เงินเฟ้อมันมาแล้ว ตัวเร่งการขึ้นดอกเบี้ย
-
- Verified User
- โพสต์: 18134
- ผู้ติดตาม: 0
เงินเฟ้อมันมาแล้ว ตัวเร่งการขึ้นดอกเบี้ย
โพสต์ที่ 1
http://www.manager.co.th/Business/ViewN ... 0000064282
รัฐคุมศก.ไม่อยู่ เงินเฟ้อเดือน พ.ค.ทะลุกรอบ 7.6% สูงสุดรอบ 10 ปี
พาณิชย์ เผยเงินเฟ้อเดือน พ.ค.พุ่งพรวด 7.6% ทำสถิติใหม่รอบ 10 ปี พุ่งทะลุกรอบ 6% ที่ตั้งเอาไว้ โดยมีน้ำมันเป็นตัวแปรสำคัญ "ศิริพล" ชี้ค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นช่วงเปิดเทอม ต้นทุนค่าขนส่ง และค่าโดยสารที่เพิ่มขึ้น
เมื่อเวลา 17.00 น. วันนี้ (2 มิ.ย. ) นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดแถลงข่าวดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป(CPI) หรือตัวเลขเงินเฟ้อในเดือน พ.ค.51 อยู่ที่ระดับ 126.2 เพิ่มขึ้น 7.6% จากเดือน พ.ค.50 และเพิ่มขึ้น 2.1% จากเดือน เม.ย.51 โดย CPI เฉลี่ย 5 เดือนแรกปี 51 ขยายตัว 5.8%
ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน(Core CPI) ไม่รวมหมวดสินค้าอาหารสดและพลังงานในเดือน พ.ค.51 อยู่ที่ระดับ 108.3 เพิ่มขึ้น 2.8% จากเดือน พ.ค.50 และเพิ่มขึ้น 0.7% เมื่อเทียบกับเดือน เม.ย.51 โดย Core CPI เฉลี่ย 5 เดือนแรกปีนี้อยู่ที่ 1.9%
นายศิริพล ยอมรับว่า ตัวเลขเงินเฟ้อที่พุ่งพรวดขึ้นมาเกือบ 8% เกิดจากรายจ่ายด้านการศึกษาที่สูงขึ้นในช่วงเปิดเทอม ต้นทุนค่าขนส่ง และค่าโดยสารที่เพิ่มขึ้น จากผลกระทบราคาน้ำมันแพง เป็นตัวเร่งที่สำคัญ
รัฐคุมศก.ไม่อยู่ เงินเฟ้อเดือน พ.ค.ทะลุกรอบ 7.6% สูงสุดรอบ 10 ปี
พาณิชย์ เผยเงินเฟ้อเดือน พ.ค.พุ่งพรวด 7.6% ทำสถิติใหม่รอบ 10 ปี พุ่งทะลุกรอบ 6% ที่ตั้งเอาไว้ โดยมีน้ำมันเป็นตัวแปรสำคัญ "ศิริพล" ชี้ค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นช่วงเปิดเทอม ต้นทุนค่าขนส่ง และค่าโดยสารที่เพิ่มขึ้น
เมื่อเวลา 17.00 น. วันนี้ (2 มิ.ย. ) นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดแถลงข่าวดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป(CPI) หรือตัวเลขเงินเฟ้อในเดือน พ.ค.51 อยู่ที่ระดับ 126.2 เพิ่มขึ้น 7.6% จากเดือน พ.ค.50 และเพิ่มขึ้น 2.1% จากเดือน เม.ย.51 โดย CPI เฉลี่ย 5 เดือนแรกปี 51 ขยายตัว 5.8%
ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน(Core CPI) ไม่รวมหมวดสินค้าอาหารสดและพลังงานในเดือน พ.ค.51 อยู่ที่ระดับ 108.3 เพิ่มขึ้น 2.8% จากเดือน พ.ค.50 และเพิ่มขึ้น 0.7% เมื่อเทียบกับเดือน เม.ย.51 โดย Core CPI เฉลี่ย 5 เดือนแรกปีนี้อยู่ที่ 1.9%
นายศิริพล ยอมรับว่า ตัวเลขเงินเฟ้อที่พุ่งพรวดขึ้นมาเกือบ 8% เกิดจากรายจ่ายด้านการศึกษาที่สูงขึ้นในช่วงเปิดเทอม ต้นทุนค่าขนส่ง และค่าโดยสารที่เพิ่มขึ้น จากผลกระทบราคาน้ำมันแพง เป็นตัวเร่งที่สำคัญ
- newbie_12
- Verified User
- โพสต์: 2904
- ผู้ติดตาม: 0
เงินเฟ้อมันมาแล้ว ตัวเร่งการขึ้นดอกเบี้ย
โพสต์ที่ 4
บงก์ไทยพาณิชย์ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก 0.375-1.250% ขยับดอกเบี้ยเงินกู้ 0.375% มีผลพรุ่งนี้ (4 มิ.ย.)
กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์ : นางกรรณิกา ชลิตอาภรณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า เพื่อให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจและแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นในประเทศ ธนาคารได้พิจารณาปรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำสำหรับลูกค้าทั่วไป โดยจะปรับเพิ่มขึ้นในอัตรา 0.375-1.250% โดยเฉพาะเงินฝากประจำ 24 เดือน และ 36 เดือน จะปรับเพิ่มขึ้นถึง 1.0% และ 1.250% ตามลำดับ
ทั้งนี้ เพื่อเป็นการส่งเสริมการออมระยะยาวของประชาชน นอกจากนี้ เพื่อเป็นการเพิ่มทางเลือกในการลงทุนซึ่งให้ผลตอบแทนที่ดีกับลูกค้า ธนาคารได้เพิ่มประเภทและปรับลดเงินลงทุนขั้นต่ำสำหรับการซื้อตั๋วแลกเงิน (B/E)
โดยผู้ฝากสามารถซื้อตั๋วแลกเงินได้ถึง 3 ประเภท (3 เดือน 6 เดือนและ 12 เดือน) ด้วยเงินลงทุนขั้นต่ำที่ 5 ล้านบาท โดยจะได้รับอัตราดอกเบี้ย 3.0-3.50% สำหรับด้านสินเชื่อ ธนาคารจะปรับอัตราดอกเบี้ยสินเชื่ออ้างอิงทุกประเภทเพิ่มขึ้น 0.375 % ด้วย ทั้งนี้ การปรับอัตราดอกเบี้ยจะมีผลตั้งแต่วันที่ 4 มิถุนายนเป็นต้นไป
ในส่วนของเงินฝาก อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือน วงเงินน้อยกว่า 5 ล้านบาทจาก 2.00 % เป็น 2.375% เพิ่มขึ้น 0.375% วงเงินฝากตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไปจาก 2.25% เป็น 2.625% เพิ่มขึ้น 0.375% เงินฝากประจำประเภท 6 เดือน วงเงินน้อยกว่า 5 ล้านบาทจาก 2.00% เป็น 2.50% เพิ่มขึ้น 0.50% วงเงินฝากตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไปจาก 2.25% เป็น 2.75% เพิ่มขึ้น 0.50%
เงินฝากประจำ 12 เดือน วงเงินน้อยกว่า 5 ล้านบาทจาก 2.375% เป็น 2.75% เพิ่มขึ้น 0.375% วงเงินฝากตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไปจาก 2.375% เป็น 3.00 % เพิ่มขึ้น 0.625% เงินฝากประจำ 24 เดือนทุกวงเงินเพิ่มจาก 2.50% เป็น 3.50% เพิ่มขึ้น 1.00 % และเงินฝากประจำ 36 เดือนทุกวงเงินเพิ่มจาก 2.50% เป็น 3.75% เพิ่มขึ้น 1.25%
ในขณะเดียวกัน ธนาคารได้เพิ่มประเภทและปรับลดเงินลงทุนขั้นต่ำสำหรับลูกค้าที่ต้องการซื้อตั๋วแลกเงิน (B/E) เพื่อเป็นการเพิ่มทางเลือกในการลงทุนให้แก่ลูกค้า ซึ่งจากเดิมมีเพียงตั๋วแลกเงินอายุ 3 เดือน เงินลงทุนขั้นต่ำตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป เป็น ตั๋วแลกเงิน 3 ประเภทคือ อายุ 3 เดือน อัตราดอกเบี้ย 3.00% อายุ 6 เดือน อัตราดอกเบี้ย 3.25% และ อายุ 12 เดือน อัตราดอกเบี้ย 3.50% โดยเงินลงทุนขั้นต่ำตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป
สำหรับอัตราดอกเบี้ยสินเชื่ออ้างอิง ธนาคารได้ปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเพียง 0.375% โดยอัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา (MLR) จาก 6.875% เป็น 7.25% อัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินเบิกเกินบัญชี (MOR) จาก 7.125% เป็น 7.50% และอัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) จาก 7.375% เป็น 7.75%
กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์ : นางกรรณิกา ชลิตอาภรณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า เพื่อให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจและแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นในประเทศ ธนาคารได้พิจารณาปรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำสำหรับลูกค้าทั่วไป โดยจะปรับเพิ่มขึ้นในอัตรา 0.375-1.250% โดยเฉพาะเงินฝากประจำ 24 เดือน และ 36 เดือน จะปรับเพิ่มขึ้นถึง 1.0% และ 1.250% ตามลำดับ
ทั้งนี้ เพื่อเป็นการส่งเสริมการออมระยะยาวของประชาชน นอกจากนี้ เพื่อเป็นการเพิ่มทางเลือกในการลงทุนซึ่งให้ผลตอบแทนที่ดีกับลูกค้า ธนาคารได้เพิ่มประเภทและปรับลดเงินลงทุนขั้นต่ำสำหรับการซื้อตั๋วแลกเงิน (B/E)
โดยผู้ฝากสามารถซื้อตั๋วแลกเงินได้ถึง 3 ประเภท (3 เดือน 6 เดือนและ 12 เดือน) ด้วยเงินลงทุนขั้นต่ำที่ 5 ล้านบาท โดยจะได้รับอัตราดอกเบี้ย 3.0-3.50% สำหรับด้านสินเชื่อ ธนาคารจะปรับอัตราดอกเบี้ยสินเชื่ออ้างอิงทุกประเภทเพิ่มขึ้น 0.375 % ด้วย ทั้งนี้ การปรับอัตราดอกเบี้ยจะมีผลตั้งแต่วันที่ 4 มิถุนายนเป็นต้นไป
ในส่วนของเงินฝาก อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือน วงเงินน้อยกว่า 5 ล้านบาทจาก 2.00 % เป็น 2.375% เพิ่มขึ้น 0.375% วงเงินฝากตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไปจาก 2.25% เป็น 2.625% เพิ่มขึ้น 0.375% เงินฝากประจำประเภท 6 เดือน วงเงินน้อยกว่า 5 ล้านบาทจาก 2.00% เป็น 2.50% เพิ่มขึ้น 0.50% วงเงินฝากตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไปจาก 2.25% เป็น 2.75% เพิ่มขึ้น 0.50%
เงินฝากประจำ 12 เดือน วงเงินน้อยกว่า 5 ล้านบาทจาก 2.375% เป็น 2.75% เพิ่มขึ้น 0.375% วงเงินฝากตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไปจาก 2.375% เป็น 3.00 % เพิ่มขึ้น 0.625% เงินฝากประจำ 24 เดือนทุกวงเงินเพิ่มจาก 2.50% เป็น 3.50% เพิ่มขึ้น 1.00 % และเงินฝากประจำ 36 เดือนทุกวงเงินเพิ่มจาก 2.50% เป็น 3.75% เพิ่มขึ้น 1.25%
ในขณะเดียวกัน ธนาคารได้เพิ่มประเภทและปรับลดเงินลงทุนขั้นต่ำสำหรับลูกค้าที่ต้องการซื้อตั๋วแลกเงิน (B/E) เพื่อเป็นการเพิ่มทางเลือกในการลงทุนให้แก่ลูกค้า ซึ่งจากเดิมมีเพียงตั๋วแลกเงินอายุ 3 เดือน เงินลงทุนขั้นต่ำตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป เป็น ตั๋วแลกเงิน 3 ประเภทคือ อายุ 3 เดือน อัตราดอกเบี้ย 3.00% อายุ 6 เดือน อัตราดอกเบี้ย 3.25% และ อายุ 12 เดือน อัตราดอกเบี้ย 3.50% โดยเงินลงทุนขั้นต่ำตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป
สำหรับอัตราดอกเบี้ยสินเชื่ออ้างอิง ธนาคารได้ปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเพียง 0.375% โดยอัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา (MLR) จาก 6.875% เป็น 7.25% อัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินเบิกเกินบัญชี (MOR) จาก 7.125% เป็น 7.50% และอัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) จาก 7.375% เป็น 7.75%
- krisy
- Verified User
- โพสต์: 736
- ผู้ติดตาม: 0
เงินเฟ้อมันมาแล้ว ตัวเร่งการขึ้นดอกเบี้ย
โพสต์ที่ 10
ที่พี่ chatchai บอกไว้ข้างต้น เราก็เข้าใจอย่างนั้นค่ะ ว่า Cost-push inflation การเพิ่มดอกเบี้ยจะไม่แก้ปัญหาแน่นอน เพราะเงินเฟ้อจาก demand-supply
แต่ก็เคยไปอ่านจากบทความของเวบนิด้า เค้าบอกว่า มันไม่ใช่จะแก้ไม่ได้เลย เพราะกำลังซื้อลดลงอย่างที่พี่บอก เพราะเงินถูกดูดเข้าไปในระบบ แต่มันจะส่งผลให้ demand ลดลงเพราะคนต้องประหยัด สุดท้ายราคาจะลดลงไป new equilibrium ใหม่ตามกลไกตลาด
ไม่ทราบว่าพี่เห็นว่าไงบ้างค่ะ
แต่ก็เคยไปอ่านจากบทความของเวบนิด้า เค้าบอกว่า มันไม่ใช่จะแก้ไม่ได้เลย เพราะกำลังซื้อลดลงอย่างที่พี่บอก เพราะเงินถูกดูดเข้าไปในระบบ แต่มันจะส่งผลให้ demand ลดลงเพราะคนต้องประหยัด สุดท้ายราคาจะลดลงไป new equilibrium ใหม่ตามกลไกตลาด
ไม่ทราบว่าพี่เห็นว่าไงบ้างค่ะ
.....Give Everything but not Give Up.....
-
- Verified User
- โพสต์: 590
- ผู้ติดตาม: 0
เงินเฟ้อมันมาแล้ว ตัวเร่งการขึ้นดอกเบี้ย
โพสต์ที่ 11
การขึ้นดอกเบี้ยช่วยแก้ปัญหาเงินเฟ้อที่เกิดจาก Cost Push ได้ครับ
ถ้าปล่อยให้ค่าเงินแข็งไม่ไปแทรกแซงครับ
แบบที่ออสเตรเลียและยูโร ทำครับ แต่จะทำให้เศรษฐกิจโตช้า ส่งออกลดลง เกิดปัญหาการว่างงานครับ แต่ว่าทั้งสองที่เขามีระบบประกันการว่างงานที่ดีครับ เลยไม่เกิดปัญหาสังคมมากครับ
ถ้าปล่อยให้ค่าเงินแข็งไม่ไปแทรกแซงครับ
แบบที่ออสเตรเลียและยูโร ทำครับ แต่จะทำให้เศรษฐกิจโตช้า ส่งออกลดลง เกิดปัญหาการว่างงานครับ แต่ว่าทั้งสองที่เขามีระบบประกันการว่างงานที่ดีครับ เลยไม่เกิดปัญหาสังคมมากครับ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11443
- ผู้ติดตาม: 0
เงินเฟ้อมันมาแล้ว ตัวเร่งการขึ้นดอกเบี้ย
โพสต์ที่ 12
ทุกวันนี้ ผมว่าผู้ผลิตก็มีมาร์จิ้นลดลงเรื่อยๆแล้ว เพราะปรับราคาสินค้าไม่เท่ากับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นkrisy เขียน:แต่ก็เคยไปอ่านจากบทความของเวบนิด้า เค้าบอกว่า มันไม่ใช่จะแก้ไม่ได้เลย เพราะกำลังซื้อลดลงอย่างที่พี่บอก เพราะเงินถูกดูดเข้าไปในระบบ แต่มันจะส่งผลให้ demand ลดลงเพราะคนต้องประหยัด สุดท้ายราคาจะลดลงไป new equilibrium ใหม่ตามกลไกตลาด
ไม่ทราบว่าพี่เห็นว่าไงบ้างค่ะ
ถึงแม้กำลังซื้อจะลดลง ผู้ผลิตสินค้าก็ปรับราคาลงคงยาก
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11443
- ผู้ติดตาม: 0
เงินเฟ้อมันมาแล้ว ตัวเร่งการขึ้นดอกเบี้ย
โพสต์ที่ 13
ขณะนี้ประเทศไทยเริ่มขาดดุลการค้า และขาดดุลบัญชีเดินสะพัด อีกครั้ง การที่จะให้ค่าเงินบาทแข็งคงเป็นเรื่องลำบาก และจะทำให้สถานการณ์คล้ายวิกฤตปี 40chode เขียน:การขึ้นดอกเบี้ยช่วยแก้ปัญหาเงินเฟ้อที่เกิดจาก Cost Push ได้ครับ
ถ้าปล่อยให้ค่าเงินแข็งไม่ไปแทรกแซงครับ
แบบที่ออสเตรเลียและยูโร ทำครับ แต่จะทำให้เศรษฐกิจโตช้า ส่งออกลดลง เกิดปัญหาการว่างงานครับ แต่ว่าทั้งสองที่เขามีระบบประกันการว่างงานที่ดีครับ เลยไม่เกิดปัญหาสังคมมากครับ
ขาดดุล แต่จะให้ค่าเงินแข็ง และ เกินดุล แต่จะให้ค่าเงินอ่อน คงเป็ฯอะไรที่ฝืนธรรมชาติ และเกินกำลังของไทยครับ
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11443
- ผู้ติดตาม: 0
เงินเฟ้อมันมาแล้ว ตัวเร่งการขึ้นดอกเบี้ย
โพสต์ที่ 15
จากสถานการณ์ราคาน้ำมันในช่วง 2 วันนี้ที่ราคาพุ่งขึ้นถึง 10% มีสาเหตุหลักมาจาก ความไม่มั่นใจในการถือเงินดอลล่าร์ ไม่เกี่ยวกับ Demand-Supply เลย
ดังนั้นผมจึงคิดว่าถ้าจะให้เงินเฟ้อลดลง ค่าเงินดอลล่าร์ต้องมีเสถียรภาพ นักลงทุนต้องกล้าที่จะลงทุนในสกุลเงินดอลล่าร์
สำหรับไทยตอนนี้ คงลำบากทีเดียวครับ ราคาน้ำมันก็ขึ้น ยิ่งขึ้นดุลการค้าก็ยิ่งแย่ ค่าเงินบาทก็อ่อนลงอีก ราคาน้ำมันในประเทศโดน 2 แรงบวก เงินเฟ้อก็อันตราย
ที่สหรัฐ ประชาชนคงลำบากกว่าแน่ๆ เงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้น เศรษฐกิจก็ซบลง คนตกงานก็มากขึ้นเรื่อยๆ จะลดดอกเบี้ยเพื่อพยุงเศรษฐกิจเงินเฟ้อก็พุ่ง จะขึ้นดอกเบี้ยเศรษฐกิจก็แย่
จะว่าไป ประชาชนชาวสหรัฐก็เอาเปรียบชนชาวโลกมามากแล้ว บริโภคทรัพยากรของโลกมากกว่าชนชาติอื่น ก็ถึงเวลาที่ควรจะลดการบริโภคลงแล้วละมั๊งครับ
ดังนั้นผมจึงคิดว่าถ้าจะให้เงินเฟ้อลดลง ค่าเงินดอลล่าร์ต้องมีเสถียรภาพ นักลงทุนต้องกล้าที่จะลงทุนในสกุลเงินดอลล่าร์
สำหรับไทยตอนนี้ คงลำบากทีเดียวครับ ราคาน้ำมันก็ขึ้น ยิ่งขึ้นดุลการค้าก็ยิ่งแย่ ค่าเงินบาทก็อ่อนลงอีก ราคาน้ำมันในประเทศโดน 2 แรงบวก เงินเฟ้อก็อันตราย
ที่สหรัฐ ประชาชนคงลำบากกว่าแน่ๆ เงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้น เศรษฐกิจก็ซบลง คนตกงานก็มากขึ้นเรื่อยๆ จะลดดอกเบี้ยเพื่อพยุงเศรษฐกิจเงินเฟ้อก็พุ่ง จะขึ้นดอกเบี้ยเศรษฐกิจก็แย่
จะว่าไป ประชาชนชาวสหรัฐก็เอาเปรียบชนชาวโลกมามากแล้ว บริโภคทรัพยากรของโลกมากกว่าชนชาติอื่น ก็ถึงเวลาที่ควรจะลดการบริโภคลงแล้วละมั๊งครับ
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
-
- Verified User
- โพสต์: 2
- ผู้ติดตาม: 0
เงินเฟ้อมันมาแล้ว ตัวเร่งการขึ้นดอกเบี้ย
โพสต์ที่ 16
เห็นด้วยกับแนวความคิดของคุณ CHATCHAI ที่ว่าการขึ้นดอกเบี้ยไม่ได้ทำให้
เงินเฟ้อลดลง สำหรับกรณีของประเทศไทย
ผมว่าสิ่งที่รัฐควรคำนึงก็คือทำอย่างไรให้คนในชาติมีงานทำอย่างขยายตัวและต่อเนื่อง
เงินเฟ้อสูง ข้าวของแพง แต่ประชาชนส่วนใหญ่ยังมีรายได้จากการทำงาน น่าจะดีกว่าเงินเฟ้อตำ ของถูก แต่คนส่วนใหญ่ตกงาน ไม่มีรายได้
จำได้ว่าอ่านเจอในหนังสือชื่อ GLOBALIZATION ซึ่งวิจารณ์มาตรการแก้ปัญหาช่วงฟองสบู่แตกของ IMF ที่มีผลให้เศรษฐกิจหดตัวและคนตกงานจำนวนมาก ทำให้ปัญหาลุกลามและต้องใช้เวลานานมากในการแก้ปัญหา
เงินเฟ้อลดลง สำหรับกรณีของประเทศไทย
ผมว่าสิ่งที่รัฐควรคำนึงก็คือทำอย่างไรให้คนในชาติมีงานทำอย่างขยายตัวและต่อเนื่อง
เงินเฟ้อสูง ข้าวของแพง แต่ประชาชนส่วนใหญ่ยังมีรายได้จากการทำงาน น่าจะดีกว่าเงินเฟ้อตำ ของถูก แต่คนส่วนใหญ่ตกงาน ไม่มีรายได้
จำได้ว่าอ่านเจอในหนังสือชื่อ GLOBALIZATION ซึ่งวิจารณ์มาตรการแก้ปัญหาช่วงฟองสบู่แตกของ IMF ที่มีผลให้เศรษฐกิจหดตัวและคนตกงานจำนวนมาก ทำให้ปัญหาลุกลามและต้องใช้เวลานานมากในการแก้ปัญหา
- Calcifer
- Verified User
- โพสต์: 25
- ผู้ติดตาม: 0
เงินเฟ้อมันมาแล้ว ตัวเร่งการขึ้นดอกเบี้ย
โพสต์ที่ 17
ผมว่า การแก้ปัญหาเงินเฟ้อรอบนี้ด้วยการเพิ่มดอกเบี้ย มันไม่ค่อยถูกต้องตามสามัญสำนึกผมสักเท่าไร
เงินเฟ้อรอบนี้ < วัตถุดิบขึ้นราคา < demand โตช้ากว่า Supply
ทางแก้ปัญหาที่ตรงไปตรงมาที่สุด น่าจะเป็นการขยายกำลังการผลิตเพื่อให้มีวัตถุดิบเพียงพอกับความต้องการไม่ใช่เหรอครับ :?: :?: :?:
พวกเหมืองแร่ การเกษตร อะไรเืทือกนั้น ถ้้าขึ้นดอกเบี้ยยิ่งเป็นการเพิ่มภาระการลงทุนไปอีก
อันนี้ผมคิดแบบบ้านๆนะครับ :mrgreen:
ไม่รู้มันมีอะไรที่ผมเข้าใจผิดหรือเปล่า รบกวนช่วยแถลงไขหน่อยนะครับ
เงินเฟ้อรอบนี้ < วัตถุดิบขึ้นราคา < demand โตช้ากว่า Supply
ทางแก้ปัญหาที่ตรงไปตรงมาที่สุด น่าจะเป็นการขยายกำลังการผลิตเพื่อให้มีวัตถุดิบเพียงพอกับความต้องการไม่ใช่เหรอครับ :?: :?: :?:
พวกเหมืองแร่ การเกษตร อะไรเืทือกนั้น ถ้้าขึ้นดอกเบี้ยยิ่งเป็นการเพิ่มภาระการลงทุนไปอีก
อันนี้ผมคิดแบบบ้านๆนะครับ :mrgreen:
ไม่รู้มันมีอะไรที่ผมเข้าใจผิดหรือเปล่า รบกวนช่วยแถลงไขหน่อยนะครับ
- Calcifer
- Verified User
- โพสต์: 25
- ผู้ติดตาม: 0
เงินเฟ้อมันมาแล้ว ตัวเร่งการขึ้นดอกเบี้ย
โพสต์ที่ 18
ขอเพิ่มอีกนิดครับ
ทรัพยากรบางอย่างเวลาราคามันเพิ่มขึ้น เราก็ไม่สามารถลดปริมาณการใช้ได้ อาจถึงขั้นต้องยอมจ่ายในทุกราคา[u/]
อย่างน้อยวันหนึ่ง ก็ต้องมีข้าวสามจาน น้ำมันเติมไปทำงาน
สังเกตว่า เวลาเงินในกระเป๋าผมน้อยลง เรามักจะเลือกตัดค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ซึ่งมักที่ไม่ได้มีการบริโภคทรัพยากรที่แท้จริงก่อน พวกค่ามือถือ ค่าดูหนัง เสื้อผ้าแพงๆ
โดยเงินที่จ่ายไปส่วนใหญ่ จะเป็นค่าแบรน์ ค่าเทคโนโลยี
ผมจึงสรุปเอาเอง(แบบมั่วสุดๆ)ว่า
การขึ้นดอกเบี้ยกับกับการใช้ทรัพยาการพื้นฐาน ไม่มีความสัมพัทธ์กันแบบมีนัยยะ และน่าจะเป็นเช่นเดียวกับเงินเฟ้อแบบ cost push
:lovl: :lovl: :lovl:
ทรัพยากรบางอย่างเวลาราคามันเพิ่มขึ้น เราก็ไม่สามารถลดปริมาณการใช้ได้ อาจถึงขั้นต้องยอมจ่ายในทุกราคา[u/]
อย่างน้อยวันหนึ่ง ก็ต้องมีข้าวสามจาน น้ำมันเติมไปทำงาน
สังเกตว่า เวลาเงินในกระเป๋าผมน้อยลง เรามักจะเลือกตัดค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ซึ่งมักที่ไม่ได้มีการบริโภคทรัพยากรที่แท้จริงก่อน พวกค่ามือถือ ค่าดูหนัง เสื้อผ้าแพงๆ
โดยเงินที่จ่ายไปส่วนใหญ่ จะเป็นค่าแบรน์ ค่าเทคโนโลยี
ผมจึงสรุปเอาเอง(แบบมั่วสุดๆ)ว่า
การขึ้นดอกเบี้ยกับกับการใช้ทรัพยาการพื้นฐาน ไม่มีความสัมพัทธ์กันแบบมีนัยยะ และน่าจะเป็นเช่นเดียวกับเงินเฟ้อแบบ cost push
:lovl: :lovl: :lovl:
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11443
- ผู้ติดตาม: 0
เงินเฟ้อมันมาแล้ว ตัวเร่งการขึ้นดอกเบี้ย
โพสต์ที่ 19
[quote="Calcifer"]ผมว่า การแก้ปัญหาเงินเฟ้อรอบนี้ด้วยการเพิ่มดอกเบี้ย มันไม่ค่อยถูกต้องตามสามัญสำนึกผมสักเท่าไร
เงินเฟ้อรอบนี้ < วัตถุดิบขึ้นราคา < demand โตช้ากว่า Supply
ทางแก้ปัญหาที่ตรงไปตรงมาที่สุด น่าจะเป็นการขยายกำลังการผลิตเพื่อให้มีวัตถุดิบเพียงพอกับความต้องการไม่ใช่เหรอครับ
เงินเฟ้อรอบนี้ < วัตถุดิบขึ้นราคา < demand โตช้ากว่า Supply
ทางแก้ปัญหาที่ตรงไปตรงมาที่สุด น่าจะเป็นการขยายกำลังการผลิตเพื่อให้มีวัตถุดิบเพียงพอกับความต้องการไม่ใช่เหรอครับ
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
-
- Verified User
- โพสต์: 1647
- ผู้ติดตาม: 0
เงินเฟ้อมันมาแล้ว ตัวเร่งการขึ้นดอกเบี้ย
โพสต์ที่ 24
การขึ้นดอกเบี้ยตามเงินเฟ้อนี้ ทำให้การบริโภคลดลงแน่นอนครับ โดยเฉพาะสถานการณ์แบบนี้ และไม่น่าจะแก้ปัญหาใดๆได้เองเลย
ขึ้น ณ ระดับหนึ่งเพื่อดึงเงินไปลงทุนในระบบสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ที่ลดต้นทุนได้ น่าจะดีที่สุดครับ อย่างน้อยก็ในระยะกลาง
ขึ้น ณ ระดับหนึ่งเพื่อดึงเงินไปลงทุนในระบบสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ที่ลดต้นทุนได้ น่าจะดีที่สุดครับ อย่างน้อยก็ในระยะกลาง
. . .
- Calcifer
- Verified User
- โพสต์: 25
- ผู้ติดตาม: 0
เงินเฟ้อมันมาแล้ว ตัวเร่งการขึ้นดอกเบี้ย
โพสต์ที่ 25
chatchai
โดยการให้คนงานหนึ่งคนผลิตสินค้าได้เยอะขึ้น โดยการใส่เทคโนโลยี, เทคนิคการผลิต, เครื่องจักร อะไรเทือกๆนั้น เพิ่มค่าแรงได้แต่ค่าแรงต่อหน่วยสินค้าต้องลดลง
ส่วนรายได้ของคนงานที่่เพิ่มขึ้น ก็ต้องสนับสนุนให้มีการออมเยอะๆ มากกว่านี้ แล้วเอาเงินมาซื้อหุ้นกัน
:lovl: :lovl: :lovl:
ผมเคยเห็นตัวเลขการออกของอินเดีย เค้าออมกันประมาณ 30% ของ GDP แล้ว ที่สำคัญเงินออมกว่า 60% มาจากครัวเรือน
อันนี้ผม ขอเสนอแนวคิดการเพิ่มผลิตภาพแรงงาน (ขอเลียนแบบท่านเจ้าสั่วหน่อย)เงินเฟ้อสูง นำไปสู่ การขึ้นค่าแรง แล้วก็นำไปสู่ การขึ้นราคาสินค้า วนไป เงินเฟ้อสูง ซึ่งเป็นวงจรที่แก้ยาก
โดยการให้คนงานหนึ่งคนผลิตสินค้าได้เยอะขึ้น โดยการใส่เทคโนโลยี, เทคนิคการผลิต, เครื่องจักร อะไรเทือกๆนั้น เพิ่มค่าแรงได้แต่ค่าแรงต่อหน่วยสินค้าต้องลดลง
ส่วนรายได้ของคนงานที่่เพิ่มขึ้น ก็ต้องสนับสนุนให้มีการออมเยอะๆ มากกว่านี้ แล้วเอาเงินมาซื้อหุ้นกัน
:lovl: :lovl: :lovl:
ผมเคยเห็นตัวเลขการออกของอินเดีย เค้าออมกันประมาณ 30% ของ GDP แล้ว ที่สำคัญเงินออมกว่า 60% มาจากครัวเรือน
- zax20
- Verified User
- โพสต์: 17
- ผู้ติดตาม: 0
เงินเฟ้อมันมาแล้ว ตัวเร่งการขึ้นดอกเบี้ย
โพสต์ที่ 27
ผมมองว่า การขึ้นดอกเบี้ย ไม่ได้แก้ปัญหาในปัจจุบันดังที่หลายท่านบอกครับ
แต่ในขณะเดียวกัน ประเทศไทยก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการขึ้นดอกเบี้ยได้ครับ
คือ ถึงไม่อยากจะขึ้น ก็ต้องขึ้นครับ
เพราะถ้าประเทศอื่นๆขึ้น เราก็ต้องขึ้นตาม ไม่อย่างนั้น เงินจะไหลออก
เพราะเงินจะไหลไปสู่สิ่งที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าเสมอ
แต่ในขณะเดียวกัน ประเทศไทยก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการขึ้นดอกเบี้ยได้ครับ
คือ ถึงไม่อยากจะขึ้น ก็ต้องขึ้นครับ
เพราะถ้าประเทศอื่นๆขึ้น เราก็ต้องขึ้นตาม ไม่อย่างนั้น เงินจะไหลออก
เพราะเงินจะไหลไปสู่สิ่งที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าเสมอ
- Sumotin
- Verified User
- โพสต์: 1131
- ผู้ติดตาม: 0
เงินเฟ้อมันมาแล้ว ตัวเร่งการขึ้นดอกเบี้ย
โพสต์ที่ 28
ผมว่าแก้ไม่ถูกจุดครับ เพราะ cost push การทำอย่างนี้เหมือนจะช่วยคนให้ออมมากขึ้น แต่อย่าลืมว่า ถ้าดอกเบี้ยขึ้น บริษัทก็ต้องมีการลด cost โดยการ lay off คนออกอยู่ดี ทำให้คนตกงานมากขึ้น อีกครับ ประเด็นนี้อาจทำให้ saving โดยรวมลดลงด้วยซ้ำ
Timing is everything, no matter what you do.
CAGR of 34% in the past 15 years of investment
CAGR of 34% in the past 15 years of investment
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11443
- ผู้ติดตาม: 0
เงินเฟ้อมันมาแล้ว ตัวเร่งการขึ้นดอกเบี้ย
โพสต์ที่ 29
การขึ้นดอกเบี้ยเพียงแค่ 0.25% คงไม่ทำให้ธุรกิจต่างๆเจ๊งหรอกครับ อีกทั้งอัตราดอกเบี้ยของไทยในปัจจุบันก็อยู่ในระดับที่ไม่ได้สูงมากนักSumotin เขียน:ผมว่าแก้ไม่ถูกจุดครับ เพราะ cost push การทำอย่างนี้เหมือนจะช่วยคนให้ออมมากขึ้น แต่อย่าลืมว่า ถ้าดอกเบี้ยขึ้น บริษัทก็ต้องมีการลด cost โดยการ lay off คนออกอยู่ดี ทำให้คนตกงานมากขึ้น อีกครับ ประเด็นนี้อาจทำให้ saving โดยรวมลดลงด้วยซ้ำ
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
-
- Verified User
- โพสต์: 1822
- ผู้ติดตาม: 0
เงินเฟ้อมันมาแล้ว ตัวเร่งการขึ้นดอกเบี้ย
โพสต์ที่ 30
ปริมาณเงินกู้ยืมและต้นทุนทางการเงินของแต่ละบริษัทไม่เท่ากันนี่ครับ การเพิ่มขึ้นมา 0.25% อาจทำให้ดอกเบี้ยจ่ายเพิ่มหลายล้านก็ได้
เห็นด้วยที่การขึ้นดอกเบี้ยรอบนี้ไม่ถูกต้อง ถ้าให้เงินไหลออกก็ดีนี่ เงินจะได้อ่อน ส่งออกจะได้ดีขึ้น แต่ต้องปล่อยให้ราคาน้ำมันแพงไปตามกลไกตลาดด้วยนะ
เห็นด้วยที่การขึ้นดอกเบี้ยรอบนี้ไม่ถูกต้อง ถ้าให้เงินไหลออกก็ดีนี่ เงินจะได้อ่อน ส่งออกจะได้ดีขึ้น แต่ต้องปล่อยให้ราคาน้ำมันแพงไปตามกลไกตลาดด้วยนะ