ศก.ไทยอ่วม"เครดิตส์ ลียองเนส์" ฟันธง ส่อติดลบ9% !!
- LOSO
- Verified User
- โพสต์: 2512
- ผู้ติดตาม: 0
ศก.ไทยอ่วม"เครดิตส์ ลียองเนส์" ฟันธง ส่อติดลบ9% !!
โพสต์ที่ 1
ศก.ไทยอ่วม"เครดิตส์ ลียองเนส์" ฟันธง ส่อติดลบ9% สศค.จัดเก็บรายได้วูบ 5เดือนต่ำกว่าคาด8.8หมื่นล.
ศก.โลกพ่นพิษ "เครดิตส์ ลียองเนส์" บ.หลักทรัพย์รายยักษ์อันดับโลก ออกบทวิเคราะห์ คาดศก.ไทยปีนี้มีสิทธิติดลบ 9% ยกตัวเลขจีดีพีไตรมาส4-ส่งออกม.ค.เลวร้ายสุดขีด ประกอบกับตลาดส่งออกไม่เอื้อ แต่ไม่ถึงขั้นวิกฤตเท่าปี40 สศค.เผยจัดเก็บรายได้5 เดือน ต่ำกว่าประมาณการณ์8.8หมื่นล.
"เครดิต ลียองเนส์" (ซีแอลเอสเอ) บริษัทหลักทรัพย์ยักษ์ใหญ่รายหนึ่งของโลก ออกบทวิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจประเทศไทย เมื่อวันที่ 10 มีนาคมว่า ไทยกำลังเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจติดลบอย่างมากในปีนี้ โดยบริษัทปรับคาดการณ์ใหม่จากเดิมจะติดลบ 5 % เป็นติดลบ 9 % ซึ่งเป็นการติดลบเกือบเท่าปี 2541 สาเหตุเพราะในการประเมินครั้งแรกต้นเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งในช่วงนั้นผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาสที่ 4 ปีที่แล้ว ของไทยยังไม่ออกมา แต่เมื่อปรากฏว่า จีดีพีไตรมาส 4 ออกมาติดลบถึง 6.1 % เมื่อเทียบไตรมาสต่อไตรมาส และหากคำนวณเทียบปีต่อปีเท่ากับว่าติดลบ 22 % จากสถานการณ์ดังกล่าวประกอบกับการส่งออกในเดือนมกราคมปีนี้เลวร้ายอย่างสุด ขีด ส่งสัญญาณว่าไตรมาสแรกปีนี้จีดีพีจะหดตัวรุนแรงอีกครั้ง
รัฐบาลไทยได้ปรับคาดการณ์เศรษฐกิจปีนี้ใหม่เป็น 0 % แต่เมื่อพิจารณาจากปัจจัยทางเทคนิคดังกล่าวข้างต้นแล้ว การที่จีดีพีจะอยู่ที่ 0 % ได้ต้องหมายความว่า ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้เศรษฐกิจไทยต้องพลิกตัวกลับมาเป็นบวกอย่างมาก ซึ่งเมื่อพิจารณาจากภาวะเศรษฐกิจโลกและตลาดส่งออกที่ทรุดตัวอย่างยาวนานตลอด ปีนี้ไปจนถึงปีหน้าแล้ว เป็นไปไม่ได้ที่ตลอดปีนี้เศรษฐกิจไทยจะสามารถประคองตัวอยู่ที่ 0 %
เครดิต ลียองเนส์ ระบุว่า บ่อยครั้งที่ตัวเลขจีดีพีชักนำให้เกิดความเข้าใจผิด แต่ในกรณีของไทยจะเห็นว่าตัวเลขไตรมาสที่ 4 อ่อนแอทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ เพราะการส่งออกติดลบอย่างรุนแรง นอกจากนี้ความต้องการบริโภคภายในก็ไม่สามารถชดเชยการส่งออกได้อย่างมี ประสิทธิภาพ การใช้จ่ายของภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจก็ถูกถ่วงโดยความต้องการบริโภคของ ภาคเอกชนที่ลดลงอย่างมากจนติดลบ 0.1 % เมื่อเทียบไตรมาสต่อไตรมาส ส่วนการลงทุนของภาคเอกชนก็ติดลบ 2.5 %
การติดลบอย่างรุนแรงของเศรษฐกิจไทยในปีนี้ เสี่ยงที่จะทำให้เกิดการว่างงานมากขึ้น,เกิดความไม่สงบทางการเมืองรอบใหม่, ขาดดุลงบประมาณมากขึ้นและอาจนำไปสู่การถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือของตราสาร หนี้ที่เป็นสกุลเงินต่างประเทศ
อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากวิกฤตการเงินน้อยกว่าประเทศเศรษฐกิจใหม่อื่นๆ เช่นยุโรปตะวันออก เนื่องจากมีหนี้ต่างประเทศระยะสั้นต่ำ ทำให้ไม่เผชิญกับวิกฤตในระดับเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นในปี 2540-2541 แม้ว่า เศรษฐกิจจะติดลบมากเกือบเท่าปี 2540-2541 ก็ตาม แต่ถึงกระนั้นก็ตามความเห็นไม่ตรงกันของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ทำให้รู้สึกกังวลว่าจะทำให้เกิดภาวะเงินทุนไหลออก
บทวิเคราะห์เครดิต ลียองเนส์ชี้ด้วยว่า ดอกเบี้ยนโยบายของไทยถูกลดไปแล้ว 2.25 % และมีแนวโน้มว่าธปท.จะลดลงอีก 1 % ซึ่งจากองค์ประกอบของทั้งอัตราดอกเบี้ยต่ำ,การขาดดุลงบประมาณเพิ่มขึ้น,การ ตั้งงบประมาณขาดดุลมากขึ้น อีกทั้งความเสี่ยงทางการเมือง ทำให้บริษัทเชื่อว่าเงินบาทจะอ่อนค่าลงอีก 12 % ไปอยู่ที่ 41 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐภายในปลายปีนี้
เอเอฟพีรายงานว่า นายโดมินิค สเตราส์-คาห์น กรรมการผู้จัดการกองทุนระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ออกมาระบุว่า ปีนี้อาจเป็นปีแรกในรอบหลายสิบปีที่เศรษฐกิจโลกอาจต่ำกว่า 0 % เนื่องจากปัญหาที่ผสมกันหลายอย่างทั้งการที่สถาบันการเงินล้มละลาย,การทรุด ตัวของการบริโภคทั้งภาคครัวเรือนและธุรกิจทั่วโลก ทั้งนี้เมื่อเดือนที่แล้วนายสเตราส์-คาห์น ทำนายว่าเศรษฐกิจโลกปีนี้อาจจะอยู่ที่ 0 %
นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.)เปิดเผยถึงผลการจัดเก็บรายได้ รัฐบาลประจำเดือนกุมภาพันธ์ ว่าเก็บรายได้ 82,430 ล้านบาท ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 23,481 ล้านบาท ซึ่งส่งผลให้ 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2552 (ตุลาคม 2551-กุมภาพันธ์ 2552) จัดเก็บได้ 451,527 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 88,586 ล้านบาท โดยมีรายละเอียดสรุปได้ดังนี้ 1.เดือนกุมภาพันธ์ 2552 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 81,430 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณเป็นจำนวน 23,481 ล้านบาท หรือร้อยละ 22.2 (ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 29.1)
ภาษีที่จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการที่สำคัญ ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีรถยนต์ และอากรขาเข้า โดยภาษีมูลค่าเพิ่มจัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 14,231 ล้านบาท หรือร้อยละ 32.1 เนื่องจากภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการนำเข้าสินค้าต่ำกว่าประมาณการถึง ร้อยละ 50 ซึ่งสอดคล้องกับผลการจัดเก็บอากรขาเข้าที่ต่ำกว่าประมาณการ 2,627 ล้านบาท หรือร้อยละ 35.5 นอกจากนั้น ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการบริโภคในประเทศก็ต่ำกว่าประมาณการถึงร้อยละ 16.9 สำหรับภาษีรถยนต์จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 2,427 ล้านบาท หรือร้อยละ 47.6 เนื่องจากข่าวผู้ประกอบการอุตสาหกรรมรถยนต์ขอปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตรถ ยนต์ ส่งผลให้ผู้บริโภคชะลอการตัดสินใจซื้อออกไปก่อน
นายสมชัย กล่าวถึงการนำส่งรายได้เข้ารัฐของรัฐวิสาหกิจใน 5 เดือนแรกอยู่ที่ 27,268 ล้านบาท ต่ำกว่าเป้า 6,477 ล้านบาท คิดเป็น 19.2% ต่ำกว่าช่วงเดียวปีก่อน 32.9% โดยมีสาเหตุจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ขอเลื่อนการนำส่งรายได้ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ไม่สามารถนำส่งเงินปันผลได้
สำหรับการจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมกลางปีงบประมาณ 2552 จำนวน 1.167 แสนล้านบาทเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจนั้น นายบัณฑูร สุภัควณิช ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กล่าวว่า มี 19 หน่วยงานจาก 79 หน่วยงานรัฐได้จัดส่งรายละเอียดแผนงานการใช้จ่ายงบประมาณให้สำนักงบประมาณ พิจารณาแล้ว จึงเร่งรัดให้หน่วยงานที่เหลือจัดส่งโดยเร็ว เนื่องจากต้องพิจารณาให้เสร็จภายในวันที่ 13 มีนาคมนี้ จากนั้นจะสามารถจัดสรรงบฯถึงหน่วยงานได้ทันที โดยโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลน่าจะเริ่มได้ในช่วงปลายเดือนมีนาคม -กลางเดือนเมษายนนี้
นายบัณฑูร กล่าวว่า ในส่วนงบประมาณค้างท่อของส่วนราชการต่างๆนั้น ในสัปดาห์นี้เป็นต้นไปสำนักงานประมาณจะประสานกับหน่วยงานราชการที่ยังเบิก จ่ายล่าช้า โดยเฉพาะ 3 หน่วยงานหลัก คือกระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมถึงงบกลางปีของส่วนราชการต่างๆที่ยังพบว่าเกิดปัญหาล่าช้าในโครงการต่างๆ โดยเฉพาะงบเหลื่อมปีที่มีวงเงินถึง 1.9 แสนล้านบาท ทั้งนี้สำนักงบฯจะหารือกับส่วนราชการเหล่านั้นว่าโครงการที่ขอกันงบเหลื่อม ปีไว้นั้นจะดำเนินโครงการหรือไม่ หากโครงการไหนประเมินว่าไม่สามารถทำได้ จะนำงบเหลื่อมปีในโครงการนั้นไปปรับใช้กับโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจอื่นๆของ รัฐบาล เช่น การช่วยเหลือภาคอุตสาหกรรม การฝึกอบรมแรงงานของรัฐบาล เป็นต้น
ด้านนายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า เห็นชอบอนุมัติกรอบการเจรจากู้เงินเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาโครงสร้าง พื้นฐาน ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และมอบให้กระทรวงการคลังดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้ที่ เกี่ยวข้องก่อนนำเสนอสัญญาเงินกู้ และเอกสารให้รัฐสภาเพื่อให้ความเห็นชอบตามมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญ นอกจากนี้มีมติเห็นชอบแผนการปรับปรุงการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2552 ครั้งที่ 2 ที่มีวงเงินรวมของแผนเพิ่มขึ้นจาก 1,195,191.89 ล้านบาท เป็น 1,312,882.70 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 117,690.81 ล้านบาท ส่งผลให้กระทรวงการคลังจำเป็นจะต้องปรับกรอบวงเงินรวมของแผนการบริหารหนี้ สาธารณะ จาก 1.2 ล้านล้านบาท เป็น 1.4 ล้านล้านบาท เพื่อให้วงเงินสำรองเผื่อไว้อีก 10% ของวงเงินรวม ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ การเพิ่มหนี้สาธารณะเพื่อให้สอดคล้องกับการจัดทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ประจำปีงบประมาณ 2552 วงเงิน 1.167 แสนล้านบาท นายพุทธิพงษ์ กล่าว
รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับกรอบการเจรจากู้เงินที่ครม.เห็นชอบ มีวงเงินประมาณ 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 70,000 ล้านบาท โดยจะขอกู้เงินจาก ธนาคารโลก วงเงิน 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) และองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (ไจก้า) แห่งละ 500 ล้านเหรียญสหรัฐ
http://www.matichon.co.th/news_detail.p ... 0&catid=05
ศก.โลกพ่นพิษ "เครดิตส์ ลียองเนส์" บ.หลักทรัพย์รายยักษ์อันดับโลก ออกบทวิเคราะห์ คาดศก.ไทยปีนี้มีสิทธิติดลบ 9% ยกตัวเลขจีดีพีไตรมาส4-ส่งออกม.ค.เลวร้ายสุดขีด ประกอบกับตลาดส่งออกไม่เอื้อ แต่ไม่ถึงขั้นวิกฤตเท่าปี40 สศค.เผยจัดเก็บรายได้5 เดือน ต่ำกว่าประมาณการณ์8.8หมื่นล.
"เครดิต ลียองเนส์" (ซีแอลเอสเอ) บริษัทหลักทรัพย์ยักษ์ใหญ่รายหนึ่งของโลก ออกบทวิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจประเทศไทย เมื่อวันที่ 10 มีนาคมว่า ไทยกำลังเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจติดลบอย่างมากในปีนี้ โดยบริษัทปรับคาดการณ์ใหม่จากเดิมจะติดลบ 5 % เป็นติดลบ 9 % ซึ่งเป็นการติดลบเกือบเท่าปี 2541 สาเหตุเพราะในการประเมินครั้งแรกต้นเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งในช่วงนั้นผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาสที่ 4 ปีที่แล้ว ของไทยยังไม่ออกมา แต่เมื่อปรากฏว่า จีดีพีไตรมาส 4 ออกมาติดลบถึง 6.1 % เมื่อเทียบไตรมาสต่อไตรมาส และหากคำนวณเทียบปีต่อปีเท่ากับว่าติดลบ 22 % จากสถานการณ์ดังกล่าวประกอบกับการส่งออกในเดือนมกราคมปีนี้เลวร้ายอย่างสุด ขีด ส่งสัญญาณว่าไตรมาสแรกปีนี้จีดีพีจะหดตัวรุนแรงอีกครั้ง
รัฐบาลไทยได้ปรับคาดการณ์เศรษฐกิจปีนี้ใหม่เป็น 0 % แต่เมื่อพิจารณาจากปัจจัยทางเทคนิคดังกล่าวข้างต้นแล้ว การที่จีดีพีจะอยู่ที่ 0 % ได้ต้องหมายความว่า ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้เศรษฐกิจไทยต้องพลิกตัวกลับมาเป็นบวกอย่างมาก ซึ่งเมื่อพิจารณาจากภาวะเศรษฐกิจโลกและตลาดส่งออกที่ทรุดตัวอย่างยาวนานตลอด ปีนี้ไปจนถึงปีหน้าแล้ว เป็นไปไม่ได้ที่ตลอดปีนี้เศรษฐกิจไทยจะสามารถประคองตัวอยู่ที่ 0 %
เครดิต ลียองเนส์ ระบุว่า บ่อยครั้งที่ตัวเลขจีดีพีชักนำให้เกิดความเข้าใจผิด แต่ในกรณีของไทยจะเห็นว่าตัวเลขไตรมาสที่ 4 อ่อนแอทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ เพราะการส่งออกติดลบอย่างรุนแรง นอกจากนี้ความต้องการบริโภคภายในก็ไม่สามารถชดเชยการส่งออกได้อย่างมี ประสิทธิภาพ การใช้จ่ายของภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจก็ถูกถ่วงโดยความต้องการบริโภคของ ภาคเอกชนที่ลดลงอย่างมากจนติดลบ 0.1 % เมื่อเทียบไตรมาสต่อไตรมาส ส่วนการลงทุนของภาคเอกชนก็ติดลบ 2.5 %
การติดลบอย่างรุนแรงของเศรษฐกิจไทยในปีนี้ เสี่ยงที่จะทำให้เกิดการว่างงานมากขึ้น,เกิดความไม่สงบทางการเมืองรอบใหม่, ขาดดุลงบประมาณมากขึ้นและอาจนำไปสู่การถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือของตราสาร หนี้ที่เป็นสกุลเงินต่างประเทศ
อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากวิกฤตการเงินน้อยกว่าประเทศเศรษฐกิจใหม่อื่นๆ เช่นยุโรปตะวันออก เนื่องจากมีหนี้ต่างประเทศระยะสั้นต่ำ ทำให้ไม่เผชิญกับวิกฤตในระดับเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นในปี 2540-2541 แม้ว่า เศรษฐกิจจะติดลบมากเกือบเท่าปี 2540-2541 ก็ตาม แต่ถึงกระนั้นก็ตามความเห็นไม่ตรงกันของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ทำให้รู้สึกกังวลว่าจะทำให้เกิดภาวะเงินทุนไหลออก
บทวิเคราะห์เครดิต ลียองเนส์ชี้ด้วยว่า ดอกเบี้ยนโยบายของไทยถูกลดไปแล้ว 2.25 % และมีแนวโน้มว่าธปท.จะลดลงอีก 1 % ซึ่งจากองค์ประกอบของทั้งอัตราดอกเบี้ยต่ำ,การขาดดุลงบประมาณเพิ่มขึ้น,การ ตั้งงบประมาณขาดดุลมากขึ้น อีกทั้งความเสี่ยงทางการเมือง ทำให้บริษัทเชื่อว่าเงินบาทจะอ่อนค่าลงอีก 12 % ไปอยู่ที่ 41 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐภายในปลายปีนี้
เอเอฟพีรายงานว่า นายโดมินิค สเตราส์-คาห์น กรรมการผู้จัดการกองทุนระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ออกมาระบุว่า ปีนี้อาจเป็นปีแรกในรอบหลายสิบปีที่เศรษฐกิจโลกอาจต่ำกว่า 0 % เนื่องจากปัญหาที่ผสมกันหลายอย่างทั้งการที่สถาบันการเงินล้มละลาย,การทรุด ตัวของการบริโภคทั้งภาคครัวเรือนและธุรกิจทั่วโลก ทั้งนี้เมื่อเดือนที่แล้วนายสเตราส์-คาห์น ทำนายว่าเศรษฐกิจโลกปีนี้อาจจะอยู่ที่ 0 %
นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.)เปิดเผยถึงผลการจัดเก็บรายได้ รัฐบาลประจำเดือนกุมภาพันธ์ ว่าเก็บรายได้ 82,430 ล้านบาท ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 23,481 ล้านบาท ซึ่งส่งผลให้ 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2552 (ตุลาคม 2551-กุมภาพันธ์ 2552) จัดเก็บได้ 451,527 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 88,586 ล้านบาท โดยมีรายละเอียดสรุปได้ดังนี้ 1.เดือนกุมภาพันธ์ 2552 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 81,430 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณเป็นจำนวน 23,481 ล้านบาท หรือร้อยละ 22.2 (ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 29.1)
ภาษีที่จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการที่สำคัญ ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีรถยนต์ และอากรขาเข้า โดยภาษีมูลค่าเพิ่มจัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 14,231 ล้านบาท หรือร้อยละ 32.1 เนื่องจากภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการนำเข้าสินค้าต่ำกว่าประมาณการถึง ร้อยละ 50 ซึ่งสอดคล้องกับผลการจัดเก็บอากรขาเข้าที่ต่ำกว่าประมาณการ 2,627 ล้านบาท หรือร้อยละ 35.5 นอกจากนั้น ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการบริโภคในประเทศก็ต่ำกว่าประมาณการถึงร้อยละ 16.9 สำหรับภาษีรถยนต์จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 2,427 ล้านบาท หรือร้อยละ 47.6 เนื่องจากข่าวผู้ประกอบการอุตสาหกรรมรถยนต์ขอปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตรถ ยนต์ ส่งผลให้ผู้บริโภคชะลอการตัดสินใจซื้อออกไปก่อน
นายสมชัย กล่าวถึงการนำส่งรายได้เข้ารัฐของรัฐวิสาหกิจใน 5 เดือนแรกอยู่ที่ 27,268 ล้านบาท ต่ำกว่าเป้า 6,477 ล้านบาท คิดเป็น 19.2% ต่ำกว่าช่วงเดียวปีก่อน 32.9% โดยมีสาเหตุจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ขอเลื่อนการนำส่งรายได้ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ไม่สามารถนำส่งเงินปันผลได้
สำหรับการจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมกลางปีงบประมาณ 2552 จำนวน 1.167 แสนล้านบาทเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจนั้น นายบัณฑูร สุภัควณิช ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กล่าวว่า มี 19 หน่วยงานจาก 79 หน่วยงานรัฐได้จัดส่งรายละเอียดแผนงานการใช้จ่ายงบประมาณให้สำนักงบประมาณ พิจารณาแล้ว จึงเร่งรัดให้หน่วยงานที่เหลือจัดส่งโดยเร็ว เนื่องจากต้องพิจารณาให้เสร็จภายในวันที่ 13 มีนาคมนี้ จากนั้นจะสามารถจัดสรรงบฯถึงหน่วยงานได้ทันที โดยโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลน่าจะเริ่มได้ในช่วงปลายเดือนมีนาคม -กลางเดือนเมษายนนี้
นายบัณฑูร กล่าวว่า ในส่วนงบประมาณค้างท่อของส่วนราชการต่างๆนั้น ในสัปดาห์นี้เป็นต้นไปสำนักงานประมาณจะประสานกับหน่วยงานราชการที่ยังเบิก จ่ายล่าช้า โดยเฉพาะ 3 หน่วยงานหลัก คือกระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมถึงงบกลางปีของส่วนราชการต่างๆที่ยังพบว่าเกิดปัญหาล่าช้าในโครงการต่างๆ โดยเฉพาะงบเหลื่อมปีที่มีวงเงินถึง 1.9 แสนล้านบาท ทั้งนี้สำนักงบฯจะหารือกับส่วนราชการเหล่านั้นว่าโครงการที่ขอกันงบเหลื่อม ปีไว้นั้นจะดำเนินโครงการหรือไม่ หากโครงการไหนประเมินว่าไม่สามารถทำได้ จะนำงบเหลื่อมปีในโครงการนั้นไปปรับใช้กับโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจอื่นๆของ รัฐบาล เช่น การช่วยเหลือภาคอุตสาหกรรม การฝึกอบรมแรงงานของรัฐบาล เป็นต้น
ด้านนายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า เห็นชอบอนุมัติกรอบการเจรจากู้เงินเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาโครงสร้าง พื้นฐาน ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และมอบให้กระทรวงการคลังดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้ที่ เกี่ยวข้องก่อนนำเสนอสัญญาเงินกู้ และเอกสารให้รัฐสภาเพื่อให้ความเห็นชอบตามมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญ นอกจากนี้มีมติเห็นชอบแผนการปรับปรุงการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2552 ครั้งที่ 2 ที่มีวงเงินรวมของแผนเพิ่มขึ้นจาก 1,195,191.89 ล้านบาท เป็น 1,312,882.70 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 117,690.81 ล้านบาท ส่งผลให้กระทรวงการคลังจำเป็นจะต้องปรับกรอบวงเงินรวมของแผนการบริหารหนี้ สาธารณะ จาก 1.2 ล้านล้านบาท เป็น 1.4 ล้านล้านบาท เพื่อให้วงเงินสำรองเผื่อไว้อีก 10% ของวงเงินรวม ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ การเพิ่มหนี้สาธารณะเพื่อให้สอดคล้องกับการจัดทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ประจำปีงบประมาณ 2552 วงเงิน 1.167 แสนล้านบาท นายพุทธิพงษ์ กล่าว
รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับกรอบการเจรจากู้เงินที่ครม.เห็นชอบ มีวงเงินประมาณ 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 70,000 ล้านบาท โดยจะขอกู้เงินจาก ธนาคารโลก วงเงิน 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) และองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (ไจก้า) แห่งละ 500 ล้านเหรียญสหรัฐ
http://www.matichon.co.th/news_detail.p ... 0&catid=05
ความพยายามไม่มี ปัญญาไม่เกิด
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11443
- ผู้ติดตาม: 0
ศก.ไทยอ่วม"เครดิตส์ ลียองเนส์" ฟันธง ส่อติดลบ9% !!
โพสต์ที่ 2
ขอบคุณมากครับ
เหตุการณ์ปีนี้ กลุ่มที่ได้รับผลกระทบช่างตรงข้ามกับช่วงปี 40
ในช่วงปี 40 สถาบันการเงินของไทยล้มไปหลายแห่ง บริษัทยักษ์ใหญ่ต่างๆประสบปัญหาหนี้เพิ่มขึ้นเท่าตัวอย่างกระทันหัน แต่ผู้ส่งออกได้รับผลดีอย่างมากมาย จากค่าเงินบาทที่ลดลง
แต่ครั้งนี้ สถาบันการเงินของไทยยังคงมั่นคง บริษัทต่างๆก็ยังมีหนี้ไม่มากนัก แต่ที่ได้รับผลกระทบเต็มๆเป็นผู้ส่งออกทั้งหลาย
เหตุการณ์ปีนี้ กลุ่มที่ได้รับผลกระทบช่างตรงข้ามกับช่วงปี 40
ในช่วงปี 40 สถาบันการเงินของไทยล้มไปหลายแห่ง บริษัทยักษ์ใหญ่ต่างๆประสบปัญหาหนี้เพิ่มขึ้นเท่าตัวอย่างกระทันหัน แต่ผู้ส่งออกได้รับผลดีอย่างมากมาย จากค่าเงินบาทที่ลดลง
แต่ครั้งนี้ สถาบันการเงินของไทยยังคงมั่นคง บริษัทต่างๆก็ยังมีหนี้ไม่มากนัก แต่ที่ได้รับผลกระทบเต็มๆเป็นผู้ส่งออกทั้งหลาย
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
- กาวตราช้าง
- Verified User
- โพสต์: 179
- ผู้ติดตาม: 0
ศก.ไทยอ่วม"เครดิตส์ ลียองเนส์" ฟันธง ส่อติดลบ9% !!
โพสต์ที่ 3
ว้าว :roll:
เล่นเยอะก่าของคุณโอฬารซะอีก เกทับกันเห็นๆ
เล่นเยอะก่าของคุณโอฬารซะอีก เกทับกันเห็นๆ
-
- Verified User
- โพสต์: 674
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ศก.ไทยอ่วม"เครดิตส์ ลียองเนส์" ฟันธง ส่อติดลบ9
โพสต์ที่ 5
เบื่อมุกนี้มากเลย ช่วงนี้เห็นใช้กันเยอะจังจีดีพีไตรมาส 4 ออกมาติดลบถึง 6.1 % เมื่อเทียบไตรมาสต่อไตรมาส และหากคำนวณเทียบปีต่อปีเท่ากับว่าติดลบ 22 %
ผมก็พูดได้ครับ
วันนี้หุ้น SCC ลบไป 4% และหากคำนวณเทียบเป็นต่อปีเท่ากับว่า SCC ติดลบ 99.9999999%
วันนี้ GDP ไทยติดลบ 4% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว หากคำนวณเทียบปีต่อปีจะเท่ากับว่าติดลย 99.999999%
ที่เศรษฐกิจมันแย่อยู่ทีกวันนี้ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะสื่อกับนักวิเคราะห์เนียแหละ พูดให้มันดูแย่เนี่ยเก่งนัก
- dome@perth
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4740
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ศก.ไทยอ่วม"เครดิตส์ ลียองเนส์" ฟันธง ส่อติดลบ9
โพสต์ที่ 6
เรานักลงทุนก็หวังอยากได้ยินแต่เรื่องดีๆ เช่นการเติบโต กำไร เพิ่ม ขยายงาน เพิ่มกำลังผลิต อะไรประมาณนี้fantasia เขียน: เบื่อมุกนี้มากเลย ช่วงนี้เห็นใช้กันเยอะจัง
ผมก็พูดได้ครับ
วันนี้หุ้น SCC ลบไป 4% และหากคำนวณเทียบเป็นต่อปีเท่ากับว่า SCC ติดลบ 99.9999999%
วันนี้ GDP ไทยติดลบ 4% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว หากคำนวณเทียบปีต่อปีจะเท่ากับว่าติดลย 99.999999%
ที่เศรษฐกิจมันแย่อยู่ทีกวันนี้ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะสื่อกับนักวิเคราะห์เนียแหละ พูดให้มันดูแย่เนี่ยเก่งนัก
ต้องทำใจอะครับ สื่อก็เป็นเหมือนกันทั่วโลก ขายข่าว :evil: นักวิเคราะห์ก็หาเรื่องมาคุย ให้มันเป็น story
"ไม่มีสุตรสำเร็จ ไม่มีทางลัด ไม่ใช่แค่โชค
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง"
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง"