ขออนุญาตเล่าเทคนิคการเล่นแบด
- bigshow
- Verified User
- โพสต์: 730
- ผู้ติดตาม: 0
ขออนุญาตเล่าเทคนิคการเล่นแบด
โพสต์ที่ 1
dekba
น้องใหม่ เขียนเมื่อ: วันนี้ เวลา 10:45
--------------------------------------------------------------------------------
ขออนุญาตเล่าเทคนิคการเล่นแบดคู่ เป็นทีมเวอร์ค สำหรับผู้มีพื้นฐานมาบ้างแล้ว เพื่ออาจมีประโยชน์บ้าง ไม่มากก็น้อย คิดว่าเป็นการเล่าสู่กันฟัง ผิดถูกประการใด ได้กราบขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย
เกริ่นนำตั้งแต่พื้นฐานเล็กน้อย แนะนำให้ดูเทป การสอนจากโคชจีน ถ้าม่ายมีใครสอน
1 การจับไม้ อันนี้พูดยากมาก ควรจับให้อยู่สมดุลกลางระหว่าง แบคแฮน และ โฟแฮน การจับไม้ที่ผิดวิธีอาจดูไม่เป็นไร ในตอนเริ่มต้น แต่ถ้าตีไปสักพักแล้ว รู้สึกว่า ตบไม่แรงสักที แสดงว่า ท่านไม่มีการส่งแรงผ่านข้อมือ ในจังหวะสุดท้าย หรือ ท่านมีอาการปวดไหล่ ก็แสดงว่าท่าน ตีผิดวิธี แต่การจับไม้ก็ไม่ได้ตายตัวเสมอไป การจับไม้ที่ดี ต้องตั้งฉากกับลูก ถ้าเน้นแรง ถ้าเน้น วาง ก็ใช้เฉือนเอา บางท่านจึงสอนว่า อย่าจับไม้แน่นมาก ให้จับหลวมๆ เพราะขึ้นอยู่กับจังหวะหรือมุมในการตีด้วย
2 การตีที่ถูกวิธี ได้ทั้งพลังและทิศทาง
มีคนบอกว่า ตบไม่แรงเพราะไม่มีข้อมือ อันนั้นไม่จริงเสมอไป อันที่จริงเกิดจากการส่งผ่านแรงไปให้ทุกส่วนและความสมดุลของโมเมนตั้มการเหวี่ยง ต่างหาก เริ่มตั้งแต่ 1 การใช้แขนซ้ายช่วยในการเหวี่ยงหรือบิดตัว จากข้างหน้าไปข้างหลัง 2 แขนขวาที่จับไม้อยู่ก็ถูกเหวี่ยงจาก หลังมาหน้า 3 คิดอยู่เสมอว่าคือการเหวี่ยงไม้เป็นวงกลม ใครยืดแขนได้ไกลสุด แรงจะเกิด มากสุด ฉะนั้น ครูบางท่านจีงย้ำเสมอว่า มือให้ตึง เวลาตีลูก 4 เมื่อไม้โดนลูกแล้ว ไม่ควรหยุด ควรเหวี่ยงต่อเพื่อส่งกำลัง ต่อให้ครบการเหวี่ยง โดยจังหวะสุดท้ายก็จะมาจบด้วยการออกแรงที่ข้อมือ ฉะนั้น คิดเสมอว่าเป็นการเหวี่ยง เหมือนเล่นกอล์ฟ ทุกครั้ง การตีแบลคแฮนก็เหมือนกัน ถ้าแขนไม่ตึงแล้ว ไม่มีทางที่ลูกจะไปไกลได้
ข้อควรระวัง: ในการตีลูกโดยมือตึงสูงสุดนั้น ลูกก็ต้องอยู่ สูงสุดที่มือเอื้อมถึงเช่นกัน
หน้าไม้ก็สำคัญ ถ้าจะตีแรง หน้าไม้ต้องตั้งฉากกับลูกเสมอ มีบางคนตบแบบเฉือนๆ จะไปแรงได้ไง
3 เสต็บเท้า ของการเล่นเดี่ยว ไปได้ทั้งหน้าและหลัง มีหลักดังนี้
1 ต้องยืนที่กลางคอร์ด ห้ามเอียงไปด้านไดด้านหนึ่ง
2 เอาเท้าขวามาอยู่หน้า เวลาไปข้างหน้า ให้ก้าวเท้าซ้าย และ ตามด้วยขวา (2 ก้าว)
เวลาไปข้างหลัง ให้ก้าวเท้าขวาไปข้างหลัง ตามด้วยซ้าย และ ขวา (3ก้าว)
จะเห็นได้ว่า การก้าวไปข้างหลังใช้ จำนวนก้าว มากกว่า ไปข้างหน้า เพราะ ว่า ลูกไปข้างหลังย่อมใช้เวลานานกว่าไปข้างหน้า นั่นเอง
4 การเสริฟสำหรับการเล่นเดี่ยวควรยืนเสริฟที่กลางคอร์ด
การเล่นคู่ แบ่งเป็น 2 ประเภท
1 การที่ฝ่ายเราได้ลูกเสริฟ หรือ การบุก
2 การที่ตรงข้ามได้ลูกเสริฟ หรือ การรับ
1 การที่ฝ่ายเราได้ลูกเสริฟ หรือ การบุก
เราได้เสริฟ ควรเสริฟสั้นโดยไปยืนตรงตัว T ข้างหน้าเลย พยายามเสริฟ ให้สั้น โดยหวังว่า คู่ต่อสู้จะงัดลูกขึ้น ไปให้เพื่อนที่อยู่ข้างหลัง ตบได้ง่ายๆ
อาจมีพวกรู้ทัน หยอดกลับ ไม่ยอมโยนขึ้น ให้คนเสริฟ วิ่งไป รับลูกนั้น โดยการแย๊บ ถ้าไม่ได้จึงค่อยโยนขึ้น
พึงระวังไว้ว่าใครโยนขึ้นฝ่ายนั้นเป็นฝ่ายรับแล้ว
และมีพวกรู้ทันที่เก่ง จะแย๊บลูกเสริฟเราทันทีที่เราเสริฟลูกสั้นไป ทีนี้จะแก้โดนให้เพื่อนตีสวนกลับไปทันที โดยเพื่อนก็ต้องมายืน ตรงกลางคอร์ดเลย ข้างหลังคนเสิรฟ นั้นเอง ห่างกันนิดเดียว สาเหตที่ไม่ไปยืนอยู่หลังเลย เพราะกลัวจะรับลูกแย๊บไม่ได้ เพราะลูกแย๊บส่วนมากจะสั้นนั่นเอง
เทคนิค อย่าพยายามโยนลูกขึ้น ไปข้างหลัง หรือในลักษณะ การงัดขึ้น ในทุกกรณี เว้นลูกหยอด
- การตีลูกหยอด ควรตีตั้งแต่ลูกอยู่บนหัวเนตเลย ไม่ควรรอให้ต่ำลงมาก่อนค่อยตี
- การเล่นลูกวางหรือ หยอดจากท้ายคอร์ด ควรตีในจังหวะที่ลูกสูงที่สูด เพราะลูกจะมีมุมสูง จะชิดเนตมากๆ
- ถ้าเพื่อน เล่นลูกหยอดจากท้ายคอร์ด ให้เราวิ่งไปเซฟลูกหยอดกลับจากฝ่ายตรงข้ามทันที โดยจะแย๊บ หรือ จะหยอดเฉียงไปอีกมุมก็ได้ ไม่จำเป็น ห้ามโยนขึ้น
- ถ้าเราได้ลูกโยนขึ้นจากฝ่ายตรงข้ามมาให้ และเพื่อนช่วยเซพ อยู่ข้างหน้าแล้ว ให้ตบเท่านั้น ตบไม่ได้ให้ เล่นลูก หยอดวางไปข้างหน้า ไม่ควร โยนโด่งกลับไป
2 การที่ตรงข้ามได้ลูกเสริฟ หรือ การรับ
ตั้งรับโดยการยืนซ้ายขวา รักษาพื้นที่กัน
หน้าใคร ใครรับ
หลังใคร ใครรับ
โดนตบ รับกันเอง
โดนตบมาตรงกลางระหว่าง 2 คน ตัวใครตัวมัน ใครรับได้รับ
ได้ลูกโยนมาตรงกลาง คนด้านซ้าย ตี
การรับลูกเสริฟ มือขวาชูด้านบน พยายามเย๊บลูกเสริฟหยอดให้ได้ โดยไปยืนข้างหน้าเลย เอาขาซ้ายนำ พอจะตีให้ก้าวเท้าขวาไป และแย๊บ
ระวังเจอพวก เสริฟโยน ขึ้น อันนี้ต้องก้าวถอยหลังมา ซ้ายขวา และกระโดดขึ้นทันที มือขวาชูด้านบนไว้ตลอด เพราะกลัวไอ้พวกโยนนี่หละ
Gosen Grapower 500 Ti / BG 65 20 Lbs ไม้โบราณ ม่ายมีขายแล้ว
Pan Vigo ขาดแล้ว
copy มาจาก thaibad จ้า
น้องใหม่ เขียนเมื่อ: วันนี้ เวลา 10:45
--------------------------------------------------------------------------------
ขออนุญาตเล่าเทคนิคการเล่นแบดคู่ เป็นทีมเวอร์ค สำหรับผู้มีพื้นฐานมาบ้างแล้ว เพื่ออาจมีประโยชน์บ้าง ไม่มากก็น้อย คิดว่าเป็นการเล่าสู่กันฟัง ผิดถูกประการใด ได้กราบขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย
เกริ่นนำตั้งแต่พื้นฐานเล็กน้อย แนะนำให้ดูเทป การสอนจากโคชจีน ถ้าม่ายมีใครสอน
1 การจับไม้ อันนี้พูดยากมาก ควรจับให้อยู่สมดุลกลางระหว่าง แบคแฮน และ โฟแฮน การจับไม้ที่ผิดวิธีอาจดูไม่เป็นไร ในตอนเริ่มต้น แต่ถ้าตีไปสักพักแล้ว รู้สึกว่า ตบไม่แรงสักที แสดงว่า ท่านไม่มีการส่งแรงผ่านข้อมือ ในจังหวะสุดท้าย หรือ ท่านมีอาการปวดไหล่ ก็แสดงว่าท่าน ตีผิดวิธี แต่การจับไม้ก็ไม่ได้ตายตัวเสมอไป การจับไม้ที่ดี ต้องตั้งฉากกับลูก ถ้าเน้นแรง ถ้าเน้น วาง ก็ใช้เฉือนเอา บางท่านจึงสอนว่า อย่าจับไม้แน่นมาก ให้จับหลวมๆ เพราะขึ้นอยู่กับจังหวะหรือมุมในการตีด้วย
2 การตีที่ถูกวิธี ได้ทั้งพลังและทิศทาง
มีคนบอกว่า ตบไม่แรงเพราะไม่มีข้อมือ อันนั้นไม่จริงเสมอไป อันที่จริงเกิดจากการส่งผ่านแรงไปให้ทุกส่วนและความสมดุลของโมเมนตั้มการเหวี่ยง ต่างหาก เริ่มตั้งแต่ 1 การใช้แขนซ้ายช่วยในการเหวี่ยงหรือบิดตัว จากข้างหน้าไปข้างหลัง 2 แขนขวาที่จับไม้อยู่ก็ถูกเหวี่ยงจาก หลังมาหน้า 3 คิดอยู่เสมอว่าคือการเหวี่ยงไม้เป็นวงกลม ใครยืดแขนได้ไกลสุด แรงจะเกิด มากสุด ฉะนั้น ครูบางท่านจีงย้ำเสมอว่า มือให้ตึง เวลาตีลูก 4 เมื่อไม้โดนลูกแล้ว ไม่ควรหยุด ควรเหวี่ยงต่อเพื่อส่งกำลัง ต่อให้ครบการเหวี่ยง โดยจังหวะสุดท้ายก็จะมาจบด้วยการออกแรงที่ข้อมือ ฉะนั้น คิดเสมอว่าเป็นการเหวี่ยง เหมือนเล่นกอล์ฟ ทุกครั้ง การตีแบลคแฮนก็เหมือนกัน ถ้าแขนไม่ตึงแล้ว ไม่มีทางที่ลูกจะไปไกลได้
ข้อควรระวัง: ในการตีลูกโดยมือตึงสูงสุดนั้น ลูกก็ต้องอยู่ สูงสุดที่มือเอื้อมถึงเช่นกัน
หน้าไม้ก็สำคัญ ถ้าจะตีแรง หน้าไม้ต้องตั้งฉากกับลูกเสมอ มีบางคนตบแบบเฉือนๆ จะไปแรงได้ไง
3 เสต็บเท้า ของการเล่นเดี่ยว ไปได้ทั้งหน้าและหลัง มีหลักดังนี้
1 ต้องยืนที่กลางคอร์ด ห้ามเอียงไปด้านไดด้านหนึ่ง
2 เอาเท้าขวามาอยู่หน้า เวลาไปข้างหน้า ให้ก้าวเท้าซ้าย และ ตามด้วยขวา (2 ก้าว)
เวลาไปข้างหลัง ให้ก้าวเท้าขวาไปข้างหลัง ตามด้วยซ้าย และ ขวา (3ก้าว)
จะเห็นได้ว่า การก้าวไปข้างหลังใช้ จำนวนก้าว มากกว่า ไปข้างหน้า เพราะ ว่า ลูกไปข้างหลังย่อมใช้เวลานานกว่าไปข้างหน้า นั่นเอง
4 การเสริฟสำหรับการเล่นเดี่ยวควรยืนเสริฟที่กลางคอร์ด
การเล่นคู่ แบ่งเป็น 2 ประเภท
1 การที่ฝ่ายเราได้ลูกเสริฟ หรือ การบุก
2 การที่ตรงข้ามได้ลูกเสริฟ หรือ การรับ
1 การที่ฝ่ายเราได้ลูกเสริฟ หรือ การบุก
เราได้เสริฟ ควรเสริฟสั้นโดยไปยืนตรงตัว T ข้างหน้าเลย พยายามเสริฟ ให้สั้น โดยหวังว่า คู่ต่อสู้จะงัดลูกขึ้น ไปให้เพื่อนที่อยู่ข้างหลัง ตบได้ง่ายๆ
อาจมีพวกรู้ทัน หยอดกลับ ไม่ยอมโยนขึ้น ให้คนเสริฟ วิ่งไป รับลูกนั้น โดยการแย๊บ ถ้าไม่ได้จึงค่อยโยนขึ้น
พึงระวังไว้ว่าใครโยนขึ้นฝ่ายนั้นเป็นฝ่ายรับแล้ว
และมีพวกรู้ทันที่เก่ง จะแย๊บลูกเสริฟเราทันทีที่เราเสริฟลูกสั้นไป ทีนี้จะแก้โดนให้เพื่อนตีสวนกลับไปทันที โดยเพื่อนก็ต้องมายืน ตรงกลางคอร์ดเลย ข้างหลังคนเสิรฟ นั้นเอง ห่างกันนิดเดียว สาเหตที่ไม่ไปยืนอยู่หลังเลย เพราะกลัวจะรับลูกแย๊บไม่ได้ เพราะลูกแย๊บส่วนมากจะสั้นนั่นเอง
เทคนิค อย่าพยายามโยนลูกขึ้น ไปข้างหลัง หรือในลักษณะ การงัดขึ้น ในทุกกรณี เว้นลูกหยอด
- การตีลูกหยอด ควรตีตั้งแต่ลูกอยู่บนหัวเนตเลย ไม่ควรรอให้ต่ำลงมาก่อนค่อยตี
- การเล่นลูกวางหรือ หยอดจากท้ายคอร์ด ควรตีในจังหวะที่ลูกสูงที่สูด เพราะลูกจะมีมุมสูง จะชิดเนตมากๆ
- ถ้าเพื่อน เล่นลูกหยอดจากท้ายคอร์ด ให้เราวิ่งไปเซฟลูกหยอดกลับจากฝ่ายตรงข้ามทันที โดยจะแย๊บ หรือ จะหยอดเฉียงไปอีกมุมก็ได้ ไม่จำเป็น ห้ามโยนขึ้น
- ถ้าเราได้ลูกโยนขึ้นจากฝ่ายตรงข้ามมาให้ และเพื่อนช่วยเซพ อยู่ข้างหน้าแล้ว ให้ตบเท่านั้น ตบไม่ได้ให้ เล่นลูก หยอดวางไปข้างหน้า ไม่ควร โยนโด่งกลับไป
2 การที่ตรงข้ามได้ลูกเสริฟ หรือ การรับ
ตั้งรับโดยการยืนซ้ายขวา รักษาพื้นที่กัน
หน้าใคร ใครรับ
หลังใคร ใครรับ
โดนตบ รับกันเอง
โดนตบมาตรงกลางระหว่าง 2 คน ตัวใครตัวมัน ใครรับได้รับ
ได้ลูกโยนมาตรงกลาง คนด้านซ้าย ตี
การรับลูกเสริฟ มือขวาชูด้านบน พยายามเย๊บลูกเสริฟหยอดให้ได้ โดยไปยืนข้างหน้าเลย เอาขาซ้ายนำ พอจะตีให้ก้าวเท้าขวาไป และแย๊บ
ระวังเจอพวก เสริฟโยน ขึ้น อันนี้ต้องก้าวถอยหลังมา ซ้ายขวา และกระโดดขึ้นทันที มือขวาชูด้านบนไว้ตลอด เพราะกลัวไอ้พวกโยนนี่หละ
Gosen Grapower 500 Ti / BG 65 20 Lbs ไม้โบราณ ม่ายมีขายแล้ว
Pan Vigo ขาดแล้ว
copy มาจาก thaibad จ้า
เป็นคนเลว ในสายตาคนอื่น ดีกว่าโกหกตัวเอง ให้เทิดทูนบูชา ติดกับมายาคติ ที่กะลาครอบ
- little wing
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 187
- ผู้ติดตาม: 0
ขออนุญาตเล่าเทคนิคการเล่นแบด
โพสต์ที่ 2
ขอบคุณครับ มีประโยชน์ จะนำไปลองดู
- bigshow
- Verified User
- โพสต์: 730
- ผู้ติดตาม: 0
ขออนุญาตเล่าเทคนิคการเล่นแบด
โพสต์ที่ 3
Zeven
พี่รอง เขียนเมื่อ: 11/12/2007 01:18
--------------------------------------------------------------------------------
ระดับต่าง ๆ ของการขึ้นเอ็นไม้แบด
การขึ้นเอ็นไม้แบดให้ดีนั้น เทคนิคของผู้ขึ้นเอ็นและคุณภาพของเครื่องขึ้นเอ็นเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่ง นอกจากนั้นแล้ว, การขึ้นเอ็นในระดับที่เหมาะสมต่อผู้ตีก็เป็นเรื่องที่มิอาจมองข้ามได้ การขึ้นเอ็นไม้แบดอาจสามารถแบ่งออกเป็นระดับที่แตกต่างกันดังต่อไปนี้:
การขึ้นเอ็นระดับต่ำ(ต่ำกว่า 20 ปอนด์ลงไป)
การขึ้นเอ็นระดับนี้จะทำให้เอ็นค่อนข้างหย่อน เวลาที่ลูกกระทบกับเอ็นจะมีความรู้สึกเหมือนลูกหยุดกับที่อยู่ช่วงเวลาหนึ่ง การขึ้นเอ็นระดับนี้ยังทำให้การควบคุมลูกเป็นไปได้ยาก ถ้าจุดที่ตีโดนลูกอยู่นอกสวีทสปอตเมื่อไหร่ รับรองได้ว่าทิศทางที่ไม้ของคุณตีเมื่อเทียบกับทิศทางที่ลูกพุ่งออกไปจะแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง การขึ้นเอ็นระดับต่ำมีข้อดีอย่างหนึ่งก็คือ ไม่ว่าคุณขึ้นด้วยเอ็นชนิดไหนก็รับประกันได้ว่าแรงสปริงจะดีแน่นอน การโยนลูกไปหลังคอร์ทหรือการวางลูกให้ลงหน้าเน็ตจะเป็นไปอย่างง่ายดาย แต่อย่าหวังเลยว่าตำแหน่งที่ลูกตกจะเป็นไปตามที่คิดเอาไว้ เพราะการขึ้นเอ็นระดับนี้นั้น ถ้าคุณตีลูกสองครั้งด้วยแรงและทิศทางเดียวกันก็ยังไม่แน่เลยว่าจุดตกของลูกจะเหมือนกัน ฉะนั้นแล้ว, ถ้าคุณขึ้นเอ็นต่ำกว่า 20 ปอนด์ก็จงจำไว้ว่า ไม่ว่าคุณจะใช้ไม้แบดที่เลิศหรูขนาดไหนก็มีค่าไม่ต่างไปกับไม้แบดถูก ๆ เลย
การขึ้นเอ็นระดับกลางต่ำ (20-23 ปอนด์)
นักแบดมือสมัครเล่นทั่วไปมักเลือกที่จะขึ้นเอ็นในระดับกลางต่ำหรือระดับกลาง การขึ้นเอ็นในระดับนี้นั้น ผู้ตีจะรู้สึกว่าแรงสปริงของหน้าไม้ดี การควบคุมลูกก็ไม่เลว การวางลูกไปท้ายคอร์ทก็ไม่ยากเย็น อย่างไรก็ตาม, การขึ้นเอ็นระดับนี้ก็ยังคงมีความรู้สึกว่าลูกหยุดนิ่งในตอนที่ลูกกระทบกับเอ็น ปัญหานี้ไม่ใช่เรื่องสนุกเลยสำหรับนักแบดที่ชอบเล่นบุก การบุกหมายถึงว่าต้องตีให้ลูกพุ่งไปอย่างรวดเร็ว การที่ลูกแบดหยุดนิ่งในขณะที่กระทบกับเอ็นจะส่งผลกระทบต่อการส่งถ่ายแรงไปสู่ลูกแบด ดังนั้นการขึ้นเอ็นระดับต่ำจึงทำให้อานุภาพในการโจมตีถดถอยลงไป
การขึ้นเอ็นระดับกลาง (23-25ปอนด์)
การขึ้นเอ็นระดับนี้จะทำให้คุณสมบัติพิเศษของไม้แบดและเอ็นแบดส่งผลออกมาอย่างเห็นได้ชัด ยกตัวอย่างเช่นถ้าคุณขึ้นด้วยเอ็น68TI, คุณจะรู้สึกได้อย่างชัดเจนถึงแรงสปริงอันยอดเยี่ยม หรือถ้าคุณขึ้นด้วยเอ็น65TI, เวลาที่คุณตีลูกก็จะรู้สึกได้ถึงความแข็งของมัน การขึ้นเอ็นในระดับต่ำจะเหมือนการใช้สหวิง เหวี่ยง ลูกแบดกลับไป แต่การขึ้นเอ็นในระดับกลางขึ้นไปจะทำให้คุณเริ่มจับความรู้สึกได้ว่าลูกแบด เด้ง เมื่อกระทบกับเอ็น
การขึ้นเอ็นระดับกลางสูง (25-27ปอนด์)
แม้คุณจะไม่เคยตีด้วยไม้แบดที่ขึ้นในระดับนี้มาก่อน แต่เมื่อคุณได้ลองตีก็จะรู้สึกได้อย่างชัดเจนถึงความแข็งเป็นพิเศษของหน้าไม้ นอกจากนี้แรงสปริงจากเอ็นก็จะลดน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด การใช้ไม้ที่ขึ้นระดับนี้จะทำให้ผู้ตีรู้สึกได้ว่าการควบคุมทิศทางของลูกทำได้ดีขึ้น ใช้แรงตีลูกแบดออกไปแค่ไหน, ลูกแบดก็จะลอยไปไกลเท่ากับแรงที่เราตีออกไป นอกจากนี้ยังทำให้การเล่นลูกหยอดหน้าเน็ตมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะการขึ้นเอ็นระดับนี้จะทำให้แรงสปริงของหน้าไม้ค่อนข้างต่ำ เราจึงสามารถกะได้อย่างแม่นยำถึงแรงที่จะใช้ตีลูก พูดง่าย ๆ ว่าถ้าคุณตีพลาดขึ้นมา คุณก็จะบอกได้ทันทีว่าที่คุณพลาดเป็นเพราะคุณตีแรงเกินไปหรือตีเบาเกินไป
การขึ้นเอ็นระดับสูง (28ปอนด์ขึ้นไป)
ทำไมนักแบดระดับโลกถึงเลือกที่จะขึ้นเอ็นในระดับสูง? ตอบได้ง่าย ๆ เลยว่าเพื่อช่วยเพิ่มการควบคุมลูกน่ะสิ! การขึ้นเอ็นระดับสูงมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มความแข็งของหน้าไม้ เมื่อลูกแบดกระทบกับเอ็น, การสะท้อนกลับไปของลูกแบดก็แทบไม่ต่างจากแสงที่สะท้อนจากกระจกเงาเลย นอกจากนั้นการควบคุมแรงตีก็จะทำได้ดีขึ้นด้วย เมื่อขึ้นเอ็นระดับสูงจะทำให้หน้าไม้เด้งน้อยลง นั่นจึงหมายความว่าถ้าคุณใช้แรงตีออกไปเท่าใด ลูกก็จะลอยไปเท่ากับแรงที่คุณตีออกไป
อย่างไรก็ตาม, การตีด้วยไม้แบดที่ขึ้นเอ็นระดับสูงไม่ใช่เรื่องง่าย ก่อนอื่นคุณต้องมีพละกำลังเพียงพอเสียก่อน ไม่ได้หมายความว่าคุณจะต้องมีกล้ามเป็นมัด ๆ แต่หมายความว่าคุณจะต้องมีแรง จุดระเบิด พร้อมกับข้อมือที่ทรงพลัง ลองดูตัวอย่างจากนักแบดหญิงทีมชาติจีนดูก็ได้ ดูแล้วพวกเธอก็ไม่เห็นจะบึกซักเท่าไหร่ พูดง่าย ๆ ว่าในหมู่พวกเรานักแบดสมัครเล่นบางคนยังดูแข็งแรงกว่าพวกเธอเลย สิ่งที่พวกเธอมีเหนือกว่าพวกเราก็คือแรงของข้อมือ, แรงปะทุฉับพลัน นอกจากนั้นยังมีการเคลื่อนไหวของร่างกายที่ถูกต้องเพื่อช่วยเสริมแรงตีอีกด้วย
เมื่อทราบถึงระดับต่าง ๆ ของการขึ้นเอ็นไม้แบดแล้ว เราก็ต้องพิจารณาถึงคุณสมบัติของตัวเราเองว่าเหมาะกับการขึ้นเอ็นในระดับไหน นอกจากนี้ยังต้องดูด้วยว่าไม้แบดของเราสามารถขึ้นเอ็นในระดับนั้นได้หรือไม่ ไม้แบดยี่ห้อดัง ๆ ทั้งหลายจะมีป้ายบอกถึงระดับสูงสุดที่ไม้แบดนั้น ๆ จะขึ้นเอ็นได้ ถ้าคุณขึ้นเอ็นสูงกว่าระดับที่ระบุเอาไว้ก็จะเสี่ยงต่อการที่ไม้แบดจะพังได้ นอกจากนี้การขึ้นเอ็นตึง ๆ จะทำให้โอกาสที่เอ็นขาดมีมากขึ้น ก่อนขึ้นเอ็นก็คิดถึงเงินในกระเป๋าสตางค์ของตัวเองด้วยก็แล้วกัน
แปลและเรียบเรียงจาก: http://encyc.sports.cn/topic/yuqiu/jzs/ ... 37654.html
พี่รอง เขียนเมื่อ: 11/12/2007 01:18
--------------------------------------------------------------------------------
ระดับต่าง ๆ ของการขึ้นเอ็นไม้แบด
การขึ้นเอ็นไม้แบดให้ดีนั้น เทคนิคของผู้ขึ้นเอ็นและคุณภาพของเครื่องขึ้นเอ็นเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่ง นอกจากนั้นแล้ว, การขึ้นเอ็นในระดับที่เหมาะสมต่อผู้ตีก็เป็นเรื่องที่มิอาจมองข้ามได้ การขึ้นเอ็นไม้แบดอาจสามารถแบ่งออกเป็นระดับที่แตกต่างกันดังต่อไปนี้:
การขึ้นเอ็นระดับต่ำ(ต่ำกว่า 20 ปอนด์ลงไป)
การขึ้นเอ็นระดับนี้จะทำให้เอ็นค่อนข้างหย่อน เวลาที่ลูกกระทบกับเอ็นจะมีความรู้สึกเหมือนลูกหยุดกับที่อยู่ช่วงเวลาหนึ่ง การขึ้นเอ็นระดับนี้ยังทำให้การควบคุมลูกเป็นไปได้ยาก ถ้าจุดที่ตีโดนลูกอยู่นอกสวีทสปอตเมื่อไหร่ รับรองได้ว่าทิศทางที่ไม้ของคุณตีเมื่อเทียบกับทิศทางที่ลูกพุ่งออกไปจะแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง การขึ้นเอ็นระดับต่ำมีข้อดีอย่างหนึ่งก็คือ ไม่ว่าคุณขึ้นด้วยเอ็นชนิดไหนก็รับประกันได้ว่าแรงสปริงจะดีแน่นอน การโยนลูกไปหลังคอร์ทหรือการวางลูกให้ลงหน้าเน็ตจะเป็นไปอย่างง่ายดาย แต่อย่าหวังเลยว่าตำแหน่งที่ลูกตกจะเป็นไปตามที่คิดเอาไว้ เพราะการขึ้นเอ็นระดับนี้นั้น ถ้าคุณตีลูกสองครั้งด้วยแรงและทิศทางเดียวกันก็ยังไม่แน่เลยว่าจุดตกของลูกจะเหมือนกัน ฉะนั้นแล้ว, ถ้าคุณขึ้นเอ็นต่ำกว่า 20 ปอนด์ก็จงจำไว้ว่า ไม่ว่าคุณจะใช้ไม้แบดที่เลิศหรูขนาดไหนก็มีค่าไม่ต่างไปกับไม้แบดถูก ๆ เลย
การขึ้นเอ็นระดับกลางต่ำ (20-23 ปอนด์)
นักแบดมือสมัครเล่นทั่วไปมักเลือกที่จะขึ้นเอ็นในระดับกลางต่ำหรือระดับกลาง การขึ้นเอ็นในระดับนี้นั้น ผู้ตีจะรู้สึกว่าแรงสปริงของหน้าไม้ดี การควบคุมลูกก็ไม่เลว การวางลูกไปท้ายคอร์ทก็ไม่ยากเย็น อย่างไรก็ตาม, การขึ้นเอ็นระดับนี้ก็ยังคงมีความรู้สึกว่าลูกหยุดนิ่งในตอนที่ลูกกระทบกับเอ็น ปัญหานี้ไม่ใช่เรื่องสนุกเลยสำหรับนักแบดที่ชอบเล่นบุก การบุกหมายถึงว่าต้องตีให้ลูกพุ่งไปอย่างรวดเร็ว การที่ลูกแบดหยุดนิ่งในขณะที่กระทบกับเอ็นจะส่งผลกระทบต่อการส่งถ่ายแรงไปสู่ลูกแบด ดังนั้นการขึ้นเอ็นระดับต่ำจึงทำให้อานุภาพในการโจมตีถดถอยลงไป
การขึ้นเอ็นระดับกลาง (23-25ปอนด์)
การขึ้นเอ็นระดับนี้จะทำให้คุณสมบัติพิเศษของไม้แบดและเอ็นแบดส่งผลออกมาอย่างเห็นได้ชัด ยกตัวอย่างเช่นถ้าคุณขึ้นด้วยเอ็น68TI, คุณจะรู้สึกได้อย่างชัดเจนถึงแรงสปริงอันยอดเยี่ยม หรือถ้าคุณขึ้นด้วยเอ็น65TI, เวลาที่คุณตีลูกก็จะรู้สึกได้ถึงความแข็งของมัน การขึ้นเอ็นในระดับต่ำจะเหมือนการใช้สหวิง เหวี่ยง ลูกแบดกลับไป แต่การขึ้นเอ็นในระดับกลางขึ้นไปจะทำให้คุณเริ่มจับความรู้สึกได้ว่าลูกแบด เด้ง เมื่อกระทบกับเอ็น
การขึ้นเอ็นระดับกลางสูง (25-27ปอนด์)
แม้คุณจะไม่เคยตีด้วยไม้แบดที่ขึ้นในระดับนี้มาก่อน แต่เมื่อคุณได้ลองตีก็จะรู้สึกได้อย่างชัดเจนถึงความแข็งเป็นพิเศษของหน้าไม้ นอกจากนี้แรงสปริงจากเอ็นก็จะลดน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด การใช้ไม้ที่ขึ้นระดับนี้จะทำให้ผู้ตีรู้สึกได้ว่าการควบคุมทิศทางของลูกทำได้ดีขึ้น ใช้แรงตีลูกแบดออกไปแค่ไหน, ลูกแบดก็จะลอยไปไกลเท่ากับแรงที่เราตีออกไป นอกจากนี้ยังทำให้การเล่นลูกหยอดหน้าเน็ตมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะการขึ้นเอ็นระดับนี้จะทำให้แรงสปริงของหน้าไม้ค่อนข้างต่ำ เราจึงสามารถกะได้อย่างแม่นยำถึงแรงที่จะใช้ตีลูก พูดง่าย ๆ ว่าถ้าคุณตีพลาดขึ้นมา คุณก็จะบอกได้ทันทีว่าที่คุณพลาดเป็นเพราะคุณตีแรงเกินไปหรือตีเบาเกินไป
การขึ้นเอ็นระดับสูง (28ปอนด์ขึ้นไป)
ทำไมนักแบดระดับโลกถึงเลือกที่จะขึ้นเอ็นในระดับสูง? ตอบได้ง่าย ๆ เลยว่าเพื่อช่วยเพิ่มการควบคุมลูกน่ะสิ! การขึ้นเอ็นระดับสูงมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มความแข็งของหน้าไม้ เมื่อลูกแบดกระทบกับเอ็น, การสะท้อนกลับไปของลูกแบดก็แทบไม่ต่างจากแสงที่สะท้อนจากกระจกเงาเลย นอกจากนั้นการควบคุมแรงตีก็จะทำได้ดีขึ้นด้วย เมื่อขึ้นเอ็นระดับสูงจะทำให้หน้าไม้เด้งน้อยลง นั่นจึงหมายความว่าถ้าคุณใช้แรงตีออกไปเท่าใด ลูกก็จะลอยไปเท่ากับแรงที่คุณตีออกไป
อย่างไรก็ตาม, การตีด้วยไม้แบดที่ขึ้นเอ็นระดับสูงไม่ใช่เรื่องง่าย ก่อนอื่นคุณต้องมีพละกำลังเพียงพอเสียก่อน ไม่ได้หมายความว่าคุณจะต้องมีกล้ามเป็นมัด ๆ แต่หมายความว่าคุณจะต้องมีแรง จุดระเบิด พร้อมกับข้อมือที่ทรงพลัง ลองดูตัวอย่างจากนักแบดหญิงทีมชาติจีนดูก็ได้ ดูแล้วพวกเธอก็ไม่เห็นจะบึกซักเท่าไหร่ พูดง่าย ๆ ว่าในหมู่พวกเรานักแบดสมัครเล่นบางคนยังดูแข็งแรงกว่าพวกเธอเลย สิ่งที่พวกเธอมีเหนือกว่าพวกเราก็คือแรงของข้อมือ, แรงปะทุฉับพลัน นอกจากนั้นยังมีการเคลื่อนไหวของร่างกายที่ถูกต้องเพื่อช่วยเสริมแรงตีอีกด้วย
เมื่อทราบถึงระดับต่าง ๆ ของการขึ้นเอ็นไม้แบดแล้ว เราก็ต้องพิจารณาถึงคุณสมบัติของตัวเราเองว่าเหมาะกับการขึ้นเอ็นในระดับไหน นอกจากนี้ยังต้องดูด้วยว่าไม้แบดของเราสามารถขึ้นเอ็นในระดับนั้นได้หรือไม่ ไม้แบดยี่ห้อดัง ๆ ทั้งหลายจะมีป้ายบอกถึงระดับสูงสุดที่ไม้แบดนั้น ๆ จะขึ้นเอ็นได้ ถ้าคุณขึ้นเอ็นสูงกว่าระดับที่ระบุเอาไว้ก็จะเสี่ยงต่อการที่ไม้แบดจะพังได้ นอกจากนี้การขึ้นเอ็นตึง ๆ จะทำให้โอกาสที่เอ็นขาดมีมากขึ้น ก่อนขึ้นเอ็นก็คิดถึงเงินในกระเป๋าสตางค์ของตัวเองด้วยก็แล้วกัน
แปลและเรียบเรียงจาก: http://encyc.sports.cn/topic/yuqiu/jzs/ ... 37654.html
เป็นคนเลว ในสายตาคนอื่น ดีกว่าโกหกตัวเอง ให้เทิดทูนบูชา ติดกับมายาคติ ที่กะลาครอบ
- por_jai
- Verified User
- โพสต์: 14338
- ผู้ติดตาม: 0
ขออนุญาตเล่าเทคนิคการเล่นแบด
โพสต์ที่ 4
8) ผมขึ้นเอ็นที่20*22ปอนด์ครับ
ขึ้นตึงกว่านี้
ไม่เอ็นขาดก็ไม้หัก...ประจำ
เปลืองมากๆครับ
พวกแข่งระดับ28ปอนด์นี่มันระดับชาติระดับโลกแล้ว
พวกนี้เขามีสปอนเซอร์ เท่าไหร่เท่ากัน
อย่างพวกผมเล่นกันต่อให้ขึ้น28 มาตบ
ก็รับได้สบายครับ
เพราะความหนักของลูกตบมันไม่ได้ขึ้นอยู่ที่เอ็นอย่างเดียวที่ไหน..
ขึ้นตึงกว่านี้
ไม่เอ็นขาดก็ไม้หัก...ประจำ
เปลืองมากๆครับ
พวกแข่งระดับ28ปอนด์นี่มันระดับชาติระดับโลกแล้ว
พวกนี้เขามีสปอนเซอร์ เท่าไหร่เท่ากัน
อย่างพวกผมเล่นกันต่อให้ขึ้น28 มาตบ
ก็รับได้สบายครับ
เพราะความหนักของลูกตบมันไม่ได้ขึ้นอยู่ที่เอ็นอย่างเดียวที่ไหน..
กรูเก่ง กิเลสเก่งกว่า