เจ้าของบริษัท se-edที่แท้จริงคือใครคับ

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

ล็อคหัวข้อ
hot
Verified User
โพสต์: 6853
ผู้ติดตาม: 0

เจ้าของบริษัท se-edที่แท้จริงคือใครคับ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ปกติ ผมมักเข้าใจ เจ้าของบริัษัทที่แท้จริงของบริัษัทถือหุ้นสัดส่วนที่
มากกว่า50% หรือมีสัดส่วนมากกว่า ผู้ถือหุ้นในระดับเดียวกัน

แต่ผมลองมาดูสัดส่วนผู้ถือหุ้นse-ed
บริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) 51,979,410 24.31
นาย ฤทธิ์ ธีระโกเมน 21,035,960 9.84
HSBC (SINGAPORE) NOMINEES PTE LTD 15,000,000 7.01
นาย ทนง โชติสรยุทธ์ 8,102,460 3.79
นาย พงษ์ศักดิ์ ศิวะภัทรกำพล 5,895,830 2.76
กองทุนเปิด อยุธยาทุนทวีปันผล 5,741,400 2.68
บริษัท อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. ประกันชีวิต จำกัด 5,453,100 2.55
น.ส. ณัญจนา ภู่วรวรรณ 4,634,000 2.17
น.ส. วรรณพร ภู่วรวรรณ 4,628,000 2.16
MORGAN STANLEY & CO INTERNATIONAL LIMITE 4,000,700 1.87
AMERICAN INTERNATIONAL ASSURANCE COMPANY 3,676,700 1.72
นาย วัฒนา เชียงกูล 3,649,400 1.71
กองทุนเปิด อยุธยาเทคโนโลยี 3,623,000 1.69
DEUTSCHE BANK AG, LONDON 3,500,000 1.64
บริษัทเงินทุน ฟินันซ่า จำกัด 3,500,000 1.64
นาย ส่ง สุขดานนท์ 2,686,000 1.26
CHASE MANHATTAN (SINGAPORE) NOMINEES PTE 2,587,800 1.21
นาย นิวัฒน์ แจ้งอริยวงศ์ 2,362,100 1.10
DBS VICKERS SECURITIES (SINGAPORE) PTE L 2,300,000 1.08
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พนักงานจัดการบริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด ( 2,292,000 1.07
กองทุนเปิด ธนชาติทวีรายได้ 5 1,942,300 0.91
NORBAX INC.,13 1,683,200 0.79
นาย ชาญชัย ธนารักษ์โชค 1,500,000 0.70
บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด 1,447,950 0.68
นาง จำเนียร แซ่ซิ้ม 1,437,160 0.67
นาง สุนีย์พร เส็งหู้ 1,417,000 0.66
นาย ณัช ภู่วรวรรณ 1,400,000 0.65
นาย ยืน ภู่วรวรรณ 1,400,000 0.65
นาง วรรณา ภู่วรวรรณ 1,325,940 0.62
น.ส. สุมาลี ตติย์ธานุกุล 1,297,500 0.61

ซึ่งตรงสัดส่วนเนชั่นเปลี่ยนเป็น

เอ็ดยูเคชั่น(SE-ED) listed เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป บมจ. จำหน่าย หุ้นสามัญ 1.96 18.41 31/12/2546 05/01/2547

จะเห็นได้ว่าปัจจุบันไม่มีผุ้ถือรายใดที่ถือหุ้นมากกว่า20%
อีก
ผมเลยสังสัยว่าเจ้าของที่แท้จริงของse-ed คือใครคับ

หรือว่าการดูว่าบริษัทใด ใครเป็นเจ้าของบริษัท ดูจาก
การถือหุ้นสัดส่วนมากกว่า50% ใช่ไม่ได้แล้วใช่ไหมคับ

การถือหุ้นในสัดส่วนที่ต่ำกว่า50%
เป็นการบริหารแนวใหม่หรือเปล่า

ผมด้อยความรู้เลยถามถึง
ภาพประจำตัวสมาชิก
harry
Verified User
โพสต์: 4200
ผู้ติดตาม: 0

เจ้าของบริษัท se-edที่แท้จริงคือใครคับ

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ต้องอ่านประวัติเค้าครับ เค้าเป็นนิสิตคณะวิศวะ จุฬาฯ ที่จบมาแล้วท่ตั้งบริษัททำหนังสือร่วมกัน ที่เนชั่นมามีหุ้นด้วยนี่ ผมไม่แน่ใจว่าเพื่ออะไร แต่ผมคิดว่าทางเนชั่นน่าจะมองออกในแง่ร้านขายหนังสือของซีเอ็ดครับ ตอนนี้ก็มีคุณสุทธิชัย หยุ่นมานั่งบริหารด้วยนี่ครับ
Expecto Patronum!!!!!!
Jeng
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 14783
ผู้ติดตาม: 0

เจ้าของบริษัท se-edที่แท้จริงคือใครคับ

โพสต์ที่ 3

โพสต์

คงต้องไปงัดผู้ถือหุ้น nmg มาดูอีกทีว่า มีการไขว้กันหรือไม่ หรือ nmg ถือทางตรงอย่างเดียว
Invisible hand
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 360
ผู้ติดตาม: 0

เจ้าของบริษัท se-edที่แท้จริงคือใครคับ

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ผมไปอ่านเจอมาเลย copy มาให้นะครับ

CEO/DNA 'ทนง โชติสรยุทธ์' สร้างสภาวะ 3 สมดุลให้ธุรกิจ
สุกัญญา ศุภกิจอำนวย
ชื่อ "ซีเอ็ดยูเคชั่น" เป็นตัวอย่างหนึ่งของบริษัท ที่ประสบความสำเร็จ ในการดำเนินธุรกิจ โดยไต่เต้าจากการทำธุรกิจแบบ "น้ำมิตร" มาสู่ความเป็น "มืออาชีพ"
ความน่าสนใจของบริษัทแห่งนี้อยู่ที่วิธีปรับแนวทางบริหารจัดการในช่วง "หัวเลี้ยวหัวต่อ" เมื่อธุรกิจเริ่มโตขึ้นโดยฝีมือของ "ทนง โชติสรยุทธ์" กรรมการผู้จัดการ บริษัทซีเอ็ดยูเคชั่น และหนึ่งในผู้บุกเบิกก่อตั้ง "ทนง" เล่าว่าปัญหาที่อาจจะพบในการทำธุรกิจทั่วๆไป คือ ผู้ร่วมก่อตั้งมักจะทะเลาะกันด้วยผลประโยชน์ที่ไม่ลงตัวกัน แต่สำหรับซีเอ็ดแล้ว 'แตกต่าง' จากบริษัทอื่นๆ ด้วยแรกเริ่มดำเนินธุรกิจเป็นการรวมตัวระหว่างเพื่อนฝูงที่มีแนวคิดคล้ายๆ กัน เคยร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมา ทำให้มีความอดทนมากกว่า ผลประโยชน์จึงกลายเป็นเรื่องรอง "ผู้ร่วมก่อตั้งดั้งเดิมมี 10 คน เป็นรุ่นพี่ รุ่นน้อง ที่คณะวิศวะจุฬา ร่วมกันทำงานมาจนถึงขณะนี้ก็ 27-28 ปีแล้ว เราทำงานร่วมกันตั้งแต่สมัยที่ยังเรียนที่คณะวิศวะ ซึ่งกิจกรรมสมัยเรียนมีส่วนอย่างมาก เพราะตอนนั้นเรามีกิจกรรมทำหนังสือขาย ไม่เฉพาะภายในมหาวิทยาลัย แต่ยังขายตามร้านหนังสือด้วย" ปัญหาของซีเอ็ดที่เกิดขึ้นสมัยนั้น ก็คือ เรื่อง 'การเงิน' เสียมากกว่า เพราะมีเงินทุนเริ่มต้นเพียง 99,999 บาทเท่านั้น ทำให้บริษัทล้มลุกคลุกคลานพอควร และถึงแม้ว่าจะมีการจัดทำโปรเจคดีๆ เพื่อเสนอขอกู้แบงก์ แต่ปรากฏว่า แบงก์ก็ไม่ยอมปล่อยเงินกู้ให้ เพียงเพราะบริษัทไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน จนในที่สุดก็ต้องดิ้นรนกันเอง โดย "ทนง" ได้นำที่ดินส่วนตัวไปขอกู้กับบริษัทไฟแนนซ์เพื่อนำมาลงทุน
อีกสิ่งหนึ่งที่ซีเอ็ดเผชิญในขณะนั้น ก็คือ ปัญหาเรื่องการตลาด จากยอดขายที่ไม่ได้เพิ่มขึ้น เนื่องจากระบบการจัดจำหน่ายเดิมเป็นแบบฝากขาย ร้านค้าจึงเป็นผู้รู้ยอดขายเพียงผู้เดียว ขณะที่ผู้พิมพ์หนังสือไม่สามารถตรวจสอบยอดขาย และรู้ข้อมูลทางการตลาดได้ทันสถานการณ์ ทำให้เกิดปัญหากับสำนักพิมพ์หลายแห่ง แต่หลังจากนั้น ซีเอ็ดเปิดเกมใหม่ด้วยการคิดค้นระบบการจัดจำหน่ายของตัวเองขึ้นมาใหม่ ในชื่อ "Standing Order" แทนระบบการฝากขาย ระบบนี้จะใช้วิธีการส่งหนังสือไปให้ร้านค้าจำนวนหนึ่งก่อน เพื่อการวางโชว์ เมื่อขายพร่องไปเท่าไร สำนักพิมพ์ก็จะนำหนังสือมาเติมให้เต็มเท่าจำนวนเดิม ส่วนที่ส่งใหม่นี้ถือว่าขายได้ แล้วก็จะเริ่มเก็บเงิน ทั้งยังมีพนักงานของบริษัทเป็นผู้ตรวจสอบยอดขาย ทำให้สามารถตรวจสอบยอดขายและเก็บเงินได้รวดเร็วขึ้น ซึ่งสามารถแก้ไขปัญหาที่เคยมีมาได้
"ในปีแรกเราประสบปัญหามาก เพราะในโลกที่เป็นจริงของการทำธุรกิจจะแตกต่างกับการทำกิจกรรม ทำให้เราแก้ไขไม่ทันทั้งด้านการเงิน การตลาด ประกอบกับในยุคนั้นเรายังไม่มีความรู้เรื่องการจัดการ การตลาด การเงินและ บุคคลเลย" ซีเอ็ด ยุคแรกจึงยึดหลักแบบ "ลองผิดลองถูก" และจับแพะชนแกะก็ว่าได้ ทำให้ต้องใช้เวลาในการสร้างธุรกิจค่อนข้างนานกว่าจะเดินถูกทาง วิธีการแก้ปัญหาของ "ทนง" เริ่มตั้งแต่ไปเข้าคอร์สอบรมหลักสูตรสั้นๆ ที่ตนยังขาดพื้นความรู้ รวมถึงหาหนังสือแนวบริหารธุรกิจ การอ่านงบดุล การตลาด ฉบับภาษาอังกฤษมาอ่าน เพราะในสมัยนั้นยังไม่มีใครจัดพิมพ์หนังสือประเภทนี้ให้คนได้อ่านกัน สุดท้าย ก็หากุนซือหรือผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ไว้คอยเป็นที่ปรึกษาให้แก่บริษัท "หนังสือที่เราจัดพิมพ์ขึ้นมาในยุคแรกๆ จึงเหมาะสำหรับคนที่ต้องการเริ่มต้น แต่ขาดพื้นความรู้ด้านการเงิน การจัดการ ซึ่งเป็นปัญหาเช่นเดียวกับเราสมัยแรก อย่างกรณีหนังสือ "อ่านงบดุลให้เป็น" เราพิมพ์มานานแล้ว แต่ยังติดอันดับ 1 ของหนังสือที่ขายดี และเป็นจุดเริ่มต้นของการพิมพ์หนังสือฮาวทู ที่เราแปลมาจากภาษาอังกฤษจนมาถึงยุคปัจจุบัน"
สำหรับธุรกิจที่เริ่มต้นจาก "ความเป็นเถ้าแก่" ยิ่งธุรกิจขยายตัวปัญหาก็ยิ่งใหญ่ขึ้น เพราะผู้เริ่มต้นมักขาดความรอบรู้ในเรื่องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านการบริหาร การตลาด การเงิน และการบริหารความเสี่ยง "พอธุรกิจเริ่มโต ปัญหาเริ่มรุมเร้า ถ้ามีการวางโครงสร้างที่เหมาะสม จะมีโอกาสโต มันเป็นเหมือนวัฏจักรของธุรกิจ เมื่อบริษัทโตขึ้น ความซับซ้อนจะกระโดดขึ้น ถ้าแก้ได้เราก็จะโตต่อ แต่เมื่อธุรกิจโตต่อ ก็จะมีปัญหาอีกครั้งหนึ่ง ทีนี้ถ้าหากสามารถจัดการกับปัญหาช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อได้ ธุรกิจก็จะราบรื่น" "ทนง" ให้ทัศนะ หนทางที่จะทำให้กิจการหนังสือดำเนินไปได้ราบรื่นในระยะยาวนั้น "ทนง" ได้บทสรุปว่า จำเป็นต้องสร้าง สภาวะ 3 สมดุล ให้ได้
สมดุลแรก จะต้องทำให้ผู้อ่าน หรือผู้ซื้อสินค้าจากบริษัทไปแล้ว เกิดความรู้สึกว่า เป็นสิ่งที่เขาต้องการ มีคุณค่าต่อตัวเขาและคุ้มกับเงินที่เขาจ่ายไป ซึ่งเขาได้ทำมาแล้วในระดับหนึ่งและยังจะทำต่อเนื่อง การจัดการบุคลากร ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม เพราะธุรกิจหนังสือมีความเสี่ยงสูงในยุคแรก และยิ่งทำหนังสือด้านวิชาการให้คนอ่านด้วยแล้ว อาจจะไม่ค่อยมีคนสนใจอ่านมากนัก ขณะที่คนทำหนังสือที่มาจากสายอาชีพอื่น จึงต้องสร้างรายได้ที่เหมาะสมกับวิชาชีพเดิมของเขาให้ได้
สมดุลที่ 2 จึงต้องทำให้พนักงานของบริษัททุกคน มีความสุขในการทำงาน รู้สึกว่างานที่เขาทำนั้น มีคุณค่า มีรายได้ และสวัสดิการที่เหมาะสม จนสามารถฝากอนาคตไว้กับอาชีพนี้ได้ หากทำได้เช่นนี้พนักงานก็จะมีกำลังใจที่จะพัฒนางานนั้นจนเกิดวิวัฒนาการได้
ส่วนสมดุลที่ 3 ก็คือ ต้องทำให้ธุรกิจอยู่รอด และมีกำไรให้ได้ เพราะหากผู้ลงทุนไม่ได้รับผลประโยชน์ที่เหมาะสมจากการลงทุน ก็คงไม่มีใครอยากลงทุน และกิจการก็จะไม่มีเงินมาสนับสนุนให้เติบโตได้อย่างรวดเร็ว
"ถ้ามีสภาวะสมดุล 3 อย่างนี้ได้ กิจการก็จะเติบโตไปได้ด้วยความมั่นคง แต่หากขาดอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็คงไม่สามารถดำเนินงานสืบเนื่องต่อไปได้นาน"
Invisible hand
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 360
ผู้ติดตาม: 0

เจ้าของบริษัท se-edที่แท้จริงคือใครคับ

โพสต์ที่ 5

โพสต์

se-ed ก่อตั้งโดยกลุ่มนิสิตวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และเริ่มต้นจากธุรกิจหนังสือและภายหลังก็เริ่มมาทำร้านหนังสือ

ดังนั้นกลุ่มผู้ถือหุ้นที่เป็นผู้บริหารหรือรายบุคคลอื่นๆ ได้แก่

นาย ทนง โชติสรยุทธ์ 8,102,460 3.79
นาย ฤทธิ์ ธีระโกเมน 21,035,960 9.84
นาย พงษ์ศักดิ์ ศิวะภัทรกำพล 5,895,830 2.76
น.ส. ณัญจนา ภู่วรวรรณ 4,634,000 2.17
น.ส. วรรณพร ภู่วรวรรณ 4,628,000 2.16
นาย วัฒนา เชียงกูล 3,649,400 1.71
นาย ณัช ภู่วรวรรณ 1,400,000 0.65
นาย ยืน ภู่วรวรรณ 1,400,000 0.65
นาง วรรณา ภู่วรวรรณ 1,325,940 0.62

ก็เป็นกลุ่มเดียวกับผู้บริหารชุดปัจจุบัน ส่วนคุณ ฤทธิ์ ธีระโกเมน ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้ง แม้ว่าจะถือหุ้นมากที่สุดในกลุ่มผู้ก่อตั้ง แต่ปัจจุบันไม่ได้ทำงานบริหาร เนื่องจากต้องไปบริหารกิจการ mk สุกี้ ซึ่งเป็นของคุณฤทธิ์เอง

ส่วนการถือหุ้นของ nation นั้น มีความเป็นมาจากในช่วงก่อนวิกฤติ มีความพยายามที่จะเข้า takeover se-ed โดย บง. แห่งหนึ่ง แต่ยังไม่สำเร็จก็เกิดวิกฤติเสียก่อน ซึ่ง บง. แห่งนี้ได้ถูกปิดในปี 2540 และหุ้นในส่วนนี้จึงถูกนำมาประกาศขาย ซึ่งทางกลุ่ม Nation ได้ซื้อหุ้นจำนวนนี้ไปโดยมองว่าจะเป็นตัวเกื้อหนุนในกับธุรกิจของ Nation โดยทาง Nation ได้ส่งตัวแทนมาเป็นกรรมการ 2 ตำแหน่ง และในสิทธิผู้บริหารชุดเดิมในการบริหารต่อไป

ส่วนหากจะไปดูรายชื่อผู้ถือหุ้นย้อนหลังจะเห็นว่ามีอีกกลุ่มหนึ่งคือ Morgan Stanley ซึ่งถือเยอะพอสมควร แต่ปัจจุบันถือน้อยมากแล้ว Morgan Stanley เป็น Nominee ของ Finansa ซึ่งเข้ามาซื้อหุ้นเพิ่มทุนของ se-ed ในช่วงประมาณปี 2541-2542 ซึ่งตอนนั้น se-ed ต้องการเพิ่มทุนมาเสริมสภาพคล่องของธุรกิจ ปัจจุบัน se-ed มีกรรมการที่เป็นตัวแทนจาก Finansa 2 ตำแหน่งครับ

การที่ Finansa ขายหุ้นออกมาจนเกือบหมดและผลจากการ convert warrant จึงทำให้ free float ของ se-ed เยอะมากคาดว่าน่าจะอยู่ประมาณ 40-50% ดังนั้นถือว่าโครงสร้างการถือหุ้นของ se-ed จะประกอบด้วยกลุ่มผู้บริหาร กลุ่ม Nation และผู้ถือหุ้นรายย่อย และมีโครงสร้างกรรมการที่ถ่วงดุลกันอยู่พอสมควรครับ
ล็อคหัวข้อ