subprime crisis monitor

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news23/08/07

โพสต์ที่ 31

โพสต์

* หนุนหุ้นบวกทั่วโลกหลังปัญหาซัพไพร์มคลี่คลาย
         ความคาดหวังที่จะเกิดขึ้นตามมาหลังจาก บีโอเจ ไม่ปรับขึ้นดอกเบี้ยในครั้งนี้ คือ การทำ yen carry trade ที่น่าจะเกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งจะกระตุ้นให้ตลาดหุ้นทั่วโลก รวมทั้งตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นได้ในทิศทางเดียวกัน
         นอกจากนี้ สภาพคล่องในตลาดเงินน่าจะดีขึ้น เมื่อ 4 ยักษ์ใหญ่สถาบันการเงินสหรัฐฯ คือ ซิตี้กรุ๊ป แบงก์ออฟอเมริกา เจพีมอร์แกน เชสแอนด์โค และวาโชเวียคอร์ป กู้เงินธนาคารสหรัฐฯ หรือ เฟดรายละ 500 ล้านดอลลาร์ เพื่อเสริมสภาพคล่องในตลาดเงิน หลังลดดอกเบี้ยมาตรฐาน หรือ ดิสเคาท์เรทจาก 6.25% เป็น 5.75%
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news25/08/07

โพสต์ที่ 32

โพสต์

ตลาดทุนอ่วมพิษ"ซับไพรม์" สมาคมโบรกฯลดเป้าดัชนีหุ้นไทย บลจ.เอ็มเอฟซีขายกองทุนไม่ออก  

ผลกระทบ"ซับไพรม์"เริ่มขยายวง แบงก์ชาติยอมรับมีส่วนทำให้ค่าเงินบาทผันผวน ขณะที่สมาคมฯโบกเกอร์ ลดเป้าหมายดัชนีตลาดหุ้นไทย ส่วนบลจ.เอ็มเอฟซี ร้องจ๊ากนักลงทุนซื้อกองทุนแค่ 10% ของมูลค่ารวมที่เสนอขาย หนี้เน่าระบบสถาบันการเงินพุ่ง

น.ส.นิตยา พิบูลย์รัตนกิจ ผู้ช่วยผู้ว่าการสายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงภาวะค่าเงินบาทที่เคลื่อนไหวค่อนข้างผันผวนในขณะนี้ว่า เป็นไปตามปกติไม่น่ากังวล สาเหตุหนึ่งมาจากการที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ลดอัตราดอกเบี้ยที่เฟดปล่อยกู้ให้กับ ธนาคารพาณิชย์ (Discount Rate) ลงร้อยละ 0.50 เพื่อแก้ปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ (ซับไพรม์) ของสหรัฐ ซึ่งเกิดผลกระทบต่อตลาดเงินทั่วโลกไม่ได้เป็นการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ

นอกจากนี้ ธปท.ยืนยันว่า มีการดูแลค่าเงินบาทตลอด มีทั้งการดูดซับสภาพคล่อง ไม่ได้มีการละเลย ส่วนข้อเสนอของผู้ทรงคุณวุฒิและนักวิชาการในการหารือร่วมกันระหว่างกระทรวงการคลัง ธปท. เมื่อวันที่ 20 สิงหาคมที่ผ่านมา ที่มีการเสนอให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินนั้น ต้องขึ้นอยู่กับ ดุลพินิจของผู้ว่าการ ธปท. เพราะการหารือร่วมกันในวันนั้นเป็นการเปิดให้แสดงความคิดเห็น ยังไม่ได้มีข้อสรุป

ด้านนายพิชิต อัคราทิตย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม(บลจ.)เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน)กล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมายอมรับว่ากองทุนเพื่อการลงทุนต่างประเทศ(เอฟไอเอฟ) ของบริษัท ได้รับผลกระทบทางจิตวิทยาจากปัญหาการปล่อยสินเชื่อที่คาดว่าจะมีความเสี่ยงสูง(ซับไพรม์)ให้แก่อสังหาริมทรัพย์ รวมถึงอัตราแลกเปลี่ยนที่มีความผันผวนสูง จนส่งผลกองทุนเปิดMFC Invest Global Agribusiness Fund( I-AGRI)มียอดจองเพียง 83 ล้านบาท ในช่วงเปิดขายระหว่างวันที่ 15-21 สิงหาคม จากมูลค่าโครงการประมาณ 800 ล้านบาท "ตอนแรกเราก็คิดว่าจะได้รับผลกระทบมากจากปัญหาซับไพร์มและอัตราแลกเปลี่ยน แต่ปัญหาที่เจอกลับเป็นผลกระทบทางจิตวิทยา ซึ่งเป็นผลกระทบทางอ้อมที่ทำให้ไม่ค่อยมีการลงทุนเพิ่มขึ้นมากกว่า ส่วนการรีดีม (ไถ่ถอนหน่วยลงทุน)นั้นยังไม่เจอ เพราะกองทุนของเราไม่ได้ลงในตราสารในลักษณะที่เป็นซับไพรม์โดยตรงอยู่แล้ว"นายพิชิตกล่าว

อย่างไรก็ตามบริษัทยังคงมีแผนที่จะเปิดกองทุนอย่างต่อเนื่อง ประมาณ2-3กองทุน ในช่วงครึ่งปีหลัง เช่น กองทุนที่ลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์(คอมมอดิตี้)ประเภททรัพยากรธรรมชาติ และกองทุนเอฟไอเอฟ ที่ลงทุนในบริษัทที่ลงทุนอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งมียื่นเรื่องเพื่อขอจัดตั้งกองทุนกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) แล้ว แต่ยังติดปัญหาเรื่องการป้องกันความเสี่ยงให้แก่นักลงทุนอยู่ อย่างไรก็ตามเชื่อว่ากองทุนดังกล่าวจะสามารถให้ผลตอบแทนที่ดีแก่นักลงุทนได้ เพียงแต่จะต้องรอจังหวะการเปิดกองทุนก่อน เพราะปัจจุบันนักลงทุนยังกลัวกับการลงทุนอยู่

ส่วนในไตรมาสที่3 นี้บริษัทมีแผนที่จะเปิดกองทุนอสังหาริมทรัพย์ ที่มีสินทรัพย์อ้างอิงในธุรกิจท่องเที่ยว ซึ่งประเทศไทยมีความได้เปรียบสูง เช่น รีสอร์ท และอพาร์ทเม้นท์ ในภูเก็ต กรุงเทพ พัทยา หัวหิน มูลค่ากองทุนประมาณ 6 พันล้านบาท

ด้านนายสมบัติ นราวุฒิชัย เลขาธิการสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ กล่าวว่า จากผลการสำรวจความเห็นนักวิเคราะห์เกี่ยวกับปัญหาซับไพรม์ที่เกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา ในช่วงเดือนกันยายน-ธันวาคม 2550 พบว่าได้มีการปรับลดประมาณการดัชนีตลาดหลักทรัพย์ (SET Index)สิ้นปี เฉลี่ยเหลือ871 จุด ลดลงจากครั้งก่อน(13 ก.ค.50)ที่ประมาณการว่าจะอยู่ที่รับ 880 จุด "ผลจากการประเมินผลพบว่า ดัชนีตลาดโดยเฉลี่ยได้ปรับลงอยู่ที่ระดับ871 จุด จากก่อนหน้าที่ประเมินอยู่ 880 จุด ซึ่งก็ถือว่าดีเกินคาดเพราะนึกว่าจะปรับลดลงประมาณ 20-30 จุด ซึ่งโดยหลักก็เป็นการปรับลดลงเนื่องจากปัญหาซับไพรม์ "นายสมบัติกล่าว

สำหรับการประมาณการดัชนีสูงสุดอยู่ที่ระดับ 1,000 จุด สูงกว่าก่อนหน้าที่ประเมินไว้ 950จุด ขณะที่ดัชนีต่ำสุดอยู่ที่ระดับ 763 จุด สูงกว่าก่อนหน้าที่ประเมินไว้ 740 จุด ส่วนดัชนีในช่วงปลายปี2551 ได้ปรับลดลง โดยคาดว่าจะเฉลี่ยอยู่ที่ 1,000 จุด จากเดิม 1,033 จุด

โดยปัญหาหลักที่ให้น้ำหนักในการสำรวจครั้งนี้คือ ปัญหาจากซับไพรม์ 95% อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์ 78% เห็นว่าความรุนแรงของปัญหาดังกล่าวในช่วงต่อไปจะอยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากตลาดได้ตอบรับไปแล้ว โดยดัชนีหุ้นไทยได้ปรับลดลงประมาณ 15-20%แล้ว รวมถึงธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด)ได้เข้าแก้ไขสถานการณ์ โดยลดอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารลง0.50% ซึ่งช่วยให้ปัญหาผ่อนคลายลง

อย่างไรก็ตามแม้จะมีปัญหาซับไพรม์เป็นปัจจัยกดดันตลาดหุ้น แต่จากผลสำรวจพบว่า79% ไม่ปรับประมารการกำไรสุทธิของปี 2550 และปี 2551 เพระมองว่าเป็นปัญหาในระยะสั้น และส่งผลกระทบในวงจำกัด ส่วนปัจจัยอื่นที่คาดว่าจะกระทบต่อตลาดหุ้นไทยในช่วงที่เหลือของปี 2550 นี้ พบว่า63% ให้น้ำหนักในเรื่องปัจจัยการทางเมือง รวมถึงผลของการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในช่วงปลายปี ขณะที่ปัจจัยที่มีผู้ตอบใกล้เคียงกัน คือ ราคาน้ำมัน แนวโน้มอัตราดอกเบี้ย แนวโน้มค่าเงินบาท และการชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งจะส่งผลให้ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนปรับตัวลดลง

รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) แจ้งว่า สายนโยบายสถาบันการเงิน ธปท.ได้รายงานยอดคงค้างหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล) สุทธิ ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2550 พบว่าเอ็นพีแอลในเดือนกรฎาคมมี ทั้งสิ้น 254,623.85 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 114 ล้านบาท หรือ 0.04 % ของสินเชื่อรวม โดยแบ่งเอ็นพีแอลของธนาคารพาณิชย์ 249,492.12 ล้านบาท หรือ 4.79% สาขาธนาคารต่างประเทศ 2,880.58 ล้านบาท หรือ 0.52% บริษัทเงินทุน(บง.) 1,960.14 ล้านบาท หรือ 6.13% และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ (บค.) 291 ล้านบาท หรือ 67.31%ของสินเชื่อรวม

ทั้งนี้หากเทียบยอดเอ็นพีแอลในเดือนกรกฎาคมกับเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา พบว่า สถาบันการเงินไทยทุกประเภทมียอดเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้นแทบทั้งสิ้นยกเว้นสาขาธนาคารต่างประเทศเท่านั้นที่ยอดไม่เปลี่ยนแปลง โดยในส่วนของบง.มียอดเพิ่มขึ้นมากที่สุดในระบบถึง 93 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 4.97 % ซึ่งล้วนเป็นเอ็นพีแอลที่เพิ่มขึ้นของบง.ฟินันซ่า ที่ปัจจุบันมีเอ็นพีแอลทั้งสิ้น 425 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 20.62% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนที่มียอด 332 ล้านบาท หรือ 15.21% รองลงมาเป็นธนาคารพาณิชย์ไทยเพิ่มขึ้น 19 ล้านบาท และบค.เพิ่มขึ้น 2 ล้านบาท

โดยในส่วนของธนาคารพาณิชย์ไทยมีเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้น 19 ล้านบาท ซึ่งเป็นเอ็นพีแอลในส่วนของไทยธนาคารทั้งสิ้น ขณะที่ธนาคารพาณิชย์อื่นๆ ยอดเอ็นพีแอลไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด โดยในเดือนก.ค.นี้ธนาคารกรุงไทยมีเอ็นพีแอลทั้งสิ้น 70,685 ล้านบาท กรุงเทพ 37,298 ล้านบาท กรุงศรีอยุธยา 37,292 ล้านบาท ทหารไทย 33,984 ล้านบาท ไทยพาณิชย์ 27,101 ล้านบาท กสิกรไทย 20,816 ล้านบาท เกียรตินาคิน 5,554 ล้านบาท  
http://www.naewna.com/news.asp?ID=72592
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news29/08/07

โพสต์ที่ 33

โพสต์

2 Scenario วิกฤตซับไพรม หนัก/เบา ส่งออกก็เจ็บตัว

คอลัมน์ เกาะติดซับไพรม


ปัญหาใหม่ๆ ของวิกฤตสินเชื่อทยอยเปิดเผยออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการเปิดเผยความเสี่ยงผูกพันจากการลงทุนในตราสารที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยประเภทด้อยมาตรฐาน หรือซับไพรม เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันของ 2 ธนาคารขนาดใหญ่ของจีน ได้แก่ แบงก์ ออฟไชน่า ธนาคารขนาดใหญ่อันดับสองของประเทศ และอินดัสเตรียล แอนด์ คอมเมอร์เชียล แบงก์ ออฟไชน่า โดยมีความเสี่ยงจากการลงทุนในตราสารดังกล่าว 1 หมื่นล้านดอลลาร์ และ 1 พันล้านดอลลาร์ ตามลำดับ

ปฏิกิริยาที่ตามมาคือ ดัชนีหั่งเส็งของฮ่องกง ดิ่งฮวบตามแรงฉุดของหุ้นการเงินทั้งสองตัว สถานการณ์ในตลาดหุ้นฮ่องกง เป็นแรงบวกให้ตลาดการเงินเอเชียที่อ่อนไหวอยู่ก่อนแล้วจากการปรับตัวลงของหุ้นในสหรัฐ ปรับตัวลงกันถ้วนหน้า

ปัจจัยที่ครอบงำทิศทางของตลาดมาจากความกังวลว่าปัญหาในภาคอสังหาริมทรัพย์และตลาดสินเชื่อของสหรัฐจะฉุดให้เศรษฐกิจขนาดใหญ่สุดของโลกเข้าสู่ภาวะถดถอย และอาจส่งผลกระทบต่อเนื่องมาจากเศรษฐกิจของเอเชีย โดยเฉพาะการส่งออก

แม้ว่าสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือทางการเงินระหว่างประเทศ จะพยายามให้ความมั่นใจว่า เอเชียสามารถต้านทานผลกระทบจากวิกฤตได้ ดังความเห็นของ ปิง ชิว นักวิเคราะห์สินเชื่อของสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ ที่ระบุว่า ประเทศในเอเชียน่าจะต้านทานผลกระทบจากภาวะปั่นป่วนของตลาดหุ้นตลาดการเงินโลกได้ เนื่องจาก "เศรษฐกิจในเอเชียได้ปรับปรุงระบบการธนาคาร ควบคุมการขาดดุล งบประมาณ ลดยอดหนี้สาธารณะลง มีทุนสำรองเงินตราต่างประเทศสูงขึ้น และมีดุลบัญชีเดินสะพัดที่ดีขึ้นกว่าเดิม"

อย่างไรก็ดี ความวิตกกังวลต่อผลกระทบยังมีอิทธิพลเหนือกว่าความเห็นด้านบวก ประจักษ์พยานคือ การปรับตัวลงอย่างพร้อมเพรียงของดัชนีหุ้นในตลาดที่เป็นประเทศคู่ค้าสำคัญๆ ของสหรัฐในเอเชีย โดยเฉพาะญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และออสเตรเลีย ในช่วงปิดตลาดวันศุกร์ อาทิ ดัชนี นิกเคอิ 225 ของตลาดหุ้นโตเกียว ปิดลบ 0.4% ลงมาอยู่ที่ 16,248.97 จุด ขณะที่หั่งเส็งของฮ่องกง ปิดซึมแรงกว่า โดยลดลง 0.8% มาอยู่ที่ 22,782.39 จุด และดัชนีคอมโพสิตของตลาดหุ้นโซล ลดลง 8.39 จุด ปิดตลาดที่ 1,791.33 จุด

ภาวะปั่นป่วนของหุ้นในเอเชียนำมาซึ่งคำถามสำคัญว่า หากสหรัฐถอยหลังสู่ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจจริงๆ จะส่งผลกระทบอย่างไรต่อเอเชียและการส่งออก

มีบทวิเคราะห์ที่น่าสนใจจาก "วาโชเวีย" สถาบันการเงินชั้นนำของสหรัฐ ซึ่งทำนายผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก และการส่งออกของประเทศคู่ค้าของสหรัฐ ไว้ในบทวิเคราะห์ฉบับพิเศษ ซึ่งเผยแพร่เมื่อเร็วๆ นี้ จัดทำโดย เจย์ เอช. ไบรสัน นักเศรษฐศาสตร์ด้านเศรษฐกิจโลกของสถาบันไบรสัน ตั้งสมมติฐานความเป็นไปได้ของผลกระทบจากวิกฤตสินเชื่อในสหรัฐไว้ 2 กรณี โดยกรณีแรก หากวิกฤตสินเชื่อมีผลรุนแรงจำกัดเฉพาะในสหรัฐเท่านั้น ผลที่ตามมา คือ เศรษฐกิจสหรัฐมีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะเผชิญภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ ซึ่งย่อมจะส่งผลกระทบออกไปยังเศรษฐกิจ โดยทำให้การส่งออกของทั่วโลกซบเซาลง
หากสมมติฐานแรกเป็นจริง ประเทศที่ได้รับผลกระทบในด้านการส่งออกมากที่สุด ได้แก่ แคนาดา ซึ่งที่ผ่านมา มีการส่งออกไปยังสหรัฐคิดเป็น 82% ของยอดการส่งออกรวม และคิดเป็น 25% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) รองลงมาคือ เม็กซิโก ซึ่งมีการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐ 77% ของยอดรวมการส่งออก และคิดเป็น 22% ของจีดีพี สำหรับญี่ปุ่น ซึ่งมีการส่งออกไปยังสหรัฐ 23% ของยอดรวมการส่งออก และคิดเป็น 3% ของจีดีพี

ไบรสันตั้งข้อสังเกตว่า ญี่ปุ่นอาจได้รับผลกระทบน้อยกว่าเอเชียอื่นๆ ซึ่งส่งออกไปยังสหรัฐคิดเป็น 17% ของยอดรวมการส่งออก และคิดเป็น 7% ของจีดีพี เนื่องจากเศรษฐกิจของเอเชียส่วนใหญ่มีขนาดเล็กกว่า

ทั้งนี้ การเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐคิดเป็น 25% ของเศรษฐกิจโลก ดังนั้น หากสหรัฐเข้าสู่ภาวะถดถอย ทุกประเทศย่อมได้รับผลกระทบทั้งสิ้น

ในอีกสมมติฐานหนึ่ง ไบรสันวิเคราะห์ผลกระทบโดยจำลองสถานการณ์ว่า วิกฤตสินเชื่อขยายวงเป็นวิกฤตโลก ไม่ใช่แค่สหรัฐ เขาคาดว่าผลกระทบจะสร้างความยุ่งยากให้มากกว่า และผลกระทบจะไม่จำกัดเฉพาะในด้านส่งออก แต่ยังกระทบต่อระบบการเงินโดยรวม โดยจุดที่จะได้รับผลกระทบแรงที่สุด คือ ตลาดตราสารหนี้ในสหรัฐ ซึ่งมีการระดมทุนโดยการออกหุ้นกู้และตราสารหนี้อื่นๆ คิดเป็น 40% ของการระดมเงินทุนในระบบเศรษฐกิจสหรัฐ และเมื่อบวกกับการระดมเงินทุนผ่านตลาดหุ้น จะมีสัดส่วนเป็น 80% ขณะที่ตลาดตราสารหนี้ยุโรป โดยเฉพาะในยูโรโซน มีสัดส่วนประมาณ 25% ของการระดมเงินทุน ขณะที่การระดมเงินทุนผ่านตลาดหุ้นมีสัดส่วนที่น้อยกว่า

บทวิเคราะห์ของไบรสันระบุว่า ยูโรโซน อังกฤษ และประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่จะได้รับผลกระทบด้านลบด้วย แต่ในระดับที่น้อยกว่า เมื่อเทียบกับสหรัฐ แคนาดา และญี่ปุ่น

ส่วนผลกระทบต่อค่าเงิน ไบรสันชี้ว่า ทิศทางของค่าเงินดอลลาร์จะขึ้นอยู่กับระดับความแรงในการขายทิ้งธุรกรรม carry trade (กู้เงินเยน ซึ่งมีต้นทุนการกู้ยืมเก่า มาลงทุนในสินทรัพย์ประเทศอื่นที่ให้ผลตอบแทนสูง) และขึ้นกับธุรกรรม carry trade ดังกล่าว เป็นสินทรัพย์สกุลเงินใด
http://www.matichon.co.th/prachachat/pr ... ionid=0201
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news29/08/07

โพสต์ที่ 34

โพสต์

เมอร์ริลลินช์ชี้หุ้นกลุ่มไฟแนนซ์ทรุดหนักรับ Subprime ข่าว 18.00 น.
--------------------------------------------------------------------------------
Posted on Wednesday, August 29, 2007
นายกาย มอสโคสกี้ นักวิเคราะห์เมอร์ริลลินช์ ระบุในบทวิเคราะห์ว่า สถาบันการเงินยักษ์ใหญ่ ได้แก่ เลห์แมนบราเธอร์ส แบร์สเติร์นส์ และซิตี้กรุ๊ป กำลังได้รับผลกระทบจากภาวะซบเซาในตลาดสินเชื่อ ซึ่งเป็นผลจากการชะลอตัวลงของกิจการวาณิชธนกิจ และวิกฤติในตลาดสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์แก่ลูกค้าด้อยคุณภาพ (Subprime Mortgage Loan) สหรัฐฯ โดยเลห์แมนบราเธอร์สและแบร์สเติร์นส์ได้รับความเสียหายมากที่สุด เนื่องจากพึ่งพาตลาดตราสารหนี้มากเกินไป โดยนับตั้งแต่เกิดวิกฤติ Subprime นั้น ราคาหุ้นเลห์แมนบราเธอร์สลดลงมาแล้ว 30% ส่วนราคาหุ้นแบร์สเติร์นส์ลดลง 33%
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news30/08/07

โพสต์ที่ 35

โพสต์

เฟดหวั่นซับไพรม์ฉุดหุ้นอีกรอบ

ฮ่องกง (เอเอฟพี) ตลาดหุ้นฟื้นได้ไม่นาน ท่าทีวิตกของ เฟด โหมกระแสกังวลวิกฤตซับไพรม์ให้ลุกฮือขึ้นอีกครั้ง


ตลาดหุ้นทั่วโลกรวมถึงเอเชียถอยเข้าสู่แดนลบอีกครั้ง เมื่อธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ระบุในรายงานสรุปผลการประชุมว่า พร้อมงัดนโยบายรับมือกับภาวะปั่นป่วนของตลาดสินเชื่อที่มีต้นเหตุจากวิกฤตซับไพรม์ ส่งผลให้ นักลงทุนขาดความเชื่อมั่นในตลาดทุนอีกครั้ง หลังจากที่ตลาดเริ่มเข้าที่เข้าทางได้ไม่ถึงสัปดาห์

หลังจากที่เปิดตลาดได้ไม่นานภาวะซื้อขายของดัชนีนิกเกอิ ซึ่งชี้นำความเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นทั่วเอเชียดิ่งลงอย่างน่าตกใจ อย่างไรก็ดี ก็ยังได้รับแรงหนุนจากเงินเยนที่อ่อนค่าลงหลังจากแข็งค่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ทำให้ติดลบเพียง 274.66 จุด หรือ 1.69% ที่ 16,012.83 จุด

นักลงทุนระยะยาวกำลังรอดูทิศทางตลาดการเงิน และเศรษฐกิจของสหรัฐ โดยสังเกตการณ์จากข้อเสนอร่างนโยบายของสภาคองเกรส และทำเนียบขาวที่อาจช่วยแก้ปัญหาซับไพรม์ รวมถึงปฏิกิริยาของเฟด ในเรื่องนี้ มาซาโนบุ ทากาฮาชิ หัวหน้านักวิเคราะห์ของ อิจิโยชิ ซีเคียวริตีส์ กล่าว

ขณะที่ตลาดหุ้นฮ่องกงที่ดิ่งลงหลังเปิดตลาดช่วงแรกสามารถจำกัดความสูญเสียได้ในระดับหนึ่งเช่นกัน เนื่องจากได้รับแรงหนุนของกระแสทุนจากจีน ยูจีน ลอว์ นักวิเคราะห์ของเซเลสเชียล เอเชีย ซีเคียวริตีส์ ชี้ว่า เหตุผลหลักที่ฉุดความเคลื่อนไหวของตลาดคือ ความกังวลที่เฟดยอมรับในที่สุดว่าเศรษฐกิจสหรัฐอาจได้รับผลกระทบจากวิกฤตซับไพรม์

ทั้งนี้ รายงานผลสรุปการประชุมเมื่อช่วงต้นเดือนของคณะกรรมการตลาดเสรี (เอฟโอเอ็มซี) ของเฟดระบุว่า ตลาดอสังหาริมทรัพย์จะยังคงติดอยู่ในช่วงขาลงต่อไประยะหนึ่ง และอาจกลายเป็นปัจจัยเสี่ยงอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจสหรัฐ อย่างไรก็ตาม ตลาดทุนที่มีหุ้นซึ่งเชื่อมโยงกับซับไพรม์ หรือตลาดสินเชื่ออื่นๆ อาจต้องใช้เวลาอีกนานกว่าที่จะฟื้นตัวได้
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=188206
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news30/08/07

โพสต์ที่ 36

โพสต์

เบอร์นันเก้ชี้พร้อมปรับนโยบายหากเศรษฐกิจสหรัฐเกิดวิกฤติ

Posted on Thursday, August 30, 2007
ประธานเฟด ย้ำ พร้อมปรับนโยบาย ถ้าจำเป็น

นายเบน เบอร์นันเก้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ หรือเฟด ชี้แจงว่า ในฐานะผู้นำสูงสุดขององค์กร และคณะผู้บริหารระดับสูงของแบงก์ชาติสหรัฐนั้น เฟด มีความพร้อมตลอดเวลา หากมีความจำเป็นเกิดขึ้น ที่จะต้องปรับเปลี่ยนนโยบายสำคัญ เพื่อแก้ไขภาวะเศรษฐกิจสหรัฐในภาพรวม ที่อาจได้รับผลกระทบ ซึ่งเกิดขึ้นจากภาวะปั่นป่วนในตลาดเงิน และตลาดทุนในช่วงที่ผ่านมา และอาจส่งผลกระทบไปถึงในอนาคต โดยทั้งหมดเป็นส่วนหนึ่งของใจความในจดหมายที่ส่งถึงวุฒิสมาชิก

ประธานเฟดระบุเพิ่มว่า ธนาคารกลางสหรัฐ เสนอให้มีการออกแบบ และพัฒนาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ ที่มีความหลากหลายมากขึ้น ซึ่งเน้นไปยังกลุ่มชาวอเมริกันที่มีรายได้ปานกลาง ถึงต่ำ รวมถึงลูกหนี้ชาวอเมริกันที่ต้องการขอกู้สินเชื่อ เพื่อนำไปปรับโครงสร้างหนี้ หรือการเงินของลูกหนี้ เพื่อนำไปใช้ในช่วยเหลือบรรดาลูกหนี้จำนวนมากกว่าล้านคนในสหรัฐ เมื่อถึงช่วงที่ต้องปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้ในปีหน้า

ประธานผู้ว่าการแบงก์ชาติสหรัฐแนะนำว่า ควรจะให้หน่วยงานอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติสหรัฐ ซึ่งอยู่ในความดูแลของรัฐบาล รีบดำเนินการศึกษาตามข้อเสนอที่กล่าวมาในข้างต้น ในขณะเดียวกัน วุฒิสมาชิก นาย ชาร์ล สชูเมอร์ กล่าวเตือนธนาคารา คันทรี่ไวด์ ไฟแนนเชียล คอร์ปอเรชั่น ว่า ควรยุติกลยุทธ์การตลาดเชิงรุกด้านสินเชื่อที่อยู่อาศัย ที่ทำให้ลูกหนี้ไม่สามารถชำระคืนหนี้ได้ อย่างเช่นที่เกิดขึ้นกับสินเชื่อสับไพร์ม
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mor ... fault.aspx
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news31/08/07

โพสต์ที่ 37

โพสต์

ตลาดหุ้นซมพิษ"ซับไพรม"
นักลงทุนแหยงชะลอซื้อ-ขาย
บล.ภัทรฟันธง!หงอยถึงสิ้นปี


ตลาดหุ้นไทยยังไม่พ้นวิบากกรรม หลังได้แรงหนุนด้านจิตวิทยาเรื่องเลือกตั้งไม่นาน ต้องกลับมาเฉาอีกครั้ง เหตุนักลงทุนกังวลปัญหาหนี้เน่า"ซับไพรม" ที่ยังไม่มีแนวทางแก้ไขได้ชัดเจน ทำให้ชะลอการเทรด ฉุดมูลค่าการซื้อขายเหลือเฉลี่ยวันละแค่หมื่นล้านบาท บิ๊กโบรกเกอร์ คาดตลาดหุ้นไทยหงอยอีกนาน

ผู้สื่อข่าวจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยถึง ภาวะการลงทุนในตลาดหุ้นไทยประจำวันที่ 30 สิงหาคม 2550 ว่า ตลาดหุ้นไทยเคลื่อนไหวทรงตัวและเข้าสู่ภาวะการลงทุนที่เงียบเหงา โดยไม่มีปัจจัยบวกและลบในประเทศเข้ามากระตุ้นการซื้อขายให้คึกคัก ทำให้แรงซื้อขายชะลอลง นักลงทุนส่วนใหญ่ลดการลงทุนเพื่อติดตามว่าจะมีสถานการณ์ใดเข้ามาปลุกการซื้อขายได้ ทั้งนี้ ระหว่างวันดัชนีปรับขึ้นไปสูงสุดที่ระดับ 800.40 จุด ลดลงต่ำสุดที่ระดับ 791.51 จุด จนมาปิดที่ระดับ 791.58 จุด ลดลง 0.46 จุด มูลค่าการซื้อขายเพียง 13,603.15 ล้านบาท ส่วนตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ ดัชนีปิดที่ 248.72 จุด เพิ่มขึ้น 0.38 จุด มูลค่าการซื้อขาย 392.81 ล้านบาท

สำหรับสัดส่วนการลงทุนแบ่งเป็น นักลงทุนเข้าซื้อต่อ 390.32 ล้านบาท และนักลงทุนสถาบันเข้าซื้อ 392.53 ล้านบาท แต่นักลงทุนรายย่อยขาย 782.86 ล้านบาท

ด้านนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ฟาร์อีสท์ ระบุถึงตลาดหุ้นไทยในวันนี้ว่า ดัชนีเคลื่อนไหวทรงตัว เพราะไร้ปัจจัยใดที่โดดเด่นเข้ามากระตุ้นการซื้อขายส่งผลให้มูลค่าการซื้อขายเบาบางลงอย่างต่อเนื่อง และไม่มีหุ้นกลุ่มใดที่มีแรงซื้อเข้ามาหนาแน่นมาก ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นตามตลาดหุ้นในต่างประเทศที่ส่วนใหญ่ปรับขึ้นทั้งหมด หลังจากปรับลดลงในวันก่อนหน้านี้

ส่วนตลาดหุ้นไทยในวันที่ (31 ส.ค.) นักลงทุนจะต้องติดตามการประกาศตัวเลขอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ของสหรัฐอเมริกาและความเคลื่อนไหวในตลาดหุ้นโลก เพราะจะมีผลต่อทิศทางของตลาดหุ้นไทยที่คาดว่าดัชนีจะอยู่ในภาวะที่ซึม และเงียบเหงาต่อไป โดยประเมินว่าดัชนีจะมีแนวรับ 788 จุด แนวต้าน 795-797 จุด

ด้านนักวิเคราะห์จาก บล.นครหลวงไทย ระบุถึงกลยุทธ์ในการลงทุนว่า นักลงทุนระยะสั้นเลือกลงทุนในหุ้นเป็นรายตัวตามสัญญาณทางเทคนิค ส่วนนักลงทุนระยะยาวให้ถือหรือทยอยขายในหุ้นขนาดใหญ่ และรอรับที่ 750-760 จุด

นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) กล่าวว่า มูลค่าการซื้อขายในตลาดหุ้นไทยที่เบาบางลงเหลือเพียงวันละ 10,000 ล้านบาทเศษ เนื่องจากนักลงทุนส่วนใหญ่ชะลอการลงทุนเพื่อรอความชัดเจนการแก้ปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ (ซับไพรม์) ของสหรัฐอเมริกา แต่การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาหลักทรัพย์ค่อนข้างน้อย และมีเสถียรภาพมากกว่าตลาดหุ้นประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค เนื่องจากผู้ลงทุนมีการประเมินข้อมูลและสถานการณ์มากขึ้น ไม่ตกใจเทขายหุ้นออกมารุนแรงเหมือนกับที่ผ่านมา ราคาหุ้นจึงไม่ค่อยผันผวนมาก

นายศุภวุฒิ สายเชื้อ กรรมการผู้จัดการ ประธานสายงานวิจัย บล.ภัทร เปิดเผยถึงปัญหาซับไพร์มในตลาดอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐอเมริกาว่า ยังไม่มีสัญญาณจะคลี่คลายลงและยุติลงได้ภายในสิ้นปีนี้ เพราะตัวเลขความเสียหายที่เกิดขึ้นยังไม่มีความชัดเจน ทำให้นักลงทุนทั่วโลกวิตกกังวลมากและชะลอการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงออกไปก่อนโดยเฉพาะในตลาดหุ้น แต่คาดว่าเงินลงทุนต่างชาติจะกลับมาเข้าในตลาดหุ้นไทยอีกครั้ง เมื่อมีรัฐบาลชุดใหม่เข้ามาบริหารประเทศแล้ว โดยสิ่งที่ภาครัฐควรเร่งดำเนินการสร้างนโยบายเศรษฐกิจที่ดี ให้ปัจจัยพื้นฐานในประเทศมีเสถียรภาพมากที่สุด เพื่อกระตุ้นเงินลงทุนของต่างชาติเข้ามาในไทย

"ปัญหาซับไพร์มยังไม่มีแนวโน้มว่าจะคลี่คลายลงได้ในระยะสั้น เพราะตัวเลขความเสียหายทั้งหมดยังไม่ปรากฏออกมา โดยเมื่อสหรัฐอเมริกาแก้ปัญหาซับไพร์มได้ คาดว่าเงินลงทุนจากทั่วโลกจะกลับเข้ามาในประเทศเกิดใหม่อีกครั้ง ไทยจึงต้องเร่งสร้างปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจให้ดี และมีความแข็งแกร่ง " นายศุภวุฒิ กล่าว

สำหรับปัญหาซับไพร์ม คาดว่าจะทราบผลความเสียหายที่ชัดเจนได้ไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ ทั้งในบริษัทจดทะเบียน กองทุนรวมต่าง ๆ ที่จะเห็นตัวเลขงบการเงินของแต่ละแห่ง ได้เข้าไปลงทุนตราสารที่มีความเกี่ยวข้องกับซับไพร์มเท่าใด ทำให้เงินทุนที่ชะลอการลงทุนในตลาดหุ้นออกไปก่อนจะกลับเข้ามาลงทุนอีกครั้ง โดยเฉพาะตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชีย คือ จีน อินเดีย ที่มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจดี และไทยที่มีอัตราส่วนราคาปิดต่อกำไรต่อหุ้น (พีอี) ในระดับต่ำ

นายศุภวุฒิ กล่าวถึงความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทว่า มีแนวโน้มจะแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องจนถึงสิ้นปีนี้ ตราบเท่าที่ภาครัฐไม่สามารถแก้ปัญหาเกินดุลบัญชีเดินสะพัดในระดับสูงได้ เป็นผลมาจากการส่งออกสินค้าไปต่างประเทศสูงกว่าการนำเข้าสินค้า ซึ่งนโยบายที่แก้ปัญหาค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นได้คือ ลดการส่งออกสินค้าและเพิ่มอัตราการผลิตสินค้าและลงทุนใหม่ให้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่ผ่านมาไม่มีเงินทุนจากต่างชาติเข้ามาเก็งกำไรในค่าเงินบาทแต่อย่างใด.  
http://www.naewna.com/news.asp?ID=73425
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news31/08/07

โพสต์ที่ 38

โพสต์

ซับไพร์ม ปีนี้ไม่มีคลี่คลาย รอดูงบ Q3 ความเสียหายชัด

ชี้ปัญหา ซับไพร์ม ยังไม่มีสัญญาณคลี่คลาย ภายในสิ้นปีนี้ มองทั่วโลกชะลอการลงทุน ความเสียหายต่อรอดูช่วงปิดงบไตรมาสที่ 3

นายศุภวุฒิ สายเชื้อ กรรมการผู้จัดการ ประธานสายงานวิจัย บล.ภัทร เปิดเผยถึงปัญหาซับไพร์มในตลาดอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐอเมริกาว่า ยังไม่มีสัญญาณจะคลี่คลายลงและยุติลงได้ภายในสิ้นปีนี้ เพราะตัวเลขความเสียหายที่เกิดขึ้นยังไม่มีความชัดเจน ทำให้นักลงทุนทั่วโลกวิตกกังวลมากและชะลอการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงออกไปก่อนโดยเฉพาะในตลาดหุ้น แต่คาดว่าเงินลงทุนต่างชาติจะกลับมาเข้าในตลาดหุ้นไทยอีกครั้ง เมื่อมีรัฐบาลชุดใหม่เข้ามาบริหารประเทศแล้ว โดยสิ่งที่ภาครัฐควรเร่งดำเนินการสร้างนโยบายเศรษฐกิจที่ดี ให้ปัจจัยพื้นฐานในประเทศมีเสถียรภาพมากที่สุด เพื่อกระตุ้นเงินลงทุนของต่างชาติเข้ามาในไทย

ปัญหาซับไพร์มยังไม่มีแนวโน้มว่าจะคลี่คลายลงได้ในระยะสั้น เพราะตัวเลขความเสียหายทั้งหมดยังไม่ปรากฏออกมา โดยเมื่อสหรัฐอเมริกาแก้ปัญหาซับไพร์มได้ คาดว่าเงินลงทุนจากทั่วโลกจะกลับเข้ามาในประเทศเกิดใหม่อีกครั้ง ไทยจึงต้องเร่งสร้างปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจให้ดี และมีความแข็งแกร่ง นายศุภวุฒิ กล่าว

สำหรับปัญหาซับไพร์ม คาดว่าจะทราบผลความเสียหายที่ชัดเจนได้ไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ ทั้งในบริษัทจดทะเบียน กองทุนรวมต่างๆที่จะเห็นตัวเลขงบการเงินของแต่ละแห่ง ได้เข้าไปลงทุนตราสารที่มีความเกี่ยวข้องกับซับไพร์มเท่าใด ทำให้เงินทุนที่ชะลอการลงทุนในตลาดหุ้นออกไปก่อนจะกลับเข้ามาลงทุนอีกครั้ง โดยเฉพาะตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชีย คือ จีน อินเดีย ที่มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจดี และไทยที่มีอัตราส่วนราคาปิดต่อกำไรต่อหุ้น (พีอี) ในระดับต่ำ

นายศุภวุฒิ กล่าวถึงความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทว่า มีแนวโน้มจะแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องจนถึงสิ้นปีนี้ ตราบเท่าที่ภาครัฐไม่สามารถแก้ปัญหาเกินดุลบัญชีเดินสะพัดในระดับสูงได้ เป็นผลมาจากการส่งออกสินค้าไปต่างประเทศสูงกว่าการนำเข้าสินค้า ซึ่งนโยบายที่แก้ปัญหาค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นได้คือ ลดการส่งออกสินค้าและเพิ่มอัตราการผลิตสินค้าและลงทุนใหม่ให้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่ผ่านมาไม่มีเงินทุนจากต่างชาติเข้ามาเก็งกำไรในค่าเงินบาทแต่อย่างใด
http://www.settrade.com/S17_ContentDisp ... egoryId=16
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news31/08/07

โพสต์ที่ 39

โพสต์

Subprime Shock: ย้อนรอยความเป็นมาวิกฤติสภาพคล่อง
Posted on Monday, January 01, 0001
ปกติแล้วเดือนธันวาคมของทุกปีถือเป็นเดือนแห่งความสุขของการเฉลิมฉลองเทศกาลต่าง ๆ ในสหรัฐ แต่ เดือนธันวาคม 2549 ที่ผ่านมาหลายคนนึกไม่ถึงว่า นั่นคือ เดือนแห่งการเริ่มต้นของอาการวิกฤติสภาพคล่องจากปัญหาตราสารหนี้ระดมทุนอสังหาริมทรัพย์ประเภท Subprime

7 ธันวาคม 2549 โอนนิท มอร์ทเกจ โซลูชั่น อินคอร์ปอเรชั่น สถาบันการเงินที่ให้บริการปล่อยเงินกู้เต็ม 100% สำหรับตลาดลูกค้ารายใหญ่ สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ประกาศปิดบริษัทพร้อมบอกพนักงานปากต่อปากมากกว่า 800 คนว่า วันรุ่งขึ้นไม่ต้องมาทำงาน เหตุผลการปิดกลับมาพบในหนังสือพิมพ์ ลอสแองเจิลิส ไทมส์ วันรุ่งขึ้นว่า บริษัทขาดเงินสดหมุนเวียนทำธุรกิจ
  13 กุมภาพันธ์ รีสเมย์ มอร์ทเกจ คอร์ปอเรชั่น ทำธุรกิจปล่อยสินเชื่อกู้ซื้อบ้านในสหรัฐ ขนาดใหญ่อันดับ 21 ในตลาดสินเชื่อ Subprimeในปี 2549 ยื่นล้มละลาย ขอศาลสั่งคุ้มครองทรัพย์สินทั้งหมด เหตุจากไม่มีเงินสำรองเพียงพอ ที่จะรองรับหนี้สูญที่เกิดขึ้นในประเภท Subprime

19 กุมภาพันธ์ 2550 บริษัท โนวา สตาร์ ครองอันดับ 19 ในตลาดสินเชื่อที่อยู่อาศัยประเภท Subprimeในสหรัฐ สร้างความประหลาดในตลาดสินเชื่อ ด้วยการประกาศผลขาดทุนไตรมาสที่ 4 ปีที่ผ่านมาสูงถึง 489 ล้านบาท พนักงานจำนวน 350 คน ต้องหางานทำใหม่

สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ HSBC ไฟแนนซ์ บริษัทในเครือของกลุ่มธนาคาร HSBC ธนาคารชื่อดังจากอังกฤษ ทำธุรกิจที่เชี่ยวชาญในสินเชื่อประเภท Subprimeในสหรัฐ ต้องรับรู้ผลขาดทุนจากสินเชื่อดังกล่าวมูลค่าสูงถึง 3.6 แสนล้านบาท และต้องใช้เวลาถึง 2 3 ปี เพื่อแก้ปัญหาหนี้สูญที่เกิดขึ้นจากสินเชื่อ Subprime

ธนาคารกลางสหรัฐ หรือเฟด เปิดเผยมูลค่าทั้งอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ลุงแซมในปัจจุบัน อยู่ที่ระหว่าง 7 - 8 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ และหากเจาะเฉพาะในปี 2548 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงที่ดอกเบี้ยระยะสั้นของแบงก์ชาติสหรัฐ ค่อย ๆ ไต่ระดับที่ละ 0.25% พบว่า ยอดขายที่อยู่อาศัยทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นบ้านที่สร้างเสร็จใหม่ๆ และบ้านมือสองในตลาด รวมกันทั้งหมดมีมากถึง 8.4 ล้านหน่วย รวมมูลค่ามากกว่า 90 ล้านล้านบาทในปี 2548 เฉพาะมูลค่าตลาดอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐที่กล่าวมา ก็มีมูลค่าสูงกว่ามูลค่าเศรษฐกิจเมืองไทยถึง 13 เท่า

ในการซื้ออสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐ ก็ไม่ได้แตกต่างไปจากไทยหรือประเทศอื่นใดในโลก เพราะต้องขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินมากู้ซื้อบ้านในฝัน เพียงแต่ประเภทของสินเชื่อมีความหลากหลาย ออกแบบมาเพื่อซึ่งตอบรับกับความต้องการของลูกหนี้ที่แตกต่าง

ทั้งหมด... สะท้อนผ่านอัตราดอกเบี้ยที่สูงหรือต่ำ ตามคุณสมบัติของลูกค้าที่ขอกู้ซื้อบ้านในสหรัฐ

ทั้งนี้ เพื่อต้องการส่งเสริมวิธีคิดของรัฐบาลสหรัฐจากอดีตถึงปัจจุบันว่า คนอเมริกันทุกชนชั้น รวยบ้าง จนบ้าง ต้องมีโอกาสพอ ๆ กันในการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัย ชาวอเมริกันที่มีคุณสมบัติไม่ผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานในการปล่อยเงินกู้ซื้อบ้าน แต่มีความต้องการสูง ที่อยากมีบ้านเป็นของตนเอง จึงจำเป็นที่จะต้องรับความเสี่ยงสูงเป็นเงาตามตัว ด้วยการแบกรับดอกเบี้ยที่มีราคาแพงกว่าเกณฑ์มาตรฐานทั่วไป นี่คือความหมายของ สินเชื่อที่อยู่อาศัยประเภท Subprime

เมื่อเป็นสินเชื่อที่มีความเสี่ยงสูงจากคุณสมบัติของลูกหนี้ ย่อมเป็นธรรมดาที่การผิดนัดชำระหนี้สินเชื่อ Subprime เฉลี่ยในปัจจุบัน จึงมีการผิดนัดชำระหนี้สูงถึง 15% ขณะที่สินเชื่อที่อยู่อาศัยประเภทมาตรฐานทั่วไป มีการผิดนัดชำระเฉลี่ยราว 3% กลยุทธ์การปล่อยกู้สินเชื่อ Subprime ของสถาบันการเงินในสหรัฐ จึงต้องเน้นให้กู้ระยะเวลาสั้น ๆ แต่คิดดอกเบี้ยแพงกว่าระดับปกติ

20 มีนาคม 2550 บริษัท พีเพิล ช้อยส์ ไฟแนนเชียล คอร์ปอเรชั่น ควงคู่กับบริษัทในเครือที่มีชื่อว่า พีเพิล ช้อยส์ โฮมโลนส์ อินคอร์ปอเรชั่น ประกาศล้มละลาย ตามกฎหมายพิทักษ์ทรัพย์สินหมายเลข 11 ในสหรัฐ นับเป็นรายที่ 4 ที่ปิดธุรกิจสินเชื่อ Subprime ตั้งแต่เดือนธันวาคมในปีที่ผ่านมา

24 มีนาคม 2550 นิว เซ็นจูรี่ ไฟแนเชียล ยักษ์ใหญ่ในการปล่อยกู้สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ประเภท Subprime อันดับ 2 ของสหรัฐ ประกาศยุติธุรกิจปล่อยกู้ดังกล่าว เช่นเดียวกันกับ H&R บล็อก คอร์ปอเรชั่น และ ฟรีมองท์ เจนเนอรัล ใหญ่อันดับ 3 ธุรกิจสินเชื่อที่อยู่อาศัยในสหรัฐ ประกาศขายหน่วยธุรกิจสินเชื่อ Subprimeในเดือนเดียวกัน

ปลายเดือนมีนาคม เป็นครั้งแรกที่ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ เบน เบอร์นันกี้ พูดถึงปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ประเภท Subprime โดยมองว่า ไม่เชื่อว่าปัญหาของอุตสาหกรรมปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยประเภท Subprime จะขยายตัวกระทบเศรษฐกิจในวงกว้าง

2 เมษายน 2550 ยักษ์ใหญ่ปล่อยกู้สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ประเภท Subprime อันดับ 2 ของสหรัฐ ที่มีอายุเพียง 12 ปี ประกาศล้มละลาย ขายทรัพย์สินทั้งหมดใน 45 วัน ลูกจ้างมากถึง 3,200 คนตกงาน

ปลายเดือนเมษายน อเมริกัน โฮม มอร์ทเกจ ผู้เชี่ยวชาญในตลาดปล่อยกู้สินเชื่อที่อยู่อาศัย ด้วยดอกเบี้ยที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ ประกาศยุติธุรกิจปล่อยกู้สินเชื่อ Subprime หลังกำไรในช่วง 3 เดือนแรกปีนี้ ร่วงลงมากถึง 44%

ช่วงระหว่างปี 2548 ถึง 2549 สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ Subprime พุ่งขึ้นสูงสุด ครองส่วนแบ่งในตลาดสินเชื่อมากถึง 20% ของตลาดสินเชื่อที่อยู่อาศัยทั้งหมดในสหรัฐ มีมูลค่ารวมกันโตถึง 2.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ไม่มีใครปฏิเสธได้เลยว่า ปัจจัยบวก ผนวกแรงส่งจากต้นทุนดอกเบี้ยระยะสั้น ที่ต่ำสุดในรอบ 46 ปี ที่ระดับ 1% ของแบงก์ชาติสหรัฐในช่วงยุคปลายของอดีตประธานเฟด อลัน กรีนสแปน ปี 2547 เป็น 1 ในสาเหตุสำคัญ

นอกจากนี้ วิธีคิด ในการสร้างมูลค่าการลงทุนให้สูงสุด โดยอาศัยเครื่องมือทางการเงินหลากหลายรูปแบบเพื่อต่อยอด คือ ตัวจุดชนวน ที่เร่งขยายมูลค่าตลาดสินเชื่อทุกประเภท สินเชื่อที่อยู่อาศัยประเภท Subprime ย่อมไม่พ้นเช่นกัน

บ้านสวยหลายแห่งในอเมริกา ล้วนเป็นที่ต้องการของคนอเมริกัน ส่วนหนึ่งของลูกค้า แม้จะมีความน่าชื่อถือต่ำกว่าเกณฑ์ปล่อยสินเชื่อทั่วไป แต่ก็มีความต้องการอยากเป็นเจ้าของบ้านหลังงาม สถาบันการเงินเฉพาะทาง หรือทั่วไป ที่มีหน่วยทำธุรกิจสินเชื่อสำหรับประเภทนี้โดยเฉพาะ ย่อมตัดสินใจปล่อยกู้ โดยคิดดอกเบี้ยสูงกว่าทั่วไป ลูกค้าได้เงินกู้สมใจ โดยลงนามในสัญญาเงินกู้

ธนาคารมองการต่อยอดผลตอบแทนจากสัญญากู้ยืมดังกล่าว ด้วยการขายสัญญาเงินกู้บ้านเหล่านี้ ให้กับสถาบันนักลงทุนทั่วไป เป็นขั้นตอนที่รู้จักกันดีว่า Securitization แต่เมื่อนำสัญญาเงินกู้ซื้อบ้านเหล่านี้ ไปรวมกันกับสินทรัพย์อื่นๆ เช่น สินเชื่อรถยนต์ สินเชื่อเช่าซื้อ หรือแม้แต่ ตราสารหนี้หลากหลายระยะ ผสมกันทั้งหมดตามสัดสัดส่วน แล้วนำทั้งหมดไปค้ำประกันตราสารทางการเงินที่เรียกว่า Collateralized Debt Obligation คำย่อคุ้นหูจึงเกิดขึ้นทันที เรียกว่า CDO

ตราสารหนี้ CDO มีความเสี่ยงสูง เนื่องจาก หลากหลายประเภทของสัญญาเงินกู้ที่ผสมกัน ขณะเดียวกัน ถ้าจะให้นักลงทุนเข้ามาซื้อเพื่อลงทุน ตราสาร CDO ก็ต้องให้

ผลตอบแทนสูงเป็นเงาตามตัว เมื่อราคาบ้านดี งวดส่งไม่ล่าช้า สะท้อนผลตอบแทนของตราสาร CDO ก็จะดีไปด้วย ความจริงน่าจะเป็นอย่างนั้น แต่ที่สุด เศรษฐกิจทรุด รายได้หด เงินส่งงวดแต่ละครั้งสำหรับค่าผ่อนบ้านไม่พอ เกิดอาการส่งบ้าง ไม่ส่งบ้าง ทำให้รายได้ดอกเบี้ยของแบงก์ที่ปล่อยกู้ต้นทางหดหาย กระทบดอกเบี้ยที่จะจ่ายให้นักลงทุน ที่ลงทุนในตราสารหนี้ ผลตอบแทนของตราสาร CDO ย่อมตกต่ำเป็นลูกโซ่เช่นกัน

ที่สุด ฝันร้ายก็มาถึง ยอดคงค้างของสินเชื่อประเภท Subprime ปี 2547 ถึง 2550 มองเฉาะไตรมาสที่ 1 ในปี 47 กับช่วงเดี่ยวกันในปีนี้ พุ่งขึ้นจาก 10.66% ขึ้นมาเป็น 15.75% และหากมองเฉพาะทั้งปี 49 ที่ผ่านมา ยอดคงค้างของสินเชื่อ Subprime พุ่งขึ้นถึง 15% จากระดับเฉลี่ยที่ 11% ของทั้งตลาดสินเชื่อ

กลางเดือนมิถุนายน 2550 สถาบันการเงินยักษ์ใหญ่อย่าง โกลด์แมน แซ็ค รายงานผลประกอบการที่เริ่มส่งสัญญาณย่ำแย่ แบร์ สเติร์น ประกาศรายได้สุทธิตกต่ำลงมากกว่าที่คาดไว้ สาเหตุจากปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ที่ลุกลามขึ้นเรื่อยๆ

ปลายเดือนเดียวกัน แบร์ เสติร์น เปิดเผยเป็นครั้งแรกว่า ต้องใส่เงินเข้าไปอุ้มกองทุนเฮ็ดจ์ฟันด์จำนวน 2 แห่ง ที่เข้าไปลงทุนในตราสารหนี้ CDO ซึ่งผูกติดตราสารหนี้สินเชื่อประเภท Subprime ด้วยเม็ดเงินสูงถึง 3,200 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือกว่า 1.088 แสนล้านบาท

ดอกเบี้ยระยะสั้นธนาคารกลางสหรัฐ หรือ เฟดฟันด์เรต แม้จะเริ่มขยับอย่างค่อยเป็นค่อยไป ครั้งละ 0.25% นับตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของปี 2547 จากระดับ 1% ซึ่งต่ำสุดในรอบ 46 ปี ขึ้นอย่างต่อเนื่องถึง 17 ครั้งติดต่อกัน และมาสงบนิ่ง สิ้นสุดในช่วงครึ่งแรกของปี 2549 ที่ระดับ 5.25% ย่อมเห็นชัดเจนว่า ต้นทุนการเงินปรับขึ้นต่อเนื่อง ส่งผ่านจากยุคอดีตประธานเฟด ปู่อลัน กรีนสแปน มาถึงเบน เบอร์นันกี้ ประธานเฟดคนปัจจุบัน ฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ ทยอยแตกเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เรื่มจากปี 2544 ถึง ปี 2548 จากราคาบ้านสร้างใหม่ และราคาบ้านมือสองที่มีอยู่ในตลาดพุ่งขึ้นสูงสุดเกินเพดานที่แท้จริง เข้าสู่การเก็งกำไรที่สมบูรณ์แบบ การปล่อยกู้สินเชื่อบ้านที่หละหลวม จากกลุ่มสินเชื่อประเภท Subprime

ที่สำคัญ คือ ดอกเบี้ยส่งบ้านของคนอเมริกัน ที่ใช้สินเชื่อประเภท Subprime เป็นประเภทแบบปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นได้ หรือเรียกว่า Adjustable Rate Mortgage หรือ ARM มีมากถึง 90% ซึ่งต้องขยับขึ้นตามดอกเบี้ยระยะสั้นของแบงก์ชาติสหรัฐตามที่กล่าวมา ท่ามกลางฟองสบู่ราคาบ้านตกต่ำต่อเนื่อง ผลก็คือ ขาดส่งค่างวด ผลตอบแทนของตราสารหนี้ที่เรียกกันว่า CDO ที่ผูกติดกับสินเชื่อประเภท Subprime ทรุดลงรุนแรง

บริษัท เรียลลิตี้ แทรค อินคอร์ปอเรชั่น ผู้เชี่ยวชาญข้อมูลหนี้เสีย รวมถึงการยึดทรัพย์ประเภทอสังหาริมทรัพย์ของธนาคารพาณิชย์ในสหรัฐ ชี้ชัดว่า หนี้เสีย พุ่งสูงขึ้นถึง 90% ด้วยจำนวนรายการสูงถึง 176,137 รายการ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดขึ้นในรัฐแคลิฟอร์เนีย ฟลอริดา โอไฮโอ้ สาเหตุสำคัญที่ทำให้อัตราพุ่งสูงขึ้นเป็นอย่างมาก มาจากความสามารถในการผ่อนชำระบ้านของชาวอเมริกันมีปัญหาจากสถานการณ์ต้นทางของวิกฤติ ซึ่งสะท้อนผ่านหนี้เสีย พุ่งสูงขึ้นถึง 90% ในสหรัฐ พ่วงด้วยตลาดอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐ ที่ตกต่ำเดือนชนเดือน สถาบันการเงินชื่อดังอย่างแบร์เสติร์นจึงต้องเปิดเผยเป็นครั้งแรกว่า ต้องใส่เงินเข้าไปอุ้มกองทุนเฮ็ดจ์ฟันด์จำนวน 2 แห่ง ที่เข้าไปลงทุนในตราสารหนี้ CDO ซึ่งผูกติดตราสารหนี้สินเชื่อประเภท Subprime คือเหยื่อของเครื่องมือทางการเงินที่มีชื่อว่า ตราสาร CDO

ในขณะเดียวกัน นายเฮนรี่ พอลสัน รัฐมนตรีคลังสหรัฐ ปลอบใจตลาดที่อยู่อาศัยว่า ภาวะถดถอยของอสังหาริมทรัพย์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่กลางปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน กำลังใกล้ถึงจุดต่ำสุดแล้ว และไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจสหรัฐมากไปกว่าที่เป็นอยู่ ขุนคลังลุงแซม ยังมั่นใจว่า ความเสียหายของมูลค่าของตลาดอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐที่เกิดขึ้น นับจากนี้ไป จะสามารถควบคุมให้อยู่ในวงจำกัดได้ แต่ เฮนรี่ พอลสัน ไม่ได้ความคิดเห็นใด ๆ เกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดขึ้น กับการล่มสลายของ 2 กองทุนเฮ็ดจ์ฟันด์ ที่แบร์เสติร์นต้องเข้าไปเพิ่มสภาพคล่อง จากความเสียหายจากสินเชื่อ Subprime

นั่นเป็นสาเหตุที่ทำให้ นักลงทุนประเภทสถาบัน ไม่ว่าจะเป็น สถาบันการเงินเฉาะกลุ่มธุรกิจสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ ธนาคารเจ้าหนี้ กองทุนชั้นนำต่างๆในเครือข่ายของธนาคารพาณิชย์ และ 1 ในนั้นก็คือ กองทุนประกันความเสี่ยง หรือเฮ็ดจ์ฟันด์ทั่วโลก จากอเมริกา ไปยังยุโรป ลงมาถึงเอชีย และสิ้นสุดที่โอเชียเนีย ซึ่งเข้าไปลงทุนในตราสาร CDO ล้วนเทขายทิ้งถ้วนหน้า เก็บเงินคืนเพื่อความปลอดภัย แม้แต่ธนาคารในไทยก็ลงทุนในตราสารหนี้ประเภทนี้เช่นกัน แม้จะไม่มาก แต่ก็ต้องรีบออกมาชี้แจง

เดือนกรกฎาคม เบน เบอร์นันกี้ ประธานเฟด ส่งสัญญาณที่ชัดเจนว่า ฟองสบู่แตกในอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ที่สหรัฐ ซึ่งอาจจะต่อเนื่องนั้น อาจทำให้เฟด พร้อมที่จะปรับลดเป้าหมายการขยายตัวทางเศรษฐกิจสหรัฐได้ทุกเมื่อ แม้จะยังยืนยันอย่างหนักแน่นว่า เศรษฐกิจในภาพรวมของอเมริกาขยายตัวระดับปานกลาง กลางเดือน กรกฎาคม มูดี้ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ และฟิทช์ เรตติ้ง 3 บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือในการลงทุน พร้อมในกันปรับลดตราสารหนี้ทุกประเภท โดยเฉพาะที่นำสินเชื่อประเภท Subprimeไปค้ำประกันไว้ ท่ามกลางดัชนีหุ้นดาวโจนส์พุ่งขึ้นแตะสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 14,000 จุด

ปลายเดือนกรกฎาคม เบน เบอร์นันกี้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ หรือเฟด ชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการวุฒิสภาสหรัฐว่า มูลค่าความสูญเสียจากธุรกิจสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ประเภท Subprime อาจมีมากถึงกว่า 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 3.3 ล้านล้านบาท แต่ยังย้ำชัดว่า เฟดมีมาตรการปกป้องลูกหนี้สินเชื่อดังกล่าว

เข้าสู่เดือนสิงหาคม รัฐมนตรีคลังเยอรมนี นายปิแอร์ สไตน์บรู๊ค ประกาศมาตรการสำคัญ เข้าช่วยเหลือสถาบันการเงินที่ไปลงทุนในตราสารหนี้ CDO ซึ่งกำลังขาดสภาพคล่องมี 2 แห่ง คือ ไอเคบี และคอมเมิร์สแบงก์

6 สิงหาคม 50 คณะกรรมการบริษัทหลักทรัพย์ แบร์เสติร์น แอนด์ โค ซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 5 ในสหรัฐ ลงมติปลดประธานร่วมบริหารของบริษัทที่มีชื่อว่า นาย วอร์เรน สเป็กเตอร์ หลังบริษัทต้องประสบกับความเสียหายทางธุรกิจอย่างมาก ในการลงทุนในตราสารหนี้ CDO ประเภท Subprime

ความน่ากลัวจากความเสียหายที่เกิดขึ้นในตลาดหุ้นนิวยอร์ก สหรัฐ ข้ามฝั่งมาถึงตลาดหุ้นสำคัญในยุโรป ไม่ว่าจะเป็น ตลาดหุ้นลอนดอน เยอรมนี รวมถึงฝรั่งเศส และที่สุด ตลาดหุ้นย่านเอเชียก็หนีไม่พ้น พายุสภาพคล่องตึงตัว ที่เกิดขึ้นจากวิกฤติตราสารหนี้สินเชื่อ Subprime สถิติที่ไม่น่าสนใจ แต่ต้องทำใจที่จะได้ยินจึงเกิดขึ้น เช่น ตลาดหุ้นยุโรปทรุดต่ำสุดในรอบ 4 ปี ด้านตลาดหุ้นเอเชียทรุดหนักสุดในรอบ 6 ปี

เหยื่อรายสุดท้าย ก่อนที่ธนาคารกลางทั่วโลก จะเริ่มปฏิบัติการครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ตลาดทุนโลก ธนาคารพาณิชย์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในฝรั่งเศส บีเอ็นพี พาริบาร์ ตัดสินใจหยุดดำเนินการ และสั่งปิดกองทุนจำนวน 3 กองทุน ได้แก่ กองทุนพาร์เวสท์ ไดนามิค เอบีเอส กองทุนบีเอ็นพี พาริบาร์ เอบีเอส ยูไรบอร์ และกองทุนบีเอ็นพี พาริบาร์ เอบีเอส ออนเนีย สาเหตุจาก ขาดทุนอย่างหนัก จากการลงทุนในตราสารหนี้ Subprimeในสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีมากถึง 700 ล้านเหรียญยูโร หรือประมาณ 3.29 หมื่นล้านบาท

คืนวันนั้น ธนาคารกลางยุโรป ตัดสินใจอย่างเร่งด่วน และเหนือความคาดหมายของตลาด ด้วยการประกาศปฏิบัติการที่มีชื่อว่า ไฟน์-จูนนิ่ง อัดฉีดเงินมูลค่าสูงถึง 1.3 แสนล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 4.42 ล้านล้านบาท เข้าสู่ตลาดเงิน และตลาดทุนในยุโรป เป็นครั้งแรก เพื่อเพิ่มสภาพคล่อง นับเป็นมูลค่าสูงสุดนับตั้งแต่เหตุการณ์ก่อการร้าย 11 กันยายน ในสหรัฐเมื่อ 6 ปีที่แล้ว ตามติดด้วยเฟดในสหรัฐ รุ่งเช้าต่อเนื่องด้วยแบงก์ชาติญี่ปุ่น และแบงก์ชาติออสเตรเลีย ร่วม 5 วันทำการติดต่อกันที่แบงก์ชาติทั่วโลกเพิ่มสภาพคล่องมากกว่า 3 แสนล้านเหรียญสหรัฐ จนถึงในขณะนี้ มีมากกว่า 4 แสนล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 13.6 ล้านล้านบาท

เมื่อหันมาดูผลกระทบที่เกิดขึ้นในไทยกับวิกฤตสภาพคล่องที่เกิดขึ้น ธนาคารแห่งประเทศไทย ออกมาเปิดเผยหลังจากนั้นไม่นานว่า มีธนาคารพาณิชย์ของไทยรวม 4 แห่ง เช่น ธนาคารไทยธนาคาร ธนาคารกรุงเทพ เข้าไปลงทุนในตราสารหนี้ CDO ราว 715 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 2.4 หมื่นล้านบาท ซึ่งคิดเป็น 0.6% ของสินทรัพย์ธนาคารพาณิชย์ทั้ง 4 แห่ง ในจำนวนดังกล่าว มีลงทุนในตราสารหนี้ CDO ประเภทสินเชื่อ Subprimeถึง 0.1%

การตัดสินใจลดดอกเบี้ยกู้ยืม ระหว่างแบงก์ชาติสหรัฐ กับธนาคารพาณิชย์ต่างๆในสหรัฐอย่างเหนือความคาดหมายถึง 0.5% เมื่อวันที่ 17 สิงหาคมที่ผ่านมา แม้จะช่วยบรรเทาวิกฤติในระดับหนึ่ง แต่หลายคนในวงการตลาดทุนทั่วโลกกลับมองว่า ระยะยาวแล้ว ยังจะได้เห็นผลแห่งวิกฤติที่รอจังหวะ หลังการปรับดอกเบี้ยส่งบ้านของสินเชื่อ Subprime ที่จะเกิดขึ้นในช่วงกลางปี 2551

แม้จะได้รับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากวิกฤติตราสารหนี้สินเชื่อ Subprime ผู้นำสูงสุดสหรัฐ ย้ำว่า คำถามพื้นฐานที่ถามกันอย่างตรง ๆ ว่า มีเงินอยู่ในระบบของสหรัฐพอหรือไม่ คำตอบ คือ ใช่ นั่นคือ คำตอบจากประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู บุช แห่งสหรัฐ ซึ่งกล่าวที่แคนาดาเมื่อวันที่ 23 สิงหาคมที่ผ่านมา สะท้อนได้ว่า มีความมั่นใจเต็มที่กับภาวะวิกฤตที่เกิดขึ้น

นายปีแอร์ สไตน์บลูอิค รัฐมนตรีคลังเยอรมนี ให้สัมภาษณ์อย่างมั่นใจว่า เศรษฐกิจกลุ่มสหภาพยุโรป ได้รับผลกระทบที่เกิดขึ้นเพียงเล็กน้อย สำหรับในไทย พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีไทย สั่งกระทรวงการคลังจับตากับปัญหาอย่างใกล้ชิดเมื่อวันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม 50

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ทุกฝ่ายกังวลกันก็คือ จะยังคงมีระเบิดเวลาลูกต่อไปที่รอการปะทุขึ้นอีกหรือไม่ เพราะในช่วงสิ้นปีนี้ต่อเนื่องไปจนถึงปีหน้าจะมีมูลหนี้ของสินเชื่อ Subprime ในสหรัฐฯที่ถึงงวดที่ต้องปรับดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตามโครงสร้างสินเชื่อที่กำหนดไว้ และอาจเป็นเหตุให้สัดส่วนการผิดนัดชำระหนี้เพิ่มสูงขึ้นได้อีก ขณะเดียวกันก็ได้แต่หวังว่าการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบของธนาคารกลางในประเทศต่าง ๆ เพียงพอที่จะทำให้วิกฤติสินเชื่อไม่ลุกลามไปมากกว่านี้
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Cli ... fault.aspx
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news31/08/07

โพสต์ที่ 40

โพสต์

ปัญหาสภาพคล่องฉุดตลาดตั๋วสัญญาใช้เงิน ส่วนบาร์เคลย์กู้เงินธนาคารกลางเพิ่มอีก
--------------------------------------------------------------------------------
Posted on Friday, August 31, 2007
วิกฤติสภาพคล่องสหรัฐ ฉุดผลประกอบการ

ธนาคารกลางสหรัฐ หรือเฟดชี้ เงินกู้รายวันจากเฟด ที่เพิ่มสภาพคล่องในระบบ โดยให้กู้ยืมกับธนาคารพาณิชย์สหรัฐ ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา พบว่า เพิ่มสูงขึ้นอีก 115 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเพิ่มขึ้นราว 3,910 ล้านบาท ส่งผลให้เงินกู้จากเฟดที่ให้กับธนาคารพาณิชย์โดยเฉลี่ยมีมากถึง 1,320 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 4.48 หมื่นล้านบาท โดยมีการกู้ยืมจากสถาบันการเงินในสหรัฐผ่านเฟดสาขาริชมอนด์ และนิวยอร์ก แห่งละ 550 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 1.87 หมื่นล้านบาท

ตลาดตั๋วสัญญาใช้เงินในสหรัฐ ตกต่ำอย่างหนัก และต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 3 มากถึง 11% สร้างสถิติภาวะตลาดตั๋วสัญญาใช้เงินที่ทรุดต่ำลงมากที่สุดในรอบ 7 ปีของสหรัฐ สะท้อนถึงความล้มเหลวของเฟด ที่ตัดสินใจลดอัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่างเฟด และธนาคารพาณิชย์ ซึ่งยังไม่ดึงดูดนักลงทุนให้หวนกลับเข้ามา ทั้งนี้ เฟด ชี้ ตั๋วสัญญาใช้เงิน ประเภทที่มีสินทรัพย์ค้ำประกัน ซึ่งสัดส่วนถึงครึ่งหนึ่งของตลาดตั๋วสัญญาใช้เงินทั้งหมด ลดลงอีก 5.94 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 2 ล้านล้านบาท นับเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 8 เดือน

เฟรดดี้ แม็ค 1 ใน 2 ยักษ์ใหญ่ สถาบันการเงินด้านสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ของรัฐบาลสหรัฐ ประกาศผลกำไรในไตรมาสที่ 2 ปีนี้ ทรุดต่ำลงมากถึง 45% โดยมีรายได้สุทธิในช่วงดังกล่าวเหลือเพียง 764 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 2.6 หมื่นล้านบาท จากรายได้สุทธิในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งเคยมีมากถึง 1,400 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 4.76 หมื่นล้านบาท เหตุจากหนี้สูญในไตรมาสที่ 2 ที่พุ่งสูงขึ้นกว่า 6 พันล้านบาทในไตรมาสที่ 1 มาอยู่ที่กว่า 1 หมื่นล้านบาท หรือหนี้สูญพุ่งขึ้น 5 เท่าเทียบช่วงเดียวกันปี 49

นาย เจมส์ บี ล๊อคฮาร์ด ผู้อำนวยการ สำนักงานกำกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติสหรัฐ (OFHEO) เปิดเผยค่าดัชนีราคาบ้านของสำนักงานดังกล่าวในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้เมื่อคืนที่ผ่านมา กลับพบว่า ในช่วงดังกล่าว ราคาบ้านที่อยู่อาศัยในสหรัฐ เพิ่มขึ้น 0.1% เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ของปีนี้ และเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ในปีที่ผ่านมา พบว่า ราคาบ้านในสหรัฐขยับสูงขึ้นถึง 3.2% ทั้งนี้ นาย เจมส์ บี ล๊อคฮาร์ด ชี้ว่า ท่ามกลางสินเชื่อที่เข้มงวดมาก หนี้สูญที่พุ่งขึ้น และความกังวลในด้านลบของผู้ซื้อบ้าน แต่ราคาบ้านในสหรัฐกลับทรงตัว

ธนาคารบาร์เคลย์ ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์ชั้นนำในอังกฤษ และของโลก เปิดแถลงการณ์อย่างเร่งด่วน ต่อผู้ถือหุ้น และประชาชนผู้ฝากเงินในธนาคาร เพื่อสร้างความมั่นใจในฐานะทางการเงินของธนาคารบาร์เคลย์ หลังจากที่ธนาคารดังกล่าว อ้างเหตุผลทางเทคนิค ที่จำเป็นต้องกู้ยืมเงินจากธนาคารกลางอังกฤษเมื่อเย็นวานนี้ เป็นมูลค่าสูงถึง 1,600 ล้านปอนด์สเตอริง หรือราว 1.12 แสนล้านบาท ซึ่งนับเป็นการกู้ยืมเงินจากแบงก์ชาติอังกฤษเป็นครั้งที่ 2 ในช่วงกว่า 1 สัปดาห์ เหตุจากวิกฤติสภาพคล่องที่ยังไม่ผ่อนคลาย

ศาลล้มละลายแห่งรัฐบาลกลางสหรัฐ ตัดสินยกคำร้อง ของธนาคารแบร์สเติร์น แอนด์ โค กรณีขอคุ้มครองสินทรัพย์ของ 2 กองทุนประกันความเสี่ยง หรือกองทุนเฮ็ดจ์ฟันด์ ของธนาคารดังกล่าว ที่ต้องล้มละลายจากสาเหตุ ผลขาดทุนมหาสารหลังเข้าไปลงทุนในตราสารหนี้ซีดีโอ ประเภทสินเชื่อที่อยู่อาศัยด้อยคุณภาพ หรือสับไพร์ม ซึ่งทางธนาคารแบร์สเติร์น แอนด์ โค ขอใช้กฎหมายของเกาะเคย์แมนอ้างอิง เพื่อประกาศล้มละลาย และขอพิทักษ์ทรัพย์ทั้งหมด โดยนายเบอร์ตั้น ลิฟท์แลนด์ ผู้พิพากษาศาลล้มละลายแห่งรัฐ ชี้ว่า กฎหมายอ้างอิงเกาะเคย์แมน ไม่สามารถบังคับใช้ได้

บริษัท ไพรซ์ วอเตอร์เฮ้าส์ คูเปอร์ ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำด้านบริการการปรึกษาระดับโลก ตัดสินใจปรับลดความต้องการในการเข้าพักโรงแรมสหรัฐในปีนี้ลงมาอยู่ที่ 1.3% จากเดิมที่ระดับ 1.4% และในปีหน้า ได้ปรับลดลงจากระดับ 1.9% ลงมาเหลือเพียง 1.7% จากสาเหตุภาวะเศรษฐกิจสหรัฐที่ชะลอตัวลง ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากวิกฤติสภาพคล่อง ที่ฉุดกำลังซื้อของชาวอเมริกันต่อวงการอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในสหรัฐ สะท้อนชัดเจนว่า วิกฤตสภาพคล่องทำให้ธุรกิจท่องเที่ยวสหรัฐ ชะลอตัวลงในช่วงหลายเดือนข้างหน้า

สมาคมบริการยานยนต์แห่งรัฐ (USAA) ซึ่งมีเครือข่ายสมาชิกแบงก์พาพณิชย์ชั้นนำในสหรัฐจำนวน 200 แห่ง เปิดเผยผลสำรวจล่าสุด ผู้ใช้บริการบัตรเครดิตในสหรัฐจำนวน 3.5 หมื่นคนทั่งประเทศ พบว่า ท่ามกลางวิกฤติสภาพคล่องที่เกิดขึ้น ชาวอเมริกันยังคงให้ความน่าเชื่อถือกับบัตรเครดิต 2 ค่ายสูงสุดได้แก่ อเมริกันเอ็กซ์เพรส และดิสคัฟเวอร์ ส่วน บัตรเครดิตที่ออกโดยวีซ่า และแมสเตอร์คาร์ด จาก 5 แบงก์พาณิชย์ยักษ์ใหญ่ ได้แก่ เจพี มอร์แกนเชส แบงก์ออฟอเมริกา ซิตี้แบงก์ แคปปิตอลวัน และเอชเอสบีซี ซึ่งรวมกันมีส่วนแบ่งมากถึง 80% ของทั้งตลาด น่าเชื่อถือปานกลาง
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mor ... fault.aspx
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news31/08/07

โพสต์ที่ 41

โพสต์

ประธานธนาคารกลางสหรัฐเตรียมแถลงคืนนี้ที่สหรัฐ ท่ามกลางแรงกดดันให้ลดอัตราดอกเบี้ย

นายเบน เบอร์นันเก้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ หรือเฟด เตรียมเข้าประชุมเศรษฐกิจประจำปี ซึ่งจัดขึ้นโดยเฟด สาขา แคนซัสซิตี้ โดยเตรียมแถลงการณ์ต่อบรรดานักเศรษฐศาสตร์ นักบริหาร ผู้บริหารระดับสูงจากธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินชั้นนำในสหรัฐ และจากทั่วโลก ในคืนวันศุกร์นี้ ที่เมืองแจคสัน โฮล์ รัฐไวโอมิ่งค์ ตามเวลาในสหรัฐ ซึ่งได้รับการคาดหมายล่วงหน้าอย่างมากมายว่า เบน เบอร์นันเก้ อาจส่งสัญญาณเกี่ยวกับมาตรการตัดลดดอกเบี้ยระยะสั้น ที่ชัดเจนมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา จากแรงกดดันวิกฤตสภาพคล่อง

จากการตรวจสอบวาระที่ประชุมในครั้งนี้ พบว่า ประเด็นสำคัญในการพูดถึงจะอยู่ที่ภาวะตลาดอสังหาริมทรัพย์ และนโยบายการเงินของเฟด นอกจากนี้ บรรดานักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำหลายคน มีความมั่นใจว่า ประธานเฟด จะต้องพูดถึงภาวะสินเชื่อที่อยู่อาศัยประเภทสับไพร์ม ในมุมมองที่ให้ความสำคัญมากขึ้นจากการแถลงในก่อนหน้านี้แทบทุกครั้งที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม การตอบโต้ในจดหมายที่ส่งไปถึงวุฒิสมาชิกชาร์ล สชูเมอร์ เมื่อวานนี้ ยังมีข้อน่าสังเกตหลายอย่าง

ทั้งนี้ เบน เบอร์นันเก้ ประธานเฟด ชี้แจงในจดหมายไปยัง นาย ชาร์ล สชูเมอร์ เมื่อวานนี้ว่า ในฐานะผู้นำสูงสุดขององค์กร และคณะผู้บริหารระดับสูงของแบงก์ชาติสหรัฐนั้น เฟด มีความพร้อมตลอดเวลา หากมีความจำเป็นเกิดขึ้น ที่จะต้องปรับเปลี่ยนนโยบายสำคัญ เพื่อแก้ไขภาวะเศรษฐกิจสหรัฐในภาพรวม ที่อาจได้รับผลกระทบ ซึ่งเกิดขึ้นจากภาวะปั่นป่วนในตลาดเงิน
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mor ... fault.aspx
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news01/09/07

โพสต์ที่ 42

โพสต์

เฟดอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบอีก 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ  

โดย ผู้จัดการออนไลน์
31 สิงหาคม 2550 17:26 น.

      วันนี้(31 ส.ค.) ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อัดฉีดเงินอีก 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 340,000 ล้านบาท) เข้าสู่ระบบการเงิน เพื่อคลี่คลายวิกฤตสภาพคล่องที่เกิดจากปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ (ซับไพร์ม) ทำให้วงเงินอัดฉีดเข้าสู่ระบบ เพื่อคลี่คลายปัญหาดังกล่าวเพิ่มขึ้นรวม 147,250 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 5 ล้านล้านบาท) แล้ว
     
      สำนักข่าวซินหัวของทางการจีนรายงานว่า การอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบครั้งล่าสุดของเฟดวานนี้ เป็นมาตรการเพิ่มเติมหลังจากเฟดประกาศลดอัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน หรืออัตราซื้อลดซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่เฟดเรียกเก็บจากธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ ลงอีกร้อยละ 0.50 เป็นร้อยละ 5.75 เมื่อวันที่ 17 สิงหาคมที่ผ่านมา แม้ว่าเฟดได้ตรึงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บต่อกัน หรือ เฟดเดอรัล ฟันด์ เรท ไว้ที่ร้อยละ 5.25 มาเป็นเวลากว่า 1 ปีแล้วก็ตาม
     
      เฟดแถลงว่า เฟดกำลังติดตามปัญหาซับไพร์มในประเทศอย่างใกล้ชิด และเตรียมพร้อมที่จะดำเนินการต่าง ๆ ถ้าจำเป็นเพื่อลดผลกระทบของปัญหาดังกล่าวต่อระบบเศรษฐกิจสหรัฐ
http://www.manager.co.th/StockMarket/Vi ... 0000102898
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news03/09/07

โพสต์ที่ 43

โพสต์

เชื่อ Emerging Market รับมือความปั่นป่วนตลาดทุนจากวิกฤติสภาพคล่องได้

Posted on Monday, September 03, 2007
บีไอเอส ชี้ ประเทศเกิดใหม่รับมือวิกฤตสภาพคล่องได้
ธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (BIS) เปิดเผยว่า ประเทศในเขตเศรษฐกิจเกิดใหม่ (Emerging Market) สามารถสร้างความประหลาดใจ ในการปรับตัวรับกับสภาพวิกฤตสภาพคล่อง และภาวะปั่นป่วนในตลาดทุนทั่วโลก ที่เกิดขึ้นจากวิกฤติตราสารหนี้ซีดีโอ ประเภทสินเชื่อด้อยคุณภาพที่เรียกว่า สับไพร์ม บีไอเอส กล่าวเสริมว่า ประเทศในกลุ่มนี้ มีการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจมหภาคอย่างแข็งแกร่ง โดยเฉพาะประเทศในเขตเอเชีย มีความแข็งแกร่งมากกว่าที่อื่นๆในกลุ่มเดียวกัน

ธนาคารบาร์เคลย์ ย้ำ ไม่ขาดทุนหนักอย่างที่คาดไว้
นายบ๊อบ ไดอามอนด์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หรือซีอีโอ ธนาคารบาร์เคลย์ ซึ่งเป็นธนาคารที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 แห่งอังกฤษ กล่าวปฏิเสธว่า ธนาคารบาร์เคลย์ ประสบปัญหาขาดทุนอย่างหนัก หลังต้องประสบกับปัญหากับวิกฤติสภาพคล่องที่เกิดขึ้นทั่วโลกในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งอาจกระทบรายได้จาก 4 กลุ่มธุรกิจการลงทุน ที่เรียกสั้นๆว่า เอสไอวี ด้าน ซีอีโอธนาคารดังกล่าว ชี้ว่า ผลการขาดทุนอาจมีเพียง 75 ล้านปอนด์สเตอริง หรือราว 5,100 ล้านบาท ทั้งนี้ ราคาหุ้นแบงก์บาร์เคลย์ ทรุดต่ำลงถึง 23% จากที่สูงสุดหุ้นละ 544 บาท

ผู้ว่าการแบงก์ชาติเยอรมนี ชี้ วิกฤติสภาพคล่อง ไม่แตกต่างจากกรณีที่เคยเกิดขึ้นในอดีต
นาย อเล็กซ์ เว็บเบอร์ ประธานธนาคารกลางแห่งเยอรมนี หรือบุนเดสแบงก์ กล่าวว่า ภาวะวิกฤตสภาพคล่องที่เกิดขึ้นในเดือนที่ผ่านมา คือ สัญญาณของการตอบสนองของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องอย่างมากเกินไป สิ่งที่เกิดขึ้นในความเป็นจริงแล้ว ไม่แตกต่างจากสาเหตุพื้นฐานของวิกฤตการเงินในอดีตที่ผ่านมา ซึ่งเคยเกิดขึ้นกับธุรกิจแบงก์พาณิชย์ทั่วโลก นอกจากนี้ วิกฤติสภาพคล่องที่เกิดขึ้น ซึ่งมาจากกลุ่มสถาบันการเงิน ที่ไม่ใช่ธุรกิจธนาคารพาณิชย์อย่างดั้งเดิม หรือแท้จริง นับเป็นบทเรียนสำคัญ และมาตรการที่ช่วยเหลืออาจไม่ได้ผลพอ

นักเศรษฐศาสตร์ฮาวาร์ด ชี้ เฟด ต้องลดดอกเบี้ยมากขึ้น
นายมาร์ติน เฟลด์สไตน์ ศาสตรจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด สหรัฐฯ ชี้ภาวะอสังหาริมทรัพย์สหรัฐที่ทรุดตัวลงอย่างหนัก ได้กลายเป็นปัจจัยเสี่ยง 3 ด้านที่กระทบต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอยในวงกว้าง ได้แก่ ราคาบ้านที่อยู่อาศัย และการก่อสร้างตกต่ำอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ตามด้วยต้นทุนกู้ยืมพุ่งสูงขึ้น และการใช้จ่ายผู้บริโภคชาวอเมริกันหดหาย นั่นหมายถึง กำลังทำให้เศรษฐกิจสหรัฐ ต้องประสบกับภาวะตกต่ำอย่างแท้จริง ดังนั้น การปรับลดอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น หรือเฟดฟันด์เรต อย่างรุนแรงเป็นสิ่งที่ควรทำ

นักเศรษฐศาสตร์เยลล์ เผย วิกฤติในสหรัฐ ฉุดราคาบ้านทั่วโลก
ศาสตราจารย์ โรเบิร์ต ชิลเลอร์ ซึ่งเป็นอาจารย์สอนด้านการเงิน และการลงทุน ประจำมหาวิทยาลัยเยลล์ ในสหรัฐ และยังเป็นผู้จัดทำ ค่าดัชนีราคาบ้านที่อยู่อาศัยร่วมกับเอสแอนด์พี ซึ่งเป็นที่ยอมรับทั่วสหรัฐ ที่เรียกว่า ดัชนีเอสแอนด์ เคส พีชิลเลอร์ เปิดเผยว่า ภาวะตกต่ำของธุรกิจที่อยู่อาศัยในสหรัฐ อาจส่งผลกระทบต่อราคาบ้านที่อยู่อาศัยในตลาดสำคัญทั่วโลกในช่วงหลายปีข้างหน้า และสรุปได้ว่า ความกังวลที่มีต่อภาวะอสังหาริมทรัพย์สหรัฐที่ตกต่ำนั้น กระทบต่อการใช้นโยบายการเงินของแบงก์ชาติทุกแห่ง

เอสแอนด์พี ปลด และแต่งตั้งผู้บริหารคนใหม่ หลังวิกฤติ
แม็คกรอวฮิลล์ คอร์ป กลุ่มธุรกิจสำนักพิมพ์ที่มีชื่อเสียงระดับโลก ซึ่งมีเครือข่ายธุรกิจด้านการเงิน ในกลุ่มซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีว่า บริษัท เอสแอนด์พี โดยเป็นสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือในการลงทุนชั้นนำของโลกเช่นกัน ตัดสินใจปรับเปลี่ยนผู้บริหารของบริษัทเอสแอนด์พี ท่ามกลางเสียงวิจารย์ และแรงกดันที่เพิ่มขึ้นต่อความรับผิดชอบของบรรดาบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ทั้งนี้ แม็คกรอวฮิลล์ คอร์ป เปลี่ยนนาง แคทเทอรีน คอร์เบ็ต ลงจากผู้บริหารสูงสุดของเอสแอนด์พี และแต่งตั้งนาย เดฟเว่น ชาร์มา ขึ้นแทน

KWF เผย ธนาคารในเครือ IKB ไม่ขาดทุนกว่าที่คิด
ธนาคารรัฐวิสาหกิจชื่อดังแห่งเยอรมนี (KWF) เปิดเผยว่า มูลค่าความเสียหาย หรือผลขาดทุนที่เกิดขึ้นกับธนาคารในเครือที่มีชื่อว่า IKB ยังคงอยู่ในการประเมินการณ์ไว้ที่ 3,500 ล้านเหรียญยูโร หรือราว 1.68 แสนล้านบาท จากการเข้าไปลงทุนในตราสารหนี้ซีดีโอ ประเภทสินเชื่อด้อยคุณภาพที่มีชื่อว่าสับไพร์ม ทั้งนี้ ธนาคาร เคเอฟดับเบิลยู เคยตั้งเป้าหมายการขาดทุนไว้สูงถึง 4 พันล้านเหรียญยูโร หรือประมาณ 1.92 แสนบาท และได้เพิ่มสภาพคล่องให้ไอเคบีมากกว่า 3.8 แสนล้านบาท

ผู้นำสูงสุดสหรัฐ บุช ร่ายยาวแผนช่วยเหลือลูกหนี้บ้าน
ประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู บุช แห่งสหรัฐ ได้เปิดแถลงถ่ายทอดสดทั่วสหรัฐ เมื่อวันศุกร์ตามเวลาในสหรัฐที่ผ่านมาว่า รัฐบาลสหรัฐยังคงย้ำในจุดยืนที่จะไม่เข้าไปช่วยเหลือลูกหนี้สินเชื่อบ้านโดยตรง แต่เรียกร้องให้เจ้าหนี้ หรือสถาบันการเงินสินเชื่อต่างๆ รีบติดต่อกับลูกหนี้ เพื่อทำการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้ และความสามารถในการชำระคืนหนี้ เพื่อป้องกันหนี้สูญที่กำลังเพิ่มสูงขึ้น ผู้นำสูงสุดสหรัฐยังเรียกร้องรัฐสภาสหรัฐ ให้เห็นชอบ และเร่งผ่านกฎหมายที่เสนอเมื่อ 1 ปีที่ผ่านมา เพื่อปรับปรุงองค์กรที่มีชื่อว่า เฟดเดอรัล เฮ้าซ์ ซิ่ง แอดมินิสเทรชั่น (FHA) นอกจากนี้ FHA เตรียมเปิดโครงการที่มีชื่อว่า FHA Secure ช่วยเหลือลูกหนี้ที่มีเครดิตดี แต่มีปัญหาด้านผ่อนชำระ
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mor ... fault.aspx
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news05/09/07

โพสต์ที่ 44

โพสต์

มูดี้ส์ฯชี้เศรษฐกิจสหรัฐอาจถดถอยเพิ่มจาก 12% เป็น 40% เหตุจาก Subprime

Posted on Wednesday, September 05, 2007
เฟด ประสานเสียงคลังสหรัฐวอนแบงก์ปรับโครงสร้างหนี้
ธนาคารกลางสหรัฐ หรือเฟด ร่วมกับกระทรวงการคลังสหรัฐ เปิดแถลงเรียกร้องอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนว่า ขอให้ธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินที่ให้บริการสินเชื่อที่อยู่อาศัยในสหรัฐ ทำการปรับโครงสร้างหนี้ ด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำ พร้อมปรับขยายระยะเวลาผ่อนส่งหนี้สินเชื่อของลูกหนี้ตามความเหมาะสม และขอให้พิจารณาปรับลดเงินต้น ทั้งหมดเพื่อต้องการให้ลูกหนี้ยังคงเป็นเจ้าของในบ้านที่อยู่อาศัยต่อไป และป้องกันภาวะหนี้สูญที่มีแนวโน้มพุ่งสูงขึ้นต่อเนื่องในอนาคต ทั้งนี้ ภาวะอสังหาริมทรัพย์สหรัฐตกต่ำมากที่สุดในรอบ 16 ปี
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mor ... fault.aspx
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news05/09/07

โพสต์ที่ 45

โพสต์

สถาบันประกันเงินฝากสหรัฐชี้ ปรับโครงสร้างหนี้เหมาะสุด
นางเชล่า แบร์ ประธานสถาบันประกันเงินฝากแห่งชาติ สหรัฐ หรือ FDIC ชี้ว่า การปรับโครงสร้างหนี้ เป็นวิธีการที่บรรเทาความเสียหาย ที่กำลังจะเกิดขึ้นจากหนี้สูญที่เหมาะสมที่สุด เนื่องจากสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่ด้อยคุณภาพ หรือ Subprime เป็นจำนวนมากถึง 1.3 ล้านรายการ จะต้องปรับอัตราดอกเบี้ยผ่อนส่งรายเดือนสูงขึ้นจากอัตราเดิมในสิ้นปีนี้ และในปีหน้าจะมีเพิ่มอีก 1.2 ล้านรายการของสินเชื่อ Subprime ที่ต้องปรับเพิ่มดอกเบี้ยผ่อนส่งบ้าน ทั้งนี้ ประธาน FDIC ต้องเข้าชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการวุฒิสมาชิกการเงินวันพรุ่งนี้

เจพี และแบร์สเติร์น ตั้งทีมปรับโครงสร้างหนี้อเมริกัน
ธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินสินเชื่อเฉพาะทาง ด้านอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐ เช่น เจพี มอร์แกน เชส และแบร์ สเติร์น แอนด์ โค เปิดเผยว่า ได้เริ่มติดต่อกับบรรดาลูกหนี้ที่มีสถานะเสี่ยงสูงสุดแล้ว โดยโฆษกธนาคาร เจพี มอร์แกน เชส นาย ทอม เคลลี่ กล่าวว่า เป้าหมายของธนาคาร คือความต้องการที่จะให้ลูกหนี้ยังคงเป็นเจ้าของบ้านที่อยู่อาศัย ซึ่งยังคงผ่อนชำระบ้านต่อไป ทั้งนี้ สินเชื่อบ้านของเจพีมอร์แกน มีมูลค่า 7 แสนล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 23.8 ล้านล้านบาท ด้านแบร์สเติร์น ตั้งทีมปรับโครงสร้างลูกหนี้ที่มีชื่อว่า ม๊อดสคว๊อด

บันทึกประชุมแบงก์ชาติสหรัฐชี้ชัด 12 ผู้ว่า ไม่ให้ลดดอกเบี้ย
บันทึกการประชุมของคณะกรรมการธนาคารกลางสหรัฐ หรือเฟด ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงวอชิงตัน ดีซี เปิดเผยเมื่อคืนที่ผ่านมา ชี้ชัดเจนว่า ผู้ว่าการเฟดทั้ง 12 สาขาทั่วสหรัฐ ล้วนร้องขอไม่ให้มีการลดดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่างเฟด และธนาคารพาณิชย์ รวมถึงสถาบันการเงินอื่นๆ ในช่วงเดือนกรกฎาคมจนถึงสัปดาห์แรกของเดือนสิงหาคม ท่ามกลางวิกฤติสินเชื่อ Subprime ขยายตัวกระทบวิกฤติสภาพคล่องตั้งแต่ช่วงกลางปีนี้ สะท้อน ผู้ว่าการเฟดเห็นสอดคล้องกันว่า ภาวะสินเชื่อตึงตัวในสหรัฐ เป็นปัจจัยเสี่ยงน้อยมากๆในช่วงก่อนหน้านี้

มูดี้ส์ อีโคโนมี่ ย้ำโอกาส ศ.ก. สหรัฐถดถอยเพิ่มเป็น 40%
สถาบันวิเคราะห์เศรษฐกิจอิสระชั้นนำ และได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในสหรัฐ ที่มีชื่อว่า มูดี้ส์ อีโคโนมี่ ดอท คอม เปิดเผยว่า มีปัจจัยเสี่ยงที่เพิ่มสูงมากขึ้นกับภาวะเศรษฐกิจสหรัฐที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอย ในอีก 6 - 12 เดือนข้างหน้า สาเหตุจากวิกฤติสินเชื่อด้อยคุณภาพ หรือสินเชื่อ Subprime โดย นายมาร์ค แซนดี้ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จากสถาบันดังกล่าว ชี้ว่า เศรษฐกิจสหรัฐมีโอกาสสูงถึง 40% ที่จะถดถอย จากเดิมที่เคยคาดไว้เมื่อเดือนที่ผ่านมาว่ามีโอกาสเพียง 12% นอกจากนี้ อัตราหนี้สูญของที่อยู่อาศัยจะพุ่งถึง 9 แสนรายในปีหน้า

ผู้ว่าเฟด แรนดัล ชี้ คนอเมริกัน ต้องมีบ้านอยู่ สำคัญที่สุด
นาย แรนดัล ครอสเนอร์ ผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐ หรือเฟด ชี้ เฟด ต้องการกระตุ้นให้สถาบันการเงินทุกประเภท ที่ให้บริการสินเชื่อที่อยู่อาศัย ต้องเข้าถึงลูกหนี้ของสถาบันดังกล่าวอย่างทั่วถึง เพื่อบรรเทาปัญหาด้านการเงินที่กำลังถึงขั้นวิกฤติ และ นาย แรนดัล ครอสเนอร์ กล่าวอย่างชัดเจน และเป็นครั้งแรกว่า การรักษาให้ครอบครัวคนอเมริกันมีบ้านอยู่อาศัย เป็นประเด็นสำคัญที่สุดสำหรับแบงก์ชาติสหรัฐ ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อ Subprimeจำนวน 2 ล้านรายการคิดเป็น 14% ของสินเชื่อดังกล่าวในตลาดสินเชื่อบ้านทั้งสหรัฐ ต้องปรับใน 2 ปี

เฟด สาขาริชมอนด์ ย้ำปรับลดดอกเบี้ย ขึ้นกับเงินเฟ้อลดลง
นาย เจฟเฟอรี่ แล็คเกอร์ ผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐ หรือเฟด สาขาริชมอนด์ กล่าวเมื่อคืนที่ผ่านมาว่า อาจจะสนับสนุนให้เฟด ปรับลดดอกเบี้ยระยะสั้น หรือเฟดฟันด์เรตลง หากมีหลักฐานที่ชัดเจนว่า วิกฤติสภาพคล่องในปัจจุบัน ส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐ และภาวะเงินเฟ้อหดตัวลง นอกจากนี้ ผู้ว่าการเฟด สาขาริชมอนด์ อธิบานเพิ่มเติมว่า หากจะมองว่าวิกฤติสภาพคล่องอาจมีผลกับทิศทางดอกเบี้ยระยะสั้นอย่างไรนั้น ทั้งหมดขึ้นอยู่กับว่า วิกฤตดังกล่าวกระทบกำลังซื้อ หรือบริโภคของคนอเมริกันแค่ไหน จนถึงทุกวันนี้ ยังไม่มีความชัดเจน
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mor ... fault.aspx
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news06/09/07

โพสต์ที่ 46

โพสต์

กังวลเศรษฐกิจโลกชะลอจากปัญหา Subprime - ธุรกิจสร้างบ้านสหรัฐฯทรุดหนักในรอบ 25 ปี

Posted on Thursday, September 06, 2007
OECD เตือนวิกฤติสภาพคล่องชะลอเศรษฐกิจโลก
องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ซึ่งเป็นสถาบันเศรษฐกิจชั้นนำของของโลก เตือน วิกฤติสภาพคล่องซึ่งเกิดจากสินเชื่อด้อยคุณภาพประเภท Subprimeในสหรัฐ อาจทำให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงในปีนี้ โดยเฉพาะสหรัฐ OECD ได้ตัดลดเป้าหมายเศรษฐกิจสหรัฐปีนี้ลง จากเดิม 2.1% เหลือ 1.9% นายฌอง ฟิลลิป คอสติส หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ OECD ชี้ ทั่วโลกไม่สามารถหลีกเลี่ยงโอกาสที่ภาวะเศรษฐกิจสหรัฐจะถดถอย และเรียกร้องให้ธนาคารกลางทุกแห่งทั่วโลกตรึงหรือปรับลดอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น

เฟด ชี้ วิกฤติสภาพคล่องฉุดธุรกิจบ้าน ไม่กระทบเศรษฐกิจ

ธนาคารกลางสหรัฐ หรือเฟด ได้เปิดเผยรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐในทุกภูมิภาคของประเทศ จากเฟดทั้งหมด 12 สาขา ซึ่งมีชื่อเรียกว่า เบจบุ๊ค ชี้ว่า วิกฤติสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ หรือ Subprime ซึ่งกระทบต่อสภาพคล่องที่ตึงตัวอย่างรวดเร็วในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา มีผลกระทบในวงจำกัดเท่านั้น นอกจากนี้ รายงานดังกล่าว ระบุเพิ่มเติมว่า ภาวะเศรษฐกิจสหรัฐในภาพรวมยังคงขยายตัวต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม มีเฟดจำนวน 4 สาขา ระบุว่า เศรษฐกิจชะลอตัวลง รายงานเบจบุ๊คชุดนี้ จัดทำการสำรวจก่อนถึงวันที่ 27 ส.ค.

ผู้ขุนคลังสหรัฐ ชี้ วิกฤติสภาพคล่อง ไม่สิ้นสุดง่าย ๆ

นายโรเบิร์ต สตีล ผู้ช่วยรัฐมนตรีคลังสหรัฐ กล่าวยอมรับว่า ภาวะวิกฤติสภาพคล่อง และสินเชื่อที่อยู่อาศัยในสหรัฐ อาจไม่สิ้นสุดลงอย่างง่ายๆ พร้อมกันนี้ได้เร่งเรียกร้องให้ผู้กำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องโดยตรงเพิ่มความเข้มข้นในการเฝ้าระวัง และกำกับดูแล ไม่ให้วิกฤติดังกล่าว ขยายตัวกระทบเศรษฐกิจสหรัฐในวงกว้างมากขึ้นเรื่อยๆ ผู้ช่วยรัฐมนตรีคลังสหรัฐ กล่าวเสริมว่า ผลกระทบดังกล่าว จะส่งผลถึงผลการดำเนินงานของธุรกิจ และบริษัทชั้นนำมากขึ้น และกลายเป็นปัจจัยเสี่ยงที่อาจฉุดเศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัวลง

ดัชนีบ้านรอการขาย ร่วงหนักธุรกิจสร้างบ้านทรุดรอบ 25 ปี

อสังหาริมทรัพย์สหรัฐยังคงอยู่ในภาวะที่ตกต่ำต่อเนื่อง ไร้สัญญาณฟื้นตัวที่ชัดเจน ล่าสุด สมาคมพัฒนาอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติ สหรัฐ เปิดเผย ดัชนีตัวเลขบ้านที่อยู่อาศัยรอการขาย ซึ่งหมายถึงสัญญาซื้อขายบ้านที่มีอยู่ในตลาด ไม่เพียงตกต่ำต่อเนื่อง แต่ยังทรุดตัวลงมากกว่าที่ประเมินไว้มาก ดัชนีดังกล่าวในเดือนกรกฎาคมทรุดลงมาอยู่ที่ 89.9 จุด ร่วงลงมากถึง 12.2% จากที่คาดไว้ว่าจะลดลงเพียง 2% เท่านั้น นอกจากนี้ การก่อสร้างประเภทบ้านเพื่อที่อยู่อาศัยในสหรัฐ ชะลอตัวลงถึง 6 ไตรมาสติดต่อกัน ยาวนานที่สุดในรอบ 25 ปี

CEO โฮมดีโป มองธุรกิจตกแต่ง สร้างบ้าน ซึมยาวปีหน้า

นาย แฟรงค์ เบลค ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หรือซีอีโอ บริษัท โฮมดีโป ซึ่งธุรกิจจัดจำหน่ายวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างบ้าน และให้บริการปรึกษาตกแต่ง ต่อเติมบ้านชื่อดังอันดับ 1 ในสหรัฐ ยอมรับชัดเจนว่า ตลาดบ้านที่อยู่อาศัยที่ตกต่ำ และวิกฤตสินเชื่อ Subprime ซึ่งรวมเรียกกันว่าวิกฤตอสังหาริมทรัพย์แฝดในขณะนี้ มีแนวโน้มที่จะต่อเนื่อง และกระทบต่อธุรกิจตกแต่ง ก่อสร้างบ้านที่อยู่อาศัยไปถึงสิ้นปี 2551 ทั้งนี้ ซีอีโอ บริษัท โฮมดีโป ยอมรับว่าปีนี้ เป็นปีที่ยากลำบากมากที่สุด

มูดี้ส์ ชี้ เศรษฐกิจสหรัฐถดถอยอาจมากที่สุดรอบ 5 ปี

มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือในการลงทุนชั้นนำของโลกจากสหรัฐ โดยนาย จอห์น ลอนสกี้ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จากบริษัทดังกล่าว ชี้ว่า ท่ามกลางความกังวลกับวิกฤติสภาพคล่อง และวิกฤติสินเชื่อด้อยคุณภาพประเภท Subprime ที่ยังคงไม่สิ้นสุดในขณะนี้ ทำให้ภาวะเศรษฐกิจสหรัฐถดถอยมากที่สุดนับตั้งแต่ในปี 2545 หรือในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส ยังมองว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ จะค่อยๆเห็นสัญญาณควบคู่กันไปจนกระทั่งถึงกลางปีหน้า โดยมีโอกาสถึง 75%

ดอกเบี้ย LIBOR ที่อังกฤษ พุ่งสูงสุดรอบกว่า 6 ปี

ภาวะวิกฤติสภาพคล่องในยุโรป ยังคงเกิดขึ้นต่อเนื่อง โดยสมาคมธนาคารแห่งอังกฤษ เปิดเผยว่า อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงกรุงลอนดอน (LIBOR) ซึ่งใช้กู้ยืมระหว่างธนาคารพาณิชย์ในยุโรป ไม่เพียงทำสถิติปรับพุ่งสูงขึ้นถึง 10 วันทำการติดต่อกัน แต่ยังเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมกราคมปี 2544 หรือในรอบกว่า 6 ปี อัตราดอกเบี้ยไลบอร์ จากสิ้นเดือนกรกฎาคมที่ระดับ 5.36% ทะยานขึ้นมาอยู่ที่ 5.72% เมื่อคืนที่ผ่านมาไม่เพียงเท่านั้น อัตราดอกเบี้ยระยะสั้น 3 เดือนของกลุ่ม EU ทะยานขึ้นแตะที่ระดับ 4.76% สูงสุดในรอบกว่า 6 ปี

แบงก์ชาติอังกฤษ เตรียมอัดฉีดเงินเข้าระบบ 13 กันยายนนี้

ธนาคารกลางอังกฤษ หรือบีโออี ยอมรับว่า อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงกรุงลอนดอน สำหรับเงินกู้ระหว่างธนาคารพาพณิชย์ หรือไลบอร์ มีอัตราที่สูงผิดปกติ และแบงก์ชาติอังกฤษ เตรียมอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบการเงินอังกฤษในวันที่ 13 กันยายนนี้ ด้วยมูลค่าสูงถึง 4.4 พันล้านปอนด์สเตอริง หรือราว 3.2 แสน ล้านบาท เพื่อลดต้นทุนการกู้ยืมระหว่างแบงก์พาณิชย์ที่พุ่งสูงขึ้นในรอบกว่า 6 ปี และล่าสุด ภายในวันนี้ ธนาคารกลางกลุ่มอียู ที่ใช้เงินเหรียญยูโรร่วมกันทั้ง 13 ประเทศ กล่าวว่า พร้อมจะเพิ่มสภาพคล่องในระบบอีกครั้ง

ธนาคารดอยช์แบงก์ ชี้ทุกแบงก์ต้องเปิดเผยความเสียหาย Subprime

นายโจเซฟ แอคเคอร์แมนน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หรือซีอีโอ ธนาคารดอยช์แบงก์ ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์ชั้นนำในเยอรมนี และของโลก เปิดเผยว่า นักลงทุนในตลาดเงิน และตลาดทุนทั่วโลก ขาดความเชื่อมั่นในอุตสาหกรรมธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินอื่นๆ สาเหตุจาก ไม่ทราบแน่ชัดว่า มูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้น รวมถึงยังมีธนาคารพาณิชย์อื่นๆอีกหรือไม่ ที่ยังไม่ได้เปิดเผยความเสียหายที่เกิดขึ้นจากวิกฤติสภาพคล่องในปัจจุบันว่ามีมูลค่าเท่าไหร่ ซีอีโอธนาคารดอยช์แบงก์ จึงเรียกร้องให้ สถาบันการเงินทุกแห่ง กล้าที่จะเปิดเผยมูลค่าเสียหายที่แท้จริงเร็วที่สุด
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mor ... fault.aspx
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news06/09/07

โพสต์ที่ 47

โพสต์

ดอยช์แบงก์ชี้วิกฤติ Subprime สหรัฐส่งผลต่อเศรษฐกิจจีนเพียงเล็กน้อย

ดอยช์แบงก์ เอจี เปิดเผยว่า เศรษฐกิจจีนยังคงขยายตัวแข็งแกร่งต่อไป แม้ว่าวิกฤตการณ์ Subprimeจะฉุดให้เศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัวลงก็ตาม "การขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีนจะชะลอตัวลงไปไม่ถึง 1% หากเศรษฐกิจสหรัฐถดถอยลง 1%" เศรษฐกิจจีนขยายตัว 11.5% ในช่วงเดือนมกราคม-มิถุนายน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน นอกจากนี้ เขากล่าวว่า หากตลาดหุ้นสหรัฐมีการปรับฐานครั้งใหญ่อีก อาจกระตุ้นให้หุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงร่วงลงในระยะสั้น แต่ผลประกอบการที่สดใส และสภาพคล่องที่เพียงพอ จะช่วยให้หุ้นที่ได้รับผลกระทบฟื้นตัวขึ้นอย่างรวดเร็วกว่าตลาดดาวรุ่งแห่งอื่นๆ แม้กระทั่งในกรณีของการปรับฐานครั้งใหญ่
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mor ... fault.aspx
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news07/09/07

โพสต์ที่ 48

โพสต์

ซับไพรมฉุดภาคอสังหาฯ ศก.สหรัฐชะลอตัวหนัก

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ ลอสแองเจลิส รายงานกลับมายังกระทรวงพาณิชย์ไทยถึงบทสรุปสถานการณ์เศรษฐกิจสหรัฐในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2007 และแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐในครึ่งปีหลังของปี 2007 ว่า real GDP ไตรมาสที่ 1 ขยายตัวร้อยละ 0.6 ไตรมาสที่ 2 ขยายตัวร้อยละ 3.4 การขยายตัวของ GDP เป็นผลมาจากการส่งออกที่กำลังดำเนินไปอย่างเข้มแข็ง ในขณะที่การนำเข้าและการใช้จ่ายของผู้บริโภคมีแนวโน้มลดลง
ส่วนอัตราว่างงานสหรัฐในเดือนกรกฎาคมอยู่ที่ร้อยละ 4.6 ราคาสินค้าอุปโภคบริโภค/ สินค้าบริการในตลาดการบริโภครวมสินค้าอาหารและพลังงาน ไตรมาสที่ 1 มีอัตราขยายตัวร้อยละ 3.8 ไตรมาสที่ 2 ร้อยละ 3.9 หากไม่รวมสินค้าอาหารและพลังงาน ไตรมาสที่ 1 อัตราขยายตัวร้อยละ 1.7 ไตรมาสที่ 2 อัตราขยายตัวร้อยละ 3.1

รายได้ส่วนบุคคลเพื่อการใช้จ่าย (real disposable income-current dollar) ไตรมาสที่ 1 ขยายตัวร้อยละ 5.9 ส่วนไตรมาสที่ 2 ลดลงร้อยละ 0.8

การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (real personal consumption expenditures) ไตรมาสที่ 1 ขยายตัวร้อยละ 3.7 (สินค้า durable goods ขยายตัวร้อยละ 8.8 non durable goods ขยายตัวร้อยละ 3) ไตรมาสที่ 2 ขยายตัวร้อยละ 1.3 (สินค้า durable goods ขยายตัวร้อยละ 3.7 nondurable goods ลดลง 0.8 เหลือร้อยละ 3)

การค้าระหว่างประเทศของสหรัฐ การส่งออกสินค้า/บริการ ไตรมาสที่ 1 ขยายตัวร้อยละ 1.1 ไตรมาสที่ 2 ขยายตัวร้อยละ 6.4 ส่วนการ นำเข้าสินค้า/บริการ ไตรมาสที่ 1 ขยายตัวร้อยละ 3.9 ไตรมาสที่ 2 ขยายตัวลดลงร้อยละ 2.6

อย่างไรก็ตามเงื่อนไขสำคัญที่จะส่งผลกระทบต่อสภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของสหรัฐในปัจจุบันก็คือ
 1) ความไม่มั่นคงของภาคอสังหาริมทรัพย์อันเป็นผลมาจากผู้บริโภคที่ซื้อบ้าน
ไปเมื่อครั้งตลาดอสังหาริมทรัพย์กำลังรุ่งเรือง หลายรายกำลังประสบปัญหาไม่สามารถผ่อนบ้านที่ซื้อไปได้ ในครึ่งปีแรกของปี 2007 ปรากฏมีบ้านถูกยึดเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 58 ประกอบกับภาคธุรกิจที่ให้เงินกู้ซื้อบ้านกำลังประสบปัญหาการขาดสภาพคล่องจนต้องปิดตัว

2) การชะลอตัวของผู้บริโภคสหรัฐอันเนื่องมาจากผลกระทบของความไม่มั่นคงของภาคอสังหาริมทรัพย์ ผู้บริโภคขาดรายได้ที่มาจากการขายหรือการนำอสังหาริมทรัพย์เข้าธนาคารเพื่อนำเงินกำไรจากมูลค่าบ้านออกมาใช้จ่าย เนื่องจากขายบ้านไม่ได้ หรือธนาคาร/สถาบันการเงินต่างๆ ลดการปล่อยกู้เพื่อการซื้อสินค้าราคาแพง รวมถึงการกู้ซื้อบ้าน/ซ่อมแซมบ้าน/กู้เพื่อ refinance อสังหาริมทรัพย์

นอกจากนี้ผู้บริโภคหลายรายกำลังประสบปัญหาไม่สามารถผ่อนบ้านได้และต้องปล่อยบ้านให้สถาบันที่ให้กู้ยึดบ้าน ทำให้สถาบันให้กู้เงิน (mortgage companies) หลายแห่งต้องปิดตัวลงเพราะไม่สามารถเก็บเงินจากผู้กู้ได้ เกิดการเลิกจ้างงานในภาคอสังหาริมทรัพย์

ส่วนสินค้าเชื้อเพลิง/สินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นและที่เป็นของฟุ่มเฟือยมีราคาเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง ราคาเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากนมเนยในตลาดมีราคาสูงขึ้นตามไปด้วย ทั้งหมดนี้บวกกับความไม่มั่นใจในสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและการเมืองของสหรัฐ

3) ความไม่มั่นคงของตลาดหุ้นและการที่ตลาดหุ้น "ปฏิเสธ" ที่จะปล่อยเงินกู้เข้าสู่สถาบันให้กู้เงินเพื่อซื้อบ้านนำไปประกอบธุรกิจ ทำให้สถาบันให้กู้เงินเพื่อซื้อบ้านหลายๆ รายต้องขาดสภาพคล่องและต้องปิดตัวลงในที่สุด

ทั้งหมดนี้ทำให้เห็นภาพของการชะลอตัว อย่างมากของเศรษฐกิจสหรัฐในปัจจุบัน และเนื่องจากสถานการณ์ที่แย่ของภาคอสังหาริม ทรัพย์ ซึ่งมีการคาดการณ์ว่า จะทรุดหนักลงไปเรื่อยๆ และอาจจะถึงขั้น "ล้มลง" ในอนาคตอันใกล้ ยิ่งมีความเป็นไปได้สูงว่า สภาวะเศรษฐกิจสหรัฐในครึ่งปีหลังของปี 2007 จะแย่ลงอีก
prachachart
http://www.matichon.co.th/prachachat/pr ... ionid=0203
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news08/09/07

โพสต์ที่ 49

โพสต์

วิกฤติสินเชื่อ Subprime ยังต่อเนื่อง ตัวเลขหนี้สูญบ้านพุ่งสูงกว่าคาด
--------------------------------------------------------------------------------
Posted on Friday, September 07, 2007
หนี้สูญบ้านสหรัฐไตรมาสที่ 2 พุ่งสูง

สมาคมธนาคารสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ สหรัฐ เปิดเผยว่า หนี้สูญในธุรกิจบ้านที่อยู่อาศัยทั้งประเทศ ในช่วงไตรมาสที่ 2 พุ่งขึ้นสูงกว่าที่คาดไว้มาก โดยขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 5.12% และเมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา ตัวเลขดังกล่าวยังเพิ่มสูงถึง 4.39% นอกจากนี้ สินเชื่อที่อยู่อาศัยในสหรัฐ ที่กำลังอยู่ในกระบวนการพิจารณาให้เป็นหนี้สูญ ในไตรมาสที่ 2 ปีนี้ เพิ่มขึ้นแตะ 0.65% จากในไตรมาสที่ 1 ที่ระดับ 0.58% สร้างสถิติทะยานขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในรอบ 55 ปีของสมาคมธนาคารสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ สหรัฐเป็นต้นมา

เฟด ชี้ ธนาคารในสหรัฐกู้เงินจากเฟดลดลง

ธนาคารกลางสหรัฐ หรือเฟด เปิดเผยว่า ธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินต่างๆในสหรัฐ ยังคงขอกู้ยืมเงินจากเฟดต่อเนื่อง แต่เริ่มมีสัญญาณลดลง โดยสิ้นสุดเมื่อคืนที่ผ่านมา มูลค่ากู้ยืมอยู่ที่ 1,100 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 3.74 หมื่นล้านบาท ซึ่งยังอยู่สูงกว่าเฉลี่ยในแต่ละสัปดาห์ที่ผ่านมา นอกจากนี้ ส่วนต่างเงินกู้ยืมระหว่างเฟด และธนาคารพาณิชย์ ลดลงจากในสัปดาห์ก่อนหน้านี้ราว 212 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 7,200 ล้านบาท ทั้งนี้ หลังจากเฟดตัดสินใจ ลดดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่างธนาคารมากถึง 0.5% ทำให้กู้ยืมสูงขึ้น

เลห์แมน ปลดพนักงาน 850 คน เป็นครั้งที่ 2 ใน 1 สัปดาห์

ธนาคาร เลห์แมน บราเธอร์ โฮลดิ้งส์ อินคอร์ปอเรชั่น ประกาศลดจำนวนพนักงานในธุรกิจสินเชื่อที่อยู่อาศัยลงอีก 850 คน นับเป็นการปรับลดครั้งที่ 2 ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา และสถาบันการเงินที่มีชื่อว่า เนชั่นแนล ซิตี้ คอร์ปอเรชั่น ซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 9 ในสหรัฐ สั่งลดจำนวนพนักงานลงมากถึง 1,300 คน หลังเผชิญวิกฤตสภาพคล่อง และสินเชื่อที่อยู่อาศัยตกต่ำอย่างหนักในรอบหลายปี กระทบต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ บริษัท คันทรี่ไวด์ ไฟแนนเชียล คอร์ปอเรชั่น ยักษ์ใหญ่สินเชื่อบ้านในสหรัฐ แจ้งปลดพนักงาน 900 คน

เฟด สาขาดัลลัส ชี้ ภาวะเงินเฟ้อเหมาะสม

นายริชชาร์ด ฟิชเชอร์ ผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐ หรือเฟด สาขาดัลลัส และยังเป็น 1 ในคณะกรรมการนโยบายการเงินของเฟด กล่าวว่า เงินเฟ้อของสหรัฐอยู่ในทิศทางที่เหมาะสม และปัจจัยพื้นฐานที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เช่น ภาคอุตสาหกรรม และการส่งออกที่ยังแข็งแกร่ง ทำให้ยังไม่เป็นความชัดเจน หรือความจำเป็น ที่เศรษฐกิจสหรัฐ ต้องอาศัยการปรับลดดอกเบี้ยระยะสั้นลง เพียงเพราะเกิดวิกฤติสภาพคล่องในระบบ และยังย้ำต่อเนื่องว่า วิกฤติที่เกิดขึ้นในขณะนี้ อยู่ที่สินเชื่อบ้านที่อยู่อาศัย ไม่ใช่วิกฤติเศรษฐกิจในภาพรวม

แรนดัล ครอสเนอร์ ผู้ว่าเฟด ชี้ หนี้เสียพุ่ง กระทบการซื้อบ้าน

นาย แรนดัล ครอสเนอร์ หนึ่งในผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐ หรือเฟด ชี้แจงว่า ภาวะหนี้สูญของสินเชื่อ อสังหาหริมทรัพย์ที่พุ่งสูงขึ้นมาก ส่งผลกระทบต่อความต้องการซื้อหาบ้านที่อยู่อาศัยของคนอเมริกัน และอาจส่งผลกระทบต่อเนื่อง ถึงการขยายตัวทางเศรษฐกิจสหรัฐในภาพรวม นอกจากนี้ ความกดดันด้านการเงิน ไม่เพียงส่งผลกระทบต่อตลาดสินเชื่อบ้านที่อยู่อาศัย แต่เริ่มเห็นสัญญาณที่วิกฤติดังกล่าว อาจขยายวงกว้างเพิ่มขึ้น นาย แรนดัล ครอสเนอร์ กล่าวยืนยันว่า เฟดให้ความสำคัญ และติดตามเฝ้าระวังวิกฤตสภาพคล่องตลอดเวลา

เฟด สาขาแอตแลนต้า ชี้ อสังหาริมทรัพย์ซบเซาปีหน้า

นาย เดนนิส ล๊อคฮาร์ด ผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐ หรือเฟด สาขาแอตแลนต้า แต่ไม่ได้เป็นกรรมการ ในคณะกรรมการนโยบายการเงิน กล่าวว่า จนถึงขณะนี้ ยังไม่มีสัญญาณที่ชัดเจนว่า วิกฤติสภาพคล่องดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจสหรัฐในภาพรวมหรือไม่ พร้อมย้ำว่า เฟด ไม่มีหน้าที่ และไม่ต้องรับผิดชอบต่อความปั่นป่วนของราคาหุ้น ที่กำลังปรับลดค่าความเสี่ยง และย้ำว่า เฟด จะไม่ให้เศรษฐกิจสหรัฐ ต้องเข้าสู่ภาวะถดถอยอย่างที่คาดกันไว้ อย่างไรก็ตาม ภาวะอสังหาริมทรัพย์สหรัฐ อาจซบเซาต่อเนื่องถึงปีหน้า

แบงก์ชาติอังกฤษ และยุโรป ตรึงดอกเบี้ยระยะสั้นต่อเนื่อง

ธนาคารกลางอังกฤษ และธนาคารกลางกลุ่มสหภาพยุโรป ที่ร่วมกันใช้สกุลเงินเหรียญยูโรทั้ง 13 ชาติสมาชิก หรือเรียกว่า ECB ตัดสินใจไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นเมื่อวานนี้ โดยยังคงไว้ที่ 5.75% และ 4% ตามลำดับ โดยนาย ฌอง คล๊อด ทริเช่ต์ ประธาน ECB กล่าวว่า ภาวะปั่นป่วนในตลาดเงิน และปัจจัยเสี่ยงด้านอื่นที่ยังคงมีอยู่มาก ทำให้ต้องรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลอย่างรอบคอบ ก่อนตัดสินใจเกี่ยวกับทิศทางนโยบายการเงิน อย่างไรก็ตาม ECB ตัดสินใจอัดฉีดสภาพคล่องเข้าระบบการเงินยุโรปเมื่อวานนี้ อีก 1.9 ล้านล้านบาท

ประธานแบงก์ชาติยุโรป ลดเป้าจีดีพีปีนี้ เหตุจากวิกฤตการเงิน

นาย ฌอง คล๊อด ทริเช่ต์ ประธาน ECB ตัดสินใจปรับลดเป้าหมาย การขยายตัวทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศสมาชิกเหรียญยูโรลงเล็กน้อย จากระดับเดิมที่คาดไว้ว่าปีนี้จะขยายตัวถึง 2.6% ลงมาเหลือเพียง 2.5% อย่างไรก็ตาม ECB ยังเป้าหมายขยายตัวเศรษฐกิจกลุ่มอังกล่าวไว้ที่ระดับเดิมที่ 2.3% โดยประธาน ECB กล่าวว่า การปรับลดในครั้งนี้ เกิดขึ้นอยู่ในช่วงวิกฤติสภาพคล่องทั่วโลก โดยเฉพาะที่สหรัฐ ที่อาจส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อของประชาชน จากการตัดสินใจดังกล่าว ทำให้เกิดการคาดการณ์ว่า โอกาสปรับขึ้นดอกเบี้ยกลุ่ม EUเป็นไปได้ยาก

ทองคำพุ่งทะลุ 700 เหรียญ เหตุกังวลเศรษฐกิจสหรัฐชะลอ

วิกฤติสภาพคล่อง เศรษฐกิจสหรัฐอาจมีโอกาสเข้าสู่ช่วงถดถอย และโอกาสปรับลดดอกเบี้ยระยะสั้นของเฟดลงในการประชุมที่กำลังจะมีขึ้นในวันที่ 18 เดือนนี้ กลายเป็น 3 ปัจจัยสำคัญที่นักค้าทองคำในตลาดสำคัญทั่วโลกให้น้ำหนักมากที่สุด ส่งผลให้ตลาดค้าทองคำมีการซื้อขายที่คึกคักมากขึ้น ล่าสุด ราคาทองคำตลาดนิวยอร์ก สหรัฐ ปิดตลาดเมื่อคืนที่ผ่านมา ทะลุระดับ 700 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกใน 16 เดือน หรือนับตั้งแต่วันที่ 12 พฤษภาคม ปี 2549 ที่ผ่านมา โดยมีราคาทะยานสูงขึ้นเมื่อคืนนี้มากถึง 2%

โอเปก ประชุมวันนี้ ชี้ อาจกลับลำ เพิ่มการผลิตปลายปี

นาย โมฮัมหมัด อัล แฮมลี่ ประธานกลุ่มโอเปก และรัฐมนตรีน้ำมันประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรต  ชี้แจงว่า ตลาดน้ำมันดิบสำคัญทั่วโลก อยู่ในภาวะสมดุลระหว่างความต้องการใช้ และกำลังการผลิต และยืนยันว่า ไม่มีการขาดแคลนน้ำมันดิบแต่อย่างใด ขณะที่เจ้าหน้าที่ระดับสูงของกลุ่มโอเปก กล่าวว่า ราคาน้ำมันดิบที่กำลังพุ่งเข้าใกล้ราคาสูงสุดเป็นประวัติการณ์นั้น มาจากกำลังการกลั่นน้ำมันสำเร็จรูปที่ตึงตัว ล่าสุด อาจเป็นไปได้ ที่กลุ่มโอเปก อาจกลับลำเพิ่มการผลิตอีกวันละ 1 ล้านบาร์เรลในช่วงปลายปีนี้
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mor ... fault.aspx
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news08/09/07

โพสต์ที่ 50

โพสต์

ธ.กลางออสเตรเลียเตรียมอัดฉีดเงินสดกระตุ้นสภาพคล่อง 1.09 พันล้านดอลลาร์

ธนาคารกลางออสเตรเลียรายงานว่า ธนาคารจะอัดฉีดเงินสดเข้าสู่ตลาดเงินจำนวน 1.09 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย เพื่อกระตุ้นสภาพคล่อง และแก้ปัญหาขาดดุลในตลาดเงินของประเทศ นอกจากนี้ ธนาคารยังได้ตัดสินใจขยายการออกตราสารหนี้สำหรับการซื้อขายในตลาดซื้อคืน ซึ่งเป็นที่ขายหลักทรัพย์โดยให้สัญญาว่าซื้อคืนหลักทรัพย์ดังกล่าวหลังจากนั้นตามเวลาที่กำหนด ด้านคาเรน ฮาวเค็ทท์ นักเศรษฐศาสตร์จากสโตน แอนด์ แม็กคาร์ธี กล่าวว่า การขยายการออกตราสารหนี้ของธนาคารกลางออสเตรเลียนั้นเป็นการดำเนินงานเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนว่าธนาคารจะสามารถเพิ่มสภาพคล่องชั่วคราวได้นานขึ้น
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mor ... fault.aspx
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news10/09/07

โพสต์ที่ 51

โพสต์

พิษ Subprime สะเทือนตลาดทุนโลก !!
--------------------------------------------------------------------------------
Posted on Monday, September 10, 2007
Subprime : ตลาดเงินกู้ยืมที่ให้ผลตอบแทนสูง-ความเสี่ยงสูง

Subprime Loan เป็นสินเชื่อประเภทหนึ่งของสหรัฐฯ ที่ให้เงินกู้กับผู้ขอสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์มากกว่าหรือเท่ากับมูลค่าของหลักทรัพย์ จากปกติจะให้สินเชื่อประมาณ 80% ของมูลค่าหลักทรัพย์เท่านั้น นอกจากนี้ถ้าราคาอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้น ผู้ขอสินเชื่อก็สามารถขอวงเงินกู้เพิ่มเติมตามราคาหลักทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นมาได้

ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา สินเชื่อ Subprime ได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว เนื่องจากราคาอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐฯ เพิ่มสูงขึ้นมาก แต่ขณะนี้ราคาอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐฯ ปรับตัวลดลง ทำให้ธนาคารพาณิชย์ของสหรัฐฯ ต้องการเงินกู้คืนเพื่อป้องกันความเสี่ยง เมื่อผู้ขอสินเชื่อไม่มีเงินมาชำระ จึงกลายเป็นสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL)

บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ออกบทวิเคราะห์ต่อประเด็นเรื่อง Subprime ไว้ว่าในตลาดเงินกู้ยืมของ Subprime หรืออาจเรียกว่า Second Change Lending ในภาพรวมหมายถึงธุรกรรมการกู้ยืมให้สำหรับผู้กู้ที่ไม่มีคุณสมบัติผ่านเกณฑ์การกู้ยืมในตลาด Prime (ตลาดเงินกู้สำหรับลูกหนี้ชั้นดีที่มีอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในระดับปกติ) หรือเป็นผู้ที่มีปัญหาในประวัติทางการเงินหรือเครดิตต่ำ

ตลาด Subprimeในธุรกิจสินเชื่อจึงมีความเสี่ยงที่สูงกว่า แต่ก็ให้อัตราผลตอบแทนแก่ผู้ให้กู้ในอัตราที่สูงกว่าตลาด Prime เช่นกัน โดยผู้กู้จะใช้ Subprime Mortgage หรือประเภทสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน ปัญหาที่เกิดขึ้นคือเมื่อผู้กู้เกิดปัญหาในการชำระหนี้ ส่งผลให้ผู้ให้กู้จำเป็นต้องประกาศชำระหนี้ของตนเอง โดยมีความต้องการที่จะชดใช้หนี้ด้วยการประกาศขายสินทรัพย์ที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ในราคาที่ถูกกว่าราคาตลาด ทำให้มูลค่าหรือราคาอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวมีมูลค่าลดลงหรือต่ำกว่าราคาตลาด

ปัญหานี้เริ่มเกิดขึ้นในตลาดที่อยู่อาศัยของสหรัฐฯ โดยฟองสบู่ของธุรกิจเกิดขึ้นในช่วงปี 2544-2548 ในแคลิฟอร์เนีย ฟลอริด้า นิวยอร์ค ซึ่งมีการปล่อยกู้สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ที่ด้อยมาตรฐาน ด้วยการประเมินมูลค่าอสังหาฯ สูงเกินมูลค่าจริง โดยอ้างอิงถึงมูลค่าที่เพิ่มขึ้นในอนาคตเป็นเกณฑ์การให้สินเชื่อ และเมื่ออัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์จากจุดที่ใช้ประเมินมูลค่า ผู้กู้ไม่มีความสามารถในการชำระหนี้ Subprime ทำให้มูลค่าสินทรัพย์ที่ใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันนั้นถดถอยลงไปอีก จึงเกิดการปรับฐานของมูลค่าสินทรัพย์ครั้งสำคัญขึ้นในปี 2548

ผลกระทบจากมูลค่าสินทรัพย์ที่ลดลงในครั้งนั้น ได้ส่งผลถึงตลาดที่อยู่อาศัยของสหรัฐฯ ผู้ประกอบการที่อยู่อาศัย ผู้ประกอบการวัสดุก่อสร้าง ตลอดจนกองทุนเฮดจ์ฟันด์ในตลาดหุ้นวอลล์สตรีท ซึ่งถือหุ้นโดยนักลงทุนสถาบันรายใหญ่ต่างๆ และท้ายสุดคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อการถดถอยของเศรษฐกิจในสหรัฐฯ ด้วย

CDO ตราสารหนี้เจ้าปัญหา

Collateralized Debt Obligation (CDO) หรือ ตราสารหนี้ที่มีสินทรัพย์เป็นหลักประกัน เป็นหนึ่งในตราสารทางการเงินอนุพันธ์ที่ใช้หลักทรัพย์อ้างอิงคือ หนี้ ที่มีสินทรัพย์คือ สัญญาที่เป็นข้อตกลงระหว่าง ผู้ซื้อ และ ผู้ขาย โดยสินเชื่อที่ใช้อ้างอิง คือบัญชีลูกหนี้ หรือข้อตกลงการรับประกันความเสี่ยงด้านเครดิต (อันดับความน่าเชื่อถือ) ซึ่งมีหลายประเภท เช่นพอร์ตสินเชื่อรถยนต์ และอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น

ในกรณีนี้จะกล่าวถึงเฉพาะการลงทุนในตลาดสินเชื่อที่อยู่อาศัยของลูกหนี้ที่มีความน่าเชื่อถือต่ำ ซึ่งก็คือ Subprime Mortgage Loan หรือ CDO ตราสารหนี้ประเภท Subprime มาใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันโดยมีวันกำหนดการหมดอายุ

CDO เป็นหนึ่งในตราสารหนี้อนุพันธ์ที่ใช้ลงทุนและบริหารสถานะทางการเงิน ผู้ลงทุนคือสถาบันการเงิน เฮดจ์ฟันด์ หรือนักลงทุนสถาบัน โดยผู้ลงทุนจะเป็นผู้รับความเสี่ยงบนอันดับเครดิตที่น่าเชื่อถือของ CDO ซึ่งจะมีการจัดอันดับเครดิตและความน่าเชื่อถือโดยสถาบันการจัดอันดับเช่น Moodys, Fitch, และ Standard&Poors ผลตอบแทนการลงทุนคืออัตราดอกเบี้ยที่ใช้อ้างอิงกับอัตราดอกเบี้ยของตลาด Subprime

ความเชื่อมโยงจาก Subprime ที่ทำให้ CDO กลายเป็นตราสารหนี้เจ้าปัญหา คุณอุสรา วิไลพิชญ์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) ให้สัมภาษณ์ว่า เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ของสหรัฐฯ มีการออกตราสารหนี้ประเภท CDO โดยนำสินเชื่อ Subprime เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน เมื่อราคาอสังหาริมทรัพย์ลดลง ก็มีผลให้มูลค่าของ CDO ลดลงตามไปด้วย และมีผลกระทบต่อเนื่องไปถึงผู้ที่ลงทุนใน CDO ซึ่งมีอยู่ทั่วโลก

สาเหตุที่นักลงทุนนิยมเข้าไปลงทุนใน CDO เนื่องจากเป็นการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูง โดย CDO ที่มีอันดับเครดิตต่ำบางประเภท ให้ผลตอบแทนสูงถึง 10% ส่วน CDO ที่มีอันดับเครดิตที่ดี อัตราผลตอบแทนก็จะลดลงมา แต่ปัญหาของการลงทุนใน CDO คือ มีความเสี่ยงค่อนข้างสูง มีสภาพคล่องน้อย และไม่มีตลาดมารองรับในช่วงที่ผู้ถือหน่วยลงทุนต้องการขาย ทำให้ธนาคารพาณิชย์และกองทุนที่ลงทุนใน CDO ต้องนำเงินทุนมารับซื้อหน่วยลงทุนคืน

ผลกระทบที่เกิดขึ้นคือ เมื่อธนาคารพาณิชย์และกองทุนที่ลงทุนใน CDO มีสภาพคล่องไม่มากพอ อาจจะมีความจำเป็นต้องขายสินทรัพย์ที่ไปลงทุนไว้ทั่วโลก ซึ่งหุ้นก็เป็นสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูง และให้ผลตอบแทนที่ดี จึงอาจจะทำให้เกิดการถอนการลงทุนจากตลาดหุ้นทั่วโลกได้

คุณอุสราบอกว่า ปัญหาสินเชื่อ Subprime สามารถแก้ไขได้ ถ้าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ลดอัตราดอกเบี้ยลง เพราะจะทำให้ประชาชนรู้สึกว่าปัญหาได้ถึงจุดต่ำสุดแล้ว และกล้าที่จะลงทุนอีกครั้ง ส่วนการที่ธนาคารกลางของประเทศต่าง ๆ ได้อัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบไปแล้วนั้น ก็จะช่วยได้เฉพาะธนาคารของแต่ละประเทศเท่านั้น

BNP Paribas ปิด 3 กองทุนใน US Subprime Mortgage รวม 2.01 พันล้าน

ความวิตกกังวลเกี่ยวกับปัญหาหนี้เสียในตลาด Subprime อสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐฯ ส่งผลให้กองทุน BNP Paribas ซึ่งเป็นหนึ่งในกองทุนชั้นนำของฝรั่งเศสและของทวีปยุโรปประกาศปิดกองทุนสามกองเป็นการชั่วคราว เพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายมากยิ่งขึ้น หากนักลงทุนมีการไถ่ถอนเงินลงทุนในกองทุนพร้อมกัน โดยมูลค่ากองทุน 2.01 พันล้านยูโร ลดลง 21% เหลือ 1.6 พันล้านยูโรก่อนที่จะทำการปิดกองทุน ซึ่งได้รวม Subprime (อันดับเครดิต AA หรือสูงกว่า) จำนวน 700 ล้านยูโรไว้ด้วย เนื่องจากยังไม่สามารถประเมินถึงมูลค่าเหมาะสมของหน่วยลงทุนในกองทุนของ Subprime นี้ ส่งผลให้ธนาคารกลางของยุโรปปล่อยเงินกู้เร่งด่วนเพื่อช่วยเหลือมูลค่ารวม 130.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อธนาคารต่างๆ ในยุโรป เพื่อดำรงรักษาอัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ยให้มีเสถียรภาพเพื่อกั้นการไหลออกของเม็ดเงินโดยอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมข้ามคืนที่ 4.7% ซึ่งยังสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางยุโรป หรือ ECB ที่ 4% เนื่องจากหากอัตราดอกเบี้ยลดต่ำลง จะทำให้เกิดผลกระทบมากยิ่งขึ้น

เชื่อมั่น วิกฤติ Subprime ส่งผลกระทบในช่วงสั้น ๆ

คุณไพบูลย์ นลินทรางกูร กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ ทิสโก้ จำกัด ให้สัมภาษณ์ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ หลายคนอาจยังไม่แน่ใจว่าจะลุกลามไปมากน้อยขนาดไหน แต่สิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว และกระทบกับตลาดหุ้นคือความกลัวที่ไม่แน่ใจว่าจะประเมินผลกระทบของปัญหานี้อย่างไร จนทำให้เกิดแรงเทขายออกมาค่อนข้างมาก

กองทุน 3 กองของ BNP Paribas ที่ต้องปิดไปนั้น เป็นเพราะว่า มีการถอนเงินคืนตลอดเวลา ซึ่งเมื่อเงินถูกถอนออกไปมาก ก็ต้องนำสินทรัพย์ที่มีไปขายในตลาดเพื่อที่จะนำเงินมาคืนเจ้าของหรือผู้ถือหน่วย ซึ่งสินทรัพย์ส่วนใหญ่ก็เป็น CDO แต่เมื่อตลาด CDO วอดวายไปหมดแล้วจึงไม่มีใครอยากรับซื้อ CDO หรือหากกองทุนตัดใจขายออกไปก็คงได้ราคาที่ไม่สมเหตุสมผล หรือถูกกดราคาลงมา BNP Paribas จึงตัดสินใจว่าจะหยุดการขายสินทรัพย์เหล่านี้ไว้ชั่วคราวก่อน และก็ทำให้ตลาดหุ้น Panic ตามไปเพราะกลัวว่าจะมีปัญหาเรื่องสภาพคล่อง

หากมองกันจริงๆ แล้ว ขนาดของ Subprime ก็ไม่ได้ใหญ่มากนัก คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 15% ของตลาดสินเชื่อที่อยู่อาศัย ในขณะที่ตลาด Prime หรือตลาดสินเชื่อสำหรับผู้กู้ที่มีฐานะดี มีสัดส่วนถึง 75% และแม้ว่าหลังจาก Securitized แล้วในแง่ปริมาณอาจจะเห็นว่าเยอะ คือประมาณ 7 แสนล้านเหรียญสหรัฐ แต่หากเทียบกับขนาดของเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกาทั้งหมดซึ่งอยู่ที่ประมาณ 13 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ Subprime ก็มีสัดส่วนเพียงประมาณ 5% ของจีดีพีเท่านั้นเอง

ไพบูลย์อธิบายต่อว่า จากตัวเลขที่กล่าวมาข้างต้น หากมองว่าเป็นการคาดการณ์ในสัดส่วนที่มากที่สุดที่จะเป็นไปได้แล้วก็ถือว่ามีปริมาณไม่มาก ถ้าเทียบกับจีดีพีของสหรัฐทั้งหมด และคงไม่มากพอที่จะก่อให้เศรษฐกิจของสหรัฐฯ เข้าสู่ภาวะถดถอยอย่างที่ทุกคนกลัว

อย่างไรก็ตาม ปัญหา CDO ยังมีทางออก เนื่องจากยังมีสินทรัพย์ที่เป็นหลักประกันนั่นคือบ้าน ซึ่งคล้ายกับสินเชื่อที่อยู่อาศัยทั่วไป ซึ่งหากไม่สามารถผ่อนชำระได้ธนาคารก็จะยึดแล้วไปขายทอดตลาด ความเสี่ยงคงไม่ถึงกับเป็นศูนย์

ประกอบกับในตลาด Prime ซึ่งเป็นสัดส่วนใหญ่ของตลาดสินเชื่อที่อยู่อาศัยของสหรัฐฯ มีเปอร์เซ็นต์การเป็น NPL น้อยมาก เพียง 2-3% เท่านั้น ซึ่งปัญหาที่เกิดจากลูกหนี้ชั้นดียังไม่มี และลูกหนี้ชั้นดีเหล่านี้ซึ่งถือว่าเป็นผู้บริโภคหลัก ก็ยังมีรายได้ที่ดีและมีกำลังผ่อนชำระเงินกู้ได้อยู่ การจ้างงานก็ยังคงดีอยู่ สิ่งที่เกิดขึ้นช่วงนี้ จึงเป็นความกังวลมากกว่า

Subprime ผลกระทบต่อตลาดทุนไทย

กรรมการผู้จัดการ บล.ทิสโก้บอกว่าสำหรับประเทศไทย แม้ว่าจะไม่มีปัญหาทางตรง แต่ก็ต้องยอมรับว่านักลงทุนต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นก็ถือเป็นสัดส่วนถึง 40-50% ของมูลค่าซื้อขาย เมื่อปรับพอร์ตการลงทุนก็จะปรับทั้งภูมิภาค และไทยก็หนีไม่พ้นที่จะต้องได้รับผลกระทบไปด้วย ฉะนั้นคำแนะนำสำหรับนักลงทุน คือเราต้องมองภาพระยะยาวพอ โดยให้มองที่ปัจจัยพื้นฐานว่าอะไรที่จะเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

ทั้งนี้ บล.ทิสโก้ คงยังไม่มีการปรับประมาณการใดๆ และยังคิดว่าในปีหน้าดัชนีตลาดหลักทรัพย์จะขึ้นไปแตะที่ 1,000 จุดได้ ซึ่งมาจากสมมุติฐานที่ ต้องมีการเลือกตั้งเกิดขึ้น มีรัฐบาลใหม่ที่มีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างจริงจัง และกำไรของบริษัทจดทะเบียนจะฟื้นตัวขึ้น ซึ่งหากมอง 3 ปัจจัยนี้แล้ว การประมาณการของบล.ทิสโก้ก็ยังคงมีโอกาสเป็นไปได้

ธนาคารพาณิชย์ไทยที่ลงทุนใน CDO

CDO เป็นหนึ่งในหลายๆ ช่องทางการลงทุนของสถาบันการเงินที่เลือกใช้ในการบริหารสภาพคล่อง ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. ได้เริ่มอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ไทยลงทุนใน CDO ตั้งแต่ปลายปี 2547 เนื่องจากเป็นตราสารรูปแบบใหม่ โดยธปท. มีข้อกำหนดที่ชัดเจนถึงการลงทุนว่า ผู้ลงทุนต้องสามารถบริหารความเสี่ยง มีระบบติดตามควบคุมได้ ต้องจัดทำรายงานให้ธปท. รวมถึงต้องมีคณะกรรมการของธนาคารพาณิชย์ดูแลการลงทุนและการลงทุนจะทำได้เฉพาะตราสารที่มีการจัดอันดับว่าสามารถลงทุนได้ หรือ Investment Grade และเรทติ้งต้องเป็นอันดับ BBB ขึ้นไป

ธปท. รายงานว่าธนาคารพาณิชย์ไทย 4 แห่ง มีการลงทุนใน CDO (ทุกประเภท) รวม 715 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 2.36 หมื่นล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนเงินลงทุนราว 0.6% ของเงินลงทุนรวมของ 4 ธนาคาร ซึ่งในส่วนนี้เป็นการลงทุนใน Subprime ประเภทอสังหาริมทรัพย์มีไม่ถึง 0.1% ซึ่งหมายความถึงความเสี่ยงและปัญหาที่เกิดขึ้นของ Subprime ในตลาดต่างประเทศนั้น ส่งผลกระทบน้อยต่อธนาคารพาณิชย์ไทย เนื่องจากยังมีมูลค่าต่ำ การตั้งสำรองหนี้ของ 4 ธนาคารในส่วน Subprime นั้นคงยังไม่มีนัยสำคัญ และยังสามารถรองรับด้วยการตั้งสำรองไว้ตามเกณฑ์ IAS 39 และไม่กระทบต่อภาคธุรกิจธนาคารพาณิชย์ไทยโดยรวม

ธนาคารพาณิชย์ไทยที่ลงทุนใน CDO และ Subprime
ธนาคาร                           มูลค่าเงินลงทุนใน CDOการลงทุนใน Subprime

ธ.กรุงเทพ                                         50 ล้าน สรอ.ไม่มี Subprime ประเภทอสังหาริมทรัพย์

ธ.กรุงไทย                                       160 ล้าน สรอ.ไม่มี Subprime ประเภทอสังหาริมทรัพย์

ธ.กรุงศรีอยุธยา                                100 ล้าน สรอ.ไม่มี Subprime ประเภทอสังหาริมทรัพย์

ธ.ไทยธนาคาร                                       400 ล้าน สรอ. (รวม 14 รายการ)มีการลงทุนใน Subprime มูลค่า 50 ล้าน สรอ.

ที่มา: จากการรวบรวมของนิตยสาร M&W
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Tra ... fault.aspx
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news10/09/07

โพสต์ที่ 52

โพสต์

การจ้างงานในสหรัฐฯต่ำสุดในรอบ 4 ปี เงินดอลลาร์อ่อนค่าลงต่ำสุดในรอบ 15 ปี
--------------------------------------------------------------------------------
Posted on Monday, September 10, 2007
ไอเอ็มเอฟ ชี้ วิกฤตสภาพคล่อง เป็นวิกฤตการเงินแท้จริง

นายโรดริโก้ ราโต้ กรรมการผู้จัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) กล่าวว่า การปรับลดลงอย่างหนักของราคาหุ้น และตัวเลขทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องในสหรัฐ สะท้อนให้เห็นถึง ภาวะการปรับลดต้นทุนความเสี่ยงทางการเงิน ที่สูงเกินความเป็นจริงในช่วงที่ผ่านมา แม้จะต้องสร้างความเจ็บปวดในระยะสั้น แต่ในระยะกลางแล้ว ตลาดเงินจะกลับมาแข็งแกร่งมากขึ้นกรรมการผู้จัดการไอเอ็มเอฟ กล่าวต่อไปว่า ภาวะที่เกิดขึ้นกับตลาดเงินในทุกวันนี้ เป็นวิกฤติอย่างแท้จริง ซึ่งยังปกคลุมด้วยความไม่แน่นอนที่มีอยู่สูงในตลาดเงิน

ไอเอ็มเอฟ แนะ ควรทบทวนการตรวจสอบบัญชีเตือนประ เทศเกิดใหม่

โรดริโก้ ราโต้ ซึ่งกำลังจะก้าวลงจากตำแหน่งกรรมการผู้จัดการไอเอ็มเอฟในเดือนตุลาคมที่จะถึงนี้ เสนอว่า การแก้ไขวิกฤติสภาพคล่องที่เกิดขึ้น คือ บรรดาผู้กำกับดูแลด้านการเงิน ควรจะทบทวนขอบเขตการตรวจสอบฐานะทางบัญชี และการเงิน ที่ไม่ได้บันทึกในทางบัญชี เนื่องจากโครงสร้าง และกฎเกณฑ์ทางการบัญชีในปัจจุบัน กรรมการผู้จัดการไอเอ็มเอฟ กล่าวเตือนประเทศเกิดใหม่ ที่ต้องพึ่งเงินทุนต่างชาติในการลงทุนว่า ควรเตรียมตัวให้พร้อมเสมอ หากเงินทุนต่างชาติเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญจากวิกฤติสภาพคล่อง

อลัน กรีนสแปน ชี้ แบงก์จะไม่ปล่อยกู้ จนกว่าความเสียหายชัดเจน

นายอลัน กรีนสแปน อดีตประธานธนาคารกลางสหรัฐ หรือเฟด  กล่าวเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาว่า วิกฤติสภาพคล่องที่เกิดขึ้นในทุกวันนี้ คล้ายกับในอดีตที่เกิดขึ้นกับกรณีตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก และทั่วโลก เกิดทรุดตัวลงอย่างหนักหน่วงในปี 2530 หรือเมื่อปี 20 ปีที่ผ่านมา และการล้มละลายของกองทุน Long-Term Capital Management หรือ LTCM ในปี 2531 หรือเมื่อ 9 ปีที่ผ่านมา อดีตประธานเฟด ชี้ว่า ความกังวลที่เกิดขึ้นทั้งหมดมากจากความกลัวของนักลงทุน และสถาบันการเงิน จะไม่ยอมปล่อยสินเชื่อไปจนกระทั่งความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินเชื่อมีความชัดเจนมากกว่านี้

รัฐมนตรีคลังสหรัฐเชื่อต้องใช้เวลาอีกสักพัก ฟื้นความเชื่อมั่น

นายเฮนรี่ พอลสัน รัฐมนตรีคลังสหรัฐ กล่าวในทำนองเดียวกันว่า ภาวะวิกฤติการเงินที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงกว่า 7 สัปดาห์ที่ผ่านมานั้น มีลักษณะคล้าย หรือใกล้เคียงกับวิกฤติการเงินที่เกิดขึ้นในอดีตของสหรัฐ ที่สุด อาจทำให้ต้องใช้เวลาอีกระยหนึ่ง เพื่อดึงความเชื่อมั่น หรือความมั่นใจของตลาดการเงิน และนักลงทุนกลับคืนมา นายเฮนรี่ พอลสัน กล่าวว่า ขณะนี้ทางการกำลังติดตาม และประเมินภาวะการณ์ที่เกิดขึ้นจากสภาพคล่องที่ก่อนหน้านี้มีมากจนเกินไป รวมถึงกฎเกณฑ์ในการพิจารณาปล่อยสินเชื่อที่ไม่มีวินัยก่อนนี้

โกลด์แมน แซ็ค เชื่อ เศรษฐกิจสหรัฐต่ำกว่า 2%

นายจิม โอนีล หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์สถาบันการเงินชื่อดังของสหรัฐ และของโลก จากบริษัท โกลด์แมน แซ็ค เปิดเผยว่า เศรษฐกิจสหรัฐมีโอกาสสูงมากขึ้น ที่จะขยายตัวในช่วง 6 เดือนนับจากนี้ไปต่ำกว่าระดับ 2% ซึ่งสอดคล้องกับ โออีซีดี ที่ปรับลดจีดีพีสหรัฐในปีนี้ ลงต่ำกว่า 2% และยังกล่าวเพิ่มว่า สิ่งที่เฟดต้องรีบทำ คือ การสร้างความมั่นใจว่า วิกฤติสภาพคล่องจะไม่เลวร้ายมากไปกว่านี้ ซึ่งอาจฉุดให้อสังหาริมทรัพย์สหรัฐเข้าสู่ภาวะฝืดอย่างหนัก เหมือนอย่างที่เคยเกิดขึ้นกับวิกฤติวงการอสังหาริมทรัพย์ของญี่ปุ่นช่วงปี 1980

อดีตหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ ไอเอ็มเอฟ ชี้ ศ.ก.สหรัฐถดถอย 25 30%

ด้านนายเคน โรก๊อฟฟ์ อดีตหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มเอฟ กล่าวว่า ขณะนี้ โลก กำลังประสบกับวิกฤตการเงินในยุคการเงินแบบใหม่ ซึ่งไม่สามารถจะคาดการณ์มูลค่าความเสียหายที่แท้จริงได้อย่างชัดเจน เนื่องจาก ความซับซ้อนของระบบการเงินเมื่อเทียบกับในอดีต และวิกฤติที่เกิดขึ้นเป็นปัญหาใหม่ให้กับหน่วยงานที่มีอำนาจในการบริหารนโยบายการเงิน อดีตหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ไอเอ็มเอฟ ชี้ ความเสี่ยงที่เศรษฐกิจสหรัฐจะถดถอยใน 1 ปีข้างหน้าอยู่ที่ 25 30% จาก 10 15%

เฟด สาขาฟิลาเดลเฟีย ชี้ จ้างงานต่ำสุดรอบ 4 ปี ยังไม่จูงใจลดดอกเบี้ย

นายชาร์ลส พลอสเซอร์ ผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐ หรือเฟด สาขาฟิลาเดลเฟีย ให้สัมภาษณ์เมื่อคืนที่ผ่านมาว่า แม้จะรู้สึกน่าประหลาดใจอย่างมาก เมื่อตัวเลขจ้างงานขาวอเมริกันในเดือนสิงหาคม ทรุดลงต่ำสุดในรอบ 4 ปี แต่ยังไม่มีจูงใจมากพอ ที่เฟดจะตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่งกับทิศทางดอกเบี้ยระยะสั้น เฟดต้องเพิ่มความระมัดระวัง ไม่ควรให้น้ำหนักมากเกินไปกับเพียงส่วนหนึ่งของตัวเลขเศรษฐกิจที่ปรากฎออกมา โดยส่วนตัวแล้ว นายชาร์ลส พลอสเซอร์ ยังไม่ได้ตัดสินใจใดกับความจำเป็นที่จะต้องลดดอกเบี้ยระยะสั้น

จ้างงานเดือนสิงหาคมในสหรัฐ ทรุดต่ำครั้งแรกรอบ 4 ปี

กระทรวงแรงงานสหรัฐ เปิดเผยว่า ตัวเลขการจ้างงานชาวอเมริกัน ในกลุ่มนอกภาคการเกษตรประจำเดือนสิงหาคม ทรุดลงมากถึง 4 พันตำแหน่ง กลายเป็นสถิติทรุดลงครั้งแรกในรอบ 4 ปีของสหรัฐ โดยมีการลดคนงานอเมริกันใน 3 กลุ่มหลัก คือ ภาคการผลิต ก่อสร้าง และ ภาคบริการ นอกจากนี้ กระทรวงแรงงานสหรัฐ ยังปรับลดตัวเลขการจ้างานในกลุ่มดังกล่าวประจำเดือนมิถุนายน และกรกฎาคมลงอีก 8 หมื่น 1 พันคน จากตัวเลขก่อนหน้านี้ ส่วนอัตราการว่างงานในสหรัฐ เดือนกรกฏาคม ยังคงทรงตัวอยู่ที่ระดับ 4.6%

คันทรี่ไวด์ ไฟแนนเชียล ปลดพนักงาน 12,000 คน

บริษัท คันทรี่ไวด์ ไฟแนนเชียล คอร์ปอเรชั่น ซึ่งเป็นสถาบันการเงินยักษ์ใหญ่ด้านสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ว่า บริษัทได้ตัดสินใจลดพนักงานในบริษัทลงมากถึง 1 หมื่น 2 พันคน สาเหตุจาก ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ตกต่ำอย่างต่อเนื่อง ตัวเลขหนี้สูญจากสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่พุ่งสูงมากขึ้น และภาวะสินเชื่อต่างๆในตลาดการเงืนที่ตึวตัวอย่างมากมาย ทั้งนี้ การลดจำนวนพนักงานมากถึง 1 หมื่น 2 พัน คน คิดเป็น 20% ของจำนวนพนักงานทั้งหมด ซึ่งจะเริ่มต้นในช่วง 3 เดือนจากนี้ไป

เงินเหรียญสหรัฐ อ่อนค่าลงต่ำสุดรอบ 15 ปีเมื่อศุกร์ที่ 7 ก.ย.

ค่าเงินเหรียญสหรัฐ เทียบกับสกุลสำคัญทั่วโลก สร้างสถิติอ่อนค่าลงต่ำสุดในรอบ 15 ปี เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา โดยหลังปิดตลาดเงินนิวยอร์ก สหรัฐ เมื่อเทีบกับเงินเยนญี่ปุ่น เงินเหรียญสหรัฐอยู่ที่ระดับ 113.48 เยนต่อเหรียญสหรัฐ เช่นเดียวกันกับเมื่อเทียบกับเงินเหรียญยูโรเมื่อวันศุกร์ที่ 7 ที่ผ่านมา เงินเหรียญสหรัฐเคลื่อนไหวที่ระดับ 1.3767 เหรียญสหรัฐต่อเหรียญยูโร สาเหตุสำคัญมากจาก นักลงทุนเป็นกังวลกับตัวเลขการจ้างงานเดือนสิงหาคม ที่ทรุดต่ำลงครั้งแรกในรอบ 4 ปี และวิกฤติสภาพคล่อง จากสินเชื่อ Subprime ที่อาจชะลอศ.ก.
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mor ... fault.aspx
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news15/09/07

โพสต์ที่ 53

โพสต์

แบงก์ชาติอังกฤษปล่อยกู้ช่วยผู้ที่ได้รับผลกระทบจาก Subprime ข่าว 21.00 น.
--------------------------------------------------------------------------------
Posted on Friday, September 14, 2007
รัฐบาลอังกฤษ ระบุ ในแถลงการณ์ว่าได้ให้อำนาจแก่ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) สนับสนุนทางการเงินแก่บริษัท นอร์ทเธิร์น ร็อค ซึ่งเป็นบริษัทปล่อยกู้จำนองที่ใหญ่ที่สุดของอังกฤษที่กำลังได้รับผลกระทบจากวิกฤติสินเชื่อสหรัฐ โดยบริษัทแห่งนี้กำลังประสบปัญหาในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนระยะยาวและตลาดแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (Securitization) ด้านการจำนอง ซึ่งเป็นแหล่งเงินทุนหลัก

การสนับสนุนทางการเงินดังกล่าว BOE และสำนักงานบริการทางการเงิน (FSA) พิจารณาแล้วเห็นว่า นอร์เธิร์น ร็อคมีเงินทุนเพียงพอในการชำระหนี้ โดยมีเงินทุนสูงกว่าข้อกำหนดเงินทุนตามกฎระเบียบ และมีพอร์ทเงินกู้คุณภาพดี
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news15/09/07

โพสต์ที่ 54

โพสต์

อลัน กรีนสแปน หนุนมาตรการแก้วิกฤตของ เบน เบอร์นันเก้
นายอลัน กรีนสแปน อดีตประธานธนาคารกลางสหรัฐ หรือเฟด วัย 81 ปี กล่าวชื่นชม เบน เบอร์นันเก้ ประธานเฟดคนปัจจุบัน ในการบริหารแก้ไขวิกฤตสินเชื่อ Subprime และวิกฤตสภาพคล่องที่เกิดขึ้น ว่าสามารถจัดการปัญหาได้อย่างยอดเยี่ยม และเชื่อว่า แนวทาง และมาตรการในการแก้ไขวิกฤตสภาพคล่องในปัจจุบัน จะไม่มีความแตกต่าง จากในอดีตที่เคยเกิดขึ้นกับตลาดทุนสหรัฐ ขณะที่ อลัน กรีนสแปน มองว่า การลดดอกเบี้ยระยะสั้นเพื่อแก้วิกฤติในยุคของเขานั้น ขึ้นอยู่กับภาวะเงินเฟ้อว่า มีแนวโน้มผ่อนคลาย หรือถูกกดดันในขณะนี้

อลัน กรีนสแปน ชี้ เฟดไม่รีบลดดอกเบี้ยระยะสั้น เป็นสิ่งที่เหมาะสม
อดีตประธานแบงก์ชาติสหรัฐ วัย 81 ปี กล่าวเสริมว่า หากยังคงทำงานในตำแหน่งดังกล่าวในปัจจุบัน ก็คงใช้มาตรการที่คล้ายคลึงกัน นอกจากนี้ อลัน กรีนสแปน มีมุมมองที่สนับสนุนคณะกรรมการนโยบายการเงินว่า การที่เฟดไม่ได้เร่งรีบ ที่จะตัดลดดอกเบี้ยระยะสั้นลงอย่างรวดเร็ว เพื่อแก้ไขวิกฤติสภาพคล่องที่เกิดขึ้น ถือว่าเป็นการตัดสินใจที่เหมาะสม นอกจากนี้ ยังยอมรับว่า ครั้งที่ยังในตำแหน่งสูงสุดของเฟด ยังไม่เห็นสัญญาณของวิกฤตสินเชื่อด้อยคุณภาพ หรือ Subprime จนกระทั่งในช่วงระหว่าง 2548 2549

อลัน กรีนสแปน ยอมรับ ช้าที่ตระหนักถึงมาตรการปล่อยสินเชื่อ Subprime
อลัน กรีนสแปน ยังยอมรับด้วยว่า ในฐานะประธานเฟดในยุคนั้น มีความช้าในการที่จะตระหนักถึงการปฏิบัติการต่างๆ ที่เกิดข้อสงสัย และคำถามมากมาย ที่เกี่ยวกับมาตรการการพิจารณาปล่อยสินเชื่อบ้านเพื่อที่อยู่อาศัย สำหรับชาวอเมริกันที่มีความน่าเชื่อถือต่ำกว่ามารตรฐาน หรือสินเชื่อ Subprime เช่น การปล่อยสินเชื่อประเภทปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยในอนาคตได้ หรือ Adjustable Mortgage Rate ด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำน่าจูงใจเป็นพิเศษ โดยไม่มีคำอธิบายว่า เมื่ออัตราดอกเบี้ยต้องปรับสูงขึ้นในอนาคต สินเชื่อเหล่านี้จะเป็นอย่างไร
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mor ... fault.aspx
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news15/09/07

โพสต์ที่ 55

โพสต์

เฟด เผย แบงก์พาณิชย์กู้เงินวานนี้ (13 ก.ย.) 2.43 แสนล้านบาท สูงสุดในรอบ 6 ปี วิกฤติสภาพคล่องยังคงมีอยู่ ล่าสุด แบงก์ชาติสหรัฐ หรือเฟดเปิดเผยเมื่อคืนผ่านมาว่า ธนาคารพาณิชย์ไม่เพียงกู้ยืมเงินจากเฟดต่อเนื่อง แต่ยังมีมูลค่าการขอกู้ พุ่งขึ้นสูงสุดใน 1 วันทำการ มูลค่ามากถึง 7,150 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 243,100 ล้านบาทภายใน 1 วัน ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อวานนี้ตามเวลาในสหรัฐ นับเป็นมูลค่าขอกู้ที่สูงสุดในรอบ 6 ปี หรือนับตั้งแต่วันที่ 12 กันยายน 2544 ในครั้งนั้นมีมูลค่าขอกู้สูงถึง 4.55 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 1.5 ล้านล้านบาท หลังเหตุก่อการร้าย 11 กันยายน

ประธานเฟด เตรียมชี้แจงกรรมาธิการสภาสหรัฐ 20 ก.ย. นี้
นายเบน เบอร์นันเก้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ หรือเฟด เตรียมเข้าชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการการเงินอสังหาริมทรัพย์ ในวันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายนนี้ คล้อยหลังเพียง 2 วันจากการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของเฟดในวันที่ 18 กันยายน ตามเวลาในสหรัฐ ทั้งนี้ วาระสำคัญในการเข้าชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการชุดดังกล่าว แม้จะยังไม่ได้รับการเปิดเผยชัดเจน แต่หลายฝ่ายมั่นใจว่า ต้องครอบคลุมประเด็นภาวะสินเชื่อด้อยคุณภาพ หรือสินเชื่อ Subprime

รัฐมนตรีคลังสหรัฐย้ำต้องใช้เวลานานแก้ไขวิกฤติ แย้มเริ่มมีสัญญาณบวกบางอย่าง
นายเฮนรี่ พอลสัน รัฐมนตรีคลังสหรัฐ กล่าวกับบรรดาผู้บริหารระดับสูงสุด จากสถาบันการเงินด้านสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐที่เข้าพบเมื่อคืนที่ผ่านมาว่า วิกฤติสภาพคล่องในครั้งนี้ที่เกิดขึ้น คงต้องใช้เวลานานพอสมควรในการแก้ไขอย่างเบ็ดเสร็จ โดยเฉพาะสภาพคล่องที่เชื่อมโยงโดยตรง กับสินเชื่อบ้านที่อยู่อาศัยด้อยคุณภาพ หรือสินเชื่อ Subprime อย่างไรก็ตาม รัฐมนตรีคลังสหรัฐ ชี้ว่า เริ่มมีสัญญาณทางบวกในตลาดเงินบางประเภท ที่เคยประสบกับปัญหาตึงตัว ทั้งนี้ มูลค่ากู้ยืมเงินระยะสั้นในรูปตั๋วสัญญาใช้เงินในตลาดเงินเริ่มลด

คันทรี่ไวด์ ไฟแนนเชียล กู้เงินเพิ่มอีกกว่า 4.8 แสนล้านบาท แก้ปัญหาสภาพคล่อง
บริษัท คันทรี่ไวด์ ไฟแนนเชียล คอร์ปอเรชั่น ชี้แจงว่า ได้รับเงินกู้เพื่อแก้ไขปัญหาสภาพคล่องเพิ่มขึ้นอีก มูลค่ามากถึง 1.2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 4.8 แสนล้านบาท โดยเมื่อวันที่ 16 สิงหาคมที่ผ่านมา บริษัทดังกล่าว ได้รับเงินกู้ครั้งแรกมูลค่า 1.15 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 3.91 แสนล้านบาท ทั้งนี้ คันทรีไวด์ ไฟแนนเชียล เป็นผู้ให้บริการสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ที่สุดในสหรัฐ และประสบวิกฤติสภาพคล่อง ทำให้ต้องประกาศปลดพนักงานจำนวนมากถึง 12,000 คนในอีก 3 เดือน

แบงก์ชาติอังกฤษ เพิ่มสภาพ คล่องให้ธนาคารพาณิชย์ใน อังกฤษ
ธนาคารกลางอังกฤษ ประกาศเตรียมเข้าเพิ่มสภาพคล่องระยะสั้น ให้กับสถาบันการเงินด้านสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ ที่มีชื่อว่า นอร์ทเทิร์น ร๊อค วึ่งต้องประสบกับปัญหาเงินทุนหมุนเวียน จากวิกฤติสภาพคล่องที่เกิดขึ้นในตลาดเงินทั่วโลก มาตรการเพิ่มสภาพคล่องของแบงก์ชาติอังกฤษ ได้รับการเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอังกฤษ ก่อนหน้านี้ สถาบันการเงินดังกล่าว ตกอยู่ในเป้าหมายการถูกซื้อกิจการเพื่อควบรวมกับสถาบันการเงินชั้นนำข้ามชาติ และได้เพิ่มทุนเพื่อรองรับการปล่อยสินเชื่อครึ่งปีแรกสูงถึง 1.08 หมื่นล้านปอนด์สเตอริง หรือกว่า 7 แสนล้านบาท
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mor ... fault.aspx
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news15/09/07

โพสต์ที่ 56

โพสต์

ชาวอังกฤษแห่ถอนเงินจากนอร์ทเทิร์นร็อคหลังเจอพิษซับไพร์ม

ลอนดอน-สื่ออังกฤษ เผย ชาวอังกฤษแห่ถอนเงินจากธนาคารนอร์ทเทิร์นร็อคทุกสาขาทั่วประเทศ ซึ่งยอดถอนเงินสูงถึง 1,000 ล้านปอนด์ (ราว 70,000 ล้านบาท) หลังจากธนาคารประกาศว่าประสบปัญหาในการหาเงินสดชำระหนี้อันเกิดจากการปล่อยสินเชื่อซื้อบ้าน และธนาคารกลางต้องออกมาช่วยเหลือ โดยนอร์ทเทิร์นร็อค เป็นผู้ปล่อยสินเชื่อรายใหญ่อันดับ 5 ของอังกฤษ และเป็นสถาบันการเงินแห่งแรกของอังกฤษที่ได้รับผลกระทบหนักจากวิกฤติสินเชื่อโลกเมื่อเดือนก่อน
http://www.bangkokbiznews.com/nws/scrip ... &type=ktbu
ภาพประจำตัวสมาชิก
ครรชิต ไพศาล
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 4623
ผู้ติดตาม: 1

subprime crisis monitor

โพสต์ที่ 57

โพสต์

เห็นในภาพข่าว คนไปถอนเงินต่อคิวยาวออกมานอกธนาคารเลย

รูปภาพ
ความสุขอื่น ยิ่งกว่าความสงบใจไม่มี นตฺถิ สนฺติ ปรํ สุขํ
หัดเล่น Facebook กะเขาบ้างแล้วนะครับ ใช้ชื่อ Kanchit Paisan ครับ
Facebook เพจ Eps16year Settrade Set ตลาดหลักทรัพย์ งบดุล ปันผล อัตราส่วนการเงิน กราฟ
Google เพจ kanchitpaisan
Google+ KANCHIT PAISAN
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news20/09/07

โพสต์ที่ 58

โพสต์

ประธานเฟดต้าน 2 สถาบันสินเชื่อรัฐบาลขยายเพดานซื้อสินเชื่อบ้านเพิ่ม
นายเบน เบอรนันเก้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ไม่เห็นด้วยและต่อต้านวุฒิสมาชิก ที่จะให้สถาบันการเงินด้านสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ของรัฐบาลสหรัฐฯ 2 แห่งคือ แฟนนี่เมย์ และเฟรดดี้แม็ค สามารถซื้อสินเชื่อบ้านที่อยู่อาศัยมูลค่าสูงกว่าที่กำหนดเพดานไว้ที่ 417,000 ดอลลาร์สหรัฐหรือกว่า 14 ล้านบาท ประธานเฟดชี้ว่า หากอนุญาตให้ทำได้ จะสร้างความเสียหายให้กับความพยายามที่จะเพิ่มความเข้มข้นในการกำกับดูแลทั้ง 2 สถาบันการเงินของรัฐบาล

มูดี้ส์ อีโคโนมี่ ดอทคอม 3 ใน 4 ของบ้านสหรัฐฯ จะมีราคาตกต่ำลงในอีก 2 ปีข้างหน้า
สถาบันมูดี้ส์ อีโคโนมี่ ดอท คอม เปิดเผยผลสำรวจล่าสุดว่า อีก 2-3 ปีข้างหน้า ราคาบ้านเพื่อที่อยู่อาศัยในสหรัฐฯจำนวน 3 ใน 4 ของตลาดทั้งหมด จะมีราคาตกต่ำลงอย่างต่อเนื่อง โดยในบางแห่งอาจมีราคาบ้านร่วงลงเป็นตัวเลขที่สูงถึง 2 หลัก ทั้งนี้ ราคาบ้านเพื่อที่อยู่อาศัยใน 86 เมืองสำคัญจาก 379 เมืองขนาดใหญ่ จะทรุดลงมากถึง 10% ส่วนราคาบ้านที่เหลือในอีก 270 เมืองในสหรัฐฯ จะทรุดลงมากกว่า 1% และหากมองในภาพรวมทั้งสหรัฐฯ จะพบว่า ราคาบ้านที่อยู่อาศัยโดยเฉลี่ยจะทรุดลง 7.7% หรือมากกว่าเป้าหมายเดิมที่คาดไว้ในเดือนมิถุนายนที่ 6.6%

นักวิชาการสหรัฐฯคาดราคาบ้านสหรัฐฯอาจตกต่ำหนักสุด ตั้งแต่ยุคถดถอยในปี 2513
ศาสตราจารย์ โรเบิร์ต ชิลเลอร์ นักเศรษฐศาสตร์ชั้นำจากมหาวิทยาลัยเยลล์ในสหรัฐฯ และเป็นผู้จัดทำดัชนีราคาบ้านที่อยู่อาศัยที่ได้รับการยอมรับทั่วไปที่เรียกว่า ดัชนีราคาบ้าน เคส-ชิลเลอร์ กล่าวต่อรัฐสภาสหรัฐฯเมื่อคืนที่ผ่านมาว่า ภาวะราคาบ้านที่ตกต่ำอย่างหนักในสหรัฐฯ อาจกลายเป็นความเสียหายที่รุนแรงมากที่สุด นับตั้งแต่ยุคเศรษฐกิจถดถอยอย่างเป็นประวัติการณ์ในสหรัฐฯ หรือยุคที่เรียกว่า The Great Depression ในปี 2513 นอกจากนี้ ศาสตราจารย์ โรเบิร์ต ชิลเลอร์ ย้ำว่า ความเสียหายไม่ได้จำกัดอยู่ในวงอสังหาริมทรัพย์เท่านั้น แต่เริ่มกระจายออกไปในวงกว้าง

หวั่นยอดปลดพนักงานวงการเงินสหรัฐฯสูงสุดในรอบ 6 ปี
นายจอห์น แชแลนเจอร์ ซีอีโอ บริษัทแชแลนเจอร์ เกลย์ แอนด์ คริสต์มาส ซึ่งให้บริการเป็นที่ปรึกษาชั้นนำในสหรัฐฯ เปิดเผยว่า ตั้งแต่ต้นปีจนถึงเมื่อคืนที่ผ่านมา มียอดชาวอเมริกันในอุตสาหกรรมการเงินตกงานมากถึง 107,758 คน และยังมีแนวโน้มปรับลดพนักงานลงอย่างต่อเนื่อง และมีจำนวนใกล้เคียงกับเดือนสิงหาคมที่ 26,000 คน อาจทำให้การปลดพนักงานชาวอเมริกันในวงการเงินปีนี้รวมกันสูงถึง 116,515 คน กลายเป็นสถิติสูงสุด นับตั้งแต่ในช่วงเศรษฐกิจสหรัฐฯ เกิดภาวะถดถอยในปี 2544 หรือเมื่อ 6 ปีที่ผ่านมา

ขุนคลังและประธานเฟดเตรียมชี้แจงรัฐสภาคืนนี้
นายเฮนรี่ พอลสัน รัฐมนตรีกระทรวงการคลัง และนายเบน เบอร์นันเก้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ มีกำหนดการเข้าชี้แจงต่อกรรมาธิการการเงินและอสังหาริมทรัพย์ รัฐสภาสหรัฐฯ ในคืนวันนี้ตามเวลาประเทศไทย โดยจะเป็นการเข้าชี้แจงในประเด็น ตลาดสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์และแผนการลดหนี้สูญสินเชื่อบ้านที่อยู่อาศัยของประธานาธิบดีสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสหรัฐฯยอมรับว่า อาจจะพิจารณาให้ 2 สถาบันการเงินสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ของรัฐบาลสหรัฐฯที่มีชื่อว่า แฟนนี่เมย์และเฟรดดี้แม็ค ขยายเพดานมูลค่าการซื้อสินเชื่อเพิ่ม
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mor ... fault.aspx
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news20/09/07

โพสต์ที่ 59

โพสต์

รมช.คลังเกาหลีใต้ชี้วิกฤติ subprime สหรัฐส่งผลกระทบศก.แดนโสมในวงจำกัด
ลิม ยัง-ร็อค รัฐมนตรีช่วยกระทรวงการคลังของเกาหลีใต้เปิดเผยว่า วิกฤติการณ์ตลาด subprimeในสหรัฐจะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจเกาหลีใต้ในวงจำกัด ผลกระทบที่เกาหลีใต้ได้รับจากปัญหา subprime ของสหรัฐจะเกิดขึ้นในวงจำกัด เนื่องจากสถาบันการเงินในประเทศมียอดการลงทุนในตลาด subprimeไม่มากนัก แต่ความตื่นตระหนกของนักลงทุนอาจยังคงมีอยู่บ้างในตลาดเงิน เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สำหรับที่อยู่อาศัยยังไม่มีทีท่าว่าจะปรับตัวลดลงในเร็ววันนี้ ธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยประเภทระยะสั้น 0.50% ลงมาอยู่ที่ระดับ 4.75% ซึ่งมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news20/09/07

โพสต์ที่ 60

โพสต์

ธนาคารกลางอังกฤษเตรียมอัดฉีดเงินเข้าระบบกดอัตราดอกเบี้ย - ข่าว 18.00 น.
--------------------------------------------------------------------------------
Posted on Thursday, September 20, 2007
ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) บอกว่า ธนาคารจะอัดฉีดเงิน 1 หมื่นล้านปอนด์ หรือประมาณ 700,000 ล้านบาท เข้าสู่ตลาดเงินในสัปดาห์หน้า เพื่อกดดันอัตราดอกเบี้ยระยะ 3 เดือน ให้ลดต่ำลงโดยวิธีการประมูล ซึ่งหลังจากนั้น BOE ก็จะจัดการประมูลสัปดาห์ละ 3 ครั้ง และธนาคารจะได้รับอนุญาตให้ใช้หลักทรัพย์ประกันการกู้ยืมได้หลากหลายประเภทกว่าปกติ รวมถึงการใช้หนี้จำนองเป็นหลักทรัพย์ประกันการกู้ยืมได้ด้วย

BOE ระบุว่า การใช้มาตรการนี้ เพื่อลดความตึงเครียดในตลาดเงินในระยะยาว โดยอัตราดอกเบี้ยจ่ายจะถูกกำหนดโดยผู้เข้าร่วมประมูล แต่ต้องไม่ต่ำกว่าอัตราขั้นต่ำที่กำหนดโดยวงเงินพร้อมปล่อยกู้ของธนาคารกลาง

ทั้งนี้ การประกาศอัดฉีดเงินในครั้งนี้ ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงท่าทีของผู้ว่าการธนาคารกลางอังกฤษที่เคยระบุว่า ธนาคารกลางไม่มีหน้าที่ในการกดดันอัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระยะ 3 เดือนให้ลดลง และธนาคารกลางก็ไม่ได้อัดฉีดเงินหลายพันล้านดอลลาร์เข้าสู่ระบบการเงิน แม้ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) และธนาคารกลางยุโรป (ECB) จะอัดฉีดเงินเข้าระบบไปก่อนหน้านี้แล้วก็ตาม
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx