น้ำมันมะพร้าวกับไขมันในเส้นเลือด
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 14783
- ผู้ติดตาม: 0
น้ำมันมะพร้าวกับไขมันในเส้นเลือด
โพสต์ที่ 62
ท่านหลิวอี้ ( ครองเมืองตอนจบ เล่มเท่าไรหว่า )
เหอๆ ยกย่องเกินไปแล้ว ใครจะเป็นเอี้ยนเฟยได้หละ เก่งขนาดนั้น คริๆ
โค้ด: เลือกทั้งหมด
Quote:
แต่ไม่ใช่สาระสำคัญที่จะต้องมาพยายาม เอาเป็นเอาตายให้รู้เรื่องให้ได้
เพราะผมเป็นคนธรรมดา สุดท้าย ป่วยก็หาหมอ หมออธิบาย ไม่เข้าใจ ก็ต้องกินยาที่หมอให้ ถึงเข้าใจก็ต้องกินอยู่ดี
ผมอ่านๆดูแล้ว พี่เจ๋งไม่น่าต้องไปหาหมอที่ไหนแล้ว
พี่ระดับเอี้ยนเฟย กระบี่ผีเสื้อล้อบุบผา (เพื่อนผมเอง)
พวกนี้เขารักษาตัวเองได้
สุดท้ายเอี้ยนเฟยเป็นถึงเซียนทีเดียว
ไม่รู้พี่อยากได้รีเซิร์จเรื่องนี้ด้วยหรือเปล่า
ขำ..ขำ..นะครับ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 14783
- ผู้ติดตาม: 0
น้ำมันมะพร้าวกับไขมันในเส้นเลือด
โพสต์ที่ 63
ขอเสริมข้อมูลบางส่วนนะครับเพื่อจะเป็นประโยชน์
C.J. Brown & Associates Inc.
Employee Assistance Program Specialists
Avoiding Trans Fat
Although manufacturers hydrogenate oil to prolong the shelf life
of foods, eating it is sure to shorten your life. Thats because the
process of hydrogenation, besides turning liquid vegetable oils
into solid fats (like Crisco, shortening and margarine), also creates trans-fatty acids
(TFAs).
Trans fat is estimated to be much worse for your health than saturated fat. It has
been linked to heart disease, cancer, obesity, ADHD and Alzheimers disease. In
fact, evidence shows that it is not safe to include any amount of trans fat in your
diet.
Although saturated fat (found in butter, cheese, beef, coconut and palm oil) raises
cholesterol levels, trans fat goes much further. Eating trans fat raises your bad
LDL cholesterol, while also blocking your bodys absorption of the good HDL
cholesterol that prevents disease, nourishes your heart and feeds your brain.
Furthermore, since your body is unable to break down trans fat, it accumulates in
your tissues over time.
Follow these tips to avoid trans fat and improve your and your familys health now
and in the future:
Avoid food products that contain hydrogenated oil, partially hydrogenated oil,
margarine or shortening.
Read labels for everything hydrogenated oil (which is loaded with trans fat)
is added to many common foods.
Avoid deep fried and battered foods fries, chicken, fish & chips etc. are
sure to be rich in trans fat.
Switch from margarine to butter if youre a die-hard margarine lover,
choose a non-hydrogenated margarine.
Never cook or bake with vegetable shortening. Switch to butter or even lard
believe it or not, theyre both healthier!
Skip the non-dairy whitener add milk or cream to your coffee instead.
Buy only trans fat-free packaged foods be especially careful when buying
frozen dinners, pizza, peanut butter, bread, muffins, pancake & cake mixes,
pastries, pie crusts, cookies, crackers and chips.
Beware! even seemingly healthy foods like protein bars, peanut butter,
whole wheat crackers and whole wheat tortillas are often loaded with trans
fat.
If you would like more information regarding nutrition resources,
call us today at 1-800-461-2292 (toll free) or (905) 571-2292
(Durham Region).
Confidentiality is assured.
Information provided for C.J.Brown & Associates Inc. by
David Lescheid, PhD, ND, Associate Professor
The Canadian College of Naturopathic Medicine
and Robert Schad Naturopathic Clinic
1255 Sheppard Ave. East www.ccnm.edu
C.J. Brown & Associates Inc.
Employee Assistance Program Specialists
Avoiding Trans Fat
Although manufacturers hydrogenate oil to prolong the shelf life
of foods, eating it is sure to shorten your life. Thats because the
process of hydrogenation, besides turning liquid vegetable oils
into solid fats (like Crisco, shortening and margarine), also creates trans-fatty acids
(TFAs).
Trans fat is estimated to be much worse for your health than saturated fat. It has
been linked to heart disease, cancer, obesity, ADHD and Alzheimers disease. In
fact, evidence shows that it is not safe to include any amount of trans fat in your
diet.
Although saturated fat (found in butter, cheese, beef, coconut and palm oil) raises
cholesterol levels, trans fat goes much further. Eating trans fat raises your bad
LDL cholesterol, while also blocking your bodys absorption of the good HDL
cholesterol that prevents disease, nourishes your heart and feeds your brain.
Furthermore, since your body is unable to break down trans fat, it accumulates in
your tissues over time.
Follow these tips to avoid trans fat and improve your and your familys health now
and in the future:
Avoid food products that contain hydrogenated oil, partially hydrogenated oil,
margarine or shortening.
Read labels for everything hydrogenated oil (which is loaded with trans fat)
is added to many common foods.
Avoid deep fried and battered foods fries, chicken, fish & chips etc. are
sure to be rich in trans fat.
Switch from margarine to butter if youre a die-hard margarine lover,
choose a non-hydrogenated margarine.
Never cook or bake with vegetable shortening. Switch to butter or even lard
believe it or not, theyre both healthier!
Skip the non-dairy whitener add milk or cream to your coffee instead.
Buy only trans fat-free packaged foods be especially careful when buying
frozen dinners, pizza, peanut butter, bread, muffins, pancake & cake mixes,
pastries, pie crusts, cookies, crackers and chips.
Beware! even seemingly healthy foods like protein bars, peanut butter,
whole wheat crackers and whole wheat tortillas are often loaded with trans
fat.
If you would like more information regarding nutrition resources,
call us today at 1-800-461-2292 (toll free) or (905) 571-2292
(Durham Region).
Confidentiality is assured.
Information provided for C.J.Brown & Associates Inc. by
David Lescheid, PhD, ND, Associate Professor
The Canadian College of Naturopathic Medicine
and Robert Schad Naturopathic Clinic
1255 Sheppard Ave. East www.ccnm.edu
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 14783
- ผู้ติดตาม: 0
น้ำมันมะพร้าวกับไขมันในเส้นเลือด
โพสต์ที่ 64
โค้ด: เลือกทั้งหมด
น้ำมันพืชที่ผ่านกระบวนการอย่างที่คุณ Jeng ว่า คือการทำ trans fat ครับ ไม่ใช่การผลิตน้ำมันพืชอย่างน้ำมันกุ๊ก น้ำมันองุ่น หรือน้ำมันทิพ การผลิตน้ำมันขวดอย่างนี้อาศัยการสกัดด้วยไอน้ำธรรมดานี่เอง
ส่วนกระบวนการข้างต้น คือการทำมาร์การีน และ shortening และ trans fat เหล่านี้จะเป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้อง
อย่างไรก็ตาม กระบวนการ ที่คุณหมอบอกว่า ผ่านไอน้ำธรรมดา แสดงว่า น้ำมันพืชองุ่น สกัดน้ำมันพืชมาสดๆ ให้พวกเรากิน
หรือว่า มีการเติมไฮโดรเจนเข้าไป ด้วยวิธีไม่ใช้ความร้อน
เพราะน้ำมันพืชสมัยนี้ ก็ไม่เหม็นหืน เหมือน น้ำมันพืช สมัยโบราณ
ผมอยากรู้จริงๆ นะครับ หมอช่วยตอบหน่อย
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 14783
- ผู้ติดตาม: 0
น้ำมันมะพร้าวกับไขมันในเส้นเลือด
โพสต์ที่ 65
พยายามค้นหากระบวนการผลิตน้ำมันพืช เจอมาอันนึง
โค้ด: เลือกทั้งหมด
เลขที่หนังสือ
: กค 0811/พ.4893
วันที่
: 16 มิถุนายน 2543
เรื่อง
: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการจำหน่ายกรดไขมันดิบของพืช
ข้อกฎหมาย
: มาตรา 81(1)(ก)
ข้อหารือ
: 1. บริษัทฯ เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำมันพืชภายในประเทศ โดยใช้ถั่วเหลืองเป็น
วัตถุดิบหลัก และใช้เมล็ดทานตะวันเป็นวัตถุดิบรองในการสกัดน้ำมัน กรรมวิธี ในการผลิตน้ำมันพืชจากถั่ว
เหลืองหรือเมล็ดทานตะวันจะแตกต่างกับการผลิตน้ำมันพืชจากผลปาล์ม ดังนั้น การวินิจฉัยว่าวัตถุพลอยได้
ของการผลิตน้ำมันพืชจากวัตถุดิบทั้ง 2 ประเภทดังกล่าว จะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ จึงต้องแยก
การพิจารณาออกจากกัน
2. ขบวนการผลิตน้ำมันพืชจากถั่วเหลืองหรือเมล็ดทานตะวัน แบ่งเป็น 2 ขั้นตอนที่
สำคัญ คือ
(1) ขั้นตอนการสกัดน้ำมันดิบจากเมล็ดถั่วเหลืองหรือเมล็ดทานตะวัน
(1.1) การเตรียมวัตถุดิบ จะนำเมล็ดถั่วเหลืองหรือเมล็ดทานตะวันมาขบ
ให้แตกและนำไปให้ความร้อน แล้วรีดเป็นแผ่น
(1.2) การสกัดน้ำมัน (EXTRACTION) นำแผ่นวัตถุดิบตาม (1.1) มา
ผสมกับตัวทำละลาย (สาร HEXANE) เพื่อให้น้ำมันในเมล็ดออก
มาจับกับสาร HEXANE จะได้
(1.2.1) น้ำมันดิบปนตัวทำละลาย เรียกว่า MISCELLA และ
(1.2.2) กากปนสารละลาย
- จาก (1.2.1) จะนำ MISCELLA ไปให้ความร้อนด้วยเครื่อง
EVAPORATOR และ STRIPING COLUMN เพื่อระเหยตัวทำละลาย
ออกจากน้ำมันดิบ จะได้น้ำมันดิบ จากนั้นนำน้ำมันดิบ ผ่านขบวนการแยก
ยางเหนียว (DEGUMMING) โดยเติมน้ำร้อนแล้วใช้เครื่องเหวี่ยงยาง
เหนียว (GUM) ให้ตกตะกอน จะได้
- น้ำมันดิบแยกยางเหนียวแล้วนำเข้าสู่ขบวนการผลิตน้ำมันถั่วเหลือง
ในขั้นตอนที่ 2 และ
- ตะกอนยางเหนียว จะนำไปผสมกาก หรือผลิตเป็น LECITHIN
- จาก (1.2.2) จะนำกากปนสารละลายไปให้ความร้อนด้วยเครื่อง
DESOLVENTIZER และ TOASTER เพื่อระเหยตัวทำละลายออกจาก
กาก และนำกากไปนึ่งให้สุก ไล่ความชื้น อบให้แห้ง และป่นเพื่อขาย
โรงงานอาหารสัตว์
(2) ขั้นตอนการผลิตน้ำมันถั่วเหลืองผ่านกรรมวิธีนำน้ำมันดิบที่ได้จากขั้นตอน
แรก เข้าสู่ขบวนการ NEUTRALIZATION เพื่อกำจัดกรดไขมันอิสระ
(FREE FATT ACID = FFA) โดยเติมโซดาไฟ เพื่อทำปฏิกิริยากับ
FFA จะได้
(2.1) น้ำมัน และ
(2.2) สบู่ (SOAP STOCK)
- นำน้ำมัน ตาม (2.1) มา เข้าขบวนการฟอกสี
(BLEACHING) โดยเติมดินฟอกสี และ เข้าขบวนการกำจัด
กลิ่น (DEODORIZATION)โดยเข้าหอกลั่นเพื่อกลั่นน้ำมันที่
อุณหภูมิสูงจะได้น้ำมันพืชบริสุทธิ์ ใช้บริโภคได้
- สบู่ ตาม (2.2) จะนำไปเข้า "ขบวนการผลิตกรดน้ำมัน
ถั่วเหลืองดิบ (ACID OIL) "โดยนำไปให้ความร้อนด้วย
ไอน้ำ แล้วเติมกรดซัลฟูริค เพื่อทำปฏิกิริยากับสบู่ให้น้ำมัน
ลอยตัวขึ้นมา จากนั้นเติมสารลดแรงตึงผิว เพื่อช่วยให้ทำ
ปฏิกิริยาดีขึ้น แล้วนำน้ำมันดังกล่าวไปเติมน้ำร้อน เพื่อล้าง
กรดซัลฟูริคที่เหลืออยู่ให้หมด เพื่อปรับสภาพให้กรดน้ำมันถั่ว
เหลืองดิบมีความเป็นกรด เป็นด่าง (PH) สูงขึ้น จากนั้น
นำเข้าเครื่องเหวี่ยง เพื่อแยกกรดน้ำมันถั่วเหลืองดิบ
ออกจากน้ำกรด กรดน้ำมันถั่วเหลืองดิบ (ACID OIL) ที่ได้
จะเก็บไว้ในแท้งค์เพื่อรอจำหน่ายเป็นอาหารสัตว์ ส่วน
น้ำกรด จะส่งเข้าขบวนการบำบัดน้ำเสียต่อไป
แนววินิจฉัย
: เนื่องจากกรดไขมันดิบมิใช่เป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นผลพลอยได้จากขั้นตอนการผลิตน้ำมันพืช
โดยตรง เพราะต้องนำผลพลอยได้จากการผลิตน้ำมันพืช คือ สบู่ ไปผ่านขบวนการผลิตกรดไขมันดิบ เพื่อ
ให้ได้เป็นกรดไขมันดิบอีกครั้งหนึ่ง ดังนั้น กรดไขมันดิบ (ACID OIL) จึงเป็นสินค้าที่ผ่านการแปรรูปหรือ
แปรสภาพมาแล้ว ไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 81(1)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร แต่
อย่างใด
เลขตู้
: 63/29440
-
- Verified User
- โพสต์: 1289
- ผู้ติดตาม: 0
น้ำมันมะพร้าวกับไขมันในเส้นเลือด
โพสต์ที่ 66
ชายPn3um0n1a เขียน: อย่างนี้ต้องถามต่อ ว่าคนนี้
เพศ อะไร
อายุ เท่าไหร่
สูบบุหรี่หรือไม่
มีคนในครอบครัวที่เป็น 1st degree (ญาติลำดับแรก) เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือไม่
เป็นเบาหวานรึเปล่า
เป็นความดันโลหิตสูงรึเปล่า
ครับ
23ปี
ไม่สูบบุหรี่ ไม่กินเหล้า ทั้งสิ้น
ิออกกำลังกาย3-4ครั้ง/สัปดาห์
ไม่มีประวัติหลอดเลือดเลยครับ
มี่แต่แม่เป็นโรคหัวใจ ซึ่งเกิดจากความเครียดเป็นหลัก
พ่อเป็นเบาหวาน
ความดัน 120/75
^
"เมื่อคุณเริ่มทำสิ่งที่รักแล้ว วันต่อๆไปก็จะไม่ใช่การทำงาน"..Brian Tracy
state exact goal/then analyze what fail the goal/then act/if you don't start/dream still be a dream
หุ้นไม่ใช่แค่เศษกระดาษ มันมีคนทำงานจริง
"เมื่อคุณเริ่มทำสิ่งที่รักแล้ว วันต่อๆไปก็จะไม่ใช่การทำงาน"..Brian Tracy
state exact goal/then analyze what fail the goal/then act/if you don't start/dream still be a dream
หุ้นไม่ใช่แค่เศษกระดาษ มันมีคนทำงานจริง
- Pn3um0n1a
- Verified User
- โพสต์: 1935
- ผู้ติดตาม: 0
น้ำมันมะพร้าวกับไขมันในเส้นเลือด
โพสต์ที่ 68
ชาย 23 ปีMindTrick เขียน: ชาย
23ปี
ไม่สูบบุหรี่ ไม่กินเหล้า ทั้งสิ้น
ิออกกำลังกาย3-4ครั้ง/สัปดาห์
ไม่มีประวัติหลอดเลือดเลยครับ
มี่แต่แม่เป็นโรคหัวใจ ซึ่งเกิดจากความเครียดเป็นหลัก
พ่อเป็นเบาหวาน
ความดัน 120/75
ไม่สูบบุหรี่ (ไม่เคยเลย ไม่ใช่ เคยแต่เลิกแล้ว ผมถือว่าอย่างนี้ไปก่อนนะ)
ไม่มีประวัติโรคหลอดเลือดหัวใจตีบในครอบครัว (ของคุณแม่ ฟังแล้วไม่น่าจะใช่ รึเปล่า? ว่าแต่โรคหัวใจที่เกิดจากความเครียดนี่อะไรหว่า :oops: )
ไม่เป็นความดันโลหิตสูง
ไม่เป็นเบาหวาน (assume ไปก่อน น่าจะไม่เป็น)
HDL = 72 (ซึ่งมากกว่า 40)
อย่างนี้จัดอยู่ในกลุ่มความเสี่ยงต่ำสุดครับ
TG ต่ำดีอยู่แล้ว
HDL สูงมาก ดีอยู่แล้ว
LDL 131 ถือว่าดีมาก กลุ่มของคนนี้ <160 ก็ถือว่าดีแล้วครับ
หมายเหตุ และ คำแนะนำ
ปัจจุบันถือว่าดีมากอยู่แล้วครับ
แต่ในอนาคตอีกหลายๆ ปี (โดยเฉพาะตอนที่อายุมากกว่า 45 ปีแล้ว)
อาจมี โรคอื่นๆ ตามมา เช่น ความดัน เบาหวาน ซึ่งอาจเกิดได้โดยเราไม่ได้ทำอะไรผิด
ซึ่งถ้าเกิดเป็นขึ้นมา เป้า LDL จะลดลงมาเหลือ 130 (หรือ 100 ถ้าความเสี่ยงสูง)
ดังนั้นคำแนะนำก็คือ ผลเลือด ณ ปัจจุบันดีอยู่แล้ว
แต่ก็อย่าชะล่าใจ
ยังแนะนำให้ กินอาหารมีประโยชน์ เว้นเหล้าบุหรี่ เว้นอาหารอัตราย
ออกกำลังกาย ให้เป็นกิจนิสัยอย่างที่ทำอยู่แล้ว จะดีมากครับ
และถ้าคุม ให้ ต่ำกว่า 130 ได้โดยไม่ต้องกินยายิ่งเป็นผลดี ต่อตัวเองครับ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11443
- ผู้ติดตาม: 0
น้ำมันมะพร้าวกับไขมันในเส้นเลือด
โพสต์ที่ 69
แล้ว Homocysteine ละครับ สำคัญและมีส่วนทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดอุดตันมากน้อยแค่ไหนครับ
เคยได้ยินมาว่า บางคนป่วยเป็นโรคหัวใจขาดเลือด แต่ไขมันในเลือดปกติ แต่มีโฮโมซีสทีนในเลือดสูง จริงหรือเปล่าครับ
ขอบคุณมากๆอีกครั้งครับ
เคยได้ยินมาว่า บางคนป่วยเป็นโรคหัวใจขาดเลือด แต่ไขมันในเลือดปกติ แต่มีโฮโมซีสทีนในเลือดสูง จริงหรือเปล่าครับ
ขอบคุณมากๆอีกครั้งครับ
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 14783
- ผู้ติดตาม: 0
น้ำมันมะพร้าวกับไขมันในเส้นเลือด
โพสต์ที่ 70
เป็นคำถามที่ดีมาก ฟังด้วยคน
ขอแถมนิดนึง สมัย 10 ปีที่แล้ว มีหมอผ่าตัดหัวใจ ที่เมโยคลินิค ตรวจ ไขมันทุกประเภท ปกติหมด และหมอเป็นนักกีฬา ภายเรือ มีการฝึกทุกสัปดาห์
หมออายุ ประมาณ 35-40 เท่าที่จำได้ และไม่มีโรคประจำตัว
วันนี้คืนดี ล้มลง เพราะเส้นเลือดอุดตัน เท่าที่อ่านเมื่อ 10 ปีที่แล้ว บอกว่า มีเวลา 6-7 ชั่วโมง ไม่งั้น ตาย
แต่แกเป็นหมอ แกก็เดินไปเดินมาในโรงพยาบาล และล้มลง ตรงหน้าห้อง icu ครับ
ก็เลยผ่าตัดช่วยชีวิตสำเร็จ
ตัวหมอเอง ก็มรึนๆ ว่า ทำทุกอย่างแล้ว ทำไมยังเป็นอีก
แสดงว่า ต้องมีอีกหลายเรื่องที่การแพทย์ ยังไปไม่ถึง
ขอแถมนิดนึง สมัย 10 ปีที่แล้ว มีหมอผ่าตัดหัวใจ ที่เมโยคลินิค ตรวจ ไขมันทุกประเภท ปกติหมด และหมอเป็นนักกีฬา ภายเรือ มีการฝึกทุกสัปดาห์
หมออายุ ประมาณ 35-40 เท่าที่จำได้ และไม่มีโรคประจำตัว
วันนี้คืนดี ล้มลง เพราะเส้นเลือดอุดตัน เท่าที่อ่านเมื่อ 10 ปีที่แล้ว บอกว่า มีเวลา 6-7 ชั่วโมง ไม่งั้น ตาย
แต่แกเป็นหมอ แกก็เดินไปเดินมาในโรงพยาบาล และล้มลง ตรงหน้าห้อง icu ครับ
ก็เลยผ่าตัดช่วยชีวิตสำเร็จ
ตัวหมอเอง ก็มรึนๆ ว่า ทำทุกอย่างแล้ว ทำไมยังเป็นอีก
แสดงว่า ต้องมีอีกหลายเรื่องที่การแพทย์ ยังไปไม่ถึง
-
- Verified User
- โพสต์: 1992
- ผู้ติดตาม: 0
น้ำมันมะพร้าวกับไขมันในเส้นเลือด
โพสต์ที่ 71
Homocysteine เป็นกรดอะมิโนตัวหนึ่งครับ ที่ชื่อมันออกจะแปลก ๆ เพราะคนทั่วไป (แม้กระทั่งหมอ ๆ เอง) ไม่ค่อยรู้จักchatchai เขียน:แล้ว Homocysteine ละครับ สำคัญและมีส่วนทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดอุดตันมากน้อยแค่ไหนครับ
เคยได้ยินมาว่า บางคนป่วยเป็นโรคหัวใจขาดเลือด แต่ไขมันในเลือดปกติ แต่มีโฮโมซีสทีนในเลือดสูง จริงหรือเปล่าครับ
ขอบคุณมากๆอีกครั้งครับ
กรดอะมิโน (amino acid) เป็นหน่วยย่อยที่สุดของโปรตีน โปรตีนประกอบด้วยโครงสร้างเป็นสายที่มีการจัดเรียงตัวกันในรูปแบบต่าง ๆ เช่นอาจจะวางแนวเป็นเส้น ๆ แผ่เหมือนแผ่นซึ่งมักจะหยักไปมา (pleated sheet), อาจจะรวบกันเป็นก้อน ๆ หรือปีนเกลียวกัน (helix) ก็ได้
นึกภาพเสื่อซักผืนเป็น pleated sheet เส้นกกแต่ละเส้นที่มาประกอบเป็นเสื่อก็เป็นสายที่ผมว่า หรือเวลาถักเปีย (ตัวอย่างของ helix) แต่ละเส้นก็เป็นสาย หรือเอาเส้นเชือกมาขยุ้ม ๆ รวมกันเป็นก้อน คงพอจะเข้าใจความสัมพันธ์ของโครงสร้างใหญ่ กับโครงสร้างย่อยภายใน
ย้อนกลับมาที่สายแต่ละสาย เขาเรียกว่า เปปไทด์ (peptide) จริง ๆ แล้วก็ไม่ใช่เส้นเรียบ ๆ แบบเส้นด้าย แต่เป็นการเรียงตัวของกรดอะมิโนต่อ ๆ กัน (คล้าย ๆ เส้นลูกปัด)
กรดอะมิโนที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของโปรตีนมีมากมาย แต่ชนิดที่คนทั่วไปรู้จักกันดีมีไม่กี่สิบชื่อ เช่น กลูตามีน (glutamine), ไลซีน (lysine), โพรลีน (proline), อะลานีน (alanine), เมไธโอนีน (methionine) เป็นต้น
ยังมีกรดอะมิโนอีกหลายตัวที่คนทั่วไปไม่คุ้นชื่อ เช่น ออนิทีน (ornithine), ซิทรัลลีน (citrulline) เป็นต้น
โฮโมซิสเทอีน (homocysteine) ก็เป็นหนึ่งในนั้น ตัวมันเองไม่ได้มีปริมาณมากมายอะไรนักในร่างกาย เนื่องจากตัวมันเองเป็นเพียงกรดอะมิโนที่เกิดขึ้นในระหว่างกระบวนการย่อยสลายและเปลี่ยนแปลงกรดอะมิโนอีกตัวหนึ่งที่ชื่อว่า เมไธโอนีน (methionine)
แต่ก่อนคนไม่ค่อยสนใจหรอกว่าไอ้เจ้า โฮโมซิสเทอีน มันจะสำคัญยังไง จนเมื่อมีคนสังเกตเด็กกลุ่มหนึ่ง ที่มีปัญญาอ่อน, มีตัวสูง แขนขายาว, มีปัญหาสายตาสั้น และมีหลอดเลือดอุดตันจากลิ่มเลือดได้ง่าย ซึ่งเป็นโรคทางพันธุกรรมที่พบน้อยมาก พบว่าเด็กเหล่านี้มีปริมาณ โฮโมซิสทีน (homocystine) มากในปัสสาวะ เรียกโรคนี้ว่า โฮโมซีสทีนูเรีย (homocystinuria) (uria -> urine = ปัสสาวะ)
โฮโมซิสทีน ก็คือ โฮโมซิสเทอีน สองตัวมาจับกันเอง
คนที่เป็น โฮโมซิสทีนูเรีย เกิดจากความบกพร่องของเอ็นซัยม์ ซิสต้าไธโอนีน-เบต้าซินเทส (cystathionine beta synthase: CBS) ซึ่งอยู่ในกระบวนการย่อย เมไธโอนีน การขาด CBS ทำให้ร่างกายไม่สามารถย่อยสลาย โฮโมซิสเทอีน ต่อไปได้ เป็นผลให้กรดอะมิโนตัวนี้คั่งในร่างกาย, จับกันเอง และขับออกทางปัสสาวะ
จากความรู้ของโรคที่พบน้อยอันนี้แหละ เป็นที่มาของการมองหาว่า คนปกติดีที่อาจมีความบกพร่องของกระบวนการย่อยสลาย เมไธโอนีน แบบนิด ๆ หน่อย ๆ ซึ่งไม่เพียงพอที่จะทำให้เกิดโรค โฮโมซีสทีนูเรีย แต่มีระดับ โฮโมซีสเทอีน สูงในเลือด ก็อาจจะเสี่ยงต่อการเกิดหลอดเลือดอุดตันได้มากกว่าคนทั่วไป
คนก็เลยเริ่มตรวจกัน ทีนี้ถ้าตรวจแล้วสูง หมายความว่าไง
ถ้าโฮโมซีสเทอีน สูง ไม่ได้บอกว่าต่อไปคน ๆ นี้จะต้องเป็นหลอดเลือดสมองตีบ หรือหลอดเลือดหัวใจตีบแน่ ๆ เพียงแต่บอกว่า เขา "เสี่ยง" กว่าคนอื่น จำเป็นต้องระมัดระวังตัวเอง มีอะไรที่เสี่ยง ๆ เลี่ยงได้ก็ควรเลี่ยง
นอกจากนี้ การนำความรู้เรื่องเอ็นซัยม์และโคแฟกเตอร์ (co-factor) มาใช้ ก็น่าจะมีประโยชน์ในการลดระดับ โฮโมซีสเทอีน ในเลือดได้ เพราะเรารู้ว่ากระบวนการย่อยสลายเมไธโอนีน อาศัยเอ็นซัยม์หลายตัว หลายขั้นตอน บางเอ็นซัยม์ต้องใช้ โคแฟกเตอร์ในการเร่งการทำงาน เช่น ไวตามีน บี 6, บี 12 และโฟเลต
ใครที่มีระดับ โฮโมซีสเทอีน สูงในเลือด ก็น่าจะได้รับการเสริมไวตามีนสามตัวข้างต้น
-
- Verified User
- โพสต์: 1992
- ผู้ติดตาม: 0
น้ำมันมะพร้าวกับไขมันในเส้นเลือด
โพสต์ที่ 72
เรื่องที่การแพทย์และวิทยาศาสตร์ยังไม่มีคำตอบ มีอีกเยอะครับ ถ้าให้เรียกว่าอะไร ตอนนี้ต้องใช้คำว่า ชะตาฟ้าลิขิต หรือดวง ไปก่อนมังครับJeng เขียน:เป็นคำถามที่ดีมาก ฟังด้วยคน
ขอแถมนิดนึง สมัย 10 ปีที่แล้ว มีหมอผ่าตัดหัวใจ ที่เมโยคลินิค ตรวจ ไขมันทุกประเภท ปกติหมด และหมอเป็นนักกีฬา ภายเรือ มีการฝึกทุกสัปดาห์
หมออายุ ประมาณ 35-40 เท่าที่จำได้ และไม่มีโรคประจำตัว
วันนี้คืนดี ล้มลง เพราะเส้นเลือดอุดตัน เท่าที่อ่านเมื่อ 10 ปีที่แล้ว บอกว่า มีเวลา 6-7 ชั่วโมง ไม่งั้น ตาย
แต่แกเป็นหมอ แกก็เดินไปเดินมาในโรงพยาบาล และล้มลง ตรงหน้าห้อง icu ครับ
ก็เลยผ่าตัดช่วยชีวิตสำเร็จ
ตัวหมอเอง ก็มรึนๆ ว่า ทำทุกอย่างแล้ว ทำไมยังเป็นอีก
แสดงว่า ต้องมีอีกหลายเรื่องที่การแพทย์ ยังไปไม่ถึง
ประสบการณ์ใกล้ตัวที่สุด เมื่อ 2 ปีก่อนสมัยยังอยู่ที่เมกา ได้มีโอกาสเจอเพื่อนเก่าที่งานปาร์ตี้เพื่อนอีกคนใน Virginia เป็นเพื่อนตั้งแต่สมัยมัธยมที่เรียนด้วยกันตั้งแต่ ม. 1 พอโตขึ้นก็ต่างแยกย้ายกัน ผมเรียน ม.ปลายที่เดิม เขาสอบเข้าอีกที่ได้ จบมัธยม ผมเข้าเรียนแพทย์ที่หนึ่ง เขาเรียนอีกที่ จบแล้วผมก็เรียนเฉพาะทางในเมกา อยู่ที่หนึ่ง เขาก็เรียนคนละรัฐ
สรุปว่ากลับมาเจอกันใหม่เพราะเขาจบแล้ว ทำงานเป็นหมอโรคหัวใจ (cardiologist) อยู่ที่ VA hospital เมืองใกล้ ๆ ขับรถห่างไปสามชั่วโมง
เป็นคนที่แข็งแรงมาก ไม่มีปัจจัยเสี่ยงอะไรเลย ไม่ดื่ม ไม่สูบ ชอบเข้าร่วมแข่งวิ่งมาราธอนเป็นกิจวัตร วิ่งทุกเช้าเป็นประจำ อายุแค่สามสิบเศษ
เช้าวันหนึ่ง ออกวิ่งรอบ ๆ หมู่บ้านแล้วเกิดวูบทรุดลงนั่งไม่มีคนเห็น มีคนไปเห็นเมื่อผ่านไปหลายชั่วโมงแล้ว สรุปว่าเสียชีวิต
ทำ autopsy พบว่ามีกล้ามเนื้อหัวใจตายที่บริเวณเล็กมาก เพราะมีลิ่มเลือดไปอุดในหลอดเลือดขนาดเล็ก แต่บริเวณกล้ามเนื้อหัวใจนั้นเป็นส่วนที่สำคัญมาก เขาเรียกว่า AV node ซึ่งเป็นส่วนนำกระแสไฟฟ้าในหัวใจ พอเกิดปัญหาเข้าใจว่าทำให้หัวใจเต้นช้าลงมาก (ปัญหาที่ AV node ทำให้หัวใจเต้นช้ากว่า 40/นาที) ก็เลยวูบไป แล้วก็ไม่มีคนมาช่วย
น่าเสียดายจริง ๆ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 14783
- ผู้ติดตาม: 0
น้ำมันมะพร้าวกับไขมันในเส้นเลือด
โพสต์ที่ 75
เอาข้อมูลมาฝาก
http://www.consumerthai.org/SMB/Teskids/testkid_54.htm
โค้ด: เลือกทั้งหมด
เหตุที่น้ำมันพืช เป็นไขหรือไม่เป็นไข
หากเป็นน้ำมันพืชชนิดที่สกัดมาจาก ถั่วเหลือง เมล็ดทานตะวัน ดอกคำฝอย ข้าวโพด ฝ้าย จะเป็นน้ำมันพืชที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนสูง เจ้ากรดไขมันนี้เมื่ออยู่ในอุณหภูมิต่ำ ๆ จะไม่เป็นไข แต่ในขณะเดียวกันน้ำมันพืชจากปาล์มโอเลอิน มะพร้าว จะมีเจ้ากรดไขมันเชิงซ้อนนี้ต่ำ เมื่อไปอยู่ในอุณหภูมิต่ำ ๆ เช่นในตู้เย็น ก็จับตัวเป็นไขได้ง่าย เช่นเดียวกันกับน้ำมันหมูซึ่งมีกรดไขมันเชิงซ้อนต่ำเช่นกัน
แต่น้ำมันพืช ไม่ว่าพืชใดก็ไม่มีโคเลสเตอรอล เนื่องจากพืชไม่สามารถสร้างขึ้นได้ ดังนั้น การเป็นไข ไม่เป็นไขในตู้เย็นจึงไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ได้บอกว่า อะไรมีโคเลสเตอรอลหรือไม่มีโคเลสเตอรอล เราจึงไม่ควรถูกมายาภาพของโฆษณาหลอกลวงเอา
โค้ด: เลือกทั้งหมด
วิธีการเลือกซื้อน้ำมันพืชอย่างถูกวิธี
1. น้ำมันพืชที่ดีต้องไม่ใสเกินไป เช่น น้ำมันปาล์มปกติก็ต้องมีสีเข้มบ้างเพราะนั่นคือมีสารเบต้าแคโรทีนที่มีประโยชน์ในการป้องกันโรคมะเร็ง ป้องกันโรคหัวใจ (น้ำมันพืชที่ใสนั้นผ่านการฟอกสีจนหมดคุณค่าทางอาหารไปหลายตัว)
2. น้ำมันพืชที่มีราคาแพงไม่ใช่ว่ามีคุณภาพหรือดีกว่าน้ำมันพืชราคาถูกเพราะฉะนั้นอย่าวัดคุณภาพด้วยราคา
3. ดูที่ก้นขวดต้องไม่มีสิ่งแปลกปลอม เช่น ผงสีดำหรือตะกอนขุ่นขาว เพราะหมายถึงการผลิตที่ไม่ได้มาตรฐาน
4. ดูว่ามีฉลากครบถ้วนหรือไม่ บอกวัตถุดิบที่นำมาผลิตว่าเป็นพืชชนิดไหน ถั่วเหลือง ข้าวโพด หรือว่าปาล์ม สถานที่ผลิตด้วยเผื่อมีปัญหาจะได้ตามตัวผู้ผลิตถูก
5. อาหารประเภทผัดควรใช้น้ำมันพืชที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนสูง แต่อาหารทอดควรใช้น้ำมันพืชหรือน้ำมันที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนต่ำ เพราะการทอดใช้ไฟแรงและระยะเวลานาน น้ำมันชนิดหลังมีคุณสมบัติที่ดีกว่าชนิดแรก
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 14783
- ผู้ติดตาม: 0
น้ำมันมะพร้าวกับไขมันในเส้นเลือด
โพสต์ที่ 76
ผมขอสรุปเรื่อง cholesterol ldl hdl TG ดังนี้ ถ้าผิดช่วยแก้ด้วยนะครับ คุณหมอทั้งหลาย
สำหรับคนที่รักสุขภาพ ( ผมก็ทำไม่ได้ )
1. ปริมาณพลังานที่ใช้ - ปริมาณพลังงานที่ได้รับ ( กิน ) = ของเหลือ เป็นไขมันส่วนเกิน
2. ไขมัน แป้ง ( น้ำตาล ) โปรตีน สามารถเปลี่ยนไปมาได้ ร่างกายเลือกใช้ น้ำตาลก่อน ตามมาด้วยแป้ง แล้วค่อยไปใช้ไขมัน หากทานไขมันปานกลาง แต่ทานแป้งมาก สุดท้าย อ้วนอยู่ดี
3. หากกินมาก ปริมาณพลังงานที่ได้รับ จะมีเหลือ สุดท้าย ก็จะทำให้ มีไขมันสะสม
4. ในคนที่มีไขมันสะสม หากกินไขมันที่มีคลอเลสเตอรอล ก็จะมีความเสี่ยง ในการเกิดโรคไขมันอุดตัน
5. ในคนที่กินพอประมาณ ถึงแม้จะกินไขมันอิ่มตัว เช่นน้ำมันหมู ก็ไม่ได้มีความเสียง เนื่องจาก คลอเรสเตอรอล ก็เป็นสารจำเป็น ที่ร่างกายต้องการ ขาดไม่ได้
6. ความเสียงอื่นๆ เช่น บุหรี่ เหล้า นอนดึก ทำงานเครียด หักโหมเรื่องเซ็ก และอื่นๆ ก็อาจจะทำให้ โรคหัวใจที่กำลังจะเป็น เป็นได้เร็วขึ้น
7. อายุ 30 อัพ ก็ไปตรวจสุขภาพทุกปี เพื่อดูระดับ cholesterol ldl hdl TG แต่ไม่ต้องเครียด คือทำตามคุณหมอทั้งหลายแนะนำ
8. ต่อให้ตรวจมาแล้วทุกอย่างดีเยี่ยม ก็ให้ระวังตัวเหมือนเดิม เพราะ ไม่ใช่ข้อสรุปว่า จะไม่เป็น เนื่องจาก ระดับที่สูงของ cholesterol เป็นความเสียงที่สูงขึ้น แต่คนที่ระดับปกติ ก็ยังเป็นโรคเส้นเลือดอุดตันได้อยู่ดี
9. ระวัง tranfat ซึ่ง พวกเราจะเคยชิน เช่น เฟรนไฟ ปาท่องโก๋
10. การออกกำลังกาย เพื่อปรับสมดุลของ ไขมัน ทั้งหลาย จะช่วย ลดอัตราเสี่ยง แต่อย่าหักโหม เพราะหลายคนก็ตายขณะออกกำลังกาย
11. หากทานผัก ผลไม้ เยอะๆ จะลดอัตราเสียงการเป็นโรคหัวใจ จาก สารต่อต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งสารตัวนี่ จะไปทำให้ไขมัน ไปจับผนังเส้นเลือดแล้ว เอาออกยาก คือทำให้กลไก ของ ldl hdl เสียไป ( เคยอ่านนานแล้ว จำไม่ได้ว่าอ่านจากไหน )
12. ไขมันอิ่มตัวก็มีข้อดี ไขมันไม่อิ่มตัวก็มีข้อดี ถ้ากินมากไป ทั้งสองตัว ก็มีข้อเสีย
13. ไขมันไม่อิ่มตัว ผมเชื่อตัวเดียวคือน้ำมันมะกอก ซึ่งใช้กระบวนการ หีบเย็น ส่วนน้ำพืช ทีกินๆกันอยู่ ไม่มีข้อมูล ว่าผลิตอย่างไร อ่านข้อมูลที่ผมโพสไว้ ก็น่ากัว คือผมเชื่อว่า กระบวนการผลิตน้ำมันพืช ต้องทำให้มีความเป็นธรรมชาติ ลดลงแน่นอน ถึงไม่เหม็นหืน ต่างจากน้ำมันมะกอก ตั้งไว้ ไม่นานก็เหม็นหืนแล้ว
14. แอนตี้ออกซิแด้น ในเลือด คือเช่น A C E จะช่วยลดการเกิด clot ในกระแสเลือด และลดความหนืดของเลือด
เท่าที่นึกๆออกก็ประมาณนี้ครับ
สำหรับคนที่รักสุขภาพ ( ผมก็ทำไม่ได้ )
1. ปริมาณพลังานที่ใช้ - ปริมาณพลังงานที่ได้รับ ( กิน ) = ของเหลือ เป็นไขมันส่วนเกิน
2. ไขมัน แป้ง ( น้ำตาล ) โปรตีน สามารถเปลี่ยนไปมาได้ ร่างกายเลือกใช้ น้ำตาลก่อน ตามมาด้วยแป้ง แล้วค่อยไปใช้ไขมัน หากทานไขมันปานกลาง แต่ทานแป้งมาก สุดท้าย อ้วนอยู่ดี
3. หากกินมาก ปริมาณพลังงานที่ได้รับ จะมีเหลือ สุดท้าย ก็จะทำให้ มีไขมันสะสม
4. ในคนที่มีไขมันสะสม หากกินไขมันที่มีคลอเลสเตอรอล ก็จะมีความเสี่ยง ในการเกิดโรคไขมันอุดตัน
5. ในคนที่กินพอประมาณ ถึงแม้จะกินไขมันอิ่มตัว เช่นน้ำมันหมู ก็ไม่ได้มีความเสียง เนื่องจาก คลอเรสเตอรอล ก็เป็นสารจำเป็น ที่ร่างกายต้องการ ขาดไม่ได้
6. ความเสียงอื่นๆ เช่น บุหรี่ เหล้า นอนดึก ทำงานเครียด หักโหมเรื่องเซ็ก และอื่นๆ ก็อาจจะทำให้ โรคหัวใจที่กำลังจะเป็น เป็นได้เร็วขึ้น
7. อายุ 30 อัพ ก็ไปตรวจสุขภาพทุกปี เพื่อดูระดับ cholesterol ldl hdl TG แต่ไม่ต้องเครียด คือทำตามคุณหมอทั้งหลายแนะนำ
8. ต่อให้ตรวจมาแล้วทุกอย่างดีเยี่ยม ก็ให้ระวังตัวเหมือนเดิม เพราะ ไม่ใช่ข้อสรุปว่า จะไม่เป็น เนื่องจาก ระดับที่สูงของ cholesterol เป็นความเสียงที่สูงขึ้น แต่คนที่ระดับปกติ ก็ยังเป็นโรคเส้นเลือดอุดตันได้อยู่ดี
9. ระวัง tranfat ซึ่ง พวกเราจะเคยชิน เช่น เฟรนไฟ ปาท่องโก๋
10. การออกกำลังกาย เพื่อปรับสมดุลของ ไขมัน ทั้งหลาย จะช่วย ลดอัตราเสี่ยง แต่อย่าหักโหม เพราะหลายคนก็ตายขณะออกกำลังกาย
11. หากทานผัก ผลไม้ เยอะๆ จะลดอัตราเสียงการเป็นโรคหัวใจ จาก สารต่อต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งสารตัวนี่ จะไปทำให้ไขมัน ไปจับผนังเส้นเลือดแล้ว เอาออกยาก คือทำให้กลไก ของ ldl hdl เสียไป ( เคยอ่านนานแล้ว จำไม่ได้ว่าอ่านจากไหน )
12. ไขมันอิ่มตัวก็มีข้อดี ไขมันไม่อิ่มตัวก็มีข้อดี ถ้ากินมากไป ทั้งสองตัว ก็มีข้อเสีย
13. ไขมันไม่อิ่มตัว ผมเชื่อตัวเดียวคือน้ำมันมะกอก ซึ่งใช้กระบวนการ หีบเย็น ส่วนน้ำพืช ทีกินๆกันอยู่ ไม่มีข้อมูล ว่าผลิตอย่างไร อ่านข้อมูลที่ผมโพสไว้ ก็น่ากัว คือผมเชื่อว่า กระบวนการผลิตน้ำมันพืช ต้องทำให้มีความเป็นธรรมชาติ ลดลงแน่นอน ถึงไม่เหม็นหืน ต่างจากน้ำมันมะกอก ตั้งไว้ ไม่นานก็เหม็นหืนแล้ว
14. แอนตี้ออกซิแด้น ในเลือด คือเช่น A C E จะช่วยลดการเกิด clot ในกระแสเลือด และลดความหนืดของเลือด
เท่าที่นึกๆออกก็ประมาณนี้ครับ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 14783
- ผู้ติดตาม: 0
น้ำมันมะพร้าวกับไขมันในเส้นเลือด
โพสต์ที่ 77
โค้ด: เลือกทั้งหมด
โคเลสเตอรอล เป็นไขมันชนิดหนึ่ง มีอยู่ในอาหารจำพวกเนื้อสัตว์และร่างกายของเราก็ผลิตได้ส่วนหนึ่ง หน้าที่ของโคเลสเตอรอลในร่างกายคือการสร้างเซลล์ใหม่และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ เป็นตัวสำคัญในการสร้างฮอร์โมนเพศและวิตามินดี อย่างไรก็ตามการบริโภคอาหารที่มีโคเลสเตอรอลมากเกินไป ก็อาจทำให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพได้ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า โคเลสเตอรอลเป็นของไม่ดี ร่างกายยังจำเป็นต้องมีโคเลสเตอรอลในปริมาณที่เหมาะ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 14783
- ผู้ติดตาม: 0
น้ำมันมะพร้าวกับไขมันในเส้นเลือด
โพสต์ที่ 78
ลองค้นเล่นๆเกียวน้ำมันมะพร้าว มีเจ้านึง โฆษณาแบบนี้
อ่านแล้ว เขาบอกว่า ใช้การสกัดแบบเย็น ไม่ผ่านความร้อน ไม่ผ่านสารเคมี ไม่ผสมสารเคมีใดๆ และทานแล้วไม่ทำให้โคเรสเตอรอลสูง
อืม ก็ฟังไว้ ถ้าเป็นอย่างนั้นจริง ผมเอา 1 ขวด จะลองมาใช้แทน น้ำมันมะกอก
โค้ด: เลือกทั้งหมด
ผู้สนใจ : 864
รายละเอียด : Virgin Coconut Oil น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ 100%
(ผ่านการตรวจสอบจากห้องแลป มีมาตราฐานชุมชน มสช.)
ในปัจจุบันคนเรามักนิยมใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสารเคมีผสมมาใช้ในชีวิตประจำวัน และผลิตภัณฑ์หลายชนิดที่เราใช้ไปจะมีการสะสมอยู่ในร่างกายของคนเรา แต่ถ้าเราหันมาใช้ผลิตภัณฑ์ทางธรรมชาติก็จะช่วยให้ร่างกายของเราลดการสัมผัสกับสารเคมี และยังช่วยสนับสนุนอาชีพของคนไทยด้วยกัน
ใช้กรรมวิธีในการสกัดแบบเย็น โดยไม่ผ่านความร้อน ไม่ผ่านสารเคมี ไม่ผสมสารเคมีใดๆ และยังคงมีกรดลอริค(Lauric Acid) ซึ่งเป็นกรดไขมันที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย มีแร่ธาติและสารอาหารในปริมาณสูง ยังคงช่วยรักษาคุณค่าของสารอาหารให้ความชุ่มชื้นและสารต้านอนุมูลอิสระไว้
ประโยชน์
1.ใช้รับประทาน เพราะในน้ำมันมะพร้าว ไม่ทำให้โคเรสเตอรอลสูง ไม่ทำให้เป็นโรคหัวใจ ตรงกันข้ามจากการวิจัยยังพบว่า ในน้ำมันมะพร้าว ยังช่วยลดโคเลสเตอรอลรวม LDL และเพิ่ม HDL ซึ่งดีกับสุขภาพของหัวใจ
อืม ก็ฟังไว้ ถ้าเป็นอย่างนั้นจริง ผมเอา 1 ขวด จะลองมาใช้แทน น้ำมันมะกอก
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11443
- ผู้ติดตาม: 0
น้ำมันมะพร้าวกับไขมันในเส้นเลือด
โพสต์ที่ 79
ขอบคุณ คุณหมอทั้ง 2 ท่านครับ
มิน่า คุณหมอที่สภากาชาดไทย นอกจากให้น้ำมันมะพร้าวมา 1 ขวด แล้ว ยังให้ วิตามิน บี 1 - 6 -12 และ โฟลิกแอซิด นอกจากนั้นยังให้ ขมิ้นชัน และ พริกไทยดำ มาให้ทานด้วย
ตกลงว่า ถ้าผมจะทาน วิตามิน บี 1 - 6 -12 และ โฟลิกแอซิด คงไม่มีโทษอะไรใช่ไหมครับ
น้ำมันมะพร้าว ผมก็ยังลังเลไม่รู้ยังไงดี อ่านบทความคุณหมอบรรจบ ที่บันลาวี เขียนในมติชนรายสัปดาห์ แล้วรู้สึกว่า หมอแนวสมุนไพรจะเชียร์ แต่หมอแนวแผนปัจจุบันไม่แนะนำ ก็เลยคิดว่าคงไม่เสี่ยงลองทาน
แล้ว ขมิ้นชัน และ พริกไทยดำ มีใครพอทราบข้อดี ข้อเสีย บ้างไหมครับ
มิน่า คุณหมอที่สภากาชาดไทย นอกจากให้น้ำมันมะพร้าวมา 1 ขวด แล้ว ยังให้ วิตามิน บี 1 - 6 -12 และ โฟลิกแอซิด นอกจากนั้นยังให้ ขมิ้นชัน และ พริกไทยดำ มาให้ทานด้วย
ตกลงว่า ถ้าผมจะทาน วิตามิน บี 1 - 6 -12 และ โฟลิกแอซิด คงไม่มีโทษอะไรใช่ไหมครับ
น้ำมันมะพร้าว ผมก็ยังลังเลไม่รู้ยังไงดี อ่านบทความคุณหมอบรรจบ ที่บันลาวี เขียนในมติชนรายสัปดาห์ แล้วรู้สึกว่า หมอแนวสมุนไพรจะเชียร์ แต่หมอแนวแผนปัจจุบันไม่แนะนำ ก็เลยคิดว่าคงไม่เสี่ยงลองทาน
แล้ว ขมิ้นชัน และ พริกไทยดำ มีใครพอทราบข้อดี ข้อเสีย บ้างไหมครับ
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 14783
- ผู้ติดตาม: 0
น้ำมันมะพร้าวกับไขมันในเส้นเลือด
โพสต์ที่ 80
โค้ด: เลือกทั้งหมด
น้ำมันมะพร้าว ผมก็ยังลังเลไม่รู้ยังไงดี อ่านบทความคุณหมอบรรจบ ที่บันลาวี เขียนในมติชนรายสัปดาห์ แล้วรู้สึกว่า หมอแนวสมุนไพรจะเชียร์ แต่หมอแนวแผนปัจจุบันไม่แนะนำ ก็เลยคิดว่าคงไม่เสี่ยงลองทาน
แล้ว ขมิ้นชัน และ พริกไทยดำ มีใครพอทราบข้อดี ข้อเสีย บ้างไหมครับ
1. น้ำมันพืช ที่ผ่านสารพัดกระบวนการ เรากล้ากิน
2. น้ำมันมะพร้าว ที่ ปกติมะพร้าว เรากล้ากิน แต่ น้ำมันมะพร้าว ผ่านที่อ้างว่าผ่านกระบวนการหีบเย็น เราลังเล
555
เรื่องความเชื่อครับ
สำหรับผม ผมคิดว่า บ้าแล้ว ที่เรากล้ากินของที่ผ่านกระบวนการสารพัด แต่เราไม่กล้ากินของที่ใกล้เคียงธรรมชาติ
เออ เป็นแค่ความคิดของผมนา
เพราะเวลาพุดแบบ อาจจะถูกตีความว่า แอนตี้การแพทย์แผนปัจจุบันได้
ผมว่า โลกมนุษย์ สุดท้าย เมื่อคุยกันมากๆแล้ว ต้องไม่คุยต่อเพื่อมิตรภาพ นะ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 14783
- ผู้ติดตาม: 0
น้ำมันมะพร้าวกับไขมันในเส้นเลือด
โพสต์ที่ 81
ทุกๆครั้งที่เรากินแกง เราก็ได้กินน้ำมันมะพร้าว ธรรมชาติ ตลอดเวลา เราจะกลัวอะไรกับ น้ำมันมะพร้าวผมยังงง อยู่เหมือนกัน
แต่มีข้อมูลที่ผมไม่ได้แน่ใจ จากกระทู้นี้
คือตกลง น้ำมันมะพร้าว มีคอเลสเตอรอล สูงหรือไม่
แต่มีข้อมูลที่ผมไม่ได้แน่ใจ จากกระทู้นี้
คือตกลง น้ำมันมะพร้าว มีคอเลสเตอรอล สูงหรือไม่
-
- Verified User
- โพสต์: 1992
- ผู้ติดตาม: 0
น้ำมันมะพร้าวกับไขมันในเส้นเลือด
โพสต์ที่ 82
[quote="Jeng"]ผมขอสรุปเรื่อง cholesterol ldl hdl TG ดังนี้ ถ้าผิดช่วยแก้ด้วยนะครับ คุณหมอทั้งหลาย
สำหรับคนที่รักสุขภาพ ( ผมก็ทำไม่ได้ )
1. ปริมาณพลังานที่ใช้ - ปริมาณพลังงานที่ได้รับ ( กิน ) = ของเหลือ เป็นไขมันส่วนเกิน
2. ไขมัน แป้ง ( น้ำตาล ) โปรตีน สามารถเปลี่ยนไปมาได้ ร่างกายเลือกใช้ น้ำตาลก่อน ตามมาด้วยแป้ง แล้วค่อยไปใช้ไขมัน หากทานไขมันปานกลาง แต่ทานแป้งมาก สุดท้าย อ้วนอยู่ดี
3. หากกินมาก ปริมาณพลังงานที่ได้รับ จะมีเหลือ สุดท้าย ก็จะทำให้ มีไขมันสะสม
4. ในคนที่มีไขมันสะสม หากกินไขมันที่มีคลอเลสเตอรอล ก็จะมีความเสี่ยง ในการเกิดโรคไขมันอุดตัน
5. ในคนที่กินพอประมาณ ถึงแม้จะกินไขมันอิ่มตัว เช่นน้ำมันหมู ก็ไม่ได้มีความเสียง เนื่องจาก คลอเรสเตอรอล ก็เป็นสารจำเป็น ที่ร่างกายต้องการ ขาดไม่ได้
6. ความเสียงอื่นๆ เช่น บุหรี่ เหล้า นอนดึก ทำงานเครียด หักโหมเรื่องเซ็ก และอื่นๆ ก็อาจจะทำให้ โรคหัวใจที่กำลังจะเป็น เป็นได้เร็วขึ้น
7. อายุ 30 อัพ ก็ไปตรวจสุขภาพทุกปี เพื่อดูระดับ
สำหรับคนที่รักสุขภาพ ( ผมก็ทำไม่ได้ )
1. ปริมาณพลังานที่ใช้ - ปริมาณพลังงานที่ได้รับ ( กิน ) = ของเหลือ เป็นไขมันส่วนเกิน
2. ไขมัน แป้ง ( น้ำตาล ) โปรตีน สามารถเปลี่ยนไปมาได้ ร่างกายเลือกใช้ น้ำตาลก่อน ตามมาด้วยแป้ง แล้วค่อยไปใช้ไขมัน หากทานไขมันปานกลาง แต่ทานแป้งมาก สุดท้าย อ้วนอยู่ดี
3. หากกินมาก ปริมาณพลังงานที่ได้รับ จะมีเหลือ สุดท้าย ก็จะทำให้ มีไขมันสะสม
4. ในคนที่มีไขมันสะสม หากกินไขมันที่มีคลอเลสเตอรอล ก็จะมีความเสี่ยง ในการเกิดโรคไขมันอุดตัน
5. ในคนที่กินพอประมาณ ถึงแม้จะกินไขมันอิ่มตัว เช่นน้ำมันหมู ก็ไม่ได้มีความเสียง เนื่องจาก คลอเรสเตอรอล ก็เป็นสารจำเป็น ที่ร่างกายต้องการ ขาดไม่ได้
6. ความเสียงอื่นๆ เช่น บุหรี่ เหล้า นอนดึก ทำงานเครียด หักโหมเรื่องเซ็ก และอื่นๆ ก็อาจจะทำให้ โรคหัวใจที่กำลังจะเป็น เป็นได้เร็วขึ้น
7. อายุ 30 อัพ ก็ไปตรวจสุขภาพทุกปี เพื่อดูระดับ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 14783
- ผู้ติดตาม: 0
น้ำมันมะพร้าวกับไขมันในเส้นเลือด
โพสต์ที่ 83
เรืองที่ผมแปลกใจอีกเรื่อง คือเรื่องเหตุผล และการวิจัย เราเชื่อเรื่องการวิจัย และเราก็เชื่อเรื่องการวิจัยในประชากรที่มาก และเราก็เชื่อเรื่องการวิจัย อย่างยาวนาน
ยิ่งวิจัยมาก และยาวนาน ยิ่งน่าเชื่อถือ
การแพทย์ แผนปัจจุบันผลิตยา ที่วิจัยกันแบบ ทุ่มงบประมาณไปมาก และผลิตออกมาขาย อย่างยาวนาน
สุดท้าย ยาตั้งหลายตัว กลับถูกค้นพบ ว่ากินแล้ว ตับวาย ไตวาย ทำให้เสียชีวิต และต้องโดนถอดออกจาก คำว่ายา
ในเมกา
แต่ ในบางประเทศ อย่างไทย หรือ แอฟริกา ยานั้นกลับยังใช้กัน เพราะโดยรวมแล้ว มีใช้ก็ดีกว่าไม่มี หรืออย่างไรไม่ทราบ
ประเด็นที่ผมอยากจะบอกคือ การใช้อย่างยาวนาน แล้วไม่เกิดโทษ เช่นการกินส้ม เรากินมานานมาก แทบไม่มีการวิจัยการกินส้ม แต่เราก็กินส้ม หรือ การกินข้าว เราก็กินมานานมาก ผมคิดว่า ไม่มีการวิจัยการกินข้าวแน่ๆ
เพราะฉะนั้น เราจะวางใจ กรอบการวิจัยได้อย่างไร
ถ้าวิจัยนิดเดียว เราจะสรุปได้ขนาดนั้นเชียวหรือ
เรื่องน้ำมันมะพร้าว มีบทวิจัยอะไรว่าไม่ดี
ผมว่าไม่มี
มีบทวิจัยอะไรว่าดี ผมว่าก็ไม่น่าจะมี
แล้ว ทำไมน่ากิน ผมคิดว่า ก็เป็นอะไรที่เรากินมานานมาก ตั้งแต่ คำว่า แกง เกิดขึ้นในเมืองไทย
ผมไม่เห็นด้วยตั้งแต่ ฝรั่งไปบอกว่าน้ำมั้นมะพร้าวไม่ดี
แต่ เราก็เดินตามเขา และทุกวันนี้ก็ยังเดินตามเขาอีก
อยากจะบอกว่า ฝรั่งหนะ ไม่ได้ฉลาดอะไรหรอก
หากเราเดินตามคนโง่ เราไม่โง่ตามเขาเหรอ
ที่เขาผลิตอะไรมาขายๆเรานั้น มันเหมาะสำหรับเมืองไทย จริงๆหรือไม่
ดูเบนซ์ BM ซิ จอดตายประจำ
แถมคนไทยต้องมาใส่สูท ร้อน อิบอ๋าย
ผมเองรับซักพรมด้วย เครืองมือฝรั่ง สู้เครื่องมือคนไทยไม่ได้ ถูกกว่าดีกว่า ด้วยซ้ำ
ยิ่งวิจัยมาก และยาวนาน ยิ่งน่าเชื่อถือ
การแพทย์ แผนปัจจุบันผลิตยา ที่วิจัยกันแบบ ทุ่มงบประมาณไปมาก และผลิตออกมาขาย อย่างยาวนาน
สุดท้าย ยาตั้งหลายตัว กลับถูกค้นพบ ว่ากินแล้ว ตับวาย ไตวาย ทำให้เสียชีวิต และต้องโดนถอดออกจาก คำว่ายา
ในเมกา
แต่ ในบางประเทศ อย่างไทย หรือ แอฟริกา ยานั้นกลับยังใช้กัน เพราะโดยรวมแล้ว มีใช้ก็ดีกว่าไม่มี หรืออย่างไรไม่ทราบ
ประเด็นที่ผมอยากจะบอกคือ การใช้อย่างยาวนาน แล้วไม่เกิดโทษ เช่นการกินส้ม เรากินมานานมาก แทบไม่มีการวิจัยการกินส้ม แต่เราก็กินส้ม หรือ การกินข้าว เราก็กินมานานมาก ผมคิดว่า ไม่มีการวิจัยการกินข้าวแน่ๆ
เพราะฉะนั้น เราจะวางใจ กรอบการวิจัยได้อย่างไร
ถ้าวิจัยนิดเดียว เราจะสรุปได้ขนาดนั้นเชียวหรือ
เรื่องน้ำมันมะพร้าว มีบทวิจัยอะไรว่าไม่ดี
ผมว่าไม่มี
มีบทวิจัยอะไรว่าดี ผมว่าก็ไม่น่าจะมี
แล้ว ทำไมน่ากิน ผมคิดว่า ก็เป็นอะไรที่เรากินมานานมาก ตั้งแต่ คำว่า แกง เกิดขึ้นในเมืองไทย
ผมไม่เห็นด้วยตั้งแต่ ฝรั่งไปบอกว่าน้ำมั้นมะพร้าวไม่ดี
แต่ เราก็เดินตามเขา และทุกวันนี้ก็ยังเดินตามเขาอีก
อยากจะบอกว่า ฝรั่งหนะ ไม่ได้ฉลาดอะไรหรอก
หากเราเดินตามคนโง่ เราไม่โง่ตามเขาเหรอ
ที่เขาผลิตอะไรมาขายๆเรานั้น มันเหมาะสำหรับเมืองไทย จริงๆหรือไม่
ดูเบนซ์ BM ซิ จอดตายประจำ
แถมคนไทยต้องมาใส่สูท ร้อน อิบอ๋าย
ผมเองรับซักพรมด้วย เครืองมือฝรั่ง สู้เครื่องมือคนไทยไม่ได้ ถูกกว่าดีกว่า ด้วยซ้ำ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 14783
- ผู้ติดตาม: 0
น้ำมันมะพร้าวกับไขมันในเส้นเลือด
โพสต์ที่ 84
โค้ด: เลือกทั้งหมด
เห็นด้วยครับ แต่เพิ่มเติมนิดนึงในข้อ 13
น้ำมันมะกอกที่เขาว่าผลิตโดยใช้วิธี cold press นั้น จริงสำหรับน้ำมันมะกอกชนิดเยี่ยมที่เรียกว่า virgin olive oil โดยเฉพาะที่เรียกว่า extra-virgin olive oil (EVOO) ซึ่งจะได้จากการกดครั้งแรกเท่านั้น ส่วนน้ำมันมะกอกชนิดไม่ค่อยดีที่เหลือจากการการกดครั้งแรก ๆ เขาใช้การสกัดออกมาด้วย hexane
น้ำมันมะกอกที่ผ่านการสกัดด้วย hexane เขาจะเรียกว่า refined olive oil หรือ pure olive oil ดังนั้นถ้าเห็นเขาปิดฉลากว่า 100% pure olive oil นี่ไม่ใช่ของดีครับ แต่เป็นของห่วย ของดีต้อง extra-virgin olive oil เท่านั้น
ข้อสังเกตของ EVOO คือสีจะเข้มออกไปทางเขียว มีรสชาติของมะกอกอยู่ด้วยนิดหน่อย
-
- Verified User
- โพสต์: 1992
- ผู้ติดตาม: 0
-
- Verified User
- โพสต์: 1992
- ผู้ติดตาม: 0
น้ำมันมะพร้าวกับไขมันในเส้นเลือด
โพสต์ที่ 86
ก่อนเริ่ม ผมเกริ่นนำไว้เลยว่า ถือเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นแบบชิว ชิว ไม่ได้ต้องการเอาชนะคะคานกันแต่อย่างใด
เรื่องบทวิจัย ผมหรือแพทย์แผนปัจจุบันไม่ได้เชือถือฝรั่งตาน้ำข้าวอะไรเกี่ยวกับผลการวิจัยต่าง ๆ หรอกครับ
แต่จะลองยกตัวอย่างง่าย ๆ สมมติมีคนไข้คนหนึ่ง มีไข้ขึ้น คัดจมูก น้ำมูกไหล ไม่รู้จะทำยังไงดี นึกอะไรไม่ออกเลยกินโอเลี้ยง 1 แก้วแล้วปรากฏว่าสามวันต่อมาไข้หาย แกก็เลยนึกเอาว่า โอเลี้ยงนี่เองเป็นยารักษาไข้
ถ้าเรารู้ว่า ไข้นั้นเป็นไข้หวัด ที่กินเวลาสองสามวันก็จะหายเองได้ เราจะคิดว่าโอเลี้ยงเป็นยารักษาไข้หวัดหรือเปล่า
นี่เป็นที่มาของการวิจัย จุดประสงค์ของการวิจัยโดยทั่วไปก็คือ การค้นหาความจริง (fact) ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเหตุเป็นผล มีความสัมพันธ์กันจริง (happened by real association) เกินกว่าที่จะเกิดขึ้นโดยบังเอิญ (happened by chance)
อย่างไรก็ดี สิ่งที่การวิจัยค้นพบเป็นผลการวิจัย (result) ไม่ใช่ความจริงเสมอ
Result = Fact + Bias เสมอครับ อาจจะเป็น Bias ที่เกิดจากความผิดพลาดของการทำวิจัย, ความผิดพลาดของผู้วิจัย, ความผิดพลาดที่เกิดจากการคัดเลือกผู้เข้าร่วมวิจัย, และอื่น ๆ ร้อยแปด ฯลฯ
หน้าที่ของผู้วิจัย และผู้อ่านผลและนำผลการวิจัยมาใช้ ต้องประเมินว่า การวิจัยนั้น มี Bias มากน้อยเพียงใด และทำอย่างไรให้ Bias มันน้อยที่สุด ถ้า Bias น้อยมาก ๆ (เข้าใกล้ 0) Result จะใกล้เคียง Fact มากเท่านั้น
ยิ่งการศึกษามีการออกแบบได้ดีมาก Bias ก็จะน้อย (เช่นเป็น prospective, randomized, มีกลุ่ม control, doubled-blind) แถมการตัดสินใจว่าจะเชื่อผลการศึกษา ต้องมีจุดตัดเข้มงวด (เช่นมี 95% confidence interval หมายความว่า ถ้าต้องทำการทดลองซ้ำ ๆ 100 ครั้ง อย่างน้อย 95 ครั้งจะต้องได้ผลอย่างนี้)
ยิ่งถ้ามีหลายการศึกษาทำจากที่ต่าง ๆ กัน แล้วให้ผลคล้ายคลึง หรือเหมือนกันอีก ยิ่งเชื่อได้ว่า Bias จะน้อยมาก ๆ หรือแทบจะไม่มีเลย
บทวิจัยที่ได้ตีพิมพ์ออกมาในวารสารการแพทย์ที่เรียกว่า peer-reviewed journals กว่าจะได้ตีพิมพ์ยังโดนกองบรรณาธิการ (พวกนี้เป็นคนประเภทมองโลกในแง่ร้าย ชอบจับผิดอยู่แล้วด้วย) อ่าน ซักฟอกจนหมดเปลือก หมดข้อสงสัยจึงจะให้ผ่านได้ บทวิจัยไหนที่ได้ตีพิมพ์ในวารสารเหล่านี้ จึงถูกคัดแล้วคัดอีกจนแน่ใจมากว่ามีความถูกต้องเที่ยงธรรมเพียงพอ
แต่การที่มีบทวิจัยน้อย หรือไม่มี ไม่ได้หมายความว่ามันดี หรือไม่ดี ของบางอย่างทำได้ยาก โดยเฉพาะในมนุษย์
ตัวอย่างเรื่องน้ำมันมะพร้าวก็มีครับ แต่ไม่เยอะ ที่เยอะจะทำในสัตว์ซะมาก
http://www.ncbi.nlm.nih.gov/sites/entre ... d_RVDocSum
ตัวอย่างในคน
J Lipid Res
Effects of coconut oil, butter, and safflower oil on lipids and lipoproteins in persons with moderately elevated cholesterol levels.
Cox C, Mann J, Sutherland W, Chisholm A, Skeaff M.
Department of Human Nutrition, University of Otago, Dunedin, New Zealand.
The physiological effects of coconut oil, butter, and safflower oil on lipids and lipoproteins have been compared in moderately hypercholesterolemic individuals. Twenty eight participants (13 men, 15 women) followed three 6-week experimental diets of similar macronutrient distribution with the different test fats providing 50% total dietary fat. Total cholesterol and low density lipoprotein cholesterol were significantly higher (P < 0.001) on the diet containing butter [6.8 +/- 0.9, 4.5 +/- 0.8 mmol/l] (mean +/- SD), respectively than on the coconut oil diet (6.4 +/- 0.8; 4.2 +/- 0.7 mmol/l) when levels were significantly higher (P < 0.01) than on the safflower diet (6.1 +/- 0.8; 3.9 +/- 0.7 mmol/l). Findings with regard to the other measures of lipids and lipoproteins were less consistent. Apolipoprotein A-I was significantly higher on coconut oil (157 +/- 17 mg/dl) and on butter (141 +/- 23 mg/dl) than on safflower oil (132 +/- 22 mg/dl). Apolipoprotein B was also higher on butter (86 +/- 20 mg/dl) and coconut oil (91 +/- 32 mg/dl) than on safflower oil (77 +/- 19 mg/dl). However gender differences were apparent. In the group as a whole, high density lipoprotein did not differ significantly on the three diets whereas levels in women on the butter and coconut oil diet were significantly higher than on the safflower oil diet. Triacylglycerol was higher on the butter diet than on the safflower and coconut oil diets but the difference only reached statistical significance in women. Cholesteryl ester transfer activity was significantly higher on butter than safflower oil in the group as a whole and in women.(ABSTRACT TRUNCATED AT 250 WORDS)
PMID: 7595099 [PubMed - indexed for MEDLINE]
http://www.ncbi.nlm.nih.gov/sites/entre ... d_RVDocSum
อันนี้ในหนู
J Nutr
Hamsters fed diets high in saturated fat have increased cholesterol accumulation and cytokine production in the aortic arch compared with cholesterol-fed hamsters with moderately elevated plasma non-HDL cholesterol concentrations.
Alexaki A, Wilson TA, Atallah MT, Handelman G, Nicolosi RJ.
Department of Nutrition, University of Massachusetts-Amherst, Amherst, MA, USA.
There is growing evidence that dietary fatty acids and/or dietary cholesterol could have a direct role on inflammatory diseases such as atherosclerosis. F(1)B Golden Syrian hamsters (Mesocricetus auratus), in 2 groups of 72, were fed for 10 wk a semipurified diet containing either 20 g/100 g hydrogenated coconut oil without cholesterol or cocoa butter (20 g/100 g) with cholesterol (0.15 g/100 g). After the 10-wk treatment period, plasma was collected from food-deprived hamsters (16 h) for plasma lipid measurements. Hamsters were then ranked according to their plasma VLDL and LDL cholesterol (non-HDL-C) concentrations with 1.86 mmol/L as the cut-off point between low (Low; n = 36) and medium (Med; n = 36) concentrations for each treatment. Hamsters in the Low and Medium groups fed cholesterol (Low-chol) had significantly lower plasma total cholesterol (TC) concentrations than hamsters in the Low group fed coconut oil (Low-CO). However, this difference for the Medium group was reflected in significantly lower plasma HDL cholesterol (HDL-C) concentrations. Hamsters in the Low-CO group had significantly higher aortic total and esterified cholesterol concentrations than hamsters in the Low-chol group. Hamsters in the Low-chol group had significantly higher aortic tumor necrosis factor-alpha concentrations than hamsters in the Low-CO group. Hamsters in the Med-CO group had significantly higher aortic interleukin-1beta concentrations than hamsters in the Med-chol group. In conclusion, the present study suggests that dietary cholesterol and saturated fatty acids could have an effect on atherosclerosis not only beyond their role in affecting plasma lipoproteins but also through increased production of inflammatory cytokines in the arterial wall.
PMID: 14747681 [PubMed - indexed for MEDLINE]
เหตุที่การศึกษาในมนุษย์หายาก ก็เพราะคงไม่มีใครกล้าทำการทดลองโดยให้คนกินน้ำมันอย่างใดอย่างหนึ่งได้ง่าย ๆ มันผิดจริยธรรม โดยเฉพาะเมื่อข้อมูลการศึกษามันออกมามากขึ้น. First, do no harm เสมอครับ
เรื่องยาที่เป็นเรื่อง ก็เป็นเพราะยาใหม่ ๆ พวกนี้ ข้อมูลวิจัยระยะยาวมันไม่มี และจริง ๆ ก็เป็นสิ่งที่ถ้ามองย้อนกลับไปในอีกด้านหนึ่งถือเป็นส่วนดีของเขาเหมือนกัน ระบบของเขาโปร่งใส ตรวจสอบกันเข้มงวดแม้จะนำยาออกมาจำหน่ายแล้วก็ยังตรวจสอบ จนได้เจอว่ามันเกิดอะไรขึ้น
ถ้าลองเปรียบเทียบกับ "ยาหม้อ" "ยาลูกกลอน" บ้านเรา มีใครลองไปตรวจสอบกันดูหรือไม่ว่า มีคนต้องเจ็บป่วยหรือเสียชีวิตเพราะยาเหล่านี้กันไปเท่าไหร่ ทุกวันนี้ก็ยังมีโฆษณากันตามหน้าหนังสือพิมพ์ที่ขายยารักษาเอดส์ มะเร็ง ฯลฯ แถมยังอ้างว่าหายขาดได้ด้วย!!!
ป.ล. ผมไม่ได้ชื่นชมฝรั่งแต่อย่างใด หมอฝรั่งโง่ ๆ เยอะแยะจะตายไป สมัยอยู่เมกา ก็ไล่อัด ด่าพวกหมอฝึกหัดฝรั่งประจำอยู่ทุกวี่วัน
จะปิดหูปิดตาตัวเองตลอดก็ไม่ไหว ของไหนแย่ก็ด่าว่าแย่ แต่ถ้ามันดีก็ต้องบอกว่าดีครับ
เรื่องบทวิจัย ผมหรือแพทย์แผนปัจจุบันไม่ได้เชือถือฝรั่งตาน้ำข้าวอะไรเกี่ยวกับผลการวิจัยต่าง ๆ หรอกครับ
แต่จะลองยกตัวอย่างง่าย ๆ สมมติมีคนไข้คนหนึ่ง มีไข้ขึ้น คัดจมูก น้ำมูกไหล ไม่รู้จะทำยังไงดี นึกอะไรไม่ออกเลยกินโอเลี้ยง 1 แก้วแล้วปรากฏว่าสามวันต่อมาไข้หาย แกก็เลยนึกเอาว่า โอเลี้ยงนี่เองเป็นยารักษาไข้
ถ้าเรารู้ว่า ไข้นั้นเป็นไข้หวัด ที่กินเวลาสองสามวันก็จะหายเองได้ เราจะคิดว่าโอเลี้ยงเป็นยารักษาไข้หวัดหรือเปล่า
นี่เป็นที่มาของการวิจัย จุดประสงค์ของการวิจัยโดยทั่วไปก็คือ การค้นหาความจริง (fact) ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเหตุเป็นผล มีความสัมพันธ์กันจริง (happened by real association) เกินกว่าที่จะเกิดขึ้นโดยบังเอิญ (happened by chance)
อย่างไรก็ดี สิ่งที่การวิจัยค้นพบเป็นผลการวิจัย (result) ไม่ใช่ความจริงเสมอ
Result = Fact + Bias เสมอครับ อาจจะเป็น Bias ที่เกิดจากความผิดพลาดของการทำวิจัย, ความผิดพลาดของผู้วิจัย, ความผิดพลาดที่เกิดจากการคัดเลือกผู้เข้าร่วมวิจัย, และอื่น ๆ ร้อยแปด ฯลฯ
หน้าที่ของผู้วิจัย และผู้อ่านผลและนำผลการวิจัยมาใช้ ต้องประเมินว่า การวิจัยนั้น มี Bias มากน้อยเพียงใด และทำอย่างไรให้ Bias มันน้อยที่สุด ถ้า Bias น้อยมาก ๆ (เข้าใกล้ 0) Result จะใกล้เคียง Fact มากเท่านั้น
ยิ่งการศึกษามีการออกแบบได้ดีมาก Bias ก็จะน้อย (เช่นเป็น prospective, randomized, มีกลุ่ม control, doubled-blind) แถมการตัดสินใจว่าจะเชื่อผลการศึกษา ต้องมีจุดตัดเข้มงวด (เช่นมี 95% confidence interval หมายความว่า ถ้าต้องทำการทดลองซ้ำ ๆ 100 ครั้ง อย่างน้อย 95 ครั้งจะต้องได้ผลอย่างนี้)
ยิ่งถ้ามีหลายการศึกษาทำจากที่ต่าง ๆ กัน แล้วให้ผลคล้ายคลึง หรือเหมือนกันอีก ยิ่งเชื่อได้ว่า Bias จะน้อยมาก ๆ หรือแทบจะไม่มีเลย
บทวิจัยที่ได้ตีพิมพ์ออกมาในวารสารการแพทย์ที่เรียกว่า peer-reviewed journals กว่าจะได้ตีพิมพ์ยังโดนกองบรรณาธิการ (พวกนี้เป็นคนประเภทมองโลกในแง่ร้าย ชอบจับผิดอยู่แล้วด้วย) อ่าน ซักฟอกจนหมดเปลือก หมดข้อสงสัยจึงจะให้ผ่านได้ บทวิจัยไหนที่ได้ตีพิมพ์ในวารสารเหล่านี้ จึงถูกคัดแล้วคัดอีกจนแน่ใจมากว่ามีความถูกต้องเที่ยงธรรมเพียงพอ
แต่การที่มีบทวิจัยน้อย หรือไม่มี ไม่ได้หมายความว่ามันดี หรือไม่ดี ของบางอย่างทำได้ยาก โดยเฉพาะในมนุษย์
ตัวอย่างเรื่องน้ำมันมะพร้าวก็มีครับ แต่ไม่เยอะ ที่เยอะจะทำในสัตว์ซะมาก
http://www.ncbi.nlm.nih.gov/sites/entre ... d_RVDocSum
ตัวอย่างในคน
J Lipid Res
Effects of coconut oil, butter, and safflower oil on lipids and lipoproteins in persons with moderately elevated cholesterol levels.
Cox C, Mann J, Sutherland W, Chisholm A, Skeaff M.
Department of Human Nutrition, University of Otago, Dunedin, New Zealand.
The physiological effects of coconut oil, butter, and safflower oil on lipids and lipoproteins have been compared in moderately hypercholesterolemic individuals. Twenty eight participants (13 men, 15 women) followed three 6-week experimental diets of similar macronutrient distribution with the different test fats providing 50% total dietary fat. Total cholesterol and low density lipoprotein cholesterol were significantly higher (P < 0.001) on the diet containing butter [6.8 +/- 0.9, 4.5 +/- 0.8 mmol/l] (mean +/- SD), respectively than on the coconut oil diet (6.4 +/- 0.8; 4.2 +/- 0.7 mmol/l) when levels were significantly higher (P < 0.01) than on the safflower diet (6.1 +/- 0.8; 3.9 +/- 0.7 mmol/l). Findings with regard to the other measures of lipids and lipoproteins were less consistent. Apolipoprotein A-I was significantly higher on coconut oil (157 +/- 17 mg/dl) and on butter (141 +/- 23 mg/dl) than on safflower oil (132 +/- 22 mg/dl). Apolipoprotein B was also higher on butter (86 +/- 20 mg/dl) and coconut oil (91 +/- 32 mg/dl) than on safflower oil (77 +/- 19 mg/dl). However gender differences were apparent. In the group as a whole, high density lipoprotein did not differ significantly on the three diets whereas levels in women on the butter and coconut oil diet were significantly higher than on the safflower oil diet. Triacylglycerol was higher on the butter diet than on the safflower and coconut oil diets but the difference only reached statistical significance in women. Cholesteryl ester transfer activity was significantly higher on butter than safflower oil in the group as a whole and in women.(ABSTRACT TRUNCATED AT 250 WORDS)
PMID: 7595099 [PubMed - indexed for MEDLINE]
http://www.ncbi.nlm.nih.gov/sites/entre ... d_RVDocSum
อันนี้ในหนู
J Nutr
Hamsters fed diets high in saturated fat have increased cholesterol accumulation and cytokine production in the aortic arch compared with cholesterol-fed hamsters with moderately elevated plasma non-HDL cholesterol concentrations.
Alexaki A, Wilson TA, Atallah MT, Handelman G, Nicolosi RJ.
Department of Nutrition, University of Massachusetts-Amherst, Amherst, MA, USA.
There is growing evidence that dietary fatty acids and/or dietary cholesterol could have a direct role on inflammatory diseases such as atherosclerosis. F(1)B Golden Syrian hamsters (Mesocricetus auratus), in 2 groups of 72, were fed for 10 wk a semipurified diet containing either 20 g/100 g hydrogenated coconut oil without cholesterol or cocoa butter (20 g/100 g) with cholesterol (0.15 g/100 g). After the 10-wk treatment period, plasma was collected from food-deprived hamsters (16 h) for plasma lipid measurements. Hamsters were then ranked according to their plasma VLDL and LDL cholesterol (non-HDL-C) concentrations with 1.86 mmol/L as the cut-off point between low (Low; n = 36) and medium (Med; n = 36) concentrations for each treatment. Hamsters in the Low and Medium groups fed cholesterol (Low-chol) had significantly lower plasma total cholesterol (TC) concentrations than hamsters in the Low group fed coconut oil (Low-CO). However, this difference for the Medium group was reflected in significantly lower plasma HDL cholesterol (HDL-C) concentrations. Hamsters in the Low-CO group had significantly higher aortic total and esterified cholesterol concentrations than hamsters in the Low-chol group. Hamsters in the Low-chol group had significantly higher aortic tumor necrosis factor-alpha concentrations than hamsters in the Low-CO group. Hamsters in the Med-CO group had significantly higher aortic interleukin-1beta concentrations than hamsters in the Med-chol group. In conclusion, the present study suggests that dietary cholesterol and saturated fatty acids could have an effect on atherosclerosis not only beyond their role in affecting plasma lipoproteins but also through increased production of inflammatory cytokines in the arterial wall.
PMID: 14747681 [PubMed - indexed for MEDLINE]
เหตุที่การศึกษาในมนุษย์หายาก ก็เพราะคงไม่มีใครกล้าทำการทดลองโดยให้คนกินน้ำมันอย่างใดอย่างหนึ่งได้ง่าย ๆ มันผิดจริยธรรม โดยเฉพาะเมื่อข้อมูลการศึกษามันออกมามากขึ้น. First, do no harm เสมอครับ
เรื่องยาที่เป็นเรื่อง ก็เป็นเพราะยาใหม่ ๆ พวกนี้ ข้อมูลวิจัยระยะยาวมันไม่มี และจริง ๆ ก็เป็นสิ่งที่ถ้ามองย้อนกลับไปในอีกด้านหนึ่งถือเป็นส่วนดีของเขาเหมือนกัน ระบบของเขาโปร่งใส ตรวจสอบกันเข้มงวดแม้จะนำยาออกมาจำหน่ายแล้วก็ยังตรวจสอบ จนได้เจอว่ามันเกิดอะไรขึ้น
ถ้าลองเปรียบเทียบกับ "ยาหม้อ" "ยาลูกกลอน" บ้านเรา มีใครลองไปตรวจสอบกันดูหรือไม่ว่า มีคนต้องเจ็บป่วยหรือเสียชีวิตเพราะยาเหล่านี้กันไปเท่าไหร่ ทุกวันนี้ก็ยังมีโฆษณากันตามหน้าหนังสือพิมพ์ที่ขายยารักษาเอดส์ มะเร็ง ฯลฯ แถมยังอ้างว่าหายขาดได้ด้วย!!!
ป.ล. ผมไม่ได้ชื่นชมฝรั่งแต่อย่างใด หมอฝรั่งโง่ ๆ เยอะแยะจะตายไป สมัยอยู่เมกา ก็ไล่อัด ด่าพวกหมอฝึกหัดฝรั่งประจำอยู่ทุกวี่วัน
จะปิดหูปิดตาตัวเองตลอดก็ไม่ไหว ของไหนแย่ก็ด่าว่าแย่ แต่ถ้ามันดีก็ต้องบอกว่าดีครับ
- Pn3um0n1a
- Verified User
- โพสต์: 1935
- ผู้ติดตาม: 0
น้ำมันมะพร้าวกับไขมันในเส้นเลือด
โพสต์ที่ 87
ก็ระดับอาจารย์แล้ว :oops:mprandy เขียน:ป.ล. ผมไม่ได้ชื่นชมฝรั่งแต่อย่างใด หมอฝรั่งโง่ ๆ เยอะแยะจะตายไป สมัยอยู่เมกา ก็ไล่อัด ด่าพวกหมอฝึกหัดฝรั่งประจำอยู่ทุกวี่วัน
ครับ
แต่จากที่เค้าว่ากันมา พวกไอ้กันและฝรั่งอื่น นี่ ยอมรับหมอไทยมาก
หมอไทย เก่งนะครับ ไม่แพ้ชาติใดแน่ๆ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 14783
- ผู้ติดตาม: 0
น้ำมันมะพร้าวกับไขมันในเส้นเลือด
โพสต์ที่ 88
โค้ด: เลือกทั้งหมด
ป.ล. ผมไม่ได้ชื่นชมฝรั่งแต่อย่างใด หมอฝรั่งโง่ ๆ เยอะแยะจะตายไป สมัยอยู่เมกา ก็ไล่อัด ด่าพวกหมอฝึกหัดฝรั่งประจำอยู่ทุกวี่วัน
จะปิดหูปิดตาตัวเองตลอดก็ไม่ไหว ของไหนแย่ก็ด่าว่าแย่ แต่ถ้ามันดีก็ต้องบอกว่าดีครับ
ต่ออีกนิด ผมไม่ได้แอนตี้ บทวิจัย วิธีวิจัย และผลวิจัยนะครับ
ผมคิดว่า การวิจัย ดีมาก และทำไปเหอะ ทำต่อเนื่องยาวนาน ยิ่งดี
ส่วน อะไรที่ไม่มีวิจัยนั้น เช่น การกินแกง ซึ่งใส่กระทิ ก็มีการบ่อต่อกันแบบชาวบ้าน ว่าอย่ากินเยอะ
ทุกครั้งที่ผมทำแกงเอง ผมสังเกตุว่า ผมได้อาหารธรรมชาติ โดยไม่ต้องใส่นำมันพืช
ยิ่งถ้าเป็นสมัยก่อน ผมคั้นกระทิเอง ด้วย กระต่าย ยิ่งชัวร์ แต่เดี๋ยวนี้ต้องใช้ กระทิชาวเกาะ
ผมว่า สองแนวทางนี้ดีทั้งคู่ คือการวิจัย แบบฝรั่ง ( ผมอยากเป็น หมอเก่งๆในเมืองๆไทย ได้รับการสนับสนุน งบวิจัย หากเรามี่การวิจัยจริงๆ ผมเชื่อว่า เราทำได้ดี และเหมาะกับประเทศไทย เพราะบทวิจัยสารพัด ก็วิจัยในต่างประเทศ ซะส่วนใหญ่ )
อีกแนวทางคือ แนวทางธรรมชาติ ผ่านกาลเวลามายาวนาน
ผมยกตัวอย่าง ผมไม่ทราบว่าเรากินดอกทานตะวันกันตั้งแต่เมื่อไร อยู่ดีๆ มีน้ำมันดอกทานตะวันออกมา แล้วบอกว่า ดีอย่างนั้นอย่างนี้
แบบนี้ ผมก็สังวรไว้ ถ้าเทียบกับกะทิ จากมะพร้าว มาทำแกง ผมมั่นใจมากกว่า ต่อ ให้น้ำมันดอกทานตะวันมีการวิจัย
ก็เป็นความคิดส่วนตัวครับ
ก็ขอบคุณคุณหมอ mprandy อีกครั้ง ที่ให้รายละเอียด ได้มากกว่าหมอทุกคนที่ผมเคยรู้จักครับ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 14783
- ผู้ติดตาม: 0
น้ำมันมะพร้าวกับไขมันในเส้นเลือด
โพสต์ที่ 89
โค้ด: เลือกทั้งหมด
ผมว่า สองแนวทางนี้ดีทั้งคู่ คือการวิจัย แบบฝรั่ง ( ผมอยากเป็น หมอเก่งๆในเมืองๆไทย ได้รับการสนับสนุน งบวิจัย หากเรามี่การวิจัยจริงๆ ผมเชื่อว่า เราทำได้ดี และเหมาะกับประเทศไทย เพราะบทวิจัยสารพัด ก็วิจัยในต่างประเทศ ซะส่วนใหญ่ )
ผมว่า สองแนวทางนี้ดีทั้งคู่ คือการวิจัย แบบฝรั่ง ( ผมอยากเห็น หมอเก่งๆในเมืองๆไทย ได้รับการสนับสนุน งบวิจัย หากเรามี่การวิจัยจริงๆ ผมเชื่อว่า เราทำได้ดี และเหมาะกับประเทศไทย เพราะบทวิจัยสารพัด ก็วิจัยในต่างประเทศ ซะส่วนใหญ่ )
-
- Verified User
- โพสต์: 1289
- ผู้ติดตาม: 0
น้ำมันมะพร้าวกับไขมันในเส้นเลือด
โพสต์ที่ 90
ขอบคุณมากครับPn3um0n1a เขียน: ชาย 23 ปี
ไม่สูบบุหรี่ (ไม่เคยเลย ไม่ใช่ เคยแต่เลิกแล้ว ผมถือว่าอย่างนี้ไปก่อนนะ)
ไม่มีประวัติโรคหลอดเลือดหัวใจตีบในครอบครัว (ของคุณแม่ ฟังแล้วไม่น่าจะใช่ รึเปล่า? ว่าแต่โรคหัวใจที่เกิดจากความเครียดนี่อะไรหว่า :oops: )
ไม่เป็นความดันโลหิตสูง
ไม่เป็นเบาหวาน (assume ไปก่อน น่าจะไม่เป็น)
HDL = 72 (ซึ่งมากกว่า 40)
อย่างนี้จัดอยู่ในกลุ่มความเสี่ยงต่ำสุดครับ
TG ต่ำดีอยู่แล้ว
HDL สูงมาก ดีอยู่แล้ว
LDL 131 ถือว่าดีมาก กลุ่มของคนนี้ <160 ก็ถือว่าดีแล้วครับ
หมายเหตุ และ คำแนะนำ
ปัจจุบันถือว่าดีมากอยู่แล้วครับ
แต่ในอนาคตอีกหลายๆ ปี (โดยเฉพาะตอนที่อายุมากกว่า 45 ปีแล้ว)
อาจมี โรคอื่นๆ ตามมา เช่น ความดัน เบาหวาน ซึ่งอาจเกิดได้โดยเราไม่ได้ทำอะไรผิด
ซึ่งถ้าเกิดเป็นขึ้นมา เป้า LDL จะลดลงมาเหลือ 130 (หรือ 100 ถ้าความเสี่ยงสูง)
ดังนั้นคำแนะนำก็คือ ผลเลือด ณ ปัจจุบันดีอยู่แล้ว
แต่ก็อย่าชะล่าใจ
ยังแนะนำให้ กินอาหารมีประโยชน์ เว้นเหล้าบุหรี่ เว้นอาหารอัตราย
ออกกำลังกาย ให้เป็นกิจนิสัยอย่างที่ทำอยู่แล้ว จะดีมากครับ
และถ้าคุม ให้ ต่ำกว่า 130 ได้โดยไม่ต้องกินยายิ่งเป็นผลดี ต่อตัวเองครับ
^
"เมื่อคุณเริ่มทำสิ่งที่รักแล้ว วันต่อๆไปก็จะไม่ใช่การทำงาน"..Brian Tracy
state exact goal/then analyze what fail the goal/then act/if you don't start/dream still be a dream
หุ้นไม่ใช่แค่เศษกระดาษ มันมีคนทำงานจริง
"เมื่อคุณเริ่มทำสิ่งที่รักแล้ว วันต่อๆไปก็จะไม่ใช่การทำงาน"..Brian Tracy
state exact goal/then analyze what fail the goal/then act/if you don't start/dream still be a dream
หุ้นไม่ใช่แค่เศษกระดาษ มันมีคนทำงานจริง