ว่าด้วยเรื่อง Five Force Model
- yoyo
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4833
- ผู้ติดตาม: 0
ว่าด้วยเรื่อง Five Force Model
โพสต์ที่ 61
ในแง่ของกลยุทธ์การแข่งขัน ผมแบ่งออกเป็นหลักๆได้ 3 ข้อคือ
1. Differentiation - ก็สร้างแบรนด์
2. Quick Respone - ตอบสนองรวมเร็วความต้องการของตลาด/ลูกค้า
3. Cost Leadership - ตามชื่อเลยครับ ต้นทุนต่ำ
ไม่มีใครสามารถทำทุกอย่างได้ดี snc พยายามเน้นข้อ 2 และ 3 ครับ
ผมมาเปิดประเด็นในถกกันต่อ เพราะไม่รู้จะต่อเรื่อง FiveForces อย่างไรดี ในเมื่อข้อมูลที่มีอยู่มันไม่เท่ากัน ซึ่งผมว่าการวิเคราะห์ FiveForces Model สำหรับคนที่อยู่นอกอุตสาหกรรมนี่ยากพอดูเลยนะครับ เพราะมันต้องใช้ข้อมูลเยอะพอสมควร คิดเอาเองนี่ผมว่าผิดไปไกลได้เหมือนกัน
1. Differentiation - ก็สร้างแบรนด์
2. Quick Respone - ตอบสนองรวมเร็วความต้องการของตลาด/ลูกค้า
3. Cost Leadership - ตามชื่อเลยครับ ต้นทุนต่ำ
ไม่มีใครสามารถทำทุกอย่างได้ดี snc พยายามเน้นข้อ 2 และ 3 ครับ
ผมมาเปิดประเด็นในถกกันต่อ เพราะไม่รู้จะต่อเรื่อง FiveForces อย่างไรดี ในเมื่อข้อมูลที่มีอยู่มันไม่เท่ากัน ซึ่งผมว่าการวิเคราะห์ FiveForces Model สำหรับคนที่อยู่นอกอุตสาหกรรมนี่ยากพอดูเลยนะครับ เพราะมันต้องใช้ข้อมูลเยอะพอสมควร คิดเอาเองนี่ผมว่าผิดไปไกลได้เหมือนกัน
การลงทุนที่มีค่าที่สุด คือการลงทุนในความรู้
http://www.yoyoway.com
http://www.yoyoway.com
- Alastor
- Verified User
- โพสต์: 2590
- ผู้ติดตาม: 0
ว่าด้วยเรื่อง Five Force Model
โพสต์ที่ 63
จะรออ่านทั้ง Starbucks และ SNC ครับ แต่ละคนข้อมูลไม่เท่ากันอยู่แล้ว ต่อให้เท่ากันก็ตีความไม่เหมือนกัน ถ้ามาแลกเปลี่ยนข้อมูลและความคิดกันจะได้เห็นภาพมากขึ้น ผมว่าจะอ่านๆงบ snc อยู่จะพยายามให้เสร็จหลังสอบละกันMon money เขียน:ถ้าเราคุยเรื่อง SNC ในประเด็นที่เรากำลังค้นหา Competitiveness ของบริษัท แลกเปลี่ยนข้อมูลกันในเชิงสร้างสรรค์ ผมว่าเราทำได้อย่างสบายใจนะครับ เชื่อแถอะว่า ที่แย้ง และสนับสนุนนั้นเกิดจากข้อมูลและความคิดเห็นที่ตรงไปตรงมา
ไปcompany visit กันไหม? ถามผู้บริหารกันแบบเจาะลึก เอาข้อมูลที่เราไม่รู้มาแบ่งปันกัน ส่วนใครคิดอย่างไรก็ตัดสินใจกันไปตามนั้น อย่ามาโทษกันหากไม่เป็นไปตามที่ตนเองคิด เพราะคิดเอง ตัดสินใจเอง
สำหรับ Case Starbucks ผมกำลังสรุปเป็น Power point แต่เป็นภาษาอังกฤษนะ ภายในอาทิตย์นี้คงได้อ่านกัน
สำหรับ SNC ผมพยายามสรุปข้อมูลที่ผมหาได้ แล้วเรามาคุยกันอีกรอบ หากได้ Visit จะดีมาก
Wir sind das Rar, der Stolz und der Wert
- sisacorn
- Verified User
- โพสต์: 143
- ผู้ติดตาม: 0
ว่าด้วยเรื่อง Five Force Model
โพสต์ที่ 64
ผมชอบเว็บนี้ ก็ตรงที่ร่วมกันแชร์ความคิดนี่ล่ะครับ สำหรับกับผมที่ไม่
สามารถ ไป company visit ก็ทำได้เพียง อ่านข้อมูลต่าง ๆ เท่าที่จะหาได้
ดีที่เว็บนี้ช่วยกันแบ่งปันความรู้ครับ ก็ต้องขอบคุณพี่ ๆ ทุกคนครับ
ที่ช่วยแบ่งปัน เพราะถ้าพูดกันตามตรง อย่างผมฟังพี่ yoyo บอกว่า
56-1 ก็จะได้ข้อมูลภาพกว้าง ๆ เท่านั้น ไม่สามารถรู้ว่า Quick Respone
ที่พยายามเน้นนั้นทำอย่างไร มีระบบวิธีการทำงานอย่างไร ซึ่ง
สอดคล้องกับกลยุทธ์ที่วางไว้หรือไม่ ดังนั้น การ company visit
เป็นสิ่งที่ดีมากเลยครับ แต่ไม่ว่า ข้อมูลนั้น จะเป็นข้อมูลตัวหนังสือ
ภาพ เสียง ทุกคนก็ต้องนำไปผ่านกระบวนการวิเคราะห์ ตามความรู้
และประสบการณ์ของแต่ละคน ดังนั้นการตัดสินใจอยู่ที่ตัวเราครับ
ไม่สามารถจะโทษใครได้ ขอบคุณครับ
สามารถ ไป company visit ก็ทำได้เพียง อ่านข้อมูลต่าง ๆ เท่าที่จะหาได้
ดีที่เว็บนี้ช่วยกันแบ่งปันความรู้ครับ ก็ต้องขอบคุณพี่ ๆ ทุกคนครับ
ที่ช่วยแบ่งปัน เพราะถ้าพูดกันตามตรง อย่างผมฟังพี่ yoyo บอกว่า
ก็ต้องตั้งคำถามว่า เน้น 2 อย่างจริงหรือ แล้วลองไปค้นข้อมูล อย่างในแง่ของกลยุทธ์การแข่งขัน ผมแบ่งออกเป็นหลักๆได้ 3 ข้อคือ
1. Differentiation - ก็สร้างแบรนด์
2. Quick Respone - ตอบสนองรวมเร็วความต้องการของตลาด/ลูกค้า
3. Cost Leadership - ตามชื่อเลยครับ ต้นทุนต่ำ
ไม่มีใครสามารถทำทุกอย่างได้ดี snc พยายามเน้นข้อ 2 และ 3 ครับ
56-1 ก็จะได้ข้อมูลภาพกว้าง ๆ เท่านั้น ไม่สามารถรู้ว่า Quick Respone
ที่พยายามเน้นนั้นทำอย่างไร มีระบบวิธีการทำงานอย่างไร ซึ่ง
สอดคล้องกับกลยุทธ์ที่วางไว้หรือไม่ ดังนั้น การ company visit
เป็นสิ่งที่ดีมากเลยครับ แต่ไม่ว่า ข้อมูลนั้น จะเป็นข้อมูลตัวหนังสือ
ภาพ เสียง ทุกคนก็ต้องนำไปผ่านกระบวนการวิเคราะห์ ตามความรู้
และประสบการณ์ของแต่ละคน ดังนั้นการตัดสินใจอยู่ที่ตัวเราครับ
ไม่สามารถจะโทษใครได้ ขอบคุณครับ
- sisacorn
- Verified User
- โพสต์: 143
- ผู้ติดตาม: 0
ว่าด้วยเรื่อง Five Force Model
โพสต์ที่ 66
ถ้าเราได้อ่าน 56-1 ได้คุยกับผู้บริหาร จนพอที่จะปะติดปะต่อได้
เราติดตาม การดำเนินงานตามกลยุทธ์ ที่ผู้บริหารได้วางไว้
แล้วหากงานไม่เป็นไปตามแผน หรือเกิดการล่าช้า เราควรประเมิน
ว่าอย่างไรครับ ควรที่จะให้โอกาส ดูอีกหน่อย หรือถือว่าไม่เป็นไปตาม
เป้าที่วางไว้ครับ
เราติดตาม การดำเนินงานตามกลยุทธ์ ที่ผู้บริหารได้วางไว้
แล้วหากงานไม่เป็นไปตามแผน หรือเกิดการล่าช้า เราควรประเมิน
ว่าอย่างไรครับ ควรที่จะให้โอกาส ดูอีกหน่อย หรือถือว่าไม่เป็นไปตาม
เป้าที่วางไว้ครับ
- sisacorn
- Verified User
- โพสต์: 143
- ผู้ติดตาม: 0
ว่าด้วยเรื่อง Five Force Model
โพสต์ที่ 67
ในการวิเคราะห์บริษัทที่เราจะลงทุนเราควรให้น้ำหนักกับการวิเคราะห์ด้วย 5 Forces อย่างไรครับ
ผมรู้สึกว่าผมกำลังหลงทาง หรือเปล่า ถ้าผมใช้ 5 Forces ในการวิเคราะห์อุตสาหกรรม
ของบริษัทที่เราจะลงทุนแล้วผลที่ได้ อ่อนในทุก ๆ ด้าน เลยตัดสินใจไม่มองบริษัทในอุตสาหกรรมนั้น
แต่พอลองมาอ่านกระทู้นี้ดี ๆ ผมกลับได้มุมมองว่า 5 Forces เพียงกรองอุตสาหกรรมนั้น ๆ
ในชั้นหนึ่ง ทำให้ได้ผลว่า อุตสาหกรรมใดน่าลงทุน แต่ไม่ได้ให้คำตอบว่าบริษัทในอุตสาหกรรมนั้น
น่าลงทุนหรือไม่ ในอุตสาหกรรมที่มีแรงดึงของ 5 Forces อย่างรุนแรง กลับอาจมี บริษัท
ที่โดดเด่น ดังนั้นการที่จะวิเคราะห์บริษัทเราดึง 5 Forces มาเป็นโจทย์ว่า บริษัทนั้น
จัดการกับแรงดึงต่าง ๆ อย่างไร น่าจะดีกว่า แล้วค้นหาว่า บริษัทมี กลยุทธ์ อย่างไร สามารถ
ลดแรงดึงในด้านใดได้บ้าง สร้างจุดเด่นอะไรมารับมือกับแรงดึงในแต่ละด้าน ไม่รู้ผมคิดงี้
ถูกหรือเปล่าครับ
ผมรู้สึกว่าผมกำลังหลงทาง หรือเปล่า ถ้าผมใช้ 5 Forces ในการวิเคราะห์อุตสาหกรรม
ของบริษัทที่เราจะลงทุนแล้วผลที่ได้ อ่อนในทุก ๆ ด้าน เลยตัดสินใจไม่มองบริษัทในอุตสาหกรรมนั้น
แต่พอลองมาอ่านกระทู้นี้ดี ๆ ผมกลับได้มุมมองว่า 5 Forces เพียงกรองอุตสาหกรรมนั้น ๆ
ในชั้นหนึ่ง ทำให้ได้ผลว่า อุตสาหกรรมใดน่าลงทุน แต่ไม่ได้ให้คำตอบว่าบริษัทในอุตสาหกรรมนั้น
น่าลงทุนหรือไม่ ในอุตสาหกรรมที่มีแรงดึงของ 5 Forces อย่างรุนแรง กลับอาจมี บริษัท
ที่โดดเด่น ดังนั้นการที่จะวิเคราะห์บริษัทเราดึง 5 Forces มาเป็นโจทย์ว่า บริษัทนั้น
จัดการกับแรงดึงต่าง ๆ อย่างไร น่าจะดีกว่า แล้วค้นหาว่า บริษัทมี กลยุทธ์ อย่างไร สามารถ
ลดแรงดึงในด้านใดได้บ้าง สร้างจุดเด่นอะไรมารับมือกับแรงดึงในแต่ละด้าน ไม่รู้ผมคิดงี้
ถูกหรือเปล่าครับ
- Mon money
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 3134
- ผู้ติดตาม: 0
ว่าด้วยเรื่อง Five Force Model
โพสต์ที่ 68
[quote="sisacorn"]ในการวิเคราะห์บริษัทที่เราจะลงทุนเราควรให้น้ำหนักกับการวิเคราะห์ด้วย 5 Forces อย่างไรครับ
ผมรู้สึกว่าผมกำลังหลงทาง หรือเปล่า ถ้าผมใช้ 5 Forces ในการวิเคราะห์อุตสาหกรรม
ของบริษัทที่เราจะลงทุนแล้วผลที่ได้ อ่อนในทุก ๆ ด้าน เลยตัดสินใจไม่มองบริษัทในอุตสาหกรรมนั้น
แต่พอลองมาอ่านกระทู้นี้ดี ๆ ผมกลับได้มุมมองว่า 5 Forces เพียงกรองอุตสาหกรรมนั้น ๆ
ในชั้นหนึ่ง ทำให้ได้ผลว่า อุตสาหกรรมใดน่าลงทุน แต่ไม่ได้ให้คำตอบว่าบริษัทในอุตสาหกรรมนั้น
น่าลงทุนหรือไม่ ในอุตสาหกรรมที่มีแรงดึงของ 5 Forces อย่างรุนแรง กลับอาจมี บริษัท
ที่โดดเด่น ดังนั้นการที่จะวิเคราะห์บริษัทเราดึง
ผมรู้สึกว่าผมกำลังหลงทาง หรือเปล่า ถ้าผมใช้ 5 Forces ในการวิเคราะห์อุตสาหกรรม
ของบริษัทที่เราจะลงทุนแล้วผลที่ได้ อ่อนในทุก ๆ ด้าน เลยตัดสินใจไม่มองบริษัทในอุตสาหกรรมนั้น
แต่พอลองมาอ่านกระทู้นี้ดี ๆ ผมกลับได้มุมมองว่า 5 Forces เพียงกรองอุตสาหกรรมนั้น ๆ
ในชั้นหนึ่ง ทำให้ได้ผลว่า อุตสาหกรรมใดน่าลงทุน แต่ไม่ได้ให้คำตอบว่าบริษัทในอุตสาหกรรมนั้น
น่าลงทุนหรือไม่ ในอุตสาหกรรมที่มีแรงดึงของ 5 Forces อย่างรุนแรง กลับอาจมี บริษัท
ที่โดดเด่น ดังนั้นการที่จะวิเคราะห์บริษัทเราดึง
เป็นบุญหนักหนาเหลือเกินที่ได้เกิดมาเป็นคนไทย เป็นคนไทยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ
- sisacorn
- Verified User
- โพสต์: 143
- ผู้ติดตาม: 0
ว่าด้วยเรื่อง Five Force Model
โพสต์ที่ 69
สงสัยคงเป็นเพราะผมไม่เข้าใจ 5 Forces แน่เลย
ลองหาอ่าน Case Study SouthWest Airlines แล้วนะครับ
เขาก็พูดบอกประมาณว่า Southwest ใช้กลยุทธ์สายการบินต้นทุนต่ำ
โดยตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นต่าง ๆ เช่น ใช้ Boeing 737 แบบเดียว
ทำให้ต้นทุนการดูแลต่ำ ที่นั่งเป็นแบบธรรมดา ตัดค่าใช้จ่ายด้านอาหาร
ขายตั๋วผ่านเน็ต ไม่ผ่านตัวแทนจำหน่าย เป็นต้น
เน้นการเดินทางจากเมืองหนึ่งถึงอีกเมืองหนึ่งโดยตรง ไม่ต้องเสียเวลาเปลี่ยนเที่ยวบิน
เน้นใช้ประสิทธิภาพของพนักงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด สรุปคือเน้นเดินทางใกล้
จากเมืองหนึ่งถึงอีกเมืองหนึ่ง ในเวลาที่สั้นที่สุด ราคาถูกที่สุด อ่านแล้วนึกถึงคำว่า
บลูโอเชี่ยน มากกว่าจะคิดถึง 5 Forces ครับ เพราะนึกถึงว่าในขณะที่
สายการบินอื่นที่มีทั้งสายการบินภายในประเทศ และระหว่างประเทศเน้นการบริการ
ที่ไม่ค่อยแตกต่างกัน แต่ Southwest กลับเจาะกลุ่มภายในประเทศ ระยะทางสั้น
ในราคาที่ถูกกว่า แต่นั้นก็เป็นจุดอ่อนที่ทำให้ ไม่สามารถให้บริการระยะทางไกล
หรือระหว่างประเทศได้ ทำให้มีจุดยืนที่แตกต่างกับสายการบินอื่น แล้วจะเอาข้อมูล
เหล่านี้มาผูกกับ 5 Forces อย่างไงครับ พี่มนกรุณาชี้แนะเด็กใหม่อย่างผม
ด้วยนะครับ ถ้าพี่ไม่เบื่อเสียก่อน ผมก็จะถาม ๆ ไปเรื่อย ๆ ครับ เพราะผมไม่ค่อยรู้อะไรเลย และชอบมั่วด้วย
ขอบคุณครับ :D
ลองหาอ่าน Case Study SouthWest Airlines แล้วนะครับ
เขาก็พูดบอกประมาณว่า Southwest ใช้กลยุทธ์สายการบินต้นทุนต่ำ
โดยตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นต่าง ๆ เช่น ใช้ Boeing 737 แบบเดียว
ทำให้ต้นทุนการดูแลต่ำ ที่นั่งเป็นแบบธรรมดา ตัดค่าใช้จ่ายด้านอาหาร
ขายตั๋วผ่านเน็ต ไม่ผ่านตัวแทนจำหน่าย เป็นต้น
เน้นการเดินทางจากเมืองหนึ่งถึงอีกเมืองหนึ่งโดยตรง ไม่ต้องเสียเวลาเปลี่ยนเที่ยวบิน
เน้นใช้ประสิทธิภาพของพนักงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด สรุปคือเน้นเดินทางใกล้
จากเมืองหนึ่งถึงอีกเมืองหนึ่ง ในเวลาที่สั้นที่สุด ราคาถูกที่สุด อ่านแล้วนึกถึงคำว่า
บลูโอเชี่ยน มากกว่าจะคิดถึง 5 Forces ครับ เพราะนึกถึงว่าในขณะที่
สายการบินอื่นที่มีทั้งสายการบินภายในประเทศ และระหว่างประเทศเน้นการบริการ
ที่ไม่ค่อยแตกต่างกัน แต่ Southwest กลับเจาะกลุ่มภายในประเทศ ระยะทางสั้น
ในราคาที่ถูกกว่า แต่นั้นก็เป็นจุดอ่อนที่ทำให้ ไม่สามารถให้บริการระยะทางไกล
หรือระหว่างประเทศได้ ทำให้มีจุดยืนที่แตกต่างกับสายการบินอื่น แล้วจะเอาข้อมูล
เหล่านี้มาผูกกับ 5 Forces อย่างไงครับ พี่มนกรุณาชี้แนะเด็กใหม่อย่างผม
ด้วยนะครับ ถ้าพี่ไม่เบื่อเสียก่อน ผมก็จะถาม ๆ ไปเรื่อย ๆ ครับ เพราะผมไม่ค่อยรู้อะไรเลย และชอบมั่วด้วย
ขอบคุณครับ :D
-
- Verified User
- โพสต์: 1372
- ผู้ติดตาม: 0
ว่าด้วยเรื่อง Five Force Model
โพสต์ที่ 70
ทั้งหมดที่พี่ sisacorn พูดมันเป็นกลยุทธที่ south west ใช้ครับในหนังสือ blue ocern strategy เป็นกลยุทธที่ sw ใช้ ที่ผู้แต่งทำเป็นบทสรุปมาให้อ่าน ซึ่งในการวิเคราะห์จริงๆ คงมิได้ใช้เพียง 5 force ครับ ยังมีเครื่องมืออีกมากมายที่จะวิเคราะห์ทั้งภายในและนอกองค์กรเพื่อกำหนดกลยุทธในการแข่งขันและกำหนด positioning ของตนเพื่อให้ต่างหรืออยู่เหนือคู่แข่งครับ
สติมา ปัญญาเกิด
-
- Verified User
- โพสต์: 1372
- ผู้ติดตาม: 0
ว่าด้วยเรื่อง Five Force Model
โพสต์ที่ 72
ลองวิเคราะห์ 5 force ของธุรกิจสายการบินดูนะครับ
1. Rival competition
ธุรกิจการบินผมว่ามีการแข่งขันสูงมาก ทำไมถึงมีการแข่งขันสูง คงเพราะธุรกิจนี้มีแต่รายใหญ่ๆ และการลงทุนสูงมาก ดังนั้นทุกรายต่างเชือดเฉื่อนเพื่อให้ได้มาซึ่งลูกค้า อีกประการหนึ่งคือ ลูกค้าสามารถเปลี่ยนสายการบินได้ง่าย ก็คือไม่มี brand loyalty หรือมีน้อยมาก
2. Potential to entry
เนื่องจากเป็นธุรกิจที่ใช้ต้นทุนสูงมากถ้าไม่ใช่รายใหญ่จริงคงเข้ามาได้ยาก และนอกจากเข้ายากแล้วยังออกยากอีกด้วย ดังนั้นแรงกดดันจากคู่แข่งรายใหม่จึงมีน้อย
3. Subtitute product
สินค้าทดแทนการเดินทางโดยเครื่องบินก็น่าจะเป็น รถทัวร์ รถยนต์ รถไฟ เรือ ซึ่งส่วนมากคนที่เลือกเดินทางโดยเครื่องบินเพราะความสะดวกรวดเร็วเป็นหลัก ดังนั้นแรงกดดันด้านนี้จึงมีไม่มาก
4. Power of buyer
ถึงแม้ว่าลูกค้าของธุรกิจสายการบินจะมีจำนวนมากแต่เนื่องจากธุรกิจนี้มี loyolty น้อยมาก ผมคิดว่าลูกค้าจึงมีแรงกดดันต่อธุรกิจมากพอสมควร
5. Power of supplier
supplier ของธุรกิจสายการบินน่าจะมี 2 ส่วนคือส่วนที่เป็น supplier เรื่องการให้บริการเช่น อาหาร เครื่องดื่ม และการทำความสะอาดต่างๆ ส่วนนี้คงไม่มีกำลังต่อรองมากนัก ส่วนที่สำคัญน่าจะเป็น supplier ในส่วนหลักคือตัวเครื่องบินและน้ำมันเติมเครื่องบิน ยิ่งปัจจุบันราคาน้ำมันมีแนวโน้มสูงขึ้น supplier ในส่วนนี้จีงมีแรงกดดันต่อธุรกิจนี้ค่อนข้างมาก
เมื่อดูภาพรวมแล้ว ธุรกิจสายการบินมีแรงกดดันจากด้านต่างๆ ค่อนข้างมาก และผู้เล่นส่วนมากจะแข่งกันด้านภาพลักษณ์ของตนเอง คือใช้กลยุทธ different และทุกสายการบินจะเหมือนกัน คือ ในแต่ละเทียวบินจะมีทั้ง business class และ economy class
จาก 5 force model South West จึงสร้างสินค้าทดแทนขึ้นใหม่คือการเดินทางที่เร็วกว่า รถทัวร์ ในราคาถูกกว่าเครื่องบินทั่วไป โดยการวาง positioning ของตนให้ฉีกไปจากสายการบินอื่นๆ และสร้างจุดแข็งของตนขึ้น
South west กำหนด positioning ตัวเองว่าตนเป็นสายการบินต้นทุนต่ำ (cost leadership) พร้อมกับใช้กลยุทธสร้างความต่าง (different) คือ
1. ลดการให้บริการที่ไม่จำเป็นเช่น การเสริฟอาหารมื้อหนักบนเครื่อง ไม่ระบุที่นั่งหน้าตั๋ว ไม่มีพนักงานยกกระเป๋า
2. ใช้การบินสั้นและใช้สนามบินในเมืองรอง เพื่อเป็นการลดต้นทุนค่าสนามบิน
3. ตั๋วราคาถูกมาก โดยราคาตั๋วของ SW จะเปรียบเทียบกับตั๋วโดยสารรถทัวร์
4. ลดต้นทุนด้านการซ่อมบำรุงโดยการใช้เครื่องบินรุ่นเดียวคือ Boing 737
5. ใช้พนักงานน้อยแต่มีประสิทธิภาพ โดยการจ่ายค่าจ้างและสวัสดิการสูง
6. การทำรอบบินให้มาก โดยจัดระบบการบินให้ตรงต่อเวลาและบินให้ถี่ขึ้น
1. Rival competition
ธุรกิจการบินผมว่ามีการแข่งขันสูงมาก ทำไมถึงมีการแข่งขันสูง คงเพราะธุรกิจนี้มีแต่รายใหญ่ๆ และการลงทุนสูงมาก ดังนั้นทุกรายต่างเชือดเฉื่อนเพื่อให้ได้มาซึ่งลูกค้า อีกประการหนึ่งคือ ลูกค้าสามารถเปลี่ยนสายการบินได้ง่าย ก็คือไม่มี brand loyalty หรือมีน้อยมาก
2. Potential to entry
เนื่องจากเป็นธุรกิจที่ใช้ต้นทุนสูงมากถ้าไม่ใช่รายใหญ่จริงคงเข้ามาได้ยาก และนอกจากเข้ายากแล้วยังออกยากอีกด้วย ดังนั้นแรงกดดันจากคู่แข่งรายใหม่จึงมีน้อย
3. Subtitute product
สินค้าทดแทนการเดินทางโดยเครื่องบินก็น่าจะเป็น รถทัวร์ รถยนต์ รถไฟ เรือ ซึ่งส่วนมากคนที่เลือกเดินทางโดยเครื่องบินเพราะความสะดวกรวดเร็วเป็นหลัก ดังนั้นแรงกดดันด้านนี้จึงมีไม่มาก
4. Power of buyer
ถึงแม้ว่าลูกค้าของธุรกิจสายการบินจะมีจำนวนมากแต่เนื่องจากธุรกิจนี้มี loyolty น้อยมาก ผมคิดว่าลูกค้าจึงมีแรงกดดันต่อธุรกิจมากพอสมควร
5. Power of supplier
supplier ของธุรกิจสายการบินน่าจะมี 2 ส่วนคือส่วนที่เป็น supplier เรื่องการให้บริการเช่น อาหาร เครื่องดื่ม และการทำความสะอาดต่างๆ ส่วนนี้คงไม่มีกำลังต่อรองมากนัก ส่วนที่สำคัญน่าจะเป็น supplier ในส่วนหลักคือตัวเครื่องบินและน้ำมันเติมเครื่องบิน ยิ่งปัจจุบันราคาน้ำมันมีแนวโน้มสูงขึ้น supplier ในส่วนนี้จีงมีแรงกดดันต่อธุรกิจนี้ค่อนข้างมาก
เมื่อดูภาพรวมแล้ว ธุรกิจสายการบินมีแรงกดดันจากด้านต่างๆ ค่อนข้างมาก และผู้เล่นส่วนมากจะแข่งกันด้านภาพลักษณ์ของตนเอง คือใช้กลยุทธ different และทุกสายการบินจะเหมือนกัน คือ ในแต่ละเทียวบินจะมีทั้ง business class และ economy class
จาก 5 force model South West จึงสร้างสินค้าทดแทนขึ้นใหม่คือการเดินทางที่เร็วกว่า รถทัวร์ ในราคาถูกกว่าเครื่องบินทั่วไป โดยการวาง positioning ของตนให้ฉีกไปจากสายการบินอื่นๆ และสร้างจุดแข็งของตนขึ้น
South west กำหนด positioning ตัวเองว่าตนเป็นสายการบินต้นทุนต่ำ (cost leadership) พร้อมกับใช้กลยุทธสร้างความต่าง (different) คือ
1. ลดการให้บริการที่ไม่จำเป็นเช่น การเสริฟอาหารมื้อหนักบนเครื่อง ไม่ระบุที่นั่งหน้าตั๋ว ไม่มีพนักงานยกกระเป๋า
2. ใช้การบินสั้นและใช้สนามบินในเมืองรอง เพื่อเป็นการลดต้นทุนค่าสนามบิน
3. ตั๋วราคาถูกมาก โดยราคาตั๋วของ SW จะเปรียบเทียบกับตั๋วโดยสารรถทัวร์
4. ลดต้นทุนด้านการซ่อมบำรุงโดยการใช้เครื่องบินรุ่นเดียวคือ Boing 737
5. ใช้พนักงานน้อยแต่มีประสิทธิภาพ โดยการจ่ายค่าจ้างและสวัสดิการสูง
6. การทำรอบบินให้มาก โดยจัดระบบการบินให้ตรงต่อเวลาและบินให้ถี่ขึ้น
สติมา ปัญญาเกิด
- sathaporne
- Verified User
- โพสต์: 1657
- ผู้ติดตาม: 0
ว่าด้วยเรื่อง Five Force Model
โพสต์ที่ 73
เท่าที่อ่านจากที่คุณ sattaya ได้ post ไว้ การสร้าง different ของ south west ก็คือเป็นสายการบินที่มีต้นทุน ต่ำ (ซึ่งสิ่งที่ลูกค้าจะได้ก็คือ
เที่ยวบินราคาถูก) ส่วนข้อ 1-6 ที่ว่ามาก็เป็นวิธีการให้ได้มาซึ่งต้นทุนต่ำ
ผมขอถามได้ไหมครับว่า จากข้อ1-6 ที่ว่ามา สายการบินอื่นจะสามารถเลียนแบบได้ไหมครับ
ผมว่ามันก็ไม่น่าจะยากหรือเปล่าครับ
นั่นแปลว่าถ้าสายการบินอื่นเลียนแบบได้ อีกไม่นานมันคงเป็น red ocean
แต่ผมว่าเขาน่าจะมีอย่างอื่นอีกนะครับ ที่ทำให้คู่แข่งรายอื่นไม่มาเล่นด้วยในน่านน้ำนี้
เที่ยวบินราคาถูก) ส่วนข้อ 1-6 ที่ว่ามาก็เป็นวิธีการให้ได้มาซึ่งต้นทุนต่ำ
ผมขอถามได้ไหมครับว่า จากข้อ1-6 ที่ว่ามา สายการบินอื่นจะสามารถเลียนแบบได้ไหมครับ
ผมว่ามันก็ไม่น่าจะยากหรือเปล่าครับ
นั่นแปลว่าถ้าสายการบินอื่นเลียนแบบได้ อีกไม่นานมันคงเป็น red ocean
แต่ผมว่าเขาน่าจะมีอย่างอื่นอีกนะครับ ที่ทำให้คู่แข่งรายอื่นไม่มาเล่นด้วยในน่านน้ำนี้
-
- Verified User
- โพสต์: 1372
- ผู้ติดตาม: 0
ว่าด้วยเรื่อง Five Force Model
โพสต์ที่ 74
ถามว่าคู่แข่งเลียนแบบได้ไหม ถ้าเป็น new entry คงทำได้ง่ายกว่าผู้ที่อยู่มาก่อนแต่เหนื่อยนะครับ ถ้าเป็นคู่แข่งรายเดิม ผมว่าได้แต่ไม่ทั้งหมดครับ เช่นsathaporne เขียน:เท่าที่อ่านจากที่คุณ sattaya ได้ post ไว้ การสร้าง different ของ south west ก็คือเป็นสายการบินที่มีต้นทุน ต่ำ (ซึ่งสิ่งที่ลูกค้าจะได้ก็คือ
เที่ยวบินราคาถูก) ส่วนข้อ 1-6 ที่ว่ามาก็เป็นวิธีการให้ได้มาซึ่งต้นทุนต่ำ
ผมขอถามได้ไหมครับว่า จากข้อ1-6 ที่ว่ามา สายการบินอื่นจะสามารถเลียนแบบได้ไหมครับ
ผมว่ามันก็ไม่น่าจะยากหรือเปล่าครับ
นั่นแปลว่าถ้าสายการบินอื่นเลียนแบบได้ อีกไม่นานมันคงเป็น red ocean
แต่ผมว่าเขาน่าจะมีอย่างอื่นอีกนะครับ ที่ทำให้คู่แข่งรายอื่นไม่มาเล่นด้วยในน่านน้ำนี้
1. การลดการบริการที่ไม่จำเป็น
อันนี้เลียนแบบได้แต่ว่า ถ้าทำทุกเทียวบินเหมือน SW จะขัดกับ positioning ของตัวเองไหม (ลองคิดดูง่ายๆครับ ถ้าการบินไทย ทำเหมือน SW ภาพลักษณ์จะเป็นอย่างไร) ถ้าทำบางเที่ยวบินก็จะไม่ได้ต้นทุนที่ต่ำที่สุด
2. การใช้สนามบินรองหรือสนามบินที่อยู่ชานเมือง
คงย้ายมาไม่ได้ทั้งหมด เพราะหลังจาก SW ประสบความสำเร็จแล้วก็จะจอง grate ของสนามบินรองไว้เกือบหมด เหมือนกับเค้าไปยึดหัวหาดไว้แล้ว
4. ลดต้นทุนการซ่อมบำรุง โดยใช้เครื่องบินรุ่นเดียวคือ Boing 737
สายการบินส่วนมากจะใช้เครื่องบินหลายรุ่น อันนี้ไม่รู้ว่าด้วยเหตุผลประการใด การที่ใช้เครื่องหลายรุ่นจะทำให้ค่าซ่อมบำรุงสูง ไม่ว่าจะเป็นค่าฝึกอบรมช่างเครื่องให้มีความรู้ในเครื่องแต่ละรุ่น การเก็บอะไหล่ที่ใช้กับเครื่องบินต่างรุ่นกัน และการที่จะเปลี่ยนเครื่องทั้งหมดมาใช้เป็นเครื่องรุ่นเดียวคงทำได้ไม่ง่าย
5. การใช้พนักงานน้อยแต่มีประสิทธิภาพ
ข้อนี้น่าจะเลียนแบบได้สำหรับสายการบินที่ union ไม่แข็ง
6. การทำรอบบินให้มาก
ข้อนี้ก็น่าจะเลียนแบบได้
3. ตั่วราคาถูกมาก
ข้อนี้ต้องพิจารณาดูว่าหากต้นทุนไม่ต่ำจริงราคาตั๋วคงลดลงมาแข่งยาก
กรณีศึกษาของ South west เป็นเรื่องเก่าแล้วครับ ปัจจุบันผมไม่รู้ว่าในอเมริกามีสายการบินต้นทุนต่ำเหมือน SW ไหม (ถ้าให้เดาน่าจะมี) แต่ในเมืองไทยมีหลายสายการบินพยายามทำให้ตัวเองเป็นสายการบินต้นทุนต่ำแต่ก็ยังไม่เห็นรายไหน บอกว่าตนเป็น cost leadership
สติมา ปัญญาเกิด
- sisacorn
- Verified User
- โพสต์: 143
- ผู้ติดตาม: 0
ว่าด้วยเรื่อง Five Force Model
โพสต์ที่ 75
http://www.southwest.com/investor_relations/swaar06.pdf
ภาษาอังกฤษ ผมไม่ค่อยแข็งแรงแต่คงต้องไปดูหน่อยแล้วครับ
ผู้บริหารสุดยอดจริง ๆครับ ไม่รู้คิดได้ไง
ทำสายการบินต้นทุนต่ำโดยวางโมเดลทุกอย่างให้สอดคล้อง
กับกลยุทธ์ที่วางเอาไว้
ภาษาอังกฤษ ผมไม่ค่อยแข็งแรงแต่คงต้องไปดูหน่อยแล้วครับ
ผู้บริหารสุดยอดจริง ๆครับ ไม่รู้คิดได้ไง
ทำสายการบินต้นทุนต่ำโดยวางโมเดลทุกอย่างให้สอดคล้อง
กับกลยุทธ์ที่วางเอาไว้
- Mon money
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 3134
- ผู้ติดตาม: 0
ว่าด้วยเรื่อง Five Force Model
โพสต์ที่ 76
คู่แข่งหรือครับ มีแน่นอน และน่ากลัวเสียด้วย JET BLUE ไปหาดูเอาเอง
เห็นการวิเคราะห์แล้วครับ ผมว่าเราขาด คนร่วมกันคิดมากกว่านะครับ
ผมเริ่มก่อนก็ได้ ผมเห็นว่าการวิเคราะห์supplierหายไปอย่างหนึ่ง คือ พนักงาน และสำคัญมากในธุรกิจนี้ เพราะเครื่องบินบินเองไม่ได้ครับ
เห็นการวิเคราะห์แล้วครับ ผมว่าเราขาด คนร่วมกันคิดมากกว่านะครับ
ผมเริ่มก่อนก็ได้ ผมเห็นว่าการวิเคราะห์supplierหายไปอย่างหนึ่ง คือ พนักงาน และสำคัญมากในธุรกิจนี้ เพราะเครื่องบินบินเองไม่ได้ครับ
เป็นบุญหนักหนาเหลือเกินที่ได้เกิดมาเป็นคนไทย เป็นคนไทยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ
- sisacorn
- Verified User
- โพสต์: 143
- ผู้ติดตาม: 0
ว่าด้วยเรื่อง Five Force Model
โพสต์ที่ 77
- sisacorn
- Verified User
- โพสต์: 143
- ผู้ติดตาม: 0
ว่าด้วยเรื่อง Five Force Model
โพสต์ที่ 78
5 forces
The Threat of Entry
sw มีกลยุทธ์การแข่งขันที่ยากแก่การเข้ามาของรายใหม่ ด้วยวิธี
ค่าโดยสารต่ำ บินจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งโดยตรง(no hub and spoke)
ใช้ตั๋วพลาสติกที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ไม่มีการกำหนดที่นั่ง ฯลฯ ถึงแม้น
จะมีคนพยายามเลียนแบบก็ยากมากที่จะสู้กับ sw ได้ และการที่เริ่มมาก่อนใน
ธุรกิจสารการบินต้นทุนต่ำ จึงทำให้มีความได้เปรียบในสนามบินรอง ดั่งคำของพี่ sattaya ที่กล่าวไว้ว่า
SW ประสบความสำเร็จแล้วก็จะจอง grate ของสนามบินรองไว้เกือบหมด
เหมือนกับเค้าไปยึดหัวหาดไว้แล้ว ทำให้ถึงเข้ามาได้ก็เข้ามายากและเข้ามาแล้ว
คงต้องไปเน้นพื้นที่ ที่ sw ยังคงมีบริการน้อย หรือไม่มีเลย
(แต่ jetblue น่ากลัวจริง ๆ ครับ )
Competitive Rivalry
อันนี้ก็ต้องยกกลยุทธ์สุดยอดของ sw มาใช้อีกครับ บินจากจุดสู่จุด ระยะทางสั้น ค่าโดยสารถูก
ฯลฯ ทำให้ sw แตกต่างกับสายการบินอื่น เป็น market niches
The Threat of Substitutes
เนื่องจากเป็นสายการบินที่เน้นระยะทางสั้นสิ่งทดแทนได้ก็คือรถยนต์ แต่ sw ได้สร้าง
เงื่อนไขต่าง ๆ เพื่อให้กลุ่มลูกค้าที่ต้องการความรวดเร็ว ประหยัดเวลา ได้เลือกใช้บริการ
ของ sw
The Power of Suppliers
ขนม เครื่องดื่ม น่าจะมีเครื่องดึงไม่มาก ส่วนอะไหล่ หรือเครื่องบิน sw เน้นที่มี เครื่องบินแบบ
เดียวคือ 737 คงทำให้อำนาจแรงดึงน้อยกว่าการใช้เครื่องบินหลายแบบ ส่วนน้ำมัน ที่เป็นค่าใช้จ่าย
ที่มีนัยสำคัญต่อ sw เพราะการที่มีเส้นทางวิ่งที่สั้น และถี่ ทำให้ราคาน้ำมันมีผลกระทบอย่างมาก
แต่ sw ได้ลดแรงดึงโดยการ hedge น้ำมัน ทำให้ลดผลกระทบของการขึ้นราคาน้ำมันไปได้มาก
พนักงาน ของ sw ไม่ได้มีสมาคม ทำให้อำนาจการต่อรองน่าจะน้อยกว่าการที่อยู่ในสมาคม และ
การเน้น ประสิทธิภาพสูงควบคู่กับอัตราตอบแทนที่สูง น่าจะทำให้พนักงานมีความพอใจและทำงาน
อย่างเต็มความสามารถ
The Power of Buyers
ข้อนี้สูงมาก เนื่องจากกลยุทธ์ที่เน้นค่าโดยสารถูก ทำให้การเปลี่ยนไปสู่สิ่งที่ดีกว่าถูกกว่า
ทำได้ง่าย กลุ่มลูกค้า มี loyalty ไม่สูง กลุ่มลูกค้า sw เป็นคนกลุ่มใหญ่ด้วยยิ่ง
เป็นแรงกดดัน แม้นบริษัทจะเสนอค่าโดยสารถูก ทำให้ลูกค้าพอใจกับบริการที่ดี กำจัด
อำนาจต่อรอง และการ switching ด้วยการสร้างภาพลักษณ์ สร้างแบรนด์
แต่แรงดึงของข้อนี้ก็ยังมากอยู่ดี
The Threat of Entry
sw มีกลยุทธ์การแข่งขันที่ยากแก่การเข้ามาของรายใหม่ ด้วยวิธี
ค่าโดยสารต่ำ บินจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งโดยตรง(no hub and spoke)
ใช้ตั๋วพลาสติกที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ไม่มีการกำหนดที่นั่ง ฯลฯ ถึงแม้น
จะมีคนพยายามเลียนแบบก็ยากมากที่จะสู้กับ sw ได้ และการที่เริ่มมาก่อนใน
ธุรกิจสารการบินต้นทุนต่ำ จึงทำให้มีความได้เปรียบในสนามบินรอง ดั่งคำของพี่ sattaya ที่กล่าวไว้ว่า
SW ประสบความสำเร็จแล้วก็จะจอง grate ของสนามบินรองไว้เกือบหมด
เหมือนกับเค้าไปยึดหัวหาดไว้แล้ว ทำให้ถึงเข้ามาได้ก็เข้ามายากและเข้ามาแล้ว
คงต้องไปเน้นพื้นที่ ที่ sw ยังคงมีบริการน้อย หรือไม่มีเลย
(แต่ jetblue น่ากลัวจริง ๆ ครับ )
Competitive Rivalry
อันนี้ก็ต้องยกกลยุทธ์สุดยอดของ sw มาใช้อีกครับ บินจากจุดสู่จุด ระยะทางสั้น ค่าโดยสารถูก
ฯลฯ ทำให้ sw แตกต่างกับสายการบินอื่น เป็น market niches
The Threat of Substitutes
เนื่องจากเป็นสายการบินที่เน้นระยะทางสั้นสิ่งทดแทนได้ก็คือรถยนต์ แต่ sw ได้สร้าง
เงื่อนไขต่าง ๆ เพื่อให้กลุ่มลูกค้าที่ต้องการความรวดเร็ว ประหยัดเวลา ได้เลือกใช้บริการ
ของ sw
The Power of Suppliers
ขนม เครื่องดื่ม น่าจะมีเครื่องดึงไม่มาก ส่วนอะไหล่ หรือเครื่องบิน sw เน้นที่มี เครื่องบินแบบ
เดียวคือ 737 คงทำให้อำนาจแรงดึงน้อยกว่าการใช้เครื่องบินหลายแบบ ส่วนน้ำมัน ที่เป็นค่าใช้จ่าย
ที่มีนัยสำคัญต่อ sw เพราะการที่มีเส้นทางวิ่งที่สั้น และถี่ ทำให้ราคาน้ำมันมีผลกระทบอย่างมาก
แต่ sw ได้ลดแรงดึงโดยการ hedge น้ำมัน ทำให้ลดผลกระทบของการขึ้นราคาน้ำมันไปได้มาก
พนักงาน ของ sw ไม่ได้มีสมาคม ทำให้อำนาจการต่อรองน่าจะน้อยกว่าการที่อยู่ในสมาคม และ
การเน้น ประสิทธิภาพสูงควบคู่กับอัตราตอบแทนที่สูง น่าจะทำให้พนักงานมีความพอใจและทำงาน
อย่างเต็มความสามารถ
The Power of Buyers
ข้อนี้สูงมาก เนื่องจากกลยุทธ์ที่เน้นค่าโดยสารถูก ทำให้การเปลี่ยนไปสู่สิ่งที่ดีกว่าถูกกว่า
ทำได้ง่าย กลุ่มลูกค้า มี loyalty ไม่สูง กลุ่มลูกค้า sw เป็นคนกลุ่มใหญ่ด้วยยิ่ง
เป็นแรงกดดัน แม้นบริษัทจะเสนอค่าโดยสารถูก ทำให้ลูกค้าพอใจกับบริการที่ดี กำจัด
อำนาจต่อรอง และการ switching ด้วยการสร้างภาพลักษณ์ สร้างแบรนด์
แต่แรงดึงของข้อนี้ก็ยังมากอยู่ดี
- NinjaTurtle
- Verified User
- โพสต์: 506
- ผู้ติดตาม: 0
ว่าด้วยเรื่อง Five Force Model
โพสต์ที่ 79
เม้าส์ไมค่อยด...เออที่จริงมันตายไปแล้้ว ใครเคยใช้คอมแบบไม่ม่เม้าส์คงรู้ว่าลำบากมากๆๆๆี
เพื่อนๆครับ Power of Supplier ตัวแปรหนึ่งที่สำคัญของธุรกิจการบิน คือเรื่องของพนักงานครับ Cost of labor ก็นับเป็น Supplier ได้ด้วยนะครับ
ต้นทุนเรื่องนี้ของสายการบินจะสูงมากที่คนที่สำคัญที่สุดบนเครื่อง "นักบิน" เป็น Supplier of Labor ที่มีพลังกดดันมากนะครับ ไม่ใช่ว่าจะหามาแทนได้ง่ายๆ จ้างถูกเข้าว่าก็ไม่ได้เสียด้วยครับ
แล้ว SW ทำยังไงกับพลังด้านนี้ ช่วยไปหามาหน่อย ไม่งันวันพร่งนี้เย็นมาบอก
ไม่ไหวแล้ว
เพื่อนๆครับ Power of Supplier ตัวแปรหนึ่งที่สำคัญของธุรกิจการบิน คือเรื่องของพนักงานครับ Cost of labor ก็นับเป็น Supplier ได้ด้วยนะครับ
ต้นทุนเรื่องนี้ของสายการบินจะสูงมากที่คนที่สำคัญที่สุดบนเครื่อง "นักบิน" เป็น Supplier of Labor ที่มีพลังกดดันมากนะครับ ไม่ใช่ว่าจะหามาแทนได้ง่ายๆ จ้างถูกเข้าว่าก็ไม่ได้เสียด้วยครับ
แล้ว SW ทำยังไงกับพลังด้านนี้ ช่วยไปหามาหน่อย ไม่งันวันพร่งนี้เย็นมาบอก
ไม่ไหวแล้ว
Why not invest your assets in the companies you really like? As Mae West said, "Too much of a good thing can be wonderful."
-
- Verified User
- โพสต์: 1372
- ผู้ติดตาม: 0
ว่าด้วยเรื่อง Five Force Model
โพสต์ที่ 80
ขอบคุณครับMon money เขียน:คู่แข่งหรือครับ มีแน่นอน และน่ากลัวเสียด้วย JET BLUE ไปหาดูเอาเอง
เห็นการวิเคราะห์แล้วครับ ผมว่าเราขาด คนร่วมกันคิดมากกว่านะครับ
ผมเริ่มก่อนก็ได้ ผมเห็นว่าการวิเคราะห์supplierหายไปอย่างหนึ่ง คือ พนักงาน และสำคัญมากในธุรกิจนี้ เพราะเครื่องบินบินเองไม่ได้ครับ
ผมลืมนึกถึงเรื่องพนักงานเสียสนิทเลยครับ
สติมา ปัญญาเกิด
-
- Verified User
- โพสต์: 2712
- ผู้ติดตาม: 0
ว่าด้วยเรื่อง Five Force Model
โพสต์ที่ 83
ขออนุญาติตอบแทนพี่มนนะครับ
พอเราประเมินแรงทั้ง 5 แล้ว
เราก็ประเมินตัวเราเอง ว่าเราควรไปอยู่ที่จุดไหน ของอุตสาหกรรมนั้นๆ
การที่อุตสาหกรรม มี barrier to entry สูง
หากเราสามารถฝ่าเข้าไปได้ อยู่ได้ ... ผมว่า เราก็อยู่ยาว
เพราะคู่แข่งเข้ามายาก .... force of new entrant ก็ลดลง ถ้าเราอยู่ในอุตสาหกรรมเหล่านั้น
อุตสาหกรรมที่ดูแล้วไม่ดี ... ต้องดูว่า ในใจเรา คิดนิยามคำว่าไม่ดีอย่างไรครับ แล้วค่อยมาดูรายละเอียดเหล่านั้น
ผมคิดว่า ทุกเงื่อนไข มีทางแก้ แต่ว่า มันคุ้มกับการแก้อันนั้นไหม
เช่น กรณ๊ ด้านบนที่ผมบอก barrier to entry ของอุตสาหกรรม ... สมมติการบินล่ะกันครับ
จะเข้ามาเป็นผู้เล่นได้ต้องมี
- ทุน ทั้งค่าเครื่องบิน ค่าสนามบิน ค่า o.o ....(ไม่ใช่เรื่องลามกนะครับ น่าจะนึกออก)
- ทรัพยากร เช่น นักบิน(นักบินเป็น supplier ของเรา)
ซึ่ง รร.การบินมีไม่กี่ที่ นักบินที่จะเรียน ถ้าไม่มีเงิน ก็ต้องมีทุน แล้วจะเป็นนักบิน มันมีแบบทดสอบเยอะ
ดังนั้น พอนักบินเรียนจบมา(กรณ๊นักเรียนไม่มีทุน)นักบินก็มีอำนาจการต่อรองเราได้เยอะ กว่าอาชีพอื่นๆหลายอาชีพ นักบินมี force of supplier ที่สูงเหมือนกันต่อบริษัทการบิน
แล้วเรามีเงิน มีทุน มีทรัพยากรแบบนั้นไหม ถ้าไม่มีเราทำอย่างไร ถ้ามี เราเข้ามาได้ไหม
ถ้าเข้ามาได้ สิ่งที่เสียไปนั้น นานไหมกว่าจะได้ทุนคืน
อนาคตของอุตสาหกรรมเป็นอย่างไร
ประมาณนี้น่ะครับ
ใครสนใจลองอ่านตั้งแต่หน้าแรกๆนะครับ ท่านผู้รู้มีหลายท่านครับ
พอเราประเมินแรงทั้ง 5 แล้ว
เราก็ประเมินตัวเราเอง ว่าเราควรไปอยู่ที่จุดไหน ของอุตสาหกรรมนั้นๆ
การที่อุตสาหกรรม มี barrier to entry สูง
หากเราสามารถฝ่าเข้าไปได้ อยู่ได้ ... ผมว่า เราก็อยู่ยาว
เพราะคู่แข่งเข้ามายาก .... force of new entrant ก็ลดลง ถ้าเราอยู่ในอุตสาหกรรมเหล่านั้น
อุตสาหกรรมที่ดูแล้วไม่ดี ... ต้องดูว่า ในใจเรา คิดนิยามคำว่าไม่ดีอย่างไรครับ แล้วค่อยมาดูรายละเอียดเหล่านั้น
ผมคิดว่า ทุกเงื่อนไข มีทางแก้ แต่ว่า มันคุ้มกับการแก้อันนั้นไหม
เช่น กรณ๊ ด้านบนที่ผมบอก barrier to entry ของอุตสาหกรรม ... สมมติการบินล่ะกันครับ
จะเข้ามาเป็นผู้เล่นได้ต้องมี
- ทุน ทั้งค่าเครื่องบิน ค่าสนามบิน ค่า o.o ....(ไม่ใช่เรื่องลามกนะครับ น่าจะนึกออก)
- ทรัพยากร เช่น นักบิน(นักบินเป็น supplier ของเรา)
ซึ่ง รร.การบินมีไม่กี่ที่ นักบินที่จะเรียน ถ้าไม่มีเงิน ก็ต้องมีทุน แล้วจะเป็นนักบิน มันมีแบบทดสอบเยอะ
ดังนั้น พอนักบินเรียนจบมา(กรณ๊นักเรียนไม่มีทุน)นักบินก็มีอำนาจการต่อรองเราได้เยอะ กว่าอาชีพอื่นๆหลายอาชีพ นักบินมี force of supplier ที่สูงเหมือนกันต่อบริษัทการบิน
แล้วเรามีเงิน มีทุน มีทรัพยากรแบบนั้นไหม ถ้าไม่มีเราทำอย่างไร ถ้ามี เราเข้ามาได้ไหม
ถ้าเข้ามาได้ สิ่งที่เสียไปนั้น นานไหมกว่าจะได้ทุนคืน
อนาคตของอุตสาหกรรมเป็นอย่างไร
ประมาณนี้น่ะครับ
ใครสนใจลองอ่านตั้งแต่หน้าแรกๆนะครับ ท่านผู้รู้มีหลายท่านครับ
อย่าลืมให้เวลากับครอบครัว และสังคมรอบๆข้างของคุณนะครับ
มีสติ และมีความสุขกับการลงทุนนะครับผม
นักลงทุนที่เก่งที่สุดมิใช่คนที่ซื้อขายไวที่สุด
แต่คือคนที่นำสติกลับมาได้เร็วที่สุด
หลายครั้งส่งคำสั่งซื้อทางไปรษณีย์ได้ผลตอบแทนมากกว่าซื้อผ่านnetหากเราขาดสติ
มีสติ และมีความสุขกับการลงทุนนะครับผม
นักลงทุนที่เก่งที่สุดมิใช่คนที่ซื้อขายไวที่สุด
แต่คือคนที่นำสติกลับมาได้เร็วที่สุด
หลายครั้งส่งคำสั่งซื้อทางไปรษณีย์ได้ผลตอบแทนมากกว่าซื้อผ่านnetหากเราขาดสติ
-
- Verified User
- โพสต์: 27
- ผู้ติดตาม: 0
ว่าด้วยเรื่อง Five Force Model
โพสต์ที่ 84
ขอกลับมาเรื่อง SNC ที่ อ.มนตรี ได้ยกตัวอย่างมานึดนึงนะครับ
เมื่อต้นเดือนผมไป Audit Vender ที่ขาย Parts ให้ Fujitsu และ SNC ที่แหลมฉบัง มีการสอบถามในเรื่องราคาในการขาย Parts และปริมาณ ที่ขายให้ทั้งสองบริษัท
พบว่า
1. ขาย Parts ในราคาที่เท่ากัน ไม่ได้มีส่วนลดให้ และ Parts บางส่วนที่ส่งให้ SNC นั้น ทางFujitsu ก็ยังมีการซื้อเองบ้าง แสดงให้เห็นว่า ทาง SNC มีต้นทุนในการซื้อ Parts เท่ากันกับ Fujitsuและทาง Fujitsu ก็ไม่ได้วางใจให้ SNCผลิตทั้งLine แต่อย่างใด
2. ทางFujitsu ลดพนักงาน subcontract ของตนเองใน Line การผลิตส่วนนึง คาดว่าในส่วนการผลิตที่ลดพนักงานไป คงนำส่วนนั้นให้ทาง SNC รับไปผลิต โดยทาง SNC ก็ต้องจัดหาพนักงานมาทำการผลิตในส่วนนั้น ทาง Fujitsu ก็จะลดภาระเรื่องค่าใช้จ่ายพนักงานไป
3. ในกรณีที่ทาง SNC ผลิตแล้วไม่สามารถผ่านการตรวจสอบด้าน QC จาก Fujitsu แล้วต้องทำการแก้ไขนั้น ก็คงต้องสั่งซื้อ Parts ใหม่เอง
คำถามที่น่าจะมีต่อไปคือ จากการที่ SNC รับจ้าง Fujitsu ในการผลิตนั้น มีต้นทุนที่น่าจะใกล้เคียงกับ Fujitsu ผลิตเอง ฉะนั้นแล้วจะได้ส่วนกำไรคงไม่น่าจะมากนัก มันจะคุ้มกับการรับงานลักษณะนี้หรือไม่ แล้วถ้าไม่สามารถขยาย Order จากลูกค้าได้ตามเป้าหมาย หรือ ลูกค้าลด Order ลง ต้นทุนด้านพนักงานที่มีอยู่จะทำอย่างไร
ไม่มีหุ้นนะครับ แต่กำลังมองตัวนี้อยู่เหมือนกัน ถ้าผู้บริหารสามารถที่จะป้องกันไม่ให้มีปัญหาและขยาย Order ได้จริง
เมื่อต้นเดือนผมไป Audit Vender ที่ขาย Parts ให้ Fujitsu และ SNC ที่แหลมฉบัง มีการสอบถามในเรื่องราคาในการขาย Parts และปริมาณ ที่ขายให้ทั้งสองบริษัท
พบว่า
1. ขาย Parts ในราคาที่เท่ากัน ไม่ได้มีส่วนลดให้ และ Parts บางส่วนที่ส่งให้ SNC นั้น ทางFujitsu ก็ยังมีการซื้อเองบ้าง แสดงให้เห็นว่า ทาง SNC มีต้นทุนในการซื้อ Parts เท่ากันกับ Fujitsuและทาง Fujitsu ก็ไม่ได้วางใจให้ SNCผลิตทั้งLine แต่อย่างใด
2. ทางFujitsu ลดพนักงาน subcontract ของตนเองใน Line การผลิตส่วนนึง คาดว่าในส่วนการผลิตที่ลดพนักงานไป คงนำส่วนนั้นให้ทาง SNC รับไปผลิต โดยทาง SNC ก็ต้องจัดหาพนักงานมาทำการผลิตในส่วนนั้น ทาง Fujitsu ก็จะลดภาระเรื่องค่าใช้จ่ายพนักงานไป
3. ในกรณีที่ทาง SNC ผลิตแล้วไม่สามารถผ่านการตรวจสอบด้าน QC จาก Fujitsu แล้วต้องทำการแก้ไขนั้น ก็คงต้องสั่งซื้อ Parts ใหม่เอง
คำถามที่น่าจะมีต่อไปคือ จากการที่ SNC รับจ้าง Fujitsu ในการผลิตนั้น มีต้นทุนที่น่าจะใกล้เคียงกับ Fujitsu ผลิตเอง ฉะนั้นแล้วจะได้ส่วนกำไรคงไม่น่าจะมากนัก มันจะคุ้มกับการรับงานลักษณะนี้หรือไม่ แล้วถ้าไม่สามารถขยาย Order จากลูกค้าได้ตามเป้าหมาย หรือ ลูกค้าลด Order ลง ต้นทุนด้านพนักงานที่มีอยู่จะทำอย่างไร
ไม่มีหุ้นนะครับ แต่กำลังมองตัวนี้อยู่เหมือนกัน ถ้าผู้บริหารสามารถที่จะป้องกันไม่ให้มีปัญหาและขยาย Order ได้จริง
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1588
- ผู้ติดตาม: 0
ว่าด้วยเรื่อง Five Force Model
โพสต์ที่ 86
ขอบคุณมากครับเป็นประโยชน์มากๆ
คนรู้ไม่พูด คนพูดไม่รู้
- thaloengsak
- Verified User
- โพสต์: 2716
- ผู้ติดตาม: 0
ว่าด้วยเรื่อง Five Force Model
โพสต์ที่ 87
ขอบคุณมากครับ
ลงทุนเพื่อชีวิต