เงินปันผล PTTEP ไม่ได้รับเครดิตภาษี นับจาก 9 เม.ย. 2551
-
- Verified User
- โพสต์: 32
- ผู้ติดตาม: 0
เงินปันผล PTTEP ไม่ได้รับเครดิตภาษี นับจาก 9 เม.ย. 2551
โพสต์ที่ 1
เงินปันผล PTTEP ไม่ได้รับเครดิตภาษีเงินปันผล ในการคำนวณภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
อ้างอิง : ตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ที่ 37/2551 ครับ
อ้างอิง : ตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ที่ 37/2551 ครับ
- ครรชิต ไพศาล
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 4623
- ผู้ติดตาม: 1
เงินปันผล PTTEP ไม่ได้รับเครดิตภาษี นับจาก 9 เม.ย. 2551
โพสต์ที่ 2
คัดลอกมาให้อ่าน บ้างสิ
เขาวินิจฉัยว่าอย่างไร
เขาวินิจฉัยว่าอย่างไร
ความสุขอื่น ยิ่งกว่าความสงบใจไม่มี นตฺถิ สนฺติ ปรํ สุขํ
หัดเล่น Facebook กะเขาบ้างแล้วนะครับ ใช้ชื่อ Kanchit Paisan ครับ
Facebook เพจ Eps16year Settrade Set ตลาดหลักทรัพย์ งบดุล ปันผล อัตราส่วนการเงิน กราฟ
Google เพจ kanchitpaisan
Google+ KANCHIT PAISAN
หัดเล่น Facebook กะเขาบ้างแล้วนะครับ ใช้ชื่อ Kanchit Paisan ครับ
Facebook เพจ Eps16year Settrade Set ตลาดหลักทรัพย์ งบดุล ปันผล อัตราส่วนการเงิน กราฟ
Google เพจ kanchitpaisan
Google+ KANCHIT PAISAN
-
- Verified User
- โพสต์: 32
- ผู้ติดตาม: 0
เงินปันผล PTTEP ไม่ได้รับเครดิตภาษี นับจาก 9 เม.ย. 2551
โพสต์ที่ 4
เรียน พี่ครรชิต
ผมส่งไฟล์ คำวินิจฉัย-เงินปันผลปตท สผ
ผมส่งไฟล์ คำวินิจฉัย-เงินปันผลปตท สผ
- ครรชิต ไพศาล
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 4623
- ผู้ติดตาม: 1
เงินปันผล PTTEP ไม่ได้รับเครดิตภาษี นับจาก 9 เม.ย. 2551
โพสต์ที่ 6
ทำไม มาเพิ่ง ประกาศ อย่างนี้ ละ
PTTEP เขาเครดิตภาษี ได้คืนกันมาเป็น 10 ปีแล้ว
แล้วมายกเลิก เอาปีนีัได้ไง
สรรพากรเห็นเงินคืนเยอะๆ เลยงก..งก หาเรื่องไม่คืนภาษีให้เรา
PTTEP เขาเครดิตภาษี ได้คืนกันมาเป็น 10 ปีแล้ว
แล้วมายกเลิก เอาปีนีัได้ไง
สรรพากรเห็นเงินคืนเยอะๆ เลยงก..งก หาเรื่องไม่คืนภาษีให้เรา
แก้ไขล่าสุดโดย ครรชิต ไพศาล เมื่อ พุธ เม.ย. 23, 2008 7:10 pm, แก้ไขไปแล้ว 5 ครั้ง.
ความสุขอื่น ยิ่งกว่าความสงบใจไม่มี นตฺถิ สนฺติ ปรํ สุขํ
หัดเล่น Facebook กะเขาบ้างแล้วนะครับ ใช้ชื่อ Kanchit Paisan ครับ
Facebook เพจ Eps16year Settrade Set ตลาดหลักทรัพย์ งบดุล ปันผล อัตราส่วนการเงิน กราฟ
Google เพจ kanchitpaisan
Google+ KANCHIT PAISAN
หัดเล่น Facebook กะเขาบ้างแล้วนะครับ ใช้ชื่อ Kanchit Paisan ครับ
Facebook เพจ Eps16year Settrade Set ตลาดหลักทรัพย์ งบดุล ปันผล อัตราส่วนการเงิน กราฟ
Google เพจ kanchitpaisan
Google+ KANCHIT PAISAN
-
- Verified User
- โพสต์: 32
- ผู้ติดตาม: 0
เงินปันผล PTTEP ไม่ได้รับเครดิตภาษี นับจาก 9 เม.ย. 2551
โพสต์ที่ 8
เพิ่มเติม
คำวินิจฉัยนี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ที่ลงในคำวินิจฉัยนี้เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2551
คำวินิจฉัยนี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ที่ลงในคำวินิจฉัยนี้เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2551
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3653
- ผู้ติดตาม: 0
เงินปันผล PTTEP ไม่ได้รับเครดิตภาษี นับจาก 9 เม.ย. 2551
โพสต์ที่ 9
คล้ายกันครับพี่ครรชิต ผมยื่นภาษีไปตั้งแต่ 8 ก.พ. ตอนนี้ก็ยังเงียบฉี่เหมือนกัน
สาเหตุก็คงเพราะ PTTEP ด้วยส่วนนึง แต่ถ้ามองในแง่ดีที่สรรพากรมีวินิจฉัยชัดเจน(สักที)
เงินเราก็น่าจะได้คืนเร็วนี้ไงครับ
ปล. แต่ก็ยังไม่รู้ว่าเมื่อไหร่ แฮ่...
สาเหตุก็คงเพราะ PTTEP ด้วยส่วนนึง แต่ถ้ามองในแง่ดีที่สรรพากรมีวินิจฉัยชัดเจน(สักที)
เงินเราก็น่าจะได้คืนเร็วนี้ไงครับ
ปล. แต่ก็ยังไม่รู้ว่าเมื่อไหร่ แฮ่...
-
- Verified User
- โพสต์: 75
- ผู้ติดตาม: 0
เงินปันผล PTTEP ไม่ได้รับเครดิตภาษี นับจาก 9 เม.ย. 2551
โพสต์ที่ 10
ผมยื่นขอภาษีคืน(มี PTTEP ด้วย) เมื่อ 3 มกรา 51 ได้เครดิตภาษีคืนเมื่อ
29 กุมภาพันธ์ 51 รวมศิริ 3 เดือน อิดออดอยู่นานแต่ก็ได้คืนเครดิตภาษี
ของ PTTEP เป็นจำนวน 1 เท่าของเงินปันผลจริงๆ เจ้าหน้าที่ต้องส่งเรื่อง
เข้าสรรพากรเขตเนื่องจากจำนวนเงินคืนมากเกินอำนาจตัดสินใจ
29 กุมภาพันธ์ 51 รวมศิริ 3 เดือน อิดออดอยู่นานแต่ก็ได้คืนเครดิตภาษี
ของ PTTEP เป็นจำนวน 1 เท่าของเงินปันผลจริงๆ เจ้าหน้าที่ต้องส่งเรื่อง
เข้าสรรพากรเขตเนื่องจากจำนวนเงินคืนมากเกินอำนาจตัดสินใจ
- ครรชิต ไพศาล
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 4623
- ผู้ติดตาม: 1
เงินปันผล PTTEP ไม่ได้รับเครดิตภาษี นับจาก 9 เม.ย. 2551
โพสต์ที่ 13
อิจฉา คนได้คืนเร็ว จัง
ปีแรกที่ผมยื่นทางอินเตอร์เนท ก็ได้คืนเร็ว ยังหลงชมเขาเลยว่าเร็วดีจัง
พอปีที่สองก็ออกลาย ขอตรวจหลักฐาน เข้าไปเกือบ 3 เดือนกว่าจะได้เงิน
มาปีนี้เอาอีก ขอตรวจหลักฐานอีก ยื่นตั้งแต่ 26/2/08 จนบัดนี้ 22/4/08 แล้ว
ยังไม่มีวี่แววว่าจะได้เงินเลย เศร้า :x
โทรไปถามว่า ส่งเอกสารไปให้แล้ว ใบปะหน้าก็แนบไปให้แล้ว
ทำไมสอบถามการคืนภาษี ในเวบยังบอกว่าไม่ได้รับเอกสาร
เขาก็ได้แต่บอกว่าถ้ามีเมล์ตอบกลับก็แสดงได้รับแล้ว ไม่ต้องห่วง
แต่เนื่องจากคนยื่นมากตรวจไม่ทัน ขอให้รอ.....รอ....ไปก่อนนะครับ :x
ปีแรกที่ผมยื่นทางอินเตอร์เนท ก็ได้คืนเร็ว ยังหลงชมเขาเลยว่าเร็วดีจัง
พอปีที่สองก็ออกลาย ขอตรวจหลักฐาน เข้าไปเกือบ 3 เดือนกว่าจะได้เงิน
มาปีนี้เอาอีก ขอตรวจหลักฐานอีก ยื่นตั้งแต่ 26/2/08 จนบัดนี้ 22/4/08 แล้ว
ยังไม่มีวี่แววว่าจะได้เงินเลย เศร้า :x
โทรไปถามว่า ส่งเอกสารไปให้แล้ว ใบปะหน้าก็แนบไปให้แล้ว
ทำไมสอบถามการคืนภาษี ในเวบยังบอกว่าไม่ได้รับเอกสาร
เขาก็ได้แต่บอกว่าถ้ามีเมล์ตอบกลับก็แสดงได้รับแล้ว ไม่ต้องห่วง
แต่เนื่องจากคนยื่นมากตรวจไม่ทัน ขอให้รอ.....รอ....ไปก่อนนะครับ :x
ความสุขอื่น ยิ่งกว่าความสงบใจไม่มี นตฺถิ สนฺติ ปรํ สุขํ
หัดเล่น Facebook กะเขาบ้างแล้วนะครับ ใช้ชื่อ Kanchit Paisan ครับ
Facebook เพจ Eps16year Settrade Set ตลาดหลักทรัพย์ งบดุล ปันผล อัตราส่วนการเงิน กราฟ
Google เพจ kanchitpaisan
Google+ KANCHIT PAISAN
หัดเล่น Facebook กะเขาบ้างแล้วนะครับ ใช้ชื่อ Kanchit Paisan ครับ
Facebook เพจ Eps16year Settrade Set ตลาดหลักทรัพย์ งบดุล ปันผล อัตราส่วนการเงิน กราฟ
Google เพจ kanchitpaisan
Google+ KANCHIT PAISAN
- S&K Fund
- Verified User
- โพสต์: 247
- ผู้ติดตาม: 0
เงินปันผล PTTEP ไม่ได้รับเครดิตภาษี นับจาก 9 เม.ย. 2551
โพสต์ที่ 14
พี่ยื่นช่วงเดียวกับพี่ครรชิตนะครับ
ปัจจุบันก็ไม่ได้รับเหมือนกัน รู้สึกว่าปีนี้จะช้ากว่าทุกๆปีนะครับ
ผมยื่นมาประมาณ 4 ปีแล้ว แถมปีนี้เข้าไปตรวจสอบว่าได้รับเอกสารแล้ว
แต่ก็ไม่เห็นช่วงให้ติดตามว่าจัดส่งให้เมื่อไร ช้าๆมาก
ปัจจุบันก็ไม่ได้รับเหมือนกัน รู้สึกว่าปีนี้จะช้ากว่าทุกๆปีนะครับ
ผมยื่นมาประมาณ 4 ปีแล้ว แถมปีนี้เข้าไปตรวจสอบว่าได้รับเอกสารแล้ว
แต่ก็ไม่เห็นช่วงให้ติดตามว่าจัดส่งให้เมื่อไร ช้าๆมาก
-
- Verified User
- โพสต์: 520
- ผู้ติดตาม: 0
เงินปันผล PTTEP ไม่ได้รับเครดิตภาษี นับจาก 9 เม.ย. 2551
โพสต์ที่ 15
ไม่ทราบว่าคำสั่งนี้ขัดแย้งกับอันนี้หรือเปล่า ข้อ 19 ผมทำตัวหนา หนา เอาไว้
=========================================
คำสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 119/2545
เรื่อง การเครดิตภาษีเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
--------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการตรวจและแนะนำผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร กรณีการเครดิตภาษีเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไร ตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร กรมสรรพากรจึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.108/2544 เรื่อง การเครดิตภาษีเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไร ตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2544
ข้อ 2 กรณีบุคคลธรรมดาได้รับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย บุคคลธรรมดาผู้มีเงินได้จะได้รับเครดิตในการคำนวณภาษี โดยนำอัตราภาษีเงินได้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นต้องเสีย หารด้วยผลต่างของหนึ่งร้อย ลบด้วยอัตราภาษีเงินได้ดังกล่าวนั้น ได้ผลลัพธ์ เท่าใดให้คูณด้วยจำนวนเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรที่ได้รับ ผลลัพธ์ที่ได้เป็นเครดิตในการคำนวณภาษี ตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
กรณีบุคคลธรรมดาได้รับเงินปันผลซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่งได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน และเป็นเงินปันผลที่จ่ายจากกำไรสุทธิของกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ผู้ได้รับเงินปันผลไม่ได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ 3 กรณีบุคคลธรรมดาได้รับเงินปันผลซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร จากสถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม ซึ่งไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ได้รับเงินปันผลไม่ได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร แต่หากผู้ได้รับเงินปันผลเลือกเสียภาษีในอัตรา ร้อยละ 10.0 ของเงินได้ ก็ไม่ต้องนำเงินปันผลไปรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 48(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ ตามมาตรา 48(3) วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ 4 กรณีบุคคลธรรมดาได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร จากกองทุนรวมตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งเงินได้ของกองทุนรวมดังกล่าวได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 42(24) แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรไม่ได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร แต่หากผู้ได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรเลือกเสียภาษีในอัตราร้อยละ 10.0 ของเงินได้ ก็ไม่ต้องนำเงินส่วนแบ่งของกำไรไปรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 48(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ ตามมาตรา 48(3) วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ 5 กรณีบุคคลธรรมดาได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร จากกองทุนรวมที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรไม่ได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร แต่หากผู้ได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรยอมให้ผู้จ่ายเงินได้นั้นหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50(2) แห่งประมวลรัษฎากร ในอัตราร้อยละ 10.0 ของเงินได้ เมื่อถึงกำหนดยื่น รายการ ผู้ได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินส่วนแบ่งของกำไรดังกล่าวมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ทั้งนี้ เฉพาะกรณีผู้ได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรไม่ขอรับเงินภาษีที่ ถูกหักไว้นั้นคืน หรือไม่ขอเครดิตเงินภาษีที่ถูกหักไว้นั้น ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 262) พ.ศ. 2536
ข้อ 6 กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยได้รับเงินปันผลจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่งได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน และเป็นเงินปันผลที่จ่ายจากกำไรสุทธิของกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ผู้ได้รับเงินปันผลได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินปันผลดังกล่าวมารวมคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั้งนี้ ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน
ข้อ 7 กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยและบริษัทจดทะเบียน ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรจากกองทุนรวมที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินส่วนแบ่งของกำไรดังกล่าวมารวมคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 263) พ.ศ. 2536
ข้อ 8 กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่งเป็นบริษัทจำกัด ได้รับเงินปันผลจากบริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย หรือสถาบันการเงิน ที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม หรือได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรจากกองทุนรวมตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ได้รับเงินปันผลและเงินส่วนแบ่งของกำไรได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินปันผลและเงินส่วนแบ่งของกำไรดังกล่าวจำนวนกึ่งหนึ่งมารวมคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา 65 ทวิ (10) แห่งประมวลรัษฎากร
กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามวรรคหนึ่ง ได้รับเงินปันผลจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่งได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน และเป็นเงินปันผลที่จ่ายจากกำไรสุทธิของกิจการที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ผู้ได้รับเงินปันผลได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินปันผลดังกล่าวจำนวนกึ่งนึ่งมารวมคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา 65 ทวิ (10) แห่งประมวลรัษฎากร
กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามวรรคหนึ่ง ได้รับเงินส่วนแบ่งกำไรจากกิจการร่วมค้า ซึ่งมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ได้รับเงินส่วนแบ่งกำไรได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินส่วนแบ่งกำไรดังกล่าวทั้งจำนวนมารวมคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา 65 ทวิ (10) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา 5 ทวิ (1) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2500
ข้อ 9 กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยดังต่อไปนี้ได้รับเงินปันผลจากบริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรือ อุตสาหกรรม หรือได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรจากกองทุนรวมตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ได้รับเงินปันผลและเงินส่วนแบ่งของกำไรได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินปันผลและเงินส่วนแบ่ง ของกำไรดังกล่าวทั้งจำนวนมารวมคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั้งนี้ ตาม หลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา 65 ทวิ (10) แห่งประมวลรัษฎากร
(1) บริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่งถือหุ้นในบริษัทจำกัดผู้จ่ายเงินปันผลไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงในบริษัทจำกัดผู้จ่ายเงินปันผลและบริษัทจำกัดผู้จ่ายเงินปันผลไม่ได้ถือหุ้นในบริษัทจำกัดผู้รับเงินปันผลไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม
(2) บริษัทจดทะเบียน ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร
กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามวรรคหนึ่ง ได้รับเงินปันผลจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่งได้รับการส่งเสริมการลงทุนตาม กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน และเป็นเงินปันผลที่จ่ายจากกำไรสุทธิของกิจการที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ผู้ได้รับเงินปันผลได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินปันผลดังกล่าวทั้งจำนวนมารวมคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา 65 ทวิ (10) แห่งประมวลรัษฎากร
กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามวรรคหนึ่ง ได้รับเงินส่วนแบ่งกำไรจากกิจการร่วมค้า ซึ่งมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ได้รับเงินส่วนแบ่งกำไรได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินส่วนแบ่งกำไรดังกล่าวทั้งจำนวนมารวมคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา 65 ทวิ (10) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ 10 กรณีบุคคลธรรมดาได้รับเงินปันผล ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยจ่ายจากเงินปันผลที่ได้รับจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่งได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามกฎหมาย ว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน และเป็นเงินปันผลที่จ่ายจากกำไรสุทธิของกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามข้อ 6 ผู้ได้รับเงินปันผลไม่ได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
กรณีบุคคลธรรมดาได้รับเงินปันผล ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยจ่ายจากเงินส่วนแบ่งของกำไรที่ได้รับจากกองทุนรวมที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ตามข้อ 7ผู้ได้รับเงินปันผลไม่ได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ 11 กรณีบุคคลธรรมดาได้รับเงินปันผล ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย และเป็นเงินปันผลที่เข้าลักษณะตามข้อ 8 และข้อ 9 ผู้ได้รับเงินปันผลได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ 12 กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยจ่ายเงินปันผลซึ่งเป็นเงินปันผลที่จ่ายจากกำไรเฉพาะส่วนที่เกิดขึ้นตามข้อ 10 ผู้จ่ายเงินปันผลจะต้องระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายว่า ไม่ได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยจ่ายเงินปันผลซึ่งเป็นเงินปันผลที่จ่ายจากกำไรทั้งในส่วนที่เกิดขึ้นตามข้อ 10 และกำไรจากการประกอบกิจการตามข้อ 11 ผู้จ่ายเงินปันผลจะต้องระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้ชัดเจนว่า เงินที่ได้จ่ายนั้นจำนวนใดได้รับเครดิตภาษี และจำนวนใดไม่ได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ 13 กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยประกอบกิจการที่ต้องเสียภาษีเงินได้หลายอัตรา เมื่อจ่ายเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรให้แก่ผู้รับซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา และผู้จ่ายเงินได้ทราบโดยชัดแจ้งว่าจ่ายจากเงินกำไรหลังจากเสียภาษีในอัตราใด ผู้จ่ายเงินได้จะต้องระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้ชัดเจนว่าเงินปันผลหรือ เงินส่วนแบ่งของกำไรที่จ่ายนั้นจำนวนใดได้มาจากกิจการที่ต้องเสียภาษีเงินได้ในอัตราใด
กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามวรรคหนึ่ง จ่ายเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรให้แก่ผู้รับซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา และผู้จ่ายเงินได้ไม่สามารถทราบโดยชัดแจ้งว่าจ่ายจากเงินกำไรหลังจากเสียภาษีในอัตราใด ผู้จ่ายเงินได้ต้องเฉลี่ยเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรตามส่วนของกำไรหลังจากเสียภาษีในแต่ละอัตราภาษี และจะต้องระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้ชัดเจนว่าเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรที่จ่ายนั้นจำนวนใดได้มาจากกิจการที่ต้องเสียภาษีเงินได้ในอัตราใด
ข้อ 14 กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้จ่ายเงินปันผลแสดงข้อความที่กำหนดให้ต้องระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามข้อ 12 และข้อ 13 ถูกต้อง และผู้มีเงินได้มิได้นำไปใช้เครดิตภาษี หรือนำไปใช้เครดิตภาษีถูกต้องตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ผู้จ่ายเงินได้และผู้มีเงินได้ไม่ต้องรับผิดตามมาตรา 47 ทวิ วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ 15 กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้จ่ายเงินปันผลแสดงข้อความที่กำหนดให้ต้องระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามข้อ 12 และข้อ 13 ถูกต้อง และผู้มีเงินได้นำไปใช้เครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร แต่ใช้เครดิตภาษีไม่ถูกต้อง โดยเครดิตภาษีที่คำนวณได้มีจำนวนเกินกว่าที่ผู้มีเงินได้พึงได้รับ อันเป็นเหตุให้ผู้มีเงินได้ได้ รับเงินภาษีคืนเกินไปหรือชำระภาษีไว้ไม่ครบถ้วน ผู้จ่ายเงินได้ไม่ต้องรับผิดตามมาตรา 47 ทวิ วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับผู้มีเงินได้ต้องรับผิดตามจำนวนเงินภาษีที่ได้รับคืนเกินไปหรือเงินภาษีที่ชำระไว้ไม่ครบถ้วน ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจเรียกคืนเงินจำนวนดังกล่าวหรือประเมินเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติมจากผู้มีเงินได้ แล้วแต่กรณี ตามมาตรา 47 ทวิ วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ 16 กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้จ่ายเงินปันผลแสดงข้อความที่กำหนดให้ต้องระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามข้อ 12 และข้อ 13 ไม่ถูกต้อง และผู้มีเงินได้มิได้นำไปใช้เครดิตภาษี ตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ผู้จ่ายเงินได้และ ผู้มีเงินได้ ไม่ต้องรับผิดตามมาตรา 47 ทวิ วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ 17 กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้จ่ายเงินปันผลแสดงข้อความที่กำหนดให้ต้องระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามข้อ 12 และข้อ 13 ไม่ถูกต้อง และผู้มีเงินได้นำไปใช้เครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร โดยเครดิตภาษีที่คำนวณได้มีจำนวนเกินกว่าที่ผู้มีเงินได้พึงได้รับ ซึ่งอาจเป็นเหตุให้ผู้มีเงินได้จะได้รับเงินภาษีคืนเกินไป หากผู้มีเงินได้ยังไม่ได้รับเงินภาษีคืน หรือได้รับเงินภาษีคืนแต่ยังไม่เกินกว่าจำนวนที่พึงได้รับ ผู้จ่ายเงินได้และผู้มีเงินได้ไม่ต้องรับผิดตามมาตรา 47 ทวิ วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ 18 กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้จ่ายเงินปันผลแสดงข้อความที่กำหนดให้ต้องระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามข้อ 12 และข้อ 13 ไม่ถูกต้อง และผู้มีเงินได้นำไปใช้เครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร โดยเครดิตภาษีที่คำนวณได้มีจำนวนเกินกว่าที่ผู้มีเงินได้พึงได้รับ อันเป็นเหตุให้ผู้มีเงินได้ได้รับเงินภาษีคืนเกินไปหรือชำระภาษีไว้ไม่ครบถ้วน ผู้จ่ายเงินได้ต้องรับผิดร่วมกับผู้มีเงินได้ตามจำนวนเงินภาษีที่ได้รับคืนเกิน ไปหรือเงินภาษีที่ชำระไว้ไม่ครบถ้วน ตามมาตรา 47 ทวิ วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่ง เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจเรียกคืนเงินจำนวนดังกล่าวหรือประเมินเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติมจาก ผู้จ่ายเงินได้ก่อน แต่ถ้าเรียกคืนเงินภาษีหรือเรียกเก็บภาษีจากผู้จ่ายเงินได้ไม่ได้หรือไม่ครบจำนวนที่ถูกต้อง เจ้าพนักงานประเมินก็มีอำนาจเรียกคืนเงินภาษีหรือเรียกเก็บภาษีจากผู้มีเงินได้ ตามมาตรา 18 แห่งประมวลรัษฎากร
กรณีผู้มีเงินได้ได้รับเงินปันผลจากผู้จ่ายเงินได้หลายราย และผู้จ่ายเงินได้บางรายแสดงข้อความที่กำหนดให้ต้องระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามข้อ 12 และข้อ 13 ไม่ถูกต้อง หากผู้มีเงินได้นำไปใช้เครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร โดยเครดิตภาษีที่คำนวณได้มีจำนวนเกินกว่าที่ผู้มีเงินได้พึงได้รับ อันเป็นเหตุให้ผู้มีเงินได้ได้รับเงินภาษีคืนเกินไปหรือชำระภาษีไว้ไม่ครบถ้วน ผู้จ่ายเงินได้ซึ่งแสดงข้อความที่กำหนดให้ต้องระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ไม่ถูกต้อง ต้องรับผิดร่วมกับผู้มีเงินได้ตามจำนวนเงินภาษีที่ได้รับคืนเกินไปหรือเงินภาษีที่ชำระไว้ไม่ครบถ้วน ตามมาตรา 47 ทวิ วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ 19 กรณีบุคคลธรรมดาได้รับเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่งเป็นเงินปันผลที่ได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ตามข้อ 11 ผู้มีเงินได้จะเลือกเสียภาษีในอัตราร้อยละ 10.0 ของเงินได้ โดยไม่ต้องนำไปรวมคำนวณกับเงินได้อื่นก็ได้ ในกรณีเลือกนำไปรวมคำนวณกับ เงินได้อื่น ผู้มีเงินได้จะได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร และในกรณีที่ได้รับเงินปันผลที่ได้รับเครดิตภาษีจากผู้จ่ายหลายราย ผู้มีเงินได้จะต้องนำเงินได้ดังกล่าวที่ได้รับในปีภาษีทุกรายมารวมคำนวณภาษี ไม่สามารถเลือกเฉพาะบางรายนำมารวมคำนวณภาษีเพื่อได้รับเครดิตภาษี
ข้อ 20 บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง หรือคำวินิจฉัยใด ที่ขัดหรือแย้งกับคำสั่งนี้ให้เป็นอันยกเลิก
สั่ง ณ วันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545
วิชัย จึงรักเกียรติ
(นายวิชัย จึงรักเกียรติ)
รองอธิบดี รักษาราชการแทน
อธิบดีกรมสรรพากร
=========================================
คำสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 119/2545
เรื่อง การเครดิตภาษีเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
--------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการตรวจและแนะนำผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร กรณีการเครดิตภาษีเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไร ตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร กรมสรรพากรจึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.108/2544 เรื่อง การเครดิตภาษีเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไร ตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2544
ข้อ 2 กรณีบุคคลธรรมดาได้รับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย บุคคลธรรมดาผู้มีเงินได้จะได้รับเครดิตในการคำนวณภาษี โดยนำอัตราภาษีเงินได้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นต้องเสีย หารด้วยผลต่างของหนึ่งร้อย ลบด้วยอัตราภาษีเงินได้ดังกล่าวนั้น ได้ผลลัพธ์ เท่าใดให้คูณด้วยจำนวนเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรที่ได้รับ ผลลัพธ์ที่ได้เป็นเครดิตในการคำนวณภาษี ตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
กรณีบุคคลธรรมดาได้รับเงินปันผลซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่งได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน และเป็นเงินปันผลที่จ่ายจากกำไรสุทธิของกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ผู้ได้รับเงินปันผลไม่ได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ 3 กรณีบุคคลธรรมดาได้รับเงินปันผลซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร จากสถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม ซึ่งไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ได้รับเงินปันผลไม่ได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร แต่หากผู้ได้รับเงินปันผลเลือกเสียภาษีในอัตรา ร้อยละ 10.0 ของเงินได้ ก็ไม่ต้องนำเงินปันผลไปรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 48(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ ตามมาตรา 48(3) วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ 4 กรณีบุคคลธรรมดาได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร จากกองทุนรวมตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งเงินได้ของกองทุนรวมดังกล่าวได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 42(24) แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรไม่ได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร แต่หากผู้ได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรเลือกเสียภาษีในอัตราร้อยละ 10.0 ของเงินได้ ก็ไม่ต้องนำเงินส่วนแบ่งของกำไรไปรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 48(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ ตามมาตรา 48(3) วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ 5 กรณีบุคคลธรรมดาได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร จากกองทุนรวมที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรไม่ได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร แต่หากผู้ได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรยอมให้ผู้จ่ายเงินได้นั้นหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50(2) แห่งประมวลรัษฎากร ในอัตราร้อยละ 10.0 ของเงินได้ เมื่อถึงกำหนดยื่น รายการ ผู้ได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินส่วนแบ่งของกำไรดังกล่าวมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ทั้งนี้ เฉพาะกรณีผู้ได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรไม่ขอรับเงินภาษีที่ ถูกหักไว้นั้นคืน หรือไม่ขอเครดิตเงินภาษีที่ถูกหักไว้นั้น ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 262) พ.ศ. 2536
ข้อ 6 กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยได้รับเงินปันผลจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่งได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน และเป็นเงินปันผลที่จ่ายจากกำไรสุทธิของกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ผู้ได้รับเงินปันผลได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินปันผลดังกล่าวมารวมคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั้งนี้ ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน
ข้อ 7 กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยและบริษัทจดทะเบียน ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรจากกองทุนรวมที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินส่วนแบ่งของกำไรดังกล่าวมารวมคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 263) พ.ศ. 2536
ข้อ 8 กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่งเป็นบริษัทจำกัด ได้รับเงินปันผลจากบริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย หรือสถาบันการเงิน ที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม หรือได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรจากกองทุนรวมตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ได้รับเงินปันผลและเงินส่วนแบ่งของกำไรได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินปันผลและเงินส่วนแบ่งของกำไรดังกล่าวจำนวนกึ่งหนึ่งมารวมคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา 65 ทวิ (10) แห่งประมวลรัษฎากร
กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามวรรคหนึ่ง ได้รับเงินปันผลจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่งได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน และเป็นเงินปันผลที่จ่ายจากกำไรสุทธิของกิจการที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ผู้ได้รับเงินปันผลได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินปันผลดังกล่าวจำนวนกึ่งนึ่งมารวมคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา 65 ทวิ (10) แห่งประมวลรัษฎากร
กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามวรรคหนึ่ง ได้รับเงินส่วนแบ่งกำไรจากกิจการร่วมค้า ซึ่งมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ได้รับเงินส่วนแบ่งกำไรได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินส่วนแบ่งกำไรดังกล่าวทั้งจำนวนมารวมคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา 65 ทวิ (10) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา 5 ทวิ (1) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2500
ข้อ 9 กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยดังต่อไปนี้ได้รับเงินปันผลจากบริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรือ อุตสาหกรรม หรือได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรจากกองทุนรวมตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ได้รับเงินปันผลและเงินส่วนแบ่งของกำไรได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินปันผลและเงินส่วนแบ่ง ของกำไรดังกล่าวทั้งจำนวนมารวมคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั้งนี้ ตาม หลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา 65 ทวิ (10) แห่งประมวลรัษฎากร
(1) บริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่งถือหุ้นในบริษัทจำกัดผู้จ่ายเงินปันผลไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงในบริษัทจำกัดผู้จ่ายเงินปันผลและบริษัทจำกัดผู้จ่ายเงินปันผลไม่ได้ถือหุ้นในบริษัทจำกัดผู้รับเงินปันผลไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม
(2) บริษัทจดทะเบียน ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร
กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามวรรคหนึ่ง ได้รับเงินปันผลจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่งได้รับการส่งเสริมการลงทุนตาม กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน และเป็นเงินปันผลที่จ่ายจากกำไรสุทธิของกิจการที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ผู้ได้รับเงินปันผลได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินปันผลดังกล่าวทั้งจำนวนมารวมคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา 65 ทวิ (10) แห่งประมวลรัษฎากร
กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามวรรคหนึ่ง ได้รับเงินส่วนแบ่งกำไรจากกิจการร่วมค้า ซึ่งมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ได้รับเงินส่วนแบ่งกำไรได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินส่วนแบ่งกำไรดังกล่าวทั้งจำนวนมารวมคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา 65 ทวิ (10) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ 10 กรณีบุคคลธรรมดาได้รับเงินปันผล ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยจ่ายจากเงินปันผลที่ได้รับจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่งได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามกฎหมาย ว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน และเป็นเงินปันผลที่จ่ายจากกำไรสุทธิของกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามข้อ 6 ผู้ได้รับเงินปันผลไม่ได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
กรณีบุคคลธรรมดาได้รับเงินปันผล ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยจ่ายจากเงินส่วนแบ่งของกำไรที่ได้รับจากกองทุนรวมที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ตามข้อ 7ผู้ได้รับเงินปันผลไม่ได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ 11 กรณีบุคคลธรรมดาได้รับเงินปันผล ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย และเป็นเงินปันผลที่เข้าลักษณะตามข้อ 8 และข้อ 9 ผู้ได้รับเงินปันผลได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ 12 กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยจ่ายเงินปันผลซึ่งเป็นเงินปันผลที่จ่ายจากกำไรเฉพาะส่วนที่เกิดขึ้นตามข้อ 10 ผู้จ่ายเงินปันผลจะต้องระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายว่า ไม่ได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยจ่ายเงินปันผลซึ่งเป็นเงินปันผลที่จ่ายจากกำไรทั้งในส่วนที่เกิดขึ้นตามข้อ 10 และกำไรจากการประกอบกิจการตามข้อ 11 ผู้จ่ายเงินปันผลจะต้องระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้ชัดเจนว่า เงินที่ได้จ่ายนั้นจำนวนใดได้รับเครดิตภาษี และจำนวนใดไม่ได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ 13 กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยประกอบกิจการที่ต้องเสียภาษีเงินได้หลายอัตรา เมื่อจ่ายเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรให้แก่ผู้รับซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา และผู้จ่ายเงินได้ทราบโดยชัดแจ้งว่าจ่ายจากเงินกำไรหลังจากเสียภาษีในอัตราใด ผู้จ่ายเงินได้จะต้องระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้ชัดเจนว่าเงินปันผลหรือ เงินส่วนแบ่งของกำไรที่จ่ายนั้นจำนวนใดได้มาจากกิจการที่ต้องเสียภาษีเงินได้ในอัตราใด
กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามวรรคหนึ่ง จ่ายเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรให้แก่ผู้รับซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา และผู้จ่ายเงินได้ไม่สามารถทราบโดยชัดแจ้งว่าจ่ายจากเงินกำไรหลังจากเสียภาษีในอัตราใด ผู้จ่ายเงินได้ต้องเฉลี่ยเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรตามส่วนของกำไรหลังจากเสียภาษีในแต่ละอัตราภาษี และจะต้องระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้ชัดเจนว่าเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรที่จ่ายนั้นจำนวนใดได้มาจากกิจการที่ต้องเสียภาษีเงินได้ในอัตราใด
ข้อ 14 กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้จ่ายเงินปันผลแสดงข้อความที่กำหนดให้ต้องระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามข้อ 12 และข้อ 13 ถูกต้อง และผู้มีเงินได้มิได้นำไปใช้เครดิตภาษี หรือนำไปใช้เครดิตภาษีถูกต้องตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ผู้จ่ายเงินได้และผู้มีเงินได้ไม่ต้องรับผิดตามมาตรา 47 ทวิ วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ 15 กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้จ่ายเงินปันผลแสดงข้อความที่กำหนดให้ต้องระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามข้อ 12 และข้อ 13 ถูกต้อง และผู้มีเงินได้นำไปใช้เครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร แต่ใช้เครดิตภาษีไม่ถูกต้อง โดยเครดิตภาษีที่คำนวณได้มีจำนวนเกินกว่าที่ผู้มีเงินได้พึงได้รับ อันเป็นเหตุให้ผู้มีเงินได้ได้ รับเงินภาษีคืนเกินไปหรือชำระภาษีไว้ไม่ครบถ้วน ผู้จ่ายเงินได้ไม่ต้องรับผิดตามมาตรา 47 ทวิ วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับผู้มีเงินได้ต้องรับผิดตามจำนวนเงินภาษีที่ได้รับคืนเกินไปหรือเงินภาษีที่ชำระไว้ไม่ครบถ้วน ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจเรียกคืนเงินจำนวนดังกล่าวหรือประเมินเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติมจากผู้มีเงินได้ แล้วแต่กรณี ตามมาตรา 47 ทวิ วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ 16 กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้จ่ายเงินปันผลแสดงข้อความที่กำหนดให้ต้องระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามข้อ 12 และข้อ 13 ไม่ถูกต้อง และผู้มีเงินได้มิได้นำไปใช้เครดิตภาษี ตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ผู้จ่ายเงินได้และ ผู้มีเงินได้ ไม่ต้องรับผิดตามมาตรา 47 ทวิ วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ 17 กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้จ่ายเงินปันผลแสดงข้อความที่กำหนดให้ต้องระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามข้อ 12 และข้อ 13 ไม่ถูกต้อง และผู้มีเงินได้นำไปใช้เครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร โดยเครดิตภาษีที่คำนวณได้มีจำนวนเกินกว่าที่ผู้มีเงินได้พึงได้รับ ซึ่งอาจเป็นเหตุให้ผู้มีเงินได้จะได้รับเงินภาษีคืนเกินไป หากผู้มีเงินได้ยังไม่ได้รับเงินภาษีคืน หรือได้รับเงินภาษีคืนแต่ยังไม่เกินกว่าจำนวนที่พึงได้รับ ผู้จ่ายเงินได้และผู้มีเงินได้ไม่ต้องรับผิดตามมาตรา 47 ทวิ วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ 18 กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้จ่ายเงินปันผลแสดงข้อความที่กำหนดให้ต้องระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามข้อ 12 และข้อ 13 ไม่ถูกต้อง และผู้มีเงินได้นำไปใช้เครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร โดยเครดิตภาษีที่คำนวณได้มีจำนวนเกินกว่าที่ผู้มีเงินได้พึงได้รับ อันเป็นเหตุให้ผู้มีเงินได้ได้รับเงินภาษีคืนเกินไปหรือชำระภาษีไว้ไม่ครบถ้วน ผู้จ่ายเงินได้ต้องรับผิดร่วมกับผู้มีเงินได้ตามจำนวนเงินภาษีที่ได้รับคืนเกิน ไปหรือเงินภาษีที่ชำระไว้ไม่ครบถ้วน ตามมาตรา 47 ทวิ วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่ง เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจเรียกคืนเงินจำนวนดังกล่าวหรือประเมินเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติมจาก ผู้จ่ายเงินได้ก่อน แต่ถ้าเรียกคืนเงินภาษีหรือเรียกเก็บภาษีจากผู้จ่ายเงินได้ไม่ได้หรือไม่ครบจำนวนที่ถูกต้อง เจ้าพนักงานประเมินก็มีอำนาจเรียกคืนเงินภาษีหรือเรียกเก็บภาษีจากผู้มีเงินได้ ตามมาตรา 18 แห่งประมวลรัษฎากร
กรณีผู้มีเงินได้ได้รับเงินปันผลจากผู้จ่ายเงินได้หลายราย และผู้จ่ายเงินได้บางรายแสดงข้อความที่กำหนดให้ต้องระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามข้อ 12 และข้อ 13 ไม่ถูกต้อง หากผู้มีเงินได้นำไปใช้เครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร โดยเครดิตภาษีที่คำนวณได้มีจำนวนเกินกว่าที่ผู้มีเงินได้พึงได้รับ อันเป็นเหตุให้ผู้มีเงินได้ได้รับเงินภาษีคืนเกินไปหรือชำระภาษีไว้ไม่ครบถ้วน ผู้จ่ายเงินได้ซึ่งแสดงข้อความที่กำหนดให้ต้องระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ไม่ถูกต้อง ต้องรับผิดร่วมกับผู้มีเงินได้ตามจำนวนเงินภาษีที่ได้รับคืนเกินไปหรือเงินภาษีที่ชำระไว้ไม่ครบถ้วน ตามมาตรา 47 ทวิ วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ 19 กรณีบุคคลธรรมดาได้รับเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่งเป็นเงินปันผลที่ได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ตามข้อ 11 ผู้มีเงินได้จะเลือกเสียภาษีในอัตราร้อยละ 10.0 ของเงินได้ โดยไม่ต้องนำไปรวมคำนวณกับเงินได้อื่นก็ได้ ในกรณีเลือกนำไปรวมคำนวณกับ เงินได้อื่น ผู้มีเงินได้จะได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร และในกรณีที่ได้รับเงินปันผลที่ได้รับเครดิตภาษีจากผู้จ่ายหลายราย ผู้มีเงินได้จะต้องนำเงินได้ดังกล่าวที่ได้รับในปีภาษีทุกรายมารวมคำนวณภาษี ไม่สามารถเลือกเฉพาะบางรายนำมารวมคำนวณภาษีเพื่อได้รับเครดิตภาษี
ข้อ 20 บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง หรือคำวินิจฉัยใด ที่ขัดหรือแย้งกับคำสั่งนี้ให้เป็นอันยกเลิก
สั่ง ณ วันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545
วิชัย จึงรักเกียรติ
(นายวิชัย จึงรักเกียรติ)
รองอธิบดี รักษาราชการแทน
อธิบดีกรมสรรพากร
In the long run, We are all dead.
-
- Verified User
- โพสต์: 18134
- ผู้ติดตาม: 0
เงินปันผล PTTEP ไม่ได้รับเครดิตภาษี นับจาก 9 เม.ย. 2551
โพสต์ที่ 16
อย่างนี้ PTTEP ก็ตกสวรรค์เลยล่ะนั้น
จากที่ PTTEP จ่ายปันผลทุกบาททุกสตางค์ แล้วได้คืนทั้งหมด
กลายเป็นว่า PTTEP จ่ายปันผลทุกบาททุกสตางค์เท่ากับ ต้องเสียภาษีแถมไม่ได้คืนเครดิตภาษี ต้องจ่ายเพิ่มเติมด้วย
งานนี้ หุ้น PTTEP ก็ไม่ใช่หุ้นสำหรับใช้คืนเครดิตภาษีต่อไปแล้ว
จากที่ PTTEP จ่ายปันผลทุกบาททุกสตางค์ แล้วได้คืนทั้งหมด
กลายเป็นว่า PTTEP จ่ายปันผลทุกบาททุกสตางค์เท่ากับ ต้องเสียภาษีแถมไม่ได้คืนเครดิตภาษี ต้องจ่ายเพิ่มเติมด้วย
งานนี้ หุ้น PTTEP ก็ไม่ใช่หุ้นสำหรับใช้คืนเครดิตภาษีต่อไปแล้ว
-
- Verified User
- โพสต์: 18134
- ผู้ติดตาม: 0
เงินปันผล PTTEP ไม่ได้รับเครดิตภาษี นับจาก 9 เม.ย. 2551
โพสต์ที่ 17
นี้คือส่วนหนึ่งของอำนาจรัฐ ที่สามารถให้คุณและให้โทษได้
จากการออกคำสั่ง หรือออกกฏ มาให้ปฏิบัติในกิจการต่างๆ
ตัวอย่างนี้น่าจะเข้าเป็นตัวอย่าง CASE STUDY CLASSIC สำหรับหุ้นปันผล
ที่อดีต เป็นหุ้นยอดนิยมในส่วนของปันผล
แต่ปัจจุบันเมื่อมีกฏระเบียบใหม่เป็นหุ้นตกกระป๋อง
จากการออกคำสั่ง หรือออกกฏ มาให้ปฏิบัติในกิจการต่างๆ
ตัวอย่างนี้น่าจะเข้าเป็นตัวอย่าง CASE STUDY CLASSIC สำหรับหุ้นปันผล
ที่อดีต เป็นหุ้นยอดนิยมในส่วนของปันผล
แต่ปัจจุบันเมื่อมีกฏระเบียบใหม่เป็นหุ้นตกกระป๋อง
-
- Verified User
- โพสต์: 18134
- ผู้ติดตาม: 0
เงินปันผล PTTEP ไม่ได้รับเครดิตภาษี นับจาก 9 เม.ย. 2551
โพสต์ที่ 18
คำชี้ขาดในกรณีนี้
ไม่ถือว่าเป็นคำตัดสินของศาล
ทำให้สามารถยื่นต่อศาลเพื่อชี้ขาดต่อได้ว่า
กรณีแบบนี้ ได้เครดิตภาษีคืนหรือไม่ได้ครับ
ย้ำว่าเป็นคำวินัยฉัยเท่านั้น
ถ้าหาก คนที่ยื่นภาษีแล้วข้องใจสามารถท้วงได้ตามเวลาที่กำหนด
และสามารถบอกข้อกฏหมายที่มันขัดกันว่าทำไมต้องยื่นแบบนี้เพราะอะไร
จะได้เอาไปตีความต่อ แล้วเป็นไม้บรรทัดต่อไป
อันนี้ดูจากโหดร้ายไปหน่อย แต่เพื่อปกป้องสิทธิ์ แต่มันเสียเวลา
เพราะไม่ต้องการขึ้นโรงขึ้นศาลหรอก
ไม่ถือว่าเป็นคำตัดสินของศาล
ทำให้สามารถยื่นต่อศาลเพื่อชี้ขาดต่อได้ว่า
กรณีแบบนี้ ได้เครดิตภาษีคืนหรือไม่ได้ครับ
ย้ำว่าเป็นคำวินัยฉัยเท่านั้น
ถ้าหาก คนที่ยื่นภาษีแล้วข้องใจสามารถท้วงได้ตามเวลาที่กำหนด
และสามารถบอกข้อกฏหมายที่มันขัดกันว่าทำไมต้องยื่นแบบนี้เพราะอะไร
จะได้เอาไปตีความต่อ แล้วเป็นไม้บรรทัดต่อไป
อันนี้ดูจากโหดร้ายไปหน่อย แต่เพื่อปกป้องสิทธิ์ แต่มันเสียเวลา
เพราะไม่ต้องการขึ้นโรงขึ้นศาลหรอก
- ครรชิต ไพศาล
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 4623
- ผู้ติดตาม: 1
เงินปันผล PTTEP ไม่ได้รับเครดิตภาษี นับจาก 9 เม.ย. 2551
โพสต์ที่ 21
เขาตีความ จากความแตกต่างของข้อความสีน้ำเงิน เพียงเพื่อว่าจะได้ไม่ต้องจ่ายคืนภาษี
เขาไม่ได้ตีความถึงเจตนารมณ์ เพื่อมุ่งการส่งเสริมการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์
1. ผู้มีเงินได้ที่เป็นบุคคลธรรมดาได้รับเงินปันผลจากบริษัทที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียมและเป็นเงินปันผลซึ่งจ่ายจากกำไรสุทธิที่ได้จากกิจการปิโตรเลียม ไม่ได้รับเครดิตในการคำนวณภาษีตามมาตรา 47 ทวิแห่งประมวลรัษฎากร เนื่องจากการเครดิตภาษีเงินปันผลตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร เงินปันผลดังกล่าวจะต้องจ่ายจากกำไรสุทธิที่ได้เสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากรแล้วเท่านั้น
เขาบอกว่า ภาษีเงินได้ตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ไม่ใช่ ภาษีเงินได้ตามกฎหมายภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร
แต่ผมขอเห็นแย้งว่า ภาษีเงินได้ตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียม เป็นกฎหมายย่อย ของกฎหมายภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร
จะเห็นได้ว่า ประมวลรัษฎากร เป็นกฎหมายหลักในการเก็บภาษีเข้ารัฐ
ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม เป็นกฎหมายย่อย ต้องอยู่ภายใต้ประมวลรัษฎากร จะอ้างว่าไม่อยู่ภายใต้ ประมวลรัษฎากร ไม่น่าจะถูก
ในเวบนี้ถ้ามีใครที่รู้จักกับ หมอ สุรพงษ์ สืบวงค์ลี รัฐมนตรีคลัง
เขาไม่ได้ตีความถึงเจตนารมณ์ เพื่อมุ่งการส่งเสริมการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์
1. ผู้มีเงินได้ที่เป็นบุคคลธรรมดาได้รับเงินปันผลจากบริษัทที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียมและเป็นเงินปันผลซึ่งจ่ายจากกำไรสุทธิที่ได้จากกิจการปิโตรเลียม ไม่ได้รับเครดิตในการคำนวณภาษีตามมาตรา 47 ทวิแห่งประมวลรัษฎากร เนื่องจากการเครดิตภาษีเงินปันผลตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร เงินปันผลดังกล่าวจะต้องจ่ายจากกำไรสุทธิที่ได้เสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากรแล้วเท่านั้น
เขาบอกว่า ภาษีเงินได้ตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ไม่ใช่ ภาษีเงินได้ตามกฎหมายภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร
แต่ผมขอเห็นแย้งว่า ภาษีเงินได้ตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียม เป็นกฎหมายย่อย ของกฎหมายภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร
ที่มี ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ขึ้นมาก็เพื่อกำหนดอัตราภาษีที่ต่างไปจากธุรกิจอื่นเท่านั้น ไม่ใช่ไม่อยู่ภายใต้ประมวลรัษฎากรจาก ข้อความใน พระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514
หมวด 1 ข้อความทั่วไป มาตรา 14
ภาษีค้าง
มาตรา 14 ภาษีที่ต้องเสียหรือนำส่งตามพระราชบัญญัตินี้เมื่อถึงกำหนดชำระหรือนำส่งแล้วมิได้ชำระหรือนำส่ง ให้ถือเป็นภาษีค้าง
เพื่อให้ได้รับชำระภาษีค้าง ให้นำบทบัญญัติตามประมวลรัษฎากรที่เกี่ยวกับวิธีการเพื่อให้ได้รับชำระภาษีอากรค้างมาใช้บังคับ
จะเห็นได้ว่า ประมวลรัษฎากร เป็นกฎหมายหลักในการเก็บภาษีเข้ารัฐ
ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม เป็นกฎหมายย่อย ต้องอยู่ภายใต้ประมวลรัษฎากร จะอ้างว่าไม่อยู่ภายใต้ ประมวลรัษฎากร ไม่น่าจะถูก
ในเวบนี้ถ้ามีใครที่รู้จักกับ หมอ สุรพงษ์ สืบวงค์ลี รัฐมนตรีคลัง
แก้ไขล่าสุดโดย ครรชิต ไพศาล เมื่อ ศุกร์ เม.ย. 25, 2008 9:31 am, แก้ไขไปแล้ว 18 ครั้ง.
ความสุขอื่น ยิ่งกว่าความสงบใจไม่มี นตฺถิ สนฺติ ปรํ สุขํ
หัดเล่น Facebook กะเขาบ้างแล้วนะครับ ใช้ชื่อ Kanchit Paisan ครับ
Facebook เพจ Eps16year Settrade Set ตลาดหลักทรัพย์ งบดุล ปันผล อัตราส่วนการเงิน กราฟ
Google เพจ kanchitpaisan
Google+ KANCHIT PAISAN
หัดเล่น Facebook กะเขาบ้างแล้วนะครับ ใช้ชื่อ Kanchit Paisan ครับ
Facebook เพจ Eps16year Settrade Set ตลาดหลักทรัพย์ งบดุล ปันผล อัตราส่วนการเงิน กราฟ
Google เพจ kanchitpaisan
Google+ KANCHIT PAISAN
-
- Verified User
- โพสต์: 6853
- ผู้ติดตาม: 0
เงินปันผล PTTEP ไม่ได้รับเครดิตภาษี นับจาก 9 เม.ย. 2551
โพสต์ที่ 22
คนเครดิตภาษีปีที่ผ่านมา จะผ่านไป
หรือเปล่าคับ
หรือมีการเรียบภาษีบุคคลธรรมดาเพิ่มเติมพร้อม
เบี้ยปรับ2เท่า+ดอกเบี้ยหรือเปล่าคับ
หรือ
ให้เริ่มตั้งแต่คนซื้อหุ้น9เมษายนเป็นต้นไป
ที่เครดิตภาษีไม่ได้
อ่านแล้วงง
หรือเปล่าคับ
หรือมีการเรียบภาษีบุคคลธรรมดาเพิ่มเติมพร้อม
เบี้ยปรับ2เท่า+ดอกเบี้ยหรือเปล่าคับ
หรือ
ให้เริ่มตั้งแต่คนซื้อหุ้น9เมษายนเป็นต้นไป
ที่เครดิตภาษีไม่ได้
อ่านแล้วงง
- krisy
- Verified User
- โพสต์: 736
- ผู้ติดตาม: 0
เงินปันผล PTTEP ไม่ได้รับเครดิตภาษี นับจาก 9 เม.ย. 2551
โพสต์ที่ 24
พี่ครรชิตจับประเด็นได้น่าสนใจมากค่ะ คงต้องรอผู้รู้ทางกฎหมายมาเฉลย แต่สำหรับเรื่องกฎหมายย่อยกับพวกแม่บทเนี่ย ปกติเคยเข้าใจว่าถ้ามีฉบับเฉพาะเรื่องก็จะต้องบังคับใช้ตามฉบับนั้น ในส่วนที่ไม่มีหรือไม่ได้กล่าวถึงเราถึงจะต้องไปดึงเอาฉบับใหญ่มาใช้ ดังนั้นในเรื่องของการขอเครดิตปันผล ถ้าในกฎหมายเงินได้ปิโตรเลียมไม่ได้ระบุไว้ชัดเจน (ลองหาใน link ที่พี่หามาแล้วไม่เจอ) ก็น่าจะต้องไปใช้แนวของประมวลรัษฎากรนะคะ
สรรพากรทำอะไรไม่ค่อยเคลียร์เลย
สรรพากรทำอะไรไม่ค่อยเคลียร์เลย
.....Give Everything but not Give Up.....
-
- Verified User
- โพสต์: 671
- ผู้ติดตาม: 0
เงินปันผล PTTEP ไม่ได้รับเครดิตภาษี นับจาก 9 เม.ย. 2551
โพสต์ที่ 25
ผมก็เป็นผู้ถือหุ้น PTTEP เหมือนกัน ถ้าดูตามมาตรา 12 และ 13 เหมือนจะไม่ได้ ผมเข้าใจว่า PTTEP ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ประจำปี เพราะได้รับยกเว้น มีหน้าที่ชำระภาษีตามกฎหมายปิโตรเลียม (50-60% ของกำไรสุทธิ) ซึ่งถ้ามองหลักทางบัญชี แล้วเหมือนว่า ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม เป็นค่าใช้จ่ายตัวหนึ่ง แต่ ไม่ต้องตกใจครับ เพราะเคยมีคนถามสรรพากรไปแล้วดังนี้ครับ
เลขที่หนังสือ
: กค 0706/3634
วันที่
: 18 เมษายน 2546
เรื่อง
: ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีเครดิตภาษีของเงินปันผลมาตรา 47 ทวิ
ข้อกฎหมาย ข้อหารือ
: บุคคลธรรมดาได้รับเงินปันผลที่บุคคลธรรมดาได้รับจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่
ประกอบกิจการตามพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 ซึ่งเสียภาษีเงินได้ปิโตรเลียมในอัตราร้อยละ
50 ของกำไรสุทธิ บุคคลธรรมดาหารือว่า จะได้รับเครดิตภาษีของเงินปันผลในการคำนวณ
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเช่นเดียวกับกรณีที่ได้รับเงินปันผลจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เสีย
ภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 30 หรือไม่
แนววินิจฉัย : กฎหมายมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร บัญญัติว่า ให้ผู้มีเงินได้ตามมาตรา 40(4)(ข)
แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งได้รับจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามตามกฎหมายไทย ได้รับ
เครดิตภาษีโดยให้นำอัตราภาษีเงินได้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นต้องเสีย หารด้วยผลต่างของหนึ่ง
ร้อยลบด้วยอัตราภาษีเงินได้ดังกล่าวนั้น ได้ผลลัพธ์เท่าใดให้คูณด้วยจำนวนเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของ
กำไรที่ได้รับ ดังนั้น กรณีที่บุคคลธรรมดาได้รับเงินปันผลจากบริษัทที่ประกอบกิจการปิโตรเลียมตาม
พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 ซึ่งเสียภาษีเงินได้ปิโตรเลียมตามพระราชบัญญัติ
ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 แทนการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร กรณีดังกล่าว
จึงถือว่าเป็นการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทที่ประกอบกิจการปิโตรเลียมเช่นเดียวกัน ฉะนั้น หาก
บริษัทที่จ่ายเงินปันผลดังกล่าวเป็นบริษัทไทย และบุคคลธรรมดาผู้รับเงินปันผลเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยหรือ
มีภูมิลำเนาในประเทศไทย บุคคลธรรมดาจึงมีสิทธิได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่ง
ประมวลรัษฎากร
เลขตู้
: 66/32374
http://www.rd.go.th/publish/24776.0.html
ดังนั้นการวินิจฉัยที่ว่ากันใหม่นี้ (จริงๆ แล้ว ผมยังไม่เห็นเลย) น่าจะตีความดังที่พี่ครรชิต ตั้งข้อสังเกตไว้ครับ ส่วนผู้ถือหุ้นก็ยังน่าจะได้รับเครดิตภาษีเหมือนเดิมนะ (แอบเข้าข้างตัวเอง) :P :P :P
เลขที่หนังสือ
: กค 0706/3634
วันที่
: 18 เมษายน 2546
เรื่อง
: ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีเครดิตภาษีของเงินปันผลมาตรา 47 ทวิ
ข้อกฎหมาย ข้อหารือ
: บุคคลธรรมดาได้รับเงินปันผลที่บุคคลธรรมดาได้รับจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่
ประกอบกิจการตามพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 ซึ่งเสียภาษีเงินได้ปิโตรเลียมในอัตราร้อยละ
50 ของกำไรสุทธิ บุคคลธรรมดาหารือว่า จะได้รับเครดิตภาษีของเงินปันผลในการคำนวณ
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเช่นเดียวกับกรณีที่ได้รับเงินปันผลจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เสีย
ภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 30 หรือไม่
แนววินิจฉัย : กฎหมายมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร บัญญัติว่า ให้ผู้มีเงินได้ตามมาตรา 40(4)(ข)
แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งได้รับจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามตามกฎหมายไทย ได้รับ
เครดิตภาษีโดยให้นำอัตราภาษีเงินได้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นต้องเสีย หารด้วยผลต่างของหนึ่ง
ร้อยลบด้วยอัตราภาษีเงินได้ดังกล่าวนั้น ได้ผลลัพธ์เท่าใดให้คูณด้วยจำนวนเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของ
กำไรที่ได้รับ ดังนั้น กรณีที่บุคคลธรรมดาได้รับเงินปันผลจากบริษัทที่ประกอบกิจการปิโตรเลียมตาม
พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 ซึ่งเสียภาษีเงินได้ปิโตรเลียมตามพระราชบัญญัติ
ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 แทนการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร กรณีดังกล่าว
จึงถือว่าเป็นการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทที่ประกอบกิจการปิโตรเลียมเช่นเดียวกัน ฉะนั้น หาก
บริษัทที่จ่ายเงินปันผลดังกล่าวเป็นบริษัทไทย และบุคคลธรรมดาผู้รับเงินปันผลเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยหรือ
มีภูมิลำเนาในประเทศไทย บุคคลธรรมดาจึงมีสิทธิได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่ง
ประมวลรัษฎากร
เลขตู้
: 66/32374
http://www.rd.go.th/publish/24776.0.html
ดังนั้นการวินิจฉัยที่ว่ากันใหม่นี้ (จริงๆ แล้ว ผมยังไม่เห็นเลย) น่าจะตีความดังที่พี่ครรชิต ตั้งข้อสังเกตไว้ครับ ส่วนผู้ถือหุ้นก็ยังน่าจะได้รับเครดิตภาษีเหมือนเดิมนะ (แอบเข้าข้างตัวเอง) :P :P :P
-
- Verified User
- โพสต์: 1817
- ผู้ติดตาม: 0
เงินปันผล PTTEP ไม่ได้รับเครดิตภาษี นับจาก 9 เม.ย. 2551
โพสต์ที่ 29
เห็นด้วยครับP67 เขียน:ผมคิดว่าเราน่าจะให้ ปตท.สผ. ออกหน้าแทนผู้ถือหุ้น
แล้วเท่าที่ผมได้ลองโทรไปคุยกับIR ทางนั้นทราบเรื่องแล้ว
และกำลังประชุมกันอยู่ว่าจะดำเนินการอย่างไร
แมงเม่าบินเข้ากลางใจ
- tingku
- Verified User
- โพสต์: 330
- ผู้ติดตาม: 0
เงินปันผล PTTEP ไม่ได้รับเครดิตภาษี นับจาก 9 เม.ย. 2551
โพสต์ที่ 30
น่าจะส่ง link นี้ให้ทาง IR ของ PTTEP ด้วยนะครับ ผมว่ามีประเด็นดีๆ เยอะ อย่างประเด็นของพี่ครรชิต ก็น่าสนใจครับ
อีกทางที่ผมว่าน่าจะทำได้คือ พี่ๆ ในนี้หลายคนได้ออก TV กันอยู่เนืองๆ ถ้าลองหยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมาพูดในแง่ สงสัยความจริงใจในการส่งเสริมการลุงทุนของรัฐบาล ก็น่าจะทำให้เกิดกระแสได้ไม่มากก็น้อยครับ
ผมไม่ได้ถือทั้ง PTT และ PTTEP แต่ผมเคยสงสัยมานานว่าถ้ารัฐยกเลิกกฎหมาย เครดิตภาษี แล้วผมยังจะถือหุ้นปันผลต่อไปหรือไม่ พอดีมาเจอประเด็นนี้เลยขอเข้ามาแจมครับ
อีกทางที่ผมว่าน่าจะทำได้คือ พี่ๆ ในนี้หลายคนได้ออก TV กันอยู่เนืองๆ ถ้าลองหยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมาพูดในแง่ สงสัยความจริงใจในการส่งเสริมการลุงทุนของรัฐบาล ก็น่าจะทำให้เกิดกระแสได้ไม่มากก็น้อยครับ
ผมไม่ได้ถือทั้ง PTT และ PTTEP แต่ผมเคยสงสัยมานานว่าถ้ารัฐยกเลิกกฎหมาย เครดิตภาษี แล้วผมยังจะถือหุ้นปันผลต่อไปหรือไม่ พอดีมาเจอประเด็นนี้เลยขอเข้ามาแจมครับ