ล้ำเลอค่า....อมตะ

เชิญมาพักผ่อน คลายร้อนนั่งเล่น คุยกันเย็นๆ พร้อมเรื่องกีฬา สัพเพเหระ ทัศนะนานา ชีวิตชีวา สุขภาพทั่วไป บันเทิงขำขัน รอบเรื่องเมืองไทย ชวนเที่ยวที่ไหน อยากไปก็นัดมา ...โย่วๆ

โพสต์ โพสต์
121
Verified User
โพสต์: 843
ผู้ติดตาม: 0

ล้ำเลอค่า....อมตะ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ความรู้เกี่ยวกับวงการเพชร....

ใส่บ่าแบกหามกันนะครับ

จากข่าวหุ้น


เดอ เบียรส์

นับแต่วันที่ 1 มกราคมเป็นต้นมา มีการเปลี่ยนแปลงสำคัญที่ลึกซึ้งในวงการธุรกิจโลก (แต่ไม่รับรู้ในวงกว้างมากนัก) เพราะตลาดเพชรร่วงหรือเพชรดิบของโลก ที่เคยถูกผูกขาดในกำมือของยักษ์ใหญ่แอฟริกาใต้ เดอ เบียร์ส รายเดียว ได้ถูกบังคับให้เปิดเสรีเป็นตลาดที่มีผู้ค้าน้อยรายแทน

เป็นมิติใหม่ในรอบนับร้อยปีของวงการเพชรร่วงหรือเพชรดิบของโลกทีเดียวสิ่งที่ต้องติดตามกันก็คือว่า การพยายามยกเลิกการผูกขาดรายเดียวของเดอ เบียรส์ จะส่งวผลให้ตลาดโลกปรับตัวกันอย่างไร และส่งผลต่อราคาเพชรร่วง หรือ เพชร เจียระไนในตลาดโลกอย่างไรบ้าง

สำหรับคนที่อยู่นอกวงการอัญมณี เรื่องนี้ อาจจะไม่ได้สำคัญอะไรมากนัก แต่หากคิดถึงมูลค่าของธุรกิจปีละหลายหมื่นล้านล้านแล้ว ต้องถือว่าไม่ใช่เรื่องสามัญได้เลย

เพชรร่วง หรือเพชรดิบในโลกนั้น มีแหล่งผลิตสำคัญ 3 แหล่งในโลกคือ แอฟริกาใต้ ออสเตรเลีย และ รัสเซีย โดยการทำเหมืองที่ต้องลงทุนมหาศาล โดยอาศัยความรู้ด้านทรัพยากรธรณีเพื่อขุดค้นขึ้นมา

เพชร กับทองคำ ที่มีสะสมอยู่ในผืนดินใต้โลกนั้น เป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงแผ่นเปลือกโลกที่พวยพุ่งลาวาออกจากจากแกนในของโลกออกมา และมักจะอยู่ในบริเวณสายแร่เดียวกัน

การทำเหมืองเพชร ต้องการเงินลงทุนมหาศาล ดังนั้น จึงต้องเป็นระบบสัมปทานผูกขาดในกำมือของยักษ์ใหญ่ระดับบริษัทข้ามชาติ และการทำธุรกิจค้าเพชรที่ขุดขึ้นมาได้ ก็ตกอยู่ในกำมือของเดอ เบียรส์ ที่เป็นเจ้าตลาดโลกมายาวนานแต่ครั้งก่อตั้งบริษัทในคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยเซซิล โรดส์ นักล่าอาณานิคมชื่อดังเชื้อสายอังกฤษ

ปัจจุบัน ผู้ถือหุ้นใหญ่ของเดอ เบียรส์คือ ตระกูล โอเพนไฮเมอร์ นักธุรกิจอังกฤษเชื้อสายยิว ที่กุมอำนาจผ่านกลไกตลาดผูกขาดในลักษณะ "ผู้ซื้อและผู้ขายรายเดียวกัน"โดยผ่านบริษัทคนกลางของกลุ่มชื่อ Supplier of Choice policy ซึ่งจะทำหน้าที่ทำสัญญาระยะยาวซื้อผูกขาดเพชรดิบจากเหมืองเพชรรายใหญ่ของโลกทั้งหมด จากนั้นก็จะกำหนดราคาขายผ่านระบบผูกขาดขาย โดยทำหน้าที่กระจายเพชรออกสู่ตลาดในราคาที่สม่ำเสมอ ให้เหมาะกับภาวะเศรษฐกิจโลก

ตลาดเพชรดิบหรือเพชรร่วงในโลกนั้น แบ่งออกได้ง่ายๆเป็นเพชรขาวเพื่อทำอัญมณี กับเพชรสี เพื่อการอุตสาหกรรม ซึ่งราคาที่กำหนดขึ้นมาในแต่ละตลาดย่อมแตกต่างกันไป แต่ทั้งหมดนี้ อยู่ใต้ข้อกำหนดของเดอ เบียรส์เป็นสำคัญมาโดยตลอด

กลวิธีผูกขาดซื้อรายเดียว และผูกขาดขายรายเดียวนี้เอง ได้กลายเป็นประเด็นทางกฎหมายที่มีการยกขึ้นมาร้องทุกข์กันหลายแห่งทั่วโลก รวมทั้งกฎหมายโฆษณาบิดเบือนข้อเท็จจริงอีกด้วย

นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2001 จนถึงปัจจุบัน คดีความเรื่องการผูกขาดของเดอ เบียรส์ได้ข้อยุติที่ชัดเจนมากขึ้นเรื่อยว่า มีแนวโน้มที่จะบังคับให้เลิกการผูกขาดมากขึ้นต่อเนื่อง เดอ เบียรส์เองก็ถูกปรับหลายต่อหลายครั้งทั้งในสหรัฐและยุโรป

ล่าสุด หลังจากการต่อสู้อันยืดเยื้อในศาล ศาลสูงของสหภาพยุโรป ก็ได้บังคับให้เดอ เบียรส์ยกเลิกข้อตกลงผูกขาดซื้อกับยักษ์ผูกขาดเหมืองเพชรรัสเซีย Alrosa นับแต่วันที่ 1 มกราคมที่ผ่านมา โดยบังคับให้ทั้งสองรายต้องสร้างเครือข่ายการตลาดของตนเองขึ้นมาแข่งขันกัน

ยักษ์ใหญ่ทั้งสองรายนี้ ครอบครองส่วนแบ่งการผลิตเพชรในตลาดโลกมากถึง 2 ใน 3 ของเพชรในตลาดทั่วโลก และการทำสัญญาผูกขาด ก็สามารถทำให้ราคาเพชรอยู่ในสภาพสูญญากาศ ที่ไม่มีใครรู้ว่าจริงแล้ว ราคาอยู่ที่เท่าใดกันแน่

จุดมุ่งหมายก็คือ หวังว่าจะทำให้ตลาดเพชรเปิดเสรีมากขึ้น และมีการแข่งขันแบบเปิดที่ทำให้โรงงานเจียระไนเพชรทั้งหลายในโลก สามารถเข้าถึงแหล่งโดยตรงได้ในราคาที่มีการแข่งขันมากขึ้นกว่าเดิม

คำถามก็คือ ในภาวะที่เศรษฐกิจโลกกำลังผกผันอย่างรุนแรงนี้ การเปิดเสรีตลาดเพชรร่วง จะเป็นประโยชน์แก้ผู้เจียระไนมากน้อยแค่ไหน? และจะทำให้การแข่งขันในโลกเพิ่มขึ้นตามปรารถนาหรือไม่? เพราะเอาเข้าจริง จำนวนเพชรที่ผลิตได้ในโลก ยังอยู่ในกำมือของบริษัทจำนวนน้อยอยู่ดี

ตลาดจากผูกขาดรายเดียว เป็นตลาดผูกขาดน้อยราย จะช่วยให้โลกของตลาดเพชรแวววาวขึ้นกว่าเดิมจริงหรือไม่ ? หรือ ว่าจะเกิดอลหม่านมากกว่า? ยังเป็นคำถามที่น่าติดตาม

เพียงแต่คำขวัญโฆษณาของเดอ เบียรส์ที่เป็นอมตะยาวนานว่า "diamond forever" นั้น คงจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป

..................
วันที่ 07 ม.ค. 2552
miracle
Verified User
โพสต์: 18134
ผู้ติดตาม: 0

ล้ำเลอค่า....อมตะ

โพสต์ที่ 2

โพสต์

นึกถึงหนังเมื่อปีที่แล้ว
เรื่อง blood diamond เลยอ่ะ
:)
:)
โพสต์โพสต์