รายจ่ายต้องห้ามโดยแท้

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
RONNAPUM
Verified User
โพสต์: 1455
ผู้ติดตาม: 0

รายจ่ายต้องห้ามโดยแท้

โพสต์ที่ 1

โพสต์

รายจ่ายต้องห้ามโดยแท้

 

     รายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิทางภาษีอากร อาจแบ่งออกเป็น 3 ประเด็น คือ รายจ่ายต้องห้าม โดยแท้ รายจ่ายต้องห้าม โดยผลของกฎหมาย และรายจ่ายที่ยอมให้ถือเป็นรายจ่ายได้
     รายจ่ายต้องห้ามโดยแท้ (Proper Non Deductible Expenditure) หมายถึง รายจ่ายที่โดยปกติธรรมดาในทางธุรกิจก็ไม่ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ และขาดทุนสุทธิ แต่เนื่องจากในทางภาษีอากรบัญญัติเป็นเชิงปฏิเสธ จึงต้องนำรายการรายจ่ายต้องห้ามโดยแท้มาบัญญัติห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่าย มิฉะนั้น อาจเป็นช่องทางให้ผู้ที่ไม่สุจริตนำรายจ่ายประเภทนี้มาคำนวณหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ซึ่งอาจจำแนกรายจ่ายต้องห้ามโดยแท้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากรได้ดังนี้
     1.มาตรา 65 ตรี (1) เฉพาะในส่วนที่เป็นเงินสำรองทั่วไป เช่น สำรองตามกฎหมาย ซึ่งกันจากกำไรสะสมก่อนจ่ายเงินปันผล ในอัตรา 5% ของกำไรสุทธิประจำงวด (ที่ยังมิได้จ่ายเงินปันผล) จนกว่าเงินสำรองจะมีจำนวนไม่น้อยกว่า 10% ของทุนจดทะเบียน หรือสำรองเผื่อขยายกิจการที่กันไว้จากกำไรสะสมเช่นเดียวกัน
     2.มาตรา 65 ตรี (2) เงินกองทุน โดยทั่วไปเงินกองทุน เป็นเงินที่กันจากเงินสดของกิจการ ยังไม่มีการจ่ายจริง เช่น กองทุนเงินกู้ยืมแก่พนักงานเพื่อเป็นสวัสดิการ
     3.มาตรา 65 ตรี (3) เฉพาะส่วนที่เป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัว หรือรายจ่ายให้โดยเสน่หา รวมทั้งค่าการกุศลไม่สาธารณะ เนื่องจากรายจ่ายในการดำเนินงานต้องเป็นรายจ่ายที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับการดำเนินกิจการหรือรายจ่ายเพื่อหากำไรโดยเฉพาะ จึงไม่สามารถนำรายจ่ายดังกล่าวมาถือเป็นรายจ่ายได้
           (1) รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัว ได้แก่ รายจ่ายส่วนตัวกรรมการ ที่ปรึกษา หรือพนักงาน ซึ่งเป็นบุคคลภายในองค์กรตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไปกำหนดให้แยกความเป็นส่วนตัวออกจากกิจการ เช่น ค่าจัดงานศพของกรรมการที่ปรึกษาหรือพนักงาน เป็นต้น
           (2) รายจ่ายให้โดยเสน่หา หมายถึง รายจ่ายส่วนตัวของผู้รับซึ่งเป็นบุคคลภายนอกองค์การที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลยอมรับมาเป็นรายจ่ายของกิจการ เช่น รายจ่ายของขวัญ ของชำร่วย เป็นต้น
           (3) รายจ่ายการกุศลไม่สาธารณะ หมายถึง รายจ่ายการกุศลทั่วไปที่มีความใกล้เคียงกับรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัวหรือให้โดยเสน่หา ประกอบกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจัดตั้งขึ้นเพื่อมุ่งค้าหรือหากำไร มิใช่องค์การกุศลสาธารณะจึงไม่จำเป็นต้องมีรายจ่ายประเภทนี้
     4.มาตรา 65 ตรี (5) รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนหรือรายจ่ายฝ่ายทุน ได้แก่ รายจ่ายเพื่อการได้มาซึ่งได้มาซึ่งทรัพย์สินถาวรทั้งที่มีรูปร่าง และไม่มีรูปร่าง
     5.มาตรา 65 ตรี (6 ทวิ) ภาษีซื้อที่ผู้ประกอบการมีสิทธินำไปเครดิตหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องเสียในแต่ละเดือนภาษี และภาษีมูลค่าเพิ่มได้ชำระหรือพึงต้องชำระตามแบบ ภ.พ. 30 เนื่องจากภาษีขายมากกว่าภาษีซื้อในแต่ละเดือนภาษี
     6.มาตรา 65 ตรี (7) การถอนเงิน โดยปราศจากค่าตอบแทนของผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หมายถึง เงินถอนทุนของผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
     7.มาตรา 65 ตรี (9) รายจ่ายซึ่งกำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริง
     8.มาตรา 65 ตรี (10) ค่าตอบแทนแก่ทรัพย์สินซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเป็นเจ้าของเองและใช้เอง เป็นรายจ่ายที่เป็นไปไม่ได้ในทางปฏิบัติ เพราะโดยปกติกิจการไม่อาจกระทำการเช่นนั้นได้ และไม่มีช่องทางที่จะบันทึกรายการทางบัญชีสำหรับรายการนี้ได้เลย
     9.มาตรา 65 ตรี (11) ดอกเบี้ยที่คิดให้สำหรับเงินทุน เงินสำรองต่างๆ หรือเงินกองทุนของตนเองเป็นรายจ่ายที่เป็นไปไม่ได้ในทางปฏิบัติเช่นเดียวกับรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (10) ข้างต้น
     10.มาตรา 65 ตรี (12) เฉพาะในส่วนที่เป็นขาดทุนสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีปีก่อนๆ ที่เกินกว่า 5 ปีก่อนรอบระยะเวลาบัญชีปีปัจจุบัน เป็นรายการรายจ่ายต้องห้ามที่สอดคล้องต้องกันทั้งในทางบัญชี และในทางภาษีอากร
     11.มาตรา 65 ตรี (13) รายจ่ายซึ่งมิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ อาจแยกพิจารณาได้ดังนี้
           (1) รายจ่ายที่มิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการ หมายถึง รายจ่ายที่มิใช่รายจ่ายในการดำเนินกิจการหรือรายจ่ายที่มิได้เกิดขึ้นเพื่อการประกอบกิจการตามวัตถุประสงค์ ทั้งไม่อำนวยให้เกิดรายได้จากการจ่ายรายจ่ายรายการนั้น
           (2) รายจ่ายที่จ่ายแทนหรือจ่ายเพื่อกิจการของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลอื่น
           (3) ผลขาดทุนของสำนักงานใหญ่ในต่างประเทศ
     12.มาตรา 65 ตรี ผ14) รายจ่ายที่มิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือกิจการในประเทศไทย โดยเฉพาะหมายถึง รายจ่ายในต่างประเทศของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ ซึ่งประกอบกิจการในประเทศไทย และเป็นรายจ่ายที่มิใช่รายจ่ายเพื่อกิจการในประเทศไทย โดยเฉพาะ
     13.มาตรา 65 ตรี ผ16) ค่าของทรัพยากรธรรมชาติที่สูญหรือสิ้นไปเนื่องจากกิจการที่ทำ ซึ่งถือเป็นราย

www.jarataccountingandlaw.com
อย่าทำตัวเป็นนักแสดง เป็นเพียงผู้ดูก็พอ..
RONNAPUM
Verified User
โพสต์: 1455
ผู้ติดตาม: 0

รายจ่ายต้องห้ามโดยแท้

โพสต์ที่ 2

โพสต์

การรับรู้รายได้ตามมาตรฐานการบัญชี

   รายได้ (Revenue) หมายถึง กระแสเข้าของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ (Inflow of Economic Beneflt) ก่อนหักค่าใช้จ่ายที่กิจการได้รับหรือค้างรับ ในรอบระยะเวลาบัญชีซึ่งเกิดขึ้นจากกิจกรรมตามปกติของกิจการเมื่อกระแสเข้านั้นส่งผลให้ส่วนของเจ้าของเพิ่มขึ้นทั้งนี้ไม่รวมถึงเงินทุนที่ได้รับจากผู้มีส่วนร่วมในส่วนของเจ้าของกิจการ เงินที่กิจการเรียกเก็บแทนบุคคลที่สามการรับรู้รายได้(RevenueRecognition)หมายถึงการรวบรวมรายการหรือเหตุการณ์ทางบัญชีเข้าเป็นส่วนหนึ่งของงบกำไรขาดทุน ดังนั้น เมื่อกิจการมีการรับรู้รายได้จะต้องปฏิบัติ คือ จะต้องนำรายการหรือเหตุการณ์ทางบัญชีนั้นไปบันทึกบัญชีเป็นรายได้ และนำรายได้ดังกล่าวไปคำนวณกำไรสุทธิในงบกำไรขาดทุน

การรับรู้รายได้ของธุรกิจมีดังต่อไปนี้
     1. การรับรู้รายได้ของธุรกิจขายสินค้า
การรับรู้รายได้จากการขายสินค้าจะต้องเข้าหลักเกณฑ์เงื่อนไขครบทุกข้อดังนี้
     1. กิจการได้โอนความเสี่ยงและผลตอบแทนที่เป็นสาระสำคัญของความเป็นเจ้าของสินค้าให้กับผู้ซื้อแล้ว
     2. กิจการไม่เกี่ยวข้องในการบริหารสินค้าอย่างต่อเนื่องในระดับที่เจ้าของพึงกระทำ หรือไม่ได้ควบคุมสินค้าที่ขายไปแล้วทั้งทางตรงและทางอ้อม
     3. กิจการสามารถวัดมูลค่าของจำนวนรายได้ได้อย่างน่าเชื่อถือ
     4. มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่กิจการจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจของรายการบัญชีนั้น
     5. กิจการสามารถวัดมูลค่าของต้นทุนที่เกิดขึ้นหรือที่จะเกิดขึ้นมาจากรายการบัญชีนั้นได้อย่างน่าเชื่อถือ
     2. การรับรู้รายได้ของธุรกิจให้บริการ การรับรู้รายได้จากการให้บริการจะต้องเข้าหลักเกณฑ์เงื่อนไขครบทุกข้อดังนี้
     1. กิจการสามารถวัดมูลค่าของจำนวนรายได้ได้อย่างน่าเชื่อถือ
     2. มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่กิจการจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจของรายการบัญชีนั้น
     3. กิจการสามารถวัดขั้นความสำเร็จของรายการบัญชี ณ วันที่ในงบดุลได้อย่างน่าเชื่อถือ
     4. กิจการสามารถวัดมูลค่าของต้นทุนได้อย่างน่าเชื่อถือ ซึ่งเป็นต้นทุนที่เกิดขึ้นแล้วและที่จะเกิดขึ้นเพื่อทำให้รายการบัญชีนั้นเสร็จสมบูรณ์
     3. การรับรู้รายได้ค่าดอกเบี้ย ค่าสิทธิ และเงินปันผล การรับรู้รายได้ค่าดอกเบี้ย ค่าสิทธิ และเงินปันผลที่เกิดจากการให้ผู้อื่นใช้สินทรัพย์ของกิจการ จะรับรู้รายได้เมื่อเข้าเงื่อนไขครบทุกข้อดังนี้
       3.1 มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่กิจการจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจของรายการบัญชีนั้น
       3.2 กิจการสามารถวัดมูลค่าของจำนวนรายได้ได้อย่างน่าเชื่อถือ การรับรู้รายได้อื่นของดอกเบี้ย ค่าสิทธิ และเงินปันผล จะปฏิบัติการรับรู้รายได้ดังต่อไปนี้
         3.2.1 รับรู้รายได้ค่าดอกเบี้ย รับรู้ตามเกณฑ์สัดส่วนของเวลาโดยคำนึงถึงอัตราผลตอบแทนที่แท้จริงของสินทรัพย์
         3.2.2 รับรู้รายได้ค่าสิทธิรับรู้ตามเกณฑ์คงค้างซึ่งเป็นไปตามเนื้อหาของข้อตกลงที่เกี่ยวข้อง
         3.2.3 รับรู้รายได้เงินปันผล รับรู้เมื่อผู้ถือหุ้นมีสิทธิได้รับเงินปันผล
อย่าทำตัวเป็นนักแสดง เป็นเพียงผู้ดูก็พอ..
ภาพประจำตัวสมาชิก
the_add
Verified User
โพสต์: 69
ผู้ติดตาม: 0

รายจ่ายต้องห้ามโดยแท้

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ขอบคุณครับ ได้ความรู้มากเลย
RONNAPUM
Verified User
โพสต์: 1455
ผู้ติดตาม: 0

รายจ่ายต้องห้ามโดยแท้

โพสต์ที่ 4

โพสต์

สัญญาณเตือนภัยในงบการเงิน (ตอนที่ 1)
 
     ในช่วงเศรษฐกิจขาลง ผลประกอบการมีแนวโน้มถดถอย การหมุนเวียนของสินทรัพย์เพื่อทำรายได้เฉื่อยลง บริษัทใช้เวลานานขึ้นในการขายสินค้าและเก็บเงิน ลูกหนี้ผัดผ่อน ผิดนัดชำระหนี้ ทำให้บัญชีลูกหนี้เพิ่มขึ้น กระแสเงินสดไม่คล่องตัว ส่งผลทางลบในงบการเงิน มีหนี้เสียเพิ่มขึ้น อาการทั้งหลายเหล่านี้ จะปรากฎให้เห็นในงบการเงินซึ่งเป็นสิ่งสะท้อนถึงฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน และกระแสเงินสดของบริษัทว่ามีความแข็งแกร่งหรืออ่อนแอเพียงไหน
     การตกแต่งงบการเงินที่พบเห็นกันทั่วไป จะมีทั้งการใช้วิธีการทางบัญชี ที่สร้างภาพในงบการเงิน การสร้างภาพอาจมีทั้งการจูงใจให้เกิดภาพทางบวกและอาจมีการจูงใจให้เกิดภาพทางลบ (ถ้ากรณีที่หวังผลการ Short selling โดยการขายหุ้นก่อนที่ข่าวร้ายจะออก และกลับมาซื้อหุ้นภายหลัง และกินกำไรส่วนต่างไป) โดยปกติผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนต่างๆ จะมีแรงกดดันในการสร้างผลกำไร เพื่อเพิ่มกำไรต่อหุ้น และเพื่อให้ราคาหุ้นตอบสนองในทางบวก การใช้หลักการบัญชีสามารถเปลี่ยนไปตามที่ผู้บริหารอยากจะให้ผลออกมาเป็นสิ่งที่ต้องการหรือ Earnings management เช่น การใช้หลักการบัญชีที่มักไม่สอดคล้องกับหลักความระมัดระวัง หรืออาจจะอนุรักษ์นิยมเกินไป (conservative)
     เช่น การเลือกใช้วิธีการบัญชีที่แสดงกำไรเร็ว หรือการตั้งสำรองเผื่อความเสียหายแต่เพียงบางส่วนเท่านั้น โดยอาศัยจุดอ่อนของหลักประมาณการช่วย หรืออีกวิธีหนึ่งที่เราพบอยู่เสมอๆ คือ การดำเนินการโดยการสร้างรายการธุรกิจ ให้มีภาพลักษณ์ของการประกอบการที่ดี ไม่ว่าจะเป็นด้านรายได้ ต้นทุนหรือค่าใช้จ่าย โดยรายการเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นจริง เช่น ทำให้มีรายการซื้อขายกัน เพื่อให้เห็นว่าสินค้ามีการเคลื่อนไหว ซื้อง่ายขายคล่อง ทั้งๆ ที่เศรษฐกิจฝืดเคือง สร้างรายได้เทียม หรืออาจดำเนินธุรกรรมโดยการสร้างมูลค่าหรือราคา ของรายการธุรกิจระหว่างกัน เช่น ซื้อขายแลกเปลี่ยนกันด้วยราคาที่แตกต่างจากราคาตามปกติธุรกิจ เช่น ในกรณีบริษัทผู้บรรจะก๊าซที่เกิดขึ้นในตลาดหลักทรัพย์เร็วๆ นี้
     ถึงแม้ว่ารายการธุรกิจที่เกี่ยวข้องกัน ในหลักบัญชีมีการเปิดเผยรายละเอียดในงบการเงินให้ทราบถึงกิจกรรมธุรกิจที่มีต่อกัน รวมทั้งเงื่อนไขการคิดราคาระหว่างกัน โดยให้จัดทำงบการเงินรวมของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกันเหล่านี้ ทำให้รายการระหว่างกัน ต้องถูกกักล้างกันออกไป เสมือนหนึ่งไม่มีรายการดังกล่าวเกิดขึ้น ถึงแม้ว่าในทางปฎิบัติเงือนไขของการจัดทำงบการเงินรวมของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกันนั้น มิได้อยู่ในเชิงตัวเลข (Form) เช่น อัตราร้อยละของการถือหุ้นในระหว่างกัน เท่านั้น แต่จะรวมไปถึงปัจจัยที่เป็นสาระแก่นสาร (Substances) ซึ่งได้แก่ การมีอิทธิพลต่อกันหรือมีอำนาจควบคุม (Influence) กัน ทั้งในการบริหารจัดการและการดำเนินธุรกิจ แต่การวัดสาระแก่นสารต่างๆ ในทางปฏิบัติมักจะทำได้ไม่ง่ายนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทที่มีบริษัทลูก (Subsidlarles) หรือบริษัทร่วม (Associates) และการทำธุรกรรมต่างๆ หรือหนี้สินมักทำผ่านบริษัทลูกหรือบริษัทร่วมนั้นๆ สัก 3-4 ชั้น เพื่อหลีกเลี่ยงการหักล้างกันในรายการระหว่างกัน และเพื่อหลีกเลี่ยงการรวมงบการเงิน
     บริษัทที่มีโอกาศหรือมีแนวโน้มในการบกพร่องหรือทุจริตของการบันทึกบัญชี (Accounting Fraudulent) ปรากฎการณ์เหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นในประเทศไทยที่เดียว ในต่างประเทศปรากฎการณ์ของการบกพร่องของการบันทึกบัญชีได้พบแม้กระทั่งบริษัทที่ถือว่าเป็นบริษัทที่มีชื่อเสียง และเป็น Blue chips เช่น American lnsurance Group (AIG),ENRON,XEROX,Wrold com ซึ่งบริษัทชื่อดังเหล่านี้เคยเป็นบริษัทที่อยู่ใน Port การลงทุนของนักลงทุนสถาบันทั้งสิ้น การบกพร่องทางบัญชีสามารถทำได้ โดยทางการบันทึกรายได้ล่วงหน้า สร้างรายได้และกำไรเทียม สร้างกำไรที่ไม่ได้เกิดจากผลการดำเนินงาน (Non-core operating profit) หรือกำไรพิเศษ ปิดบังหนี้สินผ่านงบดุล (Off-balance sheet items) ซ่อนเร้นหนี้สินหรือทำธุรกรรมผ่านบริษัทเครื่อข่าย หรือบริษัทลูก หรือชะลอค่าใช้จ่าย ผ่องถ่ายเงินจากกระเป๋าผู้ถือหุ้นเข้ากระเป๋าผู้บริหาร ลักษณะต่างๆ เหล่านี้ถือเป็นการถดถอยของคุณภาพกำไร ในปัจจุบันกลตัวเลขกลตัวเลข และกลบัญชีได้พัฒนาถึงขั้นการตกแต่งงบกระแสเงินสดเลยทีเดียว ซึ่งนับว่าเป็นเทคนิคที่พัฒนามากทีเดียว
     เนื่องจากการที่การค้นพบการทุจริตด้านการเงิน หรือด้านบริหาร มักจะทำได้ยากและอาจไม่ทันการกว่าจะค้นพบราคาหุ้นได้ตกลงไปมากแล้ว เนื่องจากนักลงทุนจะรู้ตัวเลขหรืองบการเงินช้ากว่าผู้บริหาร เพราะฉะนั้นเราจะต้องให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์ และค้นหาสัญญาณเตือนภัยซึ่งจะเป็นตัวบ่งชี้การเปลี่ยนแปลงต่างๆ ของกิจการที่จะเกิดขึ้นตามมาซึ่งอาจจะยังไม่ได้มีการสะท้อนเข้าไปในราคาหลักทรัพย์ของกิจการนั้นหรืออาจจะไม่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนจากตัววัดผลการดำเนินงานหรือตัววัดฐานะการเงินที่สำคัญๆ
อย่าทำตัวเป็นนักแสดง เป็นเพียงผู้ดูก็พอ..
RONNAPUM
Verified User
โพสต์: 1455
ผู้ติดตาม: 0

รายจ่ายต้องห้ามโดยแท้

โพสต์ที่ 5

โพสต์

สัญญาณเตือนภัยในงบการเงิน (ตอนที่ 2)
 
     การวัดสัญญาณเตือนภัยพิจารณาจากหลักการของพฤติกรรมผู้บริหาร หรือพฤติกรรมมนุษย์โดยปกติทั่วๆ ไป (Behavior finance) ซึ่งสามารถสังเกตได้จาก
     1. รายงานของผู้สอบบัญชีที่ยาวผิดปกติ มีการกล่าวถึงความไม่แน่นอนต่างๆ ที่มีสาระสำคัญ มีการออกรายงานที่ล่าช้ากว่าปกติ หรือมีการชี้แจงถึงการเปลี่ยนแปลงตัวผุ้สอบบัญชี สัญญาณเตือนภัยเหล่านี้อาจเป็นตัวบ่งบอกว่าผู้บริหารและผู้สอบบัญชีมีความเห็นที่ขัดแย้งกันเกี่ยวกับรายการบางรายการ ดดยทั่วไปความเห็นที่ขัดแย้งกันนี้มักจะเกี่ยวข้องกับรายการที่มีความเสี่ยงสูง และค่อนข้างไว (Sensltive) ต่อราคาหุ้น
     2. การลดลงในค่าใข้จ่ายที่อยู่ภายใต้ดุลยพินิจของฝ่ายบริหาร เช่น การตั้งสำรองสินทรัพย์ด้วยค่าเผื่อหนี้สูญ ฝ่ายบริหารจะทำการลดค่าใช้จ่ายเหล่านี้ลงเพื่อช่วยให้กิจการทำกำไรได้เข้าเป้า เนื่องจากผลประโยชน์ของผู้บริหารจะอิงกับผลประโยชน์บางอย่าง เช่นโบนัสอิงกำไร
     3. การเปลี่ยนแปลงในนโยบายการบัญชีที่นำไปสุ่การเปลี่ยนแปลงนโยบายการตัดค่าเสื่อมราคาเพื่อนำไปสู่ผลกำไรที่เพิ่มขึ้น แต่กระแสเงินสดกลับลดลง
     4. การเพิ่มขึ้นของบัญชีลูกหนี้หรือรายได้ค้างรับที่แตกต่างไปจากยอดที่กิจการประสบอยู่ในอดีตอย่างเห็นได้ชัดอาจเป็นตัวบ่งบอกว่ากิจการได้มีการให้สินเชื่อทางการค้าเพื่อกระตุ้นยอดขายเพื่อทำกำไรให้เข้าเป้าอาจนำไปสู่การขายให้กับลูกค้าที่มีความเสี่ยงสูงต่อการผิดนัดชำระหนี้ เป็นยอดขายที่ก่อให้เกิดปัญหาทางการเงินแก่ผู้ขายตามมาในภายหลัง ในกรณีเช่นนี้ ยอดขายและกำไรทางบัญชีจะเพิ่มขึ้น แต่กระแสเงินสดจะลดลง
     5. การขยายตัวของบัญชีเจ้าหนี้การค้าที่แตกต่างไปจากยอดขายที่กิจการประสบอยู่ในอดีตอย่างเห็นได้ชัด หรือการขยายระยะเวลาการชำระหนี้เกินกว่าระยะเวลาการชำระหนี้โดยปกติอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกว่ากิจการต้องการที่จะทำให้ยอดดุลของบัญชีเจ้าหนี้คล้ายกับว่าเพิ่งเกิดขึ้นล่าสุด ณ วันที่จัดทำงบดุล หรือการที่บริษัทขาดสภาพคล่องจนกระทั่งต้องขอให้เจ้าหนี้การค้าต้องยืดหนี้ให้
     6. การเพิ่มขึ้นในยอดคงเหลือในบัญชีสินทรัพย์ไม่มีตัวตนอย่างผิดปกติเป็นสัญญาณบ่งบอกว่ากิจการอาจกำลังตั้งรายจ่ายในสินทรัพย์ไม่มีตัวตนเป็นค่าใช้จ่ายรอการตัดบัญชี เนื่องจากรายได้ที่กิจการทำได้ไม่เพียงพอต่อการที่จะชดเชยรายจ่ายดังกล่าวหากมีการตัดเป็นค่าใช้จ่ายในงวดที่เกิดขึ้นเป็นการบริหารกำไรในแต่ละไตรมาสเพื่อผลที่ต้องการ
     7. มีรายได้มาจากรายการที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวและไม่เกิดขึ้นอีกในอนาคตอันใกล้ เช่น กำไรจากการจำหน่ายสินทรัพย์ (เช่น อาคารสำนักงานใหญ่ เป็นต้น) การจำหน่ายสินทรัพย์ออกไปในราคาที่ทำกำไรเช่นนี้อาจทำขึ้นเพียงเพื่อทำให้กำไรที่เกิดขึ้นจริงไม่ต่างจากกำไรที่ได้ประมาณการไว้
     8. การลดลงในสำรองต่างๆ ไม่ว่จะเป็นการตัดจ่ายโดยตรงจากสำรองหรือการโอนกลับรายการสำรองต่างๆ การตัดจ่ายโดยตรงจากสำรองเป็นตัวบ่งบอกว่ารายการอันอาจเกิดขึ้นซึ่งได้มีการตั้งสำรองเผื่อสำหรับจำนวนนี้ไว้แล้วได้เกิดขึ้นตามนั้นจริง ในขณะที่การโอนกลับรายการที่ตั้งสำรองไว้เป็นตัวบ่งบอกว่ากิจการทำขึ้นเพื่อสร้างภาพกำไร
     9. การเพิ่มขึ้นในเงินกู้ยืมเป็นสัญญาณบ่งบอกว่ากิจการกำลังประสบกับปัญหาในการจัดหาเงินทุนเพื่อการดำเนินกิจกรรมต่างๆ จากแหล่งเงินทุนภายในกิจการ
     10. การเพิ่มขึ้นในบัญชีภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีอาจเป็นสีญญาณบ่งบอกว่ากิจการกำลังใช้หลักการบัญชีที่หละหลวมในการจัดทำตัวเลขกำไรเพื่อนำเสนอต่อสาธารณชน หรือเป็นสัญญาณบ่งบอกว่ากำไรก่อนหักภาษีเงินได้ซึ่งเป็นตัววัดผลการดำเนินงานที่แท้จริงของกิจการกำลังปรับตัวในทางลดลง
     11. ยอดเงินกู้ยืมระยะสั้นสูงขึ้นอย่างผิดปกติ ณ วันสิ้นปีหรือ ณ ช่วงเวลาที่แตกต่างไปจากปีที่ผ่านๆ มา อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกว่ากิจการอาจจะทำการกู้ยืมเงินมาเพื่อสนับสนุนการขายสินค้าเป็นเงินเชื่อ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มยอกขายตอนปลายงวดให้สูงขึ้นหรือเป็นสัญญาณบ่งบอกว่ารูปแบบของการดำเนินธุรกิจอาจกำลังเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ซึ่งเป็นการดำเนินธุรกิจที่ก้าวร้าวมาก ในภาษาการเงิน เรียกว่า Leverege tofinance customer
     12. อัตราหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือที่ต่ำลงอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าปัญหาทางด้านการขายปัญหาทางด้านสินค้าคงเหลือ หรือปัญหาทางด้านการผลิตอาจกำลังก่อตัวขึ้น
     13. มีผู้บริหารระดับสูงเพียงไม่กี่ท่านที่สามารถควบคุมบริษัทได้ทั้งหมด หรือการที่ผุ้บริหารระดับสูงเป็นบุคคลเดียวกับเจ้าของบริษัท โดยที่ผลตอบแทนของผู้บริหารเหล่านี้มีส่วนอ้างอิงกับกำไรของบริษัท
     14. การที่ผู้บริหารบริษัทมีรายงานซื้อหุ้น หรือโอนหุ้นเข้าออกอยู่เสมอ ซึ่งสัญญาณต่างๆ เหล่านี้จะเป็นสัญญาณที่เตือนว่า อาจจะมีความผิดปกติของงบการเงินซ่อนอยู่
 
http://www.tax-thai.com/viewgossip.asp?cid=239
อย่าทำตัวเป็นนักแสดง เป็นเพียงผู้ดูก็พอ..
sattaya
Verified User
โพสต์: 1372
ผู้ติดตาม: 0

รายจ่ายต้องห้ามโดยแท้

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ค่าใช้จ่ายต้องห้ามเป็นเรื่องนึงที่ตอนเรียนงงมาก

บางรายการในทางบัญชียอมรับให้เป็นรายจ่ายได้ แต่สรรพากรไม่ยอม เช่น ค่าของขวัญให้ลูกค้า

ค่าใช้จ่ายต้องห้ามบางรายการไม่ยอมรับทั้งทางบัญชีและสรรพากร เช่น สำรองต่างๆ

ในมุมมองของนักลงทุน เราใช้งบการเงินที่บริษัทเปิดเผยให้นักลงทุนดู มิใช่งบที่ส่งสรรพากร ดังนั้นค่าใช้จ่ายบางรายการที่สรรพากรให้บวกกลับเป็นรายจ่ายต้องห้ามนักบัญชีเรายังถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายอยู่นะ อย่าสับสนนะครับ
สติมา ปัญญาเกิด
RONNAPUM
Verified User
โพสต์: 1455
ผู้ติดตาม: 0

รายจ่ายต้องห้ามโดยแท้

โพสต์ที่ 7

โพสต์

การทำบัญชีแบบศรีธนญชัย
 
     ตอนแรกผมคิดว่า ตาคงฝาดไปเมื่ออ่านเกี่ยวกับการคิดนอกกรอบของนายกฯ ทักษิณ เรื่อง การจัดตั้งรัฐวิสาหกิจ เพื่อแก้ปัญหาหนี้สาธารณะ หากท่านคิดจริงดังที่สื่อรายงาน ความคิดของท่านเป็นการ "คิดนอกคอก" ไม่ใช่การคิดนอกกรอบ
     สื่อรายงานว่านายกฯ ปรึกษากับรัฐมนตรีพาณิชย์ รัฐมนตรีคลัง และผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย และตกลงกันว่าจะตั้งบริษัทมหาชนซึ่งกระทรวงการคลังถือหุ้น 100% บริษัทนี้จะเป็นผู้ถือหุ้นของรัฐวิสาหกิจ แทนกระทรวงการคลัง นายกฯ อ้างว่าการกระทำนั้นจะลดหนี้สาธารณะและจะทำให้บัญชีของประเทศสวยขึ้น เพราะหนี้จะถูกโยกย้ายไปไว้ในบัญชีของบริษัทใหม่
     ผมไม่ทราบว่า ผู้ได้อ่านข่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้รู้สึกอย่างไร สำหรับผมอ่านแล้วขนท้ายทอยลุก เพราะหากเป็นจริงตามข่าว มันเป็นอีกก้าวหนึ่งซึ่งอาจนำไปสู่ความหายนะ เพราะการโยกย้ายหนี้และตกแต่งบัญชีตามที่มีผู้ตั้งชื่อค่อนข้างไพเราะว่า "การทำบัญชีแบบสร้างสรรค์" (Creative Accounting) นั้น ที่แท้เป็น "การทำบัญชีแบบศรีธนญชัย" (Fraudulent Accounting) ตั้งแต่เข้ามาบริหารประเทศรัฐบาลนี้นำการทำบัญชีแบบศรีธนญชัยมาใช้บ่อยๆ เช่น การให้ธนาคารของรัฐจ่ายเงินในโครงการประชานิยม
     จริงอยู่ ณ วันนี้ บัญชีของรัฐอาจดูสวยเพราะค่าใช้จ่ายนั้นไม่ปรากฏ แต่เมื่อธนาคารของรัฐขาดทุน และไม่สามารถเรียกเก็บเงินกู้ได้ ผู้จ่ายคือรัฐบาลซึ่งเก็บภาษีจากประชาชน
     ผู้ติดตามความเป็นไปของโลกอยู่บ้างคงทราบแล้วว่า การทำบัญชีแบบศรีธนญชัยมีโทษมหันต์ขนาดไหน สำหรับบรรดาที่ปรึกษานายกฯ ซึ่งอาจไม่มีเวลาติดตามข่าวขอเล่าคร่าวๆ ว่า เมื่อสัปดาห์ที่แล้วศาลอเมริกันตัดสินจำคุกหัวหน้าฝ่ายการเงินของบริษัทเวิลด์คอม 5 ปีโทษฐานร่วมมือกับผู้บริหารสูงสุด (ซีอีโอ) ทำบัญชีแบบศรีธนญชัย
     เขาถูกจำคุกเพียง 5 ปี เพราะรับสารภาพและให้การเป็นประโยชน์ต่อคดีเกี่ยวกับซีอีโอ ซึ่งถูกศาลสั่งจำคุก 25 ปีไปก่อนแล้ว การทำบัญชีแบบศรีธนญชัยนั้นนำไปสู่การล้มละลายใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของสหรัฐ เมื่อผู้ถือหุ้นสูญทรัพย์ถึง 180,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งมากกว่ารายได้ประชาชาติของไทยในปี 2545 อันเป็นปีที่บริษัทล้มละลายถึง 40%
     เรื่องนี้คงไม่มีใครทราบหากบริษัททำบัญชียักษ์ใหญ่อาร์เธอร์ แอนเดอร์เซ่น ไม่ถูกลากขึ้นศาลในฐานมีส่วนรู้เห็น และปกปิดความผิดอันเกิดจากการทำบัญชีแบบศรีธนญชัยของบริษัทเอนรอนซึ่งล้มละลายไปก่อนแล้ว หัวหน้าฝ่ายการเงินของเอนรอนถูกจำคุก 10 ปี และปรับเกือบ 24 ล้านดอลลาร์ ส่วนคดีของซีอีโอ และประธานคณะกรรมการของบริษัทเอนรอน จะขึ้นศาลในเดือนมกราคมปีหน้า คาดกันว่าพวกเขาจะติดคุกไม่น้อยกว่าหัวหน้าฝ่ายการเงิน
     ที่เล่ามานี้เป็นเพียงตัวอย่าง ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมามีคดีใหญ่ๆ อีกหลายคดีเกี่ยวกับการทำบัญชีแบบศรีธนญชัย ซึ่งจบลงด้วยความล้มละลายและผู้ทำถูกจำคุก นั่นเป็นผลร้ายในระดับบริษัท ในระดับชาติล่ะเป็นอย่างไร ?
     ผมกล่าวถึง เวเนซุเอลา หลายครั้งในช่วง 6 สัปดาห์ที่ผ่านมา เพราะเห็นว่าประเทศนั้นให้บทเรียนหลายอย่าง ขอเป็นแผ่นเสียงตกร่องอีกครั้ง เวเนซุเอลาเป็นยักษ์ใหญ่ในบรรดาประเทศผลิตน้ำมันซึ่งถูกหวยหลายครั้งหลังปี 2516 จากน้ำมันขึ้นราคาแบบก้าวกระโดด แต่แทนที่จะมีอันจะกินเพิ่มขึ้น ชาวเวเนซุเอลากลับยากจนลง เพราะรายได้ต่อคนลดลงเกือบครึ่งในช่วงปี 2516-2546 รัฐบาลเวเนซุเอลาเคยคิดว่า บัญชีของประเทศจะสวยงามและปัญหาหนี้สาธารณะจะไม่เกิดขึ้นเมื่อรัฐวิสาหกิจเป็นผู้กู้หนี้ยืมสิน และหากหนี้อยู่นอกบัญชีของรัฐ
     การมีบัญชีสวยงามทำให้องค์กรของรัฐถลุงเงินกันอย่างสนุกมือและประชาชนบริโภคกันด้วยความร่าเริง แต่มันเป็นความร่าเริงแบบ "การเฉลิมฉลองของคนโง่" (The Celebration of Fools) ตามชื่อของหนังสือซึ่งนายกฯ ทักษิณ แนะนำเพราะนักลงทุนมองทะลุว่า รัฐบาลกำลังทำบัญชีแบบศรีธนญชัย พวกเขาจึงขนเงินออกไปไว้นอกประเทศ แทนที่จะลงทุนในประเทศ การลงทุนน้อยทำให้เศรษฐกิจถดถอย รัฐไม่สามารถเก็บภาษีเพื่อชำระหนี้ต่างประเทศได้ ต้องคลานไปหาไอเอ็มเอฟ มาตรการรัฐเข็มขัดอันโหดร้ายของไอเอ็มเอฟก่อให้เกิดการประท้วงอย่างกว้างขวางของประชาชน จนกลายเป็นจลาจลซึ่งมีคนตายกว่า 300 คน พร้อมๆ กับการอ่านเรื่องการตั้งรัฐวิสาหกิจนั้น ผมอ่านเรื่องการวิเคราะห์เกี่ยวกับการใช้เงินกองสลากกินแบ่งของรัฐบาล และการชักชวนบริษัทเอกชนให้เข้าไปดำเนินการแก้ความยากจน
     ผู้วิเคราะห์ชี้ให้เห็นว่า การใช้เงินของกองสลากฯ ในสมัยนี้ไม่ต่างกับในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในสมัยก่อนเวลาจอมพลสฤษดิ์ไปไหนจะมีน้องชายต่างมารดา ซึ่งเป็นผู้อำนวยการกองสลากฯ ติดตามไปด้วย เขาเป็นผู้กำเงินของกองสลากฯ หากจอมพลสฤษดิ์คิดจะใช้เงินเพื่อสร้างบารมีแบบทันทีทันใดขึ้นมา น้องชายต่างมารดาจะตอบสนองอย่างทันใจ ในสมัยนี้เวลานายกฯ ไปไหนมักจะมีผู้อำนวยการกองสลากฯ ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมรุ่นติดตามไปด้วยเพื่อจุดมุ่งหมายคล้ายกัน เงินของกองสลากฯ เป็นเงินของรัฐ แต่อยู่นอกบัญชีจึงไม่มีการตรวจตราอย่างรัดกุม เป็น อีกมิติหนึ่งของการทำบัญชีแบบศรีธนญชัยของรัฐบาล หลังจากจอมพลสฤษดิ์หมดอำนาจความจริงปรากฏออกมาว่าเกิดความฉ้อฉลขนานใหญ่ในการใช้เงินกองสลากฯ ยุคนี้จะมีความฉ้อฉลเช่นเดียวกันหรือไม่คงต้องรอให้ผู้นำหมดอำนาจ
     สำหรับเรื่องการชักชวนบริษัทเอกชนให้เข้าไปดำเนินการแก้ความยากจนในหมู่บ้านโดยตรง เป็นอีกมิติหนึ่งของการดำเนินนโยบายประชานิยม โดยปราศจากการใช้เงินทั้งที่ความจริงเงินที่ใช้ได้มาจากการเก็บภาษีทางอ้อม เรื่องทำนองนี้เกิดขึ้นในอาร์เจนตินาสมัย ประธานาธิบดีฮวน เปรอง หนึ่งในวิธีการหาเงินมาใช้ในโครงการประชานิยมที่นั่น ได้แก่ การชักชวนหรือเปิดโอกาสให้บริษัทเอกชนบริจาคตามความสมัครใจ แต่ในทางปฏิบัติการ "ชักชวน" คือการ "รีดไถ" ก่อให้เกิดความหวาดผวา เพราะเอกชนไม่รู้ว่าถ้าไม่ให้ความร่วมมือ จะถูกกลไกของรัฐกลั่นแกล้งหรือไม่ การรีดไถมีผลกระทบต่อการลงทุน และบรรยากาศในสังคมอาร์เจนตินาล่มจมหลังจากนั้น
     รัฐบาลนี้ชอบพูดย้ำเรื่องความโปร่งใส การทำบัญชีแบบศรีธนญชัยเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของการพูดอย่างทำอย่าง การทำบัญชีแบบนี้ นอกจากจะลดความโปร่งใสแล้วยังหว่านเมล็ดของความหายนะไว้ให้สังคมอีกด้วย  

www.bangkokbiznews.com
อย่าทำตัวเป็นนักแสดง เป็นเพียงผู้ดูก็พอ..
RONNAPUM
Verified User
โพสต์: 1455
ผู้ติดตาม: 0

รายจ่ายต้องห้ามโดยแท้

โพสต์ที่ 8

โพสต์

การรับรู้รายได้หลักเกณฑ์ใหม่ "การฝากขายสินค้า" และ "การให้เช่าทรัพย์สิน"

      บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต้องคำนวณกำไรหรือขาดทุนสุทธิ โดยการนำรายได้มาหักออกจากค่าใช้จ่ายในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี โดยใช้ "เกณฑ์สิทธิ" ให้นำรายได้ที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีใด แม้ว่าจะยังไม่ได้รับชำระในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นมารวมคำนวณเป็นรายได้ในรอบระยะ เวลาบัญชีนั้น และให้นำรายจ่ายทั้งสิ้นที่เกี่ยวกับรายได้นั้น
แม้จะยังมิได้จ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นมารวมคำนวณเป็นรายจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีนั้นในกรณีจำเป็น ผู้มีเงินได้จะขออนุมัติต่ออธิบดีเพื่อเปลี่ยนแปลงเกณฑ์สิทธ
ิและวิธีการทางบัญชี เพื่อคำนวณรายได้และรายจ่ายก็ได้ และเมื่อได้รับอนุมัติจากอธิบดีแล้ว ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่อธิบดีกำหนดเป็นต้นไป การรับรู้รายได้และรายจ่ายของบริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนอกจากจะใช้เกณฑ์สิทธิตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว กฎหมายยังกำหนดเพิ่มเติมไว้ในคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.1/2528 ซึ่งเป็นกฎหมายลูกที่ใช้มานานตั้งแต่ปี 2528 เป็นต้นมา ต่อมากรมสรรพากรได้ออกคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.155/2549 เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2549 โดยมีผลบังคับใช้รอบระยะเวลาบัญชีเริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป ความแตกต่างจากกฎหมายเดิม ท.ป.1/2528 กับ ท.ป.155/2529 ต่อจากครั้งที่แล้วมีดังต่อไปนี้
การฝากขายสินค้า (Consignment)
     การคำนวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการฝากขายสินค้าซึ่งผู้รับฝากสินค้า (Consignee) ทำหน้าที่ขายสินค้าแทนผู้ฝากสินค้า (Consignor) ให้ใช้เกณฑ์สิทธิ โดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นต้องนำรายได้จากการขายสินค้ามารวมคำนวณเป็นรายได้ทั้งจำนวนในรอบระยะเวลาบัญชีที่มีการฝากขายสินค้า กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการฝากขาย สินค้าได้ทำสัญญาการตั้งตัวแทนผู้รับฝากสินค้า (Consignee) เพื่อขายเป็นหนังสือ โดยตัวแทนผู้รับฝากสินค้า (Consignee) ได้รับค่าตอบแทนหรือบำเหน็จตามที่กำหนดไว้ในสัญญา บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นจะคำนวณรายได้เมื่อตัวแทนผู้รับฝากสินค้า (Consignee) ขายสินค้าให้แก่ผู้ซื้อก็ได้
ข้อสังเกต การฝากขายสินค้าหรือการขายสินค้าผ่านตัวแทนนั้นจะแบ่งออกเป็น 2 ชนิดด้วยกัน คือ
     (1) การฝากขายที่มีสัญญาตั้งตัวแทนฝากขาย
หากการฝากขายได้มีการทำสัญญาตั้งตัวแทนฝากขายจะรับรู้รายได้เมื่อตัวแทนผู้รับฝากขายสินค้าให้กับลูกค้าหรือผู้ซื้อได้
     (2) การฝากขายที่ไม่มีสัญญาตั้งตัวแทนฝากขาย
หากการฝากขายไม่มีการทำสัญญาแต่งตั้งตัวแทนฝากขายจะรับรู้รายได้เมื่อมีการฝากขายสินค้า หรือส่งสินค้าไปให้ตัวแทนฝากขายในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น
ให้เช่าทรัพย์สิน
     การคำนวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการให้เช่าทรัพย์สิน ให้ใช้เกณฑ์สิทธิ โดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นต้องนำรายได้ค่าเช่าหรือค่างวดและรายจ่ายที่เกี่ยวข้องมารวมคำนวณเป็นรายได้และรายจ่ายในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีตามส่วนแห่งระยะเวลาการให้เช่าทรัพย์สิน การคำนวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งเป็นผู้เช่าทรัพย์สินให้ใช้เกณฑ์สิทธิโดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นจะต้องนำรายจ่ายค่าเช่า หรือค่างวดและรายจ่ายที่เกี่ยวข้องมารวมคำนวณเป็นรายจ่ายในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีนั้น การคำนวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการให้เช่าซื้อหรือขายผ่อนชำระที่กรรมสิทธิ์ยังไม่ได้โอนไปยังผู้ซื้อและมีอายุสัญญาเกินหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชีให้ใช้เกณฑ์สิทธิ โดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นต้องนำกำไรที่เกิดจากการขายมารวมคำนวณเป็นรายได้ทั้งจำนวนในรอบระยะเวลาบัญชีที่มีการให้เช่าซื้อหรือขายผ่อนชำระ สำหรับดอกผลเช่าซื้อหรือขายผ่อนชำระให้นำมารวมคำนวณเป็นรายได้แต่ละงวดตามวิธีการทางบัญชีที่รับรองทั่วไป การคำนวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการขายผ่อนชำระที่กรรมสิทธิ์ได้โอนไปยังผู้ซื้อทันที ให้นำรายได้จากการขายมารวมคำนวณเป็นรายได้ทั้งจำนวนในรอบระยะเวลาบัญชีที่มีการขายสินค้า การคำนวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งเป็นผู้เช่าซื้อหรือผู้ซื้อจากการขายผ่อนชำระให้ใช้เกณฑ์สิทธิโดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นต้อง นำทรัพย์สินที่ได้มาโดยการเช่าซื้อหรือขายผ่อนชำระมาคำนวณหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคามูลค่าต้นทุนของทรัพย์สินนั้นให้ถือตามราคาที่พึงต้องชำระทั้งหมดแต่ค่าสึกหรอ และค่าเสื่อมราคาที่จะนำมาหักในรอบระยะเวลาบัญชีจะต้องไม่เกินค่าเช่าซื้อหรือราคาที่จะต้องผ่อนชำระในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น

      คำว่า "กำไรที่เกิดจากการขาย" หมายความว่า ผลต่างระหว่างราคาขายเงินสดกับต้นทุนของทรัพย์สินที่ให้เช่าซื้อหรือขายผ่อนชำระ

      คำว่า "ดอกผลเช่าซื้อหรือขายผ่อนชำระ" หมายความว่า ผลต่างระหว่างจำนวนเงินทั้งสิ้นที่ต้องจ่ายตามสัญญากับราคาขายเงินสด



http://prasitwiset.is.in.th/?md=content&ma=show&id=196
อย่าทำตัวเป็นนักแสดง เป็นเพียงผู้ดูก็พอ..
RONNAPUM
Verified User
โพสต์: 1455
ผู้ติดตาม: 0

รายจ่ายต้องห้ามโดยแท้

โพสต์ที่ 9

โพสต์

การโอนทรัพย์สินหรือให้บริการโดยมีเหตุผลอันสมควร
 
     ในการประกอบกิจการจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สิน การให้บริการ และการให้กู้ยืมเงิน ของบริษัท
หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น โดยทั่วไปต้องได้รับผลตอบแทนจากกิจการดังกล่าว ได้แก่ ค่าขายหรือ
ค่าตอบแทน ค่าบริการ หรือดอกเบี้ย ตามราคาตลาด ในกรณีที่ผลตอบแทนจากการประกอบกิจการดังกล่าว
ไปเป็นไป ตามราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควน เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจที่จะประเมินผลตอบแทนจาก
การประกอบกิจการดังกล่าวให้เป็นไปตามราคาตลาด ณ วันที่เกิดกิจกรรมนั้นได้ตามมาตรา 65 ทวิ (4)
แห่งประมวลรัษฎากร
     อย่างไรก็ตามกรมสรรพากรได้ออกคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.64/2539 เรื่องภาษีเงินได้นิติบุคคลการ
โอนทรัพย์สินที่เข้าลักษณะเป็นการโอนทรัพย์สินโดย มีเหตุอันสมควร ตามมาตรา 65 ทวิ (4)แห่งประมวล
รัษฎากร ลงวันที่ 25 กันยายน 2539 และคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.127/2546 เรื่องการเสีย
ภาษีเงินได้ของบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล กรณีการให้บริการที่เข้าลักษณะเป็นการให้บริการโดย
มีเหตุอันสมควรตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 28 พฤษภาคม 2546 วางแนวทาง
ปฏิบัติสำหรับบริษัท ซึ่งได้โอนทรัพย์สินให้แก่บริษัทที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นใหมซึ่งประกอบกิจการผลิตสินค้า และประกอบกิจการให้บริการ ค้นคว้า วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและการให้บริการโดยไม่มีค่าบริการหรือมี
ค่าบริการ ต่ำกว่าราคาตลาด จึงขอนำมาเป็นประเด็น
     ปุจฉา  มีแนวทางในการกำหนดราคาตลาดตามเงื่อนไขในมาตรา65 ทวิ(4)แห่งประมวลรัษฎากรอย่างไร
     วิสัชนา หลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับการกำหนดราคาตลาด โดยทั่วไปมีดังนี้
         1. โดยทั่วไป ราคาตลาด หมายถึง ราคาซื้อขายสินค้า หรือค่าบริการ หรืออัตราดอกเบี้ย
ที่คู่สัญญาได้ตกลงกันโดยสุจริต เปิดเผย และเป็นอิสระ ภายใต้เงื่อนไขความมีเหตุผลอันสมควร
         2. รายได้จากการประกอบกิจการโดยปกติต้องมีจำนวนที่คุ้มกับต้นทุนและรายจ่ายของกิจการ
เนื่องจากการประกอบกิจการของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น วัตถุประสงค์ที่ผู้ประกอบ
การมุ่งหมาย คือ กำไรสูงสุดโดยมีรายจ่ายต่ำสุด ดังนั้นในกรณีที่มีรายการพิเศษอันจะทำให้
รายได้จากการประกอบกิจการต่ำกว่าราคาตลาดผู้ประกอบการต้องสามารถแสดงเหตุผลและหลัก
ฐานที่น่าเชื่อถือ เช่น การให้ส่วนลดการค้า หรือส่วนลดเงินสด ควรมีหลักเกณฑ์ที่แน่นอนกำหนด
ไว้เป็นการล่วงหน้า โดยมีหลักฐานอนุมัติของกรรมการประกอบ
         3. กรณีให้กู้ยืมเงิน อัตราดอกเบี้ยที่ควรจะเป็น ได้แก่ อัตราที่กิจการกู้ยืมมาจากสถาบันการเงินอื่น
มาจากบุคคลภายนอก แต่ถ้ากิจการนำเงินสดในมือของตนออกให้กู้ยืมโดยมิได้มีแหล่งเงินกู้ยืมเลยให้ใช้
อััตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำสำหรับระยะเวลา 1 ปีเป็นเกณฑ์ (หนังสือ กรมสรรพากรที่ กค 0802/936
ลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2532)
     ปุจฉาการโอนทรัพย์สินที่ถือเป็นการโอนทรัพย์สินโดยมีเหตุอันสมควรตามมาตรา
65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากรตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.64/2539 มีลักษณะอย่างไร
     วิสัชนา ให้ถือว่าการโอนทรัพย์สินที่เข้าลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นการ
โอนทรัพย์สินโดยมีเหตุอันสมควรตามมาตรา 65 ทวิ (4)แห่งประมวลรัษฎากร
         1. ผู้รับโอนต้องเป็นบริษัทที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นใหม่ เพื่อการรับโอนกิจการโดยเฉพาะ
         2. ผู้รับโอนต้องเป็นบริษัทที่มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการผลิตสินค้าหรือการให้บริการค้นคว้า
วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและต้องได้รับโอนทรัพย์สินก่อนเริ่มประกอบกิจการ
         3. ผู้โอนต้องถือหุ้นในบริษัทผู้รับโอนไม่น้อยกว่าร้อยละ 99 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียง
ในบริษัทผู้รับโอน
         4. ผู้โอนและผู้รับโอนต้องดำเนินการโอนและรับโอนทรัพย์สินในราคาไม่ต่ำกว่าราคาตาม
มูลค่าที่ปรากฏในบัญชี (Book Value)ณ วันที่โอน
         5. ผู้โอนจะต้องไม่เป็นลูกหนี้ภาษีอากรค้างของกรมสรรพากร ณ วันที่โอนเว้นแต่ได้จัดให
้มีธนาคารหรือหลักทรัพย์ค้ำประกันหนี้ภาษีอากรค้าง และค่าใช้จ่ายในการบังคับหนี้ดังกล่าวแล้ว
         6. ผู้โอนต้องแจ้งการโอนทรัพย์สินดังกล่าวให้กรมสรรพากรทราบล่วงหน้าก่อนวันที่โอน
ไม่น้อยกว่า 7 วัน การโอนทรัพย์สินดังกล่าว ให้ถือราคาที่โอนและรับโอนเป็นราคาที่พึงซื้อ
ทรัพย์สินนั้น ตามมาตรา 65 ทวิ (3) แห่งประมวลรัษฎากร แต่ทั้งนี้ไม่เป็นการเสื่อมสิทธิ
ที่เจ้าพนักงานประเมินจะกำหนดราคาขาย ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร และกำหนด
จำนวนเงินเพิ่มขึ้น ตามมาตรา 123 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับการโอนกรรมสิทธิ์หรือ
สิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์
      ทั้งนี้ ให้ใช้บังคับสำหรับการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทหรือ
ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งมีรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2539 เป็นต้นไป
     ปุจฉา การให้บริการโดยไม่มีค่าบริการหรือมีค่าบริการต่ำกว่าราคาตลาด
ที่ถือเป็นการให้บริการโดยมีเหตุอันสมควรตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร
มีลักษณะอย่างไร
     วิสัชนา ให้ถือว่าการให้บริการโดยไม่มีค่าบริการหรือมีค่าบริการต่ำกว่าราคา
ตลาดที่เข้าลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นการให้บริการโดยมีเหตุอันสมควรตามมาตรา 65
ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร
         1. ผู้ให้บริการต้องให้บริการแก่ผู้รับบริการตาม (2) เฉพาะการดำเนินงานตามวัตถุประสงค
์ของโครงการพิเศษที่จัดตั้งขึ้นโดยรัฐบาล
         2. ผู้รับบริการต้องเป็นหน่วยงานราชการ สำนักงานหรือหน่วยงานหรือกองทุนที่มิใช่นิติบุคคลหรือ
กรรมการซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยรัฐบาล กระทรวง ทบวง กรม เพื่อกระทำกิจการตามนโยบายรัฐบาล เช่น
บริษัท ก. จำกัด ผู้จำหน่ายรถยนต์ได้ให้คณะกรรมการซึ่งจัดตั้งขึ้นตามโครงการเตรียมการจัดประชุม
ระหว่างประเทศของรัฐบาลยืมใช้รถยนต์โดยไม่มีค่าตอบแทนจำนวน 10 คัน เพื่อใช้เป็นพาหนะของ ผู้นำ
ต่างประเทศที่เดินทางเข้ามาร่วมประชุมในการจัดประชุมระหว่างประเทศ ซึ่งประเทศไทยรับเป็นเจ้าภาพ
จัดการประชุม การให้ยืมใช้รถยนต์ดังกล่าวถือเป็นการให้บริการโดยไม่มีค่าบริการโดยมีเหตุอันสมควร
ตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2545 เป็นต้นไป

 
www.rd.go.th
อย่าทำตัวเป็นนักแสดง เป็นเพียงผู้ดูก็พอ..
RONNAPUM
Verified User
โพสต์: 1455
ผู้ติดตาม: 0

รายจ่ายต้องห้ามโดยแท้

โพสต์ที่ 10

โพสต์

"จ่ายค่ารับรองอย่างไรไม่ถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม?"
 
     ค่ารับรองสามารถถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ไม่ต้องห้าม หากเป็นไปตามเกณฑ์ที่ กำหนดในกฏกระทรวง # 143 ดังนี้
     1. เป็นค่ารับรองตามธรรมเนียมประเพณีทางธุรกิจทั่วไป และบุคคลที่ได้รับการรับรองต้องไม่ใช่ลูกจ้างของบริษัท/หจก. เว้นแต่ลูกจ้างมีหน้าที่เข้าร่วมการรับรองนั้น
     2. เป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับค่ารับรอง เช่น อาหารเครื่องดื่ม ที่พัก ฯลฯ ถ้าให้เป็นสิ่งของ ต้องไม่เกินคนละ 2,000 บาทในแต่ละคราวที่มีการรับรอง
     3. เป็นการจ่ายเพื่ออำนวยประโยชน์ให้แก่กิจการ
     4. นำมาหักเป็นรายจ่ายได้เท่ากับจำนวนที่จ่าย แต่รวมกันไม่เกินร้อยละ 0.3 ของจำนวนเงินรายได้ หรือเงินทุนที่ได้ชำระแล้วแล้วแต่จำนวนใดจะมากกว่า ทั้งนี้สูงสุดไม่เกิน 10 ล้านบาท
     5. ค่ารับรองนั้นต้องมีกรรมการ หรือผู้เป็นหุ้นส่วน ผู้จัดการ หรือผู้ได้รับมอบหมายเป็นผู้อนุมัติสั่งจ่ายค่ารับรอง และมีหลักฐานการจ่ายประกอบ
การวางแผนค่ารับรอง
     1. ต้องมีหลักฐานการจ่ายเงิน เช่น ใบเสร็จรับเงิน
     2. ต้องระบุได้ว่ามีการพาบุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้องกับการอำนวยประโยชน์ต่อกิจการไปรับรองจริง เช่น ระบุชื่อ ที่อยู่ โทร.ติดต่อไว้ในใบเบิกเงิน หรือใบสำคัญจ่ายด้วย      
     3. ต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าบุคคลภายนอกเกี่ยวข้องกับกิจการ หรือเอื้อประโยชน์ต่อกิจการ  
 
www.karnbunchee.com
อย่าทำตัวเป็นนักแสดง เป็นเพียงผู้ดูก็พอ..
RONNAPUM
Verified User
โพสต์: 1455
ผู้ติดตาม: 0

รายจ่ายต้องห้ามโดยแท้

โพสต์ที่ 11

โพสต์

ขายสินค้าต่ำกว่าทุน
 
     การประกอบธุรกิจของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ว่าจะเป็นการขายสินค้าหรือให้บริการ เมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีจะต้องนำรายได้ดังกล่าวมาคำนวณกำไรหรือขาดทุนสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล นอกจากจะต้องนำรายได้มาคำนวณกำไรสุทธิแล้วก็ต้องนำรายจ่ายมาคำนวณกำไรสุทธิด้วย ซึ่งรายได้และรายจ่ายที่นำมาคำนวณกำไรสุทธิต้องใช้เกณฑ์สิทธิในการคำนวณกำไรสุทธิ
     โดยให้นำรายได้ที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีใด แม้ว่าจะยังไม่ได้รับชำระในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น มารวมคำนวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น และให้นำรายจ่ายทั้งสิ้นที่เกี่ยวกับรายได้นั้น แม้จะยังมิได้จ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นมารวมคำนวณเป็นรายจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีนั้น ในกรณีจำเป็นผู้มีเงินได้จะขออนุมัติต่ออธิบดีเพื่อเปลี่ยนแปลงเกณฑ์สิทธิและวิธีการทางบัญชี เพื่อคำนวณรายได้และรายจ่ายก็ได้ และเมื่อได้รับอนุมัติจากอธิบดีแล้ว ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่อธิบดีกำหนดเป็นต้นไป
     ในการนำรายได้หรือรายจ่ายมาคำนวณกำไรสุทธินั้นจะต้องระมัดระวังในเรื่องของการโอนทรัพย์สิน ให้บริการ หรือให้กู้ยืมเงินได้มีการคิดค่าตอบแทน ค่าบริการหรือดอกเบี้ยหรือไม่ หรือหากมีการคิดค่าตอบแทนแต่ต่ำกว่าท้องตลาดหรือไม่ ซึ่งตามประมวลรัษฎากรได้กำหนดไว้ตามมาตรา 65 ทวิ (4) ที่ให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมิน โดยกำหนดไว้ดังนี้
     "ในกรณีโอนทรัพย์สิน ให้บริการ หรือให้กู้ยืมเงิน โดยไม่มีค่าตอบแทน ค่าบริการ หรือดอกเบี้ย หรือมีค่าตอบแทน ค่าบริการ หรือดอกเบี้ยต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควร เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินค่าตอบแทน ค่าบริการ หรือดอกเบี้ยนั้น ตามราคาตลาดในวันที่โอน ให้บริการหรือให้กู้ยืมเงิน"
     ดังนั้นหากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีการโอนทรัพย์สิน ให้บริการ หรือให้กู้ยืมเงิน โดยไม่คิดค่าตอบแทน หรือคิดแต่ต่ำกว่าตลาดเจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมิน ธุรกิจขายสินค้าหรือให้บริการเมื่อมีการดำเนินธุรกิจขายสินค้าหรือให้บริการมักจะมีการกำหนดราคาขายสินค้าหรือให้บริการตามใบราคา (Price List) ซึ่งอาจจะแยกเป็นราคาขายปลีก ขายส่ง ขายผ่านตัวแทน ที่มีราคาขายหรือให้บริการไม่เท่ากัน
     แต่มีหลักเกณฑ์ เงื่อนไขที่กำหนดอัตราในการให้ส่วนลดแก่ลูกค้าแต่ละราย ที่ผู้ประกอบการสามารถให้ส่วนลดแก่ลูกค้าได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด ตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากรได้ให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินหากขายสินค้าหรือให้บริการต่ำกว่าราคาตลาดโดยมีเหตุอันไม่สมควร อะไรคือเหตุอันสมควร
องค์ประกอบของ "เหตุอันสมควร" จะมีดังนี้
     1) ต้องมีเหตุผลทางธุรกิจการค้าสนับสนุนอย่างเพียงพอ
     2) ต้องไม่เลือกปฏิบัติกับลูกค้ารายใดรายหนึ่งโดยเฉพาะ
     บริษัทแห่งหนึ่งประกอบกิจการจำหน่ายเครื่องเสียงติดรถยนต์และอุปกรณ์เสริมต่างๆ เช่น ลำโพง เครื่องเสียง (พาวเวอร์แอมป์) จอภาพขนาดเล็ก อะไหล่เกี่ยวกับเครื่องเสียง เป็นต้น บริษัทได้รับคำสั่งซื้อจอภาพขนาด 7 นิ้ว จากบริษัท ก จำกัด บริษัทจึงได้สั่งซื้อสินค้าดังกล่าวจากบริษัท ข จำกัด และบริษัท ค จำกัด รวมจำนวน 760 ชิ้น เพื่อจะนำมาส่งมอบให้กับบริษัท ก แต่เนื่องจากแผนการตลาดของบริษัท ก เปลี่ยนแปลงไปจึงได้ปฏิเสธการสั่งซื้อสินค้าเป็นเหตุให้บริษัทมีสินค้าคงเหลือค้างสต็อกจำนวน 359 ชิ้น
     บริษัทจึงได้ติดต่อขายสินค้าให้กับบริษัทในเครือเดียวกันในต่างประเทศในราคาชิ้นละ 3,425 บาท (ราคาซื้อหรือราคาต้นทุนชิ้นละ 11,300 บาท) จำนวน 350 ชิ้น เพราะสินค้าในตลาดปัจจุบันใช้จอภาพขนาด 8 นิ้ว สินค้าที่ขายมีราคาตลาดชิ้นละ 4,200-5,000 บาท นอกจากนี้ บริษัทต้องจ่ายเงินชดเชยให้แก่บริษัท ค ราคาชิ้นละ 40 เหรียญสหรัฐ เป็นเงินประมาณ 1,261,160 บาท
     เนื่องจากเมื่อบริษัทได้สั่งซื้อสินค้าจากบริษัท ข และบริษัท ค บริษัททั้งสองได้ผลิตสินค้าเพื่อเตรียมส่งมอบให้แก่บริษัท ซึ่งสินค้าดังกล่าวได้สั่งทำและนำเข้ามาเพื่อขายให้กับบริษัทโดยตรงไม่สามารถนำไปขายที่อื่นได้ โดยสัญญาซื้อขายมิได้มีเงื่อนไขหรือข้อตกลงในเรื่องของการยกเลิกสัญญาและผลของการยกเลิกสัญญาในกรณีดังกล่าว
     การที่บริษัทได้ขายจอภาพติดรถยนต์ขนาด 7 นิ้ว ให้กับบริษัทในเครือเดียวกันอยู่ในต่างประเทศในราคาชิ้นละ 3,425 บาท ซึ่งต่ำกว่าราคาทุนและราคาตลาด โดยอ้างว่าสินค้าในตลาดปัจจุบันใช้จอภาพขนาด 8 นิ้ว เข้าลักษณะเป็นการโอนทรัพย์สินโดยมีค่าตอบแทนต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควร เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินค่าตอบแทนตามราคาตลาด และคำนวณมูลค่าของฐานภาษีตามราคาตลาดตามมาตรา 79/3 (1) แห่งประมวลรัษฎากร
     เนื่องจากสัญญาซื้อขายมิได้มีเงื่อนไขหรือข้อตกลงระหว่างบริษัทและบริษัท ค ในเรื่องของการยกเลิกสัญญาและผลของการยกเลิกสัญญา ในกรณีดังกล่าวบริษัทจึงไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินชดเชยตามข้อตกลงซึ่งได้กระทำนอกเหนือจากสัญญาให้บริษัท ค. การจ่ายเงินชดเชยของบริษัทจึงเป็นการกระทำโดยสมัครใจของบริษัท ไม่เข้าลักษณะเป็นรายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ ต้องห้ามมิให้หักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ และกรณีที่บริษัทได้ขายสินค้าให้กับบริษัทในเครือเดียวกันซึ่งอยู่ในต่างประเทศ โดยบริษัทได้ดำเนินพิธีการศุลกากรส่งสินค้าออกนอกราชอาณาจักรเพื่อส่งสินค้าไปต่างประเทศ บริษัทจะได้รับสิทธิ์เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1 แห่งประมวลรัษฎากร
     ดังนั้นการที่บริษัทได้มีการขายสินค้าหรือให้บริการจะต้องไม่ต่ำกว่าราคาตลาดยกเว้นมีเหตุอันสมควร มิฉะนั้นเจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมิน  
 
http://prasitwiset.is.in.th/?md=content&ma=show&id=262
อย่าทำตัวเป็นนักแสดง เป็นเพียงผู้ดูก็พอ..
RONNAPUM
Verified User
โพสต์: 1455
ผู้ติดตาม: 0

รายจ่ายต้องห้ามโดยแท้

โพสต์ที่ 12

โพสต์

การบัญชี (Accounting)
 
     การบัญชี (Accounting) คือ ขั้นตอนของระบบการรวบรวม การวิเคราะห์และการรายงานข้อมูลทางการเงิน (Pride, Hughes and Kapoor. 1996 : 534)
     สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย ซึ่งเรียกย่อว่า ส.บช. (The Institute of CeritfiedAccountants and Auditor of Thailand : ICAAT) ได้ให้ความหมายของการบัญชีไว้ดังนี้ การบัญชี (Accounting) หมายถึง ศิลปะของการเก็บรวบรวม บันทึก จำแนก และทำสรุปข้อมูลอันเกี่ยวกับเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจในรูปตัวเงิน ผลงานขั้นสุดท้ายของการบัญชีก็คือการให้ข้อมูลทางการเงิน ซึ่งเป็นประโยชน์แก่บุคคลหลายฝ่าย และผู้ที่สนใจในกิจกรรมของกิจการ
     สมาคมผู้สอบบัญชีรับอนุญาตของประเทศสหรัฐอเมริกา ( The American Institute of Certified Public Accountants : AICPA) ได้ให้ความหมายของการบัญชีไว้ดังนี้
      Accounting is the art of recording, classifying and หsummarizing in a significant manner and in terms of money, transactions and events which are, in part at least, of financial character and interpreting the results thereof.
     จากคำนิยามดังกล่าว การบัญชี หมายถึง ศิลปะของการจดบันทึก การจำแนกให้เป็นหมวดหมู่ และการสรุปผลสิ่งสำคัญในรูปตัวเงิน รายการ และเหตุการณ์ต่าง ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับทางด้านการเงิน รวมทั้งการแปลความหมายของผลการปฏิบัติดังกล่าวด้วย
การบัญชีมีความหมายที่สำคัญ 2 ประการ คือ
     1. การทำบัญชี (Bookkeeping) เป็นหน้าที่ของผู้ทำบัญชี (Bookkeeper) ซึ่งมีขั้นตอนการปฏิบัติดังนี้
         1.1 การรวบรวม (Collecting) หมายถึง การรวบรวมข้อมูลหรือรายการค้าที่เกิดขึ้นประจำวันและหลักฐานข้อมูลที่เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจ เช่น หลักฐานการซื้อเชื่อและขายเชื่อ หลักฐานการับและจ่ายเงิน เป็นต้น
         1.2 การบันทึก (Recording) หมายถึง การจดบันทึกรายการค้าที่เกิดขึ้นแต่ละครั้งให้ถูกต้องตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป พร้อมกับบันทึกข้อมูลให้อยู่ในรูปของหน่วยเงินตรา
         1.3 การจำแนก (Classifying) หมายถึง การนำข้อมูลที่จดบันทึกไว้แล้ว มาจำแนกให้เป็นหมวดหมู่ของบัญชีประเภทต่างๆ เช่น หมวดสินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ รายได้และค่าใช้จ่าย
         1.4 การสรุปข้อมูล (Summarizing) เป็นการนำข้อมูลที่ได้จำแนกให้เป็นหมวดหมู่ดังกล่าวมาแล้วมาสรุปเป็นรายงานทางการเงิน (Accounting report) ซึ่งแสดงถึงผลการดำเนินงานและฐานะการเงินของธุรกิจตลอดจนการได้มาและใช้ไปของเงินสดในรอบระยะเวลาบัญชีหนึ่ง
     2. การให้ข้อมูลทางการเงิน เพื่อประโยชน์แก่บุคคลที่เกี่ยวข้องหลายฝ่าย เช่น ฝ่ายบริหาร ผู้ให้กู้ เจ้าหนี้ ตัวแทนรัฐบาล นักลงทุน เป็นต้น นอกจากนี้ข้อมูลทางการเงินยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์ทางด้านการเงิน การจัดทำงบประมาณ การปรับปรุงระบบบัญชี เป็นต้น  
 
http://www.course.yonok.ac.th
อย่าทำตัวเป็นนักแสดง เป็นเพียงผู้ดูก็พอ..
RONNAPUM
Verified User
โพสต์: 1455
ผู้ติดตาม: 0

รายจ่ายต้องห้ามโดยแท้

โพสต์ที่ 13

โพสต์

หัวใจสำคัญของงบการเงิน
 
     ข้อมูลงบการเงินที่ดี มีคุณภาพ มีการให้ข้อมูลอย่างครบถ้วน เพื่อรายงานต่อผู้ถือหุ้นหรือให้ผู้ลงทุนใช้ประกอบการตัดสินใจ ควรมีรูปแบบการนำเสนอและการเปิดเผยข้อมูล อย่างครบถ้วนและถูกต้อง

รูปแบบการนำเสนอและการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงิน

มีข้อความแสดงรายการในงบการเงินอย่างครบถ้วน เพียงพอ ถูกต้อง เข้าใจง่าย และเชื่อถือได้

ไม่ปกปิดข้อเท็จจริงหรือบิดเบือนความจริงอันเป็นสาระสำคัญ ซึ่งอาจทำให้หลงผิดและเกิดความเสียหายแก่กิจการหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง

สามารถเปรียบเทียบได้กับงวดเดียวกันของปีก่อนหรืองวดก่อนหน้า หรือกับกิจการอื่นที่ประกอบธุรกิจคล้ายกัน

เผยแพร่ข้อมูลในเวลาที่เหมาะสม ไม่ใช่ข้อมูลที่ล้าสมัย จนไม่สามารถนำมาใช้ตัดสินใจทางธุรกิจได้

การดำเนินธุรกิจต้องมีข้อมูลที่น่าเชื่อถือ และถูกต้อง ท่านลองสำรวจข้อมูลในงบการเงินของท่านดูว่า มีรูปแบบที่ตรงกับสิ่งเหล่านี้เพียงใด

มีคุณสมบัติครบ 3 ข้อ ถือว่าท่านมีข้อมูลที่สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับธุรกิจของท่านดี

มีคุณสมบัติครบ 2 ข้อ ถือว่าต้องรีบดำเนินการแก้ไข มิเช่นนั้นอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ธุรกิจได้ในภายภาคหน้า

มีคุณสมบัติครบ รวมกันแล้ว เพียง 1 ข้อ ท่านต้องรีบสำรวจความเสียหายที่เกิดขึ้นทันที เพื่อเตรียมรับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้นในไม่ช้า

 
www.sarinaccount.com
อย่าทำตัวเป็นนักแสดง เป็นเพียงผู้ดูก็พอ..
TheHee
Verified User
โพสต์: 238
ผู้ติดตาม: 0

รายจ่ายต้องห้ามโดยแท้

โพสต์ที่ 14

โพสต์

sattaya เขียน:ค่าใช้จ่ายต้องห้ามเป็นเรื่องนึงที่ตอนเรียนงงมาก

บางรายการในทางบัญชียอมรับให้เป็นรายจ่ายได้ แต่สรรพากรไม่ยอม เช่น ค่าของขวัญให้ลูกค้า

ค่าใช้จ่ายต้องห้ามบางรายการไม่ยอมรับทั้งทางบัญชีและสรรพากร เช่น สำรองต่างๆ

ในมุมมองของนักลงทุน เราใช้งบการเงินที่บริษัทเปิดเผยให้นักลงทุนดู มิใช่งบที่ส่งสรรพากร ดังนั้นค่าใช้จ่ายบางรายการที่สรรพากรให้บวกกลับเป็นรายจ่ายต้องห้ามนักบัญชีเรายังถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายอยู่นะ อย่าสับสนนะครับ
แสดงว่าบริษัทส่วนมากมีสองงบฯเหรอครับ แล้วอย่างนี้เวลาท่านสรรพฯมาตรวจไม่ตาลายแย่เลยเหรอเนี่ย

คือผมเด็กใหม่ ไม่ค่อยมีความรู้ด้านนี้ อยากขอคำแนะนำครับ
miracle
Verified User
โพสต์: 18134
ผู้ติดตาม: 0

รายจ่ายต้องห้ามโดยแท้

โพสต์ที่ 15

โพสต์

งบตัวหนึ่งส่งกรมธุรกิจการค้า หรือ คปภ( หรือกรมการประกันภัยเก่า )หรือ ธนาคารแห่งประเทศไทย

งบอีกตัวส่งกรมสรรพากร

ทั้งสองงบ ไม่เท่ากันน่าครับ
คือ ตัวหนึ่งทำตามมาตราฐานทางบัญชี
อีกตัวทำตามกฏหมาย ประมวลรัษฏาอากร

อย่างหลังมีปัญหาในเรื่องการตีความระหว่างตัวบทกฏหมายและการปฏิบัติครับ
:)
:)
โพสต์โพสต์