+'ณรงค์ชัย'คาดความเสียหายซับไพร์มในสหรัฐ กว่า4แสนล้านดอลล์+

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
beammy
Verified User
โพสต์: 3345
ผู้ติดตาม: 0

+'ณรงค์ชัย'คาดความเสียหายซับไพร์มในสหรัฐ กว่า4แสนล้านดอลล์+

โพสต์ที่ 1

โพสต์

29 มกราคม พ.ศ. 2551 12:36:00

"ณรงค์ชัย"คาดความเสียหายจากปัญหาซับไพร์มในสหรัฐ น่าจะมีมูลค่าสูงถึง 4 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ แนะภาคธุรกิจปรับตัวเชิงรุก/ทำประกันความเสี่ยง รับมือเศรษฐกิจสหรัฐถดถอย

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : นายณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานกรรมการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) กล่าวว่า เศรษฐกิจโลก ต่างได้รับผลกระทบจากสหรัฐ ทำให้ภาคธุรกิจต้องปรับตัวในเชิงรุก รวมทั้งทำประกันความเสี่ยง ซึ่งคาดว่าจะมีมูลค่าความเสียหายจากปัญหาซับไพร์ม 200,000- 400,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) คาดการณ์เศรษฐกิจโลกปีนี้ จะขยายตัว 4.8%

ขณะที่ธนาคารโลก คาดว่าจะขยายตัว 3.3% ส่วนเศรษฐกิจของสหรัฐ คาดว่าจะขยายตัวเพียง 1.9% รวมทั้งการค้าและการเงินโลก จะเปลี่ยนแปลงจากขั้วเศรษฐกิจโลก จี 3 คือ สหรัฐ ยุโรป ญี่ปุ่น มาเป็นประเทศเกิดใหม่ในจีน อินเดีย และอาเซียน

สำหรับผลดำเนินงานของเอ็กซิมแบงก์ ในปีที่ผ่านมา มีกำไรสุทธิ 505 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ มียอดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือเอ็นพีแอล 5.5% หรือประมาณ 2,900 ล้านบาท ลดลงจาก 7,925 ล้านบาท จากปีก่อนหน้า

ขณะที่ ในปี 2551 ได้ตั้งเป้าดำเนินงานในเชิงรุก โดยเตรียมอนุมัติสินเชื่อใหม่ ประมาณ 29,000 ล้านบาท และพร้อมขยายบริการในต่างประเทศ ด้วยการตั้งสาขาเป็นไทยเอ็กซิม อินเตอร์เนชั่นแนล เพราะเป็นตลาดใหม่ที่มีศักยภาพ
Jeng
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 14783
ผู้ติดตาม: 0

+'ณรงค์ชัย'คาดความเสียหายซับไพร์มในสหรัฐ กว่า4แสนล้านดอลล์+

โพสต์ที่ 2

โพสต์

โค้ด: เลือกทั้งหมด

ในจีน อินเดีย และอาเซียน 
Jeng
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 14783
ผู้ติดตาม: 0

+'ณรงค์ชัย'คาดความเสียหายซับไพร์มในสหรัฐ กว่า4แสนล้านดอลล์+

โพสต์ที่ 3

โพสต์

แต่ก่อนไทยโดนยึดประเทศด้วยเงินได้อย่างไร

หวังว่า จีน อินเดีย จะชนะ พวกฝรั่งได้
ภาพประจำตัวสมาชิก
path2544
Verified User
โพสต์: 543
ผู้ติดตาม: 0

Bauspar Finance System : ทางเลือกใหม่สำหรับ Home loan

โพสต์ที่ 4

โพสต์

Bauspar Finance System :  ทางเลือกใหม่สำหรับสินเชื่อที่อยู่อาศัยของไทย?

ดร.โชติชัย  สุวรรณาภรณ์
[email protected]


                    เมื่อเร็ว ๆ นี้  ผมได้รับเชิญไปพูดในงานสัมมนาเรื่อง  Bauspar Finance  System   ซึ่งจัดโดยธนาคารอาคารสงเคราะห์  สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และ The European Federation    of Building Societies  ซึ่งผมเห็นว่า  ระบบสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ระบบนี้มีความน่าสนใจ  และเป็นทางเลือกที่น่าพิจารณาอย่างจริงจัง ว่าจะสามารถพัฒนาสนับสนุนผลักดันให้เกิดขึ้นในประเทศไทย  ได้หรือไม่อย่างไร

                    Bauspar Finance System เป็นระบบการบริหารทางการเงินในการระดมเงินทุน เพื่อได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง   บ้านและที่อยู่อาศัยอื่น ๆ  เป็นรูปแบบที่ได้รับ   ความนิยมมากที่สุดในยุโรป    โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศเยอรมันนี  (Bau แปลว่า สร้างบ้านหรืออาคารที่อยู่อาศัย Spar แปลว่า การออม) สมัยตอนที่อยู่เยอรมันนีก็มีเพื่อนหลาย ๆ คน พูดถึงว่า เขาได้ใช้วิธีนี้ในการมีบ้านไว้ในอนาคต

                    ระบบ Bauspar  ลูกค้าจะต้องออมเงินไว้ก่อนต่อเนื่องกันเป็นเวลาระยะหนึ่ง ซึ่งจะได้ดอกเบี้ย พอครบกำหนดตามเงื่อนไขการออม ลูกค้าก็จะได้รับการพิจารณาให้กู้เงินโดยจะเสียอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำและคงที่ตลอดระยะเวลาการกู้   โดยเงินกู้ที่ผ่านระบบ Bauspar  มาจากกลุ่มสหกรณ์ออมทรัพย์  และสถาบันการเงินระบบ Bauspar  ซึ่งจะรวมเงินที่ลูกค้าจำนวนมากฝากเอาไว้อย่างต่อเนื่องเข้ากับดอกเบี้ยที่ได้จากการฝาก  ทำให้อัตราส่วนเงินกู้ของผู้กู้ต่อเงินกู้ยืมลดลง  นอกจากนี้แล้ว  เงินทุนกู้ยืมที่ได้ในระบบ Bauspar  มาจากกลุ่มสหกรณ์ออมทรัพย์และสถาบันการเงินที่เข้าร่วมเสนอผลิตภัณฑ์พิเศษนี้ ทำให้สามารถคิดดอกเบี้ยเงินกู้ในอัตราที่ต่ำกว่าตลาดทุน  นอกจากนี้แล้วการการันตีอัตราดอกเบี้ยคงที่ก่อนกู้ยืมจริงหลายปี ทำให้ผู้กู้สามารถวางแผนทางการเงินได้รัดกุมยิ่งขึ้น

                     เป็นที่น่าสงเกตว่า  วิกฤติในตลาดอสังหาริมทรัพย์ของอเมริกาและอังกฤษใน เรื่อง  Subprime และ Securitization  เป็นปัญหารุนแรงอย่างกว้างขวาง  แต่ระบบ Bausparไม่ได้รับผลกระทบ  โดยในเยอรมันนีระบบนี้มีลูกหนี้ที่ไม่ชำระหนี้ (NPL) อยู่เพียง 0.04 %

                    ทำไมระบบ Bauspar  น่าจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย

                    1.ระบบ Bauspar เป็นตัวอย่างที่ดีของการทำธุรกิจ แบบ Relationship Banking  เพราะการทำสัญญา Bauspar  กับลูกค้า  ทำให้ธนาคารสร้างสัมพันธ์กับลูกค้า ตั้งแต่เนิ่น ๆ   เป็นการสร้างวินัยการออมให้กับลูกค้า   และธนาคารก็จะช่วยลูกค้าพัฒนาศักยภาพจนเป็นลูกหนี้ที่ดี  ธนาคารจะเข้าใจลูกค้ามากขึ้นและลดความเสี่ยงอันเกิดจากไม่รู้ข้อมูลเครดิตของลูกค้า (Information Asymmetry) ไม่เหมือนกับระบบของอเมริกาและอังกฤษ ที่ทำธุรกิจธนาคารพาณิชย์แบบ  Transactional  Banking  ที่ไม่เน้นการใช้เวลาปลูกฝังและพัฒนาความสัมพันธ์กับลูกค้า

                    2.  ระบบ Bauspar ยังเหมาะกับประเทศที่มีอัตราการออมต่ำ ประชาชนมีรายได้น้อยและบ้านที่อาศัยอยู่มีราคาสูงเมื่อเทียบกับเงินเดือน รายได้ของประชาชน  ซึ่งในเยอรมันนีและหลายประเทศในยุโรป เคยประสบปัญหาเช่นนี้ในอดีต  ทำให้ประชาชนออมเงินเพื่อให้มีที่อยู่อาศัยในอนาคต

                    3.  Bauspar  จะช่วยลดความเสี่ยงจากการที่ลูกค้าไม่ชำระหนี้ (Credit Risk) เนื่องจากลูกค้าได้พิสูจน์แล้วว่า  มีวินัยการเงินและสามารถดูแลวางแผนจัดการกับหนี้ในอนาคต  นอกจากนั้นระบบนี้จะไม่มีความเสี่ยงด้านดอกเบี้ย  (Interest Rate Risk)  เนื่องจากผู้กู้และผู้ให้กู้ได้รับความคุ้มครองจากอัตราดอกเบี้ยที่คงที่ทั้งด้านเงินฝากและด้านสินเชื่อ  ส่วนความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง Liquidity Risk  สำหรับผู้ให้กู้นั้นมีอยู่บ้างแต่ไม่มาก  เนื่องจากผู้ให้กู้จะให้กู้ก็ต่อเมื่อได้รับเงินครบตามกำหนดสัญญา Bauspar

                    4.  ระบบ Bauspar   จะช่วยให้ธนาคารพิสูจน์ความเสี่ยงของลูกค้าได้ง่ายขึ้น  และช่วยส่งเสริมระดับการออมของประเทศและช่วยให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งสินเชื่อได้ง่ายขึ้น

                    5. ระบบนี้ช่วยให้ไม่มีการเก็งกำไรในราคาบ้านมากเกินไป เพราะช่วยให้คนที่ต้องการที่อยู่อาศัยจริง ๆ ซื้อบ้านได้ในระบบ Bauspar ทุกคนต้องคอยระยะเวลาหนึ่ง (4-8 ปี)  การเก็งกำไร แบบซื้อมาขายไปเพื่อทำกำไรระยะสั้น ๆ จะไม่เกิดขึ้น

                     แนวทางการนำระบบ Bauspar  มาใช้กับประเทศไทยนั้นควรทำแบบค่อยเป็นค่อยไป  ระบบนี้จะไม่ได้มาทดแทนระบบปัจจุบันทั้งหมด  แต่ควรมีไว้เพื่อเป็นทางเลือก  ซึ่งต่อไปหากได้รับความนิยมจากสถาบันการเงินและประชาชนก็จะเป็นการผลักดันให้ระบบนี้ได้รับการยอมรับ และเป็นแหล่งสินเชื่อสำคัญสำหรับประชาชนที่ต้องการที่อยู่อาศัยในที่สุด  ในเบื้องต้นผมคิดว่า  ระบบนี้น่าจะเหมาะกับความต้องการสินเชื่อที่อยู่อาศัยของประชาชนผู้มีรายได้น้อย เช่น  โครงการที่อยู่อาศัยของการเคหะแห่งชาติต่างๆ โดยเฉพาะโครงการบ้านเอื้ออาทร  เป็นต้น  ตลอดจนโครงการ ที่อยู่อาศัยของบริษัทเอกชนทั่วไป    ส่วนผู้ให้กู้นั้นสถาบันการเงินที่สนใจก็น่าจะสามารถ ขออนุญาตได้หากในอนาคตธนาคารแห่งประเทศไทย  ซึ่งเป็นผู้อนุมัติผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินให้กับสถาบันการเงินได้กำหนดเกณฑ์และคุณสมบัติในการจัดตั้งระบบนี้ ซึ่งอาจจัดตั้งเป็น Unit หรือ Window หนึ่งในสถาบันการเงิน (ในเยอรมันแม้แต่ Deutsch Bank   ยังจัดตั้งบริษัท Deutsch Bank Bauspar เพื่อให้บริการกับลูกค้าในระบบพิเศษนี้ และลูกค้าสามารถใช้บริการทั้งหมดผ่านทาง Internetได้) หรือถ้าให้เร็วขึ้น หากธนาคารอาคารสงเคราะห์กรุณารับไปศึกษาร่วมกับสถาบันการเงินที่ใช้ระบบ Bauspar ในเยอรมัน (Bausparkassan)  เพื่อพิจารณาความเป็นไปได้  และรูปแบบที่เหมาะสมที่จะนำมาใช้กับประเทศไทยได้  ก็จะเป็นคุณปการอย่างสูงต่อระบบเศรษฐกิจการเงินและประชาชนทั่วไปครับ
ชอบการปล่อยกู้วิธีนี้จริงๆๆๆ สอดคล้องกับวิธีเศรษฐกิจแบบพอเพียง ขอพ่อหลวงอีกต่างหาก
ไม่เก่งทั้งวิเคราะห์เทคนิค ปัจจัยพื้นฐาน แต่เราก็ยังรั้นที่จะรวยเพราะหุ้น
โพสต์โพสต์