กระทู้คุณค่า มีประโยชน์ ความรู้ดีดี เป็นประโยชน์เสมอไม่ว่าเวลาจะผ่านมาเนิ่นนาน แค่ไหนก็ตาม
-
miracle
- Verified User
- โพสต์: 18134
- ผู้ติดตาม: 0
|0 คอมเมนต์
tingku เขียน:
อ่านแล้ว งง ครับ พี่ miracle ขอชัดๆ อีกที
บริษัท A จ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้น ดังนี้
จากรายได้ที่ต้องเสียอัตราภาษี 20%
จากรายได้ที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน BOI
จากรายได้ที่ไม่ได้รับเครดิตปันผล
ซึ่งผู้ถือหุ้นคนนี้ให้หัก ณ ที่จ่ายไว้ 10% ของยอดปันผล
เวลาผู้ถือหุ้นคนนี้ทำภาษี
กรอก เครดิตภาษี 20%
กรอก BOI
กรอก หัก ณ ที่จ่าย
ถามว่าผู้ถือหุ้นคนนี้ทำได้หรือไม่ มีประกาศของกรมสรรพากรอันไหนเกี่ยวข้องบ้าง
-
tingku
- Verified User
- โพสต์: 330
- ผู้ติดตาม: 0
|0 คอมเมนต์
miracle เขียน:
บริษัท A จ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้น ดังนี้
จากรายได้ที่ต้องเสียอัตราภาษี 20%
จากรายได้ที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน BOI
จากรายได้ที่ไม่ได้รับเครดิตปันผล
ซึ่งผู้ถือหุ้นคนนี้ให้หัก ณ ที่จ่ายไว้ 10% ของยอดปันผล
เวลาผู้ถือหุ้นคนนี้ทำภาษี
กรอก เครดิตภาษี 20%
กรอก BOI
กรอก หัก ณ ที่จ่าย
ถามว่าผู้ถือหุ้นคนนี้ทำได้หรือไม่ มีประกาศของกรมสรรพากรอันไหนเกี่ยวข้องบ้าง
อ่านแล้วก็ยัง งง ครับ ผมเข้าใจว่าอย่างนี้นะครับ ไม่แน่ใจว่าถูกต้องตามที่ถามหรือเปล่า
บริษัท A จ่ายเงินปันผล หุ้นละ 3 บาท โดยเป็นการจ่ายจาก
1.ส่วนที่บริษัทได้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 20 เป็นจำนวน 1 บาท หักภาษี ณ ที่จ่าย 0.1 บาท
2.ส่วนที่บริษัทได้รับยกเว้นภาษีตามกฏหมายส่งเสริมการลงทุน เป็นจำนวน 1 บาท
3.ส่วนที่บริษัทไม่ได้เสียภาษีนิติบุคคล เป็นจำนวน 1 บาท หักภาษี ณ ที่จ่าย 0.1 บาท
รวมแล้วผู้ถือหุ้นได้รับเงินปันผลหุ้นละ 2.8 บาท
จากนั้นผู้ถือหุ้นท่านนี้ก็ไปกรอก ภงด 90 โดยกรอกรายได้ทั้งสามส่วนในตารางคำนวน แล้วยังไงต่อครับ
-
miracle
- Verified User
- โพสต์: 18134
- ผู้ติดตาม: 0
|0 คอมเมนต์
tingku เขียน:
อ่านแล้วก็ยัง งง ครับ ผมเข้าใจว่าอย่างนี้นะครับ ไม่แน่ใจว่าถูกต้องตามที่ถามหรือเปล่า
บริษัท A จ่ายเงินปันผล หุ้นละ 3 บาท โดยเป็นการจ่ายจาก
1.ส่วนที่บริษัทได้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 20 เป็นจำนวน 1 บาท หักภาษี ณ ที่จ่าย 0.1 บาท
2.ส่วนที่บริษัทได้รับยกเว้นภาษีตามกฏหมายส่งเสริมการลงทุน เป็นจำนวน 1 บาท
3.ส่วนที่บริษัทไม่ได้เสียภาษีนิติบุคคล เป็นจำนวน 1 บาท หักภาษี ณ ที่จ่าย 0.1 บาท
รวมแล้วผู้ถือหุ้นได้รับเงินปันผลหุ้นละ 2.8 บาท
จากนั้นผู้ถือหุ้นท่านนี้ก็ไปกรอก ภงด 90 โดยกรอกรายได้ทั้งสามส่วนในตารางคำนวน แล้วยังไงต่อครับ
1. 2 กรอกตามปกติ ตามประเภทที่จ่าย คือ ได้เครดิตภาษี 20% กับ BOI
แต่ในข้อ 3 เลี่ยงไปจากเดิมที่กรอกในช่องไม่ได้เครดิตภาษี ไปกรอกในช่องหัก ณ ที่จ่ายไว้
ข้อ 3 นี่ถามว่า ทำได้หรือไม่
มีข้อบังคับข้อไหน รับรองหรือไม่
-
oatty
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2444
- ผู้ติดตาม: 0
|0 คอมเมนต์
1.ของ BOI ผมใส่ในช่องที่ ได้รับการยกเว้นภาษี (บริษัทไม่ต้องจ่ายภาษี และเราก็ไม่ได้ถูกหัก 10% )
2. ส่วนที่เครดิตไม่ได้แต่ถูกหัก ณ ที่จ่าย ให้ใส่ในช่อง เครดิตภาษีไม่ได้ ระบบจะใส่จำนวนเงินที่หักภาษี ณ ที่จ่ายให้อัตโนมัติ
"ผู้ทรงธรรมนั่นแหละคือผู้ทรงเกียรติ ผู้มีความดีนั่นแหละคือผู้มีทรัพย์ ผู้รู้จักพอนั่นแหละคือมหาเศรษฐี" ว.วชิรเมธี
-
keroke
- Verified User
- โพสต์: 98
- ผู้ติดตาม: 0
|0 คอมเมนต์
tingku เขียน:
ถ้าจะยื่นต้องยื่นในชื่อสามีครับ
ขอบคุณค่ะ
อย่างนี้เวลาซื้อหุ้นก็ควรซื้อในชื่อสามีไปเลยดีกว่านะซิคะ
-
keroke
- Verified User
- โพสต์: 98
- ผู้ติดตาม: 0
|0 คอมเมนต์
EPCO IRC svoa it มีเครดิตภาษีหรือไม่คะ
-
maqwid
- Verified User
- โพสต์: 195
- ผู้ติดตาม: 0
|0 คอมเมนต์
รบกวนสอบถามเรื่องยื่นภาษี ทางสรรพากรขอให้ส่งเอกสารดังนี้
1. หนังสือรับรองการหัก ภาษี ณ. ที่จ่าย มาตรา 40(1) เงินเดือน ค่าจ้าง เงินบำนาญ ฯลฯ
2. หนังสือรับรองการหัก ภาษี ณ. ที่จ่าย มาตรา 40(4) ดอกเบี้ย เงินปันผลส่วนแบ่งกำไร ฯลฯ
3. รายงานการประชุม บัญชีผู้ถือหุ้น
*** ในส่วนข้อ 3 ต้องส่งเอกสาร อันไหนให้ครับ ***
ขอบคุณครับ
-
sorawut
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2455
- ผู้ติดตาม: 1
|0 คอมเมนต์
[quote="maqwid"]รบกวนสอบถามเรื่องยื่นภาษี ทางสรรพากรขอให้ส่งเอกสารดังนี้
1. หนังสือรับรองการหัก ภาษี
ตัดสินใจว่า ธุรกิจไหนที่คุณต้องการจะเป็นเจ้าของ
และซื้อเมื่อราคาสามารถให้ผลตอบแทนจากการลงทุน ในอัตราที่เข้าท่าสำหรับการร่วมทำธุรกิจเท่านั้น
-
tingku
- Verified User
- โพสต์: 330
- ผู้ติดตาม: 0
|0 คอมเมนต์
[quote="maqwid"]รบกวนสอบถามเรื่องยื่นภาษี ทางสรรพากรขอให้ส่งเอกสารดังนี้
1. หนังสือรับรองการหัก ภาษี
-
tingku
- Verified User
- โพสต์: 330
- ผู้ติดตาม: 0
|0 คอมเมนต์
keroke เขียน:
ขอบคุณค่ะ
อย่างนี้เวลาซื้อหุ้นก็ควรซื้อในชื่อสามีไปเลยดีกว่านะซิคะ
เรื่องนี้ผมมีความคิดว่า ไม่ควรจดทะเบียนสมรสตั้งแต่แรกเลยครับ คุณ keroke แต่คงยากในสังคมไทย เพราะส่วนมากจะโดนญาติผู้ใหญ่บังคับ
-
maqwid
- Verified User
- โพสต์: 195
- ผู้ติดตาม: 0
|0 คอมเมนต์
[quote="tingku"][quote="maqwid"]รบกวนสอบถามเรื่องยื่นภาษี ทางสรรพากรขอให้ส่งเอกสารดังนี้
1. หนังสือรับรองการหัก ภาษี
-
shindan
- Verified User
- โพสต์: 9
- ผู้ติดตาม: 0
|0 คอมเมนต์
ปีที่แล้วยื่นทางเน๊ต ปีนี้ต้องลงทะเบียนใหม่หรือไม่ครับ
-
SunShine@Night
- Verified User
- โพสต์: 2196
- ผู้ติดตาม: 0
|0 คอมเมนต์
เพิ่งยื่นให้น้องสาว เมื่อคืนนี้เองครับ
ปีนี้เครดิตภาษียื่นง่ายกว่าเดิมเพราะแปลกสัดส่วนอัตราภาษีที่เครดิตได้ไว้ให้ด้วย
ลอง mark ดูครับว่า อีกกี่วันจะได้เงินคืน
VI ฝึกหัด สำนักปีเตอร์ ลินช์
หวังผลต่อแทนทบต้นมากกว่า 15% ต่อปี
-
tatandchin
- Verified User
- โพสต์: 775
- ผู้ติดตาม: 0
|0 คอมเมนต์
รบกวนสอบถามครับ
สรรพากรให้ส่งเอกสารเพิ่ม คือ หนังสือรับรองการหัก
ขอสอบถามครับว่า
1. ส่งอย่างไร เช่น เป็น file รูปภาพ หรืออย่างไร
2. ส่งให้ใคร ผ่านช่องทางไหน
เพราะเขาแค่แจ้งมาว่าให้ส่ง หนังสือรับรองการหัก เท่านั้น แต่ไม่ได้บอกว่าให้ส่งอย่างไร และส่งให้ใคร ผ่านช่องทางไหน ครับ
ขอบคุณครับ
-
ปุย
- Verified User
- โพสต์: 2032
- ผู้ติดตาม: 0
|0 คอมเมนต์
อืม ยื่นอาทิตย์ที่แล้ว โดนให้ส่งเอกสารเหมือนกันเลย
ลองกด ตรง ใบนำส่งเอกสารดู จะมีข้อมูลของเรา
คล้ายๆ ใบปะหน้า
ของผม รายละเอียดดังนี้
ใบนำส่งเอกสาร
ชื่อสมมติ จานทองแท้
เลขประจำตัวประชาชน/เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
เอกสารที่นำส่ง
1. หนังสือรับรองการหัก ภาษี ณ. ที่จ่าย มาตรา 40(4) ดอกเบี้ย เงินปันผลส่วนแบ่งกำไร ฯลฯ จำนวน ฉบับ
2. รายงานการประชุมผู้ถือหุ้นและบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (กรณีผู้จ่ายเงินปันผลอยู่นอกตลาดหลักทรัพย์) จำนวน ฉบับ
E-mail Address :
[email protected] (เอกสารที่ส่งขอให้ผ่านเครื่อง SCAN และ จัดเก็บเป็นไฟล์รูปภาพที่มีนามสกุล BMP, JPEG, JPG, PNG, TIF, และ TIFF เท่านั้น) หรือ
โทรสารหมายเลข: 0-2276-0246 หรือ
ไปรษณีย์ ตามที่อยู่ข้างล่าง
ทั้งนี้เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกและเป็นประโยชน์แก่ท่าน ในการที่กรมสรรพากรจะพิจารณาคืนเงินภาษี
กรุณาใช้ "ใบนำส่งเอกสาร" หรือ "หนังสือแจ้งความคืบหน้าการคืนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา" เป็นใบปะหน้าของเอกสารที่ท่านจะนำส่ง
หมายเหตุ ท่านสามารถเลือกใช้หนังสือแจ้งความคืบหน้าการคืนเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือใช้ ใบนำส่งฉบับนี้อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นใบปะหน้าของเอกสารที่จะนำส่ง
กรณีส่งเอกสารทางไปรษณีย์ กรุณาระบุที่อยู่ตามข้างล่างนี้
สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 10
48/11-12 อ.ปรีชาคอมเพล็กซ์
ถ.รัชดาภิเษก แขวงสามเสนนอก
เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310
โทร โทร. 0-2276-0263 ถึง 93
-
ปุย
- Verified User
- โพสต์: 2032
- ผู้ติดตาม: 0
|0 คอมเมนต์
^
ผมใช้ firefox จะเปิด link ไม่ได้นะครับ
ต้องเปลี่ยนไปใช้ ie ถึงเปิดได้
-
ปุย
- Verified User
- โพสต์: 2032
- ผู้ติดตาม: 0
|0 คอมเมนต์
^
ขอเพิ่มอีกนิด ว่า ให้ท่านไปเปิด link ของท่านดูเอง ในหน้าสอบถามการคืนภาษีนะครับ
เพราะอาจจะ คนละ สรรพากรพื้นที่กัน อย่า ส่งไปที่ผมแปะ quote ไว้นะครับ
ปล. อ่านนามสกุล file ที่ให้ส่ง ดันไม่มี .pdf แฮะ
-
oatty
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2444
- ผู้ติดตาม: 0
|0 คอมเมนต์
tatandchin เขียน:รบกวนสอบถามครับ
สรรพากรให้ส่งเอกสารเพิ่ม คือ หนังสือรับรองการหัก
ขอสอบถามครับว่า
1. ส่งอย่างไร เช่น เป็น file รูปภาพ หรืออย่างไร
2. ส่งให้ใคร ผ่านช่องทางไหน
เพราะเขาแค่แจ้งมาว่าให้ส่ง หนังสือรับรองการหัก เท่านั้น แต่ไม่ได้บอกว่าให้ส่งอย่างไร และส่งให้ใคร ผ่านช่องทางไหน ครับ
ขอบคุณครับ
คลิกที่ใบนำส่งเอกสารนะครับ จะมีรายละเอียดว่าต้องส่งไปที่ไหน
"ผู้ทรงธรรมนั่นแหละคือผู้ทรงเกียรติ ผู้มีความดีนั่นแหละคือผู้มีทรัพย์ ผู้รู้จักพอนั่นแหละคือมหาเศรษฐี" ว.วชิรเมธี
-
tatandchin
- Verified User
- โพสต์: 775
- ผู้ติดตาม: 0
|0 คอมเมนต์
ขอบคุณมากครับ
รบกวนเพิ่มครับ แล้วจำเป็นไหมครับว่าต้องส่งเอกสารภายในกี่วัน จากวันที่สรรพากรแจ้งมาว่าให้ส่งเพิ่มครับ
ขอบคุณครับ
-
oatty
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2444
- ผู้ติดตาม: 0
|0 คอมเมนต์
ส่งเร็ว เจ้าหน้าที่มีเวลาตรวจดู และถ้าไม่มีปัญหา ก็ได้คืนเร็ว
ส่งช้า ผลประโยชน์ตกอยู่กับแผ่นดิน เพราะไม่ต้องจ่ายเงินออกไปเร็ว
ผมยื่นให้กับญาติ แบบว่า แค่ขอเครดิตเงินปันผลอย่างเดียว ใช้เวลา สองอาทิตย์แน่ะ อย่างเร็วแล้วนะ :)
"ผู้ทรงธรรมนั่นแหละคือผู้ทรงเกียรติ ผู้มีความดีนั่นแหละคือผู้มีทรัพย์ ผู้รู้จักพอนั่นแหละคือมหาเศรษฐี" ว.วชิรเมธี
-
Eragon
- Verified User
- โพสต์: 271
- ผู้ติดตาม: 0
|0 คอมเมนต์
เจ้า Link สอบถามการคืนภาษี นี่คลิกแล้วไม่ไปไหนเลย
คลิกมาหลายวันแล้ว จะให้ส่งอะไรเพิ่มเติมจะได้รีบส่ง :twisted:
-
charun
- Verified User
- โพสต์: 351
- ผู้ติดตาม: 0
|0 คอมเมนต์
[quote="Eragon"]เจ้า Link สอบถามการคืนภาษี นี่คลิกแล้วไม่ไปไหนเลย
คลิกมาหลายวันแล้ว
-
Eragon
- Verified User
- โพสต์: 271
- ผู้ติดตาม: 0
|0 คอมเมนต์
[quote="charun"][quote="Eragon"]เจ้า Link สอบถามการคืนภาษี นี่คลิกแล้วไม่ไปไหนเลย
คลิกมาหลายวันแล้ว
-
oatty
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2444
- ผู้ติดตาม: 0
|0 คอมเมนต์
ของผมยื่น 29 ม.ค.
3 ก.พ. โทรมาให้ส่งเอกสาร
4 ก.พ. ส่งเอกสารทางแฟกซ์์
6 ก.พ. แจ้งว่าส่งเช็คคืนภาษีให้แล้ว
น่าจะวันจันทร์ หรืออังคารคงมาถึงบ้าน[/list]
"ผู้ทรงธรรมนั่นแหละคือผู้ทรงเกียรติ ผู้มีความดีนั่นแหละคือผู้มีทรัพย์ ผู้รู้จักพอนั่นแหละคือมหาเศรษฐี" ว.วชิรเมธี
-
SunShine@Night
- Verified User
- โพสต์: 2196
- ผู้ติดตาม: 0
|0 คอมเมนต์
มา update ครับ
ของน้องสาว ยื่นวันที่ 1 กพ
สัมพากรให้ยื่นเอกสารวันที่ 6 กพ
เดี๋ยวจะให้น้องยื่นวันที่ 10 กพ
ถ้ามีไรคืบหน้าจะมา update ให้ฟังนะครับ
VI ฝึกหัด สำนักปีเตอร์ ลินช์
หวังผลต่อแทนทบต้นมากกว่า 15% ต่อปี
-
tum_H
- Verified User
- โพสต์: 1857
- ผู้ติดตาม: 0
|0 คอมเมนต์
เทศกาลภาษีมาถึง (อีกแล้ว)
รายงานโดย :สาธิต บวรสันติสุทธิ์: วันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
สัปดาห์ที่แล้ว เราได้คุยกันถึงเรื่อง การวางแผนภาษี ว่าไม่ใช่การหลบหรือหนีภาษี และไม่ใช่การไม่รักชาติ
แต่เป็นการวางแผนเพื่อลดภาระภาษีตามสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ภาครัฐได้มอบให้ และได้ทิ้งท้ายวิธีของการวางแผนภาษีที่เน้นไปที่การลดภาษี การชะลอการเสียภาษี และการเร่งการคืนภาษี ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 8 วิธีคร่าวๆ ดังนี้
1.การใช้สิทธิหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนให้ครบถ้วน
2.การย้ายรายได้ไปยังบุคคลที่มีฐานรายได้ต่ำกว่า
3.การแยกหน่วยภาษี เช่น คณะบุคคล ฯลฯ
4.การยืดระยะเวลาในการเสียภาษี
5.การดำเนินกิจกรรมยกเว้นภาษี
6.การเลือกเสียภาษีในรูปแบบที่ได้รับประโยชน์สูงสุด
7.การลงทุนในหลักทรัพย์เพื่อได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี
8.การใช้สิทธิเรียกคืนภาษีให้เร็วที่สุด
เรามาเริ่มกันที่วิธีแรกกันเลยครับ คือ การใช้สิทธิหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนให้ครบถ้วน ทำไมถึงต้องสนใจเรื่องนี้ เหตุผลเพราะวิธีการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะทำเป็น 3 ขั้น คือ
ขั้นที่หนึ่ง คำนวณหาจำนวนภาษีตาม วิธีที่ 1 เสียก่อน
ขั้นที่สอง ให้พิจารณาว่าจะต้องคำนวณภาษีตาม วิธีที่ 2 หรือไม่ ถ้าเข้าเงื่อนไขที่จะต้องคำนวณภาษีตามวิธีที่ 2 จึงคำนวณภาษีตามวิธีที่ 2 อีกวิธีหนึ่ง
กรณีที่ต้องคำนวณภาษีตามวิธีที่ 2 ได้แก่ กรณีที่เงิน ได้พึงประเมินทุกประเภทในปีภาษี แต่ไม่รวมเงินได้พึงประเมินตามประเภทที่ 1 มีจำนวนรวมกันตั้งแต่ 6 หมื่นบาทขึ้นไป การคำนวณภาษีตามวิธีที่ 2 นี้ ให้คำนวณในอัตราร้อยละ 0.005 ของยอดเงินได้พึงประเมิน (= เงินได้พึงประเมินทุกประเภทลบเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1 คูณด้วย 0.005) ดังกล่าวนั้น
โดยทั่วไปแล้ว การคำนวณตามวิธีที่ 1 จำนวนภาษีที่ต้องเสียจะสูงกว่าวิธีที่ 2 จึงมักใช้วิธีที่ 1 ในการคำนวณภาษี เมื่อเป็นเช่นนั้นหากเรามาศึกษาวิธีที่ 1 จะเห็นได้ว่าการคำนวณภาษีตามวิธีที่ 1 จะคำนวณจากเงินได้สุทธิ (7) หากจะประหยัดภาษี ก็ต้องทำให้เงินได้สุทธิน้อยที่สุด ซึ่งก็คือการเพิ่มค่าใช้จ่ายหรือค่าลดหย่อนให้มากที่สุด
เงินได้บุคคลธรรมดาตามกฎหมายกรมสรรพากรแบ่งเป็น 8 ประเภท ดังนี้
ประเภทที่ 1 ม.40(1) เงินได้หรือประโยชน์ใดๆ ที่ได้จากการจ้างแรงงาน พวกมนุษย์เงินเดือนจะอยู่ประเภทนี้
ประเภทที่ 2 ม.40(2) เงินได้จากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้พวกที่มีรายได้จากค่าคอมมิชชัน เช่น พวกขายประกัน ฯลฯ จะอยู่ประเภทนี้
ประเภทที่ 3 ม.40(3) เงินได้จากค่าแห่งลิขสิทธิ์ หรือเงิน รายปี
ประเภทที่ 4 ม.40(4) เงินได้ที่เป็นดอกเบี้ย เงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งกำไร กำไรจากการขายหุ้น
ประเภทที่ 5 ม.40(5) เงินได้หรือประโยชน์ที่ได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน
ประเภทที่ 6 ม.40(6) เงินได้จากวิชาชีพอิสระ ได้แก่ วิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลปะ วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม
ประเภทที่ 7 ม.40(7) เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาเป็นผู้จัดหาสัมภาระ
ประเภทที่ 8 ม.40(8) เงินได้จากธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม เงินได้ประเภทอื่นๆ นอกจาก
ประเภทที่ 17
ซึ่งเงินได้แต่ละประเภทหักค่าใช้จ่ายได้ต่างกัน ดังนี้
ประเภทที่ 1 และประเภทที่ 2 หักค่าใช้จ่ายรวมกันได้ 40% แต่ไม่เกิน 6 หมื่นบาท
ประเภทที่ 3 เฉพาะค่าแห่งลิขสิทธิ์หักค่าใช้จ่ายได้ 40% แต่ไม่เกิน 6 หมื่นบาท
ประเภทที่ 4 หักค่าใช้จ่ายไม่ได้
ประเภทที่ 5 หักค่าใช้จ่ายได้ตามความจำเป็นและสมควร หรือหักเหมาตามประเภทของทรัพย์สินที่ให้เช่า เช่น
(ก) บ้านโรงเรือน สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น หักค่าใช้จ่ายได้ 30%
(ข) ที่ดินที่ใช้ในการเกษตรกรรม หักค่าใช้จ่ายได้ 20%
ประเภทที่ 6 หักค่าใช้จ่ายได้ตามความจำเป็นและสมควร หรือหักเหมา ดังนี้
(ก) การประกอบโรคศิลปะ หักค่าใช้จ่ายได้ 60%
(ข) นอกเหนือจากนั้นหักค่าใช้จ่ายได้ 30%
ประเภทที่ 7 หักค่าใช้จ่ายได้ตามความจำเป็นและสมควร หรือหักเหมา 70%
ประเภทที่ 8 หักค่าใช้จ่ายได้ตามความจำเป็นและสมควร หรือหักเหมา เช่น
(ก) ขนส่งหรือรับจ้างด้วยยานพาหนะ หักค่าใช้จ่ายได้ 80%
(ข) การแสดงของนักแสดง นักร้อง นักดนตรี นักกีฬาอาชีพ หรือนักแสดง
เพื่อความบันเทิงใดๆ ส่วนที่ไม่เกิน 3 แสนบาท หักค่าใช้จ่ายได้ 60% ส่วนที่เกิน 3 แสนบาท หักค่าใช้จ่ายได้ 40% แต่รวมกันต้องไม่เกิน 6 แสนบาท
จะเห็นได้ว่าเงินได้ประเภทที่ 1 ถึง 3 หักค่าใช้จ่ายได้จำกัด (แม้จะให้หักค่าใช้จ่ายได้ 40% ของเงินได้ แต่ก็กำหนดเพดานไว้ที่ 6 หมื่นบาทเท่านั้น ดังนั้นไม่ว่าจะมีเงินได้ 2 แสนบาท หรือ 2 ล้านบาท ก็หักค่าใช้จ่ายได้ 6 หมื่นบาทเท่ากัน) ต่างจากเงินได้ประเภท 5-8 ที่สามารถหักค่าใช้จ่ายได้เป็นเปอร์เซ็นต์ของรายได้ ยิ่งรายได้เยอะ ยิ่งหักค่าใช้จ่ายได้เยอะ
ดังนั้น เราจึงควรย้ายประเภทเงินได้ของเราจากประเภทที่ 13 ให้มาเป็นประเภทที่ 58
ส่วนจะทำได้อย่างไรนั้น คงต้องศึกษาเป็นกรณีๆ ไป เช่น หากเรารับเหมาก่อสร้าง เงินได้ของเราสามารถเป็นได้ทั้งประเภทที่ 2 (หักค่าใช้จ่ายได้ 40% แต่ไม่เกิน 6 หมื่นบาท) และประเภทที่ 7 (หักค่าใช้จ่ายได้ตามความจำเป็นและสมควร หรือหักเหมา 70%) เพื่อประหยัดภาษี เราก็ควรเลือกให้รายได้ของเราเป็นประเภทที่ 7 โดยการเป็นผู้จัดหาสัมภาระในการก่อสร้างนั่นเอง (อย่าลืมต้องเก็บหลักฐานการเป็นผู้จัดหาสัมภาระให้กรมสรรพากรตรวจด้วย เช่น ใบเสร็จรับเงินในการจัดซื้อสัมภาระ เป็นต้น)
ซึ่งเราจะย้ายประเภทเงินได้ของเราได้ ต้องทำแต่เนิ่นๆ ตั้งแต่เริ่มมีรายได้เลย เพราะจะต้องมีหลักฐานให้กรมสรรพากรตรวจสอบ ดังนั้นขอย้ำเช่นเดิมก็คือ การวางแผนภาษี ต้องวาง ตั้งแต่ต้นปี โชคดีครับ
หมายเหตุ : ปีนี้อาจมีข่าวดีสำหรับผู้ที่เงินได้ประเภทที่ 1 และ 2 อาจสามารถหักค่าใช้จ่ายได้เพิ่มขึ้นจาก 40% แต่ไม่เกิน 6 หมื่นบาท เป็นไม่เกิน 1 แสนบาท
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
-
syj
- Verified User
- โพสต์: 4241
- ผู้ติดตาม: 0
|0 คอมเมนต์
ถ้าผมทำใบหัก ณ ที่จ่ายของ การบินไทย
(ปันผลได้มาแค่ 81.- แถมไม่ได้ไปขึ้นเงิน)
จะทำยังไงครับ เพราะอยากจะยื่นของ BGH
เพื่อขอคืนภาษีด้วย (สองพันกว่าบาท)
และพวกดอกเบี้่ยที่ได้จากธนาคาร ทำไงครับ
เพราะไม่เคยมีใบหัก ณ ที่จ่ายมาให้ ไม่ต้อง
ยื่นรวมกับ พวกพันธบัตรรัฐบาล ได้หรือไม่
หรือว่าต้องยื่นทุกอย่างครับ
-
sorawut
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2455
- ผู้ติดตาม: 1
|0 คอมเมนต์
เพิ่งได้ใบรับรองการหักภาษี ณ.ที่จ่ายเมื่อวาน กลางคืนลุยเลยครับ กว่าจะเสร็จตี 1 กว่าๆ (ปกตินอนเที่ยงคืนครึ่ง)
เพราะต้องกรอกรายการเครดิตภาษีใหม่ตั้ง 2 ครั้ง (19 รายการ -__-")
ครั้งแรกใช้ Firefox ธรรมดา กรอกเสร็จแล้วกดตกลง มันไม่ยอมปิดหน้าจอ และก็ไม่ยอมเอาตัวเลขไปคำนวณภาษีด้วย เลยต้องเริ่มใหม่
ครั้งที่สองใช้ IE Tab ของ Firefox เพื่อจำลองตัวเป็น IE คราวนี้กรอกหมายเลขลดหย่อนกรณีเลี้ยงดูบิดามารดาไม่ได้
พยายามกดไปกดมา ดันไปกด backspace ผิดจังหวะกลายเป็นย้อนกลับไปหน้าที่แล้ว แทนที่จะเป็นลบตัวอักษร มันก็แสดงหน้าจอว่าไม่ยอมให้กลับไปหน้าเก่าด้วยวิธีนี้ และไม่ยอมให้ทำต่อเลย ต้องเริ่มใหม่อีก
ครั้งสุดท้ายใช้ IE ธรรมดา ทำทุกอย่างใหม่จนเสร็จ
ฉะนั้นเตือนคนที่ยังไม่ได้ยื่นแบบ ให้ใช้ IE นะครับ
ตัดสินใจว่า ธุรกิจไหนที่คุณต้องการจะเป็นเจ้าของ
และซื้อเมื่อราคาสามารถให้ผลตอบแทนจากการลงทุน ในอัตราที่เข้าท่าสำหรับการร่วมทำธุรกิจเท่านั้น
-
charnengi
- Verified User
- โพสต์: 2388
- ผู้ติดตาม: 0
|0 คอมเมนต์
syj เขียน:ถ้าผมทำใบหัก ณ ที่จ่ายของ การบินไทย
(ปันผลได้มาแค่ 81.- แถมไม่ได้ไปขึ้นเงิน)
จะทำยังไงครับ เพราะอยากจะยื่นของ BGH
เพื่อขอคืนภาษีด้วย (สองพันกว่าบาท)
และพวกดอกเบี้่ยที่ได้จากธนาคาร ทำไงครับ
เพราะไม่เคยมีใบหัก ณ ที่จ่ายมาให้ ไม่ต้อง
ยื่นรวมกับ พวกพันธบัตรรัฐบาล ได้หรือไม่
หรือว่าต้องยื่นทุกอย่างครับ
ทำใบแจ้งหาย ถ้าจำตัวเลขได้ชัวร์ๆก็สามารถยื่นเครดิตภาษีได้นะครับ
แต่ถ้าแค่ 81 บาทไม่ต้องยื่นหรอกครับ เด๋วโดนเรียกตรวจต้องขอเอกสารวุ่นวายเปล่า
ดอกเบี้ยธนาคาร พันธบัตร อันนี้ไม่แน่ใจ ของผมเลือกไม่ยื่นส่วนนี้
ยื่นเรื่องวันที่ 16 กพ ได้รับ sms แล้ววันนี้ ทำงานเร็วมากแฮะ
-
sorawut
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2455
- ผู้ติดตาม: 1
|0 คอมเมนต์
charnengi เขียน:ยื่นเรื่องวันที่ 16 กพ ได้รับ sms แล้ววันนี้ ทำงานเร็วมากแฮะ
ยื่นเครดิตภาษีด้วยหรือเปล่าครับ
ผมยื่นตั้งแต่วันที่ 11 ในระบบยังบอกว่าดำเนินการอยู่เลย
อยากจะยัดหลักฐานเงินปันผลใจจะขาด :lol:
ตัดสินใจว่า ธุรกิจไหนที่คุณต้องการจะเป็นเจ้าของ
และซื้อเมื่อราคาสามารถให้ผลตอบแทนจากการลงทุน ในอัตราที่เข้าท่าสำหรับการร่วมทำธุรกิจเท่านั้น