กลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news30/08/07
โพสต์ที่ 61
วิจัยแสงอาทิตย์ปูทางสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสง
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 30 สิงหาคม 2550 13:13 น.
ระบบผลิตไฟฟ้าแบบหอคอย ซึ่งแผ่นสะท้อนแสงทุกแผ่นจะสะท้อนแสงอาทิตย์ไปยังยอดหอคอยเพียงจุดเดียวที่เป็นจุดรวมแสงและมีตัวนำความร้อนอยู่ (ภาพจาก www.thaisolarpower.com)
ระบบผลิตไฟฟ้าแบบพาราโบลา แผ่นรูปทรงพาราโบลาจะสะท้อนแสงไปยังท่อที่อยู่เหนือแผ่นสะท้อนและมีตัวนำความร้อนบรรจุอยู่ข้างใน (ภาพจาก www.thaisolarpower.com)
ระบบผลิตไฟฟ้าแบบเครื่องยนต์สเตอร์ลิง จะคล้ายระบบพาราโบลา เพียงแต่ไม่ใช้ตัวนำความร้อน ใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าเป็นตัวรับความร้อนและผลิตกระแสไฟฟ้าขณะนั้นเลย (ภาพจาก www.thaisolarpower.com)
ผศ.ดร.จรุงแสง ลักษณะบุญส่ง กับรายงานผลการวิจัยศักยภาพของการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ระบบความร้อนแบบรวมแสงในประเทศไทย
น้ำมันก็แพง เชื้อเพลิงก็ใกล้จะหมดจากโลก พลังงานทดแทนจึงกลายเป็นสิ่งจำเป็นที่มนุษย์ต้องเร่งสรรหา ในหลายประเทศก็นำมาใช้กันอย่างจริงจังบ้างแล้ว โดยเฉพาะพลังงานแสงอาทิตย์ ที่ไทยมีเกือบตลอดปีน่าจะเป็นข้อได้เปรียบในเรื่องนี้ นักวิจัยไทยจึงศึกษาศักยภาพแสง เพื่อเตรียมความพร้อมสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในอนาคต
ทีมวิจัยจากหน่วยวิจัยพลังงานแสงอาทิตย์ ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ ม.ศิลปากร ศึกษาถึงศักยภาพของการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ระบบความร้อนแบบรวมแสงในประเทศไทย ซึ่งได้รับความร่วมมือและการสนับสนุนจากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน เพื่อเป็นแนวทางสำหรับพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ของประเทศไทยในอนาคต
ผศ.ดร.จรุงแสง ลักษณะบุญส่ง คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ม.ศิลปากร กล่าวว่า นับวันเชื้อเพลิงจากฟอสซิลก็เหลือน้อยลงทุกที ฉะนั้นจึงต้องหาแหล่งพลังงานทดแทน ซึ่งพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานหมุนเวียนที่มีศักยภาพสูงและจะเข้ามามีบทบาทมากในอนาคต ทางทีมวิจัยจึงได้ศึกษาถึงศักยภาพของรังสีดวงอาทิตย์ในบริเวณประเทศไทยกับความเป็นไปได้ที่จะสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ระบบความร้อนแบบรวมแสง ซึ่งขึ้นตรงกับรังสีตรงของดวงอาทิตย์ (direct normal irradiance)
ระบบความร้อนแบบรวมแสงอาทิตย์จะต้องมีแผ่นสะท้อนแสงอาทิตย์ให้ไปรวมกัน ณ จุดเดียว ซึ่งจะทำให้เกิดความร้อนอย่างมหาศาลตรงบริเวณนั้น และจะต้องมีน้ำมันเป็นตัวนำพลังงานความร้อนไปยังโรงไฟฟ้าเพื่อต้มน้ำให้เดือดต่อไป ระบบนี้จะมีศักยภาพสูงเมื่อตั้งอยู่ในบริเวณที่มีค่ารังสีตรงของดวงอาทิตย์สูง แต่ข้อมูลดังกล่าวในประเทศไทยยังไม่ชัดเจน ที่มีอยู่ก็เพียงแค่ในกรุงเทพเท่านั้น พื้นที่อื่นในประเทศยังไม่มีข้อมูล จึงจำเป็นต้องศึกษา เพื่อจะได้ทราบแน่ชัดว่าแสงอาทิตย์ในประเทศไทยมีศักยภาพหรือไม่ อย่างไร ผศ.ดร.จรุงแสง หนึ่งในทีมวิจัยอธิบาย
ทีมวิจัยได้ศึกษาความเข้มของรังสีตรงโดยใช้ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมประกอบกับข้อมูลอุตุนิยมวิทยาภาคพื้นดินในช่วงปี 2538-2545 และจัดทำเป็นแผนที่ความเข้มรังสีตรงที่บริเวณต่างๆ พบว่าบริเวณที่มีความเข้มรังสีตรงสูงจะเป็นพื้นที่บางส่วนในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ซึ่งมีค่าอยู่ในช่วง 1,350-1,400 กิโลวัตต์ต่อตารางเมตรต่อปี (kWh/m2-yr)
ผศ.ดร.จรุงแสง อธิบายว่า หลังจากนั้นก็จำลองการทำงานของระบบผลิตไฟฟ้า 3 แบบโดยใช้คอมพิวเตอร์ และพื้นที่ใน จ.อุบลราชธานี เพราะมีค่ารังสีตรงสูงกว่าจังหวัดอื่นๆ ผลที่ได้คือ ระบบผลิตไฟฟ้าแบบพาราโบลา แบบหอคอย และแบบเครื่องยนต์สเตอร์ลิง สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้เฉลี่ย 18.0, 25.1 และ 10.7 กิกะวัตต์ต่อปี (GWh/yr) และเมื่อเปรียบเทียบต้นทุน พบว่าแบบพาราโบลามีต้นทุนการผลิตต่ำสุด คือ 9.77 บาทต่อกิโลวัตต์ (บาท/kWh) ซึ่งนับว่ารังสีดวงอาทิตย์ในบริเวณประเทศไทยมีศักยภาพมากพอกับการผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยวิธีนี้
อย่างไรก็ดี การสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศไทยเป็นเรื่องที่รัฐบาลและกระทรวงพลังงานต้องพิจารณาต่อไปอีก ส่วนผลงานวิจัยดังกล่าวนั้น ผศ.ดร.จรุงแสง บอกว่ายินดีเผยแพร่ หากหน่วยงานไหนหรือบุคคลใดสนใจก็สามารถติดต่อได้ที่ หน่วยวิจัยพลังงานแสงอาทิตย์ ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ ม.ศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ โทรศัพท์ 034-270761
http://www.manager.co.th/science/ViewNe ... 0000098544
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 30 สิงหาคม 2550 13:13 น.
ระบบผลิตไฟฟ้าแบบหอคอย ซึ่งแผ่นสะท้อนแสงทุกแผ่นจะสะท้อนแสงอาทิตย์ไปยังยอดหอคอยเพียงจุดเดียวที่เป็นจุดรวมแสงและมีตัวนำความร้อนอยู่ (ภาพจาก www.thaisolarpower.com)
ระบบผลิตไฟฟ้าแบบพาราโบลา แผ่นรูปทรงพาราโบลาจะสะท้อนแสงไปยังท่อที่อยู่เหนือแผ่นสะท้อนและมีตัวนำความร้อนบรรจุอยู่ข้างใน (ภาพจาก www.thaisolarpower.com)
ระบบผลิตไฟฟ้าแบบเครื่องยนต์สเตอร์ลิง จะคล้ายระบบพาราโบลา เพียงแต่ไม่ใช้ตัวนำความร้อน ใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าเป็นตัวรับความร้อนและผลิตกระแสไฟฟ้าขณะนั้นเลย (ภาพจาก www.thaisolarpower.com)
ผศ.ดร.จรุงแสง ลักษณะบุญส่ง กับรายงานผลการวิจัยศักยภาพของการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ระบบความร้อนแบบรวมแสงในประเทศไทย
น้ำมันก็แพง เชื้อเพลิงก็ใกล้จะหมดจากโลก พลังงานทดแทนจึงกลายเป็นสิ่งจำเป็นที่มนุษย์ต้องเร่งสรรหา ในหลายประเทศก็นำมาใช้กันอย่างจริงจังบ้างแล้ว โดยเฉพาะพลังงานแสงอาทิตย์ ที่ไทยมีเกือบตลอดปีน่าจะเป็นข้อได้เปรียบในเรื่องนี้ นักวิจัยไทยจึงศึกษาศักยภาพแสง เพื่อเตรียมความพร้อมสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในอนาคต
ทีมวิจัยจากหน่วยวิจัยพลังงานแสงอาทิตย์ ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ ม.ศิลปากร ศึกษาถึงศักยภาพของการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ระบบความร้อนแบบรวมแสงในประเทศไทย ซึ่งได้รับความร่วมมือและการสนับสนุนจากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน เพื่อเป็นแนวทางสำหรับพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ของประเทศไทยในอนาคต
ผศ.ดร.จรุงแสง ลักษณะบุญส่ง คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ม.ศิลปากร กล่าวว่า นับวันเชื้อเพลิงจากฟอสซิลก็เหลือน้อยลงทุกที ฉะนั้นจึงต้องหาแหล่งพลังงานทดแทน ซึ่งพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานหมุนเวียนที่มีศักยภาพสูงและจะเข้ามามีบทบาทมากในอนาคต ทางทีมวิจัยจึงได้ศึกษาถึงศักยภาพของรังสีดวงอาทิตย์ในบริเวณประเทศไทยกับความเป็นไปได้ที่จะสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ระบบความร้อนแบบรวมแสง ซึ่งขึ้นตรงกับรังสีตรงของดวงอาทิตย์ (direct normal irradiance)
ระบบความร้อนแบบรวมแสงอาทิตย์จะต้องมีแผ่นสะท้อนแสงอาทิตย์ให้ไปรวมกัน ณ จุดเดียว ซึ่งจะทำให้เกิดความร้อนอย่างมหาศาลตรงบริเวณนั้น และจะต้องมีน้ำมันเป็นตัวนำพลังงานความร้อนไปยังโรงไฟฟ้าเพื่อต้มน้ำให้เดือดต่อไป ระบบนี้จะมีศักยภาพสูงเมื่อตั้งอยู่ในบริเวณที่มีค่ารังสีตรงของดวงอาทิตย์สูง แต่ข้อมูลดังกล่าวในประเทศไทยยังไม่ชัดเจน ที่มีอยู่ก็เพียงแค่ในกรุงเทพเท่านั้น พื้นที่อื่นในประเทศยังไม่มีข้อมูล จึงจำเป็นต้องศึกษา เพื่อจะได้ทราบแน่ชัดว่าแสงอาทิตย์ในประเทศไทยมีศักยภาพหรือไม่ อย่างไร ผศ.ดร.จรุงแสง หนึ่งในทีมวิจัยอธิบาย
ทีมวิจัยได้ศึกษาความเข้มของรังสีตรงโดยใช้ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมประกอบกับข้อมูลอุตุนิยมวิทยาภาคพื้นดินในช่วงปี 2538-2545 และจัดทำเป็นแผนที่ความเข้มรังสีตรงที่บริเวณต่างๆ พบว่าบริเวณที่มีความเข้มรังสีตรงสูงจะเป็นพื้นที่บางส่วนในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ซึ่งมีค่าอยู่ในช่วง 1,350-1,400 กิโลวัตต์ต่อตารางเมตรต่อปี (kWh/m2-yr)
ผศ.ดร.จรุงแสง อธิบายว่า หลังจากนั้นก็จำลองการทำงานของระบบผลิตไฟฟ้า 3 แบบโดยใช้คอมพิวเตอร์ และพื้นที่ใน จ.อุบลราชธานี เพราะมีค่ารังสีตรงสูงกว่าจังหวัดอื่นๆ ผลที่ได้คือ ระบบผลิตไฟฟ้าแบบพาราโบลา แบบหอคอย และแบบเครื่องยนต์สเตอร์ลิง สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้เฉลี่ย 18.0, 25.1 และ 10.7 กิกะวัตต์ต่อปี (GWh/yr) และเมื่อเปรียบเทียบต้นทุน พบว่าแบบพาราโบลามีต้นทุนการผลิตต่ำสุด คือ 9.77 บาทต่อกิโลวัตต์ (บาท/kWh) ซึ่งนับว่ารังสีดวงอาทิตย์ในบริเวณประเทศไทยมีศักยภาพมากพอกับการผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยวิธีนี้
อย่างไรก็ดี การสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศไทยเป็นเรื่องที่รัฐบาลและกระทรวงพลังงานต้องพิจารณาต่อไปอีก ส่วนผลงานวิจัยดังกล่าวนั้น ผศ.ดร.จรุงแสง บอกว่ายินดีเผยแพร่ หากหน่วยงานไหนหรือบุคคลใดสนใจก็สามารถติดต่อได้ที่ หน่วยวิจัยพลังงานแสงอาทิตย์ ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ ม.ศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ โทรศัพท์ 034-270761
http://www.manager.co.th/science/ViewNe ... 0000098544
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news30/08/07
โพสต์ที่ 62
ตั้งเป้าอีก 3 ปีมีไบโอดีเซลจากสาหร่ายใช้
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 29 สิงหาคม 2550 08:26 น.
แม้ว่าสาหร่ายจะสร้างปัญหาสิ่งแวดล้อมในหลายพื้นหากมีปริมาณมากเกิน แต่นักวิจัยก็เล็งเห็นศักยภาพเป็นแหล่งน้ำมันสำหรับผลิตไบโอดีเซลทดแทนปิโตรเลียม
นักวิจัยมหิดลศึกษาการผลิตไบโอดีเซลจากสาหร่าย หวังนำมาใช้ทดแทนปิโตรเลียมที่กำลังจะหมดจากโลก เผยหากผลิตได้จะคุ้มทุนอย่างมาก และยังส่งขายต่างประเทศได้ด้วย เพราะใช้พื้นที่น้อยแต่ให้ผลผลิตมาก ทั้งยังช่วยลดก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศได้อีกด้วย
ไบโอดีเซลกำลังเป็นที่ต้องการในฐานะพลังงานทดแทนเชื้อเพลิงจากฟอสซิลที่กำลังจะหมดไป นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ต่างก็มุ่งความสนใจไปที่พืชพลังงาน ขณะที่นักวิจัยส่วนหนึ่งเล็งเห็นน้ำมันมากมายในสาหร่าย สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กเซลล์เดียวที่สามารถให้น้ำมันมหาศาลได้เมื่อเพาะเลี้ยงในพื้นที่และระยะเวลาเท่ากับพืชน้ำมันอื่นๆ
นักวิจัยส่วนใหญ่มักจะมุ่งไปที่พืชน้ำมันต่างๆ โดยเฉพาะปาล์มและสบู่ดำ ขณะที่สาหร่ายก็มีน้ำมันเช่นกันแต่ยังไม่ค่อยมีใครสนใจ ซึ่งบางชนิดให้น้ำมันสูงถึง 50% ของเซลล์เลยทีเดียว รศ.ดร.ประหยัด โภคฐิติยุกต์ อาจารย์และนักวิจัย ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ชี้แจง
รศ.ดร.ประหยัด อธิบายว่า สภาพแวดล้อมในประเทศไทยเหมาะแก่การเพาะเลี้ยงสาหร่ายอย่างยิ่ง สาหร่ายใช้เวลาเลี้ยงเพียง 24 ชั่วโมง ก็โตแล้ว ขณะที่พืชพลังงานต้องใช้เวลาเพาะปลูกนานถึง 6-7 ปี ถึงจะให้น้ำมันได้
หากเลี้ยงสาหร่ายในบ่อพื้นที่ขนาดเท่ากับพื้นที่ปลูกสบู่ดำ 1 ต้น เป็นเวลา 7 ปี สบู่ดำจะให้น้ำมัน 25% แต่จะได้น้ำมันจากสาหร่ายมากถึง 1,000% และอาจเพียงพอกระทั่งผลิตส่งออกต่างประเทศได้
ทั้งนี้ รศ.ดร.ประหยัด อยู่ระหว่างศึกษาการเพาะเลี้ยงและสกัดน้ำมันจากสาหร่าย โดยได้รับทุนสนับสนุนจากบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เพื่อผลิตไบโอดีเซลจากสาหร่ายเป็นพลังงานทดแทนน้ำมันปิโตรเลียมที่เหลือพอใช้ได้อีกไม่กี่สิบปี
สาหร่ายที่นำมาศึกษาเป็นสาหร่ายสีเขียว 3 ชนิด ซึ่งให้น้ำมันประมาณ 20-30% ขณะที่สาหร่ายทั่วไปจะให้น้ำมันเฉลี่ยราว 7-14% และสาหร่ายที่โตเร็วก็มักจะให้น้ำมันน้อยกว่าสาหร่ายที่โตช้ากว่า ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการวิจัย ได้เพาะเลี้ยงสาหร่ายในห้องทดลองอยู่เพื่อหาสภาวะที่เหมาะสมสำหรับเพาะเลี้ยงให้สาหร่ายโตเร็วพร้อมทั้งให้น้ำมันมาก แล้วจึงขยายลงสู่บ่อเพาะเลี้ยงต่อไป"
"คาดว่าน่าจะผลิตไบโอดีเซลจากสาหร่ายและนำมาใช้ประโยชน์ได้จริงในอีก 2-3 ปีข้างหน้า รศ.ดร.ประหยัด กล่าวถึงงานวิจัยของเขา และบอกด้วยว่าในสหรัฐฯสามารถผลิตไบโอดีเซลจากสาหร่ายและใช้กับเครื่องยนต์ได้แล้ว แต่ยังไม่ได้ผลิตเชิงพาณิชย์
นอกจากนี้ รศ.ดร.ประหยัด ยังตั้งเป้าขยายงานวิจัยเพาะเลี้ยงสาหร่ายเพื่อผลิตไบโอดีเซล ในขณะเดียวกันก็จะใช้สาหร่ายเหล่านี้บรรเทาภาวะโลกร้อนด้วย โดยใช้เป็นตัวกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ
สาหร่ายต้องการก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อใช้ในการสังเคราะห์แสงอยู่แล้ว เมื่อเราต้องเพาะเลี้ยงสาหร่ายจำนวนมาก ก็ต้องการก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้สาหร่ายปริมาณมากด้วยเช่นกัน อาจดักก๊าซจากโรงงานอุตสาหกรรมมาใช้ ซึ่งเป็นวิธีลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่บรรยากาศที่มีประสิทธิภาพเช่นกัน รศ.ดร.ประหยัด อธิบายในตอนท้าย
http://www.manager.co.th/science/ViewNe ... 0000099049
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 29 สิงหาคม 2550 08:26 น.
แม้ว่าสาหร่ายจะสร้างปัญหาสิ่งแวดล้อมในหลายพื้นหากมีปริมาณมากเกิน แต่นักวิจัยก็เล็งเห็นศักยภาพเป็นแหล่งน้ำมันสำหรับผลิตไบโอดีเซลทดแทนปิโตรเลียม
นักวิจัยมหิดลศึกษาการผลิตไบโอดีเซลจากสาหร่าย หวังนำมาใช้ทดแทนปิโตรเลียมที่กำลังจะหมดจากโลก เผยหากผลิตได้จะคุ้มทุนอย่างมาก และยังส่งขายต่างประเทศได้ด้วย เพราะใช้พื้นที่น้อยแต่ให้ผลผลิตมาก ทั้งยังช่วยลดก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศได้อีกด้วย
ไบโอดีเซลกำลังเป็นที่ต้องการในฐานะพลังงานทดแทนเชื้อเพลิงจากฟอสซิลที่กำลังจะหมดไป นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ต่างก็มุ่งความสนใจไปที่พืชพลังงาน ขณะที่นักวิจัยส่วนหนึ่งเล็งเห็นน้ำมันมากมายในสาหร่าย สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กเซลล์เดียวที่สามารถให้น้ำมันมหาศาลได้เมื่อเพาะเลี้ยงในพื้นที่และระยะเวลาเท่ากับพืชน้ำมันอื่นๆ
นักวิจัยส่วนใหญ่มักจะมุ่งไปที่พืชน้ำมันต่างๆ โดยเฉพาะปาล์มและสบู่ดำ ขณะที่สาหร่ายก็มีน้ำมันเช่นกันแต่ยังไม่ค่อยมีใครสนใจ ซึ่งบางชนิดให้น้ำมันสูงถึง 50% ของเซลล์เลยทีเดียว รศ.ดร.ประหยัด โภคฐิติยุกต์ อาจารย์และนักวิจัย ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ชี้แจง
รศ.ดร.ประหยัด อธิบายว่า สภาพแวดล้อมในประเทศไทยเหมาะแก่การเพาะเลี้ยงสาหร่ายอย่างยิ่ง สาหร่ายใช้เวลาเลี้ยงเพียง 24 ชั่วโมง ก็โตแล้ว ขณะที่พืชพลังงานต้องใช้เวลาเพาะปลูกนานถึง 6-7 ปี ถึงจะให้น้ำมันได้
หากเลี้ยงสาหร่ายในบ่อพื้นที่ขนาดเท่ากับพื้นที่ปลูกสบู่ดำ 1 ต้น เป็นเวลา 7 ปี สบู่ดำจะให้น้ำมัน 25% แต่จะได้น้ำมันจากสาหร่ายมากถึง 1,000% และอาจเพียงพอกระทั่งผลิตส่งออกต่างประเทศได้
ทั้งนี้ รศ.ดร.ประหยัด อยู่ระหว่างศึกษาการเพาะเลี้ยงและสกัดน้ำมันจากสาหร่าย โดยได้รับทุนสนับสนุนจากบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เพื่อผลิตไบโอดีเซลจากสาหร่ายเป็นพลังงานทดแทนน้ำมันปิโตรเลียมที่เหลือพอใช้ได้อีกไม่กี่สิบปี
สาหร่ายที่นำมาศึกษาเป็นสาหร่ายสีเขียว 3 ชนิด ซึ่งให้น้ำมันประมาณ 20-30% ขณะที่สาหร่ายทั่วไปจะให้น้ำมันเฉลี่ยราว 7-14% และสาหร่ายที่โตเร็วก็มักจะให้น้ำมันน้อยกว่าสาหร่ายที่โตช้ากว่า ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการวิจัย ได้เพาะเลี้ยงสาหร่ายในห้องทดลองอยู่เพื่อหาสภาวะที่เหมาะสมสำหรับเพาะเลี้ยงให้สาหร่ายโตเร็วพร้อมทั้งให้น้ำมันมาก แล้วจึงขยายลงสู่บ่อเพาะเลี้ยงต่อไป"
"คาดว่าน่าจะผลิตไบโอดีเซลจากสาหร่ายและนำมาใช้ประโยชน์ได้จริงในอีก 2-3 ปีข้างหน้า รศ.ดร.ประหยัด กล่าวถึงงานวิจัยของเขา และบอกด้วยว่าในสหรัฐฯสามารถผลิตไบโอดีเซลจากสาหร่ายและใช้กับเครื่องยนต์ได้แล้ว แต่ยังไม่ได้ผลิตเชิงพาณิชย์
นอกจากนี้ รศ.ดร.ประหยัด ยังตั้งเป้าขยายงานวิจัยเพาะเลี้ยงสาหร่ายเพื่อผลิตไบโอดีเซล ในขณะเดียวกันก็จะใช้สาหร่ายเหล่านี้บรรเทาภาวะโลกร้อนด้วย โดยใช้เป็นตัวกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ
สาหร่ายต้องการก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อใช้ในการสังเคราะห์แสงอยู่แล้ว เมื่อเราต้องเพาะเลี้ยงสาหร่ายจำนวนมาก ก็ต้องการก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้สาหร่ายปริมาณมากด้วยเช่นกัน อาจดักก๊าซจากโรงงานอุตสาหกรรมมาใช้ ซึ่งเป็นวิธีลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่บรรยากาศที่มีประสิทธิภาพเช่นกัน รศ.ดร.ประหยัด อธิบายในตอนท้าย
http://www.manager.co.th/science/ViewNe ... 0000099049
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news30/08/07
โพสต์ที่ 63
โอเปกย้ำไม่ผลิตน้ำมันเพิ่ม เริ่มส่อเค้าเฮอร์ริเคนลูกใหม่ โดย กระแสหุ้น
ตลาดน้ำมันกังวลเศรษฐกิจสหรัฐฯวูบ จากปัญหา ซับไพร์ม แรงเทขายออกมา ประเมินแนวโน้มราคาแกว่งตัวตามอุปสงค์และอุปทาน ส่วน โอเปก ยืนยันไม่จำเป็นต้องเพิ่มผลิต เหตุปริมาณเพียงพอ ด้าน ไออีเอเตรียมรับจีน-อินเดีย เป็นสมาชิก
รายงานสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้าไนเม็กซ์ จากความกังวลเรื่องสินเชื่อ ซับไพร์ม" ทำให้เกิดความกังวลว่าการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ จนส่งผลลบต่ออุปสงค์น้ำมัน ทั้งนี้ราคาน้ำมันดิบส่งมอบเดือน ต.ค.ร่วงลงมาปิดตลาดที่ 71.73 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงาน (EIA) ของสหรัฐฯเปิดเผยว่า สต็อกน้ำมันดิบลดลง 800,000 บาร์เรล ในสัปดาห์ล่าสุด สต็อกน้ำมันเบนซินลดลง 1.7 ล้านบาร์เรล และสต็อกน้ำมันกลั่นเพิ่มขึ้น 1.0 ล้านบาร์เรล ส่วนอัตราการใช้กำลังการกลั่นน้ำมันอาจทรงตัวที่ 91.6%
นายอาเดล อับดุล มาห์ดี เลขาธิการโอเปก กล่าวว่า โอเปกยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มการผลิต เนื่องจากปริมาณน้ำมันดิบในตลาดโลกยังคงอยู่ในระดับที่เพียงพอ และสหรัฐฯอยู่ในช่วงฤดูเฮอร์ริเคน รวมทั้งปัญหาประเทศผู้ผลิต ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลให้ราคาน้ำมันปรับตัวเพิ่มขึ้นได้
ทั้งนี้นายโนบูโอะ ทานากะ ผู้อำนวยการคนใหม่ของ ไออีเอ หรือ International Energy Agency เปิดเผยว่า กำลังพิจารณาที่จะรับจีน และอินเดียเข้าเป็นสมาชิกใหม่ของกลุ่ม ทั้งนี้ไออีเอ ก่อตั้งในทศวรรษที่ 1970 เพื่อรองรับปัญหาการขาดแคลนพลังงาน เนื่องจากทั้งสองประเทศ ให้ความสำคัญในด้านพลังงานเนื่องจาก จีน และ อินเดียบริโภคน้ำมันกว่า 12% ของความต้องการทั้งโลก อย่างไรก็ตามการรับจีน และอินเดียเป็นสมาชิก ต้องแก้กฎของกลุ่มให้สามารถรับประเทศกำลังพัฒนาเข้าเป็นสมาชิกได้ และทั้งสองประเทศจะต้องมีปริมาณสำรองน้ำมันสำหรับการบริโภค 90 วัน และ มีโครงสร้างตลาดน้ำมันที่เสรี และโปร่งใส
ด้านนักวิเคราะห์ประเมินแนวโน้ม ราคาน้ำมันยังคงผันผวนและแกว่งตัวขึ้นลงตามปัจจัยทางความรู้สึก และข่าวรายวันที่ส่งผลกระทบต่ออุปสงค์และอุปทานน้ำมัน ในระยะสั้นตลาดยังคงจับตามองสถานการณ์ปัญหาหนี้ด้อยคุณภาพของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐฯ ที่อาจส่งผลกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจโลกและความผันผวนในตลาดเงินและตลาดทุน แลเฮดจ์ฟันด์ ยังคงเทขายในตลาดซื้อขายล่วงหน้าอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตามขณะนี้เทรดเดอร์เริ่มจับตามองคลื่นลมเขตร้อนที่พัดอยู่ระหว่างทวีปแอฟริกากับหมู่เกาะแอนทิลลิสน้อย โดยศูนย์เฮอริเคนแห่งชาติของสหรัฐฯระบุว่าคลื่นลมดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงขึ้น
http://www.settrade.com/S17_ContentDisp ... okerId=IPO
ตลาดน้ำมันกังวลเศรษฐกิจสหรัฐฯวูบ จากปัญหา ซับไพร์ม แรงเทขายออกมา ประเมินแนวโน้มราคาแกว่งตัวตามอุปสงค์และอุปทาน ส่วน โอเปก ยืนยันไม่จำเป็นต้องเพิ่มผลิต เหตุปริมาณเพียงพอ ด้าน ไออีเอเตรียมรับจีน-อินเดีย เป็นสมาชิก
รายงานสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้าไนเม็กซ์ จากความกังวลเรื่องสินเชื่อ ซับไพร์ม" ทำให้เกิดความกังวลว่าการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ จนส่งผลลบต่ออุปสงค์น้ำมัน ทั้งนี้ราคาน้ำมันดิบส่งมอบเดือน ต.ค.ร่วงลงมาปิดตลาดที่ 71.73 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงาน (EIA) ของสหรัฐฯเปิดเผยว่า สต็อกน้ำมันดิบลดลง 800,000 บาร์เรล ในสัปดาห์ล่าสุด สต็อกน้ำมันเบนซินลดลง 1.7 ล้านบาร์เรล และสต็อกน้ำมันกลั่นเพิ่มขึ้น 1.0 ล้านบาร์เรล ส่วนอัตราการใช้กำลังการกลั่นน้ำมันอาจทรงตัวที่ 91.6%
นายอาเดล อับดุล มาห์ดี เลขาธิการโอเปก กล่าวว่า โอเปกยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มการผลิต เนื่องจากปริมาณน้ำมันดิบในตลาดโลกยังคงอยู่ในระดับที่เพียงพอ และสหรัฐฯอยู่ในช่วงฤดูเฮอร์ริเคน รวมทั้งปัญหาประเทศผู้ผลิต ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลให้ราคาน้ำมันปรับตัวเพิ่มขึ้นได้
ทั้งนี้นายโนบูโอะ ทานากะ ผู้อำนวยการคนใหม่ของ ไออีเอ หรือ International Energy Agency เปิดเผยว่า กำลังพิจารณาที่จะรับจีน และอินเดียเข้าเป็นสมาชิกใหม่ของกลุ่ม ทั้งนี้ไออีเอ ก่อตั้งในทศวรรษที่ 1970 เพื่อรองรับปัญหาการขาดแคลนพลังงาน เนื่องจากทั้งสองประเทศ ให้ความสำคัญในด้านพลังงานเนื่องจาก จีน และ อินเดียบริโภคน้ำมันกว่า 12% ของความต้องการทั้งโลก อย่างไรก็ตามการรับจีน และอินเดียเป็นสมาชิก ต้องแก้กฎของกลุ่มให้สามารถรับประเทศกำลังพัฒนาเข้าเป็นสมาชิกได้ และทั้งสองประเทศจะต้องมีปริมาณสำรองน้ำมันสำหรับการบริโภค 90 วัน และ มีโครงสร้างตลาดน้ำมันที่เสรี และโปร่งใส
ด้านนักวิเคราะห์ประเมินแนวโน้ม ราคาน้ำมันยังคงผันผวนและแกว่งตัวขึ้นลงตามปัจจัยทางความรู้สึก และข่าวรายวันที่ส่งผลกระทบต่ออุปสงค์และอุปทานน้ำมัน ในระยะสั้นตลาดยังคงจับตามองสถานการณ์ปัญหาหนี้ด้อยคุณภาพของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐฯ ที่อาจส่งผลกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจโลกและความผันผวนในตลาดเงินและตลาดทุน แลเฮดจ์ฟันด์ ยังคงเทขายในตลาดซื้อขายล่วงหน้าอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตามขณะนี้เทรดเดอร์เริ่มจับตามองคลื่นลมเขตร้อนที่พัดอยู่ระหว่างทวีปแอฟริกากับหมู่เกาะแอนทิลลิสน้อย โดยศูนย์เฮอริเคนแห่งชาติของสหรัฐฯระบุว่าคลื่นลมดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงขึ้น
http://www.settrade.com/S17_ContentDisp ... okerId=IPO
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news01/09/07
โพสต์ที่ 64
หวั่นแอลพีจีขาดสั่งชะลอส่งออก
โดย เดลินิวส์ วัน เสาร์ ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2550 11:49 น.
นายชายน้อย เผื่อนโกสุม ประธานกลุ่มโรงกลั่นน้ำมันสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า คาดว่าโรงกลั่นทุกแห่งจะยกเลิกการส่งออกก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) ไปต่างประเทศภายในสิ้นปีนี้ โดยจะเน้นขายในประเทศแทน แม้ว่าราคาที่ขายจะมีรายได้น้อยกว่าการส่งออก เพดานการขายอยู่ที่ตันละไม่เกิน 315 ดอลลาร์สหรัฐ ประกอบกับที่ผ่านมากระทรวงพลังงานได้ขอความร่วมมือให้ชะลอการส่งออกแอลพีจี เพื่อป้องกันการขาดแคลนในประเทศ
โรงกลั่นฯพร้อมเลิกส่งออกแอลพีจี เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการใช้ของประชา ชน แต่ยอมรับว่ากระทบต่อรายได้บ้าง แต่ถือว่าช่วงนี้ค่าการกลั่นฯอยู่ในระดับสูง จึงนำรายได้ส่วนนั้นมาเกลี่ยได้บ้าง ขณะเดียวกันได้เสนอต่อภาครัฐว่าควรจะเพิ่มเพดานราคาหรือหาทางป้องกันการเพิ่มขึ้นของการใช้แอลพีจี เพราะเกรงว่าในอนาคตหากไม่มีมาตรการอะไรมารองรับ ไทยอาจจะต้องเป็นผู้นำเข้าแอลพีจี.
http://news.sanook.com/economic/economic_176648.php
โดย เดลินิวส์ วัน เสาร์ ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2550 11:49 น.
นายชายน้อย เผื่อนโกสุม ประธานกลุ่มโรงกลั่นน้ำมันสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า คาดว่าโรงกลั่นทุกแห่งจะยกเลิกการส่งออกก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) ไปต่างประเทศภายในสิ้นปีนี้ โดยจะเน้นขายในประเทศแทน แม้ว่าราคาที่ขายจะมีรายได้น้อยกว่าการส่งออก เพดานการขายอยู่ที่ตันละไม่เกิน 315 ดอลลาร์สหรัฐ ประกอบกับที่ผ่านมากระทรวงพลังงานได้ขอความร่วมมือให้ชะลอการส่งออกแอลพีจี เพื่อป้องกันการขาดแคลนในประเทศ
โรงกลั่นฯพร้อมเลิกส่งออกแอลพีจี เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการใช้ของประชา ชน แต่ยอมรับว่ากระทบต่อรายได้บ้าง แต่ถือว่าช่วงนี้ค่าการกลั่นฯอยู่ในระดับสูง จึงนำรายได้ส่วนนั้นมาเกลี่ยได้บ้าง ขณะเดียวกันได้เสนอต่อภาครัฐว่าควรจะเพิ่มเพดานราคาหรือหาทางป้องกันการเพิ่มขึ้นของการใช้แอลพีจี เพราะเกรงว่าในอนาคตหากไม่มีมาตรการอะไรมารองรับ ไทยอาจจะต้องเป็นผู้นำเข้าแอลพีจี.
http://news.sanook.com/economic/economic_176648.php
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news01/09/07
โพสต์ที่ 65
สวทช. หนุนทุ่งหัวช้างสร้างพลังงานทางเลือก [ ฉบับที่ 824 ประจำวันที่ 1-9-2007 ถึง 4-9-2007]
> ผลิตน้ำมันสบู่ดำใช้เอง ทดแทนน้ำมันดีเซลในชุมชน
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) หนุน วิสาหกิจชุมชนเครือข่ายรักษ์ท้องถิ่นอำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน ผลิตน้ำมันสบู่ดำเป็นพลังงานทดแทน พร้อมจัดส่งเทคโนโลยีและองค์ความรู้เข้าถ่ายทอดแก่ชุมชน ตั้งเป้า 1 ปีให้เป็นชุมชนต้นแบบผลิตน้ำมันสบู่ดำใช้แทนน้ำมันดีเซลสำหรับชุมชนอื่นๆ ต่อไป หวังสร้างความเป็นไทด้านพลังงานให้กับชุมชน ภายใต้แนวคิด 1 ชุมชน 1 พลังงานทางเลือกทดแทน
รศ.ศิริลักษณ์ นิวิฐจรรยงค์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวถึงความ ร่วมมือในโครงการโรงงานต้นแบบสำหรับอุตสาหกรรมขนาดเล็กในการผลิตน้ำมันสบู่ดำ ระยะที่ 1 ระหว่าง สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และวิสาหกิจ ชุมชนเครือข่ายรักษ์ท้องถิ่นอำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูนว่า โครงการฯ ดังกล่าวเกิดจากความต้องการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเครือข่ายรักษ์ท้องถิ่นอำเภอทุ่งหัวช้าง ที่ต้องการผลิตน้ำมันจากสบู่ดำขึ้นใช้เอง เพื่อเป็นพลังงาน ทางเลือกทดแทนน้ำมันดีเซล ซึ่งจะช่วยให้ชุมชนไม่ต้องนำรายได้ไปจัดซื้อน้ำมัน เพราะที่ผ่านมาชุมชนมีค่าใช้จ่ายในเรื่องของพลังงานมากกว่า 60-70% ทั้งก๊าซหุงต้ม ไฟฟ้า และเชื้อเพลิงเครื่องยนต์
หากชุมชนสามารถผลิตพลังงานใช้เองจากวัตถุดิบในท้องถิ่น เช่น น้ำมันสบู่ดำ ก็จะช่วยผ่อนภาระให้กับชุมชนและถือว่าชุมชนหรือหมู่บ้านนั้น มีความเป็นไททางด้านพลังงาน และในอนาคตยังสามารถมองไปถึงพลังงานรูปแบบอื่นได้ต่อไป เนื่องจากสบู่ดำยังมีศักยภาพที่จะนำไปผลิตเป็นไบโอดีเซลได้อีก แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการใช้น้ำมันและความพร้อมของชุมชนนั้นๆ
ในอดีตกระแสความต้องการใช้น้ำมันสบู่ดำส่วนใหญ่มักจะเป็นเรื่องของการขายต้นหรือพันธุ์ จึงสนับสนุนให้มีการปลูกกันเพื่อการขายต้นสบู่ดำเพื่อนำไปใช้ผลิตน้ำมันมากกว่า แตกต่างจากวิสาหกิจชุมชนเครือข่ายรักษ์ท้องถิ่นอำเภอทุ่งหัวช้างที่มีการรวมตัวกันเพื่อต้องการผลิตน้ำมันสบู่ดำขึ้นใช้เองแทนน้ำมันดีเซล โครงการฯ นี้จึงถือเป็นจุดเริ่มต้นของแนวคิด 1 ชุมชน 1 พลังงานทางเลือกทดแทน และหวังให้เป็นชุมชนต้นแบบในการถ่ายทอดความสำเร็จ ของโครงการโรงงานต้นแบบสำหรับอุตสาหกรรมขนาดเล็กในการผลิตน้ำมันสบู่ดำ สำหรับ ชุมชนอื่นๆ ต่อไปในอนาคต โดยการสนับสนุน ของ สวทช. ประกอบด้วย ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) ในฐานะผู้มีบทบาทในการวิจัยพลังงานทางเลือก จะให้การสนับสนุนในเรื่องของการพัฒนาเครื่องจักรสำหรับการผลิตน้ำมันสบู่ดำ, ศูนย์พันธุวิศวกรรม และเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สนับสนุนเรื่องของการเพาะพันธุ์สบู่ดำ และโครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย (iTAP) ภายใต้ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี (ทีเอ็มซี.) ให้การสนับสนุนเรื่องการจัดหาผู้เชี่ยวชาญเข้าไปถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตน้ำมันสบู่ดำให้กับชาวบ้าน
นางสาวสนธวรรณ สุภัทรประทีป ผู้อำนวยการโครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย (iTAP) กล่าวว่า ถือเป็นโครงงานแรกที่ทางโครงการ iTAP ได้เข้ามาให้การสนับสนุนแก่วิสาหกิจชุมชนที่มีการรวมตัวกันอย่างเข้มแข็งและมีความต้องการ ที่ชัดเจนในการที่จะพัฒนาตัวเองขึ้นมาจากเดิมที่ iTAP ให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนแก่ภาคเอกชนในรูปแบบของบริษัทหรือโรงงานในการเพิ่มขีดความสามารถด้านการผลิต การจัดการ การผลิตให้สามารถผลิตได้ดีขึ้นมีคุณภาพและมาตรฐาน ซึ่งการเข้ามาสนับสนุนแก่วิสาหกิจชุมชนเครือข่ายรักษ์ท้องถิ่นอำเภอทุ่งหัวช้าง เนื่องจากเห็นว่าเป็นชุมชนที่เล็งเห็นความสำคัญของการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปใช้เพิ่มองค์ความรู้ให้กับชุมชนเอง นับเป็นโครงการหนึ่งที่ทางสวทช.ให้ความร่วมมือกับชุนชนในการพัฒนาและยกระดับมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่น
ด้าน นางอรุณพร นุปา ประธานวิสาหกิจ ชุมชนเครือข่ายรักษ์ท้องถิ่นอำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน กล่าวว่า อำเภอทุ่งหัวช้างมีประชากรราว 150-200 ครัวเรือน ใน 35 หมู่บ้าน ก่อนหน้านี้ชาวบ้านทุ่งหัวช้างได้รับการสนับสนุนจากอำเภอให้ปลูกสบู่ดำเพื่อผลิตเป็นน้ำมัน ทดแทนน้ำมันดีเซลในระดับครัวเรือน เพิ่มขึ้นกว่า 1.1 แสนต้นตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ขณะที่พื้นที่เดิมในชุมชนมีการปลูกสบู่ดำอยู่แล้วกว่า 300 ไร่ คาดว่า ในปี 2551 จะทำให้มีปริมาณวัตถุดิบมากพอที่จะนำมาผลิตเป็นน้ำมันเพราะกลุ่มฯไม่ต้องการผลิตเพื่อจำหน่ายหรือทำเป็นธุรกิจ แต่ต้องการนำมาใช้เองในชุมชนเพื่อลดรายจ่ายเพื่อให้สิ่งแวดล้อมของชุมชนดีขึ้น และการสามารถดำเนินวิถีชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
การที่มองสบู่ดำมาเป็นพลังงานทดแทน เพราะเป็นพืชที่มีอยู่ดั่งเดิมในชุมชน หลังจากที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมกับมูลนิธิรักษ์ไทยทั้งเรื่องการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ ป่าชุมชน และการสร้างอาชีพเสริมของกลุ่มสตรีในชุมชนโดยใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านกับการจัดการทรัพยากรในท้อง ถิ่น รวมถึงเรื่องของพลังงานทดแทนที่ได้ร่วมกิจกรรมในโครงการการผลิตปุ๋ยชีวภาพ และก๊าซชีวภาพกับกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก ทำให้เกิดแนวคิดในการนำต้นสบู่ดำที่มีอยู่ในชุมชนมาผลิตเป็นพลังงานทดแทน ซึ่งยังเป็นการเพิ่มศักยภาพและเพิ่มมูลค่าให้กับพืชท้องถิ่นอีกด้วย
ดร.สมัย ใจอินทร์ ผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สวทช. กล่าวเสริมว่า โครงการฯ นี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นของชุมชนที่ต้องการนำพืชที่มีอยู่ในท้องถิ่น มาผลิตเป็นไบโอดีเซลเพื่อการพึ่งตนเอง โดยความร่วมมือดังกล่าว จะมีระยะเวลา 1 ปี แบ่ง เป็นสองระยะ คือ ระยะแรกจะใช้เวลาประมาณ 3 เดือน เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะปลูกต้นสบู่ดำที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ การจัดการวิสาหกิจชุมชน โดยทาง iTAP ได้เชิญ รศ.ดร.พรชัย เหลืองอาภาพงศ์ อาจารย์ประจำคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และทีมงานของหน่วยบริการเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาชนบทจากไบโอเทคเข้าไปช่วยเหลือเรื่องของพันธุ์ การเพาะปลูกและการคัดเลือกสายพันธุ์ รวมถึงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตน้ำมัน สบู่ดำ การใช้น้ำมันสบู่ดำกับเครื่องจักรกลการ เกษตร และการผลิตเครื่องหีบน้ำมันสบู่ดำแบบไฮดรอลิกมือโยก ราคาถูกและผลิตง่ายเพื่อให้ชุมชนได้ทดลองการผลิต ซึ่งเครื่องดังกล่าวออกแบบและพัฒนาโดย ดร.เอกรัตน์ ไวยนิตย์ และดร.สุบงกช โตไพบูลย์ ผู้เชี่ยวชาญ จากเอ็มเทค ซึ่งเป็นผู้ถ่ายทอดเทคโนโลยีการ นำน้ำมันสบู่ดำไปใช้กับเครื่องจักรกลการเกษตร
ส่วนระยะที่สอง จะเป็นการถ่ายทอดเทคโนโลยีเครื่องจักรผลิตน้ำมันสบู่ดำ ประกอบด้วย เครื่องกะเทาะเปลือก เครื่องหีบและเครื่องกรอง ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อรองรับกำลังการผลิตที่ใหญ่ขึ้น (mass products) โดยขนาดและกำลังการผลิตขึ้นอยู่กับความต้องการของชุมชนเป็นหลัก นอกจากนี้ จะมีการติดตามผลการใช้งานของเครื่องจักร การเพาะปลูก และการจัดการวิสาหกิจชุมชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนสามารถดำเนินการผลิตน้ำมันสบู่ดำเป็นพลังงานทางเลือกได้อย่างมีประสิทธิภาพและพึ่งตนเองได้
http://www.siamturakij.com/home/news/di ... ws_id=6155
> ผลิตน้ำมันสบู่ดำใช้เอง ทดแทนน้ำมันดีเซลในชุมชน
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) หนุน วิสาหกิจชุมชนเครือข่ายรักษ์ท้องถิ่นอำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน ผลิตน้ำมันสบู่ดำเป็นพลังงานทดแทน พร้อมจัดส่งเทคโนโลยีและองค์ความรู้เข้าถ่ายทอดแก่ชุมชน ตั้งเป้า 1 ปีให้เป็นชุมชนต้นแบบผลิตน้ำมันสบู่ดำใช้แทนน้ำมันดีเซลสำหรับชุมชนอื่นๆ ต่อไป หวังสร้างความเป็นไทด้านพลังงานให้กับชุมชน ภายใต้แนวคิด 1 ชุมชน 1 พลังงานทางเลือกทดแทน
รศ.ศิริลักษณ์ นิวิฐจรรยงค์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวถึงความ ร่วมมือในโครงการโรงงานต้นแบบสำหรับอุตสาหกรรมขนาดเล็กในการผลิตน้ำมันสบู่ดำ ระยะที่ 1 ระหว่าง สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และวิสาหกิจ ชุมชนเครือข่ายรักษ์ท้องถิ่นอำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูนว่า โครงการฯ ดังกล่าวเกิดจากความต้องการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเครือข่ายรักษ์ท้องถิ่นอำเภอทุ่งหัวช้าง ที่ต้องการผลิตน้ำมันจากสบู่ดำขึ้นใช้เอง เพื่อเป็นพลังงาน ทางเลือกทดแทนน้ำมันดีเซล ซึ่งจะช่วยให้ชุมชนไม่ต้องนำรายได้ไปจัดซื้อน้ำมัน เพราะที่ผ่านมาชุมชนมีค่าใช้จ่ายในเรื่องของพลังงานมากกว่า 60-70% ทั้งก๊าซหุงต้ม ไฟฟ้า และเชื้อเพลิงเครื่องยนต์
หากชุมชนสามารถผลิตพลังงานใช้เองจากวัตถุดิบในท้องถิ่น เช่น น้ำมันสบู่ดำ ก็จะช่วยผ่อนภาระให้กับชุมชนและถือว่าชุมชนหรือหมู่บ้านนั้น มีความเป็นไททางด้านพลังงาน และในอนาคตยังสามารถมองไปถึงพลังงานรูปแบบอื่นได้ต่อไป เนื่องจากสบู่ดำยังมีศักยภาพที่จะนำไปผลิตเป็นไบโอดีเซลได้อีก แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการใช้น้ำมันและความพร้อมของชุมชนนั้นๆ
ในอดีตกระแสความต้องการใช้น้ำมันสบู่ดำส่วนใหญ่มักจะเป็นเรื่องของการขายต้นหรือพันธุ์ จึงสนับสนุนให้มีการปลูกกันเพื่อการขายต้นสบู่ดำเพื่อนำไปใช้ผลิตน้ำมันมากกว่า แตกต่างจากวิสาหกิจชุมชนเครือข่ายรักษ์ท้องถิ่นอำเภอทุ่งหัวช้างที่มีการรวมตัวกันเพื่อต้องการผลิตน้ำมันสบู่ดำขึ้นใช้เองแทนน้ำมันดีเซล โครงการฯ นี้จึงถือเป็นจุดเริ่มต้นของแนวคิด 1 ชุมชน 1 พลังงานทางเลือกทดแทน และหวังให้เป็นชุมชนต้นแบบในการถ่ายทอดความสำเร็จ ของโครงการโรงงานต้นแบบสำหรับอุตสาหกรรมขนาดเล็กในการผลิตน้ำมันสบู่ดำ สำหรับ ชุมชนอื่นๆ ต่อไปในอนาคต โดยการสนับสนุน ของ สวทช. ประกอบด้วย ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) ในฐานะผู้มีบทบาทในการวิจัยพลังงานทางเลือก จะให้การสนับสนุนในเรื่องของการพัฒนาเครื่องจักรสำหรับการผลิตน้ำมันสบู่ดำ, ศูนย์พันธุวิศวกรรม และเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สนับสนุนเรื่องของการเพาะพันธุ์สบู่ดำ และโครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย (iTAP) ภายใต้ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี (ทีเอ็มซี.) ให้การสนับสนุนเรื่องการจัดหาผู้เชี่ยวชาญเข้าไปถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตน้ำมันสบู่ดำให้กับชาวบ้าน
นางสาวสนธวรรณ สุภัทรประทีป ผู้อำนวยการโครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย (iTAP) กล่าวว่า ถือเป็นโครงงานแรกที่ทางโครงการ iTAP ได้เข้ามาให้การสนับสนุนแก่วิสาหกิจชุมชนที่มีการรวมตัวกันอย่างเข้มแข็งและมีความต้องการ ที่ชัดเจนในการที่จะพัฒนาตัวเองขึ้นมาจากเดิมที่ iTAP ให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนแก่ภาคเอกชนในรูปแบบของบริษัทหรือโรงงานในการเพิ่มขีดความสามารถด้านการผลิต การจัดการ การผลิตให้สามารถผลิตได้ดีขึ้นมีคุณภาพและมาตรฐาน ซึ่งการเข้ามาสนับสนุนแก่วิสาหกิจชุมชนเครือข่ายรักษ์ท้องถิ่นอำเภอทุ่งหัวช้าง เนื่องจากเห็นว่าเป็นชุมชนที่เล็งเห็นความสำคัญของการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปใช้เพิ่มองค์ความรู้ให้กับชุมชนเอง นับเป็นโครงการหนึ่งที่ทางสวทช.ให้ความร่วมมือกับชุนชนในการพัฒนาและยกระดับมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่น
ด้าน นางอรุณพร นุปา ประธานวิสาหกิจ ชุมชนเครือข่ายรักษ์ท้องถิ่นอำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน กล่าวว่า อำเภอทุ่งหัวช้างมีประชากรราว 150-200 ครัวเรือน ใน 35 หมู่บ้าน ก่อนหน้านี้ชาวบ้านทุ่งหัวช้างได้รับการสนับสนุนจากอำเภอให้ปลูกสบู่ดำเพื่อผลิตเป็นน้ำมัน ทดแทนน้ำมันดีเซลในระดับครัวเรือน เพิ่มขึ้นกว่า 1.1 แสนต้นตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ขณะที่พื้นที่เดิมในชุมชนมีการปลูกสบู่ดำอยู่แล้วกว่า 300 ไร่ คาดว่า ในปี 2551 จะทำให้มีปริมาณวัตถุดิบมากพอที่จะนำมาผลิตเป็นน้ำมันเพราะกลุ่มฯไม่ต้องการผลิตเพื่อจำหน่ายหรือทำเป็นธุรกิจ แต่ต้องการนำมาใช้เองในชุมชนเพื่อลดรายจ่ายเพื่อให้สิ่งแวดล้อมของชุมชนดีขึ้น และการสามารถดำเนินวิถีชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
การที่มองสบู่ดำมาเป็นพลังงานทดแทน เพราะเป็นพืชที่มีอยู่ดั่งเดิมในชุมชน หลังจากที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมกับมูลนิธิรักษ์ไทยทั้งเรื่องการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ ป่าชุมชน และการสร้างอาชีพเสริมของกลุ่มสตรีในชุมชนโดยใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านกับการจัดการทรัพยากรในท้อง ถิ่น รวมถึงเรื่องของพลังงานทดแทนที่ได้ร่วมกิจกรรมในโครงการการผลิตปุ๋ยชีวภาพ และก๊าซชีวภาพกับกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก ทำให้เกิดแนวคิดในการนำต้นสบู่ดำที่มีอยู่ในชุมชนมาผลิตเป็นพลังงานทดแทน ซึ่งยังเป็นการเพิ่มศักยภาพและเพิ่มมูลค่าให้กับพืชท้องถิ่นอีกด้วย
ดร.สมัย ใจอินทร์ ผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สวทช. กล่าวเสริมว่า โครงการฯ นี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นของชุมชนที่ต้องการนำพืชที่มีอยู่ในท้องถิ่น มาผลิตเป็นไบโอดีเซลเพื่อการพึ่งตนเอง โดยความร่วมมือดังกล่าว จะมีระยะเวลา 1 ปี แบ่ง เป็นสองระยะ คือ ระยะแรกจะใช้เวลาประมาณ 3 เดือน เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะปลูกต้นสบู่ดำที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ การจัดการวิสาหกิจชุมชน โดยทาง iTAP ได้เชิญ รศ.ดร.พรชัย เหลืองอาภาพงศ์ อาจารย์ประจำคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และทีมงานของหน่วยบริการเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาชนบทจากไบโอเทคเข้าไปช่วยเหลือเรื่องของพันธุ์ การเพาะปลูกและการคัดเลือกสายพันธุ์ รวมถึงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตน้ำมัน สบู่ดำ การใช้น้ำมันสบู่ดำกับเครื่องจักรกลการ เกษตร และการผลิตเครื่องหีบน้ำมันสบู่ดำแบบไฮดรอลิกมือโยก ราคาถูกและผลิตง่ายเพื่อให้ชุมชนได้ทดลองการผลิต ซึ่งเครื่องดังกล่าวออกแบบและพัฒนาโดย ดร.เอกรัตน์ ไวยนิตย์ และดร.สุบงกช โตไพบูลย์ ผู้เชี่ยวชาญ จากเอ็มเทค ซึ่งเป็นผู้ถ่ายทอดเทคโนโลยีการ นำน้ำมันสบู่ดำไปใช้กับเครื่องจักรกลการเกษตร
ส่วนระยะที่สอง จะเป็นการถ่ายทอดเทคโนโลยีเครื่องจักรผลิตน้ำมันสบู่ดำ ประกอบด้วย เครื่องกะเทาะเปลือก เครื่องหีบและเครื่องกรอง ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อรองรับกำลังการผลิตที่ใหญ่ขึ้น (mass products) โดยขนาดและกำลังการผลิตขึ้นอยู่กับความต้องการของชุมชนเป็นหลัก นอกจากนี้ จะมีการติดตามผลการใช้งานของเครื่องจักร การเพาะปลูก และการจัดการวิสาหกิจชุมชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนสามารถดำเนินการผลิตน้ำมันสบู่ดำเป็นพลังงานทางเลือกได้อย่างมีประสิทธิภาพและพึ่งตนเองได้
http://www.siamturakij.com/home/news/di ... ws_id=6155
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news03/09/07
โพสต์ที่ 66
เดินหน้าอนุรักษ์พลังงาน 5ปีลดลงทุนไฟฟ้า4หมื่นล.
โพสต์ทูเดย์ กระทรวงพลังงาน เดินหน้าโครงการอนุรักษ์พลังงานต่อเนื่อง ฟุ้ง 5 ปีที่ผ่านมา ช่วยชะลอการสร้าง โรงไฟฟ้าใหม่ 4 หมื่นล้านบาท
นายคุรุจิต นาครทรรพ รองปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ยังคง ต้องรณรงค์เพื่อให้มีการประหยัด พลังงานอย่างต่อเนื่อง หลังจากนโยบายส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานช่วง 5 ปีที่ผ่านมาสามารถลดความต้องการพลังไฟฟ้าได้ถึง 1,304 เมกะวัตต์ หรือเท่ากับช่วยชะลอการก่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ที่ต้องใช้เงินลงทุนประมาณ 4 หมื่นล้านบาท
ทั้งนี้ โครงการส่งเสริมการใช้ พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ 6 โครงการ คือ 1.การรณรงค์ใช้หลอดผอมฟลูออเรสเซนต์ปริมาณวัตต์ลดลงจากขนาด 36 วัตต์ เป็น 18 วัตต์ 2.ส่งเสริมการใช้หลอดตะเกียบ (CFL) ประสิทธิภาพสูง ประหยัดพลังงานได้ 10 เมกะวัตต์
3.การรณรงค์การใช้ตู้เย็นประสิทธิ ภาพสูง (เบอร์ 5) ประหยัดพลังงานได้ 236.3 เมกะวัตต์ 4.การรณรงค์เครื่องปรับอากาศประสิทธิภาพสูง (เบอร์ 5) ประหยัดพลังงานได้ 640.7 เมกะวัตต์ ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน 1.87 ล้านตันคาร์บอน
5.การรณรงค์การใช้บัลลาสต์ประสิทธิภาพสูง ประหยัดพลังงานได้ 13.8 เมกะวัตต์ ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน 0.06 ล้านตันคาร์บอน และ 6.การอนุรักษ์พลังงานภายในอาคาร หรือโครงการตึกสีเขียว ซึ่งประหยัดพลังงานได้ 2.6 เมกะวัตต์ ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน 0.01 ล้านตัน
อย่างไรก็ตาม ในเวทีการประชุมกลุ่มนักธุรกิจพลังงานอาเซียน ซึ่งจัดคู่ไปกับการประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียน ที่ประเทศสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 22-23 ส.ค. ที่ผ่านมา ประเทศไทยได้รับการยกย่องว่ามีการบริหารจัดการความต้องการใช้พลังงานดีมาก ซึ่งนับเป็นสิ่งที่ชาวไทยควรภาคภูมิใจในความสำเร็จของการส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพของประเทศ จนเป็นที่ยอมรับในระดับอาเซียน
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=189026
โพสต์ทูเดย์ กระทรวงพลังงาน เดินหน้าโครงการอนุรักษ์พลังงานต่อเนื่อง ฟุ้ง 5 ปีที่ผ่านมา ช่วยชะลอการสร้าง โรงไฟฟ้าใหม่ 4 หมื่นล้านบาท
นายคุรุจิต นาครทรรพ รองปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ยังคง ต้องรณรงค์เพื่อให้มีการประหยัด พลังงานอย่างต่อเนื่อง หลังจากนโยบายส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานช่วง 5 ปีที่ผ่านมาสามารถลดความต้องการพลังไฟฟ้าได้ถึง 1,304 เมกะวัตต์ หรือเท่ากับช่วยชะลอการก่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ที่ต้องใช้เงินลงทุนประมาณ 4 หมื่นล้านบาท
ทั้งนี้ โครงการส่งเสริมการใช้ พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ 6 โครงการ คือ 1.การรณรงค์ใช้หลอดผอมฟลูออเรสเซนต์ปริมาณวัตต์ลดลงจากขนาด 36 วัตต์ เป็น 18 วัตต์ 2.ส่งเสริมการใช้หลอดตะเกียบ (CFL) ประสิทธิภาพสูง ประหยัดพลังงานได้ 10 เมกะวัตต์
3.การรณรงค์การใช้ตู้เย็นประสิทธิ ภาพสูง (เบอร์ 5) ประหยัดพลังงานได้ 236.3 เมกะวัตต์ 4.การรณรงค์เครื่องปรับอากาศประสิทธิภาพสูง (เบอร์ 5) ประหยัดพลังงานได้ 640.7 เมกะวัตต์ ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน 1.87 ล้านตันคาร์บอน
5.การรณรงค์การใช้บัลลาสต์ประสิทธิภาพสูง ประหยัดพลังงานได้ 13.8 เมกะวัตต์ ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน 0.06 ล้านตันคาร์บอน และ 6.การอนุรักษ์พลังงานภายในอาคาร หรือโครงการตึกสีเขียว ซึ่งประหยัดพลังงานได้ 2.6 เมกะวัตต์ ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน 0.01 ล้านตัน
อย่างไรก็ตาม ในเวทีการประชุมกลุ่มนักธุรกิจพลังงานอาเซียน ซึ่งจัดคู่ไปกับการประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียน ที่ประเทศสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 22-23 ส.ค. ที่ผ่านมา ประเทศไทยได้รับการยกย่องว่ามีการบริหารจัดการความต้องการใช้พลังงานดีมาก ซึ่งนับเป็นสิ่งที่ชาวไทยควรภาคภูมิใจในความสำเร็จของการส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพของประเทศ จนเป็นที่ยอมรับในระดับอาเซียน
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=189026
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news05/09/07
โพสต์ที่ 67
ลุ้นรัฐไฟเขียวลงทุนปิโตรมาบตาพุด
โดย ข่าวสด วัน พุธ ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2550 09:49 น.
นายศุภชัย วัฒนางกูร ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ภาคเอกชนกำลังติดตามเกี่ยวกับการอนุมัติการลงทุนกิจการปิโตรเคมีในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยอง ที่อยู่ระหว่างการรอผลจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ โดยมีโครงการรอการพิจารณาถึง 12 โครงการ มูลค่าลงทุนกว่า 1.5 แสนล้านบาท โดยภาคเอกชนมีความเป็นห่วงว่าหากการพิจารณาล่าช้าไปถึงรัฐบาลชุดหน้าจะกระทบต่อการลงทุนมาก เพราะเมื่อมีคนใหม่มาดูแลเรื่องนี้ ก็ต้องเริ่มพิจารณากันใหม่ จะเสียเวลาออกไปอีก
อย่างไรก็ตาม ในส่วนการพิจารณาผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรืออีไอเอนั้น รัฐเองก็ต้องชัดเจนว่าจะมีแผนดูแลจัดการอย่างไร เนื่องจากหากต้องใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ตัดสินใจข้อมูล แต่ขณะนี้แบบจำลองดังกล่าวยังมีคลาดเคลื่อนอยู่ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยระยะเวลาในการติดตั้งอุปกรณ์ที่จะตรวจวัดเพื่อให้ได้ข้อมูลที่แม่นยำ
หากการลงทุนต้องลากยาวไปอีกจะทำให้ต้นทุนการก่อสร้างปรับเพิ่มขึ้น 20-30% และต้องเจรจาเงินกู้เงินกับสถาบันการใหม่อีก ซึ่งโรงงานต่างๆ ไม่อยากจะให้เกิดปัญหากับชุมชน รัฐต้องชัดเจนว่าจะให้ประเทศเดินไปทางไหน ถ้าหากไม่ให้ลงทุนที่มาบตาพุดควรเร่งจัดที่ใหม่ให้พร้อม แต่ในเมื่อมาบตาพุดประชาชนยังไม่ยอมรับ จะย้ายไปที่ใหม่คงจะไม่มีใครยอมรับ นายศุภชัยกล่าว
http://news.sanook.com/economic/economic_178328.php
โดย ข่าวสด วัน พุธ ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2550 09:49 น.
นายศุภชัย วัฒนางกูร ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ภาคเอกชนกำลังติดตามเกี่ยวกับการอนุมัติการลงทุนกิจการปิโตรเคมีในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยอง ที่อยู่ระหว่างการรอผลจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ โดยมีโครงการรอการพิจารณาถึง 12 โครงการ มูลค่าลงทุนกว่า 1.5 แสนล้านบาท โดยภาคเอกชนมีความเป็นห่วงว่าหากการพิจารณาล่าช้าไปถึงรัฐบาลชุดหน้าจะกระทบต่อการลงทุนมาก เพราะเมื่อมีคนใหม่มาดูแลเรื่องนี้ ก็ต้องเริ่มพิจารณากันใหม่ จะเสียเวลาออกไปอีก
อย่างไรก็ตาม ในส่วนการพิจารณาผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรืออีไอเอนั้น รัฐเองก็ต้องชัดเจนว่าจะมีแผนดูแลจัดการอย่างไร เนื่องจากหากต้องใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ตัดสินใจข้อมูล แต่ขณะนี้แบบจำลองดังกล่าวยังมีคลาดเคลื่อนอยู่ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยระยะเวลาในการติดตั้งอุปกรณ์ที่จะตรวจวัดเพื่อให้ได้ข้อมูลที่แม่นยำ
หากการลงทุนต้องลากยาวไปอีกจะทำให้ต้นทุนการก่อสร้างปรับเพิ่มขึ้น 20-30% และต้องเจรจาเงินกู้เงินกับสถาบันการใหม่อีก ซึ่งโรงงานต่างๆ ไม่อยากจะให้เกิดปัญหากับชุมชน รัฐต้องชัดเจนว่าจะให้ประเทศเดินไปทางไหน ถ้าหากไม่ให้ลงทุนที่มาบตาพุดควรเร่งจัดที่ใหม่ให้พร้อม แต่ในเมื่อมาบตาพุดประชาชนยังไม่ยอมรับ จะย้ายไปที่ใหม่คงจะไม่มีใครยอมรับ นายศุภชัยกล่าว
http://news.sanook.com/economic/economic_178328.php
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news07/09/07
โพสต์ที่ 68
ไทย-ลาวเล็งขยายเอ็มโอยูซื้อไฟฟ้าเพิ่มอีก 2,000 เมกะวัตต์
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 7 กันยายน 2550 15:16 น.
ไทยและลาวเตรียมหารือการลงนามขยายการซื้อ - ขายไฟฟ้าระหว่างกัน โดยจะลงนามเพิ่มขึ้นอีก 2,000 เมกะวัตต์ และจะลงเอ็มโอยูภายในสิ้นปีนี้ พร้อมทั้งเตรียมจะลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (พีพีเอ) 4 โครงการ ภายในเดือนกันยายนนี้
นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยเรื่องดังกล่าว ภายหลังการหารือร่วมกัน นายบอสายคำ วงดารา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานและแร่ธาตุ สปป.ลาว โดยระบุว่า บันทึกข้อตกลงเบื้องต้น (เอ็มโอยู) ที่จะลงนามเพิ่มอีก 2,000 เมกะวัตต์ นั้น สปป.ลาวพร้อมจะขายไฟฟ้าเข้าระบบของไทยหลังปี ค.ศ.2015 หรือปี พ.ศ. 2558 โดยมีเงื่อนไขเช่นเดียวกับเอ็มโอยูในปัจจุบันคือ จะต้องมีผู้ร่วมทุนของไทยด้วยและค่าไฟฟ้าจะต้องแข่งขันได้กับเชื้อเพลิงถ่านหินและก๊าซธรรมชาติของไทย ซึ่งโครงการนี้ทั้ง 2 ประเทศจะได้ประโยชน์เรื่องกันในเรื่องการสร้างมั่นคงพลังงานและการเพิ่มรายได้แก่ สปป.ลาว อย่างไรก็ตาม เอ็มโอยูดังกล่าวจะต้องปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญปี 2550 คือจะต้องผ่านความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ก่อน แล้วจึงจะนำเข้าขอความเห็นชอบจาก ครม.และมีการลงนามเอ็มโอยูต่อไป
ส่วน 4 โครงการภายใต้ ที่ได้มีการลงนามเอ็มโอยูซื้อขายไฟฟ้าแล้ว ได้แก่ โรงไฟฟ้าพลังน้ำเทินหินบุน ส่วนขยาย 280 เมกะวัตต์ เข้าระบบ ปีค.ศ. 2012 น้ำเงี๊ยบ 262 เมกะวัตต์ เข้าระบบปี ค.ศ. 2014 น้ำงึม 3 กำลังผลิต 440 เมกะวัตต์ เข้าระบบปี 2013 และน้ำเทิน 1 กำลังผลิต 523 เมกะวัตต์ เข้าระบบ ปี 2013 ทางลาวได้ให้คำยืนยันชัดเจนว่า จะลงนามพีพีเอในเดือนกันยายนนี้ ซึ่งเดิมปัญหาหลักอยู่ที่การก่อสร้างสายส่งไฟฟ้าและสถานีไฟฟ้าแรงสูงนาบอง ทาง สปป.ลาวระบุว่า ธนาคารพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) พร้อมปล่อยกู้เพื่อก่อสร้าง และเอกชนทั้ง 4 - 5 โครงการก็พร้อมที่จะร่วมลงทุนโครงการนี้มูลค่ารวม 3,000 ล้านบาท จึงไม่นับเป็นอุปสรรคที่จะทำให้โครงการล่าช้า อย่างไรก็ตาม ไทยได้เสนอว่า หากเอดีบีมีความล่าช้าในการปล่อยกู้ ทางรัฐบาลไทยก็พร้อมจะช่วยเหลือ ขณะเดียวกัน สปป.ลาวได้ยืนยันว่าโครงการหงสา-ลิกไนต์ ที่จะขายให้ไทย 1,400 เมกะวัตต์นั้น จะลงนามเอ็มโอยูในปีนี้ และจะลงนามพีพีเอในปี 2551 โดยโครงการเหล่านี้อยู่ภายใต้เอ็มโอยู 5,000 เกมะวัตต์
ด้านนายบอสายคำ กล่าวว่า ศักยภาพการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำของ สปป.ลาวมีรวมประมาณ 20,000 เมกะวัตต์ ซึ่งนอกจากจะเอ็มโอยูขายไฟฟ้าแก่ไทยแล้ว ยังได้เอ็มยูโอยูขายไฟฟ้าแก่เวียดนามอีก 3,000 เมกะวัตต์ โดยขณะนี้ลาวมีรายได้จากการขายไฟฟ้าให้ไทยจากโครงการเขื่อนห้วยเฮาะ เทินหินบุน ประมาณ 70 ล้านดอลลาร์สหรัฐ/ปี และจะเพิ่มสูงขึ้นในอนาคตเป็นรายได้หลักที่ไปพัฒนาประเทศ ขณะเดียวกัน สปป.ลาวไม่ได้ละเลยการดูแลสิ่งแวดล้อม โดยโครงการใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้นจะเป็นการดำเนินการตามโครงการน้ำเทิน 2 ที่ได้รับอนุมัติเงินกู้จากธนาคารโลก ซึ่งมีความเข้มงวดเรื่องการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) เป็นอย่างมาก
ด้านนายเอียน พอร์เตอร์ (Ian Porter) ผู้อำนวยการธนาคารโลก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวในระหว่างการประชุมความร่วมมือระหว่างไทย - ลาว เพื่อการพัฒนาไฟฟ้าพลังน้ำแบบยั่งยืนว่า การพัฒนาต้องคำนึงถึงคุณค่าทางเศรษฐกิจ การเงิน สังคมและสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไป ซึ่งการจัดหาไฟฟ้าพลังน้ำที่สะอาดให้แก่ไทย จะทำให้ไทยสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และช่วยให้ประชาชนใน 17 จังหวัดภาคอีสาน ซึ่งเป็นภูมิภาคที่ยากจนที่สุดได้มีไฟฟ้าใช้ในราคาเหมาะสม ขณะเดียวกัน การสำรวจแหล่งพัฒนาไฟฟ้าพลังน้ำจะช่วยให้ลาวสามารถแก้ไขปัญหาความยากจน และสามารถขยับฐานะขึ้นเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลางได้ภายในปี ค.ศ. 2020 ซึ่งธนาคารโลกพร้อมสนับสนุนด้านการเงินแก่ สปป.ลาว เหมือนกับเขื่อนน้ำเทิน 2 ซึ่งเป็นตัวอย่างของการพัฒนาที่ยั่งยืน จนทำให้นิตยสารนิวสวีค เรียกโครงการนี้ว่า ดีกว่าและอ่อนโยนกว่า เขื่อนใดที่มีการก่อสร้างในอดีต เพราะช่วยยกระดับความเป็นอยู่ของชาวบ้านและคำนึงถึงผลกระทบสิ่งแวดล้อม
http://www.manager.co.th/Business/ViewN ... 0000105787
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 7 กันยายน 2550 15:16 น.
ไทยและลาวเตรียมหารือการลงนามขยายการซื้อ - ขายไฟฟ้าระหว่างกัน โดยจะลงนามเพิ่มขึ้นอีก 2,000 เมกะวัตต์ และจะลงเอ็มโอยูภายในสิ้นปีนี้ พร้อมทั้งเตรียมจะลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (พีพีเอ) 4 โครงการ ภายในเดือนกันยายนนี้
นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยเรื่องดังกล่าว ภายหลังการหารือร่วมกัน นายบอสายคำ วงดารา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานและแร่ธาตุ สปป.ลาว โดยระบุว่า บันทึกข้อตกลงเบื้องต้น (เอ็มโอยู) ที่จะลงนามเพิ่มอีก 2,000 เมกะวัตต์ นั้น สปป.ลาวพร้อมจะขายไฟฟ้าเข้าระบบของไทยหลังปี ค.ศ.2015 หรือปี พ.ศ. 2558 โดยมีเงื่อนไขเช่นเดียวกับเอ็มโอยูในปัจจุบันคือ จะต้องมีผู้ร่วมทุนของไทยด้วยและค่าไฟฟ้าจะต้องแข่งขันได้กับเชื้อเพลิงถ่านหินและก๊าซธรรมชาติของไทย ซึ่งโครงการนี้ทั้ง 2 ประเทศจะได้ประโยชน์เรื่องกันในเรื่องการสร้างมั่นคงพลังงานและการเพิ่มรายได้แก่ สปป.ลาว อย่างไรก็ตาม เอ็มโอยูดังกล่าวจะต้องปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญปี 2550 คือจะต้องผ่านความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ก่อน แล้วจึงจะนำเข้าขอความเห็นชอบจาก ครม.และมีการลงนามเอ็มโอยูต่อไป
ส่วน 4 โครงการภายใต้ ที่ได้มีการลงนามเอ็มโอยูซื้อขายไฟฟ้าแล้ว ได้แก่ โรงไฟฟ้าพลังน้ำเทินหินบุน ส่วนขยาย 280 เมกะวัตต์ เข้าระบบ ปีค.ศ. 2012 น้ำเงี๊ยบ 262 เมกะวัตต์ เข้าระบบปี ค.ศ. 2014 น้ำงึม 3 กำลังผลิต 440 เมกะวัตต์ เข้าระบบปี 2013 และน้ำเทิน 1 กำลังผลิต 523 เมกะวัตต์ เข้าระบบ ปี 2013 ทางลาวได้ให้คำยืนยันชัดเจนว่า จะลงนามพีพีเอในเดือนกันยายนนี้ ซึ่งเดิมปัญหาหลักอยู่ที่การก่อสร้างสายส่งไฟฟ้าและสถานีไฟฟ้าแรงสูงนาบอง ทาง สปป.ลาวระบุว่า ธนาคารพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) พร้อมปล่อยกู้เพื่อก่อสร้าง และเอกชนทั้ง 4 - 5 โครงการก็พร้อมที่จะร่วมลงทุนโครงการนี้มูลค่ารวม 3,000 ล้านบาท จึงไม่นับเป็นอุปสรรคที่จะทำให้โครงการล่าช้า อย่างไรก็ตาม ไทยได้เสนอว่า หากเอดีบีมีความล่าช้าในการปล่อยกู้ ทางรัฐบาลไทยก็พร้อมจะช่วยเหลือ ขณะเดียวกัน สปป.ลาวได้ยืนยันว่าโครงการหงสา-ลิกไนต์ ที่จะขายให้ไทย 1,400 เมกะวัตต์นั้น จะลงนามเอ็มโอยูในปีนี้ และจะลงนามพีพีเอในปี 2551 โดยโครงการเหล่านี้อยู่ภายใต้เอ็มโอยู 5,000 เกมะวัตต์
ด้านนายบอสายคำ กล่าวว่า ศักยภาพการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำของ สปป.ลาวมีรวมประมาณ 20,000 เมกะวัตต์ ซึ่งนอกจากจะเอ็มโอยูขายไฟฟ้าแก่ไทยแล้ว ยังได้เอ็มยูโอยูขายไฟฟ้าแก่เวียดนามอีก 3,000 เมกะวัตต์ โดยขณะนี้ลาวมีรายได้จากการขายไฟฟ้าให้ไทยจากโครงการเขื่อนห้วยเฮาะ เทินหินบุน ประมาณ 70 ล้านดอลลาร์สหรัฐ/ปี และจะเพิ่มสูงขึ้นในอนาคตเป็นรายได้หลักที่ไปพัฒนาประเทศ ขณะเดียวกัน สปป.ลาวไม่ได้ละเลยการดูแลสิ่งแวดล้อม โดยโครงการใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้นจะเป็นการดำเนินการตามโครงการน้ำเทิน 2 ที่ได้รับอนุมัติเงินกู้จากธนาคารโลก ซึ่งมีความเข้มงวดเรื่องการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) เป็นอย่างมาก
ด้านนายเอียน พอร์เตอร์ (Ian Porter) ผู้อำนวยการธนาคารโลก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวในระหว่างการประชุมความร่วมมือระหว่างไทย - ลาว เพื่อการพัฒนาไฟฟ้าพลังน้ำแบบยั่งยืนว่า การพัฒนาต้องคำนึงถึงคุณค่าทางเศรษฐกิจ การเงิน สังคมและสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไป ซึ่งการจัดหาไฟฟ้าพลังน้ำที่สะอาดให้แก่ไทย จะทำให้ไทยสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และช่วยให้ประชาชนใน 17 จังหวัดภาคอีสาน ซึ่งเป็นภูมิภาคที่ยากจนที่สุดได้มีไฟฟ้าใช้ในราคาเหมาะสม ขณะเดียวกัน การสำรวจแหล่งพัฒนาไฟฟ้าพลังน้ำจะช่วยให้ลาวสามารถแก้ไขปัญหาความยากจน และสามารถขยับฐานะขึ้นเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลางได้ภายในปี ค.ศ. 2020 ซึ่งธนาคารโลกพร้อมสนับสนุนด้านการเงินแก่ สปป.ลาว เหมือนกับเขื่อนน้ำเทิน 2 ซึ่งเป็นตัวอย่างของการพัฒนาที่ยั่งยืน จนทำให้นิตยสารนิวสวีค เรียกโครงการนี้ว่า ดีกว่าและอ่อนโยนกว่า เขื่อนใดที่มีการก่อสร้างในอดีต เพราะช่วยยกระดับความเป็นอยู่ของชาวบ้านและคำนึงถึงผลกระทบสิ่งแวดล้อม
http://www.manager.co.th/Business/ViewN ... 0000105787
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news07/09/07
โพสต์ที่ 69
ระเบิดศึกชิงโรงไฟฟ้า 3,200 MW IPP ไทย/เทศลงสนามประลอง "ราคา"
ในที่สุด การเปิดขายซองประมูลการรับซื้อไฟฟ้าจาก IPP หรือผู้ประกอบการโรงไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ก็สิ้นสุดลง หลังจากที่เปิดขายมาตั้งแต่เดือนมิถุนายนที่ผ่านมา โดยมีผู้ประกอบการ IPP ที่เป็นทั้งโรงไฟฟ้า IPP รายเก่าในประเทศ, นักลงทุนรายใหญ่, บริษัทที่ปรึกษา และบริษัทผู้รับเหมาก่อสร้างวางระบบ ทั้งในและต่างประเทศ ให้ความสนใจเข้ามา ซื้อซองประกวดราคาเพื่อดูเงื่อนไขในการยื่นประมูลถึง 60 ราย โดยเกือบครึ่งหนึ่งของซองที่ซื้อไปเป็น IPP ที่ประกอบธุรกิจโรงไฟฟ้าในปัจจุบันอยู่แล้ว
ก่อนหน้านี้เคยมีความเชื่อจากกลุ่มผู้ประกอบการ IPP ในปัจจุบันที่ว่า ตนเองจะ "กวาด" โรงไฟฟ้าที่เปิดประมูลรอบใหม่ทั้ง 3,200 เมกะวัตต์ (MW) เพียงกลุ่มเดียวให้ได้ โดยอ้างถึงความพร้อมที่บริษัทมีอยู่ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ตั้งโรงไฟฟ้าหรืออาศัยความเป็นบริษัทลูกของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) อาทิ ในกรณีของบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ RATCH หรือบริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ EGCO
แต่เมื่อรายชื่อผู้ซื้อซองประกวดราคาออกมาถึง 60 ราย และในจำนวนนี้ 1 ใน 3 เป็นกลุ่มนักลงทุนรายใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการโรงไฟฟ้าต่างประเทศ ที่มีความพร้อมทั้งในเรื่องของเงินลงทุน การเป็นผู้ผลิต/จำหน่ายอุปกรณ์เครื่องกำเนิดไฟฟ้า หรือผู้วางระบบ ที่คุ้นเคยกันดีกับระบบประมูลของ 3 การไฟฟ้าในประเทศไทยเป็นอย่างดี จึงเป็นเรื่องที่ไม่แน่นอนเสียแล้วว่า IPP ในปัจจุบันที่หมายมั่นปั้นมือจะ "ครอบครอง" กำลังผลิตไฟฟ้าทั้ง 3,200 MW ไปไว้เพียงคนเดียว
ด้านผู้ประกอบการโรงไฟฟ้า IPP รายหนึ่งให้ความเห็นว่า คู่แข่งในการประมูลโรงไฟฟ้าใหม่รอบนี้ มีทั้งคู่แข่งในและนอกประเทศ หรือนอกจากจะแข่งกันเองในระหว่าง IPP ที่ขายไฟฟ้าให้กับ กฟผ.อยู่ในปัจจุบันแล้ว ยังต้องแข่งกับกลุ่มทุนต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็น J-Power ซึ่งซื้อซองประมูลถึง 4 ซอง หรือกลุ่ม Electricite" de France หรือ EDF จากฝรั่งเศส, กลุ่ม Mitsubishi Corporation, กลุ่ม Mitsui, กลุ่มบริษัท ALSTOM จากสวิตเซอร์แลนด์
ยังไม่รวมถึงกลุ่มผู้รับเหมาก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่มีผลงานการก่อสร้าง อาทิ กลุ่มอิตาเลียน-ไทย, กลุ่มซีเมนส์
ดังนั้น การแข่งขันในการประมูลโรงไฟฟ้า IPP ใหม่รอบนี้ ทุกคนจึงเชื่อมั่นว่า จะต้องแข่งกันที่ "ราคา (price evaluation)" ซึ่งหมายถึง ราคาไฟฟ้าเฉลี่ยต่อหน่วยตลอดอายุโครงการ (levelized unit cost) ซึ่งผู้เข้าร่วมประมูลจะต้องใช้สมมติฐานในการคำนวณราคาค่าไฟฟ้าตามที่กำหนดไว้ใน RFP package อาทิ สมมติฐานราคาเชื้อเพลิง, อัตราเงินเฟ้อ, อัตราส่วนลด (discount rate), การสั่งเดินเครื่อง, ต้นทุนค่าระบบส่ง (new transmission facility หรือ NTF) ที่คิดเป็นบาท/กิโลเมตร, ต้นทุนการปรับปรุงระบบส่งของ กฟผ. (transmission system upgrade หรือ TSU)
นอกจากนี้เพื่อปรับลดความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนในการรับซื้อไฟฟ้าจาก IPP จึงกำหนดให้ผู้เข้าประมูลต้องยื่นข้อเสนอในการรับความเสี่ยงเรื่องอัตราแลก เปลี่ยนที่เพิ่มขึ้นด้วย โดยสามารถปรับค่าอัตราแลกเปลี่ยนในค่าความพร้อมจ่าย (availability payment หรือ AP) ก่อนการลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้าได้
ส่งผลให้กระทรวงพลังงานมีความเชื่อมั่นว่า การประมูลโรงไฟฟ้าใหม่รอบนี้ ราคาค่าไฟฟ้า ที่ผู้ชนะการประมูลจะ "ต่ำลง" จากเหตุผลการแข่งขันตามที่กล่าวข้างต้น จริงอยู่ที่ผู้ประกอบการโรงไฟฟ้า IPP ในปัจจุบันจะมีข้อได้เปรียบในเรื่องของสถานที่ตั้งโรงไฟฟ้า และการเชื่อมโยงระบบส่งเข้ากับสายส่งของ กฟผ.
แต่สุดท้ายแล้ว จะต้องตัดสินการแพ้ชนะกันที่ "ราคา" เท่านั้น ที่จะเป็นเครื่องวัดกันว่า ใครจะเป็นผู้ครอบครองกำลังผลิตไฟฟ้าใหม่ทั้ง 3,200 เมกะวัตต์
http://www.matichon.co.th/prachachat/pr ... ionid=0203
ในที่สุด การเปิดขายซองประมูลการรับซื้อไฟฟ้าจาก IPP หรือผู้ประกอบการโรงไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ก็สิ้นสุดลง หลังจากที่เปิดขายมาตั้งแต่เดือนมิถุนายนที่ผ่านมา โดยมีผู้ประกอบการ IPP ที่เป็นทั้งโรงไฟฟ้า IPP รายเก่าในประเทศ, นักลงทุนรายใหญ่, บริษัทที่ปรึกษา และบริษัทผู้รับเหมาก่อสร้างวางระบบ ทั้งในและต่างประเทศ ให้ความสนใจเข้ามา ซื้อซองประกวดราคาเพื่อดูเงื่อนไขในการยื่นประมูลถึง 60 ราย โดยเกือบครึ่งหนึ่งของซองที่ซื้อไปเป็น IPP ที่ประกอบธุรกิจโรงไฟฟ้าในปัจจุบันอยู่แล้ว
ก่อนหน้านี้เคยมีความเชื่อจากกลุ่มผู้ประกอบการ IPP ในปัจจุบันที่ว่า ตนเองจะ "กวาด" โรงไฟฟ้าที่เปิดประมูลรอบใหม่ทั้ง 3,200 เมกะวัตต์ (MW) เพียงกลุ่มเดียวให้ได้ โดยอ้างถึงความพร้อมที่บริษัทมีอยู่ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ตั้งโรงไฟฟ้าหรืออาศัยความเป็นบริษัทลูกของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) อาทิ ในกรณีของบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ RATCH หรือบริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ EGCO
แต่เมื่อรายชื่อผู้ซื้อซองประกวดราคาออกมาถึง 60 ราย และในจำนวนนี้ 1 ใน 3 เป็นกลุ่มนักลงทุนรายใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการโรงไฟฟ้าต่างประเทศ ที่มีความพร้อมทั้งในเรื่องของเงินลงทุน การเป็นผู้ผลิต/จำหน่ายอุปกรณ์เครื่องกำเนิดไฟฟ้า หรือผู้วางระบบ ที่คุ้นเคยกันดีกับระบบประมูลของ 3 การไฟฟ้าในประเทศไทยเป็นอย่างดี จึงเป็นเรื่องที่ไม่แน่นอนเสียแล้วว่า IPP ในปัจจุบันที่หมายมั่นปั้นมือจะ "ครอบครอง" กำลังผลิตไฟฟ้าทั้ง 3,200 MW ไปไว้เพียงคนเดียว
ด้านผู้ประกอบการโรงไฟฟ้า IPP รายหนึ่งให้ความเห็นว่า คู่แข่งในการประมูลโรงไฟฟ้าใหม่รอบนี้ มีทั้งคู่แข่งในและนอกประเทศ หรือนอกจากจะแข่งกันเองในระหว่าง IPP ที่ขายไฟฟ้าให้กับ กฟผ.อยู่ในปัจจุบันแล้ว ยังต้องแข่งกับกลุ่มทุนต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็น J-Power ซึ่งซื้อซองประมูลถึง 4 ซอง หรือกลุ่ม Electricite" de France หรือ EDF จากฝรั่งเศส, กลุ่ม Mitsubishi Corporation, กลุ่ม Mitsui, กลุ่มบริษัท ALSTOM จากสวิตเซอร์แลนด์
ยังไม่รวมถึงกลุ่มผู้รับเหมาก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่มีผลงานการก่อสร้าง อาทิ กลุ่มอิตาเลียน-ไทย, กลุ่มซีเมนส์
ดังนั้น การแข่งขันในการประมูลโรงไฟฟ้า IPP ใหม่รอบนี้ ทุกคนจึงเชื่อมั่นว่า จะต้องแข่งกันที่ "ราคา (price evaluation)" ซึ่งหมายถึง ราคาไฟฟ้าเฉลี่ยต่อหน่วยตลอดอายุโครงการ (levelized unit cost) ซึ่งผู้เข้าร่วมประมูลจะต้องใช้สมมติฐานในการคำนวณราคาค่าไฟฟ้าตามที่กำหนดไว้ใน RFP package อาทิ สมมติฐานราคาเชื้อเพลิง, อัตราเงินเฟ้อ, อัตราส่วนลด (discount rate), การสั่งเดินเครื่อง, ต้นทุนค่าระบบส่ง (new transmission facility หรือ NTF) ที่คิดเป็นบาท/กิโลเมตร, ต้นทุนการปรับปรุงระบบส่งของ กฟผ. (transmission system upgrade หรือ TSU)
นอกจากนี้เพื่อปรับลดความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนในการรับซื้อไฟฟ้าจาก IPP จึงกำหนดให้ผู้เข้าประมูลต้องยื่นข้อเสนอในการรับความเสี่ยงเรื่องอัตราแลก เปลี่ยนที่เพิ่มขึ้นด้วย โดยสามารถปรับค่าอัตราแลกเปลี่ยนในค่าความพร้อมจ่าย (availability payment หรือ AP) ก่อนการลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้าได้
ส่งผลให้กระทรวงพลังงานมีความเชื่อมั่นว่า การประมูลโรงไฟฟ้าใหม่รอบนี้ ราคาค่าไฟฟ้า ที่ผู้ชนะการประมูลจะ "ต่ำลง" จากเหตุผลการแข่งขันตามที่กล่าวข้างต้น จริงอยู่ที่ผู้ประกอบการโรงไฟฟ้า IPP ในปัจจุบันจะมีข้อได้เปรียบในเรื่องของสถานที่ตั้งโรงไฟฟ้า และการเชื่อมโยงระบบส่งเข้ากับสายส่งของ กฟผ.
แต่สุดท้ายแล้ว จะต้องตัดสินการแพ้ชนะกันที่ "ราคา" เท่านั้น ที่จะเป็นเครื่องวัดกันว่า ใครจะเป็นผู้ครอบครองกำลังผลิตไฟฟ้าใหม่ทั้ง 3,200 เมกะวัตต์
http://www.matichon.co.th/prachachat/pr ... ionid=0203
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news07/09/07
โพสต์ที่ 70
เงื่อนไขโรงไฟฟ้าใหม่
กระทรวงพลังงาน ได้กำหนดเงื่อนไขการประมูลโรงไฟฟ้า IPP รอบใหม่ เพื่อจัดหาไฟฟ้าในช่วงปี 2555-2557 จำนวน 3,200 เมกะวัตต์ แบ่งเป็นปี 2555 จำนวน 800 MW ปี 2556 จำนวน 800 MW ปี 2557 จำนวน 1,600 MW อายุสัญญาซื้อขายไฟฟ้า 25 ปีนับจากวันจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (commercial operation date หรือ COD) โดยจะต้องขายไฟฟ้าเข้าระบบของ กฟผ.เท่านั้น ลักษณะของโรงไฟฟ้าเป็นประเภท base load ผลิตไฟฟ้าตามที่ กฟผ.สั่งการ ขนาดกำลังการผลิตต่อ 1 ชุดของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (1 unit) มีขนาดไม่เกิน 800 MW/1 unit และขนาดโรงไฟฟ้าต่อ 1 ข้อเสนอต้องไม่เกิน 1,600 MW ประเภทเชื้อเพลิงที่จะใช้ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ รวม LNG หรือถ่านหิน
สถานที่ตั้งโรงไฟฟ้าอยู่ภายในประเทศไทย และจะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อมของกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ คุณสมบัติของ IPP ที่เข้าร่วมประมูล ประกอบไปด้วย 1)ต้องมีประสบการณ์ในด้านการผลิตไฟฟ้า มีฐานะการเงินที่มั่นคง สามารถจัดหาแหล่งเงินกู้ในการดำเนินการได้ 2)ไม่อนุญาตให้รัฐวิสาหกิจเข้าร่วมการยื่นข้อเสนอโดยตรงหรือร่วมกับบริษัทอื่นที่ยื่นข้อเสนอประมูล แต่บริษัทหรือกลุ่มบริษัทใดๆ ที่รัฐวิสาหกิจถือหุ้นอยู่โดยตรงหรือโดยอ้อม สามารถเข้าร่วมการประมูลได้ก็ต่อเมื่อ สัดส่วนการถือหุ้นและ/หรือการควบคุมโดยรัฐวิสาหกิจในบริษัทหรือกลุ่มบริษัทนั้นๆ "ไม่เกินร้อยละ 50" ส่วนอัตราค่าไฟฟ้า จะแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ availability payment (AP) กับ energy payment (EP)
prachachart
http://www.matichon.co.th/prachachat/pr ... ionid=0203
กระทรวงพลังงาน ได้กำหนดเงื่อนไขการประมูลโรงไฟฟ้า IPP รอบใหม่ เพื่อจัดหาไฟฟ้าในช่วงปี 2555-2557 จำนวน 3,200 เมกะวัตต์ แบ่งเป็นปี 2555 จำนวน 800 MW ปี 2556 จำนวน 800 MW ปี 2557 จำนวน 1,600 MW อายุสัญญาซื้อขายไฟฟ้า 25 ปีนับจากวันจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (commercial operation date หรือ COD) โดยจะต้องขายไฟฟ้าเข้าระบบของ กฟผ.เท่านั้น ลักษณะของโรงไฟฟ้าเป็นประเภท base load ผลิตไฟฟ้าตามที่ กฟผ.สั่งการ ขนาดกำลังการผลิตต่อ 1 ชุดของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (1 unit) มีขนาดไม่เกิน 800 MW/1 unit และขนาดโรงไฟฟ้าต่อ 1 ข้อเสนอต้องไม่เกิน 1,600 MW ประเภทเชื้อเพลิงที่จะใช้ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ รวม LNG หรือถ่านหิน
สถานที่ตั้งโรงไฟฟ้าอยู่ภายในประเทศไทย และจะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อมของกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ คุณสมบัติของ IPP ที่เข้าร่วมประมูล ประกอบไปด้วย 1)ต้องมีประสบการณ์ในด้านการผลิตไฟฟ้า มีฐานะการเงินที่มั่นคง สามารถจัดหาแหล่งเงินกู้ในการดำเนินการได้ 2)ไม่อนุญาตให้รัฐวิสาหกิจเข้าร่วมการยื่นข้อเสนอโดยตรงหรือร่วมกับบริษัทอื่นที่ยื่นข้อเสนอประมูล แต่บริษัทหรือกลุ่มบริษัทใดๆ ที่รัฐวิสาหกิจถือหุ้นอยู่โดยตรงหรือโดยอ้อม สามารถเข้าร่วมการประมูลได้ก็ต่อเมื่อ สัดส่วนการถือหุ้นและ/หรือการควบคุมโดยรัฐวิสาหกิจในบริษัทหรือกลุ่มบริษัทนั้นๆ "ไม่เกินร้อยละ 50" ส่วนอัตราค่าไฟฟ้า จะแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ availability payment (AP) กับ energy payment (EP)
prachachart
http://www.matichon.co.th/prachachat/pr ... ionid=0203
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news10/09/07
โพสต์ที่ 71
กบง.เล็งลดค่าขนส่งน้ำมันทั่วปท.
โดย ข่าวสด วัน จันทร์ ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2550 09:18 น.
รายงานข่าวจากกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ที่มีนายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รมว.พลัง งานเป็นประธานวันที่ 10 ก.ย. ที่ประชุมจะหารือถึงการปรับลดค่าขนส่งน้ำมันทั่วประเทศใหม่ ให้สอด คล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน เพื่อส่งต่อให้กรมการค้าภายใน (คน.) กระทรวงพาณิชย์ใช้เป็นฐานในการติดตามและตรวจสอบการปรับเพิ่มราคาขายปลีกน้ำมันทั่วประเทศ เพื่อป้องกันการเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภคของปั๊มน้ำมันทั่วประเทศ
ทั้งนี้ ค่าขนส่งน้ำมันปัจจุบันคิดจากพื้นที่ขนส่งจากกรุงเทพฯ ไปยังจังหวัดต่างๆ โดยส่วนต่างค่าขนส่งจะบวกเพิ่มกับขายปลีกน้ำมันกำหนดให้ภาคเหนือตอนบนบวก 15 สตางค์ต่อลิตร ภาคเหนือตอนล่างบวก 10 สตางค์ต่อลิตร ภาคอีสานตอนบนบวก 16 สตางค์ต่อลิตร ภาคอีสานตอนล่างบวก 15 สตางค์ต่อลิตร ภาคใต้บวก 16 สตางค์ต่อลิตร ภาคใต้บริเวณ จ.ชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ บวก 10 สตางค์ต่อลิตร ภาคกลางบวก 9 สตางค์ต่อลิตร
สำหรับค่าขนส่งที่ปรับใหม่เป็น ภาคเหนือตอนบนให้บวก 8 สตางค์ต่อลิตร ภาคเหนือตอนล่างบวก 3 สตางค์ต่อลิตร ภาคอีสานบวก 5 สตางค์ต่อลิตร ภาคกลางบวก 2 สตางค์ต่อลิตร ภาคใต้ตอนล่างบวก 4 สตางค์ต่อลิตร ทั้งนี้ค่าขนส่งที่ปรับลดลงเนื่องจาก ค่าขนส่งดังกล่าวมีการใช้เป็นฐานอ้าง อิงราคาขายปลีกน้ำมันตั้งแต่ปี36 ที่ขณะนั้นน้ำมันดีเซลจำหน่ายลิตรละเพียง 10-15 สตางค์และเมื่อมีการลอยตัวราคาน้ำมัน ทำให้การปรับราคาขายปลีกที่ผ่านมา พบว่าบ่อยครั้งที่มีการบวกราคาไว้เกินกว่าราคาฐานที่ตั้งไว้
http://news.sanook.com/economic/economic_180473.php
โดย ข่าวสด วัน จันทร์ ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2550 09:18 น.
รายงานข่าวจากกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ที่มีนายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รมว.พลัง งานเป็นประธานวันที่ 10 ก.ย. ที่ประชุมจะหารือถึงการปรับลดค่าขนส่งน้ำมันทั่วประเทศใหม่ ให้สอด คล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน เพื่อส่งต่อให้กรมการค้าภายใน (คน.) กระทรวงพาณิชย์ใช้เป็นฐานในการติดตามและตรวจสอบการปรับเพิ่มราคาขายปลีกน้ำมันทั่วประเทศ เพื่อป้องกันการเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภคของปั๊มน้ำมันทั่วประเทศ
ทั้งนี้ ค่าขนส่งน้ำมันปัจจุบันคิดจากพื้นที่ขนส่งจากกรุงเทพฯ ไปยังจังหวัดต่างๆ โดยส่วนต่างค่าขนส่งจะบวกเพิ่มกับขายปลีกน้ำมันกำหนดให้ภาคเหนือตอนบนบวก 15 สตางค์ต่อลิตร ภาคเหนือตอนล่างบวก 10 สตางค์ต่อลิตร ภาคอีสานตอนบนบวก 16 สตางค์ต่อลิตร ภาคอีสานตอนล่างบวก 15 สตางค์ต่อลิตร ภาคใต้บวก 16 สตางค์ต่อลิตร ภาคใต้บริเวณ จ.ชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ บวก 10 สตางค์ต่อลิตร ภาคกลางบวก 9 สตางค์ต่อลิตร
สำหรับค่าขนส่งที่ปรับใหม่เป็น ภาคเหนือตอนบนให้บวก 8 สตางค์ต่อลิตร ภาคเหนือตอนล่างบวก 3 สตางค์ต่อลิตร ภาคอีสานบวก 5 สตางค์ต่อลิตร ภาคกลางบวก 2 สตางค์ต่อลิตร ภาคใต้ตอนล่างบวก 4 สตางค์ต่อลิตร ทั้งนี้ค่าขนส่งที่ปรับลดลงเนื่องจาก ค่าขนส่งดังกล่าวมีการใช้เป็นฐานอ้าง อิงราคาขายปลีกน้ำมันตั้งแต่ปี36 ที่ขณะนั้นน้ำมันดีเซลจำหน่ายลิตรละเพียง 10-15 สตางค์และเมื่อมีการลอยตัวราคาน้ำมัน ทำให้การปรับราคาขายปลีกที่ผ่านมา พบว่าบ่อยครั้งที่มีการบวกราคาไว้เกินกว่าราคาฐานที่ตั้งไว้
http://news.sanook.com/economic/economic_180473.php
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news10/09/07
โพสต์ที่ 72
แผนรถไฟใช้เอ็นจีวียังอีกนาน
คมนาคม ลุกแผนเปลี่ยนหัวจักรรถไฟเป็นเอ็นจีวีแจงส่งแผนให้ สนข.ศึกษา ด้านแหล่งข่าวรถไฟ ติดทดลองวิ่งลาดระบัง-แหลมฉบัง หวังนำร่องแต่ยังติดปัญหาเรื่องแหล่งเติมก๊าซเอ็นจีวี คาดอีก 2-3 ปี จะเห็นเป็นรูปธรรมแผนเปลี่ยนหัวรถจักรเป็นเครื่องยนต์เอ็นจีวียังอยู่ในระหว่างการศึกษา การรถไฟฯเชื่อต้องใช้เวลาอีก 2-3 ปีจะเห็นรูปธรรม เพราะวิ่งได้แค่ระยะสั้น และยังมีอุปสรรค
นายชัยสวัสดิ์ กิตติพรไพบูลย์ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า จากนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้ลดใช้พลังงานเชื้อเพลิง และถือเป็นนโยบายหลักของกระทรวงคมนาคม นั้น จึงทำให้เกิด แผนการเปลี่ยนหัวรถจักรรถไฟมาเป็นเครื่องยนต์เอ็นจีวี โดยขณะนี้อยู่ระหว่างสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กำลังศึกษาความเป็นไปได้ว่าจะเปลี่ยนในรูปแบบใด
นอกจากนี้ กระทรวงคมนาคม ยังได้เร่งรัดหน่วยงานในสังกัด ได้แก่ องค์กรขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และบริษัท ขนส่ง จำกัด ในการปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์รถโดยสารประจำทางให้เป็นเครื่องยนต์เอ็นจีวี ซึ่งพบว่าบางสายทางรถโดยสารขสมก. หลังจากปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์แล้ว สามารถลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิงอย่างได้ผลดี
แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวว่าการปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์หัวรถจักร ขณะนี้ได้มีการทดลองติดเครื่องยนต์เอ็นจีวีไปบ้างแล้ว โดยเป็นการร่วมมือจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานที่สนับสนุนให้สถาบันวิจัยและเทคโนโลยี ปตท. บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และ ร.ฟ.ท.ดำเนินโครงการทดลองและสาธิตการใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงร่วมกับน้ำมันดีเซลในรถไฟ ซึ่งได้ทำการทดลองวิ่งในเส้นทาง ลาดกระบัง-แหลมฉบัง เพื่อทดสอบการใช้ก๊าซธรรมชาติระบบ DDF ในด้านอัตราการใช้เชื้อเพลิง สมรรถภาพเครื่องยนต์ การปล่อยควันดำ เพื่อประเมินผลด้านความคุ้มค่าในเชิงธุรกิจว่าสามารถนำก๊าซธรรมชาติมาใช้เป็นพลังงานทดแทนสำหรับรถไฟได้ประสิทธิภาพคุ้มค่าอย่างไรบ้าง
ทั้งนี้ การทดลองดังกล่าว ร.ฟ.ท.ได้โดยนำร่องในส่วนที่เป็นรถขนส่งสินค้า เป็นอันแรก ซึ่งขณะนี้ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าเพราะอยู่ระหว่างการศึกษาที่ยังไม่ได้ข้อยุติ ทั้งนี้ ที่ผ่านมาพบว่าการทดลองใช้ระบบดังกล่าวค่อนข้างมีอุปสรรคอยู่บ้าง
ตอนนี้ ยังไม่สามารถระบุได้ว่าการทดลองดังกล่าวจะมีประโยชน์ที่จะได้รับมากน้อยแค่ไหน เพราะอยู่ระะหว่างการศึกษาที่ยังไม่ได้ข้อสรุป แม้ว่าที่ผ่านได้เคยทดลองติดเอ็นจีวี เดินรถสินค้าในเส้นทาง ลาดกระบัง-แหลมฉบังแล้ว ถ้าจะคิดในแง่ที่ได้ประโยชน์ เรื่องการประหยัดพลังงานเชื้อเพลิงนั้นมีแน่นอนและได้ผลด้วย แต่ปัญหามันอยู่ตรงที่ว่าขณะนี้ เรายังไม่มีสถานีก๊าซเอ็นจีวีระหว่างทาง รวมถึงการบรรจุก๊าซมีปริมาณจำกัดจึงวิ่งได้แค่ระยะสั้น ซึ่งคาดว่าหากโครงการดังกล่าวจะเป็นรูปธรรม จะต้องมีสถานีก๊าซเอ็นจีวีรองรับตามรายทาง โดยจะต้องใช้ 2-3 ปี น่าจะคลอบคุมมากกว่านี้ แหล่งข่าวกล่าว -
http://www.settrade.com/S17_ContentDisp ... egoryId=16
คมนาคม ลุกแผนเปลี่ยนหัวจักรรถไฟเป็นเอ็นจีวีแจงส่งแผนให้ สนข.ศึกษา ด้านแหล่งข่าวรถไฟ ติดทดลองวิ่งลาดระบัง-แหลมฉบัง หวังนำร่องแต่ยังติดปัญหาเรื่องแหล่งเติมก๊าซเอ็นจีวี คาดอีก 2-3 ปี จะเห็นเป็นรูปธรรมแผนเปลี่ยนหัวรถจักรเป็นเครื่องยนต์เอ็นจีวียังอยู่ในระหว่างการศึกษา การรถไฟฯเชื่อต้องใช้เวลาอีก 2-3 ปีจะเห็นรูปธรรม เพราะวิ่งได้แค่ระยะสั้น และยังมีอุปสรรค
นายชัยสวัสดิ์ กิตติพรไพบูลย์ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า จากนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้ลดใช้พลังงานเชื้อเพลิง และถือเป็นนโยบายหลักของกระทรวงคมนาคม นั้น จึงทำให้เกิด แผนการเปลี่ยนหัวรถจักรรถไฟมาเป็นเครื่องยนต์เอ็นจีวี โดยขณะนี้อยู่ระหว่างสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กำลังศึกษาความเป็นไปได้ว่าจะเปลี่ยนในรูปแบบใด
นอกจากนี้ กระทรวงคมนาคม ยังได้เร่งรัดหน่วยงานในสังกัด ได้แก่ องค์กรขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และบริษัท ขนส่ง จำกัด ในการปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์รถโดยสารประจำทางให้เป็นเครื่องยนต์เอ็นจีวี ซึ่งพบว่าบางสายทางรถโดยสารขสมก. หลังจากปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์แล้ว สามารถลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิงอย่างได้ผลดี
แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวว่าการปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์หัวรถจักร ขณะนี้ได้มีการทดลองติดเครื่องยนต์เอ็นจีวีไปบ้างแล้ว โดยเป็นการร่วมมือจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานที่สนับสนุนให้สถาบันวิจัยและเทคโนโลยี ปตท. บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และ ร.ฟ.ท.ดำเนินโครงการทดลองและสาธิตการใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงร่วมกับน้ำมันดีเซลในรถไฟ ซึ่งได้ทำการทดลองวิ่งในเส้นทาง ลาดกระบัง-แหลมฉบัง เพื่อทดสอบการใช้ก๊าซธรรมชาติระบบ DDF ในด้านอัตราการใช้เชื้อเพลิง สมรรถภาพเครื่องยนต์ การปล่อยควันดำ เพื่อประเมินผลด้านความคุ้มค่าในเชิงธุรกิจว่าสามารถนำก๊าซธรรมชาติมาใช้เป็นพลังงานทดแทนสำหรับรถไฟได้ประสิทธิภาพคุ้มค่าอย่างไรบ้าง
ทั้งนี้ การทดลองดังกล่าว ร.ฟ.ท.ได้โดยนำร่องในส่วนที่เป็นรถขนส่งสินค้า เป็นอันแรก ซึ่งขณะนี้ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าเพราะอยู่ระหว่างการศึกษาที่ยังไม่ได้ข้อยุติ ทั้งนี้ ที่ผ่านมาพบว่าการทดลองใช้ระบบดังกล่าวค่อนข้างมีอุปสรรคอยู่บ้าง
ตอนนี้ ยังไม่สามารถระบุได้ว่าการทดลองดังกล่าวจะมีประโยชน์ที่จะได้รับมากน้อยแค่ไหน เพราะอยู่ระะหว่างการศึกษาที่ยังไม่ได้ข้อสรุป แม้ว่าที่ผ่านได้เคยทดลองติดเอ็นจีวี เดินรถสินค้าในเส้นทาง ลาดกระบัง-แหลมฉบังแล้ว ถ้าจะคิดในแง่ที่ได้ประโยชน์ เรื่องการประหยัดพลังงานเชื้อเพลิงนั้นมีแน่นอนและได้ผลด้วย แต่ปัญหามันอยู่ตรงที่ว่าขณะนี้ เรายังไม่มีสถานีก๊าซเอ็นจีวีระหว่างทาง รวมถึงการบรรจุก๊าซมีปริมาณจำกัดจึงวิ่งได้แค่ระยะสั้น ซึ่งคาดว่าหากโครงการดังกล่าวจะเป็นรูปธรรม จะต้องมีสถานีก๊าซเอ็นจีวีรองรับตามรายทาง โดยจะต้องใช้ 2-3 ปี น่าจะคลอบคุมมากกว่านี้ แหล่งข่าวกล่าว -
http://www.settrade.com/S17_ContentDisp ... egoryId=16
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news10/09/07
โพสต์ที่ 73
จัดติดฉลากตึกประหยัดพลังงาน
โพสต์ทูเดย์ กระทรวงพลังงาน ออกโครงการติดฉลากประหยัดพลังงาน คอนโด-อาคารใหญ่ หวังกระตุ้นเจ้าของ-อสังหาฯ ลดใช้พลังงาน
นายมานะ นิติกุล ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ทางกรมได้จัดโครงการติดฉลากอาคารประหยัดพลังงานขึ้น เพื่อให้ผู้ประกอบการโครงการคอนโดมิเนียม และอาคารสำนักงานที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างโครงการเข้าร่วมเป็นอาคารประหยัดพลังงาน และตระหนักในการใช้พลังงาน
ทั้งนี้ อาคารที่ได้รับรางวัลจะมีการติดสัญลักษณ์ในรูปฉลากสีทอง จะเป็นอาคารอนุรักษ์พลังงานดีเด่น ฉลาก สีเงิน จะเป็นอาคารอนุรักษ์พลังงานประเภทดีมาก และฉลากสีทองแดง เป็นอาคารอนุรักษ์ประเภทดี ขณะเดียวกันทางกรมจะส่งเข้าประกวดอาคารอนุรักษ์พลังงานในระดับอาเซียน (Asean Energy Awards) ต่อไป
ทางกรมกำหนดว่า โครงการที่เข้าร่วมจะมีจำนวน 180 ราย แบ่งออกเป็นโครงใหม่ 175 ราย โครงการเก่า 5 ราย โดยโครงการใหม่นั้นจะเริ่มพิจารณาตั้งแต่ขั้นตอนเริ่มงานก่อสร้าง โดยกรมจะส่งทีมงานไปตรวจสอบจนถึงก่อสร้างเสร็จ ซึ่งจะใช้เวลาดำเนินการ 3 ปีจากนี้ นายมานะ กล่าว
ขณะเดียวกันกรมมีแผนจะเข้า ไปเจรจากับธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เพื่อหาสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ สำหรับอาคารที่ต้องการงบประมาณปรับปรุงเพื่อประหยัดพลังงาน โครงการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งในการลดใช้พลังงาน โดยรัฐบาลมีเป้าหมายลดอัตราการใช้พลังงานที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปี เทียบกับอัตราการเติบโตของจีดีพีจาก 1.2 เท่าของจีดีพี เหลือ 1 เท่า ในปี 2554 ขณะที่ประเทศญี่ปุ่นมีอัตราลดเหลือเพียง 0.5 เท่าของจีดีพีของประเทศ
นายมานะ กล่าวว่า กรมมีโครงการอนุรักษ์พลังงานต่างๆ อาทิ การจัดทำแบบบ้านประหยัดพลังงาน 3 แบบแจกจ่ายประชาชนทั่วประเทศ การทำคู่มือ 20 แม่ไม้การประหยัดพลังงานในบ้านและอาคาร โดยผ่านงบประมาณที่ได้รับจัดสรรจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งมีรายได้ปีละประมาณ 1 พันล้านบาท โดยเก็บ 4 สตางค์ต่อลิตรจากปริมาณการใช้น้ำมันทั้งประเทศ
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=190513
โพสต์ทูเดย์ กระทรวงพลังงาน ออกโครงการติดฉลากประหยัดพลังงาน คอนโด-อาคารใหญ่ หวังกระตุ้นเจ้าของ-อสังหาฯ ลดใช้พลังงาน
นายมานะ นิติกุล ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ทางกรมได้จัดโครงการติดฉลากอาคารประหยัดพลังงานขึ้น เพื่อให้ผู้ประกอบการโครงการคอนโดมิเนียม และอาคารสำนักงานที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างโครงการเข้าร่วมเป็นอาคารประหยัดพลังงาน และตระหนักในการใช้พลังงาน
ทั้งนี้ อาคารที่ได้รับรางวัลจะมีการติดสัญลักษณ์ในรูปฉลากสีทอง จะเป็นอาคารอนุรักษ์พลังงานดีเด่น ฉลาก สีเงิน จะเป็นอาคารอนุรักษ์พลังงานประเภทดีมาก และฉลากสีทองแดง เป็นอาคารอนุรักษ์ประเภทดี ขณะเดียวกันทางกรมจะส่งเข้าประกวดอาคารอนุรักษ์พลังงานในระดับอาเซียน (Asean Energy Awards) ต่อไป
ทางกรมกำหนดว่า โครงการที่เข้าร่วมจะมีจำนวน 180 ราย แบ่งออกเป็นโครงใหม่ 175 ราย โครงการเก่า 5 ราย โดยโครงการใหม่นั้นจะเริ่มพิจารณาตั้งแต่ขั้นตอนเริ่มงานก่อสร้าง โดยกรมจะส่งทีมงานไปตรวจสอบจนถึงก่อสร้างเสร็จ ซึ่งจะใช้เวลาดำเนินการ 3 ปีจากนี้ นายมานะ กล่าว
ขณะเดียวกันกรมมีแผนจะเข้า ไปเจรจากับธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เพื่อหาสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ สำหรับอาคารที่ต้องการงบประมาณปรับปรุงเพื่อประหยัดพลังงาน โครงการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งในการลดใช้พลังงาน โดยรัฐบาลมีเป้าหมายลดอัตราการใช้พลังงานที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปี เทียบกับอัตราการเติบโตของจีดีพีจาก 1.2 เท่าของจีดีพี เหลือ 1 เท่า ในปี 2554 ขณะที่ประเทศญี่ปุ่นมีอัตราลดเหลือเพียง 0.5 เท่าของจีดีพีของประเทศ
นายมานะ กล่าวว่า กรมมีโครงการอนุรักษ์พลังงานต่างๆ อาทิ การจัดทำแบบบ้านประหยัดพลังงาน 3 แบบแจกจ่ายประชาชนทั่วประเทศ การทำคู่มือ 20 แม่ไม้การประหยัดพลังงานในบ้านและอาคาร โดยผ่านงบประมาณที่ได้รับจัดสรรจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งมีรายได้ปีละประมาณ 1 พันล้านบาท โดยเก็บ 4 สตางค์ต่อลิตรจากปริมาณการใช้น้ำมันทั้งประเทศ
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=190513
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news11/09/07
โพสต์ที่ 74
โยนบอร์ดกพช.ชี้ชะตา กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
พลังงานเตรียมเสนอบอร์ดกพช.ชี้ขาดการใช้เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในปี51 ระหว่างการลด 1 บาทหรือเก็บเท่าเดิมเพื่อกันเงิน 1 บาทซึ่งจะตกปีละ 2.4 หมื่นล้าน นำไปใช้สำหรับการลงทุนโครงการรถไฟฟ้า
นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รมว.พลังงานในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) เปิดเผยว่าที่ประชุมกบง.หารือถึงเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่จะหมดภาระหนี้การตรึงราคาน้ำมันประมาณปลายปี 2550 กำหนด 2 แนวทางดำเนินการ คือ 1.ลดเงินกองทุนน้ำมันฯ สำหรับเบนซิน-ดีเซล 1 บาท/ลิตรและไม่มีการจัดเก็บเงินกองทุนสำหรับแก๊สโซฮอล์ แนวทางนี้จะทำให้ความแตกต่างระหว่างเบนซินและแก๊สโซฮอล์ เหลือ 2.50 บาท/ลิตรจาก 3.50 บาท/ลิตร ในปัจจุบัน
ส่วนเบนซิน 95 จะลดการจัดเก็บจาก 4 บาท เหลือ 3 บาท/ลิตร เบนซิน 91 ลดลงจาก 3.70 บาท เหลือ 2.70 บาทต่อลิตร ดีเซล ลดจาก 1.50 บาท/ลิตรเหลือ 1 บาท/ลิตร ส่วนแก๊สโซฮอล์ไม่มีการจัดเก็บจากอัตราปัจจุบันที่เก็บแก๊สโซฮอล์ 95 ที่อัตรา 90 สตางค์/ลิตร และแก๊สโซฮอล์ 91 อัตรา 40 สตางค์/ลิตร
2. เสนอให้คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช.)ส่งให้คณะรัฐมนตรี(ครม.)ตัดสินใจว่าจะนำเงินกองทุนน้ำมันฯไปใช้สำหรับการส่งเสริมการลงทุนรถไฟฟ้าหรือไม่ หากเห็นชอบจะจัดเก็บในเกณฑ์ปัจจุบัน แล้วหักทุก 1 บาท/ลิตร ไปสร้างรถไฟฟ้าซึ่งจะได้เงินประมาณ 2,000 ล้านบาท/เดือน หรือ 24,000 ล้านบาท/ปี
" หากครม.ไม่เห็นชอบให้นำเงินกองทุนน้ำมันฯ ไปสร้างรถไฟฟ้า ราคาน้ำมันก็จะลดตามสัดส่วนเงินกองทุนน้ำมันในอัตรา 1 บาท/ลิตร ส่วนเงินกองทุนน้ำมันฯ ที่เหลือจะเก็บไว้สะสมสำหรับภาวะฉุกเฉินหรือการอนุรักษ์พลังงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับน้ำมัน" นายปิยสวัสดิ์ กล่าว
สำหรับเรื่องการทบทวนบัญชีความแตกต่างของราคาขายปลีกน้ำมันระหว่างกรุงเทพฯ กับภูมิภาคนั้น ที่ประชุม กบง.มีมติให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ. ) กลับไปทบทวนใหม่ กองทุนน้ำมันฯ ขณะนี้มีเงินสุทธิ 14,807 ล้านบาท แต่ยังคงมีหนี้สินค้างชำระ 27,907 ล้านบาท แบ่งเป็นหนี้พันธบัตร 17,600 ล้านบาท หนี้ชดเชยเงินตรึงราคาน้ำมันค้างชำระ 990 ล้านบาท ชดเชยราคาก๊าซหุงต้ม 8,556 ล้านบาท ภาระดอกเบี้ย 761 ล้านบาท โดยฐานะกองทุนน้ำมันฯ ยังคงติดลบ 13,100 ล้านบาท เนื่องจากการชดเชยราคาน้ำมันในอดีต คาดว่าจะชำระหนี้ได้หมดภายในสิ้นปี 2550
http://www.naewna.com/news.asp?ID=74630
พลังงานเตรียมเสนอบอร์ดกพช.ชี้ขาดการใช้เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในปี51 ระหว่างการลด 1 บาทหรือเก็บเท่าเดิมเพื่อกันเงิน 1 บาทซึ่งจะตกปีละ 2.4 หมื่นล้าน นำไปใช้สำหรับการลงทุนโครงการรถไฟฟ้า
นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รมว.พลังงานในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) เปิดเผยว่าที่ประชุมกบง.หารือถึงเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่จะหมดภาระหนี้การตรึงราคาน้ำมันประมาณปลายปี 2550 กำหนด 2 แนวทางดำเนินการ คือ 1.ลดเงินกองทุนน้ำมันฯ สำหรับเบนซิน-ดีเซล 1 บาท/ลิตรและไม่มีการจัดเก็บเงินกองทุนสำหรับแก๊สโซฮอล์ แนวทางนี้จะทำให้ความแตกต่างระหว่างเบนซินและแก๊สโซฮอล์ เหลือ 2.50 บาท/ลิตรจาก 3.50 บาท/ลิตร ในปัจจุบัน
ส่วนเบนซิน 95 จะลดการจัดเก็บจาก 4 บาท เหลือ 3 บาท/ลิตร เบนซิน 91 ลดลงจาก 3.70 บาท เหลือ 2.70 บาทต่อลิตร ดีเซล ลดจาก 1.50 บาท/ลิตรเหลือ 1 บาท/ลิตร ส่วนแก๊สโซฮอล์ไม่มีการจัดเก็บจากอัตราปัจจุบันที่เก็บแก๊สโซฮอล์ 95 ที่อัตรา 90 สตางค์/ลิตร และแก๊สโซฮอล์ 91 อัตรา 40 สตางค์/ลิตร
2. เสนอให้คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช.)ส่งให้คณะรัฐมนตรี(ครม.)ตัดสินใจว่าจะนำเงินกองทุนน้ำมันฯไปใช้สำหรับการส่งเสริมการลงทุนรถไฟฟ้าหรือไม่ หากเห็นชอบจะจัดเก็บในเกณฑ์ปัจจุบัน แล้วหักทุก 1 บาท/ลิตร ไปสร้างรถไฟฟ้าซึ่งจะได้เงินประมาณ 2,000 ล้านบาท/เดือน หรือ 24,000 ล้านบาท/ปี
" หากครม.ไม่เห็นชอบให้นำเงินกองทุนน้ำมันฯ ไปสร้างรถไฟฟ้า ราคาน้ำมันก็จะลดตามสัดส่วนเงินกองทุนน้ำมันในอัตรา 1 บาท/ลิตร ส่วนเงินกองทุนน้ำมันฯ ที่เหลือจะเก็บไว้สะสมสำหรับภาวะฉุกเฉินหรือการอนุรักษ์พลังงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับน้ำมัน" นายปิยสวัสดิ์ กล่าว
สำหรับเรื่องการทบทวนบัญชีความแตกต่างของราคาขายปลีกน้ำมันระหว่างกรุงเทพฯ กับภูมิภาคนั้น ที่ประชุม กบง.มีมติให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ. ) กลับไปทบทวนใหม่ กองทุนน้ำมันฯ ขณะนี้มีเงินสุทธิ 14,807 ล้านบาท แต่ยังคงมีหนี้สินค้างชำระ 27,907 ล้านบาท แบ่งเป็นหนี้พันธบัตร 17,600 ล้านบาท หนี้ชดเชยเงินตรึงราคาน้ำมันค้างชำระ 990 ล้านบาท ชดเชยราคาก๊าซหุงต้ม 8,556 ล้านบาท ภาระดอกเบี้ย 761 ล้านบาท โดยฐานะกองทุนน้ำมันฯ ยังคงติดลบ 13,100 ล้านบาท เนื่องจากการชดเชยราคาน้ำมันในอดีต คาดว่าจะชำระหนี้ได้หมดภายในสิ้นปี 2550
http://www.naewna.com/news.asp?ID=74630
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news11/09/07
โพสต์ที่ 75
ปิยสวัสดิ์แจงพรบ.พลังงาน ไม่หนุนแปรรูปธุรกิจไฟฟ้า
นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รมว.พลังงาน ยืนยันว่า แผนการลอยตัวก๊าซหุงต้ม(แอลพีจี) ยังเป็นไปตามเดิมที่จะลอยตัวปลายปี 2550 โดยขณะนี้กำลังเตรียมแผนการให้รอบคอบทั้งเรื่องความปลอดภัยและลดผลกระทบของผู้บริโภค แม้กลุ่มโรงกลั่นน้ำมันจะแสดงความเป็นห่วงเรื่องการที่ผู้ใช้รถยนต์จะหันมาใช้แอลพีจีมากขึ้น จนทำให้ปลายปีนี้อาจต้องยกเลิกการส่งออกแอลพีจี และไทยอาจต้องกลายเป็นผู้นำเข้าแอลพีจี ถ้าเป็นเช่นนี้จริงก็ไม่ใช่เรื่องแปลกเพราะหลายประเทศต่างเห็นว่าแอลพีจีเป็นพลังงานทดแทนน้ำมัน เพราะต้นทุนต่ำกว่าและช่วยลดการนำเข้าน้ำมันได้ด้วย
รมว.พลังงาน กล่าวด้วยว่า ในเร็วนี้ๆร่าง พ.ร.บ.การประกอบกิจการพลังงาน จะเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ซึ่งร่างกฏหมายนี้จะแยกการกำหนดนโยบายออกจากการกำกับดูแลและส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรม โดยตั้งคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานขึ้นมาดูแลกิจการไฟฟ้าและก๊าซธรรมชาติ คาดว่าจะบังคับใช้ปี 2550 แต่การแต่งตั้งคณะกรรมการฯคงเสร็จสิ้นปีหน้า และยืนยันว่าร่างกฎหมายนี้ไม่เกี่ยวข้องกับการส่งสริมการแปรรูปกิจการไฟฟ้าเพราะมาตรา 8 กำหนดชัดเจนว่าโครงข่ายพื้นฐานด้านไฟฟ้ารัฐต้องเป็นผู้รับผิดชอบทั้งสายไฟฟ้า เขื่อนพลังน้ำและศูนย์ควบคุมระบบไฟฟ้าจะไม่มีการแปรรูป ส่วนโรงไฟฟ้าแต่ละโรงของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) จะแปรรูประดมทุนเหมือนกลุ่มเอ็กโก้ และ บมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรี โฮลดิ้ง หรือไม่ขึ้นอยู่กับรัฐบาลชุดต่อไป ถ้าแปรรูปก็ต้องมีกฎหมายเฉพาะดูแลเป็นพิเศษเพราะขณะนี้กำลังแก้ไขร่าง พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจให้มีความรัดกุมมากขึ้น
http://www.naewna.com/news.asp?ID=74610
นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รมว.พลังงาน ยืนยันว่า แผนการลอยตัวก๊าซหุงต้ม(แอลพีจี) ยังเป็นไปตามเดิมที่จะลอยตัวปลายปี 2550 โดยขณะนี้กำลังเตรียมแผนการให้รอบคอบทั้งเรื่องความปลอดภัยและลดผลกระทบของผู้บริโภค แม้กลุ่มโรงกลั่นน้ำมันจะแสดงความเป็นห่วงเรื่องการที่ผู้ใช้รถยนต์จะหันมาใช้แอลพีจีมากขึ้น จนทำให้ปลายปีนี้อาจต้องยกเลิกการส่งออกแอลพีจี และไทยอาจต้องกลายเป็นผู้นำเข้าแอลพีจี ถ้าเป็นเช่นนี้จริงก็ไม่ใช่เรื่องแปลกเพราะหลายประเทศต่างเห็นว่าแอลพีจีเป็นพลังงานทดแทนน้ำมัน เพราะต้นทุนต่ำกว่าและช่วยลดการนำเข้าน้ำมันได้ด้วย
รมว.พลังงาน กล่าวด้วยว่า ในเร็วนี้ๆร่าง พ.ร.บ.การประกอบกิจการพลังงาน จะเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ซึ่งร่างกฏหมายนี้จะแยกการกำหนดนโยบายออกจากการกำกับดูแลและส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรม โดยตั้งคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานขึ้นมาดูแลกิจการไฟฟ้าและก๊าซธรรมชาติ คาดว่าจะบังคับใช้ปี 2550 แต่การแต่งตั้งคณะกรรมการฯคงเสร็จสิ้นปีหน้า และยืนยันว่าร่างกฎหมายนี้ไม่เกี่ยวข้องกับการส่งสริมการแปรรูปกิจการไฟฟ้าเพราะมาตรา 8 กำหนดชัดเจนว่าโครงข่ายพื้นฐานด้านไฟฟ้ารัฐต้องเป็นผู้รับผิดชอบทั้งสายไฟฟ้า เขื่อนพลังน้ำและศูนย์ควบคุมระบบไฟฟ้าจะไม่มีการแปรรูป ส่วนโรงไฟฟ้าแต่ละโรงของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) จะแปรรูประดมทุนเหมือนกลุ่มเอ็กโก้ และ บมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรี โฮลดิ้ง หรือไม่ขึ้นอยู่กับรัฐบาลชุดต่อไป ถ้าแปรรูปก็ต้องมีกฎหมายเฉพาะดูแลเป็นพิเศษเพราะขณะนี้กำลังแก้ไขร่าง พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจให้มีความรัดกุมมากขึ้น
http://www.naewna.com/news.asp?ID=74610
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news14/09/07
โพสต์ที่ 76
จับหุ้นพลังงานทดแทน
เกาะกระแสหุ้นพลังงานเดือด ดันหุ้นพลังงานทดแทนร้อนฉ่าตามไปด้วย เพราะเป็นทางเลือกที่ช่วยประหยัดต้นทุนได้มากกว่า
หลังคัดตัวแล้วได้ LANNA BANPU ยังโดดเด่นราคาถ่านหินยังพุ่งสูง การันตี NVDR ยังเก็บไม่เลิกครึ่งเดือนเก็บ BANPU ไปกว่า 1.5 พันล้านบาท ขณะที่แนะเก็งกำไรหุ้นพลังงานทดแทนขนาดเล็กนำทีม SOLAR ,KSL และ AI ยอดฮิต
จากการสำรวจการซื้อขายผ่านบริษัทไทย เอ็นวีดีอาร์ จำกัด NVDR พบว่าในช่วงเกือบครึ่งเดือนที่ผ่านมา (1 ก.ย.-12 ก.ย.2550) หุ้น BANPU มียอดซื้อสุทธิสูงสุด จำนวน 1,533.40 ล้านบาท ขณะที่ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาหุ้น BANPU มียอดซื้อสุทธิ 8,869.10 ล้านบาท
นักวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ พัฒนสิน จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า หุ้นในกลุ่มพลังงานทดแทนถือว่าน่าสนใจไม่แพ้กลุ่มพลังงาน โดยเฉพาะในส่วนของกลุ่มถ่านหิน เช่น,LANNA , BANPU และUMS ซึ่งนอกจากจะได้รับอานิสงค์จากแนวโน้มราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นทำนิวไฮแล้วยังได้รับประโยชน์จากราคาถ่านหินที่ยังปรับสูงขึ้นด้วยเช่นกัน
ราคาถ่านหินและน้ำมันที่พุ่งขึ้นแรง จึงส่งผลดีต่อหุ้นในกลุ่มพลังงาน ซึ่งหุ้นที่เกี่ยวเนื่องกับพลังงานทดแทนหลายตัวก็ยังคงน่าสนใจทำให้คาดว่าหุ้นในกลุ่มพลังงานและพลังงานทดแทนน่าจะยังเป็นกลุ่มหุ้นที่นำตลาดอยู่ นักวิเคราะห์กล่าว
สำหรับราคาสินค้าคอมมูดิตี้ในช่วงนี้พบว่าราคาส่วนใหญ่ โดยเฉพาะราคาพลังงานและสินค้าทดแทนปรับสูงขึ้นและยังมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งราคาสินค้าที่ปรับตัวขึ้นนั้นส่วนหนึ่งมาจากการไหลเข้าของเงินทุน โดยเฉพาะจากเฮดฟันด์ ที่เปลี่ยนการถือครองสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยง เช่นหุ้น เข้าสู่สินค้าคอมมูดิตี้ โดยเฉพาะสินค้าที่มีซัพพลายตึงตัว เช่น น้ำมันและพลังงานทดแทน
ดังนั้นจึงยังคงแนะนำซื้อหุ้น LANNA จากแนวโน้มของราคาถ่านหินที่ทรงตัวอยู่ในระดับสูง และถือเป็นหุ้น the laggardsในกลุ่มพลังงาน และมีสัญญาบวกในเชิงเทคนิค แนะนำเก็งกำไร และเตรียมปรับประมาณการณ์เพิ่มขึ้นใหม่ จากราคาเหมาะสมที่ 14.11 บาท เช่นเดียวกับ UMS ที่ฝ่ายวิจัยเตรียมปรับราคาเป้าหมายจากเดิมให้ไว้ที่ 23.50 บาท
ส่วน BANPU ที่ได้รับประโยชน์จากราคาถ่านหินที่สูงขึ้น โดยให้ราคาเหมาะสมที่ 312 บาท และยังมีสตอรี่ให้ลุ้นในประเด็นที่จะนำเหมืองถ่านหินที่อินโดนีเซียเข้าจดทะเบียนที่ตลาดหลักทรัพย์ของกรุงจาการ์ตา รวมถึงแผนลงทุนในโครงการหงสาลิกไนต์ ที่คาดว่าจะได้ข้อสรุปประมาณเดือนพฤศจิกายนนี้
นอกจากนี้หุ้นในกลุ่มพลังงานทดแทนขนาดเล็ก เช่น SOLAR ,AI และKSL แนะนำเก็งกำไร ซึ่งจะได้รับอานิสงค์จากราคาสินค้าคอมมูลิตี้ที่ปรับตัวสูงขึ้นดันราคาหุ้นให้ปรับตัวขึ้นได้
นายกมลชัย พลอินทวงษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด กล่าวว่า จากสัญญาณเทคนิคหุ้น KSL ระยะกลางราคาหุ้นมีลุ้นวิ่งแตะไฮเดิมที่ 12.40 บาท จึงแนะนำเก็งกำไรได้ โดยให้แนวรับที่ 11.30-11.00 บาท แนวต้านที่ 12.00-12.30 บาท
ส่วน SOLAR แนะเก็งกำไร ให้แนวรับที่ 2.80-2.74 บาท แนวต้านที่ 2.94-3.00 บาท เช่นเดียว กับ AI ให้แนวรับที่ 7.30-7.10 บาท แนวต้านที่ 7.70-7.90 บาท
ความเคลื่อนไหวราคาหุ้น LANNA วานนี้ (12 ก.ย.2550) ปิดที่ราคา 17.10 บาท เพิ่มขึ้น 0.10 บาท เพิ่มขึ้น 0.595 มูลค่าการซื้อขาย 30.39 ล้านบาท ส่วนKSL ปิดที่ราคา 11.60 บาท เพิ่มขึ้น 0.30 บาท หรือ 2.65% มูลค่าการซื้อขาย 8.20 ล้านบาท และSOLAR ปิดที่ราคา 2.82 บาท เพิ่มขึ้น 0.02 บาท หรือ 0.71% มูลค่าการซื้อขาย 4.90 ล้านบาท
http://www.msnth.com/msn/money2/content ... 813&ch=225
เกาะกระแสหุ้นพลังงานเดือด ดันหุ้นพลังงานทดแทนร้อนฉ่าตามไปด้วย เพราะเป็นทางเลือกที่ช่วยประหยัดต้นทุนได้มากกว่า
หลังคัดตัวแล้วได้ LANNA BANPU ยังโดดเด่นราคาถ่านหินยังพุ่งสูง การันตี NVDR ยังเก็บไม่เลิกครึ่งเดือนเก็บ BANPU ไปกว่า 1.5 พันล้านบาท ขณะที่แนะเก็งกำไรหุ้นพลังงานทดแทนขนาดเล็กนำทีม SOLAR ,KSL และ AI ยอดฮิต
จากการสำรวจการซื้อขายผ่านบริษัทไทย เอ็นวีดีอาร์ จำกัด NVDR พบว่าในช่วงเกือบครึ่งเดือนที่ผ่านมา (1 ก.ย.-12 ก.ย.2550) หุ้น BANPU มียอดซื้อสุทธิสูงสุด จำนวน 1,533.40 ล้านบาท ขณะที่ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาหุ้น BANPU มียอดซื้อสุทธิ 8,869.10 ล้านบาท
นักวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ พัฒนสิน จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า หุ้นในกลุ่มพลังงานทดแทนถือว่าน่าสนใจไม่แพ้กลุ่มพลังงาน โดยเฉพาะในส่วนของกลุ่มถ่านหิน เช่น,LANNA , BANPU และUMS ซึ่งนอกจากจะได้รับอานิสงค์จากแนวโน้มราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นทำนิวไฮแล้วยังได้รับประโยชน์จากราคาถ่านหินที่ยังปรับสูงขึ้นด้วยเช่นกัน
ราคาถ่านหินและน้ำมันที่พุ่งขึ้นแรง จึงส่งผลดีต่อหุ้นในกลุ่มพลังงาน ซึ่งหุ้นที่เกี่ยวเนื่องกับพลังงานทดแทนหลายตัวก็ยังคงน่าสนใจทำให้คาดว่าหุ้นในกลุ่มพลังงานและพลังงานทดแทนน่าจะยังเป็นกลุ่มหุ้นที่นำตลาดอยู่ นักวิเคราะห์กล่าว
สำหรับราคาสินค้าคอมมูดิตี้ในช่วงนี้พบว่าราคาส่วนใหญ่ โดยเฉพาะราคาพลังงานและสินค้าทดแทนปรับสูงขึ้นและยังมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งราคาสินค้าที่ปรับตัวขึ้นนั้นส่วนหนึ่งมาจากการไหลเข้าของเงินทุน โดยเฉพาะจากเฮดฟันด์ ที่เปลี่ยนการถือครองสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยง เช่นหุ้น เข้าสู่สินค้าคอมมูดิตี้ โดยเฉพาะสินค้าที่มีซัพพลายตึงตัว เช่น น้ำมันและพลังงานทดแทน
ดังนั้นจึงยังคงแนะนำซื้อหุ้น LANNA จากแนวโน้มของราคาถ่านหินที่ทรงตัวอยู่ในระดับสูง และถือเป็นหุ้น the laggardsในกลุ่มพลังงาน และมีสัญญาบวกในเชิงเทคนิค แนะนำเก็งกำไร และเตรียมปรับประมาณการณ์เพิ่มขึ้นใหม่ จากราคาเหมาะสมที่ 14.11 บาท เช่นเดียวกับ UMS ที่ฝ่ายวิจัยเตรียมปรับราคาเป้าหมายจากเดิมให้ไว้ที่ 23.50 บาท
ส่วน BANPU ที่ได้รับประโยชน์จากราคาถ่านหินที่สูงขึ้น โดยให้ราคาเหมาะสมที่ 312 บาท และยังมีสตอรี่ให้ลุ้นในประเด็นที่จะนำเหมืองถ่านหินที่อินโดนีเซียเข้าจดทะเบียนที่ตลาดหลักทรัพย์ของกรุงจาการ์ตา รวมถึงแผนลงทุนในโครงการหงสาลิกไนต์ ที่คาดว่าจะได้ข้อสรุปประมาณเดือนพฤศจิกายนนี้
นอกจากนี้หุ้นในกลุ่มพลังงานทดแทนขนาดเล็ก เช่น SOLAR ,AI และKSL แนะนำเก็งกำไร ซึ่งจะได้รับอานิสงค์จากราคาสินค้าคอมมูลิตี้ที่ปรับตัวสูงขึ้นดันราคาหุ้นให้ปรับตัวขึ้นได้
นายกมลชัย พลอินทวงษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด กล่าวว่า จากสัญญาณเทคนิคหุ้น KSL ระยะกลางราคาหุ้นมีลุ้นวิ่งแตะไฮเดิมที่ 12.40 บาท จึงแนะนำเก็งกำไรได้ โดยให้แนวรับที่ 11.30-11.00 บาท แนวต้านที่ 12.00-12.30 บาท
ส่วน SOLAR แนะเก็งกำไร ให้แนวรับที่ 2.80-2.74 บาท แนวต้านที่ 2.94-3.00 บาท เช่นเดียว กับ AI ให้แนวรับที่ 7.30-7.10 บาท แนวต้านที่ 7.70-7.90 บาท
ความเคลื่อนไหวราคาหุ้น LANNA วานนี้ (12 ก.ย.2550) ปิดที่ราคา 17.10 บาท เพิ่มขึ้น 0.10 บาท เพิ่มขึ้น 0.595 มูลค่าการซื้อขาย 30.39 ล้านบาท ส่วนKSL ปิดที่ราคา 11.60 บาท เพิ่มขึ้น 0.30 บาท หรือ 2.65% มูลค่าการซื้อขาย 8.20 ล้านบาท และSOLAR ปิดที่ราคา 2.82 บาท เพิ่มขึ้น 0.02 บาท หรือ 0.71% มูลค่าการซื้อขาย 4.90 ล้านบาท
http://www.msnth.com/msn/money2/content ... 813&ch=225
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news14/09/07
โพสต์ที่ 77
น้ำมันดิบตลาดนิวยอร์กทำลายสถิติปิดเหนือ 80 เหรียญ
--------------------------------------------------------------------------------
Posted on Friday, September 14, 2007
น้ำมันดิบนิวยอร์ก ปิดตลาดที่ 80.09 เหรียญ สูงสุดเป็นประ วัติการณ์
ราคาน้ำมันดิบพุ่งสูงขึ้นต่อเนื่อง และสร้างสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ นับตั้งแต่เริ่มมีการจัดตั้งตลาดซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันดิบในรอบ 24 ปีที่ผ่านมา หรือนับตั้งแต่ ปี 2526 เป็นวันที่ 3 ติดต่อกัน ด้วยราคาซื้อปิดเมื่อคืนนี้ สามารถยืนเหนือบาร์เรลละ 80 เหรียญสหรัฐเป็นผลสำเร็จ โดยปิดที่ 80.09 เหรียญต่อบาร์เรล ด้านราคาน้ำมันดิบเบร็นท์ อังกฤษทะเลเหนือ ซื้อขายสูงสุดระหว่างวัน พุ่งขึ้นถึงบาร์เรลละ 77.93 เหรียญ ทำสถิติซื้อขายสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 20 ก.ค. 49 หรือในรอบ 14 เดือนที่ผ่านมา
เฮอร์ริเคน ฮัมเบอร์โต้ ถล่ม 3 โรงกลั่นในเท็กซัส หยุดผลิตวันละ 850,000 บาร์เรล
สาเหตุสำคัญที่กระชากราคาน้ำมันดิบนิวอยร์ก สามารถปิดยืนเหนือ 80 เหรียญสหรัฐเมื่อคืนที่ผ่านมา เกิดจากพายุเฮอร์ริเคนลูกใหม่ที่มีชื่อว่า ฮัมเบอร์โต้ เคลื่อนที่จากบริเวณตอนเหนืออ่าวเม็กซิโก เข้าสร้างความเสียหายในเบื้องต้นให้กับ 3 โรงกลั่นน้ำมันขนาดใหญ่ในรัฐเท็กซัส สหรัฐ ซึ่งต้องปิดตัวลง ได้แก่ บริษัท โทเทล เอสเอ บริษัท วาลเลโร่ เอ็นเนอร์จี้ คอร์ปอเรชั่น และบริษัท รอยัล ดัชท์เชลล์ จากการปิดโรงกลั่นทั้ง 3 แห่งดังกล่าว ทำให้ปริมาณการกลั่นหายไปทันทีถึง 8.5 แสนบาร์เรล และยังไม่มีกำหนดเปิดแต่อย่างใด
สถาบัน DIW ในเยอรมนี ชี้ราคาน้ำมันอาจแตะ 100 ดอลล์อีกไม่นาน
คลอเดีย เคลมเฟิร์ท หัวหน้าฝ่ายงานวิจัย สถาบันวิจัยเศรษฐกิจ ดีไอดับเบิลยู ซึ่งเป็นสถานบันวิจัยด้านเศรษฐกิจพลังงานชื่อดังแห่งเยอรมนี ชี้ว่า ระดับราคาน้ำมันที่บาร์เรลละ 100 เหรียญสหรัฐ อาจจะเป็นการคาดการณ์ที่สูง แต่คงอีกไม่ไกลที่อาจจะได้เห็นในอีกไม่นาน สาเหตุจาก ในช่วงเดือนกันยายน ถึงสิ้นเดือนพฤศจิกายน เป็นช่วงฤดูกาลพายุเฮอร์ริเคน และโรงกลั่นน้ำมันในบริเวณอ่าวเม็กซิโก จะปิดซ่อมแซม บำรุงรักษาเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากไม่สามารถผลิตได้เต็มที่ในช่วงฤดูกาลของเฮอร์ริเคน
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mor ... fault.aspx
--------------------------------------------------------------------------------
Posted on Friday, September 14, 2007
น้ำมันดิบนิวยอร์ก ปิดตลาดที่ 80.09 เหรียญ สูงสุดเป็นประ วัติการณ์
ราคาน้ำมันดิบพุ่งสูงขึ้นต่อเนื่อง และสร้างสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ นับตั้งแต่เริ่มมีการจัดตั้งตลาดซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันดิบในรอบ 24 ปีที่ผ่านมา หรือนับตั้งแต่ ปี 2526 เป็นวันที่ 3 ติดต่อกัน ด้วยราคาซื้อปิดเมื่อคืนนี้ สามารถยืนเหนือบาร์เรลละ 80 เหรียญสหรัฐเป็นผลสำเร็จ โดยปิดที่ 80.09 เหรียญต่อบาร์เรล ด้านราคาน้ำมันดิบเบร็นท์ อังกฤษทะเลเหนือ ซื้อขายสูงสุดระหว่างวัน พุ่งขึ้นถึงบาร์เรลละ 77.93 เหรียญ ทำสถิติซื้อขายสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 20 ก.ค. 49 หรือในรอบ 14 เดือนที่ผ่านมา
เฮอร์ริเคน ฮัมเบอร์โต้ ถล่ม 3 โรงกลั่นในเท็กซัส หยุดผลิตวันละ 850,000 บาร์เรล
สาเหตุสำคัญที่กระชากราคาน้ำมันดิบนิวอยร์ก สามารถปิดยืนเหนือ 80 เหรียญสหรัฐเมื่อคืนที่ผ่านมา เกิดจากพายุเฮอร์ริเคนลูกใหม่ที่มีชื่อว่า ฮัมเบอร์โต้ เคลื่อนที่จากบริเวณตอนเหนืออ่าวเม็กซิโก เข้าสร้างความเสียหายในเบื้องต้นให้กับ 3 โรงกลั่นน้ำมันขนาดใหญ่ในรัฐเท็กซัส สหรัฐ ซึ่งต้องปิดตัวลง ได้แก่ บริษัท โทเทล เอสเอ บริษัท วาลเลโร่ เอ็นเนอร์จี้ คอร์ปอเรชั่น และบริษัท รอยัล ดัชท์เชลล์ จากการปิดโรงกลั่นทั้ง 3 แห่งดังกล่าว ทำให้ปริมาณการกลั่นหายไปทันทีถึง 8.5 แสนบาร์เรล และยังไม่มีกำหนดเปิดแต่อย่างใด
สถาบัน DIW ในเยอรมนี ชี้ราคาน้ำมันอาจแตะ 100 ดอลล์อีกไม่นาน
คลอเดีย เคลมเฟิร์ท หัวหน้าฝ่ายงานวิจัย สถาบันวิจัยเศรษฐกิจ ดีไอดับเบิลยู ซึ่งเป็นสถานบันวิจัยด้านเศรษฐกิจพลังงานชื่อดังแห่งเยอรมนี ชี้ว่า ระดับราคาน้ำมันที่บาร์เรลละ 100 เหรียญสหรัฐ อาจจะเป็นการคาดการณ์ที่สูง แต่คงอีกไม่ไกลที่อาจจะได้เห็นในอีกไม่นาน สาเหตุจาก ในช่วงเดือนกันยายน ถึงสิ้นเดือนพฤศจิกายน เป็นช่วงฤดูกาลพายุเฮอร์ริเคน และโรงกลั่นน้ำมันในบริเวณอ่าวเม็กซิโก จะปิดซ่อมแซม บำรุงรักษาเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากไม่สามารถผลิตได้เต็มที่ในช่วงฤดูกาลของเฮอร์ริเคน
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mor ... fault.aspx
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news15/09/07
โพสต์ที่ 78
รมว. พลังงาน ไม่แทรกแซงราคาน้ำมัน
นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน บอกถึงสถานการณ์ราคาน้ำมันในขณะนี้ว่า ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นใกล้แตะระดับ 80 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลนั้น เป็นเพียงสถานการณ์ระยะสั้น เนื่องจากเกิดปัญหากำลังการผลิตไม่เพียงพอ และมีปริมาณความต้องการใช้มากขึ้น แต่เมื่อโอเปกได้ประกาศเพิ่มกำลังการผลิตอีก 500,000 ล้านบาร์เรล ก็น่าจะทำให้ราคาน้ำมันไม่ปรับตัวสูงขึ้นมากนัก
ส่วนระดับราคาขายปลีกน้ำน้ำมันดีเซลและเบนซินในประเทศในขณะนี้ ถือว่ายังเป็นระดับที่ต่ำกว่าปีที่แล้ว ดังนั้นจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเข้าไปแทรกแซงราคา เพราะจะเป็นภาระแก่ประชาชนในอนาคต เหมือนที่รัฐบาลชุดนี้ได้แบกรับภาระใช้หนี้กองทุนน้ำมันให้กับรัฐบาลชุดที่แล้ว
นายปิยสวัสดิ์ ย้ำว่า กระทรวงพลังงานมั่นใจว่าจะสามารถใช้หนี้กองทุนน้ำมันหมดได้ภายในสิ้นปีนี้อย่างแน่นอน ซึ่งหลังจากใช้หนี้กองทุนน้ำมันหมด ก็สามารถนำเงินไปใช้ในการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า หรือ จะนำไปลดราคาน้ำมันก็ได้
ด้านนายกมล คงสกุลวัฒนสุข ผู้จัดการ ฝ่ายราคาการตลาดขายปลีก บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย บอกว่าสถานการณ์ราคาน้ำมันดีเซลสำเร็จรูปที่ตลาดสิงคโปร์ ยังสูงขึ้นต่อเนื่อง จาก 85 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อบาร์เรลเป็น 91 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ตามทิศทางของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 80 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เพราะความกังวลเกี่ยวกับปริมาณการสำรองน้ำมันสหรัฐฯ เพื่อเตรียมไว้ในช่วงฤดูหนาว และพายุลูกใหม่ที่เริ่มก่อตัวทางตอนใต้ของแม็กซิโก ทำให้ราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
ทั้งนี้หากต้นทุนราคาน้ำมันดีเซลสำเร็จรูป ยังทรงตัวสูงในระดับปัจจุบัน อาจทำให้บริษัทฯต้องปรับราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลอีกครั้ง เพื่อให้สอดคล้องกับราคาในตลาดโลก
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mor ... fault.aspx
นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน บอกถึงสถานการณ์ราคาน้ำมันในขณะนี้ว่า ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นใกล้แตะระดับ 80 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลนั้น เป็นเพียงสถานการณ์ระยะสั้น เนื่องจากเกิดปัญหากำลังการผลิตไม่เพียงพอ และมีปริมาณความต้องการใช้มากขึ้น แต่เมื่อโอเปกได้ประกาศเพิ่มกำลังการผลิตอีก 500,000 ล้านบาร์เรล ก็น่าจะทำให้ราคาน้ำมันไม่ปรับตัวสูงขึ้นมากนัก
ส่วนระดับราคาขายปลีกน้ำน้ำมันดีเซลและเบนซินในประเทศในขณะนี้ ถือว่ายังเป็นระดับที่ต่ำกว่าปีที่แล้ว ดังนั้นจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเข้าไปแทรกแซงราคา เพราะจะเป็นภาระแก่ประชาชนในอนาคต เหมือนที่รัฐบาลชุดนี้ได้แบกรับภาระใช้หนี้กองทุนน้ำมันให้กับรัฐบาลชุดที่แล้ว
นายปิยสวัสดิ์ ย้ำว่า กระทรวงพลังงานมั่นใจว่าจะสามารถใช้หนี้กองทุนน้ำมันหมดได้ภายในสิ้นปีนี้อย่างแน่นอน ซึ่งหลังจากใช้หนี้กองทุนน้ำมันหมด ก็สามารถนำเงินไปใช้ในการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า หรือ จะนำไปลดราคาน้ำมันก็ได้
ด้านนายกมล คงสกุลวัฒนสุข ผู้จัดการ ฝ่ายราคาการตลาดขายปลีก บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย บอกว่าสถานการณ์ราคาน้ำมันดีเซลสำเร็จรูปที่ตลาดสิงคโปร์ ยังสูงขึ้นต่อเนื่อง จาก 85 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อบาร์เรลเป็น 91 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ตามทิศทางของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 80 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เพราะความกังวลเกี่ยวกับปริมาณการสำรองน้ำมันสหรัฐฯ เพื่อเตรียมไว้ในช่วงฤดูหนาว และพายุลูกใหม่ที่เริ่มก่อตัวทางตอนใต้ของแม็กซิโก ทำให้ราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
ทั้งนี้หากต้นทุนราคาน้ำมันดีเซลสำเร็จรูป ยังทรงตัวสูงในระดับปัจจุบัน อาจทำให้บริษัทฯต้องปรับราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลอีกครั้ง เพื่อให้สอดคล้องกับราคาในตลาดโลก
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mor ... fault.aspx
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news18/09/07
โพสต์ที่ 80
จีน : ตลาดปิโตรเคมีสำคัญของไทย
18 กันยายน พ.ศ. 2550 12:47:00
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : ในช่วง 3 ทศวรรษที่ผ่านมา ตลาดปิโตรเคมีของจีนมีการขยายตัวอย่างรวดเร็วตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งเป็นผลมาจากการขยายตัวของภาคเกษตรกรรมที่มีความต้องการใช้ปุ๋ยเคมีและยากำจัดศัตรูพืชมากขึ้น และการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมที่ทำให้ความต้องการใช้สินค้าปิโตรเคมีเพิ่มสูงขึ้นมาก อาทิเม็ดพลาสติกและเรซิน หมึกสี ใยเคมีและยางสังเคราะห์ เป็นต้น อุปสงค์ในประเทศที่เพิ่มขึ้นนี้ได้ส่งผลให้อุตสาหกรรมปิโตรเคมีของจีนเองมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ผู้ประกอบการของจีนเองก็เร่งขยายกำลังการผลิตให้มากขึ้น โดยภาพรวมในปี 2550 อุตสาหกรรมดังกล่าวน่าจะมีผลกำไรที่ดีขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลมาจากต้นทุนน้ำมันดิบที่ลดลงจากปีก่อนหน้าและอุปสงค์ในประเทศที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ปัจจุบันจีนได้ก้าวขึ้นเป็นผู้นำเข้าสินค้าปิโตรเคมีรายใหญ่ของโลก เฉพาะในส่วนของเม็ดพลาสติก จีนได้แซงหน้าสหรัฐฯ ขึ้นเป็นตลาดค้าเม็ดพลาสติกที่ใหญ่ที่สุดในโลก และในแต่ละปีจีนนำเข้าเม็ดพลาสติกถึงหลายล้านตัน หลายปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมปิโตรเคมีของไทยพึ่งพาการส่งออกค่อนข้างมาก โดยจีนถือเป็นตลาดส่งออกสินค้าปิโตรเคมีอันดับต้นๆ ของไทย และยังเป็นตลาดที่มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องในอนาคตอีกด้วย
ปัญหาในการพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของจีน : โอกาสส่งออกของไทย
ปัจจุบันการพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของจีนต้องเผชิญกับอุปสรรคหลายๆ ด้าน ทำให้ต้องพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก ซึ่งรวมถึงผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีจากไทย ปัญหาการพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของจีนที่สำคัญได้แก่
1. การผลิตไม่เพียงพอต่ออุปสงค์ในประเทศ แม้ว่าจีนจะเร่งขยายกำลังการผลิตสินค้าปิโตรเคมีอย่างต่อเนื่อง แต่ปริมาณการผลิตยังคงไม่เพียงพอต่ออุปสงค์ในประเทศที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ในแต่ละปีจีนต้องนำเข้าผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีจากต่างประเทศค่อนข้างมากเช่น เอทิลีน โพรพิลีน โพลิสไตรีน PVC ฯลฯ เฉพาะในปี 2548 จีนต้องนำเข้าผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีคิดเป็นมูลค่า 7 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ และคาดว่าจีนยังคงต้องเผชิญกับปัญหาการผลิตที่ไม่เพียงพอต่ออุปสงค์ในประเทศไปอีก 2-3 ปีเป็นอย่างน้อย
2. โครงสร้างอุตสาหกรรมปิโตรเคมีต้นน้ำที่ถูกผูกขาดโดยภาครัฐ ที่ผ่านมาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีต้นน้ำซึ่งได้แก่อุตสาหกรรมการกลั่นและแปรรูปน้ำมันดิบถูกผูกขาดโดยวิสาหกิจขนาดใหญ่ของรัฐ ทำให้วิสาหกิจเอกชนซึ่งอยู่ในอุตสาหกรรมปลายน้ำต้องเผชิญกับข้อจำกัดในการขยายธุรกิจสู่อุตสาหกรรมต้นน้ำ และก่อให้เกิดปัญหาการผลิตที่ไม่เพียงพอต่ออุปสงค์ในประเทศ
3. ปัญหาการตรวจสอบการทุ่มตลาด ที่ผ่านมาจีนต้องประสบกับปัญหาการร้องเรียนกรณีการทุ่มตลาดสินค้าปิโตรเคมีบางประเภทที่จีนส่งออกไปยังต่างประเทศ โดยสินค้าดังกล่าวของจีนเป็นสินค้าที่ถูกร้องเรียนว่ามีการทุ่มตลาดมากที่สุดในบรรดาสินค้าส่งออกของจีนทุกประเภท ปัจจุบันมีหลายรายการที่กำลังอยู่ในขั้นตอนการเจรจาและหาข้อยุติ
หลังจากที่จีนได้เข้าเป็นสมาชิก WTO ในปี 2544 การนำเข้าสินค้าปิโตรเคมีของจีนเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เช่นการนำเข้าผลิตภัณฑ์เรซินเพิ่มขึ้นจาก 11.67 ล้านตันในปี 2544 เป็น 13.35 ล้านตันในปี 2548 ส่วนการนำเข้ายางสังเคราะห์จากต่างประเทศเพิ่มขึ้นจาก 7.53 แสนตันในปี 2544 เป็น 1.09 ล้านตันในปี 2548 แหล่งนำเข้าสินค้าปิโตรเคมีที่สำคัญของจีนได้แก่เกาหลีใต้ ไต้หวัน สิงคโปร์ ไทย มาเลเซีย เป็นต้น ปริมาณการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปีส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากอัตราภาษีนำเข้าที่ลดลง หลังจากที่จีนเข้าเป็นสมาชิก WTO ตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้นมา จีนได้ทยอยปรับลดอัตราภาษีนำเข้าสินค้าปิโตรเคมีประเภทต่างๆ อาทิ เอทิลีนจาก 3.5% เหลือ 2.0% โพลิเอทิลีนจาก 15.4% เหลือ 9.1% ส่วนโพลิโพรพิลีนและ PVC ลดลงจาก 13.9% เหลือ 8.6% เป็นต้น ในส่วนของอาเซียน เนื่องจากได้ทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน ทำให้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีหลายรายการที่ประเทศในกลุ่มอาเซียนส่งออกไปจีนได้รับอัตราภาษีที่ต่ำกว่าที่จีนกำหนดตามเงื่อนไขของ WTO อีกด้วย เช่นการส่งออก PVC และโพลิสไตรีนไปจีน จะได้รับภาษีลดลงจากเดิม 7.6% เหลือเพียง 7.1% เท่านั้น
เศรษฐกิจจีนที่คาดว่าจะขยายตัวกว่า 10% ต่อปีจะเป็นแรงหนุนสำคัญที่ทำให้จีนยังคงต้องนำเข้าสินค้าปิโตรเคมีค่อนข้างมากต่อเนื่องไปอีกอย่างน้อย 2-3 ปี และหลังจากปี 2553 เป็นต้นไป จีนจะสามารถเพิ่มปริมาณการผลิตสินค้าปิโตรเคมีจนตอบสนองความต้องการในประเทศได้อย่างพอเพียงยิ่งขึ้น
การส่งออกสินค้าปิโตรเคมีของไทยไปจีน
ในแต่ละปี ไทยสามารถส่งออกสินค้าปิโตรเคมีไปยังจีนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เฉพาะในส่วนของเม็ดพลาสติก ในช่วงระหว่างปี 2546 2549 มูลค่าการส่งออกไปจีนเพิ่มขึ้นถึง 134.4% และในปี 2549 จีนได้ก้าวขึ้นมาแทนที่ฮ่องกงในฐานะตลาดส่งออกเม็ดพลาสติกที่ใหญ่ที่สุดสำหรับไทย ด้วยมูลค่าการส่งออกสูงถึง 909.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2548 19.0% ตัวเลขดังกล่าวยังไม่รวมถึงเม็ดพลาสติกที่ไทยส่งออกไปฮ่องกงซึ่งส่วนหนึ่งมีการส่งต่อไปยังจีนเพื่อเป็นวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่นๆ อนึ่ง ในปัจจุบันประมาณร้อยละ 25-30 ของเม็ดพลาสติกที่ไทยผลิตได้สามารถส่งออกไปยังตลาดจีนและฮ่องกง ตลาดดังกล่าวจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับไทย
สินค้าปิโตรเคมีที่ไทยสามารถส่งออกไปจีนค่อนข้างมากได้แก่เอทิลีนและโพลิอะซิทัล ด้วยมูลค่าการส่งออก 298.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ 232.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามลำดับ เพิ่มขึ้นจากปี 2548 29.3% และ 17.9% อย่างไรก็ตาม การส่งออกสินค้าบางประเภทไปจีนกลับมีแนวโน้มลดลง เช่นไวนิลคลอไรด์ เป็นต้น ที่มีมูลค่าการส่งออกลดลงจากเดิม 64.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2548 เหลือเพียง 46.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2549 หรือลดลง 26.9% การส่งออกเม็ดพลาสติกของไทยไปจีน
ในช่วงเดือน ม.ค. ก.ค. 2550 การส่งออกเม็ดพลาสติกไปจีนมีมูลค่าทั้งสิ้น 524.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2548 7.29% ประเภทของเม็ดพลาสติกที่ไทยสามารถส่งออกไปจีนได้มากเป็นพิเศษได้แก่โพลิอะซิทัลและเอทิลีน ด้วยมูลค่าการส่งออก 144.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ 131.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามลำดับ ส่วนสินค้าที่มีการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นมากได้แก่ อะมิโนเรซิน และสไตรีน โดยมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2549 40.2% และ 30.7% ตามลำดับ
อุปสรรคและโอกาสสำหรับไทยในธุรกิจปิโตรเคมีของจีน
ที่ผ่านมาการส่งออกผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีจากไทยไปจีนต้องเผชิญกับอุปสรรคบางประการทั้งจากปัจจัยในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
1. ปัญหาด้านต้นทุนการส่งออกที่เพิ่มขึ้น : อุปสรรคในการพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของไทย ส่วนหนึ่งมาจากปัญหาการพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันดิบจากต่างประเทศ ในช่วง 2- 3 ปีที่ผ่านมาราคาน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น และได้ส่งผลต่อเสถียรภาพด้านต้นทุนและราคาสินค้าปิโตรเคมีค่อนข้างมาก และได้สร้างแรงกดดันให้ต้นทุนการผลิตสินค้าปิโตรเคมีของไทยปรับตัวสูงขึ้นเช่นกัน นอกจากนี้ ในช่วงปี 2549-2550 ไทยยังต้องประสบกับปัญหาค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นมากกว่าค่าเงินสกุลอื่นในเอเชีย แม้ว่าการแข็งค่าของเงินบาทจะช่วยให้ไทยสามารถนำเข้าวัตถุดิบในราคาที่ถูกลง แต่ก็กระทบต่อต้นทุนส่งออกของสินค้าปิโตรเคมีทำให้มีราคาสูงขึ้นกว่าคู่แข่งจากต่างประเทศ
2. ปัญหาด้านการแข่งขันจากต่างประเทศ : สินค้าปิโตรเคมีจัดเป็นสินค้าประเภทหนึ่งที่มีความแตกต่างของสินค้า (Product Differentiation) ในระดับต่ำและมีผู้ผลิตหลายรายทำให้มีการแข่งขันกันสูง ในขณะที่คู่แข่งทุกรายต่างพยายามรุกตลาดจีนซึ่งเป็นตลาดสินค้าปิโตรเคมีที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยเฉพาะในส่วนของตลาดวัสดุปิโตรเคมีพื้นฐาน อาทิ โพลิโพรพิลีน โพลิเอทิลีน โพลิสไตรีน เป็นต้น ในปี 2549 ไทยเป็นแหล่งนำเข้าโพลิโพรพิลีนอันดับที่ 5 และแหล่งนำเข้าโพลิเอทิลีนความหนาแน่นต่ำ (LDPE) อันดับที่ 9 ของจีน อนึ่ง ผู้นำเข้าสินค้าปิโตรเคมีของจีนมีอำนาจในการต่อรองสูงเนื่องจากมีตัวเลือกในการนำเข้ามาก เช่น เกาหลีใต้ สิงคโปร์ ไต้หวัน ญี่ปุ่น เป็นต้น ทำให้การส่งออกของไทยไปจีนต้องเน้นการแข่งขันด้านราคาค่อนข้างมาก
3. ปัญหาด้านกำลังการผลิตในประเทศต่างๆ ที่กำลังขยายตัว : ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา หลายๆ ประเทศได้เร่งขยายกำลังการผลิตสินค้าปิโตรเคมี โดยส่วนหนึ่งตั้งเป้าว่าจะสามารถส่งออกสินค้าที่ผลิตได้ไปยังต่างประเทศที่มีความต้องการสูง เช่นสหรัฐอเมริกา อินเดียและจีน ยกตัวอย่างเช่นในกรณีของเกาหลีใต้ที่ปัจจุบันมีแผนเพิ่มกำลังการผลิตโพรพิลีนจาก 325,000 ตันต่อปีเป็น 500,000 ตันต่อปีภายในปี 2551 หรือการ์ตาซึ่งมีแผนเพิ่มกำลังผลิต EDC จาก 200,000 ตันต่อปี เป็น 500,000 ตันต่อปี เป็นต้น
สำหรับจีนเองก็กำลังเดินหน้าโครงการต่างๆ เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตเช่นกัน อาทิ จีนมีการสร้างเอทิลีนแครกเกอร์ขนาด 800,000 ตันต่อปี และหน่วยผลิตโพลิเอทิลีน โพลิโพรพิลีน และพาราไซลีน กำลังผลิตรวม 300,000 ตันต่อปี, 400,000 ตันต่อปี และ 700,000 ตันต่อปีตามลำดับ คาดว่ากำลังผลิตใหม่ของจีนจะทยอยเข้าสู่ตลาดในช่วงปี 2550 2552 นี้ ซึ่งจะส่งผลให้ในอีก 2-3 ปีข้างหน้ากำลังการผลิตปิโตรเคมีทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก ในขณะเดียวกันอุปสงค์ปิโตรเคมีในตลาดโลกกลับเพิ่มขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป ดังนั้นในช่วงปี 2552 2554 การส่งออกสินค้าปิโตรเคมีของไทยไปต่างประเทศรวมถึงจีนเองอาจจะต้องเผชิญกับปัญหาด้านการแข่งขันที่รุนแรงยิ่งขึ้น และหลังจากปี 2554 เป็นต้นไป อุปสงค์ในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้นจะช่วยผ่อนคลายภาวะการแข่งขันด้านราคาในอุตสาหกรรมดังกล่าว
4. ปัญหาการตรวจสอบการทุ่มตลาด : การส่งออกสินค้าปิโตรเคมีของไทยไปจีนต้องเสี่ยงกับปัญหาด้านการตรวจสอบการทุ่มตลาดจากจีน เช่นในกรณีการส่งออกโพลิสไตรีน เป็นต้น ในเดือน ก.พ. 2544 จีนมีการตรวจสอบการทุ่มตลาดสินค้าโพลิสไตรีนจากเกาหลีใต้ ญี่ปุ่นและไทย ในส่วนของไทยเอง มีผู้ประกอบการไม่ต่ำกว่า 6 รายที่ได้รับผลกระทบดังกล่าว และ 42% ของวัสดุโพลิสไตรีนทั้งหมดที่ไทยส่งออกไปจีนเข้าข่ายการตรวจสอบในครั้งนี้ ซึ่งทำให้การส่งออกของไทยในปี 2544 ได้รับผลกระทบตามไปด้วย โดยมูลค่าการส่งออกเม็ดพลาสติกสไตรีนซึ่งเป็นวัตถุดิบสำหรับโพลิสไตรีนลดลงจาก 31.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2543 เหลือเพียง 22.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2544 หรือลดลง 30.2% อย่างไรก็ตามในเดือน ธ.ค. 2544 ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับที่จีนได้เข้าเป็นสมาชิก WTO จีนได้ยุติการดำเนินการตรวจสอบกรณีดังกล่าว และส่งผลให้ในปี 2545 ไทยสามารถส่งออกเม็ดพลาสติกสไตรีนไปจีนเพิ่มเป็น 30.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเพิ่มขึ้น 40.0%
5. ปัญหาการลงทุนในจีนที่ไทยเสียเปรียบต่างประเทศ : หลังจากที่จีนได้เข้าเป็นสมาชิก WTO จีนก็ได้อนุญาตให้บริษัทปิโตรเคมีจากต่างประเทศเข้ามาลงทุนก่อตั้งโรงงานในจีนเพิ่มขึ้น และที่ผ่านมา มีผู้ผลิตสินค้าปิโตรเคมีรายใหญ่ของโลกจำนวนไม่น้อย อาทิ BASF และ BP เป็นต้น ได้เข้าไปลงทุนก่อสร้างโรงงานผลิตเอทิลีนขนาดใหญ่ และสามารถเข้ายึดครองตลาดเอทิลีนของจีนได้เพิ่มขึ้นถึง 13% นอกจากนี้บริษัทข้ามชาติยังได้ลงทุนก่อสร้างโรงงานผลิตวัสดุปิโตรเคมีอื่นๆ เช่น โพลิสไตรีน, ABS, PTA ฯลฯ อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการของไทยยังเสียเปรียบผู้ประกอบการรายใหญ่จากต่างประเทศเช่น สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ฯลฯ เนื่องจากผู้ประกอบการจากประเทศเหล่านี้มีเทคโนโลยีการผลิตขั้นสูงกว่าไทย จึงมีโอกาสได้รับการอนุมัติให้ลงทุนในจีนมากกว่าผู้ประกอบการรายย่อยของไทยที่มีเงินลงทุนและความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีน้อยกว่า
แม้ว่าผู้ประกอบการไทยยังต้องเผชิญกับปัญหานานัปการดังกล่าวข้างต้น แต่ไทยก็ยังมีโอกาสได้ประโยชน์จากตลาดปิโตรเคมีของจีนที่กำลังขยายตัว โดยเฉพาะในส่วนของการส่งออก ซึ่งแม้ว่ากำลังผลิตใหม่ของจีนจะเริ่มทยอยเข้าสู่ตลาดในช่วงปี 2550-2552 นี้ แต่อุปสงค์ในประเทศในช่วงดังกล่าวก็เพิ่มขึ้นเช่นกันทำให้คาดว่าจีนต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งก่อนที่ปริมาณการนำเข้าของจีนจะเริ่มลดระดับลง ดังนั้น ในระยะสั้นไทยยังคงมีโอกาสส่งออกสินค้าปิโตรเคมีไปจีนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสินค้าที่ยังมีแนวโน้มส่งออกไปจีนเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในอนาคตได้แก่อะมิโนเรซิน และสไตรีน และโพรพิลีน เป็นต้น ส่วนในระยะยาวการส่งออกของไทยอาจต้องเผชิญกับอุปสรรคทั้งในด้านของอุปทานที่เพิ่มขึ้นในตลาดโลกและจากการที่จีนเองก็สามารถผลิตให้เพียงพอต่ออุปสงค์ในประเทศมากขึ้น ซึ่งตรงจุดนี้เอง อุตสาหกรรมปิโตรเคมีของไทยทุกภาคส่วนควรเร่งพิจารณาข้อเสนอแนะเพื่อการปรับตัวดังต่อไปนี้
1. ภาครัฐอาจพิจารณาจัดตั้งคณะศึกษายุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เพื่อหาแนวทางเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการไทยเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตสินค้าปิโตรเคมีที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ซับซ้อนมากขึ้น และให้สามารถผลิตสินค้าปิโตรเคมีที่การแข่งขันไม่สูงมากนัก
2. ผู้ประกอบการไทยควรพิจารณาจัดตั้งหรือขยายสาขาสำนักงานในจีนเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้นำเข้าของจีน เช่นที่ผ่านมา พีทีทีโพลิเมอร์ฯ มีการเปิดสาขากวางเจา และอยู่ในช่วงขยายสาขาสู่เซี่ยงไฮ้และเฉิงตู เป็นต้น เพื่อใช้เป็นศูนย์กลางการจำหน่ายเม็ดพลาสติก ทั้งนี้ การตั้งสาขาในประเทศจีนยังช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถใกล้ชิดผู้บริโภคมากขึ้น และทำให้สามารถดำเนินกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดจีนได้มากขึ้นด้วย
3. ภาครัฐควรดำเนินนโยบายส่งเสริมให้ภาคเอกชนของไทยขยายการลงทุนไปยังประเทศที่มีสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวยต่อการลงทุนและมีความพร้อมด้านทรัพยากรแรงงานและวัตถุดิบ เช่นเวียดนาม อินโดนีเซีย หรือประเทศในตะวันออกกลาง เป็นต้น เนื่องจากประเทศเหล่านี้มีทรัพยากรและวัตถุดิบที่อุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำมันดิบซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญสำหรับอุตสาหกรรมปิโตรเคมี
จากแนวโน้มการขยายตัวของตลาดปิโตรเคมีของจีนอย่างต่อเนื่องในอนาคต ผู้ประกอบการไทยจึงยังมีโอกาสในการขยายการส่งออกไปจีนให้มากขึ้น ผู้ประกอบการไทยจะต้องเร่งปรับกลยุทธ์และสร้างความเข้าใจด้านกฎระเบียบและความต้องการของตลาดปิโตรเคมีของจีนให้มากขึ้นเพื่อรักษาตลาดส่งออกที่สำคัญดังกล่าวให้สามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง อนึ่ง แม้ว่าจีนจะเป็นตลาดส่งออกสินค้าปิโตรเคมีที่ใหญ่ที่สุดของไทย แต่ผู้ประกอบการของไทยเองก็ไม่ควรละเลยตลาดในประเทศใกล้เคียงอื่นๆ อาทิ เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฯลฯ ซึ่งเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของไทยเช่นกัน อันจะช่วยกระจายความเสี่ยงในช่วงที่ตลาดปิโตรเคมีของจีนมีความผันผวนได้อีกด้วย
ที่มา : บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด
http://www.bangkokbiznews.com/2007/09/1 ... sid=103111
18 กันยายน พ.ศ. 2550 12:47:00
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : ในช่วง 3 ทศวรรษที่ผ่านมา ตลาดปิโตรเคมีของจีนมีการขยายตัวอย่างรวดเร็วตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งเป็นผลมาจากการขยายตัวของภาคเกษตรกรรมที่มีความต้องการใช้ปุ๋ยเคมีและยากำจัดศัตรูพืชมากขึ้น และการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมที่ทำให้ความต้องการใช้สินค้าปิโตรเคมีเพิ่มสูงขึ้นมาก อาทิเม็ดพลาสติกและเรซิน หมึกสี ใยเคมีและยางสังเคราะห์ เป็นต้น อุปสงค์ในประเทศที่เพิ่มขึ้นนี้ได้ส่งผลให้อุตสาหกรรมปิโตรเคมีของจีนเองมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ผู้ประกอบการของจีนเองก็เร่งขยายกำลังการผลิตให้มากขึ้น โดยภาพรวมในปี 2550 อุตสาหกรรมดังกล่าวน่าจะมีผลกำไรที่ดีขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลมาจากต้นทุนน้ำมันดิบที่ลดลงจากปีก่อนหน้าและอุปสงค์ในประเทศที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ปัจจุบันจีนได้ก้าวขึ้นเป็นผู้นำเข้าสินค้าปิโตรเคมีรายใหญ่ของโลก เฉพาะในส่วนของเม็ดพลาสติก จีนได้แซงหน้าสหรัฐฯ ขึ้นเป็นตลาดค้าเม็ดพลาสติกที่ใหญ่ที่สุดในโลก และในแต่ละปีจีนนำเข้าเม็ดพลาสติกถึงหลายล้านตัน หลายปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมปิโตรเคมีของไทยพึ่งพาการส่งออกค่อนข้างมาก โดยจีนถือเป็นตลาดส่งออกสินค้าปิโตรเคมีอันดับต้นๆ ของไทย และยังเป็นตลาดที่มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องในอนาคตอีกด้วย
ปัญหาในการพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของจีน : โอกาสส่งออกของไทย
ปัจจุบันการพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของจีนต้องเผชิญกับอุปสรรคหลายๆ ด้าน ทำให้ต้องพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก ซึ่งรวมถึงผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีจากไทย ปัญหาการพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของจีนที่สำคัญได้แก่
1. การผลิตไม่เพียงพอต่ออุปสงค์ในประเทศ แม้ว่าจีนจะเร่งขยายกำลังการผลิตสินค้าปิโตรเคมีอย่างต่อเนื่อง แต่ปริมาณการผลิตยังคงไม่เพียงพอต่ออุปสงค์ในประเทศที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ในแต่ละปีจีนต้องนำเข้าผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีจากต่างประเทศค่อนข้างมากเช่น เอทิลีน โพรพิลีน โพลิสไตรีน PVC ฯลฯ เฉพาะในปี 2548 จีนต้องนำเข้าผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีคิดเป็นมูลค่า 7 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ และคาดว่าจีนยังคงต้องเผชิญกับปัญหาการผลิตที่ไม่เพียงพอต่ออุปสงค์ในประเทศไปอีก 2-3 ปีเป็นอย่างน้อย
2. โครงสร้างอุตสาหกรรมปิโตรเคมีต้นน้ำที่ถูกผูกขาดโดยภาครัฐ ที่ผ่านมาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีต้นน้ำซึ่งได้แก่อุตสาหกรรมการกลั่นและแปรรูปน้ำมันดิบถูกผูกขาดโดยวิสาหกิจขนาดใหญ่ของรัฐ ทำให้วิสาหกิจเอกชนซึ่งอยู่ในอุตสาหกรรมปลายน้ำต้องเผชิญกับข้อจำกัดในการขยายธุรกิจสู่อุตสาหกรรมต้นน้ำ และก่อให้เกิดปัญหาการผลิตที่ไม่เพียงพอต่ออุปสงค์ในประเทศ
3. ปัญหาการตรวจสอบการทุ่มตลาด ที่ผ่านมาจีนต้องประสบกับปัญหาการร้องเรียนกรณีการทุ่มตลาดสินค้าปิโตรเคมีบางประเภทที่จีนส่งออกไปยังต่างประเทศ โดยสินค้าดังกล่าวของจีนเป็นสินค้าที่ถูกร้องเรียนว่ามีการทุ่มตลาดมากที่สุดในบรรดาสินค้าส่งออกของจีนทุกประเภท ปัจจุบันมีหลายรายการที่กำลังอยู่ในขั้นตอนการเจรจาและหาข้อยุติ
หลังจากที่จีนได้เข้าเป็นสมาชิก WTO ในปี 2544 การนำเข้าสินค้าปิโตรเคมีของจีนเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เช่นการนำเข้าผลิตภัณฑ์เรซินเพิ่มขึ้นจาก 11.67 ล้านตันในปี 2544 เป็น 13.35 ล้านตันในปี 2548 ส่วนการนำเข้ายางสังเคราะห์จากต่างประเทศเพิ่มขึ้นจาก 7.53 แสนตันในปี 2544 เป็น 1.09 ล้านตันในปี 2548 แหล่งนำเข้าสินค้าปิโตรเคมีที่สำคัญของจีนได้แก่เกาหลีใต้ ไต้หวัน สิงคโปร์ ไทย มาเลเซีย เป็นต้น ปริมาณการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปีส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากอัตราภาษีนำเข้าที่ลดลง หลังจากที่จีนเข้าเป็นสมาชิก WTO ตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้นมา จีนได้ทยอยปรับลดอัตราภาษีนำเข้าสินค้าปิโตรเคมีประเภทต่างๆ อาทิ เอทิลีนจาก 3.5% เหลือ 2.0% โพลิเอทิลีนจาก 15.4% เหลือ 9.1% ส่วนโพลิโพรพิลีนและ PVC ลดลงจาก 13.9% เหลือ 8.6% เป็นต้น ในส่วนของอาเซียน เนื่องจากได้ทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน ทำให้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีหลายรายการที่ประเทศในกลุ่มอาเซียนส่งออกไปจีนได้รับอัตราภาษีที่ต่ำกว่าที่จีนกำหนดตามเงื่อนไขของ WTO อีกด้วย เช่นการส่งออก PVC และโพลิสไตรีนไปจีน จะได้รับภาษีลดลงจากเดิม 7.6% เหลือเพียง 7.1% เท่านั้น
เศรษฐกิจจีนที่คาดว่าจะขยายตัวกว่า 10% ต่อปีจะเป็นแรงหนุนสำคัญที่ทำให้จีนยังคงต้องนำเข้าสินค้าปิโตรเคมีค่อนข้างมากต่อเนื่องไปอีกอย่างน้อย 2-3 ปี และหลังจากปี 2553 เป็นต้นไป จีนจะสามารถเพิ่มปริมาณการผลิตสินค้าปิโตรเคมีจนตอบสนองความต้องการในประเทศได้อย่างพอเพียงยิ่งขึ้น
การส่งออกสินค้าปิโตรเคมีของไทยไปจีน
ในแต่ละปี ไทยสามารถส่งออกสินค้าปิโตรเคมีไปยังจีนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เฉพาะในส่วนของเม็ดพลาสติก ในช่วงระหว่างปี 2546 2549 มูลค่าการส่งออกไปจีนเพิ่มขึ้นถึง 134.4% และในปี 2549 จีนได้ก้าวขึ้นมาแทนที่ฮ่องกงในฐานะตลาดส่งออกเม็ดพลาสติกที่ใหญ่ที่สุดสำหรับไทย ด้วยมูลค่าการส่งออกสูงถึง 909.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2548 19.0% ตัวเลขดังกล่าวยังไม่รวมถึงเม็ดพลาสติกที่ไทยส่งออกไปฮ่องกงซึ่งส่วนหนึ่งมีการส่งต่อไปยังจีนเพื่อเป็นวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่นๆ อนึ่ง ในปัจจุบันประมาณร้อยละ 25-30 ของเม็ดพลาสติกที่ไทยผลิตได้สามารถส่งออกไปยังตลาดจีนและฮ่องกง ตลาดดังกล่าวจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับไทย
สินค้าปิโตรเคมีที่ไทยสามารถส่งออกไปจีนค่อนข้างมากได้แก่เอทิลีนและโพลิอะซิทัล ด้วยมูลค่าการส่งออก 298.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ 232.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามลำดับ เพิ่มขึ้นจากปี 2548 29.3% และ 17.9% อย่างไรก็ตาม การส่งออกสินค้าบางประเภทไปจีนกลับมีแนวโน้มลดลง เช่นไวนิลคลอไรด์ เป็นต้น ที่มีมูลค่าการส่งออกลดลงจากเดิม 64.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2548 เหลือเพียง 46.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2549 หรือลดลง 26.9% การส่งออกเม็ดพลาสติกของไทยไปจีน
ในช่วงเดือน ม.ค. ก.ค. 2550 การส่งออกเม็ดพลาสติกไปจีนมีมูลค่าทั้งสิ้น 524.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2548 7.29% ประเภทของเม็ดพลาสติกที่ไทยสามารถส่งออกไปจีนได้มากเป็นพิเศษได้แก่โพลิอะซิทัลและเอทิลีน ด้วยมูลค่าการส่งออก 144.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ 131.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามลำดับ ส่วนสินค้าที่มีการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นมากได้แก่ อะมิโนเรซิน และสไตรีน โดยมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2549 40.2% และ 30.7% ตามลำดับ
อุปสรรคและโอกาสสำหรับไทยในธุรกิจปิโตรเคมีของจีน
ที่ผ่านมาการส่งออกผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีจากไทยไปจีนต้องเผชิญกับอุปสรรคบางประการทั้งจากปัจจัยในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
1. ปัญหาด้านต้นทุนการส่งออกที่เพิ่มขึ้น : อุปสรรคในการพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของไทย ส่วนหนึ่งมาจากปัญหาการพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันดิบจากต่างประเทศ ในช่วง 2- 3 ปีที่ผ่านมาราคาน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น และได้ส่งผลต่อเสถียรภาพด้านต้นทุนและราคาสินค้าปิโตรเคมีค่อนข้างมาก และได้สร้างแรงกดดันให้ต้นทุนการผลิตสินค้าปิโตรเคมีของไทยปรับตัวสูงขึ้นเช่นกัน นอกจากนี้ ในช่วงปี 2549-2550 ไทยยังต้องประสบกับปัญหาค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นมากกว่าค่าเงินสกุลอื่นในเอเชีย แม้ว่าการแข็งค่าของเงินบาทจะช่วยให้ไทยสามารถนำเข้าวัตถุดิบในราคาที่ถูกลง แต่ก็กระทบต่อต้นทุนส่งออกของสินค้าปิโตรเคมีทำให้มีราคาสูงขึ้นกว่าคู่แข่งจากต่างประเทศ
2. ปัญหาด้านการแข่งขันจากต่างประเทศ : สินค้าปิโตรเคมีจัดเป็นสินค้าประเภทหนึ่งที่มีความแตกต่างของสินค้า (Product Differentiation) ในระดับต่ำและมีผู้ผลิตหลายรายทำให้มีการแข่งขันกันสูง ในขณะที่คู่แข่งทุกรายต่างพยายามรุกตลาดจีนซึ่งเป็นตลาดสินค้าปิโตรเคมีที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยเฉพาะในส่วนของตลาดวัสดุปิโตรเคมีพื้นฐาน อาทิ โพลิโพรพิลีน โพลิเอทิลีน โพลิสไตรีน เป็นต้น ในปี 2549 ไทยเป็นแหล่งนำเข้าโพลิโพรพิลีนอันดับที่ 5 และแหล่งนำเข้าโพลิเอทิลีนความหนาแน่นต่ำ (LDPE) อันดับที่ 9 ของจีน อนึ่ง ผู้นำเข้าสินค้าปิโตรเคมีของจีนมีอำนาจในการต่อรองสูงเนื่องจากมีตัวเลือกในการนำเข้ามาก เช่น เกาหลีใต้ สิงคโปร์ ไต้หวัน ญี่ปุ่น เป็นต้น ทำให้การส่งออกของไทยไปจีนต้องเน้นการแข่งขันด้านราคาค่อนข้างมาก
3. ปัญหาด้านกำลังการผลิตในประเทศต่างๆ ที่กำลังขยายตัว : ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา หลายๆ ประเทศได้เร่งขยายกำลังการผลิตสินค้าปิโตรเคมี โดยส่วนหนึ่งตั้งเป้าว่าจะสามารถส่งออกสินค้าที่ผลิตได้ไปยังต่างประเทศที่มีความต้องการสูง เช่นสหรัฐอเมริกา อินเดียและจีน ยกตัวอย่างเช่นในกรณีของเกาหลีใต้ที่ปัจจุบันมีแผนเพิ่มกำลังการผลิตโพรพิลีนจาก 325,000 ตันต่อปีเป็น 500,000 ตันต่อปีภายในปี 2551 หรือการ์ตาซึ่งมีแผนเพิ่มกำลังผลิต EDC จาก 200,000 ตันต่อปี เป็น 500,000 ตันต่อปี เป็นต้น
สำหรับจีนเองก็กำลังเดินหน้าโครงการต่างๆ เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตเช่นกัน อาทิ จีนมีการสร้างเอทิลีนแครกเกอร์ขนาด 800,000 ตันต่อปี และหน่วยผลิตโพลิเอทิลีน โพลิโพรพิลีน และพาราไซลีน กำลังผลิตรวม 300,000 ตันต่อปี, 400,000 ตันต่อปี และ 700,000 ตันต่อปีตามลำดับ คาดว่ากำลังผลิตใหม่ของจีนจะทยอยเข้าสู่ตลาดในช่วงปี 2550 2552 นี้ ซึ่งจะส่งผลให้ในอีก 2-3 ปีข้างหน้ากำลังการผลิตปิโตรเคมีทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก ในขณะเดียวกันอุปสงค์ปิโตรเคมีในตลาดโลกกลับเพิ่มขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป ดังนั้นในช่วงปี 2552 2554 การส่งออกสินค้าปิโตรเคมีของไทยไปต่างประเทศรวมถึงจีนเองอาจจะต้องเผชิญกับปัญหาด้านการแข่งขันที่รุนแรงยิ่งขึ้น และหลังจากปี 2554 เป็นต้นไป อุปสงค์ในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้นจะช่วยผ่อนคลายภาวะการแข่งขันด้านราคาในอุตสาหกรรมดังกล่าว
4. ปัญหาการตรวจสอบการทุ่มตลาด : การส่งออกสินค้าปิโตรเคมีของไทยไปจีนต้องเสี่ยงกับปัญหาด้านการตรวจสอบการทุ่มตลาดจากจีน เช่นในกรณีการส่งออกโพลิสไตรีน เป็นต้น ในเดือน ก.พ. 2544 จีนมีการตรวจสอบการทุ่มตลาดสินค้าโพลิสไตรีนจากเกาหลีใต้ ญี่ปุ่นและไทย ในส่วนของไทยเอง มีผู้ประกอบการไม่ต่ำกว่า 6 รายที่ได้รับผลกระทบดังกล่าว และ 42% ของวัสดุโพลิสไตรีนทั้งหมดที่ไทยส่งออกไปจีนเข้าข่ายการตรวจสอบในครั้งนี้ ซึ่งทำให้การส่งออกของไทยในปี 2544 ได้รับผลกระทบตามไปด้วย โดยมูลค่าการส่งออกเม็ดพลาสติกสไตรีนซึ่งเป็นวัตถุดิบสำหรับโพลิสไตรีนลดลงจาก 31.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2543 เหลือเพียง 22.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2544 หรือลดลง 30.2% อย่างไรก็ตามในเดือน ธ.ค. 2544 ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับที่จีนได้เข้าเป็นสมาชิก WTO จีนได้ยุติการดำเนินการตรวจสอบกรณีดังกล่าว และส่งผลให้ในปี 2545 ไทยสามารถส่งออกเม็ดพลาสติกสไตรีนไปจีนเพิ่มเป็น 30.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเพิ่มขึ้น 40.0%
5. ปัญหาการลงทุนในจีนที่ไทยเสียเปรียบต่างประเทศ : หลังจากที่จีนได้เข้าเป็นสมาชิก WTO จีนก็ได้อนุญาตให้บริษัทปิโตรเคมีจากต่างประเทศเข้ามาลงทุนก่อตั้งโรงงานในจีนเพิ่มขึ้น และที่ผ่านมา มีผู้ผลิตสินค้าปิโตรเคมีรายใหญ่ของโลกจำนวนไม่น้อย อาทิ BASF และ BP เป็นต้น ได้เข้าไปลงทุนก่อสร้างโรงงานผลิตเอทิลีนขนาดใหญ่ และสามารถเข้ายึดครองตลาดเอทิลีนของจีนได้เพิ่มขึ้นถึง 13% นอกจากนี้บริษัทข้ามชาติยังได้ลงทุนก่อสร้างโรงงานผลิตวัสดุปิโตรเคมีอื่นๆ เช่น โพลิสไตรีน, ABS, PTA ฯลฯ อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการของไทยยังเสียเปรียบผู้ประกอบการรายใหญ่จากต่างประเทศเช่น สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ฯลฯ เนื่องจากผู้ประกอบการจากประเทศเหล่านี้มีเทคโนโลยีการผลิตขั้นสูงกว่าไทย จึงมีโอกาสได้รับการอนุมัติให้ลงทุนในจีนมากกว่าผู้ประกอบการรายย่อยของไทยที่มีเงินลงทุนและความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีน้อยกว่า
แม้ว่าผู้ประกอบการไทยยังต้องเผชิญกับปัญหานานัปการดังกล่าวข้างต้น แต่ไทยก็ยังมีโอกาสได้ประโยชน์จากตลาดปิโตรเคมีของจีนที่กำลังขยายตัว โดยเฉพาะในส่วนของการส่งออก ซึ่งแม้ว่ากำลังผลิตใหม่ของจีนจะเริ่มทยอยเข้าสู่ตลาดในช่วงปี 2550-2552 นี้ แต่อุปสงค์ในประเทศในช่วงดังกล่าวก็เพิ่มขึ้นเช่นกันทำให้คาดว่าจีนต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งก่อนที่ปริมาณการนำเข้าของจีนจะเริ่มลดระดับลง ดังนั้น ในระยะสั้นไทยยังคงมีโอกาสส่งออกสินค้าปิโตรเคมีไปจีนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสินค้าที่ยังมีแนวโน้มส่งออกไปจีนเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในอนาคตได้แก่อะมิโนเรซิน และสไตรีน และโพรพิลีน เป็นต้น ส่วนในระยะยาวการส่งออกของไทยอาจต้องเผชิญกับอุปสรรคทั้งในด้านของอุปทานที่เพิ่มขึ้นในตลาดโลกและจากการที่จีนเองก็สามารถผลิตให้เพียงพอต่ออุปสงค์ในประเทศมากขึ้น ซึ่งตรงจุดนี้เอง อุตสาหกรรมปิโตรเคมีของไทยทุกภาคส่วนควรเร่งพิจารณาข้อเสนอแนะเพื่อการปรับตัวดังต่อไปนี้
1. ภาครัฐอาจพิจารณาจัดตั้งคณะศึกษายุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เพื่อหาแนวทางเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการไทยเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตสินค้าปิโตรเคมีที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ซับซ้อนมากขึ้น และให้สามารถผลิตสินค้าปิโตรเคมีที่การแข่งขันไม่สูงมากนัก
2. ผู้ประกอบการไทยควรพิจารณาจัดตั้งหรือขยายสาขาสำนักงานในจีนเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้นำเข้าของจีน เช่นที่ผ่านมา พีทีทีโพลิเมอร์ฯ มีการเปิดสาขากวางเจา และอยู่ในช่วงขยายสาขาสู่เซี่ยงไฮ้และเฉิงตู เป็นต้น เพื่อใช้เป็นศูนย์กลางการจำหน่ายเม็ดพลาสติก ทั้งนี้ การตั้งสาขาในประเทศจีนยังช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถใกล้ชิดผู้บริโภคมากขึ้น และทำให้สามารถดำเนินกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดจีนได้มากขึ้นด้วย
3. ภาครัฐควรดำเนินนโยบายส่งเสริมให้ภาคเอกชนของไทยขยายการลงทุนไปยังประเทศที่มีสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวยต่อการลงทุนและมีความพร้อมด้านทรัพยากรแรงงานและวัตถุดิบ เช่นเวียดนาม อินโดนีเซีย หรือประเทศในตะวันออกกลาง เป็นต้น เนื่องจากประเทศเหล่านี้มีทรัพยากรและวัตถุดิบที่อุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำมันดิบซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญสำหรับอุตสาหกรรมปิโตรเคมี
จากแนวโน้มการขยายตัวของตลาดปิโตรเคมีของจีนอย่างต่อเนื่องในอนาคต ผู้ประกอบการไทยจึงยังมีโอกาสในการขยายการส่งออกไปจีนให้มากขึ้น ผู้ประกอบการไทยจะต้องเร่งปรับกลยุทธ์และสร้างความเข้าใจด้านกฎระเบียบและความต้องการของตลาดปิโตรเคมีของจีนให้มากขึ้นเพื่อรักษาตลาดส่งออกที่สำคัญดังกล่าวให้สามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง อนึ่ง แม้ว่าจีนจะเป็นตลาดส่งออกสินค้าปิโตรเคมีที่ใหญ่ที่สุดของไทย แต่ผู้ประกอบการของไทยเองก็ไม่ควรละเลยตลาดในประเทศใกล้เคียงอื่นๆ อาทิ เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฯลฯ ซึ่งเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของไทยเช่นกัน อันจะช่วยกระจายความเสี่ยงในช่วงที่ตลาดปิโตรเคมีของจีนมีความผันผวนได้อีกด้วย
ที่มา : บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด
http://www.bangkokbiznews.com/2007/09/1 ... sid=103111
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news18/09/07
โพสต์ที่ 81
ปิยสวัสดิ์ชี้ราคาน้ำมันผันผวนยาว3ปี
18 กันยายน พ.ศ. 2550 11:06:00
ปิยสัวสดิ์ ชี้คนไทยต้องรับมือกับสภาวะผันผวนของราคาน้ำมันต่อไปอีก 3 ปี จนกว่าจะมีโรงกลั่นใหม่เดินเครื่องเพิ่มขึ้น พร้อมระบุราคาน้ำมันปรับตัวเพิ่มขึ้นมาจาก 5 ปัจจัย
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : ดร.ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รัฐมนตรีการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยถึงราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินและดีเซลในประเทศที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นว่า เป็นผลมาจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งราคาน้ำมันในตลาดโลกมีการขึ้นลงตลอดเวลาและมีความผันผวน โดยเมื่อ 3 เดือนที่แล้ว ราคาน้ำมันเบนซิน 95 อยู่ที่ลิตรละ 30.39 บาท แต่ขณะนี้อยู่ที่ลิตรละ 29 บาท ส่วนน้ำมันดีเซลขณะนี้ลิตรละ 28 บาท ซึ่งยังต่ำกว่าช่วงนั้น 1 บาทต่อลิตร
สาเหตุที่ทำให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นมาจาก 5 ปัจจัย ได้แก่ การลดกำลังการผลิตน้ำมันของโอเปค 1 ล้านบาร์เรลต่อวันในช่วงที่ผ่านมา แม้ว่าขณะนี้จะมีการเพิ่มกำลังการผลิต 5 แสนบาร์เรลต่อวัน แต่ยังต่ำกว่ากำลังการผลิตที่ลดลงไปก่อนหน้านี้ ขณะที่กำลังการกลั่นของโรงกลั่นทั่วโลกที่มีไม่เพียงพอ ซึ่งโรงกลั่นใหม่ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างนั้นจะเดินเครื่องผลิตได้ในอีก 2-3 ปีข้างหน้า
นอกจากนี้ การปรับปรุงคุณภาพและมาตรฐานน้ำมันในยุโรปหลายประเทศ เช่น กรณีการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ และการใช้น้ำมันมาตรฐานยูโร 4 ทำให้กำลังการกลั่นของโรงกลั่นเก่า โดยเฉพาะโรงกลั่นในสหรัฐไม่สามารถทำการกลั่นน้ำมันได้เต็มที่ ในขณะเดียวกัน ความวิตกกังวลเกี่ยวกับพายุเฮอริเคน และสถานการณ์การเมืองในประเทศผู้ส่งออกน้ำมันบางประเทศ เช่น อิรัก ที่ยังไม่มีความชัดเจน ส่งผลให้การผลิตลดลง
ปัจจัยที่มารวมกันเหล่านี้ทำให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น ในขณะที่ความต้องการน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นอีกครั้ง ซึ่งเรายังต้องอยู่อย่างนี้ไปอีกระยะหนึ่ง จนกว่ากำลังการกลั่นใหม่ในตะวันออกกลาง อินเดีย และจีนจะเข้าสู่ตลาดในอีก 3 ปีข้างหน้าดร.ปิยสวัสดิ์กล่าว
ดร.ปิยสวัสดิ์ ระบุว่า สถานการณ์ราคาน้ำมันที่เป็นอยู่ขณะนี้ เป็นสิ่งที่ต้องยอมรับและต้องอยู่กับมันต่อไปอีกระยะหนึ่ง ซึ่งในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาราคาน้ำมันในตลาดโลกมีการขึ้นลงระหว่าง 50-80 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล แต่ยังไม่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นแต่อย่างใด อย่างก็ตาม ตนมองว่ามีโอกาสเป็นไปได้น้อยมากที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกจะลดลงแตะระดับ 40 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล
ทั้งนี้ เนื่องจากปัจจุบันต้นทุนการสำรวจและขุดเจาะแหล่งปิโตรเลียมใหม่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาก เช่น ต้องขุดเจาะในแหล่งที่ทุรกันดานในรัสเซีย หรือต้องขุดเจาะในทะเลที่มีความลึกมาก ขณะที่การก่อสร้างโรงกลั่นใหม่มีต้นทุนที่สูง ดังนั้น ต้นทุนราคาน้ำมันจึงไม่ใช่แค่ 40 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล แต่ราคาจะสูงกว่านั้นมาก นอกจากนี้ มีความเป็นไปได้ที่ราคาน้ำมันจะเพิ่มเป็น 100 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล กรณีหากเกิดสงครามในตะวันออกกลาง
http://www.bangkokbiznews.com/2007/09/1 ... sid=103088
18 กันยายน พ.ศ. 2550 11:06:00
ปิยสัวสดิ์ ชี้คนไทยต้องรับมือกับสภาวะผันผวนของราคาน้ำมันต่อไปอีก 3 ปี จนกว่าจะมีโรงกลั่นใหม่เดินเครื่องเพิ่มขึ้น พร้อมระบุราคาน้ำมันปรับตัวเพิ่มขึ้นมาจาก 5 ปัจจัย
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : ดร.ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รัฐมนตรีการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยถึงราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินและดีเซลในประเทศที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นว่า เป็นผลมาจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งราคาน้ำมันในตลาดโลกมีการขึ้นลงตลอดเวลาและมีความผันผวน โดยเมื่อ 3 เดือนที่แล้ว ราคาน้ำมันเบนซิน 95 อยู่ที่ลิตรละ 30.39 บาท แต่ขณะนี้อยู่ที่ลิตรละ 29 บาท ส่วนน้ำมันดีเซลขณะนี้ลิตรละ 28 บาท ซึ่งยังต่ำกว่าช่วงนั้น 1 บาทต่อลิตร
สาเหตุที่ทำให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นมาจาก 5 ปัจจัย ได้แก่ การลดกำลังการผลิตน้ำมันของโอเปค 1 ล้านบาร์เรลต่อวันในช่วงที่ผ่านมา แม้ว่าขณะนี้จะมีการเพิ่มกำลังการผลิต 5 แสนบาร์เรลต่อวัน แต่ยังต่ำกว่ากำลังการผลิตที่ลดลงไปก่อนหน้านี้ ขณะที่กำลังการกลั่นของโรงกลั่นทั่วโลกที่มีไม่เพียงพอ ซึ่งโรงกลั่นใหม่ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างนั้นจะเดินเครื่องผลิตได้ในอีก 2-3 ปีข้างหน้า
นอกจากนี้ การปรับปรุงคุณภาพและมาตรฐานน้ำมันในยุโรปหลายประเทศ เช่น กรณีการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ และการใช้น้ำมันมาตรฐานยูโร 4 ทำให้กำลังการกลั่นของโรงกลั่นเก่า โดยเฉพาะโรงกลั่นในสหรัฐไม่สามารถทำการกลั่นน้ำมันได้เต็มที่ ในขณะเดียวกัน ความวิตกกังวลเกี่ยวกับพายุเฮอริเคน และสถานการณ์การเมืองในประเทศผู้ส่งออกน้ำมันบางประเทศ เช่น อิรัก ที่ยังไม่มีความชัดเจน ส่งผลให้การผลิตลดลง
ปัจจัยที่มารวมกันเหล่านี้ทำให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น ในขณะที่ความต้องการน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นอีกครั้ง ซึ่งเรายังต้องอยู่อย่างนี้ไปอีกระยะหนึ่ง จนกว่ากำลังการกลั่นใหม่ในตะวันออกกลาง อินเดีย และจีนจะเข้าสู่ตลาดในอีก 3 ปีข้างหน้าดร.ปิยสวัสดิ์กล่าว
ดร.ปิยสวัสดิ์ ระบุว่า สถานการณ์ราคาน้ำมันที่เป็นอยู่ขณะนี้ เป็นสิ่งที่ต้องยอมรับและต้องอยู่กับมันต่อไปอีกระยะหนึ่ง ซึ่งในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาราคาน้ำมันในตลาดโลกมีการขึ้นลงระหว่าง 50-80 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล แต่ยังไม่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นแต่อย่างใด อย่างก็ตาม ตนมองว่ามีโอกาสเป็นไปได้น้อยมากที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกจะลดลงแตะระดับ 40 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล
ทั้งนี้ เนื่องจากปัจจุบันต้นทุนการสำรวจและขุดเจาะแหล่งปิโตรเลียมใหม่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาก เช่น ต้องขุดเจาะในแหล่งที่ทุรกันดานในรัสเซีย หรือต้องขุดเจาะในทะเลที่มีความลึกมาก ขณะที่การก่อสร้างโรงกลั่นใหม่มีต้นทุนที่สูง ดังนั้น ต้นทุนราคาน้ำมันจึงไม่ใช่แค่ 40 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล แต่ราคาจะสูงกว่านั้นมาก นอกจากนี้ มีความเป็นไปได้ที่ราคาน้ำมันจะเพิ่มเป็น 100 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล กรณีหากเกิดสงครามในตะวันออกกลาง
http://www.bangkokbiznews.com/2007/09/1 ... sid=103088
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news19/09/07
โพสต์ที่ 82
น้ำมันโลกกระฉูดทะยาน81เหรียญฯ
โดย เดลินิวส์ วัน พุธ ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2550 08:50 น.
นายมนูญ ศิริวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำมัน เปิดเผยว่า แนวโน้มราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกอยู่ในช่วงขาขึ้น โดยล่าสุดได้ทำสถิติที่บาร์เรลละ 80 เหรียญสหรัฐ อยู่ที่ 81.03 เหรียญสหรัฐ และคาดว่ามีโอกาสปรับสูงขึ้นได้ถึงบาร์เรลละ 85 เหรียญสหรัฐ ราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากประเทศผู้ผลิตน้ำมัน (โอเปก) เพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันในสัดส่วนที่น้อยเกินไป ประกอบปริมาณการสำรองน้ำมันของสหรัฐอเมริกาลดลง และยังมีปัญหาความกังวลจากพายุเฮอริเคนที่ยังเหลือเวลาอีก 1 เดือนกว่าจะหมดฤดูกาล ซึ่งถ้าเทียบกับราคาน้ำมันดิบในช่วงเดียวกันของปีก่อน ถือว่าปรับเพิ่มขึ้นมาก เพราะปีก่อนราคาน้ำมันดิบอยู่ที่บาร์เรลละ 78 เหรียญสหรัฐเท่านั้น
ทั้งนี้ในส่วนของราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศ โดยเฉพาะดีเซลมีโอกาสปรับขึ้นได้อีกลิตรละ 1 บาท เพราะค่าการตลาดยังอยู่ในระดับที่ต่ำเฉลี่ยลิตรละ 40 สต. แต่อย่างน้อยควรมีค่าการตลาดที่ลิตรละ 1.20 บาท ส่วนเบนซินคงไม่ปรับราคามากไปกว่านี้แล้ว
นายชัยวัฒน์ ชูฤทธิ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่กลุ่มธุรกิจน้ำมัน บริษัท ปตท. จำกัด กล่าวว่า ราคาน้ำมันดิบที่ทำสถิติสูงสุดที่ระดับบาร์ เรลละ 81 เหรียญสหรัฐ เกิดจากโรงกลั่นน้ำมันในสหรัฐ 3 แห่ง ปิดซ่อมกะทันหัน ทำให้ผู้ค้าน้ำมันต้องนำน้ำมันสำรองมาใช้เป็นการชั่วคราว ส่วนปัจจัยเฮอริเคนยังมีต่อเนื่อง จึงทำให้กำลังการผลิตน้ำมันหายไปจากระบบ
สำหรับการเปลี่ยนแปลงของราคาขายปลีกในประเทศนั้น ได้ปรับขึ้นราคาดีเซลไปแล้ว แต่ยังขาดทุนที่ลิตรละ 1 บาท หาก ราคาน้ำมันในตลาดโลกยังปรับสูงขึ้นอีก ก็จะพิจารณาในปลายสัปดาห์นี้ว่าจะปรับราคาขายปลีกดีเซลได้อีกหรือไม่
http://news.sanook.com/economic/economic_184133.php
โดย เดลินิวส์ วัน พุธ ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2550 08:50 น.
นายมนูญ ศิริวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำมัน เปิดเผยว่า แนวโน้มราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกอยู่ในช่วงขาขึ้น โดยล่าสุดได้ทำสถิติที่บาร์เรลละ 80 เหรียญสหรัฐ อยู่ที่ 81.03 เหรียญสหรัฐ และคาดว่ามีโอกาสปรับสูงขึ้นได้ถึงบาร์เรลละ 85 เหรียญสหรัฐ ราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากประเทศผู้ผลิตน้ำมัน (โอเปก) เพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันในสัดส่วนที่น้อยเกินไป ประกอบปริมาณการสำรองน้ำมันของสหรัฐอเมริกาลดลง และยังมีปัญหาความกังวลจากพายุเฮอริเคนที่ยังเหลือเวลาอีก 1 เดือนกว่าจะหมดฤดูกาล ซึ่งถ้าเทียบกับราคาน้ำมันดิบในช่วงเดียวกันของปีก่อน ถือว่าปรับเพิ่มขึ้นมาก เพราะปีก่อนราคาน้ำมันดิบอยู่ที่บาร์เรลละ 78 เหรียญสหรัฐเท่านั้น
ทั้งนี้ในส่วนของราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศ โดยเฉพาะดีเซลมีโอกาสปรับขึ้นได้อีกลิตรละ 1 บาท เพราะค่าการตลาดยังอยู่ในระดับที่ต่ำเฉลี่ยลิตรละ 40 สต. แต่อย่างน้อยควรมีค่าการตลาดที่ลิตรละ 1.20 บาท ส่วนเบนซินคงไม่ปรับราคามากไปกว่านี้แล้ว
นายชัยวัฒน์ ชูฤทธิ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่กลุ่มธุรกิจน้ำมัน บริษัท ปตท. จำกัด กล่าวว่า ราคาน้ำมันดิบที่ทำสถิติสูงสุดที่ระดับบาร์ เรลละ 81 เหรียญสหรัฐ เกิดจากโรงกลั่นน้ำมันในสหรัฐ 3 แห่ง ปิดซ่อมกะทันหัน ทำให้ผู้ค้าน้ำมันต้องนำน้ำมันสำรองมาใช้เป็นการชั่วคราว ส่วนปัจจัยเฮอริเคนยังมีต่อเนื่อง จึงทำให้กำลังการผลิตน้ำมันหายไปจากระบบ
สำหรับการเปลี่ยนแปลงของราคาขายปลีกในประเทศนั้น ได้ปรับขึ้นราคาดีเซลไปแล้ว แต่ยังขาดทุนที่ลิตรละ 1 บาท หาก ราคาน้ำมันในตลาดโลกยังปรับสูงขึ้นอีก ก็จะพิจารณาในปลายสัปดาห์นี้ว่าจะปรับราคาขายปลีกดีเซลได้อีกหรือไม่
http://news.sanook.com/economic/economic_184133.php
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news20/09/07
โพสต์ที่ 83
น้ำมันดิบนิวยอร์กพุ่งกว่า 82 เหรียญสูงสุดเป็นประวัติการณ์
--------------------------------------------------------------------------------
Posted on Thursday, September 20, 2007
น้ำมันดิบสูงสุดระหว่างวันแตะ 82.51 เหรียญเป็นประวัติการณ์ครั้งใหม่
ราคาน้ำมันดิบพุ่งสูงขึ้นต่อเนื่อง และสร้างสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ นับตั้งแต่เริ่มมีระบบตลาดซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันดิบในรอบ 24 ปีที่ผ่านมา หรือนับตั้งแต่ปี 2526 ถึง 6 วันทำการติดต่อกัน ด้วยราคาซื้อขายสูงสุดระหว่างวันเมื่อคืนนี้ทะลุ 82.51 เหรียญต่อบาร์เรล ก่อนจะอ่อนตัวลงปิดที่ 81.93 เหรียญต่อบาร์เรล สอดคล้องกับราคาน้ำมันดิบเบรนท์อังกฤษทะเลเหนือ พุ่งขึ้นปิดที่บาร์เรลละ 78.47 เหรียญ ทะยานขึ้น 76 เซ็นต์ ทำสถิติปิดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. 49 หรือในรอบ 1 ปีเศษ เป็นวันที่ 3 ติดต่อกัน
ปริมาณน้ำมันดิบสหรัฐฯสำรองลดลง 4 สัปดาห์ต่อเนื่องและต่ำกว่าเกือบ 2 เท่าของเป้าหมาย
สาเหตุที่ราคาน้ำมันดิบซื้อขายสูงสุดกว่า 82 เหรียญเมื่อคืนที่ผ่านมา เกิดจากปริมาณน้ำมันดิบในสหรัฐฯรายสัปดาห์ สำหรับสัปดาห์ที่ผ่านมาไม่เพียงลดลงต่อเนื่องถึง 4 สัปดาห์ติดต่อกัน แต่ตัวเลขล่าสุดยังลดลงเกือบ 2 เท่าของเป้าหมายที่ตลาดน้ำมันดิบคาดไว้ นอกจากนี้ การก่อตัวของพายุในเขตร้อน ซึ่งเกิดขึ้นใกล้เคียงกับรัฐฟลอริดา และในบริเวณอ่าวเม็กซิโก ยังคงสร้างความกังวลอย่างมาก เนื่องจากโรงกลั่นที่ตั้งอยู่ในบริเวณอ่าวเม็กซิโก ตัดสินใจอพยพสับเปลี่ยนและลดจำนวนคนงานเพื่อความปลอดภัย
นักวิเคราะห์ปรับมุมมองใหม่ชี้ 85 เหรียญในไม่กี่สัปดาห์
ราคาน้ำมันดิบที่ปิดเมื่อคืนที่ผ่านมา หากไม่คิดอัตราเงินเฟ้อในปัจจุบันจะยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่าราคาที่เคยปิดสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ระดับ 90 เหรียญสหรัฐฯ ในปี 2522 ซึ่งอยู่ในช่วงการปฏิวัติของประเทศอิหร่าน ด้านนักวิเคราะห์จากหลายสถาบันการลงทุนในสหรัฐฯ เริ่มปรับมุมมองของราคาน้ำมันดิบใหม โดยมีโอกาสสูงที่ราคาอาจจะพุ่งขึ้นไปถึง 85เหรียญต่อบาร์เรลในสัปดาห์หน้า จากเดิมที่คาดว่าจะเป้ฯภายในสิ้นปีนี้ ในขณะที่โกลด์แมน แซ็คยังคงมองว่าราคาน้ำมันดิบที่ 85 เหรียญต่อบาร์เรลอาจได้เห็นสิ้นปีนี้
บีพีแคปปิตัลชี้ราคาน้ำมันดิบ 100 เหรียญอาจได้เห็นปีหน้า
ด้านนายบูนน์ พิคเก้นส์ วัย 79 ปี ไม่เพียงได้รับการยอมรับในวงการพลังงานว่า เป็นนักพยากรณ์ตลาดน้ำมันดิบที่ใกล้เคียงมากที่สุด แต่ยังเป็น CEO ของบีพีแคปปิตัล ชี้ว่า ราคาน้ำมันดิบจะพุ่งขึ้นแตะ 100 เหรียญสหรัฐในปีหน้าจากความตึงเครียดของสถานการณ์ในตะวันออกกลาง ที่หากเกิดขึ้นจริง ราคาก็จะถีบตัวสูงขึ้น ส่งผลต่อความต้องการใช้ลดลงในช่วงครึ่งหลังของปีหน้า นอกจากนี้ความต้องการใช้น้ำมันดิบทั่วโลกในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้จะมีมากถึง 88 ล้านบาร์เรล สูงกว่ากำลังการผลิตที่มีเพียง 85 ล้านบาร์เรลในขณะนี้
โอเปกอาจประชุมพิเศษเพิ่มกำลังการผลิต หากราคาพุ่งกว่า 80 เหรียญหลายสัปดาห์
กลุ่มผู้ผลิตน้ำมันเพื่อการส่งออก (โอเปก) เปิดเผยว่า อาจมีความเป็นไปได้สูงที่ทางกลุ่มอาจจะตัดสินใจจัดประชุมวาระพิเศษ เกี่ยวกับการตัดสินใจเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันดิบอีกครั้ง หากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ทะยานสูงขึ้นเหนือระดับบาร์เรลละ 80 เหรียญสหรัฐฯอย่าต่อเนื่องในหลายสัปดาห์ข้างหน้า ทั้งนี้สมาชิกในกลุ่มโอเปกบางประเทศเริ่มแสดงความกังวลว่า ราคาน้ำมันดิบที่ทำลายสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์อย่างต่อเนื่อง จะทำให้ความต้องการใช้ลดลงมาก และเป็นอันตรายต่อเศรษฐกิจโลกในภาพรวม
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mor ... fault.aspx
--------------------------------------------------------------------------------
Posted on Thursday, September 20, 2007
น้ำมันดิบสูงสุดระหว่างวันแตะ 82.51 เหรียญเป็นประวัติการณ์ครั้งใหม่
ราคาน้ำมันดิบพุ่งสูงขึ้นต่อเนื่อง และสร้างสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ นับตั้งแต่เริ่มมีระบบตลาดซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันดิบในรอบ 24 ปีที่ผ่านมา หรือนับตั้งแต่ปี 2526 ถึง 6 วันทำการติดต่อกัน ด้วยราคาซื้อขายสูงสุดระหว่างวันเมื่อคืนนี้ทะลุ 82.51 เหรียญต่อบาร์เรล ก่อนจะอ่อนตัวลงปิดที่ 81.93 เหรียญต่อบาร์เรล สอดคล้องกับราคาน้ำมันดิบเบรนท์อังกฤษทะเลเหนือ พุ่งขึ้นปิดที่บาร์เรลละ 78.47 เหรียญ ทะยานขึ้น 76 เซ็นต์ ทำสถิติปิดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. 49 หรือในรอบ 1 ปีเศษ เป็นวันที่ 3 ติดต่อกัน
ปริมาณน้ำมันดิบสหรัฐฯสำรองลดลง 4 สัปดาห์ต่อเนื่องและต่ำกว่าเกือบ 2 เท่าของเป้าหมาย
สาเหตุที่ราคาน้ำมันดิบซื้อขายสูงสุดกว่า 82 เหรียญเมื่อคืนที่ผ่านมา เกิดจากปริมาณน้ำมันดิบในสหรัฐฯรายสัปดาห์ สำหรับสัปดาห์ที่ผ่านมาไม่เพียงลดลงต่อเนื่องถึง 4 สัปดาห์ติดต่อกัน แต่ตัวเลขล่าสุดยังลดลงเกือบ 2 เท่าของเป้าหมายที่ตลาดน้ำมันดิบคาดไว้ นอกจากนี้ การก่อตัวของพายุในเขตร้อน ซึ่งเกิดขึ้นใกล้เคียงกับรัฐฟลอริดา และในบริเวณอ่าวเม็กซิโก ยังคงสร้างความกังวลอย่างมาก เนื่องจากโรงกลั่นที่ตั้งอยู่ในบริเวณอ่าวเม็กซิโก ตัดสินใจอพยพสับเปลี่ยนและลดจำนวนคนงานเพื่อความปลอดภัย
นักวิเคราะห์ปรับมุมมองใหม่ชี้ 85 เหรียญในไม่กี่สัปดาห์
ราคาน้ำมันดิบที่ปิดเมื่อคืนที่ผ่านมา หากไม่คิดอัตราเงินเฟ้อในปัจจุบันจะยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่าราคาที่เคยปิดสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ระดับ 90 เหรียญสหรัฐฯ ในปี 2522 ซึ่งอยู่ในช่วงการปฏิวัติของประเทศอิหร่าน ด้านนักวิเคราะห์จากหลายสถาบันการลงทุนในสหรัฐฯ เริ่มปรับมุมมองของราคาน้ำมันดิบใหม โดยมีโอกาสสูงที่ราคาอาจจะพุ่งขึ้นไปถึง 85เหรียญต่อบาร์เรลในสัปดาห์หน้า จากเดิมที่คาดว่าจะเป้ฯภายในสิ้นปีนี้ ในขณะที่โกลด์แมน แซ็คยังคงมองว่าราคาน้ำมันดิบที่ 85 เหรียญต่อบาร์เรลอาจได้เห็นสิ้นปีนี้
บีพีแคปปิตัลชี้ราคาน้ำมันดิบ 100 เหรียญอาจได้เห็นปีหน้า
ด้านนายบูนน์ พิคเก้นส์ วัย 79 ปี ไม่เพียงได้รับการยอมรับในวงการพลังงานว่า เป็นนักพยากรณ์ตลาดน้ำมันดิบที่ใกล้เคียงมากที่สุด แต่ยังเป็น CEO ของบีพีแคปปิตัล ชี้ว่า ราคาน้ำมันดิบจะพุ่งขึ้นแตะ 100 เหรียญสหรัฐในปีหน้าจากความตึงเครียดของสถานการณ์ในตะวันออกกลาง ที่หากเกิดขึ้นจริง ราคาก็จะถีบตัวสูงขึ้น ส่งผลต่อความต้องการใช้ลดลงในช่วงครึ่งหลังของปีหน้า นอกจากนี้ความต้องการใช้น้ำมันดิบทั่วโลกในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้จะมีมากถึง 88 ล้านบาร์เรล สูงกว่ากำลังการผลิตที่มีเพียง 85 ล้านบาร์เรลในขณะนี้
โอเปกอาจประชุมพิเศษเพิ่มกำลังการผลิต หากราคาพุ่งกว่า 80 เหรียญหลายสัปดาห์
กลุ่มผู้ผลิตน้ำมันเพื่อการส่งออก (โอเปก) เปิดเผยว่า อาจมีความเป็นไปได้สูงที่ทางกลุ่มอาจจะตัดสินใจจัดประชุมวาระพิเศษ เกี่ยวกับการตัดสินใจเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันดิบอีกครั้ง หากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ทะยานสูงขึ้นเหนือระดับบาร์เรลละ 80 เหรียญสหรัฐฯอย่าต่อเนื่องในหลายสัปดาห์ข้างหน้า ทั้งนี้สมาชิกในกลุ่มโอเปกบางประเทศเริ่มแสดงความกังวลว่า ราคาน้ำมันดิบที่ทำลายสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์อย่างต่อเนื่อง จะทำให้ความต้องการใช้ลดลงมาก และเป็นอันตรายต่อเศรษฐกิจโลกในภาพรวม
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mor ... fault.aspx
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news21/09/07
โพสต์ที่ 84
น้ำมันดิบสูงสุดระหว่างวันแตะ 83.90 เหรียญ เป็นประวัติการณ์ครั้งใหม่
ราคาน้ำมันดิบพุ่งสูงขึ้นต่อเนื่อง และสร้างสถิติสูงสุดระหว่างวันเป็นประวัติการณ์ นับตั้งแต่เริ่มมีระบบตลาดซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันดิบในรอบ 24 ปีที่ผ่านมา หรือนับตั้งแต่ ปี 2526 ถึง 4 วันทำการติดต่อกัน ด้วยราคาซื้อขายสูงสุดระหว่างวันเมื่อคืนนี้ทะลุ 83.90 เหรียญต่อบาร์เรล ก่อนจะอ่อนตัวลงปิดที่ 83.32 เหรียญต์ต่อบาร์เรล ทำสถิติเป็นราคาปิดสูงสุดประวัติการณ์ถึง 7 วันทำการติดต่อกัน สอดคล้องกับราคาน้ำมันดิบเบร็นท์ พุ่งขึ้นปิดที่บาร์เรลละ 79.09 เหรียญ ทะยานขึ้น 62 เซ็นต์ ทำสถิติปิดในรอบ 1 ปีเศษ
ปิดโรงกลั่นในอ่าวเม็กซิโก ฉุดปริมาณน้ำมันลดลงวันละ 28%
สาเหตุสำคัญที่ราคาน้ำมันดิบซื้อขายสูงสุดทะลุเข้าใกล้ 84 เหรียญสหรัฐเมื่อคืนที่ผ่านมา เกิดจาก นอกจากนี้ การก่อตัวของพายุในเขตร้อน ซึ่งเกิดขึ้นใกล้เคียงกับรัฐฟลอริดา และในบริเวณอ่าวเม็กซิโก ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุเฮอร์ริเคนระดับต้นๆ ส่งผลให้ทั้งโรงกลั่นน้ำมัน และโรงผลิตก๊าซที่ตั้งอยู่ในบริเวณอ่าวเม็กซิโก ตัดสินใจปิดโรงกลั่นเพื่อความปลอดภัย ฉุดกำลังการผลิตน้ำมันหายไปทันทีวันละ 3.61 แสนบาร์เรล หรือเท่ากับ 27.7% ของกำลังการผลิตจากอ่าวเม็กซิโกที่หายออกไปจากตลาดต่อวัน
น้ำมันดิบนิวยอร์ก 9 เดือนของปีนี้ พุ่ง 22.27 เหรียญ หรือเพิ่มขึ้นเดือนละ 4%
หากคิดราคาน้ำมันดิบนิวยอร์ก สหรัฐ ตั้งแต่ต้นปีนี้จนถึงราคาปิดเมื่อคืนที่ผ่านมานั้น ราคาน้ำมันดิบดังกล่าวเพิ่มสูงขึ้นถึง 22.27 เหรียญต่อบาร์เรลหรือคิดเป็น 36.5% นั่นหมายถึง ราคาน้ำมันดิบนิวยอร์กเฉลี่ยขึ้นเดือนละกว่า 4% ในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา ทั้งนี้ ข้อมูลปรับปรุงล่าสุดพบว่า หากไม่คิดอัตราเงินเฟ้อในปัจจุบัน ราคาน้ำมันดิบในปัจจุบัน จะยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่า ราคาที่เคยปิดสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ระดับ 95 เหรียญสหรัฐในปี 1980 ซึ่งอยู่ในช่วงปฏิวัติของอิหร่าน
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mor ... fault.aspx
ราคาน้ำมันดิบพุ่งสูงขึ้นต่อเนื่อง และสร้างสถิติสูงสุดระหว่างวันเป็นประวัติการณ์ นับตั้งแต่เริ่มมีระบบตลาดซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันดิบในรอบ 24 ปีที่ผ่านมา หรือนับตั้งแต่ ปี 2526 ถึง 4 วันทำการติดต่อกัน ด้วยราคาซื้อขายสูงสุดระหว่างวันเมื่อคืนนี้ทะลุ 83.90 เหรียญต่อบาร์เรล ก่อนจะอ่อนตัวลงปิดที่ 83.32 เหรียญต์ต่อบาร์เรล ทำสถิติเป็นราคาปิดสูงสุดประวัติการณ์ถึง 7 วันทำการติดต่อกัน สอดคล้องกับราคาน้ำมันดิบเบร็นท์ พุ่งขึ้นปิดที่บาร์เรลละ 79.09 เหรียญ ทะยานขึ้น 62 เซ็นต์ ทำสถิติปิดในรอบ 1 ปีเศษ
ปิดโรงกลั่นในอ่าวเม็กซิโก ฉุดปริมาณน้ำมันลดลงวันละ 28%
สาเหตุสำคัญที่ราคาน้ำมันดิบซื้อขายสูงสุดทะลุเข้าใกล้ 84 เหรียญสหรัฐเมื่อคืนที่ผ่านมา เกิดจาก นอกจากนี้ การก่อตัวของพายุในเขตร้อน ซึ่งเกิดขึ้นใกล้เคียงกับรัฐฟลอริดา และในบริเวณอ่าวเม็กซิโก ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุเฮอร์ริเคนระดับต้นๆ ส่งผลให้ทั้งโรงกลั่นน้ำมัน และโรงผลิตก๊าซที่ตั้งอยู่ในบริเวณอ่าวเม็กซิโก ตัดสินใจปิดโรงกลั่นเพื่อความปลอดภัย ฉุดกำลังการผลิตน้ำมันหายไปทันทีวันละ 3.61 แสนบาร์เรล หรือเท่ากับ 27.7% ของกำลังการผลิตจากอ่าวเม็กซิโกที่หายออกไปจากตลาดต่อวัน
น้ำมันดิบนิวยอร์ก 9 เดือนของปีนี้ พุ่ง 22.27 เหรียญ หรือเพิ่มขึ้นเดือนละ 4%
หากคิดราคาน้ำมันดิบนิวยอร์ก สหรัฐ ตั้งแต่ต้นปีนี้จนถึงราคาปิดเมื่อคืนที่ผ่านมานั้น ราคาน้ำมันดิบดังกล่าวเพิ่มสูงขึ้นถึง 22.27 เหรียญต่อบาร์เรลหรือคิดเป็น 36.5% นั่นหมายถึง ราคาน้ำมันดิบนิวยอร์กเฉลี่ยขึ้นเดือนละกว่า 4% ในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา ทั้งนี้ ข้อมูลปรับปรุงล่าสุดพบว่า หากไม่คิดอัตราเงินเฟ้อในปัจจุบัน ราคาน้ำมันดิบในปัจจุบัน จะยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่า ราคาที่เคยปิดสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ระดับ 95 เหรียญสหรัฐในปี 1980 ซึ่งอยู่ในช่วงปฏิวัติของอิหร่าน
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mor ... fault.aspx
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news22/09/07
โพสต์ที่ 85
น้ำมันจะถึง 100 $ ต่อบาร์เรลหรือไม่?
มีการคาดการณ์จากผู้เชี่ยวชาญหลายรายในวงการน้ำมันว่ามีความเป็นไปได้เหมือนกันที่น้ำมันดิบอาจจะพุ่งขึ้นไปอยู่ในระดับ 100 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรลได้ แต่ก็มีผู้เชี่ยวชาญอีกจำนวนไม่น้อยที่คิดว่าไม่น่าจะถึงระดับนี้ในระยะเวลาอันใกล้โดยเฉพาะภายในปีนี้ ถึงแม้น้ำมันดิบ WTI ในตลาดนิวยอร์กได้แตะระดับสูงถึง 80.20 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรลในการซื้อขายในวันที่ 13 กันยายน 2550 ซึ่งเป็นสถิติสูงสุดใหม่ ขณะที่น้ำมันสำเร็จรูป ดีเซล ในตลาดสิงคโปร์ก็ทำสถิติปิดสูงสุดใหม่เช่นกันที่ 92.48 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรลในวันเดียวกัน
ล่าสุดกลุ่ม OPEC ได้ตัดสินใจเพิ่มกำลังผลิตอีก 500,000 บาร์เรลต่อวัน เพื่อลดความร้อนแรงของราคาน้ำมัน ซึ่งน่าจะยังไม่เห็นผลในการทำให้ราคาน้ำมันลดลงได้อย่างรวดเร็ว แต่ถือว่าน่าจะช่วยทำให้ราคาน้ำมันไม่ทะยานมากขึ้นไปอีกในขณะนี้ สาเหตุใหญ่ที่ทำให้ราคาน้ำมันสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงนี้ มาจากผลกระทบของพายุเฮอร์ริเคน Humberto ในสหรัฐอเมริกาซึ่งส่งผลให้ต้องปิดช่องทางขนส่งน้ำมันทางเรือ Houston Ship Channel และโรงกลั่นอีก 3 แห่งใน Port Arthur แม้ว่าพายุนี้จะอ่อนตัวลงมาแล้ว แต่ก็มีพายุที่เริ่มก่อตัวขึ้นมาอีก และอาจจะค่อยๆ ทวีความรุนแรงขึ้นได้ มีการคาดการณ์ว่าในปีนี้จะมีการเกิดพายุเฮอร์ริเคนอีกหลายลูกตั้งแต่เดือนกันยายนจนถึงพฤศจิกายน นอกจากนี้ปริมาณน้ำมันคงคลังในสหรัฐอเมริกายังอยู่ในระดับต่ำกว่าปกติ โดยเฉพาะน้ำมันเบนซินที่น้ำมันคงคลังลดลงมากถึงแม้ว่าฤดูร้อนจะหมดลงแล้วก็ตาม และที่สำคัญกองทุนเก็งกำไรยังเข้ามาซื้อน้ำมันในตลาดอย่างต่อเนื่องโดยมีปริมาณรวมสูงถึง 130 ล้านบาร์เรล ซึ่งเป็นระดับที่สูงมากเมื่อเทียบกับปริมาณที่ซื้อไว้ตามปกติ
ความกังวลในปัญหานิวเคลียร์ของอิหร่าน ความไม่สงบในตะวันออกกลางและไนจีเรียที่มีข่าวเป็นระยะๆ การหยุดซ่อมของโรงกลั่น รวมทั้งค่าเงินเหรียญสหรัฐฯ ที่อ่อนตัวลงเรื่อยๆ ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ราคาน้ำมันทรงตัวอยู่ในระดับสูง แต่ประเด็นว่าราคาน้ำมันจะสามารถไต่ขึ้นไปในถึงระดับ 100 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรลนั้นยังไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ง่ายนัก นอกจากจะมีปัจจัยอื่นที่ส่งผลกระทบต่อการผลิต การขนส่งเสริมขึ้นมาอีก ประเด็นที่น่าจับตามองน่าจะเป็นความรุนแรงของพายุเฮอร์ริเคนที่คาดเดาได้ลำบาก หากรุนแรงมากอย่างพายุแคทริน่าเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมาอาจทำให้ราคาน้ำมันพุ่งขึ้นสูงได้ แต่น่าจะเป็นปัจจัยชั่วคราวเท่านั้น เพราะราคาน้ำมันที่ควรจะเป็นยังต้องคำนึงถึงปัจจัยพื้นฐาน คือ ปริมาณความต้องการที่เพิ่มขึ้นมากน้อยตามการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ รวมทั้งความสามารถในการผลิตของประเทศผู้ผลิตรายใหญ่ๆ ว่าสามารถผลิตเพิ่มขึ้นได้มากน้อยขนาดไหน ทันเวลาหรือไม่
เชื่อว่าราคาน้ำมันในปีนี้น่าจะยังอยู่ในระดับสูงต่อไปเพราะราคาน้ำมันล่วงหน้าส่งมอบในเดือนธันวาคมยังอยู่ในระดับสูงใกล้เคียงกับในปัจจุบัน ดังนั้นมาตรการต่างๆ รวมทั้งแผนรองรับราคาน้ำมันที่สูงของภาครัฐก็น่าจะนำมาพิจารณาปรับแต่งเสริมให้เหมาะสม เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อประชาชนและการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศมากเกินไป
http://www.thannews.th.com/detialNews.p ... issue=2254
มีการคาดการณ์จากผู้เชี่ยวชาญหลายรายในวงการน้ำมันว่ามีความเป็นไปได้เหมือนกันที่น้ำมันดิบอาจจะพุ่งขึ้นไปอยู่ในระดับ 100 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรลได้ แต่ก็มีผู้เชี่ยวชาญอีกจำนวนไม่น้อยที่คิดว่าไม่น่าจะถึงระดับนี้ในระยะเวลาอันใกล้โดยเฉพาะภายในปีนี้ ถึงแม้น้ำมันดิบ WTI ในตลาดนิวยอร์กได้แตะระดับสูงถึง 80.20 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรลในการซื้อขายในวันที่ 13 กันยายน 2550 ซึ่งเป็นสถิติสูงสุดใหม่ ขณะที่น้ำมันสำเร็จรูป ดีเซล ในตลาดสิงคโปร์ก็ทำสถิติปิดสูงสุดใหม่เช่นกันที่ 92.48 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรลในวันเดียวกัน
ล่าสุดกลุ่ม OPEC ได้ตัดสินใจเพิ่มกำลังผลิตอีก 500,000 บาร์เรลต่อวัน เพื่อลดความร้อนแรงของราคาน้ำมัน ซึ่งน่าจะยังไม่เห็นผลในการทำให้ราคาน้ำมันลดลงได้อย่างรวดเร็ว แต่ถือว่าน่าจะช่วยทำให้ราคาน้ำมันไม่ทะยานมากขึ้นไปอีกในขณะนี้ สาเหตุใหญ่ที่ทำให้ราคาน้ำมันสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงนี้ มาจากผลกระทบของพายุเฮอร์ริเคน Humberto ในสหรัฐอเมริกาซึ่งส่งผลให้ต้องปิดช่องทางขนส่งน้ำมันทางเรือ Houston Ship Channel และโรงกลั่นอีก 3 แห่งใน Port Arthur แม้ว่าพายุนี้จะอ่อนตัวลงมาแล้ว แต่ก็มีพายุที่เริ่มก่อตัวขึ้นมาอีก และอาจจะค่อยๆ ทวีความรุนแรงขึ้นได้ มีการคาดการณ์ว่าในปีนี้จะมีการเกิดพายุเฮอร์ริเคนอีกหลายลูกตั้งแต่เดือนกันยายนจนถึงพฤศจิกายน นอกจากนี้ปริมาณน้ำมันคงคลังในสหรัฐอเมริกายังอยู่ในระดับต่ำกว่าปกติ โดยเฉพาะน้ำมันเบนซินที่น้ำมันคงคลังลดลงมากถึงแม้ว่าฤดูร้อนจะหมดลงแล้วก็ตาม และที่สำคัญกองทุนเก็งกำไรยังเข้ามาซื้อน้ำมันในตลาดอย่างต่อเนื่องโดยมีปริมาณรวมสูงถึง 130 ล้านบาร์เรล ซึ่งเป็นระดับที่สูงมากเมื่อเทียบกับปริมาณที่ซื้อไว้ตามปกติ
ความกังวลในปัญหานิวเคลียร์ของอิหร่าน ความไม่สงบในตะวันออกกลางและไนจีเรียที่มีข่าวเป็นระยะๆ การหยุดซ่อมของโรงกลั่น รวมทั้งค่าเงินเหรียญสหรัฐฯ ที่อ่อนตัวลงเรื่อยๆ ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ราคาน้ำมันทรงตัวอยู่ในระดับสูง แต่ประเด็นว่าราคาน้ำมันจะสามารถไต่ขึ้นไปในถึงระดับ 100 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรลนั้นยังไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ง่ายนัก นอกจากจะมีปัจจัยอื่นที่ส่งผลกระทบต่อการผลิต การขนส่งเสริมขึ้นมาอีก ประเด็นที่น่าจับตามองน่าจะเป็นความรุนแรงของพายุเฮอร์ริเคนที่คาดเดาได้ลำบาก หากรุนแรงมากอย่างพายุแคทริน่าเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมาอาจทำให้ราคาน้ำมันพุ่งขึ้นสูงได้ แต่น่าจะเป็นปัจจัยชั่วคราวเท่านั้น เพราะราคาน้ำมันที่ควรจะเป็นยังต้องคำนึงถึงปัจจัยพื้นฐาน คือ ปริมาณความต้องการที่เพิ่มขึ้นมากน้อยตามการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ รวมทั้งความสามารถในการผลิตของประเทศผู้ผลิตรายใหญ่ๆ ว่าสามารถผลิตเพิ่มขึ้นได้มากน้อยขนาดไหน ทันเวลาหรือไม่
เชื่อว่าราคาน้ำมันในปีนี้น่าจะยังอยู่ในระดับสูงต่อไปเพราะราคาน้ำมันล่วงหน้าส่งมอบในเดือนธันวาคมยังอยู่ในระดับสูงใกล้เคียงกับในปัจจุบัน ดังนั้นมาตรการต่างๆ รวมทั้งแผนรองรับราคาน้ำมันที่สูงของภาครัฐก็น่าจะนำมาพิจารณาปรับแต่งเสริมให้เหมาะสม เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อประชาชนและการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศมากเกินไป
http://www.thannews.th.com/detialNews.p ... issue=2254
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news24/09/07
โพสต์ที่ 86
วัดจุดเดือดหุ้นพลังงาน
เทียบพิกัดอัพไซต์-ไฮเดิม
กลุ่มพลังงานยังรับบทพระเอกตลาดหุ้น หลังเฟดหั่นดอกเบี้ยแบบช็อกตลาด ต่างชาติตะลุยขนเงินใส่ติดต่อกัน 3 วัน รวมแล้วกว่า 3.2 พันล้านบาท นักวิเคราะห์แทบทุกค่ายยังออกโรงเชียร์ซื้อมองราคาหุ้นยังพุ่งไม่สุด เพื่อให้เห็นกันชัดๆต้องเทียบราคาล่าสุดกับไฮเดิม และราคาเป้าหมาย พี่เบิ้ม PTT วิ่งไปชนจุดสูงสุดเดิมแล้วแต่ยังมีอัพไซต์ให้เล่น เป้าหมาย 340 บาท ส่วน PTTEP ขยับขึ้นมาเข้าใกล้ แต่มีแก๊ปจากราคาพื้นฐานที่โบรกเร่งปรับกันจ้าละหวั่น ส่วน TOP ขึ้น XD วันนี้ กดราคาห่างไฮเดิมเข้าไปอีก เป้าหมาย 100 บาท หุ้นโรงกลั่น RRC และหุ้นถ่านหิน BANPU พอเกาะกระแสเล่นได้ตามประเด็น เพราะมีช่องให้เล่นทั้งลุ้นไฮเดิมและราคาเป้าหมาย
ภาวะตลาดหุ้นในสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับตัวร้อนแรงเพิ่มขึ้นต่อเนื่องหลังจากเฟดลดดอกเบี้ยแบบช็อกตลาดถึง 0.50% โดยหุ้นในกลุ่มพลังงานยังเป็นตัวนำตลาด ขณะเดียวกันราคาน้ำมันดิบทำนิวไฮ โดยดัชนีตลาดวันศุกร์(21ก.ย.)ปิดท้ายสัปดาห์ในระดับสูงสุดที่ 831.51 จุด เพิ่มขึ้น 16.08 จุด หรือ 1.97% และมีมูลค่าการซื้อขายรวม 25,509 ล้านบาท และนักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิต่อเนื่องในวันที่ 19-21 กันยายน มูลค่ารวม 3,257 ล้านบาท
ส่วนดัชนีกลุ่มพลังงานล่าสุดปิดที่ 19,904.02 จุด เพิ่มขึ้น 586.21 จุด หรือ 3.03% และมีมูลค่าการซื้อขายรวม 9,170.28 ล้านบาท ขณะที่ทิศทางราคาน้ำมันยังมีแนวโน้มปรับตัวต่อเนื่อง และนักวิเคราะห์หลายค่ายยังคงแนะนำลงทุนในหุ้นกลุ่มนี้ ดังนั้นเพื่อให้การตัดสินใจลงทุนเป็นไปอย่างรอบคอบ และปรับกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับหุ้นในกลุ่มนี้แต่ละตัว จึงควรมีข้อมูลในด้านของราคาเป้าหมายหุ้นและจุดสูงสุดเดิมเพื่อประเมินทิศทางการปรับตัวของราคาหุ้น
สำหรับหุ้นในกลุ่มพลังงานมีการซื้อขายอย่างหนาแน่นโดยหุ้น PTT มีการซื้อขาย สูงสุด และปิดที่ราคา 332 บาท เพิ่มขึ้น 12 บาท หรือ 3.75% มูลค่าการซื้อขาย 2,343.09 อันดับ 2 หุ้น RRC ปิดที่ราคา 24.80 บาท เพิ่มขึ้น 1.10 บาท หรือ 4.64% มูลค่าการซื้อขาย 1,794.89 ล้านบาท และTOP ปิดที่ราคา 87 บาท เพิ่มขึ้น 3 บาท หรือ 3.57% มูลค่าการซื้อขาย 1562.62 ล้านบาท
ภาพรวมยังมีอัพไซด์
นางสาวมยุรี โชวิกรานติ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ นครหลวงไทย จำกัด กล่าวว่า สำหรับราคาหุ้นในกลุ่มพลังงานถึงแม้ส่วนใหญ่จะปรับตัวสูงขึ้นมาจนเกินจุดสูงสุดเดิมก่อนที่จะเกิดปัญหาซับไพร์มกดดันตลาดหุ้นไทยในช่วงปลายเดือนกรกฏาคมถึงสิงหาคมที่ผ่านมาแต่โดยภาพรวมแล้วหุ้นในกลุ่มนี้ก็ยังมีอัพไซต์ให้เล่นได้
ดัชนีตลาดหุ้นไทยขึ้นไปพีคสุดที่ 895 จุด เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม ก่อนจะถูกกดดันจากปัญหาซับไพร์มและปรับตัวลงต่อเนื่อง แต่ถึงแม้หุ้นพลังงานจะลงไปแรงในช่วงนั้นแต่ก็มีการรีบาวนด์กลับขึ้นมาแรงเช่นกัน ซึ่งเท่าที่ดูตอนนี้ส่วนใหญ่ก็เกินพีคเดิมไปแล้ว เช่น PTT ที่ลงไปต่ำสุดที่ 200 กว่าบาท จากช่วงก่อนซับไพรม์ที่ขึ้นไปพีคที่ 332 บาท ซึ่งราคาตอนนี้ก็ถึงแล้ว ขณะที่ BANPU ก็ขึ้นไปพีคที่ 340 บาทนางสาวมยุรีกล่าว
PTTEP-TOP-RRCยังไม่ถึงไฮเดิม
นอกจากนี้ราคาหุ้นในกลุ่มพลังงานที่ใกล้และยังไม่ถึงจุดสูงสุดเดิมที่เคยทำไว้ เช่น PTTEP ที่ราคาหุ้นเคยขึ้นไปสูงสุดที่ 139 บาท จากราคาปัจุบัน (21 ก.ย.2552) อยู่ที่ 135 บาท บาท ,TOP ราคาขึ้นไปสูงสุดที่ระดับ 95.50 บาท จากราคาปัจจุบันที่ 87 บาทและRRC ที่ราคาเคยขึ้นไปสูงสุดที่ 26.50 บาท จากราคาปัจจุบันที่ 24.80 บาท
สำหรับหุ้นในกลุ่มพลังงานฝ่ายวิจัยยังคงแนะนำซื้อ จากแนวโน้มราคาน้ำมันและราคาสินค้าคอมมูดิตี้ เช่นถ่านหิน ค่าการกลั่นที่ยังปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง และราคาหุ้นก็ยังมีอัพไซต์ให้เล่นได้ โดยหุ้น PTT ให้ราคาเหมาะสมที่ 340 บาท
ขณะที่ PTTEP ฝ่ายวิจัยอยู่ระหว่างการปรับประมาณการณ์มูลค่าเหมาะสมเพิ่มขึ้นใหม่ จากเดิมที่ให้ราคาที่ 117 บาท ส่วน RRC ให้ราคาเหมาะสมที่ 28.50 บาท , BANPU ให้ราคาเหมาะสมที่ 348 บาท และ TOP ให้ราคาเหมาะสมที่ 100 บาท โดยหุ้น TOP จะขึ้น XD ในวันนี้ (24 ก.ย.2550)
PTT-RATCH-BANPUมีอัพไซด์
นักวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ พัฒนสิน จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ราคาน้ำมันที่ทำนิวไฮ ยังช่วยผลักดันราคาหุ้นในกลุ่มน้ำมันให้ปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งหุ้นที่ยังคงแนะนำจากราคาที่ยังมีอัพไซต์จากราคาเหมาะสมให้เล่น เช่น PTT ,RATCH และRRC
ราคาน้ำมันที่ทำนิวไฮจะยังรองรับราคาหุ้นในกลุ่มน้ำมัน ซึ่งในส่วนของหุ้นน้ำมันเรายังแนะนำ PTT , RATCH และ RRC ซึ่งน่าจะมีอัพไซต์มากกว่า BANPU , TOP , PTTEP และ EGCO ส่วนหุ้นที่ราคาปรับตัวขึ้นน้อยกว่ากลุ่มตั้งแต่ต้นปี คือ PTTEP ,RRC ,PTT และLANNAนักวิเคราะห์กล่าว
สำหรับหุ้น PTT นักวิเคราะห์ในตลาดให้ราคาเหมาะสมประมาณ 350 บาท ส่วนฝ่ายวิจัยอยู่ระหว่างการปรับประมาณการณ์ ซึ่งนอกจากจะได้รับประโยชน์จากราคาน้ำมันที่ทำนิวไฮแล้ว ยังถือเป็นหุ้นที่ปรับตัวขึ้นน้อยกว่ากลุ่มและมีจุดเด่นจากฐานธุรกิจที่กระจายตัวและกระแสเงินสดที่มั่นคง
ขณะที่ RATCH ฝ่ายวิจัยให้ราคาเหมาะสมที่ 52 บาท จากราคาปัจจุบัน (21 ก.ย.2550) ที่ 47 บาทและหุ้นRRC ให้ราคาเหมาะสมที่ 28.50 บาท
สำหรับราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นฝ่ายวิจัยมองว่า ส่วนหนึ่งเกิดจากปัจจัยพื้นฐาน เช่นซัพพลายที่จำกัด และสต๊อกน้ำมันที่ลดลงต่อเนื่องของสหรัฐ รวมทั้งดีมานด์ที่จะเพิ่มขึ้นในช่วงปลายปีนี้ ขณะเดียวกันการปรับตัวขึ้นของราคาน้ำมันก็เกิดจากการย้ายเงินเก็งกำไรออกจากสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยง เช่นหุ้น และพันธบัตรมาเก็งกำไรในตลาดคอมมูดิตี้ รวมทั้งน้ำมันซึ่งมีปัจจัยพื้นฐานรองรับ
มองเทคนิครายตัว
นายภูวดล ลาภอุดมสุข ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์ เอเชียพลัส จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า สัญญาณเทคนิคหุ้น PTT ราคาหุ้นมีโอกาสปรับตัวขึ้นได้ต่อ โดยแนะนำซื้อ ให้แนวรับที่ 330 บาท แนวต้านที่ 344 บาท หุ้น เช่นเดียวกับหุ้น PTTEP ที่แนะนำซื้อ ให้แนวรับที่ 133 บาท แนวต้านที่ 139 บาท และTOP ให้แนวรับที่ 86 บาท ส่วนแนวต้านที่ 90 บาท
http://www.msnth.com/msn/money2/content ... 886&ch=225
เทียบพิกัดอัพไซต์-ไฮเดิม
กลุ่มพลังงานยังรับบทพระเอกตลาดหุ้น หลังเฟดหั่นดอกเบี้ยแบบช็อกตลาด ต่างชาติตะลุยขนเงินใส่ติดต่อกัน 3 วัน รวมแล้วกว่า 3.2 พันล้านบาท นักวิเคราะห์แทบทุกค่ายยังออกโรงเชียร์ซื้อมองราคาหุ้นยังพุ่งไม่สุด เพื่อให้เห็นกันชัดๆต้องเทียบราคาล่าสุดกับไฮเดิม และราคาเป้าหมาย พี่เบิ้ม PTT วิ่งไปชนจุดสูงสุดเดิมแล้วแต่ยังมีอัพไซต์ให้เล่น เป้าหมาย 340 บาท ส่วน PTTEP ขยับขึ้นมาเข้าใกล้ แต่มีแก๊ปจากราคาพื้นฐานที่โบรกเร่งปรับกันจ้าละหวั่น ส่วน TOP ขึ้น XD วันนี้ กดราคาห่างไฮเดิมเข้าไปอีก เป้าหมาย 100 บาท หุ้นโรงกลั่น RRC และหุ้นถ่านหิน BANPU พอเกาะกระแสเล่นได้ตามประเด็น เพราะมีช่องให้เล่นทั้งลุ้นไฮเดิมและราคาเป้าหมาย
ภาวะตลาดหุ้นในสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับตัวร้อนแรงเพิ่มขึ้นต่อเนื่องหลังจากเฟดลดดอกเบี้ยแบบช็อกตลาดถึง 0.50% โดยหุ้นในกลุ่มพลังงานยังเป็นตัวนำตลาด ขณะเดียวกันราคาน้ำมันดิบทำนิวไฮ โดยดัชนีตลาดวันศุกร์(21ก.ย.)ปิดท้ายสัปดาห์ในระดับสูงสุดที่ 831.51 จุด เพิ่มขึ้น 16.08 จุด หรือ 1.97% และมีมูลค่าการซื้อขายรวม 25,509 ล้านบาท และนักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิต่อเนื่องในวันที่ 19-21 กันยายน มูลค่ารวม 3,257 ล้านบาท
ส่วนดัชนีกลุ่มพลังงานล่าสุดปิดที่ 19,904.02 จุด เพิ่มขึ้น 586.21 จุด หรือ 3.03% และมีมูลค่าการซื้อขายรวม 9,170.28 ล้านบาท ขณะที่ทิศทางราคาน้ำมันยังมีแนวโน้มปรับตัวต่อเนื่อง และนักวิเคราะห์หลายค่ายยังคงแนะนำลงทุนในหุ้นกลุ่มนี้ ดังนั้นเพื่อให้การตัดสินใจลงทุนเป็นไปอย่างรอบคอบ และปรับกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับหุ้นในกลุ่มนี้แต่ละตัว จึงควรมีข้อมูลในด้านของราคาเป้าหมายหุ้นและจุดสูงสุดเดิมเพื่อประเมินทิศทางการปรับตัวของราคาหุ้น
สำหรับหุ้นในกลุ่มพลังงานมีการซื้อขายอย่างหนาแน่นโดยหุ้น PTT มีการซื้อขาย สูงสุด และปิดที่ราคา 332 บาท เพิ่มขึ้น 12 บาท หรือ 3.75% มูลค่าการซื้อขาย 2,343.09 อันดับ 2 หุ้น RRC ปิดที่ราคา 24.80 บาท เพิ่มขึ้น 1.10 บาท หรือ 4.64% มูลค่าการซื้อขาย 1,794.89 ล้านบาท และTOP ปิดที่ราคา 87 บาท เพิ่มขึ้น 3 บาท หรือ 3.57% มูลค่าการซื้อขาย 1562.62 ล้านบาท
ภาพรวมยังมีอัพไซด์
นางสาวมยุรี โชวิกรานติ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ นครหลวงไทย จำกัด กล่าวว่า สำหรับราคาหุ้นในกลุ่มพลังงานถึงแม้ส่วนใหญ่จะปรับตัวสูงขึ้นมาจนเกินจุดสูงสุดเดิมก่อนที่จะเกิดปัญหาซับไพร์มกดดันตลาดหุ้นไทยในช่วงปลายเดือนกรกฏาคมถึงสิงหาคมที่ผ่านมาแต่โดยภาพรวมแล้วหุ้นในกลุ่มนี้ก็ยังมีอัพไซต์ให้เล่นได้
ดัชนีตลาดหุ้นไทยขึ้นไปพีคสุดที่ 895 จุด เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม ก่อนจะถูกกดดันจากปัญหาซับไพร์มและปรับตัวลงต่อเนื่อง แต่ถึงแม้หุ้นพลังงานจะลงไปแรงในช่วงนั้นแต่ก็มีการรีบาวนด์กลับขึ้นมาแรงเช่นกัน ซึ่งเท่าที่ดูตอนนี้ส่วนใหญ่ก็เกินพีคเดิมไปแล้ว เช่น PTT ที่ลงไปต่ำสุดที่ 200 กว่าบาท จากช่วงก่อนซับไพรม์ที่ขึ้นไปพีคที่ 332 บาท ซึ่งราคาตอนนี้ก็ถึงแล้ว ขณะที่ BANPU ก็ขึ้นไปพีคที่ 340 บาทนางสาวมยุรีกล่าว
PTTEP-TOP-RRCยังไม่ถึงไฮเดิม
นอกจากนี้ราคาหุ้นในกลุ่มพลังงานที่ใกล้และยังไม่ถึงจุดสูงสุดเดิมที่เคยทำไว้ เช่น PTTEP ที่ราคาหุ้นเคยขึ้นไปสูงสุดที่ 139 บาท จากราคาปัจุบัน (21 ก.ย.2552) อยู่ที่ 135 บาท บาท ,TOP ราคาขึ้นไปสูงสุดที่ระดับ 95.50 บาท จากราคาปัจจุบันที่ 87 บาทและRRC ที่ราคาเคยขึ้นไปสูงสุดที่ 26.50 บาท จากราคาปัจจุบันที่ 24.80 บาท
สำหรับหุ้นในกลุ่มพลังงานฝ่ายวิจัยยังคงแนะนำซื้อ จากแนวโน้มราคาน้ำมันและราคาสินค้าคอมมูดิตี้ เช่นถ่านหิน ค่าการกลั่นที่ยังปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง และราคาหุ้นก็ยังมีอัพไซต์ให้เล่นได้ โดยหุ้น PTT ให้ราคาเหมาะสมที่ 340 บาท
ขณะที่ PTTEP ฝ่ายวิจัยอยู่ระหว่างการปรับประมาณการณ์มูลค่าเหมาะสมเพิ่มขึ้นใหม่ จากเดิมที่ให้ราคาที่ 117 บาท ส่วน RRC ให้ราคาเหมาะสมที่ 28.50 บาท , BANPU ให้ราคาเหมาะสมที่ 348 บาท และ TOP ให้ราคาเหมาะสมที่ 100 บาท โดยหุ้น TOP จะขึ้น XD ในวันนี้ (24 ก.ย.2550)
PTT-RATCH-BANPUมีอัพไซด์
นักวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ พัฒนสิน จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ราคาน้ำมันที่ทำนิวไฮ ยังช่วยผลักดันราคาหุ้นในกลุ่มน้ำมันให้ปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งหุ้นที่ยังคงแนะนำจากราคาที่ยังมีอัพไซต์จากราคาเหมาะสมให้เล่น เช่น PTT ,RATCH และRRC
ราคาน้ำมันที่ทำนิวไฮจะยังรองรับราคาหุ้นในกลุ่มน้ำมัน ซึ่งในส่วนของหุ้นน้ำมันเรายังแนะนำ PTT , RATCH และ RRC ซึ่งน่าจะมีอัพไซต์มากกว่า BANPU , TOP , PTTEP และ EGCO ส่วนหุ้นที่ราคาปรับตัวขึ้นน้อยกว่ากลุ่มตั้งแต่ต้นปี คือ PTTEP ,RRC ,PTT และLANNAนักวิเคราะห์กล่าว
สำหรับหุ้น PTT นักวิเคราะห์ในตลาดให้ราคาเหมาะสมประมาณ 350 บาท ส่วนฝ่ายวิจัยอยู่ระหว่างการปรับประมาณการณ์ ซึ่งนอกจากจะได้รับประโยชน์จากราคาน้ำมันที่ทำนิวไฮแล้ว ยังถือเป็นหุ้นที่ปรับตัวขึ้นน้อยกว่ากลุ่มและมีจุดเด่นจากฐานธุรกิจที่กระจายตัวและกระแสเงินสดที่มั่นคง
ขณะที่ RATCH ฝ่ายวิจัยให้ราคาเหมาะสมที่ 52 บาท จากราคาปัจจุบัน (21 ก.ย.2550) ที่ 47 บาทและหุ้นRRC ให้ราคาเหมาะสมที่ 28.50 บาท
สำหรับราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นฝ่ายวิจัยมองว่า ส่วนหนึ่งเกิดจากปัจจัยพื้นฐาน เช่นซัพพลายที่จำกัด และสต๊อกน้ำมันที่ลดลงต่อเนื่องของสหรัฐ รวมทั้งดีมานด์ที่จะเพิ่มขึ้นในช่วงปลายปีนี้ ขณะเดียวกันการปรับตัวขึ้นของราคาน้ำมันก็เกิดจากการย้ายเงินเก็งกำไรออกจากสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยง เช่นหุ้น และพันธบัตรมาเก็งกำไรในตลาดคอมมูดิตี้ รวมทั้งน้ำมันซึ่งมีปัจจัยพื้นฐานรองรับ
มองเทคนิครายตัว
นายภูวดล ลาภอุดมสุข ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์ เอเชียพลัส จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า สัญญาณเทคนิคหุ้น PTT ราคาหุ้นมีโอกาสปรับตัวขึ้นได้ต่อ โดยแนะนำซื้อ ให้แนวรับที่ 330 บาท แนวต้านที่ 344 บาท หุ้น เช่นเดียวกับหุ้น PTTEP ที่แนะนำซื้อ ให้แนวรับที่ 133 บาท แนวต้านที่ 139 บาท และTOP ให้แนวรับที่ 86 บาท ส่วนแนวต้านที่ 90 บาท
http://www.msnth.com/msn/money2/content ... 886&ch=225
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news24/09/07
โพสต์ที่ 87
หดเป้าเอทานอลผลพวงศก.ทรุด
โดย ข่าวสด วัน จันทร์ ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2550 08:51 น.
นายวีระพล จิรประดิษฐกุล ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน เปิดเผยถึงการประชุมคณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานที่มีนายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.อุตสาหกรรมเป็นประธานวันที่ 21 ก.ย.ว่า ที่ประชุมเห็นชอบการทบทวนแผนอนุรักษ์พลังงาน ระยะที่ 3 โดยจะมีการหารือคือปรับเป้าหมายการส่งเสริมพลังงานทดแทนใหม่ โดยเฉพาะเอทานอลและไบโอดีเซล(บี 100) ที่ปรับเป้าหมายลดลงให้สอดคล้องกับความต้องการใช้น้ำมัน โดยขณะนี้เศรษฐกิจชะลอตัวลงทำให้การใช้น้ำมันลดลง จากเดิมในปี48 คาดว่าในช่วงปี54 จะมีความต้องการเบนซินรวม 30 ล้านลิตรต่อวันปรับใหม่ลดเหลือ 24 ล้านลิตรต่อวัน ดังนั้นเป้าหมายการใช้เอทานอลในปี54 ลดลงจาก 3 ล้านลิตรต่อวันเป็น 2.4 ล้านลิตรต่อวัน ส่วนดีเซลเดิมคาดว่าปี54 จะใช้ที่ 80 ล้านลิตรต่อวัน ลดเหลือ 60 ล้านลิตรต่อวัน จึงปรับลดการใช้บี 100 ลงจาก 4 ล้านลิตรต่อวัน เป็น 3 ล้านลิตรต่อวัน โดยแผนทั้งหมดจะมีการส่งเสริมการใช้ให้มากขึ้นจากปัจจุบัน ซึ่งจะประชาสัมพันธ์เชิงรุกเพื่อให้ประชาชนเข้าใจเกี่ยวกับน้ำมันแก๊สโซฮอล์ และยังคงรักษาส่วนต่างราคาเพื่อจูงใจผู้ใช้ต่อไป
http://news.sanook.com/economic/economic_185987.php
โดย ข่าวสด วัน จันทร์ ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2550 08:51 น.
นายวีระพล จิรประดิษฐกุล ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน เปิดเผยถึงการประชุมคณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานที่มีนายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.อุตสาหกรรมเป็นประธานวันที่ 21 ก.ย.ว่า ที่ประชุมเห็นชอบการทบทวนแผนอนุรักษ์พลังงาน ระยะที่ 3 โดยจะมีการหารือคือปรับเป้าหมายการส่งเสริมพลังงานทดแทนใหม่ โดยเฉพาะเอทานอลและไบโอดีเซล(บี 100) ที่ปรับเป้าหมายลดลงให้สอดคล้องกับความต้องการใช้น้ำมัน โดยขณะนี้เศรษฐกิจชะลอตัวลงทำให้การใช้น้ำมันลดลง จากเดิมในปี48 คาดว่าในช่วงปี54 จะมีความต้องการเบนซินรวม 30 ล้านลิตรต่อวันปรับใหม่ลดเหลือ 24 ล้านลิตรต่อวัน ดังนั้นเป้าหมายการใช้เอทานอลในปี54 ลดลงจาก 3 ล้านลิตรต่อวันเป็น 2.4 ล้านลิตรต่อวัน ส่วนดีเซลเดิมคาดว่าปี54 จะใช้ที่ 80 ล้านลิตรต่อวัน ลดเหลือ 60 ล้านลิตรต่อวัน จึงปรับลดการใช้บี 100 ลงจาก 4 ล้านลิตรต่อวัน เป็น 3 ล้านลิตรต่อวัน โดยแผนทั้งหมดจะมีการส่งเสริมการใช้ให้มากขึ้นจากปัจจุบัน ซึ่งจะประชาสัมพันธ์เชิงรุกเพื่อให้ประชาชนเข้าใจเกี่ยวกับน้ำมันแก๊สโซฮอล์ และยังคงรักษาส่วนต่างราคาเพื่อจูงใจผู้ใช้ต่อไป
http://news.sanook.com/economic/economic_185987.php
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news25/09/07
โพสต์ที่ 88
คงน้ำหนักการลงทุนในกลุ่มปิโตรเคมี Overweight:
25 กันยายน พ.ศ. 2550 11:01:00
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : จากความกังวลเรื่องโครงการปิโตรเคมีในปี 2008 - 2011 ที่จะเลื่อนออกไปของประเทศจีน
คงน้ำหนักการลงทุนในกลุ่มปิโตรเคมีเป็น Overweight: เรายังคงนำหนักการลงทุนในหุ้นกลุ่มปิโตรเคมีเป็น Overweight แต่เรามีมุมมองเชิงบวกมากขึ้นจากข้อมูลที่ได้รับจากงาน IBCs polyolefins outlook conference ที่ประเทศจีน ว่าโครงการผลิตปิโตรเคมีหลายโครงการมีแนวโน้มที่จะเลื่อนเปิดดำเนินการออกไปจากกำหนดการเดิมเนื่องจากขาดแคลนบุคลากร ทั้งนี้เรากำลังพิจารณาปรับประมาณการปี 2008 โดยมีแนวโน้มปรับประมาณการขึ้น
ข้อมูลจากงานสัมมนาที่ประเทศจีน: เราได้รับข้อมูลจากงาน IBCs polyolefins outlook conference เมื่อวันที่ 20 21 กันยายน 2007 ว่ามีโอกาสที่โครงการผลิต Ethylene หลายโครงการในประเทศจีนซึ่งคาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ในปี 2008 2011 จะเลื่อนกำหนดการเปิดออกไป โดยยังไม่รู้กำหนดการที่ชัดเจนเนื่องจากขาดแคลนบุคลากรโดยเฉพาะวิศวกรด้านปิโตรเคมี และจากรายงานผู้เข้าร่วมสัมมนายังแสดงความกังวลถึงโครงการขยายกำลังการผลิตปิโตรเคมีในเอเชียตะวันออกกลางและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ว่าจะประสบปัญหาเดียวกันคือขาดแคลนบุคลากรซึ่งเป็นปัญหาทั้งอุตสาหกรรมทั่วโลก
อุปทานสาย Olefins ได้รับผลกระทบ: เราคาดว่าจะส่งผลกระทบต่ออุปทานปิโตรเคมีสาย Olefins ค่อนข้างรุนแรงเนื่องจากประเทศจีนมีโครงการขยายกำลังการผลิต Ethylene ปริมาณ 1 ล้านตันต่อปีในปี 2008 (ปัจจุบัน PTTCH มีกำลังการผลิต Ethylene ประมาณ 1.3 ล้านตันต่อปี) และโครงการขยายกำลังการผลิต Ethylene รวมประมาณ 5 ล้านตันต่อปี ภายในปี 2009 2011 ที่ถูกคาดว่าจะเลื่อนกำหนดการเปิดออกไป ทำให้เราคาดว่าอุปทานของปิโตรเคมีสาย Olefins จะไม่เพิ่มขึ้นมากอย่างที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้ และงานสัมมนาดังกล่าวเป็นงานสัมมนาในหัวข้อของปิโตรเคมีสาย Olefins จึงไม่มีข้อมูลของทางสาย Aromatics แต่เราก็คาดว่าน่าจะมีผลกระทบในลักษณะเช่นเดียวกับโครงการผลิต Ethylene เนื่องจากเป็นปัญหาเรื่องการขาดแคลนบุคลากรในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีจึงน่าจะได้รับผลกระทบทั้งอุตสาหกรรม
กระทบอุตสาหกรรม Downstream: เมื่ออุปทานของปิโตรเคมีขั้นต้น (Upstream) มีโอกาสที่จะลดลง ในขณะเดียวกันความต้องการปิโตรเคมีขั้นปลายน้ำยังมีความต้องการสูงอยู่ ทำให้อาจเกิดปัญหาเรื่องขาดแคลนวัตถุดิบที่จะผลิตได้ ซึ่งจะส่งผลต่ออุปทานของปิโตรเคมีขั้นปลายน้ำโดยเฉพาะ Polyethylene และ Polypropylene
เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในกลุ่มปิโตรเคมี: จากข้อมูลดังกล่าวทำให้เราคาดว่าอุปทานของปิโตรเคมีในปี 2008 2011 จะไม่เพิ่มขึ้นตามที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้ ทำให้ Spread ของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีโดยเฉลี่ยน่าจะทรงตัวในระดับสูงตลอดปี 2008 เป็นอย่างน้อย ดังนั้นเราจึงมีแนวโน้มปรับประมาณการปี 2008 ของหุ้นในกลุ่มปิโตรเคมีขึ้น ทั้งนี้เรากำลังอยู่ระหว่างพิจารณาปรับประมาณการ โดยหุ้นในกลุ่มปิโตรเคมีที่เราแนะนำซื้อจากประมาณการของเราในปัจจุบันคือ PTTCH, ATC, TPC และ IRP
ที่มา : บล.โกลเบล็กฯ http://www.bangkokbiznews.com/2007/09/2 ... sid=185752
25 กันยายน พ.ศ. 2550 11:01:00
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : จากความกังวลเรื่องโครงการปิโตรเคมีในปี 2008 - 2011 ที่จะเลื่อนออกไปของประเทศจีน
คงน้ำหนักการลงทุนในกลุ่มปิโตรเคมีเป็น Overweight: เรายังคงนำหนักการลงทุนในหุ้นกลุ่มปิโตรเคมีเป็น Overweight แต่เรามีมุมมองเชิงบวกมากขึ้นจากข้อมูลที่ได้รับจากงาน IBCs polyolefins outlook conference ที่ประเทศจีน ว่าโครงการผลิตปิโตรเคมีหลายโครงการมีแนวโน้มที่จะเลื่อนเปิดดำเนินการออกไปจากกำหนดการเดิมเนื่องจากขาดแคลนบุคลากร ทั้งนี้เรากำลังพิจารณาปรับประมาณการปี 2008 โดยมีแนวโน้มปรับประมาณการขึ้น
ข้อมูลจากงานสัมมนาที่ประเทศจีน: เราได้รับข้อมูลจากงาน IBCs polyolefins outlook conference เมื่อวันที่ 20 21 กันยายน 2007 ว่ามีโอกาสที่โครงการผลิต Ethylene หลายโครงการในประเทศจีนซึ่งคาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ในปี 2008 2011 จะเลื่อนกำหนดการเปิดออกไป โดยยังไม่รู้กำหนดการที่ชัดเจนเนื่องจากขาดแคลนบุคลากรโดยเฉพาะวิศวกรด้านปิโตรเคมี และจากรายงานผู้เข้าร่วมสัมมนายังแสดงความกังวลถึงโครงการขยายกำลังการผลิตปิโตรเคมีในเอเชียตะวันออกกลางและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ว่าจะประสบปัญหาเดียวกันคือขาดแคลนบุคลากรซึ่งเป็นปัญหาทั้งอุตสาหกรรมทั่วโลก
อุปทานสาย Olefins ได้รับผลกระทบ: เราคาดว่าจะส่งผลกระทบต่ออุปทานปิโตรเคมีสาย Olefins ค่อนข้างรุนแรงเนื่องจากประเทศจีนมีโครงการขยายกำลังการผลิต Ethylene ปริมาณ 1 ล้านตันต่อปีในปี 2008 (ปัจจุบัน PTTCH มีกำลังการผลิต Ethylene ประมาณ 1.3 ล้านตันต่อปี) และโครงการขยายกำลังการผลิต Ethylene รวมประมาณ 5 ล้านตันต่อปี ภายในปี 2009 2011 ที่ถูกคาดว่าจะเลื่อนกำหนดการเปิดออกไป ทำให้เราคาดว่าอุปทานของปิโตรเคมีสาย Olefins จะไม่เพิ่มขึ้นมากอย่างที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้ และงานสัมมนาดังกล่าวเป็นงานสัมมนาในหัวข้อของปิโตรเคมีสาย Olefins จึงไม่มีข้อมูลของทางสาย Aromatics แต่เราก็คาดว่าน่าจะมีผลกระทบในลักษณะเช่นเดียวกับโครงการผลิต Ethylene เนื่องจากเป็นปัญหาเรื่องการขาดแคลนบุคลากรในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีจึงน่าจะได้รับผลกระทบทั้งอุตสาหกรรม
กระทบอุตสาหกรรม Downstream: เมื่ออุปทานของปิโตรเคมีขั้นต้น (Upstream) มีโอกาสที่จะลดลง ในขณะเดียวกันความต้องการปิโตรเคมีขั้นปลายน้ำยังมีความต้องการสูงอยู่ ทำให้อาจเกิดปัญหาเรื่องขาดแคลนวัตถุดิบที่จะผลิตได้ ซึ่งจะส่งผลต่ออุปทานของปิโตรเคมีขั้นปลายน้ำโดยเฉพาะ Polyethylene และ Polypropylene
เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในกลุ่มปิโตรเคมี: จากข้อมูลดังกล่าวทำให้เราคาดว่าอุปทานของปิโตรเคมีในปี 2008 2011 จะไม่เพิ่มขึ้นตามที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้ ทำให้ Spread ของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีโดยเฉลี่ยน่าจะทรงตัวในระดับสูงตลอดปี 2008 เป็นอย่างน้อย ดังนั้นเราจึงมีแนวโน้มปรับประมาณการปี 2008 ของหุ้นในกลุ่มปิโตรเคมีขึ้น ทั้งนี้เรากำลังอยู่ระหว่างพิจารณาปรับประมาณการ โดยหุ้นในกลุ่มปิโตรเคมีที่เราแนะนำซื้อจากประมาณการของเราในปัจจุบันคือ PTTCH, ATC, TPC และ IRP
ที่มา : บล.โกลเบล็กฯ http://www.bangkokbiznews.com/2007/09/2 ... sid=185752
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news26/09/07
โพสต์ที่ 89
เสนอแผนสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ต.ค.
นายคุรุจิต นาครทรรพ รองปลัดกระทรวงพลังงาน บอกว่า ขณะนี้กระทรวงพลังงานอยู่ระหว่างการศึกษาความเหมาะสมการผลิตไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ เพื่อรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องไปจนถึงปี 2564 ซึ่งคาดว่าความต้องการใช้จะเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 5 -6 % มาอยู่ที่ประมาณ 32,000 เมกกะวัตต์ โดยความต้องการใช้ไฟฟ้าในปริมาณดังกล่าว ต้องผลิตไฟฟ้ารองรับ ซึ่งมาจากการรับซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าน 16 % ส่วนที่เหลือผลิตในประเทศ มาจากผู้ผลิตรายเล็กและรายเล็กมาก 5 % และมาจากผู้ผลิตรายใหญ่ 79 %ซึ่งครึ่งหนึ่งเป็นการผลิตไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และอีกครึ่งหนึ่งเป็นของผู้ผลิตรายใหญ่เอกชน
ตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า หรือ PDP ของกระทรวงพลังงาน ยังกำหนดว่า ในปี 2563-2564 จะต้องมีการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ จำนวน 2 โรง ที่สามารถผลิตไฟฟ้าได้โรงละ 2,000 เมกะวัตต์ กระทรวงพลังงาน ได้เตรียมเสนอแผนสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ รวมทั้งกฏหมายรองรับการสร้างโรงไฟฟ้าและการสร้างความเข้าใจกับประชาชน ให้คณะกรรมการกิจการพลังงานแห่งชาติ หรือ กพช.พิจารณาภายในเดือนตุลาคมนี้
ส่วนกรณีที่มีพรรคการเมืองบางพรรค เสนอนโยบายหาเสียงว่าจะไม่สนับสนุนการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์นั้น รองปลัดกระทรวงพลังงาน บอกว่าการศึกษาการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เป็นการทำงานตามหน้าที่ของข้าราชการ แต่จะทำหรือไม่ ขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาล รวมทั้งผลการศึกษากว่าจะแล้วเสร็จก็ยังต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mor ... fault.aspx
นายคุรุจิต นาครทรรพ รองปลัดกระทรวงพลังงาน บอกว่า ขณะนี้กระทรวงพลังงานอยู่ระหว่างการศึกษาความเหมาะสมการผลิตไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ เพื่อรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องไปจนถึงปี 2564 ซึ่งคาดว่าความต้องการใช้จะเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 5 -6 % มาอยู่ที่ประมาณ 32,000 เมกกะวัตต์ โดยความต้องการใช้ไฟฟ้าในปริมาณดังกล่าว ต้องผลิตไฟฟ้ารองรับ ซึ่งมาจากการรับซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าน 16 % ส่วนที่เหลือผลิตในประเทศ มาจากผู้ผลิตรายเล็กและรายเล็กมาก 5 % และมาจากผู้ผลิตรายใหญ่ 79 %ซึ่งครึ่งหนึ่งเป็นการผลิตไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และอีกครึ่งหนึ่งเป็นของผู้ผลิตรายใหญ่เอกชน
ตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า หรือ PDP ของกระทรวงพลังงาน ยังกำหนดว่า ในปี 2563-2564 จะต้องมีการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ จำนวน 2 โรง ที่สามารถผลิตไฟฟ้าได้โรงละ 2,000 เมกะวัตต์ กระทรวงพลังงาน ได้เตรียมเสนอแผนสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ รวมทั้งกฏหมายรองรับการสร้างโรงไฟฟ้าและการสร้างความเข้าใจกับประชาชน ให้คณะกรรมการกิจการพลังงานแห่งชาติ หรือ กพช.พิจารณาภายในเดือนตุลาคมนี้
ส่วนกรณีที่มีพรรคการเมืองบางพรรค เสนอนโยบายหาเสียงว่าจะไม่สนับสนุนการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์นั้น รองปลัดกระทรวงพลังงาน บอกว่าการศึกษาการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เป็นการทำงานตามหน้าที่ของข้าราชการ แต่จะทำหรือไม่ ขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาล รวมทั้งผลการศึกษากว่าจะแล้วเสร็จก็ยังต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mor ... fault.aspx
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news29/09/07
โพสต์ที่ 90
น้ำมันดิบ Brent อังกฤษทะเลเหนือสร้างสถิติสูงสุดใหม่เหตุจาก Hedge Fund
Posted on Friday, September 28, 2007
น้ำมันดิบปิดเฉียด 83 เหรียญตลาดเบร็นท์ อังกฤษ สูงสุดรอบ 18 ปี
ราคาน้ำมันดิบกลับพุ่งสูงขึ้นครั้งใหม่ โดยเฉพาะที่ตลาดเบร็นท์ อังกฤษทะเลเหนือ สร้างสถิติปิดสูงสุดนับตั้งแต่เริ่มมีระบบตลาดซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันดิบในรอบ 18 ปีที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 1989 หรือปี 2532 ราคาซื้อขายสูงสุดระหว่างวันเมื่อคืนนี้ที่นิวยอร์กแตะ 83 เหรียญต่อบาร์เรล ก่อนจะอ่อนตัวลงปิดที่ 82.88 เหรียญต่อบาร์เรล ทะยาสนขึ้นถึง 3.2% กลายเป็นสถิติราคาปิดพุ่งขึ้นสูงสุดใน 1 วันทำการตั้งแต่ 17 พ.ค. ที่ผ่านมา ด้านราคาน้ำมันดิบเบร็นท์ พุ่งขึ้นปิดที่บาร์เรลละ 80.03 เหรียญ ทะยานขึ้น 2.60 เหรียญ หรือพุ่งขึ้น 3.4%
กองทุน Hedge Fund ความต้องการใช้เพิ่มสูง เงินดอลล์อ่อนกดดันน้ำมันดิบ
สาเหตุสำคัญที่ราคาน้ำมันดิบซื้อขายสูงสุดทะลุเข้าใกล้ 83 เหรียญสหรัฐเมื่อคืนที่ผ่านมา เกิดจาก ทั้งกองทุนประกันความเสี่ยง หรือ Hedge Fund และนักค้าน้ำมัน ตัดสินใจเข้าลงทุนในตลาดน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงจากการลงทุนประเภทอื่นๆที่ด้อยค่าลงต่อเนื่อง เช่น ตลาดเงิน หลังเงินเหรียญสหรัฐ อ่อนค่าลงต่ำสุดในรอบ 15 ปีต่อเนื่องถึง 6 วันทำการเมื่อคืนนี้ ความกังวลในความต้องการใช้ ที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงมากขึ้นในช่วงฤดูหนาวโดยเฉพาะน้ำมันเตา หลังปริมาณสำรองที่แหล่งสำคัญของสหรัฐ ที่โอกลาโฮมาลดลงอย่างมาก
ปัจจัยเสี่ยงการเมืองอิหร่านร่วมกดดันราคาน้ำมันดิบตะวันออกกลาง
นอกจากนี้ ปัจจัยเสี่ยงจากการเผชิญหน้ากันระหว่างชาติตะวันตก และอิหร่าน เข้ามาเสริมเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ราคาน้ำมันดิบนิวยอร์ก ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในสัปดาห์ที่ผ่านมาที่บาร์เรลละ 83.90 เหรียญ จากนั้น ถูกเทขายลงปิดที่บาร์เรลละ 80 เหรียญสหรัฐเมื่อวันอังคารที่ 25 ที่ผ่านมา และยังปรับลดลงต่อเนื่อง มาปิดต่ำกว่า 79 เหรียญสหรัฐในวันที่ 26 กันยายน หากพิจารณาราคาปิดเมื่อคืนที่ผ่านมา ทำให้ราคาน้ำมันดิบในรอบ 1 ปี เพิ่มขึ้นถึง 32% ในขณะที่ มุมมองราคาน้ำมันดิบจากหลากหลายสำนักยังคงไม่เปลี่ยนแปลง
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mor ... fault.aspx
Posted on Friday, September 28, 2007
น้ำมันดิบปิดเฉียด 83 เหรียญตลาดเบร็นท์ อังกฤษ สูงสุดรอบ 18 ปี
ราคาน้ำมันดิบกลับพุ่งสูงขึ้นครั้งใหม่ โดยเฉพาะที่ตลาดเบร็นท์ อังกฤษทะเลเหนือ สร้างสถิติปิดสูงสุดนับตั้งแต่เริ่มมีระบบตลาดซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันดิบในรอบ 18 ปีที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 1989 หรือปี 2532 ราคาซื้อขายสูงสุดระหว่างวันเมื่อคืนนี้ที่นิวยอร์กแตะ 83 เหรียญต่อบาร์เรล ก่อนจะอ่อนตัวลงปิดที่ 82.88 เหรียญต่อบาร์เรล ทะยาสนขึ้นถึง 3.2% กลายเป็นสถิติราคาปิดพุ่งขึ้นสูงสุดใน 1 วันทำการตั้งแต่ 17 พ.ค. ที่ผ่านมา ด้านราคาน้ำมันดิบเบร็นท์ พุ่งขึ้นปิดที่บาร์เรลละ 80.03 เหรียญ ทะยานขึ้น 2.60 เหรียญ หรือพุ่งขึ้น 3.4%
กองทุน Hedge Fund ความต้องการใช้เพิ่มสูง เงินดอลล์อ่อนกดดันน้ำมันดิบ
สาเหตุสำคัญที่ราคาน้ำมันดิบซื้อขายสูงสุดทะลุเข้าใกล้ 83 เหรียญสหรัฐเมื่อคืนที่ผ่านมา เกิดจาก ทั้งกองทุนประกันความเสี่ยง หรือ Hedge Fund และนักค้าน้ำมัน ตัดสินใจเข้าลงทุนในตลาดน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงจากการลงทุนประเภทอื่นๆที่ด้อยค่าลงต่อเนื่อง เช่น ตลาดเงิน หลังเงินเหรียญสหรัฐ อ่อนค่าลงต่ำสุดในรอบ 15 ปีต่อเนื่องถึง 6 วันทำการเมื่อคืนนี้ ความกังวลในความต้องการใช้ ที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงมากขึ้นในช่วงฤดูหนาวโดยเฉพาะน้ำมันเตา หลังปริมาณสำรองที่แหล่งสำคัญของสหรัฐ ที่โอกลาโฮมาลดลงอย่างมาก
ปัจจัยเสี่ยงการเมืองอิหร่านร่วมกดดันราคาน้ำมันดิบตะวันออกกลาง
นอกจากนี้ ปัจจัยเสี่ยงจากการเผชิญหน้ากันระหว่างชาติตะวันตก และอิหร่าน เข้ามาเสริมเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ราคาน้ำมันดิบนิวยอร์ก ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในสัปดาห์ที่ผ่านมาที่บาร์เรลละ 83.90 เหรียญ จากนั้น ถูกเทขายลงปิดที่บาร์เรลละ 80 เหรียญสหรัฐเมื่อวันอังคารที่ 25 ที่ผ่านมา และยังปรับลดลงต่อเนื่อง มาปิดต่ำกว่า 79 เหรียญสหรัฐในวันที่ 26 กันยายน หากพิจารณาราคาปิดเมื่อคืนที่ผ่านมา ทำให้ราคาน้ำมันดิบในรอบ 1 ปี เพิ่มขึ้นถึง 32% ในขณะที่ มุมมองราคาน้ำมันดิบจากหลากหลายสำนักยังคงไม่เปลี่ยนแปลง
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mor ... fault.aspx