เคยได้ยินหลักการลงทุนแบบ VALUE AVERAGIN หรือเปล่าครับ
- gnomeller
- Verified User
- โพสต์: 425
- ผู้ติดตาม: 0
เคยได้ยินหลักการลงทุนแบบ VALUE AVERAGIN หรือเปล่าครับ
โพสต์ที่ 1
ผศ.ดร. คมวุธ วิศวไพศาล
หัวหน้าศูนย์วิจัยและปฏิบัติการทดลอง มหาวิทยาลัยศรีปทุม
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์สยามธุรกิจ ปีที่ 12 ฉบับที่ 744 วันที่ 25-28
พฤศจิกายน 2549
Value Averaging (VA) เป็นกลยุทธ์การลงทุนวิธีหนึ่งที่คิดค้นโดย
ดร.ไมเคิล อเดลสัน จาก
บริษัทมอร์แกนแสตนเลย์ ในอดีตท่านเคยเป็นศาสตราจารย์ในภาควิชาการเงิน
มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
แนวความคิดของ VA เป็นการต่อยอดมาจาก
วิธีการลงทุนแบบเฉลี่ยต้นทุนหรือที่เรียกว่าวิธี Dollar Cost
Averaging (DCA) โดย DCA เป็นการซื้อหน่วยลงทุน (หรือหุ้น)
ด้วยเงินลงทุนที่เท่ากันอย่างสม่ำเสมอ
เช่น ลงทุน 10,000 บาททุกเดือน เป็นต้น แต่กลยุทธ์ VA
เป็นการควบคุมให้มูลค่าสุทธิของพอร์ตการ
ลงทุนเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอ
แนวคิดของ VA ได้แสดงไว้ในตารางข้างล่าง
โดยสมมุติให้เราตั้งเป้าหมายไว้ในใจล่วงหน้าว่า
จะลง ทุนโดยให้มูลค่าสุทธิของพอร์ตเพิ่มขึ้นเดือนละ 10,000 บาท
ดังนั้นในเดือนแรก เราเริ่มซื้อหน่วยลงทุนที่มีราคา 10 บาทต่อหน่วย
โดยใช้เงิน 10,000 บาท ทำให้ซื้อหน่วยลงทุนได้จำนวน 1,000 หน่วย
ในเดือนที่สองราคาหน่วยลงทุนได้ปรับตัวลดลงไปเป็น 9 บาท
ซึ่งทำให้มูลค่าสุทธิของพอร์ตลดลง
เหลือเพียง 9,000 บาท (หน่วยละ 9 บาท จำนวน 1,000 หน่วย)
แต่เนื่องจากในเดือนที่สอง มูลค่าสุทธิที่
เรา ได้ตั้งเป้าไว้ควรจะเป็น 20,000 บาท ดังนั้น
เราจึงต้องใช้เงินลงทุนเพิ่มขึ้นเป็น 11,000 บาท (9,000 บาท+11,000 บาท=
20,000 บาท) ทำให้ซื้อหน่วยลงทุนได้จำนวน 11,000 / 9 = 1,222 หน่วย (เข้า
ทำนอง ราคายิ่งถูก ยิ่งซื้อมากขึ้น)
สำหรับในเดือนที่สาม ราคาหน่วยลงทุนเริ่มปรับตัวขึ้นไปเป็น 12
บาท ทำให้มูลค่าสุทธิเพิ่มขึ้นเป็น 26,664 บาท (หน่วยละ 12 บาท จำนวน
2,222หน่วย) และในเดือนที่
สามนี้มูลค่าสุทธิที่เราได้ตั้งเป้าไว้ควรจะเป็น 30,000 บาท ดังนั้น
เราจึงใช้เงินลงทุนในเดือนนี้เพียง
3,336 บาท (ลดจำนวนเงินในการซื้อลง เมื่อราคาสูงขึ้น)
ทำให้ซื้อหน่วยลงทุนได้จำนวน 278 หน่วย
และสุดท้ายในเดือนที่สี่ ตลาดหลักทรัพย์อยู่ในภาวะกระทิง
ส่งผลให้ราคาหน่วยลงทุนดีดตัวขึ้นไปสูง
ถึง 20 บาท ทำให้มูลค่าสุทธิเพิ่มขึ้นเป็น 50,000 บาท (หน่วยละ 20 บาท
จำนวน 2,500 หน่วย) แต่ใน
เดือนที่สี่มูลค่าสุทธิควรจะเป็น 40,000 บาท ดังนั้นในเดือนนี้
เราต้องขายหน่วยลงทุนมูลค่า 10,000 บาท
ออกมาเพื่อปรับให้มูลค่าสุทธิของพอร์ตไม่เกิน 40,000 ตามที่ได้วางแผนไว้
ซึ่งนับเป็นการขายทำกำไร
เพื่อลดความเสี่ยงเมื่อราคาหน่วยลงทุนเริ่มร้อนแรงเกินไป
เมื่อสิ้นเดือนที่สี่ จำนวนหน่วยลงทุนสะสมที่
ได้คือ 2,000 หน่วย โดยใช้เงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 14,336 บาท
คิดเป็นต้นทุนเฉลี่ย 7.17 บาทต่อหน่วย ซึ่ง
ในมุมมองอีกด้านหนึ่ง หากเราทดลองใช้วิธี DCA
โดยการซื้อเฉลี่ยทุกเดือนๆละ 10,000 บาท
เมื่อสิ้นเดือนที่สี่ จำนวนหน่วยลงทุนสะสมที่ได้คือ 3,444 หน่วย
โดยใช้เงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 40,000
บาท คิดเป็นต้นทุนเฉลี่ย 11.61 บาทต่อหน่วย ซึ่งต่ำกว่าราคาตลาดที่ 20
บาท อยู่ 42 % แต่เมื่อ
เปรียบเทียบกับการลงทุนแบบ VA แล้ว ถือว่าต้นทุนของการลงทุนแบบ DCA
ยังสูงกว่าพอสมควร
เนื่องจาก DCA เป็นการซื้ออย่างสม่ำเสมอแต่จะไม่มีการขายทำกำไร
และเมื่อตลาดปรับตัวขึ้นสู่ภาวะ
ร้อนแรงจะ ทำให้ต้นทุนของการลงทุนแบบนี้ค่อยๆสูงขึ้นเรื่อยๆ
เนื่องจากเราได้สะสมหน่วยลงทุน
จำนวนหนึ่งในราคาต้นทุนที่สูงขึ้น
(แทนที่จะขายทำกำไรออกไปบ้างบางส่วนในแบบ VA)
ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ VA กับตลาดหลักทรัพย์ไทย
ได้แสดงไว้ในกราฟดังรูปโดยได้รวบรวม
ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ย้อนหลังประมาณ 6 ปี คือตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ.
2544 จนถึงเดือน
พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 รวม 71 เดือน
โดยสมมุติให้เราซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนดัชนีที่มีราคาต่อหน่วย
เท่ากับและเคลื่อนไหวไปตามดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทย (SET Index)
เพื่อทำการเปรียบเทียบต้นทุน
เฉลี่ยระหว่างของการลงทุนแบบ DCA ซึ่งทำการซื้อหน่วยลงทุน 10,000 บาท
ทุกวันทำการแรกของ
เดือน กับการลงทุนแบบ VA
ซึ่งได้กำหนดเป้าหมายให้มูลค่าสุทธิของพอร์ตเพิ่มขึ้นเดือนละ 10,000
บาท โดยจะซื้อ (หรือขาย) หน่วยลงทุนทุกวันทำการแรกของเดือนเช่นเดียวกัน
กราฟรูปนี้ได้แสดงการเคลื่อนไหวของ SET Index
เมื่อเทียบกับต้นทุนเฉลี่ยของการลงทุนทั้ง
แบบ DCA และ VA จะเห็นได้ว่า
ต้นทุนเฉลี่ยของการลงทุนทั้งสองแบบล้วนต่ำกว่าดัชนี SET Index
อย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเราลงทุนอย่างต่อเนื่องโดยใช้ DCA
พบว่าต้นทุนเฉลี่ยเมื่อสิ้นสุดเดือนที่ 71 อยู่ที่
470.77 จุด ในขณะที่ดัชนี SET Index อยู่ที่ 730.87 จุด
ในกรณีนี้ถ้าเราขายหน่วยลงทุนทั้งหมดก็จะได้
กำไรสุทธิ 55% แต่ถ้าเราลงทุนอย่างต่อเนื่องโดยใช้ VA
ก็จะมีต้นทุนเฉลี่ยเมื่อสิ้นสุดเดือนที่ 71 อยู่ที่
404.76 จุด หากเทียบกับ SET Index ที่ 730.87 จุด
แล้วเราจะได้กำไรสุทธิสูงถึง 81% ซึ่งจะเห็นได้จาก
กราฟว่าต้นทุนเฉลี่ยของการลงทุนแบบ VA จะต่ำกว่าแบบ DCA
ตามเหตุผลที่กล่าวไปแล้วเบื้องต้น
ข้อสังเกตที่สำคัญอีกจุดหนึ่งบนกราฟ
จะเห็นได้ว่าในขณะที่ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ได้ปรับตัว
เพิ่มขึ้นอย่างรุนแรงในช่วงเดือนที่ 30 ถึง 37 (ช่วงเดือน พฤษภาคม 2546-
มกราคม 2547) ในทางตรงกัน
ข้าม ต้นทุนของ VA ก็ปรับลดลงมาอย่างรวดเร็วเช่นกัน
ทั้งนี้เป็นผลจากการขายทำกำไรออกมาบางส่วน
เมื่อมูลค่าของเงินลงทุนสุทธิเพิ่มขึ้นเกินกว่าเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ในตอนแรก
ในขณะที่ต้นทุนของ DCA
กลับเพิ่มขึ้นเรื่อยๆเพราะได้ทำการซื้อหน่วยลงทุนอย่างต่อเนื่องทุกเดือนโดยไม่สนใจภาวะตลาด
ทำให้
เกิดความเสี่ยงมากขึ้นเมื่อราคาหน่วยลงทุนสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
จากตัวอย่างโดยสังเขปนี้ พบว่ากลยุทธ์
การลงทุนแบบ Value Averaging
จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการลดต้นทุนของการลงทุนได้อย่างดี
หัวหน้าศูนย์วิจัยและปฏิบัติการทดลอง มหาวิทยาลัยศรีปทุม
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์สยามธุรกิจ ปีที่ 12 ฉบับที่ 744 วันที่ 25-28
พฤศจิกายน 2549
Value Averaging (VA) เป็นกลยุทธ์การลงทุนวิธีหนึ่งที่คิดค้นโดย
ดร.ไมเคิล อเดลสัน จาก
บริษัทมอร์แกนแสตนเลย์ ในอดีตท่านเคยเป็นศาสตราจารย์ในภาควิชาการเงิน
มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
แนวความคิดของ VA เป็นการต่อยอดมาจาก
วิธีการลงทุนแบบเฉลี่ยต้นทุนหรือที่เรียกว่าวิธี Dollar Cost
Averaging (DCA) โดย DCA เป็นการซื้อหน่วยลงทุน (หรือหุ้น)
ด้วยเงินลงทุนที่เท่ากันอย่างสม่ำเสมอ
เช่น ลงทุน 10,000 บาททุกเดือน เป็นต้น แต่กลยุทธ์ VA
เป็นการควบคุมให้มูลค่าสุทธิของพอร์ตการ
ลงทุนเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอ
แนวคิดของ VA ได้แสดงไว้ในตารางข้างล่าง
โดยสมมุติให้เราตั้งเป้าหมายไว้ในใจล่วงหน้าว่า
จะลง ทุนโดยให้มูลค่าสุทธิของพอร์ตเพิ่มขึ้นเดือนละ 10,000 บาท
ดังนั้นในเดือนแรก เราเริ่มซื้อหน่วยลงทุนที่มีราคา 10 บาทต่อหน่วย
โดยใช้เงิน 10,000 บาท ทำให้ซื้อหน่วยลงทุนได้จำนวน 1,000 หน่วย
ในเดือนที่สองราคาหน่วยลงทุนได้ปรับตัวลดลงไปเป็น 9 บาท
ซึ่งทำให้มูลค่าสุทธิของพอร์ตลดลง
เหลือเพียง 9,000 บาท (หน่วยละ 9 บาท จำนวน 1,000 หน่วย)
แต่เนื่องจากในเดือนที่สอง มูลค่าสุทธิที่
เรา ได้ตั้งเป้าไว้ควรจะเป็น 20,000 บาท ดังนั้น
เราจึงต้องใช้เงินลงทุนเพิ่มขึ้นเป็น 11,000 บาท (9,000 บาท+11,000 บาท=
20,000 บาท) ทำให้ซื้อหน่วยลงทุนได้จำนวน 11,000 / 9 = 1,222 หน่วย (เข้า
ทำนอง ราคายิ่งถูก ยิ่งซื้อมากขึ้น)
สำหรับในเดือนที่สาม ราคาหน่วยลงทุนเริ่มปรับตัวขึ้นไปเป็น 12
บาท ทำให้มูลค่าสุทธิเพิ่มขึ้นเป็น 26,664 บาท (หน่วยละ 12 บาท จำนวน
2,222หน่วย) และในเดือนที่
สามนี้มูลค่าสุทธิที่เราได้ตั้งเป้าไว้ควรจะเป็น 30,000 บาท ดังนั้น
เราจึงใช้เงินลงทุนในเดือนนี้เพียง
3,336 บาท (ลดจำนวนเงินในการซื้อลง เมื่อราคาสูงขึ้น)
ทำให้ซื้อหน่วยลงทุนได้จำนวน 278 หน่วย
และสุดท้ายในเดือนที่สี่ ตลาดหลักทรัพย์อยู่ในภาวะกระทิง
ส่งผลให้ราคาหน่วยลงทุนดีดตัวขึ้นไปสูง
ถึง 20 บาท ทำให้มูลค่าสุทธิเพิ่มขึ้นเป็น 50,000 บาท (หน่วยละ 20 บาท
จำนวน 2,500 หน่วย) แต่ใน
เดือนที่สี่มูลค่าสุทธิควรจะเป็น 40,000 บาท ดังนั้นในเดือนนี้
เราต้องขายหน่วยลงทุนมูลค่า 10,000 บาท
ออกมาเพื่อปรับให้มูลค่าสุทธิของพอร์ตไม่เกิน 40,000 ตามที่ได้วางแผนไว้
ซึ่งนับเป็นการขายทำกำไร
เพื่อลดความเสี่ยงเมื่อราคาหน่วยลงทุนเริ่มร้อนแรงเกินไป
เมื่อสิ้นเดือนที่สี่ จำนวนหน่วยลงทุนสะสมที่
ได้คือ 2,000 หน่วย โดยใช้เงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 14,336 บาท
คิดเป็นต้นทุนเฉลี่ย 7.17 บาทต่อหน่วย ซึ่ง
ในมุมมองอีกด้านหนึ่ง หากเราทดลองใช้วิธี DCA
โดยการซื้อเฉลี่ยทุกเดือนๆละ 10,000 บาท
เมื่อสิ้นเดือนที่สี่ จำนวนหน่วยลงทุนสะสมที่ได้คือ 3,444 หน่วย
โดยใช้เงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 40,000
บาท คิดเป็นต้นทุนเฉลี่ย 11.61 บาทต่อหน่วย ซึ่งต่ำกว่าราคาตลาดที่ 20
บาท อยู่ 42 % แต่เมื่อ
เปรียบเทียบกับการลงทุนแบบ VA แล้ว ถือว่าต้นทุนของการลงทุนแบบ DCA
ยังสูงกว่าพอสมควร
เนื่องจาก DCA เป็นการซื้ออย่างสม่ำเสมอแต่จะไม่มีการขายทำกำไร
และเมื่อตลาดปรับตัวขึ้นสู่ภาวะ
ร้อนแรงจะ ทำให้ต้นทุนของการลงทุนแบบนี้ค่อยๆสูงขึ้นเรื่อยๆ
เนื่องจากเราได้สะสมหน่วยลงทุน
จำนวนหนึ่งในราคาต้นทุนที่สูงขึ้น
(แทนที่จะขายทำกำไรออกไปบ้างบางส่วนในแบบ VA)
ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ VA กับตลาดหลักทรัพย์ไทย
ได้แสดงไว้ในกราฟดังรูปโดยได้รวบรวม
ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ย้อนหลังประมาณ 6 ปี คือตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ.
2544 จนถึงเดือน
พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 รวม 71 เดือน
โดยสมมุติให้เราซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนดัชนีที่มีราคาต่อหน่วย
เท่ากับและเคลื่อนไหวไปตามดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทย (SET Index)
เพื่อทำการเปรียบเทียบต้นทุน
เฉลี่ยระหว่างของการลงทุนแบบ DCA ซึ่งทำการซื้อหน่วยลงทุน 10,000 บาท
ทุกวันทำการแรกของ
เดือน กับการลงทุนแบบ VA
ซึ่งได้กำหนดเป้าหมายให้มูลค่าสุทธิของพอร์ตเพิ่มขึ้นเดือนละ 10,000
บาท โดยจะซื้อ (หรือขาย) หน่วยลงทุนทุกวันทำการแรกของเดือนเช่นเดียวกัน
กราฟรูปนี้ได้แสดงการเคลื่อนไหวของ SET Index
เมื่อเทียบกับต้นทุนเฉลี่ยของการลงทุนทั้ง
แบบ DCA และ VA จะเห็นได้ว่า
ต้นทุนเฉลี่ยของการลงทุนทั้งสองแบบล้วนต่ำกว่าดัชนี SET Index
อย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเราลงทุนอย่างต่อเนื่องโดยใช้ DCA
พบว่าต้นทุนเฉลี่ยเมื่อสิ้นสุดเดือนที่ 71 อยู่ที่
470.77 จุด ในขณะที่ดัชนี SET Index อยู่ที่ 730.87 จุด
ในกรณีนี้ถ้าเราขายหน่วยลงทุนทั้งหมดก็จะได้
กำไรสุทธิ 55% แต่ถ้าเราลงทุนอย่างต่อเนื่องโดยใช้ VA
ก็จะมีต้นทุนเฉลี่ยเมื่อสิ้นสุดเดือนที่ 71 อยู่ที่
404.76 จุด หากเทียบกับ SET Index ที่ 730.87 จุด
แล้วเราจะได้กำไรสุทธิสูงถึง 81% ซึ่งจะเห็นได้จาก
กราฟว่าต้นทุนเฉลี่ยของการลงทุนแบบ VA จะต่ำกว่าแบบ DCA
ตามเหตุผลที่กล่าวไปแล้วเบื้องต้น
ข้อสังเกตที่สำคัญอีกจุดหนึ่งบนกราฟ
จะเห็นได้ว่าในขณะที่ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ได้ปรับตัว
เพิ่มขึ้นอย่างรุนแรงในช่วงเดือนที่ 30 ถึง 37 (ช่วงเดือน พฤษภาคม 2546-
มกราคม 2547) ในทางตรงกัน
ข้าม ต้นทุนของ VA ก็ปรับลดลงมาอย่างรวดเร็วเช่นกัน
ทั้งนี้เป็นผลจากการขายทำกำไรออกมาบางส่วน
เมื่อมูลค่าของเงินลงทุนสุทธิเพิ่มขึ้นเกินกว่าเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ในตอนแรก
ในขณะที่ต้นทุนของ DCA
กลับเพิ่มขึ้นเรื่อยๆเพราะได้ทำการซื้อหน่วยลงทุนอย่างต่อเนื่องทุกเดือนโดยไม่สนใจภาวะตลาด
ทำให้
เกิดความเสี่ยงมากขึ้นเมื่อราคาหน่วยลงทุนสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
จากตัวอย่างโดยสังเขปนี้ พบว่ากลยุทธ์
การลงทุนแบบ Value Averaging
จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการลดต้นทุนของการลงทุนได้อย่างดี
- gnomeller
- Verified User
- โพสต์: 425
- ผู้ติดตาม: 0
เคยได้ยินหลักการลงทุนแบบ VALUE AVERAGIN หรือเปล่าครับ
โพสต์ที่ 2
คิดเห้นยังไงกันครับ
สำหรับผมคิดว่านี่เป็นแนวคิดที่เน้นสร้างวินัยทางการออมมากขึ้น
ผมมองว่าแนวนี้เน้นความสำคัญในการเดาทิศทางตลาดไม่มากนัก แต่จะเน้นหนักไปทีการออมเงินให้ได้เพื่อการลงทุนตามเป้าหมายตามระยะที่กำหนด
ซึ่งถ้านำวิธีนี้ไปใช้กับหุ้นในกิจการที่ดีซักตัว (แต่ต้องมีสภาพคล่อง ) ความเป็นไปได้ในการทำผลตอบแทน ในระยะยาวอย่างน้อยๆ 1-2 ปีก็น่าจะไปได้ดี และคิดว่าวิธีนี้เป็นวิธีที่น่าจะ ทนทานต่อความผันผวนของราคาหุ้นได้มากกว่าแบบที่ผมใช้เป็นหลักอยู่
ซึ่งก็น่าจะทำให้สามารถนำเงินไปลงทุนในกิจการที่มีความเสียงสูงขึ้นได้
ตอนนี้เดี๋ยวจะทดลองดูกับหุ้นกิจการที่มีสภาพคล่องสูงหน่อย
ลองคิดว่าถ้าเอาวิธีนี้ไปใช้ผสมกับแนวคุณค่าระยะยาวที่ผมใช้อยู่นี่ไปด้วยกันยากแหงๆ
แต่จะลองแยกกันดูเลยว่า 2 ปีแบบไหนจะให้ผลตอบแทนดีกว่ากัน
สังเกตุดีๆ จะว่ามันขัดแย้งกับแนวที่ผมใช้ก็ใช่ จะว่าเหมือนหรือคล้ายกัน ก็ไม่เชิงนะครับ ....
เพื่อนๆพี่ว่ายังไงกันบ้าง ใครเคยลองทดสอบดูแล้วบ้างหรือเปล่าครับ
สำหรับผมคิดว่านี่เป็นแนวคิดที่เน้นสร้างวินัยทางการออมมากขึ้น
ผมมองว่าแนวนี้เน้นความสำคัญในการเดาทิศทางตลาดไม่มากนัก แต่จะเน้นหนักไปทีการออมเงินให้ได้เพื่อการลงทุนตามเป้าหมายตามระยะที่กำหนด
ซึ่งถ้านำวิธีนี้ไปใช้กับหุ้นในกิจการที่ดีซักตัว (แต่ต้องมีสภาพคล่อง ) ความเป็นไปได้ในการทำผลตอบแทน ในระยะยาวอย่างน้อยๆ 1-2 ปีก็น่าจะไปได้ดี และคิดว่าวิธีนี้เป็นวิธีที่น่าจะ ทนทานต่อความผันผวนของราคาหุ้นได้มากกว่าแบบที่ผมใช้เป็นหลักอยู่
ซึ่งก็น่าจะทำให้สามารถนำเงินไปลงทุนในกิจการที่มีความเสียงสูงขึ้นได้
ตอนนี้เดี๋ยวจะทดลองดูกับหุ้นกิจการที่มีสภาพคล่องสูงหน่อย
ลองคิดว่าถ้าเอาวิธีนี้ไปใช้ผสมกับแนวคุณค่าระยะยาวที่ผมใช้อยู่นี่ไปด้วยกันยากแหงๆ
แต่จะลองแยกกันดูเลยว่า 2 ปีแบบไหนจะให้ผลตอบแทนดีกว่ากัน
สังเกตุดีๆ จะว่ามันขัดแย้งกับแนวที่ผมใช้ก็ใช่ จะว่าเหมือนหรือคล้ายกัน ก็ไม่เชิงนะครับ ....
เพื่อนๆพี่ว่ายังไงกันบ้าง ใครเคยลองทดสอบดูแล้วบ้างหรือเปล่าครับ
- sorawut
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2455
- ผู้ติดตาม: 1
เคยได้ยินหลักการลงทุนแบบ VALUE AVERAGIN หรือเปล่าครับ
โพสต์ที่ 3
เป็นกลยุทธ์ที่ดีครับ น่าจะช่วยลดการจ้องหน้าจอเพื่อหาจังหวะในการลงทุนได้ เพราะลงทุนแบบมีวินัยมากขึ้น
แต่การเลือกหุ้นที่มีราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงของกิจการที่ดีนั่นสำคัญกว่า
เพราะถ้าเอากลยุทธ์นี้ไปใช้กับหุ้นโดยไม่ดูราคาล่ะก็แย่แน่ๆ
สมมติเราไปซื้อหุ้นที่ราคาเกินมูลค่ามากๆ (เราไม่รู้เพราะเราไม่ได้วัดมูลค่าของมันก่อน) เวลาที่หมดข่าวดี ราคาจะไหลเข้าสู่มูลค่าที่แท้จริง เราก็ยิ่งซื้อหนักขึ้นๆ เพราะกลยุทธ์บอกว่ายิ่งลงยิ่งซื้อให้หนักขึ้น
สุดท้ายเราจะจบลงด้วยหุ้นจำนวนมากด้วยต้นทุนที่สูงอยู่ดี เมื่อเทียบกับมูลค่าที่แท้จริงของกิจการ
ลองดูหุ้น WORK ย้อนหลังไป 2 ปีสิครับ ผมเจอกับตัวตั้งแต่ราคา 24 บาท ยิ่งลงยิ่งซื้อ
พอได้มาอ่านหนังสือวัดมูลค่าหุ้นของคุณสุมาอี้ (ไม่ได้โฆษณานะครับ ของเค้าดีจริงๆ :lol:)
งายหลังเลยครับ ราคามันแพงกว่ามูลค่าที่แท้จริงไปเยอะ
ตอนแรกยังไม่ค่อยเชื่อ เพราะคิดว่ามันลงมามากแล้ว เดี๋ยวคงจะเด้งกลับได้บ้างน่ะ เลยซื้อที่ 15.2 บาทไป
แต่สุดท้ายยอมมอบตัวที่ 14.7 ปัจจุบัน 12.3 :roll:
แต่การเลือกหุ้นที่มีราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงของกิจการที่ดีนั่นสำคัญกว่า
เพราะถ้าเอากลยุทธ์นี้ไปใช้กับหุ้นโดยไม่ดูราคาล่ะก็แย่แน่ๆ
สมมติเราไปซื้อหุ้นที่ราคาเกินมูลค่ามากๆ (เราไม่รู้เพราะเราไม่ได้วัดมูลค่าของมันก่อน) เวลาที่หมดข่าวดี ราคาจะไหลเข้าสู่มูลค่าที่แท้จริง เราก็ยิ่งซื้อหนักขึ้นๆ เพราะกลยุทธ์บอกว่ายิ่งลงยิ่งซื้อให้หนักขึ้น
สุดท้ายเราจะจบลงด้วยหุ้นจำนวนมากด้วยต้นทุนที่สูงอยู่ดี เมื่อเทียบกับมูลค่าที่แท้จริงของกิจการ
ลองดูหุ้น WORK ย้อนหลังไป 2 ปีสิครับ ผมเจอกับตัวตั้งแต่ราคา 24 บาท ยิ่งลงยิ่งซื้อ
พอได้มาอ่านหนังสือวัดมูลค่าหุ้นของคุณสุมาอี้ (ไม่ได้โฆษณานะครับ ของเค้าดีจริงๆ :lol:)
งายหลังเลยครับ ราคามันแพงกว่ามูลค่าที่แท้จริงไปเยอะ
ตอนแรกยังไม่ค่อยเชื่อ เพราะคิดว่ามันลงมามากแล้ว เดี๋ยวคงจะเด้งกลับได้บ้างน่ะ เลยซื้อที่ 15.2 บาทไป
แต่สุดท้ายยอมมอบตัวที่ 14.7 ปัจจุบัน 12.3 :roll:
ตัดสินใจว่า ธุรกิจไหนที่คุณต้องการจะเป็นเจ้าของ
และซื้อเมื่อราคาสามารถให้ผลตอบแทนจากการลงทุน ในอัตราที่เข้าท่าสำหรับการร่วมทำธุรกิจเท่านั้น
และซื้อเมื่อราคาสามารถให้ผลตอบแทนจากการลงทุน ในอัตราที่เข้าท่าสำหรับการร่วมทำธุรกิจเท่านั้น
-
- Verified User
- โพสต์: 1808
- ผู้ติดตาม: 0
เคยได้ยินหลักการลงทุนแบบ VALUE AVERAGIN หรือเปล่าครับ
โพสต์ที่ 4
ผมว่าก็น่าสนใจดีนะครับ เหมาะกับกองทุนรวม
แต่คนทั่วไปอาจจะถนัด DCA มากกว่าครับ เพราะมันง่ายดี :lol:
แต่คนทั่วไปอาจจะถนัด DCA มากกว่าครับ เพราะมันง่ายดี :lol:
"Risk comes from not knowing what you're doing" - Warren Buffet
สุดยอดของความซับซ้อนคือความเรียบง่าย
http://www.sarut-homesite.net/
สุดยอดของความซับซ้อนคือความเรียบง่าย
http://www.sarut-homesite.net/
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11443
- ผู้ติดตาม: 0
เคยได้ยินหลักการลงทุนแบบ VALUE AVERAGIN หรือเปล่าครับ
โพสต์ที่ 5
ถ้าคิดลงทุนเดือนละ 10,000 บาท สิ้นปีแรกก็จะมีมูลค่าพอร์ต 120,000 บาท
สิ้นปีที่ 10 ก็จะมีมุลค่าพอร์ต 1,200,000 บาท แล้วเรายังคงมีหลักการเพิ่มมูลค่าพอร์ตเดือนละ 10,000 บาทเหมือนเดิม
บังเอิญเดือนนั้นหุ้นตกหนัก ลดลง 20% มูลค่าพอร์ตเหลือแค่ 960,000 บาท แต่เรามีเป้าหมายที่ 1,210,000 บาท เท่ากับว่าเราต้องเพิ่มเงินถึง 250,000 บาทเชียวครับ จะไหวไหม
สิ้นปีที่ 10 ก็จะมีมุลค่าพอร์ต 1,200,000 บาท แล้วเรายังคงมีหลักการเพิ่มมูลค่าพอร์ตเดือนละ 10,000 บาทเหมือนเดิม
บังเอิญเดือนนั้นหุ้นตกหนัก ลดลง 20% มูลค่าพอร์ตเหลือแค่ 960,000 บาท แต่เรามีเป้าหมายที่ 1,210,000 บาท เท่ากับว่าเราต้องเพิ่มเงินถึง 250,000 บาทเชียวครับ จะไหวไหม
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
- gnomeller
- Verified User
- โพสต์: 425
- ผู้ติดตาม: 0
เคยได้ยินหลักการลงทุนแบบ VALUE AVERAGIN หรือเปล่าครับ
โพสต์ที่ 6
แต่ถ้าคิดในทางกลับกัน ในช่วงที่มันขึ้นเราก็ทยอยขายทำกำไร ออกมาเก็บเป็นเงินสดใส่ธนาคารเอาไว้โดยไม่ได้ลงทุนเพิ่ม ในหุ้น บวกกับเงินเดือนละ 10,000 ที่เรายังคงต้องแบ่งปันส่วนเอาไว้อยู่แล้ว แต่แทนที่ตะลงในหุ้น เราก็ save ไว้ในบัญชีของธนาคารแทนchatchai เขียน:ถ้าคิดลงทุนเดือนละ 10,000 บาท สิ้นปีแรกก็จะมีมูลค่าพอร์ต 120,000 บาท
สิ้นปีที่ 10 ก็จะมีมุลค่าพอร์ต 1,200,000 บาท แล้วเรายังคงมีหลักการเพิ่มมูลค่าพอร์ตเดือนละ 10,000 บาทเหมือนเดิม
บังเอิญเดือนนั้นหุ้นตกหนัก ลดลง 20% มูลค่าพอร์ตเหลือแค่ 960,000 บาท แต่เรามีเป้าหมายที่ 1,210,000 บาท เท่ากับว่าเราต้องเพิ่มเงินถึง 250,000 บาทเชียวครับ จะไหวไหม
เมื่อถึงเวลาที่หุ้นตกหนักจริง อาจจะลง 20% ( ซึ่งมันคงไม่เกิดขึ้นในเดือนเดียว ) เราก็ไปควักเอาเงินในแบ๊งค์ที่เรา save ไว้ แต่ละเดือนรวมกับส่วนของกำไรที่เราได้จากการขายหุ้น พร้อมกันนั้น เราได้หุ้นราคาถูกจำนวนมากมายกลับคืนมา . . . . .
และเมื่อถึงวันที่ตลาดหุ้นกลับคืนสู่สภาวะปกติ พึ่มขึ้น 20% กลับมาอยู่เท่าเดิม ด้วยจำนวนหุ้นที่มากขึ้น ส่วนต่างของราคาก็สร้างกำไรต่อเดือนให้มากขึ้นไปอีก นี่ยังไม่รวมปันผลนะเนี่ย....
น่าคิดเหมือนกันนะครับ......
ผมว่าประเด๊นสำคัญอยู่ที่ว่า ตอ้งลงทุนที่เป็นกิจการที่ดี มีกำไรสม่ำเสมอ และต้องมีหุ้นสภาพคล่องสูงพอประมาณ
-
- Verified User
- โพสต์: 1922
- ผู้ติดตาม: 0
เคยได้ยินหลักการลงทุนแบบ VALUE AVERAGIN หรือเปล่าครับ
โพสต์ที่ 7
[quote="chatchai"]บังเอิญเดือนนั้นหุ้นตกหนัก
- nanakorn
- Verified User
- โพสต์: 636
- ผู้ติดตาม: 0
เคยได้ยินหลักการลงทุนแบบ VALUE AVERAGIN หรือเปล่าครับ
โพสต์ที่ 8
มีคนทำวิจัยเปรียบเทียบ DCA กับ DVA ไว้ ผมยังไม่ได้อ่านอย่างละเอียดครับ ดูสรุปคร่าวๆแล้วดูเหมือน DVA จะชนะ DCA ได้ เหตุผลน่าจะเป็นที่ ตอนราคาหน่วยลงทุนลดลง DVA จะต้องใช้เงินมากขึ้นในการซื้อจำนวนหน่วยลงทุน (ที่ราคาถูกอยู่) เพื่อชดเชยส่วนของพอร์ตที่ลดลง กล่าวสั้นๆคือ ตอนราคาลง แค่ใช้เงินเท่าเดิม (อย่าง DCA) ก็ซื้อหน่วยลงทุนได้จำนวนหน่วยมากขึ้นอยู่แล้ว แต่ในกรณี DVA ยังโดนบังคับให้เพิ่มเงินซื้อเข้าไปอีกด้วย
http://www.studyfinance.com/jfsd/pdffil ... rshall.pdf
http://www.studyfinance.com/jfsd/pdffil ... rshall.pdf
Everything I do, I do it for you.
- Luty97
- Verified User
- โพสต์: 1520
- ผู้ติดตาม: 0
เคยได้ยินหลักการลงทุนแบบ VALUE AVERAGIN หรือเปล่าครับ
โพสต์ที่ 10
น่าชื่นชมคนคิดนะครับ :D
ถือว่าเป็นอีกหนึ่งวิธีออมที่น่าสนใจ
แต่ส่วนตัวผมชอบแบบ มีอิสระในการออม
โดยเราก็หารายได้แบบปกติ ใช้จ่ายแบบปกติไม่ฟุ้มเฟือย ซึ่งน่าจะมีรายได้มากกว่ารายจ่ายได้ไม่ยาก และมีความสุขกะชีวิตในทุกๆวัน
หลังจากมีเงินเหลือเก็บ เราจึงนำมาลงทุนหุ้นให้มากที่สุด เหลือไว้ใช้ฉุกเฉินบ้าง (ให้เงินในหุ้นเป็นเงินเย็น) โดยถ้าเงินที่นำมาลงหุ้น อาจยังไม่จำเป็นต้องซื้อเลย เราอาจถือค้างไว้ในพอทก่อนก็ได้ และซื้อเมื่อเราเห็นว่าควรซื้อ เช่นเดียวกะเวลาขาย ก็ขายเมื่อราคาเกินมูลค่าเหมาะสม และเก็บเงินนั้นไว้ลงทุนหุ้นต่อไป โดยไม่ถอนออกมาถ้ายังสามารถหาหุ้นที่เหมาะสมได้อยู่
ซึ่งผมเชื่อว่ามูลค่าพอทการลงทุนในหุ้นระยะยาว ของผมน่าจะเพิ่มขึ้นได้อย่างมีนัยสำคัญ หลักการแบบนี้น่าจะทำให้เรามีความสุขกับการดำเนินชีวิต... มีความสุขกับการออม การลงทุนในหุ้น... และมีความสุขในบั้นปลายของชีวิตนะครับ :o
ถือว่าเป็นอีกหนึ่งวิธีออมที่น่าสนใจ
แต่ส่วนตัวผมชอบแบบ มีอิสระในการออม
โดยเราก็หารายได้แบบปกติ ใช้จ่ายแบบปกติไม่ฟุ้มเฟือย ซึ่งน่าจะมีรายได้มากกว่ารายจ่ายได้ไม่ยาก และมีความสุขกะชีวิตในทุกๆวัน
หลังจากมีเงินเหลือเก็บ เราจึงนำมาลงทุนหุ้นให้มากที่สุด เหลือไว้ใช้ฉุกเฉินบ้าง (ให้เงินในหุ้นเป็นเงินเย็น) โดยถ้าเงินที่นำมาลงหุ้น อาจยังไม่จำเป็นต้องซื้อเลย เราอาจถือค้างไว้ในพอทก่อนก็ได้ และซื้อเมื่อเราเห็นว่าควรซื้อ เช่นเดียวกะเวลาขาย ก็ขายเมื่อราคาเกินมูลค่าเหมาะสม และเก็บเงินนั้นไว้ลงทุนหุ้นต่อไป โดยไม่ถอนออกมาถ้ายังสามารถหาหุ้นที่เหมาะสมได้อยู่
ซึ่งผมเชื่อว่ามูลค่าพอทการลงทุนในหุ้นระยะยาว ของผมน่าจะเพิ่มขึ้นได้อย่างมีนัยสำคัญ หลักการแบบนี้น่าจะทำให้เรามีความสุขกับการดำเนินชีวิต... มีความสุขกับการออม การลงทุนในหุ้น... และมีความสุขในบั้นปลายของชีวิตนะครับ :o
หลักของความสมดุล
- Linzhi
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1464
- ผู้ติดตาม: 1
เคยได้ยินหลักการลงทุนแบบ VALUE AVERAGIN หรือเปล่าครับ
โพสต์ที่ 11
ผมว่าปัญหาอยู่ที่หุ้นราคาขาขึ้นมากกว่าขาลงครับ
(โดยเฉพาะพวก super stock ดีๆ)
ถ้าหุ้นขึ้นไปมาก ๆ แล้วคุณต้องไปขายระหว่างทางล่ะก็
เกิดซื้อกลับมาไม่ได้ทำงัยล่ะครับเนี่ย ขายหมูระหว่างทางเป็นอวยเลย
น่าจะเหมาะกับหุ้นบางตัวที่ทำเทรดดิ้งได้
(มาพักหลัง ๆ เทรดดิ้งมาแรงนะครับเนี่ย :roll: )
(โดยเฉพาะพวก super stock ดีๆ)
ถ้าหุ้นขึ้นไปมาก ๆ แล้วคุณต้องไปขายระหว่างทางล่ะก็
เกิดซื้อกลับมาไม่ได้ทำงัยล่ะครับเนี่ย ขายหมูระหว่างทางเป็นอวยเลย
น่าจะเหมาะกับหุ้นบางตัวที่ทำเทรดดิ้งได้
(มาพักหลัง ๆ เทรดดิ้งมาแรงนะครับเนี่ย :roll: )
- gnomeller
- Verified User
- โพสต์: 425
- ผู้ติดตาม: 0
เคยได้ยินหลักการลงทุนแบบ VALUE AVERAGIN หรือเปล่าครับ
โพสต์ที่ 12
ผมว่าจะเอาวิธีนี้ไปใช้กับกองทุนรวมดูครับ
ดูวิทีทางน่าจะเหมาะสมที่สุดเพราะคงไม่ได้ต้องไปกลัวว่าเราจะขายหมูด้วย
แต่ถ้าจะให้แนะนำว่าวิธีนี้ถ้านำไปใช้กับการซื้อหน่วยลงทุนแล้ว เลือกกองทุนไหนถึงจะเหมาะสมครับ ผมพี่ไปเปิดบัญชีกองทุนกับ SCB มา
ดูวิทีทางน่าจะเหมาะสมที่สุดเพราะคงไม่ได้ต้องไปกลัวว่าเราจะขายหมูด้วย
แต่ถ้าจะให้แนะนำว่าวิธีนี้ถ้านำไปใช้กับการซื้อหน่วยลงทุนแล้ว เลือกกองทุนไหนถึงจะเหมาะสมครับ ผมพี่ไปเปิดบัญชีกองทุนกับ SCB มา
- luangrit
- Verified User
- โพสต์: 376
- ผู้ติดตาม: 0
เคยได้ยินหลักการลงทุนแบบ VALUE AVERAGIN หรือเปล่าครับ
โพสต์ที่ 13
ผมว่ามันคล้ายๆกับแนวของ คุณเทพ เลยนะครับ...
ในหนังสือ"วิถีแห่งเซียนหุ้นห่านทองคำ" ก็แสดงไว้ทำนองนี้เหมือนกัน
แต่เค้าจะหา ข้อมูล+พื้นฐานของบริษัทก่อน แล้วเลือกหาจังหวะการลงทุน
ผมว่าคล้ายๆกันนะครับ.....แต่แบบ VA คงจะเน้นวินัยเรื่องการออมเป็นพิเศษ ซึ่งก็น่าสนใจสำหรับคนที่รายได้ประจำ....
ขอบคุณมากครับสำหรับกลยุทธ์ใหม่ๆ
ในหนังสือ"วิถีแห่งเซียนหุ้นห่านทองคำ" ก็แสดงไว้ทำนองนี้เหมือนกัน
แต่เค้าจะหา ข้อมูล+พื้นฐานของบริษัทก่อน แล้วเลือกหาจังหวะการลงทุน
ผมว่าคล้ายๆกันนะครับ.....แต่แบบ VA คงจะเน้นวินัยเรื่องการออมเป็นพิเศษ ซึ่งก็น่าสนใจสำหรับคนที่รายได้ประจำ....
ขอบคุณมากครับสำหรับกลยุทธ์ใหม่ๆ