ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 554
- ผู้ติดตาม: 0
ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ
โพสต์ที่ 62
ถ้า LIBOR เริ่มลง สัญญาณหุ้นเริ่มดีขึ้น
โพสต์ทูเดย SECTION B 14/10/2008 06:19:15
หลังจากผ่านไป 1 สัปดาห์นับจากธนาคารกลางของประเทศต่างๆ ร่วมมือกันลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย นอกจากการอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบ ยิ่งทำให้สภาพคล่องระยะสั้นกลับตึงตัวสูงขึ้น เห็นได้จากอัตราดอกเบี้ย LIBOR ที่เพิ่มขึ้นอย่าง รวดเร็วจาก 4.15% ต้นเดือน ต.ค. เป็น 6.88% เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ส่งผลให้ TED Spread พุ่งสูงขึ้นเป็น 4.26% จาก 3.87% ในระยะเวลาเพียง 1 สัปดาห์ บ่งชี้ถึงสภาพคล่องระยะสั้นที่ตึงตัวอย่างหนัก
TED Spread คือส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยตั๋วเงินคลังของสหรัฐ อายุ 3 เดือนกับดอกเบี้ย LIBOR 3 เดือน ในอดีตก่อนปี 2550 ถึง TED Spread ผันผวนอย่างไรก็ยังอยู่ในช่วง 0.1-0.5% ต่างจากปัจจุบันที่พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และ มักจะเกิดขึ้นพร้อมกับหุ้นที่ตกต่ำเพราะสภาพคล่องที่หายไปจากตลาด แม้ว่าธนาคารกลางต่างๆ โดยเฉพาะสหรัฐ และยุโรปจะพยายามเรียกความ เชื่อมั่นกลับมา แต่ดัชนีดาวโจนส์ และตลาดหุ้นทั่วโลกยังดิ่งลงอย่างหนักแล้ว ความเสี่ยงและความกลัวยังทำสถิติสูงสุดอย่างต่อเนื่อง โดย CDS (Credit Default Swap) หรือค่าธรรมเนียมในการค้ำประกันสินเชื่อ เพิ่มขึ้นจากระดับปกติที่ 3% นอกจากนี้ ดัชนี VIX ซึ่งสามารถสะท้อนความกลัวของนักลงทุน (เป็นดัชนีวัดความผันผวนของราคาหุ้นที่อยู่ใน S&P500) ทำจุดสูงสุดใหม่ที่ 69.95 จุด เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นถึง 172.6% นับจากวันที่เลห์แมนฯประกาศล้มละลาย และเพิ่มขึ้น 55% นับจากวันที่สภาคองเกรสอนุมัติแผนกู้วิกฤต 7 แสนล้านเหรียญ ซึ่งสูงกว่าช่วงเหตุการณ์ตึกเวิลด์เทรดถล่ม (VIX = 45 จุด) และช่วงฟองสบู่ดอตคอม (VIX = 34 จุด) สะท้อนถึงความผันผวนที่ยังมีอยู่สูงและยังไม่ใช่จังหวะที่เข้าลงทุนได้
ในระยะสั้นๆ สิ่งที่น่าเป็นกังวลมากกว่าตลาดหุ้นคือตลาดสินเชื่อ (ตลาดกู้ยืมระยะสั้น) ที่ขาดความไว้ใจระหว่างธนาคารด้วยกันเองซึ่งเป็นสิ่งที่อันตรายอย่างมาก เพราะจะส่งผลมายังภาวะเศรษฐกิจและตลาดหุ้นทั่วโลก แต่คาดการณ์จุดต่ำสุดไม่ได้ สิ่งที่ชี้นำทิศทางตลาดหุ้นได้ในระยะสั้น ต้องติดตาม LIBOR และ TED Spread ถ้าเริ่มนิ่งและปรับลง ตลาดหุ้นจะเริ่มมีสัญญาณที่ดีขึ้น
ดัชนี Reuters/Jefferies CRB Index ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ปรับลงอีก 11.2% และเมื่อเทียบกับจุด Peak เมื่อวันที่ 2 ก.ค. 2551 ที่ 473.518 จุด นับได้ว่า RJ/CRB Index ปรับลงแล้ว 38.8% เป็น 289.886 จุด เป็นระดับต่ำที่สุดในรอบ 1 ปี 10 เดือน ซึ่งสอดคล้องกับหุ้นในกลุ่มที่ปรับลงค่อนข้างมากนับตั้งแต่เลห์แมนฯ ประกาศล้มละลาย ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับสินค้าโภคภัณฑ์ ไม่ว่า จะเป็นกลุ่มเหมืองแร่ (-45.6%) กลุ่มปิโตรเคมี (-43.3%) กลุ่มขนส่ง (-40.9%) กลุ่มพลังงาน (-30.2%) ในขณะที่กลุ่มธนาคารและอสังหาริมทรัพย์ปรับลงแรง
รายงานล่าสุดของ IMF ได้ปรับการคาดการณ์ GDP โลกปี 2551 ลงจากเดิมที่คาด 4.1% เป็น 3.9% และปี 2552 ลงจากเดิม 3.9% เหลือเพียง 3.0% ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 2545 สำหรับ GDP ของประเทศพัฒนาแล้ว IMF คาดการณ์ว่าน่าจะเข้าใกล้ภาวะถดถอยหรืออยู่ในภาวะถดถอยเรียบร้อยแล้วตั้งแต่ครึ่งหลังปี 2551 หรือต้นปี 2552 รวมทั้งคาดว่าจะเริ่มฟื้นตัวในช่วงครึ่งหลังปี 2552 ส่วนอัตราเงินเฟ้อ IMF คาดว่าเงินเฟ้อในประเทศพัฒนาแล้วจะกลับมาลดลงเหลือ 2.0% ในปี 2552 ขณะที่ประเทศกำลังพัฒนาจะค่อยๆ ลดลงอย่างช้า
โพสต์ทูเดย SECTION B 14/10/2008 06:19:15
หลังจากผ่านไป 1 สัปดาห์นับจากธนาคารกลางของประเทศต่างๆ ร่วมมือกันลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย นอกจากการอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบ ยิ่งทำให้สภาพคล่องระยะสั้นกลับตึงตัวสูงขึ้น เห็นได้จากอัตราดอกเบี้ย LIBOR ที่เพิ่มขึ้นอย่าง รวดเร็วจาก 4.15% ต้นเดือน ต.ค. เป็น 6.88% เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ส่งผลให้ TED Spread พุ่งสูงขึ้นเป็น 4.26% จาก 3.87% ในระยะเวลาเพียง 1 สัปดาห์ บ่งชี้ถึงสภาพคล่องระยะสั้นที่ตึงตัวอย่างหนัก
TED Spread คือส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยตั๋วเงินคลังของสหรัฐ อายุ 3 เดือนกับดอกเบี้ย LIBOR 3 เดือน ในอดีตก่อนปี 2550 ถึง TED Spread ผันผวนอย่างไรก็ยังอยู่ในช่วง 0.1-0.5% ต่างจากปัจจุบันที่พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และ มักจะเกิดขึ้นพร้อมกับหุ้นที่ตกต่ำเพราะสภาพคล่องที่หายไปจากตลาด แม้ว่าธนาคารกลางต่างๆ โดยเฉพาะสหรัฐ และยุโรปจะพยายามเรียกความ เชื่อมั่นกลับมา แต่ดัชนีดาวโจนส์ และตลาดหุ้นทั่วโลกยังดิ่งลงอย่างหนักแล้ว ความเสี่ยงและความกลัวยังทำสถิติสูงสุดอย่างต่อเนื่อง โดย CDS (Credit Default Swap) หรือค่าธรรมเนียมในการค้ำประกันสินเชื่อ เพิ่มขึ้นจากระดับปกติที่ 3% นอกจากนี้ ดัชนี VIX ซึ่งสามารถสะท้อนความกลัวของนักลงทุน (เป็นดัชนีวัดความผันผวนของราคาหุ้นที่อยู่ใน S&P500) ทำจุดสูงสุดใหม่ที่ 69.95 จุด เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นถึง 172.6% นับจากวันที่เลห์แมนฯประกาศล้มละลาย และเพิ่มขึ้น 55% นับจากวันที่สภาคองเกรสอนุมัติแผนกู้วิกฤต 7 แสนล้านเหรียญ ซึ่งสูงกว่าช่วงเหตุการณ์ตึกเวิลด์เทรดถล่ม (VIX = 45 จุด) และช่วงฟองสบู่ดอตคอม (VIX = 34 จุด) สะท้อนถึงความผันผวนที่ยังมีอยู่สูงและยังไม่ใช่จังหวะที่เข้าลงทุนได้
ในระยะสั้นๆ สิ่งที่น่าเป็นกังวลมากกว่าตลาดหุ้นคือตลาดสินเชื่อ (ตลาดกู้ยืมระยะสั้น) ที่ขาดความไว้ใจระหว่างธนาคารด้วยกันเองซึ่งเป็นสิ่งที่อันตรายอย่างมาก เพราะจะส่งผลมายังภาวะเศรษฐกิจและตลาดหุ้นทั่วโลก แต่คาดการณ์จุดต่ำสุดไม่ได้ สิ่งที่ชี้นำทิศทางตลาดหุ้นได้ในระยะสั้น ต้องติดตาม LIBOR และ TED Spread ถ้าเริ่มนิ่งและปรับลง ตลาดหุ้นจะเริ่มมีสัญญาณที่ดีขึ้น
ดัชนี Reuters/Jefferies CRB Index ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ปรับลงอีก 11.2% และเมื่อเทียบกับจุด Peak เมื่อวันที่ 2 ก.ค. 2551 ที่ 473.518 จุด นับได้ว่า RJ/CRB Index ปรับลงแล้ว 38.8% เป็น 289.886 จุด เป็นระดับต่ำที่สุดในรอบ 1 ปี 10 เดือน ซึ่งสอดคล้องกับหุ้นในกลุ่มที่ปรับลงค่อนข้างมากนับตั้งแต่เลห์แมนฯ ประกาศล้มละลาย ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับสินค้าโภคภัณฑ์ ไม่ว่า จะเป็นกลุ่มเหมืองแร่ (-45.6%) กลุ่มปิโตรเคมี (-43.3%) กลุ่มขนส่ง (-40.9%) กลุ่มพลังงาน (-30.2%) ในขณะที่กลุ่มธนาคารและอสังหาริมทรัพย์ปรับลงแรง
รายงานล่าสุดของ IMF ได้ปรับการคาดการณ์ GDP โลกปี 2551 ลงจากเดิมที่คาด 4.1% เป็น 3.9% และปี 2552 ลงจากเดิม 3.9% เหลือเพียง 3.0% ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 2545 สำหรับ GDP ของประเทศพัฒนาแล้ว IMF คาดการณ์ว่าน่าจะเข้าใกล้ภาวะถดถอยหรืออยู่ในภาวะถดถอยเรียบร้อยแล้วตั้งแต่ครึ่งหลังปี 2551 หรือต้นปี 2552 รวมทั้งคาดว่าจะเริ่มฟื้นตัวในช่วงครึ่งหลังปี 2552 ส่วนอัตราเงินเฟ้อ IMF คาดว่าเงินเฟ้อในประเทศพัฒนาแล้วจะกลับมาลดลงเหลือ 2.0% ในปี 2552 ขณะที่ประเทศกำลังพัฒนาจะค่อยๆ ลดลงอย่างช้า
- naris
- Verified User
- โพสต์: 6726
- ผู้ติดตาม: 0
ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ
โพสต์ที่ 63
ส่วนตัวผมว่า ไม่นานน่าจะเริ่มลงแล้วครับ เพราะความเชื่อมั่นจะมากขึ้น จากความร่วมมือกันอย่างแข็งขันในหลายๆประเทศในการประกันเงินฝาก การปล่อยกู้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำระยะยาวและการซื้อกิจการแบงค์ที่ไปไม่ไหว
รอลุ้นให้มันลงจริงๆ
รอลุ้นให้มันลงจริงๆ
ราคาระยะสั้นตามข่าว--ราคาระยะยาวตามผลกำไร
- Linzhi
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1464
- ผู้ติดตาม: 1
ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ
โพสต์ที่ 64
ลุ้นด้วยครับพี่นริศnaris เขียน:ส่วนตัวผมว่า ไม่นานน่าจะเริ่มลงแล้วครับ เพราะความเชื่อมั่นจะมากขึ้น จากความร่วมมือกันอย่างแข็งขันในหลายๆประเทศในการประกันเงินฝาก การปล่อยกู้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำระยะยาวและการซื้อกิจการแบงค์ที่ไปไม่ไหว
รอลุ้นให้มันลงจริงๆ
ดูเหมือนโลกนี้สามัคคีกว่าแต่ก่อน ไม่รู้จะเป็นไปได้นานแค่ไหน
แต่หลายหัวก็ดีกว่าหัวเดียวอยู่แล้ว คงจะเรียนรู้จากประวัติศาสตร์
ขอแค่ลดปัญหาได้ก็ดีแล้วครับ อย่างน้อยถ้าเขื่อนแตก มาเจอเขื่อนเอเชีย
ก็ยังเบาแรงหน่อย เพราะคราวนี้ไม่รู้จีนกับญี่ปุ่นจะเอาอยู่รึเปล่า
เกาหลีใต้ อินโด ก็หนาว ๆ ร้อน ๆ แล้ว
สุดท้าย ผมดูแลสินทรัพย์ของผมดูแลบ้านผมดีกว่า คนทะเลาะกันข้ามหมู่บ้าน
ก็ฟังบ้าง ระวังบ้าง แต่ไม่อยากเอาเป็นสรณะมาก
-
- Verified User
- โพสต์: 1992
- ผู้ติดตาม: 0
ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ
โพสต์ที่ 65
[quote="hongvalue"]
... เพราะฉะนั้นการล้มรอบนี้น่าจะรุนแรงกว่าเพราะว่าวิณิชธนกิจของ usa มีการทำธุรกิจกับประเทศต่างๆทั่วโลก
ไม่เหมือนสองครั้งก่อนที่ดูแล้วไม่น่าจะกระทบทั้งโลกหนักเท่ารอบนี้ เนื่องจากเป็นปัญหาที่ตัว usa เองที่คนไม่เชื่อถือ (stagflation) เงินสกุลดอลจึงไปซื้อทอง
ส่วนรอบ great depression อ่านความเห็นอาจารย์หมอแล้วดูเหมือนจะมองว่าเป็นเพราะเศรษฐกิจ usa ไม่ได้รับ
ผลกระทบจากสงครามและโตเยอะทำให้ลงมา
ก็ไม่น่ากระทบกับทั่วโลกเท่ารอบนี้
รอบนี้แบงค์ของประเทศใหญ่ๆ ล้มกันเป็นแถบๆ
ส่วนตัวมองว่าหุ้น dow jone รอบนี้คงจะ
... เพราะฉะนั้นการล้มรอบนี้น่าจะรุนแรงกว่าเพราะว่าวิณิชธนกิจของ usa มีการทำธุรกิจกับประเทศต่างๆทั่วโลก
ไม่เหมือนสองครั้งก่อนที่ดูแล้วไม่น่าจะกระทบทั้งโลกหนักเท่ารอบนี้ เนื่องจากเป็นปัญหาที่ตัว usa เองที่คนไม่เชื่อถือ (stagflation) เงินสกุลดอลจึงไปซื้อทอง
ส่วนรอบ great depression อ่านความเห็นอาจารย์หมอแล้วดูเหมือนจะมองว่าเป็นเพราะเศรษฐกิจ usa ไม่ได้รับ
ผลกระทบจากสงครามและโตเยอะทำให้ลงมา
ก็ไม่น่ากระทบกับทั่วโลกเท่ารอบนี้
รอบนี้แบงค์ของประเทศใหญ่ๆ ล้มกันเป็นแถบๆ
ส่วนตัวมองว่าหุ้น dow jone รอบนี้คงจะ
ไม่สน return rate เยอะ, ขอแค่ financial freedom ภายใน 14 ปีก็พอ..
------------------------
------------------------
-
- Verified User
- โพสต์: 57
- ผู้ติดตาม: 0
ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ
โพสต์ที่ 66
ถามอาจารย์หมอนิดหนึ่งครับ
มาตรการที่ฝากฝังยุโรปประการออกมาในวันจันทร์นั้น เป็นการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเท่านั้น
หรือเป็นการรับประกันการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบแบบไม่จำกัดจำนวนครับ :?:
เพราะปัญหาหลักๆคือ การขาดความมั่นใจ โดยระบบสถาบันการเงินไม่ยอมปล่อยกู้ให้กับธนาคารอื่นๆ (โดยดูจากอัตราดอกเบี้ย Libour ที่ปรับตัวสูงขึ้น)
ต่างคนต่างเก็บเงินไว้ ทำให้เม็ดเงินไม่สามารถไหลเข้าสู่ระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ต่อให้ธนาคารร่วมมือกันอัดฉีดเงินเท่าไรก็ไม่พอครับ
เพราะ ตราสาร CDS (Credit Default Swap) ในระบบมีถึงประมาณ 62 ล้านล้านดอลล่าห์
ที่อัดฉีดกันเข้าไปเป็นเศษเสี้ยวเท่านั้นครับ
ดังนั้นคำถามที่ผมถามนั้นเป็นจุดกลับของวิกฤติครั้งนี้ครับ
ถ้าหากธนาคารรับประกันเงินอัดฉีดแบบไม่จำกัดจำนวนแล้ว
ความมั่นใจที่จะมีแหล่งเงินในการปล่อยกู้ระหว่างธนาคารก็จะกลับมา เงินก็สามารถไหลสู่ระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพครับ ปัญหาก็จะคลี่คลายลงครับ
ขอความเห็นของอาจารย์หมอและพี่ๆน้องๆ คนอื่นๆ
และขอความชัดเจนของข่าวนิดหนึ่งครับ
หวังว่าจะเป็นข่าวดี
มาตรการที่ฝากฝังยุโรปประการออกมาในวันจันทร์นั้น เป็นการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเท่านั้น
หรือเป็นการรับประกันการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบแบบไม่จำกัดจำนวนครับ :?:
เพราะปัญหาหลักๆคือ การขาดความมั่นใจ โดยระบบสถาบันการเงินไม่ยอมปล่อยกู้ให้กับธนาคารอื่นๆ (โดยดูจากอัตราดอกเบี้ย Libour ที่ปรับตัวสูงขึ้น)
ต่างคนต่างเก็บเงินไว้ ทำให้เม็ดเงินไม่สามารถไหลเข้าสู่ระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ต่อให้ธนาคารร่วมมือกันอัดฉีดเงินเท่าไรก็ไม่พอครับ
เพราะ ตราสาร CDS (Credit Default Swap) ในระบบมีถึงประมาณ 62 ล้านล้านดอลล่าห์
ที่อัดฉีดกันเข้าไปเป็นเศษเสี้ยวเท่านั้นครับ
ดังนั้นคำถามที่ผมถามนั้นเป็นจุดกลับของวิกฤติครั้งนี้ครับ
ถ้าหากธนาคารรับประกันเงินอัดฉีดแบบไม่จำกัดจำนวนแล้ว
ความมั่นใจที่จะมีแหล่งเงินในการปล่อยกู้ระหว่างธนาคารก็จะกลับมา เงินก็สามารถไหลสู่ระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพครับ ปัญหาก็จะคลี่คลายลงครับ
ขอความเห็นของอาจารย์หมอและพี่ๆน้องๆ คนอื่นๆ
และขอความชัดเจนของข่าวนิดหนึ่งครับ
หวังว่าจะเป็นข่าวดี
-
- Verified User
- โพสต์: 1992
- ผู้ติดตาม: 0
ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ
โพสต์ที่ 68
[quote="hongvalue"][quote="chatchai"][quote]ตลาดหุ้นสหรัฐฯ-ยุโรปฟื้นหลังรัฐบาลชาติต่างๆผนึกกำลังแก้วิกฤตการเงิน
เอเอฟพี - หุ้นวอลล์สตรีท ทะยานขึ้นอย่างแรงเมื่อวันจันทร์(13) หลังรัฐบาลทั่วโลกผนึกกำลังในความพยายามสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนและบรรเทาวิกฤตการเงิน อัดฉีดเงินนับแสนล้านดอลลาร์ฯ ประกันเงินฝากและพยุงธนาคารที่ประสบปัญหา ขณะที่ราคาน้ำมันขยับขึ้นราว 2 ดอลลาร์
เอเอฟพี - หุ้นวอลล์สตรีท ทะยานขึ้นอย่างแรงเมื่อวันจันทร์(13) หลังรัฐบาลทั่วโลกผนึกกำลังในความพยายามสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนและบรรเทาวิกฤตการเงิน อัดฉีดเงินนับแสนล้านดอลลาร์ฯ ประกันเงินฝากและพยุงธนาคารที่ประสบปัญหา ขณะที่ราคาน้ำมันขยับขึ้นราว 2 ดอลลาร์
ไม่สน return rate เยอะ, ขอแค่ financial freedom ภายใน 14 ปีก็พอ..
------------------------
------------------------
-
- Verified User
- โพสต์: 19
- ผู้ติดตาม: 0
ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ
โพสต์ที่ 69
ถามคุณหมอ mprandy
ผมเฝ้าดูการสนทนามานานแล้ว ไม่กล้าแจมสักที แต่ตอนนี้อยากร่วมแจมบ้างครับ
คำถามผมไม่เกี่ยวกับหุ้น แต่เกี่ยวกับค่าเงินดอลล่าร์นะครับ
คือว่าทำไมช่วงนี้มีกระแสที่คิดว่า เงินดอลล่าร์อเมริกาอยู่ในขาขึ้นครับ ในเมื่ออเมริกามีปัญหาขาดดุลแฝดเรื้อรังมานานแล้ว แล้วมาซ้ำด้วยวิกฤติสถาบันการเงินอีก ถ้าเงินดอลล่าร์ขาขึ้นไม่ยิ่งไปซ้ำเติมเศรษฐกิจไปกันใหญ่หรือ นอกจากนี้มันก็ขัดกับหลักอุปทาน นั่นคือ เมื่อแพกเกจ 7 แสนล้านออกมาอย่างน้อยก็ทำให้ปริมาณเงินดอลล่าร์เพิ่มขึ้น เงินดอลล่าร์ก็ควรจะอ่อนลงไม่ใช่หรือครับ
กระบวนการคิดของผมถูกหรือผิดกันแน่ครับ
ผมเฝ้าดูการสนทนามานานแล้ว ไม่กล้าแจมสักที แต่ตอนนี้อยากร่วมแจมบ้างครับ
คำถามผมไม่เกี่ยวกับหุ้น แต่เกี่ยวกับค่าเงินดอลล่าร์นะครับ
คือว่าทำไมช่วงนี้มีกระแสที่คิดว่า เงินดอลล่าร์อเมริกาอยู่ในขาขึ้นครับ ในเมื่ออเมริกามีปัญหาขาดดุลแฝดเรื้อรังมานานแล้ว แล้วมาซ้ำด้วยวิกฤติสถาบันการเงินอีก ถ้าเงินดอลล่าร์ขาขึ้นไม่ยิ่งไปซ้ำเติมเศรษฐกิจไปกันใหญ่หรือ นอกจากนี้มันก็ขัดกับหลักอุปทาน นั่นคือ เมื่อแพกเกจ 7 แสนล้านออกมาอย่างน้อยก็ทำให้ปริมาณเงินดอลล่าร์เพิ่มขึ้น เงินดอลล่าร์ก็ควรจะอ่อนลงไม่ใช่หรือครับ
กระบวนการคิดของผมถูกหรือผิดกันแน่ครับ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11443
- ผู้ติดตาม: 0
ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ
โพสต์ที่ 70
[quote="ignorant"]ถามคุณหมอ mprandy
ผมเฝ้าดูการสนทนามานานแล้ว ไม่กล้าแจมสักที แต่ตอนนี้อยากร่วมแจมบ้างครับ
คำถามผมไม่เกี่ยวกับหุ้น แต่เกี่ยวกับค่าเงินดอลล่าร์นะครับ
คือว่าทำไมช่วงนี้มีกระแสที่คิดว่า เงินดอลล่าร์อเมริกาอยู่ในขาขึ้นครับ
ผมเฝ้าดูการสนทนามานานแล้ว ไม่กล้าแจมสักที แต่ตอนนี้อยากร่วมแจมบ้างครับ
คำถามผมไม่เกี่ยวกับหุ้น แต่เกี่ยวกับค่าเงินดอลล่าร์นะครับ
คือว่าทำไมช่วงนี้มีกระแสที่คิดว่า เงินดอลล่าร์อเมริกาอยู่ในขาขึ้นครับ
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
- hongvalue
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2703
- ผู้ติดตาม: 0
ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ
โพสต์ที่ 72
[quote="pongo"]พี่หมอ น้องฮง ฯลฯ สุดยอดมาก
ผมเคยแซวพี่หมอว่าเป็นเกษตรกรปลอมตัวมา (คุย TR กับแก)
ตอนนี้กลายเป็นนักเศรษฐศาสตร์ไปแล้ว
อ่านกระทู้นี้รอบเดียวไม่สามารถเข้าใจได้แจ่มแจ้งแฮะ
ต้องอ่านวนหลายๆ รอบ
ผมเคยแซวพี่หมอว่าเป็นเกษตรกรปลอมตัวมา (คุย TR กับแก)
ตอนนี้กลายเป็นนักเศรษฐศาสตร์ไปแล้ว
อ่านกระทู้นี้รอบเดียวไม่สามารถเข้าใจได้แจ่มแจ้งแฮะ
ต้องอ่านวนหลายๆ รอบ
สนใจเรื่องบัญชี กลยุทธ์ลงทุน fundflow แจมได้ที่ blog ผม
http://hongvalue.wordpress.com/
-ติดตาม twitter เรื่องหุ้นของผมได้ที่
http://twitter.com/hongvalue
my book
http://wp.me/pzSOv-hP
http://hongvalue.wordpress.com/
-ติดตาม twitter เรื่องหุ้นของผมได้ที่
http://twitter.com/hongvalue
my book
http://wp.me/pzSOv-hP
- hongvalue
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2703
- ผู้ติดตาม: 0
ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ
โพสต์ที่ 73
mprandy เขียน:
สุดท้าย.. ผมอยากฟังความเห็นเพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ ท่านอื่นบ้างครับ อย่าปล่อยให้ผมพล่ามอยู่คนเดียวสิ
อย่าเพิ่งเลิกนะครับ
วันนี้ผมยุ่งน่ะครับ
เดี่ยวผมมาแชร์และถามต่อครับ
พรุ่งนี้จะเข้ามาครับ
และอาจารย์หมอไม่ได้พล่ามหรอกครับ
ทุกคนตั้งใจฟัง lecture อยู่ครับ
แต่หลายคนยังมึนๆอยู่เลยตั้งตัวซะหน่อยเพราะมันลึกซึ้งน่ะครับ
สนใจเรื่องบัญชี กลยุทธ์ลงทุน fundflow แจมได้ที่ blog ผม
http://hongvalue.wordpress.com/
-ติดตาม twitter เรื่องหุ้นของผมได้ที่
http://twitter.com/hongvalue
my book
http://wp.me/pzSOv-hP
http://hongvalue.wordpress.com/
-ติดตาม twitter เรื่องหุ้นของผมได้ที่
http://twitter.com/hongvalue
my book
http://wp.me/pzSOv-hP
-
- Verified User
- โพสต์: 1992
- ผู้ติดตาม: 0
ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ
โพสต์ที่ 74
รอน้องริวเหมือนกัน ไม่เห็นมาซักที แล้วก็อย่าชมเลยครับ (จ๋าขอ.. :lovl:)Quantum of Solace เขียน:หมอครับ ความรู้สุดยอดมาก อยากให้พี่ริวกะ มาแจมกระทู้นี้อีกคน
ส่งผลเรื่องหนี้สาธารณะที่ต้องมีมากขึ้น รัฐบาลต้องพิมพ์พันธบัตรออกมาขายมากขึ้น แล้วการที่ขาดดุลทั้งงบประมาณและการค้า (twin deficit) ทำให้ค่าเงินมันอ่อนลง แต่อาจจะไม่เกี่ยวกับวิกฤตครั้งนี้เท่าไหร่Quantum of Solace เขียน:หมอว่า หลังจาก 9/11 แล้ว อเมริกา ส่งทหารไปรบที่อัฟกัน กับที่อิรัก
นี่ส่งผลแค่ไหนครับ เพราะผงาญเงินไปไม่น้อยทีเดียว
ผมว่าเกือบทุกฝ่ายได้เงินหมดครับ ทั้งรัฐบาลได้เงินในรูปภาษีหลากหลายรูปแบบทั้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (รวมถึง capital gain tax ที่คนอเมริกันต้องเสียด้วย เวลาขายหุ้นได้กำไร), ภาษีเงินได้นิติบุคคล (เพราะบริษัทวาณิชธนกิจกำไรอู้ฟู่มาหลายปี), กิจการทุกชนิดก็ขายของได้ เพราะคนอเมริกันรู้สึกว่าตัวเองรวยขึ้น (จากมูลค่าอสังหาที่มากขึ้น) เลยใช้จ่ายมากขึ้น (อัตราการออมของคนอเมริกันติดลบมาหลายปี), ทุกประเทศที่ส่งออกไปอเมริกาแล้วได้ดุลการค้าก็ได้เงินดอลลาร์จากอเมริกามาเหมือนกัน, แม้กระทั่งกิจการในเมืองไทยอย่าง รพ.ที่รับผู้ป่วยต่างชาติ, โรงแรมรับนักท่องเที่ยว ฯลฯQuantum of Solace เขียน:ผมว่า ที่ถามๆกันว่า วิกฤตครั้งนี้ใครได้เงินไป ผมว่า รัฐบาลเมกัน ต้องมีเอี่ยวแน่นอน ด้านภาษี จากเงินที่มันหมุนฟูฟ่องในระบบ มา 6-7 ปี
รัฐก็ชักส่วนนึงเข้ากระเป๋า แล้วก็เอาไปเผากับ ยุทโธปกรณ์ เข่นฆ่าคน
หมอว่าเกี่ยวมั้ยครับ
เลยดูเหมือนว่า ที่ผ่านมาเราถอนเงินที่ควรจะได้มาใช้สอยล่วงหน้าจนเกินตัว ตอนนี้ก็เลยต้องคืนไปเพื่อให้กลับสู่สมดุล
เคยมีคนสงสัยเรื่องผู้ก่อการร้ายพยายาม manipulate โดยมีคนตั้งข้อสังเกตว่าหุ้นบางตัวใน NYSE ถูก short มากกว่าปกติก่อน 9/11 แล้วพอเกิดเรื่องดัชนีตกรูดมหาราช ได้กำไรไปมากโขQuantum of Solace เขียน:อีกมุม คือ พวก terrorist อัล เคด้า นี่มีโอกาส manipulate ระบบเศรษฐกิจในช่วง 6-7 ปีหลังจาก 9/11 มั้ยครับ แบบว่าค่อยๆปั่นราคาน้ำมัน เอาเงินที่ได้ไปลงทุนในระบบการเงิน อย่างที่หมอเล่าให้ฟัง ค่อยๆปั่นฟองสบู่ไป
ตังค์ก็ได้มากขึ้น พอได้จังหวะ ก็ชักดาบ เบี้ยวหนี้ ทำให้ บริษัทที่เกี่ยวข้องกระทบกันเป็นลุกโซ่ จนลุกลามอย่างปัจจุบัน
หมอคิดเห็นว่าไงครับ
คือผมคิดเอาเองทั้งสิ้น ยังกะนิยาย ไม่มีข้อมูล back-up ใดๆทั้งสิ้น
เมกาก็ไม่เคยไปนะครับ อยากให้หมอช่วยcomment ด้วย
สืบสวนแล้วก็ไม่มีมูลครับ ยิ่งสมัยนี้จะโยกย้ายเงินไปลงทุนไม่ง่าย โดนเขาตรวจเช็คกันขนาดนี้ โอกาสโดนจับและอายัดน่าจะมากกว่า
ไม่สน return rate เยอะ, ขอแค่ financial freedom ภายใน 14 ปีก็พอ..
------------------------
------------------------
-
- Verified User
- โพสต์: 590
- ผู้ติดตาม: 0
ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ
โพสต์ที่ 76
ผมขอใช้ความรู้อันน้อยนิดมองละกัน
ผมมองว่าอเมริกามีปัญหามากก็จริง แต่เขามีหนี้ทั้งรัฐบาลและบริษัทเอกชนเป็นเงินสกุลตัวเองคือ usd ครับ ฉะนั้นค่าเงิน USD อ่อนไม่ได้มีผลลบต่อเขามากนัก
ต่างกับไทยตอนปี40 หรือไอซ์แลนด์ประเทศล่าสุด มีหนี้เป็นสกุลต่างประเทศคือ usd พอค่าเงินตัวเองอ่อนค่าอย่างแรงก็เลยแทบล้มละลายไปเลย
การมีหนี้เป็นสกุลตัวเองสามารถลดกระทบด้วยนโยบายดอกเบี้ยที่ต่ำ อย่างล่าสุดดอกเบี้ยus t-bill 3month วิ่งอยู่แถวๆ0.25%ต่อปี
http://www.bloomberg.com/markets/rates/index.html
ทำให้แม้มีหนี้เยอะก็จ่ายดอกเบี้ยต่ำ แต่โอกาสเงินเฟ้อคงมีน้อยเพราะเศรษฐกิจตกต่ำ
ทำให้ประเทศที่มีทุนสำรองเยอะๆ
https://www.cia.gov/library/publication ... 8rank.html
อย่างจีน เกาหลีใต้ ไต้หวัน ไทยต้องคิดละครับว่าจะถือพันธบัตรสหรัฐดอกเบี้ยต่ำแบบนี้ไปทำไม แล้วไม่ถือจะย้ายไปถืออะไร(ควรจ้าง buffet มาเป็นที่ปรึกษา)
ผมมองว่าอเมริกามีปัญหามากก็จริง แต่เขามีหนี้ทั้งรัฐบาลและบริษัทเอกชนเป็นเงินสกุลตัวเองคือ usd ครับ ฉะนั้นค่าเงิน USD อ่อนไม่ได้มีผลลบต่อเขามากนัก
ต่างกับไทยตอนปี40 หรือไอซ์แลนด์ประเทศล่าสุด มีหนี้เป็นสกุลต่างประเทศคือ usd พอค่าเงินตัวเองอ่อนค่าอย่างแรงก็เลยแทบล้มละลายไปเลย
การมีหนี้เป็นสกุลตัวเองสามารถลดกระทบด้วยนโยบายดอกเบี้ยที่ต่ำ อย่างล่าสุดดอกเบี้ยus t-bill 3month วิ่งอยู่แถวๆ0.25%ต่อปี
http://www.bloomberg.com/markets/rates/index.html
ทำให้แม้มีหนี้เยอะก็จ่ายดอกเบี้ยต่ำ แต่โอกาสเงินเฟ้อคงมีน้อยเพราะเศรษฐกิจตกต่ำ
ทำให้ประเทศที่มีทุนสำรองเยอะๆ
https://www.cia.gov/library/publication ... 8rank.html
อย่างจีน เกาหลีใต้ ไต้หวัน ไทยต้องคิดละครับว่าจะถือพันธบัตรสหรัฐดอกเบี้ยต่ำแบบนี้ไปทำไม แล้วไม่ถือจะย้ายไปถืออะไร(ควรจ้าง buffet มาเป็นที่ปรึกษา)
-
- Verified User
- โพสต์: 129
- ผู้ติดตาม: 0
ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ
โพสต์ที่ 78
เวลามีความมั่นใจ เงินในโลกก็มีมากขึ้นเรื่อยๆครับ ของก็ราคาแพงขึ้น
เวลามีความกลัว เงินก็มีปริมาณน้อยลง ของก็ราคาถูกลง
เงินเป็นตัวแทนของความเชื่อมั่น ซานต้ามะกันเลยแจกเงินให้โลกใบนี้เรื่อยๆ อาเฮียกับพี่ยุ่นรับไปเยอะหน่อย อย่าเชื่อตูน้อยลงนะ
ยุโรปก็เอาบ้าง ตูแจกบ้างละกัน แจกแบงค์ไอ้กันนี่แหละ เชื่อตูบ้างนะ
แต่พี่ไทยเรารับแล้วเก็บไว้ในบ้าน วันดีคืนดีก็เผาบ้านตัวเองเล่น เผาความเชื่อมั่นของตัวเอง(เผลอไปนิด ขออภัย)
เวลามีความกลัว เงินก็มีปริมาณน้อยลง ของก็ราคาถูกลง
เงินเป็นตัวแทนของความเชื่อมั่น ซานต้ามะกันเลยแจกเงินให้โลกใบนี้เรื่อยๆ อาเฮียกับพี่ยุ่นรับไปเยอะหน่อย อย่าเชื่อตูน้อยลงนะ
ยุโรปก็เอาบ้าง ตูแจกบ้างละกัน แจกแบงค์ไอ้กันนี่แหละ เชื่อตูบ้างนะ
แต่พี่ไทยเรารับแล้วเก็บไว้ในบ้าน วันดีคืนดีก็เผาบ้านตัวเองเล่น เผาความเชื่อมั่นของตัวเอง(เผลอไปนิด ขออภัย)
-
- Verified User
- โพสต์: 554
- ผู้ติดตาม: 0
ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ
โพสต์ที่ 79
ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก: ดอลล์อ่อนตัว หลังแผนฟื้นฟูสหรัฐฉุดดอกเบี้ยอินเตอร์แบงค์ร่วง
IQ ข่าวเศรษฐกิจ 15/10/2008 07:13:00
ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐร่วงลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (14 ต.ค.) ซึ่งเป็นการร่วงลงติดต่อกัน 2 วันทำการ เพราะได้รับแรงกดดันจากอัตราดอกเบี้ยอินเตอร์แบงค์ที่ปรับตัวลดลงหลังจากมีข่าวว่ารัฐบาลสหรัฐประกาศแผนอัดฉีดเงินทุนให้กับธนาคารยักษ์ใหญ่ 9 แห่งผ่านทางการซื้อหุ้นบุริมสิทธิ์ของธนาคารเหล่านี้
สำนักข่าวเอพีรายงานว่า ค่าเงินดอลลาร์ร่วงลงเมื่อเทียบกับเยนที่ 101.87 เยน/ดอลลาร์ จากระดับของวันจันทร์ที่ 101.99 เยน/ดอลลาร์ และอ่อนตัวลงเมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ 1.1340 ฟรังค์/ดอลลาร์ จากระดับ 1.1373 ฟรังค์/ดอลลาร์
ขณะที่ค่าเงินยูโรพุ่งขึ้นแตะระดับ 1.3645 ดอลลาร์/ยูโร จากระดับของวันจันทร์ที่ 1.3591 ดอลลาร์/ยูโร และเงินปอนด์พุ่งขึ้นแตะระดับ 1.7420 ดอลลาร์/ปอนด์ จากระดับ 1.7395 ดอลลาร์/ปอนด์
ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียทรงตัวอยู่ที่ 0.6981 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์ออสเตรเลีย และดอลลาร์นิวซีแลนด์พุ่งขึ้นแตะระดับ 0.6204 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์นิวซีแลนด์ จากระดับ 0.6158 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์นิวซีแลนด์
ดอลลาร์ได้รับแรงกดดันอย่างหนักจากการร่วงลงของอัตราดอกเบี้ยอินเตอร์แบงค์ หลังจากรัฐบาลสหรัฐใช้มาตรการฟื้นฟูระบบการเงินเบื้องต้นมูลค่า 2.5 แสนล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในมาตรการฟื้นฟูมูลค่า 7 แสนล้านดอลลาร์ โดยรัฐบาลจะใช้เม็ดเงิน 2.50 แสนล้านดอลลาร์เข้าซื้อหุ้นบุริมสิทธ์ของ 9 ธนาคารยักษ์ใหญ่ ได้แก่ ธนาคารซิตี้กรุ๊ป, ธนาคารเวลส์ ฟาร์โก, เจพีมอร์แกน เชส แอนด์ โค, แบงค์ ออฟ อเมริกา, โกลด์แมน แซคส์, มอร์แกน สแตนลีย์, สเตทสตรีท คอร์ป,แบงค์ ออฟ นิวยอร์ก เมลลอน คอร์ป และเมอร์ริล ลินช์
นอกจากนี้ บุชจะเสนอมาตรการฟื้นฟูระบบการเงินเฟสที่ 2 คิดเป็นมูลค่า 5.6 หมื่นล้านดอลลาร์เพื่อให้สภาคองเกรสได้พิจารณาลงมติต่อไป
มาตรการดังกล่าวส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยอินเตอร์แบงค์สกุลเงินดอลลาร์ประเภท 3 เดือนที่ตลาดลอนดอน (LIBOR) ร่วงลงแตะระดับ 4.64% จากระดับ 4.75% ขณะที่อัตราดอกเบี้ยอินเตอร์แบงค์ที่ตลาดสิงคโปร์ (Sibor) ลดลง 0.13% แตะ 4.66% ซึ่งลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 1 สัปดาห์ และอัตราดอกเบี้ยอินเตอร์แบงค์ที่ตลาดฮ่องกง (Hibor) ร่วงลง 0.02% แตะ 4.42% ซึ่งอ่อนตัวลงเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่วันที่ 26 ก.ย. นอกจากนี้ อัตราดอกเบี้ยอินเตอร์แบงค์ในตลาดญี่ปุ่นและออสเตรเลียอ่อนตัวลงด้วย เนื่องจากธนาคารกลางของทั้งสองประเทศได้อัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบการเงิน
ความเคลื่อนไหวของสหรัฐมีขึ้นหลังจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ร่วมกับกลุ่มประเทศ G7 ประกาศใช้มาตรการต้านวิกฤตการเงินทั่วโลก ซึ่งรวมถึงการปกป้องไม่ให้สถาบันการเงินเหล่านี้ล้มละลาย ส่วนในฝั่งยุโรปนั้น กลุ่มผู้นำยุโรปมีมติให้ใช้มาตรการรับมือกับปัญหาในระบบการเงิน ซึ่งครอบคลุมถึงการรับประกันเงินกู้ยืมระหว่างธนาคารพาณิชย์ และจะใช้งบประมาณในรูปสกุลเงินยูโรรับมือกับภาวะสินเชื่อตึงตัวในตลาดและยับยั้งความตื่นตระหนกของนักลงทุน
IQ ข่าวเศรษฐกิจ 15/10/2008 07:13:00
ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐร่วงลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (14 ต.ค.) ซึ่งเป็นการร่วงลงติดต่อกัน 2 วันทำการ เพราะได้รับแรงกดดันจากอัตราดอกเบี้ยอินเตอร์แบงค์ที่ปรับตัวลดลงหลังจากมีข่าวว่ารัฐบาลสหรัฐประกาศแผนอัดฉีดเงินทุนให้กับธนาคารยักษ์ใหญ่ 9 แห่งผ่านทางการซื้อหุ้นบุริมสิทธิ์ของธนาคารเหล่านี้
สำนักข่าวเอพีรายงานว่า ค่าเงินดอลลาร์ร่วงลงเมื่อเทียบกับเยนที่ 101.87 เยน/ดอลลาร์ จากระดับของวันจันทร์ที่ 101.99 เยน/ดอลลาร์ และอ่อนตัวลงเมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ 1.1340 ฟรังค์/ดอลลาร์ จากระดับ 1.1373 ฟรังค์/ดอลลาร์
ขณะที่ค่าเงินยูโรพุ่งขึ้นแตะระดับ 1.3645 ดอลลาร์/ยูโร จากระดับของวันจันทร์ที่ 1.3591 ดอลลาร์/ยูโร และเงินปอนด์พุ่งขึ้นแตะระดับ 1.7420 ดอลลาร์/ปอนด์ จากระดับ 1.7395 ดอลลาร์/ปอนด์
ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียทรงตัวอยู่ที่ 0.6981 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์ออสเตรเลีย และดอลลาร์นิวซีแลนด์พุ่งขึ้นแตะระดับ 0.6204 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์นิวซีแลนด์ จากระดับ 0.6158 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์นิวซีแลนด์
ดอลลาร์ได้รับแรงกดดันอย่างหนักจากการร่วงลงของอัตราดอกเบี้ยอินเตอร์แบงค์ หลังจากรัฐบาลสหรัฐใช้มาตรการฟื้นฟูระบบการเงินเบื้องต้นมูลค่า 2.5 แสนล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในมาตรการฟื้นฟูมูลค่า 7 แสนล้านดอลลาร์ โดยรัฐบาลจะใช้เม็ดเงิน 2.50 แสนล้านดอลลาร์เข้าซื้อหุ้นบุริมสิทธ์ของ 9 ธนาคารยักษ์ใหญ่ ได้แก่ ธนาคารซิตี้กรุ๊ป, ธนาคารเวลส์ ฟาร์โก, เจพีมอร์แกน เชส แอนด์ โค, แบงค์ ออฟ อเมริกา, โกลด์แมน แซคส์, มอร์แกน สแตนลีย์, สเตทสตรีท คอร์ป,แบงค์ ออฟ นิวยอร์ก เมลลอน คอร์ป และเมอร์ริล ลินช์
นอกจากนี้ บุชจะเสนอมาตรการฟื้นฟูระบบการเงินเฟสที่ 2 คิดเป็นมูลค่า 5.6 หมื่นล้านดอลลาร์เพื่อให้สภาคองเกรสได้พิจารณาลงมติต่อไป
มาตรการดังกล่าวส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยอินเตอร์แบงค์สกุลเงินดอลลาร์ประเภท 3 เดือนที่ตลาดลอนดอน (LIBOR) ร่วงลงแตะระดับ 4.64% จากระดับ 4.75% ขณะที่อัตราดอกเบี้ยอินเตอร์แบงค์ที่ตลาดสิงคโปร์ (Sibor) ลดลง 0.13% แตะ 4.66% ซึ่งลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 1 สัปดาห์ และอัตราดอกเบี้ยอินเตอร์แบงค์ที่ตลาดฮ่องกง (Hibor) ร่วงลง 0.02% แตะ 4.42% ซึ่งอ่อนตัวลงเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่วันที่ 26 ก.ย. นอกจากนี้ อัตราดอกเบี้ยอินเตอร์แบงค์ในตลาดญี่ปุ่นและออสเตรเลียอ่อนตัวลงด้วย เนื่องจากธนาคารกลางของทั้งสองประเทศได้อัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบการเงิน
ความเคลื่อนไหวของสหรัฐมีขึ้นหลังจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ร่วมกับกลุ่มประเทศ G7 ประกาศใช้มาตรการต้านวิกฤตการเงินทั่วโลก ซึ่งรวมถึงการปกป้องไม่ให้สถาบันการเงินเหล่านี้ล้มละลาย ส่วนในฝั่งยุโรปนั้น กลุ่มผู้นำยุโรปมีมติให้ใช้มาตรการรับมือกับปัญหาในระบบการเงิน ซึ่งครอบคลุมถึงการรับประกันเงินกู้ยืมระหว่างธนาคารพาณิชย์ และจะใช้งบประมาณในรูปสกุลเงินยูโรรับมือกับภาวะสินเชื่อตึงตัวในตลาดและยับยั้งความตื่นตระหนกของนักลงทุน
- hongvalue
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2703
- ผู้ติดตาม: 0
ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ
โพสต์ที่ 80
mprandy เขียน:
เหมือนคน ๆ หนึ่งไม่ยอมขึ้นสะพานลอยข้ามถนน แต่ลองเดินข้ามถนนเอง ข้ามหนแรก ๆ ก็กลัว ระแวดระวังเต็มที่ พอข้ามบ่อยเข้าก็ไม่เกิดอะไรขึ้น พาลคิดไปว่าก็ปลอดภัยดี แล้วจู่ ๆ วันหนึ่งก็โดนรถชน ...
สนใจเรื่องบัญชี กลยุทธ์ลงทุน fundflow แจมได้ที่ blog ผม
http://hongvalue.wordpress.com/
-ติดตาม twitter เรื่องหุ้นของผมได้ที่
http://twitter.com/hongvalue
my book
http://wp.me/pzSOv-hP
http://hongvalue.wordpress.com/
-ติดตาม twitter เรื่องหุ้นของผมได้ที่
http://twitter.com/hongvalue
my book
http://wp.me/pzSOv-hP
- hongvalue
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2703
- ผู้ติดตาม: 0
ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ
โพสต์ที่ 81
[quote="mprandy"][quote="wattae"]ขอบคุณทุกๆท่านที่ช่วยให้ความรู้
คุณหมอ mprandy สุดยอดครับ
คุณหมอ mprandy สุดยอดครับ
สนใจเรื่องบัญชี กลยุทธ์ลงทุน fundflow แจมได้ที่ blog ผม
http://hongvalue.wordpress.com/
-ติดตาม twitter เรื่องหุ้นของผมได้ที่
http://twitter.com/hongvalue
my book
http://wp.me/pzSOv-hP
http://hongvalue.wordpress.com/
-ติดตาม twitter เรื่องหุ้นของผมได้ที่
http://twitter.com/hongvalue
my book
http://wp.me/pzSOv-hP
- hongvalue
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2703
- ผู้ติดตาม: 0
ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ
โพสต์ที่ 82
เอาล่ะเรามาเข้าเรื่องกันซะที
อ.แพนด้า
อยากถามหน่อยว่ามีความคิดที่จะไปลงทุนใน
ตปท หรือไม่
เนื่องจาก
การลงทุนแบบ buffet ในเมืองไทยนั้น
เหมาะมากน้อยเพียงใด เพราะมีหุ้นที่ให้ถือผ่านไป
20-30 ปีแล้วได้เป็น 100 เด้งเหมือน usa นั้นแทบไม่มี
เพราะอย่างมากโตในไทยได้ก็เต็มที่ แต่ที่ usa
หลายบริษัท
สามารถโตได้ทั่วโลก
และในตลาดหุ้นไทยหุ้นที่ได้ผลตอบแทนเยอะๆ
ก็เป็นหุ้นในกลุ่ม commodity ซะส่วนใหญ่
เช่น pttep scc(กึ่งcommo) และบริษัทพวกนี้เราจะสามารถมองแบบ buffet ได้หรือว่า
อีก 10 ปีต่อไปมันควรจะมีมูลค่าเป็นเท่าไหร่
เนื่องจากว่าอีก 10 ปี ก็คงไม่มีใครรู้ราคา commodity
แล้วที่อาจารย์หมอบอกว่าไม่คาดตลาดเพราะว่าคาดไม่เป็น
แต่ผมกลับมองว่าคนที่เข้าใจเศรษฐศาสตร์มากอย่าง
อ.แพนด้า น่าจะดูแนวโน้มตลาดได้ดีกว่าคนส่วนใหญ่
เล่นหุ้นเมืองไทย ดูเหมือนกับสภาพคล่องมีอิทธิพลสูงมาก
อย่างหุ้น pttep ปีที่แล้วกำไรก็ไม่โตแต่เงินในระบบดี
ก็ทำให้คนเข้ามาเก็งเรื่องแหล่งพระอาทิตย์ล่วงหน้า
ปีนี้กำไรมาจริงๆ แต่หุ้นลง เพราะฝรั้งออก
แล้วแบบนี้เราจะเล่นหุ้นโดยไม่ดูภาพรวมได้หรือ
ในเมื่อเม็ดเงินมีอิทธิพลเหนือปัจจัยพื้นฐาน
ผมไม่เถียงว่าบางคนที่หุ้นตัวเล็กแล้วไม่กระทบเท่าไหร่
ก็อาจจะบอกว่า คุณไม่ต้องสนใจฝรั้งหรอก ขอเพียงหุ้นมัน
undervalue
ที่พูดๆมานี้ก็คืออยากถามว่า ทำไมอแพนด้าเก่งเรือ่งเม็ดเงิน
แล้วไม่ลองหัดคาดตลาดดูเหรอครับ(บางคนบอกว่าไม่มีใครทำได้
100% แต่ผมก็อยากจะบอกว่าปัจจัยพื้นฐานที่คุณคิด
มันก็ไม่ 100% เหมือนกันแหละ)
ถามเพราะอยาก discuss กันเรื่องแนว buffet ในไทย
กับ การดูเงินฝรั้ง กับ fundamental ของหุ้นน่ะครับ
อ.แพนด้า
อยากถามหน่อยว่ามีความคิดที่จะไปลงทุนใน
ตปท หรือไม่
เนื่องจาก
การลงทุนแบบ buffet ในเมืองไทยนั้น
เหมาะมากน้อยเพียงใด เพราะมีหุ้นที่ให้ถือผ่านไป
20-30 ปีแล้วได้เป็น 100 เด้งเหมือน usa นั้นแทบไม่มี
เพราะอย่างมากโตในไทยได้ก็เต็มที่ แต่ที่ usa
หลายบริษัท
สามารถโตได้ทั่วโลก
และในตลาดหุ้นไทยหุ้นที่ได้ผลตอบแทนเยอะๆ
ก็เป็นหุ้นในกลุ่ม commodity ซะส่วนใหญ่
เช่น pttep scc(กึ่งcommo) และบริษัทพวกนี้เราจะสามารถมองแบบ buffet ได้หรือว่า
อีก 10 ปีต่อไปมันควรจะมีมูลค่าเป็นเท่าไหร่
เนื่องจากว่าอีก 10 ปี ก็คงไม่มีใครรู้ราคา commodity
แล้วที่อาจารย์หมอบอกว่าไม่คาดตลาดเพราะว่าคาดไม่เป็น
แต่ผมกลับมองว่าคนที่เข้าใจเศรษฐศาสตร์มากอย่าง
อ.แพนด้า น่าจะดูแนวโน้มตลาดได้ดีกว่าคนส่วนใหญ่
เล่นหุ้นเมืองไทย ดูเหมือนกับสภาพคล่องมีอิทธิพลสูงมาก
อย่างหุ้น pttep ปีที่แล้วกำไรก็ไม่โตแต่เงินในระบบดี
ก็ทำให้คนเข้ามาเก็งเรื่องแหล่งพระอาทิตย์ล่วงหน้า
ปีนี้กำไรมาจริงๆ แต่หุ้นลง เพราะฝรั้งออก
แล้วแบบนี้เราจะเล่นหุ้นโดยไม่ดูภาพรวมได้หรือ
ในเมื่อเม็ดเงินมีอิทธิพลเหนือปัจจัยพื้นฐาน
ผมไม่เถียงว่าบางคนที่หุ้นตัวเล็กแล้วไม่กระทบเท่าไหร่
ก็อาจจะบอกว่า คุณไม่ต้องสนใจฝรั้งหรอก ขอเพียงหุ้นมัน
undervalue
ที่พูดๆมานี้ก็คืออยากถามว่า ทำไมอแพนด้าเก่งเรือ่งเม็ดเงิน
แล้วไม่ลองหัดคาดตลาดดูเหรอครับ(บางคนบอกว่าไม่มีใครทำได้
100% แต่ผมก็อยากจะบอกว่าปัจจัยพื้นฐานที่คุณคิด
มันก็ไม่ 100% เหมือนกันแหละ)
ถามเพราะอยาก discuss กันเรื่องแนว buffet ในไทย
กับ การดูเงินฝรั้ง กับ fundamental ของหุ้นน่ะครับ
สนใจเรื่องบัญชี กลยุทธ์ลงทุน fundflow แจมได้ที่ blog ผม
http://hongvalue.wordpress.com/
-ติดตาม twitter เรื่องหุ้นของผมได้ที่
http://twitter.com/hongvalue
my book
http://wp.me/pzSOv-hP
http://hongvalue.wordpress.com/
-ติดตาม twitter เรื่องหุ้นของผมได้ที่
http://twitter.com/hongvalue
my book
http://wp.me/pzSOv-hP
-
- Verified User
- โพสต์: 1992
- ผู้ติดตาม: 0
ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ
โพสต์ที่ 83
naris เขียน:พอมีข้อมูลเปรียบเทียบคร่าวๆว่ายอดเงินการปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำคราวนี้จะเพียงพอหรือไม่ ถ้ารู้ว่าพอ ผมว่าวิกฤตครั้งนี้คงจะไม่บานปลาย และน่าจะเป็นจุดซื้อที่ดีที่สุดแล้ว แต่ถ้าไม่เพียงพอ ก็อาจจะเกิดการคิดแย้งเหมือนค่าเงินบาทเราครั้งนั้น ท้ายที่สุดความเชื่อมั่นยังไม่เกิด ตลาดก็น่าจะผันผวนต่อไป และหุ้นคงจะมีโอกาสซื้ออีกนานทีเดียว :lol:
ถ้าเขาลงทุนประกาศว่าฉีดไม่อั้นใน interbank ด้วยอัตราดอกเบี้ยแบบ fixed rate น่าจะทำให้ความกังวลใน LIBOR ลดลง ตลาดอาจจะไม่มี crash โหด ๆ ให้เห็นเหมือนสัปดาห์ที่ผ่านมาsrichawengkun เขียน:ถามอาจารย์หมอนิดหนึ่งครับ
มาตรการที่ฝากฝังยุโรปประการออกมาในวันจันทร์นั้น เป็นการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเท่านั้น
หรือเป็นการรับประกันการกู้ยืมระหว่างธนาคารแบบไม่จำกัดจำนวนครับ :?:
เพราะปัญหาหลักๆคือ การขาดความมั่นใจ โดยระบบสถาบันการเงินไม่ยอมปล่อยกู้ให้กับธนาคารอื่นๆ (โดยดูจากอัตราดอกเบี้ย Libour ที่ปรับตัวสูงขึ้น)
ต่างคนต่างเก็บเงินไว้ ทำให้เม็ดเงินไม่สามารถไหลเข้าสู่ระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ต่อให้ธนาคารร่วมมือกันอัดฉีดเงินเท่าไรก็ไม่พอครับ
เพราะ ตราสาร CDS (Credit Default Swap) ในระบบมีถึงประมาณ 62 ล้านล้านดอลล่าห์
ที่อัดฉีดกันเข้าไปเป็นเศษเสี้ยวเท่านั้นครับ
ดังนั้นคำถามที่ผมถามนั้นเป็นจุดกลับของวิกฤติครั้งนี้ครับ
ถ้าหากธนาคารรับประกันการกู้ยืมระหว่างธนาคารแบบไม่จำกัดจำนวนแล้ว
ความมั่นใจที่จะมีแหล่งเงินในการปล่อยกู้ระหว่างธนาคารก็จะกลับมา เงินก็สามารถไหลสู่ระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพครับ ปัญหาก็จะคลี่คลายลงครับ
ขอความเห็นของอาจารย์หมอและพี่ๆน้องๆ คนอื่นๆ
และขอความชัดเจนของข่าวนิดหนึ่งครับ
หวังว่าจะเป็นข่าวดี
แต่จะเป็นแบบไหลริน ๆ เหมือนบ้านเราหรือต่ำเตี้ยอยู่นานไม่ยอมขึ้นหรือเปล่า บอกไม่ได้เหมือนกันครับ มองไปข้างหน้าพื้นฐานมันไม่ได้สวยหรู
เฮีย chode ครับ ถ้ามันง่ายอย่างนั้นก็ดีสิครับ อเมริกาก็แค่พิมพ์แบงค์ออกมาแบบแบงค์กงเต็กปัญหาก็จบchode เขียน:ผมขอใช้ความรู้อันน้อยนิดมองละกัน
ผมมองว่าอเมริกามีปัญหามากก็จริง แต่เขามีหนี้ทั้งรัฐบาลและบริษัทเอกชนเป็นเงินสกุลตัวเองคือ usd ครับ ฉะนั้นค่าเงิน USD อ่อนไม่ได้มีผลลบต่อเขามากนัก
ต่างกับไทยตอนปี40 หรือไอซ์แลนด์ประเทศล่าสุด มีหนี้เป็นสกุลต่างประเทศคือ usd พอค่าเงินตัวเองอ่อนค่าอย่างแรงก็เลยแทบล้มละลายไปเลย
การมีหนี้เป็นสกุลตัวเองสามารถลดกระทบด้วยนโยบายดอกเบี้ยที่ต่ำ อย่างล่าสุดดอกเบี้ยus t-bill 3month วิ่งอยู่แถวๆ0.25%ต่อปี
http://www.bloomberg.com/markets/rates/index.html
ทำให้แม้มีหนี้เยอะก็จ่ายดอกเบี้ยต่ำ แต่โอกาสเงินเฟ้อคงมีน้อยเพราะเศรษฐกิจตกต่ำ
ทำให้ประเทศที่มีทุนสำรองเยอะๆ
https://www.cia.gov/library/publication ... 8rank.html
อย่างจีน เกาหลีใต้ ไต้หวัน ไทยต้องคิดละครับว่าจะถือพันธบัตรสหรัฐดอกเบี้ยต่ำแบบนี้ไปทำไม แล้วไม่ถือจะย้ายไปถืออะไร(ควรจ้าง buffet มาเป็นที่ปรึกษา)
หนี้ส่วนใหญ่ของสหรัฐอเมริกาไม่ได้อยู่ในรูปเงินธนบัตร แต่อยู่ในรูปพันธบัตรรัฐบาล ถ้าอเมริกาไม่ควบคุมปริมาณเงินของตัวเองจนทำให้ค่าเงินมันตกลงมาก ๆ ดูเหมือนว่าคนเสียประโยชน์เป็นประเทศที่มีทุนสำรองเยอะก็จริง
แต่ถ้าวันหนึ่งจีน อาหรับ ญี่ปุ่น ไต้หวัน ตัดสินใจไม่เพิ่มทุนสำรองในรูปดอลลาร์แล้ว เพราะค่าเงินมันตกเยอะ (ไม่ต้องถึงกับขายออกมาก็ได้) สามารถทำได้ง่ายมากครับ แค่เลิกเข้าไปประมูลซื้อพันธบัตรรัฐบาลอเมริกัน แค่นี้ก็ทำให้พันธบัตรเหลือตรึม อัตราดอกเบี้ยจะกระฉูดขึ้น คนที่แย่ก็คือลุงแซมนั่นแหละ (เพราะพันธบัตรอเมริกันไม่มีดอกเบี้ยตายตัว คนซื้อจะ bid ดอกเบี้ยและจำนวนเงินที่ตัวเองต้องการประมูล พอถึงเวลา US Treasury จะขายพันธบัตรตามลำดับดอกเบี้ยประมูลต่ำที่สุด เรียงไปจนกว่าจะได้จำนวนเงินที่ตัวเองต้องการ การประมูลรอบนั้นจะสิ้นสุดลง)
ทุกวันนี้ US National Debt เพิ่มขึ้นวันละ 3 พันกว่าล้านเหรียญครับ เมื่อเร็ว ๆ นี้ National Debt Clock ต้องเปลี่ยนใหม่ เพราะหลักตัวเลขมันเต็ม
http://www.usnews.com/blogs/new-money/2 ... clock.html
ไม่สน return rate เยอะ, ขอแค่ financial freedom ภายใน 14 ปีก็พอ..
------------------------
------------------------
-
- Verified User
- โพสต์: 19
- ผู้ติดตาม: 0
ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ
โพสต์ที่ 84
ผมก็เชื่อว่า น่าจะใกล้เวลาที่ประเทศเหล่านี้จะหยุดสะสมเงินดอลล่าร์แล้วหละ มันเป็นไปได้ยังไงที่จะส่งออกให้อเมริกา แล้วอเมริกาจ่ายกระดาษมาให้ แล้วพวกนี้ก็เอาไปปล่อยกู้ให้อเมริกาเอาเงินมาซื้อสินค้าตัวเองอีก (เหมือนเอาเงินให้ลูกค้ากู้ซื้อสินค้าตัวเอง ลูกค้าเลยเป็นทั้งลูกหนี้เงินกู้และลูกค้า)mprandy เขียน: เฮีย chode ครับ ถ้ามันง่ายอย่างนั้นก็ดีสิครับ อเมริกาก็แค่พิมพ์แบงค์ออกมาแบบแบงค์กงเต็กปัญหาก็จบ
หนี้ส่วนใหญ่ของสหรัฐอเมริกาไม่ได้อยู่ในรูปเงินธนบัตร แต่อยู่ในรูปพันธบัตรรัฐบาล ถ้าอเมริกาไม่ควบคุมปริมาณเงินของตัวเองจนทำให้ค่าเงินมันตกลงมาก ๆ ดูเหมือนว่าคนเสียประโยชน์เป็นประเทศที่มีทุนสำรองเยอะก็จริง
แต่ถ้าวันหนึ่งจีน อาหรับ ญี่ปุ่น ไต้หวัน ตัดสินใจไม่เพิ่มทุนสำรองในรูปดอลลาร์แล้ว เพราะค่าเงินมันตกเยอะ (ไม่ต้องถึงกับขายออกมาก็ได้) สามารถทำได้ง่ายมากครับ แค่เลิกเข้าไปประมูลซื้อพันธบัตรรัฐบาลอเมริกัน แค่นี้ก็ทำให้พันธบัตรเหลือตรึม อัตราดอกเบี้ยจะกระฉูดขึ้น คนที่แย่ก็คือลุงแซมนั่นแหละ (เพราะพันธบัตรอเมริกันไม่มีดอกเบี้ยตายตัว คนซื้อจะ bid ดอกเบี้ยและจำนวนเงินที่ตัวเองต้องการประมูล พอถึงเวลา US Treasury จะขายพันธบัตรตามลำดับดอกเบี้ยประมูลต่ำที่สุด เรียงไปจนกว่าจะได้จำนวนเงินที่ตัวเองต้องการ การประมูลรอบนั้นจะสิ้นสุดลง)
ทุกวันนี้ US National Debt เพิ่มขึ้นวันละ 3 พันกว่าล้านเหรียญครับ เมื่อเร็ว ๆ นี้ National Debt Clock ต้องเปลี่ยนใหม่ เพราะหลักตัวเลขมันเต็ม
http://www.usnews.com/blogs/new-money/2 ... clock.html
ในเมื่อหาก จีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน ไปซื้อสินทรัพย์ในอเมริกาเพื่อเป็นการลดภาระหนี้ อเมริกาก็หวงไม่ยอมอีกอ้างเรื่องความมั่นคง แล้วจะให้เอาเงินดอลล่าร์เหล่านี้ไปไว้ที่ไหน เท่ากับค่าเงินยิ่งตก อเมริกาก็ยิ่งเจ็บ
คุณหมอ mprandy คิดว่า จะปลดล็อกตรงนี้ได้ยังไงครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 1992
- ผู้ติดตาม: 0
ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ
โพสต์ที่ 85
ผมยังไม่มีความคิดเรื่องการลงทุนในตลาดต่างประเทศครับ เหตุผลหลักไม่ใช่เพราะว่าตลาดหุ้นไทยมีข้อจำกัดหรอก แต่ผมยังมี circle of competence ไม่ดีเพียงพอ ขนาดกิจการในตลาดหุ้นไทยผมยังรู้ไม่มากเลย ทั้งเรื่องข้อมูลกิจการ งบการเงิน ฯลฯ จะข้ามไปตลาด NYSE หรือ NASDAQ ที่มีกิจการร้อยพ่อ พันแม่ ผมยิ่งไม่มีข้อมูลใหญ่hongvalue เขียน:เอาล่ะเรามาเข้าเรื่องกันซะที
อ.แพนด้า อยากถามหน่อยว่ามีความคิดที่จะไปลงทุนใน ตปท หรือไม่
เนื่องจากการลงทุนแบบ buffet ในเมืองไทยนั้น เหมาะมากน้อยเพียงใด เพราะมีหุ้นที่ให้ถือผ่านไป 20-30 ปีแล้วได้เป็น 100 เด้งเหมือน usa นั้นแทบไม่มี เพราะอย่างมากโตในไทยได้ก็เต็มที่ แต่ที่ usa หลายบริษัทสามารถโตได้ทั่วโลก
และในตลาดหุ้นไทยหุ้นที่ได้ผลตอบแทนเยอะๆ ก็เป็นหุ้นในกลุ่ม commodity ซะส่วนใหญ่เช่น pttep scc(กึ่งcommo) และบริษัทพวกนี้เราจะสามารถมองแบบ buffet ได้หรือว่าอีก 10 ปีต่อไปมันควรจะมีมูลค่าเป็นเท่าไหร่ เนื่องจากว่าอีก 10 ปี ก็คงไม่มีใครรู้ราคา commodity
แล้วที่อาจารย์หมอบอกว่าไม่คาดตลาดเพราะว่าคาดไม่เป็นแต่ผมกลับมองว่าคนที่เข้าใจเศรษฐศาสตร์มากอย่าง อ.แพนด้า น่าจะดูแนวโน้มตลาดได้ดีกว่าคนส่วนใหญ่
เล่นหุ้นเมืองไทย ดูเหมือนกับสภาพคล่องมีอิทธิพลสูงมากอย่างหุ้น pttep ปีที่แล้วกำไรก็ไม่โตแต่เงินในระบบดีก็ทำให้คนเข้ามาเก็งเรื่องแหล่งพระอาทิตย์ล่วงหน้า ปีนี้กำไรมาจริงๆ แต่หุ้นลง เพราะฝรั้งออก
แล้วแบบนี้เราจะเล่นหุ้นโดยไม่ดูภาพรวมได้หรือ ในเมื่อเม็ดเงินมีอิทธิพลเหนือปัจจัยพื้นฐาน ผมไม่เถียงว่าบางคนที่หุ้นตัวเล็กแล้วไม่กระทบเท่าไหร่ ก็อาจจะบอกว่า คุณไม่ต้องสนใจฝรั้งหรอก ขอเพียงหุ้นมัน undervalue
ที่พูดๆมานี้ก็คืออยากถามว่า ทำไมอแพนด้าเก่งเรือ่งเม็ดเงินแล้วไม่ลองหัดคาดตลาดดูเหรอครับ(บางคนบอกว่าไม่มีใครทำได้ 100% แต่ผมก็อยากจะบอกว่าปัจจัยพื้นฐานที่คุณคิดมันก็ไม่ 100% เหมือนกันแหละ) ถามเพราะอยาก discuss กันเรื่องแนว buffet ในไทยกับการดูเงินฝรั่ง กับ fundamental ของหุ้นน่ะครับ
ถ้าผมจำไม่ผิด กิจการที่ Buffet ลงทุนแล้วได้ผลตอบแทนมหาศาลมีหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นการเลือกลงทุนในภาวะตลาดผิดปกติ (เช่น ซื้อ Coca-Cola ในช่วง Black Monday) หรือเกิดปัญหาระยะสั้นในกิจการนั้น ๆ (เช่น Amex กับ Salad oil crisis) ร่วมกับผลตอบแทนของ Dow ที่มากผิดปกติในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา (ARR 5.3% ซึ่งถ้าจะทำได้เท่าเดิม Dow ต้องอยู่แถว 2 ล้านจุดในปี 2099 )
หุ้น 100 เด้งใน 30 ปีก็มีไม่เยอะใน NYSE หรอกครับ และที่มันเหลืออยู่เจ๋ง ๆ ก็เพราะเป็น survivorship bias ซะเป็นส่วนใหญ่ (ทำนองคนตายไม่ได้พูด ไม่งั้น original Dow คงไม่เหลือแค่ 1-2 จาก 30)
ที่ผมไม่คาดเดาตลาด ไม่ใช่เพราะผมไม่อยากคาดนะครับ ถ้าผมคิดว่าผมคาดตลาดได้ถูกเป็นส่วนใหญ่ ผมคงทำไปแล้ว แต่ผมไม่มีความมั่นใจในการคาดการณ์ขนาดนั้น การลงทุนแบบ focus portfolio ผมคิดว่า microfactor (ปัจจัยที่มีผลต่อกิจการนั้น ๆ) สำคัญกว่า macrofactor (ปัจจัยที่มีผลต่อตลาดโดยรวม) แม้ผมจะคาดเดาพื้นฐานไม่ถูกต้อง 100% (จะเอาอะไรกับคนลงทุนมาไม่ถึงปีครึ่ง) แต่ถ้าให้ผมคาดการณ์การเติบโตของบริษัทหนึ่ง ๆ ผมอาจจะทำได้ใกล้เคียงกว่าการคาดการณ์ภาวะตลาดโดยรวมว่าจะเป็นอย่างไร โดยเฉพาะถ้าให้ผมคาดระยะยาวเป็นปี
(น่าแปลกใจว่าเป็นอะไรที่นักวิเคราะห์ชอบมาก จะเห็นได้ว่าทุกต้นปี โบรกแทบทุกแห่งจะต้องออกมาคาดการณ์ SET ปลายปีกันเป็นประเพณี แต่มีซักกี่แห่งที่คาดการณ์ได้ถูกต้อง ดูปีนี้เป็นตัวอย่าง มีซักแห่งไหมที่กล้าออกมาบอกว่า SET ปลายปีมันจะเหลือ 500 .. แล้วดูตอนนี้สิ)
ทีนี้การคาดเดาแนวโน้มมีประโยชน์ไหม ผมเห็นว่ามีประโยชน์อย่างยิ่งกับหุ้นวัฏจักรกลุ่ม pure commodity (ไม่เชื่อดูท่านประธานหมอสามัญชนเป็นตัวอย่าง) หรือการคาดเดาภาพรวมแนวโน้มเศรษฐกิจของประเทศเราเองกับการเลือกวิธีการลงทุน (เช่นการปรับเปลี่ยนระหว่างเงินฝาก/พันธบัตร/ตราสารหนี้ กับ ตราสารทุน ในช่วงต่าง ๆ ของวัฏจักรเศรษฐกิจ)
แต่การคาดเดาตลาดหุ้นไทยในสถานการณ์วิกฤตที่หนึ่ง มามีผลกระทบกับเราอย่างตอนนี้ (เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว) ผมยอมรับว่ายังไม่มีความสามารถขนาดนั้นครับ
สรุปคือ ผมไม่ได้แอนตี้หลักการลงทุนแบบอื่นนะครับ ไม่ว่าจะเป็นเด็กเทคนิค, ดู fund flow, ดูภาวะเศรษฐกิจ, ดูพื้นฐานกิจการ หรือข้าไม่สนฉันจะใช้ short against port/go with the flow อย่าง DSM ฯลฯ เพราะที่ตลาดเคลื่อนไหวอยู่ทุกวันนี้ก็เป็นผลจาก interaction ของหลักการลงทุนเหล่านี้ทั้งนั้น (ถ้าคนเห็นเหมือนกันหมด จะมีคนซื้อ คนขายหรือ) ผมมองหลักการลงทุนเหล่านี้เหมือนวิธี ที่เราต้องรู้ข้อเด่น และข้อจำกัดของมัน แล้วใช้ความรู้นั้นให้เป็นประโยชน์
พอเราเรียนรู้เครื่องมือเหล่านี้แล้ว ต้องเอามาปรับให้เข้ากับตัวเองอีก แต่ละคนมีพื้นฐานต่างกัน สไตล์การลงทุนย่อมไม่เหมือนกันแน่ ผมมีงานประจำ งาน labor intensive อย่างผมมีเวลามาติดตามตลาดไม่มาก วันหยุดก็ไม่ได้หยุด (ยกเว้นวันหยุดเทศกาลทั้งหลาย) ทำให้ผมจำกัดตัวเองอยู่กับการลงทุนโดยมองระยะยาวเป็นหลัก เพราะการมองระยะยาวทำให้ผมไม่ต้องกังวลกับภาพระยะสั้นเท่าไหร่ ไม่ต้องเร่งตัวเองด้วย return rate ที่ต้องหรูหรา เลือกกิจการที่ถือแล้วหลับสนิทได้ตอนนอน ฯลฯ
ถ้าเรายอมรับมันแล้วก็น่าจะลงทุนได้อย่างมีความสุข
ป.ล. ผมก็ยังเรียนรู้อยู่ทุกวันครับ น้องฮง หรือพี่ ๆ ท่านอื่น สอนผมเรื่องอื่นที่ผมไม่รู้บ้างสิ อย่างบัญชี, fund flow หรือ business model อะไรทำนองนี้อ่ะ
(ผมจะไม่อยู่หลายวันครับ ไปประชุม ตจว.อีกแล้ว หวังว่าตลาดคงไม่ตกมาก ๆ อีกนะ อาทิตย์ก่อนก็พลาดช่วง sale มาทีนึงแล้ว)
ไม่สน return rate เยอะ, ขอแค่ financial freedom ภายใน 14 ปีก็พอ..
------------------------
------------------------
- hongvalue
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2703
- ผู้ติดตาม: 0
ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ
โพสต์ที่ 86
ผมว่าเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะว่ารู้ว่าสภาพแวดล้อมตัวเองmprandy เขียน:
พอเราเรียนรู้เครื่องมือเหล่านี้แล้ว ต้องเอามาปรับให้เข้ากับตัวเองอีก แต่ละคนมีพื้นฐานต่างกัน สไตล์การลงทุนย่อมไม่เหมือนกันแน่ ผมมีงานประจำ งาน labor intensive อย่างผมมีเวลามาติดตามตลาดไม่มาก วันหยุดก็ไม่ได้หยุด (ยกเว้นวันหยุดเทศกาลทั้งหลาย) ทำให้ผมจำกัดตัวเองอยู่กับการลงทุนโดยมองระยะยาวเป็นหลัก
เหมาะกับการลงทุนในรูปแบบใด
อันนี้เห็นด้วยเลยคับ
mprandy เขียน:[
ที่ผมไม่คาดเดาตลาด ไม่ใช่เพราะผมไม่อยากคาดนะครับ ถ้าผมคิดว่าผมคาดตลาดได้ถูกเป็นส่วนใหญ่ ผมคงทำไปแล้ว แต่ผมไม่มีความมั่นใจในการคาดการณ์ขนาดนั้น การลงทุนแบบ focus portfolio ผมคิดว่า microfactor (ปัจจัยที่มีผลต่อกิจการนั้น ๆ) สำคัญกว่า macrofactor (ปัจจัยที่มีผลต่อตลาดโดยรวม) แม้ผมจะคาดเดาพื้นฐานไม่ถูกต้อง 100% (จะเอาอะไรกับคนลงทุนมาไม่ถึงปีครึ่ง) แต่ถ้าให้ผมคาดการณ์การเติบโตของบริษัทหนึ่ง ๆ ผมอาจจะทำได้ใกล้เคียงกว่าการคาดการณ์ภาวะตลาดโดยรวมว่าจะเป็นอย่างไร โดยเฉพาะถ้าให้ผมคาดระยะยาวเป็นปี
[/quote]
ผมคิดว่าถ้า อ.แพนด้า ลองทำ port ในใจขึ้นมาดูสิครับ
แบบว่าไม่ต้องใช้เงินจริงๆ แล้วลองใช้ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ที่มีแล้วลองคาดดูสิครับว่า ถ้าเป็นยังงั้นยังงี้
เม็ดเงินน่าจะเข้าออกยังไง
ถ้าลองทำใส่ port จำลองแล้วไม่ได้ผลก็แสดงว่าไม่ได้จริงๆ
แต่มันอาจจะทำให้ อ.แพนด้า(ตกลงชื่อแพนด้าตั้งแต่ตอนไหนเนี้ย เรียกแต่แพนด้าอยู่นั้นแหละ :lovl: ได้
ค้นพบวิธีการใหม่ๆก็ได้นะครับ)
สนใจเรื่องบัญชี กลยุทธ์ลงทุน fundflow แจมได้ที่ blog ผม
http://hongvalue.wordpress.com/
-ติดตาม twitter เรื่องหุ้นของผมได้ที่
http://twitter.com/hongvalue
my book
http://wp.me/pzSOv-hP
http://hongvalue.wordpress.com/
-ติดตาม twitter เรื่องหุ้นของผมได้ที่
http://twitter.com/hongvalue
my book
http://wp.me/pzSOv-hP
- hongvalue
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2703
- ผู้ติดตาม: 0
ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ
โพสต์ที่ 87
อืมอืม เดี่ยวผมส่งของดีไปให้ครับmprandy เขียน: สอนผมเรื่องนที่ผมไม่รู้บ้างสิ อย่างบัญชี, fund flow หรือ business model อะไรทำนองนี้อ่ะ
เป็นวิชาที่ผมไปร่ำเรียนมา
เดี่ยวส่งเอกสารไปให้นะครับ
แล้วถ้ามีอะไรที่ผมช่วยได้ก็บอกได้เลยครับ
ผมยินดีช่วย
เพียงแต่ผมงง ว่า หมอแพนด้า บอกว่าไม่ค่อยรู้เรื่องบัญชี
กับ fundflow เหรอครับ
แล้วที่ผมถามแล้วตอบได้เป็นฉากๆเนี้ยคือรู้ชัดเจนเลยครับ
ส่วนเรื่องบัญชีเท่าที่อ่านในร้อยคนร้อยหุ้นก็รู้เยอะนะครับ
ผมเลยไม่รู้จะสอนหนังสือสังฆราชยังไง
เอาเป็นว่าอุตส่าห์เสียเวลามาตอบผมตั้งนาน
เดี่ยวผมจะส่งของที่คิดว่าผมเคยไปเรียนแล้ว
อ.หมอยังไม่มีไปให้แล้วกัน เป็นการตอบแทนที่
ตอบคำถามให้ผมอย่างเต็มที่
สนใจเรื่องบัญชี กลยุทธ์ลงทุน fundflow แจมได้ที่ blog ผม
http://hongvalue.wordpress.com/
-ติดตาม twitter เรื่องหุ้นของผมได้ที่
http://twitter.com/hongvalue
my book
http://wp.me/pzSOv-hP
http://hongvalue.wordpress.com/
-ติดตาม twitter เรื่องหุ้นของผมได้ที่
http://twitter.com/hongvalue
my book
http://wp.me/pzSOv-hP
-
- Verified User
- โพสต์: 8
- ผู้ติดตาม: 0
ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ
โพสต์ที่ 88
ไม่ค่อยมีความรู้เรื่องหุ้นครับ แต่ชอบไอเดีย "false sense of confidence"
-
- Verified User
- โพสต์: 1992
- ผู้ติดตาม: 0
ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ
โพสต์ที่ 89
ผมกลัวว่าจะเป็นไปในทางตรงกันข้ามกับที่คุณ ignorant ว่ามาอ่ะสิครับignorant เขียน: ผมก็เชื่อว่า น่าจะใกล้เวลาที่ประเทศเหล่านี้จะหยุดสะสมเงินดอลล่าร์แล้วหละ มันเป็นไปได้ยังไงที่จะส่งออกให้อเมริกา แล้วอเมริกาจ่ายกระดาษมาให้ แล้วพวกนี้ก็เอาไปปล่อยกู้ให้อเมริกาเอาเงินมาซื้อสินค้าตัวเองอีก (เหมือนเอาเงินให้ลูกค้ากู้ซื้อสินค้าตัวเอง ลูกค้าเลยเป็นทั้งลูกหนี้เงินกู้และลูกค้า)
ในเมื่อหาก จีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน ไปซื้อสินทรัพย์ในอเมริกาเพื่อเป็นการลดภาระหนี้ อเมริกาก็หวงไม่ยอมอีกอ้างเรื่องความมั่นคง แล้วจะให้เอาเงินดอลล่าร์เหล่านี้ไปไว้ที่ไหน เท่ากับค่าเงินยิ่งตก อเมริกาก็ยิ่งเจ็บ
คุณหมอ mprandy คิดว่า จะปลดล็อกตรงนี้ได้ยังไงครับ
เมื่อเร็ว ๆ นี้ EU ก็ออกมาประกาศว่าจะเอาระบบ Bretton Woods ขึ้นมาใช้ใหม่ (ระบบค่าเงินคงที่ผูกติดกับดอลลาร์)
คราวก่อนก็เน่าเพราะไอ้เจ้านี่ทีนึงแล้ว คราวนี้จะเอามาใช้ใหม่ได้ยังไง ??
ไม่สน return rate เยอะ, ขอแค่ financial freedom ภายใน 14 ปีก็พอ..
------------------------
------------------------
- hongvalue
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2703
- ผู้ติดตาม: 0
ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ
โพสต์ที่ 90
หมอเอ็มเคยอยู่อเมกาถามหน่อยครับ
ว่าพฤติกรรมการเล่นหุ้นของรายย่อยอเมกาถ้าเทียบกับไทยเป็นอย่างไร เช่น
1.ชอบฟังข่าว จ้าวเล่น ใช่ป่าว
2.เชื่อนักวิเคราห์ไปหมดใช่ป่าว
3.รู้สึกว่าสัดส่วนรายย่อยที่นั้นจะน้อย แต่เน้นไปลงทุนใน
กองทุนรวมแทน ใช่หรือไม่
อยากให้เล่าพฤติกรรมรายย่อยใน usa ให้ฟังหน่อย
ว่าพฤติกรรมการเล่นหุ้นของรายย่อยอเมกาถ้าเทียบกับไทยเป็นอย่างไร เช่น
1.ชอบฟังข่าว จ้าวเล่น ใช่ป่าว
2.เชื่อนักวิเคราห์ไปหมดใช่ป่าว
3.รู้สึกว่าสัดส่วนรายย่อยที่นั้นจะน้อย แต่เน้นไปลงทุนใน
กองทุนรวมแทน ใช่หรือไม่
อยากให้เล่าพฤติกรรมรายย่อยใน usa ให้ฟังหน่อย
สนใจเรื่องบัญชี กลยุทธ์ลงทุน fundflow แจมได้ที่ blog ผม
http://hongvalue.wordpress.com/
-ติดตาม twitter เรื่องหุ้นของผมได้ที่
http://twitter.com/hongvalue
my book
http://wp.me/pzSOv-hP
http://hongvalue.wordpress.com/
-ติดตาม twitter เรื่องหุ้นของผมได้ที่
http://twitter.com/hongvalue
my book
http://wp.me/pzSOv-hP