สมอง กับ วัยเด็ก
-
- Verified User
- โพสต์: 20
- ผู้ติดตาม: 0
สมอง กับ วัยเด็ก
โพสต์ที่ 1
สมอง กับ วัยเด็ก
....... เด็กวัย 1-8 ขวบจะใช้สมองซีกขวาถึง 80 - 95% และค่อยๆลดลงเหลือเพียง 5 - 10% ในวัยผู้ใหญ่ ทำให้คนเราเมื่อเติบโตขึ้น จะจำเรื่องราวต่างๆในช่วง 1-8 ขวบไม่ค่อยได้ ความจริงแล้วความทรงจำเหล่านั้นไม่ได้หายไปไหน มันยังคงฝังอยู่ในจิตใต้สำนึก
ผู้ที่ใช้สมองซีกขวา ซึ่งเป็นสมองที่ทำงานเด่นในวัยเด็ก จะทำให้พวกเขามีความรู้สึกเป็นเด็กและอยากรู้อยากเห็นสูง กลับเป็นผลดีเพราะจินตนาการไม่ถูกจำกัด ประกอบกับสมองแบบเด็กจะไม่ค่อยมีกิเลส ตัณหาที่เร่าร้อน ผู้ประสบความสำเร็จในสาขาอาชีพต่างๆล้วนแล้วค้นพบความลับของสมองซีกขวา แม้ว่าพวกเขาจะไม่ได้อ่านหนังสือเล่มนี้ก็ตาม อาทิ เช่น บิลเกตต์ ไทเกอร์ วู๊ดส์ สตีเว่น สปีลเบิร์ก ทอม แฮงค์ เจ เค โรวลิ่ง นิวตัน เอดิสัน ฯลฯ รวมไปถึง ปิคาสโซ่ จิตรกรระดับโลกเคยบอกว่า ที่เขาสร้างผลงานได้ขนาดนั้น เพราะยังเหลือความเป็นเด็กอยู่มาก ความมีศิลปะฝังอยู่ในใจเด็กทุกคน แต่ปัญหาก็คือ เมื่อเติบโตขึ้น พวกเขาไม่สามารถรักษาความเป็นเด็กนั้นไว้ได้
โธมัส เอดิสัน บอกว่า ที่เขาประดิษฐ์สิ่งต่างๆได้มากมายขนาดนี้ เพราะยังมีความเป็นเด็กเหลืออยู่ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ก็เช่นเดียวกัน เคยเขียนไว้มีความหมายว่า..... คนเราเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ จะไม่มีใครคิดถึงเรื่องเวลายืดหดได้อีกเลย มันเป็นความคิดของเด็กเท่านั้น แต่โชคดีที่หัวผมช้า ผมจึงเพิ่งมาสงสัยเรื่องเวลายืดหด เอาเมื่อตอนโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว
เด็กช่างสงสัยคือเด็กฉลาด เด็กที่สงสัยว่า ทำไมปลามันถึงหายใจได้ในน้ำ โตขึ้นเขาจะเก่งชีววิทยา เด็กที่สงสัยว่า ทำไมลูกโป่งถึงลอยได้ โตขึ้นเขาจะเก่งฟิสิกส์ เด็กที่สงสัยว่า ทำไมเกลือถึงเค็ม โตขึ้นเขาจะเก่งเคมี ฯลฯ และถ้าเขาไม่ถามเปล่าๆ ยังย้ำคิดย้ำทำ พยายามหาคำตอบอย่างต่อเนื่อง โตขึ้นเขาจะเป็นอัจฉริยะ ดังนั้น ถ้าลูกคุณกำลังสงสัยอะไร จงสนับสนุน ช่วยอัดความสงสัยนั้นลงไปจิตใต้สำนึก เช่น ....แม่ก็สงสัยอยู่เหมือนกันว่าทำไมลูกโป่งถึงลอยได้ ถ้าลูกรู้เมื่อไหร่ช่วยบอกแม่ด้วยนะ คนเก่ง......ความสงสัยนั้นจะถูกเก็บไว้ในสมองซีกขวา และเมื่อเหตุปัจจัยเหมาะสมไม่ว่าอีกกี่ปีข้างหน้า มีโอกาสได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์ ความสงสัยนั้นจะผุดขึ้นมากระตุ้นให้กระหายที่จะเรียนรู้ทันที เพราะความรู้สึกในสมองซีกขวาสามารถข้ามเวลาได้ (แต่เขาจะจำไม่ได้ว่าครั้งหนึ่งเคยสงสัยไว้เมื่อตอนอายุห้าขวบ)
ชาร์ล ดาร์วิน อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ และ เซอร์ไอแซค นิวตัน สามอภิมหาอัจฉริยะอันดับ 1 3 ของโลก เริ่มต้นชีวิตในวัยเด็กด้วยความผิดปกติ ทั้งดาร์วิน ไอน์สไตน์ และนิวตัน ถูกครูปรามาสว่า เป็นเด็กหัวทึบ ครูบางคนถึงขนาดบอกว่าปัญญาอ่อนกว่าเด็กทั่วไป เหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะ ช่วงนั้นพวกเขาไม่ใช้สมองซีกซ้ายเลย จึงมีปัญหาเรื่องการเรียนรู้และสื่อความหมาย เช่น การอ่าน การพูด การคำนวณ ฯลฯ ขนาดอายุหกขวบ ไอน์สไตน์ยังอ่านหนังสือไม่ค่อยออก พูดไม่เก่ง คำนวณคณิตศาสตร์ง่ายๆไม่ได้ แต่ ขณะนั้นสมองซีกขวาของเขา กำลังทำงานอย่างหนัก โดยที่คนภายนอกไม่เข้าใจ (ตัดตอนจากหนังสือ "เดอะท็อปซีเคร็ตII อ่านเพิ่มเติมที่ http://www.satabun.com/top2/index.htm)
....... เด็กวัย 1-8 ขวบจะใช้สมองซีกขวาถึง 80 - 95% และค่อยๆลดลงเหลือเพียง 5 - 10% ในวัยผู้ใหญ่ ทำให้คนเราเมื่อเติบโตขึ้น จะจำเรื่องราวต่างๆในช่วง 1-8 ขวบไม่ค่อยได้ ความจริงแล้วความทรงจำเหล่านั้นไม่ได้หายไปไหน มันยังคงฝังอยู่ในจิตใต้สำนึก
ผู้ที่ใช้สมองซีกขวา ซึ่งเป็นสมองที่ทำงานเด่นในวัยเด็ก จะทำให้พวกเขามีความรู้สึกเป็นเด็กและอยากรู้อยากเห็นสูง กลับเป็นผลดีเพราะจินตนาการไม่ถูกจำกัด ประกอบกับสมองแบบเด็กจะไม่ค่อยมีกิเลส ตัณหาที่เร่าร้อน ผู้ประสบความสำเร็จในสาขาอาชีพต่างๆล้วนแล้วค้นพบความลับของสมองซีกขวา แม้ว่าพวกเขาจะไม่ได้อ่านหนังสือเล่มนี้ก็ตาม อาทิ เช่น บิลเกตต์ ไทเกอร์ วู๊ดส์ สตีเว่น สปีลเบิร์ก ทอม แฮงค์ เจ เค โรวลิ่ง นิวตัน เอดิสัน ฯลฯ รวมไปถึง ปิคาสโซ่ จิตรกรระดับโลกเคยบอกว่า ที่เขาสร้างผลงานได้ขนาดนั้น เพราะยังเหลือความเป็นเด็กอยู่มาก ความมีศิลปะฝังอยู่ในใจเด็กทุกคน แต่ปัญหาก็คือ เมื่อเติบโตขึ้น พวกเขาไม่สามารถรักษาความเป็นเด็กนั้นไว้ได้
โธมัส เอดิสัน บอกว่า ที่เขาประดิษฐ์สิ่งต่างๆได้มากมายขนาดนี้ เพราะยังมีความเป็นเด็กเหลืออยู่ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ก็เช่นเดียวกัน เคยเขียนไว้มีความหมายว่า..... คนเราเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ จะไม่มีใครคิดถึงเรื่องเวลายืดหดได้อีกเลย มันเป็นความคิดของเด็กเท่านั้น แต่โชคดีที่หัวผมช้า ผมจึงเพิ่งมาสงสัยเรื่องเวลายืดหด เอาเมื่อตอนโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว
เด็กช่างสงสัยคือเด็กฉลาด เด็กที่สงสัยว่า ทำไมปลามันถึงหายใจได้ในน้ำ โตขึ้นเขาจะเก่งชีววิทยา เด็กที่สงสัยว่า ทำไมลูกโป่งถึงลอยได้ โตขึ้นเขาจะเก่งฟิสิกส์ เด็กที่สงสัยว่า ทำไมเกลือถึงเค็ม โตขึ้นเขาจะเก่งเคมี ฯลฯ และถ้าเขาไม่ถามเปล่าๆ ยังย้ำคิดย้ำทำ พยายามหาคำตอบอย่างต่อเนื่อง โตขึ้นเขาจะเป็นอัจฉริยะ ดังนั้น ถ้าลูกคุณกำลังสงสัยอะไร จงสนับสนุน ช่วยอัดความสงสัยนั้นลงไปจิตใต้สำนึก เช่น ....แม่ก็สงสัยอยู่เหมือนกันว่าทำไมลูกโป่งถึงลอยได้ ถ้าลูกรู้เมื่อไหร่ช่วยบอกแม่ด้วยนะ คนเก่ง......ความสงสัยนั้นจะถูกเก็บไว้ในสมองซีกขวา และเมื่อเหตุปัจจัยเหมาะสมไม่ว่าอีกกี่ปีข้างหน้า มีโอกาสได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์ ความสงสัยนั้นจะผุดขึ้นมากระตุ้นให้กระหายที่จะเรียนรู้ทันที เพราะความรู้สึกในสมองซีกขวาสามารถข้ามเวลาได้ (แต่เขาจะจำไม่ได้ว่าครั้งหนึ่งเคยสงสัยไว้เมื่อตอนอายุห้าขวบ)
ชาร์ล ดาร์วิน อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ และ เซอร์ไอแซค นิวตัน สามอภิมหาอัจฉริยะอันดับ 1 3 ของโลก เริ่มต้นชีวิตในวัยเด็กด้วยความผิดปกติ ทั้งดาร์วิน ไอน์สไตน์ และนิวตัน ถูกครูปรามาสว่า เป็นเด็กหัวทึบ ครูบางคนถึงขนาดบอกว่าปัญญาอ่อนกว่าเด็กทั่วไป เหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะ ช่วงนั้นพวกเขาไม่ใช้สมองซีกซ้ายเลย จึงมีปัญหาเรื่องการเรียนรู้และสื่อความหมาย เช่น การอ่าน การพูด การคำนวณ ฯลฯ ขนาดอายุหกขวบ ไอน์สไตน์ยังอ่านหนังสือไม่ค่อยออก พูดไม่เก่ง คำนวณคณิตศาสตร์ง่ายๆไม่ได้ แต่ ขณะนั้นสมองซีกขวาของเขา กำลังทำงานอย่างหนัก โดยที่คนภายนอกไม่เข้าใจ (ตัดตอนจากหนังสือ "เดอะท็อปซีเคร็ตII อ่านเพิ่มเติมที่ http://www.satabun.com/top2/index.htm)
-
- Verified User
- โพสต์: 20
- ผู้ติดตาม: 0
จาก "เดอะท็อปซีเคร็ตII"
โพสต์ที่ 2
ปัจจุบัน ทั้งในวงการแพทย์ วงการวิทยาศาสตร์ และการศึกษา ได้ให้ความสำคัญกับการทำงานของสมองซีกซ้ายมากกว่า เหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะ คนเราเมื่อเติบโตขึ้น มีแนวโน้มที่จะใช้สมองซีกซ้าย เป็นหลักในการทำงานมากกว่าร้อยละ 90 จะมีประชากรเพียงประมาณร้อยละ 10 ที่สมองซีกขวาทำงานเด่นกว่าซีกซ้าย และบุคคลที่รู้จักใช้สมองซีกขวาเหล่านั้น ก็คือ ผู้ที่ประสบความสำเร็จในสาขาอาชีพต่างๆนั่นเอง
เด็กวัย 1-8 ขวบจะใช้สมองซีกขวาถึง 80 - 95% และค่อยๆลดลงเหลือเพียง 5 - 10% ในวัยผู้ใหญ่ ทำให้คนเราเมื่อเติบโตขึ้น จะจำเรื่องราวต่างๆในช่วง 1-8 ขวบไม่ค่อยได้ ความจริงแล้วความทรงจำเหล่านั้นไม่ได้หายไปไหน มันยังคงฝังอยู่ในจิตใต้สำนึก
สำหรับเด็กแล้ว ความสงสัยคือตัวกระตุ้นสมองซีกขวา ทำไมพระจันทร์ถึงไม่เป็นสี่เหลี่ยม ทำไมช้างถึงมีงา แล้วสุนัขทำไมไม่มี ทำไมใบไม้จึงเป็นสีเขียวแต่ดอกไม้สีแดง ทำไมคนเราถึงมีสิบนิ้ว ฯลฯ
เด็กช่างสงสัยคือเด็กฉลาด เด็กที่สงสัยว่า ทำไมปลามันถึงหายใจได้ในน้ำ โตขึ้นเขาจะเก่งชีววิทยา เด็กที่สงสัยว่า ทำไมลูกโป่งถึงลอยได้ โตขึ้นเขาจะเก่งฟิสิกส์ เด็กที่สงสัยว่า ทำไมเกลือถึงเค็ม โตขึ้นเขาจะเก่งเคมี ฯลฯ และถ้าเขาไม่ถามเปล่าๆ ยังย้ำคิดย้ำทำ พยายามหาคำตอบอย่างต่อเนื่อง โตขึ้นเขาจะเป็นอัจฉริยะ
ความสงสัย จะสามารถกระตุ้นการทำงานของสมองซีกขวาได้เป็นอย่างดี ดังนั้น จงพยายามเป็นคนช่างคิด ช่างสงสัย อย่าเชื่ออะไรง่ายๆ และตั้งคำถามอยู่เสมอ ทั้งนี้ต้องสงสัยในสิ่งที่เป็นสาระสำคัญ คนเราเมื่อเติบโตขึ้น มักกลัวที่จะตั้งคำถาม เช่น ถ้าผู้ใหญ่คนไหนไปถามว่า ทำไมน้ำตาลมันถึงหวาน จะถูกมองว่า เป็นคำถามปัญญาอ่อนทันที ทำให้ไม่กล้าคิดที่จะถาม สมองจึงไม่พัฒนา ความสงสัยจะทำให้สมองซีกขวาเกิดจินตนาการที่จะนำมาใช้ในการหาคำตอบ
เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ คำว่า ทำไม ที่มักถามบ่อยๆในวัยเด็ก จะสูญหายไป อัจฉริยะบุคคลคือคนที่ไม่ลืมจะถามคำว่าทำไม เมื่อเติบใหญ่ขึ้น อเล็กซานเดอร์ เฟลมมิ่ง ถามตัวเองว่า ทำไมเวลาเชื้อรามันตกลงมาในจากเพาะเชื้อแล้วแบคทีเรียถึงตาย คำถามเพียงเท่านี้ คือจุดเริ่มต้น ของการค้นพบเพนนิซิลิน ซึ่งถือว่าเป็นการค้นพบที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของมนุษยชาติครั้งหนึ่ง นิวตัน เพียรถามว่า ทำไมลูกแอปเปิ้ลจึงไม่ลอยขึ้นฟ้า เฮนรี่ ฟอร์ด ถามว่า ทำไมไม่เอารถมาวิ่งแทนม้า ผู้คิดระบบค้าปลีกแบบซูเปอร์มาร์เก็ต ตั้งคำถามว่า ทำไมในร้านของชำ ต้องให้คนขายหยิบสินค้าให้ ทำไมไม่ให้ลูกค้าเดินเข้าไปหยิบเอง.....
เด็กวัย 1-8 ขวบจะใช้สมองซีกขวาถึง 80 - 95% และค่อยๆลดลงเหลือเพียง 5 - 10% ในวัยผู้ใหญ่ ทำให้คนเราเมื่อเติบโตขึ้น จะจำเรื่องราวต่างๆในช่วง 1-8 ขวบไม่ค่อยได้ ความจริงแล้วความทรงจำเหล่านั้นไม่ได้หายไปไหน มันยังคงฝังอยู่ในจิตใต้สำนึก
สำหรับเด็กแล้ว ความสงสัยคือตัวกระตุ้นสมองซีกขวา ทำไมพระจันทร์ถึงไม่เป็นสี่เหลี่ยม ทำไมช้างถึงมีงา แล้วสุนัขทำไมไม่มี ทำไมใบไม้จึงเป็นสีเขียวแต่ดอกไม้สีแดง ทำไมคนเราถึงมีสิบนิ้ว ฯลฯ
เด็กช่างสงสัยคือเด็กฉลาด เด็กที่สงสัยว่า ทำไมปลามันถึงหายใจได้ในน้ำ โตขึ้นเขาจะเก่งชีววิทยา เด็กที่สงสัยว่า ทำไมลูกโป่งถึงลอยได้ โตขึ้นเขาจะเก่งฟิสิกส์ เด็กที่สงสัยว่า ทำไมเกลือถึงเค็ม โตขึ้นเขาจะเก่งเคมี ฯลฯ และถ้าเขาไม่ถามเปล่าๆ ยังย้ำคิดย้ำทำ พยายามหาคำตอบอย่างต่อเนื่อง โตขึ้นเขาจะเป็นอัจฉริยะ
ความสงสัย จะสามารถกระตุ้นการทำงานของสมองซีกขวาได้เป็นอย่างดี ดังนั้น จงพยายามเป็นคนช่างคิด ช่างสงสัย อย่าเชื่ออะไรง่ายๆ และตั้งคำถามอยู่เสมอ ทั้งนี้ต้องสงสัยในสิ่งที่เป็นสาระสำคัญ คนเราเมื่อเติบโตขึ้น มักกลัวที่จะตั้งคำถาม เช่น ถ้าผู้ใหญ่คนไหนไปถามว่า ทำไมน้ำตาลมันถึงหวาน จะถูกมองว่า เป็นคำถามปัญญาอ่อนทันที ทำให้ไม่กล้าคิดที่จะถาม สมองจึงไม่พัฒนา ความสงสัยจะทำให้สมองซีกขวาเกิดจินตนาการที่จะนำมาใช้ในการหาคำตอบ
เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ คำว่า ทำไม ที่มักถามบ่อยๆในวัยเด็ก จะสูญหายไป อัจฉริยะบุคคลคือคนที่ไม่ลืมจะถามคำว่าทำไม เมื่อเติบใหญ่ขึ้น อเล็กซานเดอร์ เฟลมมิ่ง ถามตัวเองว่า ทำไมเวลาเชื้อรามันตกลงมาในจากเพาะเชื้อแล้วแบคทีเรียถึงตาย คำถามเพียงเท่านี้ คือจุดเริ่มต้น ของการค้นพบเพนนิซิลิน ซึ่งถือว่าเป็นการค้นพบที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของมนุษยชาติครั้งหนึ่ง นิวตัน เพียรถามว่า ทำไมลูกแอปเปิ้ลจึงไม่ลอยขึ้นฟ้า เฮนรี่ ฟอร์ด ถามว่า ทำไมไม่เอารถมาวิ่งแทนม้า ผู้คิดระบบค้าปลีกแบบซูเปอร์มาร์เก็ต ตั้งคำถามว่า ทำไมในร้านของชำ ต้องให้คนขายหยิบสินค้าให้ ทำไมไม่ให้ลูกค้าเดินเข้าไปหยิบเอง.....
-
- Verified User
- โพสต์: 20
- ผู้ติดตาม: 0
สมอง กับ วัยเด็ก
โพสต์ที่ 3
จาก "เดอะท็อปซีเคร็ตII"
เนื่องจากสมองซีกขวา เป็นสมองที่คิดแบบองค์รวม ทำให้สามารถเห็นเหตุปัจจัย ในการเกิดสิ่งต่างๆได้ชัดกว่าสมองซีกซ้าย ในเพศหญิง จะมีสะพานเส้นประสาท ที่เชื่อมสมองทั้งสองซีกมากกว่าเพศชายถึงสี่เท่า ดังนั้นการประเมินผลของสมองจะสามารถทำได้เร็วกว่าเพศชาย และในบางครั้ง เพศหญิงจะเกิดญานหยั่งรู้ หรือลางสังหรณ์ถึงเหตุการณ์ในอนาคตได้ ซึ่งไม่ใช่เรื่องเหนือธรรมชาติ แต่เป็นการวิเคราะห์รายละเอียดจากข้อมูลที่มีอยู่ จนหยั่งรู้ผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้า แต่อย่างไรก็ตามความสามารถในการใช้สมองซีกขวาที่สูงกว่าเพศชาย ทำให้เพศหญิงมีระดับของอารมณ์ความรู้สึกต่างๆเช่น หงุดหงิด อิจฉา น้อยใจ เสียใจ ฯลฯ หลากหลายกว่าเพศชาย และบางครั้งก็เกิดขึ้นอย่างไม่มีเหตุผล
นักจิตวิทยาเชื่อว่า จิตใต้สำนึก ถูกบรรจุไว้ที่สมองซีกขวา ซึ่งเก็บความรู้สึกต่างๆในวัยเด็กไว้และค่อยๆปล่อยพลังออกมาเรื่อยๆตลอดชีวิต แต่ในทางพุทธศาสนาบอกว่าจิตส่วนลึกจริงๆ ที่เรียกว่าจิตไร้สำนึก หรือ ภวังคจิต มีความรู้สึกที่ถูกเก็บไว้ข้ามภพข้ามชาติมานับร้อยนับพันภพชาติ และค่อยๆปล่อยพลังออกมาเช่นกัน แต่ไม่ว่า จะในทางจิตวิทยาหรือทางพุทธศาสนา สมองซีกขวา ก็คือทางผ่าน ของการใช้พลังจิตใต้สำนึกหรือจิตไร้สำนึก
มีการสำรวจพบว่า เด็กอัจฉริยะแต่กำเนิด หรือเด็กที่สามารถระลึกชาติได้ ความสามารถนี้จะค่อยๆหายไปเมื่ออายุเกินสิบขวบ เหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะ สมองซีกขวาซึ่งเป็นทางผ่านของจิตไร้สำนึก ทำงานน้อยลง จากร้อยละ 90 เหลือเพียงร้อยละ 10 ในวัยผู้ใหญ่
เนื่องจากสมองซีกขวา เป็นสมองที่คิดแบบองค์รวม ทำให้สามารถเห็นเหตุปัจจัย ในการเกิดสิ่งต่างๆได้ชัดกว่าสมองซีกซ้าย ในเพศหญิง จะมีสะพานเส้นประสาท ที่เชื่อมสมองทั้งสองซีกมากกว่าเพศชายถึงสี่เท่า ดังนั้นการประเมินผลของสมองจะสามารถทำได้เร็วกว่าเพศชาย และในบางครั้ง เพศหญิงจะเกิดญานหยั่งรู้ หรือลางสังหรณ์ถึงเหตุการณ์ในอนาคตได้ ซึ่งไม่ใช่เรื่องเหนือธรรมชาติ แต่เป็นการวิเคราะห์รายละเอียดจากข้อมูลที่มีอยู่ จนหยั่งรู้ผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้า แต่อย่างไรก็ตามความสามารถในการใช้สมองซีกขวาที่สูงกว่าเพศชาย ทำให้เพศหญิงมีระดับของอารมณ์ความรู้สึกต่างๆเช่น หงุดหงิด อิจฉา น้อยใจ เสียใจ ฯลฯ หลากหลายกว่าเพศชาย และบางครั้งก็เกิดขึ้นอย่างไม่มีเหตุผล
นักจิตวิทยาเชื่อว่า จิตใต้สำนึก ถูกบรรจุไว้ที่สมองซีกขวา ซึ่งเก็บความรู้สึกต่างๆในวัยเด็กไว้และค่อยๆปล่อยพลังออกมาเรื่อยๆตลอดชีวิต แต่ในทางพุทธศาสนาบอกว่าจิตส่วนลึกจริงๆ ที่เรียกว่าจิตไร้สำนึก หรือ ภวังคจิต มีความรู้สึกที่ถูกเก็บไว้ข้ามภพข้ามชาติมานับร้อยนับพันภพชาติ และค่อยๆปล่อยพลังออกมาเช่นกัน แต่ไม่ว่า จะในทางจิตวิทยาหรือทางพุทธศาสนา สมองซีกขวา ก็คือทางผ่าน ของการใช้พลังจิตใต้สำนึกหรือจิตไร้สำนึก
มีการสำรวจพบว่า เด็กอัจฉริยะแต่กำเนิด หรือเด็กที่สามารถระลึกชาติได้ ความสามารถนี้จะค่อยๆหายไปเมื่ออายุเกินสิบขวบ เหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะ สมองซีกขวาซึ่งเป็นทางผ่านของจิตไร้สำนึก ทำงานน้อยลง จากร้อยละ 90 เหลือเพียงร้อยละ 10 ในวัยผู้ใหญ่
- PrasertsakK
- Verified User
- โพสต์: 286
- ผู้ติดตาม: 0
สมอง กับ วัยเด็ก
โพสต์ที่ 4
ยังมีต่ออีกไหมครับ น่าสนใจดี
" เด็กวัย 1-8 ขวบจะใช้สมองซีกขวาถึง 80 - 95% และค่อยๆลดลงเหลือเพียง 5 - 10% ในวัยผู้ใหญ่ "
แต่มีข้อสงสัยหน่อยครับ ว่าทำไมพอเวลาเราเป็นผู้ใหญ่ สมองซีกขวามันต้องทำงานน้อยลงด้วยละครับ
"เด็กช่างสงสัยคือเด็กฉลาด เด็กที่สงสัยว่า ทำไมปลามันถึงหายใจได้ในน้ำ โตขึ้นเขาจะเก่งชีววิทยา เด็กที่สงสัยว่า ทำไมลูกโป่งถึงลอยได้ โตขึ้นเขาจะเก่งฟิสิกส์ เด็กที่สงสัยว่า ทำไมเกลือถึงเค็ม โตขึ้นเขาจะเก่งเคมี ฯลฯ และถ้าเขาไม่ถามเปล่าๆ ยังย้ำคิดย้ำทำ พยายามหาคำตอบอย่างต่อเนื่อง โตขึ้นเขาจะเป็นอัจฉริยะ "
ผมว่าเด็กทุกคนก็น่าจะสงสัยเรื่องอย่างนี้ทั้งนั้นไม่ใช่หรือครับ แล้วทำไมเราไม่เห็นจะเก่งวิชาไหนจริง ๆ จัง ๆ เลย ?
แต่ผมก็เชื่อนะครับว่า ถ้าเด็กไม่ได้ถามเปล่า แต่เขาพยายามหาความรู้ด้วยตัวเองบวกกับการสนับสนุนจากคนรอบข้าง ก็อาจจะทำให้เด็ก ๆ เป็นเด็กที่เก่งได้ครับ
แล้วเพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ ที่นี้ำมีความเห็นอย่างไรครับ หรือ มีวิธีการใด ๆ ไหมครับในการฝึกสมองด้านขวานี้ให้มากยิ่ง ๆ ขึ้นไปครับ
" เด็กวัย 1-8 ขวบจะใช้สมองซีกขวาถึง 80 - 95% และค่อยๆลดลงเหลือเพียง 5 - 10% ในวัยผู้ใหญ่ "
แต่มีข้อสงสัยหน่อยครับ ว่าทำไมพอเวลาเราเป็นผู้ใหญ่ สมองซีกขวามันต้องทำงานน้อยลงด้วยละครับ
"เด็กช่างสงสัยคือเด็กฉลาด เด็กที่สงสัยว่า ทำไมปลามันถึงหายใจได้ในน้ำ โตขึ้นเขาจะเก่งชีววิทยา เด็กที่สงสัยว่า ทำไมลูกโป่งถึงลอยได้ โตขึ้นเขาจะเก่งฟิสิกส์ เด็กที่สงสัยว่า ทำไมเกลือถึงเค็ม โตขึ้นเขาจะเก่งเคมี ฯลฯ และถ้าเขาไม่ถามเปล่าๆ ยังย้ำคิดย้ำทำ พยายามหาคำตอบอย่างต่อเนื่อง โตขึ้นเขาจะเป็นอัจฉริยะ "
ผมว่าเด็กทุกคนก็น่าจะสงสัยเรื่องอย่างนี้ทั้งนั้นไม่ใช่หรือครับ แล้วทำไมเราไม่เห็นจะเก่งวิชาไหนจริง ๆ จัง ๆ เลย ?
แต่ผมก็เชื่อนะครับว่า ถ้าเด็กไม่ได้ถามเปล่า แต่เขาพยายามหาความรู้ด้วยตัวเองบวกกับการสนับสนุนจากคนรอบข้าง ก็อาจจะทำให้เด็ก ๆ เป็นเด็กที่เก่งได้ครับ
แล้วเพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ ที่นี้ำมีความเห็นอย่างไรครับ หรือ มีวิธีการใด ๆ ไหมครับในการฝึกสมองด้านขวานี้ให้มากยิ่ง ๆ ขึ้นไปครับ
- kornjackrit
- Verified User
- โพสต์: 1524
- ผู้ติดตาม: 0
สมอง กับ วัยเด็ก
โพสต์ที่ 5
น่าสนใจครับ :D
แต่ขออย่าให้เก่งอย่างเดียว มี EQ สูงๆกับเป็นคนดีด้วยจะดีมากเลยครับ
ปล.ผมคิดว่าที่ผู้ใหญ่ใช้สมองซีกขวาน้อยลง เพราะ เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่
เราต้องดำเนินชีวิตอยู่ในโลกของเหตุและผล ดังนั้น ความคิดสร้างสรรค์
ในวัยเด็ก ในโลกแห่งจินตนาการของเรา จึงมีน้อยลงครับ
แต่ขออย่าให้เก่งอย่างเดียว มี EQ สูงๆกับเป็นคนดีด้วยจะดีมากเลยครับ
ปล.ผมคิดว่าที่ผู้ใหญ่ใช้สมองซีกขวาน้อยลง เพราะ เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่
เราต้องดำเนินชีวิตอยู่ในโลกของเหตุและผล ดังนั้น ความคิดสร้างสรรค์
ในวัยเด็ก ในโลกแห่งจินตนาการของเรา จึงมีน้อยลงครับ
When you become famous, the first thing you should have to remember is not your success story but those who help you along the way.
- Sumotin
- Verified User
- โพสต์: 1131
- ผู้ติดตาม: 0
สมอง กับ วัยเด็ก
โพสต์ที่ 6
เรื่องใช้สมองซีกขวาน้อยลงผมว่ามีผลจากหลายๆอย่างครับ
เรื่องของสังคม คือถ้าเราโตเป็นผู้ใหญ่ แล้วยังถามคำถามอะไรแปลกๆ คนจะมองว่าโง่บางหรือว่าอะไรแนวนั้น ทำให้เราไม่กล้าถาม ไปซะงั้น
เรื่องของประสบการณ์ เราเรียนรู้อะไรมากขึ้นทำให้เราใช้ ประสบการณ์ในอดีต ความรู้ หรือ สิ่งที่เคยได้ยินได้ฟังมาเป็นตัวตัดสินซะมากกว่าที่จะคิดว่าจริงๆแล้ว มันเป็นเช่นไร
เดาๆเอาว่าประมาณนี้ ครับ :B
เรื่องของสังคม คือถ้าเราโตเป็นผู้ใหญ่ แล้วยังถามคำถามอะไรแปลกๆ คนจะมองว่าโง่บางหรือว่าอะไรแนวนั้น ทำให้เราไม่กล้าถาม ไปซะงั้น
เรื่องของประสบการณ์ เราเรียนรู้อะไรมากขึ้นทำให้เราใช้ ประสบการณ์ในอดีต ความรู้ หรือ สิ่งที่เคยได้ยินได้ฟังมาเป็นตัวตัดสินซะมากกว่าที่จะคิดว่าจริงๆแล้ว มันเป็นเช่นไร
เดาๆเอาว่าประมาณนี้ ครับ :B
Timing is everything, no matter what you do.
CAGR of 34% in the past 15 years of investment
CAGR of 34% in the past 15 years of investment
- PrasertsakK
- Verified User
- โพสต์: 286
- ผู้ติดตาม: 0
สมอง กับ วัยเด็ก
โพสต์ที่ 7
แม้ว่า้ผู้ใหญ่จะต้องดำเนินชีวิตอยู่ในโลกของเหตุและผล แต่ผมก็เห็นว่าผู้ใหญ่หลาย ๆ คนก็ยังอยู่ในโลกแห่งจินตนาการอยู่ ซึ่งสามารถเห็นในแง่ของกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การวาดรูป การอ่านนวนิยาย การคิดสร้างสรรค์ที่แสดงออกในรูปแบบสื่อต่าง ๆ และอื่น ๆ อีกมากมายเลย รวมถึงการเล่นหุ้นด้วย(ไม่รวมถึงการลงทุนนะครับ :lol: ) แล้วทำไมเรายังใช้สมองด้านขวาน้อยลงมากเหลือเกิน ?kornjackrit เขียน: ปล.ผมคิดว่าที่ผู้ใหญ่ใช้สมองซีกขวาน้อยลง เพราะ เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่
เราต้องดำเนินชีวิตอยู่ในโลกของเหตุและผล ดังนั้น ความคิดสร้างสรรค์
ในวัยเด็ก ในโลกแห่งจินตนาการของเรา จึงมีน้อยลงครับ
ยิ่งคิดยิ่งงง :oops: :oops: :oops: :oops:
- kornjackrit
- Verified User
- โพสต์: 1524
- ผู้ติดตาม: 0
สมอง กับ วัยเด็ก
โพสต์ที่ 8
:lol: :lol:PrasertsakK เขียน:รวมถึงการเล่นหุ้นด้วย(ไม่รวมถึงการลงทุนนะครับ:lol: )
ที่ึคุณ PrasertsakK กล่าวมาก็มีเหตุผลทีเดียวคับ
หรือว่าจริงแล้วเราไม่ได้ใช้ความคิดสรา้งสรรค์หรือสมองซีกขวาน้อยลง
เพียงแต่เราใช้และสื่ออกมาในรูปแบบที่ต่างออกไปจากวัยเด็ก
เราอาจจะมีคำถามในใจที่แปลกๆแต่พอคิดขึ้นมาก็นึกได้ว่า
เราถามคำถามไปมันก็ไม่เกิดประโยชน์ ต่างกับในวัยเด็กที่เราไม่มีความสามารถ
ในการแยกแยะความคิดเหล่านั้น เราจึงเห็นเด็กๆถามคำถามทุกรูปแบบที่เขาสงสัย
และถึงแม้เราจะตอบไปถูกหรือผิด เด็กๆก็มักจะไม่เก็บไปคิดมากเหมือนผู้ใหญ่
:?: :?:
When you become famous, the first thing you should have to remember is not your success story but those who help you along the way.