ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
mprandy
Verified User
โพสต์: 1992
ผู้ติดตาม: 0

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์ที่ 271

โพสต์

kotaro เขียน: จากข่าวที่ จีน เสนอความเห็นว่า ควรจะเปลี่ยนเงินสกุลหลักที่ใช้กันอยู่ จาก USD มาเป็น SDR (Special Drawing Rights) ของ IMF และ เห็น ไกรธ์เนอร์ ก็เห็นชอบด้วยในหลักการด้วย

อจ มีความเห็นในเรื่องนี้ยังไงครับ และหากเปลี่ยนมาเป็นสกุล SDR จริงๆ จะดีกว่า USD ไหมครับ
หุหุ ผมหายไปนานจริง ๆ ครับ เพราะว่างานเยอะมาก เวลาจะเยี่ยมเยียนอ่านกระทู้ใน TVI ยังไม่ค่อยมี บางกระทู้ตามอ่านไม่ทันแล้วจริง ๆ :wink:

โดยหลักการการใช้เงินสกุลกลางเป็นสกุลหลักของโลกแทนที่ USD นั้นดีแน่ครับ ที่ผ่านมาสหรัฐอเมริกาได้เปรียบ (และเอาเปรียบ) ชาติอื่น ๆ ในโลกนี้มาตลอด โดยอาศัย USD นี่แหละ

1. การที่ทุกประเทศใช้ USD เป็นสกุลหลัก ทำให้ทุกคนเชื่อมั่นในเงินสกุลนี้มากกว่าสกุลอื่น เป็นผลให้สภาพคล่องสูง และธนาคารกลางสหรัฐไม่มีภาระในการดำรงทุนสำรองเพื่อหนุนหลังเงินตนเอง (สหรัฐมีทุนสำรองเงินเพียง 7 หมื่นกว่าล้านเหรียญ และเกือบทั้งหมดเป็นทองคำ ส่วนเมืองไทยมีตั้งแสนกว่าล้านและเกือบทั้งหมดเป็นตราสารหนี้เงินสกุล USD)

2. ความเชื่อในสกุลเงิน USD ทำให้ธนาคารกลางแต่ละประเทศ และกองทุนหรือสถาบันการเงินทั้งหลาย นิยมถือตราสารหนี้สกุลเงิน USD มากกว่าอย่างอื่นเพราะถือว่ามีความมั่นคง (safe heaven) ผลที่ตามมาก็คืออัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรสหรัฐ และหุ้นกู้สกุลเงินสหรัฐ (โดยมากมักออกโดยบริษัทหรือสถาบันการเงินสหรัฐเอง) ต่ำกว่าสกุลเงินอื่น

ผลนี้ทำให้ค่าเงินสหรัฐแข็งแกร่ง (กว่าที่ควรจะเป็น โดยพื้นฐานประเทศที่มี twin deficit ค่าเงินควรจะอ่อนลงเรื่อย ๆ), ดอกเบี้ยต่ำ (ต้นทุนการเงินต่ำกว่าประเทศอื่นมาก), อัตราเงินเฟ้อต่ำ (พิมพ์แบงค์ออกมาเหมือนแบงค์กงเต๊ก แต่เงินเฟ้อไม่ยักจะมากเหมือนซิมบับเว :lovl:) ส่งเสริมให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ดีและเฟื่องฟู (Soros ว่าเป็น super bubble)

แต่ในทางปฏิบัติจะทำได้มากน้อยแค่ไหน เป็นอีกเรื่องหนึ่ง เพราะสหรัฐรู้ตัวดีว่าถ้าคนเสื่อมความนิยมใน USD จะมีผลร้ายต่อประเทศตนเองอย่างยิ่ง (ความได้เปรียบเป็นเสือนอนกินที่ผ่านมาจะกลับทิศ ไม่ว่าจะเป็นค่าเงินที่อ่อนลง, ดอกเบี้ยสูงขึ้น) และประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกย่อมไม่ต้องการเปลี่ยนทันที เพราะทุกประเทศก็ถือทรัพย์สินและตราสารหนี้สกุลเงิน USD ไว้มากมาย

ในขณะที่ SDR เป็นการถ่วงน้ำหนักอัตราแลกเปลี่ยนตะกร้าเงินเทียบกับเงินสกุลหลัก 4 สกุล (USD, EUR, JPY, GBP) อาจจะดูเป็นเหตุเป็นผลกว่า แต่ยังไม่ใช้กันแพร่หลาย โดยเฉพาะการค้าภาคเอกชนยังไม่มีใครใช้เลย

ความเห็นผม ผมว่าคงเป็นการโยนหินถามทางมากกว่า ถ้าจะมีการเปลี่ยนแปลงจริงก็คงเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป และจะใช้ได้จริง ต้องมี demand จากภาคเอกชนร่วมด้วย
ไม่สน return rate เยอะ, ขอแค่ financial freedom ภายใน 14 ปีก็พอ..
------------------------
ภาพประจำตัวสมาชิก
kotaro
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1495
ผู้ติดตาม: 0

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์ที่ 272

โพสต์

ผมเห็นด้วยกับ อจ เลยครับ อเมริกา เอาเปรียบประเทศอื่นๆมาตลอด ก็เพราะทุกประเทศ เอาเงินตัวเองไปอ้างอิงกับ USD นี่แหละครับ

วันนี้มีข่าวเรื่องนี้จากกรุงเทพธุรกิจออนไลน์

หนุนเอเชียใช้เอสดีอาร์ แทนดอลลาร์โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์


แนวคิดจีนกับรัสเซียต้องการนำเอสดีอาร์ หรือตะกร้าเงินไอเอ็มเอฟมาใช้ เพื่อเป็นสกุลเงินสำรองหลักของโลกแทนดอลลาร์ กระตุ้นชาติเอเชีย-ไทย เห็นด้วย

วงการตลาดเงินและตลาดทุนทั่วโลกต้องฮือฮา ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญต้องบันทึกไว้เป็นอีกหน้าหนึ่งของประวัติศาสตร์การเงินโลก หลังจากปลายเดือนมี.ค.ที่ผ่านมานี้ โจว เสี่ยวฉวน ประธานธนาคารกลางจีนคนปัจจุบัน นำเสนอความเห็นผ่านตัวอักษรผ่านบทความชิ้นหนึ่ง เรียกร้องให้ทั่วโลกนำ ระบบตะกร้าเงิน (Special Drawing Rights : SDR) หรือ เอสดีอาร์ ของไอเอ็มเอฟ มาใช้แทนดอลลาร์สหรัฐ

ขณะที่ช่วงเวลาไล่เลี่ยกันรัสเซียระบุจะยื่นข้อเสนอในที่ประชุมกลุ่มชาติอุตสาหกรรมชั้นนำ 20 ประเทศ หรือ จี-20 ที่กรุงลอนดอนต้นเดือนเม.ย.นี้ เพื่อให้มีการจัดตั้งสกุลเงินสำรองของโลกสกุลใหม่ ซึ่งเป็นวาระสอดรับกับข้อเสนอของประธานธนาคารกลางจีน

ทั้งนี้เอสดีอาร์เป็นตะกร้าเงินประกอบด้วยสกุลเงินสำคัญของโลก เช่น ดอลลาร์-เยน-ปอนด์-ยูโร ตอนนี้ได้กลายเป็นประเด็นที่ผู้คนทั้งในและนอกตลาดเงินกับตลาดทุน ให้ความสนใจติดตาม เพราะเกี่ยวข้องกับอนาคตการเงินและการค้าของหลายประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะชาติเอเชียรวมทั้งไทย ซึ่งเป็นสมาชิกของไอเอ็มเอฟ

เมื่อเร็วๆ นี้สถาบันวิจัยนครหลวงไทย ได้วิเคราะห์ถึงกรณีจีนกับรัสเซีย เสนอให้เอสดีอาร์เป็นสกุลเงินหลักใช้เป็นทุนสำรองระหว่างประเทศว่า เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความกังวลต่อเสถียรภาพของค่าเงินดอลลาร์มาโดยตลอดของทั้งสองประเทศ ซึ่งเป็นเรื่องที่สมเหตุผล

เพราะทั้งจีนกับรัสเซีย มีทุนสำรองระหว่างประเทศในรูปเงินดอลลาร์มากเป็นอันดับหนึ่งและ 3 ของโลก การอ่อนค่าของดอลลาร์ จึงไม่เพียงแต่ส่งผลโดยตรงให้ค่าเงินของทั้งสองประเทศนี้แข็งขึ้นและส่งผลกระทบให้ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการอาจลดลง ซึ่งเป็นผลจากราคาสินค้าส่งออกของทั้งสอง ประเทศสูงขึ้นในรูปของสกุลเงินดอลลาร์

แต่หากรายได้จากการส่งออกของจีนกับรัสเซีย เมื่อแลกเปลี่ยนกลับมาในรูปของเงินสกุลท้องถิ่น คือเงินหยวนและรูเบิลจะมีมูลค่าลดลง ส่งผลให้ธุรกิจการส่งออกของทั้งสองประเทศอาจจะขาดทุนจากค่าเงิน ซึ่งในที่สุดแล้วจะกระทบเศรษฐกิจของทั้ง 2 ประเทศ ทำให้อัตราการขยายตัวลดลง รวมถึงความมั่งคั่งของทั้งสองประเทศ ที่สะสมทุนสำรองระหว่างประเทศเป็นดอลลาร์ หวังใช้เป็นอำนาจซื้อสินค้าและบริการระหว่างประเทศได้นานไม่น้อยกว่า 5-10 ปีนั้น ต้องลดลงตามไปด้วย  

งานวิจัยเห็นว่า ประเด็นเสถียรภาพค่าเงินดอลลาร์ไม่ใช่เพียงจีนกับรัสเซียเท่านั้นที่กังวล แต่ชาติเอเชียทั้งหลายที่สะสมทุนสำรองระหว่างประเทศในรูปของเงินดอลลาร์ไว้มากมาย พากันกังวลด้วยเช่นกัน ความกังวลดังกล่าวจะกดดันให้อัตราแลกเปลี่ยนทั่วโลกผันผวนเป็นระยะ

จี้จี-20ถกเอสดีอาร์

ทั้งนี้ในการประชุมผู้นำกลุ่มประเทศอุตสาหกรรม และกำลังพัฒนา 20 ชาติ (จี-20) ที่ลอนดอนสัปดาห์นี้ นักลงทุนต่างจับตาความเคลื่อนไหวของจีน หลังจากผู้ว่าการธนาคารกลางจีนเรียกร้องให้มีการใช้เอสดีอาร์ เป็นมาตรฐานสำหรับทุนสำรองแทนที่เงินดอลลาร์สหรัฐ พร้อมเสนอให้ยกเครื่องระบบการเงินโลกที่ไร้การครอบงำจากสหรัฐ

โดยมิทัล โกเตชา หัวหน้านักยุทธศาสตร์ด้านปริวรรตเงินตราจากธนาคารคาลิยงในฮ่องกงกล่าวว่า ความเคลื่อนไหวดังกล่าวของจีน มีนัยสำคัญต่อตลาดเงินทั่วโลก และสะท้อนให้เห็นว่าความสำคัญของดอลลาร์ ในฐานะสกุลเงินหลักของระบบทุนสำรองเงินตราต่างประเทศกำลังยุติลง และจีนมีเจตนาทำให้ดอลลาร์ตกเป็นเป้าการอภิปรายในที่ประชุม เพื่อให้ที่ประชุมเบนความสนใจออกจากสกุลเงินหยวนที่อ่อนค่าเกินจริง

ขณะที่หู จิ่น เทา ประธานาธิบดีจีนยืนยันว่า จีนสนับสนุนความพยายามที่จะปฏิรูประบบการเงินโลก

กล่าวแต่เพียงว่า จำเป็นต้องมีการยกเครื่องระบบการเงินโลกทั้งหมด เพื่อสร้างความสมดุลและทำให้เกิดมีประสิทธิภาพในการป้องกันวิกฤติ ที่อาจเกิดขึ้นอีกในอนาคต

ก่อนหน้านี้คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจและการเงินระหว่างประเทศของสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ได้ยื่นข้อเสนอตั้งเอสดีอาร์ ซึ่งเป็นสกุลเงินสำรองใหม่แทนระบบที่อิงกับดอลลาร์ ซึ่งธนาคารกลางประเทศต่างๆ ใช้มานานนับสิบปี โดยระบบทุนสำรองใหม่ที่ปรับเปลี่ยนเป็นระยะๆ ตามขนาดของการสะสมทุนสำรองที่เปลี่ยนไป อาจช่วยสร้างเสถียรภาพและความแข็งแกร่งแก่เศรษฐกิจโลก

ทั้งนี้คณะกรรมการภายใต้การนำของ โจเซฟ สติกลิทซ์ นักเศรษฐศาสตร์เจ้าของรางวัลโนเบล ชี้ว่า เอสดีอาร์ปราศจากเงินเฟ้อและสามารถนำมาใช้ได้โดยง่าย ช่วยลดความยุ่งยากในปัจจุบันที่เกิดจากความไม่สมดุลระหว่างประเทศที่ได้เปรียบดุลการค้าและประเทศที่ขาดดุลการค้า

สติกลิทซ์กล่าวด้วยว่า สมาชิกยูเอ็นเห็นพ้องมากขึ้นว่าระบบการเงินที่อิงดอลลาร์ เป็นตัวการสร้างปัญหา แต่เตือนด้วยว่าการจัดตั้งสกุลเงินสำรองใหม่ยังเป็นเพียงแนวคิดที่คณะกรรมการถกเถียงกันอยู่

3 ชาติเอเชียหนุนใช้เอสดีอาร์

ในปลายเดือนมี.ค.ที่ผ่านมา บลูมเบิร์กรายงานงานว่า ทั้งธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ธนาคารกลางมาเลเซียและอินโดนีเซีย สนับสนุนข้อเรียกร้องของจีนที่ต้องการให้ใช้เอสดีอาร์ เพราะต้องการให้เอสดีอาร์เป็นสกุลเงินสำรองหลักของโลกแทนดอลลาร์ โดยระบุว่าจะช่วยควบคุมภาวะผันผวนและกระตุ้นการค้าให้ขยายตัวเร็วขึ้น

โดยเริ่มจาก ธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า ประเทศกำลังพัฒนาอาจได้ประโยชน์จากการมีทางเลือกอื่นนอกเหนือจากเงินดอลลาร์ ซึ่งแนวคิดการใช้สกุลเงินอื่นทำหน้าที่เป็นสกุลเงินนานาชาติ มีการพูดคุยกันมานานแล้ว แต่การจะยกเลิกสกุลเงินใดสกุลหนึ่งแล้วไปใช้อีกสกุลหนึ่งไปเลยคงยาก เพราะกว่าจะใช้สกุลเงินใหม่ต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 1-2 ปี เพื่อให้นานาชาติยอมรับ แต่หากมีการใช้เงินตราต่างประเทศหลายๆ สกุล เชื่อว่าจะช่วยให้ระบบการเงินโลกสมดุลมากขึ้น

ด้าน โบเอดิโอโน ผู้ว่าการธนาคารกลางอินโดนีเซีย กล่าวว่าโลกต้องการสกุลเงินที่มีเสถียรภาพทั้งในแง่ปริมาณและมูลค่า เพื่อให้การค้าและการลงทุนทั่วโลกมีเสถียรภาพ การทำธุรกรรมการค้าด้วยเงินสกุลเดียว ที่ขึ้นอยู่กับสภาพเศรษฐกิจของประเทศเดียวเป็นเรื่องอันตราย ขณะที่ เซติ อัคตาร์ อาซิส ผู้ว่าการธนาคารกลางมาเลเซีย กล่าวว่า ควรนำข้อเสนอของจีนมาพิจารณา เพราะเป็นแนวคิดที่น่าสนใจ

ขณะที่ โธมัส ฮาร์ นักยุทธศาสตร์สกุลเงินจาก สแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด ในสิงคโปร์ กล่าวว่า การแสดงความเห็นของผู้ว่าการธนาคารกลางทั้งสามประเทศบ่งชี้ว่า ประเด็นนี้ได้รับความสนใจและได้รับการสนับสนุนจากเอเชีย ธนาคารกลางในเอเชียเริ่มหันเหจากเงินดอลลาร์มาระยะหนึ่งแล้ว และวิตกเกี่ยวกับความมั่นคงของระบบการเงินสหรัฐ

อย่างไรก็ตาม จิม โอนีล หัวหน้าฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจโลกของบริษัทโกลด์แมน แซคส์ แสดงความเห็นกรณีจีนเสนอให้ยกเครื่องระบบการเงินโลกครั้งใหญ่และเสนอแนะให้ใช้เอสดีอาร์แทนดอลลาร์ในฐานะสกุลเงินสำรองหลักของโลก ว่าการเปลี่ยนแปลงบทบาทของดอลลาร์อย่างแรงนั้น ไม่ใช่สิ่งที่จะเกิดขึ้นได้โดยง่าย แนวคิดของจีนจะน่าสนใจมากที่สุด หากมีการผนวกแนวคิดนี้เข้ากับการเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับค่าเงินหยวนของจีน และเสริมว่าหากไม่ทำเช่นนี้ แนวคิดของจีนก็แทบไม่มีประโยชน์แต่อย่างใด

ทั้งนี้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนแอลงนับตั้งแต่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ประกาศใช้มาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจวงเงินกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์ ที่ครอบคลุมการข้าซื้อพันธบัตรระยะยาวของรัฐบาลสหรัฐมูลค่า 300,000 ล้านดอลลาร์ในช่วง 6 เดือนข้างหน้า และดอลลาร์ได้รับแรงกดดันเพิ่มขึ้นเมื่อกระทรวงการคลังสหรัฐประกาศใช้งบประมาณ 1 ล้านล้านดอลลาร์ เพื่อกำจัดสินทรัพย์ด้อยคุณภาพออกจากงบดุลบัญชีของธนาคารพาณิชย์ ภายใต้ชื่อ "โครงการลงทุนภาครัฐ-เอกชน"

Tags : เอสดีอาร์ ดอลลาร์
แต่ SDR ก็ยังอ้างอิงกับ USD มากกว่า สกุลอื่นอยู่ดี  แต่แปลกที่ไม่มีเงินหยวนเข้าไปด้วยนะครับ

แต่ก่อนปี 40  ประเทศเราก็ใช้ระบบตระกร้าเงิน  แต่ก็กลับถูกบอกว่าไม่ดี  ไม่เสรีทางการเงิน  ตอนนี้ทุกประเทศ กลับอยากมาใช้ระบบตระกร้าเงินใหม่อีกแล้วครับ

ตกลงระบบไหนดีกว่ากันแน่ครับ
“Laughter is timeless. Imagination has no age. And dreams are forever.” ― Walt Disney Company
ภาพประจำตัวสมาชิก
Amadeus
Verified User
โพสต์: 372
ผู้ติดตาม: 0

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์ที่ 273

โพสต์

ดูข่าวจาก MCOT บอกว่า อเมริกาส่งสัญญาณการฟื้นตัวของศก.แล้ว
โดยให้เหตุผลว่า เริ่มมีกระเตื้องของยอดการซื้อบ้าน มีการทำเรื่องขอกู้เงินกันมากขึ้น
ผมมองว่าเป็นเพราะการอัดฉีดเงินของรัฐในรอบก่อนๆทำให้เริ่มมีการใช้จ่าย
ทั้งๆที่อัตราการว่างงานก็ยังไม่หยุดเลย (ตัวนี้น่าจะมีผลในระยะยาวมากกว่า)
..รัฐบาลญี่ปุ่นก็ยังจะอัดฉีดเงินอีกระรอก ถ้าเป็นวงจรนี้ใครอัดฉีดเงินลงไป
ซักพักการบริโภคก็จะดูดีขึ้น

แต่จะมีเงินที่ไปลงทุนใน infrastructure อันนี้ก็จะก่อให้เกิดการสร้างงานบ้าง
แต่จะมีผลต่ออัตราการว่างงานอย่างเป็นรูปธรรมแค่ไหนครับ (หรือให้หลักของ
อุปสงค์อุปทานจัดการเอาเอง อัตราการว่างงานถึงจะหยุด)

consumption exp เอาไว้มอนิเตอร์การฟื้นตัวของเมกาได้น่าเชื่อถือแค่ไหนครับ
ถ้าไม่ได้เราควรจะดูตัวเลขอะไรที่สะท้อนการฟื้นตัวจริงๆแบบยั่งยืน :?:  :?:  


แล้วเงินอัดฉีดต่างๆถือเป็น Goverment exp หรือไม่ครับ
ถ้าหากถือว่าเป็น G อย่างนี้จะทำให้ Y สูงขึ้นมากเลยเพราะ ทั้ง C,G สูงขึ้น
แต่ในสถานการณ์ปัจจุบันของอเมริกานั้น รายได้กับ ค่าใช้จ่ายรวมน่าจะไม่เท่ากัน
ผลทำให้ AE น้อยกว่า Y สินค้าเหลือมากมาย ผมเข้าใจถูกไหมครับ

ปล. พี่หมอเอ็ม ตั้งใจฟังเรื่องกราฟแล้ว เอาไปใช้ประกอบการตัดสินใจไหมครับ
เตือนตัวเอง
1.ลดต้นทุน 2.ขึ้นราคา 3.ขยายตลาด
4.เพิ่ม same store sale  5.ขาย บ.เน่าๆ
mprandy
Verified User
โพสต์: 1992
ผู้ติดตาม: 0

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์ที่ 274

โพสต์

Amadeus เขียน:ดูข่าวจาก MCOT บอกว่า อเมริกาส่งสัญญาณการฟื้นตัวของศก.แล้ว
โดยให้เหตุผลว่า เริ่มมีกระเตื้องของยอดการซื้อบ้าน มีการทำเรื่องขอกู้เงินกันมากขึ้น
ผมมองว่าเป็นเพราะการอัดฉีดเงินของรัฐในรอบก่อนๆทำให้เริ่มมีการใช้จ่าย
ทั้งๆที่อัตราการว่างงานก็ยังไม่หยุดเลย (ตัวนี้น่าจะมีผลในระยะยาวมากกว่า)
..รัฐบาลญี่ปุ่นก็ยังจะอัดฉีดเงินอีกระรอก ถ้าเป็นวงจรนี้ใครอัดฉีดเงินลงไป
ซักพักการบริโภคก็จะดูดีขึ้น

แต่จะมีเงินที่ไปลงทุนใน infrastructure อันนี้ก็จะก่อให้เกิดการสร้างงานบ้าง
แต่จะมีผลต่ออัตราการว่างงานอย่างเป็นรูปธรรมแค่ไหนครับ (หรือให้หลักของอุปสงค์อุปทานจัดการเอาเอง อัตราการว่างงานถึงจะหยุด)
การลงทุนเรื่อง infrastructure มีข้อดี 2 ประการในช่วงเศรษฐกิจถดถอยคือ
1. เป็นการสร้างงานใหม่ เพื่อชดเชยการว่างงานในช่วงที่เศรษฐกิจไม่ดี และผู้ที่ลงทุนมักหนีไม่พ้นรัฐบาล ที่จะช่วยอัดฉีดเงินโดยอ้อม (ซึ่งดีกว่าการอัดฉีดเงินเข้าสู่ประชาชนโดยตรง เช่นการแจกเช็คช่วยชาติ) เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ

2. การวาง infrastructure เพิ่มขีดความสามารถในการทำธุรกิจและการแข่งขัน เพื่อรองรับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในรอบถัดไป

ดังนั้นในเรื่องผลต่อการว่างงาน คงได้แค่ชะลอลงบ้างเพราะการสร้างงานใหม่ยังไงก็คงไม่สามารถชดเชยการปลดคนงานได้หมด แต่การวางแผนเช่นนี้ ทำให้เกิดการจ้างงานใหม่ และบางภาคส่วนของธุรกิจอาจวางแผนโครงการไว้ เพื่อกระตุ้นการจ้างงานใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้นรองรับ infrastructure ในอนาคต
Amadeus เขียน:consumption exp เอาไว้มอนิเตอร์การฟื้นตัวของเมกาได้น่าเชื่อถือแค่ไหนครับ
ถ้าไม่ได้เราควรจะดูตัวเลขอะไรที่สะท้อนการฟื้นตัวจริงๆแบบยั่งยืน :?:
ไม่สน return rate เยอะ, ขอแค่ financial freedom ภายใน 14 ปีก็พอ..
------------------------
ภาพประจำตัวสมาชิก
Amadeus
Verified User
โพสต์: 372
ผู้ติดตาม: 0

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์ที่ 275

โพสต์

เอามาให้อ่านกันครับ เผื่อบางท่านยังไม่ได้อ่าน

"ตลาดหุ้นกับวิกฤติเศรษฐกิจสหรัฐ (1)"
"ตลาดหุ้นกับวิกฤติเศรษฐกิจสหรัฐ (2)"
โดย ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

"บางคนจะตำหนิว่าเมื่อเกิดวิกฤติที่สหรัฐทำให้นักลงทุนต่างชาติขายหุ้นไทยก็ทำให้บริษัทไทยได้รับผลกระทบไปด้วย คำตอบคือส่วนหนึ่งเป็นเพราะเมื่อเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงและการส่งออกของไทยถูกกระทบก็ทำให้ราคาหุ้นปรับลดตามปัจจัยพื้นฐานที่อ่อนแอลงทั่วโลก แต่ก็มีส่วนที่ปรับลงเพราะนักลงทุนต่างชาติขาดสภาพคล่องต้องถอนทุนเพื่อปรับเงินสด แต่ทั้งนี้จะเห็นว่าราคาหุ้นกำลังปรับตัวขึ้นทั่วโลกอย่างรวดเร็วตั้งแต่เดือนมีนาคม แม้ว่าปัญหาของสถาบันการเงินของสหรัฐยังคลี่คลายไม่มากนักและเศรษฐกิจสหรัฐก็ยังอยู่ในสภาวะตกต่ำอย่างมาก การปรับขึ้นของราคาหุ้นทั่วโลกโดยเฉพาะที่เอเชียนั้นเป็นประโยชน์ต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างมาก เช่นหุ้นในประเทศจีนปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่า 30% แล้วในปีนี้ ทำให้บริษัทสามารถระดมเพิ่มทุนเพื่อขยายกิจการ ซึ่งเป็นการช่วยให้เศรษฐกิจขยายตัวอย่างต่อเนื่อง...."
เตือนตัวเอง
1.ลดต้นทุน 2.ขึ้นราคา 3.ขยายตลาด
4.เพิ่ม same store sale  5.ขาย บ.เน่าๆ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Amadeus
Verified User
โพสต์: 372
ผู้ติดตาม: 0

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์ที่ 276

โพสต์

ขอบคุณนะครับที่พี่หมอช่วยตอบคำถามให้

ผมลองย้อนกลับไปดูตอนที่ ศก.ชะลอตัวครั้งก่อนๆ มักจะเกิดเหตุการณ์
ซ้ำๆกัน อย่างเช่นตอนปี 1989 ที่เม็กซิโก บราซิล อาเจนติน่า
ก็เกิดการขาดสภาพคล่องอย่างมาก เพราะก่อนหน้านี้กู้เงินมาขยายศก.
เม็กซิโก มีรายได้จากการขายน้ำมันและส่งออกสินค้าไปอเมริกา

เวลาที่ศก.ชะลอตัว การบริโภคในอเมริกาลดลง ราคาน้ำมันก็ลดลงอีก
ทำให้รายได้ของเม็กซิโกหดตัวลงมาก จนไม่สามารถใช้หนี้ได้
สุดท้ายต้องขอกู้เพิ่ม เพื่อเพิ่มสภาพคล่องในการทำธุรกิจ (แม้ภายหลังจะไม่ได้ผล)

ถ้าผมเข้าใจผิดไปก็ขออภัยนะครับ
ปี89 เงินเยอะ(จากประเทศค้าน้ำมัน) --> อเมริการับเอาเงินมาปล่อยกู้ --> ประเทศกำลังพัฒนาสร้างหนี้ --> ศก ถดถอย ลูกหนี้ต้องขอเงินเพิ่ม

ปี08-09 เงินเยอะ(จากตราสารคุณภาพต่ำ) -->เอาเงินไปเก็งกำไร&ลงทุน --> ศก ถดถอย -->???

มีคำถามอีกแล้วครับ
1. เงินอัดฉีดของอเมริกาใครเป็นเจ้าหนี้ครับ ถ้าเป็นรัฐบาลอเมริกาที่ออกพันธบัตรมาเปลี่ยนเป็นเงิน ก็เท่ากับอเมริกาพิมพ์แบ็งเอง
เงินดอลล่าก็ควรจะล้นตลาด(อ่อนค่า) แต่จีนและอีกหลายประเทศที่ลงทุนในดอลล่าคงไม่ยอมให้ตนเองสูญเสียความมั่งคั่งไป
คือคงไม่ยอมให้ดอลล่าอ่อนค่าง่ายๆในตอนนี้(เห็นมีการพยายามทำให้เงินหยวนเป็นสกุลสากล)
พี่หมอมองทางออกในความเป็นจริงแล้ว ทิศทางจะเป็นอย่างไรครับ

2. ตอนนี้ขาดสภาพคล่องมาเลย และเป็นกันทั้งโลก การระดมทุนเข้ามาในตลาดทุน(หุ้น)ของไทยคงไม่ง่าย เพราะที่ประเทศอื่นก็ต้องการเงินเหมือนกัน
แสดงว่าเราควรจะลงทุนระยะยาว(มากๆ) และฝรั่งอาจจะไม่ได้กลับมาลงทุนมากๆเหมือนเดิมแล้ว (ในระยะเวลา ไม่กี่ปี) พี่คิดเหมือนกันไหมครับ
:)
เตือนตัวเอง
1.ลดต้นทุน 2.ขึ้นราคา 3.ขยายตลาด
4.เพิ่ม same store sale  5.ขาย บ.เน่าๆ
i_sarut
Verified User
โพสต์: 1808
ผู้ติดตาม: 0

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์ที่ 277

โพสต์

hongvalue เขียน:ขออนุญาติแนะนำหนังสือ fundflow หน่อยครับ

(ต้องขอบคุณคุณหมอ mprandy ที่แนะนำหนังสือสุดยอดเล่มนี้ให้ผมอีกที)

When Markets Collide: Investment Strategies for the Age of Global Economic Change

รูปภาพ

หน้าปกมี commend ของอดีตประธาน fed อย่าง greenspan ด้วยนะครับ

เขา comment หนังสือเล่มนี้ว่า

an essential read for those who wish to understand the modern world of investing

เนื้อหามีรายละเอียดเกี่ยวกับเหตุผลว่าทำไม เม็ดเงินที่ไหลไปที่นั้นที่นี้
และมีเกี่ยวกับประเทศ usa เยอะมาก

และอีกหน่อยคนเขียนคาดการณ์ว่าสถานการณ์ตลาดหุ้นตลาดเงินของโลกนี้
จะมีรูปแบบที่แตกต่างกับในอดีตออกไปพอสมควร

ใครอยากรู้ไปหาอ่านดูนะครับ

ขอบอกว่า มันมากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก
ไปหาโหลดมา

เลยอัพโหลดไว้ให้ เผื่อท่านไหนสนใจนะครับ  362 หน้า :P  

http://upload.one2car.com/download.aspx ... F4JRVMKNPG[WGQSF
"Risk comes from not knowing what you're doing" - Warren Buffet

สุดยอดของความซับซ้อนคือความเรียบง่าย

http://www.sarut-homesite.net/
mprandy
Verified User
โพสต์: 1992
ผู้ติดตาม: 0

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์ที่ 278

โพสต์

Amadeus เขียน: มีคำถามอีกแล้วครับ
1. เงินอัดฉีดของอเมริกาใครเป็นเจ้าหนี้ครับ ถ้าเป็นรัฐบาลอเมริกาที่ออกพันธบัตรมาเปลี่ยนเป็นเงิน ก็เท่ากับอเมริกาพิมพ์แบ็งเอง
เงินดอลล่าก็ควรจะล้นตลาด(อ่อนค่า) แต่จีนและอีกหลายประเทศที่ลงทุนในดอลล่าคงไม่ยอมให้ตนเองสูญเสียความมั่งคั่งไป
คือคงไม่ยอมให้ดอลล่าอ่อนค่าง่ายๆในตอนนี้(เห็นมีการพยายามทำให้เงินหยวนเป็นสกุลสากล)
พี่หมอมองทางออกในความเป็นจริงแล้ว ทิศทางจะเป็นอย่างไรครับ
เงินอัดฉีดเขาออกมา 2 แบบ คือ

1. เงินที่ออกมาจากรัฐบาล ผ่านการใช้งบประมาณแบบขาดดุล ไม่ว่าจะเป็นการผ่านกฏหมาย Bailout 7 แสนล้าน หรือการกระตุ้นเศรษฐกิจ 5 แสนล้าน และระยะยาวกว่า 1 ล้านล้าน ล้วนแต่ทำให้เกิดงบประมาณขาดดุลมโหฬาร เงินส่วนนี้ รัฐบาลออกพันธบัตรมาชดเชยการขาดดุลเหมือนที่เคยทำมา ซึ่งคนรับซื้อมี 2 ส่วน ได้แก่สถาบันการเงิน หรือธนาคารกลางของแต่ละประเทศ ซึ่งส่วนนี้ที่ผ่านมาต้องอาศัย จีน และประเทศตะวันออกกลาง แต่ช่วงนี้ก็ตัวใครตัวมันแหละ จีนก็เน้นกระตุ้นบ้านตัวเองก่อน ส่วนตะวันออกกลางก็ถังแตก (อย่างดูไบ ต้องซมซานไปหาบ้านพี่เมืองน้องอย่าง อาบูดาบี ช่วยอัดฉีดเงิน)

พระเอกขี่ม้าขาวก็ไม่พ้น Fed นั่นเอง (ตามข้อ 2)

2. แบบที่สอง โดย Fed ผ่าน Term auction facility โดยรับซื้อหนี้เน่าทั้งหลาย และ CDO แลกกับเงินที่จะปล่อยออกมา พอเห็นว่ายังไม่พอ เครื่องไม้เครื่องมือเรื่องดอกเบี้ยก็ทำไปแล้ว เลยต้องงัดมาตรการสุดท้ายที่ออกมารองรับกับข้อแรกด้วย อันได้แก่ Quantitative Easing (QE) เรียกง่าย ๆ ก็คือมาตรการซุปเปอร์แบงค์กงเต๊ก คือ Fed ประกาศซื้อพันธบัตรรัฐบาลซะเอง แทนจีนและประเทศอาหรับ

ก็เป็นการพิมพ์แบงค์ออกสู่ตลาดเงินอย่างมหาศาลนั่นแหละ

การกระทำัดังกล่าวมีต้นทุน แม้จะไม่มากเท่าประเทศอื่นเขา (เพราะเมกาแกไม่เคยมีอะไรหนุนหลังธนบัตรตัวเอง) แต่ถ้า Fed ปล่อยให้เงินหมุนเวียนในระบบในปริมาณสูง ๆ ต่อไปเรื่อย ๆ ค่าเงินดอลลาร์ไม่เร็วก็ช้า จะต้องอ่อนลง แต่ก็ไม่น่าจะมาก และรวดเร็วนัก (เมื่อเทียบกับปริมาณเงินที่เข้าสู่ระบบ) เพราะคนยังเชื่อในแบงค์เขียว ๆ อยู่ (In God We Trust!)

ซึ่งอาจไม่เป็นที่สบอารมณ์กับเจ้าหนี้รายใหญ่อย่างจีนนัก (ถ้าจำได้ นายกจีน เหวินเจียเป่าเคยออกมาพูดทีนึงแล้วว่า สหรัฐควรพยายามดำรงมูลค่า หรือรับประกันมูลค่าตราสารหนี้ตัวเอง ไม่งั้นจีนไม่ปลื้ม เกิดเลิกซื้อขึ้นมาจะหนาว) จีนก็พยายามปรับเปลี่ยนอยู่บ้าง ทั้งการเพิ่มสำรองทองคำ (ดูโดยสัดส่วนรวมของทุนสำรองทั้งหมดก็ไม่มากนัก) และโยนหินถามเรื่อง SDR หรือการตั้งบรรษัทกองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ แต่พอร์ทใหญ่อย่างนี้คงขยับโดยไม่มีผลกระทบได้ยาก

ผมว่าวิธีที่ดีที่สุด Fed น่าจะตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ย และลดปริมาณสภาพคล่องลงเมื่อวิกฤตคลี่คลาย เพื่อดึงเงินส่วนเกินกลับเข้าสู่ระบบมากกว่าจะปล่อยให้เกิดฟองสบู่ลูกใหม่อีก (คราวนี้ผมว่าใหญ่กว่าฟองที่ผ่านมาเยอะ เพราะดอกเบี้ยถูกกว่า เงินล้นระบบเยอะกว่า)

ซึ่งการขึ้นดอกเบี้ย และการดูดสภาพคล่อง ก็มีต้นทุนดอกเบี้ยแน่นอนครับ
Amadeus เขียน:2. ตอนนี้ขาดสภาพคล่องมาเลย และเป็นกันทั้งโลก การระดมทุนเข้ามาในตลาดทุน(หุ้น)ของไทยคงไม่ง่าย เพราะที่ประเทศอื่นก็ต้องการเงินเหมือนกัน
แสดงว่าเราควรจะลงทุนระยะยาว(มากๆ) และฝรั่งอาจจะไม่ได้กลับมาลงทุนมากๆเหมือนเดิมแล้ว (ในระยะเวลา ไม่กี่ปี) พี่คิดเหมือนกันไหมครับ
:)
ฝรั่งเข้ามาลงทุนแน่ครับ (อย่างน้อยก็มา Bear Rally แล้วรอบนี้) น้ำย่อมไหลจากที่สูงสู่ที่ต่ำฉันใด เงินย่อมไหลจากที่ผลตอบแทนต่ำ ไปหาผลตอบแทนสูงเสมอ ถ้าผลตอบแทนตลาดทุนเราสูงพอ ก็สามารถดึงดูดเงินต่างชาติได้ตลอดเวลา

อย่างไรก็ดี การลงทุนของเรา คงต้องขึ้นกับเป้าหมาย และแนวทางของเราเป็นหลัก ถ้าลงทุนระยะยาวแนว VI การมองกิจการ และมูลค่าหุ้น ณ จุดนั้น น่าจะสำคัญกว่า fund flow การใช้เทคนิคการลงทุนแบบใด เราต้องมั่นใจว่าเราเข้าใจสิ่งนั้น ๆ ดี รู้จุดแข็ง จุดอ่อน ของมัน จึงจะใช้ได้อย่างประสบความสำเร็จ
ไม่สน return rate เยอะ, ขอแค่ financial freedom ภายใน 14 ปีก็พอ..
------------------------
tanapol
Verified User
โพสต์: 919
ผู้ติดตาม: 0

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์ที่ 279

โพสต์

Latest Press Release
Released: Thursday, May 21, 2009
The Conference Board Leading Economic Index; (LEI) for the U.S. increased 1.0 percent, The Conference Board Coincident Economic Index; (CEI) decreased 0.2 percent and The Conference Board Lagging Economic Index; (LAG) decreased 0.5 percent in April.

LEADING INDICATORS. Seven of the ten indicators that make up The Conference Board LEI for the U.S. increased in April. The positive contributors beginning with the largest positive contributor were stock prices, interest rate spread, the index of consumer expectations, average weekly initial claims for unemployment insurance (inverted), average weekly manufacturing hours, index of supplier deliveries (vendor performance), and manufacturers' new orders for consumer goods and materials*. The negative contributors beginning with the largest negative contributor were real money supply*, building permits, and manufacturers' new orders for nondefense capital goods*.

The Conference Board LEI for the U.S. now stands at 99.0 (2004=100). Based on revised data, this index decreased 0.2 percent in March and decreased 0.5 percent in February. During the six-month span through April, the leading economic index decreased 0.6 percent, with three out of ten components advancing (diffusion index, six-month span equals 30 percent).

http://www.conference-board.org/economi ... .cfm?cid=1

มีรูปประกอบครับ

http://news.yahoo.com/nphotos/Chart-sho ... indicators

ปล.ขอขอบคุณข้อมูลจาก อ.mprandy ครับ :P
ภาพประจำตัวสมาชิก
เอก
Verified User
โพสต์: 329
ผู้ติดตาม: 0

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์ที่ 280

โพสต์

ในวันงาน meeting ผใเป็นคนที่มีโอกาสได้คุยกับคุณหมอ mprandy ได้ความรู้เรื่องรพ.เยอะไม่นึกว่ามีความรู้ประวัติศาสตร์การเงินดีขนาดนี้ นับถือๆ
เงินซื้อความสะดวกสบายได้ แต่ซื้อความสุขไม่ได้ ความสุขเราต้องสร้างมันขึ้นมาเอง
ภาพประจำตัวสมาชิก
hongvalue
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2703
ผู้ติดตาม: 0

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์ที่ 281

โพสต์

เอก เขียน:ในวันงาน meeting ผใเป็นคนที่มีโอกาสได้คุยกับคุณหมอ mprandy ได้ความรู้เรื่องรพ.เยอะไม่นึกว่ามีความรู้ประวัติศาสตร์การเงินดีขนาดนี้ นับถือๆ

ผมเรียกหมอด้าว่า

superman ครับ
tanapol
Verified User
โพสต์: 919
ผู้ติดตาม: 0

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์ที่ 282

โพสต์

ขอถามอ.mprandy นะค๊าบบบบบบบ

1.m0, m1, m2, m3... ทำไมเค้าถึงเลือก m2 เป็นการดูเงินในระบบล่ะครับ

2.t-bill กับ 10 yr treasury rate มันน่าจะใช้แทนกันได้ปะครับ... อาจารย์คิดว่าไงครับ

3.leading indicator ที่ขึ้นมา...จะรู้ได้ไงว่าไม่ใช่แค่รีบาวด์...ถึงแม้ว่าจะรู้ว่าขึ้นมาจากอะไรก็เถอะ...(งงมะคับ)

ขอบคุณอาจารย์มากค๊าบบบบ :P
ภาพประจำตัวสมาชิก
kotaro
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1495
ผู้ติดตาม: 0

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์ที่ 283

โพสต์

3.leading indicator ที่ขึ้นมา...จะรู้ได้ไงว่าไม่ใช่แค่รีบาวด์...ถึงแม้ว่าจะรู้ว่าขึ้นมาจากอะไรก็เถอะ...(งงมะคับ)
ขอร่วมแสดงความเห็นครับ

ก็ต้องให้มันเกิดก่อน ถึงจะรู้ครับ

:D

เคยอ่านเขาบอกว่า

Leading indicator เอาไว้ทำนาย Turning poiint ของ Business cycle
Coincident indicator เอาไว้บอก status ของ Business cycle
Lagging indicator เอาไว้ confirm ครับ


ส่วน Coincident  ก็ต้องดู บางตำรา เขาบอกว่า มี 4 index ถ้า recovery ก็ต้องขึ้นทั้ง 4 index ถ้า recession ก็ต้องลงทั้ง 4 index ครับ ถ้าจำไม่ผิดก็มี

income,sale,output,employment
“Laughter is timeless. Imagination has no age. And dreams are forever.” ― Walt Disney Company
noooon010
Verified User
โพสต์: 2712
ผู้ติดตาม: 0

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์ที่ 284

โพสต์

:D พี่คิดเหมือนน้องมาร์ช (kotaro) อ่ะครับ
อนาคตมันบอกยาก
ก็ต้องเฝ้าระวังกันไป ถ้ากลัวว่าเศรษฐกิจมันจะ crash ลงไปอีก

ลงทุนในบริษัทที่เรารู้จัก และเป็นบริษัทที่ตรงกับ criteria ของเรา
น่าจะสบายใจที่สุดนะครับ
อย่าลืมให้เวลากับครอบครัว และสังคมรอบๆข้างของคุณนะครับ

มีสติ และมีความสุขกับการลงทุนนะครับผม


นักลงทุนที่เก่งที่สุดมิใช่คนที่ซื้อขายไวที่สุด
แต่คือคนที่นำสติกลับมาได้เร็วที่สุด
หลายครั้งส่งคำสั่งซื้อทางไปรษณีย์ได้ผลตอบแทนมากกว่าซื้อผ่านnetหากเราขาดสติ
mprandy
Verified User
โพสต์: 1992
ผู้ติดตาม: 0

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์ที่ 285

โพสต์

ท่าน hongvalue จอมยุทธฟันโฟลว์ เขียน:
ผมเรียกหมอด้าว่า

superman ครับ
ไม่ขอรับคำชมครับ รับไม่ได้ :la:
ระดับนั้นมันต้อง ท่านประธาน, ท่านสุมาอี้, ท่านลูกอิสาน, ท่านเฮียพอใจ, ท่านเฮียบู, ท่านพระอาจารย์แม็ค และอีกหลาย ๆ ท่านที่กล่าวนามได้ไม่หมด
ไม่สน return rate เยอะ, ขอแค่ financial freedom ภายใน 14 ปีก็พอ..
------------------------
mprandy
Verified User
โพสต์: 1992
ผู้ติดตาม: 0

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์ที่ 286

โพสต์

tanapol เขียน:ขอถามอ.mprandy นะค๊าบบบบบบบ

1.m0, m1, m2, m3... ทำไมเค้าถึงเลือก m2 เป็นการดูเงินในระบบล่ะครับ
จะให้ดีที่สุด ก็ต้องเป็น M3 สิครับ เพียงแต่ว่า M3 มันรวมถึงเงินสกุลนั้น ๆ ที่อยู่นอกประเทศด้วย ซึ่งอาจจะไม่ได้สะท้อนปริมาณเงินในระบบจริง ๆ (เช่นเงิน $US แต่อยู่ในเมืองไทย) และ Fed แกก็เลิกประกาศข้อมูล M3 มาหลายปีแล้ว เลยไม่มีใครล่วงรู้ แม้จะมีบางสถาบันพยายามคาดเดาอยู่บ้าง
tanapol เขียน:2.t-bill กับ 10 yr treasury rate มันน่าจะใช้แทนกันได้ปะครับ... อาจารย์คิดว่าไงครับ
ไม่ได้ครับ T-bill เป็นตราสารหนี้ระยะสั้น แต่ 10yr (T-note) เป็นตราสารหนี้ระยะยาว แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยมันควรจะล้อกันไป แต่ไม่จำเป็นต้องสัมพันธ์กัน

สถานการณ์อัตราดอกเบี้ยตอนนี้น่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีของสภาวะที่ "ไม่ค่อยปกติ" ในตลาดตราสารหนี้
tanapol เขียน:3.leading indicator ที่ขึ้นมา...จะรู้ได้ไงว่าไม่ใช่แค่รีบาวด์...ถึงแม้ว่าจะรู้ว่าขึ้นมาจากอะไรก็เถอะ...(งงมะคับ)
จะรู้ได้แน่ ๆ ว่าไม่ใช่แค่เด้งหลอก ๆ ก็ต้องดูกันต่อเนื่องหลายเดือนครับ ตอนปีที่แล้วก็มีเด้งหลอกให้เห็นเป็นตัวอย่าง แต่ถ้าจะดูกันจริง ๆ ก็ยังพอบอกได้ โดยการดูที่ component ของ LEI ว่าอะไรที่ดีดขึ้น อะไรไม่ขึ้น ถ้ามันเป็นแค่ ดัชนี S&P, อัตราดอกเบี้ย หรือปริมาณเงิน อาจจะไม่ยั่งยืน แต่ถ้าเป็นพวกคำสั่งซื้อ, อัตราค่าแรง ฯลฯ อันนั้นจะเป็นรูปธรรมชัดเจนกว่า

รูปภาพ
ไม่สน return rate เยอะ, ขอแค่ financial freedom ภายใน 14 ปีก็พอ..
------------------------
tanapol
Verified User
โพสต์: 919
ผู้ติดตาม: 0

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์ที่ 287

โพสต์

กราบขอบพระคุณ อ.mprandy มากนะค๊าบ...รวดเร็วมากๆ
:bow:  :bow:  :bow:

สมแล้ว...ที่เป็นเหรียญทองของรุ่น :B

ที่ชมอาจานมากๆ...เพราะมีเรื่องถามต่ออะคับ...  :mrgreen:

1.ECRI's U.S. Long Leading Index (USLLI), ECRI's Weekly Leading Index (WLI) มันแตกต่าง leading indicator ทั้งสิบยังไงอะคับ...และอาจารย์คิดว่า...อย่างใดน่าจะดีกว่ากัน

2.ทำไมค่าเงินปอนด์...เมื่อเทียบกับเงินบาท...มันอ่อนลงมากเมื่อหลายเดือนก่อน(เคยถึง 47) และแข็งขึ้นมากช่วงนี้(รู้สึกจะ 55)

ขอบคุณค๊าบบบบ :P
ศิษย์เซียน007
Verified User
โพสต์: 1254
ผู้ติดตาม: 0

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์ที่ 288

โพสต์

วันนี้ถ้าความคิดผมถูก การSHORT TFEX ซักหน่อยในวันนี้อาจทำกำไรได้บ้างครับ แม้การshortแถว400ปลายๆจะได้บทเรียนมาบ้างแล้วครับ :oops:
i_sarut
Verified User
โพสต์: 1808
ผู้ติดตาม: 0

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์ที่ 289

โพสต์

พี่ mprandy ครับ

การที่จะจัดตั้ง Sovereign wealth fund (SWF) ได้นี่ต้องมีเกณฑ์อะไรบ้างหรอครับ เพราะตอนนี้เห็นแค่ราวๆ 21 ประเทศที่มีกองทุนนี้

http://en.wikipedia.org/wiki/List_of_co ... alth_funds

แล้วประเทศไทยสามารถตั้งได้รึเปล่าครับ

ส่วนตัวพี่ mprandy คิดว่ากองทุนนี้จะสามารถสร้างประโยชน์ให้กับประเทศไทยได้หรือเปล่าครับ  :?:
"Risk comes from not knowing what you're doing" - Warren Buffet

สุดยอดของความซับซ้อนคือความเรียบง่าย

http://www.sarut-homesite.net/
mprandy
Verified User
โพสต์: 1992
ผู้ติดตาม: 0

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์ที่ 290

โพสต์

tanapol เขียน: 1.ECRI's U.S. Long Leading Index (USLLI), ECRI's Weekly Leading Index (WLI) มันแตกต่าง leading indicator ทั้งสิบยังไงอะคับ...และอาจารย์คิดว่า...อย่างใดน่าจะดีกว่ากัน
ดัชนีก็คือดัชนีครับ ถ้ามันเป็น leading indicator มันก็ทำหน้าที่เหมือนกัน อาจจะต่างกันบ้างเล็กน้อยก็คงเป็นจาก component ที่ประกอบกันเป็นดัชนีนั้น ๆ และระยะเวลาค่าเฉลี่ย หรือการถ่วงน้ำหนัก รวมถึงสูตรคำนวณที่คงไม่มีใครล่วงรู้ได้

อย่างไรก็ดี หน้าที่ของมันคงเหมือนกัน คือเป็นดัชนีที่นำภาวะเศรษฐกิจจริง ดังนั้น มันควรจะไปด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นค่ายไหน
tanapol เขียน:2.ทำไมค่าเงินปอนด์...เมื่อเทียบกับเงินบาท...มันอ่อนลงมากเมื่อหลายเดือนก่อน(เคยถึง 47) และแข็งขึ้นมากช่วงนี้(รู้สึกจะ 55)
อันนี้ไม่ทราบเหมือนกันครับ ผมก็ไม่ได้ตาม เท่าที่ดูน่าจะสัมพันธ์กันดีกับวิกฤติการเงินครั้งนี้ ที่มีผลกระทบไปยังอังกฤษไม่น้อยด้วย มีแบงค์ล้ม สภาพคล่องหดหาย หนี้เสียอสังหา ฯลฯ ไม่ต่างกับอเมริกา

ที่ผลต่อค่าเงินต่างกัน ก็ตรงที่สกุลเงิน เพราะคนเชื่อใน USD มากกว่า GBP พอตกอยู่ในช่วงวิกฤติ คนหาที่หลบภัย เลยมองไปที่ USD เป็นที่พึ่งแห่งสุดท้าย ค่าเงินมันเลยแข็งขึ้น
i_sarut เขียน:การที่จะจัดตั้ง Sovereign wealth fund (SWF) ได้นี่ต้องมีเกณฑ์อะไรบ้างหรอครับ เพราะตอนนี้เห็นแค่ราวๆ 21 ประเทศที่มีกองทุนนี้

แล้วประเทศไทยสามารถตั้งได้รึเปล่าครับ

ส่วนตัวพี่ mprandy คิดว่ากองทุนนี้จะสามารถสร้างประโยชน์ให้กับประเทศไทยได้หรือเปล่าครับ
การตั้ง SWF ที่ผ่านมาไม่มีกฏเกณฑ์อะไรทั้งสิ้นครับ ขึ้นกับว่าหน่วยงานผู้มีอำนาจของประเทศนั้น ๆ จะจัดตั้งขึ้นมาในรูปไหน และบริหารงานอย่างไรมากกว่า ประเทศไหนก็ตั้งได้ ถ้ามั่นใจว่ามีเงินเหลือเพียงพอ รวมถึงประเทศไทยด้วย และจะสร้างประโยชน์หรือไม่ ก็ขึ้นกับวิสัยทัศน์ของผู้นำ และผู้บริหาร รวมถึงฝีมือและธรรมาภิบาลของผู้จัดการกองทุนเป็นหลักครับ

ตัวอย่างที่ดีที่สุดของ SWF และถือเป็น prototype ที่ใคร ๆ ก็อยากเอาเป็นแบบอย่างก็คือ SWF ของสิงคโปร์ไงครับ ทั้ง GIC (และ Temasek ที่เขาว่าตัวเองไม่ใช่ SWF แต่ต้นกำเนิดก็ไม่ต่างกันเท่าไหร่)
ไม่สน return rate เยอะ, ขอแค่ financial freedom ภายใน 14 ปีก็พอ..
------------------------
i_sarut
Verified User
โพสต์: 1808
ผู้ติดตาม: 0

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์ที่ 291

โพสต์

สิงคโปร์มีตั้ง 2 กองทุน  :shock:

เพิ่งสังเกต ตอนแรกนึกว่า temasek = GIC ซะอีก   :oops:

ขอบคุณครับ
"Risk comes from not knowing what you're doing" - Warren Buffet

สุดยอดของความซับซ้อนคือความเรียบง่าย

http://www.sarut-homesite.net/
ภาพประจำตัวสมาชิก
dome@perth
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4740
ผู้ติดตาม: 0

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์ที่ 292

โพสต์

เข้ามาคารวะ หมอด้า mprandy ครับ รู้ทุกเรื่องจริงๆ

ตามอ่านทุกโพสต์ อย่างน้อย 2 รอบ
เผื่อความรู้จะได้ซึมเข้ากะโหลกอันหนาๆของผมบ้าง

ให้ไปสามคำนับครับ :bow:  :bow:  :bow:
"ไม่มีสุตรสำเร็จ ไม่มีทางลัด ไม่ใช่แค่โชค
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง
"
ภาพประจำตัวสมาชิก
por_jai
Verified User
โพสต์: 14338
ผู้ติดตาม: 0

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์ที่ 293

โพสต์

:8) ขอดันกระทู้ขึ้นข้างบนๆหน่อย
     ผมกลับมาอ่านอีกรอบ
     เป็นรอบที่ห้าหรือหกแล้วก็ไม่แน่ใจ
     ยังเก็บเนื้อหาได้ไม่หมดเลยครับ
กรูเก่ง กิเลสเก่งกว่า
ภาพประจำตัวสมาชิก
por_jai
Verified User
โพสต์: 14338
ผู้ติดตาม: 0

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์ที่ 294

โพสต์

:8) อาจารย์ครับสถานการณ์ในรูปนี้ไปถึงไหนแล้วครับ

รูปภาพ
กรูเก่ง กิเลสเก่งกว่า
mprandy
Verified User
โพสต์: 1992
ผู้ติดตาม: 0

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์ที่ 295

โพสต์

por_jai เขียน::8) อาจารย์ครับสถานการณ์ในรูปนี้ไปถึงไหนแล้วครับ

รูปภาพ
ขอโทษอย่างยิ่งเลยเฮียที่มองข้ามกระทู้นี้ไป เลยไม่ได้เข้ามาตอบ

คำตอบก็ตามรูปครับ

รูปภาพ

LEI เด้งดึ๋งขึ้นมาได้แล้วเป็นเดือนที่ 2 (สำหรับของเดือน มิ.ย.จะประกาศปลายสัปดาห์นี้ ไม่ก็ต้นสัปดาห์หน้าครับ) ส่วน Co-incidental index (CEI) ยังคงลงต่อไปด้วยความชันน้อยลง และท้ายสุด Lagging index ยังคงลงต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง

แต่อันนี้มันเป็นภาพรวมนะครับ

ถ้าดูในรายละเอียดน่าจะดูดีกว่าของเดือนก่อนหน้า ที่มันขึ้นเพราะปริมาณเงิน (M2) และราคาหุ้น (S&P) เป็นหลัก แต่เดือน พ.ค. มันผงกหัวขึ้นมาเป็นบวกอยู่ 7 ใน 10 ตัว (ได้แก่ ดัชนีหุ้น, ปริมาณเงิน, สเปรดดอกเบี้ย, ความคาดหวังของผู้บริโภค, ใบอนุญาตก่อสร้าง, ดัชนีการส่งสินค้าจากผู้ผลิต และคำสั่งซื้อสินค้าใหม่) 4 อันแรกมันออกจะดู bogus ไปนิดเพราะไม่มีอะไรจับต้องได้เป็นชิ้นเป็นอัน ส่วน 3 ตัวหลังค่อยดูดีขึ้นมาหน่อย

ถ้าวิเคราะห์ตามนี้ แสดงว่าเศรษฐกิจของสหรัฐจะถึงจุดต่ำสุด (trough) ในระหว่างเดือน ตุลาคม ปีนี้ ถึงเดือน กรกฏาคม ปีหน้าครับ

คนที่มองโลกในแง่ร้ายก็จะแปลว่า น่าจะยังมีข่าวร้ายที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจสหรัฐต่อไปอีก เพราะยังไม่ถึงจุดต่ำสุด  :8) (คืออาจจะลากยาวไปเป็น U กว้าง ๆ หรือ L ไปเลย จนถึงปลายปีนี้หรือกลางปีหน้า)

คนที่มองโลกในแง่ดี ก็จะแปลว่า เราเห็นแสงสว่างจากปลายอุโมงค์แล้ว รีบซื้อกันเถอะพวกเรา :lovl:
ไม่สน return rate เยอะ, ขอแค่ financial freedom ภายใน 14 ปีก็พอ..
------------------------
ภาพประจำตัวสมาชิก
harlembeats
Verified User
โพสต์: 97
ผู้ติดตาม: 0

Re: ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์ที่ 296

โพสต์

เห็นช่วงนี้ตลาดหุ้นมันหน่วงๆ เลยมานั่งไล่เก็บความรู้ในอดีต

เก็บไว้ใช้ในยามโอกาสของจริงนั้นมาถึง

มาเจอกระทู้นี้แล้ว โอ้ววว ความรู้จ๋า พี่รักเทอ

ดังนั้นขอขอบคุณพี่ๆทั้งคนถามและตอบในกระทู้นี้นะคับ :D
bbgun
Verified User
โพสต์: 4
ผู้ติดตาม: 0

Re: ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์ที่ 297

โพสต์

เป็นประโยชน์มาก

ผู้เขียนหรือผู้รู้น่าจะมาแชร์กันต่อนะครับ