ดร.โกร่งเตือนสัญญาณอันตราย !!!!
- LOSO
- Verified User
- โพสต์: 2512
- ผู้ติดตาม: 0
ดร.โกร่งเตือนสัญญาณอันตราย !!!!
โพสต์ที่ 1
ดร.โกร่งเตือนสัญญาณอันตราย เงินเฟ้อสูง ดบ.ขึ้น ศก.ชะลอตัว บาทตก
'ดร.โกร่ง'เตือนธุรกิจรับมือ 'สัญญาณอันตราย'ที่กำลังจะมาเยือนอีกรอบแบบงูกินหาง ทั้งน้ำมันแพง ค่าเงินบาทอ่อน เงินเฟ้อสูง ขึ้นดอกเบี้ย ศก.ชะลอตัว เงินไหลออก
ขณะนี้ค่อนข้างชัดเจนแล้วว่า ราคาน้ำมันคงจะอยู่แถวๆ 120-150 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ยิ่งน้ำมันขึ้นราคา ค่าเงินดอลลาร์ก็ยิ่งอ่อน ค่าเงินดอลลาร์อ่อน น้ำมันก็ยิ่งขึ้นราคา
การที่ธนาคารกลางสหรัฐลด ดอกเบี้ยลงมาอย่างฮวบฮาบหลายครั้งหลายหนเพื่อประคับประคองภาวะเศรษฐกิจชะลอ ตัว เริ่มจากภาคอสังหาริมทรัพย์ ไปที่ตลาดหุ้น ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนตัวลงมาตามลำดับ ค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนตัวลงทำให้คนหนีจากเงินดอลลาร์ไปหาเงินสกุลหลักอื่นๆ เช่น เงินยูโร เงินเยน ทองคำ น้ำมัน เหล็ก แร่ธาตุอื่นๆ ขึ้นราคาไปกันใหญ่
เมื่อ คนวิ่งหนีจากดอลลาร์ ค่าเงินดอลลาร์ก็อ่อน ราคาโภคภัณฑ์ต่างๆ ก็แพงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำมัน ธรรมดาน้ำมันก็จะต้องแพงอยู่แล้ว เพราะจีน อินเดีย ร่ำรวยขึ้นมา ก็มีการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นเป็นธรรมดา
น้ำมันแพง สินแร่ต่างๆ วัตถุดิบต่างๆ แพงขึ้น ก็ทำให้ต้นทุนการผลิตแพงขึ้น ภาวะเงินเฟ้อก็เกิดขึ้นทั่วโลก ประเทศที่ฐานะทางการเงิน โครงสร้างพื้นฐาน ถนนหนทาง ไฟฟ้าประปาไม่ดี อย่างเวียดนามก็ไปก่อน เงินเฟ้อถีบตัวขึ้นไปถึง 25 เปอร์เซ็นต์ต่อปี บ้านเรา ท่านผู้ว่าการ ธปท.ออกมาบอกว่า เงินเฟ้อเราบางเดือนเกิน 10 เปอร์เซ็นต์ แต่ถ้าเอาทั้งปีมาถัวเฉลี่ยคงไม่ถึง 10 เปอร์เซ็นต์ แต่ถ้าคิดเฉพาะครึ่งหลังของปี ก็คงเฉียดๆ เลขสองตัว
ภาวะ เงินเฟ้อ ต้นทุนการผลิตแพงขึ้น คำสั่งซื้อลดลง บริษัทห้างร้านต่างๆ ผลประกอบการก็คงจะแย่ลง หลายแห่งต้องปิดกิจการ หลายแห่งต้องรัดเข็มขัด การลงทุนต้องถดถอยลง แม้ว่ารัฐบาลจะพยายามตั้งงบประมาณขาดดุลอัดฉีดเงิน การเร่งรัดการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ก็คงจะเอาไว้ไม่อยู่ ภาวะการจ้างงานก็คงจะลดลง คนตกงานจะมากขึ้น แรงงานต้องถอยกลับไปอยู่ภาคเกษตรในชนบทมากขึ้น แรงงานต่างชาติที่เข้ามาอยู่ในเมืองไทยมีหวังแย่ จะกลับบ้านก็ไม่ได้เพราะที่บ้านไม่มีอะไรทำ อาชญากรรมก็คงเพิ่มขึ้น
ต้น ปีโชคดีที่ฝนฟ้าไม่ดีทั่วโลก ราคาสินค้าเกษตรโดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารราคาพุ่งสูงขึ้น ก็พอพยุงราคาให้เศรษฐกิจบ้านเราพอไปได้ แต่ปีที่ฝนฟ้าดีทั่วโลก น้ำมาก ราคาสินค้าเกษตรประเภทอาหารคงจะร่วง น้ำมันแพง การท่องเที่ยวตก ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดของเราก็คงเปลี่ยนจากเกินดุลมาเป็นการขาดดุล และคงจะขาดดุลมากขึ้นเป็นของธรรมดา
ที่โดนก่อนก็อสังหาริมทรัพย์ การก่อสร้าง ตามมาด้วยอุตสาหกรรมที่ผลิตวัสดุก่อสร้าง ถ้วยโถโอชามของใช้ในบ้าน เครื่องไฟฟ้า เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ รถยนต์ขนาดใหญ่ ถ้าอุตสาหกรรมรถยนต์ปรับตัวเร็วมาเป็นรถเล็ก และรถประหยัดน้ำมัน อย่างที่เรียกว่าอีโคคาร์ ก็อาจจะรอดตัวไป ต่อมาก็คงจะลามมาสถาบันการเงิน หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ก็คงจะตามมา เสถียรภาพของสถาบันการเงินก็จะเป็นปัญหาต่อไป
เงินเฟ้อทำให้ความต้องการ สินเชื่อเพิ่มขึ้น ถ้าเงินเฟ้อพุ่งขึ้นถึงตัวเลข 2 ตัว เช่น 10 เปอร์เซ็นต์ แม้เศรษฐกิจชะลอตัว รายได้ประชาชาติหรือผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติเพิ่มแค่ 4 เปอร์เซ็นต์ รายได้ประชาชาติที่เป็นตัวเงินหรือรายได้ประชาชาติที่คิดในราคาปัจจุบัน ก็เพิ่มขึ้นถึง 14 เปอร์เซ็นต์เข้าไปแล้ว ความต้องการสินเชื่อและเงินทุนก็คงเพิ่มขึ้นกว่า 14 เปอร์เซ็นต์ เพื่อใช้เป็นทุนหมุนเวียน เพราะปริมาณการค้าขายหรือผลิตของ จำนวนแม้จะลดลงก็ต้องการเงินทุนหมุนเวียนมากขึ้น ถ้าความเร็วของการหมุนเวียนของเงินเท่าเดิม เมื่อความต้องการสินเชื่อเพิ่มขึ้น ตามรายได้ประชาชาติที่คิดตามราคาปัจจุบัน แต่เงินออมลดลงเพราะรายจ่ายครัวเรือนเพิ่มขึ้น เพราะของแพงมากขึ้น เงินออมก็ต้องลด รายได้น้อยลงเพราะคนตกงานมากขึ้น บริษัทห้างร้านกำไรน้อยลง
การจับ จ่ายใช้สอยขึ้นอยู่กับรายได้ที่แท้จริง คือ การเพิ่มขึ้นของรายได้หักด้วยเงินเฟ้อ เงินออม คือรายได้ส่วนที่เหลือจากรายจ่าย จึงไม่ขึ้นอยู่กับดอกเบี้ยเงินออมเท่าไหร่นัก อัตราเงินเฟ้อขนาดนี้ คนก็ยิ่งรีบซื้อของ กลัวของราคาแพงขึ้นไปอีกถ้ารอ เงินออมก็ยิ่งน้อยลงใหญ่
เมื่อ ความต้องการเงินเพิ่มขึ้นแต่เงินออมลดลง อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ก็จะยิ่งถีบตัวสูงขึ้น ภาวะเงินตึงตัวก็จะเป็นแขกที่จะมาเยือนในราวกลางปีหน้า ยิ่งความเห็นของ ธปท.อยากให้ดอกเบี้ยขึ้น ไม่อยากให้ปริมาณเงินในท้องตลาดมีมาก เพราะกลัวคนใช้เงินมาก ทั้งๆ ที่ทุนสำรองมีอยู่มากพอสมควร ความเห็นอย่างนี้ สถานการณ์ก็จะเลวร้ายเร็วขึ้น ถ้าไม่เอาดอกเบี้ยนโยบายดึงเอาไว้บ้าง กล่าวคือเพิ่มปริมาณเงินในระบบให้มากขึ้น ลดดอกเบี้ยนโยบายลงตามดอกเบี้ยดอลลาร์ ดอกเบี้ยขึ้นก็ยิ่งเพิ่มต้นทุนของผู้ผลิต เงินก็ยิ่งเฟ้อมากขึ้น เศรษฐกิจก็จะยิ่งชะลอตัวเร็วขึ้นเมื่อเงินเฟ้อมากขึ้น น้ำมันและวัสดุสิ่งของที่นำเข้าขึ้นราคา มูลค่าการนำเข้าก็จะถีบตัวสูงขึ้น
ส่วนการส่งออกคงไปได้ไม่เท่าไหร่ เพราะของส่งออกราคาจะแพงขึ้น ดุลการค้า ดุลบัญชีเดินสะพัดเลวลง ขาดดุลมากขึ้น ประกอบกับนโยบายข้าวที่ขัดขาตัวเองก็ดี นโยบายแปลกๆ ที่จะให้บริษัทกลั่นน้ำมันทำตัวเป็นมูลนิธิ ลดราคาน้ำมันให้กับผู้ที่ใช้ รับความเดือดร้อนแทนที่จะใช้กองทุนน้ำมันหรือเงินของรัฐบาล ถ้าอยากทำการแทรกแซงธุรกิจ ความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลจะไม่อยู่ในร่องในรอย หุ้นบริษัทน้ำมันก็จะตก หุ้นบริษัทพลังงานก็จะตก แล้วก็จะดึงราคาหุ้นทั้งตลาดตก
เงินเฟ้อ ดอกเบี้ยขึ้น ภาวะตลาดเงินจะตึงตัว ในอนาคตดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล ความเชื่อมั่นในนโยบายเศรษฐกิจที่ไม่สมเหตุสมผล จะทำให้เงินทุนไหลออก เงินที่เคยไหลมาลงทุนในประเทศไทยก็จะไหลออกจากประเทศไทย เงินบาทก็จะตก
ใน ด้านต่างประเทศ การที่สถาบันการเงิน เช่น ธนาคาร กองทุนเก็งกำไร หรือวาณิชธนกิจ ในอเมริกาและยุโรปขาดทุนอย่างหนัก เพราะปัญหาสินเชื่อที่ด้อยคุณภาพหรือซับไพรม ทำให้ธนาคาร วาณิชธนกิจ กองทุนเก็งกำไร และอื่นๆ ของอเมริกาและยุโรปต้องขายสินทรัพย์ของตนที่มาลงทุนในต่างประเทศ เพื่อนำเงินดอลลาร์เอาไปอุดการขาดทุนในกิจการของตัวเอง ที่บริษัทอเมริกันขายสินทรัพย์ของตนมากที่สุดคือจีนและอินเดีย ทำให้หุ้นในตลาดหุ้นของจีนและอินเดียร่วงลงมาอย่างรวดเร็ว ประกอบกับ ดร. เบน เบอร์นันเก้ ประกาศว่าไม่ลดดอกเบี้ยอีกแล้ว ค่าเงินดอลลาร์ในเอเชียจึงถีบตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับค่าเงินบาท ที่ปัจจัยเศรษฐกิจมีแนวโน้มในทางลบเกือบทุกอย่าง ค่าเงินบาทจึงร่วงลงอย่างรวดเร็ว เร็วกว่าเงินสกุลอื่นๆ ในภูมิภาค ทาง ธปท.ก็ไม่กล้าพูดว่า ค่าเงินบาทลดลงไปในทิศทางเดียวกับภูมิภาค เพราะของเราลดลงเร็วกว่าทั้งๆ ที่ ธปท.ใช้เงินทุนสำรองเข้าแทรกแซงค่าเงินบาทไว้อย่างเต็มที่แล้ว คาดว่าปลายปีนี้ ค่าเงินบาทคงเลย 35 บาทต่อดอลลาร์ ปีหน้าคงได้เห็นค่าเงิน 38-40 บาทต่อดอลลาร์ เมื่อไหร่เงินบาทถึง 38-40 บาทต่อดอลลาร์ ผมก็จะเลิกเรียกร้องให้ลดดอกเบี้ยแล้ว อาจจะเรียกร้องให้ขึ้นดอกเบี้ยด้วยซ้ำ ไม่อย่างนั้นเงินจะตึงตัวเข้าไปอีก ต้องคอยคิดดูต่อไป
เงิน บาทอ่อนเพราะนโยบายนั้นดี การส่งออกดี การค้าขายคึกคัก แต่ถ้าค่าเงินบาทอ่อนเพราะสถานการณ์ส่งออกไม่ดี นำเข้ามากเพราะน้ำมันแพง ของนำเข้าแพง เศรษฐกิจชะลอตัว ความเชื่อมั่นในนโยบายเศรษฐกิจที่ไม่ดี การเมืองวุ่นวาย เป็นอาการที่ไม่ดี เป็นสัญญาณอันตรายที่กำลังจะมาถึง เงินบาทอ่อน เงินก็ยิ่งเฟ้อ เงินยิ่งเฟ้อ เศรษฐกิจก็ยิ่งชะลอตัว เศรษฐกิจยิ่งลด ความเชื่อมั่นก็ยิ่งลด ความเชื่อมั่นลด เงินยิ่งไหลออก เงินยิ่งไหลออก เงินบาทยิ่งตก เงินบาทยิ่งตก เงินเฟ้อก็ยิ่งมาก ฯลฯ เป็นงูกินหาง
บริษัทห้างร้านต่างๆ ควรระวังตัว อย่าประมาทหรือคาดการณ์สถานการณ์อะไรดีเกินไป ข้อสำคัญอย่าหลอกตัวเอง รัฐบาลและ ธปท.เขาจะทำอย่างไรก็ช่างเขา เขาไม่ได้มาร่วมขาดทุนเสียหายกับเรา ยกเว้นแต่เขาจะได้ภาษีน้อยลง เขาก็อาจขึ้นภาษีทำให้เราเดือดร้อนยิ่งขึ้นอีก
เราต้องช่วยตัวเอง ช่วยกันคนละไม้คนละมือ เพื่อเตรียมรับสถานการณ์ คงไม่เป็นไร เราเคยผ่านมาหลายหนแล้ว ตั้งแต่ปี 2522-29 ปี 2539-46 มาเที่ยวนี้ 2550 ถึงปีไหนก็ไม่รู้ เหตุการณ์เช่นว่ากำลังมาและจะหนักขึ้นเรื่อยๆ
ผมอยากให้ตัวเองหน้าแตกจริงๆ
http://www.matichon.co.th/prachachat/ne ... 82&catid=1
'ดร.โกร่ง'เตือนธุรกิจรับมือ 'สัญญาณอันตราย'ที่กำลังจะมาเยือนอีกรอบแบบงูกินหาง ทั้งน้ำมันแพง ค่าเงินบาทอ่อน เงินเฟ้อสูง ขึ้นดอกเบี้ย ศก.ชะลอตัว เงินไหลออก
ขณะนี้ค่อนข้างชัดเจนแล้วว่า ราคาน้ำมันคงจะอยู่แถวๆ 120-150 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ยิ่งน้ำมันขึ้นราคา ค่าเงินดอลลาร์ก็ยิ่งอ่อน ค่าเงินดอลลาร์อ่อน น้ำมันก็ยิ่งขึ้นราคา
การที่ธนาคารกลางสหรัฐลด ดอกเบี้ยลงมาอย่างฮวบฮาบหลายครั้งหลายหนเพื่อประคับประคองภาวะเศรษฐกิจชะลอ ตัว เริ่มจากภาคอสังหาริมทรัพย์ ไปที่ตลาดหุ้น ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนตัวลงมาตามลำดับ ค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนตัวลงทำให้คนหนีจากเงินดอลลาร์ไปหาเงินสกุลหลักอื่นๆ เช่น เงินยูโร เงินเยน ทองคำ น้ำมัน เหล็ก แร่ธาตุอื่นๆ ขึ้นราคาไปกันใหญ่
เมื่อ คนวิ่งหนีจากดอลลาร์ ค่าเงินดอลลาร์ก็อ่อน ราคาโภคภัณฑ์ต่างๆ ก็แพงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำมัน ธรรมดาน้ำมันก็จะต้องแพงอยู่แล้ว เพราะจีน อินเดีย ร่ำรวยขึ้นมา ก็มีการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นเป็นธรรมดา
น้ำมันแพง สินแร่ต่างๆ วัตถุดิบต่างๆ แพงขึ้น ก็ทำให้ต้นทุนการผลิตแพงขึ้น ภาวะเงินเฟ้อก็เกิดขึ้นทั่วโลก ประเทศที่ฐานะทางการเงิน โครงสร้างพื้นฐาน ถนนหนทาง ไฟฟ้าประปาไม่ดี อย่างเวียดนามก็ไปก่อน เงินเฟ้อถีบตัวขึ้นไปถึง 25 เปอร์เซ็นต์ต่อปี บ้านเรา ท่านผู้ว่าการ ธปท.ออกมาบอกว่า เงินเฟ้อเราบางเดือนเกิน 10 เปอร์เซ็นต์ แต่ถ้าเอาทั้งปีมาถัวเฉลี่ยคงไม่ถึง 10 เปอร์เซ็นต์ แต่ถ้าคิดเฉพาะครึ่งหลังของปี ก็คงเฉียดๆ เลขสองตัว
ภาวะ เงินเฟ้อ ต้นทุนการผลิตแพงขึ้น คำสั่งซื้อลดลง บริษัทห้างร้านต่างๆ ผลประกอบการก็คงจะแย่ลง หลายแห่งต้องปิดกิจการ หลายแห่งต้องรัดเข็มขัด การลงทุนต้องถดถอยลง แม้ว่ารัฐบาลจะพยายามตั้งงบประมาณขาดดุลอัดฉีดเงิน การเร่งรัดการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ก็คงจะเอาไว้ไม่อยู่ ภาวะการจ้างงานก็คงจะลดลง คนตกงานจะมากขึ้น แรงงานต้องถอยกลับไปอยู่ภาคเกษตรในชนบทมากขึ้น แรงงานต่างชาติที่เข้ามาอยู่ในเมืองไทยมีหวังแย่ จะกลับบ้านก็ไม่ได้เพราะที่บ้านไม่มีอะไรทำ อาชญากรรมก็คงเพิ่มขึ้น
ต้น ปีโชคดีที่ฝนฟ้าไม่ดีทั่วโลก ราคาสินค้าเกษตรโดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารราคาพุ่งสูงขึ้น ก็พอพยุงราคาให้เศรษฐกิจบ้านเราพอไปได้ แต่ปีที่ฝนฟ้าดีทั่วโลก น้ำมาก ราคาสินค้าเกษตรประเภทอาหารคงจะร่วง น้ำมันแพง การท่องเที่ยวตก ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดของเราก็คงเปลี่ยนจากเกินดุลมาเป็นการขาดดุล และคงจะขาดดุลมากขึ้นเป็นของธรรมดา
ที่โดนก่อนก็อสังหาริมทรัพย์ การก่อสร้าง ตามมาด้วยอุตสาหกรรมที่ผลิตวัสดุก่อสร้าง ถ้วยโถโอชามของใช้ในบ้าน เครื่องไฟฟ้า เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ รถยนต์ขนาดใหญ่ ถ้าอุตสาหกรรมรถยนต์ปรับตัวเร็วมาเป็นรถเล็ก และรถประหยัดน้ำมัน อย่างที่เรียกว่าอีโคคาร์ ก็อาจจะรอดตัวไป ต่อมาก็คงจะลามมาสถาบันการเงิน หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ก็คงจะตามมา เสถียรภาพของสถาบันการเงินก็จะเป็นปัญหาต่อไป
เงินเฟ้อทำให้ความต้องการ สินเชื่อเพิ่มขึ้น ถ้าเงินเฟ้อพุ่งขึ้นถึงตัวเลข 2 ตัว เช่น 10 เปอร์เซ็นต์ แม้เศรษฐกิจชะลอตัว รายได้ประชาชาติหรือผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติเพิ่มแค่ 4 เปอร์เซ็นต์ รายได้ประชาชาติที่เป็นตัวเงินหรือรายได้ประชาชาติที่คิดในราคาปัจจุบัน ก็เพิ่มขึ้นถึง 14 เปอร์เซ็นต์เข้าไปแล้ว ความต้องการสินเชื่อและเงินทุนก็คงเพิ่มขึ้นกว่า 14 เปอร์เซ็นต์ เพื่อใช้เป็นทุนหมุนเวียน เพราะปริมาณการค้าขายหรือผลิตของ จำนวนแม้จะลดลงก็ต้องการเงินทุนหมุนเวียนมากขึ้น ถ้าความเร็วของการหมุนเวียนของเงินเท่าเดิม เมื่อความต้องการสินเชื่อเพิ่มขึ้น ตามรายได้ประชาชาติที่คิดตามราคาปัจจุบัน แต่เงินออมลดลงเพราะรายจ่ายครัวเรือนเพิ่มขึ้น เพราะของแพงมากขึ้น เงินออมก็ต้องลด รายได้น้อยลงเพราะคนตกงานมากขึ้น บริษัทห้างร้านกำไรน้อยลง
การจับ จ่ายใช้สอยขึ้นอยู่กับรายได้ที่แท้จริง คือ การเพิ่มขึ้นของรายได้หักด้วยเงินเฟ้อ เงินออม คือรายได้ส่วนที่เหลือจากรายจ่าย จึงไม่ขึ้นอยู่กับดอกเบี้ยเงินออมเท่าไหร่นัก อัตราเงินเฟ้อขนาดนี้ คนก็ยิ่งรีบซื้อของ กลัวของราคาแพงขึ้นไปอีกถ้ารอ เงินออมก็ยิ่งน้อยลงใหญ่
เมื่อ ความต้องการเงินเพิ่มขึ้นแต่เงินออมลดลง อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ก็จะยิ่งถีบตัวสูงขึ้น ภาวะเงินตึงตัวก็จะเป็นแขกที่จะมาเยือนในราวกลางปีหน้า ยิ่งความเห็นของ ธปท.อยากให้ดอกเบี้ยขึ้น ไม่อยากให้ปริมาณเงินในท้องตลาดมีมาก เพราะกลัวคนใช้เงินมาก ทั้งๆ ที่ทุนสำรองมีอยู่มากพอสมควร ความเห็นอย่างนี้ สถานการณ์ก็จะเลวร้ายเร็วขึ้น ถ้าไม่เอาดอกเบี้ยนโยบายดึงเอาไว้บ้าง กล่าวคือเพิ่มปริมาณเงินในระบบให้มากขึ้น ลดดอกเบี้ยนโยบายลงตามดอกเบี้ยดอลลาร์ ดอกเบี้ยขึ้นก็ยิ่งเพิ่มต้นทุนของผู้ผลิต เงินก็ยิ่งเฟ้อมากขึ้น เศรษฐกิจก็จะยิ่งชะลอตัวเร็วขึ้นเมื่อเงินเฟ้อมากขึ้น น้ำมันและวัสดุสิ่งของที่นำเข้าขึ้นราคา มูลค่าการนำเข้าก็จะถีบตัวสูงขึ้น
ส่วนการส่งออกคงไปได้ไม่เท่าไหร่ เพราะของส่งออกราคาจะแพงขึ้น ดุลการค้า ดุลบัญชีเดินสะพัดเลวลง ขาดดุลมากขึ้น ประกอบกับนโยบายข้าวที่ขัดขาตัวเองก็ดี นโยบายแปลกๆ ที่จะให้บริษัทกลั่นน้ำมันทำตัวเป็นมูลนิธิ ลดราคาน้ำมันให้กับผู้ที่ใช้ รับความเดือดร้อนแทนที่จะใช้กองทุนน้ำมันหรือเงินของรัฐบาล ถ้าอยากทำการแทรกแซงธุรกิจ ความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลจะไม่อยู่ในร่องในรอย หุ้นบริษัทน้ำมันก็จะตก หุ้นบริษัทพลังงานก็จะตก แล้วก็จะดึงราคาหุ้นทั้งตลาดตก
เงินเฟ้อ ดอกเบี้ยขึ้น ภาวะตลาดเงินจะตึงตัว ในอนาคตดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล ความเชื่อมั่นในนโยบายเศรษฐกิจที่ไม่สมเหตุสมผล จะทำให้เงินทุนไหลออก เงินที่เคยไหลมาลงทุนในประเทศไทยก็จะไหลออกจากประเทศไทย เงินบาทก็จะตก
ใน ด้านต่างประเทศ การที่สถาบันการเงิน เช่น ธนาคาร กองทุนเก็งกำไร หรือวาณิชธนกิจ ในอเมริกาและยุโรปขาดทุนอย่างหนัก เพราะปัญหาสินเชื่อที่ด้อยคุณภาพหรือซับไพรม ทำให้ธนาคาร วาณิชธนกิจ กองทุนเก็งกำไร และอื่นๆ ของอเมริกาและยุโรปต้องขายสินทรัพย์ของตนที่มาลงทุนในต่างประเทศ เพื่อนำเงินดอลลาร์เอาไปอุดการขาดทุนในกิจการของตัวเอง ที่บริษัทอเมริกันขายสินทรัพย์ของตนมากที่สุดคือจีนและอินเดีย ทำให้หุ้นในตลาดหุ้นของจีนและอินเดียร่วงลงมาอย่างรวดเร็ว ประกอบกับ ดร. เบน เบอร์นันเก้ ประกาศว่าไม่ลดดอกเบี้ยอีกแล้ว ค่าเงินดอลลาร์ในเอเชียจึงถีบตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับค่าเงินบาท ที่ปัจจัยเศรษฐกิจมีแนวโน้มในทางลบเกือบทุกอย่าง ค่าเงินบาทจึงร่วงลงอย่างรวดเร็ว เร็วกว่าเงินสกุลอื่นๆ ในภูมิภาค ทาง ธปท.ก็ไม่กล้าพูดว่า ค่าเงินบาทลดลงไปในทิศทางเดียวกับภูมิภาค เพราะของเราลดลงเร็วกว่าทั้งๆ ที่ ธปท.ใช้เงินทุนสำรองเข้าแทรกแซงค่าเงินบาทไว้อย่างเต็มที่แล้ว คาดว่าปลายปีนี้ ค่าเงินบาทคงเลย 35 บาทต่อดอลลาร์ ปีหน้าคงได้เห็นค่าเงิน 38-40 บาทต่อดอลลาร์ เมื่อไหร่เงินบาทถึง 38-40 บาทต่อดอลลาร์ ผมก็จะเลิกเรียกร้องให้ลดดอกเบี้ยแล้ว อาจจะเรียกร้องให้ขึ้นดอกเบี้ยด้วยซ้ำ ไม่อย่างนั้นเงินจะตึงตัวเข้าไปอีก ต้องคอยคิดดูต่อไป
เงิน บาทอ่อนเพราะนโยบายนั้นดี การส่งออกดี การค้าขายคึกคัก แต่ถ้าค่าเงินบาทอ่อนเพราะสถานการณ์ส่งออกไม่ดี นำเข้ามากเพราะน้ำมันแพง ของนำเข้าแพง เศรษฐกิจชะลอตัว ความเชื่อมั่นในนโยบายเศรษฐกิจที่ไม่ดี การเมืองวุ่นวาย เป็นอาการที่ไม่ดี เป็นสัญญาณอันตรายที่กำลังจะมาถึง เงินบาทอ่อน เงินก็ยิ่งเฟ้อ เงินยิ่งเฟ้อ เศรษฐกิจก็ยิ่งชะลอตัว เศรษฐกิจยิ่งลด ความเชื่อมั่นก็ยิ่งลด ความเชื่อมั่นลด เงินยิ่งไหลออก เงินยิ่งไหลออก เงินบาทยิ่งตก เงินบาทยิ่งตก เงินเฟ้อก็ยิ่งมาก ฯลฯ เป็นงูกินหาง
บริษัทห้างร้านต่างๆ ควรระวังตัว อย่าประมาทหรือคาดการณ์สถานการณ์อะไรดีเกินไป ข้อสำคัญอย่าหลอกตัวเอง รัฐบาลและ ธปท.เขาจะทำอย่างไรก็ช่างเขา เขาไม่ได้มาร่วมขาดทุนเสียหายกับเรา ยกเว้นแต่เขาจะได้ภาษีน้อยลง เขาก็อาจขึ้นภาษีทำให้เราเดือดร้อนยิ่งขึ้นอีก
เราต้องช่วยตัวเอง ช่วยกันคนละไม้คนละมือ เพื่อเตรียมรับสถานการณ์ คงไม่เป็นไร เราเคยผ่านมาหลายหนแล้ว ตั้งแต่ปี 2522-29 ปี 2539-46 มาเที่ยวนี้ 2550 ถึงปีไหนก็ไม่รู้ เหตุการณ์เช่นว่ากำลังมาและจะหนักขึ้นเรื่อยๆ
ผมอยากให้ตัวเองหน้าแตกจริงๆ
http://www.matichon.co.th/prachachat/ne ... 82&catid=1
ความพยายามไม่มี ปัญญาไม่เกิด
-
- Verified User
- โพสต์: 590
- ผู้ติดตาม: 0
ดร.โกร่งเตือนสัญญาณอันตราย !!!!
โพสต์ที่ 4
FED กลังแบงก์ล้มจาก subprimeมากกว่าเงินเฟ้อครับ
เงินยิ่งเฟ้อ ราคาสินทรัพย์ยิ่งสูง แบงก์ก็จะล้มยากขึ้น
เงินเฟ้อส่งผลต่อคนจนและชนชั้นกลางครับ ระบบเศรษฐกิจสหรัฐที่มีน้ำหนักในธุรกิจบริการจะไม่ได้รับผลกระทบ
ประเทศอุตสาหกรรม อย่างจีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน ไทยมากกว่าที่เดือดร้อนจากราคาน้ำมัน
เงินยิ่งเฟ้อ ราคาสินทรัพย์ยิ่งสูง แบงก์ก็จะล้มยากขึ้น
เงินเฟ้อส่งผลต่อคนจนและชนชั้นกลางครับ ระบบเศรษฐกิจสหรัฐที่มีน้ำหนักในธุรกิจบริการจะไม่ได้รับผลกระทบ
ประเทศอุตสาหกรรม อย่างจีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน ไทยมากกว่าที่เดือดร้อนจากราคาน้ำมัน
- por_jai
- Verified User
- โพสต์: 14338
- ผู้ติดตาม: 0
ดร.โกร่งเตือนสัญญาณอันตราย !!!!
โพสต์ที่ 5
แฮ่...ถ้าเชื่อแล้วเกิดขึ้นจริงนี่คงได้รวยเช็ดกันมั่งคาดว่าปลายปีนี้ ค่าเงินบาทคงเลย 35 บาทต่อดอลลาร์ ปีหน้าคงได้เห็นค่าเงิน 38-40 บาทต่อดอลลาร์
ต้องระวังตอนมันไม่จริงนี่ละครับ
คงได้ซวยกันมั่งเหมือนกัน
นี่ละครัึบชีวิตของนักลงทุน
กรูเก่ง กิเลสเก่งกว่า
-
- Verified User
- โพสต์: 272
- ผู้ติดตาม: 0
ดร.โกร่งเตือนสัญญาณอันตราย !!!!
โพสต์ที่ 8
ก็สัญญาณไม่อันตราย จะเตือนทำไมล่ะครับ
- HI.ผมเอง
- Verified User
- โพสต์: 811
- ผู้ติดตาม: 0
ดร.โกร่งเตือนสัญญาณอันตราย !!!!
โพสต์ที่ 9
อืมส์nathapon_m เขียน:ก็สัญญาณไม่อันตราย จะเตือนทำไมล่ะครับ
ก้อจริงเน๊อะ..
เตือนแล้ว ถ้ามันไม่เกิด ก้อมีคำตอบอยู่แล้วว่า
น่านไง .... เนี่ยไม่เกิด ก้อเพราะเตือนไว้ก่อนแล้วว :lol:
ถ้ามันเกิด (แค่ครั้งเดียวจากการเตือนหลายๆครั้ง ก้อ เป็น พอลครุ๊กแมน) :lol:
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11443
- ผู้ติดตาม: 0
ดร.โกร่งเตือนสัญญาณอันตราย !!!!
โพสต์ที่ 10
ผมคิดว่า การอ่านคำเตือน สิ่งสำคัญกว่าบทสุดท้าย ก็คือ เหตุผลHI.ผมเอง เขียน: อืมส์
ก้อจริงเน๊อะ..
เตือนแล้ว ถ้ามันไม่เกิด ก้อมีคำตอบอยู่แล้วว่า
น่านไง .... เนี่ยไม่เกิด ก้อเพราะเตือนไว้ก่อนแล้วว :lol:
ถ้ามันเกิด (แค่ครั้งเดียวจากการเตือนหลายๆครั้ง ก้อ เป็น พอลครุ๊กแมน) :lol:
ผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ ย่อมมีเหตุผลที่ดีประกอบคำเตือน
เมื่อเราอ่านเหตุผลประกอบแล้ว เราก็สามารถที่จะตัดสินใจได้เองว่า บทสุดท้ายจะเป็นเช่นไร
และถึงแม้ท้ายสุด บทสุดท้ายจะเป็นดังคำเตือนหรือไม่ เราก็ได้ความรู้ ความเข้าใจมากขึ้น
ในอดีต ดร.วีรพงษ์ ก็เป็นบุคคล 2 ท่านที่คอยเตือนประชาชนอย่างแรงๆ ชัดๆ ในเรื่องค่าเงินบาท ก่อนวิกฤตปี 40
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11443
- ผู้ติดตาม: 0
ดร.โกร่งเตือนสัญญาณอันตราย !!!!
โพสต์ที่ 11
จริงๆแล้ว ดร.วีรพงษ์ ก็เขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์ ประชาชาติธุรกิจ เป็นประจำHI.ผมเอง เขียน:เห็นแกออกมาเตือนทีไร ก้อมีแต่สัญญาณอันตราย
คงเป็นเพราะคุณ LOSO เห็นว่าบทวิเคราะห์ชิ้นนี้มีประโยชน์ต่อเพื่อนๆ จึงได้นำมาโพสต์ให้อ่าน
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี