อุตสาหกรรมใดจะเป็นรายต่อไป
-
- Verified User
- โพสต์: 1372
- ผู้ติดตาม: 0
อุตสาหกรรมใดจะเป็นรายต่อไป
โพสต์ที่ 1
จั่วหัวเรื่องไว้ซะน่ากลัว แต่ผมกำลังหมายถึง อุตสาหกรรมใดจะเป็นดาวรุ่งพุ่งแรงต่อจากอุตสาหกรรมการเกษตร
จากการที่ราคาน้ำมันพุ่งเป็นจรวด ส่งผลให้ราคาหุ้นกลุ่มปิโตรทะยานฟ้า
จากนั้นเป็นคิวของโลหะที่ราคาสูงจนทำให้เสาไฟแรงสูงล้ม
ผลจากราคาน้ำมันแพงทำให้ ปาล์มน้ำมันและพลังงานทดแทนราคาสูงลิ่วจนทำให้ราคามาม่าต้องขึ้นราคา
ล่าสุดราคาข้าวที่ทำลายสถิติแทบทุกวัน
ผมเลยอยากจะลองวิเคราะห์ (เดา) ดูบ้างว่าอุตสาหกรรมต่อจากนี้น่าจะเป็นกลุ่มไหนจะเป็นรายต่อไป ที่จะมาเป็นดาวรุ่งพุ่งแรง ถ้าในสิ้นปีนี้ราคาสินค้าเกษตรโดยเฉพาะข้าวยังคงสูงอยู่ สินค้าขายดีตัวต่อไปน่าจะเป็น
1) สินค้าฟุ่มเฟือยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ทีวี ตู้เย็น เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ เนื่องจากพี่น้องเกษตรกรเมื่อมีรายได้น่าจะจับจ่ายในสิ่งเหล่านี้เป็นอย่างแรกๆ
2) วัสดุก่อสร้างพวก อิฐ หิน ปูน กระเบื้อง เพราะสิ่งต่อมาที่พี่น้องเกษตรกรผู้มั่งคั่งจะทำคงไม่พ้นปลูกบ้านใหม่
3) รถยนต์ และรถจักรยานยนต์ ถึงแม้ว่าราคาน้ำมันจะสูงขึ้นๆ แต่ต้องยอมรับว่ารถยนต์และรถจักรยานยนต์ คงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการขนส่ง
พี่ๆมีความเห็นอย่างไรบ้างกับอุตสาหกรรมดาวรุ่งรายต่อไป
จากการที่ราคาน้ำมันพุ่งเป็นจรวด ส่งผลให้ราคาหุ้นกลุ่มปิโตรทะยานฟ้า
จากนั้นเป็นคิวของโลหะที่ราคาสูงจนทำให้เสาไฟแรงสูงล้ม
ผลจากราคาน้ำมันแพงทำให้ ปาล์มน้ำมันและพลังงานทดแทนราคาสูงลิ่วจนทำให้ราคามาม่าต้องขึ้นราคา
ล่าสุดราคาข้าวที่ทำลายสถิติแทบทุกวัน
ผมเลยอยากจะลองวิเคราะห์ (เดา) ดูบ้างว่าอุตสาหกรรมต่อจากนี้น่าจะเป็นกลุ่มไหนจะเป็นรายต่อไป ที่จะมาเป็นดาวรุ่งพุ่งแรง ถ้าในสิ้นปีนี้ราคาสินค้าเกษตรโดยเฉพาะข้าวยังคงสูงอยู่ สินค้าขายดีตัวต่อไปน่าจะเป็น
1) สินค้าฟุ่มเฟือยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ทีวี ตู้เย็น เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ เนื่องจากพี่น้องเกษตรกรเมื่อมีรายได้น่าจะจับจ่ายในสิ่งเหล่านี้เป็นอย่างแรกๆ
2) วัสดุก่อสร้างพวก อิฐ หิน ปูน กระเบื้อง เพราะสิ่งต่อมาที่พี่น้องเกษตรกรผู้มั่งคั่งจะทำคงไม่พ้นปลูกบ้านใหม่
3) รถยนต์ และรถจักรยานยนต์ ถึงแม้ว่าราคาน้ำมันจะสูงขึ้นๆ แต่ต้องยอมรับว่ารถยนต์และรถจักรยานยนต์ คงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการขนส่ง
พี่ๆมีความเห็นอย่างไรบ้างกับอุตสาหกรรมดาวรุ่งรายต่อไป
-
- Verified User
- โพสต์: 898
- ผู้ติดตาม: 0
อุตสาหกรรมใดจะเป็นรายต่อไป
โพสต์ที่ 3
1.สินเชื่อบ้านที่อยู่อาศัยที่รุกทำตลาดเขตชนบท
2.บัตรเครดิต ปัจจุบันเน้นลูกค้าที่มีสลิปเงินเดือน
เจ้าไหนทำตลาดเข้าถึงชาวไร่ชาวนา น่าจะได้ประโยชน์
3.ค้าปลีกที่มีสาขาต่างจังหวัดเยอะๆ
4.สินเชื่อรถยนต์
5.สินเชื่อเงินกู้ทำการเกษตร
6.สวนปลูกผลไม้ที่ปลูกที่ประเทศอื่นยาก
ช่วง2-3ปีที่ผ่านมา supply ล้นมากๆ
เจ้าไหนยังคงทนได้ถึงตอนนี้เชื่อว่าอนาคต
น่าจะได้เห็นผลไม้ราคาแพงแบบในอดีตอีกครั้ง
2.บัตรเครดิต ปัจจุบันเน้นลูกค้าที่มีสลิปเงินเดือน
เจ้าไหนทำตลาดเข้าถึงชาวไร่ชาวนา น่าจะได้ประโยชน์
3.ค้าปลีกที่มีสาขาต่างจังหวัดเยอะๆ
4.สินเชื่อรถยนต์
5.สินเชื่อเงินกู้ทำการเกษตร
6.สวนปลูกผลไม้ที่ปลูกที่ประเทศอื่นยาก
ช่วง2-3ปีที่ผ่านมา supply ล้นมากๆ
เจ้าไหนยังคงทนได้ถึงตอนนี้เชื่อว่าอนาคต
น่าจะได้เห็นผลไม้ราคาแพงแบบในอดีตอีกครั้ง
bid please!!
- Pn3um0n1a
- Verified User
- โพสต์: 1935
- ผู้ติดตาม: 0
อุตสาหกรรมใดจะเป็นรายต่อไป
โพสต์ที่ 4
เห็นด้วยเลยครับRocker เขียน:จะมั่นใจได้ไงว่า ชาวนา รวยขึ้น ครับ
ผมว่าคนที่รวยขึ้นมากกว่าน่าจะเป็น พ่อค้าคนกลางนะ กับ โรงสีนะ
เพราะกดราคาจัง ชาวนามีหนี้เยอะยังไงก็ต้องจําใจขายใช้หนี้ครับ
ส่วนคำถาม ขอตอบเพิ่มจากพี่ น้องหมาสามตัว
รถพลังงานทางเลือก(ที่ถูกกว่า) ครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 898
- ผู้ติดตาม: 0
อุตสาหกรรมใดจะเป็นรายต่อไป
โพสต์ที่ 5
จริงๆอยากเชียร์รถเหมือนกันครับ
แต่บริษัทในไทยเป็นได้แค่เบี้ยล่างของเจ้าของแบรนด์จากญี่ปุ่น
OEM ยอดเยี่ยมแบบ SNC ที่กำไพ่เหนือเจ้าของแบรนด์ได้
หายากมาก
แต่บริษัทในไทยเป็นได้แค่เบี้ยล่างของเจ้าของแบรนด์จากญี่ปุ่น
OEM ยอดเยี่ยมแบบ SNC ที่กำไพ่เหนือเจ้าของแบรนด์ได้
หายากมาก
bid please!!
-
- Verified User
- โพสต์: 126
- ผู้ติดตาม: 0
อุตสาหกรรมใดจะเป็นรายต่อไป
โพสต์ที่ 6
ถามเพื่อนที่ พ่อเค้าทำนาเค้าบอกว่าตอนนี้กำไรดี แต่ทำครั้งต่อไปจะกลับมาเหมือนเดิมเพราะข้าวปลูกราคา แพงขึ้นเท่าตัวครับPn3um0n1a เขียน: เห็นด้วยเลยครับ
ส่วนคำถาม ขอตอบเพิ่มจากพี่ น้องหมาสามตัว
รถพลังงานทางเลือก(ที่ถูกกว่า) ครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 919
- ผู้ติดตาม: 0
อุตสาหกรรมใดจะเป็นรายต่อไป
โพสต์ที่ 7
ได้มีโอกาสอ่านหนังสือพิมพ์ ไม่ไทยรัฐก็มติชน ฉบับเมื่อวานRocker เขียน:จะมั่นใจได้ไงว่า ชาวนา รวยขึ้น ครับ
ผมว่าคนที่รวยขึ้นมากกว่าน่าจะเป็น พ่อค้าคนกลางนะ กับ โรงสีนะ
เพราะกดราคาจัง ชาวนามีหนี้เยอะยังไงก็ต้องจําใจขายใช้หนี้ครับ
คนเขียนคอลัม ไปตจว.ไปคุยกะชาวนาที่อยู่บ้านเกิดเดียวกัน
เค้าบอก ส่วนใหญ่ ขายไปตั้งแต่ราคาตันละ 6000 แล้วครับ
เพราะต้องรีบไปใช้หนี้เงินกู้ ที่ดอกเบี้ยแพงถึงร้อยละ 5 ต่อเดือน
และอีกอย่างข่าวสารก็ไม่ถึงชาวนา ว่าปีนี้ราคาข้าวจะดี เพราะคู่แข่งถูกน้ำท่วม
คนที่ขายได้ตันละ 12000 ก็น้อยมาก
ปีหน้าเค้าก็กังวลกันว่าอาจจะขาดทุนด้วย
เพราะวัตถุดิบ ต่างๆ เช่น ปุ๋ย เมล็ดพันธุ์ น้ำมัน เพิ่มขึ้นมาก
และถ้าคู่แข่งไม่เกิดน้ำท่วม ก็คง :vm:
เค้าเลยสรุปว่า ข้าวแพงเที่ยวนี้ไม่ถึงชาวนาจริงๆ แต่กลับเป็นพ่อค้าคนกลางที่ได้ประโยชน์แทน
ปล.เมื่อวานแม่ไปโลตัส เค้าบอกว่าไม่มีข้าว กะน้ำมันถั่วเหลืองขายเลย บ่นมิ่งขวัญใหญ่เลย แล้วว่า "ไหนลูกคุยว่าเก่งนักเก่งหนา" :lol:
- Nevercry.boy
- Verified User
- โพสต์: 4626
- ผู้ติดตาม: 0
ผมคิดว่าค้าปลีก รึเปล่าครับ
โพสต์ที่ 8
ผมว่ากลุ่มค้าปลีก น่าสนใจครับ
แต่แอบมองกลุ่มสารสนเทศอยู่เหมือนกัน ค่าใช้จ่ายแพงน้ำมันแพง คนต้องลดการเดินทาง ระบบสารสนเทศน่าจะมีอิทธิพลในการช่วยเรื่องพวกนี้ครับ
แต่แอบมองกลุ่มสารสนเทศอยู่เหมือนกัน ค่าใช้จ่ายแพงน้ำมันแพง คนต้องลดการเดินทาง ระบบสารสนเทศน่าจะมีอิทธิพลในการช่วยเรื่องพวกนี้ครับ
- Isamu
- Verified User
- โพสต์: 167
- ผู้ติดตาม: 0
อุตสาหกรรมใดจะเป็นรายต่อไป
โพสต์ที่ 9
ขอเตือนจากใจจริง เวลาคนเรามองเห็นว่าเรื่องดีๆจะเกิดมาเรื่อยๆเองโดยไม่ต้องห่วงอะไร เป็นช่วงเวลาที่ไม่เหมาะกับการลงทุน ฝูงชนที่บ้าคลั่งจะขาดทุนเสมอ อยู่ให้เหนือลม เหนือข่าวในทีวีและมองให้ไกล เมื่อต่อมาคนส่วนใหญ่เริ่มเห็นเหมือนเรา เวลาแห่งการเก็บเกี่ยวจึงจะมาถึง
จะลงทุนใน commodity ก็รู้ๆกันอยู่ว่าต้องซื้อตอนสินค้าล้นตลาด มาขายตอนขาดตลาด อย่าหวังว่าจะมาซื้อตอนสินค้าขาดตลาด มาขายตอนขาดตลาดกว่า กำไรน้อยนิด ไม่คุ้มเสี่ยง
ลอง check ดูว่าบริษัทที่เราถืออยู่บริษัทไหน ที่สามารถขึ้นราคาสินค้าได้ แล้วเรายังเต็มใจซื้อสินค้าจำนวนเท่าเดิม บริษัทหรืออุตสาหกรรมนี้จะเป็นผู้ชนะเมื่อต้นทุนสินค้าแพง
จะลงทุนใน commodity ก็รู้ๆกันอยู่ว่าต้องซื้อตอนสินค้าล้นตลาด มาขายตอนขาดตลาด อย่าหวังว่าจะมาซื้อตอนสินค้าขาดตลาด มาขายตอนขาดตลาดกว่า กำไรน้อยนิด ไม่คุ้มเสี่ยง
ลอง check ดูว่าบริษัทที่เราถืออยู่บริษัทไหน ที่สามารถขึ้นราคาสินค้าได้ แล้วเรายังเต็มใจซื้อสินค้าจำนวนเท่าเดิม บริษัทหรืออุตสาหกรรมนี้จะเป็นผู้ชนะเมื่อต้นทุนสินค้าแพง
-
- Verified User
- โพสต์: 98
- ผู้ติดตาม: 0
อุตสาหกรรมใดจะเป็นรายต่อไป
โพสต์ที่ 10
ลอกมาจาก 100 คน 100 หุ้น dcc ครับ
กระเบื้องฯ เกาะมาตรการรัฐ ลุ้นโตต่อเนื่องพ่วงจีดีพี 5%
สัญญาณฟื้นตัวในปี'51 เริ่มชัดเจนจากกำลังซื้อ ที่กำลังจะกลับมาพร้อมมาตรการ "ภาษี" อสังหาฯ รวมถึง[color=red]ราคาสินค้าเกษตรสูงขึ้นทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่ม หันปรับปรุง-ซ่อมแซมบ้าน[/color]อีกทั้งธุรกิจค้าปลีกและโรงแรม เริ่มกลับมาขยายสาขา ย่อมทำให้ตลาดกระเบื้องเซรามิกในประเทศเติบโต อย่างน้อยเท่าจีดีพี 5-6%
เวลาเกือบ 3 เดือนแรกของปี 2551 ราคาขายกระเบื้อง ยังเฉลี่ยทรงตัวในระดับ 125บาท/ตร.ม. การแข่งขันไม่รุนแรงเหมือนปีก่อน เนื่องจากกำลังซื้อเริ่มกลับมา และภูมิภาคที่มีความของการกระเบื้องเพิ่มอย่างโดดเด่น คือ ภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคอีสาน และประเมินกันว่าตลาดรวมปีนี้ น่าจะเติบโตเท่ากับจีดีพี.ระดับที่ 5-6% จากปีก่อนที่มีปริมาณการใช้กระเบื้องภายในประเทศอยู่ที่ 125 ล้านตร.ม. หรือในปีนี้น่าจะมีปริมาณการใช้อยู่ที่กว่า 132 ล้านตร.ม.
ผู้ผลิต-จำหน่ายส่วนใหญ่มองตรงกันว่า ราคาสินค้าเกษตรเริ่มสูงขึ้น ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น เป็นแนวโน้มดีว่าในปี 2551 ความต้องการซื้อกระเบื้อง จะเพิ่มขึ้นในสัดส่วนเท่ากับจีดีพีไม่เกิน 5-6% หลังจากที่ปี 2550 ลดลง 10% เทียบปีต่อปี
การที่ดีมานด์กลับเข้ามาสู่ตลาดในปีนี้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะมาตระการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล และหนึ่งในแผนการกระตุ้นนี้ผ่านธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ทั้งการลดการจัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% เหลือ 0.1% ลดค่าโอนกรรมสิทธิ์ และค่าจดจำนอง เหลือ 0.01% จากเดิม 2% และ 1% (ตามลำดับ) ผลการกระตุ้นความเชื่อมั่นที่ว่านี้ ทำให้ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ ประกาศแผนการลงทุน อีกทั้ง เร่งงานก่อสร้างให้เสร็จทันโอนปีนี้เพื่อให้ได้สิทธิทางภาษีดังกล่าว
ด้วยเหตุนี้ ตลาดกระเบื้องระดับกลางลงมา จึงคาดว่าจะมีการขยายตัวสูงสุด เพราะนอกจากกำลังซื้อภาคเอกชน เช่น ในกลุ่มของธุรกิจค้าปลีกและโรงแรมที่เริ่มกลับมาตามแผนการขยายสาขาแล้ว กลุ่มเกษตรกร ยังเป็นลูกค้าหลักอีกกลุ่ม ที่คาดว่าจะมีบทบาทต่อการขยายตัวของตลาดกระเบื้องปี 2551
ลุ้นรัฐจัดระเบียบนำเข้า.. หากพิจารณาในเชิงลึกถึงภาวการณ์ของตลาดกระเบื้องเซรามิกทั้งประเภท ปูพื้น-บุผนังที่ผลิตในประเทศที่มีการชะลอตัวในช่วงที่ผ่านมา นอกจากชะลอตามภาวะเศรษฐกิจแล้ว ยังเผชิญกับทัพสินค้าจากต่างประเทศ ส่งมาตีตลาดทั้งโดยเฉพาะจากจีน และอินโดนีเซีย ซึ่งต่อเดือนมีการนำเข้ามาจำหน่ายในไทย 1 ล้านตร.ม. หรือคิดเป็นสัดส่วน 7-8% ระดับราคาที่ขายอยู่ที่ 200-500 บาท/ตร.ม. หรือต่ำกว่านี้ ขึ้นอยู่กับขนาดและอำนาจต่อรอง โดยสินค้าที่นำเข้านี้ ลูกค้ากลุ่มใหญ่คือ โครงการจัดสรรใหม่ๆ
ประเด็นที่น่าจับตา คือ วันนี้การเข้ามาแชร์ส่วนแบ่งการตลาดของสินค้านอก ทำให้เกิดเสียงเรียกร้องจากผู้ผลิตในประเทศว่า ถ้าภาครัฐยังไม่มีมาตรการอะไรออกมา เท่ากับเป็นการส่งเสริมให้ทำลายอุตสาหกรรมภายในประเทศ และแม้ภาพที่ออกมาว่า ผู้บริโภคในประเทศได้ประโยชน์ในการซื้อสินค้าได้ราคาถูก ซึ่งก็ "ถูก" จริง แต่ในเชิง "คุณภาพ" นั้น ยังห่างไกลจากสินค้าที่ผลิตได้ในประเทศ
เมื่อเป็นเช่นนี้ ภาครัฐควรออกมาตรการ กำหนดมาตรฐานมาควบคุมสินค้านำเข้า .. การเรียกร้องที่ว่านี้ ดำเนินการภายใต้กลุ่มอุตสาหกรรมเซรามิก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เนื่องจากคาดหวังให้รัฐบาลเข้ามาดูแลเกี่ยวกับมาตรฐานกระเบื้องนำเข้า โดยปีนี้กลุ่มอุตสาหกรรมเซรามิก สภาอุตสาหกรรมฯ จะผลักดันเรื่องดังกล่าวต่อเนื่องอีก แม้ที่ผ่านมายังไม่ได้รับการตอบรับจากภาครัฐมากนัก และขืนรัฐบาลไทย ยังเกรงใจรัฐบาลของประเทศต่างๆ เหล่านี้ ไม่กล้าออกมาตรการใดๆ มาเท่ากับว่าทำลายฐานธุรกิจในประเทศไปเรื่อยๆ
ทั้งที่ในความเป็นจริง ประเทศอื่นในภูมิภาคนี้ ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนบ้าน อย่างมาเลเซีย ฟิลิปปินส์เขาออกกฎระเบียบควบคุมมาตรฐานกระเบื้องนำเข้ามาไม่น้อยกว่า 4 ปี 5 ปีแล้ว ตรงกันข้าม สินค้าที่ผลิตจากประเทศเหล่านี้รวมถึงจีน ส่งเข้ามาขายในประเทศไทยได้อย่างเสรี ไร้ระเบียบที่จะควบคุม
กิตติชัย ไกรก่อกิจ กรรมการ ผู้จัดการ บริษัท โสสุโก้ เซรามิค จำกัด หนึ่งใน ผู้ผลิตกระเบื้องรายใหญ่ภายใต้แบรนด์ โสสุโก้ ระบุว่าปีนี้บริษัทเน้นการส่งสินค้าออกไปต่างประเทศสัดส่วน 25% คิดเป็นยอดขาย 1,000 ล้านบาท ขณะที่ 75% หรือ 4,000 ล้านบาทเป็นการขายในประเทศ โดยปัจจุบันบริษัทมีกำลังการผลิตกระเบื้องรวม 45 ล้านตร.ม.
แม้การส่งสินค้าออกไปขายต่างประเทศ จะเผชิญกับค่าบาทที่แข็งค่า แต่ตราบใดที่ยังสามารถผลิตสินค้าได้มาตรฐาน มีดีไซน์ ตรงตามความต้องการของลูกค้าต่างชาติแล้ว ยังพอจะปรับราคาขายเพิ่มขึ้นได้ ซึ่งชดเชยกับการสูญเสียโอกาสจากอัตราแลกเปลี่ยนค่าบาทที่แข็งค่า
อย่างไรก็ตาม แม้แนวโน้มการบริโภคกระเบื้องภายในประเทศจะดีขึ้นกว่าปีก่อน แต่ กิตติชัย ยอมรับว่า ภาวการณ์ในขณะนี้ยังมีความ "เสี่ยง" ทั้งปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในประเทศ โดยเฉพาะปัญหาด้านการเมือง ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้ประกอบธุรกิจควบคุมไม่ได้
ดังนั้น เพื่อรับมือกับปัจจัยลบที่เกิดขึ้น สิ่งที่ทำได้ก็คือต้องเตรียมความพร้อม ปรับกลยุทธ์ในการบริการจัดการ ทั้งภายในและภายนอกองค์กรแล้ว ยังมีแผนจะผลักดันตลาดส่งออกเพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่
from bizweek ศุกร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2551
กระเบื้องฯ เกาะมาตรการรัฐ ลุ้นโตต่อเนื่องพ่วงจีดีพี 5%
สัญญาณฟื้นตัวในปี'51 เริ่มชัดเจนจากกำลังซื้อ ที่กำลังจะกลับมาพร้อมมาตรการ "ภาษี" อสังหาฯ รวมถึง[color=red]ราคาสินค้าเกษตรสูงขึ้นทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่ม หันปรับปรุง-ซ่อมแซมบ้าน[/color]อีกทั้งธุรกิจค้าปลีกและโรงแรม เริ่มกลับมาขยายสาขา ย่อมทำให้ตลาดกระเบื้องเซรามิกในประเทศเติบโต อย่างน้อยเท่าจีดีพี 5-6%
เวลาเกือบ 3 เดือนแรกของปี 2551 ราคาขายกระเบื้อง ยังเฉลี่ยทรงตัวในระดับ 125บาท/ตร.ม. การแข่งขันไม่รุนแรงเหมือนปีก่อน เนื่องจากกำลังซื้อเริ่มกลับมา และภูมิภาคที่มีความของการกระเบื้องเพิ่มอย่างโดดเด่น คือ ภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคอีสาน และประเมินกันว่าตลาดรวมปีนี้ น่าจะเติบโตเท่ากับจีดีพี.ระดับที่ 5-6% จากปีก่อนที่มีปริมาณการใช้กระเบื้องภายในประเทศอยู่ที่ 125 ล้านตร.ม. หรือในปีนี้น่าจะมีปริมาณการใช้อยู่ที่กว่า 132 ล้านตร.ม.
ผู้ผลิต-จำหน่ายส่วนใหญ่มองตรงกันว่า ราคาสินค้าเกษตรเริ่มสูงขึ้น ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น เป็นแนวโน้มดีว่าในปี 2551 ความต้องการซื้อกระเบื้อง จะเพิ่มขึ้นในสัดส่วนเท่ากับจีดีพีไม่เกิน 5-6% หลังจากที่ปี 2550 ลดลง 10% เทียบปีต่อปี
การที่ดีมานด์กลับเข้ามาสู่ตลาดในปีนี้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะมาตระการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล และหนึ่งในแผนการกระตุ้นนี้ผ่านธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ทั้งการลดการจัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% เหลือ 0.1% ลดค่าโอนกรรมสิทธิ์ และค่าจดจำนอง เหลือ 0.01% จากเดิม 2% และ 1% (ตามลำดับ) ผลการกระตุ้นความเชื่อมั่นที่ว่านี้ ทำให้ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ ประกาศแผนการลงทุน อีกทั้ง เร่งงานก่อสร้างให้เสร็จทันโอนปีนี้เพื่อให้ได้สิทธิทางภาษีดังกล่าว
ด้วยเหตุนี้ ตลาดกระเบื้องระดับกลางลงมา จึงคาดว่าจะมีการขยายตัวสูงสุด เพราะนอกจากกำลังซื้อภาคเอกชน เช่น ในกลุ่มของธุรกิจค้าปลีกและโรงแรมที่เริ่มกลับมาตามแผนการขยายสาขาแล้ว กลุ่มเกษตรกร ยังเป็นลูกค้าหลักอีกกลุ่ม ที่คาดว่าจะมีบทบาทต่อการขยายตัวของตลาดกระเบื้องปี 2551
ลุ้นรัฐจัดระเบียบนำเข้า.. หากพิจารณาในเชิงลึกถึงภาวการณ์ของตลาดกระเบื้องเซรามิกทั้งประเภท ปูพื้น-บุผนังที่ผลิตในประเทศที่มีการชะลอตัวในช่วงที่ผ่านมา นอกจากชะลอตามภาวะเศรษฐกิจแล้ว ยังเผชิญกับทัพสินค้าจากต่างประเทศ ส่งมาตีตลาดทั้งโดยเฉพาะจากจีน และอินโดนีเซีย ซึ่งต่อเดือนมีการนำเข้ามาจำหน่ายในไทย 1 ล้านตร.ม. หรือคิดเป็นสัดส่วน 7-8% ระดับราคาที่ขายอยู่ที่ 200-500 บาท/ตร.ม. หรือต่ำกว่านี้ ขึ้นอยู่กับขนาดและอำนาจต่อรอง โดยสินค้าที่นำเข้านี้ ลูกค้ากลุ่มใหญ่คือ โครงการจัดสรรใหม่ๆ
ประเด็นที่น่าจับตา คือ วันนี้การเข้ามาแชร์ส่วนแบ่งการตลาดของสินค้านอก ทำให้เกิดเสียงเรียกร้องจากผู้ผลิตในประเทศว่า ถ้าภาครัฐยังไม่มีมาตรการอะไรออกมา เท่ากับเป็นการส่งเสริมให้ทำลายอุตสาหกรรมภายในประเทศ และแม้ภาพที่ออกมาว่า ผู้บริโภคในประเทศได้ประโยชน์ในการซื้อสินค้าได้ราคาถูก ซึ่งก็ "ถูก" จริง แต่ในเชิง "คุณภาพ" นั้น ยังห่างไกลจากสินค้าที่ผลิตได้ในประเทศ
เมื่อเป็นเช่นนี้ ภาครัฐควรออกมาตรการ กำหนดมาตรฐานมาควบคุมสินค้านำเข้า .. การเรียกร้องที่ว่านี้ ดำเนินการภายใต้กลุ่มอุตสาหกรรมเซรามิก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เนื่องจากคาดหวังให้รัฐบาลเข้ามาดูแลเกี่ยวกับมาตรฐานกระเบื้องนำเข้า โดยปีนี้กลุ่มอุตสาหกรรมเซรามิก สภาอุตสาหกรรมฯ จะผลักดันเรื่องดังกล่าวต่อเนื่องอีก แม้ที่ผ่านมายังไม่ได้รับการตอบรับจากภาครัฐมากนัก และขืนรัฐบาลไทย ยังเกรงใจรัฐบาลของประเทศต่างๆ เหล่านี้ ไม่กล้าออกมาตรการใดๆ มาเท่ากับว่าทำลายฐานธุรกิจในประเทศไปเรื่อยๆ
ทั้งที่ในความเป็นจริง ประเทศอื่นในภูมิภาคนี้ ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนบ้าน อย่างมาเลเซีย ฟิลิปปินส์เขาออกกฎระเบียบควบคุมมาตรฐานกระเบื้องนำเข้ามาไม่น้อยกว่า 4 ปี 5 ปีแล้ว ตรงกันข้าม สินค้าที่ผลิตจากประเทศเหล่านี้รวมถึงจีน ส่งเข้ามาขายในประเทศไทยได้อย่างเสรี ไร้ระเบียบที่จะควบคุม
กิตติชัย ไกรก่อกิจ กรรมการ ผู้จัดการ บริษัท โสสุโก้ เซรามิค จำกัด หนึ่งใน ผู้ผลิตกระเบื้องรายใหญ่ภายใต้แบรนด์ โสสุโก้ ระบุว่าปีนี้บริษัทเน้นการส่งสินค้าออกไปต่างประเทศสัดส่วน 25% คิดเป็นยอดขาย 1,000 ล้านบาท ขณะที่ 75% หรือ 4,000 ล้านบาทเป็นการขายในประเทศ โดยปัจจุบันบริษัทมีกำลังการผลิตกระเบื้องรวม 45 ล้านตร.ม.
แม้การส่งสินค้าออกไปขายต่างประเทศ จะเผชิญกับค่าบาทที่แข็งค่า แต่ตราบใดที่ยังสามารถผลิตสินค้าได้มาตรฐาน มีดีไซน์ ตรงตามความต้องการของลูกค้าต่างชาติแล้ว ยังพอจะปรับราคาขายเพิ่มขึ้นได้ ซึ่งชดเชยกับการสูญเสียโอกาสจากอัตราแลกเปลี่ยนค่าบาทที่แข็งค่า
อย่างไรก็ตาม แม้แนวโน้มการบริโภคกระเบื้องภายในประเทศจะดีขึ้นกว่าปีก่อน แต่ กิตติชัย ยอมรับว่า ภาวการณ์ในขณะนี้ยังมีความ "เสี่ยง" ทั้งปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในประเทศ โดยเฉพาะปัญหาด้านการเมือง ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้ประกอบธุรกิจควบคุมไม่ได้
ดังนั้น เพื่อรับมือกับปัจจัยลบที่เกิดขึ้น สิ่งที่ทำได้ก็คือต้องเตรียมความพร้อม ปรับกลยุทธ์ในการบริการจัดการ ทั้งภายในและภายนอกองค์กรแล้ว ยังมีแผนจะผลักดันตลาดส่งออกเพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่
from bizweek ศุกร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2551
- leaderinshadow
- Verified User
- โพสต์: 1765
- ผู้ติดตาม: 0
อุตสาหกรรมใดจะเป็นรายต่อไป
โพสต์ที่ 11
ใกล้ๆ น่าจะเป็น โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ (ยอดก่อสร้างทั่วโลก กำลังเพิ่ม)
มีบริษัทหนึ่ง ใน เมกา ผลิตอุปกรณ์ สำหรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
ไกลๆ ก็ อวกาศ ในอนาคตอาจจะมี ยุคตื่นอวกาศ (อาจจะคล้ายตื่นทอง)
เช่น ทองเที่ยว ดาวเทียม หรือไม่ก็
อุตสาหกรรมผลิตแร่ไททาเนียม
(เป็นแร่ที่ต้องผลิตในอวกาศ เพราะต้องใช้ความดันที่เบาบางมาก ถึงจะผลิตได้)
หรือไม่ก็ การขุดแร่(ใต้ทะเล) ซึ่งมีปริมาณแร่มหาศาล แต่...
ต้นทุนสูงมากๆๆ
มีบริษัทหนึ่ง ใน เมกา ผลิตอุปกรณ์ สำหรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
ไกลๆ ก็ อวกาศ ในอนาคตอาจจะมี ยุคตื่นอวกาศ (อาจจะคล้ายตื่นทอง)
เช่น ทองเที่ยว ดาวเทียม หรือไม่ก็
อุตสาหกรรมผลิตแร่ไททาเนียม
(เป็นแร่ที่ต้องผลิตในอวกาศ เพราะต้องใช้ความดันที่เบาบางมาก ถึงจะผลิตได้)
หรือไม่ก็ การขุดแร่(ใต้ทะเล) ซึ่งมีปริมาณแร่มหาศาล แต่...
ต้นทุนสูงมากๆๆ
-
- Verified User
- โพสต์: 2712
- ผู้ติดตาม: 0
อุตสาหกรรมใดจะเป็นรายต่อไป
โพสต์ที่ 13
[quote="Isamu"]ขอเตือนจากใจจริง เวลาคนเรามองเห็นว่าเรื่องดีๆจะเกิดมาเรื่อยๆเองโดยไม่ต้องห่วงอะไร เป็นช่วงเวลาที่ไม่เหมาะกับการลงทุน ฝูงชนที่บ้าคลั่งจะขาดทุนเสมอ อยู่ให้เหนือลม เหนือข่าวในทีวีและมองให้ไกล เมื่อต่อมาคนส่วนใหญ่เริ่มเห็นเหมือนเรา เวลาแห่งการเก็บเกี่ยวจึงจะมาถึง
อย่าลืมให้เวลากับครอบครัว และสังคมรอบๆข้างของคุณนะครับ
มีสติ และมีความสุขกับการลงทุนนะครับผม
นักลงทุนที่เก่งที่สุดมิใช่คนที่ซื้อขายไวที่สุด
แต่คือคนที่นำสติกลับมาได้เร็วที่สุด
หลายครั้งส่งคำสั่งซื้อทางไปรษณีย์ได้ผลตอบแทนมากกว่าซื้อผ่านnetหากเราขาดสติ
มีสติ และมีความสุขกับการลงทุนนะครับผม
นักลงทุนที่เก่งที่สุดมิใช่คนที่ซื้อขายไวที่สุด
แต่คือคนที่นำสติกลับมาได้เร็วที่สุด
หลายครั้งส่งคำสั่งซื้อทางไปรษณีย์ได้ผลตอบแทนมากกว่าซื้อผ่านnetหากเราขาดสติ
-
- Verified User
- โพสต์: 311
- ผู้ติดตาม: 0
อุตสาหกรรมใดจะเป็นรายต่อไป
โพสต์ที่ 15
Commodities ทั้งหมดจะผลัดกันขึ้นสลับกันไปเรื่อยจนกว่า supply จะตามมาทัน อันนี้ต้องเช็คให้ดีครับ
Jim Roger บอกว่ารอบของ commodities จะอยู่ที่ประมาณ 15 ปีครับคาดว่าจะหมดรอบประมาณปี 2015 แต่จะสลับกันขึ้นครับ ในช่วงปี 2000 เค้าเชียร์ให้ทุกคนซื้อ แต่มีแต่คนด่าครับ
หาอ่านเพิ่มได้ใน หนังสือ Hot Commodities ครับ
Jim Roger บอกว่ารอบของ commodities จะอยู่ที่ประมาณ 15 ปีครับคาดว่าจะหมดรอบประมาณปี 2015 แต่จะสลับกันขึ้นครับ ในช่วงปี 2000 เค้าเชียร์ให้ทุกคนซื้อ แต่มีแต่คนด่าครับ
หาอ่านเพิ่มได้ใน หนังสือ Hot Commodities ครับ
- johnlennon
- Verified User
- โพสต์: 202
- ผู้ติดตาม: 0
อุตสาหกรรมใดจะเป็นรายต่อไป
โพสต์ที่ 16
ชาวนาแถวบ้านผม เวลาเกี่ยวข้าวได้เยอะๆ ส่วนมาก ก็ ไปออกรถกระบะมั่งรถมอเตอไซค์มั่ง นอกจากเครื่องใช้ไฟฟ้าแล้ว ผมว่า รถมอเตอไซค์ ก็น่าจะขายดีนะ หุ้นซูซูกิ spsu อาจจะวิ่งเป็นกระทิงเปลี่ยวก็เป็นได้ .... หุ้นที่เกี่ยวกับลิซซิ่ง สินเชื่อมอเตอไซค์ หุ้น tk ก็อาจจะวิ่งอีกตัว.... เหมือนเพ้อเจ้อไงไม่รู้....มันเป็นไปไม่ได้เลยที่หุ้นสองตัวนี้จะบิดขี้เกียจแล้วขยับเขยื้อนอะ........ชาวนาต่างจังหวัดก็แค่เนี่ยละครับ รถกระบะ รถมอเตอไซค์ เครื่องใช้ไฟฟ้า............
ซื้อหุ้นดีเปรียบเหมือนดาวเดือน
-
- Verified User
- โพสต์: 1808
- ผู้ติดตาม: 0
อุตสาหกรรมใดจะเป็นรายต่อไป
โพสต์ที่ 18
ผมว่าอีกซัก 2 - 3 ปีชาวนาก็น่าจะมี มือถือกันเป็นส่วนมากนะครับ :lol:ซากทัพ เขียน:ชาวนาเขาสนใจมือถือไหมครับ
"Risk comes from not knowing what you're doing" - Warren Buffet
สุดยอดของความซับซ้อนคือความเรียบง่าย
http://www.sarut-homesite.net/
สุดยอดของความซับซ้อนคือความเรียบง่าย
http://www.sarut-homesite.net/
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re:
โพสต์ที่ 19
คาดปรับเงินเดือน เพิ่มฐานบัตรเครดิต [ เดลินิวส์, 7 ก.พ. 55 ]Reminiscence of 3 Dogs เขียน:1.สินเชื่อบ้านที่อยู่อาศัยที่รุกทำตลาดเขตชนบท
2.บัตรเครดิต ปัจจุบันเน้นลูกค้าที่มีสลิปเงินเดือน
เจ้าไหนทำตลาดเข้าถึงชาวไร่ชาวนา น่าจะได้ประโยชน์
3.ค้าปลีกที่มีสาขาต่างจังหวัดเยอะๆ
4.สินเชื่อรถยนต์
5.สินเชื่อเงินกู้ทำการเกษตร
6.สวนปลูกผลไม้ที่ปลูกที่ประเทศอื่นยาก
ช่วง2-3ปีที่ผ่านมา supply ล้นมากๆ
เจ้าไหนยังคงทนได้ถึงตอนนี้เชื่อว่าอนาคต
น่าจะได้เห็นผลไม้ราคาแพงแบบในอดีตอีกครั้ง
นายโชค ณ ระนอง ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้จัดการสายบัตรเครดิต ธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า
การทำตลาดบัตรเครดิตปีนี้จะเน้นกลุ่มคนรุ่นใหม่หรือเจเนอเรชั่นที่จบการศึกษาใหม่ เป็นผลมาจากรัฐบาล
มีนโยบายให้ปรับฐานเงินเดือนพนักงานให้อยู่ในระดับ 15,000 บาทต่อเดือนจะทำให้คนกลุ่มนี้มีการใช้จ่ายสูง
เพราะไม่มีประวัติเสียทางด้านวินัยการเงิน โดยตั้งเป้าฐานลูกค้าใหม่ประมาณ 25-30% แบ่งเป็นกลุ่ม คน
รุ่นใหม่ 15% ที่เหลือเป็นกลุ่มประเภทอื่น ๆ จากปัจจุบันมีฐานลูกค้าบัตรเครดิต 1.2 ล้านใบ สำหรับลูกค้าที่
สมัครบัตรเครดิตของธนาคารปกติจะต้องมีรายได้ 20,000 บาทขึ้นไปแต่ในช่วงน้ำท่วมได้ปรับลดวงเงิน
เหลือเพียง 15,000 บาทต่อเดือน ซึ่งปีนี้ลูกค้าที่สมัครจะต้องมีรายได้ประมาณ 15,000-20,000 บาทต่อ
เดือน
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."