
ข้อบังคับของโคลงสี่สุภาพ (สังเกตจากแผนผัง)
๑. บทหนึ่งมี ๔ บรรทัด
๒. วรรคหน้าของทุกบรรทัด มี ๕ พยางค์ วรรคหลังของบรรทัดที่ ๑ - ๓ มี ๒ พยางค์
บรรทัดที่ ๔ มี ๔ พยางค์ สามารถท่องจำนวนพยางค์ได้ดังนี้
ห้า -สอง (สร้อย ๒ พยางค์ มักลงท้ายด้วย นา แฮ เฮย เพื่อรับคำ ต่อคำ เชื่อมคำ )
ห้า- สอง
ห้า - สอง (สร้อย ๒ พยางค์ มักลงท้ายด้วย นา แฮ เฮย เพื่อรับคำ ต่อคำ เชื่อมคำ )
ห้า - สี่ (หากจะให้เกิดความไพเราะในการอ่านนิยมลงเสียงจัตวา)
๓. มีตำแหน่งสัมผัสตามเส้นโยง
๔. บังคับรูปวรรณยุกต์ เอก ๗ โท ๔ ตามตำแหน่งในแผนผัง
๕. กรณีที่ไม่สามารถหาพยางค์ที่มีรูปวรรณยุกต์ตามต้องการได้ให้ใช้
เอกโทษ และโทโทษ เอกโทษ และโทโทษ คืออะไร?
หากแต่งโคลงสี่สุภาพ ตามกระทู้หรือตามหัวข้อเรื่อง จะเรียกโคลงนั้นว่าโคลงกระทู้
โดยผู้แต่งจะเขียนกระทู้แยกออกมาด้านข้าง หากแยกออกมา ๑ พยางค์ เรียกว่า
กระทู้ ๑ คำหากแยกออกมา ๒ พยางค์ เรียกว่ากระทู้ ๒ คำ ดูตัวอย่างด้านล่าง หรือ
จากสุภาษิตคำโคลง บางสำนวน
ตัวอย่างคำประพันธ์ที่นิยมท่องเป็นต้นแบบเพื่อง่ายต่อการจดจำแผนผัง
โค้ด: เลือกทั้งหมด
เสียงลือเสียงเล่าอ้าง อันใด พี่เอย
เสียงย่อมยอยศใคร ทั่วหล้า
สองเขือพี่หลับใหล ลืมตื่น ฤาพี่
สองพี่คิดเองอ้า อย่าได้ถามเผือ