โลกมันโหดร้าย (แต่คนโหดเหี้ยมกว่า)
ซาเสียวเอี้ย
คงไม่มีหนังเรื่องไหนที่เดาเนื้อหาได้ง่ายดายมากไปกว่านี้อีกแล้ว...
Dying for Drugs คือหนังสารคดีที่ตามไปดูรายละเอียดชีวิต บุคคลไม่สำคัญ ของโลกใบนี้ และเล่าเรื่องตามลำดับเหมือนนับเลข 1,2,3,4,... ไปเรื่อยๆ
ไม่มีสเปเชียลเอฟเฟกต์ ไม่มีเพลงประกอบซึ้งๆ กินใจ แต่ ความจริง อาจทำให้หลายคนจุกเสียดจนถึงขั้นน้ำตาไหลออกมาเองโดยไม่รู้ตัว...
Dying for Drugs ถูกนำออกฉายครั้งแรกเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2546 ทางช่อง 4 สถานีโทรทัศน์ BBC ในประเทศอังกฤษ และหลังจากนั้นไม่กี่วัน ผู้คนจำนวนมากก็เข้าไปแสดงความคิดเห็นต่อเนื้อหาของสารคดีเรื่องดังกล่าวอย่างคับคั่งในเวบไซต์ของบีบีซี
สิ่งที่ทำให้สารคดีต้นทุนต่ำซึ่งจัดทำโดยบริษัท True Vision TV กลายเป็นประเด็นร้อนแรง มีสาเหตุเพียงหนึ่งเดียวคือ ข้อมูล ที่หนังเรื่องนี้นำเสนอนั้น เปิดโปง กระบวนการทำงานและการสร้างอำนาจต่อรองในตลาดของธุรกิจยาข้ามชาติที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตคนมากมาย...
ชะตากรรมของเด็กชาย อันนัส ผู้อยู่ในเมืองคาโน ตอนเหนือของประเทศไนจีเรีย คือความซวยซ้ำซาก เพราะนอกจากเขาจะเกิดมาในครอบครัวยากจน อาศัยอยู่ในละแวกที่ข้นแค้น เขายังเป็นพลเมืองของประเทศ โลกที่สาม ที่ไม่มีอันจะกิน (หรือมีไม่พอกิน) อีกต่างหาก
เมื่อเด็กยากจนอย่างอันนัสป่วยด้วยโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ หนทางเดียวที่ (น่าจะ) ทำให้เขาหายป่วยได้เร็วที่สุดก็คือการส่งตัวเข้ารับการรักษา-ในโครงการศึกษาวิจัยยารักษาโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบของ แพทย์ผิวขาว-ชาวตะวันตก ซึ่งเข้ามาให้ความช่วยเหลือผ่านทางองค์กรการแพทย์ระหว่างประเทศ
โครงการวิจัยยาที่ว่าเป็นผลิตผลจากบริษัทยาที่ใหญ่เป็นอันดับต้นๆ ของโลกอย่าง ไฟเซอร์ (Pfizer) และยาดังกล่าวก็มีชื่อเรียกว่า Trovan นั่นคือสิ่งที่หมอใช้รักษาอาการของอันนัส ทั้งที่มันยังไม่ได้วางจำหน่ายในท้องตลาด และยังไม่ผ่านการรับประกันคุณภาพว่าจะมีผลข้างเคียงใดๆ หรือไม่ด้วยซ้ำ...
จนกระทั่งต่อมา นายแพทย์หลายรายออกมายืนยันว่ายา Trovan ส่งผลให้กระดูกข้อต่อของคนไข้ที่ใช้ยาตัวนี้เสื่อมสภาพและมีปัญหาได้ง่าย
คงไม่เกินความจริงไปนักถ้าจะบอกว่า ชีวิตของอันนัสถูกใช้เป็น หนูทดลองยา ให้กับบริษัทไฟเซอร์ และหลังจากนั้น จำนวนคนตายจากโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบในไนจีเรียก็ยังมีสูงถึง 15,000 คน โดยในจำนวนผู้เสียชีวิตเหล่านั้น มีผู้เข้ารับการรักษาในโครงการศึกษาวิจัยของไฟเซอร์รวมอยู่ด้วยไม่น้อยเลย
ข้อแก้ตัวที่ไฟเซอร์ใช้ ในกรณีที่มีคนประณามว่าพวกเขาไม่เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองของเด็กที่เข้าร่วมกับโครงการศึกษาวิจัยยา Trovan ได้รับรู้ถึงความเสี่ยงที่อาจได้รับ คือเหตุผลง่ายๆ ว่า ที่ไม่แจ้งให้ทราบ เพราะคนส่วนใหญ่ไม่ถาม!
ทุกวันนี้ อันนัส เด็กชายวัยสิบกว่าขวบ ไม่อาจออกไปเตะฟุตบอลหรือวิ่งเล่นกับเพื่อนๆ ได้เหมือนที่ใจเขาอยากทำ เพราะตัวยาที่เขาเคยได้รับเมื่อตอนเป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ กำลังออกฤทธิ์ย้อนหลังให้เขากลายเป็น คนป่วยเรื้อรัง ที่ไม่สามารถมีชีวิตปกติได้...
ยา Trovan จึงถูกสั่งห้ามขาย หลังจากพบว่ามันมีผลข้างเคียงที่เป็นลบต่อสุขภาพ...
แต่ที่รู้ๆ คือไฟเซอร์คงประหยัดงบประมาณในการทดลองผลข้างเคียงของยาไปได้มากโข
อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...
โพสต์ที่ 121
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...
โพสต์ที่ 122
นอกจากการมุบมิบทดลองยาในประเทศด้อยพัฒนาแล้ว บริษัทยาบางแห่งยังสนุกกับการขับไล่และบีบให้นักวิจัยที่พยายามเปิดเผยจุดบกพร่องของตัวยาที่ทดลองต่อสาธารณะ ลาออกจากองค์กรไปซะ
เหมือนอย่างที่ ดร.แนนซี่ โอลิเวียรี่ (Nancy Oliviery) ถูกกดดันให้ออกจากงานที่เธอเคยดำรงตำแหน่งนักวิจัยในสถาบันค้นคว้าวิจัยยาบรรเทาอาการโรคลูคีเมีย เนื่องจากเธอทำรายงานส่งไปยังบริษัทยา Apotex โดยระบุว่ายา L1 ที่กำลังศึกษาอยู่นั้น อาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการแทรกซ้อนได้...
แต่ดูเหมือน Apotex ที่ให้เงินสนับสนุนการวิจัยจะไม่พอใจรายงานดังกล่าว เมื่อ ดร.โอลิเวียรี พยายามจะชูประเด็นนี้ขึ้นมาแถลงต่อสาธารณชน เธอจึงได้รับจดหมายขู่และการคุกคาม ทั้งจากเพื่อนร่วมงานและผู้บริหารระดับสูงของบริษัทยา เพียงเพราะว่า ถ้าหากรายงานฉบับนี้ถูกเผยแพร่ออกไป อาจส่งผลให้ยาที่ทำวิจัยไม่สามารถนำออกไปวางจำหน่ายได้...
หากเรื่องเป็นเช่นนี้ ใครกันจะกล้าออกมาคัดง้างความไม่ชอบมาพากลของบริษัทยาข้ามชาติที่มีลูกล่อลูกชนแพรวพราวได้?
ความป่วยไข้และการปิดบังข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลข้างเคียงของยา เป็นเพียงประเด็นหนึ่งที่ทำให้เกิดข้อกังขาเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจเหล่านี้ หากสิ่งที่ทำให้ขนลุกมากกว่าก็คือข้อเท็จจริงที่ว่า บุคคลบางกลุ่ม เด็ดยอดของการค้นคว้าวิจัยยาไปเป็นกรรมสิทธิ์โดยอาศัยความสนับสนุนของกฏหมายสิทธิบัตร ซึ่งเปิดช่องให้ ผู้ออกทุนในการค้นคว้าวิจัย (ที่เคยอ้างว่าเป็นการบริจาคเพื่อการกุศล แต่นำ ใบเสร็จ ไปลดเงินภาษีที่ต้องจ่ายได้อีกต่อหนึ่ง) ใช้สิทธิ์เหล่านั้นในการครอบครอง-ผูกขาด และตั้งราคายาแพงๆ โดยที่ผู้ใช้ยาไม่มีทางต่อรองได้เลย
ยาจำนวนมากที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของคนไข้ที่ติดเชื้อ HIV ถูกจดสิทธิบัตรในนามของบริษัท โนวาร์ติส ตามข้อตกลงของ WTO ทำให้บริษัทยายักษ์ใหญ่มีเวลาถึง 20 ปีที่จะกอบโกยโดยปราศจากคู่แข่งที่จะผลิตยาหรือพัฒนายาเจเนอริกออกมากระจายส่วนแบ่งของตลาด
ทั้งหมดทั้งมวลที่ว่ามานั้น ใครกันที่ตกที่นั่งลำบากที่สุด ถ้าไม่ใช่ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องใช้ยา?
ที่ร้ายกว่านั้นก็คือว่า ผู้ป่วยจำนวนมากที่อยู่ในประเทศด้อยพัฒนา ไม่เว้นแม้กระทั่งประเทศกำลังพัฒนาอย่างเกาหลีใต้ ประชาชนบางส่วนของเขาก็ยังถูกใช้เป็นหนูทดลองยาและขูดรีดให้ซื้อยาแพงๆ เมื่อการทดลองสำเร็จเสร็จสิ้น
ชาวเกาหลีใต้ประท้วงบริษัทยา โนวาร์ติส ที่ตั้งราคายาที่ไม่เป็นธรรมกับ
ผู้ป่วยโรคลูคีเมีย ซึ่งก่อนหน้าที่บริษัทจะตั้งราคาแพงๆ พวกเขาได้
ใช้ผู้ป่วยจำนวนมากเป็นหนูทดลองประสิทธิภาพของยามาแล้ว
แน่นอนว่าการรับรู้เรื่องราวเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องบันเทิงอารมณ์ สารคดีเรื่อง Dying for Drugs จึงต้องอาศัยความอดทนอย่างมากจากคนดู เพื่อที่จะติดตามไปให้ถึงรายละเอียดทุกขั้นทุกตอนของเพื่อนร่วมโลกที่กำลังป่วยไข้ คนดูแทบทุกคนล้วนเดาได้ว่าชะตากรรมของผู้ป่วยส่วนใหญ่หนีไม่พ้นการตกเป็นเหยื่อของธุรกิจยาข้ามชาติ...
แต่ท่ามกลางความซับซ้อนและเงื่อนไขมากมายที่นายทุนของบริษัทยาพยายามยกมาลิดรอนสิทธิในการเข้าถึงยา ยังมีเรื่องดีๆ ที่เกิดขึ้นตามมา นั่นก็คือการลุกขึ้นต่อสู้และรวมตัวของผู้ป่วย ครอบครัว รวมทั้งมิตรสหาย และนักเคลื่อนไหวที่เห็นว่าเรื่องเช่นนี้เป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้อย่างยิ่ง...
แม้โลกจะโหดร้ายที่ส่งโรคภัยไข้เจ็บใหม่ๆ มาตบหัวมนุษย์ให้พึงสังวรณ์ในความกระจ้อยร่อยของตัวเอง และมนุษย์ด้วยกันเองก็พยายามซ้ำเติมความโหดเหี้ยมด้วยการคำนึงถึงวัตถุหรือรายได้ก่อนที่จะใส่ใจกับชีวิตของคนอื่น และแม้เรื่องราวของ Dying for Drugs จะทำให้เราต้องถอนหายใจอย่างหนักหน่วง
อย่างน้อยที้สุด ความไม่ยอมแพ้ของผู้คนที่ต่อสู้ อาจทำให้การมองภาพที่เป็นอยู่มีความหวังมากขึ้น
เพราะหนังเรื่องนี้ยังไม่จบบริบูรณ์ (อย่างน้อยก็ในชีวิตจริงของใครหลายคน)
http://www.prachatai.com/05web/th/home/ ... guage=Thai
.
หมายเหตุ: สารคดี Dying for Drugs จะฉายให้ดูกันในงาน [url=http://www.prachatai.com/05web/th/calen ... 6-16&page=]เทศกาลหนังขายยา วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ.2550 เวลา 13.00 น. - 16.00 น.ณ ห้องประชุม 702 คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...
โพสต์ที่ 123
ทำไมจึงควรสนับสนุน มาตรการบังคับใช้สิทธิกระทรวงสาธารณสุข? คอลัมน์ ดุลยภาพ ดุลยพินิจ
โดย สมบูรณ์ ศิริประชัย
มติชนรายวัน วันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10693
การประกาศให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่ต้องถูกจับตาเป็นพิเศษ (Priority Watch List) โดยสำนักงานผู้แทนทางการค้าของสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2550 นั้นนับเป็นเรื่องที่คาดการณ์ได้ไม่ยากนัก
แต่เหตุผลหลักที่นำไปสู่การจัดอันดับใหม่นี้สะท้อนถึงลักษณะของประเทศมหาอำนาจที่มุ่งใช้อำนาจแต่ฝ่ายเดียว อย่างไม่เป็นธรรมที่รังแกประเทศกำลังพัฒนา เช่นประเทศไทย
ข้ออ้างอันหนึ่งที่สำนักงานผู้แทนทางการกล่าวอ้างคือกระทรวงสาธารณสุขดำเนินการมาตราบังคับใช้สิทธิอย่างไม่โปร่งใส และไม่ได้ปรึกษาหารือบริษัทข้ามชาติก่อนที่จะดำเนินการ
ข้อกล่าวหาที่สำคัญคือกระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศมาตรการบังคับใช้สิทธิยาแอฟฟาไวเรนซ์ (Efavirenz) เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2549 และประกาศบังคับใช้ยาโลพนาเรียร์และโรโทนาเวีย (Lopnavir/Ritronavir) เมื่อวันที่ 24 และ 25 มกราคม 2550 ตามลำดับ
การประกาศใช้มาตรการนี้เป็นสิทธิอันชอบธรรมของประเทศไทย ตามมาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ.2522 อันเป็นการใช้สิทธิโดยรัฐบาล เพื่อสาธารณประโยชน์ที่มิได้มีวัตถุประสงค์เชิงพาณิชย์ ยิ่งกว่านั้นก็ยังเป็นการใช้ที่สอดคล้องกับความตกลงทริปส์ขององค์การการค้าโลกในข้อ 31 (b) ซึ่งความตกลงทริปส์นี้เป็นสิทธิอันชอบธรรมของสมาชิกองค์การการค้าโลก ที่สามารถใช้มาตราการการบังคับใช้สิทธิเพื่อตอบสนองตวามต้องการของสาธารณชนในประเทศไทย
ในฐานะประชาชนไทยคนหนึ่ง ขอประกาศจุดยืนสนับสนุนการกระทำของกระทรวงสาธารณสุขที่ทำเพื่อผู้ป่วยในประเทศไทย ไม่ต้องซื้อยาสิทธิบัตรในราคาที่แพงเกินจริง
การกระทำดังกล่าวนี้สมควรได้รับการการสนันสนุนอย่างเต็มที่จากประชาชนชาวไทยและประเทศอื่นๆ การกระทำดังกล่าว นับเป็นความกล้าหาญของกระทรวงสาธารสุขไทย ที่คำนึงถึงสิทธิในการเข้าถึงยา ของประชาชนชาวไทยจำนวนนับล้านที่ยากจน
นอกจากนี้ กระทรวงสาธารณสุขยังมีแผนที่จะประกาศการบังคับใช้สิทธิในยาอีกหลายประเทศที่จำเป็น อย่างไรก็ตาม ยังมีประเด็นที่น่าจะนำมาถกเถียงได้อีกอย่างน้อย 4 ประเด็น กล่าวคือ
ประเด็นที่หนึ่ง บริษัทยาข้ามชาติโจมตีกระทรวงสาธารณสุขไทยว่า ไม่พยายามขอเจรจาก่อนที่จะบังคับมาตรการบังคับสิทธิ
ข้อกล่าวหาเป็นเรื่องที่เลื่อนลอย และไม่มีนัยสำคัญแต่ประการใด ความจริงก็คือ การใช้มาตราบังคับสิทธิที่ปรากฏใน TRIPs ขององค์การการค้าโลก และจากการประชมุในรอบโดฮาที่ผ่านมานั้น ได้มีการระบุอย่างชัดเจนว่า ประเทศสมาชิกสามารถเลือกมาตรการบังคับสิทธิได้แต่ฝ่ายเดียว ถ้ามีเหตุฉุกเฉินหรือความจำเป็นอย่างเร่งด่วนของประเทศนั้น ทั้งนี้โดยไม่จำเป็นต้องมีการเจาจากับบริษัทยาข้ามชาติก่อนแต่ประการใด
ตามหลักสากลนี้ จึงเป็นเรื่องการกล่าวหาอย่างเลื่อนลอยและปราศจากข้อเท็จจริง เพราะกระทรวงสาธารณสุขสามารถดำเนินการได้โดยตรง หลังจากประกาศแล้ว บริษัทยาข้ามชาติจึงมักขอเจราจากับประเทศที่ประกาศมาตรการการบังคับใช้สิทธิ
และผลที่เกิดขึ้นก็คือราคายาที่มีการประกาศมาตรการบังคับใช้สิทธินี้มักมีราคาถูกลงเป็นอันมาก
การที่องค์การการค้าโลก ภายใต้ TRIPs นั้นอนุญาตให้ประเทศสมาชิกทำเช่นนี้ได้ก็เพราะมีความเชื่อ และเคารพในหลักการหนึ่งที่สำคัญ นั่นคือ สิทธิมนุษยชน (Human Rights) นั้นมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่า สิทธิในการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property Rights)
แท้ที่จริง สิทธิมนุษยชนในการเข้าถึงยา ภายใต้หลักสิทธิมนุษยชนต้องมาก่อนสิทธิในการคุ้มครองทรัพย์สินทางปํญญา เพราะเหตุว่ายารักษาโรคนั้นเป็นปัจจัยสี่ที่สำคัญอย่างยิ่งยวดต่อความเป็นความตายของมนษย์ เราจึงไม่อาจนำเอาคุ้มครองทรัพย์สินทางปํญญาในแง่วัตถุสิ่งของเปรียบเทียบกับยารักษาโรค
ความสำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ การประการมาตรการบังคับใช้สิทธินี้ รัฐบาลประกาศเพื่อประโยชน์ ของประชาชนโดยส่วนรวม มิใช่ประกาศเพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์แต่ประกาศใด
ประเด็นที่สอง ซึ่งเป็นประเด็นที่มีการถกเถียงมาที่สุดก็คือ ข้ออ้างที่บริษัทข้ามชาติของสหรัฐอเมริกา นำมากล่าวอ้างเสมอมาก็คือ หากประเทศต่างๆ พากันใช้มาตรการบังคับการใช้สิทธิแล้วจะทำให้บริษัทยาข้ามชาติ ไม่มีแรงจูงใจในในลงทุนในการค้นค้ายาใหม่สู่ตลาด
ข้อกล่าวอ้างนี้ก็ปราศจากความจริงอย่างสิ้นเชิง เพราะมีการศึกษาทางวิชาการจำนวนมากพบว่า การบังคับการใช้สิทธินั้น มิได้ทำให้นวัตกรรมการผลิตยาลดลง ตัวอย่างที่ดีที่ก็คือสหรัฐอเมริกาเอง ซึ่งเป็นประเทศที่มีการบังคับการใช้สิทธิมากที่สุดในโลก ก็ยังคงเป็นผู้นำในการผลิตยาจนถึงปัจจุบัน
การศึกษาของนักวิชาการในประเทศสหรัฐอเมริกาเองก็ค้นพบความจริงข้อนี้ โดยยืนยันอย่างมั่นคงทางวิชาการว่า บริษัทข้ามชาติมักไม่ได้ลงทุนคิดค้นตัวยาใหม่จริงๆ โดยตนเอง ซึ่งต้องใช่เงินจำนวนมหาศาล
แต่ความจริงที่คนทั่วไปไม่ทราบก็คือ บริษัทยาข้ามชาติในสหรัฐอเมริกาใช้ประโยชน์อย่างมาก จากการวิจัยในมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน ทั้งนี้ เพื่อต้องการประหยัดรายจ่ายจำนวนมหาศาล
และความจริงอีกข้อหนึ่งคือความรู้ต่างๆ การสร้างนวัตกรรมใหม่ของตัวยานั้น ความรู้ส่วนมากกระจุกอยู่ในมหาวิทยาลัย มากกว่าอยู่ที่บริษัทยาข้ามชาติ ความจริงข้อนี้สะท้อนให้เห็นว่า กำไรจำนวนมหาศาลที่บริษัทข้ามชาติได้รับนี้ มีมากเกินความเป็นจริง
ประเด็นที่สาม นอกเหนือจากประเด็นข้างต้น ประเด็นที่ควรถกเถียงในหมู่นักเศรษฐศาสตร์และนักวิชาการสาขาอื่นๆ ก็คือ ระบบคุ้มครองสิทธิบัตรยาใหม่ที่ใช้อยู่เวลานี้ ภายใต้ระบบ TRIPs ซึ่งให้มีอายุคุ้มครองนานถึง 20 ปีนั้นสมควรเป็นระบบที่เหมาะสมต่อประเทศกำลังพัฒนาที่ยากจนหรือไม่
ในหลายๆ ประเทศก็ยังไม่มีการคุ้มครองยาให้อยู่ระบบสิทธิบัตร แต่ที่น่าประหลาดใจก็คือ ประเทศไทย ซึ่งไม่มีศักยภาพในการผลิตตัวยาใหม่เลย แต่ได้ให้การคุ้มครองยาในสิทธิบัตรตั้งแต่ปั 2524 ทั้งนี้ ก็เพราะสหรัฐอเมริกา ได้บีบให้ประเทศไทยต้องแก้ไขสิทธิบัตรในขณะนั้น โดยนำเอาเรื่องการสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) มาเป็นเครื่องมือในการต่อรอง
ในแง่นี้ นักเศรษฐศาสตร์ระดับโลก อย่าง Joseph Stiglitz ได้เสนอไว้เมื่อไม่นานมานี้ว่า ประชาชนชาวโลก ควรเลิกใช้ระบบสิทธิบัตรของยาให้ค้มครองถึง 20 ปีของ TRIPs
โดยเสนอให้มีการเปลี่ยนรูปแบบการจัดตั้งกองทุนระดับโลกขึ้นมาเพื่อผลิตตัวยาใหม่ โดยจำหน่ายยาใหม่นนั้นในราคาถูก เพื่อช่วยเหลือประเทศด้อยพัฒนาทั้งหลายที่ต้องเสียเงินตราต่างประเทศจำนวนมากในแต่ละปีให้กับริษัทยาข้ามชาติ
ประเด็นที่สี่ ความสำเร็จในการประกาศมาตรการบังคับใช้สิทธิครั้งนี้ เราควรขอบคุณกระทรวงพาณิชย์ ที่ไม่ออกมาคัดค้านดังเช่นที่เคยเกิดขี้นในอดีตเมื่อ 20 ปีกว่ามานี้ ในครั้งนี้ แม้จะมีการกล่าวถึงการที่ประเทศไทยอาจถูกตัดสิทธิ GSP แต่กระทรวงพาณิชย์ของไทยกลับวางตัวอย่างเหมาะสมและน่าชมเชย เพราะรู้อยู่ว่า GSP เป็นของได้เปล่าของสหรัฐอเมริกา ที่ให้แก่ประเทศต่างๆ ทั่วโลก
นโยบายของสหรัฐอเมริกาในเรื่อง GSP เป็นไปตาม Trade Act of 1974 และเริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อ 1 มกราคม 1976 โดยสหรัฐอเมริกาจะให้สิทธิพิเศษแก่สินค้ามากกว่า 5.000 รายการจากประเทศต่างๆ ส่งเข้าไปขายในสหรัฐอเมริกาด้วยเสียภาษีศุลกากรนำเขาในอัตราที่ต่ำมาก นโยบายในเรื่อง GSP นี้เป็นการให้ฝ่ายเดียวแก่ประเทศด้อยพัฒนาและอาจถูกเลิกเมื่อไรก็ได้ เพราะ USTR จะเป็นผู้พิจารณาในแต่ละปี
ดังนั้น ผลประโยชน์จาก GSP เป็นเรื่องไม่ยั่งยืนและไม่ควรนำมาเปรีบบเทียบกับชิวิตคนไทย ที่ป่วยเป็นโรคเอดส์จำนวนหลายแสนคน
อย่างไรก็ตาม ในครั้งนี้ รัฐบาลชั่วคราวกลับประกาศมาตรการบังคับใช้สิทธิได้เป็นผลสำเร็จ แท้ที่จริงกลุ่มองค์การพัฒนาภาคเอกชนได้เรียกร้องเรื่องมานานหลายปีแล้ว แต่ไม่เคยประสบความสำแร็จ
ส่วนสำคัญมาจากความจริงที่ว่า รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งมักไม่มีความกล้าหาญอย่างเพียงพอในการกระทำดังกล่าว และยิ่งกว่านั้น นโยบายการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งเป็นนโยบายใหม่ของรัฐบาลทักษิณก็เป็นปัจจัยที่สำคัญ ที่ทำให้กระทรวงสาธารณสุข จำเป็นต้องประกาศมาตรการบังคับใช้สิทธิดังกล่าว ไม่เช่นนั้น คนไทยที่ป่วยเป็นโรคเอดส์ และคนยากจนจำนวนมากคงต้องเสียชีวิตลงอย่างแน่นอน เพราะไม่มีเงินมากพอที่หาซื้อยามารักษาตนเองได้
แม้ว่ารัฐบาลชุดนี้จะเป็นรัฐบาลรักษาการ แต่การดำเนินนโยบายที่ดีก็สามารถเกิดขึ้นได้
นี่อาจจะเป็นสิ่งที่ทำให้คนจำนวนมากอดฉงนและประหลาดใจว่า แล้วเราจะพึ่งรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งได้หรือไม่ ในเมื่อนโยบายที่ทำเพื่อคนจนและคนด้อยโอกาสนั้น มักเกิดขึ้นยากเต็มทีภายใต้รัฐบาลจากการเลือกตั้ง
คำตอบของคำถามนี้คงตอบแบบง่ายๆ ไม่ได้เป็นแน่
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...
โพสต์ที่ 124
ยังไม่เลิกคับ.... แต่ต้องจัดสรรเวลามาเป็นระยะ...
จริงๆในระยะที่ผ่านมาก็มีความคืบหน้าหลายๆอย่างเกี่ยวกับซีแอลยา
แต่ด้วยบทบาทสำคัญยิ่งของนพ.มงคล ณ สงขลา
ก็อยากจะนำพาเพื่อนๆไปทำความรู้จักท่านให้มากยิ่งขึ้น...
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++
อีกก้าวที่กล้า...ของหมอขี่ม้าแกลบนพ.มงคล ณ สงขลา
...ผมรู้จักหมอมงคลตั้งแต่เป็นนักเรียนแพทย์ ผมเป็นรุ่นน้องหลายปี อยู่หอเดียวกันเป็นแพทย์ฝึกหัดด้วยกัน หมอมงคลอุทิศตน ทุ่มเททำงานในถิ่นทุรกันดาร...
นพ.วิชัย โชควิวัฒน ประธานคณะกรรมการองค์การเภสัชกรรม ซึ่งทำงานใกล้ชิดและเป็นเรี่ยวแรงสำคัญในการใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตร (Compulsory License: CL)
@@@@@
...ผมรู้จักหมอมงคลตอนทำข่าวทุจริตยา 1,400 ล้าน ตอนนั้นหมอเป็นอธิบดี 1 ใน 2 คน ที่กล้าออกมาบอกว่า มีการทุจริตยาในกระทรวงสาธารณสุขจริง
ภัทระ คำพิทักษ์ บรรณาธิการข่าว หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ ผู้เคยได้รับรางวัลพูลิตเซอร์จากข่าวทุจริตยา
@@@@@
เครือข่ายผู้ติดเชื้อเสนอให้ทำซีแอลตั้งแต่สมัยรัฐมนตรีพินิจ จารุสมบัติ แต่เรื่องก็เงียบหายไม่เป็นผล เพราะรู้ว่าหากทำซีแอลต้องพบกับอุปสรรคมาก แต่หมอมงคลเข้ามาเป็นรัฐมนตรีก็หยิบขึ้นมาดำเนินการเลยไม่หวั่นกับอุปสรรคข้างหน้าเพราะคำนึงถึงชีวิตผู้ป่วยมากกว่า
วิรัช ภู่ระหงษ์ ประธานเครือผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย
@@@@@
....และทั้งหมดนั้นคือความเห็นของ 3 คนที่เกิดขึ้นในวงเสวนา เปิดตัวหนังสือ อีกก้าวที่กล้า...ของหมอขี่ม้าแกลบ เพื่อบอกเล่าความรู้สึกที่มีโอกาสได้รู้จักกับ นพ.มงคล ณ สงขลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ผู้ซึ่งคนในแวดวงสาธารณสุข
คงไม่มีใครที่ไม่รู้จัก หมอมงคลหรือพี่มงคลว่าเอาจริงเอาจัง และบู๊กับงานมากน้อยแค่ไหน ขณะที่หลายคนอาจทำหน้าเหรอหรา สงสัยว่า รัฐมนตรีคนนี้ ดีเด่น และสมควรได้รับการยกย่อง วีรกรรม ในฐานะที่เป็น ผู้กล้า ในการประกาศบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรในประเทศไทยจนชื่อเสียงขจรขจายไปทั่วโลกนี้อย่างไร
แน่นอนว่า อีกก้าวที่กล้า...ของหมอขี่ม้าแกลบเป็นหนังสืออีกเล่มหนึ่งที่น่าสนใจและน่าจับจองเป็นเจ้าของยิ่งเพราะนอกจากจะทำให้ได้รับทราบเรื่องราวของนพ.มงคลแล้ว ยังจะได้รู้เรื่องราวเบื้องหน้าเบื้องหลังของการประกาศใช้ซีแอลอีกด้วย
และหากยังไม่เข้าใจว่า การทำซีแอล คืออะไร และส่งผลดีกับประเทศไทย อย่างไร เพราะเห็นว่า เป็นเรื่องไกลตัว ทั้งๆ ที่ไม่ใช่เลย หากวันหนึ่งคนในครอบครัวไม่สบายแล้วต้องกินยาแพงๆ และทุกข์เพราะไม่สามารถเข้าถึงยาเหล่านี้ได้ กรรณิการ์ กิจติเวชกุล เจ้าหน้าที่ องค์การหมอไร้พรมแดน อวยพร แต้ชูตระกูล บรรณาธิการนิตยสารโลกสีเขียว นักเขียนและผู้เรียบเรียงหนังสือเล่มนี้จะพาทุกๆ คนไปรู้จักตั้งแต่ระบบทรัพย์สินทางปัญญา ระบบสิทธิบัตรของไทย การค้าของธุรกิจยาข้ามชาติที่เอาเปรียบขูดรีด ตั้งราคายาแสนแพงมหาโหด จนถึงการทำซีแอลว่าถูกต้องหรือไม่ แรงกระเพื่อมจากการทำซีแอล และปัจจัยที่ทำให้ซีแอลเป็นผลสำเร็จด้วยเพราะความร่วมมือร่วมใจของทุกฝ่าย
ขณะเดียวกันหนังสือเล่มนี้ยังมีความโดดเด่นอยู่ตรงที่บทสัมภาษณ์จากปากคำของ หมอมงคล รัฐมนตรีวัย 65 ปีแต่จนที่สุดในรัฐบาลขิงแก่เพราะมีทรัพย์สินเพียง 4,564,585 บาท แถมยังอาศัยในทาวเฮาส์เล็กๆ 3 ชั้น ที่ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่า คนตำแหน่งใหญ่โต ระดับรัฐมนตรี แต่อยู่ทาวน์เฮาส์
หมอมงคลกล่าวเอาไว้ในหนังสือเล่มนี้ว่า ไม่น้อยนะ ขณะนี้ก็นับว่าเยอะแล้ว ผมกินไม่หมดแล้วนะ อย่าให้มากเหมือนคนอื่นเลย ก็สุขเท่ากัน...เพราะมีมากกว่านี้ก็ไม่ทำให้มีความสุขไปมากกว่านี้
นอกจากนั้น หนังสือยังเล่าถึงชีวิตในช่วงที่เป็นหมอชนบท ที่ผู้เขียนบอกว่าเป็นที่มาของชื่อหนังสือเล่มนี้ เนื่องจากช่วงนั้นทำงานในถิ่นทุรกันดารการคมนาคมไม่สะดวก จึงต้องขี่ม้าไปรักษาคนไข้ ซึ่งเป็นเพียงม้าแกลบตัวเล็กๆ ไป จนม้ามันช้ำในตาย เพราะหมอมงคลตัวโต ก็กลายเป็นเรื่องที่เล่าขานจนถึงทุกวันนี้
ด้านภัทระ คำพิทักษ์ บอกไว้ว่า อย่างน้อยท่ามกลางความวุ่นวายสับสนของบ้านเมือง ก็มีรัฐมนตรีคนนี้ ที่เป็นตัวอย่างในการทำงานเพื่อบ้านเมืองได้ เพราะสามารถพลิกโลก ควานหาโอกาส แม้ว่าการบริหารงานของรัฐมนตรีแต่ละคนจะมีระยะเวลา 1 ปีเท่ากัน แต่หมอมงคล และทีมงานสามารถที่จะทำได้ ดังนั้น สังคมไทยควรที่จะอ่านหนังสือเล่มนี้อย่างยิ่ง อ่านเพื่อรู้ว่า สิ่งที่เรากลัว ความจริงเราสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้
ดังนั้น เชื่อว่า หากหลายๆ คนได้ซึมซับตัวอักษร ในทุกๆ ย่อหน้าของหนังสือเล่มนี้ เกี่ยวกับชีวิตการเส้นทางการต่อสู้ การทำงาน และ ตัวตน นพ.มงคล ณ สงขลา ที่ถือต้นแบบหมอชนบทผู้อุทิศตนเพื่อคนทุกข์ยากกับบทบาทการประกาศสิทธิเหนือสิทธิบัตรยา ถึงแม้จะออกตัวหลายครั้งว่า ผมไม่ใช่ฮีโร่ ใครๆ ก็อาจจะทำแบบผม ถ้ามีโอกาส ก็อาจกลายเป็นแรงบันดาลใจ ให้กับวัยรุ่น หรือ หมอรุ่นใหม่ๆ ในการเลือกเส้นทางในการดำเนินชีวิตต่อไป
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
หมอมงคล
คอลัมน์ เก็บเรื่องมาเล่า
ชนา ชลาศัย
ผลงานคุณภาพอีกเล่มของสำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน "อีกก้าวที่กล้าของหมอขี่ม้าแกลบ" แฟ้มชีวิต น.พ.มงคล ณ สงขลา รมว.สาธารณสุข กับผลงานยิ่งใหญ่การทำซีแอลในประเทศไทย เรียบเรียงโดย กรรณิการ์ กิจติเวชกุล และ อวยพร แต้ชูสกุล
น.พ.มงคลอาจจะเป็นรัฐมนตรีคนเดียวในรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ที่สมถะที่สุดและจนที่สุด
เป็นที่ฮือฮายิ่งเมื่อครั้งยื่นบัญชีทรัพย์สินหลังเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรี เพราะมีทรัพย์สินเพียง 4,564,585 บาท ทั้งที่ตำแหน่งสุดท้ายก่อนเกษียณอายุราชการเป็นถึงปลัดกระทรวงสาธารณสุขและเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) องค์กรที่มากไปด้วยผลประโยชน์
แต่ทุกวันนี้หมอมงคลก็ยังอาศัยอยู่ทาวน์เฮาส์หลังเล็กๆ
"การมีอยู่อย่างปัจจุบันนี้ก็ถือว่ามีเกินพอแล้ว มีไปมากกว่านี้ก็ไม่ได้ทำให้มีความสุขไปมากกว่านี้"
เป็นคำพูดที่สะท้อนตัวตนของหมอมงคลอย่างชัดเจนที่สุด
น.พ.มงคลเป็นคนสงขลา ครอบครัวยากจน แต่ก็สู้บากบั่นฟันฝ่าอุปสรรคกระทั่งเรียนจบแพทยศาสตร์บัณฑิต จากคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล และดีกรีสาธารณสุขศาสตร์ จากประเทศเนเธอร์แลนด์
หลังเรียนจบ ฉากชีวิตฉากแรกของหมอหนุ่มอยู่ในชนบทเป็นส่วนใหญ่
เริ่มทำหน้าที่หมอครั้งแรกที่โรงพยาบาลพิมาย นครราชสีมา ก่อนจะโยกย้ายไปอีกหลายแห่ง เริ่มจากสำนักงานส่งเสริมวิชาการและบริการสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์ ไปจนถึงเชียงใหม่ แพร่ ลำปาง
ทุกแห่งเป็นพื้นที่ไกลปืนเที่ยง
ความเสียสละและทุ่มเทเพื่อคนไข้ ส่งผลให้หมอมงคลได้รับรางวัลเกียรติยศแห่งชีวิต ในฐานะ "แพทย์ชนบทดีเด่น" ประจำปี 2519
เป็นตำนานเล่าขานกันมาว่า หมอหนุ่มผู้นี้ชอบขี่ม้าไปรักษาคนไข้ จนม้าแกลบตัวเล็กๆ ตายคาก้น
ภายหลังเกษียณอายุราชการกับตำแหน่งปลัดกระทรวงสาธารณสุข โดยทิ้งตำนานให้เป็นที่จดจำแก่แวดวงสาธารณสุขว่า เป็นนักสู้ที่เสียสละ กล้าหาญ และสมถะ
ปี 2550 ชื่อของหมอมงคลก็ฮือฮาอีกครั้งเมื่อตอบรับตำแหน่งรมว.สาธารณสุข
ก่อนจะกลายเป็น "ขิงแก่" ที่ดุเด็ดเผ็ดร้อนเป็นที่สุด
เมื่อออกมาตรการคุมเข้มทั้งเหล้าและบุหรี่
ล่าสุด ที่เลื่องลือไปทั่วโลกคือ การประกาศใช้สิทธิบัตรยา หรือการทำซีแอล (CL-Compulsory Licensing) เพื่อเปิดโอกาสให้คนจนเข้าถึงยา และทำให้การนำเข้าตัวยาบางตัวราคาถูกลง
ผมรับประกันว่าคนจนจะต้องเข้าถึงยาได้ เพราะภาพที่ผมเห็นก็คือ แม่ไม่มีเงินจ่ายค่ายารักษาโรคมะเร็งเม็ดละ 3,800 บาท ต้องน้ำตาตกหันไปให้ลูกกินยาหม้อรักษาแทน ทั้งที่ยาดังกล่าวสามารถลดได้เหลือ 200 บาทต่อเม็ดต่อวัน ซึ่งหากสั่งซื้อมากๆ ก็เหลือไม่ถึง 100 บาท
คำถามคือชีวิตคนเกิดมาเพื่อตายก็จริง แต่ทำไมคนที่ไม่ร่ำรวย เราจะไม่ช่วยให้มีชีวิตอยู่ต่อไปได้ ผมยืนยันว่าจะไม่ยอมให้เวลาที่เหลืออีก 6 เดือนเสียไปกับสิ่งที่ควรทำแต่ไม่ทำ
เป็นปากคำประวัติศาสตร์ของหมอมงคล
หมอที่ได้ชื่อว่าเป็น แจ๊คผู้หาญกล้าดึงขนหน้าแข้งยักษ์!
หน้า 36
ข่าวสด 10 สิงหาคม 2550
อีกก้าวที่กล้า...ของหมอขี่ม้าแกลบ : นายแพทย์มงคล ณ สงขลากับการทำ CL ในประเทศไทย
เขียนโดย กรรณิการ์ กิจติเวชกุล และ อวยพร แต้ชูตระกูล
สำนักพิมพ์หมอชาวบ้านจัดจำหน่าย
ราคาเล่มละ 150 บาท หาซื้อได้ตามร้านหนังสือได้แล้ววันนี้ !
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ถ้า..นะคับ ถ้า...มีโอกาส วันเวลาดีๆ..
จะนำบทสัมภาษณ์น.พ.มงคล ที่ลงในนิตยสาร ฅ.คน มาให้อ่านกัน ราว 12-13 หน้า
ถ้าไม่ทันใจ หาซื้อได้คับ ฅ.คน ฉบับเดือนสิงหาคม ยังมีวางจำหน่าย..
จริงๆในระยะที่ผ่านมาก็มีความคืบหน้าหลายๆอย่างเกี่ยวกับซีแอลยา
แต่ด้วยบทบาทสำคัญยิ่งของนพ.มงคล ณ สงขลา
ก็อยากจะนำพาเพื่อนๆไปทำความรู้จักท่านให้มากยิ่งขึ้น...
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++
อีกก้าวที่กล้า...ของหมอขี่ม้าแกลบนพ.มงคล ณ สงขลา
...ผมรู้จักหมอมงคลตั้งแต่เป็นนักเรียนแพทย์ ผมเป็นรุ่นน้องหลายปี อยู่หอเดียวกันเป็นแพทย์ฝึกหัดด้วยกัน หมอมงคลอุทิศตน ทุ่มเททำงานในถิ่นทุรกันดาร...
นพ.วิชัย โชควิวัฒน ประธานคณะกรรมการองค์การเภสัชกรรม ซึ่งทำงานใกล้ชิดและเป็นเรี่ยวแรงสำคัญในการใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตร (Compulsory License: CL)
@@@@@
...ผมรู้จักหมอมงคลตอนทำข่าวทุจริตยา 1,400 ล้าน ตอนนั้นหมอเป็นอธิบดี 1 ใน 2 คน ที่กล้าออกมาบอกว่า มีการทุจริตยาในกระทรวงสาธารณสุขจริง
ภัทระ คำพิทักษ์ บรรณาธิการข่าว หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ ผู้เคยได้รับรางวัลพูลิตเซอร์จากข่าวทุจริตยา
@@@@@
เครือข่ายผู้ติดเชื้อเสนอให้ทำซีแอลตั้งแต่สมัยรัฐมนตรีพินิจ จารุสมบัติ แต่เรื่องก็เงียบหายไม่เป็นผล เพราะรู้ว่าหากทำซีแอลต้องพบกับอุปสรรคมาก แต่หมอมงคลเข้ามาเป็นรัฐมนตรีก็หยิบขึ้นมาดำเนินการเลยไม่หวั่นกับอุปสรรคข้างหน้าเพราะคำนึงถึงชีวิตผู้ป่วยมากกว่า
วิรัช ภู่ระหงษ์ ประธานเครือผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย
@@@@@
....และทั้งหมดนั้นคือความเห็นของ 3 คนที่เกิดขึ้นในวงเสวนา เปิดตัวหนังสือ อีกก้าวที่กล้า...ของหมอขี่ม้าแกลบ เพื่อบอกเล่าความรู้สึกที่มีโอกาสได้รู้จักกับ นพ.มงคล ณ สงขลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ผู้ซึ่งคนในแวดวงสาธารณสุข
คงไม่มีใครที่ไม่รู้จัก หมอมงคลหรือพี่มงคลว่าเอาจริงเอาจัง และบู๊กับงานมากน้อยแค่ไหน ขณะที่หลายคนอาจทำหน้าเหรอหรา สงสัยว่า รัฐมนตรีคนนี้ ดีเด่น และสมควรได้รับการยกย่อง วีรกรรม ในฐานะที่เป็น ผู้กล้า ในการประกาศบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรในประเทศไทยจนชื่อเสียงขจรขจายไปทั่วโลกนี้อย่างไร
แน่นอนว่า อีกก้าวที่กล้า...ของหมอขี่ม้าแกลบเป็นหนังสืออีกเล่มหนึ่งที่น่าสนใจและน่าจับจองเป็นเจ้าของยิ่งเพราะนอกจากจะทำให้ได้รับทราบเรื่องราวของนพ.มงคลแล้ว ยังจะได้รู้เรื่องราวเบื้องหน้าเบื้องหลังของการประกาศใช้ซีแอลอีกด้วย
และหากยังไม่เข้าใจว่า การทำซีแอล คืออะไร และส่งผลดีกับประเทศไทย อย่างไร เพราะเห็นว่า เป็นเรื่องไกลตัว ทั้งๆ ที่ไม่ใช่เลย หากวันหนึ่งคนในครอบครัวไม่สบายแล้วต้องกินยาแพงๆ และทุกข์เพราะไม่สามารถเข้าถึงยาเหล่านี้ได้ กรรณิการ์ กิจติเวชกุล เจ้าหน้าที่ องค์การหมอไร้พรมแดน อวยพร แต้ชูตระกูล บรรณาธิการนิตยสารโลกสีเขียว นักเขียนและผู้เรียบเรียงหนังสือเล่มนี้จะพาทุกๆ คนไปรู้จักตั้งแต่ระบบทรัพย์สินทางปัญญา ระบบสิทธิบัตรของไทย การค้าของธุรกิจยาข้ามชาติที่เอาเปรียบขูดรีด ตั้งราคายาแสนแพงมหาโหด จนถึงการทำซีแอลว่าถูกต้องหรือไม่ แรงกระเพื่อมจากการทำซีแอล และปัจจัยที่ทำให้ซีแอลเป็นผลสำเร็จด้วยเพราะความร่วมมือร่วมใจของทุกฝ่าย
ขณะเดียวกันหนังสือเล่มนี้ยังมีความโดดเด่นอยู่ตรงที่บทสัมภาษณ์จากปากคำของ หมอมงคล รัฐมนตรีวัย 65 ปีแต่จนที่สุดในรัฐบาลขิงแก่เพราะมีทรัพย์สินเพียง 4,564,585 บาท แถมยังอาศัยในทาวเฮาส์เล็กๆ 3 ชั้น ที่ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่า คนตำแหน่งใหญ่โต ระดับรัฐมนตรี แต่อยู่ทาวน์เฮาส์
หมอมงคลกล่าวเอาไว้ในหนังสือเล่มนี้ว่า ไม่น้อยนะ ขณะนี้ก็นับว่าเยอะแล้ว ผมกินไม่หมดแล้วนะ อย่าให้มากเหมือนคนอื่นเลย ก็สุขเท่ากัน...เพราะมีมากกว่านี้ก็ไม่ทำให้มีความสุขไปมากกว่านี้
นอกจากนั้น หนังสือยังเล่าถึงชีวิตในช่วงที่เป็นหมอชนบท ที่ผู้เขียนบอกว่าเป็นที่มาของชื่อหนังสือเล่มนี้ เนื่องจากช่วงนั้นทำงานในถิ่นทุรกันดารการคมนาคมไม่สะดวก จึงต้องขี่ม้าไปรักษาคนไข้ ซึ่งเป็นเพียงม้าแกลบตัวเล็กๆ ไป จนม้ามันช้ำในตาย เพราะหมอมงคลตัวโต ก็กลายเป็นเรื่องที่เล่าขานจนถึงทุกวันนี้
ด้านภัทระ คำพิทักษ์ บอกไว้ว่า อย่างน้อยท่ามกลางความวุ่นวายสับสนของบ้านเมือง ก็มีรัฐมนตรีคนนี้ ที่เป็นตัวอย่างในการทำงานเพื่อบ้านเมืองได้ เพราะสามารถพลิกโลก ควานหาโอกาส แม้ว่าการบริหารงานของรัฐมนตรีแต่ละคนจะมีระยะเวลา 1 ปีเท่ากัน แต่หมอมงคล และทีมงานสามารถที่จะทำได้ ดังนั้น สังคมไทยควรที่จะอ่านหนังสือเล่มนี้อย่างยิ่ง อ่านเพื่อรู้ว่า สิ่งที่เรากลัว ความจริงเราสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้
ดังนั้น เชื่อว่า หากหลายๆ คนได้ซึมซับตัวอักษร ในทุกๆ ย่อหน้าของหนังสือเล่มนี้ เกี่ยวกับชีวิตการเส้นทางการต่อสู้ การทำงาน และ ตัวตน นพ.มงคล ณ สงขลา ที่ถือต้นแบบหมอชนบทผู้อุทิศตนเพื่อคนทุกข์ยากกับบทบาทการประกาศสิทธิเหนือสิทธิบัตรยา ถึงแม้จะออกตัวหลายครั้งว่า ผมไม่ใช่ฮีโร่ ใครๆ ก็อาจจะทำแบบผม ถ้ามีโอกาส ก็อาจกลายเป็นแรงบันดาลใจ ให้กับวัยรุ่น หรือ หมอรุ่นใหม่ๆ ในการเลือกเส้นทางในการดำเนินชีวิตต่อไป
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
หมอมงคล
คอลัมน์ เก็บเรื่องมาเล่า
ชนา ชลาศัย
ผลงานคุณภาพอีกเล่มของสำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน "อีกก้าวที่กล้าของหมอขี่ม้าแกลบ" แฟ้มชีวิต น.พ.มงคล ณ สงขลา รมว.สาธารณสุข กับผลงานยิ่งใหญ่การทำซีแอลในประเทศไทย เรียบเรียงโดย กรรณิการ์ กิจติเวชกุล และ อวยพร แต้ชูสกุล
น.พ.มงคลอาจจะเป็นรัฐมนตรีคนเดียวในรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ที่สมถะที่สุดและจนที่สุด
เป็นที่ฮือฮายิ่งเมื่อครั้งยื่นบัญชีทรัพย์สินหลังเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรี เพราะมีทรัพย์สินเพียง 4,564,585 บาท ทั้งที่ตำแหน่งสุดท้ายก่อนเกษียณอายุราชการเป็นถึงปลัดกระทรวงสาธารณสุขและเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) องค์กรที่มากไปด้วยผลประโยชน์
แต่ทุกวันนี้หมอมงคลก็ยังอาศัยอยู่ทาวน์เฮาส์หลังเล็กๆ
"การมีอยู่อย่างปัจจุบันนี้ก็ถือว่ามีเกินพอแล้ว มีไปมากกว่านี้ก็ไม่ได้ทำให้มีความสุขไปมากกว่านี้"
เป็นคำพูดที่สะท้อนตัวตนของหมอมงคลอย่างชัดเจนที่สุด
น.พ.มงคลเป็นคนสงขลา ครอบครัวยากจน แต่ก็สู้บากบั่นฟันฝ่าอุปสรรคกระทั่งเรียนจบแพทยศาสตร์บัณฑิต จากคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล และดีกรีสาธารณสุขศาสตร์ จากประเทศเนเธอร์แลนด์
หลังเรียนจบ ฉากชีวิตฉากแรกของหมอหนุ่มอยู่ในชนบทเป็นส่วนใหญ่
เริ่มทำหน้าที่หมอครั้งแรกที่โรงพยาบาลพิมาย นครราชสีมา ก่อนจะโยกย้ายไปอีกหลายแห่ง เริ่มจากสำนักงานส่งเสริมวิชาการและบริการสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์ ไปจนถึงเชียงใหม่ แพร่ ลำปาง
ทุกแห่งเป็นพื้นที่ไกลปืนเที่ยง
ความเสียสละและทุ่มเทเพื่อคนไข้ ส่งผลให้หมอมงคลได้รับรางวัลเกียรติยศแห่งชีวิต ในฐานะ "แพทย์ชนบทดีเด่น" ประจำปี 2519
เป็นตำนานเล่าขานกันมาว่า หมอหนุ่มผู้นี้ชอบขี่ม้าไปรักษาคนไข้ จนม้าแกลบตัวเล็กๆ ตายคาก้น
ภายหลังเกษียณอายุราชการกับตำแหน่งปลัดกระทรวงสาธารณสุข โดยทิ้งตำนานให้เป็นที่จดจำแก่แวดวงสาธารณสุขว่า เป็นนักสู้ที่เสียสละ กล้าหาญ และสมถะ
ปี 2550 ชื่อของหมอมงคลก็ฮือฮาอีกครั้งเมื่อตอบรับตำแหน่งรมว.สาธารณสุข
ก่อนจะกลายเป็น "ขิงแก่" ที่ดุเด็ดเผ็ดร้อนเป็นที่สุด
เมื่อออกมาตรการคุมเข้มทั้งเหล้าและบุหรี่
ล่าสุด ที่เลื่องลือไปทั่วโลกคือ การประกาศใช้สิทธิบัตรยา หรือการทำซีแอล (CL-Compulsory Licensing) เพื่อเปิดโอกาสให้คนจนเข้าถึงยา และทำให้การนำเข้าตัวยาบางตัวราคาถูกลง
ผมรับประกันว่าคนจนจะต้องเข้าถึงยาได้ เพราะภาพที่ผมเห็นก็คือ แม่ไม่มีเงินจ่ายค่ายารักษาโรคมะเร็งเม็ดละ 3,800 บาท ต้องน้ำตาตกหันไปให้ลูกกินยาหม้อรักษาแทน ทั้งที่ยาดังกล่าวสามารถลดได้เหลือ 200 บาทต่อเม็ดต่อวัน ซึ่งหากสั่งซื้อมากๆ ก็เหลือไม่ถึง 100 บาท
คำถามคือชีวิตคนเกิดมาเพื่อตายก็จริง แต่ทำไมคนที่ไม่ร่ำรวย เราจะไม่ช่วยให้มีชีวิตอยู่ต่อไปได้ ผมยืนยันว่าจะไม่ยอมให้เวลาที่เหลืออีก 6 เดือนเสียไปกับสิ่งที่ควรทำแต่ไม่ทำ
เป็นปากคำประวัติศาสตร์ของหมอมงคล
หมอที่ได้ชื่อว่าเป็น แจ๊คผู้หาญกล้าดึงขนหน้าแข้งยักษ์!
หน้า 36
ข่าวสด 10 สิงหาคม 2550
อีกก้าวที่กล้า...ของหมอขี่ม้าแกลบ : นายแพทย์มงคล ณ สงขลากับการทำ CL ในประเทศไทย
เขียนโดย กรรณิการ์ กิจติเวชกุล และ อวยพร แต้ชูตระกูล
สำนักพิมพ์หมอชาวบ้านจัดจำหน่าย
ราคาเล่มละ 150 บาท หาซื้อได้ตามร้านหนังสือได้แล้ววันนี้ !
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ถ้า..นะคับ ถ้า...มีโอกาส วันเวลาดีๆ..
จะนำบทสัมภาษณ์น.พ.มงคล ที่ลงในนิตยสาร ฅ.คน มาให้อ่านกัน ราว 12-13 หน้า
ถ้าไม่ทันใจ หาซื้อได้คับ ฅ.คน ฉบับเดือนสิงหาคม ยังมีวางจำหน่าย..
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...
โพสต์ที่ 125
CL สิทธิเพื่อชีวิต
8 สิงหาคม 2550
เรียบเรียงจาก บอร์ดนิทรรศการ มาตราการบังคับใช้สิทธิ จัดทำโดย แผนงานเภสัชศาสตร์เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ (คภ.สสส.)
8 สิงหาคม 2550
เรียบเรียงจาก บอร์ดนิทรรศการ มาตราการบังคับใช้สิทธิ จัดทำโดย แผนงานเภสัชศาสตร์เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ (คภ.สสส.)
-
- Verified User
- โพสต์: 1301
- ผู้ติดตาม: 0
อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...
โพสต์ที่ 129
คนทำ โฆษณานี้ น่าจะชวน หมอในบอร์ดนี้ไปเป็นที่ปรึกษาบ้างนะ
คชจ โฆษณา การตลาด การบริหารจัดการ สูงกว่า วิจัย สองเท่า
บิดเบือนเกินไปหน่อยนะ
พี่บี ว่าแต่ว่า ตอนนี้ คนไทยไม่ตายเพราะไม่มีเงินจ่ายค่ายาหรือยังครับ หรือว่ายังไม่มีการตกลงจนได้ผลสรุป ช่วงหลังไม่เห็นข่าวอีกเลย จำได้ครั้งสุดท้ายหลังจากประชุมที่เมืองนอกแล้ว บอกว่า ผลการประชุมเป็นบวกกับไทย
คชจ โฆษณา การตลาด การบริหารจัดการ สูงกว่า วิจัย สองเท่า
บิดเบือนเกินไปหน่อยนะ
พี่บี ว่าแต่ว่า ตอนนี้ คนไทยไม่ตายเพราะไม่มีเงินจ่ายค่ายาหรือยังครับ หรือว่ายังไม่มีการตกลงจนได้ผลสรุป ช่วงหลังไม่เห็นข่าวอีกเลย จำได้ครั้งสุดท้ายหลังจากประชุมที่เมืองนอกแล้ว บอกว่า ผลการประชุมเป็นบวกกับไทย
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...
โพสต์ที่ 130
?Boring Stock Lover เขียน:คนทำ โฆษณานี้ น่าจะชวน หมอในบอร์ดนี้ไปเป็นที่ปรึกษาบ้างนะ
คชจ โฆษณา การตลาด การบริหารจัดการ สูงกว่า วิจัย สองเท่า
บิดเบือนเกินไปหน่อยนะ
พี่บี ว่าแต่ว่า ตอนนี้ คนไทยไม่ตายเพราะไม่มีเงินจ่ายค่ายาหรือยังครับ หรือว่ายังไม่มีการตกลงจนได้ผลสรุป ช่วงหลังไม่เห็นข่าวอีกเลย จำได้ครั้งสุดท้ายหลังจากประชุมที่เมืองนอกแล้ว บอกว่า ผลการประชุมเป็นบวกกับไทย
---------------------------------------------------------------------------------------
"หมอมงคล" ส่ง จ.ม.ถึงอียู แจงกรณีประกาศใช้ซีแอล
มติชน 22 ส.ค. 50 - เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม นพ.มงคล ณ สงขลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยถึงกรณีที่นายปีเตอร์ แมนเดลสัน ประธานคณะกรรมาธิการการค้าของสหภาพยุโรป ทำหนังสือถึง สธ.แสดงความไม่พอใจที่ไทยประกาศบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยา (ซีแอล) โดยจะซื้อยาต้นแบบหากมีราคาสูงกว่ายาชื่อสามัญไม่เกินร้อยละ 5 ว่า เป็นความเข้าใจคลาดเคลื่อน ทั้งนี้ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา สธ.ได้ทำหนังสือชี้แจงว่า ไทยจะประกาศซีแอล เฉพาะยาที่มีความจำเป็นเพื่อรักษาชีวิตของผู้ป่วยในประเทศเท่านั้น แต่หากยาต้นตำรับลดราคาในราคาที่แพงกว่ายาสามัญไม่เกินร้อยละ 5 สธ.ก็จะตัดสินใจซื้อยาต้นตำรับแทน
"ระยะหลังนี้มีบริษัทยาหลายแห่งเข้าพบคณะกรรมการเจรจาต่อรองราคายาจำเป็นที่มีสิทธิบัตร มี นพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล เป็นประธาน และคณะอนุกรรมการคัดเลือกยาและเวชภัณฑ์ที่ประชาชนมีปัญหาในการเข้าถึงเพื่อเสนอใช้สิทธิตามสิทธิบัตรด้านยาและเวชภัณฑ์โดยรัฐของ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เพื่อต่อรองราคายาให้มีราคาลดลงเรื่อยๆ ซึ่งไม่มีกำหนดระยะเวลาว่าจะเป็นเมื่อใด หากต่อรองแล้ว และได้ข้อสรุปแล้วจะต้องหารือกับนายกรัฐมนตรี ร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์อีกครั้ง" นพ.มงคลกล่าว
และว่า ในส่วนของยารักษาโรคมะเร็งที่เตรียมทำซีแอลต่อนั้น ขณะนี้ยังไม่ได้ข้อสรุปว่าจะทำกับยาชนิดใด และเมื่อใด มีเกณฑ์เพียงว่าจะดำเนินการกับยารักษาโรคมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งปอดและมะเร็งเต้านม เพราะราคาสูง
นพ.มงคลกล่าวว่า ก่อนจะประกาศซีแอลจะต้องบรรจุยานั้นๆ ในบัญชียาหลักแห่งชาติ และแน่ใจว่ายาราคาถูกมีคุณภาพ และ สปสช.สามารถสั่งจ่ายยาให้กับผู้ป่วยได้ทุกราย
โดย : มติชน วันที่ 22/08/2007
ซีแอลเดินหน้าต่อเนื่อง คิวต่อไปซื้อ อลูเวีย ผู้จัดการออนไลน์ 23 สิงหาคม 2550 18:37 น.
หมอวิชัย ชี้ร่างเอ็มโอยูของกรมทรัพย์สินทางปัญญา รวมยาปลอมกับยาละเมิดสิทธิบัตร ที่เป็นยาสามัญ ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ นักวิชาการติงโยงยาปลอมกับยาละเมิดสิทธิบัตรไม่ถูกต้อง ขณะที่ซีแอลเดินหน้าต่อเตรียมซื้อยาอลูเวียเป็นคิวต่อไป
นพ.วิชัย โชควิวัฒน ผู้ทรงคุณวุฒิระดับ 11 และในฐานะประธานคณะกรรมการสนับสนุนการดำเนินงานเกี่ยวกับการใช้สิทธิตามสิทธิบัตรโดยรัฐ กล่าวว่า ขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ร่วมกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ เตรียมลงนามความร่วมมือร่วมกัน (เอ็มโอยู) เพื่อแก้ปัญหายาปลอม โดยในเนื้อหาของเอ็มโอยูดังกล่าวจะมีการนำรวมถึงยาที่ละเมิดสิทธิบัตรจะจัดให้ไปรวมเป็นคำนิยามเดียวกับยาปลอมด้วยนั้น ซึ่งความเห็นส่วนตัวคิดว่า ไม่น่าจะเข้าตามหลักวิชาของเภสัชศาสตร์ ซึ่งคงต้องตีความกันใหม่ว่า ยาปลอมหมายความว่าอย่างไร ซึ่งหากมีการดำเนินการเพิ่มคำนิยามของยาปลอมรวมถึง ยาละเมิดสิทธิบัตร หรือยาสามัญตามนั้น ก็จะต้องพิจารณารายละเอียด ว่ามีเหตุผลอย่างไร
ด้านภญ.จิราพร ลิ้มปานานนท์ อาจารย์ประจำหน่วยปฏิบัติการวิจัยเภสัชศาสตร์สังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ยาปลอม หมายถึงยาปลอมตาม พ.ร.บ.ยา 2510 คือ ยาที่ไม่มีทะเบียนยา มีตัวยาน้อย หรือด้อยประสิทธิภาพ จึงจะถือเป็นยาปลอม แต่ถ้าเป็นยาที่มีการละเมิดสิทธิบัตร จะต้องมีการพิสูจน์ความถูกต้องว่ามีการละเมิดจริงหรือไม่ ซึ่งถือเป็นคนละเรื่องคนละความหมาย และคนละวัตถุประสงค์ ดังนั้น การร่วมกันร่างเอ็มโอยูร่วมกันครั้งนี้ เป็นการที่บริษัทยาหาเรื่องโยงสิทธิบัตรยา เข้าไปกับเรื่องยาปลอมด้วย ซึ่งไม่ถูกต้อง
ส่วนการดำเนินการมาตรการบังคับใช้สิทธินั้น นพ.วิชัย กล่าวด้วยว่า ขณะนี้ได้เร่งให้มีการขึ้นทะเบียนยาต้านไวรัสเอดส์โลพินาเวียร์ กับริโทนาเวียร์ (Lopinavir/Ritonavir) ชนิดเม็ด ชื่อการค้าอลูเวีย โดยจะตัดสินใจสั่งซื้อยาจากประเทศอินเดีย ภายใน 1-2 เดือนนี้ ส่วนปริมาณที่จะสั่งยานั้นยังไม่กำหนด เนื่องจากยังคงมียาอยู่ในสต๊อกเพียงพอกับความต้องการ
ด้านนพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า สำหรับขั้นตอนการขึ้นทะเบียนยาสลายลิ่มเลือดหัวใจและสมองโคลพิโดเกรลที่ สธ.ประกาศบังคับใช้สิทธิเพื่อผลิตยาที่ติดสิทธิบัตร (ซีแอล) ที่ สธ.ตัดสินใจซื้อจากจากบริษัท เอ็มเคียว ของอินเดียแล้วนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการรอให้บริษัทผู้นำเข้า และองค์การเภสัชกรรม (อภ.) ยื่นเอกสาร เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนการตรวจสอบความปลอดภัยและคุณภาพของยา เชื่อว่า หากส่งเอกสารครบเร็วก็จะสามารถอนุมัติการนำเข้ายาได้ภายใน 2 เดือน หรือเร็วกว่านั้น เพราะถือเป็นกรณีเร่งด่วน
นพ.สงวน นิตยารัมพงษ์ เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ภายหลังจากเสร็จขั้นตอนการขึ้นทะเบียนยาโคลพิโดเกรล จะสามารถจัดยาให้กับโรงพยาบาลในโครงการหลักประกันสุขภาพได้ทันที แต่ ยาโคลพิโดรเกรล เป็นกรณีพิเศษที่แต่ละโรงพยาบาลจะเป็นผู้จัดการยาคงคลังเอง ไม่เหมือนกับยาต้านไวรัสเอดส์ ที่ สปสช.จะเป็นคนจัดส่งให้ทุกโรงพยาบาลเอง เพราะฉะนั้นจะขึ้นอยู่กับยาคงคลังของแต่ละโรงพยาบาลว่าจะหมดเมื่อใด จึงจะสั่งยาราคาใหม่เข้าไปได้ แต่เชื่อว่าจะทำให้ประชาชนที่อยู่ในโครงการหลักประกันทั้ง 3 โครงการ จะสามารถเข้าถึงยาได้มากขึ้นอย่างแน่นอน
โดย : ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 23/08/2007
ผมก็ไม่ค่อยได้ตามติด แต่จะผ่านตาบ้าง
และถ้าต้องการทราบความคืบหน้า เราสามารถติดตามที่นี่คับ...
http://www.ftawatch.org/index.php
คอลัมน์ซ้ายมืออ่านย้อนไปเรื่อยๆ จะมีเรื่อง/ข่าวซีแอลแทรกเป็นระยะๆคับ...
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...
โพสต์ที่ 131
เครือข่ายเอดส์ปารีส ทำหนังสือให้กมธ.การค้าอียูชี้แจงกรณีส่งจดหมายกดดันไม่ให้ไทยใช้ "ซีแอล"
ประชาไท 23 ก.ค.50 สืบเนื่องจากวันที่ 18 ก.ค.ที่ผ่านมา สมาชิกคณะกรรมาธิการการค้าได้ร่างจดหมายถึงรัฐบาลไทยโดยแสดงความไม่พอใจต่อนโยบายรัฐบาลไทยที่ประกาศใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิ (ซีแอล) เพื่อการเข้าถึงยาเพิ่มเติม
AIDES และ Act Up-Paris องค์กรเครือข่ายผู้ป่วยและผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์แห่งประเทศฝรั่งเศส จึงได้ทำหนังสือถึงสมาชิกคณะกรรมาธิการการค้าของสหภาพยุโรปเพื่อขอคำชี้แจงในเรื่องดังกล่าว โดยยืนยันว่าการประกาศซีแอลของรัฐบาลไทยเป็นสิทธิอันชอบธรรมถูกต้องตามความตกลงทริปส์และสอดคล้องกลับมติของสภายุโรปที่ออกเมื่อ 12 ก.ค.ที่ผ่านมาในการสนับสนุนให้ประเทศต่างๆ ได้ใช้มาตรการยืดหยุ่นในทริปส์ แต่จดหมายของสมาชิกคณะกรรมาธิการการค้านั้นเองที่เท่ากับเป็นการเขียนกฎหมายระหว่างประเทศขึ้นใหม่ ทั้งยังเป็นการข่มขู่ประเทศไทยเพื่อรักษาผลประโยชน์ของอุตสาหกรรมยาติดสิทธิบัตร โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบที่จะตกแก่มนุษย์จากการที่ไม่สามารถเข้าถึงและซื้อหายาจำเป็นเพื่อรักษาชีวิตได้
---------------------------------------------------------------------------------
สธ.โต้ทูตสหรัฐฯ ไม่เลิกทำ ซีแอล ชี้พิจารณาผลกระทบรอบด้านแล้ว
วานนี้ (24 ส.ค.) นพ.วิชัย โชควิวัฒน ผู้ทรงคุณวุฒิระดับ 11 และในฐานะประธานคณะกรรมการคณะกรรมการสนับสนุนการดำเนินงานเกี่ยวกับการใช้สิทธิ ตามสิทธิบัตรโดยรัฐ และในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารองค์การเภสัชกรรม กล่าวภายหลังการหารือร่วมกันกับกระทรวงต่างประเทศ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอดส์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่า การประชุมหารือที่เกิดขึ้น เป็นการกำหนดท่าทีที่เหมาะสมของไทยต่อกรณีที่นายราล์ฟ แอล.บอยซ์ เอกอัคราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ส่งหนังสือถึง พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้มีการประกาศอย่างชัดเจนว่า ประเทศไทยจะไม่ใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตร (ซีแอล) อีกต่อไป
ทั้งนี้ ที่ประชุมมีข้อสรุปว่า ไทยจะไม่ประกาศสละสิทธิในการใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรอย่างแน่นอน เนื่องจากไม่เคยมีรัฐบาลได้ หรือประเทศใดในโลกที่ประกาศสละสิทธินี้ ขณะที่แม้แต่ประเทศที่พัฒนาแล้ว อย่างสหรัฐฯ ก็มีการใช้มาตรการดังกล่าวมากกว่าประเทศกำลังพัฒนาด้วยซ้ำ ทั้งนี้ ประเทศไทยมีนโยบายจะใช้ข้อยืดหยุ่นตามข้อตกลงทางทรัพย์สินทางปัญญา คำประกาศโดฮา และพ.ร.บ.สิทธิบัตรของไทย เฉพาะกรณีที่จำเป็นเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงยาที่จำเป็นตามสิทธิภายใต้พ.ร.บ. ประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยไม่มีการดำเนินการอย่างพร่ำเพรื่อและไม่จำเป็น ซึ่งที่ประชุมจะนำมติดังกล่าวส่งไปยังสำนักเลขานุการ สำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อทำหนังสือตอบกลับไปยังเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ต่อไป
ไม่ทราบว่าในการหารือของนายราล์ฟกับพล.อ.สุรยุทธ์ ใช้ภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษสื่อสารกัน เพราะหากใช้ภาษาไทย อาจทำให้นายราล์ฟ เข้าใจคลาดเคลื่อนได้ ซึ่งจากการสอบถาม รมว.สาธารณสุขก็ยืนยันว่า พล.อ.สุรยุทธ์ ไม่ได้พูดว่าไทยจะไม่ทำซีแอลอีก เพียงแต่บอกว่า ยาที่ทำซีแอลแล้ว ก็ดีอยู่แล้ว ส่วนยาตัวใหม่ที่จะทำก็ขอให้มีการหารือกับผู้เกี่ยวข้องในวงเล็กๆ ก่อนโดยไม่จำเป็นต้องนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ดังนั้นนายราล์ฟ จึงน่าจะเข้าใจผิดบางประการ นพ.วิชัย กล่าว
ส่วนกรณีที่กระทรวงต่างประเทศมีความกังวลต่อการทำซีแอล และขอให้พิจารณาผลกระทบให้รอบด้านนั้น นพ.วิชัย กล่าวยืนยันว่า ที่ผ่านมา ได้มีการพิจารณาอย่างรอบด้านแล้ว ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้น เช่น การตัดสิทธิพิเศษ ทางภาษีศุลกากร (จีเอสพี) ของสหรัฐอเมริกา หรือการปิดโรงงานต่างๆ ก็ไม่ได้เป็นผลกระทบมาจากการทำซีแอล แต่เป็นเพราะปัจจัยอื่นๆ เช่น การขึ้นค่าเงินบาท เป็นต้น อย่างไรก็ตาม สธ.มีความเข้าใจกระทรวงต่างประเทศเพราะเป็นเสมือนหนังหน้าไฟต้องรับฟังปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งสธ.ก็มีความห่วงใยเช่นเดียวกัน
นอกจากนี้ ในที่ประชุมมีข้อเสนอให้สธ.หาช่องทางสื่อสารข้อมูลต่างๆ เชื่อมโยงแต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพราะการทำซีแอลมีความซับซ้อน และที่ผ่านมาหน่วยงานต่างๆ มีข้อมูลไม่ครอบคลุมทุกด้านทำให้เวลาถูกตอบโต้ หรือโจมตีต่างๆ ก็ไม่สามารถชี้แจงได้ตรงประเด็น ถึงแม้ว่าการทำซีแอลของไทย จะถูกต้อง โปร่งใสทุกประการ รวมทั้งหาแนวทางในการสร้างความยั่งยืนในรัฐบาลต่อไปด้วย
นพ.วิชัย กล่าวด้วยว่า สำหรับยาผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ขณะนี้ บริษัท โนวาตีส(จำกัด) เจ้าของสิทธิบัตรยา อิมมาทินิบ (Imatinib) หรือ ชื่อสามัญว่า กลีเวค ได้เสนอจะให้ยาฟรีจำนวนมาก สำหรับผู้ป่วยในโครงการจีแพ็ป (GIPAP) โดยแพทย์จะเป็นผู้คัดเลือกผู้ป่วยที่ไม่สามารถเข้าถึงยาได้ เข้าโครงการนี้ จากเดิมที่ครอบคลุมผู้ป่วยเพียง 50% แต่จะให้ยาครอบคลุมผู้ป่วย เป็น 100% โดยยาดังกล่าวจะสามารถทำให้ครอบคลุมผู้ป่วยในหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)ได้ ส่วนผู้ป่วยในโครงการประกันสังคม (สปส.) กำลังอยู่ระหว่างหารือรายละเอียด กับบริษัทเจ้าของสิทธิบัตร เพื่อให้ครอบคลุมทุกหลักประกันสุขภาพทุกระบบ
ก่อนหน้านี้ก็เคยเดินทางไปดูโรงงานที่อินเดีย พร้อมทั้งต่อรองราคายา ให้ลดลง 20 เท่า แต่เมื่อเจ้าของสิทธิบัตรเสนอทางเลือกดังกล่าวให้ ก็ไม่มีความจำเป็น ที่เราจะต้องใช้ซีแอลกับยากลีเวค อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ สปสช.กำลังรวบรวมและศึกษาข้อมูลยารักษามะเร็งตัวอื่นที่เป็นปัญหาสาธารณสุข เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด ต่อไป
ด้านนายจอน อึ๊งภากรณ์ เลขานุการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ กล่าวว่า เห็นด้วยกับที่ กระทรวงสาธารณสุขจัดประชุมและกำหนดท่าทีของไทยชัดเจนว่า จะไม่สละสิทธิในเรื่อง การทำซีแอลเนื่องการทำซีแอลของไทยเป็นการช่วยชีวิตให้คนไทยที่ไม่สามารถเข้าถึงยาได้ใช้ยา มีตัวเลขยืนยันค่อนข้างชัดเจนว่าผู้ป่วยโรคเอดส์ เสียชีวิตลดลงถึง ร้อยละ 80 ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากได้รับยาต้านไวรัสเอดส์ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยโรคเอดส์ที่ได้รับยาต้านไวรัสก็มีปัญหาดื้อยาด้วย จึงมีความจำเป็นต้องใช้ยาที่มีประสิทธิภาพและติดสิทธิบัตร และยืนยันว่าประเทศไทยทำถูกต้องตามกฎกติกาสากล มีความโปร่งใส และทำตามขั้นตอน พร้อมให้การสนับสนุนกระทรวงสาธารณสุขอย่างเต็มที่
.......................
ที่มา : ผู้จัดการรายวัน
ประชาไท 23 ก.ค.50 สืบเนื่องจากวันที่ 18 ก.ค.ที่ผ่านมา สมาชิกคณะกรรมาธิการการค้าได้ร่างจดหมายถึงรัฐบาลไทยโดยแสดงความไม่พอใจต่อนโยบายรัฐบาลไทยที่ประกาศใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิ (ซีแอล) เพื่อการเข้าถึงยาเพิ่มเติม
AIDES และ Act Up-Paris องค์กรเครือข่ายผู้ป่วยและผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์แห่งประเทศฝรั่งเศส จึงได้ทำหนังสือถึงสมาชิกคณะกรรมาธิการการค้าของสหภาพยุโรปเพื่อขอคำชี้แจงในเรื่องดังกล่าว โดยยืนยันว่าการประกาศซีแอลของรัฐบาลไทยเป็นสิทธิอันชอบธรรมถูกต้องตามความตกลงทริปส์และสอดคล้องกลับมติของสภายุโรปที่ออกเมื่อ 12 ก.ค.ที่ผ่านมาในการสนับสนุนให้ประเทศต่างๆ ได้ใช้มาตรการยืดหยุ่นในทริปส์ แต่จดหมายของสมาชิกคณะกรรมาธิการการค้านั้นเองที่เท่ากับเป็นการเขียนกฎหมายระหว่างประเทศขึ้นใหม่ ทั้งยังเป็นการข่มขู่ประเทศไทยเพื่อรักษาผลประโยชน์ของอุตสาหกรรมยาติดสิทธิบัตร โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบที่จะตกแก่มนุษย์จากการที่ไม่สามารถเข้าถึงและซื้อหายาจำเป็นเพื่อรักษาชีวิตได้
กรุงปารีส
22 สิงหาคม
วัตถุประสงค์: เพื่อขอคำชี้แจงในจุดยืนของคณะกรรมาธิการการค้าแห่งสหภาพยุโรปต่อการประกาศใช้มาตรการบังคับใช้สิทธในประเทศไทย
เอกสารอ้างอิง: จดหมายจากสมาชิกคณะกรรมาธิการการค้า นายปีเตอร์ แมนเดลสัน ถึงรัฐบาลไทย ฉบับลงวันที่ 18 กรกฎาคม 2550
เรียน ฯพณฯ ท่าน
ในฐานะองค์กรเครือข่ายผู้ป่วยและผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์แห่งประเทศฝรั่งเศส หรือในฐานะประชาชนที่มีความสนใจด้านเอดส์และมุ่งทำงานเพื่อให้เกิดการเข้าถึงการรักษาโรคเอดส์อย่างถ้วนหน้า เราขอเดินหน้าสนับสนุนจุดยืนของเครือข่ายผู้ป่วยและผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์แห่งประเทศไทย หลายปีที่ผ่านมา เครือข่ายฯ ได้เรียกร้องให้รัฐบาลไทยอนุมัติให้มีการผลิตยาชื่อสามัญสำหรับยาทุกรายการ (รวมถึงยาต้านไวรัส) ซึ่งมีความจำเป็นต่อผู้ป่วยและผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ในประเทศ
ในที่สุด ข้อเรียกร้องของเครือข่ายฯ ก็ได้รับการตอบสนองในช่วงปลายปีที่ผ่านมา เมื่อรัฐบาลไทยประกาศใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิกับยาสามรายการ ได้แก่ยาต้านไวรัสสองรายการและยาสลายลิ่มเลือดอีกหนึ่งรายการ
และด้วยเหตุนี้ เราจึงรู้สึกตระหนกอย่างยิ่งกับจดหมายของท่านถึงรัฐบาลไทยฉบับลงวันที่ 18 กรกฎาคมที่ผ่านมา เพื่อแสดงข้อกังขาต่อนโยบายสาธารณสุขของรัฐบาลในการประกาศใช้สิทธิ อันเป็นมาตรการที่กอปรด้วยเจตนารมณ์เพื่อขยายการเข้าถึงยาชื่อสามัญ ทั้งนี้ ท่าทีที่ท่านได้แสดงมาในจดหมายฉบับดังกล่าวนี้ ขัดแย้งกับแนวทางของคณะกรรมาธิการแห่งสหภาพยุโรปอย่างเห็นได้ชัด
ท่านได้ระบุในจดหมายว่า ทั้งความตกลงทริปส์และปฏิญญาโดฮานั้นจะมิได้ให้ความชอบธรรมกับการดำเนินนโยบายบังคับใช้สิทธิอย่างเป็นกิจจะลักษณะทุกครั้งที่ยามีราคาเกินต้องการ เห็นได้ชัดว่าขัดแย้งกับความตกลงทริปส์ ซึ่งระบุว่า ประเทศสมาชิกแต่ละประเทศมีสิทธิที่จะออกมาตรการบังคับใช้สิทธิ และมีเสรีภาพที่จะกำหนดเหตุผลเพื่อการออกมาตรการดังกล่าว
ขอให้เราได้กระตุ้นเตือนความจำของท่านสักข้อว่า กฎหมายของสหภาพยุโรปเองนั้นได้ระบุชัดว่า เมื่อยาตั้งราคาไว้สูงเกินไป ย่อมถือเป็นเหตุผลอันชัดแจ้งพอแก่ประเทศภาคีสมาชิกในการประกาศใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิเพื่อแก้ปัญหาสาธารณสุขของชาติ (อาจดูได้จาก ยกตัวอย่างเช่น มาตราที่ L613-16 ในประมวลกฎหมายฝรั่งเศสว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งระบุว่า รัฐสามารถประกาศใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิกับผลิตภัณฑ์ติดสิทธิบัตรได้หากเกิดกรณีหนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้ ผลิตภัณฑ์นั้นขาดคุณสมบัติหรือมีในปริมาณที่ไม่เพียงพอ หรือมีราคาสูงผิดปกติ) ฉะนั้น ข้อที่ท่านตำหนิรัฐบาลไทยจึงปราศจากความชอบธรรมและมิชอบด้วยกฎหมาย และจากข้อความของท่านในจดหมาย ท่านได้แสดงให้เห็นว่าท่านหมายจะเขียนกฎหมายระหว่างประเทศขึ้นใหม่ ด้วยเห็นแก่ผลประโยชน์ของอุตสาหกรรมยาต้นแบบ โดยมิได้คำนึงถึงผลกระทบอันจะตกแก่ผู้ป่วยแต่อย่างใด
นอกจากนี้ ท่านยังได้เร่งเร้าให้ประเทศไทยเจรจาต่อรองราคากับบรรษัทยาเจ้าของสิทธิบัตร ซึ่งทั้งความตกลงทริปส์และปฎิญญาโดฮามิได้กำหนดไว้เป็นข้อบังคับให้รัฐบาลใดต้องทำเช่นนั้นในกรณีที่เกิดวิกฤตปัญหาด้านสาธารณสุข ในข้อนี้ จึงดูเหมือนว่าท่านพยายามที่จะเขียนกฎหมายระหว่างประเทศขึ้นใหม่อีกเช่นกัน ยิ่งไปกว่านั้น ยิ่งเราพิจารณาข้อโต้แย้งของท่านลงในรายละเอียดจะยิ่งพบว่า คำกล่าวของท่านนั้นขาดความชอบธรรม ขอนุญาตเตือนความจำท่านอีกสักข้อว่า รัฐบาลไทยได้ทำการเจรจาต่อรองราคากับบริษัทยามาตลอดสองปี จึงค่อยใช้ทางออกสุดท้ายด้วยการประกาศใช้สิทธิ ทั้งๆ ที่มิได้มีข้อกำหนดผูกมัดให้ต้องเจรจากันก่อนมิใช่หรือ
ท่านยังได้ระบุอีกว่า การที่รัฐบาลไทยเสี่ยงใช้วิธีบีบบังคับให้บริษัทยาอื่นๆ ยกเลิกสิทธิบัตรนั้น อาจทำให้ประเทศไทยถูกโดดเดี่ยวจากกลุ่มนักลงทุนด้านเทคโนโลยีชีวภาพจากต่างประเทศ
คำกล่าวนี้คล้ายแฝงนัยข่มขวัญกลายๆ แม้ว่ามาตรการของไทยจะชอบด้วยกฎหมาย แต่แอ๊บบอต บรรษัทยายักษ์ใหญ่สัญชาติอเมริกันกลับใช้วิธีตัดสิทธิไม่ให้ผู้ป่วยในไทยเข้าถึงนวัตกรรมด้านการแพทย์ของบริษัท เพื่อเป็นการตอบโต้ที่รัฐบาลไทยใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิ ทั้งๆ ที่ท่านน่าจะประณามพฤติกรรมเช่นนี้ ซึ่งส่งผลกระทบร้ายแรงต่อชีวิตผู้ป่วยนับหมื่นๆ รายในประเทศ แต่ท่านกลับไม่ทำ การที่ท่านยอมรับพฤติกรรมที่เห็นแก่ผลกำไรเป็นที่ตั้งว่า ปกติ และกล่าวโทษแต่ประเทศไทยที่ตัดสินใจ เช่น กรณีแอ๊บบอต ย่อมแสดงให้เห็นว่าจริงๆ แล้วใจท่านใคร่สนับสนุนการขู่ขวัญทำนองนี้มากกว่า
จึงเป็นเรื่องน่าสะเทือนใจอย่างยิ่งที่ต้องมาเห็นสมาชิกคณะกรรมาธิการแห่งสหภาพยุโรปผู้หนึ่ง ทำให้ความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างประเทศกำลังพัฒนากับบรรษัทยาที่ไม่มีดุลยภาพอยู่แล้วกลับยิ่งเสียสมดุลย์ ไม่ว่าจะเจตนาหรือไม่ แต่ท่านก็ได้กระทำการเข้าข่ายสนับสนุนนโยบายของแอ๊บบอตที่ใช้ผู้ป่วยเป็นตัวประกันเข้าแล้ว
สุดท้ายนี้ สภายุโรปได้ผ่านมติเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2550 ซึ่งเรียกร้องให้คณะกรรมมาธิการยุโรปสนับสนุนประเทศต่างๆ เช่นประเทศไทย ที่ใช้มาตรการยืดหยุ่นประการต่างๆ ที่มีบรรจุไว้ในความตกลงทริปส์และปฏิญญาโดฮา เช่นนี้แล้ว ท่านมีแผนจะทำอย่างไรกับมติสภายุโรป ในเมื่อจดหมายท่านถึงรัฐบาลไทยได้แสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่าขัดกับมติสภายุโรป อีกทำให้เราเชื่อว่าท่านไม่ใส่ใจนำพากับข้อเสนอแนะของสภายุโรปแต่อย่างใด หรือท่านจะสามารถพิสูจน์ได้ว่าท่านมิได้เห็นเช่นนั้น
ทุกๆ วันจะมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคเอดส์จากการเข้าไม่ถึงการรักษาถึงวันละหมื่นราย แต่เหตุการณ์เช่นนี้ใช่ว่าจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ เอดส์เป็นโรคระบาดที่เกิดกับมนุษย์ แต่จากการที่ท่านทำเหมือนต้องการปกป้องสิทธิของบริษัทยามากกว่าชีวิตผู้ป่วยด้วยการกดดันรัฐบาลไทย จึงอาจทำให้ท่านกลายเป็นพันธมิตรกับโรคร้ายนี้ไปโดยปริยาย
ด้วยเหตุนี้เราจึงขอให้ท่านแก้ไขข้อผิดพลาดประการทั้งปวงและคำกล่าวของท่าน อีกขอให้ท่านได้โปรดตระหนักอย่างชัดเจนว่านโนบายของประเทศไทยนั้นสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญา เราขอให้ท่านดำเนินแนวทางเดียวกับสภายุโรป ด้วยการสนับสนุนประเทศต่างๆ ที่ใช้มาตรการยืดหยุ่นที่มีบรรจุไว้ในความตกลงทริปส์และปฏิญญาโดฮา แต่หากท่านไม่ตอบกลับข้อเรียกร้องนี้ภายในเวลาที่เหมาะสม จำเป็นที่เราจะต้องดำเนินการและกล่าวประณามจุดยืนของท่านต่อสาธารณชน
ด้วยความนับถือ
Act Up-Paris AIDES
เอ็มมานูเอล ชาโต้ บรูโน สไปร์
ฮิวจ์ ฟิชเชอร์
Co-President
President
เจโรม มาร์ติน
คณะกรรมการระหว่างประเทศ
---------------------------------------------------------------------------------
สธ.โต้ทูตสหรัฐฯ ไม่เลิกทำ ซีแอล ชี้พิจารณาผลกระทบรอบด้านแล้ว
วานนี้ (24 ส.ค.) นพ.วิชัย โชควิวัฒน ผู้ทรงคุณวุฒิระดับ 11 และในฐานะประธานคณะกรรมการคณะกรรมการสนับสนุนการดำเนินงานเกี่ยวกับการใช้สิทธิ ตามสิทธิบัตรโดยรัฐ และในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารองค์การเภสัชกรรม กล่าวภายหลังการหารือร่วมกันกับกระทรวงต่างประเทศ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอดส์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่า การประชุมหารือที่เกิดขึ้น เป็นการกำหนดท่าทีที่เหมาะสมของไทยต่อกรณีที่นายราล์ฟ แอล.บอยซ์ เอกอัคราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ส่งหนังสือถึง พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้มีการประกาศอย่างชัดเจนว่า ประเทศไทยจะไม่ใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตร (ซีแอล) อีกต่อไป
ทั้งนี้ ที่ประชุมมีข้อสรุปว่า ไทยจะไม่ประกาศสละสิทธิในการใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรอย่างแน่นอน เนื่องจากไม่เคยมีรัฐบาลได้ หรือประเทศใดในโลกที่ประกาศสละสิทธินี้ ขณะที่แม้แต่ประเทศที่พัฒนาแล้ว อย่างสหรัฐฯ ก็มีการใช้มาตรการดังกล่าวมากกว่าประเทศกำลังพัฒนาด้วยซ้ำ ทั้งนี้ ประเทศไทยมีนโยบายจะใช้ข้อยืดหยุ่นตามข้อตกลงทางทรัพย์สินทางปัญญา คำประกาศโดฮา และพ.ร.บ.สิทธิบัตรของไทย เฉพาะกรณีที่จำเป็นเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงยาที่จำเป็นตามสิทธิภายใต้พ.ร.บ. ประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยไม่มีการดำเนินการอย่างพร่ำเพรื่อและไม่จำเป็น ซึ่งที่ประชุมจะนำมติดังกล่าวส่งไปยังสำนักเลขานุการ สำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อทำหนังสือตอบกลับไปยังเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ต่อไป
ไม่ทราบว่าในการหารือของนายราล์ฟกับพล.อ.สุรยุทธ์ ใช้ภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษสื่อสารกัน เพราะหากใช้ภาษาไทย อาจทำให้นายราล์ฟ เข้าใจคลาดเคลื่อนได้ ซึ่งจากการสอบถาม รมว.สาธารณสุขก็ยืนยันว่า พล.อ.สุรยุทธ์ ไม่ได้พูดว่าไทยจะไม่ทำซีแอลอีก เพียงแต่บอกว่า ยาที่ทำซีแอลแล้ว ก็ดีอยู่แล้ว ส่วนยาตัวใหม่ที่จะทำก็ขอให้มีการหารือกับผู้เกี่ยวข้องในวงเล็กๆ ก่อนโดยไม่จำเป็นต้องนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ดังนั้นนายราล์ฟ จึงน่าจะเข้าใจผิดบางประการ นพ.วิชัย กล่าว
ส่วนกรณีที่กระทรวงต่างประเทศมีความกังวลต่อการทำซีแอล และขอให้พิจารณาผลกระทบให้รอบด้านนั้น นพ.วิชัย กล่าวยืนยันว่า ที่ผ่านมา ได้มีการพิจารณาอย่างรอบด้านแล้ว ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้น เช่น การตัดสิทธิพิเศษ ทางภาษีศุลกากร (จีเอสพี) ของสหรัฐอเมริกา หรือการปิดโรงงานต่างๆ ก็ไม่ได้เป็นผลกระทบมาจากการทำซีแอล แต่เป็นเพราะปัจจัยอื่นๆ เช่น การขึ้นค่าเงินบาท เป็นต้น อย่างไรก็ตาม สธ.มีความเข้าใจกระทรวงต่างประเทศเพราะเป็นเสมือนหนังหน้าไฟต้องรับฟังปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งสธ.ก็มีความห่วงใยเช่นเดียวกัน
นอกจากนี้ ในที่ประชุมมีข้อเสนอให้สธ.หาช่องทางสื่อสารข้อมูลต่างๆ เชื่อมโยงแต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพราะการทำซีแอลมีความซับซ้อน และที่ผ่านมาหน่วยงานต่างๆ มีข้อมูลไม่ครอบคลุมทุกด้านทำให้เวลาถูกตอบโต้ หรือโจมตีต่างๆ ก็ไม่สามารถชี้แจงได้ตรงประเด็น ถึงแม้ว่าการทำซีแอลของไทย จะถูกต้อง โปร่งใสทุกประการ รวมทั้งหาแนวทางในการสร้างความยั่งยืนในรัฐบาลต่อไปด้วย
นพ.วิชัย กล่าวด้วยว่า สำหรับยาผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ขณะนี้ บริษัท โนวาตีส(จำกัด) เจ้าของสิทธิบัตรยา อิมมาทินิบ (Imatinib) หรือ ชื่อสามัญว่า กลีเวค ได้เสนอจะให้ยาฟรีจำนวนมาก สำหรับผู้ป่วยในโครงการจีแพ็ป (GIPAP) โดยแพทย์จะเป็นผู้คัดเลือกผู้ป่วยที่ไม่สามารถเข้าถึงยาได้ เข้าโครงการนี้ จากเดิมที่ครอบคลุมผู้ป่วยเพียง 50% แต่จะให้ยาครอบคลุมผู้ป่วย เป็น 100% โดยยาดังกล่าวจะสามารถทำให้ครอบคลุมผู้ป่วยในหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)ได้ ส่วนผู้ป่วยในโครงการประกันสังคม (สปส.) กำลังอยู่ระหว่างหารือรายละเอียด กับบริษัทเจ้าของสิทธิบัตร เพื่อให้ครอบคลุมทุกหลักประกันสุขภาพทุกระบบ
ก่อนหน้านี้ก็เคยเดินทางไปดูโรงงานที่อินเดีย พร้อมทั้งต่อรองราคายา ให้ลดลง 20 เท่า แต่เมื่อเจ้าของสิทธิบัตรเสนอทางเลือกดังกล่าวให้ ก็ไม่มีความจำเป็น ที่เราจะต้องใช้ซีแอลกับยากลีเวค อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ สปสช.กำลังรวบรวมและศึกษาข้อมูลยารักษามะเร็งตัวอื่นที่เป็นปัญหาสาธารณสุข เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด ต่อไป
ด้านนายจอน อึ๊งภากรณ์ เลขานุการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ กล่าวว่า เห็นด้วยกับที่ กระทรวงสาธารณสุขจัดประชุมและกำหนดท่าทีของไทยชัดเจนว่า จะไม่สละสิทธิในเรื่อง การทำซีแอลเนื่องการทำซีแอลของไทยเป็นการช่วยชีวิตให้คนไทยที่ไม่สามารถเข้าถึงยาได้ใช้ยา มีตัวเลขยืนยันค่อนข้างชัดเจนว่าผู้ป่วยโรคเอดส์ เสียชีวิตลดลงถึง ร้อยละ 80 ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากได้รับยาต้านไวรัสเอดส์ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยโรคเอดส์ที่ได้รับยาต้านไวรัสก็มีปัญหาดื้อยาด้วย จึงมีความจำเป็นต้องใช้ยาที่มีประสิทธิภาพและติดสิทธิบัตร และยืนยันว่าประเทศไทยทำถูกต้องตามกฎกติกาสากล มีความโปร่งใส และทำตามขั้นตอน พร้อมให้การสนับสนุนกระทรวงสาธารณสุขอย่างเต็มที่
.......................
ที่มา : ผู้จัดการรายวัน
-
- Verified User
- โพสต์: 1289
- ผู้ติดตาม: 0
อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...
โพสต์ที่ 132
กระทู้นี้ ต้องมาแนะนำ หนังเรื่อง The Constant gardener
http://www.imdb.com/title/tt0387131/ :D
http://www.imdb.com/title/tt0387131/ :D
^
"เมื่อคุณเริ่มทำสิ่งที่รักแล้ว วันต่อๆไปก็จะไม่ใช่การทำงาน"..Brian Tracy
state exact goal/then analyze what fail the goal/then act/if you don't start/dream still be a dream
หุ้นไม่ใช่แค่เศษกระดาษ มันมีคนทำงานจริง
"เมื่อคุณเริ่มทำสิ่งที่รักแล้ว วันต่อๆไปก็จะไม่ใช่การทำงาน"..Brian Tracy
state exact goal/then analyze what fail the goal/then act/if you don't start/dream still be a dream
หุ้นไม่ใช่แค่เศษกระดาษ มันมีคนทำงานจริง
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...
โพสต์ที่ 133
The Constant Gardener , ในความลับมีความจริง ในความจริงมีความรัก
ข้อมูล: เป็นผลงานกำกับหนังพูดภาษาอังกฤษเรื่องแรกของ Fernando Meirelles / หนังดัดแปลงมาจากนิยายของ John Le Carre ซึ่งเคยมีนิยายออกมาวางขายในบ้านเราแล้วเล่มหนึ่งที่ชื่อ The Spy Who Came In from the Cold / ใน IMDB.com ให้คะแนนเรื่องนี้ 7.6/10 ส่วนใน http://www.rottentomatoes.com ให้เรื่องนี้ Fresh ด้วยคะแนน 82 % / บทบาทการแสดงของ Rachel Weisz คว้ารางวัลมากอดหลายรางวัลรวมทั้งรางวัลใหญ่ๆอย่างออสการ์และลูกโลกทองคำ
ใน ความลับ มี ความจริง
... กว่ายาแต่ละตัวจะออกมาวางตลาดให้เราได้ใช้กัน จำเป็นต้องผ่านกระบวนการวิจัยทดลองยา ตั้งแต่ทดลองในห้องแล็ป ทดลองในสัตว์ มาจนถึงทดลองในคน ซึ่งเป็นระยะสุดท้ายก่อนที่ผู้ผลิตจะนำเสนอขออนุมัตินำยาออกมาใช้กับคนทั่วไป งานวิจัยทุกชิ้นจำเป็นต้องผ่านการพิจารณาว่า กระบวนการวิจัยนั้นถูกต้องตามหลักจริยธรรมหรือไม่ เพราะถึงยานั้นอาจจะมีประโยชน์อเนกอนันต์ แต่หากยานั้นมีอันตราย หรือ มีการปิดบังผลข้างเคียงร้ายแรง การวิจัยชิ้นนั้นก็จำเป็นต้องหยุดและหาทางแก้ไข
แต่บริษัทยา ไม่ใช่องค์กรการกุศล บางบริษัทจึงอาจคิดว่า หากมัวแต่รอการอนุมัติ หรือ มัวกลับไปแก้ไขเริ่มต้นใหม่ โอกาสที่จะกอบโกยจากการขายยาตัวนั้นก็จะสูญหายตามเวลาที่ยืดออกไป มันหมายถึงการสูญเสียมหาศาล ของบริษัทยา และ หุ้นส่วนที่รอคอยผลกำไรเมื่อยาออกมาวางตลาด วงเงินในธุรกิจสินค้ารักษาคนชิ้นนี้ มีมูลค่าตั้งแต่ร้อยล้านไปจนถึงพันล้าน มันจึงเป็นอาหารอันโอชะของเหล่านักการเมือง นักธุรกิจ ที่จ้องหาผลประโยชน์ร่วมจากมัน ฯลฯ
...ดังนั้นในยุคที่ผู้นำหรือคนในสังคมที่อยู่ภายใต้ระบอบทุนนิยม ผู้คนล้วนมองหาแต่ความสำเร็จและเงินทุน จริยธรรม จึงเป็น คำที่เริ่มถูกลืมเลือนไปจากสารบบอย่างง่ายดาย เพราะ คน อยากเห็นความก้าวหน้า อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว เมื่อมีความสำเร็จรออยู่ปลายทาง จึงทำให้ คน ยอมเสียอะไรง่ายๆหรือแกล้งลืมบางอย่างไปเพื่อให้มันไปถึงได้เร็วขึ้น และ จริยธรรม คือ สิ่งที่ละลืมหรือมองข้ามได้ง่ายที่สุดเพราะมันเป็นสิ่งจับตัองไม่ได้ไม่มีตัวตน
แต่ความเจริญก้าวหน้าโดยไม่มองข้ามจริยธรรม มันจะนำความสุขที่แท้จริงมาสู่สังคมได้จริงหรือ ในเมื่อความสำเร็จที่ได้มา มันคือ ความสำเร็จที่ละเลยคุณค่าของคุณธรรม และ ความเป็นมนุษย์ มันคือผลสำเร็จที่เห็นแต่ เงิน เป็นเป้าหมายเพียงอย่างเดียว ความสำเร็จที่ได้มานั้น อาจมาเร็วจริง แต่ย่อมอยู่ได้ไม่ยั่งยืน เพราะสุดท้ายก็จะถูกนายทุนหรือคนรุ่นใหม่ที่เรียนรู้จากการขาดจริยธรรม แก่งแย่งกอบโกยต่อไปไม่รู้จักจบจักสิ้น
บริษัทยา KDH เลือกวิธี ทดลองยาตัวเองในดินแดนห่างไกล ที่ซึ่งไม่มีใครจะมาสนใจว่า งานทดลองนี้ผิดหลักจริยธรรมหรือละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่
แอฟริกา ดินแดนที่ยังมีประชากรยากจนข้นแค้นจำนวนมาก และ มีอัตราการผู้ป่วยโรคเอดส์สูง(โรคเอดส์เป็นโรคที่ภูมิคุ้มกันจะต่ำลงและเสี่ยงต่อการเป็นวัณโรคได้ง่าย เราพบผู้ป่วยโรคเอดส์ที่เป็นวัณโรคจำนวนมาก) กลายเป็น แหล่งทดลองยาชั้นดี ในการทดลองวิจัยยารักษาวัณโรคชื่อ Dypraxa ของบริษัท KDH
เพราะอะไรพวกเขาจึงเลือกแอฟริกา ?
.ในดินแดนที่เต็มไปด้วยคนป่วยที่ยากจนและไร้การศึกษา การได้รับยาฟรีย่อมดึงดูดให้พวกเขาเข้ามารับรักษา โดยไม่คิดมองหาข้อแม้ใดๆ เพราะหากไม่มาก็ได้แต่นอนรอความตายสถานเดียว พวกเขาเป็นเหมือนลูกนกที่ได้แต่อ้าปากรออาหารจากผู้เลี้ยง โดยไม่สามารถเรียกร้องต่อรอง และ หากจะเกิดปัญหาหรือเสียชีวิตไป ก็ไม่มีใครจะเหลียวแลสนใจ
สำหรับเหล่านายทุน ที่นี่จึงเหมือนแดนสวรรค์ที่จะทดลองยาของตัวเองในมนุษย์ หากเกิดฤทธิ์ข้างเคียงหรือเกิดอันตราย ก็ไม่มีชาวบ้านคนไหนคิดจะมาต่อสู้อยู่ดี
คนจนจึงต้องตกเป็นเหยื่อของนายทุนในระบบทุนนิยมทุกยุคทุกสมัย แม้รู้ทั้งรู้ว่า โลกนี้ไม่มีอะไรฟรี แต่เขาก็ยินดีมาต่อคิวเข้าแถวรับยาเหล่านั้น เพราะของฟรีที่เอามาแจกให้ มันย่อมดีกว่าไม่มีอะไรให้เอาไปใช้เลย
Tessa Quayle (Rachel Weisz) ขอตาม Justin (Ralph Fiennes) คนรักของเธอไปแอฟริกาในฐานะภรรยา เธอค้นพบว่า เบื้องหลังการแจกจ่ายยาของบริษัท KDH มีบางอย่างที่แอบซ่อนอยู่ บริษัทยากับพวกพ้องใช้ความยากจนของคนไข้โรคเอดส์ชาวแอฟริกา เป็นเหยื่อทดลองยาที่มีฤทธิ์ข้างเคียงอันตรายถึงแก่ชีวิต เธอและเพื่อนพยายามจะเปิดโปงความจริงครั้งนี้ แต่ยิ่งถลำลึกไปเท่าไหร่ อันตรายยิ่งใหญ่หลวงมากขึ้น เพราะศัตรูของเธอไม่ได้จำกัดแค่ บริษัทยา แต่ยังมีคนของรัฐบาลเคนยากับรัฐบาลพวกเธอที่ได้ผลประโยชน์ร่วมกัน
...ก่อนที่ความจริงจะถูกเปิดเผย Tessa ถูกฆาตกรรมอย่างโหดเหี้ยมพร้อมชายหนุ่มผิวดำที่ถูกพาดหัวข่าวไว้ว่าเป็นชู้รักของเธอ
...Justin เดินตามรอยภรรยาเพื่อมาสืบหาความจริงที่ซ่อนอยู่ ก่อนที่เขาจะถูกขู่คุกคาม และ ตกอยู่ในสถานะวิกฤติเดียวกับเธอ การต่อสู้ของเขาที่มีเขาอยู่เพียงคนเดียว กับ บริษัทยาและคนของรัฐบาลที่เหมือนกำแพงใหญ่คอยขัดขวาง บนดินแดนที่ไม่ใช่บ้านเกิดของตัวเอง การต่อสู้ที่ไม่มีใครกล้าอาสาเป็นเพื่อนและเพื่อนที่มีอยู่ก็ไม่อาจไว้วางใจ
...หนทางเดียวที่ดูเหมือนเขาจะทำได้ดีที่สุดคือทิ้งการสืบสวนครั้งนี้ แล้วเอาชีวิตรอดกลับบ้านเกิดตัวเอง แต่ เขายังคงเลือกสู้แม้รู้ว่าไม่มีหนทาง เพราะการต่อสู้ครั้งนี้มันไม่ใช่แค่เพื่อ ค้นหาความจริงที่ซุกซ่อนความชั่วร้ายที่กระทำต่อเพื่อนร่วมโลก แต่ยังเป็นการ ค้นหาความจริงของความรักของเขาและ Tessa
ใน ความจริง มี ความรัก
ความไว้วางใจ เป็น เสาหลักเสาหนึ่งของบ้านแห่งความรัก หากเสานี้ง่อนแง่นถูกกัดกร่อน ความรัก ก็มีโอกาสที่จะล่มสลายลงอย่างง่ายดาย
ความไว้วางใจ และ ความเปิดเผยจริงใจ เป็นเหมือนสองทุ่นน้ำหนัก ที่คานน้ำหนักกันคนละด้านในสมดุลของความรัก สองสิ่งนี้เป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการอยู่ร่วมกันของคนสองคน เพราะ หากคนหนึ่งใช้ชีวิตที่ปิดบังความจริง ทำอะไรหลบๆซ่อนๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องดีหรือไม่ดีก็ตาม มันย่อมส่งผลให้อีกคนเกิดความไม่ไว้วางใจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในขณะเดียวกัน หากคนหนึ่งขาดความไว้เนื้อเชื่อใจ ขาดความมั่นใจในตัวคนรัก ต่อให้อีกฝ่ายจะเปิดเผยแค่ไหนความคลางแคลงใจ ความหวาดระแวงก็เกิดขึ้นได้วันยังค่ำ
...เธอ (Tessa Quayle)
ดูเหมือนคนเอาแต่ใจ พูดอะไรตามใจคิด โผงผางตรงไปตรงมา เธอเดินหน้าต่อสู้ในสิ่งที่เธอเชื่อ ส่วน เขา (Justin Quayle) เป็นคนเงียบๆ ไม่ค่อยมีปากมีเสียง อดิเรกของเขาคือการปลูกต้นไม้ในสวนเล็กๆของตัวเอง เมื่อยืนเทียบกับภรรยาเขาอาจดูเหมือนคนอ่อนแอกว่า และในบางเวลาก็ดูราวกับว่า เขารักเธอมากกว่าที่เธอรักเขา เสียด้วยซ้ำ เพราะ
Tessa ต่อสู้และสืบค้นของเธอเพียงลำพัง สามีของเธอถูกกันเป็นคนนอกออกจากโลกของเธอ Justin ได้รับข่าวสารข้อมูลต่างๆนานาที่ชวนให้คิดว่า เธออาจลักลอบมีความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานที่ออกไปหาข้อมูลด้วยกัน ยิ่งบวกกับการที่เธอไม่เคยเปิดเผยในการกระทำ ยิ่งทำให้คู่ครองอย่าง Justin เกิดความระแวงสงสัยได้มากขึ้น
หากเราเป็น Justin เราจะคงความเชื่อมั่นไว้ใจนี้ได้มากเพียงไร ความลับที่ถูกปิดบังจาก Tessa จะสั่นคลอนความไว้วางใจที่มีต่อกันได้หรือไม่ ?
"Constant" มีความหมายถึง การคงที่สม่ำเสมอ The Constant Gardener ไม่ได้แค่หมายถึง ความเป็นคนสวนรักสงบที่คงเส้นคงวาของ Justin แต่ยังหมายถึง ความรัก ที่ Justin มีให้กับ Tessa อย่างสม่ำเสมอมาโดยตลอด
Justin เคารพและเชื่อถือเธอ สนับสนุนเธอ และ รักเธอ นับตั้งแต่วันแรกที่พบกันจนถึงวันสุดท้ายที่เธอจากไป
เขาไม่เคยคัดค้านในงานและความต้องการของเธอ ยกเว้นเพียงครั้งเดียว ในวันที่เธอกลับจากโรงพยาบาล เธอต้องการให้รับชาวแอฟริกันที่เธอรู้จักในโรงพยาบาล เธอต้องการให้เขาหยุดรถแวะรับเด็กๆเหล่านั้นพาไปส่งบ้าน ซึ่งต้องใช้เวลาเดินทางนานข้ามคืน แต่ เขาเห็นว่าสุขภาพของเธอสำคัญมากกว่า เขาจึงไม่รับเด็กๆเหล่านั้น
ที่ผ่านมา Justin ไม่เข้าใจในสิ่งที่เธอกระทำ เขาไม่เข้าใจว่าเพราะอะไรเธอถึงยุ่งกับเรื่องของคนอื่นอยู่เสมอ ในฉากหนึ่งที่ Justin คงได้เรียนรู้และเข้าใจ Tessa โดยไม่ต้องมีคำอธิบาย คือ ฉากที่เขายืนยันให้เจ้าหน้าที่ UN บนเครื่องบิน รับเด็กแอฟริกันที่กำลังถูกคนตามสังหาร แต่ เจ้าหน้าที่ปฏิเสธ ด้วยเหตุว่า มันไม่ใช่เรื่องของเรา และ เราต้องเอาตัวรอดกันก่อน
...น่าตลกดีที่เหล่าประเทศพัฒนาแล้วบางประเทศที่ชอบทำตัวเป็นพระเอกในการก่อความรุนแรงและเป็นผู้ร้ายในกรณีต้องการความสงบ เพราะพวกเขาชอบยื่นมือมามีส่วนร่วมอย่างรวดเร็ว ในกรณีสงครามหรือการต่อสู้ของประเทศโลกที่สาม จนตามมาด้วยความรุนแรงที่มากขึ้นอยู่เสมอ เช่นใน Black hawk down แต่ในขณะที่ประเทศเหล่านั้นต้องการความช่วยเหลือ เช่นใน Hotel Rwanda หรือ ในเรื่องนี้ พวกเขากลับชักมือกลับมาแล้วยืนยันว่า มันไม่ใช่เรื่องของเรา
Justin ไม่มีโอกาสได้รู้ความจริงในสิ่งที่ Tessa เก็บงำไว้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงาน หรือ เรื่องความสัมพันธ์ จนเมื่อเธอตายจากไปและทิ้งไว้แค่จดหมายหนึ่งฉบับ จากจดหมายฉบับนั้นมันเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เขาตัดสินใจสาวเส้นด้ายแห่งความจริง เพื่อค้นหาตัวจริงของภรรยา เพื่อแก้มลทินของเธอที่ถูกกล่าวหา เพื่อตามหาคำตอบในสิ่งที่ตัวเองสงสัย
เขาตามขุดคุ้ยจนพบความจริงที่ไม่ใช่แค่เรื่องทุจริตหรือเรื่องการเบียดเบียนสิทธิมนุษยชน แต่ยังเป็นความจริงของความรัก
...ความจริงที่ว่า ไม่ใช่เธอไม่เคยศรัทธาเขา ไม่ใช่เธอรักเขาน้อยลง ไม่ใช่เธอรักเขาน้อยกว่าเขารักเธอ แต่ความจริงแล้ว เขา คือ หลักการที่เธอยึดมั่นและศรัทธามาโดยตลอด และ ในทุกๆการกระทำที่ปิดบังไว้มันก็เพราะว่า เธอนั้นรักเขามากเหลือเกิน
ทั้งสองคนอาจดูเหมือนมีความแตกต่าง ยืนกันอยู่คนละขั้ว แท้จริงแล้ว คนทั้งสองนั้นยืนอยู่บนจุดร่วมเดียวกันมาตลอดเพียงแค่แสดงออกมาคนละอย่างเท่านั้นเอง
หาก Tessa คือ บ้านหลังเดียวที่ Justin มี ในท้ายที่สุด Justin ก็คงได้รู้ว่า เขาเองก็เป็นบ้านหลังเดียวที่ให้ความรู้สึกปลอดภัย ให้ความอบอุ่น ให้ความมั่นคงแก่ Tessa มาโดยตลอดเฉกเช่นเดียวกัน
...The Constant Gardener เป็นความพยายามผสมผสานสองโครงเรื่องหลัก ระหว่างเรื่องราวความรัก กับ เรื่องราวของจริยธรรมและสิทธิมนุษยชน ทั้งสองส่วนมีจุดเชื่อมโยงกันที่ การตายของ Tessa ซึ่งเป็นจุดสำคัญในการคลี่คลายความเคลือบแคลงของสองโครงเรื่องนี้ และพาคนดูไปพบกับความจริง บทหนังประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากในการนำสองโครงเรื่องนี้มารวมกันเป็นอันหนึ่งอันเดียว ทั้งสองส่วนเดินเรื่องควบคู่กันไปอย่างกลมกลืน ดึงอารมณ์คนดูคล้อยตามได้เป็นอย่างดี
...ผู้กำกับ Fernando Meirelles จาก City of God คุมหนังทั้งเรื่องให้ออกมาอย่างหนักแน่นเดินหน้าอย่างมีเป้าหมาย ผมชอบการกำกับภาพและถ่ายภาพในเรื่อง ที่มีความหลากหลาย มีทั้งสมจริง ทั้งดิบ ทั้งปรุงแต่ง ทั้งเรียบง่าย และ หวือหวา แอฟริกาในหนังถูกถ่ายทำออกมาสมจริงอย่างมากจนเหมือนหนังสารคดี ภาพที่ออกมาทำให้เราสัมผัสถึงความรู้สึกยากจนข้นแค้นและแฝงอันตรายในทุกตารางเมตร แม้เนื้อหาจะไม่ได้ซับซ้อนเกินไปนักแต่ด้วยความที่หนังมีเนื้อหาอยู่มาก และ หนังไม่ได้ใช้เวลาอธิบายทำความเข้าใจรายละเอียดเหล่านั้น มันก็อาจทำให้คนดูเกิดอาการงงและตามไม่ทันได้ จึงอาจต้องอาศัยสมาธิติดตามเรื่องพอสมควร
...Ralph Fiennes เป็นตัวละครหลักที่ปรากฏตัวในหนังมากที่สุด แววตาที่มีความเศร้าตลอดเวลาของเขา ช่วยเสริมบุคลิกตัวเองตามบทได้ดี ส่วน Rachel Weisz แสดงความเป็นนักต่อสู้เพื่อความถูกต้องประเภทสู้ไม่ถอย กัดไม่ปล่อย ได้อย่างมีพลัง ตัวบทที่เขียนไว้บวกกับการแสดงของเธอ ทำให้ บท Tessa มีความชัดเจนมาก เป็นคาแรกเตอร์ที่หนักแน่นตั้งแต่ต้นจนจบ ไม่แปลกใจว่า เธอปรากฏออกมาในหนังแค่ไม่กี่ฉาก แต่หนังกลับเหมือนมีวิญญาณของเธอล่องลอยมีอิทธิพลอยู่ตลอดเวลา
สิ่งที่ชอบ
1.บทภาพยนตร์ .... ดังที่กล่าวข้างต้น หนังดูเหมือนจะเป็น Drama-thriller ที่พูดถึงสังคม ความชั่วร้าย การฉ้อฉล สิทธิมนุษยชน แต่ การมีพล็อตความรักของคนสองคน ทำให้หนังมีความพิเศษออกไป หนังไม่ได้ประสบความสำเร็จแค่การผสมผสานสองส่วนนี้อย่างกลมกลืน แต่ในแต่ละส่วนของหนังนั้น ยังสร้างออกมาได้อย่างมีระดับและเข้าถึง นั่นคือ ส่วนดราม่าทริลเลอร์ เข้มข้น สมจริง ชวนติดตาม และ ส่วนโรแมนติก ก็ เศร้า กินใจ
2.การถ่ายภาพ ... ภาพที่ถ่ายออกมา บางครั้งก็ทำให้เวียนหัว แต่ภาพในเรื่องสามารถแสดงอารมณ์และเล่าเรื่องได้เป็นอย่างดี ความโดดเด่นของภาพไม่ทำให้มันเด่นจนหลุดกรอบของสารที่หนังต้องการเสนอ
สิ่งที่ไม่ชอบ
1.ความง่ายเล็กๆน้อยๆ ... ทั้งเรื่องเป็นการต่อสู้ที่เหมือนปิดประตูชนะของฝ่ายพระเอก แต่การเปิดอ่านหลักฐานที่ได้มาตอนท้าย ดูสรุปง่ายๆไปนิด ผิดกับที่ผ่านมาซึ่งดูหนักแน่นน่าเชื่อถือมาโดยตลอด เช่นเดียวกับ ความรักตอนต้นที่เกิดขึ้นมาอย่างผูกพันหนักแน่นดูจะรวดเร็วอย่างไม่ชวนให้เชื่อถือว่าทำให้คนสองคนจะรักกันมากขนาดนี้
สรุป ... นี่เป็นอาหารจานโปรดสำหรับคอหนังหนักๆ และ อาจเป็นของแสลงสำหรับคอหนังเบาสบาย หนังไม่ได้ดูยากแต่อย่างใด เพียงแต่เดินเรื่องไปข้างหน้าเร็วโดยไม่หยุดพัก เนื้อหาของหนังทั้งในส่วน Political-drama-thriller ชวนติดตามลุ้นระทึก ในส่วน Romantic ก็ออกมาเป็นความรักแบบผู้ใหญ่และกินใจคนดู ในบรรดาหนังออสการ์ที่ได้ดู The Constant gardener กับ Transamerica เป็นสองเรื่องที่ผมสนุกขณะดูมากที่สุด ไม่ควรพลาดแต่อย่างใด
บทวิจารณ์โดย "ผมอยู่ข้างหลังคุณ"
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?i ... &gblog=162
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...
โพสต์ที่ 134
ยังอยู่..'5นพ.'รับรางวัลเชิดชูเกียรติSVN กรณี'ซีแอล'ผู้ป่วยเข้าถึงยา
25 มกราคม พ.ศ. 2551 19:31:00
"รมว.สธ."พร้อมทีมงานซีแอลรับรางวัล SVN Award ประจำปี 2550 เพื่อยกย่องเชิดชูในฐานะ ทำประโยชน์ให้ประเทศชาติ ในการประกาศใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตร(ซีแอล)กับยาโรคเอดส์ หัวใจ มะเร็ง ทำให้ยาราคาถูกลง และผู้ป่วยเข้าถึงยา
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : นพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า เมื่อวัที่24มกราคม 2551 เครือข่ายธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เอเชีย (ประเทศไทย) (Social Venture Network Asia (Thailand)) หรือ SVN ได้มอบรางวัล SVN Award ประเภทยกย่องเชิดชูเป็นกรณีพิเศษ ประจำปี 2550 สำหรับ 5 บุคคลสำคัญในกรณีซีแอล (CL) ได้แก่ นพ.มงคล ณ สงขลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวง- สาธารณสุข นพ.วิชัย โชควิวัฒน ที่ปรึกษา รมว.สธ. นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านควบคุมโรค นพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา และนพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ อดีต-เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ในฐานะเป็นผู้ทำประโยชน์ให้ประเทศชาติในการประกาศใช้สิทธิโดยรัฐต่อยาที่มีสิทธิบัตรยา (Compulsory License) กับยาโรคเอดส์ โรคหัวใจ และโรคมะเร็ง
นับเป็นคุณูปการสำคัญต่อวงการสาธารณสุขไทยที่ทำให้ประชาชนไทยจำนวนมหาศาลสามารถเข้าถึงยาและเวชภัณฑ์-ไทย ทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงยาดังกล่าวได้เพิ่มขึ้นเป็นพันเปอร์เซ็นต์ เช่น ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงยาต้านไวรัสเอชไอวี และยาละลายลิ่มเลือดหัวใจ จากเดิมจำนวนปีละ 37,000 คน เป็นปีละ 406,000 คน เนื่องจากราคายาถูกลง จึงสามารถช่วยชีวิตและยืดอายุผู้ป่วยจากโรคร้ายทั้ง 3 โรคนี้ได้จำนวนมาก ทั้งนี้ ประธานผู้มอบรางวัล ได้แก่ นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี
เลขาธิการ ฯ กล่าวต่อไปว่า องค์กร SVN ให้ความเห็นเกี่ยวกับการประกาศซีแอลกับยาดังกล่าวว่า เป็นความกล้าหาญทางจริยธรรม เป็นการประกาศเอกราชทางยาและเวชภัณฑ์ที่ท้าทายธุรกิจยาข้ามชาติครั้งสำคัญ และเป็นแบบอย่างให้แก่ชาติต่าง ๆ ในโลก เช่น บราซิล และประเทศอื่น ๆในการเจรจาต่อรองราคายาที่จำเป็นให้มีราคาลดลง นับว่ามีคุณค่ายิ่งต่อวงการสาธารณสุขไทย บุคคลทั้ง 5 ท่านเป็นผู้เหมาะสมและมีบทบาทสำคัญ ที่สมควรจะได้รับรางวัล SVN Award ประเภทยกย่องเชิดชูเป็นกรณีพิเศษอย่างยิ่ง
เครือข่ายธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เอเชีย (ประเทศไทย) (Social Venture Network Asia (Thailand))หรือ SVN เป็นองค์กรที่ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2541 จากการรวมตัวกันของนักธุรกิจที่ให้ความสนใจและให้ความสำคัญต่อการดำเนินกิจการอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) โดยจัดให้มีการมอบรางวัล SVN Award และประกาศเกียรติคุณแก่องค์กรภาคธุรกิจ บุคคล องค์กรภาค-สังคม และองค์กรเยาวชน ที่มีผลงานดีเด่นในการดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยมอบรางวัลต่อเนื่องมาทุกปี นับแต่ปี 2542
http://www.bangkokbiznews.com/2008/01/2 ... sid=223967
- tok
- Verified User
- โพสต์: 833
- ผู้ติดตาม: 0
อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...
โพสต์ที่ 135
หวังว่ารัฐบาลใหม่ จะเห็นความสำคัญของผู้ป่วยมากกว่าบริษัทยา แล้วไม่ยกเลิกการทำซีแอล
ผมดูเรื่อง The Constant Gardener แล้วร้องให้ในตอนจบของหนัง
จากหนังหลายๆเรื่องที่ดูและหนังสือที่เขีึยนเกี่ยวกับแอฟริกา ทำให้รู้สึกเห็นใจคนในแอฟริกาขึ้นมาก
ผมดูเรื่อง The Constant Gardener แล้วร้องให้ในตอนจบของหนัง
จากหนังหลายๆเรื่องที่ดูและหนังสือที่เขีึยนเกี่ยวกับแอฟริกา ทำให้รู้สึกเห็นใจคนในแอฟริกาขึ้นมาก
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...
โพสต์ที่ 136
เมื่อเร็วๆนี้ ผมอ่านเจอ มีการกล่าวหานพ.มงคลและพวกที่ประกาศซีแอลยา
ว่ามีวาระแอบแฝง มีผลประโยชน์ทับซ้อน เอื้อให้บริษัทยาจากอินเดีย
อย่างไรก็ตาม ยังไม่พบหลักฐานที่น่าเชื่อถือนอกจากการกล่าวหา
ถ้าหากว่าพบ ถ้าหากว่ามีเรื่องเช่นนี้เกิดขึ้นจริง
ไม่ต้องห่วงคับ ผมยังไม่เลิก..ติดตาม..
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ว่ามีวาระแอบแฝง มีผลประโยชน์ทับซ้อน เอื้อให้บริษัทยาจากอินเดีย
อย่างไรก็ตาม ยังไม่พบหลักฐานที่น่าเชื่อถือนอกจากการกล่าวหา
ถ้าหากว่าพบ ถ้าหากว่ามีเรื่องเช่นนี้เกิดขึ้นจริง
ไม่ต้องห่วงคับ ผมยังไม่เลิก..ติดตาม..
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
รางวัลแห่งการทำหน้าที่ เครือข่ายธุรกิจฯยกย่อง "หมอซีแอล"
เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2550 เครือข่ายธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเอเชีย (social venture network) หรือ SVN ได้มอบรางวัลประเภท "ยกย่องเชิดชูเป็นกรณีพิเศษ" ประจำปี 2550 ให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ 5 คน ในฐานะผู้มีส่วนประกาศใช้สิทธิโดยรัฐต่อยาที่มีสิทธิบัตร (compulsory licensing) หรือซีแอล
โดยบุคคลทั้ง 5 ประกอบด้วย นายแพทย์มงคล ณ สงขลา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน ผู้ทรงคุณวุฒิ กระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์ สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ ผู้ทรงคุณวุฒิ กระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข และ นายแพทย์สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ อดีตเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
ทั้งนี้ ระหว่างปี 2549-ต้นปี 2550 กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศใช้สิทธิโดยรัฐต่อยาที่มี สิทธิบัตร 3 รายการ ประกอบด้วย ยาเอฟาวิเรนซ์ (Efavirenz) และยาโลพินาเวียร์+ริโทนาเวียร์ (Lopinavir+Ritonavir) ซึ่งเป็นยาต้านไวรัสสำหรับผู้ติดเชื้อเอดส์/เอชไอวี และยา โคลพิโดเกรล (Clopidogrel) สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ ซึ่งส่งผลให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงยาต้านไวรัสเอชไอวี และยาละลายลิ่มเลือดหัวใจ จากเดิมปีละ 37,000 คน เพิ่มขึ้นเป็นปีละ 406,000 คน
เป็นการยืดอายุผู้ป่วยด้วยผู้ติดเชื้อเอดส์/ เอชไอวีและโรคหัวใจจำนวนมหาศาล นอกจากนั้น ยังลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลได้ถึง ปีละกว่า 1,200 ล้านบาท
ในคำประกาศรางวัลยกย่องเชิดชูเป็นกรณีพิเศษ ระบุว่า "นี่คือความกล้าหาญทางจริยธรรม เป็นการประกาศเอกราชทางยาและเวชภัณฑ์ ที่ท้าทายธุรกิจยาข้ามชาติครั้งสำคัญ เป็นแบบอย่างให้แก่ชาติต่างๆ เช่น บราซิล และประเทศอื่นๆ นับเป็นหมุดหมายที่มีคุณค่ายิ่งต่อวงการสาธารณสุขไทย"
นายแพทย์มงคล ณ สงขลา
อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
"สิ่งที่ทำให้เราสามารถทำได้เกิดจาก 4 ปัจจัยประกอบกัน ได้แก่ 1)องค์ความรู้ที่พร้อม 2)ทีมงาน 3)คอนเน็กชั่น และ 4)ต้องตัดสินใจ เราได้สะสมองค์ความรู้มาอย่างยาวนาน มีทีมงานที่ดี และมีเครือข่ายทั้ง 3 ประการประกอบกัน จึงทำให้เกิดการตัดสินใจที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ยากไร้
"ในช่วงที่เกิดการต่อต้านมากมาย สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับจัดการกับอุปสรรคเหล่านั้น คือ ต้องมั่นใจในสิ่งที่ทำ บอกได้เลยว่าการประชาสัมพันธ์ทำให้ทุกคนเข้าใจ แม้ในระยะเวลาอันสั้นๆ เราทำไม่ได้ การประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ในขณะนั้นก็ทำไม่ได้ การพูดเรื่องนี้ก่อนเวลาก็ไม่ได้ แต่เมื่อเวลาเหมาะสมประกอบกับการตัดสินใจทุกอย่างก็ลงตัว
"ผมไม่ได้มองว่าการประกาศซีแอลเป็นผลงานชิ้นโบแดงที่ประชาชนจะต้องจำผมในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข แต่การประกาศซีแอล คือเรื่องปกติ เหมือนงานบริการปกติ"
นายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน
ผู้ทรงคุณวุฒิ กระทรวงสาธารณสุข
"เป็นเรื่องน่ายินดีสำหรับรางวัลนี้ เนื่องจากรางวัล SVN เกี่ยวข้องกับนักธุรกิจเพื่อสังคม ที่ผ่านมาเราทำงานด้านสุขภาพ มนุษยธรรม ในฐานะผู้ทำงานด้านสุขภาพ แต่เราก็สนใจ เรื่องเศรษฐกิจและสังคมด้วย เมื่อครั้งที่ถูกต่อต้านว่า การประกาศซีแอลจะเป็นการซ้ำเติมเศรษฐกิจให้ยิ่งแย่ลงไปนั้น ในวันนี้ได้พิสูจน์แล้วว่าไม่เกี่ยวข้องกัน
"ผมติดตามเรื่องจีเอสพี หรือ generalized system of preferences ซึ่งเป็นระบบการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป ที่ประเทศพัฒนาแล้วให้แก่สินค้าที่มีแหล่งกำเนิดในประเทศกำลังพัฒนาและการส่งออกมานาน เริ่มต่อสู้ในการแก้ไขพระราชบัญญัติสิทธิบัตรมาตั้งแต่ปี 2528 จนถึงวันนี้ก็ 20 กว่าปีแล้ว เราไม่ได้สนใจแต่สังคมและสุขภาพเท่านั้น ด้านเศรษฐกิจเราก็สนใจ และเมื่อ SVN มอบรางวัลให้คณะ เรายินดี มั่นใจ สบายใจยิ่งขึ้นว่าที่ทำมาในสายตาของธุรกิจเพื่อสังคม เขาสนับสนุนยกย่องในสิ่งที่เราทำ
"โดยเฉพาะประธานผู้มอบรางวัล นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นผู้หนึ่งที่มีส่วนในการแก้กฎหมายมาตั้งแต่ปี 2535 เรื่องพระราชบัญญัติสิทธิบัตร อีกทั้งในฐานะอดีตเอกอัครราชทูตประจำกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ท่านยังเป็นผู้ที่เข้าใจเรื่องการค้า ในมุมมองของการค้าระหว่างประเทศ ที่สนับสนุนสิ่งที่ดีต่อประเทศ"
นายแพทย์สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ
ผู้ทรงคุณวุฒิ กระทรวงสาธารณสุข
"การประกาศซีแอลเราต้องทำกับยาที่จำเป็นและมีผลต่อผู้คนในวงกว้าง ดังนั้นถ้าไม่จำเป็น อย่าทำซีแอล เพราะกระบวนการทำซีแอลไม่ได้ทำได้ง่ายๆ ต้องใช้ทั้งประสบการณ์ ความรู้ และไม่ใช่แค่การประกาศแล้วจบ แต่ต้องคิดถึง วิธีการหายาสามัญด้วยว่าจะหามาจากไหน แล้วเมื่อนำยาสามัญมาขึ้นทะเบียนก็ต้องใช้เวลานาน ยกตัวอย่างยาโคลพิโดเกรล ประกาศซีแอลเดือน ม.ค. กว่าจะได้ใช้ยาก็เดือน ต.ค. ยาโลพินาเวียร์+ริโทนาเวียร์ ประกาศซีแอลเดือน ม.ค. ได้ใช้ยาเดือน พ.ย. เป็นต้น
"ที่เราประกาศซีแอลยา 3-7 รายการนั้น เพราะมันไม่มีทางเลือก คนทั่วไปไม่สามารถจัดหายาตัวนั้นๆ มารักษาโรค ถ้าบริษัทยาไม่ยอมลดราคาให้ หรือแม้แต่จะเจรจาต่อรองลดราคายาก็ไม่ให้ เพราะบริษัทผูกขาดตลาดอยู่แล้ว แต่การประกาศซีแอล บางบริษัทเจ้าของสิทธิบัตรยาก็ปรับท่าทีใหม่ กรณีบริษัทโนวาตีสที่ประกาศบริจาคยาอิมาทินิบให้แก่ผู้ป่วยบัตรทองที่เป็น โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวและโรคมะเร็งทางเดินอาหารฟรี โดยกระทรวงสาธารณสุขไม่ต้องทำ ซีแอล เป็นตัวอย่างที่ดีที่แสดงให้เห็นว่าบริษัทเจ้าของสิทธิบัตรมีความเข้าใจว่า ควรขายยาให้คนรวยและแจกยาให้คนจน"
นายแพทย์ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข
"ในหลักการเรื่องราคายา โดยเฉพาะยาที่จำเป็นและยาใหม่ซึ่งมีราคาแพง มักถูกบิดเบือนโดยกลไกตลาด ในแง่การวิจัยและพัฒนาใช้เงินแค่ 100 ล้านเหรียญสหรัฐต่อ 1 ตัวยาใหม่ แต่บริษัทยามักให้ข่าวว่า ใช้งบฯ 800 ล้านเหรียญต่อยาใหม่ตัวหนึ่ง ส่วนต่างตรงนี้ บริษัทยานำไปทำการตลาด หรือให้ล็อบบี้ยิสต์ โดยเฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกา ส่งผลให้ราคายาแพงเกินความ สมเหตุสมผล โดยส่วนหนึ่งของราคายาคือค่าตอบแทนมูลค่าสูงแก่ซีอีโอบริษัทยา ทำให้ประเทศต่างๆ ที่ผลิตยาเองไม่ได้ต้องซื้อยาราคาแพง
"ก่อนการประกาศซีแอล เราได้เจรจาต่อรองราคายาเอดส์มานานกว่า 2 ปี แต่บริษัทยาไม่ยอมลดราคาแม้แต่สลึงเดียว คุณหมอมงคลเองก็ได้เชิญบริษัทยามาต่อรอง แต่เขาก็ไม่ยอม จนในที่สุดเราต้องประกาศซีแอลยา 3 รายการ ทำให้ราคายาลดลง เช่น จากเดิมราคา 100 บาท ตอนนี้ก็เหลือไม่ถึง 10 บาท ตรงนี้ถือว่าเป็นการลดการเอาเปรียบจากบริษัทยาข้ามชาติ
"การผลิตยาในอินเดียเป็นตัวอย่างที่น่าสนใจ เนื่องจากอินเดียเพิ่งเข้าเป็นสมาชิกองค์การ การค้าโลก (WTO) เพียง 2 ปี แต่เขาสามารถผลิตยาในราคาถูกกว่ายาที่มีสิทธิบัตร ขณะที่ประเทศไทยเป็นสมาชิก WTO มากว่า 10 ปี แต่ไม่สามารถทำอะไรได้เลย ดังนั้นการประกาศ ซีแอล จึงทำให้ผู้ป่วยบ้านเราได้มีโอกาสเข้าถึง ยาช่วยยืดอายุ ลดการตายของผู้ป่วย คนจนที่ป่วย ไม่ต้องกู้หนี้ยืมสิน ทำให้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ลดค่าใช้จ่ายภาพรวมของประเทศ และ สอดคล้องกับพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติกับรัฐธรรมนูญของไทย ที่ระบุให้จัดหาสาธารณสุขอย่างเท่าเทียม"
ทั้งนี้ รางวัลเอสวีเอ็นจากเครือข่ายธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเอเชีย (SVN) ได้คัดเลือกมอบรางวัลให้กับองค์กร ภาคธุรกิจ ภาคสังคม และกลุ่มเยาวชน ที่ดำเนินการอันเป็นประโยชน์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ด้วยจิตวิญญาณและความตั้งใจอย่างแท้จริง ซึ่งการมอบรางวัลแก่แพทย์ผู้มีส่วนร่วมในการประกาศใช้ซีแอลเป็นรางวัลแห่งแรงใจสำหรับข้าราชการผู้ทำหน้าที่ของตนเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนอีกทางหนึ่งด้วย
หน้า 40 ประชาชาติธุรกิจ
วันที่ 04 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 3972
http://matichon.co.th/prachachat/pracha ... ionid=0223
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...
โพสต์ที่ 137
[/list]1 ปีกับประสบการณ์มาตรการบังคับใช้สิทธิ
วงการสาธารณสุขและอุตสาหกรรมยาทั่วโลกได้ยินชื่อประเทศไทยดังขึ้นอีกครั้ง ในช่วงปี 2550 เมื่อประเทศเล็กๆ แห่งหนึ่งในเอเชียอาคเนย์ประกาศใช้ ข้อยืดหยุ่นทางการค้าที่ระบุไว้ในข้อตกลงทางการค้าระหว่างประเทศผ่านองค์การการค้าโลก (WTO) ที่เรียกกันจนติดปากว่า "ซีแอล" หรือ compulsory licensing เพื่อเปิดทางให้ประเทศผู้บังคับใช้สิทธิสามารถจัดหายาสามัญ ซึ่งก่อนหน้านั้นถูกผูกขาดด้วยบริษัทยาเจ้าของสิทธิบัตร สามารถจัดหายาราคาถูกและเพิ่มจำนวนผู้เข้าถึงยาได้มากขึ้นกว่าเดิม
แต่ในอีกด้านหนึ่งการประกาศซีแอล ของไทย ยังต้องทบทวนการปฏิบัติ เนื่องจากเรื่องนี้ไม่ได้มีผลดีกับผู้ป่วยและระบบสาธารณสุขเท่านั้น หากมีอีกด้านของเหรียญ ที่การประกาศซีแอลได้สั่นสะเทือนต่อการค้าระหว่างประเทศ และนโยบายด้านเศรษฐกิจของไทยในเรื่องการให้ความคุ้มครองในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา
นับตั้งแต่ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับแรกเมื่อวันที่ 29 พ.ย.2549 ประกาศบังคับใช้สิทธิในตัวยาเอฟฟาไวเรนซ์ หรือยาต้านไวรัสเอดส์/ เอชไอวี และตามมาด้วยยาอีก 2 รายการ ในเดือนมกราคม 2550 ผลที่เกิดมาคือประเทศไทยถูกตั้งคำถามจากบริษัทยาทั้งจากสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปว่า การกระทำของรัฐบาลไทยนั้น เป็นวิธีการที่ถูกต้อง โปร่งใส ชอบธรรมและเคารพในทรัพย์สินทางปัญญาหรือไม่
เป็นอีกครั้งที่สังคมไทยต้องขบคิดในประเด็นที่ท้าทายและการตัดสินใจเลือกระหว่างการช่วยเหลือผู้ป่วยให้เข้าถึงยาให้มากขึ้น กับการรักษาสถานะคู่ค้าที่ดูแล คุ้มครอง ปกป้องผลประโยชน์ของผู้สร้างสรรค์นวัตกรรม และการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา
ในทางการค้าระหว่างประเทศ การประกาศเลื่อนสถานะคู่ค้าของประเทศไทยตามรายงาน 301 พิเศษ ขึ้นเป็นประเทศถูกจับตามองเป็นพิเศษ (PWL) จากเดิมเป็นประเทศจับตามอง (WL) เมื่อ 1 พ.ค.2550 โดยอ้างถึงการหย่อนยานในการป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์และสิทธิบัตรในประเทศไทย อีกทั้งยังให้เหตุผลถึงความกังวลต่อการประกาศใช้ CL ของรัฐบาลไทย เป็นเหตุการณ์ สั่นคลอนความมั่นใจจากการดำเนินนโยบายด้านสาธารณสุขที่กระทบต่อระบบเศรษฐกิจ เมื่อสหรัฐประกาศตัดสิทธิประโยชน์ทางภาษี (จีเอสพี) ในสินค้า 3 รายการ เครื่องประดับอัญมณีทำจากทอง เม็ดพลาสติกโพลีเอทิลีนเทเรฟทาเลต และทีวีสีจอแบน
พร้อมกับการเปรียบเทียบมูลค่างบประมาณสาธารณสุขที่ลดลงจากการบังคับใช้สิทธิ 1,200 ล้านบาท กับมูลค่าความสูญเสียจากการส่งออก 3,500 ล้านบาท หรือโยงกับเรื่องการเพิ่มงบประมาณด้านการทหารอีกกว่าเท่าตัว
ขณะในสถานการณ์ระดับนานาชาติ การต่อสู้เพื่อให้คนจนได้เข้าถึงยาให้มากขึ้น ด้วยการประกาศใช้สิทธิโดยรัฐต่อยาที่มีสิทธิบัตร ทำให้เมื่อราวต้นเดือน เม.ย.2550 บริษัทแอ็บบอต แลบอราทอรี่ จากสหรัฐอเมริกา เจ้าของสิทธิบัตรยาต้านไวรัสเอชไอวี/เอดส์ สูตรผสมโลพินาเวียร์และริโทนาเวียร์ หรือในชื่อการค้าว่า "คาเรตร้า" ออกประกาศจากสำนักงานใหญ่ในชิคาโก ระบุให้มีการลดราคายาคาเรตร้าจากเดิมที่ขายอยู่ 5,000-6,000 ดอลลาร์ต่อคนต่อปี มาเป็น 1,000 ดอลลาร์ต่อคนต่อปี
อีกทั้งก่อนหน้านั้นเมื่อ 15 ก.พ.2550 บริษัทเมอร์ค แอนด์ โก อิงก์ ซึ่งเป็นบริษัทเจ้าของสิทธิบัตรยาเอฟฟาไวเรนซ์ ซึ่งเป็นรายแรกที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศใช้ซีแอล ก็ประกาศปรับลดราคายาเอฟฟาไวเรนซ์หรือสโตคริน ขนาด 600 มิลลิกรัม จาก 0.76 ดอลลาร์ต่อวัน หรือประมาณ 27 บาทต่อวัน มาเป็น 0.65 ดอลลาร์ต่อวัน หรือประมาณ 23 บาทต่อวัน (ตามอัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์ = 35.9 บาทในขณะนั้น)
รวมถึงเมื่อวันที่ 4 พ.ค.2550 รัฐบาลบราซิลประกาศเดินหน้าใช้ซีแอลกับยาเอฟฟาไวเรนซ์ โดยอ้างอิงราคายาตามที่บริษัทเมอร์คฯเสนอให้กับประเทศไทย ก็เกิดขึ้นจากการมีบรรทัดฐานในการดำเนินการของประเทศไทยเป็นกรณีศึกษา และปรากฏออกมาในรายงานข่าว โดยรัฐบาลบราซิลเรียกร้องให้บริษัทเมอร์คฯขายยาเอฟฟาเรนซ์ขนาด 600 มิลลิกรัม ในราคาเดียวกับที่ขายให้ไทย คือ 0.65 ดอลลาร์ต่อวัน ขณะที่ก่อนหน้านี้บราซิลต้องซื้อยาตัวนี้จากบริษัทเจ้าของสิทธิบัตรในราคา 1.59 ดอลลาร์ต่อวัน
การขยายการใช้ซีแอลของประเทศกำลังพัฒนาต่างๆ ได้สร้างความหวาดหวั่นต่อผลประโยชน์จากการวิจัยและพัฒนาตัวยาของบริษัทเจ้าของสิทธิบัตรในประเทศพัฒนาแล้วหลายแห่ง มีล็อบบี้ยิสต์หลายคนเดินทางเข้าออกประเทศไทย ใช้ทรัพยากรและบุคลากรทั้งภาครัฐและเอกชนจากประเทศเจ้าของสิทธิ เพื่อยับยั้งการประกาศซีแอลในยาตัวอื่นๆ ในประเทศไทยตลอดการบริหารงานของ นายแพทย์มงคล ณ สงขลา เจ้ากระทรวงสาธารณสุข
แต่ตลอด 1 ปีที่ผ่านมา การทำซีแอลในประเทศไทยนับเป็นประสบการณ์ที่ยิ่งใหญ่ที่ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ สำหรับประเทศกำลังพัฒนาในที่ต่างๆ ที่ต้องการทดลองใช้ข้อ ยืดหยุ่นทางการค้า เพื่อประโยชน์สำหรับคนป่วย คนยากจน และเป็นบทเรียนสำหรับ ผู้บริหารประเทศชุดใหม่สำหรับการรักษาสมดุลระหว่างการค้ากับสุขภาพ
หน้า 40
ประชาชาติธุรกิจ
วันที่ 04 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 3972 (3172)
- tok
- Verified User
- โพสต์: 833
- ผู้ติดตาม: 0
อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...
โพสต์ที่ 138
ท่านรมต. เริ่มทำงานแล้วครับ :ep:
นักวิชาการ-เอ็นจีโอรุมจวก'ไชยา สะสมทรัพย์'สั่งทบทวนซีแอลยา
7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 18:14:00
นายไชยา สะสมทรัพย์
อดีตคณะทำงานซีแอลยา ยันทำถูกขั้นตอนกฎหมาย 'นักวิชาการ-เอ็นจีโอ' รุมอัด รมว.สาธารณสุขคนใหม่ ชี้สั่งทบทวนใหม่สะท้อนเห็นแก่ประโยชน์กลุ่มธุรกิจเป็นหลัก ขู่เคลื่อนไหวแน่
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : นพ.วิชัย โชควิวัฒน์ อดีตประธานคณะกรรมการการพิจารณาบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยา กล่าวว่า ตนขอยืนยันความถูกต้องในการ ดำเนินการเจรจากับบริษัทยาเจ้าของสิทธิบัตรยาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ได้ทำตามกฎหมายภายในประเทศและกฎหมายระหว่าง ประเทศทุกประการ โดยเฉพาะพระราชบัญญัติสิทธิบัตร มาตรา 51 ซึ่งให้อำนาจรัฐบาลไทย รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคือกระทรวงสาธารณสุขในการประกาศบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยา (Compulsory Licensing : CL) อีกทั้งการดำเนินงานดังกล่าวยังมีนักกฎหมายผู้เชี่ยวชาญเข้ามาร่วมพิจารณาด้วย เพราะฉะนั้นในแง่ความถูกต้องทางกฎหมายได้มีการพิจารณาอย่างรอบครอบ
เราไม่จำเป็นต้องไปเจรจาแล้วก็ให้เจ้าของสิทธิบัตรให้ความเห็นชอบ และขอยืนยันว่าถูกต้องตามมาตรา 51 ทุกประการ เพราะฉะนั้นที่ผ่านมา มีการเจรจาต่อรอง ก็เพื่อว่าถ้าต้องใช้มาตรา 51 ต้องมีเหตุผลในการใช้ที่สมควร, นพ.วิชัยกล่าว
นพ.วิชัยกล่าวต่อไปว่า สำหรับยามะเร็ง 4 ตัวหลังซึ่ง ทาง สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้มีการตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมา เพื่อพิจารณาเหตุผลความจำเป็น ทั้งนี้ได้เสนอมาตั้งแต่เดือนสิงหาคมในปีที่ผ่านมา รวมทั้งข้อจำนวนผู้ป่วยมะเร็งและการใช้ยามะเร็งในผู้ป่วย แต่ละปี
เราไม่มีทางทราบว่าใครจะเป็นมะเร็ง เราไม่มีทางทราบ แต่ประชากรที่อยู่ในครอบข่ายนี้ประมาณ 48 ล้านคนจะได้ประโยชน์ เพราะฉะนั้น ซี แอลที่ได้ทำเมื่อต้นปี และเจรจาต่อเนื่อง จึงได้ข้อยุติว่า สำหรับยาตัวนี้ไม่จำเป็นต้องสั่งเข้ามาในตอนนี้ เราจึงประกาศอย่างมีเงื่อนไข เพราะ ฉะนั้นจึงมีการแก้ไขประกาศฉบับนี้ ถ้าไม่จำเป็นเราก็จะไม่ใช้ ถ้าเขายังคงสิทธิให้ประชาชนคนไทยตามที่แจ้งมาในหนังสือลงวันที่ 18 ม.ค.และรับรองโดยผู้ใหญ่ของบริษัทจากต่างประเทศในภายหลัง เราก็ไม่จำเป็นต้องทำซีแอลยาตัวนี้
ผู้สื่อข่าวถามว่า รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขคนใหม่มีแนวคิดที่จะให้มีการทบทวนการทำซีแอล น.พ.วิชัย กล่าวย้ำว่า ที่ผ่านมาดำเนินการอย่างถูกต้อง และเห็นว่าทางรัฐมนตรีใหม่ต้องรับฟังทุกฝ่าย เพราะเพิ่งเข้ามาใหม่และได้รับการร้องเรียนจากฝั่งของบริษัทผู้ผลิตและเจ้าของสิทธิบัตรซึ่งต้องรับฟังการร้องเรียนจากฝ่ายที่เสียประโยชน์ ทั้งนี้จะตัดสินอย่างไรก็ต้องติดตาม
น.พ.วิชัย กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมาทางกระทรวงสาธารณสุขได้ทำหนังสือขอให้ตัวแทนจากองค์กรระหว่างประเทศ อาทิ องค์การอนามัยโลก ธนาคารโลก องค์การการค้าระหว่างประเทศ เข้ามาตรวจสอบขั้นตอนการประกาศซีแอลของประเทศไทยก็เพื่อแสดงให้เห็นว่าขั้นตอนการประกาศซีแอลของประเทศไทยดำเนินไปด้วยความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้
เราได้ยืนยันกับเขาว่า สิ่งที่ถามเรา เราตอบได้ทุกคำถามและปรากฎในกฎหมายของเรา โดยเฉพาะมาตรา 51 ซึ่งสหรัฐ ฯ ก็ยังมีกฎหมายนี้ เหมือนกันและมีการบังคับใช้สิทธิเป็นประจำ เขาก็เห็นด้วยกันเรา น.พ.วิชัยกล่าว
ด้าน ดร.จิราภรณ์ ลิมปนานนท์ ประธานมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า การที่รัฐมนตรีออกมาพูดการประกาศซีแอลจะทำให้ประเทศอื่นทำตาม หรือ ที่บอกว่า บริษัทยาต้องใช้งบวิจัยหลายหมื่นล้านบาทจึงจำเป็นต้องให้เอกสิทธิ์สะท้อนให้เห็นว่ารัฐมนตรีคนใหม่ยังไม่เข้าใจเรื่องซีแอลยังไม่ดีพอ และการออกมาพูดมาจะมีการทบทวนถือว่าเป็นสัญญาณที่ไม่ดี และทำให้เห็นว่ารัฐมนตรีคนใหม่เห็นผลประโยชน์ของบริษัทยามากกว่า ผลประโยชน์ของประชาชนในการเข้าถึงยา แทนที่จะมุ่งไปพูดคุยกับผู้ป่วยก่อน ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง แต่รัฐมนตรีคนใหม่กลับไปคุยกับบริษัทยาและกระทรวงพาณิชย์ก่อน ถือเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง
การสั่งทบทวนสะท้อนให้เห็นว่า รมว.สาธารณสุขคนใหม่เห็นผลประโยชน์ของกลุ่มธุรกิจเป็นหลัก ซึ่งคนที่จะมาคุมกระทรวงสาธารณสุข จะต้องเห็นประโยชน์ของการเข้าถึงยาของคน ไทย หากมีการทบทวน จนถึงขั้นยกเลิกจะส่งผลกระทบต่อประเทศไทยคือ 1.จะทำให้การเข้าถึงยาของคนไทยมีปัญหา 2. จะทำให้การต่อ รองกับบริษัทยามีปัญหา เพราะไม่มีเครื่องมือในการต่อรอง เนื่องจากบริษัทยารู้ว่ายังไงไทยก็ไม่ทำซีแอล ฉะนั้นจะไม่ยอมลดราคายาแน่นอน 3.หากไม่มีซีแอล จะทำให้งบประมาณในการใช้จ่ายในเรื่องยาของประชาชนสูงขึ้น ซึ่งอยากฝากไปถึงรัฐมนตรีว่าก่อนที่จะตัดสินอะไรต้อง ฟังความรอบด้านก่อน ถ้าหากมีการยกเลืกซีแอล ภาคประชาชนจะเคลื่อนไหวอย่างแน่นอน
ข้อมูลที่รัฐมนตรีได้รับทั้งจากบริษัทยาและกระทรวงพาณิชย์ที่ระบุว่า ไม่ได้เชิญบริษัทยาเข้ามาต่อรอง ถือเป็นการโกหกซึ่งใคร ๆ ก็รู้ นักข่าวก็รู้คนที่เป็นรัฐมนตรีไม่น่าจะมาทำอะไรบ้องตื้ออย่างนี้
ขณะที่ นายนิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ กล่าวไม่เห็นกรณีที่ รมว.สาธารณสุขคนใหม่ได้สั่งให้มีการทบทวนการประกาศซีแอลในยามะเร็ง 4 รายการที่ได้มีการลงนามไปแล้ว แต่ควรที่จะเดินหน้าต่อไป เพราะกระบวนการทำซีแอลที่ผ่านมาได้ทำอย่างถูกต้องและรอบครอบ มาจากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ซึ่งภายหลังการประกาศซีแอลในยาก่อนหน้านี้ได้ทำให้คนเข้าถึงยาได้จากราคายาที่ถูกลง ทั้งยังช่วยรัฐบาลในการประหยัดงบประมาณในการช่วยชีวิตคน
http://www.bangkokbiznews.com/2008/02/0 ... sid=227763
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...
โพสต์ที่ 139
ดูข่าวภาคค่ำ เนื้อหาเดียวกันคับ
คือ ทบทวนการประกาศซีแอลยา
สาเหตุคือ เจ้าของสิทธิบัตร หรือบริษัทยาข้ามชาติเรียกร้องมา..
ข่าวล่าสุดคือประมาณนี้แหละคับ..
คือ ทบทวนการประกาศซีแอลยา
สาเหตุคือ เจ้าของสิทธิบัตร หรือบริษัทยาข้ามชาติเรียกร้องมา..
ข่าวล่าสุดคือประมาณนี้แหละคับ..
- tok
- Verified User
- โพสต์: 833
- ผู้ติดตาม: 0
อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...
โพสต์ที่ 141
ผมรวยแล้ว ไม่โกงหลอก
'รมว.สธ.'เดินหน้ายกเลิกซีแอลยามะเร็ง โวรวยบริษัทล็อบบี้ไม่ได้
8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 18:47:00
ไชยา สะสมทรัพย์
"ไชยา"แจงทบทวนซีแอลยาผู้ป่วยมะเร็ง ระบุกรณีเป็นห่วงอาจมีการล็อบบี้ให้ยกเลิกซีแอลนั้น ขอบอกว่า"บริษัทยายังไม่รวยเท่าผม ไปดูบ้านผมซิ บริษัทยายังไม่ถึงขนหน้าแข้งของผมเลย"
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : นายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้เข้าเจรจากับตัวแทนเครือข่ายผู้ป่วยเรื้อรัง ซึ่งนายไชยาได้ชี้แจงว่า สาเหตุที่ต้องทำการทบทวนการประกาศซีแอลยามะเร็ง 4 รายการ เนื่องจากภายหลังจากที่เข้ารับตำแหน่ง ตนได้รับหนังสือจากนพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข โดยเป็นหนังสือลับจากกระทรวงพาณิชย์ เลขที่ พณ 07003/FTA/5 ลงวันที่ 30 มกราคม 2551 เรื่องการจัดสถานะของไทยตามกฎหมายการค้าสหรัฐ 301 พิเศษ และการประกาศบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยา หรือ"ซีแอล"ลงนามโดย นายเกริกไกร จิระแพทย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ โดยรองปลัดกระทรวงพาณิชย์ เป็นผู้ส่งถึงปลัดกระทรวงสาธารณสุข
มีเนื้อหาระบุว่า ตามที่นายกรัฐมนตรีบัญชาให้นายโฆษิต ปั้นเปี่ยมรัษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี ในขณะนั้น เป็นประธานในการประชุมร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงสาธารณสุข เพื่อหาทางออกในการทำซีแอลโดยเร็ว ซึ่งทางกระทรวงพาณิชย์ได้รายงานความคืบหน้า คือ นายโฆษิตได้ นัดหารือกับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องทั้ง 3 กระทรวง ในวันที่ 4 มกราคม 2551 แต่ไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากนพ.มงคล ณ สงขลา รมว.สาธารณสุขในขณะนั้น ติดภารกิจเดินทางไปต่างประเทศ และไม่อยู่ร่วมประชุม
และทางสมาคมผู้วิจัยสมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์หรือ"พรีม่า"ได้แสดงความกังวลเรื่องการทำซีแอลของไทยว่า อาจมีการประกาศซีแอลในยามะเร็ง 4 รายการเพิ่มเติม พร้อมแจ้งว่า ทางสมาคมพรีม่าในสหรัฐฯ จะทำความเห็นเสนอให้ยูเอสทีอาร์ เลื่อนอันดับไทยจากประเทศที่ต้องถูกจับตาเป็นพิเศษ(PWL) เป็นประเทศที่ต้องถูกจับตามองสูงสุด (PFC)รวมทั้งกระทรวงพาณิชย์ยังระบุว่า การทำซีแอลให้รอรัฐบาลชุดใหม่เข้ามาดำเนินการ เพราะส่งผลต่อการประกาศประเทศถูกจับตาทางการค้าในวันที่ 30 เมษายน 2551 นี้
นายไชยา กล่าวว่า จากข้อมูลดังกล่าวทำให้ต้องมาทบทวน เพราะเรื่องนี้อย่ามองอะไรด้านเดียว เพราะแม้ว่าในการประกาศซีแอลยาเอดส์ที่ผ่านมาจะช่วยประหยัดงบถึง 500 ล้านบาท แต่ก็ทำให้กระทรวงพาณิชย์ เสียหายการส่งออกเป็นหมื่นล้านแสนล้านบาท ถูกระงับการส่งออกจะทำอย่างไร ดังนั้นจำเป็นต้องคิดให้รอบด้าน ยืนยันว่าไม่ว่าตนจะตัดสินใจอย่างไร ต้องอยู่บนความถูกต้อง ยึดตามกฎหมาย เพราะกฎหมายมีไว้ให้คนใช้ เราอย่าไปอยู่เหนือกฎหมาย และเราอาจใช้วิธีอื่นแทน เช่น การเรียกบริษัทยามาคุยเพื่อลดราคายาลง หรือให้รัฐบาลส่งเงินมาช่วยกระทรวงสาธารณสุขแทน
การที่จะช่วยผู้ป่วยเข้าถึงยาแล้วทำประเทศเสียหายทั้งประเทศ ผมยอมไม่ได้ ซึ่งผลกระทบไม่ได้กระทบกระทรวงสาธารณสุขโดยตรง แต่ไปกระทบที่กระทรวงพาณิชย์ และไม่ต้องห่วงเรื่องการเข้าถึงยา เพราะรัฐบาลจะดำเนินการวิธีการอื่นแทน เพราะเมื่อดูจำนวนผู้ป่วยมะเร็ง ขณะนี้มีเพียง 12,000 รายเท่านั้น สำหรับการทบทวนซีแอลนั้น ยืนยันว่าผมจะไม่เห็นฝรั่งตาน้ำข้าวดีกว่าคนไทย นายไชยา กล่าว
นายไชยา กล่าวว่า หลังจากที่ได้ประกาศทบทวนซีแอล ขณะนี้ทำให้ทุกฝ่ายต่างหยุดการเคลื่อนไหว อย่างไรก็ตามเรื่องการทำซีแอล ตนไม่อยากพูดถึง รมว.สาธารณสุขคนเก่ามาก พูดไปก็เหมือนประจาน ความจริงเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องที่จะต้องมาพบปะผู้ชุมนุมแบบนี้ แต่กลับต้องมาจัดการ ทั้งนี้กลุ่มผู้ชุมนุมที่มาวันนี้ และพยายามนำข้อความที่ผมพูดไปว่า ถูกต้องไม่ถูกใจ แต่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายเราก็รับไม่ได้ ดังนั้นคงต้องคุยกันให้ถูกวิธี ซึ่งผมพร้อมสู้ตลอดเวลา และไม่หนีความจริง และในการทบทวนการทำซีแอล ตนและปลัดกระทรวงสาธารณสุขจะเป็นผู้พูดคุยกับกระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงพาณิชย์ด้วยตนเอง พร้อมจะทบทวนคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องทั้งหมด
นายไชยา กล่าวว่า ส่วนที่ห่วงว่าอาจมีการล็อบบี้ให้ยกเลิกซีแอลนั้น ขอบอกว่า บริษัทยายังไม่รวยเท่าผม :lovl: ไปดูบ้านผมซิ บริษัทยายังไมถึงขนหน้าแข้งของผมเลย :lovl: :lovl:
ด้านนายนิมิตร เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ กล่าวว่า จากที่รับฟังข้อมูลจาก รมว.สาธารณสุข เห็นว่า รัฐมนตรีคงต้องกลับไปทำการบ้านเรื่องตัวเลขผู้ป่วย เนื่องจากเป็นข้อมูลเก่า และเท่าที่รับฟังมาทั้งหมดแล้วรู้สึกห่อเหี่ยว อย่างไรก็ตามคงต้องรอดูก่อนว่าจะดำเนินการอย่างไร ซึ่งทางกลุ่มเครือข่ายผู้ป่วยเรื้อรังจะติดตามอย่างใกล้ชิด และหากมีการยกเลิกประกาศซีแอลจริง คงต้องมีการเคลื่อนไหวใหญ่ ส่วนที่มีการอ้างว่าจะมีการขึ้นบัญชีไทยเป็นประเทศจับตาสูงสุดนั้น ก็เป็นเพียงข้อมูลจากบริษัทยา
ก่อนหน้านี้ ที่ทางยูเอ็นเอสซีอาร์ยืนยันตลอดว่าการที่เลื่อนไทยเป็นประเทศถูกจับตามองเป็นพิเศษไม่ได้มีสาเหตุจากซีแอล แต่หากมีการเลื่อนอันดับไทยเป็นประเทศจับตามองสูงสุดจริง ก็ขอให้มีการระบุชัดเจน เพื่อที่จะได้นำเสนอต่อเวที WTO
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในหนังสือสมุดปกขาวการทำซีแอลยามะเร็ง 4 รายการนั้น นพ.วิชัย โชควิวัฒน ประธานคณะกรรมการสนับสนุนการดำเนินงานเกี่ยวกับการใช้สิทธิตามสิทธิบัตรโดยรัฐ(ซีแอล) ได้ชี้แจงถึงขั้นตอนการทำซีแอล ในช่วงที่นายกรัฐมนตรีขอให้มีการปรึกษาหารือระหว่าง 3 กระทรวง โดยมอบให้นายโฆษิตเป็นประธาน คือ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงการต่างประเทศนั้น โดยระบุว่า ตามที่มีการกำหนดประชุมร่วมกัน 3 หน่วยงาน ในวันที่ 3 มกราคม 2551 นั้น ตนในฐานะที่ปรึกษา รมว.สาธารณสุข และคณะทำงาน ได้รับมอบอำนาจเต็มที่ จากนพ.มงคล และได้มีการประชุมเตรียมการ และพร้อมเข้าร่วมประชุมในวันดังกล่าวแล้ว แต่กลับมีการเลื่อนไปโดยไม่มีกำหนดว่าจะมีการประชุมเมื่อไหร่อีก
- tok
- Verified User
- โพสต์: 833
- ผู้ติดตาม: 0
อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...
โพสต์ที่ 142
เริ่มงานก็โกหกประชาชนเลยนะครับท่านรมต. :juju:นายไชยา กล่าวว่า ส่วนที่ห่วงว่าอาจมีการล็อบบี้ให้ยกเลิกซีแอลนั้น ขอบอกว่า บริษัทยายังไม่รวยเท่าผม ไปดูบ้านผมซิ บริษัทยายังไมถึงขนหน้าแข้งของผมเลย
ABBOT บริษัทเดียวก็มี Market Cap 87.8 พันล้านเหรียญแล้วครับ เจ้านาย...
http://investing.businessweek.com/resea ... symbol=ABT
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...
โพสต์ที่ 144
ปีนึงได้แล้วมั้งคับ..
เข้าใจผู้ชมเช่นกันคับ..
เข้าใจผู้ชมเช่นกันคับ..
-
- Verified User
- โพสต์: 1289
- ผู้ติดตาม: 0
อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...
โพสต์ที่ 145
ทำไมหางโผล่ไวจัง...
^
"เมื่อคุณเริ่มทำสิ่งที่รักแล้ว วันต่อๆไปก็จะไม่ใช่การทำงาน"..Brian Tracy
state exact goal/then analyze what fail the goal/then act/if you don't start/dream still be a dream
หุ้นไม่ใช่แค่เศษกระดาษ มันมีคนทำงานจริง
"เมื่อคุณเริ่มทำสิ่งที่รักแล้ว วันต่อๆไปก็จะไม่ใช่การทำงาน"..Brian Tracy
state exact goal/then analyze what fail the goal/then act/if you don't start/dream still be a dream
หุ้นไม่ใช่แค่เศษกระดาษ มันมีคนทำงานจริง
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...
โพสต์ที่ 147
ลองอ่านตั้งแต่ต้นนะคับ..
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...
โพสต์ที่ 148
อ่านเล่นๆ เป็นความเห็นของคนๆหนึ่ง..เท่านั้น...
ไปตายให้หนอนแดกเถอะไป๊
ภาพันธ์ รักษ์ศรีทอง
"ไปตายให้หนอนแดกเถอะ..ไป๊"
ผมกำลังหาคำพูดที่ถ่ายทอดความคิดของคนบางคนที่มีอำนาจในบ้านเมืองนี้ แม้อำนาจของเขาจะยึดโยงจากการเลือกตั้งด้วยการกากบาทของเรา กระนั้นก็เถอะ..เท่าที่รู้สึกได้ เขาอาจกำลังอยากบอกกับคุณด้วยถ้อยคำแบบนี้ อาจเป็นการบอกกล่าวที่ซ่อนถ้อยความหิวกระหายมาช้านานแล้ว ตั้งแต่อำนาจถูกกระชากไปจากมือ และที่เขาบอกแบบนี้ได้ อาจเป็นเพราะเขากำลังมองคุณเป็นเพียง มดปลวก' อันอ่อนแอ ไม่มีประโยชน์
โดยเฉพาะถ้าคุณป่วยหรือไม่สบาย มันจะยิ่งสะท้อนความอ่อนแอไร้ประโยชน์เสียยิ่งกว่าอะไรทั้งหมด มากไปกว่านั้น หากโชคร้าย อาการป่วยขยายตัวไปสู่ความเรื้อรังจนไม่มีทางรักษาให้หายขาดหรืออาจต้องใช้ค่ารักษาที่แพงแสนแพง คนพวกนี้อาจมองชีวิตของคุณเป็น ความไร้ค่า' ไปเลย
หากโลกนี้ใช้เฉพาะความคิดด้วยตรรกะและสมองอันชาญฉลาดทางทุนนิยมแล้ว คนป่วยเรื้อรังก็คือผู้สร้างรายจ่ายมากมายมหาศาล แต่ไม่ได้สร้างรายได้อะไรคืนกลับเลย
สำหรับคนที่ ป่วยเรื้อรัง' แล้ว ชีวิตที่เหลือจะได้ถูกสังคมแบบนี้ ตีตรา' ว่าคงทำได้แค่การนอนซมอยู่เตียง หรืออย่างมากก็เดินกระโดกกระเดกไปมาได้สัก 2-3 เมตร พูดง่ายๆ คือชีวิตก็แค่หายใจทิ้งไปวันๆ
ดังนั้น ในโลกแบบนี้อาจมีคำตอบแบบหนึ่งไว้แล้ว การอยู่ไปโดยไม่นำเงินเข้ามา พวกนักสิทธิมนุษยชนหรือพวกองค์กรพัฒนาเอกชนจะไปเรียกร้องให้ดูแลทำไม ที่มาบอกให้ทำ ซีแอล' (สิทธิเหนือสิทธิบัตรยา หรือ Compulsory Licensing) เพื่อให้ยามีราคาถูกลง แล้วเม็ดเงินการลงทุนหลายๆ ล้านของบรรษัทยาที่จะเข้ามาในประเทศล่ะ มันจะหายไป คิดบ้างหรือไม่ ??
แน่นอน ประเทศไทยในระบบการเลือกตั้งคือรัฐที่ฉลาดและคิดได้ถึงเงื่อนไขในโลกแบบนี้ งานสำคัญในวันแรกของรัฐบาลใหม่ที่มี ไชยา สะสมทรัพย์' นั่งบัลลังก์รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขจึงหนีไม่พ้นเรื่องทบทวนการทำซีแอลนั่นเอง ถ้าสำเร็จทุกอย่างก็จะดำเนินต่อไปตามกลไกทางตลาด
เรื่องจริงที่มองข้ามไม่ได้ การทำซีแอลอาจเป็นเรื่องที่ต้องมองกันในหลายมิติ การทบทวนอาจเป็นเรื่องที่ดีและมีประเด็นที่ต้องถกเถียงกันอย่างจริงจังจากหลายๆ ฝ่ายเพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ดีและลงตัว แต่สิ่งที่สะท้อนแนวโน้มว่ามันคงไม่เป็นไปอย่างนั้นหรอก การพูดคุยกันด้วย เหตุผล' คงไม่สามารถเกิดขึ้นได้ บนทัศนคติที่ค่อนข้างลบมาตั้งแต่ต้น เรื่องของความเจ็บไข้ได้ป่วยนั้น ปากของคนบางคนอาจจะพูดส่งเดชไปได้ด้วยความคะนองปากว่าถ้าเป็นหนักเรื้อรังแบบนี้ก็ "น่าจะตายเสียดีกว่า"
แต่ถ้าเป็นปากของคนระดับรัฐมนตรีล่ะ..ผลที่ตามมามันต่างกันมากมาย
อย่างไรก็ตาม ภายใน 2 วัน ของการทำงานของรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขคนใหม่ มีคำพูดที่หลุดปากพูดในลักษณะคล้ายกันหรือสื่อความไปในทางนั้นจากผู้ใหญ่ระดับสูงในกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งทั้งสื่อและภาคประชาชนที่เข้าไปติดตามและท้วงติงการทบทวนการทำซีแอลต่างนำความที่ได้ยินออกมาพูดกันให้ทั่วประมาณว่า "ถ้าข้อมูลยอดคนเป็นมะเร็งที่มีในประเทศมีเป็นแสนคนจริง แต่เขาได้รับข้อมูลมาเพียงหลักหมื่น ก็ให้ตายเสีย แล้วยอดมะเร็งนับแสนคงจะลดเหลือเพียงหมื่นสองหมื่นคน"
เมื่อเขาว่าอย่างนั้น สำหรับประชาชนอย่างเราๆ ท่านๆ ฟังแล้ว ใจอ่อน เข่าระทวยและหวิววาบๆ..สุดท้ายแล้วไอ้ประเด็นที่เขาบอกว่าจะทบทวนซีแอลเพื่อให้นโยบายในอนาคตเดินต่อไปได้นั้น เขากำลังทำกันอยู่บนฐานคิดและทัศนคติแบบใดกันแน่
หรือมันอาจจะหมายความไปได้ว่า รัฐเราจะใจดีถ้าคุณ มีเงิน' พอ ใครมีเงินก็จ่ายค่ายืดชีวิตมาจะอะลุ้มอล่วยต่อชีวิตให้ แต่ถ้าไม่มีจ่าย ยอดคนป่วยจะลดลงไปเองตามอัตรการตาย ค่าเผาผีโรยดอกไม้จันทน์ มันไม่แพงหรอกถ้าเทียบแล้วกับค่ายาราคาแพงที่จะไปเรียกร้องให้รัฐดูแล!
นอกจากนี้ อีกหลายหูยังได้ยินสิ่งที่ผู้ใหญ่ในกระทรวงท่านเดิมพูดถึงยาต้านไวรัสของผู้ติดเชื้อว่า ถ้าไม่มีกินก็ให้กินดอกไม้จันทน์แทน..
สาธุเถอะ! แล้วแบบนี้จะฝากผีฝากไข้กันได้ไหม
หลังจากนี้ไปจะเป็นอย่างไรและผลกระทบจะมีหรือไม่ยังไม่รู้ แต่เพื่อป้องกันไว้ก่อนประชาชนอย่างเราคงต้องบอกตัวเองว่า ห้ามป่วย !' เพราะเดี๋ยวจะต้องตายให้กลายเป็นอาหารของหนอนอย่างว้าเหว่ ผู้ใหญ่ระดับคุมนโยบายในกระทรวงสาธารณสุขในรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งดูเหมือนจะมีแนวคิดและแนวทางที่จะใส่ใจคุณน้อยลงแล้ว และชีวิตคุณอาจต้องถูกนำไปคำนวนด้วยตัวเลข
แต่หากคุณ ผม หรือเราทุกคน ถ้าป่วยแล้วจะกลายเป็นคนอ่อนแอและไร้ค่าจริงหรือ สำหรับผมยังมีคำถามในใจ ?
ในขณะที่คุณกำลังยืนเหม่อ อาจถูกรถเมล์แหกโค้งมาชนจนตายโหงไปก่อนป่วยตายก็ได้ แต่ในรอบลมหายใจเดียวกัน ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีบางคนกลับดำเนินชีวิตอย่างคนปกติทั่วไป มีลูกมีหลาน มีครอบครัว และดูแลกันและกันได้
ยาต้านไวรัสที่ราคาแสนแพง สำหรับผู้ติดเชื้อคือ ความหวัง' ที่ช่วยให้การดำเนินชีวิตเป็นไปได้อย่างราบรื่นขึ้น ทุกวันนี้คนแข็งแรงแต่ติดเชื้ออย่าง เมจิก จอห์นสัน' ยังคงมีมากมาย
เมจิก จอห์นสัน' เป็นนักบาสเก็ตบอลระดับเทพของเอ็นบีเอจนได้รับการยกย่องว่าเป็น 1 ใน 50 ผู้เล่นยอดเยี่ยมในประวัติศาสตร์บาสเก็ตบอลเอ็นบีเอ เขาประกาศตัวเองว่าได้รับเชื้อเอชไอวีในปี 2534 หรือประมาณ 18 ปีมาแล้ว และเคยหวนกลับคืนสู่วงการบาสเก็ตบอลได้อย่างแข็งแกร่งด้วยกำลังใจที่ดีเยี่ยม ในปี 2545 เขาสามารถร่วมทีมบาสเก็ตบอลสหรัฐเพื่อแข่งขันโอลิมปิกในนาม ดรีมทีม' ได้อย่างเป็นที่ประทับใจจนกลายเป็นตำนานร่วมกับ ไมเคิล จอร์แดน'
ในปี 2547 เขาร่วมกับ เหยาหมิง' นักบาสเก็ตบอลเอ็นบีเอรุ่นใหม่ขวัญใจชาวจีน เล่นบาสเก็ตบอลกัน กอดกัน และรับประทานอาหารร่วมกัน เพื่อรณรงค์ให้ความรู้เรื่องเอชไอวีแก่คนจีน ขณะนั้นเขาได้รับเชื้อมาหลายปีแล้ว ปัจจุบันเขาก่อตั้งมูลนิธิเมจิกจอห์นสัน และเป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จระดับสูงคนหนึ่งของสหรัฐ ซึ่งถ้าคิดเพียงในช่วงเวลา 10 ปี สำหรับคุณหรือผม คนรอบข้างอาจจะตายไปด้วยโรคเฉียบพลันอะไรสักอย่างไปหลายคนแล้ว
หรือผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งบางคน แม้จะนอนอยู่บนเตียง แต่สำหรับคนข้างหลัง การต่อสู้กับโรคด้วยความอดทนเข้มแข็งคือความแข็งแกร่งที่ถ่ายทอดไปสู่คนรอบข้างให้กล้าที่จะเดินและเผชิญเรื่องราวอันโหดร้าย เช่น การมีรัฐมนตรีเฮงซวยปากไม่ดีได้อย่างเชื่อมั่น ขณะเดียวกัน การที่เขายังมีลมหายใจยังหมายถึงความไม่อ้างว้างของการที่ยังมองเห็นกันและกันและสามารถห่วงใยกันได้
มองแบบนี้แล้ว หรือความหมายของคำว่าชีวิตสำหรับผู้บริหารประเทศที่มีอำนาจตัดสินใจทางนโยบายและเกี่ยวข้องกับชีวิตและสุขภาพของเราทุกคนกลับทำให้ความรู้สึกอ้างว้าง มืดทะมึนและไร้ความหวังได้ตั้งแต่วันแรกของการทำงาน ดูเหมือนว่าชีวิตที่กำหนดค่าด้วยเงินดูจะมีความหมายกว่าชีวิตที่มีลมหายใจเสียอีก
คนเราถ้าคิดได้เพียงว่าไม่มียาก็ให้กินดอกไม้จันทน์แทน บางทีคนแบบนั้นต่างหากที่มันก็น่าจะไปตายให้หนอนแดกซะเดี๋ยวนี้เลย !
http://blogazine.prachatai.com/user/hitandrun/post/462
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...
โพสต์ที่ 149
เอางี้...ชงมาให้เลยคับ..
++++++++++++++++++++++++++++++++++
++++++++++++++++++++++++++++++++++
5 เหตุผล ทำไมไม่ควรล้ม ซีแอล ยามะเร็ง
ประชาไท 9 ก.พ. 51 - ภายหลังการเข้ามารับตำแหน่งรัฐมนตรีสาธารณสุขคนใหม่ของนายไชยา สะสมทรัพย์ ก็เกิดข้อถกเถียงกันอีกครั้งว่าด้วย การประกาศใช้มาตราบังคับใช้สิทธิ หรือ CL (Compulsory License) เพราะรัฐมนตรีคนก่อน นายแพทย์มงคล ณ สงขลา รัฐมนตรีคนก่อนได้ลงนามประกาศใช้ซีแอลกับยามะเร็งเพิ่มเติมอีก 4 ตัวหลังจากประกาศไปแล้ว 3 ตัว (ยาต้านไวรัส 2 ตัว และยาโรคหัวใจ 1 ตัว) โดยรัฐมนตรีคนใหม่จากพรรคพลังประชาชน ประกาศชัดทันควันว่าจะทบทวนนโยบายซีแอลนี้ เนื่องจากบริษัทยาได้ทำหนังสือถึงกระทรวงพาณิชย์ และจะมีการกดดันในการประกาศให้ไทยเป็นประเทศที่ต้องถูกจับตามองเป็นพิเศษเรื่องการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา เกรงว่าจะได้ไม่คุ้มเสีย
เรื่องนี้จะได้คุ้มเสียหรือไม่คงต้องมีการถกเถียงกัน ได้ อะไร เสีย อะไร และจะมีทางออกอย่างไร แต่สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจ คือ เหตุผลของกระทรวงสาธารณสุขประกาศใช้ซีแอลกับยามะเร็งอีก 4 ตัว.....และนี่คือ เหตุผล 5 ข้อใหญ่เบื้องหลังการตัดสินใจและกระบวนการต่างๆ ที่เกิดขึ้น
00000
CL (Compulsory License) ถือเป็นมาตรการหนึ่งที่อยู่ในข้อตกลงว่าด้วยทรัพย์สิน
ทางปัญญาขององค์การการค้าโลกเพื่อแก้ปัญหาผลกระทบด้านสาธารณสุขที่เกิด
จากการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาซึ่งมีระยะเวลายาวนานถึง 20 ปี และสำหรับยา
ปัจจุบันนอกจากจะต้องคุ้มครอง กรรมวิธีการผลิต แล้ว ยังจะต้องคุ้มครอง ตัวผลิตภัณฑ์
ของยานั้นๆ ด้วย ทำให้การผูกขาดยิ่งหนักหน่วงขึ้น ตามกฎเกณฑ์ของมาตรการใช้สิทธิ
ประเทศที่ไม่มีศักยภาพในการผลิตยาจำเป็นบางชนิด สามารถประกาศมาตรการใช้สิทธิ
แล้วผลิตเองภายในหากประเทศนั้นมีศักยภาพเพียงพอ หรือนำเข้ายาชื่อสามัญที่ราคา
ถูกกว่าในประเทศอื่นที่มีศักยภาพในการผลิตก็ได้ หากเกิดความจำเป็นเร่งด่วน, เกิด
วิกฤตด้านสาธารณสุขขึ้นในประเทศ หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะที่ไม่ใช่เชิงพาณิชย์
1. ยาแพง : รวยไม่จริง อย่าคิดรักษา
โรคมะเร็งเป็นโรคที่มีอัตราการตายสูงเป็นอันดับหนึ่งของไทย การรักษาต้องใช้เงินเยอะ หลายคนประสบภาวะล้มละลายเมื่อต้องรักษาคนในครอบครัวที่เป็นโรคนี้ เพราะยามะเร็งมีสิทธิบัตรคุ้มครอง สามารถผูกขาดตลาดได้จึงราคาสูงมาก
ลองเปรียบเทียบราคายามะเร็งที่ใช้กันอยู่ซึ่งติดสิทธิบัตร กับยาชื่อสามัญที่ผลิตในประเทศอื่นๆ (ราคาทั่วไปก่อนการต่อรองโดยคณะกรรมการต่อรองราคายาฯ)
ยา Docetaxel (ชื่อทางการค้า Taxotere) ใช้รักษาโรคมะเร็งปอด มะเร็งเต้านม ราคายาที่ติดสิทธิบัตร 25,000 บาทต่อเข็ม , ราคายาชื่อสามัญ 4,000 บาทต่อเข็ม
ยา Letrozole (ชื่อทางการค้า Femara) ใช้รักษามะเร็งเต้านม กิน 1 เม็ดทุกวัน ราคายาที่ติดสิทธิบัตร 230 บาทต่อเม็ด , ราคายาชื่อสามัญ 6-7 บาทต่อเม็ด
ยา Erlotinib (ชื่อทางการค้า Tarceva) ใช้รักษามะเร็งปอด กิน 1 เม็ดทุกวัน ราคายาที่ติดสิทธิบัตร 2,750 บาท ต่อเม็ด , ราคายาชื่อสามัญ 735 บาทต่อเม็ด
ยา Imatinib (ชื่อทางการค้าว่า Glivec) ใช้รักษามะเร็งเม็ดเลือดขาด มะเร็งทางเดินอาหาร ใช้ยานี้อย่างน้อยวันละ 400 มก. ราคายาที่ติดสิทธิบัตร 917 บาทต่อเม็ด(ขนาด 100 มก.) , ราคายาชื่อสามัญ , 50-70 บาทต่อเม็ด (ขนาด 100 มก.)
ด้วยราคายาที่สูงขนาดนี้ รัฐแบกรับไม่ไหวโรคมะเร็งจึงไม่อยู่ในสิทธิประโยชน์ของระบบหลักประกันสุขภาพแบบใดๆ ใครป่วยต้องจ่ายเอง แต่เมื่อทำซีแอล รัฐจะสามารถสั่งซื้อยาชื่อสามัญทั้ง 4 รายการจากที่อื่นที่ราคาถูกกว่ามากเพื่อรักษามะเร็งมาใช้รักษาประชาชนภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าได้
ส่วนเรื่องคุณภาพของยาชื่อสามัญนั้นอยู่ภายใต้ระบบการควบคุมคุณภาพยาของประเทศไทย คือ ระบบการขึ้นทะเบียนตำรับยา ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จะตรวจสอบตัวอย่างยาอย่างรวดเร็วและเข้มงวด และมีการเดินทางไปดูสภาพและคุณภาพโรงงานที่ทำการผลิตยาชื่อสามัญที่ประเทศอินเดียซึ่งเป็นประเทศที่ไทยจะนำเข้ายาชื่อสามัญด้วย นอกจากนี้ยังมีระบบตรวจสอบภายหลังการนำเข้า และระบบการรับข้อมูลจากแพทย์ผู้ใช้
2. คุยกับบริษัทยา : ต่อรองกันได้ผล - ไม่ได้ผล
ตามกฎหมายไทยและข้อตกลงทรัพย์สินทางปัญญาขององค์การการค้าโลก (WTO) รัฐสามารถประกาศใช้ซีแอลได้โดยไม่ต้องเจรจากับบริษัทเจ้าของสิทธิบัตร (เพียงแต่แจ้งให้ทราบ) ในกรณีที่จำเป็นเพื่อประโยชน์สาธารณะ
อย่างไรก็ตาม ก่อนจะลงนามประกาศใช้สิทธิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้มีคำสั่งให้คณะกรรมการเจรจาต่อรองราคายาจำเป็นที่มีสิทธิบัตร ไปดำเนินการเจรจากับบริษัทยาหลายครั้งเพื่อเปิดโอกาสให้ตกลงกันได้ ซึ่งได้ผลระดับหนึ่งแต่ไม่สามารถบรรลุข้อตกลงตามที่กระทรวงคาดหวัง
คณะกรรมการเจรจาต่อรองราคายาฯ ได้เจรจาต่อรองกับ บริษัท โนวาร์ตีส (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ซาโนฟี-อเวนตีส (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท โรช ไทยแลนด์ จำกัด ซึ่งเป็นเจ้าของสิทธิบัตรของยาทั้ง 4 รายการ รวมเป็นการเจรจาถึง 12 ครั้ง ในช่วงเกือบ 3 เดือน ผลปรากฏว่า
ยา Erlotinib ลดราคาลงร้อยละ 30
ยา Docetaxel ลดราคาจนอาจเหลือเพียงร้อยละ 20 ของราคาเดิม
แต่บริษัทลดราคาให้แบบมีเงื่อนไข โดยให้แบ่งความรับผิดชอบในการ
รักษากับภาครัฐ ซึ่งมีรายละเอียดมากและเป็นไปได้ยากในการจัดการ
ยา Letrozole ลดราคาลง 1 ใน 3
ยา Imatinib บริษัทยืนยันให้ความช่วยเหลือโดยการให้ยาฟรีเฉพาะ
ผู้ป่วยที่มีรายได้น้อยภายใต้เงื่อนไขของบริษัท ซึ่งจะมีคนไทยประมาณ
10 ล้านคนที่ไม่เข้าข่ายโครงการดังกล่าว
โดยสรุปจึงถือว่าการเจรจาไม่ได้ผลตามที่คาดหวังไว้ว่าราคายาน่าจะลดลงจนอยู่ในวิสัยที่ไม่เป็นภาระแก่ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามากนัก และเป็นราคาสุทธิที่ไม่รวมเงื่อนไขที่ยากต่อการปฏิบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขจึงได้ลงนามในประกาศซีแอลทั้ง 4 ฉบับ เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2551
แต่เพื่อให้โอกาสอีกครั้งแก่ผู้ทรงสิทธิบัตร จึงให้มีการเจรจาครั้งสุดท้าย ปรากฏว่า ความคืบหน้าที่น่าสนใจและนับเป็นการเจรจาที่ได้ผลคือ กรณีที่บริษัท โนวาร์ตีส ได้เสนอให้ยา Imatinib โดยไม่คิดมูลค่า แก่ผู้ป่วยภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าโดยกำหนดเพดานรายได้ครัวเรือนไว้ไม่เกิน 1.7 ล้านบาทต่อปี ภายใต้โครงการที่เรียกว่าโครงการ GIPAP (Glivec International Patient Assistance Program)
และเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าโครงการนี้จะเป็นไปอย่างไม่ขาดตอน บริษัทจึงเสนอให้ประกาศใช้ซีแอลต่อยาดังกล่าวภายใต้เงื่อนไขว่า ให้ดำเนินการใช้ซีแอลก็ต่อเมื่อมีการยกเลิกโครงการ GIPAP ดังกล่าว
3. ซีแอล : เลือกยาแบบมี ขอบเขต เหตุผล
การประกาศซีแอลกับยามะเร็งเพิ่มอีก 4 ตัว จึงยิ่งทำให้เกิดคำถามถึงขอบเขตของการใช้มาตรการนี้ ที่ผ่านมาหลักเกณฑ์ในการเลือกว่าจะประกาศซีแอลกับยาตัวใดนั้น คือ
1. เป็นยาหรือเวชภัณฑ์ที่อยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ หรือที่จำเป็นในการแก้ปัญหาสาธารณสุข หรือต้องใช้ในภาวะฉุกเฉิน หรือต้องใช้ในโรคระบาด หรือต้องใช้เพื่อการช่วยชีวิต (Life-saving drugs )
2. ยาหรือเวชภัณฑ์นั้น มีอุปสรรคต่อการเข้าถึง หรือเป็นภาระด้านการเงินที่ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติไม่สามารถรองรับได้
ส่วนการที่กระทรวงฯ ได้จัดตั้งกลไกการทำงานเรื่องนี้อย่างชัดเจนถึง 3 กลไกคือ คณะอนุกรรมการคัดเลือกยาและเวชภัณฑ์ที่จำเป็นและมีปัญหาในการเข้าถึงของประชาชนในระบบหลักประกันสุขภาพ, คณะกรรมการสนับสนุนการดำเนินงานเกี่ยวกับการใช้สิทธิตามสิทธิบัตรโดยรัฐ, คณะกรรมการเจรจาต่อรองราคายาจำเป็นที่มีสิทธิบัตร ทำให้เกิดข้อกล่าวหาว่า จะมีการประกาศซีแอลอย่างต่อเนื่องกับยาทุกตัว แต่กระทรวงสาธารณสุขยืนยันชัดเจนว่าการมีกลไกเช่นนี้ก็เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างเป็นระบบ รอบคอบ โปร่งใส มีส่วนร่วมจากองค์กรที่เกี่ยวข้อง และเปิดโอกาสให้มีการเจรจากับบริษัทเจ้าของสิทธิบัตร
เครื่องยืนยันอีกอย่างหนึ่งว่าซีแอลจะไม่ใช่มาตรการที่ใช้พร่ำเพรื่อ คือ การพัฒนาระบบบริการสุขภาพที่มีคุณภาพอย่างยั่งยืน โดยมีการตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่างกระทรวงฯ กับผู้แทนสมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัช มีวัตถุประสงค์ สำคัญคือ
1.การปรับปรุงการเข้าถึงยาแก่ประชาชนรายได้น้อย
2.ช่วยลดปัญหาสาธารณสุขของประเทศ เช่น neglected disease
3.สนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของประเทศในด้านสาธารณสุข
4. ความกังวล : จะโดนตอบโต้อย่างไร หรือจะได้ไม่คุ้มเสีย
จากประสบการณ์การประกาศซีแอลที่ผ่านมา ไทยถูกจัดสถานะประเทศที่มีการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา จากระดับ เฝ้าระวัง (Watch List - WL) เป็นประเทศที่ต้อง เฝ้าระวังเป็นพิเศษ (Priority Watch List - PWL) มาคราวนี้จึงมีคำถามเกิดขึ้นว่าการตัดสินใจดำเนินการใช้สิทธิโดยรัฐต่อยาทั้ง 4 รายการเพิ่มเติมจากเดิม จะทำให้ประเทศไทยถูกจัดสถานะที่แย่กว่าเดิม ถูกตัดสิทธิพิเศษทางศุลกากร หรือ (GSP) และจะเกิดผลเสียต่อภาคธุรกิจหรือไม่ เพราะจะมีการพิจารณาจัดสถานะประเทศคู่ค้าตามกฎหมายการค้ามาตรา 301 ของสหรัฐฯ อีกในเดือนกุมภาพันธ์ 2551 นี้
เหตุผลที่สหรัฐให้เมื่อปีที่แล้ว ที่สำคัญคือความสงสัยในความเข้มงวดในการปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาโดยเฉพาะคือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์และซีดี/ดีวีดีของภาพยนตร์และเพลง ส่วนเรื่องสิทธิบัตรยานั้น สหรัฐไม่เคยบอกว่าไทยดำเนินการผิดกกฎหมายไทยหรือข้อตกลงระหว่างประเทศ แต่มีความกังวลในปัญหาเรื่องความโปร่งใสในการดำเนินการใช้สิทธิโดยรัฐ กระทรวงสาธารณสุขจึงได้จัดพิมพ์สมุดปกขาวชี้แจงรายละเอียดทั้งหมด และทางสหรัฐฯ ไม่ได้ระบุชัดเจนว่าความไม่โปร่งใสนั้นคืออะไร นอกจากการระบุให้มีการเจรจากับผู้ทรงสิทธิบัตรก่อน ซึ่งทางกระทรวงฯ ได้ทำอยู่แล้ว
อย่างไรก็ดี ข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์และภาคธุรกิจของไทยก็มีความชัดเจนว่าการส่งออกของไทยไปสหรัฐฯ ที่จะต้องพึ่งพาสิทธิพิเศษทางศุลกากรนั้นมีน้อยมากและน้อยลงไปเรื่อยๆ ประเทศไทยมีศักยภาพสูงมากถึงระดับที่ไม่ต้องพึ่งพา GSP ในการส่งออกไปสหรัฐฯ อีกต่อไป
นอกจากนี้ในระหว่างวันที่ 31 มกราคม ถึง 6 กุมภาพันธ์นี้ คณะผู้เชี่ยวชาญ จากองค์การอนามัยโลก (WHO) องค์การการค้าโลก (WTO) องค์การการประชุมเรื่องการค้ากับการพัฒนาของสหประชาชาติ (UNCTAD) และองค์การพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ก็ได้มาศึกษาระบบและกระบวนการทำงานในเรื่องการใช้สิทธิโดยรัฐต่อยาที่มีสิทธิบัตรของไทย ซึ่งจะทำให้กระทรวงสาธารณสุขและองค์กรที่เกี่ยวข้องได้เรียนรู้ถึงรายละเอียดของกระบวนการทำงานมากขึ้น และยังจะได้นำข้อเสนอแนะนำต่างๆ ไปปรับปรุงการดำเนินการในโอกาสต่อไป
5. ประกาศซีแอล ทิ้งทวนตำแหน่งรัฐมนตรี ?
ข้อเสนอในการประกาศซีแอลนั้นได้รับการพิจารณาจากคณะอนุกรรมการฯ และคณะกรรมการฯ ที่เกี่ยวข้องตั้งแต่เดือนตุลาคม 2550 แต่ทางกระทรวงฯ ก็ไม่ได้ดำเนินการโดยทันทีเพื่อให้โอกาสแก่บริษัทเจ้าของสิทธิบัตรในการเสนอข้อเสนอที่อาจจะเป็นที่ยอมรับของทั้งสองฝ่าย เพื่อหลีกเลี่ยงการที่จะต้องประกาศซีแอล จึงมิใช่เพิ่งจะมาเร่งดำเนินการในช่วงปลายรัฐบาลนี้ หรือในช่วงรัฐบาลรักษาการแต่อย่างใด
การเจรจามีขึ้นหลายระลอก กระทั่งได้ข้อเสนอที่ดีกว่าเดิมของบริษัทโนวาร์ตีส คือยา Imatinib และหลังจากนั้นจึงมีการอนุมัติให้ดำเนินการตามประกาศที่ลงนามไว้แล้วตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2551 ในส่วนที่เหลืออีก 3 รายการ
ในกรณีผลประโยชน์ทับซ้อนที่มีข่าวออกมาว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเดินทางไปอินเดียและได้ทำความตกลงไว้กับบางบริษัทแล้วนั้น มีการชี้แจงว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้เดินทางไปดูสภาพและคุณภาพของโรงงานผลิตยาที่ประเทศอินเดียหลายแห่งเพื่อให้มั่นใจในประสิทธิภาพ และในระหว่างการเดินทาง ไม่ได้มีการลงนามข้อตกลง หรือทำการตกลงด้วยวาจาเกี่ยวกับการจัดซื้อยาจากบริษัทใด อีกทั้งผู้ซื้อยาที่มีการประกาศใช้สิทธิโดยรัฐนี้ คือ องค์การเภสัชกรรม ซึ่งจะต้องดำเนินการตามระเบียบขององค์การเภสัชกรรม
บริษัททุกบริษัท ไม่ว่าจะเป็นบริษัทยาเจ้าของสิทธิบัตร หรือบริษัทยาที่ผลิตยาชื่อสามัญ ที่มียาซึ่งได้ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแล้ว ก็สามารถมานำเสนอราคาได้ บริษัทที่เสนอราคาต่ำสุด หรือกรณีที่บริษัทยาเจ้าของสิทธิบัตรเสนอราคาสูงกว่าบริษัทยาชื่อสามัญไม่เกินร้อยละห้า ก็จะเป็นผู้ได้รับการทำสัญญาและเป็นผู้จัดหายาดังกล่าวให้แก่องค์การเภสัชกรรมเพื่อนำไปจำหน่ายในราคาที่ไม่บวกกำไร เพื่อบริการแก่ผู้ป่วยที่อยู่ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติทั้งสามระบบต่อไป
โดย : ประชาไท วันที่ 9/02/2008
http://www.ftawatch.org/news/view.php?id=12766
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
อเมริกาเล่นแรงจริงๆครับ ...
โพสต์ที่ 150
ม็อบผู้ป่วยต้านแก้ซีแอลข้องใจ'ไชยา'เลือกบ.ยา
ไทยโพสต์ 9 กุมภาพันธ์ 2551 - เครือข่ายผู้ป่วยกว่าครึ่งร้อยบุกกระทรวงคุณหมอ จี้ "รมว.สธ." ยกเลิกสั่งทบทวนการทำซีแอลยามะเร็ง 4 รายการ ระบุมีประโยชน์ช่วยผู้ป่วยเข้าถึงยาและมีราคาถูกจากเม็ดละ 200 เหลือแค่ 7 บาท
ด้าน "ไชยา" ห่วงความรู้สึกสหรัฐเมินเสียงต้านไทย อ้างปล่อยไว้กระทบส่งออกสูญเงินแสนล้าน "หมอวิชัย" เตรียมคลอดสมุดปกขาวแจงข้อเท็จจริงทำซีแอล 10 ประเด็น
ที่กระทรวงสาธารณสุข วันที่ 8 ก.พ.นายนิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ นำกลุ่มเครือข่ายผู้ป่วยเรื้อรังโรคมะเร็ง โรคไต มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และคณะกรรมการองค์กรเอกชนพัฒนาด้านเอดส์ กว่า 50 คน เดินทางมายื่นหนังสือให้นายไชยา สะสมทรัพทย์ รมว.สาธารณสุข เรียกร้องให้เห็นความจำเป็นการบังคับใช้สิทธิ์เหนือสิทธิบัตรยา (ซีแอล)ในยามะเร็ง ภายหลังจากที่นายไชยาได้เตรียมสั่งทบทวนการทำซีแอลยามะเร็งทั้ง 4 รายการที่นพ.มงคล ณ สงขลา อดีตรมว.สาธารณสุข ได้ลงนามไปก่อนหน้านี้
นายนิมิตร์ กล่าวว่า พวกเรามีความเป็นห่วงต่อท่าทีของนายไชยาที่จะให้ทบทวนซีแอล และไม่เห็นด้วยต่อแนวคิดดังกล่าว เพราะการทำซีแอลมีกระบวนการทำที่ถูกต้องและช่วยให้ผู้ป่วยเข้าถึงยาแทนที่จะมาสั่งยกเลิกซีแอลยามะเร็ง ควรใช้เวลาคิดเพื่อทำซีแอลยาที่จำเป็นต่อไปดีกว่า "หากมีการยกเลิกซีแอลจริง พวกเราเครือข่ายผู้ป่วยคงไม่สามารถทำอะไรได้เพราะเขาเป็นใหญ่ในแผ่นดิน แต่ก็ควรจะต้องเปิดรับฟังข้อมูลอย่างรอบด้าน ก่อนที่จะมีการตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่ง"นายนิมิตร์กล่าว
นางสายชล แซ่ลิ้ม อายุ 57 ปี จังหวัดนนทบุรี รองประธานฝ่ายผู้ป่วยมะเร็ง ชมรมชี่ไดนามิกแห่งประเทศไทย ซึ่งป่วยด้วยโรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก กล่าวว่า รู้ตัวว่าเป็นมะเร็งเมื่อปี 2547 และได้ทำการรักษาและกินยา ซึ่งขณะนั้นเสียค่าใช้จ่ายประมาณเดือนละ 30,000 บาท แต่ปัจจุบันไม่ได้กินยาแล้ว แต่ใช้วิธีการบำบัดดูแลสุขภาพตนเอง
"ที่มาวันนี้เพราะอยากบอกรมว.สาธารณสุขว่าอยากให้เห็นประโยชน์ประเทศชาติผู้ยากไร้ที่เข้าไม่ถึงยา ยิ่งขณะนี้งบประมาณแผ่นดินมีปัญหา หากทำซีแอลได้ก็จะเป็นประโยชน์โดยเฉพาะคนในต่างจังหวัดจะได้เข้าถึงยาและราคายาที่สูงถึง 200 บาท จะเหลือเพียง 7 บาท ที่ผ่านมามีผู้ป่วยมะเร็งจำนวนมากไม่ได้รับยารักษาโรคมะเร็งที่ดี โดยผู้ป่วยที่มีความผิดปกติระยะแรกเริ่มก็จะไม่ได้รับยาจากระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเพราะยาราคาแพงมาก และจะทราบว่าตนเองเป็นมะเร็งอีกครั้งก็อยู่ในระยะสุดท้ายแล้ว"นางสายชลกล่าว
ด้านนายไชยา ชี้แจงว่า สาเหตุที่ต้องทบทวนการประกาศซีแอลยามะเร็ง 4 รายการ เนื่องจากภายหลังจากที่เข้ารับตำแหน่ง ได้รับหนังสือจาก นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข โดยเป็นหนังสือลับจากกระทรวงพาณิชย์ เลขที่ พณ 07003/FTA/5 ลงวันที่ 30 ม.ค. 2551 เรื่องการจัดสถานะของไทยตามกฎหมายการค้าสหรัฐ 301 พิเศษ และการประกาศบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยา หรือซีแอล ลงนามโดยนายเกริกไกร จิระแพทย์ อดีต รมว.พาณิชย์
นอกจากนี้ทางสมาคมผู้วิจัยสมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์หรือพรีม่า ได้แสดงความกังวลเรื่องการทำซีแอลของไทยว่า อาจมีการประกาศซีแอลในยามะเร็ง 4 รายการเพิ่มเติม พร้อมแจ้งว่า ทางสมาคมพรีม่าในสหรัฐฯ จะทำความเห็นเสนอให้ยูเอสทีอาร์ เลื่อนอันดับไทยจากประเทศที่ต้องถูกจับตาเป็นพิเศษ (PWL) เป็นประเทศที่ต้องถูกจับตามองสูงสุด (PFC) รวมทั้งกระทรวงพาณิชย์ยังระบุว่า การทำซีแอลให้รอรัฐบาลชุดใหม่เข้ามาดำเนินการ เพราะส่งผลต่อการประกาศประเทศถูกจับตาทางการค้าในวันที่ 30 เม.ย. 2551 นี้
รมว.สาธารณสุขกล่าว จากข้อมูลทำให้ต้องมาทบทวน เพราะแม้ว่าในการประกาศซีแอลยาเอดส์ที่ผ่านมาจะช่วยประหยัดงบถึง 500 ล้านบาท แต่ก็ทำให้กระทรวงพาณิชย์ เสียหายการส่งออกเป็นหมื่นล้านแสนล้านบาท ถูกระงับการส่งออกจะทำอย่างไร ดังนั้นจำเป็นต้องคิดให้รอบด้านและต้องอยู่บนความถูกต้องยึดตามกฎหมาย เพราะกฎหมายมีไว้ให้คนใช้ เราอย่าไปอยู่เหนือกฎหมาย การที่จะช่วยผู้ป่วยเข้าถึงยาแล้วทำประเทศเสียหายทั้งประเทศ
"ผมยอมไม่ได้ถ้าจะต้องทำอะไรผิดกฏหมาย ซึ่งเบื้องต้นการทบทวนการทำซีแอล ผมและปลัดกระทรวงสาธารณสุขจะเป็นผู้พูดคุยกับกระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงพาณิชย์ด้วยตนเอง พร้อมจะทบทวนคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องทั้งหมด"นายไชยากล่าว
ขณะที่นพ.วิชัย โชควิวัฒน อดีตประธานคณะกรรมการดำเนินการบังคับใช้สิทธิ์เหนือสิทธิบัตรยาโดยรัฐ กล่าวว่า ขณะนี้ได้จัดทำสมุดปกขาวเพื่อชี้แจงการบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยา(ซีแอล) ในยามะเร็งทั้ง 4 รายการเป็นเรียบร้อยแล้ว โดยมีการชี้แจงรายละเอียดขั้นตอนการทำซีแอลครั้งนี้ทั้งหมด เพื่อเป็นการยืนยันว่าที่ผ่านมาได้มีการทำอย่างถูกต้องและโปร่งใส ซึ่งได้มีการตั้งคำถามพร้อมคำตอบชี้แจง 10 ประเด็น และจะมีการนำสมุดปกขาวนี้ขึ้นเว็บไซด์ของกระทรวงสาธารณะสุขเพื่อเผยแพร่ต่อไป
นพ.วิชัยกล่าวว่า หากมีการยกเลิกประกาศซีแอลยามะเร็งจริง จะทำให้เกิดปัญหาการเข้าถึงยาในกลุ่มผู้ป่วยระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) อย่างแน่นอน เพราะการทำซีแอลที่ผ่านมาก็เนื่องจากเรามีปัญหาข้อจำกัดด้านงบประมาณ โดยในปี 2551 ได้งบรายหัวอยู่ที่ 2,100 บาทต่อคนต่อปี หากเรายกเลิกซีแอลระบบบัตรทองจะไม่สามารถจ่ายยาให้กับผู้ป่วยมะเร็งได้ แต่หากรัฐบาลจะเพิ่มงบประมาณให้ในปี 2552 ที่อยู่ระหว่างดำนินการไปให้เพียงพอได้ก็ไม่เป็นปัญหา แต่ที่ผ่านมาการขอเพิ่มงบในแต่ละครั้งก็ทำได้ยาก
"ผลดีจากการทำซีแอลที่เห็นได้ชัด คือ ในกลุ่มผู้ป่วยยาต้านไวรัสสูตรดื้อยา เพราะจากข้อมูลผู้ป่วยชี้ว่า มีผู้ติดเชื้อเอชไอวีต้องใช้ยาต้านไวรัสเอดส์สูตร 2 ถึง 8,000 คน แต่ในความเป็นกลับพบว่า มีผู้ติดเชื้อเพียงแค่ 600 คนเท่านั้นที่ได้รับยา นอกนั้นเข้าไมถึงเพราะถูกจำกัดสิทธิ์ในการให้ แต่เมื่อมีการซีแอลแล้วก็สามารถให้ยาสูตรนี้แก่ผู้ติดเชื้อที่จำเป็นต้องได้รับยาทั้งหมด"นพ.วิชัยกล่าว
อดีตประธานคณะกรรมการดำเนินการบังคับใช้สิทธิ์เหนือสิทธิบัตรยาโดยรัฐ กล่าวว่า สำหรับกระบวนการนำเข้ายามะเร็ง 4 รายการนั้น เมื่อรมว.สาธารณสุขมีท่าทีชัดเจนว่าต้องทบทวน ทางองค์การเภสัชกรรม(อภ.) คงต้องชะลอการดำเนินการนำเข้ายาเพื่อใช้ผู้ป่วยออกไป เนื่องจากต้องรอผลสรุปที่ชัดเจนก่อน แต่จะก่อให้เกิดความล่าช้าในการจำเป็นต้องใช้ยากับผู้ป่วยออกไปอีก เนื่องจากการนำเข้ายามีกระบวนการที่ล่าช้าและต้องใช้เวลา รวมถึงการระงับกระบวนการที่มีผลผูกพันต่อข้อกฎหมายทั้งหมดก่อน
ทั้งนี้ในสมุดปกขาวได้มีการตั้งคำถามการทำซีแอลมะเร็งทั้ง 10 ประเด็น พร้อมคำอธิบายชี้แจง คือ 1 มีเหตุผลในการประกาศใช้สิทธิโดยรัฐต่อยาต้านโรคมะเร็งทั้ง 4 รายการ 2. ก่อนการตัดสินใจดำเนินการใช้สิทธิ์โดยรัฐ ได้มีการเจรจากับผู้ทรงสิทธิ์บัตรหรือไม่ ถ้ามีการเจรจาได้ผลเป็นอย่างไร 3. เหตุใด รมว.สาธารณสุข จึงตัดสินใจดำเนินการระหว่างที่เป็น รมว.รักษาการ จะรอให้รัฐมนตรีใหม่มาตัดสินใจไม่ได้หรือ 4.ที่มีข่าวว่า รมว.สาธารณสุขเดินทางไปอินเดียและได้ทำความตกลงไว้กับบางบริษัทแล้ว การดำเนินการเรื่องการใช้สิทธิ์โดยรัฐนอาจมีผลประโยชน์ทับซ้อน เรื่องนี้มีข้อเท็จจริงประการใด
5.การดำเนินการเรื่องใช้สิทธิ์โดยรัฐต่อยาที่มีสิทธิบัตรถึง 7 รายการใน 1 ปี แสดงว่าประเทศไทยจะดำเนินการเรื่องนี้ต่ออย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง และในอนาคตยาที่มีสิทธิบัตรอื่นๆ จะถูกดำเนินการใช้สิทธิ์โดยรัฐทุกตัวหรือไม่ กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายเช่นนั้นจริงหรือไม่ และจะมียากลุ่มใดอีกบ้างที่จะพิจารณาดำเนินการใช้สิทธิโดยรัฐ 6.ประเทศคู่ค้าบ้างประเทศกล่าวหาว่าประเทศคู่ค้าของไทยเรื่องนี้ไม่โปร่งใส่ มีคำอธิบายอย่างไร และมีการดำเนินการอะไรบ้างที่จะทำให้โปร่งใส
7.การตัดสินใจดำเนินการใช้สิทธิโดยรัฐต่อยาทั้ง 4 รายการ เพิ่มเติมจากเดิมจะทำให้ประเทศไทยจัดอยู่ในฐานประเทศ Priority Foreign Country (PFC) ตามกฎหมายการค้า มาตรา 301 ของสหรัฐอเมริกาหรือไม่ และจะเกิดผลเสียอย่างไร 8,การที่นายกรัฐมนตรีได้ขอให้มีการปรึกษาหารือกันระหว่างกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อกำหนดจุดยืนและท่าทีที่ชัดเจนของประเทศไทยในเรื่องการใช้สิทธิโดยรัฐได้มีการดำเนินการไปแล้วหรือไม่ และมีข้อสรุปประการใด 9.จะควบคุมไม่ให้ยาที่ได้มาภายใต้ระบบการใช้สิทธิโดยรัฐนี้รั่วไหลออกนอกระบบไปสู่ระบบธุรกิจได้อย่างไร เช่น ผู้ป่วยนำไปจำหน่ายต่อในร้านขายยา หรือโรงพยาบาลเอกชนเป็นต้น และ 10 ยาต้านโรคมะเร็งเป็นยาที่มีความสำคัญมากในการรักษาชีวิตผู้ป่วย เราจะมั่นใจในเรื่องคุณภาพของยาชื่อสามัญว่าจะทัดเทียมกับยาที่มีสิทธิบัตรได้อย่างไร
โดย : ไทยโพสต์ วันที่ 9/02/2008
http://www.ftawatch.org/news/view.php?id=12768