ ผู้บริหารจะบริหารไม่เก่ง อาจจะเป็นเพราะยังไม่ค่อยมีคนค้นพบก็ได้
ไม่ได้หมายความว่าการจะจ่ายปันผลเป็นวอแรนท์น่ะ เป็นเพราะกู้ไม่ได้แล้วเสมอไปนะครับ บางทีเค้าอาจไม่ต้องการให้ D/E Ratio สูงกว่าที่เป็นอยู่ก็ได้ ก็เลยไม่ใช้วิธีกู้เงิน
ไม่ได้หมายความว่าแตกพาร์แล้วจะปั่นหุ้นเสมอไปนะครับ หลายครั้งที่ผู้ถือหุ้นรายย่อยเองเป็นคนเรียกร้องให้แตก เพราะทำให้ซื้อง่ายขายคล่องขึ้นโดยไม่ต้องปั่นก็ได้ ทีนี้ราคามันก็จะขยับเอง เพราะคนซื้อมีมากขึ้น เป็นการเพิ่มมูลค่าให้ผู้ถือหุ้นวิธีหนึ่งเหมือนกัน
เหล่านี้เป็นต้นครับ ต้องมองกันลึกๆ ดูกันนานๆ ช่วยกันดูหลายๆ ตาครับ
Warren Buffet ก็เลยบอกว่า เวลาเลือกกิจการน่ะ จะเลือกที่คุณภาพของผู้บริหารเป็นอันดับแรก
ไม่ได้หมายความว่าที่หุ้นยังไม่ค่อยมีคนสนใจ ผู้บริหารจะบริหารไม่เก่ง อาจจะเป็นเพราะยังไม่ค่อยมีคนค้นพบก็ได้
ไม่ได้หมายความว่าการจะจ่ายปันผลเป็นวอแรนท์น่ะ เป็นเพราะกู้ไม่ได้แล้วเสมอไปนะครับ บางทีเค้าอาจไม่ต้องการให้ D/E Ratio สูงกว่าที่เป็นอยู่ก็ได้ ก็เลยไม่ใช้วิธีกู้เงิน
ไม่ได้หมายความว่าแตกพาร์แล้วจะปั่นหุ้นเสมอไปนะครับ หลายครั้งที่ผู้ถือหุ้นรายย่อยเองเป็นคนเรียกร้องให้แตก เพราะทำให้ซื้อง่ายขายคล่องขึ้นโดยไม่ต้องปั่นก็ได้ ทีนี้ราคามันก็จะขยับเอง เพราะคนซื้อมีมากขึ้น เป็นการเพิ่มมูลค่าให้ผู้ถือหุ้นวิธีหนึ่งเหมือนกัน
เหล่านี้เป็นต้นครับ ต้องมองกันลึกๆ ดูกันนานๆ ช่วยกันดูหลายๆ ตาครับ
Warren Buffet ก็เลยบอกว่า เวลาเลือกกิจการน่ะ จะเลือกที่คุณภาพของผู้บริหารเป็นอันดับแรก
Charls is a friend. My greatest regret is that he had to die for our dream to live. ถึงแม้จะเดินคนละทาง แต่ผมกับชาร์ลก็มีเป้าหมายเดียวกัน..คือ มีที่ให้พวกเรายืนบนโลกใบนี้ยังไงล่ะ
-
- Verified User
- โพสต์: 18
- ผู้ติดตาม: 0
หุ้นที่แตกพาร์/แจกวอแรนท เป็นหุ้นที่ไม่น่าลงทุนหรือเปล่าครับ
โพสต์ที่ 8
ที่คุณ Magneto อธิบาย
ขอขยายความได้ไหมครับว่า cost ต่ำกว่าเพราะอะไร ตามไม่ทันน่ะครับอยากจะให้กิจการไปกู้เงินมาจ่ายปันผลจริงๆ เพราะ Cost of Debt มันน่าจะต่ำกว่า Cost of Equity เนื่องจากเจ้าหนี้มีสิทธิเมื่อล้มละลายในลำดับก่อน
ผู้ถือหุ้น ถ้าเลือกได้จะกู้ซะ
- Magneto
- Verified User
- โพสต์: 276
- ผู้ติดตาม: 0
หุ้นที่แตกพาร์/แจกวอแรนท เป็นหุ้นที่ไม่น่าลงทุนหรือเปล่าครับ
โพสต์ที่ 9
คือว่ากิจการโดยทั่วไปจะหาเงินทุนมาจาก 2 แหล่ง คือ จากเจ้าหนี้ หรือไม่ก็จากผู้ถือหุ้นน่ะครับ สมมุติ บริษัท ก ติดต่อเศรษฐีแดงอยากขอเงินมาลงทุน เศรษฐีแดงก็คงไม่ให้เงินมาฟรีๆ เค้าก็จะคิดว่า เอ..จะให้กิจการนี้กู้ดี หรือว่าจะขอลงทุนเป็นผู้ถือหุ้นกิจการนี้ซะเลย (ช่วยไม่ได้ ผู้ถือหุ้นเดิมถ้าไม่อยากเสียส่วนได้ของกำไร ก็เอาเงินมาเพิ่มทุนเองสิ ในเมื่อไม่เพิ่ม งั้นเราจะขอมีเอี่ยวมันก็ไม่แปลก) ทีนี้เศรษฐีแดงเค้าก็จะชั่งน้ำหนัก :roll: ว่า ถ้าให้กู้ โอกาสได้เงินต้นคืนพร้อมผลตอบแทนมันก็น่าจะมีความแน่นอนสูงกว่า เพราะมันจะมีกำหนดว่าจะต้องคืนเมื่อไหร่ จ่ายดอกกี่ % เช่น จ่ายคืน 5 งวด ดอกเบี้ย 7% ต่อปี เป็นต้น ถึงจะเจ๊งจนต้องสะสางบัญชีมันก็ต้องได้เงินก่อนจะเอาส่วนที่เหลือคืนผู้ถือหุ้นล่ะน่า แต่ถ้าจะดูอีกทางเลือก คือ การลงทุนเป็นผู้ถือหุ้นในกิจการ แบบนี้คงต้องอยู่กันยาว ทีนี้เรื่องการจ่ายปันผลนี่มันกำหนดนโยบายกันได้ แต่ก็ไม่ได้เป็นการบังคับ ถ้าขาดทุนก็ไม่จ่ายได้ ความเสี่ยงจึงมีมากกว่า ดังนั้นเศรษฐีแดงคงไม่ยอมลงหุ้นแน่ถ้าคำนวณ Yield แล้วจะได้ผลตอบแทนจากเงินปันผลน้อยกว่าหรือเท่ากับ 7% (สู้ให้กู้ยังจะดีซะกว่า ความเสี่ยงต่ำกว่า) ยกเว้นจะไปได้เงินจากส่วนอื่น เช่น เอาหุ้นออกขายในตลาดฯ แล้วได้ราคาดีขึ้น จนผลตอบแทนนั้นรวมกับเงินปันผลคิดแล้วมากกว่าถ้าให้กู้ที่ 7% จึงเป็นที่มาของคำว่า High Risk, High Expected Return นั่นเอง
ดังนั้นในแง่ของหนี้สิน เราจะมองมันเป็นสิ่งที่ไม่ดีเสียทั้งหมดมันก็ไม่ได้ ถ้ากิจการบริหารจัดการได้ดี การกู้หนี้ก็ถือว่ามีต้นทุน คือ Cost of Debt ที่ต่ำกว่าการระดมทุนจากผู้ถือหุ้น หรือ Cost of Equity นั่นเอง ด้วยเหตุนี้เราจึงเห็นบริษัทที่แข็งแกร่ง อย่างเครือซิเมนต์ไทย (SCC) มักจะมีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E Ratio) ที่อยู่ที่ 2 ต่อ 1 ซึ่งสูงกว่าหลายๆๆๆ กิจการ นี่เรียกได้ว่าเป็นประโยชน์ของการมีเครดิตดีนั่นเอง และผมก็ไม่แน่ใจว่าด้วยเหตุนี้หรือเปล่า ท่าน ดร.นิเวศน์ จึงไม่ได้ให้ความสำคัญกับ D/E Ratio มากนัก ท่านจะดูไปเลยว่าหนี้มันกี่บาท จะบริหารจัดการ (เอาอยู่) หรือเปล่า ถ้าจัดการได้ มันก็ไม่ใช่สิ่งที่เลวร้ายอะไร
ดังนั้นในแง่ของหนี้สิน เราจะมองมันเป็นสิ่งที่ไม่ดีเสียทั้งหมดมันก็ไม่ได้ ถ้ากิจการบริหารจัดการได้ดี การกู้หนี้ก็ถือว่ามีต้นทุน คือ Cost of Debt ที่ต่ำกว่าการระดมทุนจากผู้ถือหุ้น หรือ Cost of Equity นั่นเอง ด้วยเหตุนี้เราจึงเห็นบริษัทที่แข็งแกร่ง อย่างเครือซิเมนต์ไทย (SCC) มักจะมีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E Ratio) ที่อยู่ที่ 2 ต่อ 1 ซึ่งสูงกว่าหลายๆๆๆ กิจการ นี่เรียกได้ว่าเป็นประโยชน์ของการมีเครดิตดีนั่นเอง และผมก็ไม่แน่ใจว่าด้วยเหตุนี้หรือเปล่า ท่าน ดร.นิเวศน์ จึงไม่ได้ให้ความสำคัญกับ D/E Ratio มากนัก ท่านจะดูไปเลยว่าหนี้มันกี่บาท จะบริหารจัดการ (เอาอยู่) หรือเปล่า ถ้าจัดการได้ มันก็ไม่ใช่สิ่งที่เลวร้ายอะไร
Charls is a friend. My greatest regret is that he had to die for our dream to live. ถึงแม้จะเดินคนละทาง แต่ผมกับชาร์ลก็มีเป้าหมายเดียวกัน..คือ มีที่ให้พวกเรายืนบนโลกใบนี้ยังไงล่ะ