|0 คอมเมนต์
Who gonna solve this?
มีคนเล่าให้ฟังว่าความกลัวของแพทย์เรื่องตัดสินจำคุกกรณีผ่าตัดไส้ติ่งเริ่ม เกิดผลต่อผู้ป่วยแล้ว
ผู้ป่วยชายคนหนึ่ง ปวดท้อง ไปพบแพทย์ รพช แพทย์วินิจฉัยว่าไส้ติ่งอักเสบ โรงพยาบาลแห่งนั้นเดิมเคยผ่าตัดไส้ติ่งได้ แต่เมื่อเกิดเหตุพิพากษาจำคุกแพทย์ ทางโรงพยาบลจึงประกาศปิดห้องผ่าตัดเนื่องจาก ไม่มีวิสัญญีแพทย์ และแนะนำให้ผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลจังหวัด
เมื่อไปโรงพยาบาลจังหวัด คำตอบคือ เตียงเต็ม แต่ถ้าจำเป็นโรงพยาบาลก็จะรับเข้ามารอคิวผ่าตัด และเมื่อผู้ป่วยท่านนั้นได้เห็นผู้ป่วยที่นอนเกลื่อนล้นออกมาจากward จึงทำใจไปรักษาที่โรงพยาบาลเอกชนที่อยูในจังหวัด
เมื่อไปถึงโรงพยาบาลเอกชน แพทย์บอกว่าค่ารักษาประมาณ 6 หมื่นบาท
ผู้ป่วยท่านนั้นมีอาชีพเป็นชาวนา ต้องไปกู้ยืมเงินมาเพื่อผ่าตัด
ในที่สุด คนรับกรรมของเรื่องนี้ก็ยังคงเป็นผู้ป่วยนี่เอง
.
.
.
เอ่อ ผมว่าผมเรียกว่าเคสมันก็ไม่ได้หมายความว่าผมไม่แคร์ความเป็นคนของคนไข้นะ ในมุมมองของผมมันไม่เกี่ยวกันครับเรื่องคำแทนตัวคนไข้กับความเคารพในสิทธิผู้ป่วยเนี่ย
.
.
.
ลุงทีมเคยไปเตะบอลสนามปูน ? เตะมากี่ปีแล้วครับ 555 เราอาจเคยเจอกันก็ได้ ...
.
.
.
ผลิตแพทย์เพิ่มใน environment อย่างนี้มันไม่ค่อยจะได้เรื่องหรอกครับ...
ทำยังไงให้การกระจายแพทย์มันดีกว่าที่เป็นอยู่ดีกว่า ไม่ใช่หมอจบใหม่ไปอยู่ รพจ. ได้ไม่ชนปีก็ลาออกเพราะหลาย ๆ สาเหตุที่ถูกละเลยมาเป็นชาติและคงถูกละเลยต่อไป
เช่น
ผอ. หรือระบบบริหารจัดการใน รพศ/รพจ/รพช. มันเฮงซวย
มีความจำเป็นด้านการเงิน(เข้าขั้นขัดสน) หรือบางคนอยากได้รายได้มากกว่า รพช. แต่ไม่ได้ถึงขั้นอดอยาก เอาเป็นว่า income ไม่ meet expect เลยลาออกมารับเอกชน รักษาสิว
หรือไม่ก็กลัวความเสี่ยงเรื่องคดี อย่างนิทานเรื่องนี้
http://www.mdcu47.net/question.asp?GID=452
ทุกวันนี้มันเป็น vicious cycle อยู่แล้วครับเรื่องหมอไหลออก
มันเป็นธรรมชาติที่สิ่งมีชีวิตจะต้องแสวงหาสิ่งที่ผลตอบแทนสูง ความเสี่ยงต่ำ อย่าว่าแต่ นลท เลย
หมอก็ต้องการเหมือนกัน
หมอไหลออกจากระบบรัฐ คนเข้าใหม่ก็ทำงานหนักขึ้นเพราะประชากรมากขึ้น
แต่ประสบการณ์ก่อนทำงานมันน้อยลงเพราะต้องแย่งเคสกันเรียนตอนเป็นนักศึกษาด้วยนโยบายรับแพทย์เพิ่ม
รับเพิ่มแล้วไง ก็ลาออกมาเปิดคลีนิคเสริมความงามอยู่ดี
คำพิพากษาแบบนี้มีแต่เร่งให้ vicious cycle ถึงจุดพินาศเร็วขึ้น
ผมไม่ได้ปกป้องคนที่ malpractice ผู้ที่ malpractice สมควรชดใช้
fact คือคนที่ malpractice มักเอาตัวรอดเก่ง ไม่ตกเป็นข่าวถ้าไม่เฮงซวยขนาดหนัก
แต่คนเจตนาดีแต่ซวยเนี่ยโดนลง นสพ ประจานประจำ
เพราะเขาเหล่านั้นไม่คิดว่าผู้ป่วยที่รักษาจะเอาเรื่อง ก็เราทำไปด้วยความหวังดี แต่มันไม่มีอะไร 100% ใน medicine
ย้ำ ..
ไม่มีอะไร 100% ใน medicine
สำหรับพี่ ๆ เพื่อน ๆ นลท ที่ไม่ได้เป็นหมอ.. ประโยคนี้เป็นสัจพจน์ เป็น supreme truth ของการแพทย์
ต่อให้ระมัดระวังแค่ไหน มันก็ซวยได้
พูดพล่ามยาวนอกเรื่อง
ผมแค่จะเอาเรื่องข้างบนมาลง แล้วจะบอกว่า ให้ลุงคนนั้นไปฟ้องผู้พิพากษาเอาค่ารักษาฐานที่สร้างมาตรฐานวิชาชีพที่ต่างไปและทำให้เขาต้องจ่ายเพิ่ม
ถ้าเขารอผ่าตัดจนไส้ติ่งแตกติดเชื่อ เพิ่ม morbidity หรือตาย ก็ผู้พิพากษาคนนั้นนั่นแหละที่ต้องชดใช้
ทีศรรามยังรอลงอาญา
ถามว่ามาตรฐานศาลอยู่ที่ไหน